โปรดชฏิล ๓ พี่น้อง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย งูๆปลาๆ, 19 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    โปรดชฏิล ๓ พี่น้อง

    ครั้นพระบรมศาสดาทรงส่งพระสาวกเหล่าภัททวัคคีย์ไปแล้ว ก็เสด็จตรงไปยังอุรุเวลาประเทศ
    อันตั้งอยู่ในเขตเมืองราชคฤห์มหานคร ซึ่งเป็นที่อยู่ของอุรุเวลกัสสปอาจารย์ใหญ่ของชฎิล ๕๐๐

    ราชคฤห์นครนั้น เป็นเมืองหลวงแห่งมคธรัฐ ซึ่งเป็นมหาประเทศ พระเจ้าพิมพิสารมหาราช
    เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองโดยสิทธิขาด เป็นเมืองที่คับคั่งด้วยผู้คน เจริญวิทยาความรู้
    ตลอดการค้าขาย เป็นที่รวมอยู่แห่งบรรดาคณาจารย์ เจ้าลัทธิมากในสมัยนั้น

    ในบรรดาคณาจารย์ใหญ่ ๆ นั้น ท่านอุรุเวลกัสสป เป็นคณาจารย์ใหญ่ผู้หนึ่ง
    ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของคนเป็นอันมาก ท่านอุรุเวลกัสสป เป็นนักบวชจำพวกชฎิล ท่านมีพี่น้องด้วยกัน ๓ คน
    ออกบวชจากตระกูลกัสสปะโคตร ท่านอุรุเวลกัสสปเป็นพี่ชายใหญ่ มีชฎิล ๕๐๐ เป็นบริวาร
    ตั้งอาศรมสถานที่พนาสณฑ์ ตำบลอุรุเวลา ต้นแม่น้ำเนรัญชรานที ตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า อุรุเวลกัสสป
    น้องคนกลาง มีชฎิลบริวาร ๓๐๐ ตั้งอาศรมสถานอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ถัดเข้าไปอีกตำบลหนึ่ง
    จึงได้นามว่า นทีกัสสป ส่วนน้องคนเล็ก มีชฎิลบริวาร ๒๐๐ ตั้งอาศรมสถานอยู่ที่คุ้งใต้
    แห่งแม่น้ำเนรัญชรานั้นต่อไปอีกตำบลหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า ตำบลคยาสีสะประเทศ
    จึงได้นามว่า คยากัสสป ชฎิลคณะนี้ทั้งหมดมีทิฏฐิหนักในการบูชาเพลิง

    พระบรมศาสดาเสด็จไปถึงอาศรมสถานของท่านอุรุเวลกัสสปในเวลาเย็น
    จึงเสด็จตรงไปพบอุรุเวลกัสสปทันที ทรงรับสั่งขอพักแรมด้วยสัก ๑ ราตรี อุรุเวลสสปรังเกียจทำอิดเอื้อน
    ไม่พอใจให้พัก เพราะเห็นพระบรมศาสดาเป็นนักบวชต่างจากลัทธิของตน พูดบ่ายเบี่ยงว่า ไม่มีที่ให้พัก
    ครั้นพระบรมศาสดาตรัสขอพักที่โรงไฟ ซึ่งเป็นสถานที่บูชาเพลิงของชฎิล ด้วยเป็นที่ว่าง
    ไม่มีชฏิลอยู่อาศัย ทั้งเป็นที่อยู่ของนาคราชดุร้ายด้วย อุรุเวลกัสสปได้ทูล ว่า พระองค์อย่าพอใจพักที่โรงไฟเลย
    ด้วยเป็นที่อยู่ของพระยานาคมีพิษร้ายแรง ทั้งดุร้ายที่สุด อาศัยอยู่ จะได้รับความเบียดเบียนจากนาคราชนั้น
    ให้ถึงอันตรายแก่ชีวิต เมื่อพระบรมศาสดารับสั่งยืนยันว่า นาคราชนั้นจะไม่เบียดเบียนพระองค์เลย
    ถ้าท่านอุรุเวลกัสสปอนุญาตให้เข้าอยู่ ท่านอุรุเวลกัสสปจึงได้อนุญาตให้เข้าไปพักแรม

    2015-05-13_160129.jpg

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ก็เสด็จเข้าไปยังโรงไฟนั้น ประทับนั่งดำรงพระสติ ต่อพระกัมมัฏฐานภาวนา
    ฝ่ายพระยานาค เห็นพระบรมศาสดาเสด็จเข้ามาประทับในที่นั้นก็มีจิตคิดขึ้งเคียดจึงพ่นพิษตลบไป
    ในลำดับนั้น พระบรมศาสดาก็ทรงพระดำริว่า ควรที่ตถาคตจะแสดงอิทธานุภาพให้เป็นควันไปสัมผัสมังสฉวี
    และเอ็นอัฎฐิแห่งพระยานาคนี้ ระงับเดชพระยานาคให้เหือดหาย แล้วก็ทรงสำแดงอิทธาภิสังขารดังพระดำรินั้น
    พระยานาคมิอาจจะอดกลั้นซึ่งความพิโรธได้ ก็บังหวนพ่นพิษเป็นเพลิงพลุ่งโพลงขึ้น

    พระบรมศาสดาก็สำแดงเตโชกสิณสมสบัติบันดาลเปลวเพลิงรุ่งโรจน์โชตนาการ
    และเพลิงทั้งสองฝ่ายก็บังเกิดขึ้นแสง แดงสว่าง ดุจเผาผลาญซึ่งโรงไฟให้เป็นเถ้าธุรี ส่วนชฎิลทั้งหลาย
    ก็แวดล้อมรอบโรงไฟนั้น ต่างเจรจากันว่า พระสมณะนี้มีสิริรูปงามยิ่งนัก เสียดายที่เธอมาวอดวาย
    เสียด้วยพิษแห่งพระยานาคในที่นั้น

    ครั้นล่วงสมัยราตรีรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าก็กำจัดฤทธิ์เดชพระยานาคให้อันตรธานหาย
    บันดาลให้นาคนั้นขดกายลงในบาตร แล้วทรงสำแดงแก่อุรุเวลกัสสป ตรัสบอกว่า พระยานาคนี้สิ้นฤทธิเดชแล้ว
    อุรุเวลกัสสปเห็นดังนั้นก็ดำริว่า พระสมณะนี้มี อานุภาพมาก ระงับเสียซึ่งฤทธิ์พระยานาค
    ให้อันตรธานพ่ายแพ้ไปได้ ถึงดังนั้นไซร้ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา มีจิตเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์
    จึงกล่าวว่า ข้าแต่สมณะนิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ณ อาศรมของข้าพเจ้าเถิด
    ข้าพเจ้าจะถวายภัตตาหารให้ฉันทุกวันเป็นนิต

    พระบรมศาสดาก็เสด็จประทับยังพนาสณฑ์ตำบลหนึ่ง ใกล้อาศรมแห่งอุรุเวลกัสสปชฎิลนั้น
    ครั้นสมัยราตรีเป็นลำดับ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ก็ลงมาสู่สำนักพระบรมโลกนาถ ถวายอภิวาท
    และประดิษฐานยืนอยู่ใน ๔ ทิศ มีทิพยรังสีสว่างดุจกองเพลิงก่อไว้ทั้ง ๔ ทิศ

    ครั้นเวลาเช้า อุรุเวลกัสสปจึงเข้าไปสู่สำนักพระบรมศาสดาทูลว่า นิมนต์พระสมณะไปฉันภัตตาหารเถิด
    ข้าพเจ้าตกแต่งไว้ถวายเสร็จแล้ว แต่เมื่อคืนนี้เห็นรัศมีสว่างไปทั่วพนัสมณฑลสถาน
    บุคคลผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์จึงปรากฏรุ่งเรืองในทิศทั้ง ๔ พระบรมศาสดาจึงตรัส
    บอกว่า ดูกรกัสสปนั้นคือ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ลงมาสู่สำนักตถาคตเพื่อฟังธรรม อุรุเวลกัสสปได้สดับดังนั้น
    ก็ดำริว่า พระมหาสมณะองค์นี้มีอานุภาพมาก ท้าวจาตุมหาราชยังลงมาสู่สำนัก
    ถึงกระนั้นก็ยังมิได้เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา

    พระบรมศาสดา เสด็จมากระทำภัตตกิจ เสวยภัตตาหารของอุรุเวลกัสสปเสร็จแล้ว
    ก็เสด็จกลับมาสู่ทิวาวิหารในพนาสณฑ์นั้น ครั้นรัตติกาลสมัย ท้าวสหัสสนัยก็ลงมาสู่สำนักพระบรมศาสดา
    ถวายนมัสการแล้วยืนอยู่ที่ควรข้างหนึ่ง เปล่งรัศมีสว่างดุจกองอัคคีใหญ่ไพโรจน์ยิ่งกว่าราตรีก่อน
    ครั้นเพลารุ่งเช้า กัสสปชฎฎิลไปสู่สำนักพระบรมศาสดาทูลอาราธนาให้ฉันภัตตาหารแล้วทูลถามว่า
    เมื่อคืนนี้มีผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์ จึงมีรัศมีสว่างยิ่งกว่าราตรีก่อน ตรัสบอกว่า
    ดูกรกัสสป เมื่อคืนนี้ท้าวโกสีย์สักกเทวราชลงมาสู่สำนักตถาคต เพื่อจะฟังธรรม ชฎิล ได้สดับดังนั้น
    ก็ดำริเห็นเป็นอัศจรรย์ดุจนัยก่อน

    พระบรมศาสดาเสด็จไปเสวยภัตตาหารของกัสสปดาบส แล้วก็กลับมาอยู่ทิวาวิหารยังพนัสฐานที่นั้น
    ครั้นเข้าสมัยราตรี ท้าวสหัมบดีมหาพรหม ก็ส่งมาสู่สำนักพระบรมศาสดา เปล่งรัศมีสว่างยิ่งขึ้นไปกว่าสองราตรีนั้น
    ครั้นรุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปก็ไปทูลอาราธนาฉันภัตตาหาร แล้วทูลถามอีก ตรัสตอบว่า คืนนี้ท้าวสหัมบดีพรหม
    ลงมาสู่สำนักตถาคต กัสสปดาบสก็ดำริดุจนัยก่อน พระบรมศาสดาเสด็จไปเสวยภัตตาหารของอุรุเวลชฎิล
    แล้วก็กลับมาสู่สำนัก

    2015-05-13_161734.jpg

    ในวันรุ่งขึ้น มหายัญญลาภบังเกิดขึ้นแก่อุรุเวลชฎิล คือชนชาวอังครัฐทั้งหลาย
    จะนำเอาขาทนียโภชนียาหารเป็นอันมาก มาถวายแก่อุรุเวลชฎิล ๆ จึงดำริแต่ในราตรีว่า
    รุ่งขึ้นพรุ่งนี้มหาชนจะนำเอาเอนกนานาหารมาสู่สำนักอาตมา หากพระสมณะรูปนี้สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์
    ลาภสักการะก็จะบังเกิดแก่เธอเป็นอันมาก อาตมาจักเสื่อมสูญจากสรรพสักการบูชา ทำไฉน
    ณ วันพรุ่งนี้อย่าให้เธอมาสู่ที่นี้ได้

    สมเด็จพระบรมศาสดาทรงทราบความดำริของชฎิลด้วยเจโตปริญาณ ครั้นเพลารุ่งเช้าก็เสด็จไปสู่อุตตรกุรุทวีป
    ทรงบิณฑบาตรได้ภัตตาหารแล้ว ก็เสด็จมากระทำภัตตกิจยังฝั่งอโนดาต แล้วทรงยับยั้งอยู่ ณ ทิวาวิหารในที่นั้น
    ต่อเพลาสายัณหสมัยจึงเสด็จมาสู่วนสณฑ์สำนัก ครั้นรุ่งเช้า กัสสปชฎิลไปทูลอาราธนาเสวยภัตตาหาร
    และทูลถามว่า "วานนี้พระองค์ไปแสวงหาอาหารในที่ใด ไฉนไม่ไปสู่สำนักข้าพเจ้า ๆ ระลึกถึงพระองค์อยู่"
    จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสบอกวาระน้ำจิตของชฎิลที่วิตกนั้นให้แจ้งทุกประการ อุรุเวลกัสสปได้สดับ ตกใจ
    ดำริว่า พระมหาสมณะนี้มีอานุภาพมากแท้ เธอล่วงรู้จิตอาตมาถึงดังนั้น ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์ดังอาตมา

    ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรบังเกิดแก่พระบรมศาสดา พระองค์เสด็จพระพุทธดำเนินไปซักผ้าบังสุกุล
    ซึ่งห่อศพนางปุณณทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในอามกสุสานะป่าช้าผีดิบ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เป็นกษัตริย์อุภโตสุชาติ เสด็จจากขัตติยราชสกุลอันสูงด้วยเกียรติศักดิ์ ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ
    เป็นพระสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เป็นโมลีของโลกเห็นปานนี้แล้ว
    ยังทรงลดพระองค์ลงมาซักผ้าขาวที่ห่อศพนางปุณณทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า เพื่อทรงใช้เป็นผ้าจีวรทรงเช่นนี้
    เป็นกรณียะที่สุดวิสัยของเทวดาและมนุษย์ซึ่งอยู่ในสถานะเช่นนั้นจะทำได้

    มหาปฐพีใหญ่ก็กัมปนาทหวั่นไหวเป็นมหาอัศจรรย์ถึง ๓ ครั้ง ตลอด ระยะทางทรงพระดำริว่า
    ตถาคตจะซักผ้าบังสุกุลนี้ในที่ใด ? ขณะนั้น ท้าวสหัสสนัยอมรินทราธิราชทรงทราบในพุทธปริวิตก
    จึงเสด็จลงมาขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ในพื้นศิลา สำเร็จด้วยเทวฤทธิ์ให้เต็มไปด้วยอุทกวารี
    แล้วกราบทูลพระชินศรี ให้ทรงซักผ้าบังสุกุลในที่นั้น ขณะที่ทรงซัก ก็ทรงดำริว่า จะทรงขยำในที่ใดดี
    ท้าวโกสีย์ก็นำเอาแผ่นศิลาใหญ่เข้าไปถวาย ทรงขยำด้วยพระหัตถ์ จนหายกลิ่น ๔ อสุภ
    แล้วก็ทรงพระดำริว่าจะห้อยตากผ้าบังสุกุลจีวรในที่ใดดี ลำดับนั้นรุกขเทพยดา ซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ไม้กุ่มบก
    ก็น้อมกิ่งไม้นั้นลงมาถวายให้ทรงห้อยตากจีวร ครั้นทรงห้อยตากแล้วก็ทรงพระจินตนาว่า จะแผ่พับผ้าในที่ใด
    ท้าวสหัสสนัยก็ยกแผ่นศิลาอันใหญ่มาทูลถวายให้แผ่พับผ้ามหาบังสุกุลนั้น

    เพลารุ่งเช้าอรุณขึ้น อุรุเวลกัสสปไปเฝ้าพระบรมศาสดา เห็นสระและแผ่นศิลาทั้งสอง
    ซึ่งมิได้ปรากฏมีในที่นั้นมาก่อน และกิ่งไม้กุ่มน้อมลงมาเช่นนั้น จึงทูลถามพระบรมศาสดา
    ตรัสบอกความทั้งปวงให้ทราบ เมื่อกัสสปได้ฟังก็สดุ้งตกใจ ดำริว่า พระสมณะองค์นี้มีเดชานุภาพมากยิ่งนัก
    แม้ท้าวมัฆวาน ยังลงมากระทำการไวยาวัจจกิจถวาย แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา

    สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จไปเสวยภัตตาหารของชฎิล แล้วก็กลับมาสถิตยังพนาสณฑ์ตำบลที่อาศัย
    ครั้นรุ่งขึ้นในวันเป็นลำดับ กัสสปชฎิลไปทูลนิมนต์ฉันภัตตกิจ จึงตรัสว่า "ท่านจงไปก่อนเถิด
    ตถาคตจะตามไปภายหลัง" เมื่อส่งชฎิลไปแล้ว จึงเสด็จเหาะไปนำเอาผลหว้าใหญ่ประจำทวีป
    ในป่าหิมพานต์มาแล้ว ก็เสด็จมาถึงโรงไฟก่อนหน้าชฎิล ครั้นชฎิลมาถึงจึงทูลถามว่า พระองค์มาทางใด
    จึงถึงก่อน พระศาสดาจึงตรัสบอกประพฤติเหตุแล้ว ตรัสว่า "ดูกรกัสสป ผลหว้าประจำทวีปนี้
    มีวรรณสันฐานสุคันธรสเอมโอช ถ้าท่านปรารถนาจะบริโภคก็เชิญตามปรารถนา" อุรุเวลกัสสปก็
    ดำริเห็นเป็นอัศจรรย์ดุจหนหลัง ครั้นพระศาสดาทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ก็เสด็จกลับไปยังพนาสณฑ์ที่สำนัก

    ในวันต่อมา ได้ทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์เช่นนั้นอีก ๔ ครั้ง คือ ทรงส่งอุรุเวลกัสสปมาก่อนแล้ว
    เสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วงครั้งหนึ่ง เก็บผลมะขามป้อมครั้งหนึ่ง เก็บผลส้มในป่าหิมพานต์ครั้งหนึ่ง
    เสด็จขึ้นไปดาวดึงส์เทวโลก นำเอาผลไม้ปาริฉัตตกครั้งหนึ่ง เสด็จมาถึงก่อน คอยท่าอุรุเวลกัสสปอยู่ที่โรงไฟ
    ให้ชฎิลเห็นเป็นอัศจรรย์ใจทุกครั้ง

    2015-05-13_161227.jpg

    วันหนึ่ง ชฎิลทั้งหลายปรารถนาจะก่อไฟ ก็มิอาจผ่าฟืนออกได้ จึงดำริว่าที่เป็นทั้งนี้
    เพราะฤทธิ์พระมหาสมณะทำโดยแท้ พระบรมศาสดาจึงตรัสถาม ครั้นทราบความแล้วก็ตรัสว่า
    ท่านจงผ่าฟืนตามปรารถนาเถิด ในทันใดนั้น ชฎิลก็ผ่าฟืนออกได้ตามประสงค์

    วันหนึ่ง ชฎิลทั้ง ๕๐๐ ปรารถนาจะบูชาเพลิง ก่อเพลิงก็ไม่ติด จึงคิดปริวิตกเหมือนหนหลัง
    พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้ว ก็ทรงอนุญาตให้ก่อเพลิงได้ เพลิงก็ติดขึ้นทั้ง ๕๐๐ กอง
    พร้อมกันในขณะเดียว ชฎิลทั้งหลายบูชาเพลิงสำเร็จแล้ว จะดับเพลิง ๆ ก็ไม่ดับ จึงดำริดุจหนหลัง
    พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้วก็ทรงอนุญาตให้ดับเพลิง ๆ ก็ดับพร้อมกันถึง ๕๐๐ กอง

    วันหนึ่ง ในเวลาหนาว ชฎิลทั้งหลายลงอาบน้ำดำผุดขึ้นลงในแม่น้ำเนรัญชรานที สมเด็จพระชินสีห์
    ผู้ทรงพระกรุณาแก่ชฎิล ทรงดำริว่า เมื่อชฎิลขึ้นจากน้ำแล้วจะหนาวมาก จึงทรงนิรมิตเชิงกราณประมาณ ๕๐๐ อัน
    มีเพลิงติดทั้งสิ้นไว้ในที่นั้น ครั้นชฎิลทั้งหลายขึ้นจากน้ำหนาวจัดก็ชวนกันเข้าผิงไฟที่เชิงกราณ
    แล้วก็คิดสันนิษฐานว่า พระมหาสมณะคงทรงนิรมิตไว้ให้เป็นแน่ น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก.

    วันหนึ่ง มหาเมฆตั้งขึ้นมิใช่ฤดูกาล บันดาล ให้ฝนตกลงมาเป็นอันมาก กระแสน้ำเป็นห้วงใหญ่
    ไหลท่วมไปในที่ทั้งปวงโดยรอบบริเวณนั้น ธรรมดาว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จสถิตอยู่ ณ ประเทศใด
    แม้ที่นั้นน้ำท่วม ก็ทรงอธิษฐานมิให้น้ำท่วมเข้าไปในที่นั้นได้ และในครั้งนั้นก็ทรงดำริว่า ตถาคตจะยังน้ำนั้น
    ให้เป็นขอบสูงขึ้นไป ในทิศโดยรอบที่หว่างกลางนั้นจะมีพื้นภูมิภาคจะราบเรียบขึ้นปกติ ตถาคตจะจงกรมอยู่
    ในที่นั้น แล้วก็ทรงอธิษฐานบันดาลให้เป็นดังพุทธดำรินั้น

    2015-05-13_155924.jpg
    ฝ่ายอุรุเวลกัสสปนั้น คิดว่าพระมหาสมณะนี้ น้ำจะท่วมเธอหรือไม่ท่วมประการใด
    หรือจะหลีกไปสู่ประเทศอื่น จึงลงเรือพร้อมกับชฎิลทั้งหลาย รีบพายไปดูโดยด่วนถึง ประเทศที่พระองค์ทรงสถิต
    ก็เห็นน้ำสูงขึ้นเป็นกำแพงล้อมอยู่โดยรอบ แลเห็นพระบรมศาสดา เสด็จจงกรมอยู่ในพื้นภูมิภาคปราศจากน้ำ
    จึงส่งเสียงร้องเรียก พระพุทธเจ้าขานรับว่า "กัสสป ! ตถาคตอยู่ที่นี่" แล้วก็เสด็จเหาะขึ้นไปบนอากาศ
    เลื่อนลอยลงสู่เรือของกัสสปชฎิล ๆ ก็ดำริว่า พระมหาสมณะนี้มีอิทธิฤทธิเป็นอันมาก แต่ถึงมีอานุภาพมากอย่างนั้น
    ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา

    แท้จริง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จจากป่าอิสิปตนะมิคทายวัน ในวันแรมค่ำหนึ่ง เดือนกัตติมาส ( เดือน ๑๒ )
    มาประทับอยู่ที่อุรุเวลาประเทศ จนตราบเท่าถึงวันเพ็ญ เดือน ๒ เป็นเวลาสองเดือน
    ทรงแสดงอิทธิปาฏิหารย์ทรมานอุรุเวลกัสสป โดยเอนกประการ อุรุเวลกัสสปก็ยังมีสันดานกระด้าง
    ถือตนว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อย่างนั้น ด้วยทิฐิอันกล้ายิ่งนัก จึงทรงพระดำริว่า ตถาคตจะยังชฎิลให้สลดจิต
    คิดสังเวชตนเอง จึงมีพระวาจาตรัสแก่ อุรุเวลกัสสปว่า "กัสสป ตัวท่านมิได้เป็นพระอรหันต์
    อรหัตทั้งทางปฏิบัติของท่านก็ยังห่างไกลมิใช่ทางมรรคผลอันใด ไฉนเล่าท่านจึงถือตนว่า เป็นพระอรหันต์
    เท็จต่อตัวเอง ทั้ง ๆ ท่านเองก็รู้ตัวดีว่า ตัวยังมิได้บรรลุโมกขธรรมอันใด ยังทำตนลวงคนอื่นว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อีก

    กัสสป ! ถึงเวลาอันควรแล้ว ที่ท่านจะสารภาพแก่ตัวของท่านเองว่า ท่านยังมิได้เป็นพระอรหันต์
    ทั้งยังมิได้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอรหันต์ด้วย กัสสป ! แล้วท่านจะได้เป็นพระอรหันต์ในกาลไม่นาน"
    เมื่ออุรุเวลกัสสปได้สดับพระโอวาทก็รู้สึกตัว ละอายแก่ใจ ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาท
    แล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอบรรพชาอุปสมบท ในสำนักพระองค์
    ขอถึงพระองค์และพระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง

    พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า "กัสสป ! ตัวท่านเป็นอาจารย์ยิ่งใหญ่ เป็นประธานแก่หมู่ชฎิล ๕๐๐ ท่านจงชี้แจง
    ให้ชฎิลบริวารยินยอมพร้อมกันก่อน แล้วตถาคตจึงจะให้บรรพชาอุปสมบท"
    อุรุเวลกัสสปก็กราบถวายบังคมลามายังอาศรม แล้วก็บอกชฎิลอันเป็นศิษย์ ๆ ก็ยินยอมพร้อมกันจะบรรพชา
    ในสำนักพระบรมครูสิ้น แล้วชฎิลทั้งหลายก็ชวนกันลอยดาบบส บริขาร และเครื่องตกแต่งผม ชฏา
    สาแหรก คาน เครื่องบูชาเพลิง ทั้งน้ำเต้า หนังสือ ไม้สามง่าม ในแม่น้ำทั้งสิ้น
    แล้วก็พากันมาเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาท ทูลขอบรรพชาอุปสทบท
    พระบรมศาสดาก็ทรงพระกรุณาโปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเสมอกัน

    2015-05-13_155751.jpg

    ครั้งนั้น ท่านนทีกัสสปดาบส ผู้เป็นน้องกลาง เห็นเครื่องบริขารทั้งปวงลอย น้ำมาก็ดำริว่า
    ชะรอยอันตรายจะมีแก่ดาบสผู้พี่ชาย จึงใช้ให้ชฎิลสองสามคนอันเป็นศิษย์ไปสืบดู รู้เหตุแล้ว
    นทีกัสสปดาบสก็พาดาบสทั้ง ๓๐๐ อันเป็นศิษย์ มาสู่สำนักของท่านอุรุเวล กัสสป ถามเหตุนั้น
    ครั้นทราบความแล้วก็เลื่อมใสชวนกันลอยเครื่องดาบสบริขารลงในแม่น้ำนั้น
    พากันเข้าถวายอัญชลีทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดาก็โปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
    ด้วยกันทั้งสิ้นดุจชฎิลพวกก่อนนั้น

    ฝ่ายคยากัสสปดาบส ผู้เป็นน้องน้อย เห็นเครื่องดาบสบริขารของพี่ชายลอยน้ำลงมาจำได้
    ก็คิดดุจนทีกัสสปชฎิลผู้เป็นพี่นั้น แล้วพาดาบสทั้ง ๒๐๐ อันเป็นศิษย์ไปสู่สำนักพระอุรุเวลกัสสป
    ไต่ถามทราบความแล้วเลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องบริขารลงในกระแสชล ดุจหนหลัง
    แล้วก็เข้าทูลขอบรรพชาต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็โปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
    ดังกล่าวแล้ว พระพุทธเจ้า ทรงทรมานชฎิลทั้ง ๓ พี่น้อง มีอุรุเวลกัสสป เป็นต้น กับทั้งชฎิลบริวาร ๑ , ๐๐๐
    ให้สละเสียซึ่งทิฐิแห่งตน แล้วโปรดประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั้งสิ้น
    เสร็จแล้วก็ทรงพาพระภิกษุสงฆ์พวกนั้นไปสู่คยาสีสะประเทศ ตรัสพระธรรมเทศนา
    อาทิตตปริยายสูตร โปรดภิกษุ ๑ , ๐๐๐ นั้น ให้บรรลุพระอรหัตด้วยกันทั้งสิ้น.
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    เรื่องนี้น่าจะเสริมเพิ่มขึ้น
    ช่วงปลายสมัยยุคกรุงศรี
    อยุธยาครับ
    ปล ความเห็นส่วนตัวครับ
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ช่วงไหนแต่งเพิ่มบ้างครับท่านนพ พอจะมีวิธีตรวจสอบไหมครับ
    บทนี้พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรด ชฎิล ผู้มีทิฐิมาก
    ใช้การแสดงหลายรูปแบบเลยนะครับเพื่อยังอินทรีให้เกิดขึ้น
    กำราบพญานาคในโรงบูชาที่ ชฎิล บูชา
    แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ต่าๆนาๆ ชฎิล ก้ไม่เกิดศรัทธา
    สุดท้าย แสดงธรรมเพื่อให้เกิดความสลดใจ ชฎิล จึงคิดได้
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ถือว่าที่จะเล่าต่อไปนี้ ฟังหูไว้หูนะครับ
    บอกได้ว่า ที่ขึ้นเรือมานั้นมี ๙ เล่มครับ
    (แต่อย่าสนใจประเด็นนี้เลยครับ มันอธิบายได้ยาก)
    ขึ้นเรือมานานมากแล้วครับ มาทางทิศใต้ พอมายุคปลาย
    อยุธยาก็มีการมาแต่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ
    เรื่องที่เกี่ยวกับภพภูมิต่างๆ รวมทั้งเรื่อง
    ที่ออกแนวพิเศษๆต่างๆ ส่วนตัวไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่มีนะครับ
    แต่ให้เราลองพิจารณาดูว่า ทำไมต้องเพิ่มเข้าไป
    หากว่าจะตรวจสอบจริงๆ คงต้องย้อนไปดู
    ในเรือลำที่บรรทุกตำรามานั้นหละครับ
    ดังนั้นในส่วนนี้ถือว่า ฟังเป็นนิทานแล้วกันนะครับ....
    แต่ถ้าใครคิดว่า พอจะย้อมไปถึงเรือลำนั้นได้
    ส่วนตัวจะทิ้งสัญญาไว้ในข้อความนี้แล้วกันนะครับ

    หลักสังเกตุเป็นเพียงแนวคิด ในเชิงของฐานข้อมูลนะครับ
    ยังไม่ได้มีการสรุปอะไร เป็นเพียงหลักสังเกตุเท่านั้น
    เพราะถ้าเราจะศึกษาอะไรก็ตาม การยึดเพียงฐานข้อมูลเดียว
    คงไม่ใช่ลักษณะของนักวิชาการ หรือนักศึกษาที่ดีนะครับ
    เพราะตำราทางพุทธศาสนา ไม่ใช่สูตรหรือสมการ
    อะไรที่พิสูจน์ได้ด้วยการวิเคราะห์ ด้วยการถอดสมการครับ
    แม้จะมีการอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้
    แต่เราก็ไม่ควรยึด เพียงแต่อิงว่า จากข้อมูลนี้เพื่อถ่ายทอด

    ไม่ใช่จากความคิดเราที่ยึดมั่นถือมั่นฐานข้อมูลนี้เท่านั้น
    เพราะเราไม่มีใครเกิดทัน และที่สำคัญตำรา
    นั้นล้วนมาจากผลการปฏิบัติก่อนจะมาเป็นตำรา
    การที่จะเข้าได้ดีที่สุด คือการทิ้งความเห็น
    แล้วไปปฏิบัติให้เข้าถึง แล้วมาย้อนอ่านดู
    ก็จะพอเชื่อได้ว่า เนื้อหาในตำราส่วนไหน
    ที่น่าจะมาจากผลการปฏิบัติ ไม่ใช่การแต่งเติม
    หรือเนื้อหาส่วนไหนที่เพิ่มเข้าไป
    ทำไมต้องเพิ่มเข้าไป เหตุเพราะสภาพบ้านเมือง
    ช่วงนั้นเป็นอย่างไร ถึงมีการเพิ่มเข้าไป
    พอเข้าใจนะครับ

    มีหลักสังเกตุเป็นข้อๆดังต่อไปนี้ครับ

    ๑.ตำราต้นฉบับเป็นภาษาอะไร ?
    เรามีข้อมูลว่าเป็นภาษาบาลีใช่ไหม..หรือภาษาอะไรกันแน่
    ๒.เมื่อมีการแปลตำรา ซึ่งแปลมาจากต้นฉบับ
    ที่ไม่ใช่ภาษาไทย เพื่อให้เป็นภาษาท้องถิ่น
    ตำราที่แปลย่อมมีมากกว่าตำราต้นฉบับใช่ไหม
    เพื่อความเข้าใจในบริษทของภาษาต้นฉบับนั้นๆ
    ตรงนี้เป็นเรื่องปกติทั่วไปของการแปลภาษา
    ๓.มีการทำชีวประวัติเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าออกมา
    เป็นหนังจอโรง เป็นซีรีย์ เป็นการ์ตูน
    -เป็นจอโรง ฝรั่งทำ คีนูรีพเล่นเป็นพระเอก
    เนื้อหามีเรื่องเกี่ยวกับภพภูมิหรือเทพอะไรไหม
    ตรงนี้ให้ลองสังเกตุดูครับ พยานาคในหนังเป็นอะไร สังเกตุดู
    -เป็นการ์ตูน คนไทยทำ มีเนื้อหาอย่างไร มีเรื่อง
    เกี่ยวกับภพภูมิ เรื่องเทพ เรื่องพิเศษไหม
    - เป็นซีรีย์ ชื่อดัง พระเอกหนุ่มรูปงามเล่น มาจาก
    ประเทศอะไร
    มีเรื่องเกี่ยวกับภพภูมิ เทพ หรือไม่

    ถามว่าทั้ง ตรงนี้ทำให้เราพอมองเห็น
    ฐานข้อมูล ของแต่ละฝั่งพอได้หรือยังครับ
    การรับข้อมูล ของแต่ละที่แตกต่างกัน
    ตามวัฒนธรรมและท้องถิ่น
    เทวดาฝรั่ง เทวดาไทย เป็นอย่างไร
    อะไรทำให้เราเห็นเป็นแบบนี้ อะไร
    ทำให้เค้าเห็นเป็นแบบนั้น
    หรืออะไรทำให้บางกลุ่มไม่พูดเรื่องนี้.....พอเข้าใจนะครับ

    นี่เป็นส่วนของเนื้อหาทางด้านตำรา
    ดังนั้น เรามีหน้าที่แค่เพียงรับรู้
    แต่เราไม่สามารถที่จะฟันธงหรือยึดอะไรได้เลย
    เพราะแม้แต่เนื้อหาเองก็มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมมาเรื่อย
    มารัตนโกสินฯ เราทราบแค่มี ๔๐ กว่าเล่ม
    มา พศ.๒๕๐๐ มีเพิ่มมา ๘๐ เล่มตามอายุไขพระองค์
    ข้อสังเกตุ ใครแปลเพิ่ม ผู้แปลเป็นผู้มีความสามารถระดับไหน
    มีความเชี่ยวชาญภาษีระดับไหน มีความสามารถทางการปฏิบัติ
    มากน้อยเท่าไร มีความละเอียดรอบคอบแค่ไหน
    เป็นหลักสังเกตุ แล้วมายุคหนึ่ง ทั้งๆที่รู้ว่า ต้นฉบับ
    ที่แปลมายังคาดเคลื่อน ก็ยังมีการนำมาใช้กัน
    มาปัจจุบันถึงได้มีการยอมรับว่า บางส่วนก็แปลผิด
    เมื่อมีนักวิชาการ ท่านที่ยอมรับเชื่อถือได้ให้ข้อคิด
    ให้แนวทาง จน ณ ปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่สามารถฟันธงได้
    ว่า การแปลจากตัวตนนั้น จะมีความถูกต้องได้แน่นอน
    แล้วก็ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่า ที่ตั้งต้นนั้นแท้จริงแล้วมาจาก
    จำนวนกี่เล่มกันแน่.......
    ไม่ต้องไม่นับ ฉบับที่ไม่รู้ถึงฐานข้อมูลตรงนี้
    แล้วดังแปลงต่อเติม ยกย่อง อะไรให้เสียเวลาเลยครับ
    เพราะฐานข้อมูลเดิมนั้น ก็ยังไม่สมบูรณ์ และยังไม่น่า
    เชื่อถือ ดังนั้น เราเป็นผู้ศึกษาควรเข้าใจประเด็นนี้ไว้

    วิธีเดียวที่เราจะพอเชื่อได้ ก็คือ
    การปฏิบัติด้วยตนเองให้เข้าถึงสภาวะนั้นๆ
    หากสงสัย หรืออยากได้เป็นภาษาพูด เพื่อการสื่อสาร
    เราถึงค่อยมาดูนั้นเองครับ

    ไม่งั้นมันก็จะกลายเป็นสร้างสัญญา มาปิดบัง
    ผลการปฏิบัติเราได้
    ตามวัฒนธรรม ตามฐานข้อมูลที่สืบๆกันมานั่นเองครับ

    ปล.ที่กล่าวนี้ เป็นแนวทางหนึ่งฝากไว้พิจารณาครับ
    จบส่วนเนื้อหา ตำรา ฐานข้อมูลครับ ต่อไปจะว่า
    ด้วยการปฏิบัติครับ

     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ส่วนการปฏิบัติ ลองนึกภาพตาม
    ว่านักปฎิบัติซักคน มีความสามารถ
    มีบริวารมากมาย การจะยอมรับอะไรได้ซักอย่างนั้น

    จะต้องได้พบเจออะไรครับ
    ๑.ผู้มีความสามารถเหนือกว่าอย่างเดียวไหม
    ๒.ผู้มีบารมีมากกว่าอย่างเดียวไหม
    ๓.ผู้มีปัญญามากกว่าอย่างเดียวไหม
    ๔.ผู้ที่ชี้ทางเดินที่ไปต่อได้มากกว่าอย่างเดียวไหม
    หรือทั้งหมดนี้รวมกัน. ตรงนี้ให้ลองพิจารณาดูครับ

    หลักสังเกตุ ให้ดูในสถานะการณ์ ณ ช่วงเวลานั้น
    พระพุทธเจ้า ท่านเสด็จไปพระองค์เดียวหรือไม่
    ถ้าใช่ ท่านมาเล่าให้สาวกฟังหรือไม่ ?
    หรือท่านมิได้เสด็จไปองค์เดียว เพราะ
    ทำไมถึงรู้ได้ทุกเหตุการณ์
    หรือเหตุการณ์นี้ ใครกันที่รู้ และเพิ่มเติม
    เข้าไปในตำราช่วงไหนกัน จากฐานข้อมูลอะไร ?
    ให้ลองพิจารณาดูนะครับ

    และแต่ละคำสอนนั้น แม้ว่าจะมีคำสอนออกมา
    แต่คำสอนนั้น ถ่ายทอดช่วงเวลาใด
    ช่วงต้น ช่วงกลาง ช่วงหลัง ให้ลองพิจารณาประกอบด้วย
    แล้วมาลองพิจารณาดูว่า
    ช่วงนั้นสถานะการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างไร
    เนื้อหาเป็นไปตามสถานะการณ์ช่วงนั้นหรือไม่อย่างไร
    พอเข้าใจตรงนี้ได้บ้าง
    ท้ายสุดก็ให้เรามาปฏิบัติให้ถึงดู
    แล้วเราจะจับประเด็นสำคัญ สาระที่สำคัญได้เองว่า
    อะไรควรเน้น อะไรควรปฏิบัติ
    เพื่อให้เข้าถึงจุดหมายปลายทางได้นั่นเองครับ

    หากเปรียบได้ว่า การปฏิบัติทางพุทธศาสนา
    ไม่ว่าจะด้านตำราและการปฏิบัตินั้นเสมือน
    การที่จะต้องนั่งเรือข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ
    ให้พิจารณาว่า การร้องขอเพียงอย่างเดียว
    ทำให้เราสามารถข้ามไปอีกฝั่งได้ไหม
    และการที่เรานั่งเรือข้ามไปถึงอีกฝั่งแล้ว
    เราจะต้องแบกเรือขึ้นฝั่งไปด้วยหรือไม่นั่นเอง

    ดังนั้นไม่คุณจะใช้วิธีอะไรเพื่อข้ามฝั่ง
    ไม่ว่าคุณจะว่ายไป หรือว่า คุณจะอาศัย
    เรือชนิดใด ประเภทใด คุณก็ไม่ควรที่จะเปรียบ
    ว่าเรือหรือวิธีการคุณดีกว่าใคร
    เพราะไม่ว่าเรือลำใด ก็ไม่ใช่ว่า จะไม่มีเหตุ
    ให้เรือล่มได้ระหว่างทางได้ เพราะไม่ว่า
    เรือลำใดก็สามารถไปถึงฝั่งได้
    ดังนั้น จึงไม่มีวิธีการใดดีที่สุด หรือวิธีการใดแย่ที่สุด
    เพราะเราไม่สามารถคาดคะเน เหตุการณ์ที่เกิด
    ขึ้นในระหว่างทางได้.
    ดังนั้นควรพิจารณาตามเหตุและผล
    คุณอาจจะได้เปลี่ยนเรือที่เร็วกว่าระหว่างทางก็เป็นได้
    คุณอาจจะได้ลงเรือที่ช้ากว่าระหว่างทางก็ได้
    เรือคุณอาจจะจมระหว่างทางก็ได้
    คุณอาจจะหมดแรงระหว่างทางก็ได้
    คุณอาจจะแวะพักเกาะกลางน้ำระหว่างทางก็ได้
    มันเป็นไปได้หมดครับ........

    ปล. ค่อยๆเป็นค่อยๆไปตามวาระแห่งตน
    เพราะถ้าคุณยึดวิธีการ หรือเรือลำใดลำหนึ่ง
    ปัญหามันจะเกิดขึ้นอย่างที่คาดไม่ถึงได้
    แค่เพียงแต่เล่าให้ฟังนะครับ
     
  6. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    มันก้น่าคิดนะท่าน แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราๆก้ไม่ได้อยู่ในเหตุการกันทั้งนั้นทุกๆคนก้คงจะได้แค่ลองไตร่ตรองคิดตามไป ท่าเป็นความเห็นผมผมก้มีความเห็นแบบนึงนะท่านลองพิจารณา
    1 เรื่องเรือที่นำมานะครับ การเผยแพร่พุทธศาสนาทำโดยเหล่าพระอรหันที่เดินทางไปแต่ละทวีปโดยมีท่านผู้เป็นสุปติปันโน มีพระอรหันนำทีมเหล่าพระไปในสายต่างๆเรื่องการแต่งเติมกลางทางนี้ผมว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะตัวพระผู้ที่อัญเชิญมาก้ล้วนมีคุณธรรมระดับอริยะบุคคลกันเป็นส่วนมาก
    2 เรื่องปริมานพระไตรปิดกที่มากขึ้น เรื่องนี้ผมก้ไม่ได้ติดใจครับ เพราะพระไตรปิดกประกอปด้วย บาลี และคำแปล ตัวเนื้อเดิมมีเฉพาะบาลีไม่มีคำแปล จำนวนตัวอักษรจำนวนเล่มจึงน้อยกว่าเดิมแน่ๆ ส่วนอรรถกถาเชื่อว่าต้องถูกตรวจสอบโดยเหล่าพระอรหันผู้เป็นประธานในการจัดทำครับ ในการสังคยนาแต่ละครั้งก้จะใช้เหล่าพระอรหันเป็นประธาน
    3 ปริมานเล่มที่เพิ่มขึ้นคุณนพลองพิจารณาดูครับท่ามีการปรับตัวอักษรให้เล็กใหญ่เหมาพสม การเว้นวรรค การบันทึกที่ลงในใบลานลงในสมุด จะเท่ากันไหมครับ ท่าประโยคนึง 1 หน้าอีกประโยคนึงเว้นเพื่อการทำความเข้าใจได้ง่ายและจัดเรียงตัวอักษรและคำอทิบายให้ กะจายเป็นเรื่องของการทำรูปเล่มมากกว่าที่จะเกี่ยวกับเนื้อหาที่ถูกดัดแปลงนะครับ
    4 เนื้อหาที่ถูกดัดแปลง ตรงนี้ผมยังเชื่อมั่นในพระไตรปิดกอยู่เพราะยุคของเรายังคงมีพระอรหันหลงเหลือที่จะบอกได้ว่าจริงหรือเท็จประการใดลังยุคเราไปที่มีการมาเปลี่ยนแปลงกันเองดดยไม่มีการสังคยนานี่แหละครับที่น่าเป็นห่วง
    5 เรื่องราวพระสูตรนี้ผมเชื่อว่าไม่มีการแต่งขึ้นเพิ่มครับ ที่สงสัยเรื่องพระพุทธเจ้าท่านเสด็จไปผู้เดียวก้จริงอย่าลืมนะครับว่าสักขีพยานก้คือพระสงที่บรรลุ 1003 รูปที่อยู่ในเหตุการก้ยังอยู่ตอนทำสังคยนาโดยให้พระเล่าถึงเหตุการทุกรูปแล้วนำมาประมวลรวมกัน
    6 พระที่ได้วิมุติญานทัศนะ พระที่ได้ทิพจักขุมี และเรายังอยู่ในยุคที่พอจะเชื่อถือได้อยู่แต่หลังจากนี้ไปก้ไม่แน่เช่นกันหากใครจะมาเขียนแต่งเติมเพิ่มไปแล้วผลิตแล้วขายเองคงจะตรวจสอบได้ยากขึ้น
    ทั้งหมดก้เป็นความคิดนึงที่คำนึงถึงไป อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมดก้เป็นได้เพราะเราๆท่านๆไม่ได้อยู่ในเหตุการเหล่านั้น แต่ผมเชื่อหมดใจในคุณของพระรัตนะไตรครับทั้งพุทธคุณ ธรรมคุณ สังคคุณ ยังไม่มีสิ่งใดเสื่อมในยุคเราครับ และเหตุนี้ก้คงเป็นที่ กึ่งพุทธกาลแล้วจะสิ้นพระอรหันเหลือแต่พระอริยะ และค่อยๆลดหายไปเรื่อยๆครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2018
  7. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ใช่ครับ การปติบัติของแต่ละคนพบเจอเรื่องราวแตกต่างกัน แต่เมื่อเห็นธรรมจะเห็นสิ่งๆเดียวกันแต่ก้หลากหลายวิธีการเช่นกันช้าบ้างเร็วบ้างครับ ขอบคุณท่านนพที่มีเมตตาจิตต่อกันแบบกัลยานมิตรครับ
     
  8. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    เรื่องเหนือกว่าดีกว่าเลิศกว่า ไม่ใช่ประเดนครับ ประเดนคือผู้ที่ตั้งใจสอนธรรมพิจารณาเห็น อินทรีในจิตของผู้ฟังว่าพร้อมฟังหรือยัง ท่ายังไม่พร้อมโดยมากจะทำให้อินทรีมากขึ้นก่อน เมื่อินทรีมากพอแก่การฟังธรรมแล้วจึงบอกจึงสอนธรรมครับ

    และอีกประการคือผู้ที่ปติบัติธรรม เรียนรู้ธรรม บางเหล่าบางบุคคลจะไม่รู้แจ้งธรรมนั้นจนกว่าจะได้ฟังธรรมจากอริยะบุคคลครับเคยได้ยินไหมครับคำนี้ เมื่อได้ฟังธรรมจากสัตตบุรุษแล้วก้จะรู้แจ้งในธรรมได้ แต่ผู้แสดงจะไม่อยู่ๆมาอทิบายหรอกครับจะมองลงในจิตก่อนว่าอินทรีผู้ฟังพร้อมหรือยังและพร้อมฟังเรื่องใหนเพื่อเป็นประโยช หรือยังไม่เป็นประโยชในปัจจุบันแต่เมื่อฟังไปแล้วติดอยุ่ในใจวันนึงเมื่อถึงโอกาสก้จะรู้เท่าทันตามได้ครับ

    การแสดงธรรมมีหลักของการแสดง เช่นบางเรื่องก้ควรได้ให้ผู้ศึกษาธรรมได้เห็นได้ฟังจากตัวต้นตอหรือพระสูตรก่อน เหล่าธรรมที่ตัดออกมาคัดออกมาสอนๆกันก้ล้วนตัดมาจากพระสูตรเป็นตัวต้น และเมื่อเห็นพร้อมสมควรแล้วก้ยกเอาข้อธรรมมาแสดงตัวปติบัติด้วยปติเวทได้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...