*เครื่องรางของขลัง/วัตถุมงคล...รายการละ 100 บ./พร้อมส่ง บูชา 3 รายการ แถม 1 รายการ...

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Pitiphat, 4 มิถุนายน 2018.

  1. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่377 ตะกรุดห้ายอดหลวงพ่อรักษ์ อนาลโร จ.อยุธยา เดิมๆจากวัด คุณduke2513ปิดครับ
    “ตะกรุด” เป็นเครื่องรางของขลังที่คนไทยคุ้นเคยมากที่สุดประเภทหนึ่ง ซึ่งอานุภาพก็จะแตกต่างกันไปตามการปลุกเสกของครูบาอาจาจารย์แต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็น แคล้วคลาด เมตตามหานิยม โชคลาภ คงกระพัน ฯลฯ


    และหนึ่งในเครื่องรางตะกรุดที่ทรงอานุภาพมากเป็นที่กล่าวถึงกันในหมู่ผู้ศรัทธาสะสมเครื่องราง คือ “ตะกรุด 5 ยอด” หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย วัดสุทธาวาสวิปัสสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งนับว่าเป็นตะกรุดที่ให้ผลใน ห้าประการ ได้แก่ 1.ยอดเสน่ห์ 2. ยอดเมตตา 3.ยอดมหานิยม 4.ยอดโชคลาภ 5. ยอดแคล้วคลาด

    ยอดเสน่ห์ คือ ที่สุดแห่งความมีเสน่ห์ หมายถึง การเสริมมงคลให้เกิดเสน่ห์ ที่จะทำให้ผู้คนรักใคร่เมตตา เป็นที่รักของคนรอบข้าง เกื้อหนุนให้เกิดความเป็นมงคล เสริมการงานให้รุ่งโรจน์ หรือด้านการเงินก็ได้ผลดี

    ยอดเมตตา คือ ที่สุดแห่งเมตตา เสริมมงคลหนุนนำให้ผู้อื่นเกิดความเมตตาเอ็นดู เกิดการช่วยเหลือ ทั้งด้านการเงิน การเงิน หรืออุปสรรคต่างๆที่เผชิญอยู่ก็จะมีคนมาคอยอุปถัมภ์ค้ำชูไม่ให้ตกต่ำ

    ยอดมหานิยม คือ ที่สุดแห่งมหานิยม เสริมความเป็นมหานิยมในตนเอง ทำให้ผู้อื่นนิยมชมชอบ ซึ่งจะหนุนนำในด้านการงาน ค้าขาย การเงิน และอื่นๆ

    ยอดโชคลาภ คือ ที่สุดแห่งการมีโชค ไม่ว่าจะเป็นลาภลอยจากการเสี่ยงโชค โชคจากการงาน การเงิน โชคจากโอกาสที่ดีในชีวิต

    ยอดแคล้วคลาด คือ ที่สุดแห่งความแคล้วคลาด รอดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง

    ตะกรุดห้ายอดในแต่ละยอดนั้น ได้ถูกกำกับอักขระเลขยันต์และประจุพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์โดยหลวงพ่อรักษ์ อนาลโย พระเกจิรุ่นใหม่แห่งยุค ที่มีสานุศิษย์จำนวนมาก อันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าถึงความศรัทธาในปฏิปทา และความเข้มขลังจากการปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆที่ให้ผลด้านประสบการณ์ได้อย่างดีเยี่ย
    IMG_20181008_160357.jpg
    6781789-2.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2018
  2. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่378 ล็อกเก๊ตหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน
    IMG_20181008_160347.jpg IMG_20181008_160339.jpg
     
  3. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่379 ลูกอมรัตตนนาคา หลวงปู่มี วัดโพนทอง จังหวัดสุรินทร์ ปี2558
    IMG_20181008_160417.jpg
    IMG_20181008_160408.jpg IMG_20181008_160331.jpg IMG_20181008_160427.jpg
     
  4. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่380 หนุมานอุ้มดวงชะตา เนื้อโลหะ ไม่ทราบที่ครับ คุณduke2513ปิดครับ
    หนุมานอุ้มดวงชะตา เสริมดวงชะตา มีพุทธานุภาพ ขจัดปัดเป่า ให้เป็นผู้ที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บใดๆ ทั้งปวงและ มีอำนาจ วาสนา บารมี ตบะ เดช เมตตามหานิยม อุดมสมบูรณ์พรั่งพร้อมไปด้วย ลาภผล พูนทวี

    ผู้บูชาจะมีความเจริญก้าวหน้าไม่มีถอย ทำให้เสริมเรื่องเงินทอง ความนิยมชมชอบมีไม่ขาด ติดบ้านคุ้มครองบ้านเรือนผู้อยุ่อาศัย ติดร้านค้า สำนักงาน เจรจาธุรกิจค้าขาย คล่องไม่มีติดขัดมีแต่ความก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรือง และ นำมาติดตัวจะป้องกันภัยได้นานาชนิด

    หนุมานอุ้มดวงนั้นเปรียบเสมือน มีผู้ค้ำชูดวงชะตา เป็นไม้ค้ำดวง เสริมอำนาจ จะไม่มีตกต่ำอย่างถึงที่สุด แม้ทุกย์ยาก ก็จะมีผู้เข้ามาช่วยเหลืออย่างทันท่วงที สร้างอำนาจบารมีแก่เจ้าของ
    IMG_20181010_054905.jpg
    IMG_20181010_054922.jpg IMG_20181010_054930.jpg IMG_20181010_054939.jpg IMG_20181010_054948.jpg IMG_20181010_054956.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2018
  5. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่381 พระสิวลีเนื้อผง หลังฝังพระธาตุ วัดเศวตฉัตรวรวิหาร สร้างปี 2551
    ประวัติพระสีวลีเถระเจ้า
    พระสีวลี เป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา ราชธิดาแห่งโกลิยนคร ตั้งแต่ท่านจุติลงถือปฏิสนธิในครรภ์ของพระมารดา ได้ทำให้ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระมารดาเป็นอันมาก ท่านอาศัยอยู่ในครรภ์ ของพระมารดา นานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ครั้นเมื่อใกล้เวลาจะประสูติ พระมารดาได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า พระนางจึงขอให้พระสวามีไปกราบบังคมทูลขอพร จากพระบรมศาสดาและพระพุทธองค์ตรัสประทานพรแก่พระนางว่า:

    “ขอพระนางสุปปวาสา พระราชธิดาแห่งพระเจ้ากรุงโกลิยะ จงเป็นหญิงมีความสุข
    ปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชโอรสผู้หาโรคมิได้เถิด”

    ด้วย อำนาจแห่งพระพุทธานุภาพ ทุกขเวทนาของพระนางก็อันตรธานไป พระนางประสูติพระราชโอรสอย่างง่ายดาย ดุจน้ำไหลออกจากหม้อ พระประยูรญาติทั้งหลายได้ขนานพระนามพระราชโอรสของพระนางสุปปวาสาว่า “สีวลีกุมาร” เมื่อพระนางมีพระวรกายแข็งแรงดีแล้ว มีพระประสงค์ที่จะถวายมหาทานติดต่อกันเป็นเวลา ๗ วัน จึงจึงความประสงค์แก่พระสวามีให้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์ มารับมหาทานอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวสน์ ตลอด ๗ วัน ในวันถวายมหาทานนั้น สีวลีกุมาร มีพระวรกายเข้มแข็งดุจกุมารผู้มีพระชนม์ ๗ พรรษา ได้ช่วยพระบิดาและพระมารดาจัดแจงกิจต่าง ๆ มีการนำธมกรก (ธะมะกะหรก = กระบอกกรองน้ำ) มากรองน้ำดื่มและอังคาสพระบรมศาสดาและหมู่พระภิกษุสงฆ์ ในขณะที่สีวลีกุมาร ช่วยพระบิดาและพระมารดาอยู่นั้น ท่านพระสารีบุตรเถระได้สังเกตดูอยู่ตลอดเวลา และเกิดความรู้สึกพอใจในพระราชกุมารน้อยเป็นอย่างมาก ครั้นถึงวันที่ ๗ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย พระเถระได้สนทนากับสีวลีกุมารแล้วชักชวนให้มาบวช สีวลีกุมาร ผู้มีจิตน้อมไปในการบวชอยู่แล้ว เมื่อพระเถระชักชวน จึงกราบทูลขออนุญาตจากพระบิดาและพระมารดา เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงติดตามพระเถระไปยังพระอารามพระสารีบุตรเถระ ผู้รับภาระเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้สอนพระกรรมฐานเบื้องต้น คือ ตจปัญจกกรรมฐานทั้ง ๕ ได้แก่ เกสา(ผม) โลมา(ขน) นขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตโจ (หนัง) ให้พิจารณาของทั้ง ๕ เหล่านี้ว่าเป็นของไม่งานเป็นของสกปรก ไม่ควรเข้าไปยึดติดหลงใหลในสิ่งเหล่านี้ สีวลีกุมาร ได้สดับพระกรรมฐานนั้นแล้วนำไปพิจารณาในขณะที่กำลังจรดมีดโกนเพื่อโกนผม ครั้งแรกนั้นท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๒ ท่านได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๓ ท่านได้บรรลุเป็นพระอนาคามี และเมื่อโกนผมเสร็จ ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

    เมื่อท่านอุปสมบทแล้วปรากฏว่าท่านเป็นพุทธสาวกที่มีลาภสักการะมากมาย ด้วยอำนาจบุญบารมีของท่านที่สั่งสมมา ลาภสักการะเหล่านี้ได้เผื่อแผ่ไปยังพระสงฆ์สาวกท่านอื่น ๆ ด้วย แม้พระบรมศาสดาเมื่อทรงพาหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จทางไกลกันดาร ถ้ามี พระสีวลี ร่วมเดินทางไปด้วย ความขาดแคลนอาหารและที่พักอาศัยในระหว่างทางก็จะไม่เกิดขึ้นแก่หมู่ภิกษุ สงฆ์เลย เช่น....

    สมัย หนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จำนวน ๕๐๐ รูปไปเยี่ยมพระเรวตะผู้เป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระ ซึ่งจำพรรษาอยู่ ณ ป่าไม้ตะเคียน เมื่อเสด็จมาถึงทาง ๒ แพร่ง พระอานนท์เถระได้กราบทูลสภาพหนทางว่า.....

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเสด็จไปทางอ้อม ระยะทางไกล ๖๐ โยชน์ มีประชาชนอยู่อาศัยมาก พระภิกษุไม่ลำบากด้วยภิกขาจาร แต่ถ้าเสด็จไปทางลัดระยะทางประมาณ ๓๐ โยชน์ ไม่มีประชาชนอยู่อาศัย มีสภาพเป็นป่าใหญ่ มีแต่อมนุษย์อยู่อาศัย พระภิกษุสงฆ์จะลำบากด้วยภิกขาจาร”

    พระพุทธองค์ ตรัสถามว่า:-

    “ดูก่อนอานนท์ พระสีวลีมากับเราด้วยหรือไม่?”
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสีวลีมากับเราด้วย พระเจ้าข้า”

    พระพุทธองค์ ตรัสว่า:-

    “ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้นก็จงไปทางลัด ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกังวลด้วยอาหาร
    บิณฑบาต เพราะเทวดาทั้งหลายที่สิงสถิตอยู่ในป่าระหว่างทาง จะจัดสถานที่พักและอาหารบิณฑบาตไว้ถวายพระสีวลีผู้เป็นที่เคารพนับถือของพวก ตน เราทั้งหลายก็จะได้อาศัยบุญของพระสีวลี นั้นด้วย”

    ได้รับยกย่องในทางผู้มีลาภมาก

    ด้วย อำนาจบุญที่ท่านพระสีวลี ได้บำเพ็ญสั่งสมอบรมมาตั้งแต่อดีตชาติ เป็นปัจจัยส่งผลให้ท่านเจริญด้วยลาภสักการะ โดยมีเทพยาดา นาค ครุฑ และมนุษย์ทั้งหลาย นำมาถวายโดยมิขาดตกบกพร่อง ไม่ว่าท่านจะอยู่ในที่ใด ๆ ในป่า ในบ้าน ในน้ำ หรือบนบก เป็นต้นด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์ จึงทรงประกาศให้ปรากฏในหมู่พุทธบริษัทตรัสยกย่องท่านในตำแหน่ง เอคทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้มีลาภมาก นับว่าท่านพระสีวลีเถระเป็นพระมหาสาวกอีกรูปหนึ่งที่ได้ช่วยกิจการ พระศาสนา แบ่งเบาภาระของพระบรมศาสดาเป็นอย่างมาก ท่านดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

    คำอาราธนาพระสีวลี
    สีวลี จะ มะหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ
    สีวลี จะ มะหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ
    อะหัง วันทามิตัง สะทา สีวลี เถรัสสะ เอตัง คุณัง สวัสติลาภัง ภะวันตุเม

    คุณshaj ปิดครับ
    IMG_20181010_054838.jpg IMG_20181010_054829.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2019
  6. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่382 พระไพรีพินาศ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)วัดบวรนิเวศวรวิหาร ทรงพระชนมายุ 93 พรรษา ปี2549 หลังปั๊มหมึก
    สมเด็จพระญาณสังวรเมื่อยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอโดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่าถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บนเมื่อหายป่วยแล้วพระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม 5 แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี ที่วัดเทวสังฆารามโดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีลฯภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษาและได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา หลังจากนั้นพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหารและนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร(ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี”[6] จนกระทั่ง พระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำในธรรมยุติกนิกาย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานครเป็นอาจารย์สอนหลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหารทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีนักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 3 ประโยคและเปรียญธรรม 4 ประโยคตามลำดับหลังจากนั้นพระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆารามเพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา 1 พรรษา แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไปโดยทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยคโดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้นพระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม 9 ในปี พ.ศ. 2484หลังจากนั้นพระองค์ทรงเริ่มงานอันเกี่ยวเนื่องกับคณะสงฆ์อีกมากมายรวมทั้งทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งในฐานะเป็นพระเปรียญ 9 ประโยคต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการสภาการศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยรวมทั้ง เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์และรักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกาในกาลต่อมา นอกจากนี้ ยังทรงเป็นเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์อีกด้วยเมื่อมีพระชันษาได้ 34 ปี พระองค์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์ โดยพระองค์ได้รับเลือกจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ให้เป็นพระอภิบาลของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2499 ต่อมา ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ โดยราชทินนามทั้ง 2 ข้างต้นนั้นเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่พระองค์เป็นรูปแรกในปี พ.ศ. 2504 พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาคและเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ในปีเดียวกันนี้เองพระองค์ได้รับการสถาปนาที่ พระสาสนโสภณ[9] พระองค์เข้ารับตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และยังคงดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้ทรงนิพนธ์ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย

    พ.ศ. 2515 พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนาสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2359 ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์( ในพระนามใช้ราชทินนาม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ)สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:30 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต [1] มีการเคลื่อนพระศพจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มายังตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12:15 นาฬิกา ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงสรงน้ำพระศพในวันเดียวกัน เวลา 17:00 นาฬิกา พระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่ภายใต้เศวตฉัตรสามชั้นพร้อมเครื่องประกอบพระเกียรติยศ และให้มีพิธีสวดพระอภิธรรมพระศพเจ็ดวันการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานเลื่อนชั้นยศพระโกศจากพระโกศกุดั่นน้อยเป็นพระโกศกุดั่นใหญ่ตั้งแต่วันแรกที่สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเลื่อนจากพระโกศกุดั่นใหญ่เป็นพระโกศทองน้อย และพระราชทานฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น กางกั้นพระโกศ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

    IMG_20181010_054820.jpg IMG_20181010_054812.jpg
     
  7. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่383 พระปิดตา วัดคงคา ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ปี 2536
    เนื้อผงเก่าจากนิมิต ของหลวงพ่อศิลาแดง อันศักดิ์สิทธิ์ ที่มาบอกให้เอาผงเก่าใต้ฐานมาสร้างพระ
    ออกจากวัดมาไม่นานมีประสบการณ์ทันที จนคนมาเหมากันจนเกือบหมดวัด
    IMG_20181010_054803.jpg
    IMG_20181010_054755.jpg 4240902-4.jpg
     
  8. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่384 พระผงพิมพ์เล็กหลวงพ่อฟู ปี45 ครบ80ปี วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา กล่องเดิมครับ
    หลวงพ่อฟู ประวัติ ผลงาน พระเครื่อง วัตถุมงคล
    พระมงคลสุทธิคุณ หรือหลวงพ่อฟู อติภทฺโท ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบางปะกง เจ้าอาวาสวัดบางสมัคร ต.บางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ถือได้ว่าหลวงพ่อฟูเป็นศิษย์รูปสุดท้ายของหลวงพ่อดิ่ง ที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคม ในการสร้างวัตถุมงคลลิง หรือหนุมานอันลือเลื่อง รวมทั้งสุดยอดวิชาของหลวงพ่อดิ่งคือ "สูญผีไล่ผี คาถาพระเจ้าสิบหกพระองค์" ท่านนำวิชาอาคมของบรมครูแต่ละท่านมาใช้อย่างได้ผลดีทุกด้าน โดยเฉพาะด้านเมตตา มหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน มีเรื่องให้กล่าวขวัญกันไม่หยุด
    หลวงพ่อฟูเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๘๕ ที่วัดบางสมัคร โดยมีพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว) ผู้เป็นพระอาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อชื่น วัดทองนพคุณ เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูเมธีธรรมโฆสิต (พระมหาจอม) วัดบางสมัครเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อติภัทโท” หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาด้านคันถธุระ ที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ จนสามารถสอบได้นักธรรมโทและต่อมาเมื่อปี ๒๔๘๗ ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดอุทยานที จ.ชลบุรีเพื่อเรียนนักธรรมเอก
    จนกระทั่งปี ๒๔๙๒ ท่านก็สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค ต่อมาพรรษาที่ ๑๖ ปี ๒๕๐๑ หลวงพ่อฟูได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอู่ตะเภา จ.ชลบุรี เลื่อนอันดับเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหนองไม้แดง จ.ชลบุรีจนกระทั่งปี ๒๕๐๓ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาเมื่อปี ๒๕๐๕ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา ว่างเว้นลงชาวบ้านและญาติโยมจึงนิมนต์ท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางสมัครจวบจนปัจจุบัน
    ทั้งชีวิตท่านอุทิศเพื่อพระศาสนาได้พัฒนาวัดบางสมัครจนเจริญรุ่งเรืองเป็นวัดที่ใหญ่โตและกว้างขวางวันนี้มีพระอุโบสถ ที่ใหญ่ที่สุดในเขต อ.บางปะกง ในปี ๒๕๓๔ ท่านได้รับรางวัลพระราชทานเสมาธรรมจักรทองคำสาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความปลื้มปีติให้แก่ศิษยานุศิษย์ทั่วทุกหย่อมหญ้า ในด้านการศึกษา หลวงพ่อฟูท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวงเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมให้พระภิกษุสามเณรรุ่นใหม่อีกด้วย
    ด้วยความเก่าแก่ของวัดทำให้เสนาสนะต่างๆ ทรุดโทรมลง นับตั้งแต่ หลวงพ่อฟู อติภทฺโท มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ โดยเฉพาะอุโบสถหลังเก่าที่สร้างมานาน ท่านได้รื้อไปทำเป็นวิหาร จากนั้นได้ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อปี ๒๕๑๕ แล้วเสร็จในปี ๒๕๑๗ ต่อมาในปี ๒๕๒๘ ได้จัดงานผูกพัทธสีมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ถือว่าเป็นอุโบสถที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในย่านอำเภอบางปะกง ภายในประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่เป็นองค์พระประธาน
    หลวงพ่อฟูเป็นพระสงฆ์คงวัตรปฏิบัติดีรูปหนึ่งของเมืองไทย เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของภาคตะวันออก เป็นพระนักพัฒนารูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าของสมญานาม “พระเกจิขลังผู้เปี่ยมเมตตาแห่งลุ่มน้ำบางปะกง” ด้วยเหตุที่นามของท่านนั้นเป็นมงคล เชื่อกันว่า หากบูชาวัตถุมงคลหลวงพ่อฟู ชีวิตจะฟูเฟื่อง ได้พบแต่เรื่องดีๆ ในชีวิต เพราะท่านมีบารมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง มิเช่นนั้น คงไม่สร้างวัดบางสมัครจนเจริญรุ่งเรืองเป็นวัดที่ใหญ่โตและกว้างขวางอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
    ศิษย์รูปสุดท้ายของหลวงพ่อดิ่ง
    หลวงพ่อฟู ท่านได้สนใจศึกษาพุทธาคม ชอบแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีวิชาอาคมเก่งกล้าในยุคสมัยนั้นถวายตัวเป็นศิษย์ จนมีความรู้ความสามารถพิเศษในสรรพเวทวิทยาคมหลายๆ ด้านด้วยกัน ทั้งการศึกษาด้านสมุนไพร รักษาโรคภัยไข้เจ็บตามวิธีการแพทย์แผนโบราณ และใช้คาถาอาคมเสก เป่า เสกน้ำพระพุทธมนต์สงเคราะห์ญาติโยมด้วยความเมตตาธรรม โดยได้รับการถ่ายทอดพุทธาคมจากเกจิชื่อดังในอดีตหลายรูป เช่น
    หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว โดยแท้ เนื่องจากเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านและยังเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมขลังยิ่ง ว่ากันว่า หลวงพ่อดิ่ง ได้ถ่ายทอดวิชา “สูญผีไล่ผี คาถาพระเจ้าสิบหกพระองค์” อันเป็นวิชาชั้นสูงสุดของท่านและวิชาการสร้างลิงจับหลักที่แกะจากรากต้นพุดซ้อนให้หลวงพ่อฟูจนหมดสิ้น
    หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี ก็ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาทำเครื่องรางของขลัง “ตะกรุด ผ้ายันต์ ปลัดขิก เสืออาคม เสือสมิง การเขียน และลบผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห และการสร้างพระปิดตา” ให้แก่หลวงพ่อฟูเช่นกัน
    หลวงพ่อบุญมี วัดบึงกระจับ จ.ฉะเชิงเทรา พระอาจารย์ผู้โด่งดังทางด้านการสร้างลูกอม ก็ได้ถ่ายทอดวิชากรรมฐานในการออกธุดงค์ คาถาที่ใช้ภาวนา คือ “อะระหัง” กับ “นะ ขัตติยะ” ให้หลวงพ่อฟูด้วย
    หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกเฌอ จ.ชลบุรี ก็เป็นอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่หลวงพ่อฟูให้ความเคารพ หลวงพ่อเริ่มนั้นไม่ธรรมดาสืบสานวิชา “ฝนแสนห่า” และ “สีผึ้งเจ็ดจันทร์” จากหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก วิชาทำปลัดขิก วิชาหน้าผากหนังเสือ จากหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ โดยตรง วิชาทำผง ๑๒ นักษัตรของหลวงปู่เทียนวัดโบสถ์ วิชาการสร้างพระปิดตา และวิชาโหราศาสตร์จากสมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ วิชาเหล่านี้หลวงพ่อเริ่มได้ถ่ายทอดให้หลวงพ่อฟูในฐานะศิษย์เอกจนครบถ้วนด้วย
    ส่วนหลวงพ่อบุญมา วัดอุทยานที จ.ชลบุรี ก็ได้สอนตำราพระเวทสายเกจิอาจารย์ชายฝั่งทะเลตะวันออก และสูตรการผสมผงสร้างพระปิดตาสายวัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี ให้แก่หลวงพ่อฟู และวิชาการทำยาหอม ยาหม่อง น้ำมันใส่แผล จากสมุนไพรต่างๆ ซึ่งทุกวันนี้หลวงพ่อฟูได้นำมาใช้และแจกจ่ายประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ ทั้งสิ้น

    IMG_20181010_054718.jpg
    IMG_20181010_054709.jpg IMG_20181010_054746.jpg
     
  9. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่385 " พระผงรูปเหมือน " หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน จ.นนทบุรี รุ่น " ถุงเงิน-ถุงทอง " (ขวัญถุงผสมแบงก์) ปี ๒๕๔๓ พร้อมกล่องเดิมจากวัด
    หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน จ.นนทบุรีเจ้าตำหรับตะกรุดคอหมาและเสือปืนแตกอันโด่งดัง
    *** วัตถุมงคลหลวงปู่แย้ม ประสบการณ์สูงทุกรุ่นครับ ***
    IMG_20181010_054736.jpg
    IMG_20181010_054727.jpg


     
  10. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่386 พระผงโรยพลอย หลวงปู่ขาว มหาสิทธิโชค วัดศรัทธาธรรม จ.สมุทรสงคราม ปี 2540
    IMG_20181010_054855.jpg
    IMG_20181010_054847.jpg
     
  11. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่387 พระผงหลวงปู่คำดี ปัญโญภาโส วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง สกลนคร
    วัดป่าภูธรสร้างถวายครับ หลวงปู่คำดีท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ฝั้นครับ สายหลวงปู่มั่น
    มี 2 องค์ บูชาองค์ 150 บาท
    ประวัติย่อหลวงปู่พระรัชมงคลนายก หรือหลวงปู่คำดี ปญโญภาโส (สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต )
    แห่งวัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร


    หลวงปู่คำดี ปญโญภาโส หรือพระรัชมงคลนายก เจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ.) เจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ที่บ้านหนองหอย หมู่ 4 ต.กุสุมาลย์ อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร อายุ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 21 ก.ย. พ.ศ. 2488 อยู่วัดโพธาราม อ.กุสุมาลย์ อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ท่านได้ศึกษาปริยัติธรรมที่วัดโพธาราม และวัดพระธาตุเชิงชุมวรมหาวิหาร

    จากนั้นในปี พ.ศ. 2492 ได้ออกไปจำพรรษา ณ วัดป่าธาตุนาเวง ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าภูธรพิทักษ์ อ.เมือง จ.สกลนคร ขณะนั้นหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นประธานสงฆ์ ศึกษาปริยัติธรรมยู่ 4 ปี กลางพรรษาในช่วงนี้ได้เดินธุดงค์อยู่ในป่าช้า ป่าเขา ป่าช้าง ดงเสือ ครั้งละ 3-6 เดือน แต่ด้วยเดชอำนาจแห่งเมตตาธรรม ทำให้ปลอดภัยและอยู่เป็นสุขทุกครั้ง

    พ.ศ. 2488-2536 ได้ตระเวนไปปฏิบัติธรรมตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จากนั้นได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
    พ.ศ. 2508 ได้เลื่อนสมณศักดิ์สัญญาบัตรที่ พระครูพิศาลปัญโญภาส
    พ.ศ. 2538 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ.)
    พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระรัชมงคลนายก
    พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    หลวงปู่คำดีได้อาพาธ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ด้วยโรคความดันโลหิต โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน คณะศิษย์ได้ส่งตัวไปรักษาอาการอาพาธที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กทม. เมื่อแพทย์เห็นว่าอาการดีขึ้น จึงให้กลับมาพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสกลนคร

    ต่อมาหลวงปู่คำดีได้มีอาการทรุดหนักลง และมรณภาพด้วยอาการอันสงบ ณ โรงพยาบาลสกลนคร เมื่อวันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เวลา 09.09 น. สร้างความเศร้าโศกแก่คณะศิษย์เป็นอย่างยิ่ง สิริรวมอายุ 79 พรรษา 60

    หลวงปู่คำดีเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ เป็นลูกศิษย์ที่เดินตามรอยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มีพระปฏิปทาสูงส่งและมีวัตรปฏิบัติที่งดงาม เป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ

    หลวงปู่คำดี ปัญโญภาโส ศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    "พระรัชมงคลนายก" หรือ หลวงปู่คำดี ปัญโญภาโส วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร อดีตเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธรรมยุต) เป็นพระสายปฏิบัติธรรมที่ได้ทุ่มเทชีวิตให้กับการประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

    ทำให้มีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาเป็นจำนวนมาก

    อัตโนประวัติ พระรัชมงคลนายก มีนามเดิมว่า ดี ใบหะสีห์ เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2471 เกิดที่บ้านหนองหอย หมู่ที่ 4 ต.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายถาและนางตา ใบหะสีห์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 12 คน ท่านเป็นคนที่ 3

    ในวัยเด็ก เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดบ้านอีกุด ต.กุสุมาลย์ จบชั้นประถมปีที่ 4 ต้องลาออกออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา

    กระทั่งอายุ 18 ปี ได้ขอลาบวชเป็นสามเณร ที่วัดโพธาราม ต.กุสุมาลย์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2488 โดยมีเจ้าอธิการโท วรปัญโญ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ด้วยความตั้งใจครั้งแรก คิดจะบวชเพียง 7 วันเท่านั้น แต่ปรากฏว่า เมื่อได้ศึกษาพระธรรมอย่างถ่องแท้ เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงไม่ยอมสึก

    พ.ศ.2489 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี

    เมื่ออายุครบบวช จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2490 โดยมีพระอธิการโท วรปัญโญ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งเดิม พร้อมศึกษาพระปริยัติธรรมต่อ

    พ.ศ.2491 ได้ย้ายไปอยู่สำนักวัดสะพานคำ ตัวเมืองสกลนคร และได้ทราบว่าที่สำนักวัดป่าธาตุนาเวง ตั้งอยู่ที่บ้านธาตุนาเวง ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าภูธรพิทักษ์ มีการฉันอาหารมื้อเดียว ฉันสำรวมในบาตร

    จึงเดินทางไปที่สำนักวัดป่าธาตุนาเวง พบเห็นที่อยู่เป็นป่าสะอาดสะอ้านรู้สึกประทับใจ และได้เข้าไปนมัสการหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เจ้าอาวาสผู้เป็นหัวหน้าสำนัก เกิดความซาบซึ้งในรสพระธรรมที่ท่านได้อธิบายให้ฟังเข้าใจอย่างง่ายๆ

    ท่านได้ตัดสินใจขอฝากตัวเป็นศิษย์ และได้อยู่ศึกษาในปี พ.ศ.2492 และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้ทำพิธีญัติกรรมสวดญัตติใหม่ คือ การเปลี่ยนจากพระสายมหานิกายมาเป็นธรรมยุต เสมือนการบวชใหม่ จึงเริ่มนับพรรษาใหม่

    ในการนี้ มีพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโก) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระราชสุทธาจารย์ วัดเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม (พรมมา โชติโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ก่อนเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดป่าธาตุนาเวง และศึกษาข้อวัตรปฏิบัติในสำนักแห่งนี้

    เมื่อสิ้นปี พ.ศ.2495 ท่านจึงเดินทางออกแสวงหาที่เงียบสงบปฏิบัติธรรมโดยการเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรปลีกวิเวก

    หลวงปู่คำดี เคยเดินธุดงค์และจำพรรษา ดังนี้ พ.ศ.2492-2495 วัดป่าภูธรพิทักษ์ อ.เมือง จ.สกลนคร พ.ศ.2496-2497 ดงยางระโหงและที่วัดเขาแก้ว อ.ท่าไหม่ จ.จันทบุรี พ.ศ.2498-2500 ภูเขาป่ายางนาคและสำนักสงฆ์น้ำริน ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

    พ.ศ.2502-2504 วัดป่าศรัทธาราม ต.หัวทะเล จ.นครราชสีมา และ พ.ศ.2505 กลับไปที่สำนักสงฆ์น้ำริน ต.ขี้เหล็ก จ.เชียงใหม่

    พ.ศ.2506-2507 สำนักสงฆ์สันติวาสวดี อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร พ.ศ.2508-2512 วัดป่าศรัทธาราม วัดป่าสาละวัน จ.นครราชสีมา พ.ศ.2513-2517 วัดป่าน้ำริน ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ พ.ศ.2518-2523 วัดป่าธาตุนาเวง อ.เมืองสกลนคร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม พ.ศ.2524-2525 สำนักสงฆ์ถ้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    พ.ศ.2526-2532 วัดอรัญญิกาวาส อ.เมือง จ.นครพนม พ.ศ.2533 สำนักสงฆ์ผาเด่น อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, พ.ศ.2534-2536 วัดป่าภูธรพิทักษ์ อ.เมืองสกลนคร

    ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2538 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร พร้อมกับได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ.) และ พ.ศ.2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ.2548 หลวงปู่คำดี อาพาธด้วยโรคความดันโลหิต โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน คณะศิษย์ได้ส่งตัวไปรักษาอาการอาพาธที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพฯ เมื่อคณะแพทย์เห็นว่า อาการดีขึ้น จึงให้กลับมาพักรักษาตัวที่ ร.พ.สกลนคร

    วันที่ 29 พฤษภาคม 2549 หลวงปู่คำดี ได้มีอาการทรุดหนักลงและมรณภาพด้วยอาการอันสงบ สิริอายุ 79 พรรษา 60

    หลวงปู่คำดีเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ เป็นลูกศิษย์ที่เดินตามรอยพระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนา มีปฏิปทาสูงส่งและมีวัตรปฏิบัติที่งดงาม เป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ

    การมรณภาพของหลวงปู่คำดี ถือเป็นการสูญเสียพระเถระที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
    ............................................................
    ที่มา :: นสพ.ข่าวสด หน้า 31
    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6
    วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5743
    551.jpg
    องค์ที่1 IMG_20181010_221002.jpg IMG_20181010_220954.jpg
    องค์ที่2 IMG_20181010_220945.jpg IMG_20181010_220936.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2018
  12. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่388 พระปิดตา หลวงปู่ไข่ วัดบพิตรพิมุข(เชิงเลน) กรุงเทพฯ เนื้อผงพุทธคุณ จัดสร้างปี2554 มี 3 องค์ บูชาองค์ 150 บาท
    “หลวงปู่ไข่ อินทสโร” วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร (วัดเชิงเลน) แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีพลังจิตที่เข้มขลัง นามของท่านจึงขจรขจายไปไกล

    เป็นชาวแปดริ้ว เกิดเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2400 ที่ ต.ท่าไข่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา บิดา-มารดา ชื่อ นายกล่อม และนางบัว จันทร์สัมฤทธิ์

    อายุ 6 ขวบ บิดานำไปฝากกับหลวงพ่อปาน วัดโสธรฯ เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บวชเป็นสามเณร ได้ฝึกหัดเทศน์จนมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติ เมื่อหลวงพ่อปาน มรณภาพจึงเดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

    อายุ 15 ปี พระอาจารย์จวงมรณภาพ จึงเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหงษ์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 3 ปี แล้วจึงย้ายไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน จ.สมุทรสงคราม

    ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม จนอายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดลัดด่าน โดยมี พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลังจากนั้น เรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่งที่เมืองกาญจนบุรี แล้วจึงกลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกครั้งหนึ่ง

    ออกธุดงค์เป็นประจำทุกปีรวมระยะ 15 ปี เวลาท่านธุดงค์ผ่านไปทางใด ถ้ามีผู้คนทุกข์ยากหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ท่านก็ช่วยรักษาให้หายโดยตลอด เกียรติคุณของท่านเป็นที่รู้จัก จนมาถึงกรุงเทพฯ จึงมีผู้มานิมนต์ให้จำพรรษาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ 1 พรรษา แล้วก็ออกธุดงค์ไปในป่าอีก
    ต่อมา เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และเห็นว่าวัดบพิตรพิมุข (วัดเชิงเลน) เป็นวัดที่เงียบสงบดี จึงได้เข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดพบิตรพิมุขตลอดมา

    ระหว่างจำพรรษาอยู่วัดบพิตรพิมุข ได้ปฏิบัติทางธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ อาทิ สอนพระกัมมัฏฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้าง พระไตรปิฎก โดยหลวงปู่ไข่ลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน ขึ้นภายในบริเวณวัด สร้างแท่นสำหรับนั่งพักภายในคณะกุฏิให้เป็นที่สะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่อาศัยอยู่ในคณะนั้น เป็นต้น

    นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ตามหัวเมือง ก็ได้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ มาแล้วหลายแห่ง

    ด้านวัตถุมงคล สร้างพระเครื่อง พระปิดตา และเหรียญรูปเหมือนไว้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งปัจจุบันเป็นพระที่หายากมาก นอกจากนี้ ยังมีพระกลีบบัวอรหัง ซึ่งสร้างไว้ประมาณปี พ.ศ.2470 จำนวนมาก

    เป็นพระที่สมถะใฝ่สันโดษไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร ท่านยังมีชื่อเสียงด้านการเทศน์มหาชาติ อีกทั้งยังมีความสามารถทางแพทย์แผนโบราณ ศิษย์ของท่านมีทั้งไทย จีน และแขกซิกข์เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะมาหาท่านให้ช่วยรักษา ซึ่งท่านก็จะช่วยรักษาทุกครั้ง ไม่เคยแบ่งแยกชาติ ศาสนา เชื้อตระกูล จิตใจของท่านใสบริสุทธิ์

    ราวปี พ.ศ.2470 หลวงปู่ไข่ เตรียมบาตร กลด และย่าม เพื่อจะออกธุดงค์ แต่บรรดาศิษย์ทั้งหลาย ปรึกษาหารือกันว่า หลวงปู่ไข่ชราภาพมากแล้ว จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้หลวงปู่ไข่อยู่วิปัสสนากัมมัฏฐานแก่บรรดาศิษย์ต่อไป

    หลวงปู่ไข่ เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา ครั้นวันที่ 16 ม.ค.2475 เวลา 13.25 น. ถึงแก่มรณภาพอย่างสงบ

    องค์ที่1 IMG_20181010_221055.jpg IMG_20181010_221047.jpg IMG_20181010_221201.jpg
    องค์ที่2 IMG_20181010_221038.jpg IMG_20181010_221030.jpg IMG_20181010_221148.jpg
    องค์ที่3 IMG_20181010_221021.jpg IMG_20181010_221012.jpg IMG_20181010_221131.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2018
  13. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่389 จตุคามรามเทพ รุ่นขุมทอง จตุรทิศ ไตรมาส 50 พระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา เนื้อแดง ฝังพระธาตุ เข้าพิธี สำนักพระพรหมธาดา(จักรเพชร)
    ประวัติพระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม (หลวงพ่อประสูติ) วัดในเตา
    พระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม วัดในเตา(วัดถ้ำพระพุทธโกษีย์) นับเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ท่านหนึ่งในช่วง4-5ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งถ้ามีพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ จะต้องมีพระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา ร่วมพิธีด้วยเสมอ พระเครื่องและวัตถุมงคลที่ท่านสร้างมีเยอะมากพอสมควร แต่จำนวนการสร้างแต่ละอย่างจะไม่มากนักแต่หลากหลาย โดยเฉพาะ เครื่องรางของขลัง ที่ท่านสร้างออกมาจะเป็นที่ต้องการของลูกศิษย์โดยตลอดมา เช่น หุ่นพยนต์ รุ่นแรก ที่เป็นตะกรุดจะหายากมากไม่ค่อยมีหมุนเวียนในสนามพระ ซึ่ง พระอาจารย์ประสูติ มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์วิชาการผูก"หุ่นพยนต์" ซึ่งหุ่นพยนต์ ของอาจารย์ประสูติ จะเป็นได้ทั้งหญิงและชาย หุ่นพยนต์ รุ่นแรก ท่านทำจากตะกรุดจารอักขระด้ายที่ร้อยจะเป็นสีเหลืองทอง ยุคต่อมาจะเป็นไหมสีขาว และต่อมาก็เป็น หุ่นพยนต์มงคลเก้า หรือ หุ่นพยนต์มหามงคล 9, หม่อมกวัก,หน้ากากมโนราห์ หน้ากากพรานบุญ,เสือนอนกิน,เจ็ดนารีพันหลัก,ตะกรุด,ผ้ายันต์,ศาสตร์ดวงตราพลังจักรวาล,และอีกมากมาย

    ประวัติพระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา หรือ (หลวงพ่อประสูติ วัดในเตา)
    พระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม วัดถ้ำพระพุทธโกษีย์ หรือวัดในเตา หมู่ที่ 1 ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากวัดหนึ่ง เป็นสายสำนักเขาอ้อ ซึ่งพระอาจารย์ประสูติ เป็นเจ้าอาวาส วัดในเตา หลวงพ่อประสูติ ถือได้ว่าเป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและหลวงพ่อประสูติ ก็ยังเป็นพระนักพัฒนา ทำให้เป็นที่นับถือศรัทธาจากชาวบ้านโดยทั่วไป ทั้งใน จ.ตรัง จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และใกล้เคียง

    พระอาจารย์ประสูติ มีนามเดิมว่า สูตร คงฤทธิ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2508 ณ หมู่ที่ 2 บ้านห้วยหลุด ต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายประดิษฐ์ และนางสนิท คงฤทธิ์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนยางพารา หาเงินส่งเสียให้ลูกๆ ได้เล่าเรียนหนังสือ

    เมื่อวัยเยาว์
    ท่านได้เรียนหนังสือระดับประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านทุ่งต่อ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ได้ไปพักอยู่ประจำที่วัดในเตา กับ หลวงปู่แสง ธมฺมสโร เจ้าอาวาสวัดในเตา ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองตรัง สายสำนักเขาอ้อ จ.พัทลุง เลยทำให้ พระอาจารย์ประสูติ มีโอกาสได้ศึกษา เล่าเรียนสรรพวิชาต่างๆจากหลวงปู่แสง จนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนห้วยยอด จ.ตรัง

    อุปสมบท
    และเมื่อท่านอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ใน พ.ศ.2529 ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดห้วยยอด จ.ตรัง โดยมีพระครูนิมิตสังฆคุณ เจ้าคณะอำเภอห้วยยอด เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อพระอาจารย์ประสูติ เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม สามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ก่อนกราบลาพระอุปัชฌาย์ เพื่อออกธุดงค์วัตร เสาะแสวงหาพระเกจิอาจารย์ชื่อดังตามภาคต่างๆ เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาความรู้ เริ่มต้นเรียนจากหลวงปู่แสง เจ้าอาวาสวัดในเตา ซึ่งขณะนั้นในบริเวณรอบวัด ถือเป็นพื้นที่สีแดง แต่หลวงปู่แสงและพระอาจารย์ประสูติ สามารถอยู่จำพรรษาได้อย่างปกติสุข เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน

    กราบลาอาจารย์ออกธุดงค์ เพื่อไปศึกษาวิชาความรู้
    หลังร่ำเรียนวิชาจากหลวงปู่แสง ท่านได้กราบลา เพื่อเดินทางไปศึกษาวิชากับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น เดินทางไปภาคเหนือ เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ ครูบาเหมย วัดศรีดงเย็น จ.เชียงใหม่ เดินทางลงมายังภาคกลาง เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดถ้ำแผด จ.กาญจนบุรี

    ส่วนภาคใต้ ท่านเดินทางไปยังหลายวัด เพื่อขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ อาทิ หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน อ.หลังสวน จ.ชุมพร, พระครูบุญญาภินันท์ หรือพระอาจารย์หรีด วัดป่าโมกข์ จ.พังงา, หลวงปู่ชื่น วัดทุ่งชน จ.ตรัง เป็นต้น

    การออกธุดงค์เสาะแสวงหาพระอาจารย์ ของ"พระอาจารย์ประสูติ"เพื่อศึกษาวิชาความรู้ด้านพระพุทธศาสนา ทำให้เป็นพระนักปฏิบัติดี ปฏิบัติมั่นในพระธรรมวินัย ศีลาจารวัตรงดงาม แข็งแกร่งในวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีสมาธิแก่กล้า จนเป็นที่เลื่องลือ ในด้านการปลุกเสกเครื่องรางของขลังเด่นในพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม

    "พระอาจารย์ประสูติ"เดินทางกลับ จังหวัดตรัง
    และใน ปี พ.ศ.2540 พระอาจารย์ประสูติ ท่านได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง อีกครั้ง และต่อมา พ.ศ.2535 หลวงปู่แสง เจ้าอาวาสวัดในเตา มรณภาพลง ทำให้วัดแห่งนี้แทบจะกลายเป็นวัดร้างไป เนื่องจากไม่มีเจ้าอาวาสและพระลูกวัดอาศัยอยู่อย่างถาวร แม้จะมีพระสงฆ์หลายรูปหมุนเวียนกันมาเพื่ออยู่จำพรรษาที่วัดในเตา แต่ท้ายสุดไม่สามารถอยู่ได้และต้องย้ายออกไป

    อย่างไรก็ตาม เมื่อชาวบ้านรับทราบว่า พระอาจารย์ประสูติ เดินทางกลับมาจำวัดอยู่ที่วัดห้วยยอด ในฐานะที่เป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่แสง มากที่สุด และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาเช่นเดียวกับหลวงปู่แสง บรรดาชาวบ้านจึงได้ไปกราบนิมนต์ขอให้พระอาจารย์ประสูติ เป็นเจ้าอาวาสวัดในเตา นับตั้งแต่ พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน แม้ชื่อจริงของท่านคือ สูติ แต่ลูกศิษย์ลูกหาตลอดจนผู้ที่เคารพนับถือ ถนัดที่จะเรียกท่านว่า พระอาจารย์ประสูติ จนติดปาก จะมีบ้างที่ศิษย์ต่างจังหวัดจะเรียกว่า "หลวงพ่อประสูติ" ทั้งนี้ พระอาจารย์ประสูติ มีวิชาความรู้เกี่ยวกับพิธีการปลุกเสกจตุคามรามเทพ มาแต่สมัยยังเป็นสามเณร ที่วัดห้วยยอด ด้วยเคยติดตามหลวงปู่แสง ไปร่วมพิธีปลุกเสก ณ วิหารหลวง จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530

    ด้วยชื่อเสียงของท่านที่ขจรขยายไปทั่ว ทำให้วัดในเตา เป็นสถานที่หนึ่ง ในพิธีปลุกเสกจตุคามรามเทพไปโดยปริยาย ดังนั้น หากในประเทศไทยหรือในภาคใต้ มีวัดแห่งใดประสงค์ที่จัดสร้างจตุคามรามเทพ นอกเหนือไปจากวิหารหลวง จ.นครศรีธรรมราช และวัดเขาอ้อ จ.พัทลุง เพื่อประกอบพิธีแล้ว วัดในเตา จ.ตรัง เป็นอีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่นิยมใช้ในการทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องรุ่นต่างๆ
    IMG_20181010_220834.jpg IMG_20181010_220824.jpg IMG_20181010_220858.jpg 1232978938.JPG

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2018
  14. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่390 พระผงพระพุทธนั่งบัว หลังจีวร ปั๊มหมึก ครบรอบ 80 ปี เนื้อผงพุทธคุณ หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร
    IMG_20181010_220927.jpg
    IMG_20181010_220918.jpg IMG_20181010_220845.jpg
     
  15. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่391 เหรียญ หลวงปู่บุญตา วัดคลองเกตุ ลพบุรี ปี2531 คุณpasit_okปิดครับ
    พระครูสิริธัชสมาจารย์(หลวงปู่บุญตา วิสุทธสีโล) วัดคลองเกตุ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี
    มีนามเดิมว่า บุญตา นามสกุล พาซื่อ โยมบิดาชื่อ นายอุด โยมมารดาชื่อ นางทุม พาซื่อ

    เกิดที่บ้านโนนสะคาม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2449
    ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4 ท่าน คือ
    1. นายอ้วน พาซื่อ
    2. นายรุณ พาซื่อ
    3. นางลา พาซื่อ
    4. หลวงปู่บุญตา วิสุทธสีโล
    เมื่ออายุได้ 3 ขวบ บิดาย้ายถิ่นฐานไปอยู่บ้านพระเสาร์ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
    ชีวิตในวัยเยาว์อายุ 12 ปี ได้ศึกษาภาษาไทย ณ วัดพระเสาร์ จนถึงชั้น ป. 3 จึงออกมาช่วยบิดามารดาทำนา
    จนกระทั่งอายุ 16 ปี บิดามารดาพาย้ายถิ่นฐานไปอยู่บ้านจาน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
    และได้ย้ายไปอยู่บ้านหนองมะนาว ต.ขอนแก่น อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์
    จนอายุได้ 23 ปี มารดาก็เสียชีวิต ท่านจึงได้บวชหน้าไฟเพื่อทดแทนคุณมารดา
    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2472 ที่วัดหนองม้า ต.หนองฮะ อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์
    โดยมีพระอธิการกลัด เจ้าอาวาสวัดสะเม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์กา วัดสะเม็ด เป็นพระกรรมวาจา
    พระอธิการเผือ วัดบ้านเครือ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ท่านได้รับฉายาว่า "วิสุทธสีโล" แปลว่า "ผู้มีศีลอันบริสุทธิ์"
    เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์กลัด พระอุปัชฌาย์ในวัดสะเม็ด
    ได้เริ่มเรียนการปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างจริงจังกับผู้เป็นอุปัชฌาย์
    พร้อมกับเรียนพระปริยัติธรรมควบคู่ไปด้วยและก็สอบได้นักธรรมชั้นตรีในพรรษาแรก
    เมื่อจิตใจพึงพอใจอยู่กับความสงบประกอบกับหลวงปู่ท่านได้สมาธิแล้ว
    ก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายที่จะต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อมแห่งผู้คน
    จึงขออนุญาตพระอาจารย์กลัดแสวงหาครูบาอาจารย์สอนวิชา
    โดยไปจำพรรษาที่วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์
    เพราะทราบว่ามีครูบาอาจารย์ดีในวัดหลายองค์
    ท่านจึงได้ศึกษาวิชาต่างๆ หลายแขนงทั้งทางด้านปฏิบัติธรรม ด้านคาถาอาคม
    ไสยศาสตร์ แต่เนื่องจากวิชาอาคมต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นภาษาขอมท่านจึงคิดที่หาที่เรียนภาษาขอม
    จึงเดินทางไปยังวัดเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
    เรียนภาษาบาลีและอักขระขอม ใช้เวลาเรียนอยู่ 4 ปีเต็มจนแตกฉานในภาษาบาลีและอักขระขอม
    จบแล้วจึงไปจำพรรษาที่วัดพระเสาร์เป็นเวลา 3 พรรษา
    และท่านก็ปรารถนาจะกราบนมัสการพระธาตุพนม ซึ่งไม่เคยไปมาก่อน
    ท่านจึงออกเดินทางธุดงค์ไปยังวัดพระธาตุพนม ค่ำไหนก็ปักกลดที่นั่น
    ทำการสำรวจจิตใจด้วยตนเอง ทบทวนด้วยเรื่องของสังขารอยู่ในป่าทึบ
    จนกระทั่งถึงวัดพระธาตุพนม และอยู่ที่วัดพระธาตุพนม 7 วัน
    จากนั้นออกธุดงค์ต่อไปทางจังหวัดเชียงใหม่ไปพักอยู่วัดอุโมงค์
    เป็นวัดที่พระชาวศรีลังกามาสอนธรรมะ
    ท่านอยู่ที่นั่น 15 วัน ก็ธุดงค์ต่อไปทั่วภาคเหนือและภาคอิสาน
    ปี พ.ศ. 2474 หลวงปู่เดินธุดงค์อยู่เชียงใหม่
    ท่านทราบว่าเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แสดงธรรมอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง
    ท่านดีใจมากที่จะได้พบพระสุปฏิปันโน
    และท่านก็ได้รับความเมตตาชี้แนะแนวทางธรรม
    หลังจากนั้นท่านจึงธุดงค์ไปวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเสาร์ กันตสีโล
    ซึ่งหลวงพ่อเสาร์ ท่านเชี่ยวชาญเรื่องปัฏฐวีกสิณ เตโชกสิณ อาโปกสิณ และวาโยกสิณ
    หลวงพ่อเสาร์ท่านได้เมตตาสอนปัฏฐวีกสิณให้
    โดยนำดินมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ ขนาดเท่าหม้อใหญ่และขนาดขันน้ำ โดยมองให้เห็นอยู่อย่างนั้น
    แล้วลืมตามาเพ่งใหม่คือ การเพ่งดินเป็นอารมณ์ และในการฝึกนั้นจะมีพระมหาปิ่น ปญฺญาธโร
    และพระอาจารย์สิงห์ ขันตคยาโม เป็นผู้เข้มงวดในการฝึก
    จนกระทั่งหลวงปู่บุญตา เข้าถึงปฐวีกสิณอย่างรวดเร็วกว่าศิษย์ท่านอื่นๆ
    จากนั้นท่านจึงกราบลาหลวงพ่อเสาร์ และพระมหาปิ่น ธุดงค์มาทางจังหวัดลพบุรี
    และมาพักอยู่วัดพรหมมาสตร์ มาอยู่กับหลวงพ่อพุทธวรญาณได้ศึกษาธรรมะอยู่ 1 พรรษา
    จากนั้นจึงเดินทางเข้าไปกรุงเทพฯ ไปอยู่วัดมหาธาตุ
    พร้อมกับปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานกับพระเทพสิทธิมุนี ภาวนายุบหนอ พองหนอ
    เพ่งสติให้เป็นมหาสติปัฏฐาน ปฏิบัติได้ 2 เดือนเศษก็มีความชำนาญและช่ำชองอย่างรวดเร็ว
    ออกจากวัดมหาธาตุ ย้อนกลับไปยังจังหวัดนครสวรรค์
    ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเดิม พุทธสโร แห่งวัดหนองโพ ได้ศึกษาวิชากับหลวงพ่อเดิมหลายอย่าง
    เช่น การสร้างมีดหมอเทพศาสตราตามตำรับเดิมแท้ ฯลฯ
    และท่านได้ไปเรียนวิชากับหลวงพ่อทองวัดเขากบ ซึ่งท่านมีชื่อเสียงในการเล่นแร่แปรธาตุ
    จากนั้นได้เข้าศึกษาพระธรรมที่วัดศรีษะเมือง หรือวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีชื่อเสียงทางปริยัติธรรม
    หลวงปู่บุญตาจึงได้ศึกษาจนสำเร็จนักธรรมชั้นโทและนักธรรมชั้นเอก
    ท่านอยู่ที่ในนครสวรรค์ 4 พรรษา จากนั้นก็กลับมาลพบุรี มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองบัว ต.คลองเกตุ
    อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ในปี 2483
    ท่านอยู่ที่วัดหนองบัว 3 พรรษา จากนั้นจึงกลับไปเยี่ยมภูมิลำเนาเกิด โดยไปจำพรรษาที่วัดพระเสาร์
    เป็นเวลา 3 พรรษา จากนั้นก็กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวอีกครั้งหนึ่ง
    ในการอยู่วัดหนองบัวท่านก็ได้โน้มน้าวจิตใจของญาติโยมเข้าวัดปฏิบัติธรรม
    ควบคู่ไปกลับการสอนปริยัติธรรมให้กับพระภิกษุสามเณร
    รวมทั้งเป็นที่พึ่งของญาติโยมในภาวะเจ็บไข้ท่านก็ใช้พลังอำนาจทางจิตทำการรักษา
    รวมทั้งผู้ที่ถูกคุณไสยมนต์ดำ หลวงปู่สยบมาแล้วทั้งนั้น
    ชื่อเสียงด้านการสอนธรรมะและปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ ทำให้ผู้ใหญ่ระดับสูงในอำเภอโคกสำโรง
    อาราธนานิมนต์ไปยังอารามแห่งใหม่
    ท่านอยู่วัดหนองบัวครั้งหลัง 3 พรรษา ปี 2492 ก็ได้รับคำสั่งให้ไปปกครองวัดสิงห์คูยาง
    ซึ่งอยู่ใจกลางชุมชนตลาดอำเภอโคกสำโรง ท่านพัฒนาวัดสิงห์คูยาง จนก้าวหน้า
    และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระครูสังฆรักษ์บุญตา พระฐานานุกรมของพระกิตติญาณมุนี
    (พระพุทธวรญาณ) เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี รวมระยะเวลาปกครองวัดสิงห์คูยาง 23 พรรษา
    ขณะที่ท่านพำนักอยู่วัดสิงห์คูยางนั้นท่านเดินทางสู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
    เพื่อขอรับการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวทางของพระธรรมธีราชมุนี (โชดกญาณสิทธิ ป.ธ.9)
    ในรุ่นที่ 3 และได้รับการยกย่องจากพระเดชพระคุณ พระพิมลปัญญาว่า เป็นพระวิปัสสนาจารย์ชั้นเยี่ยม
    เพราะเข้าสมาธิได้เป็นที่ 1 สามารถทำให้ร่างกายไม่ไหวติงนานนับ ถึง 1 วัน 1 คืน
    ถึงขั้นมีผู้ทดสอบยกร่างของท่านจากที่เดิมไปที่แห่งใหม่ โดยที่ท่านั่งของท่านยังคงเดิมไม่ไหวติง
    เพราะหลวงปู่ท่านเข้าถึงสภาวะจิตขั้นสูงแล้ว
    วัดคลองเกตุ ต.คลองเกตุ อ.โคกสำโรง ถึงยุคเสื่อมโทรมร้างเจ้าอาวาส
    ชาวบ้านตำบลคลองเกตุได้พร้อมใจกันไปขอร้องท่านผู้ใหญ่ในอำเภอ
    ขออาราธนานิมนต์ไปปกครองวัดคลองเกตุไปเป็นหลักของชาวบ้านคลองเกตุ
    เพราะความศรัทธาที่มีต่อท่านตั้งแต่ครั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัว ซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกัน
    คณะสงฆ์ผู้ใหญ่ได้สอบถามหลวงปู่ หลวงปู่ก็ตอบตกลงเพราะว่าวัดสิงห์คูยางเจริญแล้ว
    และอยู่กลางอำเภอ และเห็นว่าวัดคลองเกตุเงียบสงบ
    เหมาะแก่การเจริญภาวนา ปฏิบัติธรรม ท่านจึงตอบตกลงทันที
    วันที่ 25 มกราคม 2514 ขบวนชาวบ้านคลองเกตุ ได้จัดขบวนไปรับหลวงปู่ถึงวัดสิงห์คูยาง
    เพื่อไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคลองเกตุ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    หลวงปู่ท่านก็ได้ไปบริหารจัดการและพัฒนาจนเจริญก้าวหน้าจนเป็นวัดคลองเกตุในปัจจุบัน
    หลวงปู่บุญตาท่านมีความช่ำชองในการเพ่งกสิณไฟเป็นพิเศษ
    ถึงขนาดที่กำหนดจิตเสกพระให้แก่ผู้ศรัทธาเพียงชั่วอึดใจ
    พระที่ท่านเสกให้ถึงกับร้อนจัดขึ้นทันที
    และที่น่าอัศจรรย์คือมีผู้ห้อยพระของท่านถูกฟ้าผ่า แต่รอดตายได้อย่างปาฏิหารย์
    วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่น ประสบการณ์เพียบ....เรื่องแคล้วคลาด ปลอดภัย โชคลาภ
    มีพูดคุยปากต่อปากของลูกศิษย์ของท่านไม่ขาดปากตลอดจนถึงปัจจุบันนี้
    และวัตถุมงคลของท่านไม่มีวางให้เห็นตามแผงพระทั่วไป เพราะลูกศิษย์เห็นจะเก็บไว้หมด
    นานๆ ทีจึงจะเห็นวัตถุมงคลของท่านออกมาให้เห็นตามตลาดพระบ้าง
    กสิณไฟเหนือฟ้า วาจาสิทธิ์
    ลูกศิษย์ของหลวงพ่อบุญตา ทั้งใกล้และไกลได้ประจักษ์ถึงคุณวิเศษของท่านคือ วาจาสิทธิ์
    ถ้อยคำที่ท่านพูดออกไปนั้นมักเป็นความจริงเสมอ จนได้รับการยกย่องว่า หลวงปู่บุญตาวาจาสิทธิ์
    หลวงปู่ท่านเป็นพระกัมมัฏฐานที่มีจิตใจสะอาดมองโลกในงแง่ดีเสมอ
    กายวาจาและจิตใจของท่านบริสุทธิ์จริงไม่มีการพลั้งเผลอขาดสติ
    จิตใจแน่วแน่อยู่ในพุทธคุณ วาจาที่กล่าวออกมาจึงบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์
    เป็นที่รู้กันไม่ว่าหลวงปู่จะพูดอะไรก็เป็นไปอย่างนั้น จะทักใครให้อยู่ดีมีความสุข
    คนนั้นก็จะเป็นไปตามที่หลวงปู่พูด คนเกเรข่มเหงไม่ว่าผู้เฒ่าผู้เฒ่าผู้แก่ระรานเขาไปทั่ว
    เมื่อหลวงปู่ทราบก็จะสั่งสอนให้กลับเนื้อกลับตัวเสียใหม่
    ให้ปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามก่อนจะสาย หากคนนั้นรับปากแล้วไม่กระทำตามหรือดูหมิ่น
    ในคำสอนของหลวงปู่ก็จะต้องได้รับความวิบัติจนถึงหายนะไปในที่สุดดังที่ประจักษ์กันมาแล้ว
    คำพูดของท่านที่ลูกศิษย์ได้ยินเสมอคือ ช่างเขาเถอะ
    หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่ให้เสมอ ผู้ใดขออะไร ท่านก็มีแต่ให้ ท่านมักพูดน้อย
    วาจาไพเราะ ผิวพรรณผ่องใสงดงาม ผู้ที่เข้ามากราบท่าน พบท่านแล้วจะเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง
    สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของท่านก็คือ การเพิ่มพลังกำลังใจให้แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก
    หรือที่ภาษาของชาวบ้านเรียกว่า ต่ออายุหรือต่อชะตา
    ชาวบ้านใกล้ไกลจะมาให้ท่านสงเคราะห์อยู่อย่างสม่ำเสมอ คนป่วยที่ว่าไม่น่ารอด
    ไปหาหมอไหนๆ ก็ส่ายหน้า แต่ถ้ามากราบนิมนต์ให้ท่านทำหรือแนะนำให้ไปปฏิบัติ
    ก็จะหายจากอาการที่เป็นอยู่ และจะดีขึ้นในวันต่อมา เป็นความมหัศจรรย์จริงๆ
    หลวงปู่ท่านจะอบรมสั่งสอนให้ศิษย์เป็นคนดีหนีทุกข์ยากได้สำเร็จ
    ดั่งคำพูดของท่านว่า "อาตมาเป็นพระภิกษุสงฆ์ บวชแล้วได้อาศัยอาหารของชาวบ้าน
    เลี้ยงตัวตนจึงนับด้วยพระคุณ ดุจทองคำอันมีค่า
    แต่ยังด้อยกว่าข้าวเพียงหนึ่งคำที่ฉันผ่านลำคอ
    ดังนั้น แม้เวลาใดขณะใดญาติโยมมาหา อาตมาก็ต้องต้อนรับขับสู้ด้วยจิตที่มีเมตตายินดี"
    หลวงปู่ท่านได้เมตตาอบรมความคิดคติธรรมคำพรประสิทธิ์แด่ลูกศิษย์ ดังนี้
    1. ให้ทำความสงบทางจิตใจ
    2. ให้ขยันหมั่นเพียร
    3. อย่าเกียจคร้านให้สร้างเนื้อสร้างตัวโดยเร็ว
    4. ให้ทำตัวเป็นคนดี จะได้หลุดพ้นความยากจนและความทุกข์
    5. มีให้เกินใช้ มีมากใช้น้อย
    6. ได้ให้เกินเสีย คือทำงานมีเงินควรเก็บไว้แต่เวลาใช้ก็อย่าใช้มากให้ประหยัด
    7. คบเพื่อนที่ดี เพื่อนที่แนะนำไปในทางที่ดี
    8. สวดมนต์ภาวนา สร้างกุศลเพื่อหลุดพ้นภพชาติ
    ขอให้ญาติโยมทุกคนหมั่นเจริญภาวนาหาเหตุผลแยกแยะความดีความชั่ว
    ดูให้ออกมองให้เห็นและหมั่นทำความดีรักษาศีล เจริญธรรม
    ชีวิตที่อับเฉาของญาติโยมก็จะดีขึ้นมีความสุขขึ้น
    เพราะพระธรรมย่อมนำความสุขสงบความร่มเย็นมาให้
    สมัยก่อนมีลูกศิษย์ได้ถามหลวงปู่บุญตาว่า ทำไมฟ้าจึงผ่าคนแล้วไม่ตายครับ
    หลวงปู่ตอบว่า ฟ้าคงจะทดลองบุญบารมีเขากระมัง
    ลูกศิษย์ท่านนั้นก็ถามว่า ทดลองบารมีใครหรือครับ
    หลวงปู่ตอบกลับไปว่า ลองสวดมนต์บ่อยๆ นั่งกัมมัฏฐานเรื่อยๆ นะ เดี๋ยวก็จะรู้เอง
    ลูกศิษย์คนนั้นก็ได้แต่รับปากว่า...ครับ...หลวงปู่.
    IMG_20181012_065233.jpg
    IMG_20181012_065223.jpg 10516765_1538141753080813_4138365350812949031_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2018
  16. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่392 รูปถ่ายติดกระจก 2 หน้าหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน (หน้า-หลัง)
    IMG_20181012_065054.jpg IMG_20181012_065027.jpg
     
  17. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่393 พระผงหลวงพ่อโตเลื่อนสมณศักดิ์พระเทพรัตนากร (หลวงพ่อแวว) วัดพนัญเชิง ปี 2552
    IMG_20181012_064837.jpg
    IMG_20181012_064826.jpg
     
  18. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่394 พระโพธิจักร พิมพ์ใหญ่หลังยันต์ดวง พิเศษฝังแร่สะเก็ดดาว วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ หลวงพ่อทอง อริยสงฆ์สายธรรมหลวงพ่อลี ปลุกเสกครับ
    หลวงพ่อลี เกจิดังแห่งวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ท่านเป็นพระเถระที่มีศีลาจารวัตรงดงามยิ่งนักท่านเป็นพระนักปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น.อาจารย์ฝั่น..หลวงปู่เสาร์..และพระสายกรรมฐานอีกหลายๆท่านครับ..ท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดมากๆ และวัตุถมงคลของท่านมีผู้คนต่างนิยมเช่าหา เนื่องจากประสบการณ์ที่มีมากมาย ทั้งภูมิธรรมของท่านก็สูงน่าเคารพท่านเป็นพระที่ปฏิบัติอย่างเข้มแข็งโดยท่านหลวงปู่มั่นท่านรับรองการปฏิบัติของท่านอย่างชัดเจนและท่านเป็นพระที่มีพลังจิตเข้มแข็งตามบุญวาสนาของท่านที่สั่งสมมาโดยท่านหลวงปู่มั่นท่านเคยกล่าวว่า ในยุคสมัยนี้จะหาผู้มีพลังจิตเข้มแข็งเท่าท่านลี และ ท่านฝั้นไม่มีอีกแล้ว ท่านพ่อลีท่านยังสามารถอัญเชิญพระบรมธาตุ และ พระธาตุมาได้ดังใจปารถนาจนเป็นที่เลื่องชื่อ

    IMG_20181012_065016.jpg
    IMG_20181012_065004.jpg
     
  19. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่395 พระผงหลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน อยุธยา
    พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ หรือหลวงพ่อพูน ฐิตสีโล เจ้าอาวาสวัดบ้านแพน ต.สามกอ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ถือกำเนิด ณ บ้านสามกอ หมู่ ๑ ต.สามกอ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๕ มีนามเดิมว่า ทองพูน นามสกุล สัญญะโสภี โยมบิดาชื่อแบน โยมมารดาชื่อสมบุญ สัญญะโสภี
    ในด้านพระเวทย์วิทยาคมหลวงพ่อพูนท่านสนใจและศึกษาในเรื่องพุทธเวทย์มหามนต์ซึ่งเป็นศาสตร์แห่ง “พุทธ” มาตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี โดยในเวลานั้นได้ติดตามหลวงปู่คำปัน พระธุดงค์ที่มาจากภาคเหนือขึ้นไปอาศัยอยู่ภาคเหนือเป็นเวลา ๑ ปี จึงได้กลับมาบ้านเกิดพร้อมทั้งตำราการดูดวงที่ถือได้ว่าแม่นยำอย่างหาใครเปรียบได้ยาก ไม่เพียงแค่นั้นหลวงพ่อพูนท่านยังได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับอาจารย์พริ้ง ลักษณนิล อาจารย์ลพ เกตุบุตร และ อาจารย์รอด จันทรวิบูลย์ สามฆราวาสจอมขมังเวทย์ในย่านบ้านแพน ซึ่งเป็นศิษย์ของอาจารย์จาบ สุวรรณ แห่งสำนักวัดประดู่โรงธรรม
    นอกจากนี้หลวงพ่อพูนท่านยังได้รับการถ่ายทอดวิชาการทำน้ำมนต์มาจากอาจารย์พริ้ง ลักษณนิล และรับการถ่ายทอดวิชาการลงยันต์ตรีนิสิงเหจากอาจารย์ลพ เกตุบุตร ซึ่งเป็นพี่ชายของหลวงพ่อวาสน์ พระอุปัชฌาย์ของท่าน จนจบหลักสูตรวิชา จึงเป็นเหตุให้น้ำมนต์ที่หลวงพ่อพูนทำขึ้นมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก สามารถใช้ขับไล่ภูตผี ปีศาจ เสนียดจัญไรได้อย่างชะงัด
    ส่วนครูบาอาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์นั้น เริ่มแรกทีเดียวหลวงพ่อพูนท่านได้ศึกษาร่ำเรียนพระกรรมฐานและสรรพวิชาต่างๆ ซึ่งเป็นวิชาสายวัดบ้านแพนมาจากหลวงพ่อวาสน์ หลังจากนั้นท่านจึงได้ไปขอเรียนวิชาการทำตะกรุดดอก(ไม้)ทองจากหลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง จ.อ่างทอง นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาวิชามาจากหลวงพ่อปี จนฺทาโภ วัดกระโดงทอง และหลวงพ่อมี วัดมารวิชัย ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่าน จนมีความเชี่ยวชาญด้านพระเวทย์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายวิชาพระคาถาชินบัญชรอันลือลั่นของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

    IMG_20181012_064951.jpg
    IMG_20181012_064933.jpg
     
  20. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่396 พระผงจักรพรรดิ์ พิมพ์สมเด็จคะแนน หลวงตาม้า วัดถ้ำเมืองนะ จ.เชียงใหม่ ปี2540
    IMG_20181012_232927.jpg
    IMG_20181012_232919.jpg IMG_20181012_232947.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...