**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4436

    เหรียญพระเจ้าเพชร วัดหนองพันเงิน รุ่นแรก กะไหล่เงิน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    เหรียญพระเจ้าเพชร รุ่นแรกเนื้อทองแดง วัดหนองพันเงิน ปี 2540 เหรียญสุดยอดประสบการณ์ และเป็นที่หวงแหนของคนในพื้นที่อำเภอสันป่าตอง

    ประวัติพระเจ้าเพชรวัดหนองพันเงิน

    พระเจ้าเพชรวัดหนองพันเงิน เป็นพระพุทธรูปเนื้อสำริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๙ นิ้ว เป็นศิลปะสมัยเชียงแสนสิงห์ ๑ ซึ่ง มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปอินเดีย โดยได้รับอิทธิพลแบบ ปาละ – เสนะ คือ มีลักษณะพระพักตร์กลม พระขนงเรียวโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม พระพักตร์คล้ายอมยิ้ม เม็ดพระศกค่อนข้างใหญ่เป็นต่อมกลมหรือรูปก้นหอย ไม่มีไรพระศก พระรัศมีเป็นต่อมกลมหรือรูปดอกบัวตูม พระองค์อวบ พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้นพาดเหนือราวพระถัน ประทับท่านั่งขัดสมาธิเพชร ฐานพระมีบัวคว่ำบัวหงายรองรับและประดับด้วยแก้วอังวะหรือแก้วจืน สาเหตุที่ชื่อพระเจ้าเพชรเพราะองค์พระประทับนั่งท่าขัดสมาธิเพชร

    จากหลักฐานทางศิลปะ สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๘๕ – ๒๐๖๘ ซึ่งเป็นสมัยของพระญาติโลกราช ถึง พระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นยุคทองของล้านนาทั้งทางด้านศิลปะ สถาปัตยกรรมและวรรณกรรมต่างๆ พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ปกครองเป็นอย่างมาก ในยุคนี้ บ้านเมืองเป็นปึกแผ่น เป็นเหตุให้มีการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นมรดกตกมาสู่ปัจจุบันอย่างมากมายทั้งในรูปวรรณกรรมและศิลปต่างๆ

    พระเจ้าเพชรวัดหนองพันเงิน สันนิษฐานว่าคงจะสร้างโดยพระมหากษัตริย์ในยุคดังกล่าว เพราะจากการสำรวจจากองค์พระและหลักฐานอื่นๆ ทำให้เชื่อได้ว่า ต้องสร้างโดยพระมหากษัตริย์หรือผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่เท่านั้น เพราะชาวบ้านธรรมดาคงไม่สามารถทำได้ เพราะองค์พระนั้นหล่อด้วยทองสำริดหนักทอง คือมีทองคำมากกว่าวัสดุอื่น และพุทธลักษณะนั้นงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปสำริด โบราณที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งในล้านนา เพราะเมื่อ ๕๐๐ ถึง ๖๐๐ ปีก่อนหน้านี้วิวัฒนาการหรือเทคโนโลยีต่างๆ ยังไม่ทันสมัย แต่ช่างก็สามารถหล่อได้อย่างงดงามมากและเป็นฝีมือของช่างหลวง เพราะความงดงามจับใจจึงมักมีตำนานเปรียบเทียบว่า ขณะที่ทำการหล่อพระพุทธรูปองค์นี้ อาจจะมีเทวดาลงมาช่วยหล่อเหมือนประวัติของพระพุทธรูปสำคัญองค์อื่นๆ เช่น หลวงพ่อพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ที่มี ตาปะขาวมาช่วยหล่อ จึงทำให้ได้พระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่งดงามและศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น

    จากการสัมภาษณ์คนเฒ่าคนแก่ที่มีอายุมากกว่า ๘๐ ปีขึ้นไป ทำให้ทราบว่าพระเจ้าเพชรนี้เดิมอยู่ที่วัดป่าไม้แดง (ซึ่งตอนนี้เป็นวัดร้าง แต่ยังมีซากอุโบสถ เจดีย์เก่าปรักหักพัง ต้นโพธิ์และพระวิหาร ให้เห็นร่องรอยว่าเป็นวัดโบราณ) ต่อมาเมื่อวัดนี้ร้างลงก็มีต้นไม้ ต้นไผ่ และเถาวัลย์ต่างๆ ขึ้นเต็มบริเวณ ไม่มีผู้คนสนใจ ถาวรวัตถุต่างๆ ก็เสื่อมโทรมไป ในเวลาต่อมาได้มีชาวบ้านพร้อมพระภิกษุไปแผ้วถางที่วัดร้างนั้นก็ได้พบพระพุทธรูป ๒ องค์ องค์ที่ ๑ เป็นพระพุทธรูปสำริด คาดว่าเป็นพระสิงห์ ๓ เพราะองค์พระค่อนข้างบางคล้ายพระสุโขทัยและพระโมลีเป็นเปลว ชาวบ้านได้อาราธนาไปไว้ที่ วัดป่าอ้อย ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงประดิษฐานอยู่ภายในวัดป่าอ้อย ส่วนองค์ที่ ๒ เป็นพระปูนลักษณะไม่งดงามชาวบ้านป่าอ้อยได้ยกให้วัดศรีปันเงิน เมื่อพระและฆราวาสวัดศรีปันเงินได้พระพุทธรูปองค์นี้มาก็ได้อาราธนาใส่แพ (เอาไม้ไผ่มาตีเป็นแพแล้วใส่กงล้อ) ลากมาตามถนนข้ามน้ำแม่ขาน สมัยนั้นยังไม่มีสะพาน จุดที่ข้ามสันนิษฐานว่าคงเป็นบริเวณที่สร้างสะพานคอนกรีตปัจจุบัน ในระหว่างเคลื่อนย้ายทำให้ตัวองค์พระโยกคลอนไปมา พอมาถึงที่วัดปรากฏว่าปูนที่หุ้มองค์พระกะเทาะออก เมื่อช่วยกันกะเทาะเอาปูนออกจึงได้เห็นองค์พระที่แท้จริงเป็นสีทองเหลืองอร่าม ทั้งพระและชาวบ้านจึงช่วยกันเอาน้ำขมิ้นส้มป่อย คันธของหอมต่างๆ บูชาสักการะเป็นอเนกแล้ว ยกยอเอาเป็นพระประธานในวิหารสืบมา

    ต่อมาวัดศรีปันเงินร้างลง เนื่องจากไม่มีศรัทธาอุปถัมภ์และตั้งอยู่ไกลบ้านคน พระสุวรรณ (พ่ออุ้ยหนานดี อายุ ๑๐๒ ปี), พระป๊อก โปธา (พ่ออุ้ยหลวงป๊อก) จึงได้ชักชวนศรัทธาไปอาราธนาพระเจ้าเพชรพร้อมทั้งของมีค่าทั้งหลาย เช่น พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน เครื่องไม้วิหาร ธรรมมาสเอก สัตตภัณภ์ หีบธรรมและของอื่นๆ มาไว้ที่วัดหนองพันเงินปัจจุบัน ซึ่งวัดหนองพันเงินที่เคลื่อนย้ายมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ นั้น น่าจะมาตั้งบนวัดร้างเดิม เพราะจากการสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ได้บอกตรงกันว่า แต่เดิมตอนย้ายวัดมาใหม่ก็ได้มีต้นสลี (ต้นโพธิ์) และซากอิฐโบราณอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งก็น่าจะเป็นไปได้ว่าวัดหนองพันเงินปัจจุบันได้ตั้งทับวัดร้างเดิม และ ในขณะที่มีการเคลื่อนย้ายพระเจ้าเพชรมา ได้มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้น ปรากฏว่าแพที่ใช้อาราธนาพระเจ้าเพชรมานั้นแพเกิดหักและไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ถึง ๘ ครั้ง ทั้งพระและคณะศรัทธาต้องโปรยข้าวตอกและใช้ขันข้าวตอกดอกไม้อาราธนาบอกองค์พระเจ้าว่า “ขอหื้อพระเจ้าไปอยู่ที่อารามใหม่ เพื่อผู้ข้าทั้งหลายจะได้ดูแลอุปัฏฐากอุปถัมภ์ เพราะวัดเดิมตั้งอยู่ไกลผู้คน กลัวขโมยจะมาลักเอาองค์พระเจ้าไป” แพที่ใช้บรรทุกจึงจะสามารถเคลื่อนที่ได้แต่ก็ต้องอาราธนาถึง ๘ ครั้ง กว่าจะถึงที่ตั้งของวัดปัจจุบันได้



    เมื่อพระเจ้าเพชรได้มาประดิษฐานอยู่ที่วัดหนองพันเงิน คณะศรัทธาก็ได้ช่วยกันสร้างพระวิหารหลังเล็กๆ เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้า แล้วช่วยกันอุปัฏฐากตามกำลังศรัทธาของตน ต่อมาได้มีโจรใจบาปมาแอบขโมยพระเจ้าเพชรองค์นี้หลายครั้งหลายคราว แต่ก็ไม่สำเร็จ ทุกครั้งพระเจ้าเพชรก็ได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ขโมยได้ประจักษ์จนต้องล้มเลิกความตั้งใจไป เช่น ครั้งแรก มีโจรมาขโมยองค์พระเจ้าไปขณะที่กำลังนำออกไปจากบริเวณวัด ก็ปรากฏว่าโจรหลงทาง ไม่สามารถหาทางออกจากบริเวณวัดได้ บันดาลให้มีแต่ป่าไม้ทำให้ต้องหามพระเจ้ากลับไปกลับมาจนใกล้รุ่งสาง ในที่สุดก็ต้องล้มเลิกความตั้งใจ ทิ้งองค์พระเจ้าแล้วหนีเอาตัวรอดไปก่อนที่ชาวบ้านจะมาพบ ต่อมามีคนมาขโมยอีกแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ครั้งล่าสุด โจรใจบาปหวังที่จะขโมยพระเจ้าให้ได้ จึงลงมือโดยใช้ยาพิษผสมอาหารให้สุนัขและแมวกินในตอนหัวค่ำ จนสุนัขและแมวตายหมด พอตกดึกจึงลงมือใช้แก๊สเป่าเหล็กประตูวิหาร ซี่กรงและทุบฐานพระเจ้า ใช้ชะแลงงัดองค์พระ หวังจะยกเอาพระเจ้าไป แต่ท่านก็ได้แสดงปาฏิหาริย์อีกครั้ง ทำให้โจรไม่สามารถยกองค์พระขึ้นได้ จนหมดความสามารถ จึงได้ละทิ้งความพยายาม แต่กระนั้นก็ได้นำเอาพระบริวารอื่นๆ ไป เช่น พระทองคำหนักกิโลครึ่ง ๑ องค์ พระเงิน ๒๓ องค์ พระทรงเครื่องและของมีค่าต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งความเสียหายในครั้งนี้ไม่สามารถประเมินค่าเป็นเงินตราได้

    พระเจ้าเพชร เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธานุภาพเด่นในด้านยืนยงคงกระพันและแคล้วคลาดปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคนที่ได้ประสบด้วยตนเอง โดยมีเรื่องเล่าว่า เคยมีคนเอาปืนมายิงนกที่เกาะอยู่บนหลังคาพระวิหาร แต่ยิงปืนไม่ออกแม้จะพยายามอย่างไรก็ตาม บางครั้งก็มีการลองโดยการเอาปืนยิงเข้าภายในวัดก่อน ปืนก็ยิงไม่ออก แต่หากยิงไปทางอื่น ปรากฏว่าปืนก็ยิงได้เป็นปกติ ในส่วนของวัตถุมงคลที่เป็นสารูปของพระเจ้าเพชรนั้นสร้างมา ๔ รุ่น ทุกรุ่นนั้นทรงพุทธานุภาพเหมือนกันหมด คนที่บูชาเอาติดตัวไปต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าท่านศักดิ์สิทธิ์จริงๆ ชาวบ้านที่ประสบด้วยตนเองต่างก็เชื่อในพุทธานุภาพของพระเจ้าเพชร ซึ่งมีทั้งทหาร ตำรวจและบุคคลทั่วไป ต่างได้ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง

    นอกจากนั้น พระเจ้าเพชรท่านยังประทานพรให้กับสาธุชนที่มากราบไหว้ท่านจนเป็นที่ประจักษ์ ได้แก่ การบันดาลให้ลูกแก่คนที่มีลูกยากจนเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจ สังเกตได้จากการนำเสื้อผ้าเด็กมาแก้บนเป็นจำนวนมาก ก็เนื่องด้วยคนเหล่านั้นมาขอลูกแล้วได้สมปรารถนา มีคนมาแก้บนกับองค์ท่านจนบางครั้งไม่มีที่เก็บ ต้องนำเอาไปแจกจ่ายแก่เด็กทั่วไป ในเรื่องอื่นๆ เช่น หน้าที่การงาน การเรียน การค้าขายต่างๆ พระเจ้าเพชรก็ประทานพรให้เช่นกัน

    เคยมีชาวบ้านพบปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ และเชื่อกันว่าเกี่ยวกับองค์พระเจ้าเพชรเป็นแน่ เนื่องจากในองค์พระเจ้าเพชรได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๙ เม็ด ดังนั้นในวันศีลใหญ่หรือวันสำคัญทางศาสนา จะมีดวงไฟลอยออกจากองค์ท่านไป หรือบางครั้งก็ลอยเข้ามาสู่องค์ท่าน ซึ่งชาวบ้านก็เชื่อว่าเป็นพระธาตุเสด็จไปเที่ยว บางครั้งก็มีลำแสงพุ่งตรงมาจากท้องฟ้าลงมาสู่วิหารที่ประดิษฐานพระเจ้า ผู้คนเชื่อว่าเป็นเทวดาที่มาทำหน้าที่ปกปักรักษาองค์พระเจ้าให้อยู่คู่กับสถานที่นี้ตลอดไปตราบ ๕,๐๐๐ ปี เพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะแก่คนและเทวดาทั้งหลาย และเพื่อป้องปรามคนใจบาปที่จ้องจะมาขโมยพระเจ้าไปจากวัดนี้

    จากคำเล่าลือของชาวบ้าน เรื่องการได้พบเห็นการแผ่บารมีของพระเจ้าเพชร เป็นแสงไฟให้ชาวบ้านได้พบเห็นดังกล่าวนั้น ทำให้ชาวบ้านเกิดความศรัทธาในองค์พระเจ้ามาก และเกิดความเชื่อมั่นว่า ท่านสามารถประทานพรได้จริง ท่านจึงเป็นที่พึ่งทางใจที่สำคัญของผู้ศรัทธาจากต่างถิ่น และชาวบ้านในละแวกนั้นเสมอมา

    เหรียญนี้กะไหล่เงินเก่าหายาก


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ


    vdg.jpg gd.jpg hj.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2019
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4437

    เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อสายทอง วัดท่าไม้แดง ตาก ปี 2519
    หลวงพ่อสาย (ครูบาสาย) เกิดปี พ.ศ. 2480 ที่บ้านท่าไม้แดง หมู่ 3 ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก บิดาชื่อ นายเจียน กันคุ้ม มารดาชื่อ นางระเบียบ กันคุ้ม มีพี่น้องรวมกัน 2 คน คือ นางทุเรียน กันคุ้ม เป็นพี่สาว ส่วนหลวงพ่อสายเป็นน้อง(เป็นพี่น้องคู่แฝดกันชายหญิง) ครอบครัวมีอาชีพทำไร่ทำนา ในวัยเด็กเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดราชศรัทธาธรรม ในวัดท่าไม้แดง สมัยนั้นต้องเรียนในศาลาวัด เรียนจบประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วไม่ได้เรียนต่อ มาช่วยทำไร่ทำนากับครอบครัว หลังจากนั้นท่านได้เข้ามาทำงานในตัวเมืองตาก โดยใช้จักรยานขี่ไปกลับระหว่างตัวเมืองตากกับบ้านท่าไม้แดง ซึ่งห่างกันประมาณ........กิโลเมตร ทำงานด้วยความขยันได้หลายปี
    การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ

    ช่วงชีวิตในวัยเด็กถึงวัยหนุ่มท่านมีเพื่อสนิทคนหนึ่งอายุรุ่นเดียวกัน มีศักดิ์เป็นญาติกัน ได้บวชเป็นพระที่วัดมณีบรรพต (วัดเขาแก้ว) อำเภอเมือง จังหวัดตาก เนื่องจากอายุ 21 ปี ถึงวัยที่จะต้องบวชเรียน และได้ชักชวนให้หลวงพ่อบวชตาม เพื่อนคนนี้ชวนกี่ครั้ง ๆ หลวงพ่อท่านก็ปฏิเสธบ่อยครั้งโดยอ้างเหตุผลว่า ต้นหมากที่ปลูกไว้หน้าบ้านยังไม่ออกดอก มีอยู่ครั้งหนึ่งได้ชวนบวชอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ต้นหมากออกดอกแล้ว หลวงพ่อจึงปฏิเสธไม่ได้ และต้องบวชเรียนตามที่ได้ลั่นวาจาไว้ โดยบวชที่วัดเขาแก้วเช่นเดียวกันกับเพื่อน โดยมีหลวงพ่อตุ่นเป็นพระอุปัชฌาจารย์ หลวงพ่อห้อนเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทินเป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงพ่อได้ศึกษาเรื่องทางธรรมกับพระอาจารย์ทั้ง 3ท่านอย่างตั้งใจ โดยเฉพาะหลวงพ่อตุ่นและหลวงพ่อห้อน (หลวงพ่อห้อนเป็นพระรุ่นเดียวกันและสนิทกับหลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย) ศึกษาธรรมและเวทมนต์คาถาต่าง ๆ จนแจ่มแจ้ง แล้วท่านได้ขออนุญาตหลวงพ่อตุ่นไปศึกษาภาษาบาลีที่วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ที่กรุงเทพฯ เสร็จแล้วกลับมาประจำอยู่ที่วัดเขาแก้ว หลังจากนั้นหลวงพ่อตุ่นไดให้ไปรักษาการเจ้าอาวาสที่วัดปทุมคีรี ตำบลหนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดตาก วัดปทุมคีรีแห่งนี้เป็นวัดที่อยู่ใกล้กับบ้านของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านเป็นคนตากแต่โดยกำเนิด

    ในปี พ.ศ. 2508 หลวงพ่อได้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าไม้แดง ซึ่งหลวงพ่อมัด เจ้าอาวาสองค์ก่อนได้มรณภาพลง และ เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าไม้แดงตลอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันร่วม50ปี ในช่วงที่ท่านอยู่ที่วัดท่าไม้แดงได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก มีการสร้างโบสถ์, ศาลาวิหารต่าง ๆ สร้างโรงเรียนวัดท่าไม้แดง อีกทั้งสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิงที่หน้าวัดและสร้างอ่างเก็บน้ำที่ตำบลแม่ท้อ ทำให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนบริเวณนั้นเป็นอย่างมาก

    ในช่วงอยู่วัดท่าไม้แดง หลวงพ่อท่านได้ไปศึกษาจากเกจิอาจารย์ดัง ๆ หลายท่าน เช่น ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ครูบาสร้อย วัดท่าสองยาง จังหวัดตาก เป็นต้น โดยเฉพาะครูบาวัง ท่านได้ได้ถ่ายทอดวิชาการทำตะกรุดโทนให้กับหลวงพ่อและคาถาเวทย์อีกหลายอย่างโดยเน้นหนักไปทางเมตตามหานิยม

    สำหรับหลวงพ่อปี้ วัดด่านลายหอย ท่านได้เดินทางไปหาหลวงพ่อปี้กว่าจะได้ศึกษาอักขระยันต์และคาถาต่างๆจะได้มาที่ละตัวต้องไปกันหลายรอบ ไปครั้งหนึ่งไปมาไม่กี่ตัวอักขระ เพราะหลวงพ่อปี้ท่านไม่ค่อยจะถ่ายทอดให้กับศิษย์ผู้ใดอย่างง่าย ๆ

    ลำดับชั้นสมณศักดิ์ที่ได้รับ โดยเริมจากเป็นพระครูพิพัฒน์กิตติคุณ (สาย), พระวิจิตรพิพัฒโนดม (สาย) และปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นพระราชวิทยาคม ธรรมาภรณ์มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี (หลวงพ่อสาย) เป็นเจ้าคณะอำเภอ และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดตากจนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2557


    เหรียญรุ่น 1 สร้างไว้เป็นอนุสรณ์สร้างโรงเรียนวัดท่าไม้แดง (อยู่ในวัดท่าไม้แดง) ปี พ.ศ. 2519 นับเป็นรุ่นแรกที่จัดสร้างโดยแจกผู้มาทำบุญทอดผ้าป่า จำนวนเงิน 99 บาท และล็อกเก็ต รูปเหมือน 20บาท หลวงพ่อปลุกเสกเดี่ยวหลายครั้งและ หลายรอบ พุทธคุณเต็มเปี่ยม ถือเป็นรุ่นที่มีประสบการณ์สูงมาก ดังจะขอกล่าวเป็นเรื่องย่อได้ดังนี้

    - นายเฉลียว นั่งรถไปตัดอ้อยที่จังหวัดกำแพงเพชร โดยตนเองนั่งอยู่บนหลังคารถสิบล้อ รถไดเกิดชนกัน ตัวเองตกลงมาจากหลังคารถ ไม่เป็นไรเลย ที่คอห้อยเหรียญรุ่น 1 ของหลวงพ่อสายองค์เดียวเท่านั้น

    - นายอำนวย อินทฉิม เป็นคนขับรถ(รดบดยาง) ทำงานที่จังหวัดกำแพงเพชร ขณะขับรถเพื่อบดดินขณะนั้นดินอ่อน รถบดเอียงข้างและคว่ำลงด้านฝั่งตนเอง ชาวบ้านมาดูหาตัวคนขับไม่เจอนึกว่าตายแล้วแน่ ปรากฏว่านายอำนวยไม่เป็นอะไรเลย ตัวเองอยู่ในซอกของคนขับ ที่ตัวห้อยเหรียญรุ่น 1 ของหลวงพ่ออย่างเดียว

    - หลานชายของหลวงพ่อชื่อ นายสมพงษ์ โพธิ์เพชร ได้เอาปืนทดลองยิงเหรียญรุ่น 1 ของหลวงพ่อปรากฏว่ายิงแล้วปืนแตก

    - สมัยก่อนวัยรุ่นจะข้ามฟากแม่น้ำมาเที่ยวงานที่วัด (ตอนนั้นยังไม่มีสะพานข้าม) มีชายวัยรุ่นคนหนึ่งอยุ่ที่วัดเล่าว่า ตนเองได้มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับวัยรุ่นพวกนี้ และวัยรุ่นพวกนี้ได้ชักปืนยิงเข้าใส่ตนเอง ปืนยิงไม่ออก พอตนเองหนีไป ปืนกลับยิงออกเสียงดังและไม่ถูกตัว เพราะห้อยเหรียญหลวงพ่อองค์เดียวเหมือนกัน


    เหรียญดังเมืองตาก

    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    yer.jpg we.jpg uji.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2019
  3. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4438

    กุมารทองอาจารย์ เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ วัดป่าสักเนื้อโลหะ ปี 2522


    กุมารทอง อาจารย์ เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ วัดป่าสัก อ.สันป่าตองเนื้อโลหะ สร้างในปี2522 กุมารทองใช้ในทางเมตาโชคลาภ ขอพรสิ่งใดสมปรารถนา ค้าขายร่ำรวยเงินทอง ชาวบ้านป่าสักเรียกกุมารผงกระดูกผีเณรเสก หรือ อาจารย์เณร วิเศษสิงห์คำกล่าวถึงกุมารทองของล้านนา สำนักหนึ่งที่โด่งดังเรื่องการสร้าง กุมารทองจากกระดูกผีก็คือ สำนักสันป่าสัก อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ หรือ รู้จักกันดี ในนามของ กุมารทองของอาจารย์เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ อาจารย์เณรท่านนี้ท่านมีความขมังเวทย์และเชี่ยวชาญการสร้างวัตถุมงคล ทั้งพระเครื่องและเครื่องรางโดยเฉพาะเครื่องรางของท่านนั้นในยุคนั้นโด่งดัง มาก ไม่ว่า จะเป็น กุมารทอง วัวธนู ตะกรุด เสื้อยันต์ ล้วนได้รับความนิยมทั้งสิ้นครับผม

    #จัดอยู่ในเครื่องราง 9 มงคลล้านนาครับผม
    ผ้าม้าวัดบ้านเหล่า ตะกรุดหนังวัดวังมุย
    เก้ากุ่มนั่นวัดบ้านเด่น ส่วนกุมารวัดป่าสัก
    ลูกอมวัดปากกองฤทธ์เหลือร้ายขับไล่ผี
    ถ้าวัวขลังวัดวังหงษ์ กะลาอันดับหนึ่งทุ่งม้านใต้หาใดปาน ปรอทดีวัดบรรพตสถิต พะยองคำผีหุง วัดไม้ฮุง
    เก้าสิ่งล้วนมงคล คนล้านนาหาติดตัว
    ข่ามคง เมตตา ทั้งเสน่ห์ รอดพ้นจากภัย


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    yhwe.jpg yuj.jpg yuiio.jpg tyh.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2019
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4439

    พระแก้วหยก วัดพระแก้ว เชียงราย ปี 34 รูปไข่


    สร้างในวโรกาศเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พระชันษา วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สวณฺณโชตมหาเถระ) เจ้าอาวาส วัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม กรรมการมหาเถระสมาคมและเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ได้มีบัญชาให้คณะสงฆ์ หนเหนือ (๑๖ จังหวัด ในภาคเหนือ) จัดกิจกรรมบำเพ็ญกุศลทางพระพุทธศาสนาเพื่อ เฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล คณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงจัดโครงการจัดสร้าง “พระแก้วหยกเชียงราย” ขึ้น เพื่อสนองบัญชาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณฯ) ดังกล่าว และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดังนั้นคณะ สงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงจัดสร้าง “ พระแก้วหยกเชียงราย ” โดยมีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า วัดพระแก้ว จ.เชียงราย แห่งนี้เคยเป็นที่ค้นพบพระแก้วมรกตมาก่อน จึงได้สร้าง “ พระแก้ว หยกเชียงราย ” ขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้สักการบูชา และเพื่อเป็นการรำลึกว่า “ วัดพระแก้ว จ.เชียงราย แห่งนี้ก็มีความสำคัญคู่พระบารมีแห่งองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ” ๒. เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พระชันษา ในวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวเชียงรายเปรียบ พระองค์ดุจดังดวงประทีปยังความสว่างและนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ จ.เชียงราย ในการนี้ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายและคณะกรรมการดำเนินการจัดสร้าง “ พระแก้วหยกเชียงราย ” และ “ วัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติฯ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ” จึงได้ดำเนินการจัดสร้างพระ พุทธรูป “ พระแก้วหยกเชียงราย ” ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๗.๙ เซนติเมตร ขนาดความสูง ๖๕.๙ เซนติเมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับองค์ “ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ” หรือ “ พระแก้วมรกต ” องค์ดั้งเดิม โดยนำหยกเนื้อดีที่สุดจากประเทศแคนาดา ซึ่ง “ มิสเตอร์ ฮูเวิร์ดโลว์ ” เป็นผู้นำมาถวายท่านเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย และมอบหมายให้ อาจารย์กนก วิศวะกุล แห่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงราย เป็นปฏิมากรผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ แล้วส่งมอบให้ “ มิสเตอร์เหยน หวุนหุ้ย ” นายช่างแกะสลักหยกของโรงงานวาลินนานกู แห่งนครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้ดำเนินการแกะสลักตามต้นแบบ และในโอกาสนี้ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย ได้รับการอุปถัมภ์การจัดสร้างจาก ฯพณฯ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) และ ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ เป็นประธานอุปถัมภ์และบริจาคเงินเป็นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดสร้าง โดย ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ เดินทางไปเป็นประธานประกอบพิธีบวงสรวงเทวดาบูชาฤกษ์ในการเริ่มสร้าง เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และเดินทางมาเป็นประธานในพิธีมอบหุ่นต้นแบบ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ณ วัดพระแก้ว อ.เมือง จ.เชียงราย พิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ 1 ณ วัดกว่างจี้ ประเทศจีน ครั้งที่ 2 ณ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กทม. เมื่อวันที่20กันยายน พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จมาเป็นประธานในพิธี ครั้งที่ 3 ณ วัดพระแก้วเชียงรายจ.เชียงราย ปี 2534 พระหยก สว.เชียงราย สร้างจากหยกชนิดเดียวกับองค์พระแก้วมรกตบูชา..ด้านหน้าแกะเป็นองค์พระแก้วด้านหลังแกะเป็นพระนามย่อ สว.ของสมเด็จย่า..จำนวนไม่ทราบแน่นอนแต่ไม่มากเพราะแกะจากหยกที่เหลือจากการแกะพระแก้วบูชาครับ หยกชนิดนี้(เนไพร์)ได้นำมาจากประเทศแคนนาดา เป็นหยกที่มีพลังมากกว่าหยกทั่วไปมีพลังวิเศษในตัวเอง...คุณค่าแก่การสะสมยิ่งด้านหลังมีพระนามย่อของสมเด็จย่าด้วย


    บูชาแล้วครับ

    iop.jpg gdf.jpg ilo.jpg Clip_14.jpg Clip_15.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2019
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4440

    เหรียญรุ่นแรกครูบาสม. วัดเมืองราม. เนื้ออัลปาก้า


    พระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงวิยาคมแห่งเมืองน่าน เจ้าตำรายันต์ ๑๒ มหาชัยอันโด่งดัง เป็นเหรียญรุ่นแรกของพระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินทสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดเมืองราม ต.นาเหลือง อ.เวียงสา จ.น่าน สร้างขึ้นในปี ๒๕๒๕

    ท่านเคยศึกษาร่ำเรียนและฝากตัวเป็นศิษย์กับครูบาอาจารย์ต่างๆดังนี้

    1. พระมหาสิทธิ์ วัดช้างค้ำ จ.น่าน พระอุปัชฌาย์

    2. พระครูปัญญาสาราธิคุณ ,ครูบาเฒ่า วัดศรีกลางเวียง อ.เวียงสา น่าน

    3. ครูบาอินต๊ะ ปู่เผือก วัดแสงดาว

    4. ครูบาจันทร์ วัดม่วงใหม่

    5. ครูบาอินต๊ะยศ วัดสะหลีบุญเรือง น่าน

    6. หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์

    7.ครูบาอินหวัน วัดป่าแลวม่อน

    8. พ่อครูมหาข๋ะหนาน ขันทะ มะนิลทิพย์ บ้านนาเหลือง

    9. พ่อครูมหาข๋ะหนาน บุญสาร บ้านเมืองราม

    10. พ่อครูมหาข๋ะหนาน บุญแฝง สามแยกเพชรบูณร์

    วัตถุมงคลของท่าน

    ครูบาสมท่านสร้างวัตถุมงคลไว้สำหรับแจกและให้บูชาโดยมีมากหลายรุ่นหลายอย่าง

    เช่น เหรียญ 12มหาชัย ,เหรียญชัยมงคล,เหรียญดอกไม้เมืองสววรค์ ,เหรียญฝนแสนห่า,พระเนื้อว่าน-เนื้อดิน, ตะกรุดโทน ตะกรุดเก้ากุ่ม ,ผ้ายันต์ ,รูปหล่อ ,พระบูชา เป็นต้น

    วัตถุมงคลของท่านนั้นมีประสบการณ์กับผู้นำไปใช้มากมาย จนเป็นที่เสาะแสวงหาของใครหลายคน
    เหรียญ ๑๒ มหาชัย เป็นเหรียญรุ่นแรกของพระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินทสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดเมืองราม ต.นาเหลือง อ.เวียงสา จ.น่าน สร้างขึ้นในปี ๒๕๒๕ เป็นเหรียญอัลปากานิยม เหรียญนี้เป็นเหรียญเก่าเก็บ สภาพสวยแบบเดิมๆ ไม่เคยผ่านการใช้มาก่อน

    เหรียญดังแห่งเมืองน่าน


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    Clip_6.jpg Clip_13.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2019
  6. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,981
    ค่าพลัง:
    +5,390
    ขอจองครับ
     
  7. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,981
    ค่าพลัง:
    +5,390
    ขอจองครับ
     
  8. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,981
    ค่าพลัง:
    +5,390
    ขอจองครับ
     
  9. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,981
    ค่าพลัง:
    +5,390
    ขอจองครับ
     
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4442

    กริ่ง-พระชัยวัฒน์เศรษฐีล้มลุก ครูบาเจ้าบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม สันป่าตอง เนื้อทองทิพย์ กล่องเดิม หมายเลข 314 พระเเช่น้ำมนต์


    ท่านปลุกเสกด้วยวิชาเศรษฐีล้มลุกอันลือลั่น เด่นด้านเมตตาโชคลาภ เจริญโภคทรัพย์ เสริมดวง หนุ่นดวง และแคล้วคลาด ปลอดภัย


    เนื่องด้วยหลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธัมมปัญโญ ได้ดำริที่จะไปเป็นประธานบูรณะปฏิสังขรณ์ วิหารวัดธรรมชัย ต. บ้านแม อ. สันป่าตอง จ. เชียงใหม่ ซึ้งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน ที่ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ดังนั้นคณะศิษย์จึงได้ หารือกับคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง และได้ขออนุญาติกับหลวงปู่ ว่าจะจัดสร้างพระกริ่ง พระชัย เศรษฐีล้มลุกขึ้น เพื่อที่จะได้หาทุนทรัพย์ไปบูรณะวิหารวัดธรรมชัยบ้านแม และ ให้สืบสานพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป แผ่นชนวนที่นำมาสร้างพระกริ่ง พระชัย เศรษฐีล้มลุกชนวนเก่าของหลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น , ชนวนเก่าของหลวงปู่ครูบาน้อย วัดบ้านปง , ชนวนของหลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน , ชนวนของหลวงปู่อิง โชติโญ , ชนวนของวัดสุทัศน์ฯ ทุกรุ่นได้มาจากพระอาจารย์มงคล คณะ ๗ วัดสุทัศน์ฯ , ชนวนเททอง ครูบาบุญชุ่ม และ ครูบาเทือง , ตะกรุดเก่าหลวงพ่อเดิม , ตะกรุดเก่าหลวงพ่อทองอยู่ วัดบางสำเหร่ , ตะกรุดของหลวงพ่อพุฒ วัดขนอนเหนือ , ตะกรุดเก่าครูบาสม โป่งกว๋าว , ตะกรุดเก่าครูบาสุรินทร์ วัดหลวงศรีเตี้ย , ตะกรุดมหาจักรพรรดิหลวงตาม้า , ตะกรุดสามกษัตริย์ หลวงปู่หยอด , ตะกรุดหลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม , ตะกรุดหลวงปู่คำพันธ์ , แผ่นจารยันต์เศรษฐีล้มลุก , แผ่นจารยันต์สุคโตมหาวิเศษ , แผ่นจารยันต์ยอดมหาไจยเบ็งจร , แผ่นจารยันต์น้ำบ่อซึมทราย , แผ่นจารยันต์ดอกบัวคำเก้ากาบ , แผ่นจารยันต์เก้าหย้อเก้าแป้ , แผ่นจารยันต์จำปาสี่ต้น , แผ่นจารยันต์ฟ้าฟิก และ แผ่นยันต์อีกมากมายของหลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น และตะกรุดเก่าของครูบาอาจารย์อีกหลายๆ รูปที่ไม่สามารถจดจำได้อีกมากมาย และยังมีแผ่นชนวนจาร แผ่นอธิฐานของพระมหาเถระครูบาอาจารย์ต่างๆ ดังนี้

    ๑ . สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศ
    ๒ . หลวงปู่จันทร์ กุสโล วัดเจดีย์หลวง
    ๓ . หลวงปู่หนู ถาวโร วัดพระสิงห์
    ๔ . พระเทพวิสุทธิคุณ วัดบุพพาราม
    ๕ . หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
    ๖ . หลวงปู่สำราญ วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    ๗ . หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ สำนักสวนจิตรลดา
    ๘ . หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
    ๙ . หลวงพ่อวรรณรงค์ วัดมกุฏ
    ๑๐ . หลวงพ่อทุเรียน สุโขทัย
    ๑๑ . หลวงพ่อถม วัดเชิงท่า
    ๑๒ . หลวงปู่ครูบาน้อย วัดบ้านปง
    ๑๓ . หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง
    ๑๔ . หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
    ๑๕ . หลวงปู่ครูบาคำตั๋น วัดสันทรายหลวง
    ๑๖ . หลวงปู่ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง
    ๑๗ . หลวงปู่ครูบาอิ่นคำ วัดข้าวแท่นหลวง
    ๑๘ . หลวงปู่ครูบาหล้า วัดป่าลาน สันทราย
    ๑๙ . หลวงปู่ครูบาอินถา วัดหนองแฝก
    ๒๐ . ครูบาคำตั๋น วัดป่าลาน สันป่าตอง
    ๒๑ . หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน
    ๒๒ . หลวงปู่ครูบาจันทร์แก้ว วัดศรีสว่าง
    ๒๓ . หลวงปู่ครูบาอินตา วัดห้วยไซ
    ๒๔ . หลวงปู่ครูบาอินตา วัดวังทอง
    ๒๕ . หลวงปู่ครูบาดวงจันทร์ วัดป่าเส้า
    ๒๖ . หลวงปู่ครูบาชัยวงษ์ศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
    ๒๗ . หลวงปู่ครูบาจ๋อน วัดป่าตาล
    ๒๘ . ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย
    ๒๙ . ครูบาจันต๊ะ วัดหนองช้างคืน
    ๓๐ . หลวงปู่ครูบาคำอ้าย วัดโป่งเหนือ
    ๓๑ . ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล
    ๓๒ . ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล
    ๓๓ . ครูบาจันต๊ะรังษี วัดกู่เต้า
    ๓๔ . ครูบาอิ่นคำ วัดมหาวัน
    ๓๕ . ครูบาก๋องคำ วัดดอนเปา
    ๓๖ . หลวงพ่อบัวเกตุ วัดป่าบ้านปง
    ๓๗ . พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก
    ๓๘ . หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    ๓๙ . หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร
    ๔๐ . หลวงปู่อุ้น วัดตาลกง
    ๔๑ . หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม
    ๔๒ . หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร
    ๔๓ . หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    ๔๔ . หลวงพ่อพุฒ วัดขนอนเหนือ
    ๔๕ . และคณาจารย์อีกมากมาย

    พระกริ่งยอดนิยมของเมืองเหนือ องค์นี้เนื้อทองทิพย์กล่องเดิม หลวงปู่เมตตาเเช่ในน้ำมนต์ปลุกเสกเพิ่มให้ออก 1 เดือน เสริมธาตุน้ำให้ เข้มขลังมาก สวยกล่องเดิม ไม่ผ่านการใช้ครับ

    สำหรับท่านที่ชอบของสวยเดิมๆไม่ควรพลาดครับ


    ราคา 12500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    rerer.jpg rds.jpg p;[.jpg nkj.jpg dfg.jpg rty.jpg fds.jpg yuu.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2019
  11. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345

    รับทราบการจองอขอบคุณครับ
     
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345

    รายการที่ 4443

    เหรียญรุ่นแรกครูบาอินโต วัดบุญยืน ปี 2508 บล็อก 3 ขีด

    สภาพน่ารัก พระดีพระดังเมืองพะเยา

    ราคา 1250 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    IMG_4063.JPG IMG_4064.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2019
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4444

    เหรียญรุ่น 2 ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม ปี 2500

    เหรียญประสบการณ์ของเมืองลำพูนเชียงใหม่ พระดีน่าใช้ครับ

    ราคา 750 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    IMG_4060.JPG IMG_4061.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2019
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4445

    เหรียญปลอดภัยครูบาอิน อินโท หลังยันต์มงกฎพระเจ้า เนื้ออัลปาก้า สวยๆ


    จัดสร้างโดยคุณเฒ่า สุพรรณ เพื่อสมทบทุนสร้างมณฑปและเมรุ วัดหัวเด่น จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวนการจัดสร้าง เนื้อนวะ ๓๐๐ เหรียญ เนื้ออัลปาก้า ๒,๐๐๐ เหรียญ และเนื้อทองพระธาตุ ๘,๐๐๐ เหรียญ คุณเฒ่า สุพรรณ ลูกศิษย์หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ได้ทำพิธีฯขออนุญาตหลวงพ่อกวย ใช้ยันต์มงกุฏพระพุทธเจ้าและได้จุดธูปอัญเชิญขอท่านมาช่วยปลุกเสก หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ได้เมตตาปลุกเสกให้ตลอด ๔ เดือน พอออกพรรษาจึงได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีก ๗ วัน ๗ คืน โดยพระเถระ ๑๐๘ รูป ณ วัดหม้อคำตวง (หลวงปู่ครูบาอิน ก็ยังไปร่วมพิธี) จากนั้นกลับมาถวายหลวงปู่ครูบาอิน ปลุกเสกซ้ำอีกปรากฏว่าท่านเสกไม่เข้าแล้ว จนท่านต้องให้พระเลขาฯโทรมาติดต่อหนานขวัญผู้ประสานงาน ให้โทรมาขอเหรียญนี้จากคุณเฒ่า สุพรรณ โดยให้เหตุผลว่า "กลัวคนเจียงใหม่จะบ่ได้ใช้ของดีๆ" ผู้สร้างจึงได้ถวายหลวงปู่ครูบาอินไว้แจก จำนวนประมาณ ๒ ถาดใหญ่

    เหรียญดีน่าใช้


    ปิดรายการนี้ครับ

    IMG_4057.jpg IMG_4059.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2019
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4446

    ปิดตามหาว่านชานหมาก หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง-ทุ่งปุย ปี 2545 สร้างเพียง 500 องค์

    ราคา 950 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    IMG_3877.jpg IMG_3878.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2019
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4447

    เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง บล๊อกหน้าหนุ่ม ประคำเม็ด เนื้อทองแดง


    เหรียญยุคเก่ายอด เเท้ดูง่ายสบายตา

    ราคา 2950 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    IMG_4073.jpg IMG_4074.jpg Clip_7.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2019
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4448

    เหรียญครูบาศรีวิชัย หัวชนขอบเล็ก วัดจามเทวี


    เหรียญยุคเก่าของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย สวยเเชมป์


    ราคา 3500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1939600

    tree.jpg jk.jpg rf.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2019
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4449

    เหรียญครูบาศรีวิชัย วัดจามเทวี ปี 2518 ตอกโค๊ต

    ครูบาบุญทืม พรหมเสโน ศิษย์ครูบาศรีวิชัยผู้รักษาหีบศพของครูบาเจ้าฯไว้ ณ วัดจามเทวี สร้างและปลุกเสกก่อนมรณภาพในระหว่างเข้าพรรษาปี พ.ศ.นั้น(๒๕๑๘) สร้างเป็นเหรียญทองแดงรมดำอย่างเดียวเท่านั้น ผู้รับหน้าที่ต่อมาได้นำเหรียญชุดนี้ไปเข้าพิธีใหญ่เพิ่มเติมที่วัดท่าซุง เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ เกจิที่ปลุกเสกในพิธี มี
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ,
    หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรี ,
    ครูบาคำแสน อินทจักโก วัดสวนดอก ,
    ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดดอนมูล ,
    ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย ,
    ครูบาอินทจักรรักษา วัดน้ำบ่อหลวง ,
    ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม ,
    ครูบาธรรมชัย ธัมมชโย วัดทุ่งหลวง ,
    ลป.สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จากนั้นยังได้นำไปขอเมตตาอธิษฐานจิตจาก
    หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดถ้ำเขาบุนนาค ,
    หลวงปู่แหวน สุจิณโน วัดดอยเม่ปั๋ง )
    ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระบาทตากผ้า ,
    หลวงปู่หล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึง
    เหรียญตอกโค๊ตหายาก


    เหรียญยุคเก่าของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย สวยเเชมป์


    บูชาแล้วครับ

    uki.jpg gff.jpg thu.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2019
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4450

    พระรอดเณรจิ๋วครูบาบุญทืม วัดจามเทวี เนื้อเขียว

    พระชุดนี้ครูบาบุญทืม พรหมเสโน วัดจามเทวี เป็นคนสร้าง เป็นพระรอดที่สร้างในสมัยเดียวกับพระรอดครูบากองแก้วโดยจะนำพระสกุลลำพูน ที่ชำรุดแตกหักมาบดแล้วกดพิมพ์พระชุดนี้ออกมาองค์นี้เนื่อหาดีมาก สร้างได้พระจำนวนประมาณเต็ม ๑ บาตรพระ แล้วถวายให้ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นพี่ โดยต่อมาครูบาชุ่มฯได้นำไปขอความเมตตาจากครูบาศรีวิชัยฯเสกให้ เมื่อครูบาศรีวิชัยฯเสกให้แล้ว ครูบาชุ่มท่านก็แจกของท่านไปเรื่อย จนเหลืออยู่จำนวนหนึ่งไม่มากนักประมาณพันสองพันองค์ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๘ ครูบาชุ่มฯท่านได้นำออกมาแจกคณะศิษย์สายวัดท่าซุง

    องค์นี้เนื้อเขียว สวย ผิวเดิมๆ สวยเเชมป์


    บูชาแล้วครับ

    yjh.jpg tyh.jpg fd.jpg gh.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2019
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,454
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 4451

    เหรียญรุ่นแรกครูบาอินตา วัดห้วยไซ ปี 33 สวยเเชมป์


    พระเกจิผู้ทรงวิทยาคมแห่งบ้านธิ ศิษย์ในองค์ครูบาเจ้าศรีวิชัย เหรียญรุ่นแรกของท่านจัดสร้างในปี 2533 ด้วยเนื้อทองแดงอย่างเดียว เป็นเหรียญประสบการณ์เล่าขานถึงประสบการณ์ในเรื่องเหนียว ข่ามคงกระพัน เเมลงวันไม่ได้กินเลือด เป็นเหรียญยอกนิยมของเมืองลำพุนครับ

    องค์นี้สวยเเชมปืไม่ผ่านการใช้งานเลยครับ


    ราคา 8000 บาท สนใจสอยบถามได้ครับ 086-1936900


    uio.jpg asda.jpg ghf.jpg


    "หลวงปู่ครูบาอินตา วัดห้วยไซ"
    พระครูถาวรวัยวุฒิ (หลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ)
    วัดห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
    อัตโนประวัติของหลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ วัดห้วยไซ ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ปี มะเส็ง(งูเล็ก) ตรงกับ วันเสาร์ ที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ณ บ้านห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่า อินตา นามสกุล ปาลี เป็นบุตรของ นายก๋อง นางก๋ำ นามสกุล ปาลี เป็นคนที่มีเชื้อสายยอง มารดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็กไม่รู้ความ ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาจนอายุท่านได้ ๙ ขวบ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด(ขะโยม)ที่วัดห้วยไซเพื่อจะได้รับการศึกษาเล่า เรียน ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน เด็กชายอินตา จึงได้เรียนภาษาพื้นเมืองตามแบบสมัยนิยม และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุได้ ๑๓ ปี พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดห้วยไซ โดยมีพระภิกษุพุธเป็นผู้บวชให้ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงได้ไปศึกษาภาษาไทยกลางเพิ่มเติมที่สำนักวัด สันก้างปลา(วัดทรายมูลในปัจจุบัน) อำเภอสันกำแพง โดยมีพระครูอินทนนท์ เจ้าอาวาส (ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่เก่งกล้ามากได้ปรมัติสูญสตาอรรถพยัญชนะทรงอภิญาชั้นสูง)เป็นอาจารย์ผู้สอนให้ ด้วยความเป็นผู้ไผ่เรียนท่านยังมีความสนใจเรื่องของภาษาอื่นๆด้วยเช่น อักษรขอมโบราณ ภาษาอังกฤษ และจีนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้น เมื่อพออายุครบบวชจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดห้วยไซ พ.ศ.๒๔๖๙ โดยมีครูบาอินทจักร วัดป่าลาน เป็นพระอุปัชฌาย์(เป็นศิษย์ครูบาหลวงวัดฝายหิน จบสตาปรมัติรู้ภาษานกกาได้ เจนจบ 9 มัด) พระอธิการชื่น สันกอแงะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “อินฺทปัญฺโญภิกขุ”

    หลัง จากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจึงได้ตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชา ตามจริตวิสัยที่ชอบศึกษาหาความรู้อันเป็นทุนเดิมของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้คนในเรื่องของวิชาพลังจิตที่สูงมากตลอดถึงในวิชาอาคมแขนงต่างๆ ประกอบกับการปฏิบัติสมถะวิปัสสนาธุระควบคู่กันไประหว่างปีพ.ศ.๒๔๗๑ ครูบาศรีวิชัยท่านได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระธาตุดอยห้างบาตร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดห้วยไซมากนัก หลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้ไปร่วมในการบุญครั้งนั้นด้วยและได้พบกับครูบาศรี วิชัยและถือโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ หลังจากนั้นขณะที่ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นประธานในการสร้างทางขึ้นดอยสุ เทพหลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้มีโอกาสไปร่วมในการสร้างทางด้วยเช่นกัน เมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพไปหลังเสร็จสิ้นงานพระราชทานเพลิงศพ ผ้าขาวดวงต๋า ได้นำอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยมาบรรจุและสร้างกู่อัฐิขึ้นที่บนดอยง้ม เขตติดต่อระหว่างอำเภอสันกำแพงกับอำเภอบ้านธิ หลวงปู่ครูบาอินตาท่านก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการนำสร้างด้วย ที่วัดห้วยไซเองท่านถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมกับอดีตเจ้าอาวาส ของวัดห้วยไซองค์ก่อนๆในการนำสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัด โดยเฉพาะสมัยของพระครูดวงดี จนกระทั้งครูบาดวงดีท่านมรณภาพไป หลวงปู่ครูบาอินตาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยไซ เมื่อพ.ศ.๒๕๑๙ และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูถาวรวัยวุฒิ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๖ ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ได้ฝากผลงานทางด้านพระพุทธศาสนาและ สาธารณประโยชน์มากมาย อาทิ พัฒนาถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดห้วยไซจนเป็นที่เจริญรุ่งเรือง สาธารณะประโยชน์เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตลอดจนฌาปนกิจสถานประจำหมูบ้าน นอกจากนั้นท่านยังทำนุบำรุงพระศาสนาไปยังวัดวาอารามต่างๆที่มาของความเมตตา อนุเคราะห์จากท่าน เช่น ถาวรวัตถุต่างที่วัดเปาสามขา วัดวังธาน อำเภอแม่ออน วัดโป่งช้างคต อำสันเภอกำแพง วัดเวียงแห่ง อำเภอเวียงแห่ง จังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีชัยชุม บ้านห้วยไซเหนือ

    พระพุทธรูปยืนวัด ศรีดอนชัย อำเภอบ้านธิ ประธานสร้างตึกสงฆ์อาพาสโรงพยาบาลบ้านธิ และผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ให้ศิษย์ได้สารงานต่อคือพระวิหารของวัดห้วยไซ ก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยชราภาพ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕ สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๗๗ พรรษา พระเถระที่หลวงปู่ครูบาอินตาท่านสนิทสนมไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็มี ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)ครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า ครูบาสิริ วัดปากกองสารภี(ครูบาผีกลัว)ครูบาแก้ว สันกำแพงครูบาดวงทิพย์ วัดสันคะยอม(เป็นพระที่ครูบาพรหมาจักรนับถือมากๆ) ครูบาชุ่ม วัดวังมุย ครูบาหล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาดวงจันทร์ วัดป่าเส้า ครูบาน้อย วัดบ้านปง ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม ครูบาอินตา วัดวังทอง สำหรับพิธีพระราชทานเพลิงศพ หลังจากศิษยานุศิษย์ได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ครูบาอินตาไว้เป็นเวลาหลาย ปีแต่รางของท่านก็มิได้มีการเน่าเปื่อยแต่อย่างใด เมื่อก่อสร้างวิหารแล้วเสร็จจึงได้ของไฟพระราชทานและประกอบพิธีพระราชทาน เพลิงศพ เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐

    สำหรับวัตถุมงคล ของหลวงปู่ครูบาอินตา ท่านได้สร้างขึ้นในยุคแรกๆก็จะมีเพียงยันต์และตระกุดเพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหา ไว้ใช้ป้องกันตัวอิทธิวัตถุมงคลต่างๆก็มีประสิทธิผลจนเป็นที่ลำลือ

    หลวงปู่ครูบาอินตา อินทปัญโญ เอกองค์พระอาจารย์ที่ให้ดวงกรรมฐานกับครูบากฤษดา ตั้งแต่เป็นสามเณร ที่ท่านสามารถปราบความคิดที่อยากรู้อยากเห็น ซุกซนโลดเเล่นแก่นแก้วสามารถดักทางความคิดจิตของครูบากฤษดา ได้ทั้งหมดตั้งแต่เป็นสามเณรร่ำเรียนอยู่ในสำนักวัดห้วยไซใต้ ถือว่าเป็นพระอาจารย์องค์แรกครับ และก็มีครูบาชัยวงค์ได้ไปกราบคารวะสนทนาเป็นบางครั้งคราว และมีพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ครูบากฤษดาเทิดเหนือหัวคือหลวงปู่พิสดู ธัมมจารี เป็นที่สุดครับ

    Clip_14.jpg Clip_15.jpg Clip_16.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...