พระดี พิธีใหญ่ รับประกันแท้ทุกรายการ!!! เชิญชม บูชา ในกระทู้ได้เลยครับ"

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย HMMAmulet296, 4 กุมภาพันธ์ 2022.

  1. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    แบ่งให้บูชาเหรียญพระเกจิคณาจารย์ ผู้ทรงวิทยาคม

    1.เหรียญเพิ่มทรัพย์ เมตตา มหาเศรษฐี หลวงปู่จื่อ วัดเขาตาเงาะ ปี59 ให้บูชา 150 บาท (รวมส่ง)


    upload_2023-10-20_9-21-1.png
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2023
  2. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    2.เหรียญ 3 คณาจารย์ แห่งเมืองโคราช (หลวงปู่คง, หลวงปู่นิล, หลวพ่อคูณ) / เหรียญหลวงพ่อคูณ ทันท่านเสก ทั้ง 2 เหรียญ ให้บูชา 300 บาท (รวมส่ง)


    upload_2023-10-20_9-38-3.png

    upload_2023-10-20_13-10-6.png

    upload_2023-10-20_13-11-14.png

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2023
  3. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    3. เหรียญ พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล วัดเขากง จังหวัดนราธิวาส ให้บูชา 450 บาท (รวมส่ง)


    upload_2023-10-20_9-43-47.png

    วัดเขากง สถานที่ประดิษฐาน บริเวณพุทธอุทยาน วัดเขากงมงคลมิงมิตรปฏิฐาราม ตำบลลำภู อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส สถานที่อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่เป็นศรีสง่าแก่ภาคใต้องค์หนึ่งได้แก่ พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล การก่อสร้างได้เริ่มขึ้นในปี ๒๕๐๙ แล้วเสร็จในปี ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเมื่อปี ๒๕๑๓

    พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มีพุทธลักษณะงดงาม ประกอบกับประดิษฐานอยู่ยอดเขาจึงสูงเด่นเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา วัดเขากง-พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล จากตัวเมืองใช้ทางหลวงสายอำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอระแงะ (ทางหลวงสาย 4055) ประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงกิโลเมตรที่ 105 จะมองเห็นวัดเขากงและพระพุทธรูป ทักษิณมิ่งมงคลสีทอง ประทับนั่งปางประทานพรอยู่บนยอดเขา วัดเขากงตั้งอยู่ในตำบลเขากง อำเภอเมือง มีเนื้อที่กว้าง 142 ไร่ พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 สิ้นค่าก่อสร้าง ทั้งสิ้นกว่า 5 ล้านบาท องค์พระเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา หน้าตักกว้าง 17 เมตร สูงจากบัวใต้พระเพลา ถึงพระเกศบัวตูม 23 เมตร และ ได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมด้วยดินจากสังเวชนียสถาน มา ประดิษฐานที่พระอุระเบื้องซ้าย การก่อสร้างเป็นแบบคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยกระเบื้องโมเสดสีทอง องค์พระพุทธรูป มีลักษณะตามอิทธิพลของสกุลศิลปะอินเดียใต้โจฬะรุ่นหลัง จะพบพุทธรูปสกุลนี้ มากที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จนเรียกกันว่า "แบบนครศรีธรรมราช" หรือเรียกอย่างสามัญว่า พระพุทธรูป แบบ "ขนมต้ม" เนื่องจากพระวรกายล่ำสันทุกส่วน สังฆาฏิจัดกลีบแผ่กว้างเต็มพระอังสาเบื้องซ้ายและชายจีวร ใต้พระเพลาทำเป็นริ้วให้ความรู้สึกของการตกแต่งสวยงามกว่าแบบอื่นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากองค์พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลแล้ว ยังมีพระอุโบสถและเจดีย์สิริมหามายา ซึ่งเป็นรูปทรง ระฆัง ภายในโปร่ง บนยอดสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์

    เหรียญพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล ปี ๒๕๑๑ วัดเขากง จ.นราธิวาส พ่อท่านเส้ง พ่อท่านหมุน พระอาจารย์ทิม เหรียญนี้จัดสร้างโดยนำชนวนมวลสารจากเกจิอาจารย์ดัง-สายใต้มากมายหลายท่านอาทิเช่น หลวงปู่นาค วัดระฆัง อาจารย์นอง วัดทรายขาว หลวงพ่อแดง วัดเชิงเขา อาจารย์ชุม ไชยคีรี ฯลฯ และยังได้ทำการปลุกเสกอีกหลายวาระ

    รายนามพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก

    1.พ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย จ.สงขลา

    2.พ่อท่านแสง วัดคลองน้ำเจ็ด จ.ตรัง

    3.พ่อท่านเมือง วัดท่าแหน ลำปาง

    4.หลวงปู่นาค วัดระฆัง กทม.

    5.พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก จ.พัทลุง

    6.พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี

    7.หลวงพ่อดำ วัดตุยง จ.ปัตตานี

    8.พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง

    9.พ่อท่านเขียว วัดหลงบล

    10.ฆราวาสสายเขาอ้อ ท่านขุนพันธุ์ฯ อาจารย์ชุม ไชยคีรี ฯลฯ
     
  4. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    4. เหรียญ ภปร. หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ปี27 (พระอริยะสงฆ์แดนใต้) ให้บูชา 150 บาท (รวมส่ง)




    upload_2023-10-20_10-2-15.png
     
  5. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    5. เหรียญiรุ่นแรก หลวงปู่ผาง ปริปุณโณ วัดป่าประสิทธิธรรม พ.ศ.๒๕๔๓ ให้บูชา 250 บาท (รวมส่ง)


    upload_2023-10-20_10-7-28.png


    พระอริยเจ้าผู้ปรารถนาความเพียร ท่านเป็นศิษย์กัมมัฏฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านได้ศึกษาธรรมกับพ่อแม่ครูอาจารย์ เช่น หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่พรหม หลวงปู่ชอบ หลวงปู่แหวน และหลวงปู่ขาว และหลวงตามหาบัว ท่านเป็นอรหันต์แห่งบ้านดงเย็นที่เก็บตัวเงียบ วัตถุมงคลท่านสร้างน้อยหายาก
     
  6. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    6.เหรียญอธิการโต๊ะ วัดท่อเจริญธรรม จ.เพชรบุรี ปี 2517 เนื้อชินตะกั่ว บล็อคนิยมหลังมีมีดดาบ ให้บูชา 350 บาท (รวมส่ง)


    upload_2023-10-20_10-40-9.png


    หลวงพ่อโต๊ะ ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อกุน วัดพระนอน ว่ากันว่าหลวงปู่โต๊ะท่านสำเร็จวิชาการทำตะกรุดไมยราพสะกดทัพจากหลวงพ่อกุนมาด้วยครับ
    เหรียญรุ่นนี้ได้ใช้ตะกรุดเก่าของหลวงพ่อกุน วัดพระนอนที่ชำรุดมาหลอมและปั้มเป็นเหรียญรุ่นนี้ มีจำนวนการสร้างน้อยมาก ใช้เเทนตะกรุดของหลวงพ่อกุนที่เเพงหลักเเสนได้เลยครับ
     
  7. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    7.ศิษย์ของหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางจาก ให้บูชา 200 บาท (รวมส่ง)


    upload_2023-10-20_11-49-5.png


    วัตถุมงคล "เหรียญปั๊ม-เหรียญเสมาหลวงพ่อเปรื่อง เขมปัญโญ"ั้พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบางจาก จ.นนทบุรี จัดสร้างออกมาเป็นครั้งแรก ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อเปรื่องครึ่งองค์ ด้านล่างเป็นตัวอักษรภาษาไทย "หลวงพ่อเปรื่อง" และเลขไทย ๗๘ ซึ่งเป็นอายุของท่านในปีที่จัดสร้าง

    ส่วนด้านหลังบรรจุ "มหายันต์โสฬส" ซึ่งเป็นยันต์ที่ตกทอดมาถึงท่าน นับจากองค์บรมครูยันต์โสฬส หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม, หลวงปู่กลิ่น, หลวงพ่อทองสุข สืบจนมาถึง หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางจาก ครบถ้วนทุกตัวอักษร ซึ่งหลวงพ่อเปรื่อง ท่านเน้นคณะช่างมากๆ ให้ตรวจทานตัวอักษรยันต์ต่างๆ ให้ครบ อย่าให้ขาดหรือเกินเด็ดขาด

    สุดท้ายหลังจากที่ปั๊มเหรียญตัวอย่างแล้ว หลวงพ่อเปรื่องจะต้องตรวจทานอีกครั้ง ซึ่งนับว่าท่านพิถีพิถันให้ถูกต้องตามตำรามาก สมดังเจตนาที่ท่านกล่าวไว้ว่า "วัตถุมงคลของเรา หากจะทำแล้วต้องทำให้ดี ต้องทำให้คนที่เอาไปบูชาจะได้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่เขา จะทำแบบสุกเอาเผากินไม่ได้"

    เพราะฉะนั้นแล้ววัตถุมงคลของท่านจะเน้นถึงความถูกต้องตามตำราที่สืบทอดมาร้อยกว่าปีจนเป็นที่เล่าขานมาถึงปัจจุบัน
     
  8. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    8. เหรียญหลวงพ่อเก่ง พระเกจิเรืองวิทยาคม อุบลราชธานี ให้บูชา 150 บาท(รวมส่ง)



    upload_2023-10-20_11-58-54.png


    "หลวงปู่เก่ง ธนวโร" นั้น ถือเป็นพระอริยะสงฆ์ที่สืบทอดจริยาวัตรปฏิบัติจากครูบาอาจารย์ได้ดีเยี่ยม สมถะเรียบง่าย มีเมตตาสูงอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นศิษย์พระครูวิโรจน์รัตโนบล (ญาท่านดีโลด) อดีตเจ้าคณะ จ.อุบลราชธานี สืบทอดวิชาตำรายันต์ฝังดาบ ทำหลักเขตบ้าน เรียนวิชาสายมหาปราบ แก้ที่แก้ทางที่มีเจ้าที่ดุร้าย จากญาท่านพรหมา วัดบ้านระเว และญาท่านรัตน์ วัดบ้านหัวดอนพระอุปัชฌาย์ เป็นผู้มีความเคารพในวิชาและศรัทธาในหลวงปู่สุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ชาวบ้านในพื้นที่เชื่อว่า หลวงปู่ท่านสามารถขับไล่ผี ปราบผีดุร้าย และนั่งทางในหยั่งรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ ในสมัยก่อนแถบพิบูลมังสาหาร จะได้ยินชื่อพระที่โด่งดังสามองค์ด้วยกันคือ หลวงปู่แพง , ญาท่านสวน และ หลวงปู่เก่ง นั่นเอง นอกจากนี้ หลวงปู่เก่ง ยังมีความรู้เชี่ยวชาญเรื่อง ยาสมุนไพรไทย และ จีน เคยช่วยเหลือรักษาโรค ช่วยชีวิตชาวบ้านในสมัยก่อน เอาไว้เป็นจำนวนมาก....


     
  9. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    9.เหรียญ หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ปี 34 ให้บูชา 150 บาท (รวมส่ง)


    upload_2023-10-20_12-53-46.png

     
  10. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    10.เหรียญไตรมาสหลวงพ่อดำ โชติวโร วัดเขาพูลทอง อ.สอยดาว จว.จันทบุรี ให้บูชา 450 บาท (รวมส่ง)


    upload_2023-10-20_12-56-44.png

    upload_2023-10-20_13-0-53.png

    หลวงพ่อดำ โชติวโร
    วัดเขาพูลทอง อ.สอยดาว จว.จันทบุรี

    เหรียญไตรมาสรุ่นนี้ ดำเนินการจัดสร้างถวายโดย อาจารย์ เพียรวิทย์ จารุสถิติ และอาจารย์ ชินพร สุขสถิตย์ สองศิษย์เอกคู่บารมี "หลวงปู่ทิม อิสริโก" แห่งวัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จว.ระยอง ซึ่งจัดสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยได้นำเหรียญทั้งหมดมาให้ หลวงพ่อดำ ทำพิธีปลุกเสกเดี่ยว ๑ ไตรมาส (๓ เดือน) เป็นวาระที่ ๑

    พร้อมกันนี้ในวาระที่ ๒ วัดเขาพูลทอง ได้ดำเนินการจัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกเหรียญไตรมาส โดยนิมนต์ ๕ พระเกจิอาจารย์มานั่งปรกปลุกเสก อันมีรายนามดังต่อไปนึ้

    ๑. หลวงพ่อดำ วัดเขาพูลทอง จว.จันทบุรี
    ๒. ท่านพ่อเขียน วัดกระทิง จว.จันทบุรี
    ๓. หลวงพ่อนาค วัดหนองพะวา จว.ระยอง
    ๔. หลวงปู่กาหลง (เขี้ยวแก้ว) วัดเขาแหลม จว.สระแก้ว
    ๕. หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จว.ระยอง

    และวาระที่ ๓ ได้นำเหรียญไตรมาส เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดท่าหลวง อ.เมือง จว.พิจิตร ในการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น พระพิจิตร โดยมีพระเกจิอาจารย์มาร่วมนั่งปรกปลุกเสกมากถึง ๑๖๙ รูป

    และวาระที่ ๔ ได้นำเหรียญไตรมาส เข้าพิธีพุทธาภิเษกที่ วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพฯ ซึ่งในพิธีนี้ หลวงพ่อดำ ไดันั่งปรกปลุกเสกตลอดราตรีตั้งแต่หัวค่ำ จนถึงเช้าวันใหม่

    และวาระที่ ๕ ได้นำเหรียญไตรมาส เข้าพิธีพุทธาภิเษก เททองหล่อพระประธาน วัดคลองทราย อ.เมือง จว.จันทบุรี ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓

    โดยพิธีพุทธาภิเษกในวาระที่ ๓ วาระที่ ๔ และวาระที่ ๕ นั้น หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดป่าหนองหล่ม จว.สระแก้ว และ หลวงพ่อดำ โชติวโร วัดเขาพูลทอง จว.จันทบุรี ซึ่งทั้งสองท่านต่างก็ได้รับนิมนต์ให้เข้าร่วมพิธีปลุกเสกด้วยเช่นกัน
     
  11. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    11.เหรียญดี ที่น่าบูชา เหรียญสร้างชาติ ปลุกเสกพิธียิ่งใหญ่ที่วัดสุทัศน์ พ.ศ.2482 ฉลองอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย ให้บูชา 450 บาท (รวมส่ง)



    upload_2023-10-20_13-4-20.png


    เหรียญสร้างชาติ ปี 2482 (เหรียญอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย) ได้รับการออกแบบสร้างปั้นต้นแบบโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี นับเป็นผลงานชิ้นเอกของท่าน
    *** ตำนานเหรียญสร้างชาติ พ.ศ. 2482 เหรียญสร้างชาติปลุกเสกที่วัดพระแก้วใน ปี2482 แล้วนำมาแจกในงานฉลองอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ปี 2483 สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สร้างอนุสาวรีย์นี้ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการที่คณะราษฎรได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ชนรุ่นหลัง ได้เห็นความสามัคคีกลมเกลียวของประชาชนทั้งเตือนใจให้ระลึกถึงและช่วยกันพิทักษ์รักษาเทิดทูนรัฐธรรมนูญให้สถิตสถาพรเป็นหลักของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2483 โดยเหรียญสร้างชาติได้นำไปลุกเสกที่วัดพระแก้วโดยได้นิมนต์คณาจารย์รายนามดังนี้
    1.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
    2.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
    3.หลวงพ่อพุก วัดพระยาทำ
    4.หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา
    5.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
    6.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    7.หลวงพ่อช้าง วัดเขียนเขตต์
    8.หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม
    9.พระอาจารย์ปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    10.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
    11.หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
    12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
    13.หลวงพ่อโสก วัดปาดคลอง เพชรบุรี
    14.หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง
    15.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
    16.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
    17.หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู
    18.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก
    19.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
    20.หลวงพ่ออ้น วัดบางจาก
    21.พระอาจารย์พา วัดระฆัง
    22.หลวงพ่อใจ วัดเสด็จ
    23.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
    24.หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
    25.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ ฯลฯ
     
  12. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    2283. พระดีพิธีใหญ่ พระปางลีลาเนื้อดินงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พิธีใหญ่ สร้างปี2500 ให้บูชา 699 บาท



    upload_2023-10-20_13-14-22.png

    upload_2023-10-20_13-21-33.png


    เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทยและเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
    และนอกจากนี้ยังได้มีการสร้างพระพุทธลีลา สูง 2,500 นิ้ว (62.50 ม.) บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ตำบลศาลายา อ.นครปฐม
    (พุทธมณฑลปัจจุบัน) กับได้สร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ทั้งหลายขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดในการจัดสร้างดังต่อไปนี้

    • คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
    • นายพลตำนวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ

    คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
    มีหน้าที่จัดสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อแจกจ่ายและสมนาคุณ
    แก่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงิน สมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑล

    คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้จัดการดำเนินงานไปแล้ว และจะจัดการต่อไปตามลำดับนี้

    1. คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้อนุมัติ เงินทุนในการสร้างพระเครื่องครั้งนี้
    เป็นเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) เพื่อทำการสร้างพระ 2 แบบ คือ

    ก. พระเนื้อชิน อันประกอบด้วย พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำผสมด้วยนวโลหะ คือ ชินหนัก 1 บาท
    ,เจ้าน้ำเงินหนัก 2 บาท ,เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท เหล็กบริสุทธิ์ หลัก 4 บาท ,ปรอท หนัก
    5 บาท ,สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท ,เงินหนัก 8 บาท, ทองคำหนัก 9 บาท,
    ตลอดจนแผ่นทองแดง,ตะกั่ว,เงินที่พระอาจารย์ต่างๆ เกือบทั้งราชอาณาจักรได้ลงเลขยันต์คาถา
    ส่งมาให้และเศษชนวนหล่อพระในพิธีแห่งอื่นๆ รวมหล่อผสมลงไปในคราวนี้ด้วย

    ข.พระผง (ดิน) ผสมด้วยผงเกษรดอกไม้ 108 อย่าง ตลอดจนผสมด้วยดินหน้าพระอุโบสถ
    จากพระอาจารย์ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรและผงพุทธาคมต่างๆ ที่บรรดาพระอาจารย์ได้มอบให้มา
    รวมทั้งพระผงต่างๆ แบบของโบราณและของพระอาจารย์ต่างๆ ที่ได้สร้างไว้แต่โบราณกาล
    อันได้ส่งอุทิศมาให้ผสมรวมเป็นผงในครั้งนี้ด้วยมากมายหลายแห่ง

    2. จำนวนพระที่สร้างในครั้งนี้

    ก. พระเนื้อชิน 2,421,250 องค์

    ข. พระเนื้อดิน 2,421,250 องค์ (รวมทั้ง 2 ชนิด เป็นพระ 4,842,500 องค์)

    ค. สร้างพระพุทธรูปบูชาทองคำแบบพุทธลีลา ลักษณะเดียวกับพระองค์ใหญ่ ซึ่งจะสร้างที่
    พุทธมณฑล สูงองค์ละ 9 ซ.ม. 4 องค์ ทองคำหนักรวม 55 บาท พระพุทธรูปทองคำนี้
    ได้ให้กองพระษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นผู้จัดสร้าง

    การสร้างพระเครื่องนี้ ได้ลงมือทำพิธีปลุกเสกสรรพสิ่งตลอด 3 วัน 3 คืน ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม
    ราชวรมหาวิหาร มีสมเด็จพระราชาคณะ , เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป

    พระคณาจารย์ 108 รูปนี้ได้อาราธนามาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ดังมีรายชื่อพระคณาจารย์ ดังต่อไปนี้


    1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
    11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
    12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
    13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
    14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    18. พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
    19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
    20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
    21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
    22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรงหีบ จ.พระนคร
    23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
    24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
    25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
    26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
    27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
    28. พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
    29. พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
    30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
    31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
    34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
    38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
    39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
    40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
    41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
    42. พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
    43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
    44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
    45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
    46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
    47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
    48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
    49. พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
    50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
    52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
    53. พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
    55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
    56. พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี
    57. พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
    58. พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
    59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
    60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
    61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
    62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
    63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
    64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
    65. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
    66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
    67. พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
    68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
    69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
    70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
    71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
    73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
    74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
    75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
    76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
    77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
    78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
    80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
    81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
    83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
    84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
    85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
    86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
    87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
    88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
    90. พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง ค์
    91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
    94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
    95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
    98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
    99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
    100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
    102. พระครูศุข วัดดตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
    103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
    104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
    105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
    106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
    107. พระครูปี้ วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
    108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
     
  13. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    2284. นานๆได้มาสักองค์ครับ พระพุทธชินราช เนื้อดิน วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก ปี2499 ให้บูชา 2250 บาท “ต้นตำรับสูตรมหาจักรพรรดิ์ชนิดดินผสมผง”


    upload_2023-10-20_19-37-46.png

    สมญานานต้นตำรับแห่งพระผงมหาจักรพรรดิ์เมืองสองแควทั้งปวง
    สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ มหาพุทธาภิเษก ๓ พิธีใหญ่

    พระพุทธชินราช พิมพ์อินโดจีน และ พระผงมหาจักรพรรดิ์ (จอมราชัน) พระครูศีลสารสัมบัน

    1. พระพิมพ์พุทธชินราชพิมพ์อินโดจีน เนื้อผงผสมผงตะไบ หลังโค้ดตราวัด สร้างไว้ ๒๐๐ องค์ สมญานามว่า“ต้นตำรับสูตรมหาจักรพรรดิ์ชนิดดินผสมผง”
    ประวัติพระพิมพ์ พระพุทธชินราช พิมพ์อินโดจีน
    พระพิมพ์ พระพุทธชินราช พิมพ์อินโดจีน หลังตราวัด
    จำนวนการสร้าง ๒๐๐ องค์
    เนื้อผง ดินกรุพิษณุโลก ทุกกรุทั่วเมืองพิษณุโลกผงเกสรดอกไม้ ๑๐๘ วัดทั่วประเทศไทย
    ผสมผงตะไบวัดผงตะไบเนื้อเงิน นวโลหะ และทองคำพระกริ่ง (พระพุทธชินราชอินโดจีน) สูตรสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
    เอกลักษณ์พิเศษ มีลายนิ้วมือของท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน)ปรากฏอยู่ด้านหลังพระพิมพ์ทุกองค์

    2. รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบันรุ่นแรกพิมพ์ไข่ไก่ เนื้อผงบางขุนพรหม ผสมเกศา สร้างไว้ชนิดละ ๑๐๐ องค์ โดยมี ๒ ชนิด ได้แก่ ลงรักปิดทองและไม่ปิดทอง สมญานามว่า“ต้นตำรับสูตรมหาจักรพรรดิ์ชนิดผง” จำนวนสร้างไว้น้อยมาก เนื่องจากมวลสารมีจำกัด
    เนื้อผง ผงมวลสารสมเด็จวัดบางขุนพรหมกรุใหม่ พ.ศ.๒๔๑๑ – ๒๔๑๓, ผงเกสรดอกไม้ ๑๐๘ วัดทั่วประเทศไทย,ผสมเกศาท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน)
    จำนวนการสร้าง เนื้อปิดทอง ๑๐๐ องค์
    มวลสาร ได้รับพระสมเด็จหักจากพระครูอมรคณาจารย์(เส็ง) อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส พระครูบริหารคุณาวัตร รองเจ้าอาวาสเป็นผู้ถวาย
    เอกลักษณ์พิเศษ มีลายนิ้วมือของท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) ปรากฏอยู่ด้านหลังพระพิมพ์ทุกองค์

    พิธีพุทธาภิเษก ๓ พิธีใหญ่
    ๑. พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ พ.ศ.๒๕๐๖ พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้น ๓ วัน ๓ คืน
    เมื่อวันที่ ๑๓ – ๑๔ – ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ และในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ เวลา ๕ โมงเย็น
    พระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป ร่วมมหาพุทธาภิเษก ซึ่งประกอบไปด้วยพระเกจิอาจารย์ที่เรืองเวทย์ด้านคาถาอาคมมาร่วมพิธีปลุกเสก อาทิ เช่น พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม., หลวงปู่นาค วัดระฆัง กทม., หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เป็นต้น

    ๒. พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ครั้งที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ไตรภาคี ๓ วาระ) พ.ศ.๒๕๑๕

    วาระที่ ๑ วันพุธ ที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕
    พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้น ณ ศาลาโรงพุทธาภิเษก วัดสระแก้วปทุมทอง จังหวัดพิษณุโลก มีพระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก ๑๙ รูป ตลอดคืน เช่น พระพิษณุบุราจารย์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร พิษณุโลก, พระครูศรีรัตนาภรณ์ (หลวงพ่อไซ่) วัดจูงนาง พิษณุโลก, พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ พิษณุโลก, พระอาจารย์นวล วัดนิมิตรธรรมาราม พิษณุโลก, พระครูอภัยจริยาภิรมณ์ วัดใหม่อภัยยาราม พิษณุโลก, พระครูวินัยธรสุเทพ วัดแสงดาว พิษณุโลก, พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา พิษณุโลก, พระครูประภาสธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อแขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ พิษณุโลก, หลวงพ่อเปรื่อง วัดคูหาสวรรค์ พิษณุโลก, พระครูศีลสารสัมบัน วัดสระแก้วปทุมทอง พิษณุโลก, พระสมุห์ละมัย (พระวรญาณมุนี) วัดอรัญญิก พิษณุโลก, หลวงพ่อเปรื้อง วัดโพธิญาณ พิษณุโลก, พระอาจารย์ชุ่ม วัดกรมธรรม์ พิษณุโลก, พระอาจารย์โต วัดสมอแข พิษณุโลก, พระครูประพันธ์ศีลคุณ (หลวงพ่อพัน) วัดบางสะพาน พิษณุโลก, พระครูวิจารย์ศุภกิจ (อาจารย์ทองม้วน) วัดวังทองวราราม พิษณุโลก, พระครูนิยมสีลาจารย์ (เฮียง) วัดท่ามะปราง พิษณุโลก เป็นต้น

    วาระที่ ๒ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕
    พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้น ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร พิษณุโลก พระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก ๑๐๙ รูป เช่น พระเทพโสภณ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) วัดชนะสงคราม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยาหอม, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์, พระอาจารย์วิริยัง วัดธรรมมงคล, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์, หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค, หลวงพ่อโอด วัดจันเสน, หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม, หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงส์, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต เป็นต้น

    วาระที่ ๓ พิเศษ
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) วัดพระเชตุพนฯ กทม., หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, หลวงพ่อเกษม เขมโก, หลวงพ่อนาค วัดทัศนารุณสุทธิการาม กรุงเทพฯ, พระอาจารย์วิริยัง สิรินโท วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ, พระเทพโสภณ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ, หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงส์ ธนบุรี, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ, หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา ธนบุรี, หลวงพ่อโด่ วัดนาตูม จ.ชลบุรี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง, หลวงพ่อหอม วัดซากหมากป่าเรไร จ.ระยอง, พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน จ.ประจวบคีรีขันธ์, พ่อท่านเย็น วัดโคกสท้าน จ.นครศรีธรรมราช, พ่อท่านพระครูปลัดบุญรอด วัดพัฒนาราม จ.นครศรีธรรมราช, พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง, หลวงพ่อสง วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี เป็นต้น

    ๓. พิธีพุทธาภิเษก ครบ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ พ.ศ.๒๕๑๕

    วันพฤหัสบดี ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๕ อันเป็นวันครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการมรณภาพของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นตามขนบประเพณี ทั้งพิธีพราหมณ์และพิธีสงฆ์
    ในพิธีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นครั้งที่ ๒ เพื่อทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก คณาจารย์ร่วมพิธินั่งปรกพุทธาภิเษก วาระแรก ๑๐ รูป เช่น พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลย์ไลยก์ จ.สุพรรณบุรี, พระโพธิวารคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร กรุงเทพฯ, พระพุทธมนตวราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศน์ราชวราราม, พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ, พระครูวิริยกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ, พระครูโสภณกัลยาณวัตร วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ, พระครูกัลยาณานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ, พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ) วัดกลาง พระนครศรีอยุธยา, พระครูสุตาธิกา (ทองอยู่) วัดหนองพะอง จ.สมุทรสาคร, พระครูสาทรพัฒนกิจ (ลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี เป็นต้น

    วันพฤหัสบดี ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๕
    พระคณาจารย์ร่วมบริกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล รุ่น อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ๑๐๘ รูป เช่น
    พระเทพคุณาธาร (เจียม) วัดโสธรวราราม, พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม, พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร, พระครูวิริยะกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี, พระครูสาทรพัฒนากิจ (ลมูล) วัดเสด็จ, พระครูกัลยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร, พระครูสุวิชงนวรวุฒิ (ปี้) วัดลานหอย, พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย) วัดสระแก้วปทุมทอง, พระครูศรีพรหมโสภิต (แพ) วัดพิกุลทอง, พระครูภาวนาสังวรคุณ (เต๋) วัดสามง่าม, พระครูปัญญาโชติวัตร (เจริญ) วัดทองนพคุณ, พระครูประภาสธรรมาภรณ์ (ลำยอง) วัดสุนทรประดิษฐ์, พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี, พระครูพิลาสธรรมกิตติ์ (ทวี) วัดโรงช้าง จ.พิจิตร, พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส, พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิ, พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา, พระอาจารย์กี๋ วัดหูช้าง, พระอาจารย์จันทร์ วัดนามะตูม, พระอาจารย์แสน วัดท่าแทน, พระอาจารย์คง วัดสันพระรส, พระอาจารย์สวน วัดบางกระดาน, พระอาจารย์จำรัสวัดเมืองกาย, พระอาจารย์เกลี้ยง วัดเขาใหญ่, พระอาจารย์โสภาโสภิกขุ วัดเทพนฤมิตคีรีขันธ์, พระอาจารย์ลมูล วัดพุทธวงศา, พระอาจารย์ชาย วัดสังข์ทอง เป็นต้น
     
  14. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    2285. รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่หรียญหลวงปู่ชอบ ฐานสโม รุ่นบารมี ๙๔ ด้านหลัง ๑๒ นักษัตรล้อมรอบบาตรบริขาร ให้บูชา 499 บาท ซีลเดิมๆครับ


    upload_2023-10-20_19-48-7.png

    upload_2023-10-20_19-48-38.png

    upload_2023-10-20_19-52-5.png

    เข้าพิธีใหญ่ โดยพระเถระสายกรรมฐาน ร้อยกว่ารูป อาทิ หลวงปู่แว่น ธนปาโล หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ หลวงปู่หลอด ปโมทิโต หลวงปู่คำพอง ติสโส หลวงปู่จันทา ถาวโร ฯลฯ.........และพระเถระผู้ทรงคุณ ๑๒๐ รูป ร่วมพิธีอธิษฐานจิต
    ขอความเมตตาหลวงปู่เป็นรุ่นสุดท้าย ผลิตโดย กองกษาปณ์
     
  15. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
  16. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    2286.พระผงของขวัญวัดจันทรังษี อ่างทอง ปีพ.ศ.๒๕๑๔ ผงเก่าและบรรจุวิชาธรรมกายวัดปากน้ำภาษีเจริญ ให้บูชา 599 บาท พิธีเดียวกันกับพระผงปากน้ำรุ่นที่ 4




    upload_2023-10-22_8-43-24.png



    พระผงของขวัญวัดจันทรังษี อ่างทอง ปีพ.ศ.๒๕๑๔ ผงเก่าและบรรจุวิชาธรรมกายวัดปากน้ำภาษีเจริญ เข้าพิธีเดียวกับพระผงของขวัญวัดปากน้ำภาษีเจริญ รุ่น ๔ ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม. โดยมีหลวงปู่โต๊ะ วัดประดูฉิมพลี เป็นประธานปลุกเสก และ พระคณาจารย์สายธรรมกายร่วมบรรจุวิชาตามหลักสอนหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ พระผงของขวัญวัดจันทรังษี ก่อนนำกลับมาอ่างทองแวะให้หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราชฯ จ.อยุธยา ปลุกเสกเดี่ยวอีกวาระหนึ่ง เมื่อได้รับการปลุกเสกพระเครื่องจนครบไตรมาส หรือ ๑ พรรษาแล้ว จึงนำมาที่วัดจันทรังษี อ่างทอง เพื่อออกแจกจ่ายแก่ผู้สนใจต่อไป ในด้านประสบการณ์ของพระวัดจันทรังษีก็ไม่ต่างจากพระผงของขวัญวัดปากน้ำเช่นกัน
     
  17. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    2287. ชุดวัตถุมงคล หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข พระพุทธเมตตาหลังยันต์ตรีนิสิงเห ปี 36 / พระปิดตาพระพุทธเมตตา พิมพ์หยดน้ำ หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข ปี 2535 ให้บูชาชุดละ 750 บาท




    upload_2023-10-22_15-43-27.png

    upload_2023-10-22_15-43-33.png

    พระพุทธเมตตาหลังยันต์ตรีนิสิงเห หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข ปี 36

    พระปี 36 เป็น พิธี ที่ หลวงพ่อ บอก เต็มที่...

    หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข
    (พระอภิญญาผู้ชำนาญกสิณน้ำ)

    พระปิดตาทรงไก่รุ่นแรกของหลวงปู่นั้นมีประสบการณ์โด่งดังมาก เพราะมีชายคนหนึ่งแห่งหัวลำโพง ขูดผงพระปิดตาไปให้ผู้หญิงกิน ผลก็คือได้เมียนับสิบ จนเรื่องรู้ถึงหูหลวงปู่ ท่านเลยสั่งให้เอาพระปิดตาขี่ไก่รุ่นแรกไปบรรจุกรุ ไม่ยอมมอบให้ใครอีก

    จนลูกศิษย์ต้องไปขอร้องว่า คนที่นำไปใช้ทางที่ดีก็มี จึงขอความเมตตาจัดสร้างพระปิดตาขี่ไก่รุ่นสองขึ้นมา เมื่อมีคนนำไปใช้แล้ว เรื่องเมตตามหานิยมและเสน่ห์ในตนนั้น มีความแรงสุด ๆ แบบชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ ทั้งเรื่องราวความรัก ทั้งเรื่องโชคลาภและการค้า เพราะว่าไก่เป็นสัญลักษณ์แห่งการทำมาหากิน

    หลวงปู่ท่านว่า "รุ่นแรกฉันยังไม่เก่ง รุ่นหลังๆ นี่ฉันเก่งแล้วนะ"

    หลวงปู่ปลุกเสกเดี่ยวเป็นเวลา 3 เดือน ก่อนนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่อีกครั้งในพระอุโบสถวัดดวงแข ทิ้งสมบัติอันล้ำค่าให้แก่ลูกศิษย์ ชนิดมีประสบการณ์ล้นหลาม

    พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ในพระอุโบสถวัดดวงแข วันที่ 23 ตุลาคม 2536 เวลา 13.39 น. ถึงเวลา 18.59 น. มีครูบาอาจารย์ร่วมปลุกเสก ดังนี้

    ๑. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จุดเทียนพระฤกษ์
    ๒. หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จุดเทียนชัย
    ๓. หลวงปู่ผล วัดเชิงหวาย
    ๔. หลวงพ่อดี วัดพระรูป
    ๕. หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข จุดเทียนนวหรคุณ
    ๖. หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ดับเทียนชัย
    ๗. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
    ๘. หลวงปู่โง่น วัดพระบาทเขาลูกช้าง
    ๙. หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา
    ๑๐. หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    ๑๑. หลวงพ่อผล วัดดักคะนน
    ๑๒. หลวงพ่อสำราญ วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    ๑๓. พระครูนนทสิทธิการ(หลวงพ่อวัดไทรน้อย)นนทบุรี
    ๑๔. หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ
    ๑๕. หลวงพ่อเฮ็น วัดดอนทอง
    ๑๖. หลวงปู่ทอง วัดสามปลื้ม
    ๑๗. หลวงพ่อทองใบ วัดสายไหม
    ๑๘. หลวงพ่อเจือ วัดกลางบางแก้ว
    ๑๙. หลวงพ่อเกษม วัดท้องไทร
    ๒๐. หลวงพ่อสุทิน วัดเกยชัยใต้

    รุ่นสุดท้ายปี2536
    พระผงรุ่นสุดท้ายนี้มีด้วยกัน6พิมพ์ ปีนี้หลวงปู่สั่งให้ปั้มออกมาให้มากที่สุด แต่ละพิมพ์ได้ประมาณพิมพ์ละ 15000องค์ หลวงปู่สั่งบรรจุกรุที่วัดดวงแข และวัดบ้านแก่ง โดยให้แบ่งพระทุกพิมพ์ออกเป็น3ส่วน เพราะฉนั้นพระผงปีนี้แต่ละพิมพ์จะมีให้สะสมกันพิมพ์ละประมาณ5-6000องค์เท่านั้น นอกนั้นบรรจุกรุไว้ทั้งสองวัด
    1.สมเด็จพุทธเมตตารัศมีฐานสิงห์
    2.สมเด็จพุทธเมตตา2นะ
    3.สมเด็จนาคปรกสัตตะนาเค
    4.พระปิดตาพุทธเมตตาจัมโบ้ไก่เถื่อ
    5.พระปิดตาพุทธเมตตาไก่2.
    6.พระผงรูปเหมือนหลวงปู่เตารีด

    หลวงปู่เศกเดี่ยว และเข้าพิธีพุทธาภิเศกที่วัดดวงแข พระภาวนาจารย์นั่งปรกปลุกเศก20รูป

    .................................................................................................................................

    พระปิดตาพระพุทธเมตตา พิมพ์หยดน้ำ หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข ปี 2535
    พระปิดตาพุทธเมตตาพิมพ์หยดน้ำ
    ตอนที่สร้างปิดตารุ่นนี้พี่นิพนธ์ได้เคยเขียนไว้ว่า
    ตอนนั้นมือปั้มไม่อยู่กลับบ้านกันหมด เพราะเป็นช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หลวงปู่จะมาช่วยนั่งปั้มจนถึงตี2เป็นเวลาร่วมเดือน ท่านมานั่งปั้มไปสอนวิชาพี่นิพนธ์ไป” เนิ้อพระละเอียดเนียนมากเพราะเนื้อพระแต่ละครกตำเกือบชั่วโมง หลวงปู่จะพิถีพิถันตอนปั้มมาก ถ้าเนื้อพระละเอียดดี จะปั้มได้ง่ายมาก ต้องตำจนเนื้อคล้ายดินน้ำมัน เอานิ้วแม่โป้กดลงไปที่เนื้อจะเห็นลายนิ้วมือ ถือว่าดีมากเนื้อละเอียดดี เนื้อนี้จะแก่เกษร ดอกมะลิมาก เฉพาะแบบฝังตะกรุดสร้าง 1,200 องค์
    แต่ที่สำคัญคือ พระรุ่นนี้หลวงปู่ท่านร่วมกดพิมพ์ด้วยตัวท่านเองด้วย


     
  18. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    2288. เหรียญรุ่นแรกสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่19 เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์สมเด็จพระญาณสังวร ให้บูชา 1250 บาท



    upload_2023-10-22_21-10-13.png

    พิธีสมโภชสมณศักดิ์สมเด็จพระญาณสังวร วันที่21-22เมษายน2516 ณ วัดเทวสังฆาราม
    สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
    ท่านได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9
    ซึ่งนับเป็นสมเด็จพระญาณสังวรรูปที่2 ต่อจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม ในสมัยรัชกาลที่ ๒
    พิธีมหาพุทธาภิเษกใหญ่ถึง 2 วาระ

    วาระที่ 1 โดยเกจิสายจังหวัดกาญจนบุรี
    1.หลวงปู่หัง วัดเทวสังฆาราม
    2.หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราชบำรุง
    3.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม
    3.หลวงพ่อโฝ วัดถาวรวราราม(ญวณ)
    4.อาจารย์แน่น วัดหนองขาว
    5.หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน
    6.หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่
    7.หลวงพ่อจุ่น วัดเขาสะพายแร้ง
    8.หลวงพ่อเล็ก วัดเขาดิน
    9.หลวงพ่อเยี่ยม วัดเลาขวัญ
    10. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม

    วาระที่ 2 ณ อุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
    สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน
    มีพระเกจิร่วมพุทธาพิเษกหลายท่าน อาธิ
    1.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    2.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๊ง
    3.หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์
    และพระเกจิสายอีสานอีกหลายท่าน เป็นต้น

    สำหรับด้านหลังเป็นคำอำนวยพร ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จได้ประพันธ์ขึ้นสำหรับจารึกในเหรียญนี้เป็นพิเศษและมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับประวัติของพระองค์ด้วย ดังนี้
    อิสฺวาสุรตนตฺตยํ
    ขอรัตนสาม คือ อิ (อิติปิโส ภควา, สวา (สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม),
    สุ (สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ)
    รกขตุ ตฺวํ นิรนฺตรํ
    จงรักษาท่านชั่วนิรันดร์
    โหตุ สวฑฺฒโน สาธุ
    จงเป็นผู้เจริญดี เป็นคนดี
    สพฺพตฺถ ญาณสํวโร
    และจงเป็นผู้สำรวมในญาณ (คือ ความรู้) ทุกเมื่อแล
    คำว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งแปลว่า “เจริญดี”
    มาจากนามฉายาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
    คำว่า “ญาณสํวโร” ซึ่งแปลว่า "สำรวมในญาณ"
    มาจากราชทินนาม “สมเด็จพระญาณสังวร”
    จากประวัติของเหรียญที่กล่าวมาจึงนับได้ว่า เหรียญนี้เป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน ในที่สมณศักดิ์ สมเด็จพระญาณสังวร
     
  19. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    สวัสดียามเช้าครับ
     
  20. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,593
    ค่าพลัง:
    +464
    2289. เจ้าตำรับวิชาพระลักษณ์หน้าทองมหาเสน่ห์อันลือลั่น ลูกสวาทพญาเทครัว รุ่นแรก สร้างจากมวลสารแท้ๆของหลวงพ่อผินะ (หลวงพ่อเอิบ วัดหนองหม้อแกง (วัดซุ้มกระต่าย) ชัยนาท) ปิดรายการครับ



    upload_2023-10-24_8-34-43.png


    upload_2023-10-24_8-28-46.png

    หลวงพ่อเอิบท่านเป็นลูกศิษย์เอกของหลวงพ่อผินะ วัดสนมลาว ท่านไปได้สำเร็จวิชาการสร้างดาวแม่เนื้อหอมและปลัดชะมด รวมถึงการปลุกเสกเครื่องรางให้เข้มขลังตามแบบฉบับของหลวงพ่อผินะ เมื่อท่านสำเร็จวิชามาแล้ว หลวงพ่อผินะท่านก็ได้มอบผงมวลสารอันวิเศษ มาให้หลวงพ่อเอิบด้วย เพื่อนำมาทำวัตถุมงคลไว้สร้างวัด โดยท่านว่า "ให้พ่อสิ้นก่อนนะแล้วค่อยเอาไปใช้สร้างวัด"
    และเมื่อตอนที่หลวงพ่อผินะยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้สร้างลูกอมไว้รุ่นหนึ่งเรียกว่า "#พญาเทครัว" ที่ปัจจุบันหาของแท้หายากมาก และราคาความนิยมก็แพงมากด้วยจำนวนการสร้างน้อย และมวลสารพลังอาถรรพ์อันสุดล้ำลึกเข้มขลัง
    ที่เรียกว่าพญาเทครัวนั้น เรียกตามพุทธคุณของลูกอมท่าน ด้วยมีพลังเป็นเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์อย่างสูง เรียกได้ว่ามีลูกเดียวเหมาเททั้งครัว ตามฉบับเครื่องรางอันเลื่องลือแผ่นดินของหลวงพ่อผินะ

    หลวงพ่อเอิบ จึงคิดสร้างลูกอมขึ้นมาบ้างเป็นรุ่นแรก จัดทำพิธีการสร้างและมวลสารตามสูตรอาจารย์คือหลวงพ่อผินะทุกอย่างทุกประการ เรียกว่า "ลูกสวาทพญาเทครัว"
    ผสมด้วยมวลสารสำคัญ ผสมผงพญาเทครัวแท้ๆของหลวงพ่อผินะและผงพุทธคุณผงวิเศษของหลวงพ่อผินะหลายชนิด ที่หลวงพ่อเอิบท่านได้รับมาจากหลวงพ่อผินะ เมื่อครั้งที่ท่านไปเรียนวิชาจนสำเร็จจากหลวงพ่อผินะ
    เมื่อออกบูชาไม่นานก็มีประสบการณ์มาก ลักษณะเป็นลูกอมกระทัดรัดปิดทอง ถือเป็นรุ่นแรกของท่านที่มีประสบการณ์เป็นที่กล่าวขวัญครับ
    แม้แต่มีคนบูชาปลัดหัวชะมดของท่านเอาไปใช้ได้ผลดี แต่ท่านบอกว่ายังมีของดีอีกอย่างนั่นคือ "ลูกสวาทพญาเทครัว" หรือ "ลูกสวาทรุ่นแรก" ที่กล่่าวขวัญกันว่าเด่นด้านเมตตามหานิยมเป็นอย่างยิ่ง #เห็นผลแรงตามแบบฉบับของหลวงพ่อผินะ เนื่องจากมวลสารเดียวกันทุกประการ
    ท่านว่า "เอาติดตัวพกไว้จะเป็นมหาเสน่ห์กว่าใครเขา ใครเห็นใครรัก ไม่มีอดอยาก ก็เสกให้ต้องตาต้องใจเขานี่ ของฉันใช้ให้ดีอย่าให้มีผิดศีลธรรมนะ ลูกเมียใครรู้ว่ามีเจ้าของอย่าไปยุ่ง ฉันไม่กันลูกปืนให้นะ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2024

แชร์หน้านี้

Loading...