ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณนิยมตั้งชุมชนและบ้านเรือนใกล้
    แม่น้ำลำคลอง ได้อาศัยน้ำในแม่น้ำลำคลองทั้งใช้สอย
    และบริโภค สายน้ำเปรียบดังสายชีวิต น้ำท่วมก็มีชีวิตอยู่
    กับน้ำอย่างมีความสุข รู้จักเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส มี
    การลอยกระทงบ้าง แข่งเรือกันบ้าง เล่นเรือเพลงกันบ้าง
    แม้แต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินท่านก็ทรงสร้างอุบายให้มีการแข่ง
    เรือกันแม้กระทั่งฝ่ายใน เพื่อให้มีความสุขสนุกสนานกัน
    ทั่วหน้า ดังพระราชพิธีที่มีชื่อแปลกว่า อาศวยุช (นี่ถ้าคุณทาง


    สายธาตุไม่ช่วยอธิบาย อาจจะมีคนเดาไปทางแข่งม้าก็ได้)
    มีคำกล่าวกันมาแต่โบราณว่า เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือน
    สิบสองน้ำทรง ประเพณีแข่งเรือ และประเพณีลอยกระทง
    ก็จัดกันตอนนี้แหละครับ เป็นการหาความสนุกสนานกัน
    จากน้ำท่วม คลายเครียดได้ไม่เลวทีเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2009
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    แข่งม้า คุณจงรักภักดีช่างคิดนะคะ อัศวยุทธ ขำค่ะ

    หน้าน้ำ ข้าศึกศัตรูไม่ค่อยมาทำศึกเพราะน้ำเอ่อล้นตลิ่ง

    เดินทางกันไม่สะดวก ยามหมดศึก ประชาชนมีความสุขมาก

    บางทีการค่อยๆเข้าใจแต่ละเรื่องราวทำให้เราเห็นภาพ

    ประวัติศาสตร์ได้ชัดขึ้น จินตนาการได้ถึงการมามุงดูเรือแข่ง

    หัวเราะกัน ส่งเสียงเชียร์ สมาชิกในบ้านได้กลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง

    ผู้เฒ่าผู้แก่ก็พลอยคึกครื้นหัวเราะกันน้ำหมากกระเด็น มีชีวิตชีวา

    ถ้าสงครามไม่ใช่เพื่อป้องกันตัวเองเป็นส่วนใหญ่แล้ว

    ชาวกรุงศรีอยุธยา คงไม่มีใครอยากมีศึกเป็นแน่

    เพราะบ้านเมือง สงบ ร่มเย็น ข้าวปลาบริบูรณ์ อย่างยิ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ได้ข่าวมาเหมือนกันว่าวันอาทิตย์ที่ 12 กรกฏาคมนี้อาจมีพิธีบวงสรวงที่วัดวรเชษฐ์

    ยังไม่ได้เช็คข่าวอีกที เดี๋ยวพี่สะใภ้จะโทรไปถามแม่ชีอีกทีว่ามีพิธีหรือไม่

    ขอสารภาพว่าเขียนอะไร ไม่ปะติดปะต่อ ยังค้างเรื่อง ย้อนรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา

    ซึ่งเป็นเรื่องสะเทือนใจ ที่จริงตอนนี้มีข้อมูลที่อ่านเกร็ดพงศาวดาร อันเกี่ยวกับชายาของ

    พระราเมศวร

    อ่านแล้วก็สะเทือนใจ ถ้าเขียนเรื่องราวสนุกสนานอยู่จะหักมุมไปเขียนเรื่องสะเทือนใจ ก็ไปต่อไม่ถูกเหมือนกัน

    ครั้นจะเขียนเรื่องการเสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราทางชลมารถในสมัยของพระนเรศวรให้สิ้น

    ก็จะมีทั้งเรื่องที่น่าสนใจแต่ต่อจากนี้ก็จะเป็นเรื่องที่เนื้อหาค่อนข้างเครียด เช่นคำสั่งเผาฝีพายเรือพระที่นั่ง 1600 นาย เป็นต้น

    เนื้อหาหลากหลาย มีเรื่องแผนที่โบราณว่า คนกรุงศรีอยู่กันย่านไหน ทำมาหากินอะไรในย่านนั้น

    บ้านเจ้าพระยาโกษาปานอยู่แถวไหน ทูตฝรั่งเศสมาเมืองไทยให้นอนที่ไหน เขาชอบเมืองไทยในสมัยนั้นไหม

    เจาะลึกๆทีละเรื่องแล้วรู้สึกว่ามันสนุกดีจัง
     
  4. ศรัทธา_พิสุทธิ์

    ศรัทธา_พิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +205
    เพิ่งจะได้เข้ามาอ่านพระราชพิธีต่างๆที่คุณทางสายธาตุ ได้
    กรุณานำเสนอ ทำให้ได้ทราบหลายๆเรื่องที่ไม่เคยได้ทราบ
    มาก่อนค่ะ ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    การปราบปรามเขมร และฟื้นฟูหัวเมืองเหนือ

    “ลุศักราช ๙๔๕ ปีมะแมศกเบญจศก สมเด็จพระนเรศเป็นเจ้า ครั้นเสด็จการพระราชพิธีอาสวยุทธแล้ว มีพระราชบริหารสั่งให้เกณฑ์ทัพเตรียมไว้ และพลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย กำหนดเดือนอ้ายจะยกไปตีกรุงกัมพูชาธิบดี...


    ปรับศักราชเป็น ๙๕๕ หรือปีพ.ศ. ๒๑๓๖ พอเข้าเดือนอ้าย ปีเดียวกันนั้นก็ทรงยกไปตีเขมร พระองค์ได้ทรงทำปฐมกรรมกับพญาละแวก


    ไม่รู้จะเขียนอะไรต่อดีระหว่างเรื่องกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารถในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งยังมีอีก 3 ครั้งในวาระที่แตกต่างกัน

    ก็พอดีไปอ่านข่าวเจอว่ากองกำลังเขมรยกมาประชิดชายแดนไทยอีกครั้งเกิดความตึงเครียด ซึ่งเขมรทำแบบนี้บ่อยๆคือย่องมาตีไทยยามอ่อนแอหรือติดพันศึกกับพม่า ยามนี้ไทยเราอ่อนแออยู่หรือไม่ เพราะเราทะเลาะกันเองไม่ยอมเลิกเสียที อย่างไรก็ตามขอเว้นไม่พูดเรื่องการเมืองปัจจุบันในกระทู้นะคะ เพราะจะผิดเป้าประสงค์ของผู้ก่อตั้งกระทู้และผู้ก่อตั้งเวปไซด์นี้

    ยามนี้เรามาระลึกถึงพระมหาวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอีกข้อเรื่องเกี่ยวกับการปราบปรามเขมรในเดือนอ้าย ปีพ.ศ. 2136 เพื่อให้ทหารไทยหึกเหิมอย่ายอมแพ้ สู้ๆ

    สมเด็จพระนเรศวรทรงแค้นเคืองเขมร ที่ลอบเข้ามาทำร้ายไทย ทุกครั้งที่ไทยเกิดมีภัยพิบัติและอ่อนกำลังลง ดังนั้น พอเสร็จศึกสำคัญหมดแล้ว พระองค์จึงเสด็จยกทัพไปตีกัมพูชา ในปีมะเส็ง พ.ศ. 2136 โดยจัดกำลังเป็นทัพเรือสองกองทัพ ให้พระยาเพชรบุรีเป็นแม่ทัพเรือ ยกไปตีทางเมืองป่าสักทัพหนึ่ง ให้พระยาราชวังสัน เป็นแม่ทัพเรือ ยกไปตีเมืองบันทายมาศอีกทัพหนึ่ง ส่วนกองทัพบก ให้พระยานครราชสีมา คุมพลหัวเมืองตะวันออก ไปตีเมืองเสียมราฐ และฝั่งตะวันออกของทะเลสาบเขมรอีกทัพหนึ่ง

    ส่วนกองทัพหลวง ให้พระราชมนูคุมกองทัพหน้า สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จยกทัพหลวงไปตีเมืองพระตะบอง ทางด้านฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ นัดหมายให้ไปถึงเมืองละแวก อันเป็นนครหลวงของกัมพูชา พร้อมกันทุกกองทัพ ในการนี้ ให้เกณท์ผู้คนในเมืองนครนายก เมืองปราจีณบุรีอันอยู่บนเส้นทางเดินทัพไปเขมร เข้าร่วมกองทัพด้วย เมื่อไปถึงเมืองพระตะบองก็ตีเมืองได้ และจับตัวเจ้าเมือง คือพระยามโนไมตรีจิตได้ จากนั้นก็เข้าตีเมืองละแวกได้ เมื่อต้น ปีมะเมีย พ.ศ. 2137 จับนักพระสัตถาเจ้ากรุงกัมพูชาได้ แล้วให้ประหารชีวิตนักพระสัตถาเสียในพิธีปฐมกรรม แล้วกวาดต้อนครอบครัวเขมร มาเป็นเชลยเป็นอันมาก พระองค์ได้ให้พระมหามนตรีปกครองเขมรชั่วคราว แล้วให้นำราชอนุชานักพระสัตถา พระนามว่าพระเจ้าศรีสุพรรณมาธิราชมายังกรุงศรีอยุธยา ต่อมาจึงโปรด ฯ ให้กลับไปครองกรุงกัมพูชา เขมรจึงกลับเป็นเมืองขึ้นของไทยนับแต่นั้นมา


    [​IMG]


    เหตุการณ์ในตอนนี้ วัน วลิต ได้บรรยายไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพไปตีบ้านเมืองต่าง ๆ ได้เป็นอันมาก และมีชัยต่อเจ้ากรุงกัมพูชา พระองค์จับพระเจ้ากรุงกัมพูชา และพระราชโอรสธิราชทั้งหมดเป็นเชลย แต่ทรงอนุญาตให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ของเจ้ากรุงกัมพูชา อยู่ครอบครองกัมพูชาต่อไป โดยให้ถวายสัตย์ปฏิญาณว่าจะไม่คิดคดทรยศ จะเป็นข้ากรุงศรีอยุธยาสืบไป เมื่อได้จัดการกับกรุงกัมพูชาเสร็จแล้ว สมเด็จพระนเรศวรจึงยกทัพกับพระนคร และให้เอาตัวเจ้ากัมพูชา กับราชโอรสอีกสามองค์มาเป็นเชลยด้วย

    เมื่ออยู่ต่อมาได้ระยะหนึ่งไม่นาน ก็โปรดให้ส่งเจ้ากรุงกัมพูชากลับไปเสวยราชย์ ณ กรุงกัมพูชาตามเดิม โดยให้ถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ให้พระราชโอรสอยู่เป็นตัวจำนำที่กรุงศรีอยุธยา และให้กรุงกัมพูชาถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองต่อกรุงศรีอยุธยาปีละครั้ง

    เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว ได้มีพระราชดำรัสสั่งให้ตั้งหัวเมืองเหนือ ที่ได้ทิ้งให้ร้างตั้งแต่เริ่มทำสงครามกู้อิสรภาพอยู่ 8 ปีนั้น ให้กลับมีเจ้าเมืองกรมการปกครองดังแต่ก่อน ทรงตั้งให้ข้าราชการที่มีบำเหน็จความชอบ ให้ไปเป็นผู้ปกครองคือ พระยาชัยบูรณ์ (ไชยบุรี) ข้าหลวงเดิม ที่ได้ทรงใช้สอยทำศึกมาแต่แรก ให้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ ครองเมืองพิษณุโลก พระยาศรีเสาวราช ไปครองเมืองสุโขทัย พระองค์ทอง ไปครองเมืองพิชัย หลวงจ่า (แสนย์) ไปครองเมืองสรรคโลก และเข้าใจว่า ได้ส่งครอบครัวเขมรที่ได้มาคราวไปตีเขมรนั้น ไปอยู่หัวเมืองเหนือโดยมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2009
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ยินดี ยินดี หากข้อความนี้เป็นประโยชน์นะคะ

    เปิดใจนิดนึง ทางสายธาตุเข้ามากระทู้นี้คุยเพราะว่าช่วงนี้ไปทำบุญที่วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) บ่อยๆ ถ้าหากมีการพูดถึงวัดนี้ในกระทู้นี้บ้าง ท่านเจ้าของกระทู้ คุณจงรักภักดี หรือจะเป็น คุณ Fort แม้แต่คุณศรัทธา พิสุทธ์ อนุญาตให้เขียนถึงได้ไหมคะ บอกตรงๆได้ค่ะ

    ปกติทางสายธาตุไปวัดอื่นค่ะ เมื่อปลายปีที่มีปัญหาเรื่องเสื้อเหลืองเสื้อแดงทะเลาะกัน ทำให้ประเทศไทยดูแย่ๆ คนไทยไม่รักกัน ทำให้คิดถึงพระสยามเทวาธิราช คือทางสายธาตุคิดว่าจะไปฏีกาความทุกข์ในใจว่าคนไทยไม่รักกันให้พระสยามเทวาธิราชทราบ

    คราวนี้มีคนบอกว่าต้องไปวัดวรเชษฐ์ เพราะพระนเรศวรมหาราชสถิตย์ที่นี่และท่านเป็นพระสยามเทวาธิราช ตอนแรกดูรูปวัดจากอินเตอร์เนตดูน่ากลัวมาก กลัวว่าหากมาวัดแล้วอาจมีวิญญาณตามกลับบ้าน จริงๆตั้งใจจะไปวันที่ 1 มกราคม 2552 จนแล้วจนรอด พี่สะใภ้มาบอกว่าจะไปด้วย พี่เขาบอกว่าความรู้สึกมันสั่งให้ไป ยังไงก็ต้องไปไหว้พระนเรศวรกัน จึงนัดกันอีกทีแล้วไปวันที่ 11 มกราคม 2552

    มีเหมือนกันที่พูดถึงเรื่องราวของวัดนี้ในบางที่แล้วได้รับแรงต้าน ตัวเองก็ยังงงๆอยู่ แต่คิดว่าอาจจะเรื่องความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอยู่แล้วก็ได้ ตอนนี้ทางสายธาตุจึงเรียนรู้ว่า พูดถึงวัดนี้ได้ในบางที่บางกระทู้เท่านั้น ใจจริงคือได้รับความอัศจรรย์จากบทดุริยมนตราของพระอาจารย์สิงห์ทนจริงๆ ไม่มีเจตนาแฝงอื่นๆ และช่วงนี้ก็ยังเวียนไปทำบุญและปฎิบัติธรรมที่นั่นเป็นระยะๆ หากมีการพูดถึงบ้างจะได้ไหมคะ

    จึงเรียนมาเพื่อปรึกษาค่ะ

    ทางสายธาตุ
    _heart+love_
     
  7. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับ เพราะเป็นแนวทางที่ตรงกับ
    เจตนารมณ์ของกระทู้ แล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นวัดวรเชษฐวัดเดียวนะครับ วัดใดก็ได้ที่มีความเกี่ยวพันกับ
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ท่านแล้วก็สามารถนำเสนอ
    หรือเล่าสู่กันฟังได้เลยครับ
    พรุ่งนี้วันอังคารที่ 14 กรกฎำ เราจะไปที่วัดกันตอนสายๆ
    ครับไม่มีพิธีรีตรองอะไรมากครับ ไปกราบไหว้รำลึกถึง
    พระองค์ท่าน แล้วก็ไปกราบพระอาจารย์สิงห์ทน ก็เท่า
    นั้นครับ ก็มีแค่สาม-สี่ คน มี อ.ไก่ ด้วย กำลังติดต่อชวนคุณชานนคนไทย อยู่ยังไม่รู้ว่าจะว่างไปด้วยกันหรือไม่
    นัดหมายกันไว้นานแล้ว คาดว่าจะถึงวัด 9 โมง เศษๆครับ
     
  8. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488

    อนุโมทนา สาธุครับ
     
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ส่งจิตไปร่วมกราบพระอาจารย์ด้วยคนค่ะ สาธุ สาธุ
     
  10. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ขอรายงานผลครับ อ.ไก่และคณะไปถึงวัดก่อนประมาณ
    8 โมงเช้า ส่วนผมกำลังออนเดอะเวย์ ภายหลังจากโทร.
    ติดต่อกัน ทราบว่าพระอาจารย์เข้ามากทม. ก็เลยกลับมาพบกันที่จุดนัดพบ กทม. ได้คุยกันในหลายๆเรื่องหลังจาก
    ที่ไม่ได้พบกันมานาน มีเรื่องสำคัญมากอยู่เรื่องหนึ่งที่น่าจะ
    ต้องปรึกษาหารือกันหลายๆคนเพื่อความรอบคอบ เรื่องนี้
    คิดว่าเป็นเรื่องที่คุณทางสายธาตุอาจคาดเดาได้ครับ
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ต้องรอบคอบมากๆค่ะ ละเอียดอ่อนเหลือเกิน

    จึงต้องหาหลักฐาน พงศาวดาร

    วัตถุโบราณมาประกอบให้มากที่สุด

    ตอนนี้กำลังสนุกกับการตามหารายละเอียด

    วัตถุโบราณที่อยู่ทั้งอเมริกาและที่ฝรั่งเศส

    สนใจลวดลายศิลปะบนนั้น


    ----------------------------------------------------------------------------

    เมื่อสามหรือสี่เสาร์ก่อน ถูกดึงไปแบบลมเพลมพัด

    ไปคนเดียวไปถึงพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา8 โมงเช้า

    เข้าไปชมเป็นคนแรก แล้วก็ไปนั่งที่บ้านทรงไทยในพิพิธภัณฑ์

    จุดไต้ตำตอ นั่นเป็นบริเวณบ้านเดิมของท่านเจ้าพระยาโกษาปาน

    เพราะตั้งใจว่าจะหาที่ตั้งบ้านเดิมของเจ้าแม่วัดดุสิต
    (พระมารดาของท่านพระยาโกษาปาน)

    ก่อนที่ท่านจะไปตั้งตำหนักใหม่ที่ข้างวัดดุสิต นั่งอยู่เกือบสองชั่วโมงที่นั่น

    และเจ้าหน้าที่ที่ดูแลสถานที่ อยู่ๆก็เล่าให้ฟังว่าที่นี่เป็นบ้านท่านเจ้าพระยา

    โกษาปาน ถ้าท่านเจ้าหน้าที่ไม่เล่า ทางสายธาตุไม่มีทางคาดถึงเรื่องนี้ได้

    และที่นี่ก็เป็นบ้านที่ไว้รับรองทูตฝรั่งเศสในสมัยนั้นด้วย

    ภายหลังสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้างบ้านพักเพื่อรับรองทูตฝรั่งเศสโดยเฉพาะขึ้นค่ะ

    -------------------------------------------------------------------------------

    แล้วช่วงบ่ายทางสายธาตุก็ถูกดึงไปพิพิธภัณฑ์วังจันทรเกษม

    ไปเดินอยู่คนเดียวที่เป็นนักท่องเที่ยวนะคะ นอกนั้นเป็นเจ้าหน้าที่

    (เจ้าหน้าที่บอกเศรษฐกิจไม่ดี คนไม่ค่อยมาเที่ยว เหงาเลย)

    เดินชมห้องต่างๆไปอ่านเจอพระราชพิธีอาศวยุชบนบอร์ดในห้องนิทรรศการ

    จำได้ว่าเคยอ่านผ่านตาในตอนที่อ่านพงศาวดารอันเกี่ยวเนื่อง

    กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่ได้จำแม่นกว่าคนอื่นเลยค่ะ

    มีอะไรบางอย่างดลใจให้ไป เป็นอย่างนี้ ตัวเองไม่มีสัมผัสพิเศษ

    แต่จะเจออะไรต่ออะไรโดยบังเอิญแบบนี้แหละ แปลกดีนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    การเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคในแผ่นดิน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า

    [​IMG]

    มีด้วยกัน 3 ครั้งที่มีการบันทึกไว้ (หากมีมากกว่านี้จะนำกลับมาเล่าสู่กันฟังใหม่นะคะ)

    ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2133 เสด็จโดยกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคไปยังพะเนียด เพื่อการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

    ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2136 (เป็นปีที่คาดว่าจะมีกระบวนเสด็จและจะไม่เกิน พ.ศ. 2139) กล่าวว่าเสด็จพระราชดำเนินด้วยกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค เพื่อพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล อาจเป็นพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินก็ได้

    ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2137 หลังจากเสร็จศึกเขมร ทำปฐมกรรมพญาละแวกแล้ว ท่านได้ใช้กระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคอีกครั้งเพื่ออันเชิญพระพุทธรูป ก่อนไปตีเมืองเมาะตะมะ

    รายละเอียดดังนี้ค่ะ
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ในปีพ.ศ. 2133 เป็นปีแรกแห่งรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคได้ถูกบันทึกไว้ในจดหมายเหตุ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (ต้นฉบับ) หม่อมราชวงศ์ จุภวัฒย์ เกษมศรี (แปล). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา. ๒๕๑๙ หน้า ๔๒ - ๔๙


    หลังจากที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนเสด็จสวรรคตแล้ว บรรดาขุนนางกราบทูลวิงวอนให้พระนเรศทรงรับราชสมบัติเสด็จผ่านพิภพ พวกขุนนางกราบทูลถวายความเห็นว่า นอกจากจะทรงบำเพ็ญพระราชกิจไว้มากหลายแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในรัชกาลของสมเด็จพระราชบิดา และทรงดำรงตำแหน่งฝ่ายหน้าหรือพระราชโอรสลำดับต้น และเป็นองค์รัชทายาทที่ชิดราชบัลลังก์ที่สุด

    แต่พระนเรศไม่มีพระราชประสงค์จะเสวยราชสมบัติ จึงตรัสขึ้นว่าพระองค์ทรงแปดเปื้อนโลหิตมามากคงจะต้องปกครองกันอย่างเข้มงวดเด็ดขาด

    ดังนั้นจึงมีพระราชประสงค์ให้พระอนุชา ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นฝ่ายหลัง หรือราชโอรสที่จะเสวยราชในลำดับถัดไป พระอนุชาและบรรดาขุนนางทรงทราบดีว่าพระนเรศทรงทักท้วงขึ้นเพื่อลองใจพวกขุนนาง ดังนั้นถ้าใครเห็นคล้อยกับข้อทักท้วงของพระองค์ท่านอาจได้รับอันตรายขึ้นได้ ทั้งหมดจึงยืนกรานตามข้อที่กราบบังคมทูลถวายความเห็นไว้แต่เดิม

    พระนเรศทรงยกเปรียบเทียบพระเมตตาของสมเด็จพระราชบิดาที่สวรรคตไปแล้วกับทัศนะอันรุนแรงแข็งกร้าวของพระองค์ แต่ยิ่งพระองค์ทรงทักท้วงมากขึ้นเพียงใด พวกขุนนางยิ่งไม่กล้าเลือกพระอนุชาคือฝ่ายหลัง ให้ขึ้นเสวยราชสมบัติ

    ท้ายที่สุดพระนเรศจึงตรัสขึ้นว่า “ถ้าเช่นนั้นพวกเจ้าต้องการให้ข้าขึ้นเป็นกษัตริย์ของพวกเจ้าจริง ?”

    พระอนุชาและขุนนางกราบทูลขึ้นพร้อมกันว่า “ขอพระองค์จงรับเป็นพระเจ้าอยู่หัวของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด พวกข้าพระพุทธเจ้าจักขอเป็นข้าบาทแห่งพระองค์ (ตามแต่จะทรงพระกรุณาโปรด ๆ )”

    พระนเรศตรัสตอบว่า “ดังนั้น ข้าขอให้พวกเจ้าจงนบนอบเชื่อฟังข้า ปฏิบัติตามพระราชกำหนดกฎหมายบ้านเมือง รักษากฎหมายอย่าฝ่าฝืน ใครที่ล่วงละเมิดพระราชกำหนดกฎหมายแม้แต่เล็กน้อย จะถูกประหาร”

    แล้วจึงมีรับสั่งให้จัดเรือหลวงพระที่นั่งให้พร้อม และเสด็จด้วยเรือพร้อมกับขุนนางไปยังพะเนียด (สถานที่ไว้ช้างและกษัตริย์หลายพระองค์ใช้ราชาภิเศก) เพื่อสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ และถือน้ำพระพิพัฒสัจจาต่อพระองค์

    เมื่อเสด็จถึงพะเนียด ฝีพายเรือพระที่นั่งพระนเรศเข้าเทียบเรือผิด แต่ขณะนั้นพระองค์ยังมิได้ทรงลงพระอาญา ได้ทรงราชาภิเศกตามขัตติยราชประเพณี เมื่อพระชนม์ 35 พรรษา ทรงพระนามพระนเรศราชาธิราช (Prae Naerith Raetisia Thieraij)

    เมื่อเสร็จพระราชพิธีราชาภิเศกแล้ว พระองค์ตรัสให้เอาฝีพายประจำเรือพระที่นั่งอีกทั้งพวกฝีพายในเรือหลวงลำอื่นๆ (ประมาณ 1,600 คน) ไปเผาเสียทั้งเป็น ณ สถานที่เดียวกันนั้น มีพระดำรัสกับขุนนางว่าเป็นพระราชประสงค์จะให้พวกขุนนางจดจำการลงพระราชอาญานี้ไว้เป็นเยี่ยงอย่างการปกครองของพระองค์แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินกลับพระราชวัง


    พระองค์ท่านคงจะทรงมีเหตุผลที่ทำเช่นนี้แน่เพราะบ้านเมืองยังอยู่ในช่วงสงคราม พระองค์ต้องนำไพร่ฟ้าทั้งมวล พระทัยท่านจึงทรงเด็ดเดี่ยว ดุดัน

    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

    ทางสายธาตุ




     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลโดยกระบวนเรือพยุหยาตรา

    ในปีพ.ศ. 2136 (มิได้ระบุไว้ชัดเจนแต่จะต้องก่อนหรือไม่เกินปี พ.ศ. 2139 เพราะว่าบาทหลวงสเปน ผู้บันทึกนี้เดินทางเข้ามาในระหว่างปี 2125-2139) และบาทหลวงคนเดียวกันนี้ได้บันทึกเรื่องราวที่ราชทูตเขมรเข้ามาถวายเครื่องราชบรรณาการในปี 2139 ซึ่งหลังจากเขมรเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2137 และบาทหลวงเสปนได้บันทึกพระบุคคลิกของพระมหากษัตริย์ผู้เสด็จในกระบวนเรือนี้ไว้ดังนี้

    “พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นพระมหากษัตราธิราชเจ้าผู้ทรงพระมหาการุณยภาพ ทรงเป็นที่หวาดหวั่นครั่นคร้ามมาก แต่ก็ทรงเป็นพระปิยราชด้วยในเวลาเดียวกัน”

    ในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ ทรงเสด็จพร้อมด้วยพระอัครมเหสี และพระราชโอรสผู้ทรงพระเยาว์ คาดว่าพระราชพิธีนี้จะเป็นพระราชพิธีต่อเนื่อง หลังจากเสด็จร่วมในพระราชพิธีอาศวยุชแล้ว คงจะทรงมีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลซึ่งอาจจะเป็นพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

    History of the Philippines and Other Kingdom เป็นจดหมายเหตุสเปนที่บาทหลวงมาร์เซโล เด ริบาเดเนอิรา (Marcelo de Ribadeneira, O.F.M.) เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าของบาทหลวงนิกายฟรานซิสกัน ที่เคยพำนักอยู่ในพระนครศรีอยุทธยาระยะหนึ่ง ซึ่งพรรณนาถึงกรุงพระนครศรีอยุทธยาในห้วง พ.ศ. ๒๑๒๕ ปลายรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๑๒ – ๓๓) และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๓๙ ในต้นรัชสมัยสมเด็จพระนเรศ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๔๘)

    “...ครั้งหนึ่งบาทหลวงนิกายฟรานซิสกันได้เห็นพระเจ้าแผ่นดินประทับในเรือพระที่นั่งที่ตกแต่งประดับประดาแล้วล้วนไปด้วยพระปฎิมากร เพื่อจะเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระอารามแห่งหนึ่ง มีเรือสี่ลำแล่นล่วงหน้าไปก่อนเรือพระที่นั่ง เพื่อเป็นการค้ำประกันความปลอดภัยของพระเจ้าแผ่นดิน เรือเหล่านี้บรรทุกผู้คนเป่าแตรเงินเล็ก ๆ เพื่อป่าวประกาศการเสด็จพระราชดำเนินถึง บรรดาเรือล้วนมีรูปทรงวิจิตรพิสดารและแกะสลักอย่างน่าพิศวงด้วยรูปปฏิมาประดับประดาอย่างหรูหรา ก่อเกิดความรู้สึกประทับใจถึงโขลงช้างที่ลอยเหนือน่านน้ำ ด้วยเรือเหล่านี้ลอยเลื่อนไปเบื้องหน้าและท้ายเรือโลดทะยาน"

    “เรือสี่ลำเหล่านี้หยุดที่พระอารามแห่งหนึ่งบนชายฝั่ง เพราะพวกเขาคาดหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเจริญพระพุทธมนต์และทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตามติดมาอย่างใกล้ชิดเรือสี่ลำนั้นเป็นเรืออื่น ๆ อีกหลายลำที่ใหญ่กว่านั้น แต่ละลำบรรทุกผู้คนมากมายที่แต่งกายด้วยเครื่องแบบประเภทต่าง ๆ เรือแต่ละลำมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แห่งราชสำนัก ๑ คน

    แล้วจากนั้นเป็นพระราชกุมารพระองค์เยาว์ที่สุดในพระเจ้าแผ่นดินที่เสด็จปรากฎพระองค์ในเรือพระที่นั่งที่ตกแต่งอย่างหรูหรามาก

    ตามติดมาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีและสาวสรรกำนัลใน สมเด็จพระอัครมเหสีประทับแต่เพียงลำพังพระองค์ และบรรดานางกำนัลนั่งในเรือลำอื่นที่ตกแต่งอย่างน่าอัศจรรย์ และกั้นด้วยม่านอย่างรอบคอบจนเป็นไปได้ที่จะสามารถมองผ่านม่านจากภายในออกมาสู่โลกภายนอกได้ โดยที่คนภายนอกไม่เห็นคนภายใน"

    “สุดท้ายที่มาถึงในกระบวนพยุหยาตราโดยชลมารคคือ องค์พระมหากษัตริย์ ประทับในเรือพระที่นั่งขนาดกว้างใหญ่ที่ดูแต่ไกลเหมือนนกกระยางตัวมหึมาที่แผ่ปีกอันกว้างใหญ่ออกมา เป็นเรือพระที่นั่งปิดทองทั้งองค์และโดยที่ฝีพายมีเป็นจำนวนมาก อิริยาบถในการพายของพวกเขาจึงดูเหมือนนกตัวใหญ่เหินลมเหนือท้ายเรือพระที่นั่ง พระเจ้าแผ่นดินประทับเหนือพระราชบัลลังก์เคียงข้างพระองค์เป็นสาวน้อยผู้เลอโฉมข้างละ ๒ คน คอยถวายอยู่งานโบกพัด เพื่อให้พระองค์ทรงสดชื่นจากความร้อนระอุของดวงอาทิตย์ ทันทีเรือพระที่นั่งหยุดลง ฝูงชนก็ผลักดันกันไปข้างหนึ่งและหมอบราบลงและยกมือขึ้นประนมในลักษณาการศิโรราบจนกระทั่งพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินผ่านไป แล้วเรือพระที่นั่งของพระราชกุมารผู้ทรงพระเยาว์ก็ติดตามมาพรั่งพร้อมด้วยเหล่าขุนนางชั้นสูง"

    "เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินถึงพระอาราม พระองค์ได้รีบเสด็จไปถวายเครื่องราชสักการะแต่พระปฎิมากรทั้งหลาย และหลังจากนั้นพระองค์ได้เสด็จลงสรงสนานกลางสระน้ำใสในปริมณฑลของพระอารามบรรดาเจ้าพนักงานภูษามาลาและชาวที่ได้อัญเชิญน้ำสรงปริมาณหนึ่งไว้เพื่อสักการบูชา และพวกเขาได้อยู่งานถวายพระมูรธาภิเษก จนกระทั่งพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่พระราชวัง”

    พระราชกุมารผู้ทรงพระเยาว์คงจะยังไม่เข้าพิธีโสกันต์เป็นแน่ จึงเรียกว่าทรงพระเยาว์ แต่สามารถประทับเพียงลำพังพระองค์ได้แล้ว น่าจะทรงเจริญวัยพอที่จะประทับโดยไม่ต้องอยู่กับพระราชบิดาหรือพระราชมารดา พระราชกุมารนี้ คิดว่าพระองค์นี้จะเจริญมากกว่า 5 พรรษา แต่ไม่น่าจะเกิน 12 พรรษา (น่าจะประสูติในราวๆ ช่วงปี พ.ศ. 2124 ถึงปี พ.ศ. 2131) ซึ่งช่วงปีที่พระราชกุมารองค์น้อยประสูตินี้ เป็นปีที่พระราชบิดาของพระองค์คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าฝ่ายหน้า หรือองค์พระยุพราช ครองเมืองพิษณุโลกอยู่นั่นเอง

    เพิ่มเติม

    คำให้การขุนหลวงหาวัด (พระราชพงศาวดารแปลจากภาษารามัญ) ความจริงเป็นเอกสารฉบับเดียวกับคำให้การชาวกรุงเก่า (พงศาวดารไทยตามฉบับพม่า) ตามต้นฉบับในหอเมืองร่างกุ้งของพม่า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า หลังจากกองทัพพม่าตีพระนครศรีอยุทธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าได้จดคำให้การของเชลยศึกที่เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยศรีอยุทธยา โดยอาศัยล่ามมอญที่รู้ภาษาไทยจดคำให้การเป็นภาษามอญ แล้วค่อยแปลเป็นภาษาพม่าในภายหลังซึ่งปัจจุบันได้ข้อยุติแล้วว่า คำให้การชาวกรุงเก่าเป็นเอกสารฉบับเดียวกับโยธยา ยาสะเวง (พงศาวดารอยุทธยา)ของพม่า ได้เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชพระราชบิดาใน จ.ศ. ๙๕๒ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๒๑๓๓) ความว่า

    “ส่วนพระนเรศวรนั้น ก็เข้าไปกรุงศรีอยุทธยา ก็เสด็จเข้าสู่พระราชฐาน อันอัครมหาเสนาบดีและมหาปุโรหิตทั้งปวง จึงทำการปราบดาภิเษกแล้วเชื้อเชิญขึ้นให้เสวยราชสมบัติ จึงถวายอาณาจักรเวนพิภพแล้วจึงถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ และเครื่องมหาพิไชยสงครามทั้ง ๕ ทั้งเครื่องราชูปโภคทั้งปวงอันครบครัน แล้วจึงถวายพระนามใส่ในพระสุพรรณบัฏสมญาแล้วฝ่ายในกรมจึงถวายพระมเหสีพระนามชื่อพระมณีรัตนา แล้วถวายพระสนมกำนัลทั้งสิ้น แล้วครอบครองราชย์สมบัติเมื่อจุลศักราช ๙๕๒ ปีขาลโทศก อันพระเอกาทศรถนั้นก็เปนที่มหาอุปราช”


    พระมณีรัตนา นามแห่งองค์อัครมเหสีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงน่าจะคงทรงเคยดำรงตำแหน่งพระวรชายา หรือพระอัครชายาแห่งองค์นเรศวรครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราชแห่งกรุงศรีอยุธยา และพระนางเจ้าองค์เดียวกันนี้ทรงให้ประสูติกาลพระราชโอรสอย่างน้อยหนึ่งพระองค์ โดยพระโอรสองค์นี้น่าจะมีพระประสูติในระหว่างพุทธศักราช 2124-2131

    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

    ทางสายธาตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ เป็นเรือทรงพระพุทธรูปปฎิมากร "พระพิชัย"

    ในปี พ.ศ. 2137 หลังจากเสร็จศึกละแวก(เขมร)ซึ่งศึกเขมรเป็นศึกที่ 11 ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปตีหัวเมืองมอญ อันเป็นศึกครั้งที่ 12 ไทยได้หัวเมืองมอญ ในการศึกครั้งนั้นได้ใช้กระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคเพื่ออันเชิญพระพุทธปฎิมากรมาในกระบวนเรือนี้ด้วย

    ในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามพงศาวดารได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรเมื่อคราวเสด็จไปตีเมืองเมาะตะมะ เสด็จพระราชดำเนินจากกรุงศรีอยุธยาโดยชลมารค พอได้เวลาฤกษ์ พระโหราราชครูอธิบดีศรีทิชาจารย์ ก็ลั่นกลองฆ้องชัยให้พายเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ อันเป็นเรือทรงพระพุทธปฏิมากรทองนพคุณ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุถวายพระนามสมญา “พระพิชัย” นำกระบวนออกไปก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล

    พวกมอญไม่ชอบพม่า คิดหาโอกาสที่จะพ้นอำนาจพม่าอยู่เสมอ เมื่อยังอยู่ในอำนาจพม่า ก็ต้องยอมให้พม่า ใช้มารบพุ่งกับไทย ได้รับความยากลำบากมากเข้า ก็พยายามดิ้นรนให้พ้นจากอำนาจพม่ายิ่งขึ้น ครั้นเห็นกองทัพพระเจ้าหงสาวดี ทำสงครามแพ้ไทยติดต่อกันหลายครั้ง ครั้งล่าสุด ไทยก็ได้ยกกองทัพไปตีเมืองทวายและเมืองตะนาวศรีได้ จึงพากันกระด้างกระเดื่องต่อพม่า พระเจ้าหงสาวดีทรงขัดเคืองว่ามอญจะก่อการกบฏ จึงให้ยกกองทัพจากเมืองหงสาวดีมาปราบปราม

    พวกมอญหนีกองทัพพม่าไปอยู่เมืองยะไข่บ้าง เชียงใหม่บ้าง แต่โดยมากเข้ามาอยู่กับสมเด็จพระนเรศวรที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมา พระเจ้าหงสาวดีทรงตั้งขุนนางผู้ใหญ่ชื่อพระยาลาว มาเป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะ ตำแหน่งเทศาภิบาลมณฑลหัวเมืองมอญฝ่ายใต้ ครั้งนั้น มีผู้กล่าวหาว่าพระยาโรเจ้าเมืองเมาะลำเลิง (เมืองมรแมน) มาเข้ากับไทย พระยาลาวจะเอาตัวพระยาเมาะลำเลิงไปชำระโทษ แต่พระยาเมาะลำเลิงรู้ตัวก่อน จึงรวบรวมกำลังตั้งแข็งเมือง แล้วส่งทูตเข้ามาขอสวามิภักดิ์กับกรุงศรีอยุธยา และขอให้ทางไทยยกกองทัพออกไปช่วย สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้พระยาศรีไศล คุมกองพลมีกำลังพล 3,000 ยกไปช่วยเมืองเมาะลำเลิง พอกองทัพไทยยกไปถึง พวกมอญตามหัวเมืองก็พากันมาเข้ากับไทยเป็นอันมาก จนพม่าที่รักษาเมืองเมาะตะมะต้องทิ้งเมืองหนีไป พระเจ้าหงสาวดีจึงให้พระเจ้าตองอูยกทับมาปราบปราม กองทัพไทยกับมอญช่วยกันรบพุ่ง ตีกองทัพพระเจ้าตองอูแตกพ่ายไป กองทัพไทยมอญไล่ติตตามไปจนถึงเมืองสะโตง แต่กำลังไม่พอที่จะรุกไล่ต่อไป จึงต้องยกกำลังกลับมาเมืองเมาะตะมะ

    ผลจากการรบครั้งนี้ ทำให้หัวเมืองมอญฝ่ายใต้ ตั้งแต่เมืองเมาะตะมะ ตลอดมาจนต่อกับแดนไทย ได้มาเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด


     
  16. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ขออนุโมทนากับคุณทางสายธาตุ ครับ พอดีได้จังหวะที่
    หยิบยกเรื่องการเผาฝีพายจำนวนประมาณ 1,600 คน
    เป็นเรื่องที่ติดค้างอยู่ในใจมานานแล้วครับ ความเด็ดขาดเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในยามที่บ้านเมืองระส่ำ
    ระสายอย่างนั้น ขวัญกำลังใจของทหารและไพร่ฟ้าประชาชนตกต่ำ หากผู้นำของชาติไม่ใช้ความเข้มแข็งเด็ด
    ขาดแล้วก็ยากที่จะนำพาชาติไปตลอดรอดฝั่ง ก็จำเป็นจะต้องมีการเชือดไก่ให้ลิงดูกันบ้าง แต่ถ้าเรามาย้อนพิจารณาในข้อเท็จจริงกัน คนจำนวนประมาณ 1,600
    คน ต้องถือว่าเป็นจำนวนไม่น้อย ตัวเลขนี้มีความเป็นไปได้
    มากน้อยแค่ไหน ใช้หลักฐานใดเป็นหลักในการนับคำนวณ
    และได้มาซึ่งตัวเลขนี้ เป็นไปได้ไหมครับที่ฝรั่งอาจได้มาจากคำเล่าลือกันต่อๆมา อาจจะมีการเผาเกิดขึ้นจริงต่อ
    ผู้ถูกลงโทษจำนวนหนึ่ง อาจจะเป็นเฉพาะหนึ่งลำแรกที่นำ
    ร่องผิด ถ้าเป็นเช่นนี้อย่างเก่งก็ไม่เกิน 100 คน ถ้าเป็น
    การเผาลงโทษคน 1,600 คน จริงต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่
    ทีเดียว ไหนจะเรื่องสถานที่ที่จะใช้เผา ไหนจะเชื้อเพลิงที่
    จะใช้ซึ่งในสมัยนั้นก็คงจะใช้ฟืน คงจะต้องใช้ฟืนจำนวนมาก
    มหาศาล อาจจะต้องขุดหลุมใหญ่เพื่อไล่คนจำนวนนี้ลงไป
    อยู่ในหลุมแล้วจุดไฟคลอก หรืออาจกวาดต้อนคนจำนวนนี้เข้าไปในป่าแล้วเผาป่าเพื่อให้ไฟคลอกตาย นึกภาพไม่ออกจริงๆครับ ผมมิได้ต้องการจะแก้ต่าง เพียงแต่อยากจะขอให้พิจารณากันด้วยเหตุผล เท่านั้นครับ ขอบคุณที่กรุณา
    ให้โอกาสแสดงความคิดเห็นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2009
  17. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    ได้อ่านแล้วก็คิดตามเหตุผลของพี่จงรักภัักดีแล้ว ฟอร์ทก็
    ชักจะเห็นด้วยนะครับ การจะเผาคนตั้ง 1,600 คนไม่ใช่
    เรื่องเล็กเลยนะครับ ต้องใช้พื้นที่อย่างน้อยก็ขนาดสนามศุภฯทีเดียว ฝรั่งน่าจะยกเมฆนะครับ พวกนี้ชอบมองว่า
    คนตะวันออกเป็นพวกอันศิวิไลซ์อยู่แล้ว พอมีข่าวเล่าลือ
    ก็จับมาเขียนต่อเติมใส่ไข่ให้เลย
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เห็นด้วยค่ะว่าถ้ามีการเผาคนจริงๆ น่าจะเผาแค่เรือลำเดียวที่ผิดมากกว่า

    คิดว่าการระบุเรื่องจำนวนอาจมีความคลาดเคลื่อน ฝรั่งอาจเขียนให้ภาพลักษณ์ของสยามดูป่าเถื่อน

    เวลาเขาเอาเรื่องมาท่องเมืองสยามสมัยนั้น ทำภาพให้เหมือนมาท่องเมืองมนุษย์กินคนแบบนั้นเลย

    เวลาพูดคุยกันในหมู่เขา คงจะออกรสมากเพราะใส่ไข่ ใส่สีเยอะอยู่เหมือนกัน

    จำตอนที่เสียกรุงครั้งที่หนึ่งแล้วบอกว่า

    จึงกวาดต้อนชาวเมืองไปเป็นเชลยจำนวนมากเหลือไว้เพียง ๑๐๐๐ คน

    เหลือคนไว้ในกรุงศรีอยุธยาเพียง 1,000 เดียว คงน้อยเกินไป เกาะเมืองทั้งเกาะอยู่กันแค่ 1,000 คนน้อยเกินไป

    ถ้าแค่ 1000 คน โจรคงรุกเข้ามาปล้นเมืองปล้นวังไปแล้ว คิดว่าคงเหลือไว้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน

    ในทางตรงกันข้าม เผาฝีพายเรือพระที่นั่ง 1,600 นาย ซึ่งเรียกว่าเกือบหมดทั้งกองเรือ ซึ่งน่าจะเกินจริงไป

    ถ้าสัก 100 คนเฉพาะที่เป็นฝีพายของเรือพระที่นั่งก็พอจะเชื่อบ้าง และเรือในกระบวนเสด็จมิได้จอดเทียบท่าทุกลำ

    ลำที่ต้องจอดเทียบท่า จะมีเพียงลำที่พระมหากษัตริย์ ลำของพระบรมวงศานุวงศ์ ลำที่อัญเชิญพระพุทธรูปหรือลำที่อัญเชิญผ้าพระกฐิน เท่านั้นที่ต้องเทียบเรือ

    เรืออื่นในขบวนตามเสด็จก็น่าจะมิได้ทำผิดอะไร ดังนั้นถ้าฝีพายจะเทียบเรือผิดน่าจะเป็นฝีพายของลำที่ทรงประทับเท่านั้น

    ดังนั้นเห็นด้วยกับคุณจงรักภักดีและคุณ Fort ค่ะ (rose)
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อย่างที่เรียนให้ทราบ ทางสายธาตุนั้นไม่มีสัมผัสพิเศษ ดังนั้นสิ่งที่กลัวที่สุดคือการไปลบหลู่เบื้องสูงโดยไม่รู้ตัว

    หมายถึงองค์เทพทั้งหลายท่านมีบารมีสูง การเขียนอะไรออกมาจึงพยายามอย่างมาก

    ที่จะต้องมีปรากฏหลักฐานอยู่ และพยายามเขียนเพื่อเคารพเทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์

    ผู้มีพระกรุณาธิคุณต่อบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าได้ถวายพระเกียรติพระองค์ท่านได้ดีพอแล้วหรือยัง

    หากเพื่อนๆในกระทู้มีความรู้สึกว่า การเขียนใดของทางสายธาตุมิสมควร โปรดเตือนด้วยนะคะ

    ด้วยใจจงรักภักดีต่อทุกๆพระองค์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน หากมีการเขียนใดเกินเลยมิสมควร

    ท่านผู้อ่านโปรดเตือนด้วยนะคะ ;aa35
     
  20. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    คุณทางสายธาตุกำลังพาทัวร์วัดในอีกมิติหนึ่ง ได้ทั้งความรู้
    และบุญกุศล โมทนา สาธุครับ เชื่อว่าอีกหลายๆคนยังไม่
    เคยไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...