“อย่า”พิสูจน์ศาสนศาสตร์บนเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 15 กันยายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    อย่าพิสูจน์ศาสนศาสตร์บนเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

    [​IMG]




    ชื่อของบทความของวันนี้ ที่ประหนึ่งตั้งเป็นข้อห้ามอันเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนั้น มีอยู่สองประเด็นที่อาจจำเป็นต้องอธิบาย ประเด็นแรก

    คำว่าศาสนาศาสตร์นั้นผู้เขียนหมายถึงองค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่มาของศาสนา ความจริงที่ศาสดาผู้ประกาศศาสนาได้พบเป็นประสบการณ์จากภายใน ที่ก็คือญาณทัศน์ หรือความรู้เร้นลับ (mysticism) ที่ได้จากฌานหรือจากสมาธิ ประสบการณ์ ตรงและส่วนตัว - ที่โดยหลักการ - ชี้บ่งสัทธรรมความจริงแท้ที่อยู่เบื้องหลังศาสนาทุกๆ ศาสนา รวมทั้งอยู่ข้างหลังลัทธิความเชื่อทุกๆ วัฒนธรรมความเชื่อ เพียงแต่จะแปลกต่างกันบ้างในความลึกซึ้งและในรายละเอียด ส่วนประเด็นหลัง คำว่าเหตุผลและวิทยาศาสตร์จะหมายถึงเหตุผลรวมทั้งตรรกะที่มนุษย์เรา "สร้างขึ้นมา" บนความจริงที่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสภายนอกทั้งห้า ตรรกะและเหตุผลที่เป็นองค์ประกอบ หรือเป็นหลักเกณฑ์ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าด้วยองค์ความรู้ทางกายภาพ (empirical or physical science) ที่ให้ "วิชา" ทั้งหลายทั้งปวงแก่เรา

    ทั้งนี้ก็เพราะว่า - ในความเห็นของผู้เขียน - องค์ความรู้และเส้นทางที่ได้มาของทั้งสองศาสตร์ สำหรับคนทั่วไป - เราท่าน - ที่ไม่ใช่อัจฉริยะหรืออรหันต์ คงจะนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ จริงๆ แล้วก็เหมือนกับที่หมอประเวศ วะสี ปรารภกับผู้เขียนว่า "เมื่อไรหนอที่เราจะเลิกคิดเปรียบเทียบระหว่างองค์ความรู้ทั้งสองนี่กันเสียที" คำปรารภที่ผู้เขียนเห็นด้วยหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม ดังที่ผู้เขียนเองก็เคยพูดเช่นนั้นเมื่อผู้เขียนได้ไปอภิปรายให้พระสงฆ์ที่เป็นนักศึกษาพุทธศาสตร์ที่ทำปริญญาโทของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยฟัง เมื่อร่วม 5 ปีก่อน โดยอภิปรายร่วมกับพระเทพดิลกและกับอดีตพระสุชีโวภิกขุ หรืออาจารย์สุชีพ บุญญานุภาพ ที่ล่วงลับไปแล้ว นั้นคือผู้เขียนสรุปเป็นความเข้าใจ - อย่างแจ่มแจ้งสำหรับผู้เขียนเองโดยไม่สงวนสิทธิ์หากใครจะร่วมความเข้าใจด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรต่อการทำธรรมะให้เป็นทยาศาสตร์ของผู้เขียน - เพียงแต่ธรรมะที่ผู้เขียนสนใจที่จะรู้อย่างยิ่งนั้น จะต้องมีลักษณะสามประการดังนี้คือ หนึ่ง เป็นความรู้ที่ได้มาจากเส้นทางภายใน เช่น จากฌานหรือสมาธิ หรือเป็นความรู้เร้นลับที่มีมาเอง (intuition or insight)

    ที่ผู้เขียนคิดและเชื่อว่าเป็นความจริงแท้ สอง ธรรมะนั้นไม่จำเป็นต้องมาจากศาสนาที่อุบัติขึ้นทาทางตะวันออก หรือเป็นพุทธศาสนธรรม แต่มาจากคำสอนหรือเป็นธรรมะของศาสนาใดก็ได้ หรือเป็นความรู้ของศาสดาใดก็ได้ หรือแม้แต่จะเป็นวัฒนธรรมความเชื่อของลัทธิไหนก็ได้ และสาม ธรรมะหรือความรู้เร้นลับนั้นๆ ต้องไม่มีทั้งตรรกะและเหตุผลทางโลกกายภาพหรือถูกสร้างขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมชาติโดยมนุษย์บนการรับรู้ของประสาทสัมผัสภายนอกทั้งห้า - หู ตา จมูก ลิ้น และกายสัมผัส - และที่สำคัญอย่างยิ่ง คำว่าวิทยาศาสตร์นั้น จะต้องไม่ใช่วิทยาศาสตร์กายภาพ หากแต่เป็นวิทยาศาสตร์ "แห่งยุคใหม่" ที่ละเอียดอย่างยิ่ง ชนิดที่วัดหรือชั่งหรือตวงหาปริมาตรไม่ได้ ทั้งยังอยู่เหนือที่ว่างและเวลา (space-time) อันเป็นรูปแบบของฟิสิกส์กายภาพหรือฟิสิกส์คลาสสิก รับรู้ได้ก็แต่เพียงด้วยการสังเกตส่วนขยาย (attribute) หรือจากพลังงานแวดล้อมที่เปลี่ยนไป (เช่น สะท้อน (resonate) หรือสั่นไหว (vibrate-fluctuate) หรือหมุน (spinning) หรือมุด (tunneling) ฯลฯ)

    จึงอาจเห็นได้ว่า ธรรมะ กับวิทยาศาสตร์ที่ผู้เขียนกำหนดเอาไว้นั้น เป็นเรื่องคนละเรื่องกับการนำเอาคำสองคำ ธรรมะกับวิทยาศาสตร์มาสมาสง่ายๆ หรือเฉยๆ แม้ว่าจะตีความโดยอาศัยปรัชญาหรือจิตวิทยา แต่ก็เป็นเพียงปรัชญาระดับประถม การเรียนรู้เพื่ออยู่ "รอด" ดังที่ผู้เขียนอธิบายมาตลอด แต่ผู้เขียนลงไปละเอียดกว่านั้นยิ่งนัก นั่นคือ "ธรรมวิทยาศาสตร์" ที่เป็นหัวข้อของการบรรยายที่ผู้เขียนถวายให้พระธรรมทูตของทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์มาเป็นเวลายาวนาน และนั่นเป็นประเด็นที่คนทั่วไปที่ไม่ใช่พระสงฆ์ไม่รู้ ที่เราต้องมาทำความเข้าใจกัน

    อีกประการหนึ่ง ผู้เขียนเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และ/หรือเป็นกรรมการตรวจ และ/หรือสอบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ หลายครั้ง ในจำนวนนี้มีอยู่สามรายที่หัวข้อของวิทยานิพนธ์เป็นเรื่องของการเปรียบเทียบหลักศาสนศาสตร์กับทฤษฎีหนึ่งใดทางวิทยาศาสตร์กายภาพเก่า ที่คงเป็นเจตนาดีของผู้วิจัย (ที่คิดว่าวิทยาศาสตร์กับความจริงเป็นเรื่องเดียวกัน) นักวิจัยที่ต้องการเห็นความเป็นวิทยาศาสตร์ของศาสนศาสตร์ โดยคิดว่าการทำเช่นนั้น จะเป็นการช่วยให้เครดิตหรือให้ความเป็น "วิชาการ" แก่ศาสนามากขึ้น - ที่ไม่จำเป็นเลย - นั่นคือเจตนาดีหรือความรู้สึกที่ทำให้ผู้ที่ต้องทำให้ที่อยู่ตรงกลางต้องรู้สึกอึดอัดใจ และนั่นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เราต้องเอามันมาทำให้มันกระจ่างใส บทความนี้เป็นการสะท้อนความรู้สึกและความเห็นของผู้เขียนในเรื่องนี้
    ยกตัวอย่างธรรมะสองเรื่องที่ผู้เขียนตอบคำถามพระคุณเจ้าที่ถามหรือให้ความเห็นหลังจากที่ผู้เขียนได้นำธรรมะสองข้อนั้นมาเปรียบเทียบแล้วเปรียบเทียบอีกกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใหม่โดยรอบ

    ข้อมูลที่ผู้เขียนได้มาจากหนังสือนับร้อยๆ เล่ม ที่นักวิทยาศาสตร์ระดับนำของโลก หลายคนได้รางวัลโนเบลหรือรางวัลอื่นๆ - ต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ให้คำตอบหรือให้ความเห็นที่สอดคล้องต้องกันหรือเหมือนๆ กัน - สองเรื่องสองประเด็นที่จะยกเป็นตัวอย่างนี้ก็คือ หนึ่ง เรื่องของปฏิจจสมุปบาท กับสอง เรื่องของแสง - ในความหมายของรูปาหรืออรูปา - ในด้านของศาสนศาสตร์ และในด้านของวิทยาศาสตร์ใหม่ โดยเฉพาะแควนตัมเมคานิกส์ที่ต่อยอดโดยปรัชญาหรือเมตาฟิสิกส์ - ที่นักฟิสิกส์ยุคใหม่ไม่ว่าใครหรือจากที่ไหนๆ - ต่างก็ให้ความคิดความเชื่อ (ปรัชญา) ไปในทางเดียวกัน

    พุทธศาสนานั้นจะเน้นธรรมชาติเสมอ ธรรมะที่อธิบายความหมายแห่งชีวิตก็คือธรรมชาติทั้งระดับหยาบละเอียดและละเอียดอย่างยิ่ง ทั้งสามต่างถูกกำหนดและควบคุมด้วยกฎธรรมชาติหรือปฏิจจสมุปบาท (การอาศัยพึ่งพากันบวกกับความพร้อมบวกกับการโผล่ปรากฏ) ที่เป็นไปของมันเองทั้งนั้น แท้ที่จริงแล้วหลักการแห่งการโผล่ปรากฏ (emergent) การเจริญเติบโต (growth) การสืบเนื่อง (continuum) และเสื่อมสลายมีมานานแล้วตั้งแต่ก่อนมีลัทธิพระเวทย์ แต่หลักการสำคัญของการเกิดหรือการโผล่ปรากฏขององค์กรธรรมชาติ (สำหรับโลกแห่งกามโลกีย์คือชีวิต) ด้วยการอาศัยพึ่งพากันแบบถึงพร้อม หรือปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นพระองค์เองที่ทรงค้นพบ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้กฎธรรมชาติกฎนี้ยากที่จะเข้าใจก็คือ "มันเป็นไปของมันเอง" โดยไม่ต้องมีเหตุที่ก่อผลมาเกี่ยวด้วยเลย เพราะเรื่องของเหตุผลเป็นเรื่องที่มนุษย์คิดสร้างขึ้นมา เหตุผลเป็นกฎของมนุษย์มีขึ้นมาหลังจากโลกมีมนุษย์ขึ้นมาแล้ว มนุษย์หรือชีวิตที่มีขึ้นมาหลังการเกิดขึ้นมาของโลกและสรรพสิ่งที่เป็นวัตถุธาตุนานยิ่งนัก ปัจจยตาจึงไม่เกี่ยวกับ "สาเหตุ" (causality ของอริสโตเติลที่มีแค่เดินไปข้างบนหรือเดินไปข้างหน้าตามลูกศรแห่งเวลาที่ไม่มีจริง) เท่าๆ กับที่มีปัจจยการไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องของเหตุผลเลย นั่นเป็นสิ่งที่ผู้เขียนเข้าใจ ที่ไปตรงกับความจริงทางแควนตัมข้อที่ 5 (Quantum Reality # 5 : The world obeys a non-human kind of reasoning- logic is worng ; Nick Herdert : Quantum Reality, 1985)

    นั่นตรงกับนิยามของปฏิจจสมุปบาทของนักคิดอัจฉริยะหลายๆ ท่าน เช่นพุทธทาสภิกขุที่เน้นการพึ่งพาอาศัยกัน "หลายๆ ชั้น" ไร้ที่ว่างและเวลา กระทั่งข้ามภพข้ามชาติ ที่แม้ว่าท่านพุทธทาสจะเน้นเฉพาะเรื่องทุกข์กับการดับทุกข์เป็นสำคัญ แต่ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปของมันเอง ซึ่งเห็นได้ว่าท่านไม่พูดถึงคำว่าเหตุผลหรือตรรกะสักคำ หรือเจ้าคุณพรหมคุณาภรณ์ (มหาประยุทธ์) ที่เน้นคำว่าปัจจัยให้พ้นไปจากเหตุที่ก่อผล นั่นคือปัจจัยที่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการอาศัยสิ่งนี้ (conditioning จึงไม่ใช่ causality) นอกจากนั้น ท่านยังเน้นความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องหรือ "กระแส" (เรื่องของความสัมพันธ์กันนั้น อย่าได้เอาไปปนกับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ ที่นักคิดทางเถรวาทหลายคนเข้าใจว่าหลักปฏิจจสมุปบาทมีความสอดคล้องหรือเทียบไดักับทฤษฎีที่ว่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้ว ปฏิจจสมุปบาททั้งลึกซึ้งกว่าและละเอียดกว่ามากนัก ทั้งยังสามารถนำมาอธิบายธรรมชาติทั้งสามระดับได้เป็นอย่างดี

    บางทีปฏิจจสมุปบาทด้วยคำแปล (พึ่งพาอาศัยกันบวกกับพร้อมๆ กันบวกการโผล่ปรากฏ) อาจสอดคล้อง หรือเข้าไปใกล้ๆ อย่างพอจะนำมาเปรียบได้กับกฎธรรมชาติของการจัดองค์กรตัวเองทางวิทยาศาสตร์ใหม่ (self-organizing system ; of non-linear complexity) ที่มีทฤษฎีไร้ระเบียบ (chaos theory) เป็นเครื่องมือ แต่ในรายละเอียดทฤษฎีไร้ระเบียบที่ว่าย่อมจะต้องอาศัยกฎและทฤษฎีอื่นๆ เช่น ทฤษฎีทางแควนตัมต่างๆ (e. g. Niels Bohr's Complimentarity Principle) หรือกฎสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ และอาศัยกฎแห่งแรงโน้มถ่วงและกฎอื่นๆ รวมทั้งการรวมเข้าด้วยกันของทฤษฎีเหล่านั้น เช่น แควนตัมสัมพัทธภาพ (quantum relatavistic) และทฤษฎีห่วงโซ่แรงโน้มถ่วง (loop gravitation)

    และอื่นๆ อย่างไรก็ตาม หลักการจัดองค์กรตัวเองที่แม้ว่าจะดำเนินไปของมันเอง กระนั้นมันก็ยังแตกต่างไปจากกระบวนการทั้งสามระดับของธรรมชาติหยาบ ละเอียด และละเอียดอย่างยิ่ง (Ricard, M. and Tuan, T.X. : Quantum and Lotus, 2000) ดังคำว่า "กระแส" ที่ท่านมหาประยุทธ์กล่าวถึง ที่ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นสนามจิตที่ร้อยรวงอาณาจักรธรรมชาติไว้ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน (the great holarchy of being of Ken Wilber)
    อีกประเด็นหนึ่งที่อาจทำให้พระคุณเจ้าพระธรรมทูตกับผู้เขียนเห็นแตกต่างกันคือ เรื่องของแสง

    - ที่ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นได้ทั้งรูปและอรูป แต่พระสงฆ์โดยทั่วไปมักจะคุ้นเคยกับแสงที่เป็นรูปเพียงประการเดียว แสงแดด แสงไฟ แสงสีขาวที่เรารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสภายนอก ในขณะที่แสงแห่งอรูปนั้นแม้ในเถรวาทพุทธศาสนาก็มีกล่าวไว้ เช่น ที่อธิบายไว้ถึงมิติที่สว่างในตัวเอง "...ไม่ใช่ว่าจะเป็นแสงจากดาว ไม่ใช่ว่าเป็นแสงแห่งดวงอาทิตย์ และไม่ใช่ความสว่างที่เกิดจากดวงจันทร์ แต่ที่นั่น...ไม่มีซึ่งความมืด" (นะ ทัตถา สุกกะ โชติตันติ อาทิจโจ นะ ปากะสาติ นะ ทัตถา จันทิมา ภาติ ตะไม ทัตถา นะ วิชาติ...อุทาน 9) นั่นคือมิติแห่ง "จิตที่ไร้สัญญา ที่ไม่มีสิ้นสุด สว่างไสวไปทั่ว..." (วิญญานามัง อนิทัสสนามัง อนันตามัง สัพโต ปภามัง...ทีฆะนิกาย-I) นั่นคือแสงที่เป็นอรูป จริงๆ แล้วแสงแห่งจักรวาล

    (cosmicray) รวมทั้งรังสีเหนือแกมมาที่เชื่อว่าหลุดมาจากหลุมดำที่เริ่มรวมตัวขึ้นมาใหม่ๆ (black hole gamm-ray) ที่ให้ความถี่ระดับรังสีคงที่ของแพลงก์ (Planck constamt) ที่มีขนาดคลื่นหรือความถี่ที่ละเอียดยิ่งกว่าขนาดของอะตอมที่วัดไม่ได้ หรือรับรู้ทางกายภาพไม่ได้ จริงๆ แล้วเมื่อปีกลายนี้มีการค้นพบที่ออกมาเป็นชุดๆ (pulse of light) สามารถมีความเร็วเหนือคลื่นแสงที่เราวัดได้ (มีความเร็วที่ราวๆ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที) หลายเท่าตัวทีเดียว

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ในมิติที่อยู่เหนือที่ว่างและเวลา ด้วยการเดินทางเหนือกายภาพ (นะ หามัง...เอวารูปายะ...) และข้อจำกัดของมนุษย์เรา (เช่นด้วยลำแสงหรือช่องลมพายุ... worm hole?) เราจะรับรู้ได้ซึ่งความไม่สิ้นสุดของจักรวาล (อังคุตนิกาย iv และดูบทความเรื่อง - จักรวาลและมิติแห่งนิพพานของนักฟิสิกส์ใหญ่ - ด้วย)

    ผู้เขียนเชื่ออย่างยิ่งว่า นักฟิสิกส์ใหม่ โดยเฉพาะนักจักรวาลวิทยาใหม่ของวันนี้ ที่ยอมรับในเรื่องของความไร้สิ้นซึ่งตรรกะและเหตุผล สามารถจะมองหน้าและเข้าใจนักศาสนศาสตร์และนักเทววิทยาที่นักวิทยาศาสตร์ในอดีตหมาดๆ รับกันไม่ได้.


    -------------
    ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก:wongnamcha.com

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • The Eye001.jpg
      The Eye001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.1 KB
      เปิดดู:
      3,373
  2. ABP@BDZ

    ABP@BDZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +228
    ผมถามนะ ถ้าเราไม่สามารถพิสูจน์ศาสนศาสตร์ บนเหตุผลของวิทยาศาสตร์ได้ แล้วในทางกลับกัน เราสามารถที่จะพิสูจน์วิทยาศาสตร์ บนเหตุผลของศาสนศาสตร์ ได้หรือเปล่า?
     
  3. tobetruly

    tobetruly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2009
    โพสต์:
    210
    ค่าพลัง:
    +427
    ส่วนตัวผมมองว่าทั้งสองเรื่อง มันก็คือธรรมะเหมือนกัน

    เพราะวิทยาศาสตร์เองก็แสดงไตรลักษณ์ให้เห็นตลอดเวลาเหมือนกัน
     
  4. shimoto

    shimoto Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +35
    ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์แขนงใดในโลก ล้วนแต่เป็นหลักกฏเกณฑ์ที่สัจธรรมกำหนดไว้ให้กับธรรมชาติทั้งสิ้นโดยมีมนุษย์เป็นผู้ค้นพบ

    สัจธรรม คือพลังอำนาจผู้ก่อเกิดและควบคุมสรรพสิ่งในจักรวาล หลักสัจธรรมที่อยู่ในตัวมนุษย์ก็คือ จิตวิญญาณ
    <O:p</O:p
    ธรรมะคือธรรมชาติ สิ่งใดที่ไม่ใช่ธรรมชาติก็ไม่ใช่ธรรมะ<O:p</O:p
     
  5. Baby_par

    Baby_par เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2007
    โพสต์:
    2,743
    ค่าพลัง:
    +3,265
    ผมถามนะ ถ้าเราไม่สามารถพิสูจน์ศาสนศาสตร์ บนเหตุผลของวิทยาศาสตร์ได้ แล้วในทางกลับกัน เราสามารถที่จะพิสูจน์วิทยาศาสตร์ บนเหตุผลของศาสนศาสตร์ ได้หรือเปล่า?<!-- google_ad_section_end -->


    ใช่แล้ลวค่ะ เห็นด้วย อย่าไปคิดมากเรื่องพิสูจเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่ก็ตามในศาสนาของเราสามารถพิสูจได้เสมอและสอนให้คนเป็นคนดี

    และแน่นอนว่าวิทยาศาสตร์ไม่สอนให้คนเปนคนดีแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าคนที่เชื่อในวิทยาศาสตร์จะเป็นคนไม่ดี แต่เรื่องนี้มันแล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคนค่ะ


    ,
     
  6. Nirunta

    Nirunta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +366
    วิทยาศาสตร์ กับศาสนศาสตร์ มันก็เรื่องเดียวกันแหละครับ เหมือนกระดาษผืนใหญ่ๆ แต่ว่าเราไปโฟกัสกันอยู่คนละจุดเท่านั้นเอง ซึ่งความจริงก็คือกระดาษผืนเดียวกัน
     
  7. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    อนุโมทนาค่ะ
    ครูบาอาจารย์ท่านก็สอนอย่างนี้
     
  8. natspdo

    natspdo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +1,505
    นี่แค่สองวิชานะนี่ วิทยาศาสตร์กับศาสนา หากเอามาปะปนกันก็ยุ่งเหยิงครับ หากเอาไปเปรียบกับ พวกปรัชญา ก็ไปกันใหญ่เลย ยิ่งมีเรื่องจิตวิทยาอีก ชั่งมันเถอะ เสียเวลา หากเราหยิบเอาก้อนดิน มาหนึ่งก้อน ไปถามพระปฎิบัติ ก็จะได้คำตอบในแนวพุทธ เอาไปถามนักวิทยาศาสตร์ ก็ได้คำตอบอีกแบบหนึ่ง แล้วถามว่าฝั่งใดถูกต้อง อันที่จริงเป็นเรื่องของมุมมอง แนวคิด ก็ไม่ผิดอะไร ดร. ยังสนใจศาสนาก็หลายท่าน พระที่สนใจด้านวิทยาการก็ยังมีอีกเยอะ มีแต่ประโยชน์ทั้งนั้นเลย อย่าไปคิดมากเลย หากจะมาศึกษา ก็ต้องทิ้งความรู้เดิมเปิดใจศึกษาอีกฝั่งหนึ่ง หากขัดแย้งกัน จะเสียเวลานะ และไม่ได้ประโยชน์ด้วย
     
  9. s_klongkleaw

    s_klongkleaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +239
    ผมว่าศาสนศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทั้ง2 อย่างคือเรื่องเดียวกัน แต่อยู่ที่ว่าคนที่คิดค้น จะมีความคิดและการอธิบายที่ต่างกัน วิทยาศาสตร์คิดบนพื้นฐานการพิสูจน์ ธรรมชาติ ผ่านจากภายนอก แต่ศาสนา พิสูจน์ ธรรมชาติ จากภายใน
     
  10. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    วิทยาศาสตร์ กับ ศาสนศาสตร์ เป็นความเหมือนที่แตกต่าง
    ที่เหมือนกันคือเน้นการพิศูจน์หาความจริง
    ที่แตกต่าง ความจริงของวิทยาศาสตร์ไม่ทำให้พ้นทุกข์
    ความจริงของศาสนาคือ อริยสัจ ทำให้พ้นทุกข์ได้
     
  11. chevasit

    chevasit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +424
    ผมคิดว่าถ้าเรารู้เรื่อง และเข้าึถึง จิต เพียงอย่างเดียวอย่างแจ่มแจ้งก็ไม่ต้องสงสัยอะไรอีกแล้ว ไม่มีการแบ่งแยก ใดๆเลย คล้ายดั่งน้ำ จะเป็นของแข็งก็ได้ ของเหลวก็ได้ เป็นก๊าช ก็ได้ แล้วแต่ว่าเราจะดูมันในสภาวะใหน จะบอกว่าน้ำแข็ง ไม่ใช่น้ำ ก็ไม่ได้, ไอน้ำำไม่ใช่น้ำ ก็ไ่ม่ได้ ผมจึงคิดว่าถ้าเข้าถึงพื้นฐานของทุกสิ่ง ซึ่งก็คือ จิต ได้แล้ว สิ่งที่ย่อยๆ ตามมาก็ล้วน เป็นเพียงมายา จะว่าแตกต่างก็ได้ จะว่าเหมือนกันก็ได้ แล้วแต่ว่าใครจะเอาเกณฑ์ หรือเครื่องมือ ใดมาวัดเทียบเอา
     
  12. lamb of god

    lamb of god เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2009
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +436
    วิทยาศาตร์ใช้หลักเหตุและผลการสมมุติฐานแล้วลงมือค้นหาความจริง
    แต่ก็มีข้อจำกัดแค่เพียงกายภาพที่สัมผัสได้ เมื่อมีทฤษฎีใหม่ๆ ทฤษฎีเก่าๆก็จะถูกยกเลิกไป
    บางครั้งถูกบ้างผิดบาง แสดงถึงความไม่แน่นอนก็คือ ไม่เที่ยง
    ศาสนาใช้หลักเหตุและผลและการวิเคราะห์ เหตุ ปัจจัยการเกิดทุกข์ เพื่อค้นหาความจริงในการดับทุกข์นั้น และสถานที่ทดลองก็คือจิตใจตนเองที่สามารถวัดผลได้...
     
  13. phuketshark

    phuketshark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +162
    ในความเห็นผม

    ศาสนา คือ คำสอนของพระศาสดา ที่สอนทางปฏิบัติอันประเสริฐ จากความรู้ที่พระศาสดาได้จากธรรมชาติ

    ศาสนา ของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยพระพุทธบารมีที่บำเพ็ญมาสมบูรณ์ 4 อสงไขย กำำไรแสนมหากัลป พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง สิ้นกิเลส บริสุทธิ์ บริบูรณ์

    พระพุทธญานที่ทรงหยั่งทราบ ความเป็นจริงในธรรมชาติ จนถึงที่สุด แห่งธรรมชาติ แล้วทรงประกาศสอน ทางปฏิบัติ อันประเสริฐ เพื่อให้บุคคลทั้งหลายได้ประพฤติตาม จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ ... พ้นทุกข์ ได้เหมือนพระองค์

    ผมเชื่อและเคารพสุดหัวใจว่า ความจริงในธรรมชาติ พระพุทธองค์ ได้ทรงทราบ ตามความเป็นจริง พระองค์ ทรงจำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์ พาสัตว์ทั้งหลาย ผู้ประพฤติธรรม ออกจากทุกข์ได้จริง

    ส่วนนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้สังเกตุ และ ค้นพบความจริงในธรรมชาติ ตามเครื่องมือ เครื่องใช้ ด้วยอายตนะทั้ง 6 ของผู้สังเกตุ ปรากฏการณ์ ในธรรมชาติ ทฤษฎีและเหตุผล ก็สรุปจากความจริง ที่ได้จริง ๆ

    แต่ ... ความจริง ที่ค้นพบก็เป็นความจริง ที่เกิดขึ้นจากการวัดผล ด้วยเครื่องมือ เครื่องใช้ และ อายตนะทั้ง 6 ของตนเอง ภายใต้เงื่อนไข และ ปัจจัยควบคุม

    เราจะเห็นได้ว่า เมื่อใด ที่เครื่องมือ เครื่องใช้ ดีขึ้น ละเอียดขึ้น ความจริง ที่ค้นพบ ก็จะลึกซึ้งขึ้น และตอบคำถามได้กว้างขึ้น ความจริง ที่เคยพบ ก็อาจไม่เปลี่ยนไป แต่จะมีความละเอียดขึ้น ตามเงื่อนไข และ ปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง ความรู้ที่ได้ ก็จะกว้าง และ ตอบคำถามในธรรมชาติได้มากกว่าเดิม

    ความจริง ของนักวิทยาศาสตร์ ... ในปัจจุบัน ยังไม่นิ่ง ...

    ยังมีการพัฒนา ค้นคว้า ไปอย่างไม่หยุดยั้ง มีความจริงใหม่ ๆ ให้ตื่นเต้น

    ผมดูการทดลองเมื่อปีกลาย ที่สวิตเซอร์แลนด์ เขาอยากรู้เรื่องอะตอม ก็เอาอะตอมมาชนกัน ให้แตกตัว แล้วมาดู มาจับ อนุภาคที่แตกออกมานั้น เพื่อจะเข้าใจว่า ในอะตอมมีอะไร เป็นยังไง

    ผมคิดแบบโง่ ๆ ... เหมือนเอาแก้วน้ำมาชนกัน แล้วดูกองเศษแก้วที่เหลือ
    เพื่อเข้าใจแก้วน้ำ ...

    เครื่องมือ ที่พระพุทธเจ้า ทรงทราบความจริง ในธรรมชาติ ไม่ใช่การหลับตาเกิดนิมิต แบบคนธรรมดาทั่วไป จิตของพระศาสดา ที่บำเพ็ญมาสมบูรณ์ 4 อสงไขย กำไรแสนมหากัลป เก็บบันทึกไว้ในพระทัย เป็นจิตที่มีกำลังสูง ไม่มีอะไรเปรียบเทียบได้ เมื่อพระองค์ ทรงตรัสรู้ ตัดกิเลสได้บริสุทธิ์ สมบูรณ์ ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสัพพรรณยุตญาน ทรงเปรียบได้เหมือนพระอาทิตย์เที่ยงวัน ขนาดจิตของพระอรหันต์เจ้า ผู้มีจิตบริสุทธิ์ ญานจิตของท่าน ยังเปรียบได้เหมือน แสงหิ่งห้อย ในตอนกลางคืน จึงไม่นับจิตของปุถุชน ที่มีกิเลส ว่าจะเป็นนิมิต ที่เชื่อถือได้

    เครื่องมือที่ดีที่สุด ต้องละเอียดมาก จิตของพระพุทธเจ้า มีกำลังสูง และละเอียดที่สุด
    ดังนั้น ความจริงในธรรมชาติ ทั้งจักรวาล จึงไม่เป็นความลับอีกต่อไป
    พระพุทธองค์ ทรงเปิดธรรมชาติ ใ้ห้เราแล้ว และ ยังทรงประทานความประพฤติ ปฏิบัติ ที่ประเสริฐ เพื่อนำเรา ไปเป็น ความจริง ที่ประเสริฐ พ้นทุกข์ได้สิ้นเชิง

    อย่าช้า ตามนักวิทยาศาสตร์ เถอะครับ ปล่อยให้เขาทำงานกันไป ซักวันเขาคงทัน หรือ เข้าใกล้ความจริง ก็ีดีครับ

    แต่เราอย่ารอช้าอยู่เลย ชีวิตเราสั้นนัก
     
  14. เทวทูต

    เทวทูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +1,025
    ไม่เห็นด้วยอย่างแรง

    วิทยาศาสตร์มีเหตุผล พิสูจน์ได้ มีที่มาที่ไป ไม่โคมลอยอ้างมาดื้อๆ
    พุทธศาสนาก็เหมือนกัน มีเหตุมีผลพิสูจน์ได้

    เพราะเป็นหลักแห่งความจริงของธรรมชาติทั้งสิ้นนี่

    :z11 หลักธรรมของพระพุทธพิสูจน์ได้
    ไม่ได้โม้ ไม่ใช่พวกนิยายเทพปรัมปรา


     
  15. แม่น้ำห้าสาย

    แม่น้ำห้าสาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +41
    มันก็คล้าย ๆ กันนะผมว่า
    วิทยาศาสตร์มีสมมุติฐานเป็นที่ตั้ง พุทธศาสตร์มีวิมุตติฐาน เป็นที่ตั้ง
    ซึ่งล้วนแต่ใช้ผู้สังเกตุการณ์ observer หรือผู้ดู เป็นสำคัญ

    ต่างกันแต่ว่าวิทยาศาตร์ไม่สิ้นสุดเพราะต่อให้ตั้งทฤษฎีพิสูจน์สูตรยังไง ก็ยังอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ของวิทยาศาสตร์(เป็น?-อยู่?-คือ?) แต่ พุทธศาสตร์มีสิ้นสุดเพราะไตรลักษณ์ของพุทธศาตร์ (เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป) ไตรลักษณ์ของพุทธศาสตร์จึง เด็ดขาดกว่า

    ผิดก็แต่พุทธศาสตร์ไม่มีอะไรวัดได้ หยั่งถึง นอกจาก ปัญญาญาณ (Wisdom) และก็ถึงคนละแบบ เป็นปัจจัตตัง แต่ก็ถึงเหมือนกัน เหมือนขึ้นเขาลูกเดียวกันเห็นวิวต่างกันไม่จำเป็นต้องเห็นเหมือนกัน แต่พอถึงแล้วก็ รู้ ว่าถึงเอง

    วิทยาศาสตร์ต้องเห็น และรู้สิ่งเดียวกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2009
  16. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ความไม่รู้ คือ "อวิชชา"
    ข้าพเจ้าจะโปรดเจ้าของกระทู้ หรือผู้เขียนบทความนี้ รวมไปถึงท่านทั้งหลายทีได้อ่านไปแล้ว และกำลังจะอ่าน ให้ได้รู้และเข้าใจเอาไว้ว่า

    หลักศาสนา ทุกศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ สามารถพิสูจน์บนเหตุผล ของหลักวิชาการแขนงต่างๆ ได้ทุกแขนง
    หรือจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ หลักศาสนา เป็นแม่แบบเป็นแม่บท แห่งหลักวิชาการแขนงต่างๆที่มนุษย์มีอยู่ สามารถใช้หลักวิชาการแขนงต่างๆทั้งหลายเหล่านั้น พิสูจน์ หลักการทางศาสนาได้
    หลักวิทยาศาสตร์ สามารถใช้พิสูจน์ หลักทางศาสนาได้ ในทีนี้จะไม่ยกตัวอย่าง แต่จะสอนให้รู้สักนิดว่า หลักอสุภกรรมฐาน ก็คือ หลักวิทยาศาสตร์ สาขาชีวะวิทยา กายวิภาคศาสตร์ อย่างนี้เป็นต้น
     
  17. somchaiysudlow

    somchaiysudlow สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2009
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    พระพุทธเจ้า ทรงตรัสว่า
    ปัญญา มาก่อน ศรัทธา
    ไม่ให้เชื่อ 10 ประการ
    (ผมจำไม่ได้ทั้งหมด) เช่น ไม่ให้เชื่อที่เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส ได้อ่าน ฯลฯ และทีสำคัญ ไม่ไห้เชื่อในตัวพระพุทธเจ้าเอง ท่านให้ใช้ปัญญาก่อนเสมอ
    แล้วเราจะไม่ต้องใช้ปัญญากันเลยหรืออย่างไร
    เรื่องศาสนามีอายุยาวนานมาก มีการแก้ไขคำสอนหลายครั้งมาก ผู้มีอำนาจใน
    แต่ละยุคสมัยเมื่อรวบรวมคำสอนก็มักจะแต่งเติม ความคิดเห็นหรือประโยชน์
    ของตนเข้าไปทุกครั้ง
    ผมเห็นว่าเราควรจะเปรียบเทียบกับปัญญาและความรู้ของเราที่มีอยู่ก่อนที่จะเชื่อในทุกๆ เรื่อง
     
  18. zcracher

    zcracher เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    188
    ค่าพลัง:
    +267
    เหมือนอย่างที่ข้างบนว่านั่นแหละ ถ้ามองคนละจุด มันก็เป็นคนละเรื่องกัน เรื่องพวกนี้ต้องใช้เวลาและการทำความเข้าใจอีกเยอะ บางคนอาจเข้าใจเร็วบางคนอาจช้าหน่อย แต่ก็ควรรับฟังเหตุผลของแต่ละฝ่ายบ้าง เพราะเขามีสิทธิ์ที่จะคิดเมื่อยังไม่เข้าใจ


    เหมือนที่พระพุทธเจ้าเคยบอกใว้ว่าอย่ายึดติดกับตัวบุคคล ให้ยึดถือในความเป็นศาสนา ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีอยู่ที่ยึดถือกับวัตถุ และก็ยังมีน้อยคนที่ผ่านช่วงนั่นมาแล้ว
     
  19. ขันห้า

    ขันห้า มาเที่ยวเดี๋ยวก้กลับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +10
    อนุโมทนาแด่วาทะของท่านผู้รู้ทั้งหลาย ล้วนเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทั้งสิ้น ขอความสุขสวัสดิ์ ไม่เจ็บ ไม่จน จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย สาธุ ๆ
     
  20. lamb of god

    lamb of god เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2009
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +436
    Thank you ค่าา คุณ พี่ สาธุ ขอให้พรทั้งหลายจงประสบผลกับคุณพี่เช่นกันคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...