ชมรมนักปฏิบัติธรรมและคนมีองค์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Pleased, 30 พฤษภาคม 2009.

  1. Dookbuabarn

    Dookbuabarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +225

    ขอขอบคุณเจ้าภาพงานกฐินสามัคคีครั้งนี้ นำโดย ท่าน อ. ดร. ภราดรภาพและคณะของแม่เล็ก ที่ได้จัดให้มีการได้ไปกราบคารวะ องค์สมเด็จพระนเรศวรหาราช องค์สมเด็จพระนางสุพรรณกัลยา และองค์สมเด็จพระเอกาทศรถ พระผู้เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย

    เป็นที่ปลื้มใจของเหล่าคณะทัวร์บุญครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าได้ยืนอยู่เคียงข้าง และร่วมรับใช้พระองค์ท่านมานานแสนนานแล้ว (เป็นเรื่องของจิตรำลึกนะคะ) ก็ซาบซึ้งและปลื้มปิติกันทั่วหน้าทุกๆท่าน

    หวังว่าคงมีโอกาสดีๆเหล่านี้ให้กับทางคณะเราได้ชื่นชมกันอีกครั้งนะคะ

     
  2. หนอนฟ้า

    หนอนฟ้า สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    เมื่อไหร่ คุณภารดรภาพ จะจัดปฏิบัติธรรมอีกครับ อยากร่วมกิจกรรมด้วย แต่เพิ่มสมัครเป็นสมาชิก แจ้งข่าวด้วยนะครับ เผื่อว่าจะได้มีบุญวาสนาทางธรรมเพิ่มอีกสักคน
     
  3. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ภาพกิจกรรมทอดกฐิน ณ วัดไตรมัคคาราม บ้านน้ำลัด ต. ธารทอง อ. พาน จ. เชียงราย
    ระหว่างวันที่ 23 - 24 ตุลาคม 25552

    3) กิจกรรมต้อนรับของชาวบ้านน้ำลัด แบบขันโตก (ตอนที่ 1)

    [​IMG]
    ภาพกลุ่มญาติธรรมที่ร่วมทอดกฐิน รอชมกระบวนแห่ขันโตก ของชาวบ้านน้ำลัด ดูดีๆ เด่อะ ดวงเทวดา เทพ พรหม เต็มไปหมด


    [​IMG]
    ชาวบ้านน้ำลัด ทะยอยนำกระบวนขันโตกมาจัดวางเป็นระเบียบ พร้อมเพลงบรรเลงที่น่าประทับใจ


    [​IMG]
    สำหรับอาหารขันโตก น่ารักดีจัง

    [​IMG]
    น่ากินจังเลย


    ต่อตอนที่ 2
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • k8.jpg
      k8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99.2 KB
      เปิดดู:
      662
    • k9.jpg
      k9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.7 KB
      เปิดดู:
      583
    • k10.jpg
      k10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      139 KB
      เปิดดู:
      669
    • k11.jpg
      k11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.1 KB
      เปิดดู:
      592
  4. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ภาพกิจกรรมทอดกฐิน ณ วัดไตรมัคคาราม บ้านน้ำลัด ต. ธารทอง อ. พาน จ. เชียงราย
    ระหว่างวันที่ 23 - 24 ตุลาคม 25552


    3) กิจกรรมต้อนรับของชาวบ้านน้ำลัด แบบขันโตก (ตอนที่ 2)

    ใครเป็นใคร ดูกันเองเด่อะ อิจฉาคู่หนุ่มสาวจังเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • k12.jpg
      k12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111 KB
      เปิดดู:
      48
    • k13.jpg
      k13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      104 KB
      เปิดดู:
      47
    • k14.jpg
      k14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      621 KB
      เปิดดู:
      43
    • k15.jpg
      k15.jpg
      ขนาดไฟล์:
      137.4 KB
      เปิดดู:
      47
    • k16.jpg
      k16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      118.7 KB
      เปิดดู:
      65
    • k17.jpg
      k17.jpg
      ขนาดไฟล์:
      623.1 KB
      เปิดดู:
      45
  5. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ภาพกิจกรรมทอดกฐิน ณ วัดไตรมัคคาราม บ้านน้ำลัด ต. ธารทอง อ. พาน จ. เชียงราย
    ระหว่างวันที่ 23 - 24 ตุลาคม 25552

    3) กิจกรรมต้อนรับของชาวบ้านน้ำลัด แบบขันโตก (ตอนที่ 2)

    ภาพแสดงการฟ้อนรับ 6 ชุด ยิ่งใหญ่อลังการ พร้อมจุดพุไฟอีกหลายลูก โอ้ ประทำใจหลายเด่อะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • k18.jpg
      k18.jpg
      ขนาดไฟล์:
      122.8 KB
      เปิดดู:
      46
    • k19.jpg
      k19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      738.2 KB
      เปิดดู:
      51
    • k20.jpg
      k20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      681.8 KB
      เปิดดู:
      47
    • k21.jpg
      k21.jpg
      ขนาดไฟล์:
      742.5 KB
      เปิดดู:
      49
    • k22.jpg
      k22.jpg
      ขนาดไฟล์:
      695.8 KB
      เปิดดู:
      51
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2009
  6. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ภาพกิจกรรมทอดกฐิน ณ วัดไตรมัคคาราม บ้านน้ำลัด ต. ธารทอง อ. พาน จ. เชียงราย
    ระหว่างวันที่ 23 - 24 ตุลาคม 25552


    4) กิจกรรมลอยโคมไฟ สนุกและร้าวใจจังเลย คราวหน้าจะจัดให้อีกรอบตามคำขอนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • k23.jpg
      k23.jpg
      ขนาดไฟล์:
      300.2 KB
      เปิดดู:
      36
    • k24.jpg
      k24.jpg
      ขนาดไฟล์:
      565.8 KB
      เปิดดู:
      46
    • k25.jpg
      k25.jpg
      ขนาดไฟล์:
      298.4 KB
      เปิดดู:
      42
    • k26.jpg
      k26.jpg
      ขนาดไฟล์:
      428.8 KB
      เปิดดู:
      35
    • k27.jpg
      k27.jpg
      ขนาดไฟล์:
      416.6 KB
      เปิดดู:
      43
    • k28.jpg
      k28.jpg
      ขนาดไฟล์:
      421.9 KB
      เปิดดู:
      47
  7. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    รอชมกิจกรรมต่อไปนะครับ ตอนเคลื่อนขวนองค์กฐินเข้าสู่วัดไตรมัคคาราม
     
  8. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ยินดีครับ อดใจรอนิดหนึ่ง รุ่น 5-2552 จะเปิดเร็วๆ นี้ครับ
    ส่วนงานทัวร์บุญรอบต่อไป ร่วมกันสร้างพระพุทธรูป (พระพุทธเจ้า 5 พระองค์) ณ วัดดงมะดะ จ. เชียงราย งานมีเฮจ๊า ได้พบสุดยอดพระเกจิ ตลุยแดนพุทธธรรมและเที่ยวฝั่งพม่า รับรองว่า ประทับใจไม่รู้ลืมครับ
     
  9. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ภาพกิจกรรมทอดกฐิน ณ วัดไตรมัคคาราม บ้านน้ำลัด ต. ธารทอง อ. พาน จ. เชียงราย
    ระหว่างวันที่ 23 - 24 ตุลาคม 25552

    5) กิจกรรมเคลื่อนขบวนกฐินเข้าสู่วัดไตรมัคคาราม
    กิจกรรมเริ่มตั้งแต่ 9 โมงเช้า ชาวบ้านและญาติธรรมได้รวมตัวกันเข้าสู่พิธีถวายองค์กฐิน โดยมีการทักษิณารอบโบถส์ 3 รอบ ก่อนจะนำองค์กฐินเข้าสู่โบถส์พิธี

    ทุกท่านร่วมกันแห่องค์กฐินอย่างสนุกสนาน ครืนเครง ประทับใจจนไม่สามารถบรรยายได้แล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • k29.jpg
      k29.jpg
      ขนาดไฟล์:
      583.9 KB
      เปิดดู:
      47
    • k30.jpg
      k30.jpg
      ขนาดไฟล์:
      550.3 KB
      เปิดดู:
      33
    • k31.jpg
      k31.jpg
      ขนาดไฟล์:
      650.5 KB
      เปิดดู:
      39
    • k32.jpg
      k32.jpg
      ขนาดไฟล์:
      927.8 KB
      เปิดดู:
      41
    • k33.jpg
      k33.jpg
      ขนาดไฟล์:
      639.9 KB
      เปิดดู:
      33
  10. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ทำอย่างไรจะหายโกรธ 10 วิธี

    พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งเมตตาการุณย์ พระพุทธเจ้า มีพระคุณข้อใหญ่ประการหนึ่ง คือ พระมหากรุณา ชาวพุทธทุกคน ได้รับการสั่งสอนให้มีเมตตากรุณา ให้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นด้วย กายวาจา และมีน้ำใจปรารถนาดี แม้แต่เมื่อไม่ได้ทำอะไรอื่น ก็ให้ แผ่เมตตาแก่เพื่อนมนุษย์ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง ขอให้อยู่เป็นสุข ปราศจากเวรภัยกันโดยทั่วหน้า
    อย่างไรก็ตาม เมตตา มีคู่ปรับสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ความโกรธ ความโกรธเป็นศัตรูที่คอยขัดขวางไม่ให้เมตตาเกิดขึ้น คนบางคน เป็นผู้มักโกรธ พอโกรธขึ้นมาแล้วก็ต้องทำอะไรรุนแรงออกไป ทำ ให้เกิดความเสียหาย ถ้าทำอะไรไม่ได้ ก็หงุดหงิดงุ่นง่านทรมานใจ ตัวเอง ในเวลานั้นเมตตาหลบหาย ไม่รู้ว่าไปซ่อนตัวอยู่ที่ไหน ไม่ยอมปรากฏให้เห็น ส่วนความโกรธ ทั้งที่ไม่ต้องการแต่ก็ไม่ยอม หนีไป บางทีจนปัญญา ไม่รู้จะขับไล่หรือกำจัดให้หมดไปได้อย่างไร
    โบราณท่านรู้ใจและเห็นใจคนขี้โกรธ จึงพยายามช่วยเหลือ โดยสอนวิธีการต่างๆ สำหรับระงับความโกรธ วิธีการเหล่านี้มี ประโยชน์ไม่เฉพาะสำหรับคนมักโกรธเท่านั้น แต่เป็นคคิแก่ทุกคน ช่วยให้เห็นโทษของความโกรธ และมั่นในคุณของเมตตายิ่งขึ้น จึง ขอนำมาเสนอพิจารณากันดู วิธีเหล่านั้นท่านสอนไว้เป็นขั้นๆ ดังนี้

    <CENTER>ขั้นที่1
    นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ
    </CENTER> ก.สอนตนเองให้นึกว่า พระพุทธเจ้าของเราทรงมีพระมหา กรุณาธิคุณ และทรงสอนชาวพุทธให้เป็นคนมีเมตตา เรามัวมา โกรธอยู่ ไม่ระงับความโกรธเสีย เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสอน ของพระองค์ ไม่ทำตามอย่างศาสดา ไม่สมกับเป็นศิษย์ของ พระพุทธเจ้า จงรีบทำตัวให้สมกับที่เป็นศิษย์ของพระองค์ และ จงเป็นชาวพุทธที่ดี
    ข.พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนที่โกรธเขาก่อนก็นับว่าเลวอยู่แล้ว คนที่ไม่มีสติรู้เท่าทัน หลงโกรธตอบเขาไปอีก ก็เท่ากับสร้าง ความเลวให้ยืดยาวเพิ่มมากขึ้น นับว่าเลวหนักลงไปกว่าคนที่ โกรธก่อนนั้นอีก เราอย่าเป็นทั้งคนเลว ทั้งคนเลวกว่านั้นเลย
    ค.พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนต่อไปอีกว่า เขาโกรธมา เราไม่โกรธ ตอบไป อย่างนี้เรียกว่า ชนะสงครามที่ชนะได้ยาก เมื่อรู้ทันว่า คนอื่นหรืออีกฝ่ายหนึ่งเขาขุ่นเคืองขึ้นมาแล้ว เรามีสติระงับใจไว้ เสีย ไม่เคืองตอบ จะชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ช่วยไว้ทั้งเขาและทั้งตัวเราเอง เพราะฉะนั้น เราอย่าทำตัว เป็นผู้แพ้สงครามเลย จงเป็นผู้ชนะสงคราม และเป็นผู้สร้าง ประโยชน์เถิด อย่าเป็นผู้สร้างความพินาศวอดวายเลย
    ถ้าคิดนึกระลึกอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธ ให้พิจารณาขั้น ที่สองต่อไปอีก

    <CENTER>ขั้นที่ ๒
    พิจารณาโทษของความโกรธ
    </CENTER> ในขั้นนี้มีพุทธพจน์ตรัสสอนไว้มากมาย เช่นว่า
    "คนขี้โกรธจะมีผิวพรรณไม่งาม คนขี้โกรธนอนก็เป็นทุกข์ ฯลฯ คนโกรธไม่รู้เท่าทันว่า ความโกรธนั้นแหละคือภัยที่เกิดขึ้นข้างในตัว เอง พอโกรธเข้าแล้วก็ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นประโยชน์ โกรธเข้าแล้ว มองไม่เห็นธรรม เวลาถูกความโกรธครอบงำ มีแต่ความมืดตื้อ คน โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย แต่ภายหลังพอ หายโกรธแล้ว ต้องเดือดร้อนใจเหมือนถูกไฟเผา"
    "แรกจะโกรธนั้น ก็แสดงความหน้าด้านออกมาก่อนเหมือนมี ควันก่อนเกิดไฟ พอความโกรธแสดงเดชทำให้คนดาลเดือดได้ คราวนี้ละไม่มีกลัวอะไร ยางอายก็ไม่มี ถ้อยคำไม่มีคารวะ ฯลฯ คน โกรธฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตัวเองก็ได้ ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าคนสามัญก็ได้ ทั้งนั้น ลูกที่แม่เลี้ยงไว้จนได้ลืมตามองดูโลกนี้ แต่มีกิเลสหนา พอ โกรธขึ้นมาก็ฆ่าได้แม้แต่แม่ผู้ให้ชีวิตนั้น ฯลฯ"
    "กาลีใดไม่มีเท่าโทสะ ฯลฯ เคราะห์อะไรเท่าโทสะไม่มี"
    ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายให้มากมาย อย่างพุทธพจน์นี้เป็น ตัวอย่าง แม้เรื่องราวในนิทานต่างๆ และชีวิตจริงก็มีมากมาย ล้วนแสดงให้เห็นว่าความโกรธมีแต่ทำให้เกิดความเสียหายและความ พินาศ ไม่มีผลดีอะไรเลย จึงควรฆ่ามันทิ้งเสีย อย่าเก็บเอาไว้เลย ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะต้องมานอนเป็นทุกข์ ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะ ต้องโศกเศร้าเสียใจ แต่ "ฆ่าความโกรธแล้วนอนเป็นสุข ฆ่าความ โกรธแล้วไม่โศกเศร้าเลย"
    พิจารณาโทษของความโกรธทำนองนี้แล้ว ก็น่าจะบรรเทา ความโกรธได้ แต่ถ้ายังไม่สำเร็จก็ลองวิธีต่อไปอีก

    <CENTER>ขั้นที่ ๓
    นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ
    </CENTER> ธรรมดาคนเรานั้น ว่าโดยทั่วไป แต่ละคนๆ ย่อมมีข้อดีบ้าง ข้อเสียบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง จะหาคนดีครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่มีข้อ บกพร่องเลย คงหาไม่ได้หรือแทบจะไม่มี บางทีแง่ที่เราว่าดี คนอื่น ว่าไม่ดี บางทีแง่ที่เราว่าไม่ดี คนอื่นว่าดี เรื่องราว ลักษณะหรือการ กระทำของคนอื่นที่ทำให้เราโกรธนั้น ก็เป็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่อง ของเขาอย่างหนึ่ง หรืออาจเป็นแง่ที่ไม่ถูกใจเรา เมื่อจุดนั้นแง่นั้น ของเขาไม่ดีไม่ถูกใจเรา ทำให้เราโกรธ ก็อย่ามัวนึกถึงแต่จุดนั้น แง่นั้นของเขา พึงหันไปมองหรือระลึกถึงความดีหรือจุดอื่นที่ดีๆ ของเขา เช่น
    คนบางคน ความประพฤติทางกายเรียบร้อยดี แต่พูดไม่ไพเราะ หรือปากไม่ดี แต่ก็ไม่ได้ประพฤติเกะกะระรานทำร้ายใคร
    บางคนแสดงออกทางกายกระโดกกระเดกไม่น่าดู หรือการ แสดงออกทางกายเหมือนไม่มีสัมมาคารวะ แต่พูดจาดี สุภาพ หรือไม่ก็อาจพูดจามีเหตุมีผล หรือบางคนปากร้ายแต่ใจดี หรือ สัมพันธ์กับคนอื่นไม่ค่อยดี แต่เขาก็รักงานตั้งใจทำหน้าที่ของเขาดี หรือคราวนี้เขาทำอะไรไม่สมควรแก่เราแต่ความดีเก่าๆเขาก็มี เป็นต้น
    ถ้ามีอะไรที่ขุ่นใจกับเขา ก็อย่าไปมองส่วนที่ไม่ดี พึงมองหา ส่วนที่ดีของเขาเอาขึ้นมาระลึกนึกถึง ถ้าเขาไม่มีความดีอะไรเลยที่ จะให้มองเอาจริงๆ ก็ควรคิดสงสาร ตั้งความกรุณาแก่เขาว่า โธ่ ! น่าสงสาร ต่อไปคนคนนี้คงจะต้องประสบผลร้ายต่างๆ เพราะความ ประพฤติไม่ดีอย่างนี้ นรกอาจรอเขาอยู่ ดังนี้เป็นต้น พึงระงับความ โกรธเสีย เปลี่ยนเป็นสงสารเห็นใจหรือคิดช่วยเหลือแทน
    ถ้าคิดอย่างนี้ ก็ยังไม่หายโกรธ ลองวิธีขั้นต่อไปอีก
    <CENTER>ขั้นที่ ๔
    พิจารณาว่า ความโกรธ คือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง
    และเป็นการลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรู
    </CENTER> ธรรมดาศัตรูย่อมปรารถนาร้าย อยากให้เกิดความเสื่อมและ ความพินาศวอดวายแก่กันและกัน คนโกรธจะสร้างความเสื่อม พินาศให้แก่ตัวเองได้ตั้งหลายอย่าง โดยที่ศัตรูไม่ต้องทำอะไรให้ ลำบากก็ได้สมใจของเขา เช่น ศัตรูปรารถนาว่า "ขอให้มัน (ศัตรู ของเขา) ไม่สวยไม่งาม มีผิวพรรณไม่น่าดู" หรือ "ขอให้มันนอน เป็นทุกข์ ขอให้มันเสื่อมเสียประโยชน์ ขอให้มันเสื่อมทรัพย์สมบัติ ขอให้มันเสื่อมยศ ขอให้มันเสื่อมมิตร ขอให้มันตายไปตกนรก" เป็นต้น เป็นที่หวังได้อย่างมากว่า คนโกรธจะทำผลร้ายเช่นนี้ให้เกิด แก่ตนเองตามปรารถนาของศัตรูของเขา ด้วยเหตุนี้ ศัตรูที่ฉลาดจึง มักหาวิธีแกล้งยั่วให้ฝ่ายตรงข้ามโกรธ จะได้เผลอสติทำการผิดพลาด เพลี่ยงพล้ำ
    เมื่อรู้เท่าทันเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะทำร้ายตนเองด้วยความโกรธ ให้ศัตรูได้สมใจเขาโดยไม่ต้องลงทุนอะไร
    ในทางตรงข้าม ถ้าสามารถครองสติได้ ถึงกระทบอารมณ์ที่ น่าโกรธก็ไม่โกรธ จิตใจไม่หวั่นไหว สีหน้าผ่องใส กิริยาอาการไม่ ผิดเพี้ยน ทำการงานธุระของตนไปได้ตามปกติ ผู้ที่ไม่ปรารถนาดี ต่อเรานั่นแหละจะกลับเป็นทุกข์ ส่วนทางฝ่ายเราประโยชน์ที่ต้องการ ก็จะสำเร็จ ไม่มีอะไรเสียหาย
    อาจสอนตัวเองต่อไปอีกว่า
    "ถ้าศัตรูทำทุกข์ให้ที่ร่างกายของเจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงมาคิดทำ ทุกข์ให้ที่ใจของตัวเอง ซึ่งมิใช่ร่างกายของศัตรูสักหน่อยเลย"
    "ความโกรธ เป็นตัวตัดรากความประพฤติดีงามทั้งหลายที่เจ้า ตั้งใจรักษา เจ้ากลับไปพะนอความโกรธนั้นไว้ ถามหน่อยเถอะ ใครจะเซ่อเหมือนเจ้า"
    "เจ้าโกรธว่าคนอื่นทำกรรมที่ป่าเถื่อน แล้วใยตัวเจ้าเองจึงมา ปรารถนาจะทำกรรมเช่นนั้นเสียเองเล่า"
    "ถ้าคนอื่นอยากให้เจ้าโกรธ จึงแกล้งทำสิ่งไม่ถูกใจให้ แล้ว ไฉนเจ้าจึงช่วยทำให้เขาสมปรารถนา ด้วยการปล่อยให้ความโกรธ เกิดขึ้นมาได้เล่า"
    "แล้วนี่ เจ้าโกรธขึ้นมาแล้ว จะทำทุกข์ให้เขาได้หรือไม่ก็ตาม แต่แน่ๆ เดี๋ยวนี้เจ้าก็ได้เบียดเบียนตัวเองเข้าแล้วด้วยความทุกข์ใจ เพราะโกรธนั่นแหละ"
    "หรือถ้าเจ้าเห็นว่า พวกศัตรูขึ้นเดินไปในทางของความโกรธ อันไร้ประโยชน์แล้ว ไฉนเจ้าจึงโกรธเลียนแบบเขาเสีย อีกล่ะ"
    "ศัตรูอาศัยความแค้นเคืองใด จึงก่อเหตุไม่พึงใจขึ้นได้ เจ้าจง ตัดความแค้นเคืองนั้นเสียเถิด จะมาเดือดร้อนด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง ไปทำไม"
    จะพิจารณาถึงขั้นปรมัตถ์ก็ได้ว่า
    "ขันธ์เหล่าใดก่อเหตุไม่พึงใจแก่เจ้า ขันธ์เหล่านั้นก็ดับไปแล้ว เพราะธรรมทั้งหลายเป็นไปเพียงชั่วขณะ แล้วทีนี้เจ้าจะมาโกรธให้ ใครกันในโลกนี้"
    "ศัตรูจะทำทุกข์ให้แก่ผู้ใด ถ้าไม่มีตัวตนของผู้นั้นมารับทุกข์ ศัตรูนั้นจะทำทุกข์ให้ใครได้ ตัวเจ้าเองนั่นแหละเป็นเหตุของทุกข์อยู่ ฉะนี้ แล้วทำไมจะไปโกรธเขาเล่า"
    ถ้าพิจารณาอย่างนี้ก็ยังไม่หายโกรธ ก็ลองพิจารณาขั้นต่อไป
     
  11. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    <CENTER>ขั้นที่ ๕
    พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน
    </CENTER> พึงพิจารณาว่า ทั้งเราและเขาต่างก็มีกรรมเป็นสมบัติของตน ทำกรรมอะไรไว้ก็จะได้รับผลของกรรมนั้น เริ่มด้วยพิจารณาตัวเองว่า เราโกรธแล้วไม่ว่าจะทำอะไร การกระทำของเรานั้นเกิดจากโทสะ ซึ่งเป็นอกุศลมูล กรรมของเราก็ย่อมเป็นกรรมชั่วซึ่งก่อให้เกิดผลร้าย มีแต่ความเสียหาย ไม่เป็นประโยชน์ และเราจะต้องรับผลของกรรม นั้นต่อไป
    อนึ่ง เมื่อเราจะทำกรรมชั่วที่เกิดจากโทสะนั้น ก่อนเราจะทำ ร้ายเขา เราก็ทำร้ายแผดเผาตัวเราเองเสียก่อนแล้ว เหมือนเอามือ ทั้งสองกอบถ่านไฟจะขว้างใส่คนอื่น ก็ไหม้มือของตัวก่อน หรือ เหมือนกับเอามือกอบอุจจาระจะไปโปะใส่เขา ก็ทำตัวนั่นแหละ ให้เหม็นก่อน
    เมื่อพิจารณาความเป็นเจ้าของกรรมฝ่ายตนเองแล้ว ก็ พิจารณาฝ่ายเขาบ้างในทำนองเดียวกัน เมื่อเขาโกรธเขาจะทำ กรรมอะไรก็เป็นกรรมชั่ว และเขาก็จะต้องรับผลกรรมของเขาเอง ต่อไป กรรมชั่วนั้น จะไม่ช่วยให้เขาได้รับผลดีมีความสุขอะไร มี แต่ผลร้าย เริ่มตั้งแต่แผดเผาใจของเขาเองเป็นต้นไป
    ในเมื่อต่างคนต่างก็มีกรรมเป็นของตน เก็บเกี่ยวผลกรรมของ ตนเองอยู่แล้ว เราอย่ามัวคิดวุ่นวายอยู่เลย ตั้งหน้าทำแต่กรรมที่ดี ไปเถิด
    ถ้าพิจารณากรรมแล้ว ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงพิจารณา ขั้นต่อไป

    <CENTER>ขั้นที่ ๖
    พิจารณาพระจริยาวัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า
    </CENTER> พระพุทธเจ้าของเรานั้น กว่าจะตรัสรู้ ก็ได้ทรงบำเพ็ญบารมี ทั้งหลายมาตลอดเวลายาวนานนักหนา ได้ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ ผู้อื่น โดยยอมเสียสละแม้แต่พระชนม์ชีพของพระองค์เอง เมื่อทรง ถูกข่มเหงกลั่นแกล้งเบียดเบียนด้วยวิธีการต่างๆ ก็ไม่ทรงแค้นเคือง ทรงเอาดีเข้าตอบ ถึงเขาจะตั้งตัวเป็นศัตรูถึงขนาดพยายามปลงพระ ชนม์ ก็ไม่ทรงมีจิตประทุษร้าย บางครั้งพระองค์ช่วยเหลือเขา แทน ที่เขาจะเห็นคุณเขากลับทำร้ายพระองค์ แม้กระนั้นก็ไม่ทรงถือโกรธ ทรงทำดีต่อเขาต่อไป
    พุทธจริยาเช่นที่ว่ามานี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปยากที่จะปฏิบัติได้ แต่ก็เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งชาวพุทธควรจะนำมาระลึกตักเตือนสอน ใจตน ในเมื่อประสบเหตุการณ์ต่างๆ ว่า ที่เราถูกกระทบกระทั่งอยู่นี้ เมื่อเทียบกับที่พระพุทธเจ้าทรงประสบมาแล้ว นับว่าเล็กน้อยเหลือ เกิน เทียบกันไม่ได้เลย
    ในเมื่อเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงประสบนั้นร้ายแรงเหลือเกิน พระองค์ยังทรงระงับความโกรธไว้ มีเมตตาอยู่ได้ แล้วเหตุไฉนกรณี เล็กน้อยอย่างเรานี้ ศิษย์อย่างเราจะระงับไม่ได้ ถ้าเราไม่ดำเนิน ตามพระจริยาวัตรของพระองค์ก็น่าจะไม่สมควรแก่การที่อ้างเอา พระองค์เป็นพระศาสดาของตน
    พุทธจริยาวัตร เกี่ยวกับความเสียสละอดทน และความมี เมตตากรุณาของพระพุทธเจ้า อย่างที่ท่านบันทึกไว้ในชาดก มี มากมายหลายเรื่อง และส่วนมากยืดยาว ไม่อาจนำมาเล่าในที่นี้ได้ จะขอยกตัวอย่างชาดกง่ายๆ สั้นๆ มาเล่าพอเป็นตัวอย่าง
    ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นพระเจ้ากรุงพาราณสี มีพระ นามว่าพระเจ้ามหาสีลวะ ครั้งนั้นอำมาตย์คนหนึ่งของพระองค์ทำ ความผิด ถูกเนรเทศ และได้เข้าไปรับราชการในพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นโกศล อำมาตย์นั้นมีความแค้นเคืองติดใจอยู่ ได้ให้โจรคอย เข้ามาปล้นในดินแดนของพระเจ้าสีลวะอยู่เนืองๆ เมื่อราชบุรุษจับ โจรได้ พระเจ้าสีลวะทรงสั่งสอนแล้วก็ปล่อยตัวไป เป็นเช่นนี้อยู่เสมอ
    ในที่สุดอำมาตย์ร้ายนั้นก็ใช้เหตุการณ์เหล่านี้ยุยงพระเจ้าโกศลว่า พระเจ้าสีลวะอ่อนแอ ถ้ายกทัพไปรุกราน คงจะยึดแผ่นดินพาราณสี ได้โดยง่าย พระเจ้าโกศลทรงเชื่อ จึงยกกองทัพไปเข้าโจมตีพาราณสี พระเจ้าสีลวะไม่ทรงประสงค์ให้ราษฎรเดือดร้อน จึงไม่ทรงต่อต้าน ทรงปล่อยให้พระเจ้าโกศลยึดราชสมบัติจับพระองค์ไป พระเจ้าโกศล จับพระเจ้าสีลวะได้แล้ว ก็ให้เอาไปฝังทั้งเป็นในสุสานถึงแค่พระศอ รอเวลากลางคืนให้สุนัขจิ้งจอกมากินตามวิธีประหารอย่างในสมัยนั้น
    ครั้นถึงเวลากลางคืน เมื่อสุนัขจิ้งจอกเข้ามา พระเจ้าสีลวะ ทรงใช้ไหวพริบและความกล้าหาญ เอาพระทนต์ขบที่คอสุนัข จิ้งจอกตัวที่เข้ามาจะกัดกินพระองค์ เมื่อสุนัขนั้นดิ้นรนรุนแรง ทำให้สุนัขตัวอื่นหนีไป และทำให้ดินบริเวณหลุมฝังนั้นกระจุย กระจายหลวมออก จนทรงแก้ไขพระองค์หลุดออกมาได้ ในคืนนั้น เองทรงเล็ดลอดเข้าไปได้จนถึงห้องบรรทมของพระเจ้าโกศล พร้อม ด้วยดาบอาญาสิทธ์ของพระเจ้าโกศลเอง ทรงไว้ชีวิตพระเจ้าโกศล และพระราชทานอภัยโทษ เพียงทรงกู้ราชอาณาจักรคืน แล้วให้ พระเจ้าโกศลสาบานไม่ทำร้ายกัน ทรงสถาปนาให้เป็นพระสหาย แล้วให้พระเจ้าโกศลกลับไปครองแคว้นโกศลตามเดิม
    อีกเรื่องหนึ่ง พระโพธิสัตว์ อุบัติเป็นวานรใหญ่อยู่ในป่า ครานั้น ชายผู้หนึ่งตามหาโคของตนเข้ามาในกลางป่า แล้วพลัดตกลงไปใน เหวขึ้นไม่ได้ อดอาหารนอนแขม่วสิ้นหวังสิ้นแรง พอดีในวันที่สิบ พญาวานรมาพบเข้า เกิดความสงสาร จึงช่วยให้ขึ้นมาจากเหวได้
    ต่อมา เมื่อพญาวานรซึ่งเหนื่อยอ่อนจึงพักผ่อนเอาแรง และ นอนหลับไป ชายผู้นั้นเกิดความคิดชั่วร้ายขึ้นว่า "ลิงนี้มันก็อาหาร ของคน เหมือนสัตว์ป่าอื่นๆ นั่นแหละ อย่ากระนั้นเลย เราก็หิวแล้ว ฆ่าลิวตัวนี้กินเสียเถิด กินอิ่มแล้วจะได้ถือเอาเนื้อมันติดตัวไปเป็น เสบียงด้วย จะได้มีของกินเดินทางผ่านที่กันดารไปได้" คิดแล้วก็ หาหินก้อนใหญ่มาก้อนหนึ่ง ยกขึ้นทุ่มหัวพญาวานร ก้อนหินนั้น ทำให้พญาวานรบาดเจ็บมาก แต่ไม่ถึงตาย
    พญาวานรตื่นขึ้นรีบหนีขึ้นต้นไม้ มองชายผู้นั้นด้วยน้ำตานอง แล้วพูดกับเขาโดยดี ทำนองให้ความคิดว่า ไม่ควรทำเช่นนั้น ครั้น แล้วยังเกรงว่าชายผู้นั้นจะหลงหาทางออกจากป่าไม่ได้ ทั้งที่ตนเอง ก็เจ็บปวดแสนสาหัส ยังช่วยโดดไปตามต้นไม้นำทางให้ชายผู้นั้น ออกจากป่าไปได้ในที่สุด
    แม้พิจารณาถึงอย่างนี้แล้ว ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงลอง พิจารณาวิธีต่อไป

    <CENTER>ขั้นที่ ๗
    พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ
    </CENTER> มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งว่า ในสังสาระ คือการเวียนว่ายตายเกิดที่ กำหนดจุดเริ่มต้นมิได้นี้ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา ไม่เคยเป็นบิดา ไม่เคยเป็นบุตร ไม่เคยเป็นธิดากัน มิใช่หาได้ง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีเหตุโกรธเคืองจากใคร พึงพิจารณาว่า ท่านผู้นี้บางทีจะเคย เป็นมารดาของเรา ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นบิดาของเรา
    ท่านที่เป็นมารดานั้นรักษาบุตรไว้ในท้องถึง 10 เดือน ครั้น คลอดออกมาแล้ว เลี้ยงดู ไม่รังเกียจแม้แต่สิ่งปฏิกูลทั้งหลาย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น เช็ดล้างได้สนิทใจ ให้ลูก นอนแนบอกเที่ยวอุ้มไป เลี้ยงลูกมาได้
    ส่วนท่านที่เป็นบิดา ก็ต้องเดินทางลำบากตรากตรำเสี่ยงภัย อันตรายต่างๆ ประกอบการค้าขายบ้าง สละชีวิตเข้าสู้รบใน สงครามบ้าง แล่นเรือไปในท้องทะเลบ้าง ทำงานยากลำบากอื่นๆ บ้าง หาทางรวบรวมทรัพย์มาก็ด้วยคิดจะเลี้ยงลูกน้อย
    ถึงแม้ไม่ใช่เป็นมารดาบิดา ก็อาจเป็นพี่เป็นน้องเป็นญาติเป็น มิตร ซึ่งได้เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกันมา ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน การที่ จะทำใจร้ายและแค้นเคืองต่อบุคคลเช่นนั้นไม่เป็นการสมควร
    ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธ ก็อาจพิจารณาตาม วิธีในข้อต่อไปอีก

    <CENTER>ขั้นที่ ๘
    พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา
    </CENTER> ธรรมที่ตรงข้ามกับความโกรธ ก็คือ เมตตา ความโกรธมีโทษ ก่อผลร้ายมากมาย ฉันใด เมตตาก็มีคุณ ก่อให้เกิดผลดีมาก ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรที่จะระงับความโกรธเสีย แล้วตั้งจิตเมตตาขึ้นมา แทน ให้เมตตานั้นแหละช่วยกำจัด และป้องกันความโกรธไปในตัว
    ผู้มีเมตตาย่อมสามารถเอาชนะใจคนอื่น ซึ่งเป็นชัยชนะที่เด็ดขาด ไม่กลับแพ้ ผู้ตั้งอยู่ในเมตตาชื่อว่าทำประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
    เมตตาทำให้จิตใจสดชื่น ผ่องใส มีความสุข ดังตัวอย่างในที่ แห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตาไว้ 11 ประการ คือ หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย เทวดารักษา ไฟ พิษ และ ศัสตราไม่กล้ำกราย จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้รวดเร็ว สีหน้าผ่องใส ตายก็มีสติไม่หลงฟั่นเฟือน เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมที่สูงกว่า ย่อม เข้าถึงพรหมโลก
    ถ้ายังเป็นคนขี้โกรธอยู่ ก็นับว่ายังอยู่ห่างไกลจากการที่จะได้ อานิสงส์เหล่านี้ ดังนั้น จึงควรพยายามทำเมตตาให้เป็นธรรม ประจำใจให้จงได้ โดยหมั่นฝึกอบรมทำใจอยู่เสมอๆ
    ถ้าจิตใจเมตตายังไม่เข้มแข็งพอ เอาชนะความโกรธยังไม่ได้ เพราะสั่งสมนิสัยมักโกรธไว้ยาวนาน จนกิเลสตัวนี้แน่นหนา พึง ลองพิจารณาใช้วิธีต่อไป
    <CENTER>ขั้นที่ ๙
    พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ
    </CENTER> วิธีการข้อนี้ เป็นการปฏิบัติใกล้แนววิปัสสนา หรือเอาความรู้ ทางวิปัสสนามาใช้ประโยชน์ คือ มองดูชีวิตนี้ มองดูสัตว์ บุคคล เรา เขา ตามความเป็นจริงว่า ที่ถูกที่แท้แล้ว ก็เป็นแต่เพียงส่วน ประกอบทั้งหลายมากมายมาประชุมกันเข้า แล้วก็สมมติเรียกกัน ไปว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นฉัน เป็นเธอ เป็นเรา เป็นเขา เป็นนาย ก. นาง ข. เป็นต้น ครั้นจะชี้ชัดลงไปที่ตรงไหนว่าเป็นคน เป็นเรา เป็น นาย ก. นาง ข. ก็หาไม่พบ มีแต่ส่วนที่เป็นธาตุแข็งบ้าง ธาตุเหลว บ้าง เป็นรูปขันธ์บ้าง เป็นเวทนาขันธ์บ้าง เป็นสัญญาขันธ์ สังขาร ขันธ์ หรือวิญญาณขันธ์บ้าง หรือเป็นอายตนต่างๆ เช่น ตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง เป็นต้น
    เมื่อพิจารณาตามความจริงแยกให้เป็นส่วนๆ ได้อย่างนี้แล้ว พึงสอนตัวเองว่า "นี่แน่ะเธอเอ๋ย ก็ที่โกรธเขาอยู่น่ะโกรธอะไร โกรธ ผม หรือโกรธขน หรือโกรธหนัง โกรธเล็บ โกรธกระดูก โกรธธาตุดิน โกรธธาตุน้ำ โกรธธาตุไฟ โกรธธาตุลม หรือโกรธรูป โกรธเวทนา โกรธสัญญา โกรธสังขาร โกรธวิญญาณ หรือโกรธอะไรกัน" ใน ที่สุดก็จะหาฐานที่ตั้งของความโกรธไม่ได้ ไม่มีที่ยึดที่เกาะให้ความ โกรธจับตัว
    อาจพิจารณาต่อไปนี้ในแนวนั้นอีกว่า ในเมื่อคนเรา ชีวิตเรา เป็นแต่เพียงสมบัติบัญญัติ ความจริงก็มีแต่ธาตุ หรือขันธ์ หรือ นามธรรมและรูปธรรมต่างๆ มาประกอบกันเข้า แล้วเราก็มาติด สมมตินั้น ยึดติดถือมั่นหลงวุ่นวายทำตัวเป็นหุ่นถูกชักถูกเชิดกันไป การที่มาโกรธ กระฟัดกระเฟียด งุ่นง่าน เคืองแค้นกันไปนั้น มอง ลงไปให้ถึงแก่นสาร ให้ถึงสภาวะความเป็นจริงแล้ว ก็เหลวไหลไร้ สาระทั้งเพ ถ้ามองความจริงทะลุสมมติบัญญัติลงไปได้ถึงขั้นนี้แล้ว ความโกรธก็จะหายตัวไปเอง
    อย่างไรก็ตาม คนบางคนจิตใจและสติปัญญายังไม่พร้อม ไม่อาจพิจารณาแยกธาตุออกไปอย่างนี้ได้ หรือสักว่าแยกไปตามที่ ได้ยินได้ฟังได้อ่านมา แต่มองไม่เห็นความจริงเช่นนั้น ก็แก้ความ โกรธไม่สำเร็จ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็พึงดำเนินการตามวิธีต่อ
    <CENTER>ขั้นที่ 10
    ปฏิบัติทาน คือ การให้หรือแบ่งปันสิ่งของ
    </CENTER> ขั้นนี้เป็นวิธีการในขั้นลงมือทำ เอาของของตนให้แก่คนที่เป็น ปรปักษ์ และรับของของปรปักษ์มาเพื่อตน หรืออย่างน้อยอาจให้ ของของตนแก่เขาฝ่ายเดียว ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรมีปิยวาจา คือ ถ้อยคำสุภาพไพเราะ ประกอบเสริมไปด้วย
    การให้หรือแบ่งปันกันนี้ เป็นวิธีแก้ความโกรธที่ได้ผลชะงัด สามารถระงับเวรที่ผูกกันมายาวนานให้สงบลงได้ ทำให้ศัตรูกลาย เป็นมิตร เป็นเมตตากรุณาที่แสดงออกในการกระทำ ท่านกล่าวถึง อานุภาพยิ่งใหญ่ของทานคือการให้นั้นว่า
    "การให้เป็นเครื่องฝึกคนที่ยังฝึกไม่ได้ การให้ยังสิ่งประสงค์ ทั้งปวงให้สำเร็จได้ ผู้ให้ก็เบิกบานขึ้นมาหาด้วยการให้ ฝ่ายผู้ได้รับ ก็น้อมลงมาพบด้วยปิยวาจา"
    เมื่อความโกรธเลือนหาย ความรักใคร่ก็เข้ามาแทน ความเป็น ศัตรูกลับกลายเป็นมิตร ไฟพยาบาทก็กลายเป็นน้ำทิพย์แห่งเมตตา ความแผดเผาเร่าร้อนด้วยทุกข์ที่เร้ารุมใจ ก็กลายเป็นความสดชื่น ผ่องใสเบิกบานใจด้วยความสุข
    วิธีทั้ง 10 ที่ว่ามาเป็นขั้นๆ นี้ ความจริงมิใช่จำเป็นต้องทำไป ตามลำดับเรียงรายข้ออย่างนี้ วิธีใดเหมาะได้ผลสำหรับตน ก็พึงใช้ วิธีนั้น ตกลงว่า วิธีการท่านก็ได้แนะนำไว้อย่างนี้แล้ว เป็นเรื่องของ ผู้ต้องการแก้ปัญหา จะพึงนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แท้จริง ต่อไป

    ที่มา mindcyber.com!
     
  12. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ต่อให้เป็นความสุขชนิดไม่เกิดมาจากสมาธิ สมาบัติ จากฌานของ พวกฤๅษี มุนี ถ้าไปยึดมั่นถือมัน ว่าฉันเป็นคนมีความสุขขึ้นมาแล้ว มันก็จะเกิดก้างขึ้นมาในเนื้อนั่นเองแล้วติดคอ พวกที่ยึดมั่นถือมั่นความสุขในรูปฌานเป็นต้นเหล่านี้ก็เรียกว่า เป็นคนมีทุกข์ปตามประสาของคนมีความสุขจากรูปฌานนั้นเอง
    เพราะฉะนั้นจึงมีบทบัญญัติให้ละรูปราคะ อรูปราคะ เสียงในสังโยชน์เบื้องปลายที่จะทำให้คนเป็นพระอรหันต์อย่างนี้เป็นต้น เพราะว่าการที่ไปติด ไปยึดเข้า ว่าเรามีความสุข แม้จะเป็นความสุขที่เกิดจากธรรมะก็เถอะมันจะยังคงเป็นก้างติดคอชนิดที่ละเอียด อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เป็นธรรมดา และไม่เป็นธรรมะจริงขึ้นมาได้
    ข้อที่จะไปยึดพระนิพพาน ว่าเป็นตัวตน หรือเป็นความสุขของเราขึ้นมานั้นเป็นไปไม่ได้ ถ้าเพียงแต่พูดนั้นพูดได้ ว่านิพพานเป็นสุขออย่างยิ่ง แล้วยึดพระนิพพานว่าเป็นเรา เป็นของเราเรามีสุขอย่างนิพพาน บรรลุนิพพานอย่างนี้มันพูดได้ แต่ตามความจริงนั้นมีไม่ได้ เพราะว่าผู้ที่มีความยึดถืออย่างนั้นอยู่จะบรรลุถึงนิพพานไม่ได้เป็นอันขาดเพราะฉะนั้น ถ้าเขาสำคัญอยู่ว่าเขาได้รับ เขาเป็นผู้มีความสุขที่เกิดแต่นิพพานอย่างนี้ มันเป็นนิพพานจอมปลอมทั้งนั้น นิพพานจริงไม่มีทางที่จะมาอยู่ในฐานะที่ถูกยึดถืออย่างนี้ได้




    มันมีความจริงอยู่แยกออกจากกันได้เด็ดขาดเลยฉะนั้นท่านอย่าไปยึดมั่นในนิพพานว่าเป็นความไม่เกิด แล้วก็วิเศษวิโสอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็อย่าไปยึดมั่นในวัฏฏสงสารว่าเกิดกันใหญ่ เกิดมันสนุกดีมันต้องไม่ยึดมั่นทั้งสองฝ่าย มันจึงจะเป็นความว่าง และเป็นความไม่เกิด การปฏิบัติในเวลาปกติจะต้องเป็นอย่างนี้อยู่เรื่อย ๆ ไป
    สำหรับในขณะที่เรากำลังทำการงานอย่างยิ่ง คืองานกัมมัฏฐาน กล่าวคือปฏิบัติสมาธิภาวนา วิปัสสนาในลักษณะที่เป็นเทคนิคจัด เพื่อให้รู้โทษของความยึดมั่นถือมั่น มันก็เรื่องว่างจากความยึดมั่นถือมั่นอย่างเดียวกันอีก ข้อนี้ต้องทำตามที่ได้เล่าเรียนได้ศึกษามาเป็นอย่างมากไม่ใช่คนธรรมดาที่ไม่รู้หนังสือจะทำได้เพราะฉะนั้นมันจึงมีหลัก มีคำอธิบาย อย่างที่เคยอธิบายมา แล้วมากมายไปอ่านดู หรือนึกถึงที่เคยกล่าวมาล้ว ทั้งหมดนี้รวมกันเรียกว่าข้อปฏิบัติในขณะปกติ


    ทีนี้ก็เป็น การปฏิบัติในโอกาสที่สอง คือ ในขณะที่อารมณ์มากระทบ</B> หมายความว่าเมื่อมีรูป เสียง กลิ่น รู้สึกสัมผัส มากระทบที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ผิวหนัง เหล่านี้จะต้องปฏิบัติในลักษณะที่ให้ผัสสะ-หยุดอยู่ที่ผัสสะ ให้เวทนาหยุดอยู่ที่เวทนาอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งได้บรรยายทั่วไปในทุกหนทุกแห่ง กระทั่งที่ได้บรรยายที่นี่คราวก่อนมาแล้วจนบางคนก็เข้าใจ บางคนก็ไม่เข้าใจที่ว่ามีการกระทบแล้วหยุดอยู่แค่ผัสสะนี้ มันเป็นชั้นดีเลิศ ถ้าชั้นธรรมดา ก็เลยไปถึงเวทนา แล้วหยุดอยู่ที่เวทนาอย่าปรุงเป็นตัณหาอุปาทาน เป็นตัวกู เป็นของกูขื้นมา

    (ภิกขุ พทธทาส อินทปัญโญ)
     
  13. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    คำพูดว่า ว่างหรือความว่างนี้ มันเล็งถึงของ ๒ สิ่ง คือเล็งถึงลักษณะ ๒ ลักษณะ คำว่า ว่างในลักษณะที่หนึ่ง นั้นหมายถึงลักษณะของสิ่งทั้งปวง ขอให้กำหนดจดจำว่าลักษณะของสิ่งทั้งปวงคือความว่าง
    คำว่า สิ่งทั้งปวง นี้จะต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ว่ามันหมายถึงทุกสิ่งจริง ๆ คำว่าทุกสิ่งนี้หมายถึงรูปธรรมและนามธรรม อย่างที่จะใช้โวหารเรียก นับตั้งแต่ฝุ่นอนุภาคเล็กนิดหนึ่งขึ้นไป จนกระระทั่งของมีค่า จนกระทั่งนามธรรม จนกระทั่งนิพพานเป็นที่สุด จากฝุ่นอนุภาคหนึ่งไปจนถึงนิพพานเป็นที่สุดนี้เรียกว่า "สิ่งทั้งปวง"

    ทีนี้สิ่งทั้งปวงทุกสิ่ง ๆแต่ละสิ่ง ๆ นี้ มีลักษณะคือความว่าง ความว่างความหมายที่หนึ่งเป็นอย่างนี้ ต้องเข้าใจให้ดีเหมือนกัน ว่าในฝุ่นเม็ดหนึ่งมันมีความว่างจากตัวตน ทีนี้สูงขึ้นมาเป็นในเงินในท้องที่ในเพชรพลอยอะไรก็ตาม นี้มันมีความว่างจากตัวตนเป็นลักษณะของมันกระทั่งมาเป็นเรื่องจิตเรื่องใจ เรื่องความคิดนึก ความรู้สึกในสิ่งเหล่านั้น แต่ละสิ่ง ก็มีความว่างเป็นลักษณะของมันคือว่างจากตัวตนนั้นเอง กระทั่งถึงการเรียนหรือการปฏิบัติธรรม มีลักษณะเป็นความว่างจากตัวตน กระทั่งถึงสิ่งที่เรียกว่า มรรค ผลนิพพานเป็นที่สุด ก็มีลักษณะที่เป็นความว่างจากตัวตนอยู่ทีนั่นด้วยกันทั้งนั้น แต่ แล้วเราไม่เห็นเอง แม้แต่นกกระจอกที่กำลังบินไปบินมาอยู่นี้ก็มีลักษณะแห่งความว่างโดยสมบูรณ์อยู่ที่นกกระจอกนั้น แต่เราก็ไม่เห็นเอง


    ขอให้คิดดู ให้พิจารณาดู ให้สังเกตดู ให้คำนวณดูจนกระทั่งเห็นว่า ที่สิ่งทุกสิ่งมีความว่าง คือมีลักษณะแห่งความว่างแสดงอยู่ทั้งนั้น แต่ว่าเรามองไม่เห็นเอง แล้วจะโทษใคร? เหมือนอย่างปริศนาของพวกนิกายเช็น ที่เขาเรียกว่าโกอานนี้ อย่างมีพูดว่า ต้นสนแก่คร่ำคร่าต้นหนึ่งกำลังแสดงธรรมอยู่ แม้อย่างนี้ก็หมายถึงข้อที่ว่า แม้แต่ต้นสน ที่นั่นมันก็ แสดงความว่างได้เหมือกัน คือมันมีความว่างเหมือนกับสิ่งทุกสิ่งแต่คนก็ไม่มองเห็นหรือว่าไม่ได้ยินในข้อที่มันแสดงธรรมคือ แสดงลักษณะของความว่างอยู่ทุกเมื่อ
    ขอไห้เราจับให้ได้ว่า ความว่างนั้นมีอยู่ที่สิ่งทุกสิ่ง เพราะว่าเป็นลักษณะของสิ่งทุกสิ่ง สิ่งทุกสิ่งมีลักษณะคือความว่างนี่แหละคำว่าว่างในลักษณะทีแรก คือลักษณะของความว่างที่มีอยู่ที่สิ่งทุกสิ่ง จึงเรียกว่าว่าง นี่แหละเล็งถึงลักษณะของสิ่งทุกสิ่ง


    ลักษณะว่างอย่างที่สอง ว่างนี้เล็งไปยังลักษณะที่จิตกำลังไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ลักษณะของจิตทีไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งปวงนั่นแหละเรียกว่า "ความว่าง" เหมือนกัน
    ข้อที่หนึ่งนั้นชี้ว่าสิ่งทั้งปวงมีลักษณะว่าง ว่างคือลักษณะของสิ่งทั้งปวง ข้อที่สองชี้ไปยังจิตที่ไม่ยืดมั่นถือมั่นต่อสิ่งทั้งปวง
    ข้อนี้ขอให้เข้าใจว่า ตามธรรมดาแม้ แต่ตัวจิตเองมันก็ว่างว่างจากตัวตน แต่จิตนั้นไม่อาจจะรู้สึกว่าตัวมันเองว่าง เพราะมันมีอะไรมาหุ้มห่อรบกวนอยู่เรื่อย ได้แก่ความคิดปรุงแต่งที่เกิดขึ้น เพราะการเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทางผิวหนัง เป็นต้น นั่นเอง จิตจึงไม่รู้สึกต่อความว่างในตัวมันเอง หรือต่อความว่างในสิ่งทั้งปวง แต่เมื่อใดจิตปลดเปลื้องสิ่งที่หุ้มห่อออกไปเสียได้หมด กล่าวคือปลดเปลื้องความยึดมั่นถือมั่นด้วยความหลงด้วยความไม่รู้นั่น แหละออกไปเสียหมด เมื่อนั้นจิตก็มีลักษณะว่าง เพราะไม่ยึดมั่นสิ่งทั้งปวง
    ความว่างในลักษณะที่สองนี้จึงหมายถึงว่างที่เป็นลักษณะของจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งปวง ผิดกันกับอย่างที่หนึ่ง ซึ่งหมายถึงว่างที่เป็นลักษณะของสิ่งทั้งปวง


    ว่างทั้งสองอย่างนี้มันเนื่องกัน ถ้าสิ่งทั้งปวงมันมีลักษณะโดยแท้จริง คือว่างจากตัวตนที่ควรยึดมั่นถือมั่นเพราะว่ามันว่างอย่างนี้ เราจึงเห็นความจริงว่ามันว่างได้ ถ้าตามความจริงมันเป็นสิ่งที่ไม่ว่างจากตัวตนแล้ว เราไม่อาจเห็นว่ามันว่างได้เลย
    แต่ทีนี้ตรงกันข้ามทั้ง ๆ ที่สิ่งทั้งปวงเป็นของว่าง เราก็เห็นเป็นไม่วางไปเสียหมด เพราะว่าจิตชนิดที่ถูกกิเลสถูกอวิชชาห่อห้มนั้นไปยืดมั่นถือมั่นเป็นตัวตนไปหมดไม่ว่าในอะไร แม้แต่ในฝุ่นสักเม็ดหนึ่ง อนุภาคน้อย ๆ อันหนึ่งนี้ก็ยังยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนของฝุ่นนั่นเอง รู้สึกเป็นบุรุษที่สองจากเราขึ้นมาทีเดียว เราเป็นบุรุษที่หนึ่งคือตัวเรา บุรุษที่สองคือสิ่งต่าง ๆนอกจากตัวเรา นั่นเป็นนั่นนี่เป็นนี่ ล้วนแต่เป็นตัวเป็นตนของมันเองทั้งนั้น
    เพราะฉะนั้นเราจะต้องรู้จักคำว่า "ว่าง" นี้ ว่ามันหมายถึงอะไรให้ถูกต้องที่สุด ซึ่งสรุปแล้วก็ให้รู้จักว่าว่างนี้คือลักษณะของสิ่งทั้งปวงอย่างหนึ่ง แล้วว่างนี้คือลักษณะของจิตที่ไม่ยืดมั่นถือมั่นอะไร ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งปวงนี้อีกอย่างหนึ่ง
    ว่างทีแรกเป็นวัตถุแห่งความรู้หรือการเข้าถึง ว่างที่สองคือจิตว่างนี้ เป็นลักษณะของจิตที่ว่างเพราะเข้าถึงความจริงคือความ ว่างนั้น

    ดังนั้นจิตจึงมองเห็นความว่าง ในสิ่งทั้งปวง รวมทั้งตัวมันเอง มันจึงสลายไปเองเหลืออยู่แต่ความว่าง คือมันได้กลายเป็นความว่างเสียเองและจะเห็นทุก ๆ สิ่งเป็นความว่างหมดนับตั้งแต่ฝุ่นเม็ดหนึ่งไปจนถึงนิพพานดังที่กล่าว แล้วจะเป็นสิ่งของหรือเป็นคน หรือเป็นสัตว์ เป็นสถานที่เป็นเวลา เป็นอะไต่าง ๆ เป็นธรรมะไม่ว่าในลักษณะไหนหมด ล้วนแต่หลอมตัวเป็นสิ่งเดียวกันคือเป็นความว่าง เพราะความที่มารู้ความจริงข้อนี้ นี่คือความหมายของคำว่า ว่าง"
    เพราะฉะนั้นเท่าที่กล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายย่อมจะพอสังเกตหรือว่าจับได้ด้วยตนเองแล้วว่า คำว่าว่าง นี้มันเท่ากับความดับไม่เหลือแห่งตัวกู-ของกู คำว่า "ว่าง ๆ" นี้มันเท่ากับความดับไม่เหลือแห่งความรู้สึกว่าตัวเรา หรือของเรา ว่างเท่ากับความดับไม่เหลือแห่งตัวตน
    (ภิกขุ พทธทาส อินทปัญโญ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2009
  14. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ภาพกิจกรรมทอดกฐิน ณ วัดไตรมัคคาราม บ้านน้ำลัด ต. ธารทอง อ. พาน จ. เชียงราย
    ระหว่างวันที่ 23 - 24 ตุลาคม 25552


    5) กิจกรรมถวายองค์กฐิน ภายในโบถส์วัดไตรมัคคาราม
    ขออนุโมทนาทุกๆ ท่านที่ได้ร่วมบุญกุศลในครั้งนี้ครับ

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • k34.jpg
      k34.jpg
      ขนาดไฟล์:
      987.5 KB
      เปิดดู:
      57
    • k35.jpg
      k35.jpg
      ขนาดไฟล์:
      826.7 KB
      เปิดดู:
      46
    • k37.jpg
      k37.jpg
      ขนาดไฟล์:
      676.4 KB
      เปิดดู:
      43
  15. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    รอพี่จัดกิจกรรมต่อไปอยู่นะคะ สู้ๆเน้อพี่ภราดรภาพ หนทางยังอีกยาวไกล พยายามเข้า ;aa21แวะมาให้กำลังใจแหะๆ
     
  16. หนุ่ม01

    หนุ่ม01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +39
    อีกหนึ่งเสียงครับที่รอคอยอยู่
     
  17. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ท่านทั้งหลายอย่ายึดติดในอารมณ์ทั้งปวงเลย
    ทั้งร้อนทั้งเย็น มันเป็นทุกข์ทั้งนั้น
    อารมณ์เปลี่ยนดั่งทะเลเพลิง
    ถ้าจิตเหนืออารมณ์ก็พ้นจากทะเลเพลิงได้
    ถึงความหลุดพ้นในที่สุด
    ให้เฝ้าดูอาการของจิต
    จนรู้จิตเด่นชัดการบรรลุธรรมจะปรากฎ
    รู้จิตเห็นธรรม
    หลวงปู่เณรคำ
     
  18. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    รู้จักการเฝ้าระวัง คือ อุเบกขา อย่าให้ปล่อยวางไปเลย แต่ถ้าปล่อยวางไปเลยคือคนโง่ แต่คนเฝ้าระวังคือคนที่ใช้อุเบกขาได้ถูกต้อง อุเบกขาคือความนิ่งแต่ไม่ใช่การปล่อยวางไปเลย การปล่อยวางไปเลยคือคนโง่ แต่เราเฝ้าดูว่าดีพอหรือยัง มีผลเพียงพอหรือยัง อุเบกขานั้นไม่ใช่การวางเฉยไปเลย แต่เป็นการเฝ้าดูโดยความสงบนิ่งของจิต ไม่มีอารมณ์อื่นแทรกแซง ท่านทั้งหลายจงมีอุเบกขาแบบอุเบกขาผู้มีปัญญา อุเบกขาแบบผู้มีปัญญาคือการเฝ้าดูอยู่ไม่ให้ตนเองพลาดพลั้ง ไม่มีสิ่งไม่ดี ไม่มีสิ่งที่เป็นอกุศลนั้น

    หลวงปู่เณรคำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  19. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด..

    เมื่อบารมีเกิดแล้วจึงทำให้ท่านมีความแข็งแกร่งในทุกๆด้าน โดยเฉพาะทางธรรมที่ท่านได้ปล่อยวางไม่ยึดติดกับสุข ทุกข์ หรืออารมณ์ที่เข้ามากระทบ ไม่ว่าผู้อื่นจะอิจฉาริษยาเพียงใด แต่ท่านก็วางเฉย

    การปฏิบัติธรรมคือการต่อสู้กับจิตตนเอง การที่พวกเราจะเป็นผู้ปฏิบัติให้ได้จริงๆ เป็นผู้ปฏิบัติที่รู้ธรรมจริงๆ เราต้องพยายามสู้ สู้กับอะไรล่ะ? สู้กับจิตใจของเราเอง หากเราสู้ไม่ได้ก็แพ้มัน เธอก็เป็นคนไร้ค่า เธอมีคนชื่นชมเพียงคนเดียว แต่โลกมนุษย์ไม่มีคนชื่นชมเธอเพราะเข้าข้างเธอว่าถูกเพียงคนเดียวเท่านั้น

    การปฏิบัติธรรมนั้น หากเราปฏิบัติดุจน้ำหยดวันละหยดๆ ให้เกิดความชำนาญ และเกิดความเคยชิน ให้เกิดติดเป็นเนืองนิตย์ ผู้ใดปฏิบัติจนเกิดติดเป็นเนืองนิตย์แล้ว เอาชนะใจตนเองได้แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมเป็นสิ่งมีค่าสำหรับชีวิตเรามากที่สุด

    ครูบาเจ้าบุญคุ้ม ปสันโน
     
  20. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    การปฏิบัติธรรมนั้น สติจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากมีปัญญาแล้วสติไม่มี ธรรมะก็ย่อมไม่มี การปฏิบัติธรรมจึงขาดไม่ได้ ซึ่งสมาธิ และปัญญา พร้อมๆกับการเกิดสติด้วย หากไม่มี 3 อย่างนี้แล้วไซร้ ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติธรรม

    สำคัญอยู่ที่การเตรียมใจให้พร้อมสำหรับการเข้าปฏิบัติธรรมโดยการละวางสิ่งต่างๆ ให้มันอยู่กับธรรมชาติของมัน เสมือนเป็นการเริ่มต้นเพื่อขัดเกลากิเลสก่อนจะไปปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง

    "ทุกวันนี้เราแห่ไปปฏิบัติธรรม ไปปฏิบัติเพื่ออะไร? ไปปฏิบัติเพื่อวัด เพื่อแข่งขันกันเท่านั้น?"

    "ไม่ใช่ปฏิบัติกันจริงๆ หากเราไปปฏิบัติจริงเราจะไม่สังเกตคนใกล้ๆเรา ใครจะทำอย่างไรก็เรื่องของเขา ใครจะพูดใครจะว่า ใครจะนินทาก็เรื่องของเขา เราไม่ปฏิบัติเพื่อทุกข์ เราไม่ใช่ไปเพื่อทุกข์ของคนอื่น หากเราอยากจะปฏิบัติธรรมสำเร็จ อย่าให้มีความวุ่นวาย อย่าให้ฟุ้งซ่าน สละทรัพย์สิน สละเพื่อนฝูง สละลูกหลาน สละทุกสิ่งทุกอย่าง"

    "เมื่อต้องไปปฏิบัติที่วัด ห้องน้ำวัดไม่สะอาด วัดไม่ดี สถานที่ขลุกขลัก เราต้องเตรียมใจ เราไปเจอสถานะหรือ สถานภาพของวัดต่างๆ นักปฏิบัติเขาไม่คำนึงถึงจุดนี้ เตรียมกาย กายเราต้องพร้อม เหนื่อยไหม เป็นโรคอะไรหรือไม่"

    "เรารักษา 3 ประการ เป็นบันไดเข้าพระนิพพานได้ ถามว่านิพพานมันเป็นอย่างไร นิพพานถ้าเรามีความสุขมากๆมันนิพพาน แต่ไม่ใช่ความสุขทางโลกต้องเป็นความสุขทางธรรม"

    ความสุขทางธรรมมันเป็นอย่างไร?

    "ความสุขทางธรรมมีความรู้สึกว่าเราเมื่อได้ยินอะไร ได้ยินสิ่งที่มันเป็นสุขใจในจิตเราลึกๆแล้ว เราเกิดความปลื้มปีติ ยิ้มสบายใจ มันเย็นใจมันเย็นจิต นั่นแหละ!"

    หากผู้ปฏิบัติธรรมถึงแก่นแท้ของธรรมะ ความอัศจรรย์จะเกิดขึ้นโดยพลัน นั่นคือ ความเข้าใจอันลึกซึ้งต่อพระธรรมคำสอน และจะเข้าใจสัจธรรมในสภาวะที่แท้จริงของตน อันนำมาสู่การขัดเกลาจิตใจให้ผ่องใส

    "เราจะไม่สามารถบอกให้เขารู้เหมือนที่เรารู้ ที่ตัวเราเป็นผู้ปฏิบัติได้อย่างที่เราเข้าใจ แล้วความมหัศจรรย์มันจะเกิดขึ้น ปาฏิหาริย์มันจะเกิดขึ้น เขาเรียกว่าความละเอียดของจิต มันจะเป็นปัญญา มันจะให้ปัญญาเราเกิดสูงที่สุด สามารถจะทำอะไรก็สำเร็จได้ ถ้าเราเข้าใจในหลักปฏิบัติแล้ว อาตมาคิดว่าคงมีเทพไท้เทวา เทวบุตรเทวดาเสด็จลงมาปกปักรักษาอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์"

    ครูบาเจ้าบุญคุ้ม ปสันโน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...