ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดทองนพคุณทูลฉลอง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา

    วัดทอง
    <O:p</O:p

    วัดทอง เดิมชื่อ "วัดสุวรรณขวัญเมือง" สร้างขึ้นตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้โปรดให้สร้างขึ้น พร้อม ๆ กับพระพุทธรูปปางนาคปรก ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงอยู่ เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้าน

    <O:p</O:p
    ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดให้บูรณะ เรียกชื่อใหม่ว่า "วัดทองนพคุณทูลฉลอง" ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดทอง" เมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ ๒ ได้กลายสภาพเป็นวัดร้างไปเช่นเดียวกับวัดต่าง ๆ ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ราว พ.ศ. ๒๓๒๐ สมัยกรุงธนบุรี และได้วิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๐
    <O:p</O:p
    วัดทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำลพบุรี ทิศเหนือและใต้ติดต่อกับที่ดินของชาวบ้าน ทิศตะวันออกติดแม่น้ำลพบุรี ทิศตะวันตกติดกับถนนสายเอเชีย (ทางหลวงหมายเลข ๓๒) จึงนับว่าเป็นวัดที่มีการคมนาคมสะดวก ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
    <O:p</O:p
    วัดทองมีพื้นที่ ๒๒ ไร่ ๓ งาน ๙๐ ตารางวา มีชาวพุทธ หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓ ของตำบลขวัญเมืองดูแลอุปถัมภ์ และบำเพ็ญกุศลประกอบศาสนกิจ ตามประเพณี
    <O:p</O:p
    จากความร่วมมือร่วมใจของเจ้าอาวาส พระภิกษุสามเณร และชาวพุทธวัดทอง ทำให้วัดทองมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ครบถ้วน มั่นคง แข็งแรง สวยงาม เช่นพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิ วิหาร และฌาปนสถาน
    <O:p</O:p
    เจ้าอาวาสที่พอจะสืบทราบนามได้ มีดังนี้<O:p</O:p
    ๑. พระอธิการกัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๖๘<O:p</O:p
    ๒. พระอธิการหรุ่น พ.ศ. ๒๔๖๙ - ๒๔๗๓<O:p</O:p
    ๓. พระอธิการผาย ประดิษฐ์ขวัญ พ.ศ. ๒๔๗๔ - ๒๔๗๗<O:p</O:p
    ๔. พระอธิการนาค พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๘๕<O:p</O:p
    ๕. พระอธิการจินดา พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๘๖<O:p</O:p
    ๖. พระอธิการแปลก พึ่งญาติ พ.ศ. ๒๔๘๗ - ๒๔๙๒<O:p</O:p
    ๗. พระอธิการผิน โชติปาโล พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๕๑๐<O:p</O:p
    ๘. พระอธิการสะอาด เกิดพงษ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ - ๒๕๑๓<O:p</O:p
    ๙. พระอธิการทวี พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๖<O:p</O:p
    ๑๐. พระครูวินัยธรผดุงศักดิ์ ฐิตปญฺโญ พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๔๓<O:p</O:p
    ๑๑. พระอธิการเชิด ภาคสุข พ.ศ. ๒๕๔๓ - ๒๕๔๓<O:p</O:p
    ๑๓. พระปลัดจรูญ ชาตปญฺโญ พ.ศ. ๒๕๔๔ - ปัจจุบัน
    <O:p</O:p
    วัดทองเป็นสถานที่ทำนุบำรุงจิตใจ ของชาวพุทธ ได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจและเรียนรู้วิชาการต่าง ๆ ในอดีตได้เคยมีโรงเรียนประถมศึกษาตั้งอยู่ในบริเวณวัด มีเนื้อที่ ๗ ไร่ โดยเริ่มเปิดสอนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ แต่ปัจจุบันนี้ได้ยุบเลิกไปแล้ว นอกจากนี้ยังได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔
    <O:p</O:p
    มีประเพณีที่ชาวพุทธวัดทองได้กระทำต่อ ๆ กันมาคือ "การทำบุญประจำปี"โดยจะจัดขึ้นในวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี โดยเชื่อกันว่าเป็นวันประสูติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    <O:p</O:p
    นอกจากจะเป็นแหล่งรวมใจของพุทธศาสนิกชน และแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการแล้ว วัดทองยังได้พยายามทำวัดให้ร่มรื่นด้วยการรักษาต้นไม้เก่าแก่ไว้ เช่น ต้นโพธิ์ ๕ ต้น และยังได้พยายามปลูกเพิ่มเติมอีกด้วย
    <O:p</O:p
    ปูชนียวัตถุ สำคัญของวัดทอง ได้แก่<O:p</O:p
    ๑. พระเจดีย์ เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ มีรูปทรงสวยงาม<O:p</O:p
    ๒. พระพุทธรูปปางนาคปรก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่องค์หนึ่ง หน้าตักกว้าง ๒๐ นิ้ว มีพุทธลักษณะที่งดงาม เล่ากันว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้สร้างขึ้น เมื่อคราวเสด็จกลับการประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง มาแวะพักทัพที่บริเวณวัดแห่งนี้ ต่อมาได้โปรดให้สร้างวัดและพระพุทธรูปขึ้น<O:p</O:p
    ๓. รูปหล่อพระพุทธชินราชจำลอง พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่เป็นที่ยอมรับกันว่า มีพระพุทธลักษณะที่สวยงาม ผู้ที่ได้เคารพกราบไหว้ย่อมรู้สึกอิ่มเอิบใจ สงบใจ และมีความสุข<O:p</O:p
    ๔. หลวงพ่อดำ พระพุทธรูปเก่าแก่คู่มากับวัด เชื่อกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงสร้างไว้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๙ เป็นที่เคารพนับถือและเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของชาวตำบลขวัญเมืองกันมาก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อยู่ในพระวิหาร ของแก้บนที่มีผู้นิยมกันมากที่สุดคือ พวงมาลัย<O:p</O:p
    ๕. รูปหล่อพระมหากษัตริย์ไทย ได้แก่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทุกพระองค์เคยเสด็จมาที่วัดทองแห่งนี้<O:p</O:p
    วัดทอง ได้รับความศรัทธา และดูแลจากญาติโยมมาโดยตลอด และความร่วมมือร่วมใจเช่นนี้ ช่วยให้วัดทองมีความเจริญมั่งคงเป็นแหล่งส่งเสริมพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าคู่กับพระศาสนา ตลอดไป <O:p</O:p

    วัดทอง ทองเทียบแท้ คือธรรม <O:p</O:p
    ทองตกตมดินดำ ไป่เปื้อน<O:p</O:p
    ธรรมในโลกีย์กรรม ฤาหม่น หมองเฮย<O:p</O:p
    ปวงปราชญ์ท่านเอ่ยเอื้อน เปรียบไว้วิจารณ์<O:p</O:p
    มีธรรมปานเปรียบได้ ดังทอง<O:p</O:p
    กิเลศรุมฤาหมอง หม่นเศร้า<O:p</O:p
    พุทธบริษัทพึงครอง สติอยู่ เสมอนา<O:p</O:p
    ระลึกถึงพระพุทธเจ้า จักพ้นภัยพาล.


    [​IMG]


    วัดทอง
    เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ มีรูปพญานาค 7 เศียร แผ่พังพานอยู่เบื้องพระปฤษฎางภ์เป็นพุทธบัลลังก์ จากตำบลนานเล่าว่า สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสร้างขึ้นครั้งเมื่อได้สถาปนาเขตค่ายโพธิ์สามต้นขึ้นเป็น “นครใน” เมื่อพ.ศ.2139

    ตำบลตำบลขวัญเมือง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    <O:p></O:p>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 140712A81.jpg
      140712A81.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.1 KB
      เปิดดู:
      807
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2010
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดลาดสิงห์ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี

    วัดลาดสิงห์


    ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านสระ ริมถนนเลียบคลองชลประทาน ที่แยกจากทางหลวงหมายเลข ๓๐๓๘ ประมาณ ๗ กิโลเมตร ระหว่างอำเภอดอนเจดีย์และอำเภอศรีประจันต์ เป็นวัดเก่าแก่เดิมชื่อ “วัดราชสิงห์”

    มีคำเล่าสืบทอดกันมาว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างวัดนี้ขึ้นมาภายหลังจากที่ประสบชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีและทรงทราบข่าวว่า พระสุพรรณกัลยาที่เป็นตัวประกันอยู่ที่เมืองพม่าถูกประหารชีวิต เป็นการล้างแค้นที่มหาอุปราชสิ้นพระชนม์ด้วยพระแสงของ้าว พระองค์จึงทรงสร้างวัดเพื่ออุทิศพระกุศลให้แด่พระสุพรรณกัลยา

    ปัจจุบันวัดยังมีร่องรอยประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงคือ “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปศิลาแลง ปางสะดุ้งมาร (มารวิชัย) เกตุบัวตูมอายุประมาณ ๕๐๐ ปี

    ภายในบริเวณเป็นที่ประดิษฐานของอนุสาวรีย์ ๓ พระองค์ อันได้แก่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระสุพรรณกัลยา ให้ประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้บูชาในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดบางพลีใหญ่ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=515 border=0><TBODY><TR><TD>วัดบางพลีใหญ่ใน ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

    </TD></TR><TR><TD class=text></TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD>ข้อมูล

    </TD></TR><TR><TD>วัดบางพลีใหญ่ใน ตั้งอยู่ริมคลองสำโรง ตำบลบางพลีใหญ่ ห่างจากบึงตะโก้ประมาณ 500 เมตร เดิมชื่อวัดพลับพลาไชยชนะสงคราม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่สมัยสุโขทัยปางมารวิชัยลืมเนตร หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ เนื้อเป็นทองสัมฤทธิ์เป็นพระประธานในโบสถ์ เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนโดยทั่วไปนาม หลวงพ่อโต วัดนี้จึงมีอีกชื่อว่า วัดหลวงพ่อโต ชาวบางพลีได้อัญเชิญหลวงพ่อโตจำลองลงเรือในพิธีโยนบัวหรือรับบัวทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11
    ติดกับวัดยังมีตลาดริมน้ำโบราณที่มีอายุยาวนานกว่า 140 ปี ที่ยังคงสภาพเดิมให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมและเลือกซื้อซึ่งมีทั้งอาหารและของใช้ต่างๆ เปิดบริการตั้งแต่เวลา 08.00–17.00น



    ประวัติวัดบางพลีใหญ่ใน

    วัดบางพลีใหญ่ในเดิมชื่อ วัดพลับพลาไชยชนะสงครามชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเรียกวัดนี้ว่า วัดใหญ่หรือ วัดหลวงพ่อโตทางประวัติศาสตร์จากโบราณคดีจารึกสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณกาลว่า วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงกอบกู้อิสรภาพ สู่ความเป็นไทยอีกครั้งหนึ่ง จนอาณาเขตของประเทศ (สยาม) ขยายออกไปอีกอย่าางกว้างขวาง

    ส่วนชื่อของตำบลนั้นได้ชื่อว่า "บางพลี" ก็เพราะเหตุที่สมเด็จพระนเรศวร ได้ทรงกระทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงนั้นเอง ดังนั้นประชาชนทั้งหลายจึงเรียกว่าบางพลีและวัดพลับพลาไชยชนะสงคราม เป็นวัดที่อยู่ด้านใน มีอาณาเขตใหญ่โตซึ่งต่อมาได้มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นมิ่งขวัญของวัดจึงเรียกว่า "วัดบางพลีใหญ่ใน" หรือ "วัดหลวงพ่อโต" มาจนถึงตราบทุกวันนี้


    ประวัติหลวงพ่อโต


    ตามตำนานประวัติของหลวงพ่อโต ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า มีพระพุทธรูป 3 องค์ซึ่งชาวกรุงศรีอยุธยาได้อาราธนาลงสู่แม่น้ำเพื่อหลบลี้หนีภัยสงคราม พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ได้ล่องลอยมาตามลำน้ำและได้แสดงอภินิหารระหว่างทางจนเป็นที่โจษขานกันทั่วไป ประชาชนในท้องที่ตำบลต่าง ๆ ได้พยายามอาราธนาท่านขึ้นสู่ฝั่ง แต่ก็ไม่สำเร็จ จนในที่สุด พระพุทธรูปองค์หนึ่งได้ไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่ วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ส่วนองค์ที่สองไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา และอีกองค์หนึ่งได้ล่องลอยเรื่อยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา และปาฏิหาริย์ลอยวกเข้ามาในลำคลองสำโรง ประชาชนจึงพร้อมกันอาราธนาท่านขึ้นที่ปากคลองสำโรง แต่ท่านก็ไม่ยอมขึ้น จึงได้ทำพิธีเสี่ยงทาย ต่อแพผูกชะลอกับองค์ท่าน แล้วใช้เรือพายฉุดท่านให้ลอยตามลำน้ำสำโรงและอธิษฐานว่า “หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใดก็ขอจงได้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้นเถิด” จนแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม หรือวัดบางพลีใหญ่ใน ท่านจึงหยุดนิ่ง ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาตั้งจิตอธิษฐานนำท่านขึ้นจากน้ำได้ในที่สุด และต่อมาได้สร้างพระอุโบสถสำหรับเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตมาจนถึงปัจจุบัน


    </TD></TR><TR><TD>การเดินทาง

    </TD></TR><TR><TD>จากแยกบางนาเข้าทางถนน บางนา-ตราด ประมาณกิโลเมตรที่ 12.5 ข้ามสะพานคลองชวดลากข้าวเลี้ยวกลับรถเข้าถนน กิ่งแก้ว-บางพลีใหญ่ใน ประมาณ 3.5 กิโลเมตร จะพบสี่แยกเลี้ยวซ้ายไปประมาณ 1 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุขาภิบาล 6 ทางเข้าเทศบาลตำบลบางพลีประมาณ 200 เมตร ก็จะถึงวัดบางพลีใหญ่ใน
    อีกทางหนึ่งเข้าทางถนนเทพารักษ์ กิโลเมตรที่ 13 ก็ถึงวัด ส่วนทางเรือสามารถมาได้ตามคลองสำโรง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ป.ล. ทางสายธาตุตามรอยพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจากประวัติของวัดต่างๆ ก็ได้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ไปอีกแบบหนึ่งนะคะ
    http://www.paknam.com/thai/wat-bang-phli-yai-nai.html
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดพลับพลาชัย เมืองเพชร : พลับพลาที่ประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ก่อนจะมาเป็นวัดพลับพลาชัย

    . . . . พ.ศ. ๒๑๓๗ เป็นพลับพลาที่ประทับชั่วคราว และค่ายพักกองทัพ ครั้งที่สมเด็จพระนเรศวร ทรงโปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช พระเอกาทศรถ เป็นแม่ทัพยกไปปราบกบฏเมืองตะนาวศรี (พระยาศรีไสยณรงค์)

    . . . . พ.ศ. ๒๑๔๓;๒๑๔๗ สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในหัวเมือง มีสุพรรณบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี ส่วนการบริหารราชการแผ่นดินนั้น ทรงโปรดมอบหมายสิทธิขาดแก่สมเด็จพระอนุชาธิราช พระเอกาทศรถ

    นักประวัติศาสตร์การทหารเชื่อว่า พระองค์ทรงใช้เมืองเหล่านี้เป็นที่สะสมเสบียงอาหารและฝึกทหารใหม่ เพื่อเสริมกำลังที่สูญเสียไปในศึกตีหงสาวดีและตองอู พ.ศ. ๒๑๔๒ ซึ่งเป็นสงครามครั้งเดียวของพระองค์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ

    การเสด็จมาประทับ ณ เมืองเพชรบุรีในครั้งนั้น ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม) หน้า ๓๐๓;๓๐๔ ดังนี้

    ...เถิงเดือน ๙ เบญจศก จุลศักราช ๙๖๕ (พ.ศ. ๒๑๔๖) พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็เสด็จจากเมืองเพชรบุรี โดยชลมารคไปประพาสเถิงตำบลสามร้อยยอด และตั้งพระตำหนักแถบฝั่งมหาสมุทร ฯลฯ พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จออกไปประพาสภิรมย์ชมฝูงมัศยากร อันมีนานาพรรณในกลางสมุทร ก็ทรงเบ็ดทองได้ฉลามขึ้นมายังพระตำหนัก สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เสด็จออกไปประพาสในกลางมหาสมุทรดังนั้นได้ ๑๔ วันวาน แล้วมีพระราชโองการตรัสสั่งให้ไปแต่งพระตำหนักในริมฝั่งพระมหาสมุทรตำบลโตนดหลวงและเสด็จออกไปประพาสในกลางมหาสมุทรในตำบลโตนดหลวงนั้นเล่าอยู่ ๑๒ วัน จึงเสด็จจากตำบลโตนดหลวง เสด็จโดยสถลมารคเข้ามายังเมืองเพชรบุรี

    . . . พ.ศ. ๒๒๓๒-๒๓๑๐ สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง กุลสตรีเชื้อสายพราหมณ์บ้านสมอพลือ ได้มีบุญวาสนาถึงตำแหน่งพระอัครมเหสีก็มี เจ้าจอมหม่อมห้ามก็มี จึงเกี่ยวโยงไปถึงการที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์นับแต่องค์พระมหากษัตริย์ แทบทุกรัชกาลโปรดเสด็จประพาสเมืองเพชรบุรีแทบทั้งสิ้น เช่น สมเด็จพระเจ้าเสือ, พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ, พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ล้วนแต่มีหลักฐานปรากฏว่าเคยเสด็จมาเมืองเพชรด้วยทุกพระองค์ ฉะนั้น พลับพลารับเสด็จคงจะได้ปลูกสร้างไว้อย่างคงทนถาวรมาแต่รัชกาลก่อนๆแล้ว

    นับด้วย ๑๐๐ ปี ก่อนจะมีวัดพลับพลาชัยขึ้นโดยถือเอามงคลนามจากพลับพลาชัยแห่งนี้เป็นนามวัด หรืออีกประการหนึ่งเดิมอาจมีวัดชื่อ วัดพลับ (ชื่อต้นไม้) อยู่ก่อนแล้วทางด้านข้ามฟากถนนดำเนินเกษมฝั่งตะวันตก แล้วต่อมาภายหลังราวปลายสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕-๒๓๐๑) จึงได้ขยายวัดมาครอบคลุมเอาเขตพลับพลาและค่ายฝึกทหารหลวง โดยจะได้รับพระราชทานวิสุงคาราม ในรัชกาลนั้นก็อาจเป็นได้

     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.739395/[/MUSIC]​

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดท่าพระเจริญพรต อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์

    สถานะและที่ตั้งวัด
    วัดท่าพระเจริญพรต ตั้งอยู่เลขที่ ๒๘ บ้านมะเกลือ หมู่ที่ ๕ ตำบลบ้านมะเกลือ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ที่พิกัด กริด ๔๗ PTT ๑๖๒๔๖๒ (แผนที่ทหารระวางที่ ๕๐๔๐ แผ่นที่ ๔ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ พิมพ์ครั้งที่ ๑ RT SD มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐) ริมแม่น้ำปิงตะวันออก


    ภายในวัดมีปูชนียสถานประกอบด้วย

    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=style8 align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width=100 border=3><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    อุโบสถมีบานประตูแกะสลักสวยงาม

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=style8 align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width=100 border=3><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    มณฑปโบราณ ๓ หลัง จตุรมุขเป็นศิลปะร่วมสมัย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=style8 align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width=100 border=3><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    เจดีย์อนุสรณ์ของพระนเรศวรมหาราช

    และมีเสนาสนะประกอบด้วย


    เจดีย์
    • <LI class=style8>ด้านหน้าอุโบสถ เป็นเจดีย์ ย่อมุมก่ออิฐถือปูน <LI class=style8>เจดีย์องค์หนึ่ง มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างไว้ตั้งแต่ยังทรงครองหัวเมืองเหนือที่พิษณุโลกตั้งอยู่ ทางทิศใต้เยื้องๆ ด้านหน้าอุโบสถ <LI class=style8>เจดีย์ราย ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ด้านหน้า และด้านข้างมณฑปมีจำนวน ๑๑ องค์
    • ด้านหลังวัดด้านทิศตะวันออกเป็นสวนป่าสำหรับปฏิบัติธรรมและฌาปนสถาน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เห็นเจดีย์เป็นแบบย่อมุมไม้สิบสอง ถ้าองค์ดั้งเดิมใช้ศิลปะย่อมุมไม้สิบสองด้วย
    แสดงว่าการสร้างเจดีย์ย่อมุมแบบนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกระมัง
    เพราะเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่วัดทุ่งภูเขาทองก็ระบุว่าเป็นเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงชัยชนะเหนือหงสาวดีค่ะ

    ศิลปย่อมุมไม้สิบสองนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจค่ะ
     
  8. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466


    อนุโมทนาครับ น่าศึกษาค้นคว้าและติดตามกันนะครับ



    เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสเดินทางไปกราบท่านพระครูกิตติ เจ้าอาวาสวัดวะภูแก้ว

    และพระอาจารย์มหาธีรนาถ อคคธีโร เจ้าอาวาสวัดป่าภูผาสูง ที่อ.สูงเนิน

    นครราชสีมา ทั้งสองวัดอยู่ไม่ไกลกัน เจ้าอาวาสทั้งสองท่านล้วนต่างเป็น

    ศิษย์ ของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ครับ ในการเดินทางไปครั้งนี้ได้มีโอกาส

    พบปะและสนทนากับอาจารย์ ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม อาจารย์ได้กรุณามอบ

    หนังสือและเอกสารที่มีคุณค่าให้ด้วย ต้องใช้คำว่ามีคุณค่าเพราะเป็นเอกสาร

    คำกราบทูลต่อองค์ประธานในพิธีมอบทองคำเข้าคลังหลวงครั้งที่ 15 มกราคม

    2553 ที่วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อเร็วๆนี้เอง ทุกท่านคงจะ

    ทราบกันดี ยังไม่ทันลืมกันดอกนะครับ ในเอกสารนี้มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ ยัง

    ไม่พบเห็นว่าได้มีท่านใดนำมาเผยแพร่ จึงถือโอกาสนี้นำมาเสนอเพื่อนสมาชิก

    และท่านผู้อ่านเพื่อจักได้ทราบความเป็นมาที่ถูกต้องกับจะได้มีโอกาสร่วม

    อนุโมทนาในผลานิสงส์ผลบุญถวายเป็นปฏิบัติบูชาคุณองค์หลวงตามหาบัว

    และถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัย

    สมบูรณ์แข็งแรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน สถิตย์เป็นมิ่งขวัญปกเกล้าปกกระหม่อม

    ประชาชนชาวไทยชั่วกาลนาน
     
  9. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    พิธีมอบทองคำเข้าคลังหลวง

    ครั้งที่ 15


    9 มกราคม พ.ศ. 2553

    ณ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
    .............................................

    ขอพระราชทานกราบทูลใต้ฝ่าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า นายทนันชัย ตรังคานุกูลกิจ ผู้แทนโครงการช่วยชาติ พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนและประชาชนทุกหมู่เหล่าที่มาเฝ้าใต้ฝ่าพระบาท ต่างล้วนมีความปลาบปลื้มและสำนึกในพระกรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่ใต้ฝ่าพระบาทได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีมอบทองคำเข้าคลังหลวงครั้งที่ 15 วันนี้จึงนับเป็นวันมหามงคลยิ่งของพวกเราชาวไทยที่ได้ร่วมงานพิธีมอบทองคำอีกครั้งเพื่อนำไปเพิ่มพูนสินทรัพย์เข้าสู่คลังหลวง ให้เป็นสมบัติของพี่น้องและลูกหลานชาวไทยสืบไป

    ทองคำบริสุทธิ์ 99.99 % จำนวน 36 แท่งๆละ 12.5 กิโลกรัม น้ำหนักรวม 450 กิโลกรัม ที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้านี้ จะไปรวมกับทองคำที่หลวงตาได้มอบเข้าคลังหลวงไปแล้ว 14 ครั้ง จำนวน 11 ตัน 637.5 กิโลกรัม รวมทองคำที่โครงการฯมอบเข้าคลังหลวงเพื่อค้ำชาติค้ำแผ่นดินทั้งสิ้น 12 ตัน
    87.5 กิโลกรัมเป็นมูลค่าประมาณกว่า 1 หมื่น 4 พันล้านบาท

    ทองคำที่สง่างามอยู่ในคลังหลวงนี้คือ อนุสรณ์แห่งความเสียสละของชาวไทยทุกคน นับตั้งแต่พระราชามหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ตั้งแต่มหาเศรษฐีจนถึงผู้ยากไร้ เป็นการเจริญรอยตามบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าและเหล่าบรรพชนในอดีตที่ได้สละทรัพย์สินเงินทองเก็บสะสมทุนสำรองไว้ให้ลูกหลาน ทำให้ไทยได้เป็นไทจนถึงทุกวันนี้

    ในคราววิกฤติ ร.ศ. 112 ปีพุทธศักราช 2436 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศมหาอำนาจแถบยุโรปออกล่าอาณานิคม เราได้อาศัย "เงินถุงแดง" ที่เก็บไว้เปรียบเหมือนทุนสำรอง ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 3 ยาวนานถึงรัชกาลที่ 5
    มาช่วยไถ่ถอนบ้านเมือง ทำให้สามารถดับไฟให้ผ่านพ้นไปจากสยามประเทศได้

    เมื่อมหาภัยเศรษกิจก่อตัวขึ้นในปี 2540 คนไทยจำนวนมากตกงาน
    ทุกคนสิ้นหวัง ท้อแท้ มองไม่เห็นจุดสิ้นสุดว่าประเทศชาติจะพ้นจากภาวะวิกฤติ
    เศรษกิจได้อย่างไร เนื่องจากหนี้สินของประเทศจำนวนสูงถึง 4 ล้านล้านบาท
    ซึ่งนับเป็นภัยใหญ่หลวงนัก

    แต่แล้ว แสงทองแห่งความหวังและกำลังใจก็ปรากฏขึ้นเมื่อองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ประกาศเป็นผู้นำ ด้วยความมุ่งมั่นและเสียสละ
    ท่านประกาศก้องว่า "เราแพ้ไม่ได้ ต้องชนะอย่างเดียวเท่านั้น" เป็นการปลุกจิตใจให้ชาวไทยลุกขึ้นสู้ด้วยความหวังเต็มเปี่ยม รวมทั้งประกาศให้ระดมสินทรัพย์เข้าสู่คลังหลวงและให้ร่วมกันรักษาคลังหลวงไว้ เพราะถ้าสิ้นคลังหลวงก็เท่ากับ "สูญสิ้นชาติ"

    เป้าหมายแรกเริ่มของหลวงตาคือ เงินดอลลาร์ ซึ่งสอดคล้องกับวิกฤติการณ์ทางการเงินในช่วงเวลานั้น ที่ตลาดการเงินของไทยยังขาดเงินดอลลาร์
    อยู่มาก และต่อมา หลวงตาได้เปลี่ยนจากดอลลาร์ไปเป็นการบริจาคสินทรัพย์ประเภททองคำ

    อย่างไรก็ตาม ในการระดมสินทรัพย์เข้าสู่คลังหลวงท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ เป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ด้วยกุสโลบายที่ลึกซึ้งแยบคาย
    ขององค์หลวงตา ทำให้ทองคำที่ตั้งเป้าหมายไว้เพียง 1 ตัน ในช่วงเริ่มต้นโครงการฯ งอกงามขึ้นมาเป็นทองคำ 12 ตันเศษในวันนี้ ............
     
  10. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    <TABLE class=tborder id=post2844219 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->จงรักภักดี<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2844219", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Feb 2009
    ข้อความ: 354
    พลังการให้คะแนน: 71 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]




    </TD><TD class=alt1 id=td_post_2844219 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><CENTER><!-- google_ad_section_start -->งานวันระลึกบูชาคุณบูรพาจารย์ "หลวงพ่อพุธ ฐานิโย"ประจำปี<!-- google_ad_section_end -->

    </CENTER>
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-2576485761337625";/* 250x250, created 31/01/09 */google_ad_slot = "7252767143";google_ad_width = 250;google_ad_height = 250;//--> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 250px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 250px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 250px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 250px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><IFRAME id=google_ads_frame1 style="LEFT: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px" name=google_ads_frame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-2576485761337625&output=html&h=250&slotname=7252767143&w=250&lmt=1263457915&flash=0&url=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Ff36%2F%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%98-%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A2-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5-222594.html&dt=1263457915921&correlator=1263457915921&frm=0&ga_vid=1357218891.1263078131&ga_sid=1263456582&ga_hid=1400730397&ga_fc=1&ga_wpids=UA-7034934-1&u_tz=420&u_his=20&u_java=1&u_h=768&u_w=1024&u_ah=738&u_aw=1024&u_cd=32&u_nplug=0&u_nmime=0&biw=916&bih=563&ref=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Ff36%2F%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%2F&fu=0&ifi=1&dtd=47&xpc=Z40rDEXd4B&p=http%3A//palungjit.org" frameBorder=0 width=250 scrolling=no height=250 allowTransparency></IFRAME></INS></INS>
    เนื่องในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นวันครบรอบ 89 ปีเกิด พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) ทางวัดวะภูแก้ว อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ได้กำหนดจัดงานระลึกบูชาคุณบูรพาจารย์ประจำปี เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และระลึกในเมตตาคุณที่เคยปรากฏต่อสาธารณะชนมานานัปการ ด้วยการบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา น้อมเป็นกุศลสักการบูชาถวายแด่องค์บูรพาจารย์
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    ในโอกาสพร้อมกันนี้ขอเชิญร่วมแสดงมุทิตาจิตแด่พระครูกิตติวัฒนคุณ (กิตติ
    ติกขวีโร) เจ้าอาวาส วัดวะภูแก้ว ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2553 ด้วย

    มีกำหนดการ โดยย่อดังนี้

    วันอาทิตย์ที 7 กุมภาพันธ์
    เวลา 13.00 น. รายงานตัวเข้าร่วมปฏิบัติธรรม
    เวลา 18.30 น. ทำวัตรเย็น ปฏิบัติบูชาคุณ

    วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์
    เวลา 04.30 น. ทำวัตรเช้า เจริญสมาธิภาวนา
    เวลา 07.00 น. ตักบาตร ถวายภัตตาหารเช้า
    .........................
    .........................
    เวลา 11.30 น. พิธีถวายผ้าป่า
    เวลา 12.00 น. พิธีเททองหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อพุธ ฐานิโย



    * ท่านที่มีจิตศรัทธาจะร่วมปฏิบัติธรรมในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ กรุณาแจ้งความจำนงล่วงหน้า ที่ 081-0628653 , 081-9991232
    <!-- google_ad_section_end -->

    <!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ขอรองบาทราชวงศ์พงศ์จักรีจนชีวีสูญสิ้นดินกลบกาย<!-- google_ad_section_end -->


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    *ข่าวฝากครับ
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2010
  11. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    พิธีมอบทองคำเข้าคลังหลวง (ต่อ )

    .....และเป็นที่น่ายินดีว่า ผลจากการรับบริจาคทองคำดังกล่าวนับแต่ปี พ.ศ.2541 ที่เริ่มโครงการฯจนถึงปัจจุบันราคาทองคำได้พุ่งสูงขึ้น 3-4 เท่า
    ประเทศชาติได้รับผลานิสงส์จากการช่วยชาติขององค์หลวงตาและผู้มีจิต
    ศรัทธาทั้งหลาย
    หลวงตากล่าวว่า "ทองคำเป็นเพียงสื่อ ตายแล้วก็ไปกับเราไม่ได้ แต่จะเปลี่ยนเป็นบุญกุศลที่ติดไปกับจิตเราไปตลอดกาล " หลวงตาสอนให้พวกเราสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของชาติ
    ผลที่ได้จากการบริจาคทานให้กับคนไทยถึง 65 ล้านคนคือบุญมหากุศลอันใหญ่หลวง ส่งผลให้ย้อนกลับไปเป็นบุญอุ้มชูประเทศชาติให้รอดพ้นภัยได้อีกครั้ง

    หลวงตาได้เทศน์ถึงต้นเหตุแห่งการรับบริจาคทองคำไว้ว่า "ทองคำในคลังหลวงของเราจริงๆมีหยิบมือเดียว นอกนั้นเอาไปมอบไว้สำหรับเป็นกำแพงกั้นชาติไทยของเราในเวลาติดหนี้สิน ที่สหรัฐ 53 ตัน อังกฤษ 5 ตัน
    หัวใจของไทยเราอยู่ที่คลังหลวง อันดับหนึ่งก็คือทองคำให้เป็นเครื่องประดับชาติ ถ้าเรามีทองคำในคลังหลวงแล้ว จะมีค่าแผ่กระจายไปหมด อยู่ในคลังหลวงเท่านั้น อานุภาพของทองคำนี้แผ่กระจายทั่วประเทศไทย งามหมดเลย"

    ด้วยเหตุดังกล่าว ในปัจจุบันแม้หลวงตาจะอยู่ในวัย 96 ปี แต่ก็คงรับบริจาคทองคำต่อไปจนกระทั่งยุติลงในคราวสุดท้ายที่หลวงตาได้ละขันธ์เข้าสู่แดนพระนิพพาน ท่านได้เขียนพินัยกรรมและประกาศออกทางวิทยุให้ทราบทั่วกันว่า
    "พินัยกรรมเราบอกไว้แล้ว เวลาเราตายนี้ให้คณะกรรมการจัด เขามาบริจาคมากน้อยอย่าไปสร้างหรูหรามาประดับหีบศพ เงินจำนวนเหล่านั้น ให้เก็บไปซื้อทองคำเข้าสู่คลังหลวงทั้งหมด.."
     
  12. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    เรายังคงติดค้างกันอยู่ที่พิธีมอบทองคำเข้าคลังหลวงนะครับ ก็ขอคั่นด้วยเรื่อง

    ของคลังหลวง มรดกจากบรรพชน เพื่อจะได้เข้าใจในความเป็นมาของคลัง

    หลวงกันให้ถ่องแท้

    ในคราววิกฤต ร.ศ. ๑๑๒ ปีพุทธศักราช ๒๔๓๖ ไทยได้อาศัย "เงินถุงแดง"

    ที่เก็บไว้ตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ ยาวนานถึงรัชกาลที่ ๕ มาชวยไถ่ถอนบ้านเมือง

    ทำให้สามารถระงับดับไฟจากฝรั่งเศสให้ผ่านพ้นไปได้

    ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๓ ได้ทราบข่าวอังกฤษแผ่อิทธิพลเข้าไปในพม่า เข้ายึด

    เมืองสำคัญไว้พร้อมกับเรียกร้องเงินถึง ๑ ล้านปอนด์ มูลค่าราคาในเวลานั้น

    คงจะมากมายมหาศาล พระองค์จึงสะสมกำไรที่ได้จากการค้าส่วนพระองค์

    เก็บไว้ในรูปเงินเหรียญทองคำแท้เม็กซิกัน ใส่ถุงแดงไว้อย่างดี แยกเป็นถุง

    ถุงละ ๑๐ ชั่ง ตีตราปิดปากถุง เก็บไว้ในหีบกำปั่น ข้างห้องพระบรรทม เรียก

    ว่า "เงินพระคลังข้างที่ " หรือที่รู้จักกันว่า "เงินถุงแดง " มีคนไปกราบบังคมทูล

    ถามว่า ทรงเก็บไว้ทำไม ใช้ก็ไม่ใช้ รับสั่งว่า "ถ้าสิ้นรัชกาลไปแล้วให้เก็บไว้

    บำรุงวัดวาอารามที่ทรงสร้างบ้าง ที่เหลือให้เก็บไว้ "ไถ่บ้านไถ่เมือง" ในเวลา

    มีปัญหาเถิด "
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ที่โปรดเมตตาต่อประเทศชาติและพสกนิกรทั้งแผ่นดิน

    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ถาม ... อยากทราบว่า ทำไม รัชกาลที่ 3 ถึงไม่มีพระโอรสพระธิดาเป็นเจ้าฟ้าเลยสักคนครับ สงสัยเอามากๆครับ ช่วยตอบด้วยนะครับ

    ตอบ ... <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">เพราะพระองค์ท่านไม่มีพระอัครมเหสี มีแต่เพียงพระภรรยาที่มีบรรดาศักดิ์เพียงเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอมเท่านั้นนะครับ ลำดับพระภรรยาที่ปรากฎพระนามก็มีดังนี้

    เจ้าจอมมารดาน้อยเมือง
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงใหญ่ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2368)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคเนจร กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2358 - พ.ศ. 2421) ทรงเป็นต้นราชสกุล คเนจร
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2360 - พ.ศ. 2360)

    เจ้าจอมมารดาเฟือง
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายดำ (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2359)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกเมน กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ พระองค์เจ้าชายโกเมน (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2385 - พ.ศ. 2421) ทรงเป็นต้นราชสกุล โกเมน

    เจ้าจอมมารดาทรัพย์
    -สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์(10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355 - พ.ศ. 2382) ทรงเป็นต้นราชสกุล ศิริวงศ์
    -พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร(8 ธันวาคม พ.ศ. 2361 - พ.ศ. 2439) ในรัชกาลที่ 6 ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร
    เจ้าจอมมารดาจาด
    -พระองค์เจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355 - พ.ศ. 2364)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ (4 มกราคม พ.ศ. 2358 - พ.ศ. 2393) ทรงเป็นต้นราชสกุล งอนรถ

    เจ้าจอมมารดาเอมน้อย
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี (24 มกราคม พ.ศ. 2358 - พ.ศ. 2417) ทรงเป็นต้นราชสกุล ลดาวัลย์

    เจ้าจอมมารดาเขียว สุนทรกุล ณ ชลบุรี
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงา (28 มิถุนายน พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2399)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ (16 ตุลาคม พ.ศ. 2362 - พ.ศ. 2416) -ทรงเป็นต้นราชสกุล อุไรพงศ์

    เจ้าจอมมารดาเอมใหญ่
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม(12 มีนาคม พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2411) ทรงเป็นต้นราชสกุล ชุมสาย

    เจ้าจอมมารดาเหม็น
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปียก (3 พฤษภาคม พ.ศ. 2362 - พ.ศ. 2398) ทรงเป็นต้นราชสกุล ปิยากร

    เจ้าจอมมารดาพึ่ง
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกศนี (26 กันยายน พ.ศ. 2362 - พ.ศ. 2392)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรรณพ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี(26 ตุลาคม พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2409) ทรงเป็นต้นราชสกุล อรณพ

    เจ้าจอมมารดาวัน
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลำยอง (1 มกราคม พ.ศ. 2367 - สมัยรัชกาลที่ 4) ทรงเป็นต้นราชสกุล ลำยอง

    เจ้าจอมมารดาขำ
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุบรรณ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราภิบาล (17 ตุลาคม พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2427) ทรงเป็นต้นราชสกุล สุบรรณ

    เจ้าจอมมารดาคล้าย
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหรา กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ (10 ธันวาคม พ.ศ. 2369 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2446) ทรงเป็นต้นราชสกุล สิงหรา

    เจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์(28 สิงหาคม พ.ศ. 2370 - 2 เมษายน พ.ศ. 2435) ทรงเป็นต้นราชสกุล ชมพูนุท

    เจ้าจอมมารดาหงิม
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระวีวงศ์ (4 มิถุนายน พ.ศ. 2345 - พ.ศ. 2355)

    เจ้าจอมมารดาบาง
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิลาส กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ (5 ธันวาคม พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2388)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษณานุคุณ (20 มกราคม พ.ศ. 2355 - พ.ศ. 2378)

    เจ้าจอมมารดาอิ่ม คชเสนี
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมุท (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2356 - พ.ศ. 2364)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิเวศน์ (พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2441)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณี (14 มิถุนายน พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2418)

    เจ้าจอมมารดาสุดใหญ่
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงเดือน (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2414)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแสงจันทร์ (พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2421)

    เจ้าจอมมารดาแย้ม
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามาลี (21 มิถุนายน พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2400)

    เจ้าจอมมารดาน้อยลาว
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) (11 มิถุนายน พ.ศ. 2358 - พ.ศ. 2364)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุบงกช (พ.ศ. 2360 - พ.ศ. 2424)

    เจ้าจอมมารดายี่สุ่น
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเงินยวง (21 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 - พ.ศ. 2392)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงแก้ว (พ.ศ. 2364 - พ.ศ. 2392)

    เจ้าจอมมารดาจัน
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสงี่ยม (พ.ศ. 2358 - 22 มกราคม พ.ศ. 2432)

    เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์
    -พระองค์เจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) (พ.ศ. 2360 - พ.ศ. 2361)

    เจ้าจอมมารดาบัว
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเลขา (21 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 - พ.ศ. 2392)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเล็ก (พ.ศ. 2364 - พ.ศ. 2367)

    เจ้าจอมมารดาฉิม
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากินรี (26 ตุลาคม พ.ศ. 2362 - 12 เมษายน พ.ศ. 2437)
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉวีวรรณ (พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2429)

    เจ้าจอมมารดาอ่อน
    -พระองค์เจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) (12 มกราคม พ.ศ. 2362 - พ.ศ. 2363)

    เจ้าจอมมารดาเล็ก หรือ น้อยเล็ก ณ นคร
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพพักตร์ (13 มกราคม พ.ศ. 2364 - พ.ศ. 2417)

    เจ้าจอมมารดาจันทร์โฉม
    -พระองค์เจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) (พ.ศ. 2365 - สมัยรัชกาลที่ 2)

    เจ้าจอมมารดาสาดใหญ่
    -พระองค์เจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) (พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2367)

    เจ้าจอมมารดาน้อยพระแสง
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้นรลักษณ์ (พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2405)

    เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ ณ นคร
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ (พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2392)

    เจ้าจอมมารดาปุก สนธิรัตน์
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจามรี (21 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 - 22 กันยายน พ.ศ. 2432)

    เจ้าจอมมารดาหุ่น
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษณา (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2407)

    เจ้าจอมมารดาแก้ว บุณยรัตพันธุ์
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอมฤต (5 สิงหาคม พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2413) กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย

    เจ้าจอมมารดาเจ๊ก
    -พระองค์เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) (พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2371)

    เจ้าจอมมารดาพลับ
    -พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจินดา (16 ตุลาคม พ.ศ. 2370 - พ.ศ. 2392)

    -เจ้าจอมมารดาอึ่ง กัลยาณมิตร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี (17 มิถุนายน พ.ศ. 2370 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2450) กรมหลวงวรเสรฐสุดา

    เจ้าจอมที่ไม่มีพระโอรสและพระธิดา
    เจ้าจอมพุ่ม สนธิรัตน์
    เจ้าจอมเครือวัลย์ บุณยรัตพันธุ์
    เจ้าจอมกลีบ สิงหเสนี
    เจ้าจอมมาลัย สิงหเสนี
    เจ้าจอมอิ่ม ปาณิกบุตร
    เจ้าจอมน่วม
    เจ้าจอมพึ่ง
    เจ้าจอมพัน เทพหัสดิน
    เจ้าจอมอรุณ ไกรฤกษ์
    เจ้าจอมวัน ไกรฤกษ์
    เจ้าจอมน้อย สุหรานากง
    เจ้าจอมยี่สุ่น ณ นคร
    เจ้าจอมแสง
    เจ้าจอมกลีบ
    เจ้าจอมผัน

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระโอรสองค์แรกของรัชกาลที่ 2 กับเจ้าจอมมารดาเรียม พระนามเดิม พระองค์เจ้าชาย ทับ ประสูติตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ แต่เป็นพระนัดดาองค์แรกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ที่มีพระพักตร์ละม้ายคล้ายคลึงกับพระอัยกา (รัชกาลที่ 1) มากจึงทรงเป็นที่โปรดปรานและรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาททั้งเสด็จปู่และพระราชบิดา จนได้รับพระราชทานบรรณาศักดิ์เป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงชำนาญด้านการค้าสำเภากับชาวจีนและเรียกเก็บภาษีอากรได้เป็นกอบเป็นกำจนได้รับพระฉายาจากรัชกาลที่ 2 ว่า เจ้าสัว ทรงมีพระชนมพรรษากว่าพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4

    เมื่อรัชกาลที่ 2 สวรรคตไม่ได้มอบราชสมบัติให้ผู้แก่พระโอรสองค์ใด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงขึ้นครองราชแทนเพื่อปกป้องประเทศชาติให้พ้นภัยจากชาวต่างชาติที่กำลังต้องการล่าอาณานิคม พระองค์ท่านมิได้หวังในราชสมบัติแม้แต่น้อย ด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมไปด้วยกุศลผลบุญท่านทรงโปรดการสร้างและปฏิสังขรวัดวาอารามอย่างมากมาย ไม่ทรงแต่งตั้งเจ้าจอมท่านใดให้อยู่ในตำแหน่งพระมเหษีเลย ดังนั้นพระโอรสพระธิดาพระองค์ท่านจึงได้รับพระอิสริยยศเพียงพระองค์เจ้าเท่านั้น เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ เจ้าพนักงานสำนักพระราชวังนำพระมหามงกุฎมาถวาย พระองค์มีรับสั่งว่าจะเก็บไว้ให้เขา (หมายถึงรัชการที่ 4) พระองค์ท่านทำคุณประโยชน์ให้แก่แผ่นดินอย่างใหญ่หลวง ทรงมีพระเนตรยาวไกล ในสมัยพระองค์ท่านทรงปราบปรามข้าศึกศัตรูได้ราบเรียบ ทรงเก็บเงินถุงแดงไว้ใต้เตียงที่ประทับ เพื่อไว้ใช้ถ่ายบ้านถ่ายเมือง ทรงรับสั่งฝากฝังแผ่นดินไว้ดังนี้


    " การศึกสงคราม ข้างญวณกับพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว "

    ถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ขอแนะนำให้อ่าน " บุญบรรพ์ " เล่ม 1 - เล่ม 2 ของ ม.ล.ศรีฟ้า ลดาวัลย์ เป็นหนังสือดีมีค่า ที่ควรอ่านอย่างยิ่งค่ะ


    พระราชประวัติบางส่วนของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่คนไทยควรรู้ค่ะ

    นำคำถามคำตอบมาจาก อยากทราบว่า ทำไม รัชกาลที่ 3 ถึงไม่มีพระโอรสพระธิดาเป็นเจ้าฟ้าเลย

    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2010
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    คาถา หทัยพระนเรศ

    อุสุมิตตัง นะ พาลานัง อะนุกัมปัง มะกะตัง ยันติ นะมิ<O:p
    <O:p"มหาศาลในสิ่งที่หวังสมหวังในสิ่งที่ขอ ถ้าท้อมาหาเรา ส่งใดที่ใฝ่ฝันมไหศวรรย์พลันให้เจ้า"<O:p
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระพุทธนเรศร์สักชัยไพรีพินาศ วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่

    [​IMG]


    <TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#ffcc66>สถานที่ประดิษฐาน หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม ถนนท่าแพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่</TD></TR><TR><TD width="100%" bgColor=#ffcc66>พุทธลักษณะ ศิลปะอยุธยา ปางมารวิชัย
    ขนาด หน้าตัก ๑ วา ๑ คืบ สูง ๙ ศอก
    วัสดุ ไม้สักลงสี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทยนั้น เป็นแหล่งป่าไม้สำคัญในแถบภูมิภาคนี้โดยเฉพาะไม้สัก ยิ่งย้อนกลับไปในอดีตสมัยเมื่อยังไม่มีการ "ตัดไม้" กันในลักษณะของการ "ทำลายป่า" เช่นปัจจุบัน ต้นไม้ในป่ามีโอกาสที่จะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เราจึงมักได้ยิน ได้ฟังคำบอกเล่าถึงขนาดของต้นไม้ใหญ่สาสมคนโอบบ้าง สี่คนโอบบ้างซึ่งปัจจุบันเป็น เพียงตำนานที่เล่าขานสู่กันฟัง

    แต่ประจักษ์พยานชิ้นหนึ่งที่ยืนยันความมีอยู่จริงของตำนานต้นไม้ใหญ่หลายคนโอบนั้น อยู่ในรูปพระพุทธรูปไม้สักที่มีนามว่า พระพุทธนเรศร์สักชัยไพรีพินาศ ที่ประดิษฐานอยู่กลางเมืองเชียงใหม่

    ตามเรื่องราวที่ปรากฏ กล่าวว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพขึ้นมาทำศึกกับพม่าที่เมืองเชียงใหม่ในปี ๒๑๔๗ หลังจากทรงรุกไล่ข้าศึกถอยหนีเข้าไปทางเมืองแหงและเมืองต๋วนในเขตไทยใหญ่ทางตอนเหนือของพม่าได้แล้ว โปรดให้ทรงสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่หน้าตักกว้างวาเศษจากไม้สักขึ้นองค์หนึ่งไว้เป็นอนุสรณ์

    เมื่อคิดถึงว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดหน้าตักกว้างหนึ่งวาเศษและสร้างโดยวิธีแกะสลัก จากไม้สักขนาดใหญ่ทั้งต้น ก็หมายความว่าไม้สักที่นำมาใช้แกะสลักพระจะต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกินกว่าหนึ่งวาขึ้นไป ซึ่งออกจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้จิตนาการอย่างยิ่งสำหรับคนยุคปัจจุบัน แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ที่มีชีวิตอยู่เมื่อเกือบสี่ร้อยปีที่แล้วขณะที่มีการสร้างพระองค์นี้

    พระพุทธนเรศร์สักชัยไพรีพินาศ ถือว่าเป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากไม้สักที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏ และยังมีความงดงามเป็นที่เคารพเลื่อมใสในหมู่ชาวบ้านทั่วไป ภายหลังได้มีการเคลื่อนย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดบุพพาราม เพื่อให้ชาวเมืองได้กราบไหว้สักการะตราบจนปัจจุบัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • b-113.jpg
      b-113.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.9 KB
      เปิดดู:
      890
  17. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    สาธุ อนุโมทนาครับ คุณทางสายธาตุ


    ขอย้อนกลับมาที่เรื่องของเงินบริจาคช่วยชาติและคลังหลวง

    ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงคราวคับขัน ขั้นจะเสียเอกราช พระองค์จึงได้ตัดพระทัย

    นำ "เงินถุงแดง" กว่า ๓ หมื่นชั่งมาไถ่บ้านไถ่เมือง

    ถึงแม้จะใช้เงินถุงแดงทั้งหมดแล้ว แต่ก็ยังขาดอยู่อีก ๖ แสนบาท พระบรมวงศา

    นุวงศ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายในจึงช่วยกันบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

    นำเอาเพชรนิลจินดาไปขาย คนในรั้วในวัง เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทั้งสิ้น ที่มีส่วน

    ช่วยบ้านเมือง ก็เลยไถ่มาได้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาสุดารัตน

    ราชประยูร (พระองค์เจ้าหญิง ลม่อม ) พระธิดาในรัชกาลที่ ๓ และสมเด็จพระ

    ศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จย่าของ ร.๙) ทรง

    บริจาคมากยิ่งกว่าพระองค์อื่น ถึงแม้ว่ารัชกาลที่ ๕ ต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวน

    มากแต่พระองค์ได้ปฏิรูปการเงินการคลังของประเทศ รวมถึงคัดเลือกข้า

    ราชการที่ซื่อสัตย์สุจริตในการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้เก็บเงินแผ่นดินได้

    เพิ่มมากขึ้น หมดภาระหนี้สินสามารถริเริ่มโครงการใหม่ๆในการพัฒนาประเทศ

    เมื่อสิ้นรัชกาลใน พ.ศ.๒๔๕๓ ยังมีเงินคงพระคลังสะสมเป็นเงินสำรองมากถึง

    ๒๒ ล้านบาท นอกจากนี้พระองค์ยังได้พระราชทาน เงินท้องพระคลังจำนวน

    ๑๒ ล้านบาท มาตั้งเป็น "ทุนสำรองเงินตรา"(คลังหลวง) สำหรับรักษาอัตรา

    แลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสยามกับเงินตราต่างประเทศไว้ให้ยืนที่มั่นคง และ

    ให้กันเงินส่วนนี้ออกจากเงินส่วนอื่น

    คลังหลวง จึงเป็นพระราชมรดกที่ได้รับการรักษาและเพิ่มพูน

    ตราบมาจนทุกวันนี้
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เป็นเรื่องดีๆที่เพิ่งเคยได้ยินเลยค่ะพี่จงรักภักดี

    ขอทุกพระองค์ทรงเสวยทิพยสมบัติสวรรค์อยู่คู่ฟ้าเมืองไทยไปตลอดกาล

    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
     
  19. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466


    ...องค์หลวงตามหาบัวคือต้นแบบของความเสียสละ ด้วยพรรษากาลร่วมร้อยปี แต่ท่านไม่เคยยอมแพ้ต่อสังขาร ท่านบรรลุแล้วซึ่งวิสุทธิธรรมซึ่งสามารถปล่อยวางภาระทั้งหลายได้สิ้น แต่ท่านกลับรั้งสังขารไว้เพื่อยังประโยชน์ให้โลก ท่านเคยกล่าวไว้ว่า "เราไม่หวังอะไรอีกแล้วในโลกนี้ เราทำอยู่นี้เพื่อประโยชน์ให้โลกต่างหาก สงสารโลก เราทำเพื่อโลก เราไม่ได้ทำเพื่อเรา เราพอแล้ว เราไม่หวังอะไรในโลกนี้ ตายแล้วเราจะไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว นี่เป็นชาติสุดท้ายของเรา"
    6 ปีที่โครงการช่วยชาติดำเนินมา องค์หลวงตาได้เริ่มต้นโครงการฯในวัย
    85 ปี แต่หลวงตาจำต้องเดินทางไปรับบริจาคเงินสด ทองคำจากเหนือจรด
    ใต้ ทั้งในสถานที่ราชการในชุมชนสาธารณะ แม้แต่ในบ้านในเรือนส่วนบุคคล
    จวบจนกระทั่งก้าวเข้าสู่อายุ 92 ปีจึงได้ยุติโครงการฯ แต่ละหนแห่งที่ท่านไป ท่านเน้นการแสดงธรรมเป็นหลัก ท่านเห็นว่าเงินทอง ปัจจัย เป็นเพียงปลายเหตุ
    เพื่อช่วยฐานะความเป็นอยู่ภายนอก แต่เหตุใหญ่ที่นำความผาสุกมาชาวไทยคือ "ธรรม" ท่านไม่ได้เทศน์เอาเงินเพียงอย่างเดียว แต่ท่านเทศน์มุ่งเน้น "จิต
    ใจของผู้คน" ในช่วง 6 ปี ของโครงการฯจึงเป็นโอกาสที่หลวงตาได้แสดงธรรมสั่งสอนประชาชน นับเป็นจำนวนพันกัณฑ์
    แม้จะเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางที่ยาวไกล หลวงตาต้องอดทนนั่งรับผ้าป่า
    ต้นแล้วต้นเล่ายาวเหยียดสุดลูกหูลูกตา ทั้งยังต้องแสดงธรรมโปรดประชาชน แต่องค์หลวงตาไม่เคยย่อท้อ
    เพราะมีองค์หลวงตาเป็นหลักชัย เหล่าศิษย์และปวงชนชาวไทยจึงมีกำลังใจในการต่อสู้ฝ่าวิกฤติครั้งนี้ และด้วยคำว่า "ไม่อยากให้หลวงตาเหนื่อย" ลูกศิษย์หลายท่านได้รวมกลุ่มกันอาสาเป็นผู้นำบุญเพราะความซาบซึ้งในความเมตตาของหลวงตา จึงทำต้นผ้าป่าไปแจกทั่วทุกหัวระแหง เข้าถึงชนทุกชั้น ไม่ว่ารวยหรือจน ไม่ว่าอาชีพใด ตั้งแต่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปถึงชาวบ้าน ตามตรอกซอกซอย พวกเขาต้องการให้คนไทยได้มีโอกาสตอบแทนคุณแผ่นดินเกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ฟังธรรมขององค์หลวงตาในวันถวายผ้าป่า
    เขาต้องเผชิญกับความทุกข์ยากกับอุปสรรคนานัปการ ต้องเพียรชี้แจงทำความเข้าใจกับหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ หน่วยแล้วหน่วยเล่าเพื่อให้ได้รับความร่วมมือ บางแห่งโดนตำรวจไล่จับเพราะคิดว่าเป็นนักเรียไร บางครั้งโดนด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย โดนทำร้ายร่างกาย ราดน้ำและน้ำมันเดือดๆ ใส่ แต่ความทุกข์และอุปสรรคเหล่านี้หยุดพวกเขาไม่ได้ เขาบอกว่า "ถึงแม้เราจะไปด้วยกันด้วยความทุกข์ยากลำบาก แต่เราก็มีความสุขอิ่มเอิบใจอยู่ข้างใน อุปสรรคมีมากแต่เราก็ไม่ยอมแพ้ เพราะเรามีความศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์หลวงตาหมดหัวใจ"...
     
  20. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    "คลังหลวง คือคลังสมบัติเดิมของบรรพบุรุษเราที่รักษาไว้เป็น

    มรดกของชาติ เป็นหัวใจของชาติ เป็นหลักเป็นเกณฑ์เป็นแก่นเป็น

    สารของชาติ คือคลังหลวงอันนี้บรรพบุรุษของเราได้รักษามา

    นมนาน มีกฎหมายบ้านเมืองรักษามาด้วยตลอดเวลา..............

    สมบัติเหล่านี้มีเก็บไว้เพื่ออะไร? ก็บรรพบุรุษท่านมีความ

    เฉลียวฉลาดรอบคอบในบ้านในเมืองที่ท่านปกครอง สมบัติเหล่านี้

    ท่านจึงเก็บไว้เพื่อความจำเป็น เวลามีความจำเป็นจริงๆเรียกว่าเข้าขั้นวิกฤต

    การณ์หาทางไหนไปไม่ได้แล้ว ท่านจึงจะนำสมบัติเหล่านี้ไปแก้เหตุการณ์ต่างๆ

    เพื่อเอาตัวรอดเป็นพักเป็นตอนไปจากสมบัติเหล่านี้ เพราะฉะนั้นสมบัติเหล่านี้

    เมื่อยังไม่ถึงขั้นวิกฤตการณ์ขนาดนั้น จึงต้องเก็บไว้ตลอดมาจนกระทั่ง

    ปัจจุบันนี้ "


    ***หลวงตามหาบัว ฯ เทศน์เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ณ วัดป่าบ้านตาด
     

แชร์หน้านี้

Loading...