ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    คลองบางกอกใหญ่ ตำบลบางยี่เรือ ธนบุรี

    เรื่องเล่าเกี่ยวกับคลองบางกอกใหญ่ ต.บางยี่เรือ อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ

    สมัยกรุงศรีอยุธยาริมคลองเป็นป่าสะแกทึบ ฝั่งตรงข้ามเป็นที่ลุ่มมีหญ้า กกในน้ำตื้นๆ ป่าพลู หากมีเรือล่องมาจากลำคลองจะต้องอ้อมคุ้งน้ำมองเห็นบริเวณป่าในระยะไกลได้ถนัด ชายป่าริมฝั่งตรงนี้เองได้เป็นชัยภูมิของทหารไทยใช้เป็นที่ดักซุ่มยิงเรือของข้าศึกที่ผ่านออกมาอย่างไม่ระมัดระวัง จึงเรียก บังยิงเรือ และเพี้ยนเป็น บางยิงเรือ และ บางยี่เรือ

    นำเรื่องมาจาก PointMe Directory | by PointAsia.com ใส่สถานที่ว่า : สถานที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ดำ
     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขออนุโมทนาค่ะ
     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจาะเวลาหาอดีต ด่านแม่ละเมา ทางเก่าที่ถูกลืม ตอนที่ ๑

    ช่องทางด่านสำคัญชายแดนไทยพม่า

    [​IMG]

    ด่านแม่ละเมาเป็นช่องทางที่มีความสำคัญ โดยเป็นหนึ่งในสี่ด่านช่องทาง ด้านชายแดนพม่า คือ๑.ด่านพระเจดีย์สามองค์ ๒.ด่านบ้องตี้ ๓.ด่านสิงขร ๔.ด่านแม่ละเมา กล่าวคือในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา รัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็เดินทัพผ่านด่านแม่ละเมาเช่นกัน และกองทัพเดินทัพเข้าพม่าโดยผ่านด่านแม่ละเมาเป็นครั้งสุดท้าย เข้าไปตีเมืองหงสาวดี เมืองแปร และเข้าล้อมเมืองพุกามเมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๗ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วนพม่าใช้เส้นทางด่านแม่ละเมาเข้าสู่ประเทศไทยหลายครั้ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีการเดินทัพผ่านด่านแม่ละเมาครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๘ ในสงครามเก้าทัพ ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อพม่าเข้ามาทางด่านแม่ละเมาแล้วก็มีชัยต่อหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้เปรียบทางการรบต่อกรุงศรีอยุธยาเกือบทุกครั้งในการรบ เพราะเป็นการตัดกำลังหัวเมืองฝ่ายเหนือก่อนจะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาต่อไป

    ที่ตั้งด่านแม่ละเมา

    [​IMG]
    [​IMG]

    จากการรวบรวมข้อมูล เส้นทางเดินทัพผ่าน ด่านแม่ละเมา ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของ บ้านแม่ละเมา หมู่ ๒ ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งสามารถเดินทางเข้าไปได้โดยรถยนต์ส่วนบุคคล จากตัวเมืองจังหวัดตาก ตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ (ตาก – แม่สอด)ถึงจุดตรวจจุดบริการประชาชน สภ.พะวอ ระหว่างหลัก กม.ที่ ๕๓–๕๔โดยเลี้ยวขวาตามถนนลาดยางสลับกับคอนกรีต เลาะลำห้วยแม่ละเมาเป็นช่วงๆ ก็จะถึงหมู่บ้านแม่ละเมา

    ที่ตั้งและแนวคูรบ ด่านแม่ละเมา


    [​IMG]

    โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ บริเวณที่เป็นที่ตั้งด่านเป็นทางลาดภูเขาลงสู่ห้วยแม่ละเมา ซึ่งทางลาดที่อื่นไม่สามารถที่จะเดินทัพได้เป็นการบังคับในตัว ให้เดินผ่านทางนี้สะดวกที่สุด ทำเลที่ตั้งเหมาะสมจะเป็นด่านเนื่องจากมีลำห้วยมา ๒ ห้วยไหลมาบีบสันเขาที่ลาดนี้ คือทางทิศตะวันออกมีลำห้วยแม่ละเมา ทางทิศตะวันตกก็มีลำห้วยพะวอ ห้วยสองห้วยนี้ไหลมาบีบสันเขามีระยะห่างกัน ๓๐ – ๔๐ เมตรเท่านั้น

    จากการสัมภาษณ์ อาจารย์วัลลภ สุขแสนโชติ ( อดีตครูใหญ่ รร.บ้านแม่ละเมา ) ยังเป็นเด็กๆ ประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๐ กว่าๆ ได้สังเกตเห็นแนวคูรบนี้ เป็นคันดินไม่มีอิฐโดยเขาขุดดินให้เป็นร่องลึกแล้วเอาดินขึ้นมาทำเป็นแนวคันดินสูงประมาณ ๒ เมตร มีความกว้างประมาณ ๓ เมตร มีความยาวประมาณ ๓๐ – ๔๐ เมตร และข้างๆ แนวคันดินนี้มีร่องลึกและกว้างประมาณ ๓ เมตร มีด้วยกัน ๒ แห่ง แต่ในปัจจุบันแนวคันดินและคูรบด้านตะวันตกกลายเป็นถนนแยกไปบ้านพะวอแล้ว และตรงด้านตะวันออก ก็ร่องคูตรงต้นโพธิ์ที่ วัดเชตะวันคีรีในปัจจุบัน ในส่วนร่องคูที่เป็นสนามเพาะที่อยู่ในเขตวัด ทางวัดได้เอาเศษขยะมาถมจนเต็มหมด แล้วปูลาดด้วยคอนกรีตจนหมดแล้ว

    โดยด่านแม่ละเมานี้มีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองตาก ซึ่งหนทางยากลำบาก ใช้เวลาเดิน ๓ – ๔ วันจึงจะถึง และ จากการสันนิษฐานของอาจารย์วัลลภเข้าใจว่า สถานที่พักของทหารสอดแนมตั้งอยู่ที่วัดเชตะวันคีรีในปัจจุบัน โดยกำลังดังกล่าวมีหน้าที่ตระเวนคอยฟังว่าข้าศึกจะเข้ามาเมื่อใด เมื่อข้าศึกเข้ามาก็ให้ม้าเร็วรีบไปแจ้งให้เจ้าเมืองตากทราบ และดำเนินการแจ้งไปยังเมืองหลวง สำหรับการดำรงชีพของทหารก็อาศัยเสบียงกรังเช่นข้าวสาร เกลือ และของต่างๆ ต้องขนมาจากเมืองตากการขนมามากก็ไม่ได้เพราะหนทางลำบาก ต่อมาจึงได้มีการแผ้วถางพื้นที่ทำนาปลูกข้าวเพื่อบรรเทาการขนข้าวมาจากเมืองตาก โดยอยู่ห่างจากวัดเชตะวันคีรี ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๓๐๐ – ๔๐๐ เมตร เรียกว่า “ทุ่งกระแต”

    วัดเชตะวันคีรี และสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุ

    [​IMG]

    จากการค้นคว้าเกี่ยวกับลักษณะของโบราณวัตถุที่พบในบริเวณเดียวกันนี้ ยังพบว่ามาจากหลายแหล่งเช่น เครื่องถ้วยสุโขทัย ( เครื่องสังคโลก ) เครื่องถ้วยล้านนา เครื่องดินเผาจากเตาเวียงจันทร์ ตลอดจนเครื่องถ้วยมอญพม่า อันแสดงให้เห็นว่าด่านแม่ละเมานี้เป็นชุมชนโบราณ และเป็นชุมทางเชื่อมต่อระหว่างอาณาจักรและเมืองโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่ง อันปรากฏจากโบราณวัตถุ โดยมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๓ เป็นต้นมา ทำให้ความสำคัญของด่านแม่ละเมาชัดเจนขึ้นในการเป็นประตู ผ่านเทือกเขาถนนธงชัย สู่อาณาจักรไทย

    กำลังค้นหาข้อมูลศาลหลักเมืองสี่มหาราช จ.ตากอยู่ค่ะ เพราะศาลนี้ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นวัดที่มีพระเจดีย์คู่อยู่บนฐานเดียวกัน และเข้าใจว่าเป็นวัดที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างไว้ค่ะ จะหาภาพเจดีย์คู่บนฐานเดียวกันให้ชัดๆ แล้วบังเอิญพบเวปไซด์นี้ เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพในสมัยของพระองค์ท่านด้วยจึงนำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

    อ้างอิงเวปไซด์ที่นำข้อมูลมาเสนอ

    เจาะเวลาหาอดีต ด่านแม่ละเมา ทางเก่าที่ถูกลืม ตอนที่ ๑
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      122.6 KB
      เปิดดู:
      1,228
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.6 KB
      เปิดดู:
      2,130
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      112.4 KB
      เปิดดู:
      1,814
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      142.1 KB
      เปิดดู:
      1,569
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      108.7 KB
      เปิดดู:
      1,273
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2010
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจาะเวลาหาอดีต ด่านแม่ละเมา ทางเก่าที่ถูกลืม ตอนที่ ๒

    ตำนานที่เกี่ยวข้องกับด่านแม่ละเมา

    ตำนานเจ้าพ่อพะวอ

    [​IMG]

    ๑. ชื่อ พะวอ มีความหมายดังนี้ พะ แปลว่า นาย หรือ นาง เป็นคำนำหน้า ส่วน วอ แปลว่า แดง เพราะฉะนั้น ศาลเจ้าพ่อพะวอ แปลได้ว่า ศาลเจ้าพ่อนายแดง เล่ากันว่า ท่านเป็นนักรบชาวกะเหรี่ยงเป็นชายชาตินักรบมีศักดิ์ฐานะเป็นนายด่านแม่ละเมา เมืองหน้าด่านของไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งในตอนเดียวกันนี้ในพงศาวดารไทยรบพม่าคือสงครามครั้งที่ ๙ คราวอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ ได้บรรยายไว้ว่า “ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้เตรียมทัพพร้อมแล้ว ถึงเดือน ๑๑ ปีมะแม ก็ให้ กะละโบ่ กับ มังแยยางู ผู้เป็นน้องชาย คุมกองทัพหน้าจำนวนพล ๒๐,๐๐๐ ยกออกจากเมืองเมาะตะมะ แล้วอะแซหวุ่นกี้ ยกทัพหลวง จำนวนพล ๑๕,๐๐๐ หนุนมากับตะแคงมรหน่องและเจ้าเมืองตองอู กองทัพพม่า เดินทางผ่านด่านแม่ละเมาเข้ามาเมืองตาก” โดยแผ่นจารึกด้านทิศใต้ภายในศาลเจ้าพ่อ พะวอ ตรงกับเหตุการณ์ที่ เอกสารพม่า ระบุว่า เดือน 11 จ.ศ.1137 พุทธศักราช ๒๓๑๘ พระเจ้า ผองกาจาหม้องหม่อง โอรสพระเจ้ามังระ พี่ชายพระเจ้าปดุง ได้ให้ อะแซหวุ่นกี้ ยกทัพ 60 กองทัพ เข้ามาทาง ระแหง(ตาก) ผ่าน ด่านแม่ละเมา

    ลุ เดือน ๑๑ ปี มะแม สัปตศก พุทธศักราช ๒๓๑๘ กองทัพพม่าเคลื่อนทัพมายังไทย ในขณะนั้น พะวอ เป็นนายด่านแม่ละเมา ที่ดูแลด่าน และ คอยลาดตระเวนหาข่าวให้แก่ เจ้าเมือง ระแหง (ตาก) ได้ตัดสินใจนำไพร่พล และลูกบ้านชาวกะเหรี่ยง ที่มีอยู่เข้าปะทะกับกำลังของข้าศึกอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ทุกคนยอมตายถวายชีวิต ณ เชิงเขา แห่งนี้



    ตำนานถ้ำแม่อุษา


    ส่วนเจ้าแม่อุษาเป็นภรรยาของพะวอและกำลังตั้งครรภ์ ซึ่งก่อนที่พะวอและไพร่พลจะหนีไปที่ภูเขาอันเป็นจุดสุดท้ายนั้น ได้มาซ่อนตัวอยู่ในถ้ำก่อน และเจ้าแม่อุษาก็ได้ทำอัตวินิตบาตกรรมในถ้ำแห่งนี้ เพื่ออยู่เฝ้าสมบัติในถ้ำ โดยในถ้ำนี้จะมีหินที่เรียกว่า กาน้ำแม่อุษา อันเป็นจุดเกิดเหตุ บริเวณเดียวกันนั้นจะมีหินลักษณะประหลาดที่เล่ากันว่าทหารได้ช่วยกันนำมาปิดปากถ้ำเพื่อป้องกันพม่า

    ตำนานเจ้าแม่นางแก้ว

    จากการลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับด่านแม่ละเมา ผู้เขียนได้พบปะกับราษฎร ในพื้นที่ บ.ห้วยปลาหลด ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก ( ปัจจุบันเป็นบ้านของราษฎรมูเซอ ) จึงได้ทราบข้อมูลว่าในอดีตที่ผ่านมาราษฎรบริเวณบ้านห้วยปลาหลดมีเชื้อสายกระเหรี่ยง อยู่ในพื้นที่มาหลายชั่วคน โดยเพิ่งอพยพโยกย้ายเข้าไปที่ บ.ห้วยจะกือ เมื่อประมาณ ๔๐ ปีมาแล้ว ( พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๕๑๐ ) เนื่องจากในพื้นที่เดิมมีราษฎรมูเซออพยพเข้ามาอยู่อาศัย โดยราษฎรทั้งสองเผ่ามีความเชื่อเรื่องเจ้าแม่นางแก้ว ( ปัจจุบันอยู่ริมถนน จาก บ.ห้วยปลาหลด – บ.ห้วยจะกือ ) ได้มีการตั้งศาลไว้กราบไหว้บูชา เมื่อสอบถามชาวบ้านกระเหรี่ยง บ.ห้วยจะกือ ได้เล่าถึงตำนานของเจ้าแม่นางแก้วว่า เดิม เจ้าแม่นางแก้ว เป็นภรรยาของเจ้าพ่อพะวอ เมื่อกองทัพพม่าบุกมาทางด่านแม่ละเมา พะวอได้นำไพร่พลเข้าสกัดทัพพม่าที่เชิงเขาพะวอ ในขณะนั้นเจ้าแม่นางแก้วกำลังตั้งครรภ์แก่ ได้หนีกองทัพพม่า จากด่านแม่ละเมา เมื่อ มาถึงเขาแห่งนี้ไปต่อไม่ไหวและขาดใจตาย ณ จุดนี้เอง ราษฎรกระเหรี่ยงและมูเซอจึงให้ความเคารพ มากราบไหว้เป็นประจำ และที่สำคัญ ตรงจุดนี้เป็นทางผ่านของทางสายโทรเลขสายเก่า แต่ปัจจุบันในบริเวณนี้ไม่เหลือเสาโทรเลขแล้ว <!-- //article content --><!-- //component --><!-- //main content --><!-- right sidebar -->



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 8.jpg
      8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      100.2 KB
      เปิดดู:
      1,201
    • 9.jpg
      9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      91.6 KB
      เปิดดู:
      117
    • 10.jpg
      10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      102.9 KB
      เปิดดู:
      139
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจาะเวลาหาอดีต ด่านแม่ละเมา ทางเก่าที่ถูกลืม ตอนที่ ๓

    บันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์

    ช่วงยุคสมัยที่เกี่ยวข้องกับด่านแม่ละเมา และ ขอบเขตการศึกษา

    [​IMG]

    -สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย ก่อน พ.ศ. ๑๘๐๐

    -สมัยประวัติศาสตร์ชาติไทย หลัง พ.ศ. ๑๘๐๐ ลงมา โดยการศึกษาจะทำการศึกษา โดยในช่วง กรุงศรีอยุธยาตอนกลาง จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อกำหนดขอบเขตการสำรวจให้จำกัดวงแคบลง



    ห่วงโซ่ร้อยปี

    [​IMG]

    หลังจากการศึกษาประวัติศาสตร์การเดินทัพผ่านด่านแม่ละเมาโดยกองทัพของพม่าจะสามารถระบุช่วงเวลาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกันในรอบไม่เกินร้อยปีได้ดังนี้


    เมื่อสงครามคราวศึกอลองพญา พ.ศ. ๒๓๐๒ พระเจ้าอลองพญาเดินทัพเข้าทางด่านสิงขร มาถึงที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ.๒๓๐๓ และเอาปืนใหญ่ตั้งยิงเข้าไปในพระนคร ในเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ พระเจ้าอลองพญามาบัญชาการและจุดปืนใหญ่เอง เผอิญปืนแตกถูกพระองค์บาดเจ็บสาหัส ก็ประชวรหนักในวันนั้น พม่าจึงเลิกทัพกลับไปทางด่านแม่ละเมา โดยรีบถอยทัพหลวงกลับไปถึงตำบลเมาะกะโลก ในแขวงเมืองตากเมื่อ เดือน ๖ แรม ๑๒ ค่ำ พระเจ้าอลองพญาก็สิ้นพระชนม์ มังระราชบุตรเชิญพระศพพระเจ้าอลองพญาไปถึงบ้านแม่ละเมา ให้หยุดทัพ ๓ วันประชุมกันปลงพระศพเสร็จแล้วเชิญพระอัฐิธาตุกลับไปยังเมืองรัตนสิงค์

    อีก ๒๖ ปีถัดมา สงครามเก้าทัพ พ.ศ. ๒๓๒๘ คราวพระเจ้าปดุง ยกทัพเข้าตีกรุงรัตนโกสินทร์ โดยยกกองทัพมา ๙ ทัพ เกณฑ์กองทัพใหญ่มาถึง ๑๔๔,๐๐๐ โดยมี กองทัพที่ ๙ โดยจอข่องนรธา ถือพล ๕,๐๐๐ ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา แขวงเมืองตากเพื่อ ตีหัวเมืองเหนือทางริมน้ำปิง ตั้งแต่เมืองตาก เมืองกำแพงเพชร ลงมารวมกับทัพหลวงที่กรุงเทพฯ

    อีก ๙๖ ปีถัดมา ในปี พ.ศ.๒๔๒๔ ได้มีการทำแผนที่แบบตะวันตก เริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นายเจมส์ แมคคาร์ที ชาวอังกฤษได้เข้ารับราชการและดำเนินการสำรวจแผนที่ ในตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นการสำรวจ สำหรับวางแนวทางสายโทรเลขระหว่างกรุงเทพฯ และมะละแหม่ง ผ่านระแหง (เมิองตาก)

    ต่อมาอีก ๑๖ ปี กรมโทรเลขได้สร้างทางสายโทรเลขสาย ระแหง – แม่สอด แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๔๐

    ต่อมาอีก ๔๔ ปี กองทัพญี่ปุ่นได้เดินเท้าผ่านทางสายนี้ โดยเคลื่อนพล โดยการเดินเท้าในช่วงต้นของสงคราม ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๔

    ต่อมาอีก ๒๖ ปี ประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๒ – ๒๕๑๔ ทางสายโทรเลขเส้นเก่าได้ถูกยกเลิกการใช้งานเนื่องจากชำรุดทรุดโทรม และบำรุงรักษาลำบาก จึงนับเป็นเวลากว่า ๓๘ ปีที่ทางสายโทรเลขเส้นนี้ ถูกเลิกใช้

    [​IMG]

    เมืองมะละแหม่ง ก็ คือ เมืองเมาะลำเลิง หรือเมืองมรแมน นั่นเอง ซึ่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ นั้นอยู่ตรงข้ามกับเมืองเมาะตะมะ เพียงแค่ข้ามแม่น้ำสาละวิน ตามภาพ คำอธิบายถึงเส้นทางด่านแม่ละเมาในพงศาวดารไทยรบพม่า ว่า ออกจากเมืองเมาะตะมะ ขึ้นตามแม่น้ำจนถึงบ้านตะพุ แล้ววกมาข้ามแม่น้ำกลีบ แม่น้ำเมย แม่น้ำสอด มาทางด่านแม่ละเมา มาลงท่าแม่น้ำปิง ตรงบ้านระแหง ซึ่งในการสำรวจของนายเจมส์ เอฟ. แมคคาร์ที( พระวิภาคภูวดล )ได้เขียนใน บันทึกการสำรวจและบุกเบิกในดินแดนสยาม (Surveying and exploring in Siam) กล่าวถึงการสำรวจในครั้งนั้นว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12.jpg
      12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.6 KB
      เปิดดู:
      1,310
    • 13.jpg
      13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      102 KB
      เปิดดู:
      1,347
    • 14.jpg
      14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      93 KB
      เปิดดู:
      1,168
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจาะเวลาหาอดีต ด่านแม่ละเมา ทางเก่าที่ถูกลืม ตอนที่ ๓ (ตอนจบ)

    “ภูมิประเทศระหว่างระแหงกับมะละแหม่ง โดยมากเป็นเนินเขา สันปันน้ำสำคัญเป็นแนวตรงอยู่เพียง ๑๕ ไมล์ ทั้งสองเมืองติดต่อกันโดยตรงด้วยทางเดินเท้าตัดผ่านสันปันน้ำที่ระดับสูงกว่าสองพันฟุตสายหนึ่ง ทางสายอื่นใช้ได้แต่ในฤดูแล้ง เพราะมีหญ้าแห้งสำหรับพวกสัตว์ต่างที่ใช้ในการขนส่งอยู่มากกว่า ที่มะละแหม่งมีการค้าขายมากอยู่ ทุกวันพ่อค้า ชาวนา จำนวนมากจะผ่านมากเพื่อขนสินค้าจากแมนเชสเตอร์และเบอร์มิงแฮมไปขายถึงแดนไกลกันดารในสยาม”




    ซึ่งสันปันน้ำที่มีความสูงถึงสองพันฟุตที่เป็นไปได้ ในบันทึกของพระวิภาคภูวดล มี สองแนวคือ

    ๑.สันปันน้ำเทือกเขาถนนธงชัย ( ในประเทศไทย ) โดยมีเส้นทางเดินที่ความสูงเฉลี่ย ๒,๐๐๐ ฟุต เป็นระยะในพื้นที่ป่าภูเขากว่า ๔๕ กิโลเมตร

    ๒.สันปันน้ำเทือกเขาดาวน่า ( ในสหภาพพม่า ) โดยมีเส้นทางเดินที่ความสูงเฉลี่ย ๒,๐๐๐ ฟุต เป็นระยะในพื้นที่ป่าภูเขา ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร




    ซึ่งจากการค้นคว้าเพิ่มเติมทำให้พบว่าการเดินทางในฝั่งไทยนั้นเดินเท้าจากปากห้วยแม่ท้อประมาณ ๔ วัน และ เดินเท้าใน พม่า อีกประมาณ ๓ วันก็ถึงเมืองมะละแหม่ง โดย เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๓๓ ได้กล่าวถึงว่า

    “ รอบ ๆ ระแหงไม่ค่อยมีนาข้าวมากนัก ทุ่งนาที่ปลูกข้าวเลี้ยงเมืองอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำ ห่างมะละแหม่งเป็นระยะเดินทาง ๗ วัน พวกพ่อค้าเร่ชาวพม่าเที่ยวค้าขายทั่วเมืองสยามถึงสุโขทัย พิษณุโลก หรือพิชัย บนริมฝั่งแม่น้ำน่าน เลยตลอดลุ่มน้ำโขงจนกระทั่งหลวงพระบาง เชียงคานและหนองคาย โดยเฉพาะในเขตลุ่มน้ำโขงนั้นพบพวกนี้แทบจะทุกแห่งหน เที่ยวค้ากระดุมทองแดงปั้มตรารูปเศียรพระราชินีมีไม้ขีดไฟ เข็มเย็บผ้าและอื่น ๆ อีกสารพัด ขายได้แล้วก็ซื้อช้าง ซื้อไหมดิบ หรือกำยานเอากลับไปพม่า”



    การทำแผนที่ในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ แม้จะเป็นสำรวจสำหรับการวางแนวสายโทรเลขระหว่างกรุงเทพฯ – มะละแหม่ง โดยผ่านระแหง( ตาก ) แต่ก็พอสันนิษฐานได้ว่า ในครั้งที่นายแมคคาร์ทีได้มาสำรวจนั้น คงไม่ได้สำรวจเส้นทางบุกเบิกใหม่เสียทีเดียว เนื่องจากสภาพพื้นที่นั้นลำบาก ทุรกันดาร มีภูเขาสูงและป่าหนาแน่น น่าจะเป็นการสำรวจตามแนวเส้นทางสายเดิมที่มีใช้อยู่แล้ว ข้อหนึ่งก็เพื่อให้สะดวกเวลาใช้การเดินตรวจทางสายของพนักงานกรมโทรเลข และ ไม่ต้องเสียเวลาการบุกเบิกเส้นทางใหม่ ดังนั้นจึงพอที่จะคาดได้ว่าแนวการวางสายที่นายแมคคาร์ที ได้ สำรวจนั้นในบางช่วงของเส้นทางอาจเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางด่านแม่ละเมา ที่ใช้ในการเดินทัพมาแต่อดีต




    ทางสายโทรเลข หลักบอกทาง แห่งอดีตกาล

    หลังจากที่ได้มีการวางสายโทรเลขเพื่อใช้ในกิจการโทรเลขแล้ว การบำรุงและดูแลรักษาทางสายโทรเลขสายแม่สอด จึงต้องดำเนินการและซ่อมบำรุงอยู่ตลอดทั้งนี้เพราะสายโทรเลขส่วนมาก มักจะผ่านป่าทึบทำให้ ยากในการบำรุงรักษา แต่อย่างไรก็ตามทางสายโทรเลขสายแม่สอดก็ได้ใช้มาตลอด และเป็นทางสายที่ติดต่อกับประเทศพม่า หลังจากทางสายโทรเลขสายกรุงเทพฯ ผ่านกาญจนบุรี ถึง ต.เขาแดน ได้ยกเลิกการใช้งานเนื่องจากการบำรุงรักษามีความลำบากมาก จึงยกเลิกและใช้ทางแม่สอดแทน




    จากคำบอกเล่าของ อ.วัลลภ เกี่ยวกับเรื่องการเดินเท้าในเส้นทางนี้ ได้อธิบายไว้ว่า การเดินทางเราเดินทางโดยยึดแนวสายโทรศัพท์เป็นเกณฑ์ นอกจากนี้จาก ตำนานเจ้าแม่นางแก้ว และ ที่ตั้งของศาล ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางสายโทรเลขเดิมจากข้อมูลดังกล่าวทำให้พอเชื่อได้ว่า เส้นทางสายโทรเลขที่สร้างขึ้นสมัย รัชกาลที่ ๕ ปี ๒๔๔๐ นี้ น่าที่จะวางทับทางเส้นทางด่านแม่ละเมาเดิม ในบางส่วน ตลอดจน ในปัจจุบัน ก็น่าที่จะ มีการสร้างทางสายปัจจุบัน ( ทางหลวงสาย ๑๐๕ ตาก – แม่สอด ) ในบางช่วงทับเส้นทางสายเดิมไปบ้างแล้ว

    จากการสัมภาษณ์ นายมงคล ปินโน อดีต เจ้าหน้าที่ช่างบำรุงทางสาย โดยนายมงคลเล่าว่า แม้จะมีการดูแลทางสายตลอดเพื่อให้ใช้การได้แต่สภาพของทางสายในขณะนั้นก็ทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา ในส่วนเสาโทรเลขเดิมเป็นเสาไม้ได้หักโค่นลงเป็นจำนวนมาก ทำให้มาในช่วงหลังก่อนจะยกเลิกการใช้ทางสายนี้ การบำรุงรักษาเป็นไปเพื่อให้พอใช้งานได้เท่านั้น จึงใช้การผูกลูกถ้วยกับต้นไม้ยืนต้นและโยงสายลวดไว้เพื่อให้แทนเสาเดิมที่ชำรุด

    ต่อมาประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๓ – ๒๕๑๔ โดยประมาณ เส้นทางสายโทรเลขเส้นใหม่ ที่สร้างตามแนวถนนสายใหม่ ได้สร้างสำเร็จ เพื่อลดความยากลำบากในการเดินตรวจทางสายลง จึงยกเลิกทางสายโทรเลขเส้นเก่าไป ทำให้เส้นทางสายเดิมที่มีการใช้งานมาเป็นเวลากว่าร้อยปี ถูกยกเลิกการใช้งาน



    จากภาพลูกถ้วย เสาโทรเลขที่พบที่ด่านบ้องตี้ โดยพลโทรวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ เปรียบเทียบกับ ลูกถ้วยที่พบในการสำรวจเส้นทางด่านแม่ละเมาเมื่อ ม.ค.๕๒ ที่บริเวณหินกอง บ.ปางอ้า

    จากภาพแสดงแผนผังสังเขปเส้นทางด่านแม่ละเมา

    [​IMG]


    ป.ล.นึกขึ้นได้ว่า หากเรื่องเล่าวัดทองนพคุณทูลฉลอง(วัดสุวรรณขวัญเมือง) อ.บางปะหัน เป็นวัดที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างขึ้น ก็อาจจะหาเจดีย์คู่หน้าโบสถ์ได้ ซึ่งคาดว่าเจดีย์คู่หน้าโบสถ์นี้จะต้องอยู่บนฐานเดียวกัน อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ไกลจากกรุงเทพ อาจหารูปเจดีย์คู่ได้เหมือนกันค่ะ
    เจาะเวลาหาอดีต ด่านแม่ละเมา ทางเก่าที่ถูกลืม ตอนที่ ๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 15.jpg
      15.jpg
      ขนาดไฟล์:
      120.8 KB
      เปิดดู:
      170
    • 16.jpg
      16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.9 KB
      เปิดดู:
      131
    • 17.jpg
      17.jpg
      ขนาดไฟล์:
      121 KB
      เปิดดู:
      140
    • 18.jpg
      18.jpg
      ขนาดไฟล์:
      124.3 KB
      เปิดดู:
      133
    • 19.jpg
      19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      79 KB
      เปิดดู:
      146
    • 20.jpg
      20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.7 KB
      เปิดดู:
      160
    • 21.jpg
      21.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.7 KB
      เปิดดู:
      1,480
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    แผ่นจารึกที่ศาลหลักเมืองสี่มหาราช จ.ตาก

    [​IMG]
    เมืองตาก เป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง มีชื่อเดิมว่า “เมืองระแหง” ในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอาศัยอยู่มาก่อน ดังมีหลักฐานศิลปะมอญปรากฏอยู่ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก เมืองนี้สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็น ราชธานี เมื่อได้สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว เมืองตากมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญด้านฝั่งตะวันตก และยังเป็นเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับพระมหาราชในอดีตถึง ๔ พระองค์ ที่เสด็จมาชุมนุมกองทัพ ณ ดินแดนเมืองตากแห่งนี้ ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายตัวเมืองตากจากฝั่งขวา ของแม่น้ำปิงมายังฝั่งซ้ายบริเวณตำบลบ้านระแหงจนกระทั่งทุกวันนี้

    ตาก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๔๒๖ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๑๐,๒๕๔,๑๕๖ ไร่ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็น ภูเขา และป่าไม้ เป็นจังหวัดที่มีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่ยังคงความสมบูรณ์ของป่า และธรรมชาติ อาทิ อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช อุทยานแห่งชาติแม่เมย อุทยานแห่งชาติลานสาง และอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ตลอดจนมีน้ำตกที่ นักท่องเที่ยวผู้รักการผจญภัย และนิยมการล่องแก่งต้องมาเยือนสักครั้ง คือ น้ำตกทีลอซู และน้ำตกทีลอเร นอกจากความสวยงามตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อทั้งดอกไม้ และผลไม้ โดยเฉพาะทับทิม ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีผลใหญ่ และกำลังได้รับความนิยมมาก

    อาณาเขต
    ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง
    ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร และกาญจนบุรี
    ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย
    ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า โดยมีแม่น้ำเมย และทิวเขาถนนธงชัยเป็นพรมแดน

    ศาลหลักเมืองสี่มหาราช อำเภอเมืองตาก ท่องเที่ยวตาก [ ภาคเหนือ ] [ หาดใหญ่ วาไรตี้ สีสันสดใส ห
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    อนุโมทนาครับ วันนี้คุณทางสายธาตุ นำเที่ยวเมืองตากที่ผู้คนมักผ่านเลยไป

    หรือลัดไปเที่ยวแม่สอด อันที่จริงด่านแม่ละเมานี่ถ้าท่านใดยังจำประวัติศาสตร์

    ไทยสมัยเรียนชั้น ม. คงจะยังจำได้ไม่ลืมว่าพูดถึงด่านแม่ละเมาครั้งใดก็หนีไม่

    พ้นทัพพม่ายกมาตีกรุงศรีอยุธยา ไม่ว่ามังมหานรธา เนเมียวสีหบดี หรืออะ

    แซหวุ่นกี้ก็ดี คนคุ้นเคยทั้งนั้นนะครับ


    และเพื่อให้ทันสมัยกับเหตุการณ์สุริยุปราคาที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้สดๆร้อนๆ

    ขอนำบทความของคุณ เปลว สีเงิน "ราหูอมพระอาทิตย์นั้น....เป็นฉันใด?"

    มานำเสนอครับ

    ...อันที่จริง เรื่องพระราหูอมพระอาทิตย์ อมพระจันทร์นี้ มีตำนาน และเรื่องราวทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และโลกศาสตร์ ให้ศึกษา และนำมาอ้างอิงต่างๆ นานามากมาย เรียกว่าผมกันที ก็เอามาพูดกันที เราพูดกันมามาก และรู้กันมามาก แต่ถ้าถามว่า รู้แบบไหน...?

    ก็รู้แบบไม่รู้ไง เพราะฟังบ่อยๆ จนชิน ชินจนไม่ (อยาก) สงสัย เหมือนการกะพริบตา เราก็กะพริบมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้ามีใครถามว่า "กะพริบทำไม?"

    ฉุนกึ๊ก....ถามหยั่งงี้ต่อยกันดีกว่า!

    เอาอย่างนี้ครับ ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ใช่ว่าผมจะรู้ดีกว่าท่าน บังเอิญได้อ่านเรื่อง "พระราหูอมพระอาทิตย์" ที่ท่าน พลตำรวจโทสรรเพชญ ธรรมาธิกุล เรียบเรียงไว้เป็นวิทยาทาน ผมอ่านก็ติดอก-ติดใจ เพราะท่านนำเรื่องยากจากศาสตร์ทุกแขนงมาขยำเป็นเนื้อเดียวแล้วร้อยเรียงให้ อ่านง่าย เข้าใจง่าย และได้ความรู้

    ผมได้ยินแต่ชื่อเสียงท่าน แต่ไม่เคยได้รู้จักตัวท่าน เอาเป็นว่าผม "กราบขออนุญาต" นำสิ่งที่ท่านทำไว้ดีแล้วมาเผยแพร่เป็นวิทยาทานต่อตรงนี้ ดังต่อไปนี้
    พระราหูอมพระอาทิตย์

    ในวิชาดาราศาสตร์ถือว่า โลก เป็นดาวพระเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยจักรวาล เงามืดของโลกที่ไม่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ เรียกว่าพระราหู เช่นเดียวกับดาวเคราะห์ดวงอื่น แต่วิชาโหราศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคพยากรณ์ถือว่า โลก คือ พระราหู เป็นศูนย์กลางของจักรวาลระบบจันทรคติ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาวหาง ต่างเป็นบริวารต้องโคจรรอบโลกอยู่ตลอดเวลา อันเป็นที่มาของความเชื่อในเรื่อง พระราหูเทวบุตร มีฤทธิ์เดชไม่ยิ่งหย่อนกว่าเทวดาองค์ใดในสวรรค์ และตำนานการขโมยดื่มน้ำอมฤตของพวกเทวดา จนถูกจักรของพระนารายณ์กายขาดเป็น 2 ท่อน ล่องลอยอยู่ในชั้นฟ้า

    ท่อนหนึ่งเรียกว่า พระราหู คอยไล่จับพระอาทิตย์และพระจันทร์กลืนกิน แสดงให้เห็นถึงการค้นพบความลับของธรรมชาติมานานแสนนาน แต่ปกปิดซ่อนไว้ในรูปนิทานปรัมปรา ถ้าไม่ศึกษาค้นคว้าพิจารณาให้ถ่องแท้ ก็จะกลายเป็นความเชื่อที่งมงายไร้เหตุผล และไม่มีทางจะเข้าถึงศาสตร์ชั้นสูงอีกระดับหนึ่ง ที่เรียกว่า ญาณศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าบรรลุชั้นใดชั้นหนึ่ง ก็สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ได้ ใครสำเร็จญาณชั้นที่ 8 ย่อมตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า หรือพระโพธิสัตว์

    ดังนั้นก่อนที่จะไปถึงขั้นสำเร็จในระดับญาณศาสตร์ จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจคุณสมบัติของระบบธาตุในโลก ระบบธาตุบนชั้นบรรยากาศและระบบจักรวาล หรือทฤษฎีการหมุนเวียนไปรอบจุดศูนย์กลาง ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นบ่อเกิดของพลังศักดิ์สิทธิ์ของแม่เหล็กไฟฟ้า จนถึงการสร้างระเบิดมหาประลัย จึงต้องเข้าใจในเรื่องพระราหูให้ถูกต้องตามหลักธรรมชาติเสียก่อน ต่อจากนั้นจึงพยายามเรียนรู้เรื่อง หางพระราหู

    แท้จริงแล้วโลกของเราภาคกลางวันได้รับแสงอาทิตย์อันร้อนแรง แผดเผาจนวัตถุธาตุบนพื้นผิวโลกละลายกลายเป็นไอระเหยระเหิดลอยขึ้นไปในอากาศ ดังจะเห็นได้จากละอองไอน้ำลอยฟ่องในหมอกเมฆ ควันไฟ หรือสิ่งที่มองไม่เห็นนานาชนิด ฝุ่นละออง ธาตุของโลกที่ล่องลอยขึ้นไปในชั้นฟ้า มิได้หลุดลอยไปนอกโลก แต่ขึ้นไปสถิตอยู่บนชั้นบรรยากาศสะสมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน อันเป็นที่มาของระบบดินน้ำ ลม ไฟ ในชั้นบรรยากาศ ที่วิชาโหราศาสตร์เรียกว่า นวางค์ หรือ ตรียางค์ หรือความเชื่อในเรื่องเทวดามีวิมานอยู่บนสวรรค์ ดังนี้เป็นต้น การค้นพบความสำคัญของระบบชั้นบรรยากาศธาตุที่หุ้มห่อโลกไว้ คอยปรับสภาพอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกให้เหมาะสมสำหรับเกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นในโลก สืบพันธุ์กันไปไม่ขาดสายนี่เอง ตำนานชาติเวรของดวงดาวจึงบอกว่า พระราหู ถูกจักรพระนารายณ์ กายขาดเป็น 2 ท่อน แต่ไม่ตายเพราะดื่มน้ำอมฤตของเทวดา คือรากฐานการเกิดสรรพสิ่งในโลกโดยมีเหตุอ้างอิงและปฏิเสธเรื่องพระเจ้าอย่างสิ้นเชิง

    กล่าวกันว่าระบบโลกธาตุที่ถูกแสงอาทิตย์เผาไหม้ ลอยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศนั้น ถูกแรงเหวี่ยงของโลกซึ่งหมุนรอบตัวเองและโคจรไปรอบดวงอาทิตย์กดดันควบคุมให้วนเวียน มีลักษณะเป็นเกลียวส่ายไปมาในอากาศ แต่ดวงตาของเรามองไม่เห็น เรียกกันว่า พระเกตุ อยู่ตรงข้ามกับพระราหู เพราะเป็นเรื่องราวของโลกในภาคกลางวัน เช่นเดียวกับธรรมชาติในโลกที่คนเราต้องทำงาน หาอาหารจนค่ำมืดจึงพักผ่อนนอนหลับไปในภาคกลางคืน

    หากเข้าใจธรรมชาติของพระเกตุ หรือหางพระราหูว่า โลกในภาคกลางวันคลื่นพลังแสงและความร้อนของดวงอาทิตย์ สร้างระบบธาตุให้แก่ชั้นบรรยากาศธาตุ เพื่อให้ดวงจันทร์ทำหน้าที่กลั่นกรองผสมธาตุบนชั้นฟ้าในเวลากลางคืน ต่อจากนั้นค่อยส่งแรงดึงดูดร่วมกับโลกแย่งชิงระบบธาตุบนชั้นบรรยากาศป้อนให้แก่โลก ปรุงแต่งแปลงสภาพกลายเป็นธรรมชาติขึ้นในโลก ด้วยเหตุนี้ในภาคกลางวันโลกจำต้องพึ่งพาอาศัยแสงอาทิตย์ ในภาคกลางคืนโลกจำต้องพึ่งพาอาศัยแสงจันทร์ อานุภาพของแสงอาทิตย์แสงจันทร์และระบบธาตุนี่เอง คือรากฐานการกำเนิดสรรพสิ่งขึ้นในโลก นักโหราศาสตร์จึงสรุปกลไกอันซับซ้อนของความสัมพันธ์นี้ว่า อาทิตย์เป็นพ่อ จันทร์เป็นแม่ ราหูเป็นลูก

    ดังนั้นตราบใดที่โลกยังเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติ ตราบนั้นโลกยังต้องพึ่งพาอาศัยแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ เพื่อปรุงแต่งแปลงสภาพระบบธาตุให้เกิดสิ่งทั้งหลายขึ้นในโลก

    ชาวศรีวิชัยจึงสร้างสัญลักษณ์พระราหูอมจันทร์ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจในจักรวาลทั้งระบบสุริยคติ และระบบจันทรคติอย่างแจ่มแจ้ง สามารถอธิบายให้เห็นถึงการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของวัฏจักร และวงจรชีวิต ทั้งแสดงให้เห็นว่าเหตุใดพราหมณ์จึงนับถือ ศิวลึงค์ และโยนีของพระแม่อุมาเทวี ก็เพราะว่าเขารู้เรื่องจักรวาลเป็นอย่างดี จึงแปลงสัญลักษณ์ของธรรมชาติเป็นเพศชายหญิงอันเป็นบรรพบุรุษของตนขึ้นกราบไหว้บูชา แต่หลักการอันเร้นลับถูกปกปิดไว้จนสำคัญผิดคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ สุริยุปราคา และจันทรุปราคา ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน แม้กระทั่งพระไตรปิฎกที่อ้างว่าผ่านการสังคายนากันมาหลายครั้ง ก็ยังจารึกเรื่องนี้ไว้อย่างไม่ถูกต้อง

    ในที่นี้พระราหูอมจันทร์ แท้จริงแล้วเป็นภาพเชิงซ้อนของภาพพระราหูอมพระอาทิตย์กับภาพพระราหูอมพระจันทร์ ทับอยู่ในภาพเดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่า โลก คือ พระราหู จำเป็นต้องได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ในตอนกลางวัน ได้รับแสงจากดวงจันทร์ในตอนกลางคืน โลกจึงบังเกิดสิ่งที่เรียกว่า ธรรมชาติ

    การเรียนรู้ธรรมชาติทำให้เราทราบถึงฤดูกาลและบังเกิดอารยธรรมอันสูงส่งขึ้นในโลก อย่างน้อยชาวนา ชาวสวน ก็รู้ว่าเมื่อไรจะถึงเวลาไถนาปักดำข้าวกล้า ควรเก็บเกี่ยวเมื่อไร ชาวทะเลทราบว่าเมื่อไรจะเกิดลมมรสุมไม่ควรนำเรือออกไปในทะเล หรือในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์นำวิชาความรู้มาสร้างสรรค์สิ่งมหัศจรรย์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

    เพราะว่า พระราหู ไม่ใช่ยักษ์มารผีโขมดหรือความชั่วร้ายดังที่เข้าใจกันมา แต่พระราหูเป็นโลกของเรา เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยสืบพันธุ์กันไปไม่มีที่สิ้นสุด สมดังคำกล่าวว่า พระราหู ได้กินน้ำอมฤตจึงไม่ตายเป็นอมตะและมีฤทธิ์จนเทวดาฟ้าดินยำเกรง

    เรียบเรียงโดย

    พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล

    (อดีต) ผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    เป็นไงครับ...อ่านแล้วคงได้คำตอบในประเด็นที่สงสัยกันแจ้งจางปาง ก็ต้องขอบคุณท่านพลตำรวจโทสรรเพชญ ที่เขียนอะไรดีๆ ไว้ให้เป็นวิทยาทาน


    *ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด
     
  10. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466


    พิธีมอบทองคำเข้าคลังหลวง (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ...ในอีกด้านหนึ่งเราได้เห็นภาพที่ประทับใจในความเสียสละที่ทำได้ยากยิ่งของ
    หลายคน
    ๐ ที่ภูเวียง จ.ขอนแก่น คุณยายท่านหนึ่งที่ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ให้มอเตอร์ไซค์
    วิ่งตามรถของคณะแจกต้นผ้าป่าให้ย้อนกลับมา คุณยายอยากทำบุญกับองค์หลวงตาแต่ด้วยความพิการทางธาตุขันธ์จึงขอฝากเงินทั้งหมดที่เก็บไว้ในบ้าน
    จำนวน 15 บาทให้คณะแจกต้นผ้าป่าไปถวายหลวงตาแทนคุณยาย
    ๐ ได้มีขอทานพิการแขนขาคนหนึ่ง อยู่ใต้สะพานลอยตลาดอุดรธานี เขาใช้มืออันปราศจากนิ้วของเขาพยายามหยิบเหรียญ 5 บาท ยกขึ้นพนมเหนือหัวพร้อมหลับตาอธิษฐาน และได้ฝากให้ผู้นำบุญไปร่วมถวายหลวงตาเพื่อช่วยชาติ และต่อมาได้ทราบภายหลังว่าขอทานคนนั้นทำบุญเป็นครั้งที่ 2 แล้ว
    ๐ เกษตรกรที่อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ไม่มีทั้งเงินทั้งทองจะมาถวายหลวงตา จึงนำมะเขือเทศซึ่งเป็นผลผลิตของพวกเขามาถวายแทน มีเจ้าของโรงงานใจบุญมารับซื้อไว้ทั้งหมด จึงได้เงินไปถวาย หลวงตาประทับใจในน้ำใจของพวกเขามาก ท่านเรียกผ้าป่าครั้งนี้ว่า "ผ้าป่ามะเขือเทศ"
    ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่แสดงว่าคนไทยแม้พิการทางกายแต่ใจไม่พิการ แม้จนเงินแต่ไม่จนปัญญาและน้ำใจ
    สำหรับผู้ที่มีฐานะดีการสละเงินทองก้อนใหญ่ไม่ใช่ของยาก แต่หากต้องสละของรักของหวงที่มีคุณค่าทางจิตใจเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง แต่หลายคนก็ฝ่ากำแพงของความห่วงหวงนี้ได้ด้วยพลังของความรักชาติและศรัทธาในองค์หลวงตา
    ๐ หนุ่มสาวคู่หนึ่งสละสินสอดทองหมั้น 3 กิโลเศษ ถวายหลวงตาทั้งหมด
    ด้วยความปิติในบุญกุศลน้อมถวายทองคำ 3 กิโลนี้เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชาและ
    สังฆบูชา
    ๐ หนุ่มใหญ่ท่านหนึ่งนำสินสอดทองหมั้นเป็นทองคำหนัก 2 บาท ที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ของความรักความผูกพันมายาวนานกว่า 40 ปี มาถวายด้วยความอิ่มใจ
    ๐ เถ้าแก่ใหญ่อีกท่าน ตัดอาลัยในเข็มขัดทองคำที่ตกทอดมา 3 ชั่วคน โดยเขาได้รับมรดกตกทอดเป็นรุ่นที่ 4 ถวายหลวงตาเพื่อดำรงชาติ ซึ่งเขาเห็นว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าดำรงรักษาสมบัติของตระกูล

    ด้วยน้ำใจอันกว้างใหญ่ขององค์หลวงตาที่มีต่อประเทศชาติ ถ่ายทอดไปสู่ลูกศิษย์ยังให้เกิดความอดทนความมุ่งมั่น เสียสละทั้งกำลังกาย เวลา และทรัพย์สินส่วนตัว รวมกับน้ำใจของชาวไทยผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายส่งผลให้สินทรัพย์ในคลังหลวงเพิ่มพูนขึ้น ด้วยพลังศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อหลวงตา
    องค์หลวงตามหาบัวซึ่งถึงแม้จะมีความรู้ทางโลกเพียงชั้นประถมปีที่ 3 แต่
    กลับมีวิสัยทัศน์และญาณทัศนะที่ล้ำลึก อันเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและข้อธุดงควัตรต่างๆตามปฏิปทาขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งเป็นแบบอย่างอันงามตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ชาติไทยจึงยังดำรงอยู่ได้อีกครั้งด้วยคุณแห่งพระพุทธศาสนา.....(มีต่อตอนสุดท้าย)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2010
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจดีย์ภูเขาทอง

    คบคิดอย่างไรก็ไม่แน่ชัดเสียที เรื่องเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่วัดภูเขาทองว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยใดแน่ โดยเฉพาะพระมหาเจดีย์ที่วัดภูเขาทอง

    เพราะศิลปย่อมุมไม้สิบสองนั้น ถูกระบุว่าเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แต่ทำไมจึงมีปรากฏที่เจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งหมอแกมเฟอร์เขียนไว้ตอนที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาปี พ.ศ. 2233 ว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นโดยสร้างทับเจดีย์ที่พระเจ้าบุเรงนองสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. 2112 แต่ยังคงฐานสี่เหลี่ยมของเดิมไว้

    หรือว่ารูปแบบเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองจะเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือหนอ


    [​IMG]

    ร่างแบบเจดีย์ภูเขาทองของหมอแกมเฟอร์​

    ประวัติการสร้างเริ่มแรกคือ " สร้างขึ้นโดยบัญชาของบุเรงนอง กะยอดินนรธา"แต่การสวมพระเจดีย์ทรงย่อมุมสิบสอง บ้างก็ยกให้พระนเรศวรสร้าง แต่แปลกที่ว่า เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองเป็นคติการสร้างหลังสมัยพระเจ้าปราสาททอง ห่างจากพระนเรศวรราว 50 ปี หรือจะมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองเกิดขึ้นแล้วต่อมาคือ "เจดีย์องค์นี้ทรุดโทรมลง ถูกบูรณะและสร้างเจดีย์(ย่อมุมไม้สิบสอง)ขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ " ห่างจากสมัยแรกสร้างถึง 140 ปี
    <O:p</O:p
    พระเจ้าบุเรงนอง ทรงสร้างมหาเจดีย์รูปทรงปิรามิด ที่มีสัญฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ย่อชั้นปะทักษิณขึ้นไปมีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ทิศในทุกแว่นแคว้นที่ทรงครอบครองได้ คติของเจดีย์ คือการสร้าง"เขาพระสุเมรุ" ในสัญลักษณ์ของจักรวาลทั้งสิ่ทิศ ด้านบนเป็นสถูปในพระพุทธศานา รูปทรงโอคว่ำ ครึ่งวงกลม ปัจจุบันยังพบเจดีย์รูปทรงเดียวกันนี้ทั่วไปในประเทศพม่า
    <O:p</O:p
    พระนเรศวรราชาธิราช ทรงโปรดให้สร้างพระสถูปทรงสยาม บนสัญลักษณ์"เขาพระสุเมรุ"ของจักรวรรดิราชาแห่งหงสาวดี ในความหมายว่า "นับแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาคือจักรพรรดิราชเหนือราชาแห่งหงสาวดีและราชาทั้งปวง"
    <O:p</O:p
    หมอแกมป์เฟอร์ ซึ่งมาเยือนเจดีย์แห่งนี้เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๒๓๓ วาดภาพร่างลายเส้นเจดีย์ภูเขาทองและบันทึกคำบรรยายว่าเจดีย์องค์รูปดอกบัว (พุ่มข้าวบิณฑ์) สถานที่และเจดีย์นี้ชื่อภูเขาทอง สมเด็จพระนเรศศวรมหาราช สร้างที่เพื่อฉลองชัยชนะที่มีเหนือพม่า


    หมายเหตุส่วนเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่เจดีย์พระศรีสุริโยทัยนั้น แม้จะเป็นย่อมุมไม้สิบสองเช่นกันแต่มีข้อมูลในเชิงวิชาการว่ามิใช่เจดีย์องค์เดิม เจดีย์องค์ดั้งเดิม มีสององค์ และถูกทำลายไปเมื่อทหารมาซ้อมรบ ยิงปืนใหญ่ จึงไม่แน่ชัดนักว่าองค์ที่เห็นปัจจุบันจะใช่องค์ดั้งเดิมหรือไม่ค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434

    อ่านแล้วเห็นความงดงามในจิตของพุทธศาสนิกชนเลยค่ะ

    ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  13. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ก่อนที่จะไปสู่พิธิมอบทองคำเข้าคลังหลวง (ตอนสุดท้าย) ควรได้ทราบเกี่ยวกับ "มหาภัยคุกคามคลังหลวง" กันก่อน

    ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา ได้มีความพยายามจะแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.เงินตรา เพื่อนำสมบัติในคลังหลวงออกมาใช้ถึง ๒ ครั้ง

    ครั้งแรก ในปี ๒๕๔๓ อ้างว่าเพื่อรวมบัญชี โชคดีที่คัดค้านได้สำเร็จ ทำให้ไทยชำระหนี้ ไอเอ็มเอฟ ได้ก่อนกำหนดอีกด้วย

    ครั้งที่ ๒ ในปี ๒๕๕๐ อ้างว่า เพื่อลงทุนในตราสารต่างประเทศ เช่นสหรัฐ ยุโรป
    เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุดและมีความมั่นคง เดชะบุญที่รัฐบาลเคารพธรรมของหลวงตา หาไม่แล้วทุนสำรองที่สะสมอย่างยาวนานคงต้องหมดสิ้น และชาวไทยจะต้องทุกข์ยากลำบากแสนสาหัสยิ่งกว่าในปี ๒๕๔๑ เพราะในปีต่อมา คือปี ๒๕๕๑ เลห์แมน บราเธอร์ วาณิชธนกิจของสหรัฐ ใหญ่
    เป็นอันดับ ๔ ของโลก มีอายุเก่าแก่ถึง ๑๕๘ ปี ประกาศล้มละลาย ทำให้เศรษกิจสหรัฐวิกฤติหนักที่สุดในรอบศตวรรษ กระทบถึงเศรษฐกิจของ
    ชาติอื่นๆทั่วโลกที่ไปลงทุนในตราสารที่สหรัฐและยุโรป


    *" การที่หลวงตาท่านออกมาขัดขวางการรวมบัญชี ก็เท่ากับว่าเป็นการป้องกันไม่ให้มีการนำเงินจากคลังหลวงไปใช้เพื่อการอื่น นอกจากการสำรองเพื่อผลิตธนบัตร จึงทำให้เงินในคลังหลวงยังเหลืออยู่เต็มที่และพอกพูนขึ้น..
    เป็นหลักฐานของความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นในสายตาของต่างประเทศทั่วโลก" (คำบรรยายเรื่อง"คลังหลวงของปวงชน" โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติ
    ๕ ส.ค. ๔๕ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2010
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สาธุ ประเทศชาติเฉียดคำว่าล้มละลายมาได้ หลวงตาท่านเมตตาช่วยไว้ สาธุ
     
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เรื่องวัดป่าแก้ว กรมศิลปากรเองก็เคยเอ่ยถึง

    กองทัพกรุงศรีฯที่ยกออกมาจากพระนครเพื่อมารับมือกับกองทัพพม่าที่ตั้งยกขึ้นมาถึงด่านขนอนหลวงบางตะนาวศรี ซึ่งมาทางเรือ และมาทางค่ายบางไทร วัดป่าแก้วที่รวมทัพกรุงศรีฯต้องอยู่ติดแม่น้ำเพื่อรับมือกองทัพข้าศึกทางเรือ อีกทั้งต้องพร้อมจะรับกองกำลังรบทางบกที่มาทางค่ายบางไทร วัดป่าแก้วที่ว่านี้ก็ควรจะอยู่ด้านตะวันตกของพระนครศรีอยุธยาค่ะ เพื่อรับมือกับข้าศึกได้ทั้งทางบกและทางน้ำ เพื่อมิให้ล่วงล้ำเข้าพระนคร ทีนี้เราลองเอาแผนที่มาดูกันว่าแนวรบจะเป็นด้านไหนได้บ้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2010
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จากถนนกาญจนาภิเษกที่วิ่งมาจากบางบัวทอง เมื่อถึงแยกบางปะหัน เลี้ยวซ้ายเข้าถนนหมายเลข 347 จะผ่านบางไทร

    วิ่งไปจนตัดกับถนนหมายเลข 3263 จุดที่ถนนทั้งสองเส้นตัดกันคือ สี่แยกวรเชษฐ์ มองขวามือก็คือวัดวรเชษฐ์

    ซึ่งวัดนี้มีแนวถนนโบราณไปจนถึงริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดกว้างขวางพอที่จะตั้งทัพเรือนหมื่นเรือนแสนคนได้

    ที่กล่าวถึงบริเวณทั้งสองนี้เพราะเป็นฝั่งด้านตะวันตกของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาค่ะ


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2010
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เห็นคำว่าบ้านป้อมไหมคะ ซ้ายมือของตัวหนังสือบ้านป้อมคือวัดวรเชษฐ์ แนวถนนโบราณก็คือขวามือของตัวหนังสือค่ะ เรื่อยไปจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยา

    พระยาเพชรบุรียกกองทัพเรือออกมา ก็ควรจะมีที่ตั้งกองกำลังติดริมแม่น้ำและสามารถป้องกันพระนครและพระบรมมหาราชวังจากค่ายบางไทรที่ข้าศึกยึดอยู่ได้

    เพื่อป้องกันพระนครได้อีกทางในกรณีที่ข้าศึกจะยกกำลังเข้าโจมตีทางบกค่ะ


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2010
  18. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ค้นหาเรื่องของเจ้าขรัวเงินได้อีกนิดโดยบังเอิญอีกแล้วคะ ขนลุกถึงหัวเลย

    วัดป่าแก้ว ใกล้บางไทร ใกล้ด่านขนอนหลวงวัดโปรดสัตว์ วัดป่าแก้วนี้ก็คือ วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) นั่นเอง


    ได้สองเรื่องเลย ขนลุกไม่หายอีกแล้วค่ะกองทัพกรุงศรีฯที่ยกออกมาจากพระนครเพื่อมารับมือกับกองทัพพม่าที่ตั้งยกขึ้นมาถึงด่านขนอนหลวงบางตะนาวศรี ซึ่งมาทางเรือ และมาทางค่ายบางไทร วัดป่าแก้วที่รวมทัพกรุงศรีฯต้องอยู่ติดแม่น้ำเพื่อรับมือกองทัพข้าศึกทางเรือ อีกทั้งต้องพร้อมจะรับกองกำลังรบทางบกที่มาทางค่ายบางไทร วัดป่าแก้วควรอยู่ด้านตะวันตกหรือด้านตะวันออกของพระนครศรีอยุธยากัน ลองเอาแผนที่มาดูกันว่า

    วัดป่าแก้วที่หมายถึงในบทความของกรมศิลปากรนี้จะเป็นวัดใดได้บ้าง ระหว่างวัดวรเชษฐ์กับวัดใหญ่ชัยมงคล<!-- google_ad_section_end -->


    อนุโมทนา ครับ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ?
     
  19. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    พระยาเพชรบุรียกกองทัพเรือออกมา ก็ควรจะมีที่ตั้งกองกำลังติดริมแม่น้ำและสามารถป้องกันพระนครและพระบรมมหาราชวัง



    ครับ กองเรือหรือทหารเรือต้องอยู่ใกล้กันหรือติดกับแม่น้ำครับ สะดวกและเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ในด้านวิชาการทหารแล้วก็คงจะคาดว่าเป็นอย่างนี้ใช่ไหมคะพี่

    สาธุค่ะพี่จงรักภักดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...