ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210

    อนุโมทนาด้วยค่ะ

    พอมีกำหนดงาน หรือรายละเอียดงาน คร่าวๆ หรือเปล่าคะคุณไก่เหลือง หางขาว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2010
  2. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    หากย้อนเวลากลับไป ๔๑๘ ปี คือเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ ณ วันและเวลาที่ทัพศรีอยุธยาและทัพพม่าประจัญหน้ากันอยู่ ในขณะนั้นถือได้ว่าเป็นความเป็น
    ความตายของชาติไทยโดยแท้ เหมือนคนไข้ที่จะรอดหรือจะตายอยู่ที่หมอ
    รักษาเพียงผู้เดียว ถ้าหมอผู้รักษาให้ยาถูกต้องก็จะอยู่รอดปลอดภัยแต่หาก
    หมอตัดสินใจเยียวยาผิดพลาดก็ย่อมเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยอย่างไม่ต้องสงสัย
    ในพระทัยของสมเด็จพระนเรศวรผู้เป็นเจ้าในขณะนั้น วินาทีนั้นพระองค์ย่อม
    ทรงตระหนักดีว่า หากฝืนทำการรบตามรูปแบบต่อไป กองทัพไทยอาจจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และพระองค์เองก็อาจจะไม่รอดพ้นจากการโจมตีจากทัพพม่า
    เป็นแน่ พระองค์ทรงทราบดีว่าสภาพของกองทัพที่ขาดผู้นำจะเป็นฉันใด แน่นอนย่อมเสียขวัญกำลังใจ แตกกระฉานซ่านเซ็น ชาติไทยก็จะต้องตกเป็น
    เมืองขึ้นของพม่าอีกครั้งหนึ่ง พระองค์จึงได้ตัดสินพระทัยด้วยความเด็ดเดี่ยว
    กล้าหาญ ยอมเสียสละพระชนม์ชีพโดยใช้เป็นเดิมพันด้วยการไสพระคชาธารตรงเข้าหาสมเด็จพระมหาอุปราชา ด้วยพระทัยที่มุ่งมั่นจะกระทำยุทธหัตถีต่อ
    พระมหาอุปราชา หากพระองค์มีชัยชนะก็สามารถสงวนชีวิตของเหล่าทหาร
    ไทยไว้ได้เป็นจำนวนมาก ประการสำคัญเป็นการแสดงให้เห็นน้ำพระทัยที่เสียสละ แสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่กล้าเสี่ยงยอมสละแม้นพระชนม์ชีพเพื่อลูก
    น้องและผู้ใต้บังคับบัญชา ( การกระทำยุทธหัตถีหรือการรบบนหลังช้างนั้น ย่อม
    เป็นที่รู้กันดีว่าต้องตายกันไปไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่ง ) ดังนั้น ณ วินาทีนั้นจึงเป็นความเป็นความตายของชาติไทยอย่างไม่ต้องสงสัย



    ข้าพระพุทธเจ้าสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2010
  3. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    เดี๋ยวจะรีบนำมายรายงานให้เร็วที่สุดครับ
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    รูปแบบกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ขอเทิดทูนพระปรีชาสามารถในการจัดกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <CENTER>[SIZE=+2]การทหารของไทยสมัยอยุธยา[/SIZE]</CENTER>
    [SIZE=+2][​IMG] รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช[/SIZE]</FONT< font> (พ.ศ. 2133-2147)



    <CENTER><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><DD>สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเริ่มปรับปรุงกิจการทหารมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ คือตั้งแต่ พ.ศ. 2112 ซึ่งเป็นห้วงเวลาแห่งการกอบกู้เอกราช ได้ทรงนำวิธีการรบใหม่ ๆ มาใช้หลายประการอย่างได้ผล พอประมวลได้ดังนี้ <DD>การขยายคูพระนครด้านตะวันออก (คลองขื่อหน้า) ซึ่งเดิมเป็นที่แคบ ข้าศึกสามารถเข้าถึงกำแพงพระนครได้สะดวกกว่าด้านอื่น ทรงขยายกำแพงด้านนี้ออกไป จนจดริ่มแม่น้ำเหมือนด้านอื่น ทรงสร้างป้อมมหาชัย ซึ่งเป็นป้อมสำคัญทางด้านที่แม่น้ำป่าสักมาบรรจบ ป้อมเพชร อยู่ตรงข้ามกับคลองบางกระจะ และ ป้อมซัดกบ ตรงที่แม่น้ำเจ้าพระยามาบรรจบ เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่กรุงศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญ <DD><DD><CENTER><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><DD><CENTER></CENTER><DD>เปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ในการทำสงคราม ได้ดำเนินการทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เดิมจะใช้กรุงศรีอยุธยา เป็นที่มั่นตั้งรับอย่างเดียว ก็เปลี่ยนเป็นใช้กำลังออกไปยับยั้งข้าศึกตั้งแต่ชายแดนเข้ามา ดังที่ทรงส่งกำลังทหารม้าไปยับยั้งกองทัพกัมพูชา ที่ยกเข้ามาบริเวณปากช่อง ดงพญากลาง เมื่อปี พ.ศ. 2123 <DD><DD>ใช้หลักยุทธศาสตร์การเดินทัพเส้นนอกและเส้นใน มีปรากฎเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การสงครามของไทย ดังที่ทรงเป็นจอมทัพ นำทัพเข้าตีเมืองละแวก ราชธานีของกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ. 2136 โดยใช้เส้นทางเดินทัพเข้าตีหลายทิศทาง นับเป็นการเดินทัพทางเส้นนอก และการใช้กำลังเข้าตีกองทัพพระยาพะสิม และกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2127-2129 โดยการเข้าตีทีละครั้ง ไม่ให้ทั้งสองทัพรวมกันได้ นับเป็นการเดินทัพเส้นใน <DD><DD>การตั้งหน่วยเตรียมเสบียงอาหาร กองทัพเดินได้ด้วยท้อง เป็นเรื่องที่ทราบและตระหนักกันดีในบรรดานักการทหาร การยกทัพไปทำการรบในต่างแดน และในที่ห่างไกลจากแหล่งเสบียบอาหาร มักจะเกิดปัญหาการขาดแคลนสเบียงอาหารอยู่เสมอ เนื่องจากเสบียงอาหารในท้องถิ่นมีไม่พอ และการลำเลียงทำไม่ทัน เนื่องจากระยะทางไกล และทุรกันดาร พระองค์ทรงแก้ไขด้วยการตั้งหน่วยเสบียงขึ้นต่างหาก มีกำลังทั้งทางบกและทางเรือ มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่กำกับการโดยเฉพาะ ผลสำเร็จในเรื่องนี้จะเห็นได้จากการทัพในกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ. 2136 <DD><DD>การปรับปรุงด้านการเตรียมพล ความจำเป็นในการที่ต้องใช้กำลังพล ให้มากพอในการป้องกันประเทศ ทำให้ต้องมีการจัดการจัดหากำลังพล ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบการปกครองพื้นที่เสียใหม่ จากเดิมโดยขยายเขตหัวเมืองชั้นในให้กว้างขวางออกไปคือ ทิศเหนือขยายถึงเมืองนครสวรรค์ ทิศตะวันออกถึงเมืองปราจีนบุรี ทิศใต้ถึงเมืองนครชัยศรี และทิศตะวันตกถึงเมืองราชบุรี สำหรับหัวเมืองชั้นนอก ทั้งที่เป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเมืองพระยามหานครทั้งหมด ให้มาขึ้นกับราชธานีคือกรุงศรีอยุธยาโดยตรง แต่ยังทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์ หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นผู้สำเร็จราชการ มีกรมการพนักงานปกครองครบทุกแผนก เช่นเดียวกับราชธานี <CENTER><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]




    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>



    <DD>


    <DD>นอกจากนั้นได้มีการปรับปรุงตำราพิชัยสงคราม และนำเอายุทธวิธีใหม่ ๆ มาใช้อย่างได้ผล เช่น เปลี่ยนวิธีการรบจากการตั้งรับอยู่กับที่ ที่ใช้มาแต่เดิม มาใช้วิธีรุกเข้าหาข้าศึก เพื่อชิงความได้เปรียบในฐานะที่เป็นฝ่ายริเริ่ม ใช้กำลังน้อยที่แข็งแกร่งเข้าจู่โจมข้าศึก เพื่อทำลายขวัญ ใช้กลยุทธล่อหลอกให้ข้าศึกถลำเข้าไปในที่ล้อม เพื่อระดมกำลังเข้าทลายข้าศึกได้โดยง่าย ใช้วิธีรบแบบกองโจร รบกวนข้าศึกทางเขตหลังของข้าศึก เพื่อให้เกิดความระส่ำระสาย และยากลำบากต่อการส่งกำลังบำรุงของข้าศึก ตั้งหน่วยรบพิเศษ เพื่อปฏิบัติการเฉพาะกิจ ตามสถานการณ์ในการรบ เช่นหน่วยทหารราบพิเศษ ของพระราชมนู หน่วยทหารม้าพิเศษ ของพระชัยบุรี และพระศรีถมอรัตน์ ในการรบกับกองทัพกัมพูชา ที่ดงพญากลางเมื่อปี พ.ศ. 2137 เป็นต้น <DD><DD>ด้านกำลังทางเรือ ได้มีการยกกำลังทางเรือ ไปตีเมืองบันทายมาศ หรือเมือง ฮาเตียน (Hathien) ในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2136




    <DD>[SIZE=+2][​IMG] รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ[/SIZE] ในรัชสมัยของพระองค์ ราชอาณาจักรไทย เกือบจะไม่มีสงคราม เพราะไทยกับพม่าได้ทำสงครามกันมาอย่างหนัก ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รวมทั้งด้านกัมพูชาก็เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงกิจการทหารในห้วงนี้คือ การรับชาวต่างประเทศมาเป็นทหาร โดยตั้งเป็นหน่วยทหารอาสาต่างชาติ เรียกว่ากรมทหารอาสา เช่น กรมทหารอาสาญี่ปุ่น กรมทหารอาสาจาม กรมทหารแม่นปืน (ชาวโปรตุเกสเดิม) หน่วยทหารเหล่านี้มีหน้าที่รักษาพระองค์และรักษาพระนคร


    ลูกหลานไทยเมื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงรัชสมัยของพระองค์ จะตระหนักถึงพระปรีชาสามารถในการรบและการปรับกลยุทธการเอาชนะศึก และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมของพระองค์ ทรงกล้าหาญเด็ดเดี่ยวยิ่งนัก ทรงดำรงพระสถานะกษัตริย์นักรบอย่างสมพระเกียรติด้วยสายพระโลหิตชายชาติทหารกล้าในพระวรกาย

    <DD>



    <DD>

    <DD>หากย้อนเวลากลับไป ๔๑๘ ปี คือเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ ณ วันและเวลาที่ทัพศรีอยุธยาและทัพพม่าประจัญหน้ากันอยู่ ในขณะนั้นถือได้ว่าเป็นความเป็น
    ความตายของชาติไทยโดยแท้ เหมือนคนไข้ที่จะรอดหรือจะตายอยู่ที่หมอ
    รักษาเพียงผู้เดียว ถ้าหมอผู้รักษาให้ยาถูกต้องก็จะอยู่รอดปลอดภัยแต่หาก
    หมอตัดสินใจเยียวยาผิดพลาดก็ย่อมเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยอย่างไม่ต้องสงสัย
    ในพระทัยของสมเด็จพระนเรศวรผู้เป็นเจ้าในขณะนั้น วินาทีนั้นพระองค์ย่อม
    ทรงตระหนักดีว่า หากฝืนทำการรบตามรูปแบบต่อไป กองทัพไทยอาจจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และพระองค์เองก็อาจจะไม่รอดพ้นจากการโจมตีจากทัพพม่า
    เป็นแน่ พระองค์ทรงทราบดีว่าสภาพของกองทัพที่ขาดผู้นำจะเป็นฉันใด แน่นอนย่อมเสียขวัญกำลังใจ แตกกระฉานซ่านเซ็น ชาติไทยก็จะต้องตกเป็น
    เมืองขึ้นของพม่าอีกครั้งหนึ่ง พระองค์จึงได้ตัดสินพระทัยด้วยความเด็ดเดี่ยว
    กล้าหาญ ยอมเสียสละพระชนม์ชีพโดยใช้เป็นเดิมพันด้วยการไสพระคชาธารตรงเข้าหาสมเด็จพระมหาอุปราชา ด้วยพระทัยที่มุ่งมั่นจะกระทำยุทธหัตถีต่อ
    พระมหาอุปราชา หากพระองค์มีชัยชนะก็สามารถสงวนชีวิตของเหล่าทหาร
    ไทยไว้ได้เป็นจำนวนมาก ประการสำคัญเป็นการแสดงให้เห็นน้ำพระทัยที่เสียสละ แสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่กล้าเสี่ยงยอมสละแม้นพระชนม์ชีพเพื่อลูก
    น้องและผู้ใต้บังคับบัญชา ( การกระทำยุทธหัตถีหรือการรบบนหลังช้างนั้น ย่อม
    เป็นที่รู้กันดีว่าต้องตายกันไปไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่ง ) ดังนั้น ณ วินาทีนั้นจึงเป็นความเป็นความตายของชาติไทยอย่างไม่ต้องสงสัย



    ข้าพระพุทธเจ้าสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
    </DD>



    เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งในข้อความของพี่จงรักภักดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นผู้นำของผู้นำ เป็นที่สุดของผู้นำ ทรงนำพาจิตวิญญาณของชนในชาติเวลานั้นที่กลัวพม่า เพราะพม่ามีกำลังมากกว่าและโหดร้ายกว่า ให้ชนในชาติมีขวัญและกำลังใจ สามารถลุกขึ้นสู้สุดใจถวายชีวิตได้ ทำให้ลูกหลานไทยมีแผ่นดินอาศัยอยู่จนทุกวันนี้

    พระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้

    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2010
  6. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    สาธุขออนุโมทนากับคุณทางสายธาตุ ครับ

    การสงครามผ่านไปแล้วนะครับเมื่อวานนี้ ก็ต้องคั่นจังหวะกันด้วยธรรมะนี่แหละ

    ครับ แทบจะทุกหลักฐานกล่าวไว้ตรงกันว่าสมเด็จท่านใส่พระทัยในพระพุทธ

    ศาสนาและการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ดังมีหลักฐานที่คุณทางสายธาตุได้

    กรุณานำมากล่าวถึงเนืองๆ ส่วนผมขออนุญาตนำ วิธีเจริญสมาธิภาวนา ของ

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล มาฝากครับ




    <TABLE class=tborder id=post2859402 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] เมื่อวานนี้, 07:59 AM </TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right></TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->jinny95<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2859402", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Oct 2007
    สถานที่: แหวกตรงกลาง
    ข้อความ: 4,175
    พลังการให้คะแนน: 529 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG] [​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_2859402 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><CENTER><!-- google_ad_section_start -->วิธีเจริญสมาธิภาวนา โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล<!-- google_ad_section_end -->

    </CENTER>
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-2576485761337625";/* 250x250, created 31/01/09 */google_ad_slot = "7252767143";google_ad_width = 250;google_ad_height = 250;//--> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 250px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 250px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 250px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 250px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"></INS></INS>
    วิธีเจริญสมาธิภาวนา
    โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


    วิธีเจริญสมาธิภาวนาตามแนวการสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มีดังต่อไปนี้

    ๑. เริ่มต้นด้วยอิริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก

    ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว หรือรู้ “ตัว” อย่างเดียว

    รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ “รู้อยู่เฉยๆ” ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม

    เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ

    จากนั้นค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีกจนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณาและรักษาจิตต่อไป

    ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน “พฤติแห่งจิต” โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร

    ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการ เจริญจิตครั้งต่อๆ ไป

    ในกรณีที่ไม่สามารทำเช่นนี้ได้ ให้ลองนึกคำว่า “พุทโธ” หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต

    พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง

    ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว

    เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้

    ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นไปสู่อารมณ์ทันที

    เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเอง ก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง

    ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ

    เจตจำนงนี้ คือ ตัว “ศีล”

    การบริกรรม “พุทโธ” เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป

    แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้ง ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

    ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่องถึงความชัดเจนและความไม่ขาดสายของพุทโธจะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ

    เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่ามีลักษณาการประหนึ่งบุรุษผู้หนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่ คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขน พร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่าถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย

    เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลาและบั่นทอนความศรัทธาของตนเองเลย

    เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อยๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อยๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าวก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบและคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึก และ “พฤติแห่งจิต” ที่ฐานนั้นๆ

    บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ

    ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้ สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือกิเลสปรุงจิต)

    ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสามคือ ราคะ โทสะ โมหะ

    ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไป ก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิต ให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน)

    ระวังจิตไม่ให้คิดถึงเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖

    ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อยๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อยๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ

    คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิด

    ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามใช้สติ สังเกตดูที่จิต ทำความสงบอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติแห่งจิต ได้อย่างละเอียดละออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่าเกิดจากความคิดนั่นเอง และความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่งหาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้

    คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง

    ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใดๆ ทั้งสิ้น จิตก็จะอยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น

    เรียกว่า “สมุจเฉทธรรมทั้งปวง”

    ๗. ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึกถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้นก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีกไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า “พ้นเหตุเกิด”

    ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร

    เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่าธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่าไม่มีธรรมนั่นแหละ มันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)

    เมื่อจิตว่างจาก “พฤติ” ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิต นั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซึมซาบอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน

    เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร

    เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว “จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง” จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า “นิพพาน”

    โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้นเป็นแบบ “ปริศนาธรรม” มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้นคำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้น มีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า “พฤติของจิต” แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น

    คำว่า “ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต” เหล่านี้ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่าย เข้าใจง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่

    ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ “พฤติแห่งจิต” อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการ ปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลังเพราะคำว่า “มรรคปฏิปทา” นั้น จะต้องอยู่ใน “มรรคจิต” เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย

    การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วยวิสุทธิศีล วิสุทธิมรรค พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้


    คัดลอกจาก www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6690

    <!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->สติปัฏฐานสี่
    <!-- google_ad_section_end -->


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    *ขอขอบคุณทุกแหล่งที่มาครับ
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
     
  7. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    รายละเอียดของงานนะครับ

    วัน: จันทร์ 25 ม.ค. 2553

    เวลา: 8.49 น. เริ่มพิธี

    10.30 น. ทำบุญผ้าป่ากองทุนงานบวงสรวงประจำปีองค์สมเด็จพ่อพระนเรศเป็นเจ้า

    สถานที่: วัดหทัยนเรศวร์ ถ.บรมราชชนนี (กม.19) ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม

    วัดนี้อยู่ริมถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ฝั่งขาเข้า, 1 กิโลเมตรจากแยกพุทธมณฑลสาย 4 จะไปพุทธมณฑลสาย 5 ครับ, ถ้าใช้ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี เป็นตัวคั่นกลางวัดจะอยู่ฝั่งเดียวกับม.มหิดล ศาลายา เยื้องกับพุทธมณฑลครับ

    โทร: 02-889-4223, 081-610-6673 (โทรถามรายละเอียดต่างๆได้เลยครับ)

    เสาร์ที่ 23 มค.นี้มีบวชเนกขัมมะด้วยนะครับ เริ่มเวลา 14.00 น. ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  8. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210


    อนุโมทนา ขอบคุณมากค่ะ คุณไก่เหลือหางขาว

    เมื่อวานพี่โมเยได้ติดต่อไปยัง พระอาจารย์สมเกียรติ กตปัญโญ

    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส



    พี่โมเยจะขอถวายแผ่นเพลง บทเพลง พระนเรศวร แก่ทางวัด

    จำนวน 20 แผ่น รายได้ขอถวายแก่วัด หทัยนเรศวร

    เพื่อร่วมประกาศพระเกียรติ ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขอบคุณค่ะที่นำข่าวงานบุญมาบอกกล่าวกัน

    เคยแวะไปที่วัดเพื่อเช่าพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชค่ะ ตอนนั้นยังไม่มีรูปหล่อขนาด 5 " จะโทรไปสอบถามดูอีกครั้งค่ะ ขอบคุณที่มาให้ข้อมูลไว้นะคะ
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434

    ขออนุโมทนากับน้องโมเยค่ะ
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์

    [​IMG]

    ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าโรง ห่างจากที่ท่าการอำเภอวิเชียรบุรีไปประมาณ 2 กม. ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21เส้นทางหล่มสักสระบุรี เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งชาวอำเภอวิเชียรบุรีร่วมใจกันก่อสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์เมื่อครั้งที่เสด็จยกกองทัพไปปราบทัพพญาระแวก ที่เมืองเขมร และได้พักทัพที่เมืองวิเชียรบุรีแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาทำพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2518

    สมัยกรุงศรีอยุธยา

    เมื่อปี พ.ศ.1894 กรุงสุโขทัยในสมัยของพระธรรมราชาที่ 4 (พระบรมบาล) เสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองเจ้าเมืองจึงยกกองทัพเข้ายึดกรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้นได้ แล้วทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทำให้เมืองศรีเทพต้องตกไปขึ้นการปกครองของกรุงศรีอยุธยาโดยปริยาย เจ้าเมืองผู้ปกครองนั้นยังคงนามว่า “พระศรีถมอรัตน์” เช่นดังเดิม

    ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ (พ.ศ.1991 - 2031) ทรงจัดการปกครองหัวเมืองต่างๆ ไว้ชัดเจนแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช แต่ละเมืองมีตำแหน่งยศของเจ้าผู้ปกครองเมืองตามลำดับชั้น พร้อมกับพระราชทานเครื่องยศ ได้แก่ กำหนดศักดินา และเครื่องทอง เป็นต้น ส่วนเมืองศรีเทพนั้นมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกชั้นจัตวา ตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นชั้น “พระ” ไม่เปลี่ยนแปลง

    ต่อมาในราวปี พ.ศ.2114 สมัยแผ่นดินของพระมหาธรรมราชา (ซึ่งขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวร ทรงมีพระชันษาได้ 16 ปี พระราชบิดาทรงโปรดให้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก) นามของเมืองศรีเทพได้ปรากฏชัดเจนในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทยเพราะมีการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้นายกองผู้กล้าหาญ ซึ่งเป็นนายทหารเอกคนหนึ่งของสมเด็จพระนเรศวร ไม่ปรากฏนามเดิมว่าอย่างไร เป็นที่ “พระศรีถมอรัตน์ เจ้าเมืองคนใหม่ปกครองเมืองศรีเทพแทนเจ้าเมืองคนเดิมผู้เป็นบิดาซึ่งชราภาพมาก ทำให้สภาพบ้านเมืองมีความเข้มแข็งประชาชนต่างอยู่เย็นเป็นสุขไม่มีโจรผู้ร้ายเลย เพราะเจ้าเมืองเป็นทหารผู้มีฝีมือการรบต่อสู้อีกทั้งร่างกายกำยำเข้มแข็งสมบูรณ์ มีจิตใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในเวลาต่อๆ มา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงโปรดเกล้าให้คุมกองทัพเป็นแม่ทัพหน้า จนสามารถช่วยกอบกู้เอกราชบ้านเมืองคืนจากพม่าได้สำเร็จ จากการกระทำสงครามกำศึกได้รับชัยชนะหลายครั้งหลายครา จึงได้รับเลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์โปรดเกล้าเป็น “พระยาศรีไสยณรงค์” และ “พระยาตะนาวศรี” รั้งเมืองตะนาวศรี เป็นตำแหน่งสุดท้ายและถึงแก่อนิจกรรม ณ เมืองนี้

    จากพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (เมืองปี พ.ศ.2486) บางตอนที่เกี่ยวกับเมืองศรีเทพกล่าวไว้ว่า “ต่อมาเมื่อปีเถาะ พ.ศ.2122 เจ้ากรุงกัมพูชาให้ทศราชาคุมกองทัพเขมรเข้ามาตีเมืองนครราชศรีมา ที่เมืองนครราชศรีมาขณะนั้นไม่มีกำลังต่อสู้ พระทศราชาได้เมืองโดยง่าย ก็กำเริบสั่งให้ทหารคุมกองทัพหน้ายกเข้ามายังเมืองชั้นใน หมายจะปล้นทรัพย์จับชาวเมืองสระบุรีและเมืองอื่นๆ เอาไปเป็นเชลย เวลานั้นเผอิญสมเด็จพระนเรศวรเสด็จลงมาประทับในกรุงศรีอยุธยา พอทรงทราบก็รีบเข้ากราบทูล พระราชบิดาพระมหาธรรมราชาทรงมีพระราชอนุญาตไปปราบศึกษาครั้งนี้ พระองค์จึงขอไพล่พลที่อยู่ประจำราชการ 3,000 คน โดยให้พวกข้าหลวงในพระองค์เป็นนายหมวดนายกอง รีบเสด็จขึ้นไปเมืองชัยบาดาล ตรัสสั่งให้พระชัยบุรีเจ้าเมืองชัยบาดาล และพระศรีถมอรัตน์เจ้าเมืองศรีเทพ ซึ่งเป็นทหารเอกรุ่นใหม่ของพระองค์คุมพลไปตั้งซุ้มในดงพระยากลาง 2 ข้าง ทางที่ข้าศึกจะยกลงมา ฝ่ายพวกเขมรเคยได้เมืองนครราชศรีมาง่ายๆ นึกว่าจะไม่มีใครต่อสู้ยกกองทัพโดยประมาท พอถึงที่ซุ่มพระชัยบุรีและพระศรีถมอรัตน์ก็ออกล้อมรบฆ่าฟันล้มตายแตกหนีไป แต่พอข้าศึกแตกหนี สมเด็จพระนเรศวรก็ตรัสสั่งให้กองทัพหลวงรีบติดตามตีกระหน่ำไปมิให้มีเวลาหยุดยั้งตั้งตัว พวกเขมรกองทัพหน้าที่เหลือตามหนีกลับไป และปะทะทัพหลวงของพระทศราชาซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองนครราชสีมาพระทศราชาไม่รู้ว่ากองทัพข้าศึกจะใหญ่หลวงเพียงใด ก็รีบล่าทัพหนีไปเมืองเขมร ตั้ง แต่นั้นพวกเขมรไม่กล้ามาย่ำยีเมืองไทยอีก…..”

    ก่อนที่จะยกกองทัพกลับคืนสู่พระนครพระองค์ทรงมีความรักใคร่และชื่นชมในความกล้าหาญของเจ้าเมืองทั้งสองมาแต่ก่อนและรวมในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วยประการหนึ่ง ทั้งยังไม่เคยเสด็จไปเมืองศรีเทพเลยจึงถือโอกาสทรงเยี่ยมเยียนและให้ขวัญกำลังใจแก่พระศรีถมอรัตน์และพสกนิกรของพระองค์ในเมืองนี้อีกประการหนึ่ง จึงทรงตรัสสั่งให้จัดกองทัพบางส่วนเคลื่อนออกจากเมืองชัยบาดาลขึ้นเหนือไปยั้งทัพประทับ ณ เมืองศรีเทพ (บริเวณที่ตั้งศาลสมเด็จพระนเรศวรเก่า ( หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอวิเชียรบุรี ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี) ชาวเมืองได้ทราบข่าวต่างดีใจเป็นอย่างยิ่งรีบออกมารับเสด็จ เพื่อชื่นชมพระบารมีกันอย่างเนื่องแน่น เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เจ้าเมืองและชาวบ้านประทับใจมิเคยลืมเลือนพากันเคารพนับถือบูชากราบไหว้พลับพลาที่สร้างไว้เป็นที่ประทับ โดยถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ภายหลังทรงเสด็จสวรรคตแล้วก็ยังคงความเชื่อว่า ดวงพระวิญญาณของพระองค์ยังคงสถิตย์เพื่อคอยคุ้มครองปกป้องบ้านเมืองนี้อยู่เสมอมา

    สมัยรัชกาลแห่งกรุงศรีอยุธยาลำดับต่อๆ มา เมืองศรีเทพแห่งนี้ยังคงมีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองชั้นนอก ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา โดยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งทายาทของเจ้าเมืองคนเก่าๆ เป็นเจ้าเมืองปกครองสืบต่อๆ กันมามิได้ขาดและยังมีหลักฐานปรากฏที่น่าเชื่อได้ว่า เจ้าเมืองศรีเทพคนถัด ๆ ต่างเป็นทายาทตระกูลเดียวกันที่ได้รับแต่งตั้งสืบต่อๆ กันมามิได้ขาด อีกทั้งยังเคยเป็นทหารที่มีความเข้มแข็งกล้าหาญเก่งกล้าเชิงการรบกันแทบทุกคน


    อ้างอิงข้อมูลอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติบางส่วนของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจากเวปไซด์

    ประวัติศาสตร์ชนพื้นเมืองอำเภอวิเชียรบุรี
     
  12. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ไก่เหลืองหางขาว [​IMG]
    รายละเอียดของงานนะครับ

    วัน: จันทร์ 25 ม.ค. 2553

    เวลา: 8.49 น. เริ่มพิธี

    10.30 น. ทำบุญผ้าป่ากองทุนงานบวงสรวงประจำปีองค์สมเด็จพ่อพระนเรศเป็นเจ้า

    สถานที่: วัดหทัยนเรศวร์ ถ.บรมราชชนนี (กม.19) ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม

    วัดนี้อยู่ริมถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ฝั่งขาเข้า, 1 กิโลเมตรจากแยกพุทธมณฑลสาย 4 จะไปพุทธมณฑลสาย 5 ครับ, ถ้าใช้ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี เป็นตัวคั่นกลางวัดจะอยู่ฝั่งเดียวกับม.มหิดล ศาลายา เยื้องกับพุทธมณฑลครับ

    โทร: 02-889-4223, 081-610-6673 (โทรถามรายละเอียดต่างๆได้เลยครับ)

    เสาร์ที่ 23 มค.นี้มีบวชเนกขัมมะด้วยนะครับ เริ่มเวลา 14.00 น. ครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    อนุโมทนา ขอบคุณมากค่ะ คุณไก่เหลือหางขาว

    เมื่อวานพี่โมเยได้ติดต่อไปยัง พระอาจารย์สมเกียรติ กตปัญโญ

    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส



    พี่โมเยจะขอถวายแผ่นเพลง บทเพลง พระนเรศวร แก่ทางวัด

    จำนวน 20 แผ่น รายได้ขอถวายแก่วัด หทัยนเรศวร

    เพื่อร่วมประกาศพระเกียรติ ค่ะ<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ขวัญเอ๋ย แม่อยู่แห่งใด กลับฟ้าเมืองไทยอโยธยา



    ขออนุโมทนากับทั้งสองท่าน คุณ โมเย และคุณไก่เหลืองหางขาวครับ

    ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นคงได้ไปร่วมงานตามวันและเวลาครับ
     
  13. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    มิได้ครับ ผมก้อแค่ทำในสิ่งเล็กๆน้อยๆที่พอทำได้เพื่อองค์สมเด็จพ่อพระนเรศเป็นเจ้าท่านก็เท่านั้น

    ขออนุโมทนากับคุณพี่โมเยครับ จะรอฟังบทเพลงอันไพเราะนะครับ

    แล้วคงได้พบกันนะครับท่านจงรักภักดี
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จากนั้นค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีกจนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณาและรักษาจิตต่อไป

    ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน “พฤติแห่งจิต” โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร

    ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการ เจริญจิตครั้งต่อๆ ไป

    ในกรณีที่ไม่สามารทำเช่นนี้ได้ ให้ลองนึกคำว่า “พุทโธ” หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต

    พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง

    ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว

    เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้

    ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นไปสู่อารมณ์ทันที

    เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเอง ก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง

    ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ

    เจตจำนงนี้ คือ ตัว “ศีล”

    การบริกรรม “พุทโธ” เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป

    แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้ง ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

    ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่องถึงความชัดเจนและความไม่ขาดสายของพุทโธจะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ

    เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่ามีลักษณาการประหนึ่งบุรุษผู้หนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่ คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขน พร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่าถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย

    เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลาและบั่นทอนความศรัทธาของตนเองเลย


    ธรรมะหลวงปู่ดูลย์ อ่านง่ายมากค่ะ แต่หนูอ่านทีละข้อนะคะ แม้จะอ่านง่ายแต่ทำความเข้าใจในแต่ละข้อไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ สำหรับหนู คงต้องพิมพ์ออกมาเพราะหนูเห็นว่าดีมากเลยค่ะ ขออนุญาตเก็บไว้ค่อยๆอ่านค่อยๆเข้าใจค่ะพี่

    ทางสายธาตุขอบังอาจเปรียบธรรมะของหลวงปู่บทนี้ว่า เหมือนทางสายธาตุกำลังอ่านคู่มือการใช้งานเครื่องมืออุปกรณ์เลยค่ะ คือสอนให้เราทำไปทีละขั้น ทีละบท และให้ข้อควรระวังไว้ด้วย เมื่ออ่านและลองฝึกใช้เครื่องมือนี้ตามคู่มือแล้ว ก็จะใช้งานเครื่องมือนี้ได้คล่องขึ้นเอง
     
  15. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    จากเรื่องราวของเมืองศรีเทพ ที่คุณทางสายธาตุได้นำเสนอไว้ ทำให้ได้ทราบ

    ข้อมูลของพระศรีถมอรัตน์เพิ่มขึ้นมาอีก

    .......ต่อมาในราวปี พ.ศ.2114 สมัยแผ่นดินของพระมหาธรรมราชา (ซึ่งขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวร ทรงมีพระชันษาได้ 16 ปี พระราชบิดาทรงโปรดให้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก) นามของเมืองศรีเทพได้ปรากฏชัดเจนในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทยเพราะมีการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้นายกองผู้กล้าหาญ ซึ่งเป็นนายทหารเอกคนหนึ่งของสมเด็จพระนเรศวร ไม่ปรากฏนามเดิมว่าอย่างไร เป็นที่ “พระศรีถมอรัตน์” เจ้าเมืองคนใหม่ปกครองเมืองศรีเทพแทนเจ้าเมืองคนเดิมผู้เป็นบิดาซึ่งชราภาพมาก ....

    สามารถแยกแยะได้ว่า

    -พระศรีถมอรัตน์ ต้องได้เคยปฏิบัติหน้าที่รับราชการงานกองทัพรับใช้ใกล้ชิด

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาก่อนหน้านี้มีตำแหน่งเป็นถึงนายกอง เมื่อเสด็จ

    ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกจึงได้โปรดเกล้าให้ไปกินเมืองศรีเทพในตำแหน่ง

    พระศรีถมอรัตน์ เรียกว่าพระองค์ทรงวางตัวไว้ในจุดที่สามารถเรียกใช้ได้อย่าง

    ทันท่วงที

    -พระศรีถมอรัตน์ มีฐานะเป็นถึงลูกเจ้าเมืองศรีเทพมาก่อน ทุกอย่างจึงลงตัว

    พอดี
     
  16. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    "ธรรมะหลวงปู่ดูลย์ อ่านง่ายมากค่ะ แต่หนูอ่านทีละข้อนะคะ แม้จะอ่านง่ายแต่ทำความเข้าใจในแต่ละข้อไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ สำหรับหนู คงต้องพิมพ์ออกมาเพราะหนูเห็นว่าดีมากเลยค่ะ ขออนุญาตเก็บไว้ค่อยๆอ่านค่อยๆเข้าใจค่ะพี่

    ทางสายธาตุขอบังอาจเปรียบธรรมะของหลวงปู่บทนี้ว่า เหมือนทางสายธาตุกำลังอ่านคู่มือการใช้งานเครื่องมืออุปกรณ์เลยค่ะ คือสอนให้เราทำไปทีละขั้น ทีละบท และให้ข้อควรระวังไว้ด้วย เมื่ออ่านและลองฝึกใช้เครื่องมือนี้ตามคู่มือแล้ว ก็จะใช้งานเครื่องมือนี้ได้คล่องขึ้นเอง<!-- google_ad_section_end --> "


    สาธุ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป ขออนุโมทนาครับ
     
  17. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466

    ต้องขอรบกวนสอบถามคุณไก่เหลืองเพิ่มเติมอีกนิด ถ้าไปจากทาง กทม. ผ่าน

    สี่แยกพุทธมณฑลไปแล้ว จะต้องไปกลับรถที่จุดไหนจึงจะเหมาะสมสามารถชิด

    ซ้ายเข้าวัด ได้สะดวกและปลอดภัย ช่วยกรุณาแนะนำด้วยนะครับ เคยแต่ผ่าน

    ไปมา ยังไม่เคยได้แวะเข้าไปเลยครับ
     
  18. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    จุดกลับรถที่ใกล้ที่สุดจะอยู่เลยพุทธมณฑลสาย 5 (กม.20) ไปเล็กน้อยครับ เป็นโค้งใหญ่สังเกตได้ง่ายมากครับ
     
  19. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488


    ฟอร์ทขออนุโมทนา และร่วมรำลึกถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยนะขอรับ
     
  20. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488

    ขออนุโมทนาบุญกับพี่โมโตย ฟอร์ทดีใจนักที่เพลงของพี่โมได้ดังก้อง

    กังวาลในงานแสงสีเสียงที่เมืองพิษณุโลก นับเป็นการเทิดพระเกียรติ

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า ในวันเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมจริงๆ

    สาธุ ขอรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...