การประกาศตนว่าสำเร็จอรหันต์ในยุคนี้ เป็นปาราชิกหรือไม่?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ชาไม่รู้, 7 เมษายน 2010.

  1. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    ข้อมูลอ้างอิงในประเด็น “ยุคนี้มีแต่พระอนาคามีไม่มีพระอรหันต์” จาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๗ หน้า ๓๑๙, พระไตรปิฎก ฉบับมหามงกุฎฯ เล่ม ๙ หน้า ๔๙๙




    ..............................................................................




    อายุพระพุทธศาสนา


    คำว่า "สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี" นั้น คัมภีร์ตติยสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยอธิบายว่า ถ้าให้สตรีบวชโดยไม่ได้บัญญัติครุธรรมป้องกันไว้ก่อน เวลาผ่านไป ๕๐๐ ปี ก็จะไม่มีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา


    แต่เมื่อบัญญัติครุธรรมไว้ก่อนที่สตรีจะบวช ในระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาอยู่

    ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอรหันต์สุกขวิปัสสกอยู่

    ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีอนาคามีอยู่*

    ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระสกทาคามีอยู่

    ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระโสดาบันอยู่

    สรุปว่า ปฏิเวธสัทธรรม จะดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี

    แม้ปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี เพราะปริยัติกับปฏิเวธต่างเกื้อกูลกัน



    * หมายเหตุ




    พันปีที่หนึ่ง คือ ๘๐ ปี ก่อน พ.ศ. ๑ ถึง พ.ศ. ๑,๐๐๐




    พันปีที่สอง คือ พ.ศ. ๑,๐๐๑ ถึง พ.ศ. ๒,๐๐๐




    พันปีที่สาม คือ พ.ศ. ๒,๐๐๑ ถึง พ.ศ. ๓,๐๐๐ (ตรงกับสมัยปัจจุบัน)




    พันปีที่สี่ คือ พ.ศ. ๓,๐๐๑ ถึง พ.ศ. ๔,๐๐๐




    พันปีที่ห้า คือ พ.ศ. ๔,๐๐๑ ถึง พ.ศ. ๕,๐๐๐



    กรณี มีพระภิกษุสงฆ์อ้างตนว่าได้บรรลุอรหันต์ตามหลักเถรวาทดั้งเดิม คือ อรหันต์ที่ละสังขารแล้วจะนิพพานเลยตามความเข้าใจของพุทธสาสนิกชน เท่ากับเป็นการขัดแย้งต่อไตรปิฎกในส่วนนี้ กรณี พระภิกษุสงฆ์ถูกต้อง เท่ากับพระไตรปิฎกผิดพลาด หรือทำลายพระธรรมในส่วนนี้ กรณี พระภิกษุสงฆ์นั้นผิด ย่อมถึงกับปาราชิก ด้วยมูลเหตุข้อ “อวดอุตริมนุษยธรรม” (หรือเพื่อลาภสักการะ) อันบัญญัติอยู่ในปาราชิก ๔ จำต้องสึกเสีย







    -จบ-
     
  2. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    อนุตรธรรม เรื่อง ลักษณะของผู้ที่จะได้นิพพานในยุคพระสมณโคดมนี้




    บทความนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ท่านตรวจเช็คตัวท่านเอง จะได้ไม่หลงตัวเองว่าอรหันต์ และนิพพานในพุทธกาลหรือชาตินี้แน่ๆ และจะได้ไม่ไปป่าวประกาศให้พุทธสาสนิกชนเข้าใจผิด (ซึ่งไม่ควรประกาศตนเช่นนั้นว่าตนได้อรหันต์แล้ว หรือนิพพานชาตินี้แน่ๆ) เพราะยุคนี้ ไม่มีอรหันตสาวกบนโลก มีแต่พระอนาคามี หรือพระอรหันตโพธิสัตว์เท่านั้น ดังนี้




    ลักษณะของผู้ที่จะได้นิพพานในยุคพุทธกาลนี้ (แต่จะได้เมื่อจุติบนสวรรค์)




    ๑) มีบุญน้อย คือ พวกได้บุญถึงสุขาวดีนั้นไม่มีเกณฑ์ได้นิพพานในยุคของพระสมณโคดมเลย ใครก็ตามที่ได้จุติที่สุขาดีนั้น จำไว้ว่าเขาจะไม่ให้ท่านได้นิพพานในยุคนั้นๆ จะต้องเวียนว่ายตายเกิดโปรดสัตว์ต่อไปก่อน จึงจะนิพพานทีหลัง

    ๒) มีกรรมน้อย คือ ได้ชำระชดใช้ไปมากมายแล้ว เช่น เกิดมายากจนก็ทำงานเป็นชาวนามานานแล้ว ไม่มีหนี้สิน อยู่แบบสมถะมากๆ แบบนี้เข้าข่ายจะได้ พวกที่กรรมมาก เช่น เป็นพระราชามาเกิด เคยทำสงคราม พวกนี้ ไม่ทันศาสนานี้

    ๓) เป็นผู้น้อย คือ พร้อมเป็นสาวกแล้วเต็มที่ ละความเป็นเจ้าได้อย่างเด็ดขาด โกนหัวแล้วหมดจากความเป็นเจ้าอย่างแท้จริง เข็ดแล้ว เบื่อแล้ว ในการเกิดเป็นเจ้าซึ่งหาความสุขได้ยาก มีแต่เวรกรรมหนัก ขอความหลุดพ้นทุกข์อย่างเร็วแทน

    ๔) ไร้ชื่อเสียง คือ สังคมและยุคสมัยไม่ค่อยเห็นค่า ไม่เห็นว่ามีประโยชน์ในทางโลก อยู่ทางโลกจึงไร้ชื่อเสียง นี่คือ กระบวนการธรรมชาติที่จะบีบให้เข้าสู่ทางธรรมอย่างที่ควรจะเป็น เมื่อเข้าทางธรรมแล้วก็ไม่มีชื่อเสียง แต่ได้มรรคผลจริง

    ๕) ไร้พรรคพวก คือ ไม่ค่อยมีพรรคพวก ไม่ค่อยมีบริวาร หาคนที่เหมือนกับตัวเองไม่ได้ คนอื่นเขามีบารมีมาก มีบริวารพรรคพวกมากกัน พวกของตนเองหายไปไหนหมด หาเข้าไม่ได้ (หายไปนิพพานหมดแล้วนั่นเอง) หาคนที่คล้ายตนยาก

    ๖) รับกรรมมาก คือ คนอื่นเขาไม่ค่อยได้รับวิบากอย่างเรา เราเป็นฝ่ายรับมาก ก่อกรรมใหม่น้อย คือ เลือกทางได้น้อยมากๆ สถานการณ์และเหตุปัจจัยต่างๆ นำพามาเองโดยมาก ก่อกรรมใหม่ๆ ตามใจชอบไม่ค่อยได้ เช่น จนจึงไม่มีเงินทำอะไร

    ๗) กรรมใหม่น้อยคือ ก่อกรรมใหม่ หรือทำอะไรตามใจตนเองได้น้อย นึกอยากทำอะไรก็มีสิ่งขัดขวาง ติดขัด มีอุปสรรค หรือขาดแคลนปัจจัยไปหมด นี่คือ พวกจะได้นิพพานเร็ว แต่ถ้ามีอิสระเต็มที่ ทำอะไรก็ได้ตามใจ กรรมใหม่จะเกิดได้มาก

    ๘) มีห่วงภาระน้อยคือ ไม่ค่อยห่วงใคร ไม่ค่อยสนใจใคร คิดแต่เอาตัวเองรอดก็พอใจแล้ว ขี่เกียจ ไม่ค่อยมีแรงใจแรงกายไปทำอะไรมาก เบื่อ อยากพัก อยากหยุด อยากเลิก อยากสบายอยู่เฉยๆ กับเขาเสียที ไม่มีไฟจะไปทำอะไรต่ออีก

    ๙) ไม่ชอบช่วยใครคือ ไม่เอาอะไรกับใครแล้ว ไม่สานต่อบุญ ต่อกุศล ไม่บำเพ็ญบารมีอีกแล้ว ละวางบุญบารมี ลอยบุญลอยบาปหมด หมดแรงจะช่วยใครแล้ว จะคิดแต่เอาตัวเองรอดอย่างไรเท่านั้น แต่ไม่มีบุญพอเสวยแบบฝรั่งที่เป็นปัจเจกชน




    ถ้าไม่เข้าข่ายจะได้นิพพานในยุคนี้ ควรทำอย่างไร




    ๑) ยอมรับความจริงว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะได้นิพพานในพุทธกาลนี้ เราไม่ได้ไม่เป็นไร

    ๒) ยอมรับความจริงว่านิพพานมีวาระ มียุคสมัยของมัน ไม่ใช่ยุคเราไม่เป็นไร รอได้

    ๓) ใจเย็น นิพพานยุคต่อไปก็ได้ เช่น ยุคพระศรีอาริยเมตตรัย ไม่ต้องบังคับตนเอง

    ๔) วางแผนไปเกิดต่อยังสุคติภูมิ ซึ่งถ้าปฏิบัติธรรมยิ่งยวด จะได้ถึงสุขาวดีสวรรค์

    ๕) ผ่อนปรนการปฏิบัติ ไม่ต้องเคร่ง เพราะไม่ได้รีบเร่งที่จะเอานิพพานในชาตินั้นๆ

    ๖) หาทางสายกลางของตนแม้ไม่เคร่งครัด คือ ผิดศีลมากกว่าด้วยจำเป็นก็ไม่เป็นไร

    ๗) ปรับตัวอยู่กับยุคสมัยปัจจุบัน แม้ผิดศีลก็ยอมรับสถานการณ์ที่บีบคั้นตนเองได้

    ๘) ปฏิบัติจิตให้บริสุทธิ์ไม่ต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เอาแค่พอประมาณ เหมาะสมกับตัว
    ๙) บำเพ็ญบารมีให้มากเข้าไว้ คือ เน้นบำเพ็ญบารมี มากกว่าทำจิตให้บริสุทธิ์
     
  3. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
     
  4. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    อนุตรธรรม เรื่อง ยุคหลังกึ่งพุทธกาล เทวดาได้นิพพาน แต่มนุษย์ยังไม่ได้



    พระพุทธศาสนามีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ครึ่งแรกคือ ปี พ.ศ. ๐ ถึง ๒,๕๐๐ เป็นของพุทธบริษัท คือ สาวกเก่าของพระพุทธเจ้า ครึ่งหลัง คือ ปี พ.ศ. ๒,๕๐๐ ถึง ๕,๐๐๐ เป็นของสัตว์สี่เหล่าใหญ่ซึ่งไม่ใช่สาวกบริวารเก่าของพระพุทธเจ้าสมณโคดมเช่น ยักษ์อสูร, มาร, เทพ, พรหม พระพุทธเจ้าได้ให้สัจจะแก่พวกเราไว้ว่า พระอรหันต์จะไม่สิ้นไป ตราบเท่าที่ยังมีพระธรรมของพระองค์เหลืออยู่ แม้แต่น้อยนิด หากบุคคลใดเพียรปฏิบัติ โลกนี้ จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ นั้นแปลว่า แม้ว่าศาสนาพุทธสิ้นไปแล้ว ไม่มีพระเหลืออยู่อีก ไม่มีวัด ไม่มีการปฏิบัติ แต่ถ้าหลังห้าพันปีไปแล้ว เรายังยืดอายุด้วยการเอาพระธรรมของพระองค์ฯ ไปบันทึกหรือเผยแพร่ต่ออีก ท่านก็จะรับรองธรรมให้ คือ ช่วยให้ได้นิพพานได้ เช่น ถ้ามีแค่พระธรรมในหนังสือเรียนของเด็ก เหลือแค่อริยสัจสี่และมรรคแปดนิดหน่อย เท่านี้ แต่ถ้ามีคนพยายาม แม้ในยุคนั้น พุทธศาสนาสิ้นแล้ว พระพุทธเจ้าก็จะทรงช่วยรับรองธรรมให้ได้ถึงนิพพานได้ นอกจากนี้ ยังมีบันทึกกล่าวไว้อีกว่า พระองค์จะทรงกระทำพระธาตุนิพพานเมื่อถึงอายุกาลพุทธศาสนาสิ้นลง คือ ห้าพันปี และเมื่อถึงเวลานั้น เทวดาจะได้นิพพานกันมากมาย แต่มวลมนุษย์จะไม่สามารถเห็นได้เลย นั่นแปลว่า พระพุทธศาสนากึ่งแรก เป็นของมนุษย์ และมนุษย์นั้นจะมาเกิดเป็นพุทธบริษัท ส่วนกึ่งหลังมีโอกาสสูงมากที่จะเป็นของเทวดา คือ จิตวิญญาณที่ไม่ใช่มนุษย์ทั้งหลาย เหตุใดจึงกล่าวเช่นนี้? เพราะความเป็นอยู่ของมนุษย์นั้น วุ่นวายสับสน, ซับซ้อน มีกรรมมากเกินไปกว่าที่จะได้นิพพานได้นั่นเอง ดังนั้น ผู้ที่นิพพานได้ครึ่งหลังกึ่งพุทธกาล คือ “จิตวิญญาณ” แต่ไม่ใช่มนุษย์ที่มีกายสังขารนี้ มนุษย์อาจเป็นได้เพียงพาหะ ให้จิตวิญญาณอาศัยและร่วมปฏิบัติธรรมแล้วจิตวิญญาณก็ได้นิพพานบ้าง, ได้อรหันต์แล้วจรจุติออกจากร่างนั้นไปบ้าง



    ดังนั้น จึงขอให้ท่านสังเกตดูเองเถิดว่ามีจริงหรือมนุษย์ที่ได้นิพพานได้ ถ้าพูดถึงอรหันต์นั้น มีได้ เป็นอรหันตโพธิสัตว์ ที่ผ่อนปรนศีล รับเงินทองได้ทั้งนั้น ดังนั้น พวกเขาจึงเป็นมหายานไม่ใช่แบบดั้งเดิมที่เคร่งครัดไม่มีนิกาย กับอีกพวกหนึ่งมีบุญมาก แต่กลับกลาย เป็นเคร่งครัดเกินไปเลยเสวยวิบากกรรมดีไม่หมดเช่น มีบุญจะได้เงินมากๆ แต่ไม่ยอมรับ เพราะไม่อยากผิดศีล เลยเหลือวิบากกรรมดีที่เสวยไม่หมด ไม่สิ้นชาติไม่สิ้นภพ ต้องไปเกิดต่อเพื่อเสวยบุญให้หมดยังชาติภพหน้าเสียนี่ ดังนั้น จึงบอกว่ามนุษย์ที่จะได้นิพพานจะไม่เหลือแล้ว แต่มนุษย์ที่ได้อรหันต์นั้นมีกันได้ แบบอรหันตโพธิสัตว์หรือแบบมหายานนั่นเอง นี่ก็ไม่ผิด ไม่ได้เลวร้ายแต่อย่างใดเป็นเรื่องของยุคสมัยความไม่เที่ยงที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา, ตามยุค, ตามสมัย เพียงแต่เราไม่ควรหลง ไม่ควรโดนหลอก ควรรู้เท่าทันถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ก็พอ ถ้ามีพระสงฆ์มาประกาศว่าท่านได้นิพพานแน่แล้ว และยังรับเงินทองอยู่ ก็ให้เลี่ยงไป อย่าไปยุ่งกับท่านดีกว่า อย่างนี้ ก็ยังพอมีลุ้นได้นิพพานเร็วๆ แต่ถ้าเราไปยุ่งเข้า เขาอาจเอาเงินทองไปทำความดีก็ตามแต่อาจได้จุติที่สุขาวดียาวนานมาก ขอบอกว่ามันยาวนานมากจริงๆ ไปสุขาวดีแล้ว ก็ลงยาก เขาไม่ค่อยปล่อยให้เราลงมา เขาจะกักตัวเราไว้ใช้งาน โดยเฉพาะพระยูไล จะใช้งานเราให้เราโปรดสัตว์ เวียนตายเวียนเกิดอยู่นั่น แล้วท่านก็บอกว่าได้นิพพานแน่ๆ ไม่ต้องใจร้อน ก็ใช่ วันหนึ่งเราก็จะได้นิพพานกันแน่ๆ หมดกันทุกคนอยู่แล้ว แต่เมื่อไรละ ยาวนานขนาดไหนละ พระยูไลท่านอยู่มายาวนานนับไม่ถ้วน ท่านก็ตรัสอย่างนี้ได้ แต่เราไม่มีกำลังพอจะเกิดมากหรืออยู่ยาวขนาดท่าน เราก็อยากพัก อยากนิพพานเหมือนกัน อันนี้ขอเตือนไว้สุขาวดีมีความสุขจริง สวยงามกว่าสวรรค์ใดๆ ทั้งหมด แต่ก็ยังไม่ใช่นิพพาน นี่ไม่หลอกกันนะ พูดแบบเปิดอก



    ผู้ที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ก็ทำใจ ยังไม่ได้นิพพานเมื่อละสังขารลงหรอก ทำกิจไปก่อน ชำระกรรมไปก่อน เมื่อตายแล้วกลายเป็นเทวดา เมื่อนั้นจึงค่อยมีลุ้น เพราะความเป็นอยู่ของเทวดาไม่ถูกโลกียสุขครอบงำมาก ชั้นใครชั้นมัน ไม่ปะปนกันมาก โลกมนุษย์นี้มีปะปนกันมาก ไม่แยกแยะคนดีคนชั่วปนกันหมด ทำตัวเองให้บริสุทธิ์ปลอดจากกรรมได้ยาก จึงไม่ใช่ที่ๆ จะพร้อมให้ได้นิพพานกัน จิตวิญญาณจะได้นิพพานได้ บ้างมาอาศัยในกายคนแล้วได้นิพพานออกจากกายสังขารนั้นไป บ้างก็ได้อรหันต์แล้วจรจุติจากร่างไปก็มี



    ความดำรงอยู่ของพระอรหันต์ในโลกหลังกึ่งพุทธกาลเป็นของยาก

    พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมที่ตนได้ แต่แม้ไม่เสื่อม ก็ถูกแทรกด้วยจิตวิญญาณได้ ในอดีตมาไม่มีแบบนี้มากนัก คนที่ถูกแทรกด้วยจิตมารมีแต่พระเทวทัต เมื่อ พระเทวทัต ได้บรรลุอภิญญาห้า กำลังเข้าสู่อภิญญาที่หก คือ อาสวขยญาณ คือ ญาณตัดกิเลสเข้าสู่นิพพานนั้น จิตมารก็ได้เข้าแทรกพระเทวทัตเสียก่อน ทำให้ท่านสำเร็จเพียงอภิญญาห้า ได้รับการยอมรับจากพระเจ้าอชาติศัตรู มีความเป็นอยู่ที่ดี อลังการ เหมือนพระที่ดังๆ ในสมัยนี้ (คนเราถ้าจิตไม่ดี ฝึกอภิญญาห้าไม่สำเร็จดอก แสดงว่าพระเทวทัตต้องมีจิตที่ดีอย่างน้อยดวงหนึ่งจึงสำเร็จวิชชาสายพุทธ คือ อภิญญาห้าได้ จิตมารจะฝึกวิชชาพุทธะไม่ได้ ต้องสลายจิตมารก่อนจึงฝึกพุทธะได้ จิตมารฝึกได้แต่วิชชามารแต่ก็มีฤทธิ์ได้ ซึ่งเราจะไม่เรียกฤทธิ์นี้ว่าอภิญญาห้า) อนึ่ง ปัจจุบัน เรามีพระสงฆ์สายพระเทวทัตมาก คือ มีฤทธิ์เดช, มีบุญบารมี, มีคนสนับสนุน ฯลฯ และแยกตัวไปก่อตั้งแนวทางของตนใหม่ๆ จึงเกิดเป็นนิกายขึ้นโดยพฤตินัย แม้จะยังไม่ชัดเจนวันนี้ วันหน้าจะชัดเจนแน่นอน ว่าเป็นการแตกแยกขอหมู่สงฆ์ ดูแลควบคุมกันไม่ได้ และก่อเกิดนิกายใหม่ๆ ขึ้นมาก ถ้าทำในเพศฆราวาส กรรมจะน้อย ไม่เป็นไร ทำได้ แต่ถ้าทำในผ้าเหลือง คือ ทำให้พระทำตามแบบตน มีแบบแผนเฉพาะตนแบบใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม ก็เข้าข่ายลัทธิใหม่ทันที ปัจจุบัน พระอรหันต์ของเรา บรรลุแบบ “อรหันตโพธิสัตว์” เพราะระหว่างที่จิตบรรลุธรรม ถูกแทรกเข้าด้วยจิตวิญญาณอื่นต่อทันที อันนี้เหมือนพระเทวทัต แต่ดีว่าตรงที่ว่าได้ถึงอาสวขยญาณก่อน คือ จิตเข้าสู่นิโรธแล้ว แต่ยังไม่ทันเข้าสู่มรรคแปดที่แท้จริง ก็ถูกเข้าแทรกก่อน จึงเป็นกึ่งอรหันตโพธิสัตว์ บวกด้วยสัตว์อีกสี่เหล่าใหญ่ ในเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เช่น ผู้ถูกแทรกด้วยพรหม ก็ชอบสอนคนทำสมาธิ แต่ไม่ใช่สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิสร้างชาติสืบภพ (พรหมโลก), คนถูกแทรกด้วยเทพ ก็ชอบพัฒนา กลายเป็นพระนักพัฒนา สร้างสิ่งต่างๆ ก่อเกิดกรรมดีให้ไปเสวยต่อในชาติภพหน้า จึงไม่ได้นิพพาน, คนถูกแทรกด้วยมาร ก็มีคำสอนที่บิดเบือนไปจากความจริง เช่น สอนว่าศีลไม่ต้องยึด ไม่ต้องไปถือ แทนที่จะสอนว่าถือศีลอย่างไร ที่เรียกว่าทางสายกลาง พอดี ไม่ใช่การยึดมั่น เคร่งมากไป หรือหย่อนยานมากไป เป็นต้น ปัจจุบัน จิตวิญญาณจากสัตว์สี่เหล่าใหญ่ เข้าแทรกผู้ปฏิบัติธรรมมาก ดังนั้น ธรรมก็ไม่บริสุทธิ์นัก, ใจก็บริสุทธิ์ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์, การกระทำก็ไม่บริสุทธิ์ดังเก่าก่อน อันนี้เป็นเรื่องของยุคสมัยของโลก ไม่ผิดแต่ควรเข้าใจก็จะไม่หลง



    โลกมนุษย์เป็นภพที่ผสมผสานทุกอย่าง การเลี่ยงกรรมจึงทำได้ยาก

    โลกมนุษย์จากจากภพแห่งจิตวิญญาณ ในโลกทิพย์ มีการจัดแบ่งสัดส่วนความเป็นอยู่ของสัตว์ดี จึงไม่ค่อยมีการผสมปนเป หรือการครอบงำกันและกันมาก สัตว์ในโลกทิพย์ไปจุติเพื่อเสวยบุญก็ดี, บาปก็ดี เมื่อเสวยหมดแล้วจึงโคจรในวัฏกะสงสาร คือ เวียนว่ายตายเกิดต่อไป ส่วนโลกมนุษย์ เป็นโลกแห่งการกระทบกระทั่งกันของคู่กรณี เพื่อชำระกรรมชดใช้กัน ในโลกทิพย์จะกระทบกันมากเหมือนโลกมนุษย์ไม่ได้ เพราะโลกทิพย์บอบบางมาก ขนาดพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีมากไปบนโลก ยังสะเทือนถึงโลกทิพย์เลย ดังนี้ สามภพนี้ไม่เที่ยงจริงๆ ไม่มั่นคง และบอบบางมากๆ การได้มาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อชำระวิบากกรรมให้มากๆ, ฝึกจิตให้ตรงนิพพานไว้ และยอมให้ตนถูกกระทบกระทั่ง ดุจหินที่ยอมให้เขาเจียระไนจนกลายเป็นเพชรฉะนั้น แต่โลกมนุษย์ที่มีการกระทบกระทั่งมากนี้ ไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย ไม่ใช้สรณะแท้ที่เราจะพึ่งพิงได้ตลอดไป เราจึงควรลงมาเพื่อทำหน้าที่อันควร อย่าหลงโลกมาก แล้วรีบๆ ไปทำหน้าที่ต่อบนสวรรค์ กล่าวง่ายๆ คือ อย่ายึดอะไรกับโลกที่ไม่ค่อยแน่นอนนี้มาก (ดูการเมืองยังไม่แน่นอน ทายไม่ได้เลยใช่ไหม) อะไรจะเกิด กล้าเผชิญหน้าความจริง ยืดอกรับไป รับเพื่อชำระวิบากให้หมดไปให้มากที่สุด รับกรรมได้มาก ก็ชำระวิบากได้มาก นี่แหละดี บุญอย่าเพิ่งเอามามาก เอาไว้เสวยบนสวรรค์ก็ได้ เรียนรู้ที่จะปรับตัวอยู่อย่างคน คนที่เป็นสัตว์สังคม สัตว์ที่สามารถอยู่รอดได้บนโลกนี้อย่างเข้มแข็งไม่ต่างจากสัตว์ป่าชนิดอื่น เรียนรู้ที่จะอยู่อย่างสัตว์สังคมที่มีความเป็นสัตว์ประเสริฐ คือ การไม่เบียดเบียนกัน, ไม่เอารัดเอาเปรียบกันมากเกินควร



    ความเป็นอยู่ของมนุษย์มีภาวะจำกัดและความจำเป็นมาก นิพพานได้ยาก

    เมื่อปฏิบัติจิต จนจิตวิญญาณพร้อมจะนิพพานแล้ว มนุษย์ในยุคนี้ (พ.ศ. ๒,๕๕๓) มักไม่ได้นิพพาน เพราะขีดจำกัดในการดำรงชีพอยู่ของมนุษย์ก็ดี, ความจำเป็นในการใช้ชีวิตในฐานะของมนุษย์ก็ดี, เหตุปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมก็ดี เช่น ป่าเขาที่ไม่อาจดำรงชีพอยู่ได้ ต้องออกมาพึ่งพาสังคมโลก และสังคมโลกที่ขาดความเข้าใจในการดูแลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ทำให้สายธรรมขาดหาย เมื่อสายธรรมขาดแล้วไม่อาจต่อได้อีก ถ้าพยายามทำเป็นคนแรก คนๆ นั้น ต้องสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเราจะมีพระพุทธเจ้าองค์ที่สองก็ไม่ได้ ดังนั้น กึ่งพุทธกาล พุทธบริษัทของพระพุทธเจ้าหมดสิ้นแล้ว ศาสนาตกแก่สัตว์อื่นที่ไม่ใช่บริวารท่าน การปฏิบัติจึงแตกต่างออกไปจากเดิม ซึ่งก็ไม่ผิด เพราะพระพุทธเจ้าอนุญาตแล้ว ดังนี้ เมื่อเราอยู่บนโลก เราเล็งแค่อนาคามีก็ไม่เลว ตายไปจุติที่สวรรค์ค่อยไปนิพพานที่นั่นก็ได้ ซึ่งก็ได้นิพพานเหมือนกัน แม้โลกนี้ จะไม่พร้อมก็ตาม ส่วนผู้บำเพ็ญบารมี ก็บำเพ็ญเพื่อโปรดจิตวิญญาณให้หลุดพ้นจากอบายภูมิ ขึ้นสู่สุคติภูมิ จากนั้นจึงโปรดให้บรรลุธรรมตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ที่เหลือเขาจะไปต่อได้ เสวยบุญยังสุคติภูมิต่อไปเพื่อรอเวลานิพพานนั่นเองส่วนมนุษย์ยังต้องเกลือกกลั้วกับกรรมมากมายต่อไป เพราะแม้แต่บวชพระแล้ว ยังเลี่ยงกรรมไม่ได้ แม้ถือศีลไม่รับเงินทองก็ไม่สามารถทำได้ (ไม่ได้ว่าไม่ดีนะ เข้าใจความจำเป็นของท่าน ผู้เป็นเพื่อนมนุษย์ของเรา) ดังนั้น เราจึงยอมรับความจริงนี้ไปเถิด พอใจเท่าที่เราพอได้ ธรรมชาติให้เราได้เท่านี้ไม่ได้เลวเลย เพราะฆราวาสก็ปฏิบัติธรรมได้ถึงอนาคามี และเมื่อถึงจุดนั้นแล้วก็ไม่ต้องกลัวอีก นิพพานรออยู่ในภพหน้าแน่นอน แม้ยังมีภพภูมิต่อไปอีกสักหนึ่งชาติก็ตาม



    ภพสวรรค์มีการแยกสัดส่วนสัตว์ชัดเจน เทวดาเสวยบุญที่นั่นแล้วจึงนิพพานได้

    การปฏิบัติธรรมในยุคหลังกึ่งพุทธกาลนี้ จึงไม่ต้องใจร้อน ไม่ต้องเร่งให้ตัวเองเป็นพระอรหันต์เร็วเกินไป เพราะอาจจะกลายเป็น “อรหันต์เทียม” ได้ กล่าวคือ ท่านสำเร็จแค่พระอนาคามีก็ไม่เลวแล้ว อย่างท่านพุทธทาส มีพระบางรูปกล่าวว่าท่านสำเร็จอนาคามี แค่นั้นท่านก็ทำอะไรได้ตั้งมากมาย ก่อคุณูปการให้เราได้มากแล้ว และสังคมก็ยอมรับในสิ่งที่ทำท่านด้วย ดังนี้ พระสงฆ์ทั้งหลาย ท่านไม่จำเป็นต้องทำตัวให้เป็นพระอรหันต์ก็ได้ เพราะเมื่อท่านทำแล้ว จะกลายเป็นต้นแบบว่า “คนแบบนี้นิพพานได้” ถ้าท่านรับเงินทองอยู่ เขาก็คิดไปว่ารับเงินทองก็นิพพานได้ ถ้าท่านสร้างนั่นสร้างนี่อยู่ กุฏิก็ใหญ่ วัดก็สวย อย่างนี้ ลูกหลานก็เข้าใจว่าสร้างแล้วก็นิพพานได้ ซึ่งผิดไปหมดเลย ทำให้ความหมายของนิพพานบิดเบือนไปจากความจริง และกลายเป็นภัยร้ายแรงของพระพุทธศาสนาได้ ดังนั้น เราต้องวางแผนว่าเราปฏิบัติธรรมแค่พอดีตัว พอดีแก่ยุคสมัย รู้จักการประมาณ ซึ่งก็เป็นคำสอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า เมื่อประมาณแล้วก็วางแผนว่าจิตตรงต่อนิพพานจริงๆ บรรลุอริยบุคคลไม่ต้องถึงอรหันต์ก็ได้ แล้วไปดำรงอยู่ในโลกทิพย์ เสวยบุญบนโลกทิพย์แทนก็นิพพานบนสวรรค์ได้เช่นกัน แบบนี้ ท่านจะไม่ถูกสถานการณ์บีบบังคับให้บิดเบือนพระธรรมวินัย บางท่าน ก็รับเงินทองเพราะจำเป็น พอรับแล้ว สถานการณ์บังคับ ก็เลยไปสอนคนว่าอรหันต์แล้วไม่ยึดรับได้ เงินเป็นแค่ธาตุสี่ซึ่งถ้ามันเป็นแค่นั้นจริงๆ พระพุทธเจ้าคงไม่ตราศีลข้อนี้ขึ้นมา และท่านก็คงรับเงินทองให้เราเห็นเป็นเยี่ยงอย่างแล้ว แต่นี่ ท่านพูดจริง ทำจริง ปากกับใจตรงกัน ทำได้จริง เป็นตัวอย่างเราอยู่ ไม่ใช่คนมีถือสากปากถือศีล สอนธรรมะเยอะแยะ แต่การกระทำกลับขัดแย้งแบบนั้น อนึ่ง การพูดนั้นไม่สำคัญมากเท่ากับการปฏิบัติ ดังนั้น ศีลในไตรปิฎกก็ยังไม่สำคัญเท่ากับการปฏิบัติของพระพุทธเจ้าที่ทำเป็นแบบอย่างแก่เราไว้ คือ ไม่รับเงินทองจึงนิพพานได้ แต่ถ้ารับเงินทองก็ไปปลงอาบัติเสียให้ได้สติ รู้ตัวว่ายังไม่นิพพาน ยังปฏิบัติไม่ได้อย่างเขาในสมัยโบราณ ไม่ได้นิพพานชาตินี้ทันทีก็ไม่เป็นไรอย่าใจร้อน ถ้ายุคสมัยเปลี่ยนไป ทำไม่ได้ ก็ต้องยอมรับความจริงว่าไม่ได้ ผิดศีลก็รู้ว่าผิดศีล แล้วไปปลงอาบัติเสียให้รู้ตัวเอง แล้วก็ดำเนินชีวิตต่อไป คนเราทุกคนผิดกันได้ทั้งนั้น พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่าศีลนี้ห้ามผิดนะ เพราะท่านรู้ว่าคนเราผิดกันได้ จึงให้แนวทางมาว่าผิดแล้วให้ไปทำอะไร ปลงอาบัติไหม หรือไปเข้ากรรม เข้าปริวาสกรรมหรือปาราชิกสึกไปเลย ท่านให้แนวทางทุกอย่างไว้หมดแล้ว พวกเรารุ่นหลัง อย่าไปบิดเบือนเปลี่ยนแปลงแนวทางเก่า เพราะกรรมจะหนักหนอ

    -จบ-
     
  5. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878

    อนุตรธรรม เรื่อง พระอรหันต์มีสองแบบคือแบบสุขาวดีและแบบนิพพาน



    การปฏิบัติให้ได้อรหันต์นั้นมีสองแบบ คือ การได้อรหันต์ในสังกัดของพระพุทธเจ้าสมณโคดม และการได้อรหันต์ในสังกัดของพระยูไลองค์อื่นๆ ที่สถิตในสุขาวดี ซึ่งทั้งสองนี้ได้อาศัยพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าสมณโคดมเหมือนกัน แต่มีวาระการนิพพานไม่พร้อมกัน ผู้ใดได้อาศัยพระธรรมวินัยแล้วถึงพร้อมจะนิพพานในยุคนี้ เขาจะเข้าสังกัดเป็นสาวกแท้ของพระพุทธเจ้าสมณโคดมเท่านั้น ไม่เข้าสังกัดของพระยูไลองค์อื่น ส่วนผู้ที่จะได้นิพพานนอกยุคพุทธกาลนี้ ก็จะเข้าสังกัดในพระยูไลองค์อื่น ไม่เข้าสังกัดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ทั้งนี้ ก็นับธรรมให้ได้อรหันต์ได้ทั้งสองแบบ แต่แตกต่างกันคือ พระอรหันต์ของพระสมณโคดม เป็นอรหันต์ที่ได้นิพพานในยุคนี้ ในชาตินั้นๆ ที่ละสังขารเลย แต่ถ้าอรหันต์แบบพระยูไล ก็คือ การที่ปฏิบัติธรรมจนปัญญาแจ้งแล้วว่านิพพานนั้นคืออะไร ทำอย่างไรจึงจะถึงแต่จะยังไม่ได้นิพพานในชาตินั้นๆ เพราะกระทำบุญกรรมไว้มาก ยังชำระไม่หมดต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปเรียกว่า “อรหันตโพธิสัตว์หรืออรหันต์แบบมหายาน” ซึ่งถ้าเอาหลักตรงของพระสมณโคดมพุทธเจ้ามาวัด จะได้เป็น “อนาคามี” เท่านั้น ยังไม่นับถึงอรหันต์เพราะจิตยังไม่นิพพานในชาตินั้นทันทีแต่จะจุติยังภพหน้าแล้วจึงจะนิพพานได้หรือไม่ต่อไป แต่ทางมหายานนับให้ว่าอรหันต์แล้ว เพื่อให้พระโพธิสัตว์องค์นั้น หยุดการปฏิบัติจิต ถ้าไม่หยุด ละกิเลสไปเรื่อยๆ จนหมดไม่เหลือเลย บารมีที่สะสมมาจะทำให้บรรลุเป็นอย่างน้อยคือพระปัจเจกพุทธเจ้า อย่างมากคือพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่อาจทำได้ เพราะยังไม่หมดยุคของพระพุทธเจ้าสมณโคดม ถ้าเกิดขึ้นจริง ภัยพิบัติมหาศาลจะเกิดแก่มวลสัตว์ทั้งสามภพ เพราะการตรัสรู้ผิดเวลาของผู้มีบุญบารมีสะเทือนสามภพนี้มาก ดังนั้น การให้การรับรองธรรมแก่อรหันตโพธิสัตว์ว่าได้อรหันต์แล้ว ก็เพื่อให้พระโพธิสัตว์หยุดการปฏิบัติจิตลงก่อนตรัสรู้ผิดเวลา ในงานนี้ ภาคมารและอสูรจะต้องทำกิจเต็มที่คือ ขวางการตรัสรู้ให้ได้สำเร็จและอาจต้องถึงขนาดแทรกเข้าไปในกายสังขารกันเลยทีเดียว ในไตรปิฎกได้บันทึกพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าไว้ว่าศาสนาของพระองค์จะมีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ในพันปีแรก (พ.ศ. ๑ ถึง พ.ศ. ๑,๐๐๐) พระอรหันต์ที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณยังมีได้อยู่ ในพันปีที่สองพระอรหันต์มีได้แต่ไม่บรรลุปฏิสัมภิทาญาณ (พ.ศ. ๑,๐๐๑ ถึง พ.ศ. ๒,๐๐๐) ในพันปีที่สามมีได้แต่พระอนาคามี (พ.ศ. ๒,๐๐๑ ถึง พ.ศ. ๓,๐๐๐) ส่วนพันปีที่สี่ มีได้แต่พระสกิทาคามี และพันทีที่ห้ามีได้แต่พระโสดาบันเท่านั้น ปัจจุบันคือปี พ.ศ. ๒,๕๕๓ อยู่ในเกณฑ์พันปีที่สาม จะมีได้แต่พระอนาคามีเท่านั้น ดังนั้น การที่มีพระสงฆ์รับเงินทองและผิดศีลมากก็เป็นธรรมดา แต่แม้ไม่ได้อรหันต์ ไม่นิพพานทันทีที่ละสังขาร แต่ก็ได้ถึงอนาคามีได้ สอนธรรมและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ ถ้าไม่อวดอ้างตนว่าเป็นพระอรหันต์ก็ไม่เป็นไรยังไม่เสี่ยงต่อการผิดปาราชิกไม่ต้องสึกแต่ถ้าอวดอ้างตนชัดแจ้งว่าได้อรหันต์ ก็ต้องพิจารณาต่อไป ถ้าผิดศีลมาก เช่น รับเงินรับทองอยู่เสมอ ก็เป็นที่ไม่น่าเชื่อถือแก่คนแล้วว่าได้อรหันต์จริง อันนี้ ก็พิจารณาเอาเองว่าควรไม่ควรที่จะดำเนินการอย่างไร ซึ่ง

    พระอรหันต์นั้น ถ้าจะมีได้จะมีแบบอรหันตโพธิสัตว์เท่านั้น คือ อนาคามีในแบบแท้ดั้งเดิม หรืออรหันต์แบบมหายาน อรหันต์แบบผ่อนปรน อรหันต์แบบพระยูไลบนสุขาวดีรับรองให้ แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้นับให้ว่าอรหันต์นับกันแบบตรงไปตรงมาจริงๆ ก็คือ “พระอนาคามี” คือ ยังมีชาติภพหน้ารออยู่ ให้ไปชำระกรรมเสวยบุญให้หมดก่อน ถ้ายังเสวยไม่หมดจริงๆ จะลงมาเกิดต่อบนโลกเพื่อชำระกรรมบนโลกก็ได้ แบบนี้ ได้จุติที่สุขาวดี ไม่ได้นิพพาน นี่ต้องแยกแยะให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้น การปฏิบัติจะสับสนมั่วไปหมด คนที่จะได้นิพพานจะพลาดนิพพาน ไม่ได้เอา การที่ทำให้เวไนยสัตว์ไม่ได้นิพพานนั้น เป็นกรรมหนักมาก ยิ่งถ้าทำให้เกิดรูปแบบการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ขวางแนวทางดั้งเดิม หรือทำลายแนวทางดั้งเดิมแล้ว กรรมจะยาวนานมาก เพราะแนวทางนั้น จะเป็นแบบอย่างถ่ายทอดไปยังลูกหลานของเรา รุ่นต่อรุ่น ผิดไปไม่มีที่สิ้นสุด ยาวนานไปเรื่อยๆ การยอมรับความผิด แล้วหยุดกระบวนการหรือแบบแผนที่ผิดพลาด ก็จะยับยั้งกรรมที่ตนก่อให้หยุดลงได้ กรรมก็จะน้อยลง ไม่เช่นนั้น จะต้องรับกรรมยาวนานมากๆ แม้ว่าทำบุญมากได้สุขาวดีสวรรค์ก็ไม่อาจหนีกรรมที่ตนทำได้พ้น คือ ทำกรรมใดไว้ ทำดีแค่ไหน แต่ดีส่วนดี ผิดส่วนผิด แยกจากกัน ส่วนบุญก็รับไป ส่วนกรรมก็ไม่อาจหนีได้พ้น จะต้องรับวิบากทั้งดีและชั่ว

    -จบ-
     
  6. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878

    อนุตรธรรม เรื่อง การนับอริยบุคคลในมหายานและแบบดั้งเดิมต่างกันไฉน



    การนับอริยบุคคลในแบบมหายาน แตกต่างจากแบบดั้งเดิม เพราะมีการผ่อนปรนให้ โดยจะนับด้วยการพิจารณา “ปัญญา” เป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้าปัญญาทำนิพพานให้แจ้งได้ ก็นับเข้าเป็นพระอรหันต์ทันที แม้ว่าจิตจะไม่นิพพานในชาตินั้นทันที ยังจุติไปยังที่สุขาวดี และเวียนว่ายตายเกิดมาช่วยคนได้อีกก็ตาม แต่ในการนับแบบดั้งเดิมนั้น พิจารณาการดำเนินไปของจิตมากกว่า ถ้าจิตยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ยังไม่นิพพานในชาตินั้นๆ จะไม่นับให้เป็นพระอรหันต์ได้ ได้อย่างมากคือ พระอนาคามี อีกแบบหนึ่งคือ “เซียนอรหันต์” หมายถึง เซียนที่ฝึกจิตขั้นสูง จนสามารถดึงจิตวิญญาณอรหันตโพธิสัตว์ที่อยู่บนสุขาวดีให้จุติลงมาในกายได้ เช่น ฝึกมโนมยิทธิเอง จนจิตออกจากร่างไป แล้วจิตวิญญาณอีกดวงที่อยู่สุขาวดี เป็นอรหันตโพธิสัตว์จุติเข้ามาแทนที่ คือ เป็นการตายด้วยการจุติออกจากร่าง แล้วเกิดด้วยการจุติเข้ามาของจิตวิญญาณดวงใหม่ทันที ทำให้กายสังขารยังดำรงชีพยังต่อลมหายใจต่อไปได้ แบบนี้นับเป็นการบรรลุเซียน เพราะไม่มีผู้อื่นมาช่วยทำลายสักกายทิฐิให้สลายไป อีกแบบหนึ่งคือ ฝึกวิชชาทางจิตขั้นสูง จนจิตวิญญาณสลายเกิดใหม่เป็นพระยูไล ก็ดี, พระอรหันตโพธิสัตว์ก็ดี แบบนี้ เป็นการบรรลุธรรมเอง แต่จะนับให้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ไม่ได้แต่ญาณหยั่งรู้เทียบเท่าพระอรหันต์ ในขณะที่จิตยังไม่นิพพานเมื่อละสังขารลงในชาตินั้น ในทางมหายานนับว่าสำเร็จเทียบเท่าอรหันต์ได้ เรียกอรหันตโพธิสัตว์ อรหันต์แล้วเกิดได้อีก แต่ในพุทธแบบดั้งเดิม นับให้เป็นอริยบุคคลในพุทธศาสนาไม่ได้ เพราะไม่ได้ต่อสายธรรมตรงจากพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาคือ บรรลุธรรมเอง ไม่มีพระรัตนตรัยมาต่อสายธรรมให้ สายธรรมเก่าขาดหาย สายธรรมใหม่เกิด แบบนี้ จะแบบพุทธดั้งเดิมจะนับให้เป็น “เซียนที่มีปัญญาเทียบเท่าอรหันต์” เท่านั้น นับเป็นพระโสดาบันก็ไม่ได้ ซึ่งแบบนี้มีอยู่มากทีเดียว ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าท่านเหล่านี้มีบุญบารมีมาก, กิเลสเบาบางแทบจะไม่เหลือ, แต่ไม่มีใครสอนท่านได้และไม่มีช่องโหว่ช่องว่างที่จะสอนท่านได้เลย ท่านจะเหลือสักกายทิฐิอยู่ แต่เพราะจิตที่มาเกิดแต่แรกมีบุญบารมีมาก มีความใสบริสุทธิ์มาก กิเลสจึงน้อย และปัญญามาก เมื่อบรรลุธรรมเองแบบเซียน ก็จะมีลักษณะคล้ายพระพุทธเจ้า, อรหันต์ ได้ทั้งสิ้น แต่ท่านจะตั้งตัวเป็นเจ้าในสายธรรมใหม่ของท่านเอง เราจะไม่สอนท่านไม่ได้ เราได้แต่ไปศึกษาหาความรู้ เป็นลูกศิษย์ท่านเท่านั้น อนึ่ง สายธรรมมหายานที่ได้อรหันตโพธิสัตว์ นับเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนานั้นได้ หมดสิ้นลงแล้วในยุคท่านเว่ยหลาง หรือพระสังฆราชในนิกายเซนองค์ที่หกสายของท่านตั๊กม้อ ที่เดินทางจากอินเดียไปเผยแพร่ธรรมในประเทศจีน หมดจากนี้คือขาดสาย อนึ่ง ขอให้ทราบว่าพระรัตนตรัยสาวกของพระพุทธเจ้าสิ้นสุดลงแล้วในกึ่งกลางพุทธกาล นั่นคือ สายธรรมได้ขาดแล้ว เมื่อขาดแล้วต่อไม่ได้ ต้องมีผู้เริ่มต้นสายธรรมใหม่ แล้วนำธรรมของพระพุทธเจ้าและรูปแบบเดิมมาทำต่อ ผู้บรรลุธรรม จะนับเป็นอริยบุคคลในพุทธศาสนาไม่ได้ เพราะสายธรรมขาดแล้ว จะตรัสรู้เองใหม่ไม่ได้ นับได้แต่เซียนเท่านั้น คือ เหมือนท่านเหล่าจื้อที่บรรลุธรรมเอง แต่จะไม่นับว่าเป็นพระอริยบุคคล ยกเว้นว่าพระพุทธองค์ได้ลงมาต่อสายธรรมให้เช่น หลวงปู่มั่น อันนี้จัดอยู่ในสังกัดได้ อนึ่ง สายธรรมดั้งเดิมแท้ของพระพุทธเจ้าอยู่ในป่าวิเวกจริงๆ รอต่อสายธรรมให้พระธุดงค์ ซึ่งพระธุดงค์ไทยได้รับการต่อสายธรรมกันมากด้วยวิธีธุดงค์นี้ ผู้เขียนเองเกือบได้ต่อสายธรรมแล้ว คือ หลวงปู่เทพโลกอุดรมาหา จะสอน เมื่อยังบวชเป็นเณร กำลังฝึกรำพันมือซึ่งเป็นวิชชาสายโพธิสัตว์ ทำในกุฏิแต่ท่านก็ทราบ ท่านก็บอกไม่เหมาะ แต่เราดื้อไม่เชื่อจึงปิดประตูแล้วทำต่อ ก็เลยขาดสาย ท่านต่อสายให้ไม่ได้ เพราะท่านทำลายสักกายทิฐิผู้เขียนไม่ได้ ผู้เขียนก็ยังมีสักกายทิฐิเหลืออยู่ นับเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาพุทธกาลนี้ไม่ได้ แต่ได้รับการทำลายสักกายทิฐิด้วยท่านอื่นที่ไม่ได้สังกัดในพระพุทธเจ้าคือ พระยูไลองค์อื่น (มนุษย์ที่บรรลุยูไล) ดังนั้น ทุกท่านสามารถบรรลุอริยบุคคลได้ แต่ไม่ได้สังกัดในพระพุทธเจ้า จะสังกัดในพระยูไลและจุติสุขาวดียังไม่ได้นิพพานในยุคพุทธกาลนี้ ถ้าอยากนิพพานยุคพุทธกาลนี้ ต้องไปปฏิบัติบนสวรรค์ อธิษฐานเอาบุญไปเข้าสังกัดพระพุทธเจ้าสมณโคดม

    -จบ-
     
  7. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878

    อนุตรธรรม เรื่อง การขึ้นในสังกัดของพระพุทธเจ้าและพระยูไลต่างกันไฉน




    การอยู่ในสังกัดของพระพุทธเจ้าสมณโคดม ทำให้ได้นิพพานภายใน พ.ศ. ๕,๐๐๐ นี้ เพราะยุคนี้เป็นยุคของพระสมณโคดม จะเอานิพพานก็ต้องต่อสายจากท่านเท่านั้น ไม่สามารถต่อกับท่านอื่นที่ไม่มีสายธรรมต่อกับท่านได้ อนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ต่อสายธรรมให้กับหลวงปู่มั่น โดยเสด็จมาครั้งที่หลวงปู่มั่นใกล้จะได้อรหันต์ ดังนั้น สายธรรมของหลวงปู่มั่นจึงต่อตรงจากพระพุทธเจ้า และสามารถนิพพานได้ถ้าต้องการ แต่ถ้ายังไม่ต้องการก็ตั้งจิตบำเพ็ญบารมีต่อไปได้เช่นกัน ซึ่งก็มีมาก ที่พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ได้โปรดพระโพธิสัตว์ได้ถึงอริยบุคคล แต่ท่านมีกำลังจิตแรงกล้าที่จะบำเพ็ญบารมี ถึงได้ฆ่าตัวตายถวายชีวิตพระพุทธเจ้าเพื่อปรารถนาพุทธภูมิ ก็มีมาแล้ว นี่นับได้ว่าถึงอริยบุคคลแล้วเหมือนกัน แต่ไม่นิพพานในยุคพุทธกาลนั้นๆ เพราะมีกำลังจิตแรงกล้าที่จะบำเพ็ญบารมีต่อไป หรือแม้แต่หลังหลวงปู่มั่นสิ้นไปแล้ว สายธรรมของท่านต่อทอดสืบกันมา ยังเหลืออริยบุคคลไม่กี่รูปเท่านั้น เท่าที่พอสัมผัสได้ก็มี พระอาจารย์
    ปราโมช ปราโมชโช</PERSONNAME /> ที่ต่อสายจากหลวงปู่ดุล การกล่าวถึงอาจารย์นี่สำคัญเพราะเป็นเครื่องตรวจเช็คว่าได้ต่อสายธรรมจากอริยบุคคลท่านใด จึงนับเข้าเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาได้ ไม่ใช่ไปตรัสรู้เองไม่มีครู อันนี้ นับเป็นอริยบุคคลไม่ได้ นับได้แค่เซียนเท่านั้น เพราะบรรลุธรรมเอง ไม่มีครู ไม่มีใครต่อสายธรรมให้ แต่เซียนนั้นอาจมีปัญญามาก เทียบเท่าอรหันต์ก็มีได้ เป็นได้ ยังมีอาจารย์อีกท่านหนึ่ง ท่านได้ท้าทายพระพุทธเจ้าอยากจะทราบว่ามีจริงหรือไม่ แล้วพระพุทธเจ้าก็แสดงปาฏิหาริย์ ทำให้ท่านได้เข้าถึงธรรมในวันนั้นก็มี ท่านนี้อยู่ที่อุบลราชธานี เป็นฆราวาส อันนี้ นับเป็นพระอริยบุคคลในพุทธศาสนาด้วย เพราะได้ต่อสายธรรมจากพระพุทธเจ้าเช่นกัน แต่เป็นการต่อสายธรรมไม่ผ่านกายสังขาร ผ่านทางจิต ดังนั้น การเข้าถึงนิพพานจึงไม่อาจเป็นไปได้เมื่อยังมีสังขารอาศัยจิตวิญญาณเท่านั้น ที่จะได้นิพพานได้จริง หรือต้องรอละสังขารไปสู่สวรรค์ก่อน จึงจะปฏิบัติถึงนิพพานได้ ดังนั้น บนโลกจึงมีพระอริยบุคคลสูงสุดได้เพียงพระอนาคามีเท่านั้น (ตรงตามคำทำนาย)การจะได้นิพพานในยุคพระพุทธเจ้าพระองค์ใดนั้น อย่างแรกจะต้องเข้าอยู่ในสังกัดของท่านก่อน เช่น ได้ทำบุญกุศลเกื้อหนุนกันมา ก็สามารถอาศัยแรงบุญกุศลนั้นในการเข้าเป็นบริวาร, หมู่คณะในพุทธบริษัทได้ ในพุทธกาลนี้ พระพุทธเจ้าสมณโคดม เปิดให้แก่สัตว์อีกสี่เหล่าที่เดิมไม่ใช่พุทธบริษัทของท่าน ไม่ใช่บริวารของท่าน ไม่ได้สร้างบุญมาร่วมกับท่าน ให้สามารถอาศัยในพุทธศาสนาของท่านได้ สัตว์สี่เหล่าใหญ่นี้ ถ้าเร่งทำบุญเพื่อปรารถนาตรงต่อนิพพานในพุทธกาลนี้ ก็สามารถเข้าสังกัดเพิ่มเป็นพุทธบริษัทได้อีก และเร่งปฏิบัติธรรมแล้วอาจได้เป็นอริยบุคคล และนิพพานทันภายในปี พ.ศ. ห้าพันนี้
    </P>


    ยังมีพระยูไลองค์อื่นๆ ซึ่งเป็น “อนุพุทธะ” คือ พุทธะผู้ตรัสรู้เองแต่ได้รับการต่อสายธรรมจากพระพุทธเจ้า จึงไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้า และนับได้ว่าสายธรรมไม่ขาด สืบทอดต่อจากพระพุทธเจ้าสมณโคดมได้เหมือนกัน ถ้าเราได้ไปศึกษาจากพระยูไล (ซึ่งยังมีสังขารเป็นมนุษย์อยู่บนโลก) เหล่านี้ก็จะเข้ารวมอยู่ในสังกัดของพระพุทธเจ้าสมณโคดมได้ด้วย แต่ถ้าไม่อยู่ในสังกัดนี้ ก็จะอยู่นอกพระพุทธศาสนาพุทธกาลนี้ไปเลย จะต้องไปขึ้นอยู่กับพระยูไลองค์อื่น ที่ไม่ได้สังกัดในพระพุทธเจ้าสมณโคดม เช่น พระอามิตภะพุทธเจ้า เช่น อนุตราจารย์ชิงไห่ นี่ไม่ได้อยู่ในสังกัดของพระพุทธเจ้าสมณโคดม แต่ท่านตรงต่อพระอามิตาภะพุทธเจ้า พระยูไลเหล่านี้ ไม่ได้นับเข้าเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าสมณโคดม จึงไม่นับเป็น “อนุพุทธะ” แต่เป็น “มหาพุทธะ” หรือพระพุทธเจ้าบนสวรรค์ มีหลายท่านที่มีลักษณะนี้ คือ อยู่บนโลกไม่อาจทำหน้าที่เป็นพระพุทธเจ้าได้ แต่บุญบารมีถึงพร้อม เมื่อละสังขารลงจิตนิพพานไม่ได้ ก็จุติไปทำหน้าที่เป็นพระพุทธเจ้าบนสวรรค์ก่อน จนกว่าจะสิ้นแรงปรารถนา ได้สมปรารถนาแล้วก็จะนิพพานบนสุขาวดี อันนี้ไม่ใช่อนุพุทธะ เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับสังกัดพระสมณโคดม แต่แยกไปอยู่นอกพุทธกาลนี้ เรียกว่า “มหาพุทธะ” นอกจากนี้ ยังมีพระอรหันตโพธิสัตว์ที่ไม่ขึ้นอยู่ในสังกัดของพระสมณโคดมอีก เช่นนี้ จะ ต้องไปขึ้นอยู่ในสังกัดของมหาพุทธะองค์ใดองค์หนึ่งบนสุขาวดีแทน ปกติแล้ว อนุพุทธะ เกิดได้ง่ายแต่มหาพุทธะเกิดได้ยาก เพราะบารมีเราต่างก็น้อยกว่าพระสมณโคดม

    -จบ-
     
  8. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878

    อนุตรธรรม เรื่อง พระยูไลผู้รับรองธรรมและแนวทางการปฏิบัติ



    พระยูไล มีกายทิพย์และบารมีคล้ายพระพุทธเจ้า ทำหน้าที่เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าแต่จะอยู่บนสวรรค์ เมื่ออยู่โลกมนุษย์เป็นคนอยู่ไม่ได้ทำหน้าที่พระพุทธเจ้า ดังนั้น เมื่อจากโลกแล้ว ไปทำหน้าที่เหมือนพระพุทธเจ้าบนสุขาวดี ท่านจะมีสาวกและมีบริวารมากมายเหมือนพระพุทธเจ้าบนโลกมนุษย์ ซึ่งพระยูไลแต่ละองค์มีบุญบารมีไม่เท่ากันเช่น อยู่ในโลกพระยูไลองค์หนึ่งอาจมีบุญไม่พอจะได้ห่มผ้าเหลือง ต้องเป็นฆราวาสห่มผ้าขาว แต่ได้ธรรมถึงยูไล และเมื่อท่านมีลูกศิษย์ ก็จะต้องให้ลูกศิษย์ทำตามนั้น คือ เป็นแบบท่าน เพราะบุญบารมีท่านทำมาแค่นั้น ไม่อาจรับลูกศิษย์ที่แตกต่างไปจากตนได้เหมือนดังเช่นพระพุทธเจ้าที่ต่างยุคต่างสมัยกัน บุญบารมีไม่เท่ากัน ก็รับศิษย์ได้ต่างกัน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ต่างกัน แต่พระยูไลบางองค์ก็อยู่ในผ้าเหลือง แต่ไม่มีบุญบารมีมากพอที่จะรับสิ่งต่างๆ มากนัก เช่น ไม่รับเงินรับทอง เมื่อท่านรับศิษย์ท่านก็จะสอนลูกศิษย์อย่างนั้น คือ ไม่ให้รับเงินรับทอง เพราะบวชพระแล้ว ทว่า พระยูไลบางองค์ก็มีบุญบารมีมาก รับเงินทองได้ก็มี แม้ท่านบวชเป็นพระแล้ว ท่านก็รับเงินทองได้ และจะสอนให้ลูกศิษย์ของตนรับเงินทองได้ด้วย อันนี้ เพราะพระยูไลแต่ละองค์มีบุญบารมีไม่เท่ากัน มีแนวทางต่างกัน ไม่มีใครผิด แล้วแต่ว่าเราจะมีบุญวาสนาได้เท่าใด ได้พบกับท่านไหน ได้ปฏิบัติแนวไหน ซึ่งก็ทำได้ทั้งนั้น ขอเพียงมีบุญบารมีถึงยูไลจริงๆ ก็พอ ดังนั้น พระยูไล จึงสามารถสร้างลัทธิ, นิกายใหม่ๆ ได้ แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้นิพพาน จะได้จุติที่สุขาวดี หากต้องการนิพพานต้องปฏิบัติตามพระยูไลสมณโคดม คือ พระพุทธเจ้าสมณโคดมอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าไปปฏิบัติตามพระยูไลองค์อื่นในยุคสมัยนี้ ก็จะไม่ได้นิพพาน ได้แต่สุขาวดีสวรรค์ดังกล่าว



    ผู้เขียนได้อาจารย์เป็นพระยูไลถึงสามองค์ เป็นมนุษย์ทั้งหมด และเป็นฆราวาสด้วย ท่านแรกห่มผ้าขาวและมีบุญน้อย ปฏิบัติกับท่านแล้วศิษย์สายท่านแจ้งว่าต้องทำตามท่านคือห่มผ้าขาว ต่อมาก็ได้พบพระยูไลอีกองค์ในกายสังขารฆราวาส ท่านนี้มีศิษย์เป็นพระสงฆ์ด้วย คือ มีบุญบารมีมากพอที่จะมีศิษย์เป็นสงฆ์ได้ แต่พระสงฆ์ของท่านเป็นมหายาน แม้บวชในเถรวาทแต่เอาเข้าจริงก็เหมือนพระวัดเส้าหลินเลย ผู้เขียนจึงค่อย ปลีกตัวออกมา ซึ่งท่านก็ดี แต่ยังคิดแสวงหาต่อไป ต่อมาก็พบพระยูไลอีกองค์ มีกายสังขารเป็นฆราวาส แต่มีศิษย์เป็นพระสงฆ์ได้ ซึ่งสายธรรมของท่าน เป็นพระสงฆ์ที่รับแนวทางดั้งเดิมแบบในสมัยพุทธกาลมา แม้ว่าการปฏิบัติมีแตกต่างไปจากสมัยพุทธกาลบ้าง เพราะไม่มีใครที่จะทำได้สมบูรณ์แบบ แต่ก็พอได้บ้างบางส่วน ในท้ายที่สุด ผู้เขียนจึงได้หาแนวทางของตน แบบของตนเองด้วยคิดว่าการอยู่รวมกันเป็นหมู่ใหญ่และมีรูปแบบแนวทางเดียวกันได้นั้นถ้าผิด ก็รับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งกรรมจะมากเกินไป ผู้เขียนจึงหาแนวทางแบบ “พระฉันนะ” คืออยู่อย่างโดดเดี่ยว มีกรรมน้อยๆ ไม่พัวพันกรรมมากกับใคร ไม่สร้างลัทธิ, นิกาย แต่ก็ไม่ได้ไม่มีหมู่คณะนะ เพราะเราเลือกต่อสายธรรมกับคนไม่มาก คนต่อคน แล้วแยกขาด กันไป ไม่อาจสอนพระได้ สอนได้แต่ฆราวาส ที่เหลือก็สอนเทวดา, จิตวิญญาณต่างๆ นี่ไม่ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะมีหมู่คณะที่มองไม่เห็นอยู่ แต่บนโลก ก็อยู่อย่างพระฉันนะคือ โดดเดี่ยววิเวกเป็นสำคัญ ไม่มีการสอนพระหรือให้พระทำตามแบบแผนของตน



    การมีผู้มีบุญบารมีระดับพระยูไล รับรองธรรมและแนวทางให้เรานั้น ทำให้เรามีสายธรรม เมื่อละสังขารลง เราจะไปจุติยังวิมานของพระยูไลองค์นั้น แต่ถ้าเราไม่มีครูบาอาจารย์ที่ได้ธรรมระดับยูไล เราปฏิบัติเองแต่ไม่มีคนรับรองธรรมให้ ไม่มีผู้นำทาง เราก็จะหลงทางได้ง่ายมาก เมื่อตายแล้วไม่มีวิมานอยู่ก็มี แต่คนที่ต้องการมีวิมานเองในสุขาวดี ก็ต้องไปทำบุญสร้างบารมี สร้างที่พักอาศัยให้คนมาปฏิบัติธรรมเอา ซึ่งเขาเองอาจไม่ได้บรรลุถึงยูไล ได้แค่พระโพธิสัตว์ก็ได้ การที่มีครูบาอาจารย์รับรองธรรม รับรองการปฏิบัติธรรมให้นั้น จำเป็นมาก จะปฏิบัติเดี่ยวไปเองเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่ได้ ยกเว้น ตนได้บรรลุถึงยูไล อย่างนั้นจึงทำได้ อนึ่ง ถ้าท่านผู้อ่านต้องการนิพพานชาตินี้ ก็ต้องเข้าสังกัดทำตามสอนของพระพุทธเจ้าให้ได้อย่างแท้จริง แต่ถ้าท่านไม่ได้รีบนิพพานในชาตินี้ ท่านก็เข้าสังกัดพระยูไลองค์อื่นก็ได้ ซึ่งเขาจะให้แนวทางท่าน รับรองผลการปฏิบัติให้ท่าน



    ผู้สำเร็จธรรมขั้นโพธิสัตว์ควรต้องเข้าหาพระยูไล

    ผู้สำเร็จธรรมขั้นโพธิสัตว์ จะไม่ทราบหน้าที่ๆ ควรทำของตนเอง จะต้องรับกิจจากพระยูไล ต้องให้พระยูไลเป็นผู้สั่งการเท่านั้น มิฉะนั้นจะหลงทางได้ เช่น มัวแต่ไปสร้างวัดที่ไม่ใช่หน้าที่ของตน, มัวแต่ไปสอนธรรมะคนซึ่งก็อาจผิดหน้าที่ ฯลฯ ใครจะมีหน้าที่อะไรนั้น ต้องให้พระยูไลเป็นผู้แนะนำ ซึ่งผู้สำเร็จธรรมขั้นยูไลนั้นมีมากมาย ท่านไปหาได้ไม่ยาก แต่ถ้าท่านไม่ไป ท่านคิดเองทำเอง จะถูกต้องได้ก็ต่อเมื่อท่านเป็น “นิตยโพธิสัตว์” เท่านั้น ถ้าท่านไม่ใช่นิตยโพธิสัตว์ท่านควรหาครูบาอาจารย์ ท่านไม่มีกำลังญาณหยั่งรู้เอง ท่านตรัสรู้เองไม่ได้ ไม่เช่นนั้น ก็ต้องบำเพ็ญเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เพื่อเอาญาณตรัสรู้ และต้องไปเองอย่างยากลำบาก พระโพธิสัตว์ประกบคู่กันได้แต่แนะนำหน้าที่ให้กันไม่ได้ ทำได้แค่ฝึกจิตคู่กันเท่านั้น ขอย้ำ ท่านต้องมีครูบาอาจารย์ ถ้าท่านได้ถึงขั้นโพธิสัตว์แล้ว ครูบาอาจารย์ของท่านต้องสำเร็จยูไลเท่านั้น สังเกตอย่างไรหรือ อย่างนี้ ท่านที่มีความสามารถในการปกครองและแจกจ่ายงานได้เก่งถูกต้อง มีญาณหยั่งรู้ได้เอง แต่อาจไม่พูดมาก เหมือนจิตใจท่านจะอาวุโสมากๆ แล้ว จึงไม่ค่อยพูด ลักษณะแบบนี้ เป็นลักษณะของพระยูไล ที่เราเห็นหลวงพ่อหลวงปู่ทำงานกันนั้น ทำได้แต่ขั้นเทพขั้นพรหม ขั้นเทพก็คือทำงานแบบมีองค์กรขั้นพรหมเช่น สร้างวัด, รักษาวัด, รักษาประเพณี ฯลฯ เกือบทั้งหมดทำได้เพียงขั้นนี้ หายากมากที่จะทำขั้นพระยูไล ท่านที่ทำขั้นพระยูไล จะทำงานที่ไม่ค่อยมีรูปธรรมนัก เป็นนามธรรม แต่เป็นการแก้ไขปัญหาทางพุทธศาสนาได้ตรงจุด เช่น การเปิดสอนธรรมฆราวาสเพื่อปั้นให้ฆราวาสที่ดีเกิดขึ้นก่อนบวชเป็นพระ จะได้พระที่ดี และท่านจะไม่ครอบงำพระ จะให้การนับถือพระทั้งๆ ที่มีธรรมมากกว่า เพื่อเป็นแบบอย่างให้คนอื่นด้วย อันนี้ก็เป็นลักษณะหนึ่งของพระยูไล นอกจากนี้พระยูไลบางท่าน ยังทำหน้าที่ด้านการปกครองของสามภพด้วย ไม่ใช่แค่โลกมนุษย์ ท่านจะไม่ได้ดูว่ามนุษย์คนไหนดีจะสนับสนุนเป็นใหญ่เท่านั้น แต่ท่านมองถึงดุลภาพสามภพได้ แม้จะเป็นคนดี แต่บางทีหมดวาระท่านก็เอาออก เมื่อเห็นมนุษย์ลุ่มหลงเกินไป บางทีท่านก็ให้คนที่เราลุ่มหลงว่าเขาดี, น่าศรัทธานั้น สิ้นไป หรือเสียความน่าศรัทธาไปได้ เพื่อสอนเรา กิจนี้ท่านทำได้ทั้ง สร้าง, รักษา, และทำลาย เพราะท่านยังไม่นิพพาน ยังมีภพอยู่เบื้องหน้า ใครที่มีภพอยู่เบื้องหน้า ย่อมมีกิจวนอยู่ในการสร้าง, รักษา และทำลาย แต่การทำกิจของพระยูไลกับพระพรหมจะต่างกัน คือ พระยูไลจะสั่งงานผ่านพระโพธิสัตว์ ความรุนแรงในการทำลายล้างจะเบากว่าพรหม แต่ในยุคเริ่มแรกของวิวัฒนาการของมนุษย์นั้น พระพรหมจะทำหน้าที่มากกว่าเพราะโลกยังอยู่ได้ยากกว่า และฤษีก็เป็นผู้อยู่ง่ายกินง่ายมากกว่าจึงมาทำกิจกันมาก ยุคนี้ โลกก็ไม่ได้ล้าหลังแล้ว ฤษีมีน้อย พระโพธิสัตว์มีมาก กิจด้านสร้าง, รักษา, และทำลาย จึงโอนไปทางสุขาวดี ดูแลโดยพระยูไลเป็นส่วนใหญ่



    ตัวอย่างกิจของพระโพธิสัตว์ที่มีต่อพระยูไล



    ๑) กิจอุปัฏฐาก ไม่ต้องใช้เงินมาก แต่ใช้ร่างกายมาทำงาน ดูแลใกล้ชิดเหมือนพระอานนท์ ที่ทำหน้าที่ดูแลใกล้ชิดพระพุทธเจ้าอย่างนั้น ซึ่งควรเป็นผู้ชาย

    ๒) กิจอุปถัมภ์ ควรมีเงินหรืออำนาจมากพอควร จึงอุปถัมภ์ได้ เช่น การออกกฎหมายเปิดให้พระยูไลผู้นั้นเผยแพร่ลัทธินั้นๆ ได้ การให้เงินสนับสนุนมากๆ

    ๓) กิจเรขานุการ คือ การจดบันทึกคำสอนไว้เป็นหนังสือ เรียบเรียง รวบรวมไว้ ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป เพราะคำสอนของพระยูไลนั้นได้จากญาณที่หายาก

    ๔) กิจสืบทอดธรรม คือการปฏิบัติตนให้ได้คล้ายพระยูไลมากที่สุดเพื่อสืบทอดเป็นทายาททางธรรม ทำหน้าที่ต่อไป ซึ่งมักยกให้คนที่มีอายุน้อยๆ คนรุ่นต่อๆ ไป

    ๕) กิจดูแลองค์กร คือ กิจที่ต้องคอยดูแลเรื่องระเบียบ, ศีลวินัย, การปกครอง ฯลฯ เพื่อให้องค์กรที่ก่อตัวขึ้นมาแล้วนั้นๆ มีแบบแผนสืบทอดต่อเนื่องกันต่อไปได้

    ๖) กิจภาคปราบ คือ คอยปราบสิ่งรบกวนที่มาก่อกวนหรือทำลายสถานธรรม เช่น คนหรืออมนุษย์ที่คอยทำลาย กิจนี้ต้องมีฤทธิ์มาก หรือมีอำนาจทางโลกพอควร


    -จบ-
     
  9. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    ปาราชิกเพราะอวดอุตริมนุษยธรรมเป็นไฉน?


    กรณีพระสงฆ์เข้าใจผิดในธรรมของตน ไม่เจตนา โพล่งอุทานมาว่า
    อรหันต์แล้วหนอ นิพพานเป็นอย่างนี้หนอ คือ ไม่เจตนาหวังผลใด
    เป็นไปด้วยความเข้าใจผิด


    ย่อมไม่นับเป็นอวดอุตริมนุษยธรรม


    แต่เมื่อภิกษุได้ประกาศออกไปว่าตนได้อรหันต์หรือตายแล้วนิพพานแน่
    โดยหวังให้คนเชื่อ ยอมรับ ยกย่อง หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งลาภสักการะ
    หรือ "เงินทอง" มากมาย


    อันนี้ จึงนับเข้าข่ายปาราชิกได้
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นานาปัญหา โดย คณะสหายธรรม

    ๕๐. อยากทราบการลดและการเพิ่มอายุของมนุษย์
    ถาม เหลืออีก ๒ พันปีก็จะหมดสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้แล้ว เมื่อใกล้จะครบ ๕ พันปี มนุษย์จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี หรือเมื่อหมดสมัยพระพุทธเจ้าองค์นี้ มนุษย์จะถูกทำลายด้วยอะไร ต่อจากนั้นมนุษย์ก็จะมีอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    อยากทราบว่า การลดและการเพิ่มอายุของมนุษย์ ๑๐๐ ปีลด ๑ ปี หรือ ๑๐๐ ปีเพิ่ม ๑ ปี ใช่ไหม



    ตอบ เรื่องการหมดอายุของพระพุทธศาสนานี้ เราไม่อาจกำหนดให้แน่นอนได้ว่า ศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ จะมีอายุเพียง ๕ พันปี พระพุทธองค์ก็มิได้ทรงแสดงไว้โจ่งแจ้งอย่างนั้น เพียงแต่พระองค์ตรัสไว้เมื่อใกล้จะเสด็จปรินิพพานว่า หากยังมีผู้ปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ อยู่ตราบใด โลกนี้ก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ กับยังได้ตรัสแก่ท่านพระอานนท์เมื่อคราวทรงอนุญาตให้สตรีที่รับครุธรรม ๘ ประการ บวชเป็นภิกษุณีได้ว่า “ถ้าสตรีจักไม่บวชในศาสนานี้ พระสัทธรรมที่พระองค์ทรงประกาศไว้ ก็จะตั้งอยู่ตลอด ๑ พันปี แต่เพราะพระองค์ทรงอนุญาตให้สตรีได้บวชในศาสนานี้ พระสัทธรรมก็จะตั้งอยู่ ๕๐๐ ปี เท่านั้น”

    ในเรื่องนี้อรรถกถาท่านแก้ความสงสัยไว้ว่า การที่พระองค์ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการไว้ มิให้สตรีผู้บวชเป็นภิกษุณีล่วงละเมิดนั้น เป็นเหตุให้ศาสนาที่ควรจะตั้งอยู่เพียง ๕๐๐ ปี ในเมื่อมีสตรีมาบวชจะยืนยาวต่อไปอีก ๕๐๐ ปี คือจะตั้งอยู่ถึง ๑ พันปีตามที่ตรัสไว้ หมายความว่าศาสนาที่ควรจะมีอายุ ๕๐๐ ปี เพราะมีสตรีเข้ามาบวช ก็จะมีอายุถึง ๑ พันปี เพราะเหตุที่ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี

    และคำว่าศาสนาตั้งอยู่ได้พันปีนั้น ท่านก็หมายความว่าพระอรหันต์ผู้ได้ปฏิสัมภิทาจะมีอยู่ในพันปีแรก พันปีที่ ๒ จะมีแต่พระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก พันปีที่ ๓ จะเหลือแต่พระอนาคามี พันปีที่ ๔ จะเหลือแต่พระสกทาคามี พันปีที่ ๕ จะเหลือแต่พระโสดาบัน ที่ท่านกำหนดอย่างนี้ท่านกำหนดเอาบุคคลที่สูงที่สุดเป็นเกณฑ์ ที่ต่ำกว่าไม่ได้กำหนดไว้

    ในเรื่องอายุพระศาสนานี้มีกล่าวกันหลายอย่าง ที่กล่าวมาแล้วก็เป็นอย่างหนึ่ง ที่จะนำมาเรียนให้ทราบก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งท่านกล่าวว่า พันปีแรกจะมีแต่พระอรหันต์ผู้ได้ปฏิสัมภิทา พันปีที่ ๒ จะมีพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖ พันปีที่ ๓ จะมีพระอรหันต์ผู้ได้วิชชา ๓ พันปีที่ ๔ จะมีพระอรหันต์สุกขวิปัสสก พันปีที่ ๕ จะมีแต่พระอรหันต์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์เท่านั้น นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายความเห็น จนเราไม่อาจจะถือเป็นข้อยุติได้

    เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรจะสนใจเรื่องนี้นัก ควรสนใจแต่ว่าในขณะที่มนุษย์มีอายุน้อยไม่ถึง ๑๐๐ ปีอย่างในขณะนี้ เราควรจะทำอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและแก่โลก เพราะการเกิดเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก เมื่อเกิดมาแล้วก็ควรใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ ให้คุ้มค่ากับที่ได้เกิดมายาก ด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดีไว้ให้มาก เพื่อว่าแม้ศาสนาจะหมดสิ้นไป หากเรายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ความดีที่เราได้ทำไว้ก็จะเป็นปัจจัยให้เราได้ทำความดีนั้นต่อไป และเมื่อพระพุทธเจ้าองค์ใหม่มาตรัสรู้ เราก็จะมีโอกาสพบกับคำสอนของพระองค์ ไม่ไปเกิดอยู่ในอบายภูมิเสีย เพราะเหตุที่มิได้สร้างความดีเอาไว้

    สำหรับอายุของมนุษย์จะเพิ่มขึ้นลดลงอย่างไรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในจักกวัตติสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคว่า อายุขัยของมนุษย์อย่างน้อยที่สุด ๑๐ ปี ซึ่งเมื่อนั้นเด็กหญิงอายุ ๕ ปีก็จะมีสามีได้ อายุของมนุษย์ถอยลงจากอสงไขยปีจนเหลือ ๑๐ ปี ก็เพราะมนุษย์มีกิเลสหนาแน่น ทำแต่อกุศลบาปกรรม ไม่นับถือพ่อแม่ผู้ใหญ่ ขาดทั้งศีลทั้งธรรม จะอาฆาตพยาบาทฆ่าฟันกัน ด้วยอาวุธมีคมล้มตายเป็นอันมาก

    พวกที่ยังเกรงกลัวบาปอยู่บ้าง ไม่อยากฆ่าฟันกัน ก็หนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ตามป่า เขา ถ้ำเป็นต้น พอครบ ๗ วันก็พากันออกจากที่ซ่อน ครั้นพบกันเข้าก็สวมกอดกัน ด้วยความยินดีว่าเรารอดชีวิตมาได้ แต่นั้นจึงพากันตั้งตนอยู่ในศีล ด้วยเหตุนั้นลูกของคนที่มีอายุ ๑๐ ปีก็จะมีอายุ ๒๐ ปี ครั้นกุศลเจริญขึ้นเรื่อยๆ ผู้คนมีศีลธรรมเพิ่มขึ้น ลูกของคนที่มีอายุ ๒๐ ปีก็จะมีอายุ ๔๐ ปี ลูกของคนที่อายุ ๔๐ ปีก็จะมีอายุ ๘๐ ปี ลูกของคนมีอายุ ๘๐ ปีก็จะมีอายุ ๑๖๐ ปี ลูกของคนมีอายุ ๑๖๐ ปีก็จะมีอายุ ๓๒๐ ปี ลูกของคนที่มีอายุ ๓๒๐ ปีก็จะมีอายุ ๖๔๐ ปี ลูกของคนที่มีอายุ ๖๔๐ ปีก็จะมีอายุ ๒,๐๐๐ ปี ลูกของคนมีอายุ ๒,๐๐๐ ปีจะมีอายุ ๔,๐๐๐ ปี ลูกคนมีอายุ ๔ พันปีจะมีอายุ ๘ พันปี ลูกคนมีอายุ ๘ พันปีจะมีอายุ ๒ หมื่นปี ลูกของคนมีอายุ ๒ หมื่นปีจะมีอายุ ๔ หมื่นปี ลูกของคนมีอายุ ๔ หมื่นปีจะมีอายุ ๘ หมื่นปี

    และเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปีนี้แหละ พระพุทธเจ้าพระนามว่าพระศรีอริยเมตไตรย์ จะทรงอุบัติขึ้น ในสมัยของพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า สังขะ ในนครพาราณสีซึ่งมีชื่อใหม่ในสมัยนั้นว่า เกตุมดี พระเจ้าสังขะนั้นจะทรงผนวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ จากข้อความในจักกวัตติสูตรนี้แสดงว่า อายุของมนุษย์มิได้เพิ่มขึ้นตามที่เราเข้าใจ แม้ระยะเวลาที่มนุษย์มีอายุถอยลง ก็มิได้เป็นไปตามเข้าใจ แต่ได้โปรดเข้าใจว่าเหตุที่มนุษย์มีอายุน้อยลงเป็นลำดับนั้น เพราะมนุษย์ส่วนมากมีกิเลสเพิ่มขึ้นๆ จนแม้แต่คำว่ากุศลก็ไม่รู้จัก จึงได้ฆ่าฟันกันล้มตายเกือบหมด ที่รอดชีวิตมาได้ก็ประพฤติตนดีขึ้นๆ อายุของมนุษย์จึงเพิ่มขึ้นด้วยอำนาจของกุศล ส่วนจะเพิ่มขึ้นลดลงอย่างไรนั้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ในจักกวัตติสูตรว่า

    เมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี อทินนาทานปาณาติบาตและมุสาวาทเกิดมีแพร่หลาย อายุของมนุษย์จึงลดลงเหลือ ๔ หมื่นปี เมื่ออกุศลเจริญมากขึ้น ลูกของคนอายุ ๔ หมื่นปีก็ลดลงเหลือ ๒ หมื่นปี คนที่อายุ ๒ หมื่นปีจะมีลูกอายุ ๑ หมื่นปี ลูกของคนมีอายุ ๑ หมื่นปีจะมีอายุลดลงเหลือ ๕ พันปี ลูกของคนอายุ ๕ พันปี บางพวกมีอายุ ๒,๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๐๐๐ ปี ลูกของคนอายุ ๒,๕๐๐ ปีจะมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี ลูกของคนอายุ ๑,๐๐๐ ปีจะมีอายุ ๕๐๐ ปี ลูกคนมีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๐๐ ปี ลูกของคนอายุ ๒๕๐ ปีจะมีอายุเพียง ๑๐๐ ปี

    ในจักกวัตติสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เท่านี้ แล้วตรัสต่อไปว่าจักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านั้นมีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงอายุ ๕ ปีก็จะมีสามีได้ ในขณะนั้นมนุษย์จะไม่มีศีลธรรม ฆ่าฟันกันเอง เพราะแม้แต่คำว่ากุศลก็ไม่รู้จัก คนที่รอดชีวิตมาก็ดีใจว่าตัวรอดชีวิตมามิได้ถูกฆ่า จึงได้พากันบำเพ็ญกุศล แล้วมนุษย์ก็จะมีอายุเพิ่มขึ้นๆ ดังที่ได้เล่ามาแล้ว

    ส่วนที่คุณถามว่า เมื่อสิ้นอายุพระศาสนา มนุษย์จะพินาศด้วยอะไร ตอบได้ว่ามนุษย์จะพินาศเพราะกิเลสที่มีกำลังแรงกล้า อกุศลทุจริตที่มนุษย์ช่วยกันทำไว้นั้นแหละ จะทำให้มนุษย์พินาศและอายุสั้นลงๆ ดังที่เล่าไว้



    http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=50
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2010
  11. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    ข้อมูลจากไตรปิฎกแต่ขัดแย้งกันอยู่
    ชาไม่รู้ว่าอันไหนจริงหรือเท็จนะคะ
    ฝากไว้ให้ท่านผู้รู้พิจารณานะคะ
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

    ๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
    [๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อย และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้ สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ
    [๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ
    [๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ
    [๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
    [๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือนไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

    จบสูตรที่ ๑๓

    จบกัสสปสังยุตต์ที่ ๔


    -------------------------------------------------------------------------------



    หมายเหตุ ๑. โมฆบุรุษ หมายถึง บุรุษเปล่า, คนเปล่า, คนที่ใช้การไม่ได้, คนโง่เขลา, คนที่พลาดจากประโยชน์อันพึงได้พึงถึง

    ๒. สงฆ์ หมายถึง หมู่, ชุมนุม
    1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒),
    ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์
    2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง


    (ความหมายตาม พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต))

    พิมพ์หน้านี้ - พระศาสดาตรัสเหตุเสื่อมพระศาสนา
     
  13. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ขอขอบพระคุณ ท่านชาไม่รู้ ที่กรุณาสื่อธรรมที่ดี
    มาให้เพื่อนธรรมได้ศึกษา สาธุ สาธุ สาธุ
    อนุโมทนาครับ

    www.3romphosri.com
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อยากบอกว่า จริงเท็จเราก็ไม่รู้ชัด
    เรารู้แต่ว่า อย่าให้สัทธรรมปฏิรูปเกิดเพราะเราก็พอแล้ว มันเป็นกรรมหนัก!!!
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มาดูความเห็นของผู้รู้ท่านอื่นบ้าง

    พระพุทธศาสนาอยู่ 5,000 ปี จริงหรือ???
    ผู้ถาม "มีด็อกเตอร์คนหนึ่งนะคะพูดว่า ศาสนาพุทธนี่มีอายุไม่ถึง ๕,๐๐๐ ปี ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ เพราะขณะนี้ทางเบื้องบนตกลงไว้ว่าจะมีการชำระล้างกันก่อน เพราะว่าเวลานี้คนบาปมากเพื่อว่าจะได้มีพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ ทีนี้ขอเรียนถามหลวงพ่อว่า จะทำอย่างไรจึงจะไม่ให้เป็นไปตามนั้นคะ....?"

    "ปัญหานี่ดี แต่ฉันว่าไม่มีหรอก พระพุทธศาสนาต้องทรงอยู่ได้ถึง ๕,๐๐๐ ปีแน่นอน ฉันขอยืนยัน ถ้าใครไม่เชื่อจงอย่าตายนะ รอไปถึงเวลานั้น นี่เขาคงเดาเอาน่ะ พระพุทธดำรัสมีอยู่คือว่า

    * พันปีแรก จะมากไปด้วย ปฏิสัมภิทาญาณ
    * พันปีที่ ๒ จะมากไปด้วย ฉฬภิญโญ
    * พันปีที่ ๓ คือระหว่างนี้จะมากไปด้วย เตวิชโช
    * พันปีที่ ๔ จะมากไปด้วยสุกขวิปัสสโก และ
    * พันปีที่ ๕ จะมากไปด้วยอนาคามี

    คำว่า มาก หมายความว่า พวกนี้จะมากกว่าส่วนอื่นที่มีอยู่
    แต่เวลานี้พวกปฏิสัมภิทาญาณก็มี อภิญญาหกก็มี แต่พวกวิชชาสามมีมากกว่า

    อย่างพันปีที่ ๔ พวกสุกขวิปัสสโกมาก แต่ว่าปฏิสัมภิทาญาณก็ดี อภิญญาหกก็ดี วิชชาสามก็ดี เขาก็ยังมีอยู่

    อย่างพันปีที่ ๕ พระอนาคามีมีมาก แต่ว่าพระอรหันต์ทั้ง ๔ พวกนี้ยังมีอยู่ พระพุทธเจ้าไม่วางพื้นฐานส่งเดช และที่เขาว่าพระพุทธเจ้าองค์ใหม่มาใครล่ะมา พระศรีอาริยเมตตรัย ท่านก็ไม่มา ไม่เชื่อไปถามท่านซิ"

    ผู้ถาม "หลวงพ่อคะ ถ้าหากว่าคนไปนิพพานหมด โลกนี้ก็จะร่อยหรอด้วยคนซิคะ.....?"
    "ไม่มีทาง พระพุทธเจ้ามาอีกแสนองค์ก็ยังไม่ร่อยหรอเลย เพราะคนที่พยายามคอยเกิดบนโลกนี้มีมากต่อมาก"

    ผู้ถาม "คือคิดดูในปัจจุบันนี้ว่าคนมีปริมาณน้อยค่ะ "
    "ไอ้ที่ว่าเห็นน้อยก็เพราะว่าเขาไปเสวยทุกข์ในนรกกันมาก ยิ่งต้นกัปคนก็ยิ่งน้อย เพราะต้นกัปพวกที่มีบาปขึ้นมาไม่ได้เลย ลงมาแต่พวกพรหม หลังจากนั้นเลยมาอีกหน่อย ก็มาแต่พวกเทวดา ฉะนั้นในยุคต้นๆ ของกัปเขาจึงมีความสุขกันมากการรบราฆ่าฟันกันไม่มี ความเป็นอยู่เป็นสุข ทรัพย์สมบัติก็สมบูรณ์บริบูรณ์ อายุเขาจึงยืนนาน ต้นกัปคนมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปีเพราะเขาไม่มีโทษปาณาติบาต

    แล้วต่อมาพวกมี่มีบุญน้อยลดตัวลงมาก็หมายถึงพวกเทวดา พวกเทวดาหรือพรหมนี่ เมื่อหมดจากบุญวาสนาบารมีเดิม กรรมที่เป็นอกุศลเริ่มให้ผล อายุมันก็ลดลงบ้าง ๑๐๐ ปี ลง ๑ ปี

    ต่อมาในยุคนี้สัตว์ในอบายภูมิขึ้นมาเกิดมาก โลกจึงมีแต่ความเร่าร้อน เวลานั้นเขาไม่มีสงคราม ต้นกัปจริงๆ เขาไม่มีพระเจ้าแผ่นดิน ไม่มีผู้ปกครองโลก ปกครองประเทศอยู่กันด้วยความสุข"

    ที่มา : หนังสือหลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษเล่ม ๒ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    http://www.bp.or.th/webboard/index.php?action=printpage;topic=8013.0
     
  16. oหน่วยหน้าo

    oหน่วยหน้าo สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3
    แต่เมื่อบัญญัติครุธรรมไว้ก่อนที่สตรีจะบวช ในระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาอยู่<<< พศ.1000

    ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอรหันต์สุกขวิปัสสกอยู่<<< พศ.2000 (เป็นของอันนี้ไม่ใช่อันล่าง เพราะปีนี้2553 ไม่ใช่3xxx)

    ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีอนาคามีอยู่*<<< พศ.3000

    ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระสกทาคามีอยู่<<< พศ.4000

    ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระโสดาบันอยู่<<< พศ.5000

    สรุปว่า ปฏิเวธสัทธรรม จะดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี

    แม้ปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี เพราะปริยัติกับปฏิเวธต่างเกื้อกูลกัน


    พันปีที่ คือการนับหลักพัน ต้องมีหลักนั้นอยู่ข้างหน้า

    คือ 1000-1999 เป็นพันปีที่1 ถ้าจะให้เป็นพันปีที่2 ต้อง2000-2999
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2010
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ผมไม่ทราบนะว่าเจ้าของกระทู้ไปเอาบทความนี้มาจากใหน.....และแหล่งอ้างอิงที่กล่าวนั้นผมลองค้นดูในฐานข้อมูลพระไตรปิฏกตอนนี้ที่มีอยู่....เนื้อเรื่องที่กล่าวว่าพระไตรปิฏก ทั้งสองฉบับ.....เป็นไปได้ไมที่จะบอกชื่อเรื่อง....และยกข้อความตลอดจนเวบลิงค์มาเลย.......เพราะผมไปดูจากฐานข้อมูล เล่มที่ ๙ เป็นพระสุตันแล้วครับ.....ถ้าเป็นในส่วนของพระสูตรก็ควรจะบอกชื่อพระสูตรนั้น......

    และหากว่ากล่าวเป็นพระวินัยก็ควรที่จะยกพระวินัยมาก่อน.....แล้วตามด้วยอรรถกถา.......อันนี้ยกอรรถกถา.....แล้วไม่ยกพระวินัย....ตัวบท.....ซึ่งสำคัญกว่า...น่าเชื่อถือกว่า....มาลง.....อย่างนี้ค้นคว้าไม่ถูกครับ.....

    แล้วคำกล่าวว่าพระไตรปิฏกนั้นมีข้อความไม่ตรงกันนี้...เอาอรรถกถามาตัดสินว่าพระไตรไม่ตรง......อันนี้ไม่ถูกนะครับ.....ความเข้าใจยังผิดอยู่......อรรถกถา....ไม่ใช่พระไตรปิฏกครับ......เกิดหลังจากพระไตร ประมาณช่วง ๕๐๐ ถึง ๑๐๐๐ ปี เลยทีเดียว.......อรรถกถา คือ อธิบาย พระไตร ครับ........อรรถกามีโอกาศ ที่จะไม่ตรง อยู่เหมือนกันครับ......แต่ถึงตอนนี้ผมยังหาไม่เจอที่ว่าไม่ตรง......(เห็นว่าชอบด้านอนุตรธรรม....บอกก่อนนะครับ...ถ้าเอาอรรถกถามหายานมา...แล้วเอามาเทียบ พระไตรเถรวาท....อันนี้คนละอย่างคนละตัวกันเลยครับ...ถึงกับว่าเลิกพูดได้เลย)

    อย่างไรถ้าเป็นไปได้ว่า จขกท เป็นผู้เขียนบทความนั้นเอง....หรือเอามาจากแหล่งใด....เป็นไปได้ไมครับ....ที่จะหาแหล่งข้อมูลที่ชัดเจนกว่านี้......ผมดูแล้วยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก......ยังไม่อาจเชื่อถือได้.....

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2010
  18. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ถ้าจะศึกษาด้านมหายานนั้น....ก็ไปทางด้านมหายานเลยครับ.....เพราะว่ามันแตกต่างกันค่อนข้างมากเลยที่เดียว.....ถึงแม้ว่าเนื้อหลักจะไม่ต่างกันก็ดี......

    มหายานต้องการสุขาวดี(สวรรค์ชั้นหนึ่ง)....ไปอยู่กับพระยูไล...(สุขาวดียูหสูตร)
    เถรวาทต้องการนิพพาน(พ้นจากทุกข์ทั้งปวง).....จบสิ้นการเกิด.....
    แค่จุดประสงค์หลักก็ต่างกันแล้ว......ไม่ต้องพูดเรื่องการปฏิบัติ.....

    พระไตรปิฏก แตกต่างกันมาก....พูดแล้วยาว....ไล่ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ สังคายนาในถ้ำ นอกถ้ำ.....เถรวาท(จากอดีตถึงปัจจุปันไม่เปลี่ยน)...กับ มหาสังคิกะ(แตกออกมา)....พระสูตรที่ต่างกัน..ภาษาที่ใช้ต่างกัน(บาลีและสันสกฤต)...เนื้อความที่ต่างกัน....ถ้าเทียบพระไตรเถรวาทกับมหายาน...ก็รู้ไว้ว่าต่างแน่นอน....ไม่ต้องสงสัยได้เลย....

    เว้นแต่ว่าคุณจะศึกษาพระไตรมหายาน อรรถกถามหายาน หรือ พระไตรปิฏกเถรวาท กับอรรถกถาเถรวาท.....ภาษาหลักบาลี(เถรวาท) ภาษาหลักสันสกฤต(มหายาน)..........เลือกได้สองทาง......ถ้าเอามาชนหรือข้ามกัน....ก็เตรียมพร้อมที่จะเปรียบเทียบได้เลย......

    เนื้อเรื่องนิทานที่แต่งขึ้น....ผมว่า....พอเหอะ....ถ้าใครเชื่อนี่ก็ช่วยไม่ได้จริงๆ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2010
  19. Nothing Eternal

    Nothing Eternal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +654
    ที่ท่าน k.kwan และ ท่าน ภาณุเดช ตอบไว้นั้น ชอบแล้วครับ

    โมทนาสาธุธรรมครับ
     
  20. cmhadtong

    cmhadtong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2008
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +2,034
    วันเวลาล่วงไปวันหนึ่งๆ มีความดีอะไรติดใจเราบ้าง
    พิจารณาตรงนี้จะดีกว่าไหมครับ
    อย่าไปวิพากย์วิจารณ์ ศัพท์เล็กศัพท์น้อย
    ประโยชน์ในทางมรรคผลก็ไม่เกิด
    จะฟุ้งไปกันใหญ่
    อนุโมทนา สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...