ผมอยาก บรรลุโสดาบัน ทำไงดีครับ ?

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย Sir-Pai, 3 พฤษภาคม 2010.

  1. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    คืออยากบรรลุอ่ะ ต้องทำไงบ้าง แล้วพอบรรลุจะรู้สึกไงหรอครับ

    ขอบคุณครับ ^^
     
  2. ชัชช

    ชัชช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +242
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ( อ่านว่า วิญญูฮี )
     
  3. arrin123

    arrin123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +1,759
    อนุโมทนาค่ะ มันขึ้นอยู่ที่ตัวเองค่ะผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน ต้องมีศรัทธาคือเห็นตามคำสอนของพระพุทธเจ้า รู้แจ้งในขั้น 5 เบื้องต้น จนเกิดมีอารมณืเข้าใจถึงความตายของสัตว์โลกเป็นนิจ มีศีลครบไม่ขาดแม้แต่พลั้งเผลอ แต่ทางที่ดีไปนิพพานดีกว่า
    ____________________________________________

    "สุขใดเหมือนแม้นการไม่เกิดไม่มี""จะไม่ละความเพียรถ้ายังไม่ถึงซึ่งนิพพาน"
    "สุขใดในโลกล้วนไม่ยั่งยืน ผู้ใดปล่อยวางพิจารณาในความทุกข์เห็นโทษของความสุขผู้นั้นชื่อได้ว่าพบความสุขอันยิ่งใหญ่"
     
  4. peepo_pocky

    peepo_pocky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +298
    ขออนุญาตนำคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำมาอธิบายดังนี้นะคะ

    อารมณ์พระโสดาบัน
    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับคืนนี้ก็มาเริ่มปฏิบัติเนื่องในโสดาปัตติผล หรือว่า ปฏิบัติเพื่อพระโสดาปัตติมรรค การเจริญพระกรรมฐานนี่ พระพุทธเจ้ามีความต้องการให้ผู้ปฏิบัติทุกท่านเข้าถึงพระอริยมรรค พระอริยผล ถ้าเราจะปฏิบัติกันอย่างเลื่อนลอยก็มีความสุขเหมือนกัน แต่มีความสุขไม่จริง ที่จะปฏิบัติให้มีความสุขจริงๆ ก็จะต้องมีจุดใดจุดหนึ่งเป็นเครื่องเข้าถึงจึงจะใช้ได้
    ในอันดับแรกนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงต้องการผลอันดับต้น คือได้พระโสดาปัตติมรรคหรือพระโสดาปัตติผล หรือการที่เราเรียกกันว่า พระโสดาบัน
    ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะศึกษาอย่างอื่น ก็โปรดทราบว่า สำหรับพระโสดาบันนี้ละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ:-
    ๑. สักกายทิฏฐิ ตัวนี้มีปัญญาเพียงเล็กน้อย เพียงแค่มีความรู้สึกว่าเราจะต้องตายเท่านั้น เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต คิดอยู่เสมอว่าความตายเป็นธรรมดาของชีวิต เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความตายให้พ้นได้ และความตายนี้ จะปรากฏกับเราเมื่อไรก็ไม่แน่นอนนัก และเชื่อว่า ตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางคืน ตายกลางวัน อย่างนี้ไม่มีความแน่นอน
    เพราะว่าความตายไม่มีนิมิต ความตายไม่มีเครื่องหมาย แต่ถึงอย่างไรก็ดี เราก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความตายไปได้ นี่สำหรับข้อแรกสักกายทิฏฐิ ที่เห็นว่าร่างกายก็คือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เรานิยมเรียกกันว่า ร่างกาย
    พระโสดาบันมีความรู้สึกว่ามีปัญญาเพียงเล็กน้อย รู้แค่ตายเท่านั้น ยังไม่สามารถจะจำแนกร่างกายว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราได้ ความรู้สึกของพระโสดาบัน ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา ทรัพย์สินทั้งหลายยังเป็นเรา เป็นของเรา
    แต่ทว่ามีความรู้สึกว่า สิ่งทั้งหลายที่เป็นของเรานี้ทั้งหมด เมื่อเราตายแล้วเราก็ไม่มีสิทธ์ที่จะเข้ามาครอบครอง หรือถ้าว่าเรายังไม่ตาย สักวันหนึ่งข้างหน้ามันก็ต้องสลายตัวไป เนื่องในข้อว่า สักกายทิฏฐิ พระโสดาบันคิดได้เพียงเท่านี้ ยังไม่สามารถจะแยกกาย ทิ้งไปได้ทันทีทันใด องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงกล่าวว่า พระโสดาบันมีปัญญาเล็กน้อย
    ในข้อที่ ๒ วิจิกิจฉา พระโสดาบันไม่สงสัยในคำสั่ง และคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    คำว่า คำสั่ง ก็ได้แก่ ศีล
    คำสอน ก็ได้แก่ จริยาอันหนึ่งที่เราเรียกกันว่า ธรรมะ เป็นความประพฤติดีประพฤติชอบ
    ศีล พระพุทธเจ้าสั่งให้ละ หมายความว่า ละตามสิกขาบทที่กำหนดให้ไว้ คำสอนทรงแนะนำว่า จงทำอย่างนี้จะมีความสุขอีกทั้งคำสั่งก็ดี ทั้งคำสอนก็ดี พระโสดาบันก็มีความเชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัย คือ เชื่อพระพุทธเจ้า ในการเชื่อก็ใช้ปัญญาพิจารณาก่อน ไม่ใช่สักแต่ว่าเชื่อ
    นี่สำหรับสังโยชน์ข้อที่ ๓ สีลัพพตปรามาส เพราะอาศัยที่พระโสดาบันมีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแนะนำบรรดาพระสงฆ์ว่า จงนำธรรมะนี้ไปสอน พระสงฆ์ก็ไปสอน พระโสดาบันใช้ปัญญาเพียงเล็กน้อยมีความเข้าใจดี ยินยอมรับนับถือคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระชินสีห์ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสมา แล้วพระสงฆ์นำมาแสดง อาศัยที่ศรัทธาในพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการนี้ พระโสดาบันจึงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
    เป็นอันว่าพระโสดาบัน ถ้าเราจะไปพิจารณาจริงๆ ก็ไม่เห็นมีอะไรสำคัญ มีสภาวะเหมือนชาวบ้านชั้นดีนั่นเอง ทีนี้เราจะกล่าวถึง องค์ของพระโสดาบัน ท่านที่เป็นพระโสดาบันจริงๆ นั้น มีอารมณ์ใจ
    คำว่า " องค์ " นี่หมายความว่า อารมณ์ที่ฝังอยู่ในใจ อารมณ์ใจของพระโสดาบันจริงๆ ก็คือ
    ๑. มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
    ๒. มีความเคารพในพระธรรม
    ๓. มีความเคารพในพระสงฆ์
    ๔. มี ศีล ๕ บริสุทธ
    อันนี้ก็ตรงกับพระบาลี ที่องค์พระชินสีห์ตรัสว่า พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี เป็นผู้มีอธิศีล
    สำหรับกิเลสส่วนอื่นจะเห็นได้ว่า พระโสดาบันยังมีกิเลสทุกอย่าง ตามที่เรากล่าวกันคือ:-
    โลภะ ความโลภ
    ราคะ ความรัก
    โทสะ ความโกรธ
    โมหะ ความหลง
    จะว่ารักก็รัก อยากรวยก็อยากรวย โกรธก็โกรธ หลงก็หลง แต่ไม่ลืมความตาย คำที่ว่าหลงก็เพราะว่า พระโสดาบันยังต้องการความร่ำรวยด้วยสัมมาอาชีวะ พระโสดาบันยังต้องการความสวยสดงดงาม ต้องการมีคู่ครอง
    อย่าง นางวิสาขามหาอุบาสิกา ก็ดี ภรรยาของพรานกุกกุฏมิตร ก็ดี ทั้งสองท่านนี้เป็นพระโสดาบัน ตั้งแต่อายุ ๗ ปี แต่ในที่สุด ท่านก็แต่งงานมีเครื่องประดับประดาสวยงาม เป็นอันว่ากิเลสที่เราต้องการกัน เนื่องจากการครองคู่ระหว่างเพศ พระโสดาบันยังมี และก็ยังมีครบถ้วน เพราะว่าอยู่ในขอบเขตของศีล
    ไม่ทำ กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ละเมิดความรักของบุคคลอื่น ไม่ทำให้ผิดประเพณีหรือกฎหมายของบ้านเมือง และเป็นไปตามศีลทุกอย่าง คือรักอยู่ในคู่ผัวเมียตามปกติ
    นี่ขอบเขตของพระโสดาบันมีเท่านี้ มีความต้องการรวยด้วยสัมมาอาชีวะ พระโสดาบันยังประกอบอาชีพ แต่ไม่คดไม่โกง ไม่ยื้อไม่แย่งใครเท่านั้น หามาได้แม้จะร่ำรวยแสนจะร่ำรวยก็ได้มาด้วยความบริสุทธ์ ไม่คดไม่โกงเขา พระโสดาบันยังมีความโกรธ ไอ้โกรธน่ะโกรธได้ แต่ว่าพระโสดาบันยังไม่ฆ่าใคร เกรงว่าศีลจะขาด
    พระโสดาบันยังมีความหลง แต่หลงไม่เลยความตาย ยังมีความรู้สึกอยู่ว่าต้องการชีวิต ชีวิตของเรามีอยู่ ต้องการทำประโยชน์ให้เกิดขึ้น ยังไงๆ เราก็ตายแน่ การที่จะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความตายไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
    เป็นอันว่าถ้าเราพิจารณากันจริงๆ ความเป็นพระโสดาบันนี่รู้สึกว่าไม่ยากเลย สำหรับในวันนี้ก็จะขอแนะนำบรรดาท่านพุทธบริษัท ให้พยายามใคร่ครวญถึงความตายเป็นสำคัญ เรื่องความตายนี่ก็ดี การควบคุมอารมณ์จิตให้ปราศจากความฟุ้งซ่านก็ดี ควรจะทำให้เป็นปกติ ถ้าวันใดถ้าเราเผลอจากการควบคุมอารมณ์จิต ให้ระงับจากความฟุ้งซ่านก็ดี ควรจะทำให้เป็นปกติ ถ้าวันใดเราเผลอจากการควบคุมอารมณ์จิต ให้ระงับจากความฟุ้งซ่านก็ดี วันใดถ้าเราเผลอไปลืมนึกถึงความตายก็ดี ก็จงประณามตนเองว่าเรานี้เลวเต็มทีแล้ว
    เพราะว่าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอนตามความเป็นจริงทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านทั้งหลายจะพิจารณาเห็นได้ว่า คนและสัตว์ทุกอย่าง ทั้งคนและสัตว์ที่เกิดมาตายให้เราดูเป็นตัวอย่างและในเรื่องความตายนี้ไม่จำเป็นต้องศึกษาละเอียด เห็นกันอยู่แล้วทุกคน เพราะว่าคนส่วนใหญ่ลืมคิดไปว่าตัวเองจะตาย เคยไปในงานศพชาวบ้าน แต่ไม่ได้เคยคิดว่าเราจะเป็นศพอย่างชาวบ้านที่เขาตายกัน
    นี่เราประมาทกันอย่างนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้แนะนำว่า "จงนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อย่าประมาทในชีวิต คิดว่าเราจะไม่ตาย"
    นี่เป็นความคิดผิด เรื่องนึกถึงความตายเป็นอารมณ์นี่เป็นความดี เป็นปัจจัยสำคัญให้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบันได้ง่าย จะยกตัวอย่างบุคคลที่มีความเคารพในองค์สมเด็จพระจอมไตร แล้วก็มีความเคารพในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระจอมไตรหรือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน นั่นก็คือเปสการีธิดา เปสการีธิดานี่เคยอยู่เมืองอาฬวี
    วันหนึ่ง องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงเสด็จประทับสำราญอิริยาบถ อยู่ในพระคันธกุฎีมหาวิหาร ในตอนเช้าองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงเสด็จไปแต่พระองค์เดียว ไม่มีใครติดตาม เข้าสู่เขตเมืองอาฬวี องค์สมเด็จพระชินสีห์ถือตอไม้เป็นธรรมาสน์ที่ประทับ ประทับยับยั้งอยู่ตรงนั้น ชาวบ้านได้ฟังข่าวเข้าก็มาเฝ้าพระพุทธเจ้า นำภัตตาหารมาถวาย ขณะนั้นเปสการีธิดาคือลูกสาวนายช่างหูก (เปสการี แปลว่า ช่างหูก ธิดา แปลว่า ลูกสาว) ทราบข่าวก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากับเขาเหมือนกัน เมื่อเข้าไปแล้วถวายอาหารแก่องค์สมเด็จพระภควันต์เสร็จ
    หลังจากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเทศน์ ทรงเทศน์แบบสั้นๆ ว่า
    " ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต เพราะว่าชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ว่าความตายเป็นของเที่ยง ขอทุกท่านจงคิดไว้เสมอว่า อย่างไรก็ดีเราต้องตายแน่ สำหรับเวลากำหนดการตายของเราไม่มีแน่นอน เพราะความตายไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ท่านทั้งหลายจงประกอบแต่ความดีเข้าไว้…
    ถ้าใครสร้างความชั่ว ตายแล้วจะไปอบายภูมิมีนรกเป็นต้น เกิดมาเป็นคนก็จะมีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความลำบาก แต่ถ้าคนใดสร้างความดี คิดถึงความตายไม่ประมาทในชีวิต คิดไว้เสมอว่าเราต้องตายแน่ จงอย่าคิดว่า วันพรุ่งนี้ หรือเดือนหน้า ปีหน้า เดือนโน้น เราจึงจะตาย คิดไว้เสมอว่าวันนี้เราอาจจะตาย แล้วก็สร้างความดีเข้าไว้ ความดีจะส่งผลให้ท่านมีความสุข ทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพ…"
    และเมื่อองค์สมเด็จพระนราสภพูดเท่านี้ องค์สมเด็จพระมหามุนี ก็เสด็จกลับ เมื่อพระพุทธเจ้าไปแล้ว เทศน์ที่พระพุทธเจ้าสอนก็ตามพระพุทธเจ้าไปด้วย คือไม่ตามชาวบ้านไปที่บ้าน ตามพระพุทธเจ้ากลับวิหาร คือชาวบ้านไม่สนใจ
    ทว่าสาวน้อยกลอยใจหรือเปสการีธิดา เธอสนใจในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหตุ ทุกวันทุกคืน เธอนึกถึงวงหน้าขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ ว่ามีดวงหน้าสวยงามคล้ายดวงจันทร์ และพระสุรเสียงขององค์สมเด็จพระภควันต์ก็แจ่มใสไพเราะ ลีลาแห่งการแสดงพระธรรมเทศนาก็น่าฟังเป็นที่ชื่นใจ เธอจำไว้ได้เสมอว่าองค์สมเด็จพระบรมศาสดา
    พระองค์ทรงสอนว่า… ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต จงคิดแต่สร้างความดีไว้เสมอ…
    แล้วเธอก็ทำความดีทุกอย่าง ตามที่บิดามารดาและองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำ การแนะนำในคราวนั้น ก็มีศีลห้าเป็นสำคัญ
    เธอนึกถึงพระพุทธเจ้าทุกวัน จัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน แบบที่เราภาวนาว่า พุทโธ
    เธอนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ จัดเป็น มรณานุสสติกรรมฐาน
    เธอไม่ประมาทในการประกอบกรรมทำกุศล สร้างสิ่งที่เป็นมงคลไว้ตลอดชีวิต ที่ว่ามีสิทธ์เข้าถึงธรรม ไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่ออารมณ์จิตของเธอดีอย่างนี้ มีอารมณ์ผ่องใส วันทั้งวันนึกถึงความตาย แต่ก็ไม่เศร้าหมอง คิดว่าเวลานี้แม่ของเราก็ตายไปแล้วเหลือแต่พ่อ สักวันหนึ่งพ่อก็ดี เราก็ดีจะต้องตาย
    แต่ก่อนที่เราจะตาย เราเป็นคนก็ควรจะเป็นคนดี เวลาเป็นผีควรจะเป็นผีดี คือผีที่มีความสุข ไม่ใช่ผีในอบายภูมิ เธอคิดอย่างนี้จนเป็นเอกัคคตารมณ์
    ทุกวันนึกถึงความตาย ทุกวันนึกถึงวงพักตร์ขององค์สมเด็จพระจอมไตร ทุกวันคิดถึงพระสุรเสียงขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ขึ้นใจจับใจจนเป็นเอกัคคตารมณ์
    เวลานั้นวันที่พระพุทธเจ้าเทศน์ครั้งแรก เธอมีอายุได้ ๑๖ ปี ต่อมาเมื่อเธออายุย่างเข้า ๑๙ ปี องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงตรวจอุปนิสัยของสัตว์ในเวลาเช้ามืด เห็นนางตกในข่ายของญาณ ก็ตกใจว่านี่เรื่องอะไร ก็ทรงทราบด้วยอำนาจของญาณว่า
    ในสายวันนี้ กุลสตรีคนนี้ก็จะถึงแก่ความตายด้วยอุบัติเหตุ องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์จึงได้พิจารณาว่า ถ้าเราไม่ช่วยเธอ เธอจะมีคติที่แน่นอนไหม องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงทราบว่า ถ้าเราไม่ช่วยเธอ เธอมีคติไม่แน่นอน
    คำว่า " คติ " แปลว่า การไป
    แน่นอนหรือไม่แน่นอน ก็หมายความว่า ถ้าแน่นอนก็ไม่ไปทุคติ ไม่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก ไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ต้องเกิดเป็นคน หรือเป็นเทวดา หรือเป็นพรหม ไปนิพพานอย่างนี้ ชื่อว่ามีคติแน่นอน
    องค์สมเด็จพระชินวรจึงมาคิดว่า ถ้าเราจะช่วยเธอ เธอจะมีคติที่แน่นอนไหม ก็ทรงทราบว่าถ้าทรงช่วยจะมีคติแน่นอน และพิจารณาต่อไปว่าช่วยเธอยังไงจึงจะมีคติที่แน่นอน
    องค์สมเด็จพระชินวรก็ทรงทราบว่าถ้าเราถามปัญหาเธอ ๔ ข้อ เธอตอบเราให้สาธุการรับรอง พอจบคาถา ๔ ข้อ เธอก็จะได้บรรลุพระโสดาบัน การตายคราวนั้นของเธอก็จะไปสู่สวรรค์ชั้นดุสิต เป็นที่อยู่อันบรมสุข
    ฉะนั้นในตอนเช้า องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ชวนใคร ไปองค์เดียวไปนั่งอยู่ในที่เดิม หลังจากนั้นแล้วคนมาเฝ้า (ขอเล่าลัดๆ) ลูกสาวของนายช่างทำหูกทำงานเสร็จ ตัดสินใจมาเฝ้าพระพุทธเจ้าก่อน องค์สมเด็จพระชินวรจึงได้ทรงมองดูหน้าเธอ เมื่อสบตากัน เธอก็ทราบว่าองค์สมเด็จพระภควันต์ต้องการให้เข้าไปใกล้ เธอเข้าไปแล้ว
    องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงได้ถามปัญหา ๔ ข้อว่า
    " เธอมาจากไหน…? "
    เธอตอบว่า " ไม่ทราบพระเจ้าข้า"
    พระองค์ทรงถามว่า "เธอจะไปไหน…?"
    เธอตอบว่า "ทราบพระเจ้าข้า" พระองค์ทรงถามว่า "เธอทราบหรือ…?"
    เธอก็ตอบว่า "ไม่ทราบพระเจ้าข้า"
    ปัญหา ๔ ข้อนี้ คือ:-
    ข้อที่หนึ่ง ทรงถามว่า "เธอมาจากไหน…?" เธอตอบว่า "อาศัยที่องค์สมเด็จพระจอมไตรถามว่า เมื่อก่อนจะเกิดมาแต่ไหน เธอไม่ทราบ"
    ข้อที่สอง ทรงถามว่า "เธอจะไปไหน…?" เธอตอบว่า "ตายแล้วไปไหน หม่อมฉันไม่ทราบ"
    ข้อที่สาม ท่านถามว่า "ไม่ทราบหรือ…?" เธอตอบว่า "ทราบว่ายังไงๆ ก็ตายแน่ พระเจ้าข้า"
    ข้อที่สี่ แล้วองค์พระพุทธเจ้าทรงถามว่า "เธอทราบหรือ…?" เธอก็ตอบว่า "ไม่ทราบ ก็เพราะว่าจะตาย เวลาเช้า เวลาสาย เวลาบ่าย เวลาเที่ยง ก็ไม่ทราบพระเจ้าข้า และไม่ทราบอาการตาย ยังไงๆ ก็ตายแน่"
    พระพุทธเจ้าก็รับรองด้วยสาธุการ จึงถามเพียงเท่านี้ ความมั่นใจของเธอทำให้เธอเป็นพระโสดาบัน แต่ความจริงในตอนต้นนั้น เธอเข้าถึงพระโสดาปัตติมรรคอยู่แล้ว คือหนึ่งนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ไม่ประมาทในชีวิต ในข้อว่า สักกายทิฏฐิ เธอเข้าถึงแล้วในเบื้องต้น
    ข้อที่ ๒ เธอนึกถึงองค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ทุกวัน จัดว่าเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน
    ข้อที่ ๓ นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่องค์สมเด็จพระชินวรทรงสอนไว้เสมอว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง เธอทั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต
    ข้อที่ ๔ ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระธรรมสามิสร มีศีล ๕ เป็นต้น ที่องค์สมเด็จพระทศพลทรงสอนไว้ เธอจำได้ทุกอย่าง และปฏิบัติทุกอย่าง อย่างนี้ถ้าจะกล่าวกันไป ก็ชื่อว่าเธอเป็นโสดาปัตติมรรคแล้ว แต่ว่าอารมณ์จิตยังไม่มั่นคง
    ต่อมา เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จมาสนับสนุนอีกวาระหนึ่ง เธอมีความมั่นคงในความรู้สึก จิตมีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย มั่นในความตาย คิดว่าเมื่อไหร่ก็เชิญ มันตายแน่ มั่นในศีลที่เธอรักษา แล้วก็มีศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในพระธรรมคำสั่งสอน
    อย่างนี้แหละบรรดาท่านทั้งหลาย องค์สมเด็จพระชินวรกล่าวว่า ท่านผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน
    เป็นอันว่าท่านพุทธบริษัททุกท่าน กาลเวลาที่เราจะแนะนำกันวันนี้ ก็รู้สึกว่าจะหมดเวลาเสียแล้ว เท่าที่พูดมาแล้วนี้ทั้งหมด เป็นปฏิปทาที่เราจะปฏิบัติให้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน ท่านทั้งหลายมีความรู้สึกว่ายากไหม ถ้ายากก็ค่อยๆ คิด ค่อยๆ ทำไป
    ดูตัวอย่าง เปสการีธิดา เป็นตัวอย่าง ว่าเขามีความรู้สึกอย่างไร ท่านจึงกล่าวว่าเธอเป็นพระโสดาบัน ย้อนหลังไปนิด เธอนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ไม่ประมาทในชีวิต แล้วกาลต่อไปเธอนึกถึงวงพักตร์ของพระจอมไตรบรมศาสดา คือ มีความเคารพในพระพุทธเจ้า นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นธรรมดา เป็นเอกัคคตารมณ์ อารมณ์ทรงตัว
    แล้วเธอก็ปฏิบัติตามกระแสพระสัทธรรมเทศนา ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน มีปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัดเป็นต้น อย่างนี้องค์สมเด็จพระทศพลยอมรับนับถือว่าเธอเป็นพระโสดาบัน เข้าใจว่าท่านทั้งหลายผู้รับฟังคำสอนคงจะเห็นว่า คำสอนขององค์สมเด็จพระชินวรในตอนนี้เป็นของไม่หนัก แล้วก็เป็นของไม่ยากสำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัท
    สำหรับวันนี้ก็หมดเวลาเสียแล้ว ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทพยายามทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิ จะนั่งก็ได้ จะยืนก็ได้ จะเดินก็ได้ จะนอนก็ได้ ให้จิตใจทรงอารมณ์ตามคำสั่งและคำสอน ที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้นจนอวสาน ชอบใจตรงไหนทำตรงนั้นให้ทรงตัวและผลที่ท่านทั้งหลายจะพึงได้ นั่นก็คือ ความเป็นพระโสดาบัน
    และต่อจากนี้ไป ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน พยายามทรงอารมณ์และตั้งไว้ในความดีตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้เวลาที่ท่านจะได้พึงปรารถนา สวัสดี

    ขอขอบคุณสำหรับ Link ที่มานะคะ :
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010
  5. peepo_pocky

    peepo_pocky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +298
    ขออนุญาตนำคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำมาอธิบาย เพิ่มเติมต่อนะคะ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเนื้อหาคำสอนเดียวกันค่ะ

    อารมณ์พระโสดาบัน
    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปนี้ขอได้โปรดฟังคำแนะนำ อารมณ์ของพระโสดาบัน
    สำหรับวันนี้จะได้พูดถึงอารมณ์ของท่านที่ทรงความเป็นพระโสดาบัน ท่านทั้งหลายจะได้ทราบไว้ว่า คนที่เป็นพระโสดาบันแล้วมีอารมณ์เป็นยังไง ส่วนใหญ่คนทั้งหลายมักจะมีความรู้สึกว่า คนที่เข้ามาเจริญพระกรรมฐาน หรือสมถภาวนา หรือ วิปัสสนาญาณ และเริ่มเข้ามาเจริญแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องตัดหมดนั้นเป็นความรู้สึกผิดของท่านผู้มีความคิดอย่างนั้น
    ความจริงการเจริญพระสมณธรรมมีอารมณ์เป็นขั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่ทรงจิตเป็น ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิหรือ อัปปนาสมาธิ สำหรับอัปปนาสมาธินี้หมายถึงอารมณ์ฌาน ตั้งแต่ฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 8 อารมณ์ประเภทนี้จะระงับได้เพียงนิวรณ์ 5 ประการ แต่ก็เป็นเพียงระงับเท่านั้นไม่ใช่ตัด ถ้ายังมีความประมาทจิตคิดชั่ว ฌานก็สลายตัว เป็นอันว่าผู้ทรงฌานโดยเฉพาะอย่างยิ่งฌานโลกีย์ ยังไม่มีความหมาย ในการเจริญสมณธรรมในพระพุทธศาสนา ถึงแม้ว่าท่านผู้นั้นจะได้มโนมยิทธิก็ดี ได้อภิญญา 5 ในอภิญญา 6 ก็ดี ได้ 2 ในวิชชาสามก็ดี ก็ยังไม่มีความหมายในการตัดอบายภูมิ ท่านที่จะตัดอบายภูมิได้จริง ๆ ก็คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป
    คำว่า พระโสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน
    ฉะนั้นพระโสดาบันก็ยังตัดอะไรไม่ได้หมด เป็นแต่เพียงว่ามีอารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้น แต่เพียงอย่างอยาบเท่านั้น อารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้นก็คือ 1. สักกายทิฏฐิ ที่มีความรู้สึกว่าสภาพร่างกายหรือว่าขันธ์ 5 เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 มีในเรา เฉพาะอย่างยิ่งในด้านสักกายทิฏฐินี้ พระโสดาบันลดลงมาได้เพียงเล็กน้อย ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเราอยู่ แต่ทว่ามีอารมณ์ไม่ประมาท มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย ที่ท่านกล่าวว่าบรรดาพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี เป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ มีสมาธิเล็กน้อย คำว่าสมาธิเล็กน้อย คือ อารมณ์สมาธิของท่านผู้เจริญฌานสมาบัติ มีอารมณ์ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ยังไม่ถึงฌาน 4 ก็สามารถจะเป็นพระโสดาบันได้
    สำหรับที่ว่ามีปัญญาเล็กน้อย ก็เพราะว่ายังไม่สามารถตัดขันธ์ 5 ได้เด็ดขาดด้วยกำลังของจิต ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา แต่ทว่าความรู้สึกของท่านมีความดีอยู่หน่อยหนึ่งว่าเราจะต้องตาย ยังไง ๆ ก็ต้องตายแน่ เหมือนกับที่เปสการีมีอารมณ์คิดถึงคำสั่งสอนของสมเด็จพระธรรมสามิสร ที่ทรงตรัสว่า
    ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง ท่านทั้งหลายจงอย่ามีความประมาทในการสร้างความดี
    นี่ความรู้สึกของพระโสดาบันในด้านสักกายทิฏฐิ มีอยู่จุดนี้เข้าใจไว้ด้วย มีคนพูดกันว่าถ้าเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน จะต้องสามารถระงับทุกขเวทนาได้หมด ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ร้อน ไม่หนาว นี่ไม่ใช่ความจริง ร่างกายยังมีความรู้สึก ร่างกายยังมีมีจิตเป็นเครื่องรักษา ร่างกายยังมีวิญญาณรู้การสัมผัส ถึงแม้ว่าพระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดีก็ยังรู้สึก รู้สึกเจ็บ รู้สึกปวดเหมือนกัน
    นี่ว่ากันถึงอารมณ์ของพระโสดาบัน เมื่อจิตเข้าถึงพระโสดาบันแล้ว มีความไม่ประมาทในชีวิต มีความรู้สึกเสมอว่าเราจะต้องแก่ เราจะต้องตาย แล้วก็ขึ้นชื่อว่าความตายนี้ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่ใช่ว่าจะไปกำหนดอายุการตายว่าต้องตายเท่านั้นเท่านี้ จะตายตั้งแต่ความเป็นเด็ก หรือ ความเป็นหนุ่มเป็นสาว ความเป็นคนแก่ อาการที่จะตาย อาจจะด้วยโรคภัยไข้เจ็บ อาจจะตายด้วยอุบัติเหตุ หรือตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางคืน ตายดึก ตายหัวค่ำก็เอาแน่นอนไม่ได้
    ฉะนั้น พระโสดาบันจึงไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าถ้าเราจะตายก็เชิญ แต่เราจะตายอยู่กับความดี อารมณ์ของพระโสดาบันที่จะคัดค้านคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินศรีนั้นไม่มี คือว่าเป็นคนไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นี่เป็นอันดับที่ 2 ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา พระโสดาบันตัดสังโยชน์ตัวที่ 2 ได้ คือ ความสงสัย ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา ขึ้นชื่อว่าความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีในพระโสดาบัน เกิดขึ้นด้วยกำลังของปัญญา ที่พิจารณาหาความจริงว่า
    พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข
    และอันดับ 3 สีลัพพตปรามาส พระโสดาบันย่อมทรงศีลบริสุทธิ์ตามฐานะของตัว คำว่า ฐานะของตัวก็หมายความว่า ถ้าเป็นฆราวาสก็มีศีล 5 เป็นปกติ มีศีล 5 บริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา ไม่มีเจตนาในการทำลายศีล รักษาศีลบริสุทธิ์ ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้บุคคลอื่นทำลายศีล แล้วก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว เป็นอันว่าพระโสดาบันเป็นผู้มีความทรงอารมณ์อยู่ในศีลเป็นสำคัญ หนักหน่วงในเรื่องของศีล ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด
    ที่กล่าวมานี้หมายความว่า สังโยชน์ 3 ประการนี่ พระโสดาบันปฏิบัติมีจิตเข้าถึงตามนี้ นี่ก็พูดกันไปว่าก่อนที่จะเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันจากโลกียะเป็นโลกุตตระ ตอนนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า โคตรภูญาณ ขณะเมื่ออารมณ์จิตของท่านผู้ปฏิบัติเข้าถึงโคตรภูญาณ
    คำว่าโคตรภูญาณ นี่ก็หมายความว่า จิตของท่านผู้นั้น ยังอยู่ในระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ
    แต่ทว่าอารมณ์ตอนนี้จะไม่ขังอยู่นาน บางท่านจิตจะทรงอยู่เพียงแค่ชั่วโมงหนึ่ง หรือไม่ถึงชั่วโมง และบางท่านก็อยู่ถึงอาทิตย์สองอาทิตย์ถึงเป็นเดือนก็มี สุดแล้วแต่ความเข้มแข็งของจิต ในช่วงที่จิตเข้าถึงโคตรภูญาณ ท่านกล่าวว่า ในขณะนั้นอารมณ์จิตของนักปฏิบัติ จะมีความรักพระนิพพานอย่างยิ่ง คือมีความรู้สึกอยู่เสมอว่ามนุษย์โลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ไม่เป็นแดนแห่งความสุข ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์ มันก็ทุกข์ตลอดเวลา ถ้าเกิดเป็นเทวดาก็พักทุกข์ชั่วคราว หรือ พรหมก็เช่นเดียวกัน ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีแล้วก็จะต้องจากเทวดา จากพรหมมาเกิดเป็นคนบ้าง บางรายก็เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นอันว่าเขตทั้ง 3 จุด ไม่มีความหมายสำหรับใจ
    จิตใจของท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงโคตรภูญาณ ใจมีความต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพานเป็นปกติ
    แต่ทว่าพอจิตพ้นจากโคตรภูญาณไปแล้ว ก้าวเข้าสู่ความเป็นพระโสดาบันเต็มที่ ที่เรียกว่า โสดาปัตติผล ตอนนี้อารมณ์จิตของท่านละเอียดขึ้นมานิดหนึ่ง นอกจากจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็มีความรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันเป็นของธรรมดา
    การนินทาว่าร้ายที่จะปรากฏขึ้นกับบุคคลผู้ใดกล่าวถึงเรา จิตดวงนี้มีความรู้สึกว่า ธรรมดาของคนที่เกิดมาในโลกมันเป็นอย่างนี้ ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้น การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเกิดขึ้น มีความรู้สึกหนักไปในด้านของธรรมดา แต่ทว่าธรรมดาของพระโสดาบัน ยังอ่อนกว่า ธรรมดาของพระอรหันต์มาก
    ฉะนั้น ท่านที่เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน จึงยังมีความรักในระหว่างเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า ท่านกล่าวไว้แล้วว่า พระโสดาบันมีสมาธิเล็กน้อย และก็มีปัญญาเล็กน้อย หากว่าท่านทั้งหลายจะถามว่า ถ้าคนยังมีความรักในเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีการอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลงก็ดูเหมือนว่าพระโสดาบันก็คือ ชาวบ้านธรรมดา
    แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ความรักในระหว่างเพศก็ดี ความอยากรวยก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดี ของพระโสดาบันอยู่ในขอบเขตของศีล เรารักในรูปโฉมโนมพรรณ มีการแต่งงานกันได้ระหว่างสามีภรรยาของตนเอง ยอมเคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน จะนอกใจสามีและภรรยา ขึ้นชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร จะไม่มีสำหรับพระโสดาบัน จะทำให้ครอบครัวนั้นมีอารมณ์เป็นสุข
    และประการที่ 2 พระโสดาบันยังมีความโกรธ ท่านโกรธจริง พูดเป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ ทำให้ไม่เป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ แต่ทว่าพระโสดาบันมีแต่อารมณ์โกรธ ไม่ประทุษร้ายให้เขามีการบาดเจ็บ และไม่ฆ่าคนหรือสัตว์ที่ทำให้ตนโกรธ ให้ถึงแก่ความตาย เป็นอันว่าความโกรธหรือความพยาบาทของท่าน อยู่ในขอบเขตของศีล จิตโกรธแต่ว่าไม่ทำร้าย คือ แตกต่างกับคนธรรมดาตรงนี้
    สำหรับด้านความหลงของพระโสดาบัน ที่ขึ้นชื่อว่าหลง เพราะยังมีความรักในเพศ ยังมีความอยากรวย เมื่อสักครู่นี้ข้ามคำว่าอยากรวยไป การอยากรวยของพระโสดาบัน คือ ต้องการความรวยในด้านสุจริตธรรมเท่านั้น เรียกว่า การทุจริตคิดร้ายคดโกงบุคคลอื่นใด ไม่มีในอารมณ์จิตของพระโสดาบัน ประกอบอาชีพด้วยความสุจริต เพราะอาศัยยังรักในความสวยสดงดงาม คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่าเพศยังมีอยู่ ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง เพราะว่ายังคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ยังมีของสวยของงาม การถือตัวถือตนแบบนี้ จึงเชื่อว่ายังมีความหลง แต่ความหลงของพระโสดาบันนั้น ไม่สามารถจะนำบุคลผู้นั้น ในเวลาแล้วไปสู่อบายได้
    จุดนี้ขอบรรดาท่านทั้งหลายผู้รับฟัง จงจำไว้ว่า ความจริงอารมณ์ของพระโสดาบันนั้น ไม่แตกต่างกับชาวบ้านธรรมดาเท่าไรนัก ชาวบ้านธรรมดา ยังมีความรักในเพศ ยังมีสามี ภรรยา แต่ทว่ายังมีการนอกใจภรรยา สำหรับพระโสดาบันไม่มี ชาวบ้านอยากรวยก็ยังมีการคบคิดกันคดโกง การโกงมีการยื้อแย่งฉกชิงวิ่งราวดูทรัพย์ สำหรับพระโสดาบันนี่ ถ้าต้องการรวยก็รวยด้วยการสุจริต หากินด้วยความชอบธรรม ต่างกันตรงนี้
    พระโสดาบันยังมีความโกรธ ชาวบ้านโกรธแล้วก็ปรารถนาจะประทุษร้าย ถ้ามีโอกาสก็ประทุษร้ายบุคคลที่เราโกรธ ถ้าสามารถจะฆ่าได้ก็ฆ่า สำหรับพระโสดาบันมีแต่ความโกรธ การประทุษร้ายไม่มี การฆ่าการประหารไม่มี นี่ต่างกันกับชาวบ้าน
    พระโสดาบันยังมีความหลง ตามที่ได้กล่าวมาด้วยอาการที่ผ่านมาแล้ว แต่ทว่าพระโสดาบันก็ไม่ลืมคิดว่า เราจะต้องตาย เมื่อเราตายแล้ว เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ตอนนี้พระโสดาบันไม่เสียใจ ไม่เสียดาย ถือว่าถ้าตายเราจะมีความสุข นี่ขอท่านทั้งหลายจำอาการอารมณ์จิตที่เข้าถึงพระโสดาบันไว้ด้วย
    ตอนนี้จะขอพูดอีกนิดหนึ่งถึงอารมณ์ความจริงของพระโสดาบัน ที่เรียกกันว่า องค์ของพระโสดาบัน
    คำว่า องค์ ก็ได้แก่ อารมณ์จิตที่ทรงไว้อย่างนั้นอย่างแนบแน่นสนิท นั่นก็คือ
    1.พระโสดาบันมีความเคารพในพระพุทธเจ้าอย่างจริงใจ ไม่คลายในความเคารพในพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะมีเหตุผลใด ๆ เกิดขึ้น ใครจะมาจ้างให้รางวัลมาก ๆ ให้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ แม้แต่พูดเล่นพระโสดาบันก็ไม่พูด ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าท่านมีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระอริยสงฆ์อย่างจริงใจ แต่ทว่าระวังให้ดี ถ้าพระสงฆ์เลว พระโสดาบันไม่ใส่ข้าวให้กิน
    ตัวอย่าง ภิกษุโกสัมพี มีความประพฤติชั่ว ตอนนั้นฆราวาสที่เป็นพระอริยเจ้านับหมื่น ไม่ยอมใส่ข้าวให้กิน เพราะถือว่าเป็นโจรปล้นพระพุทธศาสนา เป็นผู้ทำลายความดี ไม่ใช่ว่าเป็นพระอริยเจ้าแล้วละก็ จะเมตตาไปเสียทุกอย่าง ท่านเมตตาแต่คนดีหรือว่าบุคคลผู้ใดมีความประพฤติชั่วท่าน แนะนำแล้วสามารถจะกลับตัวได้ พระโสดาบันก็เมตตา ถ้าเขาชั่วแนะนำแล้วไม่สามารถจะกลับตัวได้ พระโสดาบันก็ทรงอุเบกขา คือ เฉยไม่สงเคราะห์ โปรดจำอารมณ์ตอนนี้ไว้ให้ดี
    2. ในประการต่อไป พระโสดาบันมีศีลบริสุทธิ์ ขอพูดย่อให้สั้น เพราะองค์ของพระโสดาบันก็คือ
    (1) มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
    (2) มีความเคารพในพระธรรม
    (3) มีความเคารพในพระอริยสงฆ์
    นี่จัดเป็นองค์ที่มี 3 ประการ
    (4) และสิ่งที่จะแถมขึ้นมาก็คือรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ทำทุกสิ่งทุกอย่างไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังความดีมีชื่อเสียงในชาติปัจจุบัน มีความรู้สึกต้องการอยู่อย่างเดียวว่าเราทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพานเท่านั้น อารมณ์จิตตอนนี้ขอบรรดาท่าพุทธบริษัทภิกษุ สามเณรทุกท่านต้องจำไว้ จงอย่าไปคิดว่าพระโสดาบันเลอเลิศไปถึงอารมณ์อรหันต์โดยมากมักจะคิดว่าอารมณ์ของพระอรหันต์เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ก็เลยทำกันไม่ถึง นี่เป็นการคิดผิด ความจริงการเป็นพระโสดาบันเป็นง่าย มีอารมณ์ไม่หนักที่หนักจริง ๆ ก็ คือ ศีลอย่างเดียว
    ต่อไปนี้ขอพูดถึงอาการของพระโสดาบันที่จะพึงได้ พระโสดาบันจัดเป็น 3 ขั้น คือ
    1.สัตตักขัตตุง สำหรับที่ท่านเป็นพระโสดาบันมีอารมณ์ยังอ่อน จะต้องเกิดและตายในระหว่างเทวดาหรือพรหมกับมนุษย์อีกอย่างละ 7 ชาติ เป็นมนุษย์ชาติที่ 7 และเข้าถึงความเป็นอรหัตผล
    2. ถ้ามีอารมณ์เข้มแข็งปานกลาง ที่เรียกกันว่า โกลังโกละ อย่างนี้จะทรงความเป็นเทวดาหรือมนุษย์อีกอย่างละ 3 ชาติครบเป็นมนุษย์ชาติที่ 3 เป็นพระอรหันต์
    3.สำหรับพระโสดาบันที่มีอารมณ์เข้มแข็งเรียกว่า เอกพิชี นั่นก็จะเกิดเป็นเทวดาอีกครั้งเดียว มาเกิดเป็นมนุษย์แล้วก็เป็นพระอรหันต์
    4.ที่พูดตามนี้ หมายความว่า ท่านผู้นั้นเมื่อเป็นพระโสดาบันแล้วเกิดใหม่ไม่ได้พบพระพุทธศาสนา จะต้องฝึกฝนตนเองอยู่เสมอทุกชาติ แต่ว่าความเป็นมิจฉาทิฏฐิในชาติต่อ ๆไป จะไม่มีแก่พระโสดาบัน เพราะว่า พระโสดาบันไม่มีสิทธิที่จะไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน จะเกิดได้แค่ช่วงแห่งความเป็นมนุษย์กับเทวดาหรือพรหมสลับกันเท่านั้น
    เป็นอันว่าพระโสดาบันนี่ ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณาให้ดีแล้ว ก็มีความรู้สึกว่าเป็นของไม่ยาก
    หากว่าท่านจะถามว่า พระโสดาบันทั้งสัตตักขัตตุง โกลังโกละ และเอกพีชี มีอารมณ์ต่างกันอย่างไร
    ก็จะขอตอบว่า พระโสดาบันขั้นสัตตักขัตตุง มีจริยาคล้ายชาวบ้านธรรมดามาก ยังมีอารมณ์รุนแรงในความรัก ยังมีอารมณ์รุนแรงในความโลภ ในความโกรธ ในความหลง แต่ทว่าเป็นผู้มั่นคงในศีล ไม่ละเมิด
    สำหรับพระโสดาบันขั้นโกลังโกละ ขั้นโกลังโกละนี้มีอารมณ์เยือกเย็นมาก หรือว่ามีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย มีศีลมั่นคงมาก ความจริงเรื่องศีลนี่มั่นคงเหมือนกัน แต่ว่าจิตท่านเบาบางในด้านความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความคำนึงถึงอารมณ์อย่างนี้มีอยู่แต่ก็น้อย ถ้ามีคู่ครองเขาจะโทษว่า กามคุณท่านจะลดหย่อนลงไป ความสนใจในเพศ ความสนใจในความโลภ อารมณ์แห่งความโกรธ อารมณ์แห่งความหลงมันเบา กระทบไม่ค่อยจะมีความรู้สึก
    สำหรับพระโสดาบันขั้นเอกพีชี ในตอนนี้อารมณ์ของท่านผู้นั้น จะมีอารมณ์ธรรมดาอยู่มาก ขอท่านทั้งหลายโปรดอย่าลืมว่า พระอริยเจ้าจะเป็นฆราวาสก็ดี จะเป็นพระก็ดี จะเป็นเณรก็ดี จะเป็นคนมีจิตละเอียด ไม่ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และไม่ขัดคำสั่ง ไม่ฝ่าฝืนกฎระเบียบวินัยและกฏหมาย อันนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ที่ท่านทั้งหลายจะพึงทราบ
    สำหรับเอกพิชีนี่ ความจริงมีอาการจิตใจใกล้พระสกิทาคามี แต่ทว่าสิ่งที่จะระงับไว้ได้นั้น กดด้วยกำลังของศีล มีความรู้สึกว่าเราจะต้องประคับประคองศีลของเราให้แจ่มใสอยู่เสมอ มองดูความรักในระหว่าเพศ หรือว่าความร่ำรวย หรือว่าความโกรธ หรือหลงในระหว่างเพศ หลงในสภาวะต่าง ๆ เห็นว่าเป็นของไร้สาระ มีอารมณ์เบาในความปรารถนาในสิ่งนั้น ๆ แต่ทว่าก็ยังมีความปรารถนาอยู่
    เอาละ บรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู เมื่อพูดมาถึงจุดนี้ วันนี้คงไม่ได้อารมณ์แห่งการปฏิบัติ แต่ทว่าอารมณ์แห่งการปฏิบัติ ในความเป็นพระโสดาบันท่านฟังกันมาแล้วสองคืน ผมเองมีความรู้สึกว่า ท่านทั้งหลายคงจะรู้สึกว่าง่ายสำหรับท่าน แต่ถ้าหากว่าเห็นว่าอารมณ์ของพระโสดาบันยากนี่ ถ้าเป็นพระเป็นเณร ผมไม่ถือว่าเป็นพระเป็นเณร ผมถือว่าเป็นเถน เถนในที่นี้หมายความว่ามี สระเอ นำหน้า มีถอถุง และ นอหนู เขาแปลว่าหัวขโมย คือ ขโมยเอาเพศของพระอริยเจ้ามาหลอกลวงชาวบ้าน ตามปกติพระกับเณรนี่ต้องทรงศีลบริสุทธิ์อยู่แล้ว
    เอาละ พุดไปเวลามันเกินไป 1 นาที ก็ขอพอไว้แต่เพียงนี้ หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจ ต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น จะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม นั่งก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ นอนก็ได้ตามอัธยาศัย ทรงกำลังใจควบคุมความเป็นพระโสดาบันของท่านไว้ จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สวัสดี

    ขอขอบคุณสำหรับ Link ที่มานะคะ :
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010
  6. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ขอสรุปสั้นๆ ตามคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)
    ท่านให้จับสังโยชน์ ๓ เป็นเครื่องวัด

    ๑. สักกายะทิฐิ ถ้าตัดได้เป็นพระอรหันต์ แต่สักกายะทิฐิของพระโสดาบัน
    หลวงพ่อกล่าวว่าให้นึกถึงความตายอยู่เสมอ คิดว่าเราต้องตายแน่นอน จะได้ไม่ประมาทในชีวิต

    ๒. วิจิกิจฉา ไม่มีความลังเลสงสัยในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
    มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรมและพระอริยสงฆ์ด้วยความจริงใจ

    ๓ ศีลพัตปรามาส ไม่ลูบคลำศีล คือมีศีล ๕ บริสุทธิ์

    และสุดท้ายคือมีใจรักพระนิพพานเป็นอารมณ์

    จะเป็นพระโสดาบันหรือไม่ท่านไห้วัดตรงโคตรภูญาณ
    ถ้าผ่านโคตรภูญาณได้ก็เข้ากระแสพระนิพพาน บรรลุพระโสดาบัน


    ที่ถามว่าบรรลุแล้วจะรู้สึกอย่างไร
    เปรียบเทียบให้เห็นง่ายๆ เหมือนคุณกินข้าว เวลาคุณอิ่มคุณก็จะรู้ว่าอิ่ม
    คนที่บรรลุพระโสดาบันเขาจะรู้ว่าเขาบรรลุ
    เป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัว ขอให้เจริญในธรรมครับ

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p</O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com<O:p</O:p

    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา


    [​IMG]</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010
  7. sinyorrae

    sinyorrae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2010
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +424
    โสดาบัน กับ นิพพาน ต่างกันยังไง
     
  8. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    รักษาศีล ๕ ตลอดชีวิต ส่วนเรื่องรู้สึกงัยไม่สามารถรู้ได้เลยนะครับ


    สังโยชน์ ๑๐

    1. สักกายทิฏฐิ - หมดความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา หมดความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
    2. วิจิกิจฉา - หมดความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
    4. กามราคะ - หมดความติดใจในกามคุณ
    5. ปฏิฆะ - ไม่มีความกระทบกระทั่งในใจ

    6. รูปราคะ - ไม่มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
    7. อรูปราคะ - ไม่มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
    8. มานะ - หมดความยึดมั่นถือมั่น
    9. อุทธัจจะ - ไม่มีความฟุ้งซ่าน
    10. อวิชชา - ไม่มีความไม่รู้จริง
    พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้
    พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 ให้เบาบางลงด้วย
    พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อต้นได้หมด
    พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ


    ปล...ลองทำดูนะครับ ถ้าท่านตั้งใจจริงๆๆๆ ทำได้แน่นอนเลยนะครับ
     
  9. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    พระอริยะเจ้ามีอยู่ ๔ ระดับ
    ๑. พระโสดาบัน
    ๒. พระสกทาคามี
    ๓. พระอนาคามี
    ๔. พระอรหันต์ = หมดกิเลส = นิพพาน
     
  10. natspdo

    natspdo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +1,505
    เป็นบุคคลธรรมดานี่แหละ...ขนาดพระโสดาบัน...ยังยากเลย เป็นการประพฤติปฎิบัติ โดยมีความเชื่อในคำสั่งสอนของพระศาสดาอย่างไม่สงสัย ที่สำคัญศีลต้องครบครับ
     
  11. ขวัญดาว

    ขวัญดาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +577
    อยากบรรลุโสดาบันเหมือนกันค่ะ...กำลังฝึกหัดอยู่ค่ะ...

    ส่วนตัวแล้วก็พยายาม รักษาศีลห้า กับ ปฏิบัติตาม ทางมรรค มีองค์ 8 ค่ะ
    อ้อๆๆ แล้วก็สวดมนต์ ไหว้พระ เดินจงกรม นั่งสมาธิ ด้วยค่ะ..(แต่ไม่ทุกวัน)
    ก็ยังล้มลุก คลุกคลานอยู่เลยค่ะ...

    ก็ทำแค่นี้แหละค่ะ...ก็ทำไปเรื่อยๆค่ะ...
     
  12. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    1. ผมก็ทราบดีนะว่ายังไงเราก็ตาย ควรไม่ประมาท
    2. ผมไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย
    3. ผมอยากจะนิพพาน ความหวังในอนาคต

    อย่างนี้ผมบรรลุโสดาบันแล้วหรอ ??
     
  13. ฮุโต๋

    ฮุโต๋ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +44,568
    พระนิพพาน และโสดาบัน ต่างกันมาก โสดาบันยังมีกิเลสอยู่
    พระนิพพาน ปราศจากกิเลสทั้งหมดทั้งมวลโดยสิ้นเชิง
    การบรรลุโสดาบัน ไม่ใช่ยาก เริ่มต้นจาก โสดาบันปฏิมรรค มีองค์ประกอบ คือ มีศีลครบ,เคารพพระรัตนตรัย,รักษากรรมบถ 10,ทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารสี่,บำเพ็ญบารมีทั้ง 10,มีหิริและโอตัปปะ,ละสังโยชน์สามข้อแรก,และตั้งจิตตั้งใจกลับพระนิพพาน
    ปฏิบัติแบบนี้ขัดเกลาจิตไปเรื่อย ๆ เมื่อผ่านการทดสอบจิตของเบื้องบนแล้ว จิตจึงจะถูกยกระดับเป็นโสดาบันปฏิผลโดยพระพุทธองค์เป็นผู้รับรอง
    เริ่มปฏิบัติในเบื้องต้นก่อน ค่อยเป็นค่อยไป
    ขอบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทานให้เป็นพิเศษ เพื่อเจริญในธรรมยิ่งขึ้นต่อไป
    โมทนา
     
  14. darkload

    darkload เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +162
    ถูก แต่ รักษาศีล 5 ดีๆละ และอย่าไปยึดติดด้วยว่าตัวเองบรรลุจริง เพราะอาจจะเกือบก็ได้ อนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2010
  15. singhol

    singhol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,376
    ค่าพลัง:
    +1,941
    ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ...ขอให้ทุกท่านที่ตั้งใจบรรลุพระโสดาบันกันทั่วหน้านะครับ
     
  16. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ไม่รู้เหมือนกันค่ะ ไม่เคยคิด
     
  17. zetsubo

    zetsubo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +751
    หุหุ ปราถนาเหมือนกันเลยค่ะ

    เคยถามพระท่านบิณฑบาต

    "หลวงตาคะหนูอยากเป็นพระโสดาบันจะต้องทำอย่างไรคะ" คุณยายที่มาตักบาตรด้วยกันนั่งข้างๆๆๆแบบว่าอยากทราบด้วยเหมือนกัน

    หลวงตาท่านหัวเราะใหญ่เลยค่ะ งงเหมือนกันแล้วท่านก็บอกว่า ทาน ศีล ภาวนาจ๊ะ

    อนุโมทนาสาธุกับเจ้าของกระทู้ด้วยค่ะ
     
  18. meephoo

    meephoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    ค่าพลัง:
    +2,133
    รักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ ทุกเวลา - นาที จะบรรลุโสดาบันแน่นอน ขอให้มีเมตตานะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  19. hackyz

    hackyz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2010
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +243
    ไม่รู้ว่าบรรลุยังงัยนะคับแต่ก็จะตั้งปฏิบัติดีปฏิบัติชอบให้จิตใจเราสงบสุข เพราะทุกวันนี้คำพูดของคนนั้นมันยั่วยุ เยาะเย้ย ถากถางกันเหลือเกิน ผมจึงอยากปฏิบัติเพื่อไม่ยินดียินร้ายกับคำพูดพวกนั้น
     
  20. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ตัดสังโยชน์ 3 ให้ได้ แล้วจะบรรลุทันที

    ลองค้นดูนะครับว่า สังโยชน์ 3 คือ อะไร

    ถ้าตัดสังโยชน์ 10 ได้ ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ครับ

    โมทนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...