แจ้งปิดกระทู้งานบุญ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย arjarhnnop, 31 พฤษภาคม 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    สำหรับพระอาจารย์.. ส่วนตัวท่านเองท่านก็ได้ประสพพบเจอ.. กับนักสร้างพระ..ที่เข้ามา..โดยแสดงเจตจำนงค์ว่าจะมาช่วยวัด.. แต่ก็เหมือนที่น้องบอลบอกล่ะครับ... ด้วยความเมตตาท่านก็ไม่ว่าอะไร.. แต่วัตถุมงคลทุกอย่างท่านก็ทำอย่างดี.. เพื่อให้ไม่เสียชื่อท่านแม้จะบูชาจากศูนย์นอกวัดก็ตาม.. จนในที่สุด..นักสร้างพระดังกล่าว ก็เข้ามาก้าวก่ายกิจของท่าน ไม่ว่าจะเป็นดูแลกิจนิมนต์ จัดสร้างวัตถุมงคลโดยไม่เรียนปรึกษาท่านก่อน..ท่านจึงเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสม..(มากๆๆ) ท่านจึงบอกยกเลิกและท่านก็ไม่อนุญาติให้นักสร้างพระดังกล่าว.. มาหาผลประโยชน์จากท่านอีกต่อไป..ท่านบอกว่า.. "สิ่งที่เขาบอกว่าจะมาช่วยนะ.. ไม่เหมือนที่เขาพูดหรอก.. ที่เราสร้างวัดวาอาราม วิหารหลวงปู่ศุข หลวงพ่อบุญยัง.. ก็ได้ศรัทธาญาติโยม.. มี่มาทำบุญ.. และมาบูชาวัตถุมงคลจากที่วัด.. เป็นส่วนมาก.."


    ทุกวันนี้..ท่านจึงมอบหมายและฝากงานบอกบุญต่างๆๆ ให้ทางสะพานบุญคือ อาจารย์นพ พี่ชายของเรา.รวมถึงผม.และ พี่ๆๆ น้องๆๆ ทุกคน...ให้มาช่วยกันครับ..

    โดยทุกๆคนสามารถ ช่วยและทำบุญกับพระอาจารย์สมชาย โดยร่วมบริจาคเพื่อซ่อมแซม ศาลาที่พักสงฆ์ก็ดี , วาดยันต์ครูองค์พระ วิหารหลวงปู่ศุข-หลวงพ่อบุญยัง ก็ดี หรือ บูชาวัตถุมงคล..อันได้รับการปลุกเสกอธิษฐานจิต มาอย่างดี และยาวนาน... ผ่านทางกระทู้นี้.. หรือ ที่วัดหนองน้อยโดยตรงก็ได้..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2010
  2. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    ว่างๆๆ เดี๋ยวจะลองไปค้นเหรียญที่พระอาจารย์สมชายทำเป็นรุ่นแรก (ผมว่า น่าจะทำพร้อมพระสมเด็จ และ รูปเหมือนหลวงพ่อบุญยัง)..โดยเหรียญรุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ศุข-ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อบุญยัง..
     
  3. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    ส่วนตัวผมเอง.. ทำงานด้านคอมพิวเตอร์....ส่วนตัวยามว่างมักจะไปหาที่ปฏิบัติ ภาวนา.. และได้มีวาสนาได้ศึกษาวิชามาบ้าง.. จากครูบาอาจารย์ชั้นที่รู้จริง.. ทำให้สามารถแยกแยะ ว่าสิ่งไหนดีไม่ดี สิ่งไหนถูกไม่ถูก ได้ในระดับหนึ่ง..
    อาจารย์มักจะบอกเสมอว่า.. บุคคลผู้บำเพ็ญมาดีแล้ว.. ย่อมได้เจอครูบาอาจารย์ที่ดี..
    ...
    เรียนวิชา จากครูบาอาจารย์ ชั้นไม่รู้จริงนับร้อย นับพัน.. ยังไม่เท่าได้เรียนวิชาจากครูบาอาจารย์ชั้นที่รู้จริงเพียงหนึ่งท่าน.. เหมือนคำที่เขาว่า..รู้อะไรให้กระจ่างแต่อย่างเดียว.. ขอให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล

    ยืนยันอยากหนักแน่น ว่าพระอาจารย์สมชาย ท่านเป็นเกจิ อาจารย์ เป็นครูบาอาจารย์ ชั้นรู้จริง ที่กราบได้อย่างสนิทใจ
     
  4. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    จัด.. คู่กะขุนแผนหน่อย..
    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> <center"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </center"></td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> suttip, ballaman+</td></tr></tbody></table>
     
  5. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    อาจจะมีข่าวดี.. เรื่องตะกรุดสาย.. แต่ต้องไปปรึกษา..ท่านก่อนเรื่องการประกอบเป็นสร้อย.. อย่างไรก็ดี.. ดูของตากิตไปก่อน..วันที่ 20 นี้ตากิตผู้เป็นเจ้าของ คงได้เชยชมก่อนใครจ้า
     
  6. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    .... lunch time.....
    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> <center"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </center"></td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> suttip, ballaman+, myammyaa</td></tr></tbody></table>
     
  7. ballaman

    ballaman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    5,440
    ค่าพลัง:
    +18,746
    ต้องขอบคุณพี่ปุ้ม... ที่ชี้ช่องบอกทาง จนได้ไปกราบหลวงพ่อสมชาย .....

    อยากให้ถึงวัน 20 เร็ว ๆ จัง .....................


    ว่าแต่ ... ใครก็ได้ ลากตาอั๋นไปด้วยจิ ........ ยังเคอร์ฟิวอยู่ป่าวหว่า
     
  8. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    ได้ทำการติดต่อไปแล้ว..ครับ..คาดว่าวันดังกล่าวไม่ว่างครับ.. ไปช่วยงานบุญกับหลวงพ่อปราโมชท์ ครับ... แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามีโอกาสก็จะแวะเข้ามาตามสมควรครับ..
     
  9. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    สวัสดีครับพี่ๆทุกท่าน ผมน้องใหม่ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
     
  10. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    ยินดีต้อนรับครับ...บ้านเรา สบายๆ เหมือนเดิมครับ..คุยได้ทุกเรื่อง สัพเำพเหระ..ช่วยเป็นสะพานบุญ ให้ครูบาอาจารย์..ชวนเพื่อนๆๆ ทำบุญครับ... อาจจะอ่านจนปวดตานะครับ.. เพราะนี่ก็กว่า 60 หน้าแล้วครับ.. มีเนื้อหาสาระ เกล็ดวิชา และ ธรรมมะบ้างครับ...
     
  11. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    ขอบคุณครับ ขอเวลาอ่านก่อนนะครับ :cool:
     
  12. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    หลวงปู่ดู่เทศน์สอนคณะศิษย์วัดท่าซุงผู้ได้มโนมยิทธิ

    หลวงปู่ดู่ท่านเทศน์สอนคณะศ<wbr>ิษย์วัดท่าซุงที่ได้มโนมยิท<wbr>ธิ
    ซึ่งได้เดินทางไปกราบหลวงปู<wbr>่ดู่ ตามคำสั่งหลวงพ่อฤาษีฯ

    หลวงปู่.....เอ้า คณะนี้มาจากไหน (แล้วหลวงปู่ท่านก็เงียบ)..<wbr>.อ๋อเด็กฝาก

    คณะมโนมยิทธิ...หลวงพ่อ(ฤาษ<wbr>ี) ท่านให้มากราบเจ้าค่ะ
    หลวงปู่รู้จักไหมเจ้าคะ

    หลวงปู่ดู่...รู้จัก

    คณะมโนมิยทธิ....หลวงปู่เจ้<wbr>าคะดิฉันฝึกมโนขึ้นไปกราบ
    พระข้างบนดีไหมเจ้าคะ?

    หลวงปู่ดู่.....การไปกราบพร<wbr>ะ พบพระนั้นเป็นของดี
    ให้หมั่นรักษาองค์พระ(ภาพพร<wbr>ะ)เข้าไว้ พระท่านจะสอน
    ท่านจะบอกวิธีการปฏิบัติ เราก็นำมาประพฤติปฏิบัติตาม<wbr>ด้วยความตั้งใจ
    เคร่งครัด แต่ถ้าพบพระแล้ว ท่านสอนแล้วไ ม่นำมาประพฤติปฏิบัติ
    หรือปฏิบัติจนพบพระแล้วไม่ส<wbr>ามารถทำให้อารมณ์ชั่วทั้ง ๓ คือ
    โลภ โกรธ หลง มันเบาบางหลง อย่างนี้ยังใช้ไม่ได้ ถือว่าปฏิบัติผิดทาง
    คนที่มัวแต่เอาสิ่งที่ตนเอง<wbr>ได้ (ญาณ) ไปดูนั้นดูนี่ ทำนายทายทัก
    ไม่นานอุปทานก็เข้าแทนที่ ทีนี้แทนที่มันจะไปสุคติภูม<wbr>ิ
    มันก็ไปอบายภูมิแทน เหตุจากการแอบอ้าง คำสอนของพระ
    เพราะอารมณ์อุปาทานนั้นเอง จงระวังไว้ ท่านมหาวีระ
    ท่านมีบารมีสูง มีข้างบนเป็นกำลังหนุน เป็นอาจารย์ใหญ่สอน
    คนได้จำนวนมาก ข้าขอโมทนา พวกแกเกิดมาพบพระอรหันต์
    ที่มีบารมีสูง อย่าให้เสียทีที่ได้พบ เอาสิ่งที่ตนปฏิบัติบัติได้<wbr>(ญาณ)
    มาอบรมตนเอง อย่าเที่ยวไปทำนายทายทักชาว<wbr>บ้าน
    ข้ออันนั้นเห็นจะไม่ใช่จุดป<wbr>ระสงค์ แม้ลูกศิษย์ อยู่ใกล้ข้าแท้ๆ
    ยังเฝือได้ แล้วถ้าพวกแกยังประมาท ระวังนรกจะกินหัวเอา....

    คณะมโนมยิทธิ...เราจะรู้ได้<wbr>ยังไงเจ้าคะ
    ว่าเวลาเราขึ้นไปกราบนั้น เราเห็นจริงๆ

    หลวงปู่....แกลองใช้อารมณ์น<wbr>ั้น(ญาณ) ตรวจสิ่งที่มองไม่เห็น
    แต่สิ่งนั้นยังมีอยู่สิ เช่น แกลองตรวจดูว่าในกระเป๋าของ<wbr>เพื่อน

    ที่มาด้วยกันมีเงินอยู่เท่า<wbr>ไหร่ ถ้าแกตอบถูก อารมณ์ที่แกขึ้น
    ไปกราบพระ แกก็เห็นจริง แต่ถ้าแกตอบไม่ถูก พระที่แกเห็นก็ไม่จริง...

    คณะมโนมยิทธิ....เราถามเทวด<wbr>าเลยได้ไหมเจ้าค่ะ

    หลวงปู่....เอ้า เงินในกระเป๋านี้มันเป็นของ<wbr>หยาบ

    แกยังมองไม่เห็นเลย นับประสาอะไรกับเทวดา

    แกจะไปมองเห็นล่ะ กายเทวดาละเอียดกว่ากันเยอะ

    คณะมโนมยิทธิ...ต้องตรวจอาร<wbr>มณ์เช่นนี้ก่อนใช่ไหมค่ะ

    หลวงปู่ดู่...
    ใช่ ข้าก็ให้ลูกศิษย์ตรวจอารมณ์<wbr>อย่างนี้ก่อนแล้ว

    ค่อยขึ้นไปกราบพระ ถ้าตรวจแล้วไม่ตรงก็ต้องหัด<wbr>วางอารมณ์ใหม่
    ไม่นานก็ตรง คราวต่อไป ไม่ต้องกำหนด เขาจะรู้เลยว่า
    อะไรซ่อนอยู่ตรงไหน .....(หลวงปู่เงียบสักพัก) (แล้วท่านก็พูดขึ้นว่า)
    พระมหาวีระยังสอนให้แกหัดทำ<wbr>เวลาตอนเช้ามืด ให้ลองตรวจว่า
    เช้าวันนี้จะมีใครมาหาไหม เขาจะมาทำอะไร
    ใส่เสื้อสีอะไร ใช่ไหมล่ะ

    คณะมโนมยิทธิ....หลวงปู่รู้<wbr>ได้ยังไงเจ้าคะ

    หลวงปู่ดู่...ก็พระมหาวีระบ<wbr>อกข้า อยู่ข้างๆนี่แหละ บอกว่า..
    พวกแกมันลิงทะโมน ต้องจับไปมัด เฆี่ยนแล้วสอน
    (เสียงหลวงปู่หัวเราะ แล้วพูดว่า)ต่อไปให้รีบตั้ง<wbr>ใจปฏิบัติ
    อย่าสนใจคนอื่น สนใจจิตตัวเองให้มากๆ รักษาจิตตนเองให้ดี
    รักษาองค์พระ(ภาพพระ)ไว้อย่<wbr>าให้หาย ชำระใจให้
    ปราศจากความโลภ โกรธ หลง มันก็ถึงเองแหละนิพพาน
    ไม่ใช่ปากก็บอกจะไปนิพพาน แต่ไม่ชำระโลภ โกรธ
    หลงให้ขาดไป อธิษฐานยังไงมันก็ไม่ถึงนะแ<wbr>ก
    นิพพานเข้าไม่ได้ด้วยการอธิ<wbr>ษฐาน แต่ต้องอาศัยการปฏิบัติ
    ซึ่งจุดสำคัญคือการละอารมณ์<wbr> โลภ โกรธ หลง

    ละได้เมื่อไหร่ถึงทันที ละไม่ได้มันจะถึงแค่หัวตะพา<wbr>น....


    คณะมโนมยิทธิ...สาธุเจ้าค่ะ<wbr> หลวงปู่


    หลวงปู่ดู่ ...(ให้พร)......
     
  13. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    พุทโธดีที่สุึด

    พุทโธ นี่ดีหนักหนา สารพัดปราบได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งสติแน่วในพุทโธอันเดียว
    สามารถที่จะระงับทุกข์โศกโร<wbr>คภัยทั้งหมด ถ้าไม่เชื่อก็ลองดูสิ ความโกรธความฉุนเฉียวเกิดขึ<wbr>้นมา
    ก็ตั้งสตินึกถึง พุทโธ เดี๋ยวก็หายหมด อายพระพุทธเจ้าอายพุทโธนี่แ<wbr>หละพุทโธดีอย่างนี้

    ที่มันไม่หายเพราะไม่ได้ตั้<wbr>งสติให้แน่วแน่ กำหนดพุทโธเฉยๆ หลอกๆ พุทโธเลยไม่อยู่กับเรา
    พุทโธพระพุทธเจ้าหายหมด มันก็มีแต่กิเลสเข้ามาครอบง<wbr>ำมีแต่ความโกรธวุ่นวายหมด ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นภัยอันตรายอย่างยิ่ง

    ถ้าหากเราไม่มีสติตั้งอยู่ใ<wbr>นพุทโธแล้ว สารพัดจะทำตัวของเราให้เป็น<wbr>ไปต่างๆ นาๆ
    จนกระทั่งคิดประทุษร้ายประห<wbr>ัตประหารฆ่าฟันผู้อื่นได้ทุ<wbr>กประการ

    ถ้าตั้งสติกำหนดพุทโธไว้ พุทโธมาอยู่แทนที่ ความโกรธก็เลยหายจากใจหมด
    ฉะนั้นอย่าลืมให้ระลึกถึงพุ<wbr>ทโธอยู่เสมอ จึงจะเป็นผลให้สำเร็จประโยช<wbr>น์แก่ตน
    เอาพุทโธตัวเดียวเท่านั้นแห<wbr>ละไว้ให้มั่น ตั้งสติกำหนดลงให้จริงๆ จังๆ ในที่เดียวนี่แหละ

    กายตั้งมั่นอยู่แล้วใจมันต้<wbr>องให้อยู่เหมือนกัน มันพาเราวิ่งว่อนมามากต่อมา<wbr>ก
    เกิดมาอายุเท่าไรแล้วก็ไม่ท<wbr>ราบ ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเห็นตัว<wbr>พุทโธเลยสักที จิตก็ไม่เห็น
    สติควบคุมจิตไม่อยู่ไม่เห็น<wbr>จิตเลย ไม่เห็นพุทโธเลย พุทโธนั่นคือจิตเอาอันั้นเส<wbr>ียก่อน เอาพุทโธๆๆ
    ไว้ในจิตใจตัวนั่นแหละ

    เมื่อสติควบคุมมัน มันก็อยู่กับพุทโธ เอาพุทโธเป็นจิตเสียก่อน ครั้นเมื่อคุมจิตอยู่แล้วพุ<wbr>ทโธจะหายไป
    จะยังเหลือแต่จิตก็เอา ไม่ต้องไปนึกถึงพุทโธอีกเท่<wbr>านี้ล่ะเป็นพอ ที่นี้ก็เอาแต่จิตนั่นแหละ

    : หลวงปู่เทศก์ เทศรังสี
    : การฝึกหัดกัมมัฏฐาน วัดหินหมากเป้ง ๒๐ กรกฏาคม ๒๕๒๕

    เวลา ภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบน<wbr>ั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที<wbr>่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละ<wbr>มันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว<wbr> แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเ<wbr>รา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่น<wbr>ั่น แหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเ<wbr>รา เลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเ<wbr>ลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธ<wbr>ศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่<wbr>หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมาก<wbr>นัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้น<wbr>เอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรม<wbr>ใดๆ เลย

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    พุ ทโธ พุทโธ เป็นยอดกรรมฐาน การภาวนาพุทโธๆ ในใจบ่อย ทำให้ใจเย็นสบาย จิตใจเบิกบานผ่องใส พุทโธ คือเป็นผู้ที่ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว ตื่นที่ว่านี้ ก็คือการตื่นจากความหลง ไม่หลงใหลไม่เชื่ออะไรที่งม<wbr>งาย

    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน?
    เรา ระลึกพุทโธอยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าก็อยู่ที่นั่น รู้อยู่ที่ไหนล่ะ? พุทโธ พุทโธ ผู้รู้อยู่ตรงไหน? ก็อยู่ตรงนั้น ที่พึ่งก็อยู่ตรงนั้น
    เราก็ เข้าถึงพระพุทธองค์ ได้อยู่ใกล้ชิดแนบสนิทกับพร<wbr>ะองค์ คือ พุทโธ หรือเราเข้าถึงพระธรรม แนบสนิทติดอยู่กับพระธรรม คือ ธัมโม ธัมโม ไว้ในใจ หรือแนบสนิทติดอยู่กับพระสง<wbr>ฆ์ สังโฆ สังโฆ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง
    เราก็ระลึกด้วยดี ทำความดีขึ้นมา เมื่อเราระลึกที่พึ่งไม่ลดล<wbr>ะ ไม่มีช่องว่าง
    ไม่มีโอกาส จะให้กิเลสอย่างอื่นขึ้นมาท<wbr>ดแทนได้

    หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ"

    การภาวนานี้ทำได้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกสถานที่ ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลา
    เช่นอย่างภาวนาในขั้นบริกรร<wbr>มภาวนา เช่น ภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ตลอดทุกอิริยาบถ
    บริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ ได้
    ทีนี้ถ้าหากว่าไม่นึกบริกรร<wbr>มภาวนา พุทโธ การกำหนดรู้ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ทำ พูด คิด รู้อยู่ตลอดเวลา
    อันนี้เป็นการภาวนา จุดมุ่งหมายของการภาวนา หรือบริกรรมภาวนา
    ก็ อยู่ที่ความต้องการความมีสต<wbr>ิสัมปชัญญะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีแล้<wbr>ว จิตก็มีสมรรถภาพในการคุ้มคร<wbr>องตัวเอง ให้ยืนยันอยู่ในความเป็นอิส<wbr>รภาพ
    ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอิสรภาพโ<wbr>ดยเด็ดขาดทุกอย่างก็ตาม ตราบใดที่จิตยังตกอยู่ในอำน<wbr>าจของอารมณ์
    กิเลสและสิ่งแวดล้อม จิตก็รู้ตัวว่ายังหย่อนสมรร<wbr>ถภาพ อยู่ในอำนาจของสิ่งแวดล้อม จิตก็ย่อมรู้ การบริกรรมภาวนา
    บางท่านเมื่อจิตไม่ตรงกับนิ<wbr>สัยบริกรรมภาวนาเป็นปีๆ จิตไม่สงบก็มีอุบายที่จะปฏิ<wbr>บัติได้ คือ ต้องกำหนดรู้ดูความคิดของตน<wbr>เองตลอดเวลา
    ว่าเราคิดอะไรก็รู้ สิ่งที่คิดมันหายไปก็รู้ อันใหม่เกิดขึ้นมาก็รู้ กำหนดรู้ตามไปเรื่อยๆ
    เมื่อจิตมีสติกำหนดตามรู้คว<wbr>ามคิด กำหนดทันความคิดของจิตเมื่อ<wbr>ใด เมื่อนั้นจิตจะสงบเป็นสมาธิ<wbr>ได้

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย"

    พุ ทโธ...การอัญเชิญพระพุทโธไว<wbr>้ในหัวใจให้สม่ำเสมอเป็นมหา<wbr>มงคล วิธีทำได้ไม่ลำบากยากเย็น และมีผลประเสริฐเลิศล้ำแน่น<wbr>อนที่สุด เปรียบการท่องพระพุทโธเหมือ<wbr>นการร้องให้มีผู้ช่วยขณะต้อ<wbr>งเผชิญกับอันตรายยิ่ง ใหญ่ก็ได้ ก็ไม่ผิด

    ความจริงก็เป็นเช่นนั้น เสียงพระพุทโธ พระพุทโธ ที่กึกก้องอยู่ในหัวใจจริง ไม่แตกต่างกับเสียงร้องช่วย<wbr>ด้วย ช่วยด้วย ของผู้กำลังหวาดกลัวภัยร้าย<wbr>ที่กำลังต้องเผชิญอยู่

    ผู้ได้ ยินเสียงร้องนั้นต้องเข้าช่<wbr>วยสุดความสามารถ เพื่อให้พ้นจากอันตราย อันพระผู้ที่จะได้ยินเสียงพ<wbr>ระพุทโธ พระพุทโธของพวกเรา ผู้กลัวอันตรายยิ่งใหญ่แห่ง<wbr>กรรม คือสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาส<wbr>ัมพุทธะ

    ใจ ที่หวังพึ่งพระมหากรุณาให้พ<wbr>้นมือแห่งกรรมร้าย ด้วยเสียงของใจที่กึกก้องร้<wbr>องร่ำเป็นคำพระพุทโธ พระพุทโธ เปรียบได้กับเสียงร้อง ช่วยด้วย ช่วยด้วย นั่นเอง

    พระมหากรุณาของ สมเด็จพระบรมศาสดามีหรือจะไ<wbr>ม่เกิดเป็นผลแก่ผู้กำลังหวา<wbr>ดกลัวอันตรายยิ่งใหญ่ หาใดเปรียบมิได้ อันเป็นอันตรายที่เกิดกรรม กรรมที่น่ากลัวที่สุด

    สำหรับ ทุกชีวิต ไม่มีอะไรน่ากลัวเสมอด้วยกร<wbr>รม เมื่อเสียงขอรับพระเมตตาช่ว<wbr>ยให้พ้นภัยกรรมดังกึกก้องเม<wbr>ื่อไร ก็เมื่อนั้นจะทรงบรรเทาไฟร้<wbr>ายแห่งกรรมโปรดประทาน เป็นการแผ่พระพุทธเมตตาที่ม<wbr>ีความเย็นยิ่งเย็นใด ยังจิตใจที่กำลังร้อนเร่าสง<wbr>บเย็นลงได้แน่นอน...

    : แสงส่องใจ ๒๕๔๙
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    ใครๆ ก็อยากสงบด้วยกันทั้งนั้น ความสงบมันก็อยู่ตรงนั้นแหล<wbr>ะ แต่ว่าเราไม่ทันจะรู้จักมัน<wbr> จะตามจะพูดกันสักเท่าไหร่ก็<wbr>ไม่รู้จักขึ้นมาได้หรอก

    ฉะนั้น ให้ทำ ให้ตามรู้จักให้ทันว่า กำหนดลมเข้าออก กำหนดว่าพุทโธ...พุทโธ... เอาเท่านี้แหละ ไม่ให้คิดไปไหนทั้งนั้น ในเวลานี้ให้มีความรู้อยู่อ<wbr>ย่างนี้ ทำอยู่อย่างนี้ ให้เรียนอยู่เท่านี้แหละ ให้ทำไปๆอย่างนี้แหละ จะนึกว่าทำอยู่นี่ก็ไม่เห็น<wbr>มันเป็นอะไรเลย ไม่เป็นไรไม่เป็นก็ให้ทำไป ไม่เห็นก็ให้ทำไป ให้ทำไปอยู่นั่นแหละ แล้วเราจะรู้จักมัน

    ไม่ไป เอาอะไรอื่น ไม่ต้องคิดว่าจะเอานั่นเอาน<wbr>ี่ ไม่เอาอะไรทั้งนั้น..ให้รู้<wbr>จักแต่ลมเข้า...ลมออก...ลมเ<wbr>ข้า...ลมออก...พุท เข้า โธ ออกอยู่กับลมหายใจอย่างนี้แ<wbr>หละ เอาอันนี้เป็นอารมณ์ ให้ทำอยู่อย่างนี้จนกระทั่ง<wbr>ลม เข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จัก ลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จัก ให้รู้จักอยู่อย่างนั้น จนจิตสงบ หมดความรำคาญ ไม่ฟุ้งซ่านไปไหนทั้งนั้น ให้มีแต่ลมออกลมเข้า ลมออกลมเข้าอยู่อย่างนั้น ให้มันเป็นอยู่อย่างนี้ ยังไม่ต้องมีจุดหมายอะไรหรอ<wbr>ก นี่แหละเบื้องแรกของการปฏิบ<wbr>ัติ

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
     
  14. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    กุณฑริยสูตร
    <wbr>กุณฑริยสูตร อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแ<wbr>ก่ ปริพพาชกชื่อว่า “กุณฑริยะ” เป็นพระสูตรที่แสดงข้อปฏฺบั<wbr>ติแห่งโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวด ๓๗ ประการโดยย่อ อันผู้ฟัง ฟังแล้ว ถ้าเข้าใจข้อปฏิบัติในพระสู<wbr>ตรนี้ ก็จะสามารถปฏิบัติไปตาม ให้บรรลุอริยมรรค อริยผล ได้

    ความในพระสูตรนี้มีว่า ครั้งหนึ่งปริพพาชกผู้หนึ่ง<wbr>ชื่อกุณฑริยะเข้าไปเผ้าพระผ<wbr>ู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ ประทับ ได้กล่าวปราศรัยกับพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้าให้เกิดความยินดี<wbr>พอสมควรแล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์นั้นหลังจากบริโภ<wbr>คอาหารแล้ว ก็ออกจากอารามของตนไปสู่อาร<wbr>ามอื่น และออกจากอารามอื่นไปสู่อาร<wbr>ามอื่นอีก ข้อนี้เป็นเหมือนอาหารว่างข<wbr>องข้าพระองค์ เพราะเหตุที่ข้าพระองค์ออกจ<wbr>ากอารามไปสู่อารามอื่น และออกจากอารามอื่นไปสู่อาร<wbr>ามอื่น อีกนี้ ข้าพระองค์จึงได้พบ ได้เห็น ได้ยิน สมณะทั้งหลายในอารามนั้นๆ จับกลุ่มสนทนากัน ปรึกษาหารือกัน เพื่อเฟ้นหาถ้อยคำสำหรับข่ม<wbr>ขี่ถ้อยคำของผู้อื่น เพื่อยกย่องเชิดชูถ้อยคำของ<wbr>ตนให้สูงเด่น ข้าพระองค์ได้รู้ ได้เห็นสมณะทั้งหลายในอาราม<wbr>นั้นๆ อยู่ด้วยวิหารธรรมอย่างนี้ เมื่อกราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูถามพระผู้มีพระภาค<wbr>เจ้าว่า “ส่วนพระองค์อยู่ด้วยวิหารธ<wbr>รรมอะไร
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว<wbr>่า “ตถาคตอยู่ด้วยวิชชาและวิมุ<wbr>ติ
    กุณฑริยปริพพาชก จึงทูลถามว่า “อะไรเป็นเหตุแห่งวิชชาและว<wbr>ิมุติ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว<wbr>่า “โพชฌงค์ ๗ เป็นเหตุแห่งวิชชาและวิมุติ<wbr>”
    กุณฑริยปริพพาชก จึงทูลถามอีกว่า “อะไรเป็นเหตุแห่งโพชฌงค์ ๗
    พระองค์ตรัสตอบว่า “สติปัฎฐาน ๔ เป็นเหตุแห่งโพชฌงค์ ๗
    กุณฑริยปริพพาชก จึงทูลถามอีกว่า “อะไรเป็นเหตุแห่งสติปัฏฐาน<wbr>
    พระองค์ตรัสตอบว่า “สุจริต ๓ เป็นเหตุแห่งสติปัฎฐาน ๔
    กุณฑริยปริพพาชก จึงทูลถามอีกว่า “ อะไรเป็นเหตุแห่งสุจริต ๓
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว<wbr>่า “อินทรียสังวรเป็นเหตุแห่งส<wbr>ุจริต ๓

    เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว พระองค์ทางแสดง อินทรียสังวร ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้” เมื่อ :

    เห็นรูปด้วยอาศัยตา ที่น่าพอใจหรือที่ไม่น่าพอใ
    <wbr>จ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่
    ได้ยินเสียงด้วยอาศัยหู ที่น่าพอใจหรือที่ไม่น่าพอใ<wbr>จ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่
    รู้กลิ่นด้วยอาศัยจมูก ที่น่าพอใจหรือที่ไม่น่าพอใ
    <wbr>จ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่
    รู้รสด้วยอาศัยลิ้น ที่น่าพอใจหรือที่ไม่น่าพอใ<wbr>จ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่
    รู้สิ่งถูกต้องกาย มีเย็นร้อน อ่อนแข็ง เป็นต้น ด้วยอาศัยกาย ที่น่าพอใจหรือที่ไม่น่าพอใ
    <wbr>จ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่
    รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ น่าพอใจหรือที่ไม่น่าพอใจ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่

    ครั้นกุณฑริยปริพพาชกได้ฟัง<wbr>อย่างนี้แล้ว จึงแสดงอาการชื่นชมยินดีแล้<wbr>วก็ลาจากไป พระสูตรนี้แสดงว่า :

    อินทรียสังวร เป็นเหตุแห่ง สุจริต ๓
    สุจริต ๓ เป็นเหตุแห่ง สติปัฏฐาน ๔
    สติปัฏฐาน ๔ เป็นเหตุแห่ง โพชฌงค์ ๗
    โพชฌงค์ ๗ เป็นเหตุแห่ง วิชชาและวิมุติ
    ดังนี้

    ที่ว่า โพชฌงค์ ๗ เป็นเหตุแห่งวิชชาและวิมุติ<wbr>นั้น หมายความว่า โพชฌงค์ ๗ ช่วยให้อริยมัคคสมังคีเกิดข<wbr>ึ้น เพราะอริยมัคคสมังคีเกิดขึ้<wbr>นจึง รู้แจ้ง เห็นแจ้ง อริยสัจทั้ง ๔ ว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้ สมุทัยเป็นอย่างนี้ นิโรธเป็นอย่างนี้ มรรคเป็นอย่างนี้ ทั้งรู้ว่าไม่ใช่ตนอย่างแจ่<wbr>มแจ้ง ด้วย เรียกว่า “วิชชา” เกิดขึ้น เพราะ “วิชชา” เกิดขึ้น เห็นแจ้งทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ว่าไม่ใช่ตน “อวิชชา” ตัณหา อุปาทาน กรรม และ ทุกข์ ดับไปจากจิต จิตพ้นจาก “อวิชชา” ตัณหา อุปาทาน กรรม และทุกข์ จึงชื่อว่า วิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นเหตุแห่งวิชชาและวิมุติ<wbr> ดังอธิบายมาโดยย่อๆ ดังนี้

    โพชฌงค์ ๗ ได้แก่ ธรรมเป็นส่วนช่วยให้ตรัสรู้<wbr>อริยสัจ ๔ มี ๗ อย่าง คือ

    สติสัมโพชฌงค์ มีสติจดจ้อง อริยสัจทั้ง ๔ อยู่
    ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญารู้เห็นอริยสัจทั้ง ๔ เป็นส่วนๆ พร้อมกันอยู่
    วิริยสัมโพชฌงค์ มีความเพียรประคองจิต เพ่งจ้อง อริยสัจทั้ง ๔ อยู่
    ปีติสัมโพชฌงค์ มีความอิ่มกาย อิ่มจิต เห็นอริยสัจทั้ง ๔ อยู่
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ จิตสงบระงับ ไม่ข้องไม่กังวล เห็นอริยสัจทั้ง ๔ อยู่
    สมาธิสัมโพชฌงค์ ความรู้ของจิต เพ่งจ้อง อริยสัจทั้ง ๔ อยู่
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ จิตเห็น อริยสัจทั้ง ๔ เฉยอยู่ ไม่คิดเอา ไม่คิดละ

    ธรรมทั้ง ๗ อย่างนี้ ชื่อว่า โพชฌงค์ หมายความว่าเป็นองค์ช่วย เป็นส่วนช่วย หรือเป็นเครื่องช่วยให้อริย<wbr>มรรค ทั้ง ๘ มีกำลังเสมอกัน ที่เรียกว่า อริยมัคคสมังคี เมื่ออริยมรรคทั้ง ๘ มีกำลังเสมอกันแล้ว “วิชชา” คือ ความรู้แจ้งทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคว่าไม่ใช่ตน และเห็นตนด้วย เรียกว่า “วิชชา” เกิดขึ้น เหมือนดังกล่าวแล้วข้างต้นน<wbr>ั้น

    เมื่อ “วิชชา” เกิดขึ้น “อวิชชา” ก็ดับไป เพราะ “อวิชชา” ดับไป กิเลสทั้งหลายก็ดับไปด้วย เรียกว่า อริยผลเกิดขึ้น อริยผลก็คือ “วิมุติ” นั่นเอง เพราะกิเลสมี “อวิชชา” เป็นต้น หลุดพ้นไปจากจิต จึงชื่อว่า “วิมุติ” เรียกว่า “จิตหลุดพ้น” ความจริงกิเลสหลุดพ้นไปจากจ<wbr>ิตนั่นเอง

    “อวิชชา” มี ๔ ขั้น ตัณหา อุปาทาน กรรม ก็มี ๔ ขั้น วิชชาจึงมี ๔ ขั้นด้วย

    เมื่อ “วิชชา” ขั้นต้นเกิดขึ้น “อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” ขั้นต้น อันเป็นขั้นของปุถุชนดับไป ทุกข์ของปุถุชนก็ดับไปด้วย ผู้นั้นจึงเป็น พระโสดาบัน

    “วิชชา” ขั้นที่สองเกิดขึ้น “อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” ขั้นที่สอง อันเป็นขั้นของพระโสดาบันดั<wbr>บไป ทุกข์ของพระโสดาบัน ก็ดับไปด้วย ผู้นั้นจึงเป็น พระสกิทาคามี

    “วิชชา” ขั้นที่สามเกิดขึ้น “อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” ขั้นที่สาม อันเป็นของพระสกิทาคามี ดับไป ทุกข์ของพระสกิทาคามี ก็ดับไปด้วย ผู้นั้นจึงเป็น พระอนาคามี

    “วิชชา” ขั้นที่สี่เกิดขึ้น “อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” ขั้นที่สี่ อันเป็นของพระอนาคามี ดับไป ทุกข์ของพระอนาคามี ก็ดับไปด้วย จึงได้ชื่อว่าเป็น พระอรหันต์ เป็นผู้หมดกิเลสและกองทุกข์<wbr>ทั้งปวง เป็นผู้ไม่มีทุกข์ใดๆเหลืออ<wbr>ยู่ในจิตในใจอีก จิตของท่านก็เป็นอิสระเต็มท<wbr>ี่ เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจึงไม่ต้<wbr>องเกิดในที่ทั้งปวง เป็นผู้อันความทุกข์อะไรๆ จะเข้าไปรบกวนจิตใจของท่านไ<wbr>ม่ได้อีกเลย จึ่งเป็นสุขอย่างยิ่ง

    “วิชชา” อันเกิดแต่อริยมรรคทั้ง ๔ ขั้นนี้ไม่มีในปุถุชน ที่เราเรียกว่าวิชานั้นวิชา<wbr>นี้ ที่เราเรียนจนชื่อว่า เป็นปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก วิชาอันนั้นไม่ใช่วิชชาในพร<wbr>ะพุทธ ศาสนา เป็นวิชาในทางโลก ส่วนวิชชาใน พระพุทธศาสนาหมายถึง ความรู้แจ้งทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ว่าไม่ใช่ตน อย่างแจ่มแจ้ง จนสมุทัยคือ สิ่งที่ทุกข์เกิดขึ้นพร้อม อันได้แก่ “อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” ต้องดับไปพร้อมกับทุกข์ดับไ<wbr>ปด้วย นั้น เรียกว่า “วิชชา” ในพระพุทธศาสนา และที่ว่า โพชฌงค์ ๗ เป็นเหตุแห่ง “วิชชาและวิมุติ” นั้น ก็เพราะ “วิชชา” เกิดขึ้นเมื่อใด “วิมุติ” ก็เกิดขึ้นเมื่อนั้นทันที

    ทีนี้พระองค์ตรัสว่า “สติปัฏฐาน ๔ เป็นเหตุแห่ง โพชฌงค์ ๗” ความจริงโพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมเป็นฝ่ายให้ตรัสรู้มี ๗ หมวด ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โพธิปักขิยธรรมมีถึง ๗ หมวดอย่างนี้ แต่ในพระสูตรนี้ พระองค์ตรัสเพียง ๒ หมวด คือ ตรัสโพชฌงค์ ๗ หมวดหนึ่ง กับสติปัฏฐาน ๔ หมวดหนึ่ง ได้แก่ “ตรัสว่า โพชฌงค์ ๗ เป็นเหตุแห่ง “วิชชาและวิมุติ” กับตรัสว่า สติปัฏฐาน ๔ เป็นเหตุแห่งโพชฌงค์ ๗” ดังนี้ ดูคล้ายกับว่าพระองค์ตรัสโพ<wbr>ธิ ปักขิยธรรมไม่ครบ ๗ หมวด ที่แท้พระองค์ตรัสครบทั้ง ๗ หมวดทีเดียว เพราะโพธิปักขิยธรรมอีก ๕ หมวดคือ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ๕ อริยมรรคมีองค์ ๘ ทั้ง ๕ หมวดนี้เกิดขึ้นพร้อมกับสติ<wbr>ปัฏฐาน๔ เมื่อพระองค์ตรัสว่าสติปัฏฐ<wbr>าน ๔ เป็นเหตุแห่งโพชฌงค์ ๗ จึงเท่ากับตรัสว่า สติปัฏฐาน๔ พร้อมด้วย สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเหตุแห่ง โพชฌงค์ ๗ นั่นเอง

    ความจริงโพชฌงค์ ๗ ก็เกิดขึ้นพร้อมกับสติปัฏฐา<wbr>น ๔ เหมือนกัน แต่เมื่อวิปัสสนายังไม่เกิด<wbr> ก็ทำหน้าที่เป็นโพชฌงค์ยังไ<wbr>ม่ได้ ต่อเมื่อวิปัสสนาเกิดและเจร<wbr>ิญขึ้นจนถึง สังขารุเปกขาญาณ โพชฌงค์ ทั้ง ๗ ประการจึงทำหน้าที่ได้ คือ ทำหน้าที่ช่วยประคองให้อริย<wbr>มรรค ทั้ง ๘ ประการมีกำลังเสมอกัน ที่เรียกว่า อริยมัคคสมังคี “วิชชา” จึงเกิดขึ้นให้ถึง “วิมุติ” คือให้ “อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” หลุดพ้นไปจากจิต จึงเรียกว่า “วิมุติ” ดังกล่าวแล้วข้างต้น

    ทีนี้สติปัฏฐาน ๔ ถ้าเราดูตามตำราในพระสูตร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไ<wbr>ว้และ มีผู้แปลไว้นั้น ดูแล้วเข้าใจยาก รู้สึกว่าไม่น่าจะทำตาม ไม่ชวนให้ทำตาม ไม่อยากจะทำตาม ทั้งนี้เพราะเราไม่เข้าใจ ถ้าเราเข้าใจได้แล้ว ก็จะรู้สึกว่าเป็นขอน่าทำตา<wbr>ม ทำให้เกิดความยินดีที่จะทำต<wbr>าม คำว่า “สติปัฏฐาน” เป็นชื่อสำหรับเรียกย่อๆ บอกลักษณะให้รู้ว่า “ความตั้งทั่วแห่งสติ” คำว่า “สติปัฏฐาน ๔” ถ้าจะแปลให้เต็มความหมาย ก็จะต้องแปลว่า “ความมีสติกับสัมปชัญญะและอ<wbr>าตา ปีตั้งทั่วอยู่ที่ ๔ อย่าง” คือ ตั้งอยู่ที่กายด้วย ที่เวทนาด้วย ที่จิตด้วย ที่ธรรมด้วย จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน ๔ โพธิปักขิยธรรม ดังนี้

    ที่ชื่อว่า “โพธิปักขิยธรรม” ก็แปลว่า “ธรรมเป็นฝ่ายให้ตรัสรู้” คือ เป็นธรรมให้ถึงความตรัสรู้อ<wbr>ริยสัจจธรรมทั้ง ๔ คือ ให้รู้เห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อย่างแจ่มแจ้ง พร้อมกับรู้เห็นว่าไม่ใช่ตน<wbr>อย่าง แจ่มแจ้งด้วย สติปัฏฐาน ๔ จึงต้องมีสติ ๑ สัมปชัญญะ ๑ อาตาปี ๑ ตั้งอยู่ที่กาย ที่เวทนา ที่จิต ที่ธรรม ดังนี้ สติกับสัมปชัญญะนั้นเป็นของ<wbr>คู่กัน สติมีที่ใด สัมปชัญญะก็มีที่นั้น สติตั้งอยู่ที่ใด สัมปชัญญะก็ตั้งอยู่ที่นั้น<wbr> ส่วน “อาตาปี” นั้นจะเกิดมีขึ้นได้ก็ต่อเม<wbr>ื่อสติสัมปชัญญะหยุดนิ่งคงท<wbr>ี่ ตั้งอยู่ที่กายที่จิตได้ “อาตาปี” จึงเกิดขึ้นได้ เพราะ “อาตาปี” ก็คือ “อานุภาพของสติสัมปชัญญะที่<wbr>หยุดนิ่ง คงที่ ตั้งอยู่ที่กายที่จิต” นั่นเอง และสติสัมปชัญญะจะหยุดนิ่ง คงที่ ตั้งอยู่ที่กายที่จิตได้ ก็ต่อเมื่อสัมมาสมาธิเกิดขึ<wbr>้น และ “สัมมาสมาธิ” พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไ<wbr>ด้แก่ “รูปฌานทั้ง ๔” เพราะเหตุนั้นเมื่อรูปฌานอั<wbr>นมี “ปฐมฌาน” เป็นต้น เกิดขึ้นเมื่อใด “มโนวิญญาณ” คือ “ความรู้ของจิตหยุดนิ่ง คงที่ เพ่งจ้อง ซึ่งอารมณ์ของกรรมฐานอยู่ สติสัมปชัญญะของจิตก็ต้องหย<wbr>ุดนิ่ง คงที่ ตั้งอยู่ที่กายที่จิตด้วยเม<wbr>ื่อนั้น “อาตาปี” จึงเกิดขึ้นได้ จึงสำเร็จเป็น “สติปัฏฐาน ๔ โพธิปักขิยธรรม” ได้

    คำว่า “ อาตาปี” ถ้าแปลตามพยัญชนะก็แปลว่า “มีความร้อน” คือ ทำให้กิเลสเร่าร้อน แต่จิตกลับเย็นสบาย พระอรรถกถาจารย์ ท่านแปลโดยความหมายว่า “ความเพียรเป็นเครื่องยังกิ<wbr>เลสให้ร้อน” และอธิบายว่าได้แก่ “สัมมัปปธาน ๔” คือ ความเพียรชอบ ๔ อย่าง ได้แก่
    ๑. สังวรปธาน ความเพียรปิดกั้นบาปที่ยังไ<wbr>ม่เกิด เพื่อไม่ให้เกิดขึ้น
    ๒. ปหานปธาน ความเพียรเพื่อให้บาปที่เกิ<wbr>ดขึ้นแล้ว ต้องเสื่อมไป ดับไป
    ๓. ภาวนาปธาน ความเพียรเพื่อกุศลธรรมที่ย<wbr>ังไม่เกิด ให้ได้เกิดขึ้น
    ๔. อนุรักขนาปธาน ความเพียรรักษากุศลที่เกิดข<wbr>ึ้นแล้ว เพื่อไม่ให้เสื่อมและให้เจร<wbr>ิญงอกงามจนถึงความไพบูลย์บร<wbr>ิบูรณ์เต็มที่ ดังนี้

    “ อาตาปี” จึงได้แก่ “ความร้อนอันเกิดขึ้นด้วยอา<wbr>นุภาพของสติสัมปชัญญะที่หยุ<wbr>ดนิ่ง คงที่ ตั้งอยู่ที่กายที่จิต และ “ อาตาปี” นี้เป็นตัวทำให้สัมมัปปธาน ๔ เกิดขึ้นด้วย “สติปัฏฐาน ๔ โพธิปักขิยธรรม” จึงได้แก่ ความมีสติ มีสัมปชัญญะ มีอาตาปีตั้งอยู่ที่กาย ที่เวทนา ที่จิต ที่ธรรม จึงเป็นเหตุให้เห็นแจ้งอริย<wbr>สัจจธรรมทั้ง ๔ ได้บรรลุอริยผล

    จึงเห็นได้ว่า “สติปัฏฐาน ๔ “ จะเกิดขึ้นได้ ต้องเกิดขึ้นพร้อมกับ สัมมาสมาธิ อันเป็นองค์มรรคที่ ๘ และพร้อมด้วย “อาตาปี” อันได้แก่ สัมมัปปธาน ๔ เพราะเหตุนั้นสติปัฏฐาน ๔ เกิดขึ้นเมื่อใด โพธิปักขิยธรรมอีก ๔ หมวด คือ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และอริยมรรคมีองค์ ๘ จึงต้องเกิดขึ้นพร้อมกับสติ<wbr>ปัฏฐาน ๔ แม้โพชฌงค์ ๗ ก็เกิดขึ้นพร้อมกับสติปัฏฐา<wbr>น ๔ เหมือนกัน เพราะโพธิปักขิยธรรมทุกหมวด<wbr> ย่อมเกิดดับร่วมกับ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ และสัมมาสมาธิ แต่ว่าโพชฌงค์ทั้ง ๗ เกิดขึ้นแล้ว เมื่อวิปัสสนายังไม่เกิด ก็ทำหน้าที่เป็นโพชฌงค์ยังไ<wbr>ม่ได้ ครั้น สติปัฏฐาน ๔ พร้อมด้วย สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และอริยมรรคมีองค์ ๘ มีกำลังพอ วิปัสสนาเกิดขึ้นถึงสังขารุ<wbr>เปกขาญาณ โพชฌงค์ ทั้ง ๗ ประการ จึงทำหน้าที่เป็นโพชฌงค์ได้<wbr> คือ เป็นเครื่องช่วยประคองให้อร<wbr>ิยมรรคทั้ง ๘ มีกำลังเสมอกัน ให้วิชชาและวิมุติเกิดขึ้น
    เพราะเหตุนั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว<wbr>่า “ สติปัฏฐาน ๔ เป็นเหตุแห่ง โพชฌงค์ ๗ “ นั้น คำว่า “สติปัฏฐาน ๔” จึงหมายความถึง โพธิปักขิยธรรม ๖ หมวด คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมทั้ง ๖ หมวดนี้แหละว่าเป็นเหตุแห่ง<wbr> โพชฌงค์ ๗ แม้พุทธพจน์ว่า “สุจริต ๓ เป็นเหตุแห่ง สติปัฏฐาน ๔” นั่นก็เหมือนกัน คือ เท่ากับมีความหมายว่า “สุจริต ๓ เป็นเหตุแห่ง โพธิปักขิยธรรม ๖ หมวด” มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น จนถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นที่สุด และอินทรียสังวร คือ “กายคงที่ จิตคงที่ เป็นเหตุแห่งสุจริต ๓” ดังนี้

    อินทรียสังวร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไ<wbr>ว้ใน พระสูตรนี้ว่า มีกายคงที่ มีจิตคงที่ คือเห็นรูปด้วยตา ได้ยินเสียงด้วยหู รู้กลิ่นด้วยจมูก รู้รสด้วยลิ้น รู้เย็นร้อน อ่อนแข็ง เป็นต้นด้วยกาย ใจรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีกายคงที่ มีจิตคงที่ พระองค์แสดงว่า มีกายคงที่ มีจิตคงที่ ว่าเป็นอินทรียสังวร ก็เป็นปัญหาอยู่ว่าทำอย่างไ<wbr>รจึงจะทำให้กายคงที่ จิตคงที่ เป็นอินทรียสังวรเกิดขึ้นได<wbr>้ ครั้นทดลองตั้งใจทำกายคงที่<wbr>ทำ จิตคงที่ไว้เนืองๆ เมื่อเห็นรูปด้วยตา ได้ยินเสียงด้วยหู รู้กลิ่นด้วยจมูก รู้รสด้วยลิ้น รู้เย็นร้อน เป็นต้นด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ตั้งใจทำกายคงที่ ทำจิตคงที่ไว้เนืองๆ ไม่นานเท่าไร ความคิดดูหมิ่นผู้อื่นที่เค<wbr>ยมีอยู่บ้างตามวิสัยของปุถุ<wbr>ชนก็จะจืดจางไป กลับมีความเห็นอกเห็นใจเกิด<wbr>ขึ้นแทน และความวู่วามต่างๆก็หายไป ความยับยั้งชั่งใจจึงเกิดมา<wbr>กขึ้น เป็นเหตุให้สุจริต ๓ ซึ่งมีอยู่บ้างแล้วเจริญมาก<wbr>ขึ้น จึงรู้ว่า วิธีเจริญอินทรียสังวร ก็ได้แก่ “การตั้งใจทำกายคงที่ ทำจิตคงที่ไว้เนืองๆนั่นเอง<wbr>” ซึ่งเป็นเหตุให้สุจริต ๓ เกิดขึ้น และสุจริต ๓ ก็เป็นเหตุให้โพธิปักขิยธรร<wbr>ม ๖ หมวดเกิดขึ้น โพธิปักขิยธรรม ๖ หมวดเป็นเหตุให้โพชฌงค์ ๗ เกิดขึ้น ได้แก่ โพชฌงค์ ๗ ทำหน้าที่ช่วยให้อริยมัคคสม<wbr>ังคีเกิดขึ้น อริยมัคคสมังคีเกิดขึ้น ก็คือ “วิชชา” เกิดขึ้น “อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” ต้องดับไปจากจิตทันทีเรียกว<wbr>่า “วิมุติ” “วิชชา” คือ ความรู้แจ้งอริยสัจจธรรมทั้<wbr>ง ๔ ที่เรียกว่า อริยมัคคสมังคีเกิดขึ้น เพราะอริยมัคคสมังคีเกิดขึ้<wbr>น “วิมุติ” คือ อริยผล ก็เกิดขึ้น ดังนี้ แสดงว่า เราไม่ได้ละกิเลส แต่กิเลสละเราไปต่างหาก

    กุณฑริยสูตรนี้ เมื่อเข้าใจวิธีปฏิบัติและป<wbr>ฏิ บัติได้ถูกต้อง “วิสุทธิทั้ง ๗ อย่าง” มี “ศีลวิสุทธิ” เป็นต้น ก็เกิดขึ้นพร้อมกับ อินทรียสังวร และสุจริต ทั้ง ๓ และเกิดขึ้นเป็นสายคู่กันไป<wbr>ตามลำดับ จนถึงข้อที่ ๗ สุดท้าย ชื่อว่า “ญาณทัสนวิสุทธิ” ก็เกิดขึ้นพร้อมกับวิชชาและ<wbr>วิมุติ เพราะเหตุนั้นเมื่อพูดถึง “โพธิปักขิยธรรม “ ก็เท่ากับพูดถึง “วิสุทธิ ๗” ด้วยทีเดียว

    เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าต้องการจะปฏิบัติให้บรรล<wbr>ุวิช ชาและวิมุติ หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ก็ตั้งใจเจริญอินทรียสังวร ให้สุจริต ๓ เกิดขึ้น คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต กายจะทำอะไรก็ไม่มีโทษ วาจาจะพูดอะไรก็ไม่มีโทษ จิตจะคิดอะไรก็ไม่มีโทษ คือ ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่<wbr>นด้วย ไม่เป็นการเบียดเบียนทั้งตน<wbr>และผู้อื่นด้วย คือ ทำอะไรๆ ก็ไม่เป็นการเบียดเบียนแก่ต<wbr>น ไม่เป็นการเบียดเบียนแก่ผู้<wbr>อื่น ไม่เป็นโทษทั้งแก่ตนและผู้อ<wbr>ื่น เมื่อไม่เป็นโทษอย่างนี้ จิตก็สบายนับว่าเป็นสุข สติสัมปชัญญะก็ตั้งอยู่ที่ก<wbr>ายดี จึงเป็นสติปัฏฐาน ๔ ธรรมดาๆ แต่ยังไม่เป็นสติปัฏฐาน ๔ โพธิปักขิยธรรม เพราะ “อาตาปี” ยังไม่เกิด และเมื่อสติปัฏฐานธรรมดาๆ เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ เรามาเจริญสติปัฏฐาน ๔ ตามอุบายวิธีที่พระผู้มีพระ<wbr>ภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง<wbr> ซึ่งพระองค์ทรงแสดง ไว้เฉพาะ ใน กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยหัวข้อใหญ่ๆถึง ๑๔ หัวข้อ ถ้าเราปฏิบัติตามหัวข้อใดหั<wbr>วข้อ หนึ่ง มี อานาปานสติ สติปัฏฐาน เป็นต้น คือ มีสติสัมปชัญญะระลึกรู้ ตั้งอยู่ที่กายทั่วกาย หายใจเข้า ก็รู้ว่าเราหายใจเข้า หายใจออก ก็รู้ว่าเราหายใจออก ด้วยจิตใจธรรมดาๆ ไม่กด ไม่เก๊ก แต่มีสติรู้อยู่ที่กายทั่วก<wbr>ายเบาๆ ที่เรียกว่า มีสติหายใจเข้าอยู่ มีสติหายใจออกอยู่ ตามพระบาลีว่า “โส สโต วา อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ” แปลว่า “ภิกษุนั้นมีสติ หายใจเข้าอยู่ มีสติหายใจออกอยู่” นั่นเอง เมื่อทำอยู่อย่างนี้ ครั้นความรู้ของจิตหยุดนิ่ง<wbr>ได้เมื่อใด ก็เป็นสัมมาสมาธิเกิดขึ้น ครั้นสัมมาสมาธิเกิดขึ้นเมื<wbr>่อใด สติก็หยุดนิ่ง สัมปชัญญะก็หยุดนิ่งด้วย “อาตาปี” จึงเกิดขึ้น สำเร็จเป็น สติปัฏฐาน ๔โพธิปักขิยธรรม เกิดขึ้น พร้อมด้วยโพธิปักขิยธรรมทุก<wbr>หมวด กิเลสทั้งหลายจะค่อยเสื่อมไ<wbr>ปๆ หมดไปๆ กุศลธรรมทั้งหลายจึงเกิดขึ้<wbr>น ๆ ปัญญาก็จะสว่างไสวมากขึ้นๆ ปัญญาสว่างไสวมากขึ้นเพียงใ<wbr>ด ก็ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป<wbr>็นจริง สิ่งใดเป็นตน สิ่งใดไม่ใช่ตน เห็นทั้งสิ่งที่เป็นตนและสิ<wbr>่งที่ไม่ใช่ตนด้วย เมื่อรู้เห็นอย่างนี้แล้วยั<wbr>งไม่เลิกไม่ละ คงทำสติสัมปชัญญะตั้งอยู่ที<wbr>่กายที่จิต รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกอยู่อย่างนั้น<wbr> สมาธิจะสูงขึ้นๆ สมาธิจะสูงสักเท่าไรก็ตาม เราไม่เลิกไม่ละการทำนั้น คงทำอยู่เนืองๆ โพธิปักขิยธรรมทุกหมวดมีกำล<wbr>ังมาก ขึ้นถึงขนาด วิปัสสนา จึงเกิดขึ้น แม้วิปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว ก็คงทำอยู่อย่างนั้น วิปัสสนาจึงเจริญขึ้นจนถึง “สังขารุเปกขาญาณ” คือ ปัญญารู้เห็นความที่จิตเห็น<wbr>สังขารทั้งหลายเฉยอยู่ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการก็ทำหน้าที่ช่วยให้อร<wbr>ิยมรรคทั้ง ๘ ประการมีกำลังเสมอกัน ที่เรียกว่า อริยมัคคสมังคีเกิดขึ้น อริยมัคคสมังคีเกิดขึ้นเมื่<wbr>อใด “อวิชชา” ก็ดับไปเมื่อนั้น กิเลสและความทุกข์จึงดับไปพ<wbr>ร้อมกับ “อวิชชา” ดับด้วย เราจึงไม่ต้องตั้งใจละอะไรๆ<wbr> สักอย่างเดียว บางอาจารย์สอนว่า ให้ปล่อยวางอย่างนั้น ให้ละอย่างนี้ อย่ายึดอย่างนั้น อย่ายึดอย่างนี้ ที่แท้ไม่ต้องปล่อย ไม่ต้องละอะไรเลย ทุกสิ่งทุกอย่างเราไม่ต้องล<wbr>ะ เราดูให้รู้ ให้เห็นเท่านั้น วิปัสสนาก็จะเกิดขึ้นจนถึงอ<wbr>ริยมัคคสมังคี อริยผลจึงเกิดขึ้น พร้อมกับที่ “อวิชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” ดังไปตามกำลังของมรรคนั้นๆ

    การจะดูให้รู้ ให้เห็น ก็ต้องอาศัยสติสัมปชัญญะตั้<wbr>งอยู่ที่กายที่จิต ที่เรียกว่า สติปัฏฐาน ๔ พร้อมด้วย โพธิปักขิยธรรมทุกหมวด เมื่อสติปัฏฐาน ๔ พร้อมด้วยโพธิปักขิยธรรมทุก<wbr>หมวดเกิดขึ้นแล้ว รักษาไว้ได้ไม่ให้เสื่อมไป ปัญญาก็จะเกิดขึ้นรู้เห็นตา<wbr>มความ เป็นจริง ทั้งสิ่งที่ไม่ใช่ตน และสิ่งที่เป็นตนด้วย ครั้นโพชฌงค์ทั้ง ๗ เข้าทำหน้าที่เมื่อใด อริยมรรคทั้ง ๘ ก็มีกำลังเสมอกัน ที่เรียกว่า อริยมัคคสมังคี เกิดขึ้น “วิชชา หรือ ปัญญาจึงเห็นแจ้ง เห็นชัด อริยสัจทั้ง ๔ ว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้ สมุทัยเป็นอย่างนี้ นิโรธเป็นอย่างนี้ มรรคเป็นอย่างนี้ พร้อมทั้งเห็นชัดว่าทุกข์ไม<wbr>่ใช่ตน สมุทัยไม่ใช่ตน นิโรธไม่ใช่ตน มรรคไม่ใช่ตน เห็นชัดว่าไม่ใช่ตนพร้อมกัน<wbr>ทั้ง ๔ อย่าง สมุทัยคือ “อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” ก็ดับไป กิเลสและความทุกข์ จึงดับไปพร้อมกับ “อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” ที่ดับไปนั้น เราจึงไม่ต้องตั้งใจจะละอะไ<wbr>ร ๆ สักอย่าง ทำถูกอุบายแล้วกิเลสมันละเร<wbr>าไป เอง คือ ถ้าเราทำ โสดาปัตติมรรคให้เกิดขึ้น “อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” และ ทุกข์ของปุถุชนดับไป ก็เป็นพระโสดาบัน ถ้าทำสกิทาคามิมรรคให้เกิดข<wbr>ึ้น “อวิชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” และทุกข์ของพระโสดาบันดับไป<wbr> ก็เป็นพระสกิทาคามี ถ้าทำอนาคามิมรรคให้เกิดขึ้<wbr>น “อวิชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” และทุกข์ของพระสกิทาคามีดับ<wbr>ไป ก็เป็นพระอนาคามี ครั้นทำอรหัตตมรรคให้เกิดขึ<wbr>้น “อวิชา ตัณหา อุปาทาน กรรม” พร้อมด้วยทุกข์ทั้งปวงดับหม<wbr>ด เป็นผู้ไม่มีทุกข์ เรียกว่าเป็นพระอรหันต์

    การที่ใครๆ จะปฏิบัติให้ถึงมรรคผลเป็นพ<wbr>ระโสดาบัน เป็นพระสกิทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์นั้น จึงไม่ต้องคิดละอะไรทั้งสิ้<wbr>น ที่แท้การคิดว่า จะละความโลภ จะละความโกรธ จะละความหลง คิดจะละอย่างนั้นมันกลับไม่<wbr>ถูกอุบาย เพราะเราจะละสิ่งใด เราต้องดูให้รู้เห็นสิ่งนั้<wbr>นตามความเป็นจริง ว่ามันไม่ใช่เรา และรู้ว่าเรายึดมันไว้ด้วยอ<wbr>ำนาจความหลง เรายึดมันไว้คิดว่ามันเป็นเ<wbr>ราบ้าง เป็นของเราบ้าง ร่างกายของเรานี้เป็นก้อนทุ<wbr>กข์ เรามาอาศัยอยู่ในร่างกายนี้<wbr>แล้ว เพราะเหตุที่เรามี “อวิชชา ” คือความไม่รู้แจ้ง ทำให้เราไม่รู้จักตนตามความ<wbr>เป็น จริง เป็นเหตุให้สำคัญเอาขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน จิตจึงยึดขันธ์ ๕ นั้นว่าเป็นตน ไม่ยอมปล่อยไม่ยอมวาง เราจะนึกปล่อยนึกวางอย่างไร<wbr>ก็ไม่ได้ผล เพราะว่าความยึดนี้ เรายึดด้วยอำนาจความหลงอันเ<wbr>กิดจาก “อวิชชา” เมื่อ “อวิชชา” ยังไม่ดับ ความยึดยังยึดอยู่อย่างนั้น<wbr> ครั้นเราทำการดูอยู่ จนรู้เห็นตามความเป็นจริงว่<wbr>าไม่ใช่ตน “วิชชา” ก็เกิดขึ้น “อวิชชา” ดับไป ความหลงก็ดับไปด้วย ความยึดคืออุปาทานในขันธ์ทั<wbr>้ง ๕ ก็ดับด้วย ทุกข์จึงดับไปด้วย แต่ขันธ์ ๕ ยังอยู่ เราไม่ต้องตั้งใจปล่อย ไม่ต้องตั้งใจวาง ไม่ต้องตั้งใจละอะไรทั้งสิ้<wbr>น หลักความจริงมีอยู่อย่างนี้

    เมื่อเรารู้หลักความจริงได้<wbr>เช่นนี้แล้ว ต้องการให้ทุกข์ดับเพื่อประ<wbr>สพความสุขที่แท้จริงไม่ใช่ส<wbr>ุขสมมุติ ก็ตั้งใจทำอุบายให้ “วิชชาเกิดขึ้น” เพื่อให้”อวิชชาดับไป” โดยตั้งใจเจริญอินทรียสังวร<wbr> พร้อมกับทำกรรมฐานอย่างใดอย<wbr>่างหนึ่งในกรรมฐาน ๔๐ อย่าง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแส<wbr>ดง ไว้แล้วนั้น ซึ่งเป็นอุบายให้สติปัฏฐาน ๔ เกิดขึ้น ครั้นศีลบริสุทธิ์ สมาธิเกิดขึ้นก็เป็น “สัมมาสมาธิ” อันเป็นองค์อริยมรรคที่ ๘ เกิดขึ้น อริยมรรคอีก ๗ องค์มี สัมมาทิฎฐิ เป็นต้น ก็เกิดขึ้นเป็นบริวาร คือ ต้องเกิดขึ้นพร้อมกันกับสัม<wbr>มาสมาธินั้น โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๗ หมวด ๓๗ ประการ ก็ต้องเกิดขึ้นพร้อมกับสัมม<wbr>าสมาธิด้วย และสัมมาสมาธิตั้งอยู่ได้นา<wbr>นเพียงใด โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๗ หมวดก็ตั้งอยู่ได้นานเพียงน<wbr>ั้น เมื่อตั้งอยู่ได้นาน โลกียปัญญาในทางธรรม ก็เกิดเจริญขึ้นได้มาก ครั้นมีกำลังพอ วิปัสสนาก็เกิดขึ้น เมื่อวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว ยังรักษาสัมมาสมาธิไว้ได้อย<wbr>ู่ วิปัสสนูปกิเลสก็เกิดไม่ได้<wbr> วิปัสสนาจึงดำเนินไปจนอริยม<wbr>ัคคสมังคี คือ “วิชชา” เกิดขึ้น “อวิชชา” และทุกข์ก็ต้องดับไป เรียกว่า “วิมุติ” จึงประสพความสุขที่แท้จริง เพราะ “วิชชา” เกิดขึ้น

    เมื่อ “วิชชา” เกิดขึ้นครบทั้ง ๔ ขั้น “อวิชชา” ก็ดับหมดครบทั้ง ๔ ขั้น เป็นผู้หมด “อวิชชา” และหมดทุกข์ด้วย หมด “อวิชชา” ก็เป็นผู้อยู่ด้วย “วิชชา” และ “วิมุติ” เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาค<wbr>เจ้าตรัสแก่กุณฑริยปริพพาชก<wbr>ว่า “ตถาคต อยู่ด้วยวิชชาและวิมุติ” เพราะ “อวิชชา” ของพระองค์ดับหมด “วิชชา” ของพระองค์เกิดขึ้นครบทั้ง ๔ ขั้น วิมุติของพระองค์ก็เกิดขึ้น<wbr>ครบทั้ง ๔ ขั้น จึงชื่อว่า อยู่ด้วย “วิชชา” และ “วิมุติ” คือ หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเป็น<wbr>สุขอย่างยิ่ง “วิมุติ” แปลว่าหลุดพ้น “วิชชา” แปลว่า “รู้แจ้ง” สิ่งใดไม่ใช่ตน ก็รู้อย่างแจ่มแจ้งว่าไม่ใช<wbr>่ตน สิ่งใดเป็นตนก็รู้อย่างแจ่ม<wbr>แจ้งว่า นี่เป็นตน นั่นไม่ใชตน เปรียบเทียบกันได้ เอาสิ่งที่เป็นตนเปรียบเทีย<wbr>บกับสิ่งที่ไม่ใช่ตนได้ รู้ชัดเจนแจ่มแจ้งอย่างนี้เ<wbr>รียกว่า “วิชชา” เกิดขึ้น “อวิชชา” จึงดับ ตัณหา อุปาทาน และกรรมก็ดับด้วย เรียกว่า “วิมุติ” ดังนี้

    การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุมรร<wbr>คผล ถ้าทำถูกวิธีก็ไม่ใช่เป็นขอ<wbr>งยาก ทำสติสัมปชัญญะให้ตั้งอยู่ท<wbr>ี่กายที่จิต แล้วก็เจริญสติปัฏฐานอย่างใ<wbr>ดอย่างหนึ่งเช่น เดินอยู่ ก็มีสติสัมปชัญญะ รู้ชัดทั่วกายว่าเราเดินอยู<wbr>่ ยืนอยู่ ก็มีสติสัมปชัญญะ รู้ชัดทั่วกายว่าเรายืนอยู่<wbr> นั่งอยู่ ก็มีสติสัมปชัญญะ รู้ชัดทั่วกายว่าเรานั่งอยู<wbr>่ นอนอยู่ ก็มีสติสัมปชัญญะ รู้ชัดทั่วกายว่าเรานอนอยู่<wbr> ตั้งกายไว้อย่างใดๆ ก็มีสติสัมปชัญญะ รู้ชัดทั่วกายที่ตั้งไว้อย่<wbr>างนั้นๆ ด้วยจิตใจธรรมดาๆ พร้อมกับตั้งใจทำกายคงที่ ทำจิตคงที่ไว้ด้วย ทำอยู่อย่างนี้เนืองๆ อินทรียสังวร ก็จะแก่ขึ้นๆ อินทรียสังรแก่ขึ้นเท่าใด สุจริต ๓ ก็แก่ขึ้นเท่านั้น สุจริต ๓ แก่มากเท่าใด สติสัมปชัญญะที่กายที่จิตก็<wbr>จะแก่มากขึ้นเท่านั้น ทั้งกายทั้งจิตก็จะเบาสบายม<wbr>ากขึ้นเพียงนั้นด้วย ครั้นสัมมาสมาธิเกิดขึ้นได้<wbr>เมื่อใด สติปัฏฐาน ๔ ก็เกิดขึ้นพร้อมกับสัมมาสมา<wbr>ธิ ได้ทันที เมื่อสติปัฏฐาน ๔ เกิดขึ้นแล้ว ก็คงทำอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องไปนึกเอานึกละอะไร สิ่งดีที่เกิดขึ้น เราก็ไม่นึกเอา สิ่งชั่วเกิดขึ้น เราก็ไม่นึกละ อะไรจะเกิดขึ้นเราก็ดู ดู ดู ดู ดูอยู่อย่างเดียว การดูอยู่อย่างเดียวนี่เป็น<wbr> “มัชฌิมาปฏิปทา” เป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์<wbr> คือ เป็นเหตุให้อริยมัคคสมังคีเ<wbr>กิดขึ้น

    “ที่สุด ๒ อย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ” ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส<wbr>ไว้ใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร นั้นมีว่า ที่สุดสองอย่างคือ กามสุขัลลิกานุโยค ทำตนให้พัวพันอยู่ในความสุข<wbr>ทางกามอย่างหนึ่ง อัตตกิลมถานุโยค ทำตนให้เป็นทุกข์เปล่าอย่าง<wbr>หนึ่ง กามสุขัลลิกานุโยค ก็คือ สิ่งใดดีเป็นที่ชอบใจเรา เราต้องการเราอยากได้ ชื่อว่าเป็นกามสุขัลลิกานุโ<wbr>ยค ส่วนสิ่งที่ชั่วเราตั้งใจจะ<wbr>ละ ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค ที่กล่าวมานี้เป็น กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกล<wbr>มถานุโยคอย่างละเอียด ถ้ากามสุขัลลิกานุโยคอย่างห<wbr>ยาบ ก็ได้แก่ ความต้องการเพศตรงข้าม ผู้ชายก็ต้องการมีเมียมากๆ ผู้หญิงก็ต้องการผ่านผู้ชาย<wbr>หลายๆ คน ส่วนอัตตกิลมถานุโยคอย่างหย<wbr>าบก็ได้แก่ การทรมานตนเพื่อจะให้กิเลสเ<wbr>หือดแห้งไป เช่น นอนบนหนาม นอนบนร่างร้านแล้วก่อไฟไว้ข<wbr>้างใต้ ลนให้ร้อน ย่างให้ร้อน ยืนขาเดียวหรือยืนอย่างเดีย<wbr>ว ไม่นั่งไม่นอน อย่างนี้เป็นอัตตกิลมถานุโย<wbr>คอย่างหยาบ ซึ่งชาวอินเดียเขาทำกัน ถ้าเราทำสติไว้ที่กายไว้ที่<wbr>จิต รู้ทั้งภายในกาย ภายนอกกายอยู่ สมาธิเกิดขึ้น เกิดความเบาความสบาย จิตใจปลอดโปร่งเบาสบาย เราต้องการจะให้ความปลอดโปร<wbr>่งเบาสบายอยู่ที่จิตใจของเร<wbr>าตลอดวัน ตลอดคืน ตลอดเดือน ตลอดปี ตลอดชีวิต ความต้องการอยากจะให้ความสบ<wbr>ายๆ อยู่กับเราอย่างนี้แหละ เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค อย่างละเอียดแล้ว กามแปลว่าความใคร่ สิ่งน่าใคร่ทั้งปวงในโลก เป็นวัตถุกามทั้งสิ้น คือ เป็นเหตุให้กิเลสกามกำเริบ

    เมื่อใดความอึดอัดใจเกิดขึ้<wbr>น เราต้องการให้ดับไป หายไป พ้นไป หาอุบายต่างๆ เพื่อจะทำให้พ้นไป ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยคอย่าง<wbr>ละเอียด เพราะต้องการจะให้พ้นไป ความอึดอัดใจก็ไม่ดับ จึงเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค มันจะดึก็ตาม ไม่ดีก็ตาม เราดูอยู่เฉยๆ พอดูอยู่เฉยๆ สมาธิเกิดขึ้น สิ่งที่อึดอัดวุ่นวายใจจะหา<wbr>ยไป ความสบายใจก็เกิดขึ้น ครั้นความสบายใจเกิดขึ้นแล้<wbr>ว เรายังดูอยู่เฉยๆ ความสบายใจนั้นก็เพิ่มขึ้นๆ<wbr> เราก็รู้ก็เห็นสิ่งนั้นอยู่<wbr> เมื่อรู้อยู่นานๆ ก็จะรู้ว่ามันไม่เที่ยง ทีแรกมีอยู่เพียงเล็กน้อย เราดูเฉยอยู่ ก็มากขึ้นๆ แล้วก็ทรงอยู่ ต่อไปก็ดับ ก็รู้ว่าความสุขนี้ก็ไม่เที<wbr>่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ดูอยู่เห็นอยู่บ่อยๆ เข้า โลกียปัญญาแก่ขึ้นพอสมควร วิปัสสนาก็เกิดขึ้นจนถึงอริ<wbr>ยผลได้ ไม่ต้องไปนึกว่าอันนั้นไม่เ<wbr>ที่ยง อันนี้เป็นทุกข์ อันนี้ไม่ใช่ตน ดูอยู่เฉยๆ แล้วเราก็เห็นความไม่เที่ยง<wbr>ของ มัน การเห็นความไม่เที่ยง เรียกว่า พิจารณาเห็นอนิจจัง การที่เรานึกว่าไม่เที่ยงๆ นั้นไม่ใช่พิจารณาอนิจจัง คำว่า “พิจารณา” นี้เป็นภาษาบาลีที่เรารับมา<wbr>ใช้ในภาษาไทย และส่วนมากเข้าใจความหมายกั<wbr>นผิด ความจริงนั้นหมายถึง การได้รู้เห็นด้วยปัญญาของจ<wbr>ิตอย่างแจ่มแจ้ง การที่รู้เห็นความไม่เที่ยง<wbr>อย่างแจ่มแจ้งนั้นแหละ เรียกว่าพิจารณาเห็นความไม่<wbr>เที่ยง เห็นความเป็นทุกข์คือ เห็นความเปลี่ยนแปลงแปรปรวน<wbr>ไปไม่คงที่ เราดูเฉยอยู่เราก็เห็นความเ<wbr>ปลี่ยนแปลงของสิ่งนั้น เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2010
  15. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    สวยๆทั้งนั้นเลย ไม่ทราบว่าชิ้นไหนถือเป็นสุดยอดอันดับหนึ่งครับ จัดอันดับ TOP 10 หน่อยก็ดีนะครับ แหะๆ
     
  16. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    แหมมม อยากไปด้วยจัง... ไม่รู้ว่ามีอะไรแจกบ้างไหมหนอออ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 มิถุนายน 2010
  17. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    วิธีหาจิต



    โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี



    วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย



    คัดลอกจาก http://www.manager.co.th/dhamma/DhammaLeeLarView.asp?NewsID=4667136818765



    วันนี้ จะอธิบายถึงเรื่องวิธีหาจิต จิต เป็นของสำคัญที่สุด เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องมีจิตทุกคน แต่หากเราไม่ เห็นจิต เราเกิดมาก็เพราะจิต เป็นอยู่ก็เพราะจิต เราจะตายไปก็เพราะจิต จิตแท้นั้นคืออะไร จิตนี้ไม่มีตัวมีตน มองก็ไม่เห็น ความรู้สึกความนึกความคิดนั่นแหละคือ ตัวจิต เพราะฉะนั้น ลืมตาจึงมองไม่เห็น ถ้าหลับตาแล้วเห็นหรอก

    ถ้า หากเราไม่เห็นตัวจิต จิตมันจะพาเราไปเที่ยวฟอนทุกสิ่งทุกอย่าง กิเลสทั้งหลายทั้งปวงหมดเกิดจากจิตทั้งนั้น ที่ท่านพูดถึงเรื่อง เจตสิก ก็คืออาการของจิตที่เรียกว่ากิเลสทั้งหลายร้อยแปดพันประการนั้นก็เกิดจากจิต อันเดียว

    ผู้ที่รู้มากมายหลายเรื่องก็ว่าไปตามตำรา แต่ตัวจิตแท้ไม่เห็น กิเลสตัณหาก็ว่าไปตามเรื่องตามราวตั้งแต่ขันธ์ 5 อายตนะ 6 เรื่อยไป ขันธ์ 5 มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมลงมามี 2 อย่าง คือ รูปกับนาม รูปมองเห็นได้ แต่นามคือจิต มองไม่เห็น

    ทำอย่าง ไรจึงจะเห็นจิต ถ้ามิฉะนั้น จิตก็จะพาเราว่อนอยู่อย่างนั้นแหละ เที่ยวเหนือล่องใต้ไปทั่วทุกทิศทุกทาง ถ้าเราคุมจิตไม่อยู่ รักษาจิตไม่ได้ ก็จะพาให้เราทุกข์เร่าร้อน เศร้าโศกเสียใจ อาลัยอาวรณ์ ถ้าไม่มีจิตแล้ว ตัวของเราก็เหมือน กับท่อนไม้ท่อนฟืน ใครจะสับจะบั่น ใครจะเผาจะอะไรๆ ต่างๆ ไม่รู้สึกทั้งนั้น

    การปรากฏเห็นภาพทางตา เขาเรียกว่า จิต แต่คนไม่เห็นตัวจิต คือตาเห็นภาพนั่นน่ะ เข้าใจว่าจิตเห็น ไม่ใช่จิต ตาเห็นต่างหาก แสงกระทบเข้ามาก็เห็นเท่านั้น หูได้ยินเสียงก็เหมือนกัน เสียงมาเข้าหูกระทบกันเข้ามันก็ได้ยิน จมูกสูดกลิ่น ลิ้นถูก รส กายสัมผัสอะไรต่างๆ อันนั้นไม่ใช่ตัวจิต
    เป็นเรื่องกระทบกันต่างหาก กระทบกันแล้วก็หายไป ถ้าเช่นนั้น จิตมันอยู่ที่ไหน ให้ลองหาดูในตัวเรานี่แหละ หาให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง ดูว่าจิตแท้มันอยู่ที่ไหนกัน เมื่อหาจิตไม่เห็นแล้ว คนที่หาน่ะไม่เห็น คนไหนเป็นคนหา มันยังมีซ้อนอีก ใครเป็นคนค้นหา สิ่งที่ไปหานั้นเห็น แต่ผู้หาไม่เห็น อย่างว่าเห็นรูป รูปนั้นเห็นแล้ว แต่ผู้เห็นน่ะใครเป็นคน เห็น มันต้องหาตัวนั้นซีจึงจะเห็น



    จิตมันต้องเป็นหนึ่ง ถ้าไม่ใช่หนึ่งแล้วก็ไม่ใช่จิต จิตเป็นหนึ่งกลายเป็นใจละคราวนี้ ตัวจิตนั่นแหละกลายเป็นใจ อันที่นิ่ง เฉย ไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง ความรู้สึกเฉยๆ นั่นแหละมันกลายเป็นใจ จิตมันกลายเป็นใจ ในหนังสือต่างๆ ก็ พูดอยู่หรอกจิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น บางแห่งท่านก็พูดเป็นจิต บางแห่งท่านก็พูดเป็นใจ อย่างท่านพูดว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีใจอันถึงก่อน มโนคือใจ ผู้นึกผู้น้อมทีแรก นั่นแหละ ไม่ใช่คิด นึกน้อมทีแรกนั้นแหละคือตัวใจ มโนเสฎฐา มโนมยา ใจเป็นของประเสริฐ สำเร็จแล้วด้วยใจ

    ท่านพูดถึงเรื่อง มโนคือใจ คราวนี้พูดถึงเรื่อง จิต ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุ เกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐํ จิตเป็นของประสัสสร คือมันผ่องใสสะอาดอยู่ตลอดเวลา อาคันตุกกิเลสต่างหาก มันเศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา นี่พูดเรื่อง จิต ให้คิดดูว่า หากจิตเดิมเป็นของเศร้าหมองแล้ว

    ใครจะทำให้บริสุทธิ์ได้ ไม่มี เลย เหตุนั้นท่านจึงว่า ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ จิตเป็นของประภัสสรตลอดเวลา ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าจิตประภัสสร จิตกับใจเข้ามารวมกันแล้ว คราวนี้มารวมกันเข้าเป็นใจ เมื่อมันเป็นประภัสสรมันรวมกันเป็นใจ ประภัสสรนั้นหมายความถึงจิตไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่ง จึงจะเห็นจิต เรียกว่าใจ ถ้าหากยังคิดนึกปรุงแต่งอยู่มันเศร้าหมอง ถ้าจิตผ่องใสแท้มันต้องสะอาดปราศจากความคิดความนึกความปรุงความแต่งจึงเรียก ว่าใจ

    เรามาพยายามขัดเกลากิเลสตรงนั้นแหละ ตรงอาคันตุกกิเลสอันนั้น ไม่ให้มันมีไม่ให้มันเกิดขึ้นในที่นั้น จึงจะรู้เห็นสิ่งต่างๆ คำว่าใสสะอาดมันก็เห็นนะซี มันจะไม่เห็นอย่างไร น้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ย่อมมองเห็นเงาตนเองได้ เพชรนิลจินดา เขาเจียระไนแล้วเป็นของใสสะอาด เพราะ เนื้อมันเป็นของใสมาแต่เดิม ถ้าหากเป็นเหล็กก็จะไม่ผ่องใสหรอก เพราะธรรมชาติ ไม่ใช่ของใสสะอาด จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลส ออกหมด มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ คราวนี้จะไม่เรียกว่าจิต จะเรียกว่าใจ เราเรียกธรรมชาติของที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ว่าใจ
    ในขณะที่เราทำความเพียร ภาวนา ทำใจให้เป็น กลางๆ เฉยๆ สบาย มันก็ถึงใจ ความสบาย นั่นแหละเป็นใจ ความเฉยๆ นั่นแหละ เป็นใจ ไม่มีอดีตอนาคต ไม่มีบาปไม่มีบุญ ตัวเฉยๆ นั่นแหละ ไม่มีอะไรทั้งหมด ความคิดความนึกความปรุงความแต่ง มัน ออกไปจากใจ เรียกว่าจิต จิตคือผู้คิดนึก ปรุงแต่ง จิตเป็นคนสั่ง สารพัดทุกอย่างในโลก ส่วนใจสงบคงที่

    เหตุนั้นพระพุทธศาสนาจึงสอนเข้าถึงใจ คือสอนถึงที่สุด คือเข้าถึงความบริสุทธิ์นั่นเอง สุดนั้นก็คือที่สุดของทุกข์นั่นเอง ถ้าเข้าถึงใจแล้ว ไม่มีทุกข์ไม่มีร้อน ไม่ปรุงไม่แต่ง ไม่คิดไม่นึก ก็หมดเรื่องเท่านั้นละ ถ้าปรุงแต่งก็จะไปกันมากมาย หลงใหลไม่มีที่สิ้นสุด เหตุฉะนั้น จึงว่าคนเราไม่เคยเห็นใจของตน แต่ไหนแต่ไรมา เกิดก็เกิดเพราะใจ เวลาตายก็ตาย เพราะใจปรุงแต่ง คิดนึกสารพัดทุกอย่าง คนทั้งหลายโดยส่วนมากพูดกันถึงเรื่องใจทั้งนั้น พุทธศาสนาก็พูดถึงเรื่องใจ ใจบุญ ใจกุศล ใจบาป ใจอำมหิต ใจคิดประทุษร้าย สารพัดทุกใจ พูดกันถึงเรื่องความดี ความงาม ก็ใจบุญ ใจกุศล ใจใสสะอาดบริสุทธิ์ พูดถึงเรื่องใจอันเดียว

    ใจต้องเป็นอันเดียวไม่ใช่หลายอย่าง ที่หลายอย่างนั่นน่ะมันจิตต่างหาก พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงตัวหนึ่ง ตัวใจนี่แหละ จึงจะเห็นเรื่องทั้งหลายทั้งหมด ถ้าไม่เห็นตัวหนึ่งแล้วก็ไม่เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งนั้น อย่างเรานับหนึ่งขึ้นเบื้องต้น นับหนึ่งเสียก่อน หนึ่งสองหน ก็เป็นสอง หนึ่งสามหนก็เห็นสาม สี่หน ห้าหน จนถึงเก้าหน สิบหน ก็เป็นสี่ ห้า จนถึงเก้า ถึงสิบ ก็มาจากหนึ่งอันเดียวนั่นแหละ จะนับเป็นสิบเป็นร้อย
    แท้ ที่จริงก็นับจากหนึ่งอันเดียวเท่านั้น คนเราลืมหนึ่งเสีย ไปนับสอง สาม สี่ ห้า ถ้านับหนึ่งแล้วหมดเรื่อง เหตุนั้นการทำสมาธิภาวนาคุมจิตให้ถึงใจรวมเป็นหนึ่งนี่แหละ พระพุทธศาสนาสอนอย่างนั้น สอนใจอย่างเดียว คนส่วนมากเห็นว่าการทำสมาธิภาวนาไม่ใช่หน้าที่ของฆราวาสเป็นเรื่องของพระ พระบางท่านบางองค์ ก็ว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราหรอก เป็นเรื่องของพระกัมมัฏฐาน แท้ที่จริงคนเรามีใจด้วยกันทุกคน ใครเข้าหาใจได้แล้วก็เป็น กัมมัฏฐานด้วยกันทั้งนั้นแหละ เป็น ภาวนา สมาธิแล้วทั้งนั้น เว้นไว้แต่เรา ไม่ทำ

    อธิบายถึงเรื่องใจ ให้ค้นหาใจ ให้ พิจารณาเข้าถึงใจ ขอยุติเพียงเท่านี้

    (แสดงธรรม ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2524)
     
  18. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    เหมือนที่ไ้ด้บอกไปละครับ.. วัตถุมงคลพระอาจารย์.. ท่านทำและเสกไว้ครอบคลุมทุกๆๆ ด้าน.. ครับอย่างเช่นเด็กวัยรุ่น ห้อยตะกรุดจินดามณี.. แล้วขับมอเตอร์ไซค์ ไปชนกับรถสิบล้อ.. ก็ยังปลอดภัยโยไร้แม้กระทั่งบาดแผลใดๆๆ ทั้งๆๆ ที่ควจจะเสียชีวิต.. เป็นต้นครับ..

    ลองพิจารณาดูครับ..แล้วลองเลือกวัตถุมงคลที่เราชอบ และตรงกับจริต จิตใจของเรา.. เอาง่ายๆๆ ดูแล้วชอบ..

    ถ้าจะให้แนะนำ.. ก็ต้อง เหรียญยันต์ครู เหรียญนาราย์ทรงครุฑ ตะกรุดเกราะเพชร.. พระเพชรกลับ พระฤาษี.. หนุมาน.. เจ้าเงาะ. พระสังข์ ..เป็นต้นครับ
    .. แต่ก็ยังยืนยันครับ.. ของท่านดีจริงครับ.. แล้วลองเลือกวัตถุมงคลที่เราชอบ และตรงกับจริต จิตใจของเรา..
     
  19. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    พิธีนี้.. สืบเนื่องจากผมถามท่านเรื่อง น้ำมนต์เปิดโลกหนุนดวงที่พระอาจารย์สงเคราะห์ให้เป็นบุคคลๆไป.. ท่านได้เล่าเรื่องพิธีเต็มของน้ำมนต์เปิดโลกหนุนดวง..ที่ท่านได้เรียนมาจากหลวงพ่อฟัก วัดเขาวงศ์พระจันทร์ ..เห็นว่าเป็นพิธีที่ดีทีประกอบด้วย พิธีเปิดโลก เสดาะเคราะห์ หนุนดวง หนุนโชค หนุนลาภ พร้อมกับการถวายปัจจัย ไทยทาน และ สังฆทาน แก่คณะสงฆ์ จึงได้ขอความเมตตาท่านให้จัดพิธีขึ้นมาอีกครั้ง

    ส่วนของแจกมีแน่นอนครับ.. ที่แน่ๆๆ ก็คือ ตะกรุดหงสาวดี ครับ..
     
  20. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    พุทธาภิเษกตนเอง
    พระธรรมเทศนาโดยพระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อบุญเพ็ง กัปปโก)
    วัดป่าวิเวกธรรม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    เทศนา ณ วัดอโศการาม จังหวัด สมุทรปราการ
    พุทธาภิเษกตนเอง
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริงติ อิมัสสะ ธัมมะปะริยายัสสะ อัตโถ สาธายัสมันเตหิ สักกัจจัง ธัมโม โสตัพโพติ
    อันดับต่อไปนี้ จงพากันตั้งใจสดับตรับฟังพระสัทธัมเทศนา อันเป็นศาสนธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้า พอเป็นเครื่องเตือนสติปัญญาของพุทธบริษัททั้งหลายที่ได้มาฟังธรรมพร้อมไปด้วยการบำเพ็ญภาวนา การฟังจำเป็นที่ เราจะต้องมีความตั้งใจ ก่อนที่เราจะฟังธรรมที่ประกอบไปด้วยความตั้งใจ เราก็ต้องอาศัยศรัทธา ศรัทธาเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเราในการที่จะทำสิ่งที่จะเป็นบุญเป็นกุศล แม้กระทั่งที่เรามานั่งภาวนาปฏิบัติธรรมพร้อมด้วยการฟังธรรม ก็จำเป็นจะต้องอาศัยศรัทธาความเชื่อ เราจะต้องเชื่อมั่นในตัวเอง ว่าการปฏิบัติจะต้องเป็นผลสำหรับผู้ปฏิบัติ เชื่อว่าเราจะต้องได้รับผลจากการกระทำของเรา ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่ได้ตรัสไว้ดีแล้ว นอกจากศรัทธาเราจะต้องมีขันติ คือความอดและความทน เรื่องความอดทนก็เป็นปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติ ถ้าขาดความอดทน การปฏิบัติหรือว่าการงานนั้นก็คงหาความสำเร็จได้ไม่ เมื่อธรรมทั้งหลายนั้นพร้อมแล้วกับเรา และเราพร้อมด้วยธรรมดังกล่าวนี้แล้ว จากนั้นเราจะสรรหาสิ่งที่เป็นสาระประโยชน์ในตัวเอง คือ การปฏิบัติธรรม หมายถึง การสรรหาธรรมอันเป็นสมบัติที่มีอยู่กับตัวของเรา
    การสรรหาธรรมก็จะต้องใช้วิจารณญาณ ได้แก่ ปัญญาของเราให้รอบคอบ เมื่อเราตั้งวิจารณญาณให้รอบคอบดีแล้ว ต่อจากนั้นเราก็จะกำหนดตามอาการของจิต คือการปฏิบัตินั้นเราก็มิได้ มุ่งประสงค์อะไรนอกจากจิตของเราเท่านั้น เพราะการทำความดี ทุกอย่าง ก็เพื่อจะหาความดีให้จิต เพื่อจะทำจิตของเราให้ดี เมื่อเราประสงค์ที่จะให้จิตของเราดี เราจะต้องรักษาจิตของเราให้ดี การรักษาจิตนี้แหละเป็นปัจจัยสำคัญของการปฏบัติธรรม เราจะต้องสำรวมจิต การสำรวมจิตก็คือการรักษาจิต
    จิตนั้นอยู่ที่ไหน เราเห็นแล้วหรือไม่ จิตนั้นก็ไม่ได้อยู่ที่ไกล ทุกคนจะต้องมีจิต จิตก็คือใจ ใจก็คือจิต เราเอาแบบง่าย ๆ นี้เสียก่อน เดี๋ยวจะสงสัย จิตก็คือใจ ใจก็คือจิต ซึ่งก็พร้อมที่จะอยู่กับเรา เราก็ต้องรักษาจิต หรือสำรวมจิต
    ที่นี้จะรักษาอย่างไร การรักษาจิตนั้นก็คือการภาวนา การภาวนานั้นเป็นอย่างไร ก็เหมือนอย่างเราท่านทั้งหลายที่นั่งอยู่เดี๋ยวนี้ คือ นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้ายมือเบื้องขวาทับมือเบื้องซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก แล้วก็บริกรรมพุทโธ บริกรรมพุทโธในจิต เพื่อให้จิตของเราอยู่กับ พระพุทธเจ้า เพราะพระองค์เป็นนาถะ คือเป็นที่พึ่ง เราก็ควรที่จะเสกสรรจิตของเราให้อยู่กับพระพุทธเจ้า เสกสรรจิตของเรานั้นให้เป็นพุทธะ ให้เป็นพุทโธ เราจะไม่เสกสรรอะไรอย่างอื่น เราจะกำหนดจิตของเราและเสกคาถาในจิตของเรา คือ พุทโธเท่านั้น เราจะไม่นำเรื่องอะไร ต่าง ๆ เข้ามาคิด และเราจะไม่สนกับเรื่องอะไรนอกจากพุทโธ เราจะดึงพุทโธนั้นเข้าหาจิต และดึงจิตของเราเข้าหาพุทโธ เพราะว่าพุทโธนั้นได้แก่ คุณของพระพุทธเจ้า คุณของ พระพุทธเจ้านั้นอยู่ที่ไหน คุณของพระพุทธเจ้าก็อยู่ที่ใจเรา พระพุทธเจ้าท่านคอยเราอยู่เสมอ คอยเราอยู่ที่หัวใจเรา แต่พวกเรานั้นโดยมากมักจะไม่เข้าไปหาท่าน ยังคิดว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ประเทศอินเดีย หรือว่าพระพุทธเจ้านั้นอยู่ที่ปรินิพพาน แต่แท้จริงพุทธะคือผู้รู้องค์นี้ที่อยู่กับเรา พุทธะองค์นี้ที่คอยเราอยู่ แต่เรานั้นไม่ค่อยเสกสรรจิตของตัวเองให้เป็นพุทธะขึ้นมา เราไม่ได้เข้าไปหาท่าน มีแต่ออกไปหาข้างนอก คิดว่าท่านอยู่ในถ้ำ คิดว่าท่านอยู่ในป่าดงพงลึก แต่แท้จริงนั้นพุทธะคือพระพุทธเจ้าองค์นี้ประจำกับพวกเราทุกท่าน แต่เราก็ไม่ได้เข้าไปหา มีแต่หาออกไปข้างนอก แทนที่เราจะมาเสกสรรจิตของเรานี้ให้เป็นพุทธะ คือพุทโธขึ้นมาเราก็ไม่ได้นึก ไม่ได้คิดกัน
    การเสกสรรจิตของตัวเองให้เป็นพุทธะนั้นเป็นของประเสริฐยิ่งนัก แม้แต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ก็ทรงสรรเสริฐ สาวกผู้ใดที่เสกสรรพุทธะให้มีในจิตของตัวเองแล้ว พระองค์ก็ทรงยกย่องว่า ท่านผู้นั้นเป็นผู้ประเสริฐ
    เมื่อทราบว่า การปฏิบัติศาสนธรรม คือ การเสกสรรจิตของตัวเองเท่านั้น จำเป็นหรือเราจะส่งจิตหนีจากตัวเอง จำเป็นหรือเราจะส่งจิตของเราออกไปข้างนอก สมควรอย่างยิ่งที่จะเสกสรรจิตของเราให้อยู่กับที่ คือให้อยู่กับตัวเอง อย่าให้มันไป จะไปที่ไหนก็ตาม เราจะต้องรักษาคือ สกัดเอาไว้ด้วยสติ สติอยู่ที่ไหน สติก็อยู่ที่ใจนั้นแหละคล้าย ๆ กับว่าเอาตัวเองรักษาตัวเอง ก็ใจนั้นมีสติ ก็เอาสติที่มีอยู่กับตัวเองรักษาตัวเอง แล้วก็เสกพุทโธลงไป เสกให้มากเท่าที่จะมากได้ ถ้าใครอยากเจอของดีอันที่มีในตัวเอง ไม่จำเป็น กับเรื่องอื่นคือเราเสกพุทโธให้มาก เรียกว่า พุทธาภิเษกตัวเอง เสกตัวเองให้เป็นพุทธะ
    การพุทธาภิเษกวัตถุนั้น เราก็ยังพุทธาภิเษกให้ดีขึ้นได้ เราจัดพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทอง หรือปั้นด้วยปูนเป็นรูปของพระพุทธเจ้า เราจัดพิธีขึ้นแล้วก็สวดพุทธาภิเษกกัน แล้วก็ นั่งปรกกัน พระพุทธรูปที่หล่อไปด้วยทองและปั้นไปด้วยปูนนั้น หรือแกะสลักด้วยไม้นั้น เราก็ยังถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ถือว่าเป็นวัตถุที่ควรสักการะ เราก็ยังสักการะกราบไหว้ท่านอยู่ แล้วก็ยังถือว่าเป็นของดีและเป็นของประเสริฐได้ การพุทธาภิเษกตัวเองก็ไม่ได้ทำอะไรให้มาก ไม่มีพิธีรีตองอะไรให้มาก เพียงแต่นั่งหลับตา และกำหนดจิตของตัวเองเสกพุทโธ คือ บริกรรมพุทโธเท่านั้น การพุทธาภิเษกตัวเองนี้เป็นการเสกสรรอันประเสริฐ เป็นการที่เสกสรรยังความดีให้บังเกิดขึ้นกับตัวเอง จึงจัดว่าเป็นพุทธาภิเษกชั้นยอด
    ดังนั้น พวกเราทั้งหลายทุกท่านควรพุทธาภิเษกตัวเอง พุทธาภิเษกตัวเองก็คือ นั่งหลับตา และเสกพุทโธไป ทำได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งยืน ทั้งเดิน ทั้งนอน ทั้งนั่ง คือ ยืนเราก็เสกได้ นั่งเราก็เสกได้ นอนเราก็เสกได้ เดินเราก็เสกได้ เมื่อเราพุทธาภิเษกตัวเองแล้วผลของการพุทธาภิเษกตัวเองคืออะไร ความศักดิ์สิทธิ์ของการที่เราพุทธาภิเษกตัวเองนั้น ที่เราจะได้รับคือ ความสงบ เป็นเบื้องต้น เมื่อมีความสงบเราก็มีความสุข มีความสบายในจิต จิตเรามีความสงบสุขสบายเป็นพื้นฐาน มีสมาธิเป็นที่ตั้ง นี้เแหละผลของการพุทธาภิเษกตัวเอง เมื่อจิตของเรามีความสงบสุขสบายและตั้งมั่นเป็นสมาธิ ก็แสดงว่าเราตกเข้าไปในรัศมีของพระพุทธเจ้าแล้ว ระยะนี้การพุทธาภิเษกตัวเองของเรานั้นกำลังจะแสดงผลปรากฏ แก่เรา เราจะรู้คุณค่าของการพุทธาภิเษกในตัวเอง เราจะเห็นความดีในตัวเองที่เกิดขึ้น ผลอันที่เราจะต้องพึงได้ ได้แก่ ความสุข ปีติ และความอิ่มใจ เมื่อเราได้รับผลคือ ความสุขปีติ และความเอิบอิ่มใน ตัวเองแล้ว ศรัทธาคือ ความเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะมากขึ้น เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ เราจะเห็นคุณค่าธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในเมื่อเราได้ตกเข้าสู่กระแสธรรมของพระพุทธเจ้า ได้แก่ ความสงบ
    รัศมีของพระพุทธเจ้าก็ดี กระแสธรรมของพระพุทธเจ้าก็ดี ถือว่าเป็นอันเดียวกัน เมื่อลงไปรวมกันที่จิตแล้วก็แยกกันไม่ออก เพียงแต่ว่าแยกพูด เหมือนคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีมาก ถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ แต่เมื่อมารวมกันแล้วก็รวมไปที่จิตใจของเราเท่านั้น เมื่อจิตของเรามีความสุขสบายและตั้งมั่นด้วยความสงบสุข เรียกว่า สมาธิ เรียกว่าเราเข้าสู่กระแสธรรม หรืออยู่ในรัศมีของพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจที่เราได้พุทธาภิเษกตัวเอง หรือว่าเสกสรรตัวเองให้ได้เป็นพุทธะ คุณของพระพุทธเจ้านั้นก็จะปรากฏในจิต คุณของพระธรรมนั้นก็จะปรากฏในจิต คุณพระ- อริยสงฆ์นั้นก็จะปรากฏในจิต เรียกว่า รวมเข้าในมโนธาตุคือ ใจของเราแห่งเดียว เพราะฉะนั้นการที่นักปราชญ์บัณฑิตสอนให้เราเจริญภาวนานั้น ก็เพื่อว่าจะให้ใจของเรานั้นเข้าไปสู่จุดของกระแสธรรม จุดของรัศมีแห่งพระพุทธเจ้าอันที่มีแล้วในหัวใจ ถ้าใจของเราทุกคนมีความสงบตั้งมั่นคุณสมบัติของธรรมนั้นก็มีกันทุกหัวใจ แต่ข้อสำคัญคือใจเราที่ยังไม่สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิที่ทำให้เรายังไม่เห็นอะไรในตัวเอง ยังไม่เห็นพระพุทธเจ้า คือ พุทโธอยู่ในตัวเอง ต่อเมื่อเราทำใจของเราให้สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว เราจะอ๋อ ! ! คุณของพระพุทธเจ้าอยู่ตรงนี้ พระธรรมเจ้าก็อยู่ตรงนี้ พระอริยสงฆ์ก็อยู่ตรงนี้ เราจะอ๋อเลย เราจะไม่ได้ไปหาที่อื่นไกล
    พอรู้ว่าท่านทั้งสามนี้ท่านตั้งถิ่นฐานอยู่กับใจของเราแล้ว เมื่อรู้ว่าท่านทั้งสามอยู่กับเราแล้ว เราจะไม่ไปหาที่อื่น และจะไม่ส่งจิตของเราไปที่อื่น เราจะหาที่จิตของเรา จะรักษาจิตของเราให้อยู่กับท่านด้วยการที่เราเสกสรรจิตของเราให้เป็นพุทโธ นี้เรียกว่าการรักษา เมื่อเราได้พุทโธแล้วก็เป็นของที่มีคุณค่ามาก ไม่มีอะไรที่จะเปรียบเทียบได้ เราจะเห็นความดีในจิตของเรา เมื่อเราเห็นว่าความดีทั้งหลายมีอยู่ที่จิตของเรา ต่อนั้นไปเราก็จะได้ตั้งใจหาเฉพาะเจาะจงลงตรงที่ใจของเราที่มันรู้อยู่ในขณะนี้ เจาะโดยวิธีไหน ก็เจาะโดยวิธีที่เราจะต้องบริกรรมพุทโธหรือว่าพุทธาภิเษกตนเอง เราอย่าเอาอย่างอื่นมาแทรก แม้แต่ความคิดต่าง ๆ ที่จะคิดขึ้นมาเราก็ระงับไว้ก่อน ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ก็อย่าไปคำนึง ทั้งที่ส่วนดีและทั้งที่ไม่ดี เราก็อย่าเพิ่งนำเอามา คือ เราตัดกระแสจิตของตัวเองด้วยปัญญาในขณะนั้น และเราก็ขยับพุทโธเข้าไป เอา พุทโธนั้นให้ยั้งตัวให้ได้ เสกพุทโธในจิตของเรานั้นให้ได้ เราอย่าไปเอาเรื่องอื่น ถ้าจิตของเรามีความสงบแล้ว เราจะมานั่งภาวนา เท่าไรเราก็นั่งได้ คือว่านั่งสบาย ตัวเบาและใจเบา นั่งแล้วก็ไม่มีความเดือดร้อน นั่งแล้วก็ไม่มีความอึดอัด นั่งแล้วก็ไม่รำคาญ นั่งแล้วก็ไม่เจ็บโน้นปวดนี้ ในเมื่อจิตมีความสงบแล้ว มันไม่มีการ ที่ทำให้เราอึดอัด เรียกว่า เรานั่งได้สบาย เรามาทุกวันเราก็นั่งได้ ทุกวัน
    ยิ่งนั่งเราก็ยิ่งสบาย ยิ่งนั่งเราก็ยิ่งมีความสุข ยิ่งนั่งเราก็ยิ่งมีความรู้และปัญญาเกิดขึ้นในตัวเอง เรียกว่า ปัญญาเกิดขึ้น โดยอัตโนมัติในความสงบนั้นมันรู้ของมันเอง มันเห็นของมันเอง นิมิตหรือมโนภาพ มันเกิดขึ้นแล้วมันก็หายไป มันเกิดขึ้นอีกแล้วมันก็หายไป หากเห็นก็เป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องเป็นนิมิตเครื่องหมายมาให้เราเห็น จะเป็นห้วยหนองคลองบึง ป่าไม้ ภูเขา อาคารบ้านเรือน วัดวาอารามก็แล้วแต่ ตลอดถึงสัตว์ บุคคล ที่จะเป็นนิมิตมาให้เราเห็น เราก็เป็นแต่เพียงรับรู้ รู้ว่านี้เป็นแต่เพียงนิมิตเครื่องหมาย เราก็ไม่ได้เอานิมิตนั้นออกมาได้ ก็ได้แต่เพียงว่าเราเห็น แล้วสิ่งเหล่านั้นก็หายไป หมดไป แต่สำหรับใจที่มีความสงบอยู่นั้น มันก็เห็นด้วยความสุข เห็นด้วยความสบาย ไม่ใช่ว่าเห็นแล้วจะเป็นทุกข์ หรือว่าเห็นด้วยความเป็นทุกข์ใจ หาได้เป็นอย่างนั้นไม่ มันมีความสุขในตัวเอง มันก็เห็นด้วยความสุข สิ่งเหล่านั้นมันผ่านมาแล้วก็ลบไป อย่างอื่นก็เข้ามาแทน บางทีก็หายไปเลย จิตนั้นก็มีความสงบอยู่ หรือไม่ก็สว่างอยู่ เป็นแสงสลัว ๆ และนวลขาวไปหมดอย่างนี้ก็มี มันเป็นเรื่องของความสงบที่เกิดขึ้นในตัวเอง คือเป็นเรื่องของจิต แต่เราก็ไม่ได้มีความกลัวอะไร เราก็ไม่ได้มีวิตกกังวลอะไร โทษอะไรก็ไม่มี แล้วมันก็หายของมันไป นี้เรียกว่านิมิต
    ที่เราเห็นนิมิตก็ไม่ใช่อย่างลืมตาดูเหมือนของภายนอก ให้มีความสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิให้มีความสว่างในตัวเองเสียก่อนจึงจะเห็น ความสุขก็มีในตัวเอง เพราะจิตมีความสงบ ไม่มีโทษอะไร ยิ่งเราทำไปยิ่งมีความสงบเท่าไร จิตนั้นก็ยิ่งมีผลลัพธ์ดีขึ้นมาก เท่านั้น แต่ก็ต้องให้มีความสงบติดต่อกันไปเรื่อย ๆ อย่างวันนี้นั่งให้มีความสงบ วันพรุ่งนี้มานั่งก็สงบต่อไปอีก มะรืนก็สงบต่อไปอีก ถ้าลักษณะนี้จิตของเราก็จะมีความละเอียดไปด้วยความสงบนั้น แต่ก็ไม่ได้อยู่คงที่ วันนี้ดีเท่านี้ ถ้าสงบอีกก็ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าลักษณะนี้จิตของเราก็จะมีความละเอียดไปด้วยความสงบนั้น แต่ก็ไม่ได้อยู่คงที่ วันนี้ดีเท่านี้ ถ้าสงบอีกก็ดียิ่งขึ้นไปอีก เรียกว่าดีขึ้นโดยลำดับๆ
    ในขณะที่จิตของเรามีความสงบ เราจะได้เห็นด้วยตนเองและได้รู้ด้วยตนเอง นี่เรียกว่า นิมิต ซึ่งเกิดขึ้นในจิต จิตของเราก็ได้ประสบกับของที่เราไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น เราไม่คิดว่าจะมีมา แต่มันก็มีมาได้ เพราะอะไร ก็เพราะจิตของเรานั้นมีพุทธะ คือจิตได้ตั้งมั่นอยู่ในความเป็นพุทโธ เมื่อจิตของเรามีพุทโธอยู่แล้ว เราเชื่อได้ว่าพระพุทธเจ้านั้นเป็นสรณะและที่พึ่งของเรา เมื่อเราเชื่อในพระพุทธเจ้าแล้ว อะไรหรือจะมาทำลายเราได้ จิตเราก็ไม่กลัว ต่อเมื่อจิตของเราเป็นพุทธะแล้ว จะไปหวั่นไหวอะไร ก็เราพึ่งพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้ามีแล้วในจิตของเรา เราจะกลัวอะไร ก็เราเป็นศิษย์ของตถาคต พระตถาคตก็ย่อมรักษาเรา เราก็เป็นลูกของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ต้องรักษาเรา สิ่งใดในโลกที่จะทำลายพระพุทธเจ้าได้ มันไม่มี เมื่อเราได้เข้าถึงท่านแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะมาทำลายเราได้ เราก็ไม่กลัว เมื่อจิตไม่กลัวนั้นแหละเราจะเดินจิตได้สะดวก คือ ไม่สงสัย และมั่นใจว่าไม่มีอะไรที่จะมาทำให้เราเสียหายได้
    นั่นและถ้าเรายิ่งทำก็ยิ่งดี เมื่อเราทำดียิ่งขึ้นจิตก็ยิ่งดีขึ้น เรียกว่าเราตกเข้าไปสู่กระแสธรรม เมื่อเราตกเข้าไปสู่กระแสธรรม ธรรมก็จะต้องบังเกิดขึ้นกับจิตเรา เมื่อจิตของเราบังเกิดขึ้นซึ่งธรรม ความเป็นศีลเป็นธรรมในจิตของเราก็พร้อม ศีลธรรมพร้อมในจิตของเรา เมื่อจิตของเราเป็นธรรม ธัมโม หะเว รักขติ ธัมมะจาริง ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม ธัมโม สุจิณโณ สุขมา วะหาติ ธรรมที่ปฏิบัติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ พระธรรมรักษาก็เพราะการปฏิบัติดี เมื่อปฏิบัติธรรมดีแล้วก็ย่อมจะนำมาซึ่งความสุข
    มันอยู่ตรงนี้ไม่ใช่ว่าอยู่ที่อื่นไกล อย่าไปบรรยายอะไรให้มันมาก มันจะลำบาก การปฏิบัติของเราก็ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรกันแน่ และจะทำกันตรงไหนแน่ ก็เลยไม่รู้จักจุดหมายปลายทาง และจุดดีจุดเด่นไม่รู้ว่าจะปฏิบัติกันอย่างไร ได้ผลยังไงก็เลยไม่รู้เรื่อง พระธรรมที่จะต้องรักษาจะรักษาอย่างไรก็เลยไม่รู้ และการปฏิบัติธรรมดีแล้วย่อมนำมาซึ่งความสุขก็เลยไม่รู้เรื่องอีก เพราะเรานั้นไม่ได้มุ่งถึงจิตเราเองนั้นเป็นเป้าหมาย และไม่เอาจิตของตัวเองนั้นเป็นที่ตั้งแห่งธรรมทั้งหลาย เราคิดว่าธรรมนั้นอยู่ข้างนอก และไม่เอาตัวของตัวเองเป็นธรรม ไม่เอาตัวของตัวเองเป็นตัวศีลตัวธรรม เป็นก้อนศีลก้อนธรรม ก้อนสวรรค์นิพพาน เราอย่าไปคิดว่าตำรานั้นเป็นสวรรค์ ตำรานั้นเป็นเมืองนิพพาน ไม่ใช่อย่างนั้น ตำรานั้นเป็นผู้ที่ชี้แนะให้เราไปสวรรค์ ตำรานั้นเป็นผู้ชี้แนะให้เราไปนิพพาน ตำรานั้นชี้แนะให้เราไปที่ไหน ให้ไปตรงไหน ตำรานั้นก็ชี้แนะเข้ามาหาเราว่าสวรรค์นั้นก็อยู่ตรงนี้ นิพพานนั้นก็อยู่ตรงนี้ ท่านไม่ได้ชี้ไปที่อื่น
    คำสอนของพระพุทธเจ้าแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น ท่านชี้เข้ามาหาเราหมด ศีล ๕ นั้นเราจะเอาตำราเป็นศีล หรือเอาตัวเราเป็นศีล ศีล ๘ เราจะเอาตำราเป็นศีล หรือเอาตัวเราเป็นศีล ศีล ๑๐ ก็เช่นเดียวกัน ศีล ๒๒๗ ก็เช่นเดียวกัน เราจะเอาตำรานั้นหรือเป็นศีล หรือเอาตัวเราเป็นศีล เอาตำราเป็นศีล ตำราก็ไม่ได้รักษาศีล เมื่อตำราไม่ได้รักษาศีล แล้วใครเป็นผู้รักษาศีล ก็ตัวเรานั้นแหละเป็นผู้รักษาศีล เมื่อตัวเราเป็นผู้รักษาศีล ทีนี้อะไรเป็นศีล ก็ตัวเราทั้งหมดนั้นแหละเป็นตัวศีลและเป็นตัวธรรม จึงจัดได้ว่าเป็นก้อนศีลก้อนธรรมในตัวเราทั้งหมดนี้ ก็พวกเรานี้แหละเป็นผู้รักษาศีล ๕ ก็พวกเรานี้แหละเป็นผู้รักษาศีล ๘ ก็พวกเรานี้แหละเป็นผู้รักษาศีล ๑๐ ก็พวกเรานี้แหละเป็นผู้รักษาศีล ๒๒๗ ไม่ใช่ตำรารักษาศีล ตำรานั้นชี้บอกมาว่าศีลนั้นอยู่กับตัวของเธอ ศีลนั้นก็อยู่กับตัวของท่าน ตำราบอกมา ที่นี้เราเมื่อรับตำราว่าอย่างนั้น เราก็เลยมารักษาตัวศีล มารักษาตัวธรรม กายของเราก็ไม่ได้ฆ่าสัตว์ กายของเราก็ไม่ได้ลักทรัพย์ กายของเราก็ไม่ได้ประพฤติผิด วาจาเราก็ไม่ได้ไปโกหกพกลม ตัวเราก็ไม่ได้ดื่มสุราเมรัย นี่มันรักษาตัวเองหรือรักษาศีล ถ้าพูดกันอย่างตรง ๆ แล้วคือรักษาตัวเอง ก็พูดอย่างตรง ๆ ตัวเองก็คือตัวศีล ทีนี้เราจะไปที่ไหน บุญ บาป ตัวบุญ ตัวบาป เราจะเอาตำรานั้นหรือเป็นตัวบุญ เราจะเอาตำรานั้นหรือเป็นตัวบาป ตำราไม่ใช่บาป ตำราไม่ใช่บุญ ตำรานั้นก็ชี้มาหาเรา ถ้าเราล่วงเกินศีล จะเป็นศีลอะไรก็ตาม เมื่อเราทำผิดศีล เราไม่รักษาตัวของเรา ในตำราก็บอกว่าตัวผู้นั้นก็เป็นบาปเกิดจากตัวผู้นั้นไม่รักษาตัวเอง ก็ตัวเองนั้นเป็นตัวบาป ตัวบุญก็ตัวเองนั้นรักษาตัวเองไม่ไปฆ่าสัตว์ ไม่ไปลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิด ไม่มุสาวาท ไม่ด่าไม่ว่า และไม่ดื่มสุราเมรัย มันก็เป็นบุญ แล้วตัวบุญอยู่ที่ไหน ตัวบาปอยู่ที่ไหน สรุปแล้วก็คือว่าตัวของเรานั้นเป็นตัวบาปและตัวบุญ เป็นได้ทั้งบาปและเป็นได้ทั้งบุญ แล้วเราจะไปหาตัวบาปที่ไหน ไปหาตัวบุญที่ไหน
    แม้กระทั่งถึงว่าเป็นผี ผีอยู่ที่ไหน ผีก็คือตัวเรา ถ้าอยู่มีเนื้อมีหนังเขาก็ถือว่าเป็นคน แต่พอตายเท่านั้นแหละนอนเอกเขนก เขาเอาใส่หีบใส่โลงแล้วก็ยกเข้าไปสู่กองไฟเขาก็เผา ส่วนร่างกายเขาก็เผา ส่วนวิญญาณที่ออกไปนั้นถ้าออกไปเสวยบาปที่ไม่รักษาศีล ไปเป็นเปรตก็ดี ไปเป็นอสูรกายก็ดี ไปเป็นสัตว์นรกก็ดี นี่เขาเรียกว่าผี แล้วใครเป็นผี ก็ตัวเรานี้แหละเป็นผี พูดกันอย่างตรง ๆ ผีก็คือตัวเรา ผีก็ไปจากมนุษย์ ทีนี้ถ้าทำดีก็ไปเป็นเทวดา ไปสวรรค์ ไปอยู่ชั้นจาตุมมหาราชิกา ไปดาวดึงส์ ไปยามา ไปดุสิตา ไปนิมมานรดี ไปปรนิมมิตวสวดี ก็ใครไป ก็วิญญาณอันนี้ไปสู่สุคติ เรียกว่าตัวบุญ ตัวบุญก็คือใคร ก็คือเรา เมื่อทำดีแล้วก็ย่อมไปสู่สุคติ เมื่อทำชั่วแล้วก็ย่อมไปสู่อบาย ทีนี้เป็นใคร ก็เป็นตัวเรามิใช่หรือ เป็นตัวมนุษย์มิใช่หรือ เราก็เป็นมนุษย์ เราก็เป็นคน ขณะนี้เรายังมีชีวิตอยู่ เรียกว่าเรายังเป็นคนอยู่ จะไปเป็นผีก็ยังหาใช่ไม่ จะไปเป็นเทวดาก็ยังหาใช่ไม่ แต่ก็จะต้องไปแน่ ๆ ไม่เป็นอย่างหนึ่งก็ต้องเป็นอย่างหนึ่ง นี่ก็แสดงว่าตัวเราเป็นตัวบาป เป็นตัวบุญนั้นแหละ ตัวบุญอยู่ที่ไหนตัวบาปอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่ตัวเรา
    ทีนี้ตัวมรรคตัวผลก็คือตัวเรา เมื่อทำใจของเราให้มีความสงบเป็นสมาธิอันกล้าแล้ว จิตมันชำระตัวเองออกจากกิเลสได้แล้ว มันก็เข้าสู่องค์มรรคองค์ผล ก็จิตตัวเดียวนี้แหละ ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าถึงจะมากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ตาม ต่อเมื่อเรามาทำใจของเราเป็นหนึ่งได้แล้ว เป็นสมาธิได้แล้ว ธรรมก็จะมารวมอยู่ที่จุดเดียว คือใจของพวกท่านทั้งหลายนี้ จะเป็นใครก็ตาม จะเป็นบรรพชิตหรือพระสงฆ์องคเจ้าก็ตาม จะเป็นขาวเป็นชีก็ตาม ก็มีสิทธิที่จะต้องเป็นได้ ก็เพราะมีใจอันเดียวกัน ผิดแต่เพศ ผิดแต่ร่าง เพศหนึ่งเป็นเพศชาย เพศหนึ่งเป็นเพศหญิง แต่สำหรับใจนั้นอย่างเดียวกัน คือสภาพที่รู้อันเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงมีสิทธิไปสวรรค์ได้ มีสิทธิไปสู่พรหมโลกได้ มีสิทธิที่จะต้องทำตนให้ถึงซึ่งพระนิพพานได้ มีสิทธิเสรีเสมอกัน และก็มีสิทธิไปสู่อบายภูมิได้ คือว่าไปตกนรกได้ ไปเป็นเปรตได้ ไปเป็นอสุรกายได้ ไปเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ มันก็ไปได้อย่างเดียวกันเมื่อมันออกจากร่างของมนุษย์นี้แล้วมันจะไปตามหน้าที่หรือตามคติกรรมของเขาซึ่งเขาได้ทำไว้แล้ว คือมันส่งผลไปเอง โดยไม่มีใครชี้บอกเขา เขาไปเอง นี้แหละตัวบุญตัวบาปก็อยู่กับเรา ตัวมรรคตัวผลก็อยู่กับเรา ตัวศีลตัวธรรมก็ตัวเรา ก้อนศีลก้อนธรรมก็คือเรา
    เมื่อเรารู้ว่าก้อนศีลก้อนธรรมก็คือตัวเรา ตัวมรรคตัวผลก็คือตัวเรา ทีนี้เราจะไปหาที่ไหน จะไปหาศีลที่ไหน จะไปหาธรรมที่ไหน จะไปหามรรคที่ไหน จะไปหาผลที่ไหน จะไปหาสวรรค์ที่ไหน จะไปหานิพพานที่ไหน ถ้าเราไม่พุทธาภิเษกหาตัวเองแล้วเราจะไปหาที่ไหน มันจำเป็นอยู่แล้วที่จะต้องพุทธาภิเษกตัวเองนี้ให้เป็นศีลเป็นธรรมขึ้นมา เมื่อเราเป็นศีลเป็นธรรมขึ้นมาแล้ว ศีลธรรมนั้นแหละที่จะนำให้เราเป็นพุทธะ เราเสกตัวเองนี้ให้เป็นศีลเป็นธรรมขึ้นมา จิตของเรานั้นก็เป็นพุทธะ ก็คือเป็นพระพุทธเจ้าเหมือนอย่างองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่เบื้องต้นพระองค์ก็พร้อมไปด้วยกายกับจิต พระองค์ก็ยังไม่ได้ขนานนามพระองค์ว่าเป็นพุทธะ หรือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อเมื่อพระองค์มาพุทธาภิเษกตนเองให้ได้บรรลุยังจิตของพระองค์ให้ประกอบไปด้วยคุณธรรม มีมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ พระองค์จึงได้ประกาศว่าพระองค์นั้นเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ คือเป็นผู้ที่ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง นี้แหละจึงได้เรียกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือเรียกว่าพระพุทธเจ้า ก็หมายถึงว่าพระองค์ได้บรรลุธรรม มีธรรมในมโนธาตุหรือในฤทัยใจของพระองค์ ใจของพระองค์เต็มไปด้วยคุณธรรมทั้งหมด เต็มไปด้วยศีลธรรมทั้งหมด ถ้าไม่มีศีลไม่มีธรรมจะเรียกว่าพระพุทธเจ้าได้อย่างไร คนขี้เหล้าเมายาจะไปเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร คนมีกิเลสตัณหามานะทิฐิจะไปเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร เป็นไม่ได้ จะต้องประกอบไปด้วยความเป็นศีลเป็นธรรมใจจิตทั้งหมด นั้นจึงได้ยกว่าเป็นพระพุทธเจ้า
    ดังนั้นเมื่อเรามาเสกสรรจิตของเรานี้ให้เป็นพุทธะ เสกจิตของเราให้เต็มไปด้วยคุณธรรมได้แก่ความสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตนั้นได้รู้แจ้งแสงสว่างในตัวเองสามารถที่จะมองเห็นโทษของกิเลส สามารถที่จะมองเห็นโทษของการละเมิดศีล จิตนั้นก็จะต้องอยู่ในคุณสมบัติในทางสุจริตเพราะได้เห็นโทษตัวเองในทางจิตแล้ว จิตนั้นก็จะมุ่งเข้าไปสู่ความสุจริตอันประกอบไปด้วยความสงบ ความสงบนั้นเป็นสาเหตุที่จะทำให้จิตของเรานั้นมีความสุจริต เมื่อจิตของเรามีความสุจริตเห็นโทษในการที่ล่วงละเมิดข้อศีลต่าง ๆ จิตนั้นก็จะได้ระมัดระวังรักษาตนเองและอยู่ด้วยความเป็นศีลธรรม เมื่อจิตอยู่ด้วยความเป็นศีลธรรม จิตก็เริ่มมีพุทธะ จิตก็เริ่มเป็นพุทธะย่อมมีความฉลาดในตัวเอง ก็ความฉลาดที่มีในตัวเองนั้นแหละจะสังหารความชั่ว เรียกว่าความชั่วอะไรต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น จะผลักดันให้กายของเราไปทำ จะผลักดันให้ปากของเราพูด จะผลักดันให้จิตของเราคิดไปในทางชั่ว ปัญญาคือความฉลาดด้วยความเป็นพุทธะนั้นกำจัดเสียแล้ว ก็เลยไม่ได้ไปทำตาม ไม่ได้ไปพูดตาม และก็ไม่ได้ไปคิดตาม แสดงว่าเป็นผู้สุจริตหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ เมื่อมีความบริสุทธิ์ก็แสดงว่าเป็นพุทธะ นั้นแหละความเป็นพุทธะ ก็คือว่าเป็นผู้มีศีลมีธรรม ถ้าไม่มีศีลธรรมในจิต เราจะเป็นพุทธะได้อย่างไร เราจะเป็นพุทโธได้อย่างไร
    เพราะฉะนั้นการภาวนาพุทโธจึงมีความหมาย ไม่ใช่หมายว่าเราว่าพุทโธแล้วจะดีเลย ไม่ใช่ เราอย่ามาคิดเอาง่าย ๆ แค่นี้ ให้มองเข้าไปในส่วนลึกของความเป็นพุทโธนั้น ใจของเราเข้าไปหยั่งถึงซึ่งจุดอันสำคัญ จุดเด่นของพุทธะก็คือความสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ เป็นเครื่องที่จะผูกมัดจิตไม่ให้ดิ้น เป็นเครื่องที่จะยังจิตของเรานั้นให้มีความมั่นคงไม่หวั่นไหวหรือสั่นสะเทือนกับอะไร เมื่อจิตมีความตั้งมั่นไม่หวั่นไหวหรือสั่นสะเทือนกับอะไรแล้ว ก็คือเราผูกมัดได้ดีแล้ว มันก็สนุกสิ สนุกชำระล้างตัวเอง สนุกในการขัดเกลาตนเอง ตรงไหนที่มีจุดดำ ตรงไหนที่มีจุดมัวหมอง ตรงไหนที่มีจุดร้าย ตรงไหนที่มีจุดไม่ดี ตรงนี้เราจะขัดเกลาเราได้ เราจะชำระตัวได้ ที่ชำระได้ก็เพราะอะไร ก็เพราะว่ามีความมั่น คือจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิมีความมั่นคง
    เมื่อจิตไม่ได้ดิ้นก็มีสิทธิที่จะขัดเกลาได้ เดี๋ยวนี้จะไปขัดเกลาอะไรได้ พอจะว่าพุทโธคำสองคำเท่านั้นมันกระโดดผาง มันรอบโลกจักรวาลแล้ว ทีนี้เราจะไปชำระอะไรได้ นี้แหละที่เราขาดสมาธิ จึงเอาอะไรไม่ได้ ทำกันไปเถิด ก็ได้บุญก็ไม่ได้ตำหนิติโทษอะไร มันก็ได้อยู่หรอกได้บุญ แต่ว่าส่วนลึกก็อยากให้รู้บ้าง เพราะรามีสิทธิที่จะต้องรู้ได้ พอจะรู้ได้ก็อยากจะให้รู้ ไม่อยากกีดกัน พอผลักหลังให้เดินไปได้ก็ให้เดินไปเลย ไม่มีการกีดกันส่วนที่เราทำกันนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะไร้ผล มันก็ได้บุญ แต่จะน้อยหรือมากอันนี้ก็ไม่มีเครื่องวัดคือเราวัดผลไม่ได้ ก็เป็นเรื่องของตัวเอง ถ้าเรามีความสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิในจิตแล้ว เป็นจิตวิเวกแล้ว ท่านทั้งหลายก็คงจะไม่มีความสงสัยในเรื่องบุญเรื่องบาป ความดีและร้ายในจิต ท่านทั้งหลายจะเห็นด้วยตัวเอง จะรู้ได้ด้วยตัวเอง และจะไม่พูดกันยาก ต่างก็พาเห็นด้วยตัวเอง บาปเป็นอย่างนั้น โทษเป็นอย่างนั้น คุณเป็นอย่างนั้น ก็คงจะไม่พูดกันยาก ถ้าได้เห็นในตัวเอง ที่ยังไม่สามารถเห็นในตัวเองก็เพราะจิตของเรานั้นยังขาดความสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ก็ขาดอยู่เท่านี้
    ก็ถ้าจะเป็นสมาธิเราก็กลัว ถ้าจะสงบเราก็กลัว ถ้าเราจะไปเห็นอะไรก็กลัว ตกลงก็เลยได้แค่คิด อย่างนี้ไม่ใช่มานั่งภาวนาเพื่อหาความสงบ มันมานั่งภาวนาหาความคิด คิดไปหาคนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ มันมาคิด ไม่ใช่ว่าจะมาหาความสงบ ถ้าเรามาเพื่อความสงบแล้ว เราก็มุ่งหาความสงบ ถ้าจะสงบจริง ๆ แล้วมันไม่ได้ฟังเสียงใครหรอก เสียงอึกทึกคึกโครมมันก็ไม่ได้สนหรอก จิตนี้ถ้ามันจะลงเสียอย่างมันไม่ได้สนอะไร มันไม่ได้คิดอะไร มันตูม……ลงเหมือนกับเราโยนของลงจากที่สูงลงมาที่ต่ำ มันวูบลงไปเลยและก็ดิ่งของมันไปเลย แต่โดยมากคนมักจะกลัวตรงนี้ ตรงที่มันวูบลงไป มันตื่นเสียก่อน มันตกใจก็เลยถอนมา พอถอนมาทีหลังมันก็เลยเข้ายาก เพราะอะไรก็เพราะว่ากลัว นี้แหละระวังให้ดี จิตพอจะสงบอย่าไปถอนนะ ถ้าถอนออกมาทีหลังเข้ายากแท้ ๆ นะ สงบยากแท้ ๆ เพราะว่าเคยกลัวมาแล้ว พอจะเข้าไปมันก็เลยว่าจะเป็นอย่างนั้นอีก มันเลยไม่ยอมลง ถ้าเราตัดสินใจว่าตาย เอาตายคำเดียวเป็นก็เป็น ตายก็ตายเท่านั้น อันนี้ดิ่งลงถึงจุด พอถึงจุดของมัน มันก็หยุดเอง
    พอมันหยุดแล้วทีนี้มันจะทำงานของมันเอง เรามีหน้าที่รักษาเท่านั้น มันจะทำงานของมันเอง มันจะรู้ของมันเอง ทีนี้อะไรจะเกิดอะไรจะดับ อะไรจะดี อะไรจะร้าย มันจะต้องเป็นของมันเองในนั้น เรามีหน้าที่จะต้องรักษาจิต และรับรู้เท่านั้น อย่าหวั่นไหวและสั่นสะเทือนอะไรทั้งสิ้น ถือว่าตายในความสงบนั้นแหละ ตายในสมาธิ เรียกว่าตายในพระพุทธ ตายในพระธรรม ตายในพระสงฆ์ เรายอม เมื่อเรายอมอย่างนั้นแล้ว เรียกว่าจิตเราลงได้เต็มที่ แต่เราตัดสินว่าตายเพื่อให้ใจของเรานั้นกล้า ไม่ใช่ว่าจะตายเหมือนเรา ตัดสิน เราตัดสินว่าตายเพื่อให้ใจของเรานั้นกล้า กล้าในพระพุทธ กล้าในพระธรรม กล้าในพระสงฆ์ เหล่าพวกภูตผี เจ้าพ่อเจ้าแม่เจ้าอะไรก็ตามใหญ่ ๆ โต ๆ อะไรก็ตาม เมื่อจิตของเรามีความสงบลงไปแล้วอย่างนั้นก็อาจจะเห็น มันจะโผล่มาแลบลิ้นปลิ้นตา แสดงลวดลายอะไรก็ช่างมัน ถือว่าเราอยู่กับพระพุทธเจ้าแล้ว อยากกินกินได้กินไปเลย ยกให้มันกินไปเลยไม่ต้องให้คนอื่นเขามาลำบาก ถ้าเราตัดสินอย่างนี้แล้ว พวกนั้นเขาทำอะไรไม่ได้ มีอย่างเดียวเขาจะอนุโมทนา เขาถือว่าเราจริง จริงในพระพุทธ จริงในพระธรรม จริงในพระสงฆ์ เขาถือว่าเราเชื่อในพระพุทธเจ้าจริง ถ้าเรากลัวเข้าเท่านั้นเขาถือว่าเราไม่จริง เขาก็มีแต่หลอกเรา
    การภาวนาเรื่องของจิตไม่ใช่ย่อย ๆ นะ แต่ก็ให้เป็นมาเสียก่อนจึงจะรู้ และเราจึงจะเข้าใจ ไม่ใช่ว่าจะเป็นและไปได้ง่าย ๆ เหมือนอย่างพระเทศน์ ขอให้เป็นมาเถอะเรื่องของจิตนี่ เราจึงจะได้แก้ไขปัญหาตัวเองอะไรหลายอย่าง ประสบการณ์ในเรื่องนิมิตก็ดี ในเรื่องความสว่างความสบายหรือความสุข มันสารพัดเรื่องที่แสดงขึ้น แต่ก็เป็นความดี ถ้าจะไปหลงก็หลงในความดี หลงก็หลงในทางภายใน มันมีสารพัดเรื่องนะเรื่องจิต กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด คิดดูสิ อันนี้ตัวใหญ่ ๆ แล้วที่ตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ย่อย ๆ อีกเท่าไรที่จะมาแสดงให้เห็นในจิต เราภาวนาเดี๋ยวนี้เราหาอะไร เราหากิเลสนะ ที่เห็นก็เห็นกิเลส แต่ว่าเป็นธรรม ธรรมก็คือกิเลส กิเลสก็คือตัวเรา ธรรมก็คือตัวเรา ตัวเราก็คือตัวธรรม ตัวธรรมก็คือกิเลส กิเลสก็คือตัวธรรม หาเอา ใครมีปัญญาก็หาเอา ใครไม่มีปัญญาก็แล้วแต่ใคร ช่วยกันไม่ได้หรอก ไม่มีใครช่วยใครได้ อันนี้ต้องช่วยตัวเอง แต่ก็บอกให้ได้ แต่จะให้ไปช่วย ช่วยไม่ได้ แต่บอกให้ฟัง บอกให้เข้าใจเท่านั้น เพื่อจะได้เกิดความกระจ่างในตัวเอง แล้วเราจะมีการปฏิบัติธรรม ก็จะไม่สงสัยและจะเดินได้สะดวก แล้วจะได้ไปด้วยความสะดวกสบายในการปฏิบัติธรรม ถ้าสงสัยจิตจะไม่ไป มันงุ่มง่าม จะไปก็สงสัย จะอยู่ก็จะไป มันเป็นปัญหาในจิต ถ้าไม่รู้ไม่ตัดสินใจ และไม่ได้ยินได้ฟังมาก่อนมันไปยากนะ ไปแล้วก็ไม่รู้เรื่องอีกแหละ เกิดความสงสัยแล้วก็จะเกิดความวิตกกังวลขึ้นมาอาจจะเสียสติได้ในขณะนั้น
    แต่ว่าถ้าจิตของเรามั่นแล้วไม่ต้องกลัว ยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลักแล้วไม่ต้องกลัว มันจะเป็นอะไรก็ให้มันเป็น มันจะเป็นบ้าก็ให้มันเป็น แต่ข้อสำคัญขอให้รักษาใจเท่านั้น รักษาใจให้มั่นในพระพุทธ รักษาใจให้มั่นในพระธรรม รักษาใจให้มั่นในพระสงฆ์ เป็นหนึ่งเท่านั้น อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน นี้ เรียกว่า เข้าถึงพระไตรสรคมณ์ เราจะพึ่งตัวเองได้ ขอให้พวกเรานักปฏิบัติทั้งหลาย จะปฏิบัติมากปฏิบัติน้อยก็ตาม ขอให้รู้ไว้เถิดแม้แต่เราจะไปสู่ฆราวาสก็ตาม ให้รู้จักแก้ปัญหาตัวเอง เพื่อจะได้เข้าใจเอาไว้เพื่อเป็นเครื่องประดับชีวิต และจะได้แก้ปัญหาเพื่อความเป็นอยู่แห่งชีวิตของตัวเอง จะได้มีความสุขสบายตามสมควรแก่ฐานะ
    ดังนั้นที่แสดงมาก็เป็นเวลาพอสมควร ขอให้นักปฏิบัติทั้งหลายนำเอาไปเป็นข้อคิดและพิจารณา จึงขอยุติการแสดงพระธรรมเทศนาเอาไว้แต่เพียงเท่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2010
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...