พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เหนี่ยวจิ้นกงฉาง : สิ้นนกเก็บคันธนู
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 กันยายน 2553 09:24 น.


    《鸟尽弓藏》

    鸟(niǎo) อ่านว่า เหนี่ยว แปลว่า นก
    尽(jìn) อ่านว่า จิ้น แปลว่า สิ้นสุด หมดสิ้น
    弓(gōng) อ่านว่า กง แปลว่าคันธนู
    藏(cáng) อ่านว่า ฉาง แปลว่า เก็บ ซ่อน

    <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline"><center>ภาพจาก http://www.sucaitianxia.com/</center></td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ในช่วงปลายยุคชุนชิว ขณะที่ รัฐอู๋ และรัฐเย่ว์ ต่อสู่เพื่อช่วงชิงความเป็นใหญ่ ผลปรากฏว่ารัฐเย่ว์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้จึงขอสงบศึก

    อ๋องรัฐเย่ว์นาม โกวเจี้ยน ถูกรัฐอู๋จับไปเป็นตัว ประกัน แต่เขาได้แอบสั่งสมกองกำลังและฝึกฝนกองทัพของตนเองอย่างลับๆ เพื่อรอวันแก้แค้น โดยในระหว่างนั้นได้มอบหมายให้เสนาบดี เหวินจ่ง และ ฟั่นหลี่ บริหารราชการแผ่นดินรัฐเย่ว์ เวลาผ่านไปหลายปี รัฐเย่ว์จากอ่อนแอเริ่มกลับเข้มแข็งขึ้น จนในที่สุดสามารถยกกองกำลังมาตีรัฐอู๋ได้สำเร็จ
    อ๋องรัฐอู๋ในขณะนั้นนาม ฟู่ไช พยายามส่งทูตมา เชื่อมสัมพันธ์กับรัฐเย่ว์ถึง 7 ครั้งด้วยกัน แต่รัฐเย่ว์ไม่ยินยอม ฟู่ไชจึงคิดแผนการโดยส่งจดหมายไปให้ฟั่นหลี่ โดยมีใจความว่า "เมื่อ กระต่ายถูกจับหมดสิ้น สุนัข สุกร ที่ทำหน้าที่จับกระต่ายย่อมหมดประโยชน์ สุดท้ายได้แต่ถูกฆ่ามาเป็นอาหาร เช่นเดียวกับรัฐศัตรูเมื่อถูกปราบปรามแล้ว ขุนนางที่ทำหน้าที่ล้วนโดนกำจัด เหตุใดท่านเสนาบดีทั้งสองไม่ให้รัฐอู๋ดูแลพวกท่าน หาแผ่นดินสำหรับตนเองสักผืน" ทว่าเหวินจ่ง และฟั่นหลี่ ยังคงปฏิเสธ สุดท้ายอ๋องฟู่ไชแห่งรัฐอู๋ถูกรัฐเย่ว์รุกไล่จนตัดสินใจฆ่าตัวตาย

    ในคืนแห่งการฉลองชัย โกวเจี้ยนพบว่าเสนาบดีฟั่นหลี่หายตัวไป วันต่อมาที่บริเวณริมทะเลสาปไท่หู พบเสื้อผ้าของฟั่นหลี่กองทิ้งไว้ ผู้คนจึงพากันคิดว่าเขาคงโดดน้ำฆ่าตัวตาย ทว่าผ่านมาไม่กี่วัน มีคนนำจดหมายมาให้เสนาบดีเหวินจ่ง ความว่า "เมื่อ นกหมดสิ้นจากท้องฟ้า คันธนูย่อมถูกเก็บไว้ เมื่อกระต่ายถูกจับไม่มีเหลือ สุนัข สุกร ที่ทำหน้าที่จับกระต่ายย่อมหมดประโยชน์ เมื่อศัตรูถูกทำลายราบคาบ ขุนนางไม่ถูกเนรเทศก็ถูกทำร้ายทำลาย อ๋องเย่ว์เป็นบุคคลที่เพียงร่วมทุกข์กับเขาได้ แต่ไม่ยอมให้ใครมาร่วมเสพย์สุข หากท่านไม่จากอ๋องเย่ว์ไปในวันนี้ ไม่พ้นต้องมีภัยถึงชีวิต" เหวินจ่งจึงได้ทราบว่าที่แท้ฟั่นหลี่ไม่ได้ฆ่าตัวตาย เพียงแต่หลบหนีไป ส่วนเขาแม้ว่าจะไม่ปักใจเชื่อตามฟั่นหลี่ไปเสียทั้งหมด แต่ก็พยายามระวังตัวเอง เก็บตัวอยู่แต่ในบ้านพักโดยอ้างว่าไม่สบายจึงไม่ไปเข้าเฝ้า ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวทำให้โกวเจี้ยนระแวงสงสัย

    วันหนึ่งโกวเจี้ยน เดินทางมาเยี่ยมเสนาบดี เหวินจ่ง ยังบ้านพัก โดยเมื่อกลับไปได้ทิ้งกระบี่เอาไว้เล่มหนึ่ง เหวินจ่งพบว่าบนกระบี่มีตัวอักษร 2 ตัว คือ “属楼” จึงจำได้ว่ากระบี่เล่มนี้เป็นเล่มเดียวกับที่อ๋องอู๋ผู้ล่วงลับ ฟู่ไช ได้ใช้บังคับให้ที่ปรึกษาผู้รักชาติแห่งแคว้นอู๋ นาม อู่ จื่อซีว์ ใช้ ปลิดชีวิตตนเอง เหวินจ่งจึงได้รู้จิตเจตนาของโกวเจี้ยน และนึกเสียดายที่ไม่เชื่อคำเตือนของฟั่นหลี่ สุดท้ายได้แต่ใช่กระบี่นั้นบั่นคอตนเองตายตามบัญชาของโกวเจี้ยน

    สำนวน "鸟尽弓藏" หรือ "สิ้นนกเก็บคันธนู" มีความหมายว่า เมื่อภารกิจเสร็จสิ้น กลับกำจัดผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือหรือลงทุนลงแรงในภารกิจนั้นออกไปให้พ้นทาง ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับสำนวนที่ว่า "เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล" นั่นเอง


    ที่มา http://baike.baidu.com

    -----------------------------

    ขณะนี้สุภาษิตในคอลัมน์ "นิทานคติ" ได้ถูกนำมารวมเล่มเป็นหนังสือรวมเรื่องเล่าจากสุภาษิตจีนแล้ว

    [​IMG]

    รายละเอียดหนังสือ
    ชื่อหนังสือ คำจีนเขียนชีวิต (成语故事)
    สำนักพิมพ์ บ้านพระอาทิตย์ (ติดต่อ โทร 0-2587-0234 # 136)
    ผู้แปล/เรียบเรียง ดวงพร วงศ์ชูเครือ
    ISBN 978-616-536-033-3
    พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม พ.ศ. 2553
    ราคา 150 บาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2010
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เทคนิคถนอมหลัง ช่วยทุกบ้านห่างไกลอาการปวด <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">2 ตุลาคม 2553 13:30 น.</td></tr></tbody></table>

    [​IMG] <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="240"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="240"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต</td></tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ด้วยไลฟ์สไตล์คน เมืองที่ต้องเผชิญกับความเร่งรีบ อยู่กับคอมพิวเตอร์ ขับรถ โหนรถเมล์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่อาการปวดหลังได้ง่าย ซึ่งเป็นอาการสุขภาพเสื่อมถอยที่พบในประชากรวัยผู้ใหญ่มากถึง 4 จาก 5 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 80 โดยประมาณครึ่งหนึ่ง สามารถหายจากความไม่สบายกายนี้ได้ภายใน 2 สัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 90 จะหายภายใน 3 เดือน

    แต่สำหรับคนที่ปวดหลัง ร้อยละ 5-10 จะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง และก้าวไปถึงขั้นเส้นประสาทถูกทำลาย มีอาการแสดงให้เห็น 2 ด้านชัดๆ ได้แก่ กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระไม่อยู่ และแขนขาอ่อนแรง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นก่อนที่อาการทรมานจะมาถึง ลองอ่านเทคนิคจากแผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ทีมงานนำมาฝากกันดู เชื่อว่าจะช่วยให้คุณ และคนในครอบครัวห่างไกลจากอาการปวดหลังได้ไม่น้อย

    เทคนิคจัดท่วงท่าให้เข้าที่

    การนั่งหรือยืนให้ ถูกท่าเป็นสิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องทุกวันไปจนตลอดชีวิต เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง รวมทั้งความเสื่อมของข้อ กระดูกและกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ

    ท่ายืน ควรจะยืนตัวตรงหลังไม่โก่งหรือคด แนวติ่งหู ไหล่ และข้อสะโพกควรเป็นแนวเส้นตรง ไม่ควรยืนนานเกินไป ไม่ควรใส่รองเท้าที่มีส้น ควรจะมีเบาะรองฝ่าเท้า อย่างไรก็ตาม หากต้องยืนนานๆ ควรมีที่พักเพื่อสลับเท้าพัก หรือมีเก้าอี้หรือโต๊ะเล็กไว้วางเท้าข้างหนึ่ง

    การนั่ง เป็นการเพิ่มแรงกดต่อกระดูกหลังมากที่สุด ควรมีพนักพิงหลังบริเวณเอว เลือกใช้เก้าอี้ทำงานที่นั่งสบายหมุนได้เพื่อป้องกันการบิดของเอว และมีที่พักแขนขณะที่นั่งพักหัวเข่าควรอยู่สูงกว่าระดับข้อสะโพกเล็กน้อย รวมทั้งมีเบาะรองเท้า และหมอนเล็กๆ รองบริเวณเอว เก้าอี้ต้องไม่สูงเกินไป ระดับเข่าควรจะอยู่สูงกว่าระดับสะโพก โดยอาจหาเก้าอี้เล็กรองเท้าเวลานั่ง

    การขับรถ โดยเฉพาะการขับรถทางไกล ควรเลื่อนเบาะนั่งให้ใกล้เพื่อป้องกันการงอหลัง หลังส่วนล่างควรจะพิงกับเบาะ เบาะไม่ควรเอียงเกิน 30 องศา เบาะนั่งควรจะยกด้านหน้าให้สูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย หากขับรถทางไกลควรจะพักเดินทุกชั่วโมง และไม่ควรยกของหนักทันทีหลังหยุดขับ

    การนอน ที่นอนไม่ควรจะนุ่มหรือแข็งเกินไป ควรจะวางไม้หนา 1/4 นิ้ว ระหว่างสปริงและฟูก ท่าที่ดีคือให้นอนตะแคงและก่ายหมอนข้าง หรือนอนหงายโดยมีหมอนรองที่ข้อเข่า ไม่ควรนอนหงายโดยที่ไม่มีหมอนหนุน หรือนอนตะแคงโดยไม่มีหมอนข้างหรือนอนคว่ำ

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> อย่างไรก็ดี หลักการป้องกันโรคปวดหลังดีที่สุด คือ การออกกำลังกายและป้องกันหลังมิให้ได้รับอุบัติเหตุ โดยการบริหารร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง เพราะหากไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การออกกำลังจะต้องค่อยๆ สร้างความแข็งแรงทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง และจะต้องให้ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดีไม่มีข้อติด โดยการออกกำลังกายอาจจะทำได้โดยการเดินการขี่จักรยาน หรือการว่ายน้ำจะทำให้หลังแข็งแรงอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปก็คือ รักษาน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ไม่ให้อ้วนโดยการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การวิ่ง ขี่จักรยาน เป็นต้น

    เชื่อหรือไม่? เดินโทรฯ กระทบสันหลัง!

    มีผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวีนสแลนด์ ในออสเตรเลีย ระบุหากคุยโทรศัพท์ขณะเดินอยู่ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากวิธีในการหายใจของเรานั่นเป็นเพราะร่างกายมนุษย์ถูกออก แบบมาให้หายใจออกเวลาเท้าแตะพื้น ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันการกระแทกของกระดูกสันหลัง ดังนั้น การพูดและเดินไปพร้อมๆ กันจะทำให้รูปแบบการหายใจนี้เสีย และส่งผลต่อกระดูกสันหลังของเราได้

    คณะวิจัยได้ทำการวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลำตัว ซึ่งเป็นส่วนที่ปกป้องกระดูกสันหลังในอาสาสมัครแต่ละคน พบว่า กล้ามเนื้อส่วนลำตัวจะทำงานได้อย่างเหมาะสมในคนที่เดินเฉยๆ แต่คนที่เดินไปพูดไปจะมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณนี้น้อยกว่าปกติ และจะเป็นอันตรายต่อกระดูกสันหลัง

    "ปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องจาก วิธีในการสั่งงานของสมอง โดยกล้ามเนื้อจะมีหน้าที่หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน และถูกสั่งการโดยสมองตามลำดับความสำคัญ ดังนั้น ขณะที่คุยโทรศัพท์และเดินไปในเวลาเดียวกัน สมองก็จะให้ความสำคัญกับการคุยโทรศัพท์มากกว่า และทำให้เสี่ยงต่อการปวดหลังได้มากขึ้น" คณะวิจัยกล่าวในการนำเสนอผลวิจัยนี้ต่อที่ประชุมสมาคมประสาทวิทยาสหรัฐอเมริกา

    สำหรับการเดินคุยกับ คนอื่นๆ นั้น ก็จัดว่าเสี่ยงต่อการปวดหลังด้วยเช่นกัน แต่การคุยโทรศัพท์มือถือขณะเดินจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นพิเศษ เพราะมักใช้เวลากับการเดินและคุยมากกว่าปกติ

    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> [​IMG]http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000138471

    .



    .



    .



    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    ที่ดินกทม.ราคาพุ่ง1ปีเพิ่ม4.4% สยาม-ชิดลม-เพลินจิตแชมป์ตรว.ละ1.2ล้านบาท

    ราคาที่ดินกรุงเทพฯ เพิ่มสวนกระแส 4.4% แพงสุด 'สยาม-ชิดลม-เพลินจิต' แชมป์ ตร.ว.ละ 1.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20%
    นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ฟอร์เรียลเอสเตทแอฟแฟร์ส เปิดเผยถึงผลสำรวจราคาที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครประจำปีว่า ราคาที่ดินใน กทม.เพิ่มขึ้นสวนกระแสอย่างน่าสนใจ โดยในรอบปี 2552-2553 ราคาเฉลี่ยทั่วเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพิ่มสูงขึ้นถึง 4.4% สำหรับราคาที่ดินที่แพงที่สุดอยู่ที่บริเวณสยามสแควร์ทั้งสองฝั่ง บริเวณติดสถานีรถไฟฟ้าชิดลมและสถานีเพลินจิต โดยทั้งหมดมีราคาไร่ละ 480 ล้านบาท หรือตารางวาละ 1,200,000 บาท เท่ากับว่าในพื้นที่ 1 ตารางวาต้องใช้ธนบัตรใบละ 1,000 บาทวางซ้อนกันถึง 3 ใบ บวกด้วยธนบัตรใบละ 500 บาทอีก 1 ใบซ้อนอยู่ข้างบน
    "ราคาที่ดินที่แพงที่สุดอยู่ติดกับรถไฟฟ้าทั้ง 3 สถานี คือ สยามสแควร์ ชิดลม และเพลินจิตเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึง 20%" นายโสภณกล่าว
    ส่วนราคาที่ดินที่แพงรองลงมาคือ บริเวณถนนสีลม ถนนราชดำริ โดยตลอดเส้นทางรถไฟฟ้าของถนนทั้งสองเส้นนี้ มีราคาตารางวาละ 1,000,000 บาท หรือไร่ละ 400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากที่ประเมินไว้เมื่อปีที่แล้วในราคาตารางวาละ 850,000 บาท ทั้งนี้ เพราะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการพัฒนาในเชิงสำนักงานหรือศูนย์การค้าใน ระดับหนึ่ง แต่มีความเข้มข้นและคึกคักน้อยกว่าบริเวณสยามสแควร์ ชิดลมและเพลินจิต ขณะที่ดินบริเวณถนนวิทยุราคาตารางวาละ 950,000 บาท หรือไร่ละ 380 ล้านบาท ส่วนอีก 3 บริเวณที่ราคาตารางวาละ 900,000 บาท หรือไร่ละ 360 ล้านบาทนั้น ได้แก่ บริเวณสุขุมวิทช่วงต้น ตั้งแต่สถานีรถไฟฟ้านานาถึงสถานีรถไฟฟ้าอโศกมนตรี-สุขุมวิท (สุขุมวิท 21)
    ส่วนราคาที่ดินถูกที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในกรณีที่ดินขนาด 4 ไร่ ได้แก่ ที่ดินติดถนนเลียบคลอง 13 ตารางวาละ 2,500 บาท หรือไร่ละ 1.0 ล้านบาท หรือที่ถนนวงแหวนรอบนอกแถวบางขัน ตารางวาละ 3,000 บาท หรือไร่ละ 1.2 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นที่ดินขนาด 36 ไร่ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ราคาที่ดินติดถนนเลียบคลอง 13 ราคาตารางวาละ 1,100 บาท หรือไร่ละ 440,000 บาทเท่านั้น
    ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา บริเวณที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุดได้แก่ ถนนพหลโยธินช่วงต้นก่อนถึงสะพานควาย โดยราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 25%-29% โดยเฉพาะบริเวณรถไฟฟ้าซอยอารีย์ ราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดจากตารางวาละ 350,000 บาท เป็น 450,000 บาท หรือเพิ่มขึ้น 29% ส่วนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 25% ในรอบ 1 ปี ได้แก่ บริเวณรถไฟฟ้าทองหล่อ รถไฟฟ้าใต้ดินพระราม 9 รถไฟฟ้าพหลโยธิน และบริเวณที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 20% ในรอบ 1 ปี ได้แก่ ถนนพญาไท ถนนพระรามที่ 1 สยามสแควร์ ถนนสุขุมวิทช่วงต้น และถนนสุขุมวิท 21
    นายโสภณ กล่าวอีกว่า ราคาที่ดินบางแห่งก็กลับลดลงเล็กน้อย อาทิ บริเวณหนองจอก ราคาลดลงจากตารางวาละ 11,000 บาท เหลือเพียง 10,000 บาท นอกนั้นเป็นบริเวณถนนประชาสำราญ ถนนราชอุทิศ กม.6 ถนนประชาร่วมใจ ถนนสุวินทวงศ์ กม.42 บริเวณที่ราคาที่ดินไม่ขึ้นเลยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ยังมีบริเวณถนนสุขุมวิท กม.46 บางบ่อ และบริเวณบางปู.

    http://www.thaipost.net/news/021010/28208
    .

    ที่มา ไทยโพสต์

    .



    .



    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร
    http://www.watbowon.com/Monk/ja/02/index1.htm

    [​IMG]


    นับแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ ในรัชกาลที่ ๔ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกจนตลอดรัชกาล เป็นเวลา ๑๕ ปี ฉะนั้น ในรัชกาลที่ ๔ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชจนเกือบตลอดรัชกาล เพราะสมเด็จฯ กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่เพียงปีเศษ ตอนต้นรัชกาลเท่านั้น เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นที่สองจาก สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    มาในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้โปรดสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตลอดช่วงต้นแห่งรัชกาล เป็นเวลาถึง ๒๓ ปี ฉะนั้น ในช่วงต้น รัชกาลที่ ๕ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชอยู่ถึง ๒๓ ปี จึงได้ทรงสถาปนา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ เป็นสมเด็จพระสังฆราช นับเป็นพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฤกษ์
    เป็นราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ และเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ อันเป็นวันเริ่มสวดมนต์ ตั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงได้พระราชทานนามตามศุภนิมิตว่าว่า พระองค์เจ้าฤกษ์ ดำรงยศอย่างพระองค์เจ้าในพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ กล่าวคือ สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ พระราชบิดาเป็นพระโอรสลำดับที่ ๗ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ พระราชบิดาสวรรคคตแล้ว พระองค์ได้เสด็จมาอยู่ในพระราชวังหลวงกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้นที่ ๑ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องเธอในสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวยดี ทรงนำพระองค์เจ้าฤกษ์ไปถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ จึงได้ทรงคุ้ยเคยเป็นอย่างยิ่ง

    [​IMG]

    พ.ศ. ๒๓๖๕ (ปีมะเมียจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔) เมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ เสด็จอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ทรงศึกษามูลกัจจายน์อยู่ในสำนักพระญาณสมโพธิ์ (รอด) ชำนิชำนาญได้ใล่สูตรมูลในที่ประชุมอาจารย์ที่พระราชวังเดิมในพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

    [​IMG]

    แต่ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณรได้ ๔ พรรษา ทรงประชวรด้วยไขทรพิษ จึงทรงลาผนวชออกไปรักษาพระองค์ชั่วคราว ครั้นหายประชวรแล้ว กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ทรงจัดการให้ทรงผนวชเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่ง ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่จนพระชนมายุครบอุปสมบท

    พ.ศ. ๒๓๗๒ เมื่อพระชนมายุ ๒๐ พรรษา ครบอุปสมบท พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ลาผนวชออกไปสมโภชตามราชประเพณี แล้วแห่พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ ชั้น ๒ เจ้าฟ้าอาภรณ์ที่จะทรงผนวชเป็นสามเณรในเวลานั้น ในการทรงผนวชเป็นพระภิกษุนั้น สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส กับพระวินัยรักขิต วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปี ฉลู เอกศก จุลศักราช ๑๑๙๑ พุทธศักราช ๒๓๗๒ ได้รับฉายาว่า "ปญฺญาอคฺโค" เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้ว ได้ทรงศึกษาพระธรรมวินัยในสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระเจริญพระชนมายุกว่า ๕ พรรษา) ซึ่งทรงผนวชอยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังฤษฎิ์นั้นเช่นกัน

    [​IMG]

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจนทรงแตกฉานในภาษาบาลี แต่ไม่ทรงเข้าสอบเพื่อเป็นเปรียญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก ที่เคยพระราชทานแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อครั้งยังมิได้ทรงเป็นพระราชาคณะให้ทรงถือเป็นเกียรติยศ สืบมา พระนิพนธ์อันเป็นเครื่องแสดงถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลีของพระองค์ก็คือ พระนิพนธ์เรื่อง สุคตวิทัตถิวิธานซึ่งทรงนิพนธ์เป็นภาษาบาลีว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์คืบพระสุคตอันเป็นมาตราวัดที่มีกล่าวถึงในทาง พระวินัย นอกจากนี้ ก็ได้ทรงนิพนธ์เรื่องเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เป็น ภาษาบาลีไว้อีกหลายเรื่อง นับว่าทรงเป็นปราชญ์ทาง ภาษาบาลีที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์



    เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้วทรงศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ ณ วัดมหาธาตุนั้น เช่นกัน ในเวลานั้น (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระเจริญพระชนมายุกว่า ๕ พรรษา) เป็นเหตุให้ทรงเลื่อมใสในลัทธิธรรมวินัยตามอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ภายหลังจึงได้ทรงอุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่งในนทีสีมา โดยพระสุเมธาจารย์ (พุทธวังสะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจนทรงแตกฉานในภาษาบาลี แต่ไม่ทรงเข้าสอบเพื่อเป็นเปรียญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก ที่เคยพระราชทานแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อครั้งยังมิได้ทรงเป็นพระราชาคณะให้ทรงถือเป็นเกียรติยศ สืบมา พระนิพนธ์อันเป็นเครื่องแสดงถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลีของพระองค์ก็คือ พระนิพนธ์เรื่อง สุคตวิทัตถิวิธานซึ่งทรงนิพนธ์เป็นภาษาบาลีว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์คืบพระสุคตอันเป็นมาตราวัดที่มีกล่าวถึงในทาง พระวินัย นอกจากนี้ ก็ได้ทรงนิพนธ์เรื่องเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เป็น ภาษาบาลีไว้อีกหลายเรื่อง นับว่าทรงเป็นปราชญ์ทาง ภาษาบาลีที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์
    ในรัชกาล ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะสมณศักดิ์ เสมอพระราชาคณะสามัญ พระราชทานตาลปัตรแฉกถมปัดเป็นพัดยศ

    [​IMG]

    พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะยังทรงผนวชอยู่ ทรงเป็นพระเถราจารย์ประธานแห่งพระสงฆ์ธรรมยุตินิกายทรงลาผนวชเสด็จเถลิงถวัล ยราชสมบัติ เป็นรัชกาลที่ ๔ จึงได้ทรงสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าฤกษ์ เป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงอิศริยยศเป็นประธานาธิบดีแห่งพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า “ธรรมยุติกนิกายิกสังฆมัธยมบวรนิเวสาธิคณะ” ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นที่สองรองจาก สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆปริณายก คือสมเด็จพระสังฆราชอยู่ในขณะนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ จึงทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตเป็นพระองค์แรก

    .



    .



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 02_pa01.jpg
      02_pa01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.7 KB
      เปิดดู:
      224
    • 02_pa03.jpg
      02_pa03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      31.2 KB
      เปิดดู:
      190
    • 02_pa05.0.jpg
      02_pa05.0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.3 KB
      เปิดดู:
      193
    • 02_pa05.1.jpg
      02_pa05.1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65 KB
      เปิดดู:
      219
    • 02_pa08_talpat.jpg
      02_pa08_talpat.jpg
      ขนาดไฟล์:
      18.4 KB
      เปิดดู:
      247
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2010
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร


    [​IMG]

    พ.ศ. ๒๓๗๙ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จจากวัดสมอราย มาครองวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงพาพระศิษย์หลวงมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารทั้งหมด และเลิกสำนักที่วัดมหาธาตุยุวราชสฤษฎิ์
    ส่วนที่วัดสมอรายนั้น โปรดให้สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทธสิริ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระอริยมุนี เป็นหัวหน้าสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้เสด็จจากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ มาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ในคราวนี้

    [​IMG]

    [​IMG]




    [​IMG]

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    เมื่อครั้งทรงพระอิสริยยศเป็น กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์

    พุทธศักราช ๒๓๙๒ (ปีระกาเอกศก จุลศักราช ๑๒๑๑) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดตั้งเป็นพระราชาคณะ มีสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นสามัญ และได้พระราชทานตาปัตรพัดแฉก พร้อมเครื่องยศสำหรับพระราชาคณะ

    พุทธศักราช ๒๓๙๔ (ปีกุนตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓) หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลาผนวชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นรัชกาลที่ ๔ แล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฤกษ์ เป็น กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงอิศริยยศเป็นปธานาธิบดีใน ธรรมยุติกนิกายสังฆมัธยมบวรนิเวศาทิคณะ ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นรองจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมาชิโนรส ซึ่งดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่ในขณะนั้น ทรงสมณศักดิ์เสมอสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่

    [​IMG]
    <-พัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานถวาย เมื่อครั้งทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามว่า กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์


    [​IMG]


    [​IMG]


    ตามประกาศนี้ ทรงยกวัดบวรนิเวศวิหารและวัดขึ้น (คือวัดสาขา) เป็นคณะพิเศษเรียกในขณะนั้นว่า
    "ธรรมยุติกนิกายิกสังฆมัธยมบวรนเวศาทิคณะ" เรียกสั้น ๆ ว่า บวรนิเวศาทิคณะ เป็นกิ่งอันหนึ่งของคณะกลาง ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมาชิโนรส ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่อยู่ในขณะนั้น ต่อมาภายหลังจึงได้เรียกว่า คณะธรรมยุติกนิกาย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ จึงทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตพระองค์แรก


    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
    พุทธศักราช ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับพระบรมราชาภิเษกครั้งแรก หลังจากเสด็จถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงพระราชปรารภจะถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ แต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้น ทรงผลัดไว้ต่อเมื่อเสด็จออกทรงผนวชแล้ว ฉะนั้น ใน ๒๓ ปีแรกของรัชกาลที่ ๕ จึงว่างจากสมเด็จพระสังฆราช

    [​IMG]

    พุทธศักราช ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ทรงผนวชแล้วเสด็จประทับ ณ พระพุทธรัตนสถานมณฑราราม ในพระบรมหาราชวังชั้นใน ทรงเชิญเสด็จสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระราชปัธยาจารย์ และนิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่วัดต่าง ๆ เข้าไปอยู่ด้วยพอครบคณะสงฆ์ ครั้งทรงผนวชได้ ๑๕ วัน จึงทรงลาผนวชแล้วทรงรับพระบรมราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง

    [​IMG]


    พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับยืน ณ พระพุทธรัตนสถานมณฑิราราม ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน


    [​IMG]




    พระพุทธรัตนสถานมณฑิราราม ในพระบรมมหาราชวัง






    หลังจากทรงผนวชแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภจะถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่สมเด็จพระมหาสณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แต่สมเด็จพระมหาสณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ไม่ทรงรับ ทรงถ่อมพระองค์ว่าเป็นพระองค์เจ้าในพระราชวังบวรสถานมงคลจักข้ามเจ้านายที่เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ทั้งทรงเจริญพระชนมายุกว่าก็มี จักเป็นที่รังเกียจของท่าน จึงทรงรับเพียงเลื่อนเป็นกรมพระเสมอด้วยเจ้านายผู้ใหญ่ในชั้นนั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงสถาปนาเลื่อนกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ พระราชอุปัธยาจารย์ เป็นกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ และโปรดให้ใช้คำนำพระนามเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เป็นพิเศษเหมือนพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันศุกร์ขั้น ๖ ค่ำ เดือน ๓ ปีเถาะ พุทธศักราช ๒๔๑๗ พระราชพิธีสถาปนาเลื่อนกรมครั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพิธีในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร



    [​IMG]

    คณะพระเถรานุเถระ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ พ.ศ.๒๔๑๖ ณ พระพุทธรัตนสถานมณฑิราราม ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน (จากซ้ายไปขวา)

    ๑. สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
    ๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี) วัดปทุมคงคา
    ๓. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร วัดราชบพิธฯ
    ๔. พระพรหมมุนี (เหมือน สุจิตฺโต) วัดบรมนิวาส
    ๕. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ๖. สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร
    ๗. พระสุคุณคณาภรณ์ (นิ่ม) วัดเครือวัลย์





    พุทธศักราช ๒๔๓๕ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิส สยามมกุฏราชกุมาร ทรงผนวชเป็นสามเณร เนื่องในการผนวชสมเด็จพระโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิส สยามมกุฏราชกุมาร มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารครั้งใหญ่ และทรงพระกรุณาโปรดให้มีการสมโภชพระพุทธชินสีห์ พร้อมทั้งฉลองพระอารามที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ด้วย

    ต่อจากงานฉลองพระอาราม ทรงพระกรุณาโปรดแต่งตั้งพระราชพิธีถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ พระราชอุปัธยาจารย์ เป็นกรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งภายหลังแก้เป็น สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ในฝ่ายสมณศักดิ์ เป็นมหาสังฆปริณายกประธานแห่งพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร ทรงถวายเศวตฉัตร ๕ ชั้น ตั้งพระราชพิธีสงฆ์ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร มีเทียนชัยและพระสงฆ์สวดภาณวาร ตั้งแท่นเศวตฉัตรในพระอุโบสถ ตั้งพระแท่นทรงที่ชาลากำแพงแก้ว โรงพิธีพราหมณ์ ตั้งริมคูนอกกำแพงชั้นออกมา มีสวดมนต์ตั้งน้ำวงด้วยด้ายวันหนึ่ง พระสงฆ์ ๒๐ รูป รุ่งเช้าจุดเทียนชัย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ โปรดให้กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสทรงจุด พระสงฆ์เข้าพระราชพิธี ๓๐ รูป สวดมนต์ ๓ เวลา และสวดภาณวาร ๓ วัน ๓ คืน เช้าวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๓๔ สรงแล้วเสด็จขึ้นพระแท่นเฉวตฉัตร มีประกาศกระแสพระบรมราชโองการทรงสถาปนาแล้วทรงรับพระสุพรรณบัฏ เครื่องยศ ดอกไม้ธูปเทียน และต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองของหลวง แล้วทรงถวายศีล เป็นเสร็จการรับมหาสมณุตมาภิเษก ต่อจากนั้นทรงธรรม ๔ กัณฑ์ อนุโลมตามพระบรมราชาภิเษก กัณฑ์ทศพิธราชธรรมจรรยาเปลี่ยนเป็นไตรสิกขา แล้วทรงรับดอกไม้ธูปเทียนของพระสงฆ์ พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ
    การที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงรับมหาสมณุตมาภิเษกครั้งนี้ ก็เพราะเจ้านายชั้นเดียวกันสิ้นพระชนม์แล้วทั้งนั้น ยังเหลือเจ้าผู้ใหญ่ที่เจริญพระชนม์อยู่ก็เฉพาะพระองค์เพียงพระองค์เดียว จึงทรงรับอาราธนาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวนี้

    [​IMG]







    พระแท่นสรง เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคนาคมานพ เป็นกรมหลวงวชิรญาณวโรรส เหมือนครั้งถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์












    [​IMG]







    ตั้งพระราชพิธีสงฆ์ และตั้งแท่นเฉวตฉัตรในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๖ ถวายสมณุตมาภิเษก แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ ถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์





    .



    .



    .



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2010
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร


    [​IMG]
    [​IMG]

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระองค์หนึ่งในจำนวนพระเถระ ๑๐ รูป ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกย่องว่าเป็นพระเถระต้นวงศ์แห่งคณะธรรมยุต ดังปรากฎในพระราชนิพนธ์ภาษาบาลีของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้


    พระเถระธรรมยุตชั้นเดิม ๑๐ องค์

    ในหนังสือสีมาวิจารณ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานไปยังลังกาทวีป แต่ครั้งยังทรงผนวช ปรากฎพระเถระทั้ง ๑๐ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นคาถา ดังนี้

    <table style="border-collapse: collapse;" id="AutoNumber1" align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="47%">
    ตสฺเสว ภูปตินฺทสฺส
    </td> <td width="2%">
    </td> <td width="101%">ปิโย กนิฏฺฐภาตุโก</td> </tr> <tr> <td width="47%">
    เถโร วชิรญาโณ จ
    </td> <td width="2%">
    </td> <td width="101%"> ปาโมกฺโข คณเชฏฺฐโก</td> </tr> <tr> <td width="47%">
    เถโร พฺรหฺมสโร เจว
    </td> <td width="2%">
    </td> <td width="101%">เถโร ธมฺมสิริวฺหโย</td> </tr> <tr> <td align="right" width="47%"> เถโร พุทธสิริ เจว </td> <td width="2%">
    </td> <td width="101%">เถโร ปญฺญาอคฺคนามโก</td> </tr> <tr> <td align="right" width="47%"> เถโร ธมฺมรกฺขิโต จ</td> <td width="2%">
    </td> <td width="101%">เถโร จ โสภิตวฺหโย</td> </tr> <tr> <td align="right" width="47%"> เถโร พุทธสณฺหนาโม </td> <td width="2%">
    </td> <td width="101%">เถโร ปุสฺสาภิธานโก</td> </tr> <tr> <td align="right" width="47%">เถโร สุวฑฺฒโน จาปิ</td> <td width="2%">
    </td> <td width="101%">สพฺเพ สมานทนฺทกา

    </td> </tr> </tbody></table>





    [​IMG]

    นามที่ปรากฎในพระราชนิพนธ์

    ๑. พระวชิรญาณเถระ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ๒. พระพรหมสรเถระ คือ พระญาณรักขิต (สุข) วัดบรมนิวาส ต่อมาลาสิกขา ได้เป็นที่พระธรรมการบดี
    ๓. พระธรรมสิริเถระ คือ พระเทพโมลี (เอี่ยม) วัดเครือวัลย์
    ๔. พระพุทธสิริเถระ คือ สมเด็จพระวันรัตน (ทับ) วัดโสมนัสวิหาร
    ๕. พระปัญญอรรคเถระ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ๖. พระธรรมรักขิตเถระ คือ พระครูปลัด (ทัต) วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาลาสิกขา ได้เป็นที่พระศรีภูมิปรีชา
    ๗. พระโสภิตเถระ คือ พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ฟัก) วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาลาสิกขา ได้เป็นที่พระยาศรีสุนทรโวหาร
    ๘. พระพุทธิสันหเถระ คือ พระอมรโมลี วัดบุปผาราม
    ๙. พระปุสสเถระ คือ สมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
    ๑๐. พระสุวัฑฺฒนเถระ คือ พระปลัด (เรือง) วัดบวรนิเวศวิหาร


    .



    [​IMG]
    ธรรมเนียมที่ทรงตั้งขึ้นใหม่
    เมื่อทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ ๒ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงรักษาธรรมเนียมต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งไว้เมื่อทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารสืบต่อมา และได้ทรงตั้งธรรมเนียมใหม่ขึ้นอีกบางอย่าง คือ
    ๑. วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ทรงนัดพระสงฆ์ไปนมัสการพระมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) และทำวัตรสวดมนต์ในพิธีเข้าพรรษาที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง ซึ่งได้เป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนทุกวันนี้
    ๒. ถึงกำหนด ๓ ปี มีการไหว้ครูปาธยาย ทรงนัดพระสงฆ์ในวัดบวรนิเวศวิหารบำเพ็ญทานบริจาคประชุมทำวัตรสวดมนต์อุทิศส่วนกุศลแด่ท่านครูปาธยาย ผู้ยังไม่ล่วงคติแห่งสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรม
    ๓. เสด็จการรับกฐินของวัดทั้งหลายแล้ว ทรงนัดพระสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร ไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ อันเป็นเจดีย์สำคัญของไทย เพื่อเป็นการเจริญพุทธานุสติ เป็นเหตุให้มีธรรมเนียมนมัสการพระปฐมเจดีย์เป็นการประจำปีสืบมาจนทุกวันนี้
    ๔. ทรงครองวัดได้กึ่งหนึ่งหรือเต็มยุคที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองวัด ทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองยุคทุกคราวตลอดมา
    ๕. ในส่วนพระองค์เอง เมื่อจะทรงเป็นพระอุปัชฌายะประทานอุปสมบทแก่กุลบุตรคนแรกในทุกปี ทรงทำพิธีไหว้ครูปาธยายก่อน มีนมัสการพระสวดมนต์ และสวดองค์ของภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌายะ

    ทรงเป็นผู้ริเริ่มการสำคัญในทางพระศาสนา

    นอกจากได้ตั้งธรรมเนียมบางอย่างขึ้นในการครองวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ยังได้ทรงริเริ่มการหลายอย่างที่เป็นการสำคัญในทางพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรก ดังที่พระองค์ได้ทรงเล่าไว้ในพระประวัติตรัสเล่าชื่อว่า เถราปทาน ดังนี้
    ๑. ทรงเป็นผู้คิดวางรูปแบบในการทำจีวรที่เรียกว่า
    จีวรกรรม คือ การวัด การตัด การเย็บ การย้อม เป็นต้น ให้ถูกต้องตามพระพุทธานุญาต หรือตามพระวินัยบัญญัติ ดังที่ได้ใช้เป็นแบบอย่างอยู่ในคณะธรรมยุตสืบมา
    ๒. ทรงสอบค้นเรื่องประมาณของไตรจีวรตามที่ใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ จนทรงสันนิฐานได้ว่าประมาณของไตรจีวรควรมีลักษณะอย่างไร มีสังฆาฏิ ๒ ชั้น เป็นต้น เป็นแบบอย่างที่ใช้กันอยู่ในคณะธรรมยุตสืบมาจนทุกวันนี้
    ๓. ทรงพิจารณาตรวจสอบเรื่องจีวรในพระบาลี หรือพระไตรปิฎก และอรรถกถา จนได้ความแน่ชัดว่าจีวรควรมีลักษณะอย่างไร เป็นที่ยอมรับของท่านผู้ในคณะธรรมยุตและใช้เป็นแบบอย่างสืบมา
    ๔. ทรงเป็นกำหนดรูปแบบ
    กฐินัตถารวิธี ที่ใช้กันอยู่ในคณะธรรมยุต เริ่มแต่การซัก ตัด เย็บ ย้อม ไปจนถึงทำอัตถารกิจให้สำเร็จในวันนั้น
    ๕. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการครองจีวรแบบมอญที่เรียกว่า ห่มคลุมอย่างธรรมยุต เข้าในพระราชพิธีเป็นรูปแรก เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๓ เป็นตัวอย่างให้พระสงฆ์ธรรมยุตรูปอื่น ๆ ในครั้งนั้นทำตามสืบมาจนทุกวันนี้
    เมื่อปลายรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว ทรงแสดงพระราชวิตกเกี่ยวกับการครองจีวรแบบมอญของพระสงฆ์คณะธรรมยุต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเอยู่หัว ขณะยังทรงผนวชอยู่ทรงทราบพระราชวิตกนั้น จึงโปรดให้พระสงฆ์ธรรมยุตเลิกครองจีวรแบบมอญ กลับมาครองจีวรแบบไทยราณตามเดิม จนสิ้นรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ก็ทรงนำพระสงฆ์ธรมยุตถวายฎีกาของพระราชทานพระบรมราชานุญาตกลับไปครองจีวรแบบมอญอีกครั้งหนึ่ง ตามที่เห็น เป็นการเอื้อต่อการรักษาพระธรรมวินัยได้ดีกว่าและได้เป็นแบบของพระสงฆ์ธรรมยุตสืบมาจนปัจจุบัน
    ๖. ได้ทรงพิจารณาตรวจสอบเรื่องประมาณบาตรตามพระพุทธานุญาตในวินัยว่าควารจะเป็นอย่างไร กระทั่งทรงได้ข้อยุติดังที่พระนิพนธ์อธิบายไว้ในเรื่องประมาณบาตรที่ถือเป็นแบบอย่างใช้กันอยู่ในคณะธรรมยุตสืบมา

    [​IMG]

    ๗. ทรงพิจารณาตรวจสอบเรื่องศิลานิมิต ที่ใช้เป็นนิมตนั้นว่าควรมีขนาดเท่าไร
    ๘. ทรงพิจารณาตรวจสอบเรื่องกหาปณะ อันเป็นมาตราเงินของอินเดียโบราณว่าควรจะมีสัณฐานและน้ำหนักเท่าไร เมื่อเทียบกับเงินบาทไทย ควรจะมีราคามากน้อยเท่าใด เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับอทินนาทานสิกขาบทในพระวินัย พระมติของพระองค์ในเรื่องนี้ได้เป็นที่อ้างอิงกันในทางพระวินัยสืบมา
    ๙. ได้ทรงศึกษาตรวจสอบเรื่องสุคตประมาณเท่าใด และได้ทรงนิพนธ์ผลการศึกษาของพระองค์ในเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดเป็นภาษาบาลี ชื่อว่า "สุคตวิทตฺถวิธาน วิธีกำหนดคืบพระสุคต" ซึ่งได้ใช้เป็นแบบอย่างในคณะธรรมยุตสืบมาจวบจนปัจจุบัน คณะสงฆ์ลังกาประทับใจในพระนิพนธ์เรื่องนี้เป็นอย่างมากถึงกับได้นำไปพิมพ์เผยแพร่ในลังกาเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ พร้อมทั้งแปลเป็นภาษาลังกาด้วย ต่อแต่นั้นมาอีกราว ๓๒ ปี จึงได้มีการพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ในรัชกาลที่ ๗
    ๑๐. ได้ทรงศึกษาค้นคว้าเรื่อง ปักขคณนา คือการนับวันเดือนปีทางจันทรคติจนทรงรอบรู้เชี่ยวชาญและได้ทรงทำตำราทางปักขคณนาไว้อย่างละเอียด พร้อมทั้งได้ทรงคำนวนปฏิทินแบบปักขคณนาไว้ถึง ๓๘๗ ปี ซึ่งได้ใช้เป็นแบบในคณะธรรมยุตสืบมา
    จึงกล่าวได้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระมหาเถระที่ได้วางรากฐานด้านการพระศาสนาที่สำคัญ ๆ ให้แก่คณะธรรมยุตหลายประการ ซึ่งส่งเหล่านี้มิได้เป็นคุณประโยชน์เฉพาะแก่คณะธรรมยุตเท่านั้น แต่ได้อำนวยคุณประโยชน์แก่พระสงฆ์ไทยทั่วไปอย่างกว้างขวาง จากผลงานของพระองค์ในด้านต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา จึงกล่าววได้ว่าทรงเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุครัตน โกสินทร์



    [​IMG]

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ และเมื่อครั้งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ และทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระบรมวงศานุวงศ์ทรงผนวชเป็นสามเณรบ้าง เป็นพระภิกษุบ้าง อีกหลายสิบพระองค์


    นอกจากพระบรมวงศานุวงศ์ของไทยแล้ว ยังทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระมหากษัตริย์กัมพูชาอีก ๒ พระองค์ คือ องค์สมเด็จนโรดม และองค์สมเด็จพระหริรักษ์ราชดนัย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า องค์สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ ซึ่งเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชาตามลำดับ



    [​IMG]

    พระรูปหมู่เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ พ.ศ. ๒๔๑๖ ณ พระพุทธรัตนสถานมณฑิราราม ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน (จากซ้ายไปขวา)
    ๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    ๒. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    ๓. พระสุคุณคณาภรณ์ (นิ่ม) วัดเคลือวัลย์
    ๔. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระราชอุปัธยาจารย์
    ๕. พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) วัดมกุฏกษัตริยาราม
    ๖. สมเด็จพระวันรัตน (ทับ พุทธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร
    ๗. พระพรหมมุนี เหือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาส
    ๘. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี) วัดปทุมคงคา
    ๙. สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พระราชกรรมวาจาจารย์

    พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงผนวชโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ มีรายนามดังนี้


    พุทธศักราช ไม่ปรากฎ
    สมเด็จพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
    [​IMG]
    พุทธศักราช ๒๔๑๐
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ทรงผนวชเป็นสามเณร

    พุทธศักราช ๒๔๑๑
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
    (และอีก ๔ พระองค์ ไม่ปรากฎพระนาม)
    [​IMG]
    พุทธศักราช ๒๔๑๒
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนรัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ทรงผนวชเป็นสามเณร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตรไชย ทรงผนวชเป็นสามเณร
    [​IMG]
    พุทธศักราช ๒๔๑๓
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ ทรงผนวชเป็นสามเณร
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ ทรงผนวชเป็นสามเณร
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลย์วงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงผนวชเป็นสามเณร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ ทรงผนวชเป็นสามเณร
    [​IMG]
    พุทธศักราช ๒๔๑๔
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ ทรงผนวชเป็นสามเณร
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงผนวชเป็นสามเณร

    พุทธศักราช ๒๔๑๖
    (ปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ)
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระเจ้ามนุษยนาคมานพ) ทรงผนวชเป็นสามเณร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงผนวชเป็นสามเณร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรี ทรงผนวชเป็นสามเณร

    พุทธศักราช ๒๔๑๗
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป ทรงผนวชเป็นสามเณร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณำร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงผนวชเป็นสามเณร

    พุทธศักราช ๒๔๑๘
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดิ์ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลย์ลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุแต่เสด็จอยู่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงผนวชเป็นพระภิกษุแต่เสด็จอยู่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิดวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงผนวชเป็นสามเณร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ทรงผนวชเป็นสามเณร

    พุทธศักราช ๒๔๑๙
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ หรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ทรงผนวชเป็นสามเณรแต่เสด็จอยู่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงผนวชเป็นสามเณร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริวัฒน์ ทรงผนวชเป็นสามเณร แต่เสด็จอยู่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

    พุทธศักราช ๒๔๒๐
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ

    พุทธศักราช ๒๔๒๐
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
    พุทธศักราช ๒๔๒๘
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิตติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงผนวชเป็นสามเณร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงผนวชเป็นสามเณร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี ทรงผนวชเป็นสามเณร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวัติวรเวช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงผนวชเป็นสามเณร

    พุทธศักราช ๒๔๓๒
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวะสดิวัดนวิศิษฎ์ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
    ประทับอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ๔ วัน แล้วเสด็จไปอยู่วัดราชาธิวาส

    พุทธศักราช ๒๔๓๔
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุนหิศ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงผนวชเป็นสามเณร

    [​IMG]
    [​IMG]
    พระไตรปิฎก ฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ ๕
    [​IMG]
    ข้อความด้านในของปกหน้าพระไตรปิฎก ฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ ๕
    พุทธศักราช ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้ทำสังคายนาพระไตรปิฎก โดยทรงพระราชดำริว่า คัมภีร์พระไตรปิฎก ซึ่งแต่เดิมมาได้คัดลอกต่อ ๆ กันมาโดยการจารลงในใบลานด้วยอักษรขอมนั้น กว่าจะได้แต่ละคัมภีร์ก็ช้านานเป็นให้คัมภีร์ของพระพุทธศาสนาไม่ค่อยแพร่หลายและไม่พอใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ทั้งไม่สะดวกในการเก็บรักษา อีกทั้งภาษาขอมที่ใช้จารึกนั้นก็มีผู้อ่านกันได้น้อยลงทุกที ฉะนั้น หากได้มีการตรวจชำระพระไตรปิฎกให้ครบถ้วนบริบูรณ์ แล้วพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือด้วยอักษรไทยจะก็จะเป็นการทำให้พระคัมภีร์แพร่หลาย และสะดวกในการศึกษาเล่าเรียนมากยิ่งขึ้น
    ครั้นวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเชิญเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงผนวชและดำรงสมณศักดิ์ มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระยศเป็นกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นประธานในการตรวจชำระพระไตรปิฎก และทรงอาราธนาพระราชาคณะผู้ใหญ่ พร้อมทั้งพระสงฆ์เปรียญทั้งในกรุงและหัวเมือง ประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประกาศพระบรมราชโองการอาราธนาพระสงฆ์ให้ตรวจชำระพระไตรปิฎก นับเป็นการเริ่มทำสังคายนา การทำสังคายนาพระไตรปิฎกในครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๖ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี


    .




    .




    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร


    [​IMG]

    [​IMG]
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลีที่สำคัญพระองค์หนึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ผลงานด้านภาษาบาลีที่สำคัญของพระองค์คือ พระนิพนธ์เรื่อง สุคตวิทัตถิวิธาน ทรงนิพนธ์เมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๘ เมื่อพระชนมายุ ๓๖ ปี ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๓ พระนิพนธ์เรื่องนี้ทรงวิเคราะห์และอธิบายเรื่องคืบพระสุคต เหตุให้ทรงนิพนธ์เรื่องนี้ทรงเล่าไว้ว่า ครั้งหนึ่งมีพระสงฆ์ลังกาผู้มุ่งแสวงหาความรู้ถูกต้องเดินทางเข้ามาประเทศไทย และได้เที่ยวสนทนาสอบถามเรื่องสุคตประมาณกับพระเถรานุเถระต่าง ๆ แต่ไม่ได้รับคำวิสัชนาเป็นที่พอใจ ครั้งพระสงฆ์ลังกาเหล่านั้นได้มาสนทนาสอบถามเรื่องนี้กับพระองค์ จึงได้ชี้แจงสุคตประมาณให้ฟังอย่างละเอียด เป็นที่พอใจพระสงฆ์ลังกาคณะนั้น จากนั้นจึงได้นำพระนิพนธ์เรื่องสุคตวิทัตถิวิธานนี้ขึ้นเปรียบเสมือนเป็นบันทึกช่วยจำ และคงด้วยเหตุนี้ พระสงฆ์ลังกาจึงได้นำพระนิพนธ์เรื่องนี้ไปเผยแพร่ในลังกาและได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศลังกาในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ สำหรับประเทศไทยนั้น เพิ่งจะมารู้จักพระนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อต้นรัชกาลที่ ๗ และพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๙
    นอกจากพระนิพนธ์เรื่องนี้แล้ว พระองค์ยังทรงนิพนธ์เรื่องอื่น ๆ เป็นภาษาบาลีไว้อีกหลายเรื่อง ส่วนพระนิพนธ์ในภาษาไทยก็ทรงนิพนธ์ไว้จำนวนมากเช่นกัน ทั้งคดีโลกและคดีธรรม เท่าที่รวบรวมได้มี ๕๔ เรื่อง

    ด้านภาษาบาลี

    ๑. ภาษาบาลี
    ๑.๑ บาลีสาธกธรรมเทศนา (ขอม)
    ๑.๒ สุคตวิทัตถิวิธาน (วิธีกำหนดคืบพระสุคต)
    ๑.๓ คาถาชื่อพระเถรานุเถระที่อุปสมบทวัดบวรนิเวศวิหาร
    ๑.๔ มัชฌภัณฑทานคาถา ในงานฉลองยุค (ขอม ๒ ฉบับ)
    ๑.๕ คาถาเทวดาในดวงและดวงชะตา
    ๑.๖ คาถาสวดปัตติทาน ในงานฉลองยุค (ขอม)[​IMG]
    ๑.๗ คาถาสวดประกาศเทวดา ในงานฉลองยุค (ขอม) พร้อมคำแปลเป็นคำโคลง
    ๑.๘ มัชชารินีติ (ตำราแมว)
    . พระธรรมเทศนา
    ๒.๑ จตุราริยสัจจกถา
    ๒.๒ กรรมวิภาคกถา
    ๒.๓ ธุดงคกถา
    ๒.๔ พรหมจริยกถา
    ๒.๕ สุคตประมาณ
    ๒.๖ คำประกาศอุโบสถ
    ๒.๗ คำประกาศเทวดา ในงานฉลองยุค
    ๒.๘ เรื่องก่อพระทรายและพระเจดีย์ทราย
    . ศาสนคดี
    ๓.๑ เรื่องบาตรและกุมพะ
    ๓.๒ เรื่องประมาณบาตร (สั้น)
    ๓.๓ เรื่องประมาณบาตร (ยาว)
    (รวมอยู่ในจดหมายเหตุพงศาวดาร)
    ๓.๔ สมุดมัชฌิมบุรุษทุกวันนี้
    ๔. ตำรา
    ๔.๑ ปักขคณนา เล่ม ๑-๒ (จุลศักราช ๑๐๙๗-๑๔๘๔)
    ๔.๒ ตำราอสีติธาตุ พฤติ ปรัก[​IMG]
    ๔.๓ ตำราโครง
    ๔.๔ อัตราเถลิงศก
    ๕. พงศาวดาร พระราชประวัติ
    ๕.๑ เรื่องพระปฐมเจดีย์
    ๕.๒ ลิลิตพงศาวดารเหนือ
    ๕.๓ ตัวอย่างแปลศิลาจารึก (ขอมไทย)
    ๕.๔ จดหมายเหตุสูรย์เกาะจาร
    ๕.๕ จาฤกหลักศิลาศุโขทัย ที่ ๑
    ๕.๖ จดหมายเหตุพงศาวดาร
    ๕.๗ เฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดินสวรรคต
    ๕.๘ พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยความย่อ
    ๕.๙ พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยความพิศดาร
    ๕.๑๐ การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ๕.๑๑ เทศนาพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    ๕.๑๒ จดหมายเหตุพระเจ้าแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์
    ๕.๑๓ เถราปทาน (พระประวัติทรงเล่า)
    ๕.๑๔ ศิลาจารึกเมืองพิษณุโลก
    ๖. ธรรมชาติวิทยา
    ๖.๑ จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน (ยังพิมพ์ไม่เสร็จ)
    ๖.๒ เรื่องดาวหาง
    ๖.๓ บัญชีดาวหาง
    ๗. คำโคลง
    ๗.๑ โครงพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ๗.๒ กลอนกาพย์ เรื่องเสด็จไปเมืองนครศรีธรรมราช
    ๗.๓ กลอนสวดเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช
    ๗.๔ โครงคำประกาศในงานฉลองยุค
    ๗.๕ โครงดอกไม้บาน
    ๗.๖ โครงบัญชีสิ่งของถวายพระในงานฉลองยุค
    ๗.๗ โครงเรื่องผีอุปัชฌาย์
    ๗.๘ โครงเรื่องดาวตก
    ๗.๙ โครงตำราฝน
    ๗.๑๐ โครงบัญชีน้ำฝน
    ๗.๑๑ โครงตำราขอฝน
    ๘. ตำรายก
    ๘.๑ ตำรายาอายุวัฒนะ
    ๘.๒ ตำรายาพิเศษ


    [​IMG]

    ด้านกวีนิพนธ์

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ กล่าวได้ว่าทรงเป็นกวีที่สำคัญพระองคหนึ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ แต่พระเกียรติคุณในด้านนี้ของพระองค์ไม่ค่อยได้มีการพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง หากได้ศึกษาผลงานทางวรรณกรรมของพระองค์ที่ที่มีอยู่จำนวนมากก็จะเห็นได้ว่าพระนิพนธ์ภาษาไทยของพระองค์เป็นร้อยกรองประเภทต่าง ๆ เกือบจะทั้งหมด ยกเว้นพระนิพนธ์พระธรรมเทศนาและศาสนคดีบางเรื่องเท่านั้น ดูเหมือนว่าจะทรงชำนาญทางร้อยกรองมากกว่าร้อยแก้วด้วยซ้ำไป เรื่องต่าง ๆ ที่ทรงนิพนธ์เป็นร้อยกรอง เช่น ลิลิขพงศาวดารเหนือ โคลงเรื่องพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลอนสวดเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช โคลงตำรายา โคลงตำราน้ำฝน เป็นต้น แม้เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทรงจดหมายเหตุไว้ก็ทรงพระนิพนธ์ไว้เป็นโครงบ้าง เป็นกลอนบ้าง เกือบจะทั้งสิ้น





    .



    .



    .



    .



    0.



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร




    [​IMG]

    ด้าน
    สถาปัตยกรรม

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พุทธศักราช ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริที่จะปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งแต่เดิมเป็นพระเจดีย์ขนาดย่อม ให้เป็นพระมหาเจดีย์สำหรับสักการะบูชาของปวงชนสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพระยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองจัดการปฏิสังขรณ์ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ดำเนินการไปได้ ๗ ปีเศษ ก่อพระเจดีย์ขึ้นไปได้ ๑๗ วา ๒ ศอก ครั้นวันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๐๓ เนื่องจากฝนตกหนักทั้งกลางวันกลางคืน ทำให้อิฐที่ก่อองค์พระเจดีย์ทรุดตัวลงมาโดยรอบ เพราะไม่มีฐานทักษิณ จึงรับน้ำหนักไม่ไหว
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ร่วมกับกรมขุนราชสีหวิกรม ออกแบบพระปฐมเจดีย์ถวายใหม่ แบบพระเจดีย์ที่ทรงออกแบบถวายนี้ เป็นพระเจดีย์แบบลังกา ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ถมสูงขึ้นไป ๔ วา ๒ ศอก จากพื้นฐานถึงทักษิณชั้นที่ ๑ สูง ๖ ศอกคืบ ๒ นิ้ว จากทักษิณชั้นที่ ๑ ขึ้นไปถึงฐานบัวคว่ำ สูง ๘ ศอกคืบ จากทักษิณชั้นที่ ๒ ขึ้นไปถึงปากระฆัง ปล้องไฉน ๒๗ ปล้อง สูง ๑๕ วา ๒ ศอกคืบ ๕ นิ้ว บังลังก์บัวแวง สูง ๓ วาคืบ ๖ นิ้ว ฐานทองเหลือง สูง ๒ ศอกคืบ ๒ นิ้ว ยอดนพศูลขึ้นไปตลอดยอดมงกุฏ สูง ๓ วา ๑ นิ้ว รวมตั้งแต่ฐานพื้นดินตลอดยอกมงกุฏ ๓ เส้น ๑ คืบ ๖ นิ้ว รอบฐาน ๑๐๕ เส้น ๑๖ วา ๓ ศอก
    เมื่อออกแบบพระเจดีย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ และเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เป็นผู้ดูแลในการบูรณะพระปฐมเจดีย์ขึ้นใหม่ จนสำเร็จเสร็จสิ้นเป็นพระมหาเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้


    <table style="border-collapse: collapse;" id="AutoNumber1" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="50%"> [​IMG]</td> <td width="50%">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ในปัจจุบัน



    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="1204" width="808"><tbody><tr><td colspan="13" rowspan="2" class="style1" height="882" valign="top" width="782">
    [​IMG]

    [​IMG]

    ด้านโบราณคดี


    [​IMG]

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ และทรงพบศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ พระองค์ได้ทรงพยายามศึกษาจนสามารถ อ่านข้อความในหลักศิลาจารึกได้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งทรงเป็นศิษย์ผู้ไกล้ชิดพระองค์หนึ่ง ได้ทรงดำเนินรอยตาม เป็นเหตุให้ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในทางโบราณคดีพระองค์หนึ่งของประเทศไทย และได้ทรงอ่านศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๔ ที่เป็นอักษรขอมเป็นพระองค์แรก






    [​IMG]

    นอกจากจะทรงเป็นนักอ่านศิลาจารึกแล้ว ยังทรงสนพระทัยศึกษาและรวมรวมจารึกต่า
    ง ๆ ที่มีในประเทศไทยไว้เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องราวโบราณคดีไว้อีกหลายเรื่อง

    </td> <td colspan="2" rowspan="2" height="916" width="8">
    </td></tr></tbody></table>
    [​IMG]


    ด้านดาราศาสตร์และโหราศาสตร์


    [​IMG]

    ในด้านดาราศาสตร์ ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างยิ่ง ได้ทรงพระนิพนธ์ตำราปักขคณนา (ตำราการคำนวนปฏิทินทางจันทรคติ) ได้อย่างพิศดาร และได้ทรงคำนวนปฏิทินปักขคณนาไว้ถึง ๓๘๗ ปี เริ่มตั้งแต่ปี จุลศักราช ๑๐๙๗ (พุทธศักราช ๒๒๗๘) ถึงจุลศักราช ๑๔๘๔(พุทธศักราช ๒๖๖๕) ทรงเป็นที่เลื่องลือว่าทรงเชี่ยวชาญในทางโหราศาสตร์เป็นอันมาก แต่ไม่ทรงนิยมการพยากรณ์ นอกจากนี้ ยังได้ทรงนิพนธ์ตำราเกี่ยวกับดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ไว้หลายเรื่อง อันแสดงให้เห็นถึงความรอบรู้เชี่ยวชาญของพระองค์ในศาสตร์ด้านนี้

    [​IMG]

    [​IMG]






    ด้านวิทยาศาสตร์


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงบันทึกจำนวนฝนตกเป็นรายวันติดต่อกันเป็นเวลาถึง ๔๕ ปี เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช ๒๓๘๙ จนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ เพื่อเป็นการเก็บสถิติน้ำฝนในประเทศไทย ทรงเรียกบันทึกของพระองค์ว่า "จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน" และในจดหมายเหตุนี้ ยังได้ทรงบันทึกเหตุการณ์บ้านเมืองที่สำคัญ ๆ ไว้ด้วย นับเป็นจดหมายเหตุทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่ามากเรื่องหนึ่ง

    จากพระนิพนธ์เรื่องจดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนและเครื่องวัดน้ำฝนของพระองค์ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเป็นนักวิทยาศาสตร์ของพระองค์ได้เป็นอย่างดี และความเป็นวิทยาศาสตร์ของพระองค์นั้น มิได้ทรงนำมาใช้เฉพาะกับธรรมชาติหรือเรื่องทางโลกเท่านั้น แม้ในการศึกษาพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงใช้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์พิสูจน์ตรวจสอบอย่างถึ่ถ้วนชัดเจนก่อนที่จะทรงเชื่อหรือลงสันนิษฐานว่าอะไรเป็นอย่างไร ไม่ทรงเชื่อหรือตัดสินอะไรง่าย ๆ ดังจะเห็นได้จากเรื่องสุคตประมาณ ประมาณบาตร เป็นต้น ที่ทรงพระวินิจฉัยไว้เป็นตัวอย่าง นับว่าพระองค์ทรงเป็นคนรุ่นเก่าที่มีแนวพระดำริล้ำยุคสมัยพระองค์หนึ่ง

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    .




    .




    .




    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร



    ทรงให้กำเนิดพระกริ่งในประเทศไทย
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงพระดำริสร้างพระกริ่งขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า "พระกริ่งปวเรศ" เพื่อประทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ หรือผู้ที่เห็นสมควรเท่านั้น และนับการให้กำเนิดพระกริ่งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และได้เป็นแบบอย่างในการสร้างพระกริ่งในเวลาต่อมาจนกระทั้งทุกวันนี้

    [​IMG]

    [​IMG]


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงสร้างพระกริ่งและหม้อน้ำมนต์พระกริ่งนั้นเรียกกว่า "พระกริ่งปวเรศ" ทรงสร้างเมื่อไร มีจำนวนเท่าไร ไม่พบหลักฐาน
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้เคยรับสั่งเล่าว่า รวมใจความเท่าที่มีผู้กำหนดได้ว่า พระกริ่งนั้นทรงสร้างขึ้นเอง เพื่อถวายเจ้านาย มีจำนวนไม่เกิน ๓๐ องค์ แต่หลวงชำนาญเลขา (หุ่น) สมุห์บัญชีในกรมของพระองค์ (ซึ่งเป็นไวยาวัจกร ในสมัยที่ทรงครองวัด และสืบต่อมาถึงสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงครองวัดในเบื้องต้น) ได้ขอประทานอนุญาตนำแบบพิมพ์ไปสร้าง ได้นำไปสร้างขึ้นอีกเท่าไหร่ไม่ทราบ

    การบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหาร

    ในสมัยที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบูรณะ
    พระอุโบสถ คือ มุงกระเบื้องเคลือบเป็นหลังคาลูกฟูก ประดับลายหน้าบันแห่งสามมุข และมุขลดด้านหน้าเป็นลายด้วยกระเบื้องเคลือบ ตรงกลางเป็นตราพิชัยมงกุฏและพระขรรค์รองพานสองชั้น ภายในเขียนผนังมุขหน้าใหม่ เหนือประตูหน้าต่างเขียนภาพเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมไทยและประเพณีสำคัญทางพระพุทธศาสนา เสาในพระอุโบสถระบายสีพื้นเสาเป็นต่างสีแสดงปริศนาธรรม เรียกว่าฉฬาภิชาติ แสดงถึงจิตใจของบุคคล ๖ ประเภท ตั้งแต่ดำสนิทจนถึงขาวสะอาดซึ่งหมายถึงใจบริสุทธิ์




    [​IMG]
    พุทธศักราช ๒๔๐๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริโปรดให้บูรณะแก้ไขพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหารที่ทรุดและยอดเอียง ให้รื้อและแก้ไขให้ตั้งตรง และให้หล่อรูปสิงห์ ช้าง ม้า และนกอินทรีย์ ด้วยทองสัมฤทธิ์ ตั้งบนหลังซุ้มพระเจดีย์ ให้ถมคลองระหว่างพระเจดีย์กับคณะลังกา รื้อคณะนั้นสร้างพระวิหารหลังหนึ่ง ๕ ห้อง มีเฉลียงรอบนอกแบ่งเป็น ๒ ตอน ด้านตะวันออก ๓ ห้อง ประดิษฐานพระศาสดา ด้านตะวันตก ๒ ห้อง ประดิษฐานพระพุทธไสยา ในระหว่างพระเจดีย์และพระวิหารพระศาสดา ทรงสร้างพระวิหารน้อยขึ้นอีกหลังหนึ่ง ๓ ห้อง มีเก๋งโถงสองข้าง เรียกว่าวิหารเก๋ง สำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์อดีตเจ้าอาวาส





    วิหารเก๋งที่ประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของอดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นที่เคารพนับถือของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดถึงพระบรมวงศานุวงศ์เป็นอันมาก ทรงเป็นที่ปรึกษาในกิจการบ้านเมืองที่สำคัญ ๆ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังจะเห็นได้จากความในราชหัตถเลขาที่กราบทูลสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์บางตอนว่า
    "ทุกวันนี้ หม่อมฉันเหมือนตัวคนเดียวได้อาศัยอยู่แต่สมเด็จกรมพระกับเสด็จเป็นที่พึ่งที่ปรึกษา เป็นพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ ขอให้ทรงพิเคราะห์การให้ละเอียดด้วย....."
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะเมื่อทรงรับถวายมหาสมณุตมาภิเษกนั้น ทรงเจริญพระชนมายุถึง ๘๒ พรรษาแล้ว ทรงพระประชวรต้อกระจกจนในที่สุดพระเนตรมืด ครั้งพุทธศักราช ๒๔๓๕ ทรงล้ม พระอัฐิพระกรซ้ายคลาดจากกัน และทรงใช้พระกรข้างนั้นไม่ได้อีก
    ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๕ ทรงพระประชวรด้วยพระโรคชรา ไม่ไปพระบังคนหนัก และให้ทรงหนาวเนือง ๆ หมื่นคุณแพทยพิทยากรรม ถวายพระโอสถแก้หนาว พระอาการค่อยดีขึ้น และถวายยาปัต แก่ก็หาได้ไปพระบังคนไม่
    วันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๕ ทรงพระอาเจียร เสวยพระกระยาหารไม่ค่อยได้ และบรรทมพระค่อยหลับ
    วันที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชวร ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานหมอหลวง หมอยา คือพระยาอมรศาสตรประสิทธิศิลป์ หลวงโรคนิทาน หลวงราโชวาต หมื่นสรรพชาติวาโย หมื่นพิทักษ์ภูษาบาลหมอนวด
    วันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๕ มีพระอาการร้อนและเสียด แพทย์ได้ถวายพระโอสถและถวายอยู่งานระงับเป็นคราว ๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชวรอีกครั้งหนึ่ง ในวันนี้ เป็นวันอุโบสถ พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปทำอุโบสถที่พระอุโบสถ เพราะตั้งแต่ทรงผนวชมาได้ทรงทำอุโบสถมาทุกครั้งไม่เคยขาดเลย แม้ประชวรจะทรงพระดำเนินไปไม่ได้ ก็โอปรดให้เชิญเสด็จไป แม้ในคราวนี้ก็โปรดให้เชิญเสด็จไปเหมือนเช่นนั้น พระบาทเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเกรงว่า ถ้าเด็จไปพระโรคจะกำเริบมากขึ้น จึงทรงพระราชอุทิศที่บริเวณในพระตำหนักนั้น เป็นวิสุงคามสีมา เพื่อพระสงฆ์จะได้ประชุมทำอุโบสถในที่นั้น ให้เป็นการสมพระประสงค์ของพระองค์ท่าน และไม่ต้องเชิญเสด็จไปถึงพระอุโบสถ
    หลังจากนั้นเป็นต้นมา พระองค์ทรงมีพระอาการอ่อนเพลีย พระวรกายอ่อนแรง เสวยพระกระยาหารได้น้อยลง และบรรทมไม่หลับ จนเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๕ มีพระอาการอ่อนแรงและระหาย ทรงหอม และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา ๑๑ ทุ่ม กับ ๓ นาที (๒๓.๐๓ น.) สิริพระชนมายุได้ ๘๓ พรรษา กับ ๑๓ วันทรงผนวชเป็นพระภิกษุได้ ๖๔ พรรษา ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารได้ ๔๒ ปี ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุติกนิกายได้ ๔๒ ปี และทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ ๑๐ เดือน




    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    เครื่องอัฐบริขารและของทรงใช้ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ก. หมอน สบง จีวร และประคต
    ข. บาตรครอง คือบาตรที่ทรงใช้
    ง. โอไข (ภาชนะใส่ของ)
    จ. กระโถน
    ฉ. กระโถน

    .



    .



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร



    [​IMG]


    การพระศพ
    [​IMG]

    วันที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๕
    เวลาย่ำค่ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิส สยามมกุฏราชกุมาร ทรงภูษาและฉลองพระองค์ขาว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงพระดำเนินสู่พระตำหนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ถวายน้ำสรงพระศพแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดีสรงพระศพตามลำดับ ขณะนั้น เจ้าพนักงานประโคมกลองชนะแตรสังข์พร้อมกัน สรงเสร็จแล้ว โปรดให้เจ้าพนักงานทรงเครื่องพระศพตามสมณเพศ แล้วเชิญลงพระลองใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสวมพระชฎาถวายแล้ว เจ้าพนักงานยกพระลองในขึ้นตั้งเหนือชั้นแว่นฟ้า ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่แล้ว ทรงทอดผ้าไตร ๕๐ ไตร ผ้าขาว ๑๐๐ พับ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร และพระสงฆ์อื่น ๆ รวม ๑๕๐ รูป สดับปกรณ์แล้ว เวลา ๒ ทุ่มเศษ เสด็จพระราชดำเนินกับสู่พระบรมมหาราชวัง เจ้าพนักงานได้ตั้งเครื่องสูง ๕ ชั้น ๙ คัน แวดล้อมพระโกศ และมีกลองชนะแดง ๑๐ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ สังข์ ๑ แตรงอน ๑ แตรฝรั่ง ๒ ประโคมประจำพระศพ และพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม ๔ สำรับ ๑๒ คู่ ทั้งกลางวันกลางคืนต่อไป


    <table style="border-collapse: collapse;" id="AutoNumber1" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="100%">[​IMG]

    พระพุทธปัญญาอัคคะ

    พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระพุทธรูปยืนครองจีวรคลุมสองพระอังสา ประดิษฐานอยู่ในภายพระวิหารเก๋ง ด้านทิศตะวันออก เบื้องล่างบรรจุพระอังคารสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    </td> </tr> </tbody></table>
    [​IMG]


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงพระโกศกุดั่นใหญ่ประดิษฐานไว้ ณ พระตำหนักเดิม (ที่เสด็จประทับ) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลาถึง ๘ ปี ๓ เดือน จึงได้เชิญไปสู่พระเมรุท้องสนามหลวง โดยขบวนแห่ ทรงพระโกศทองใหญ่ประดับพุ่มข้าวบิณฑ์และเฟื่อง ทรงเวชยันตราชรถเชิญขึ้นประดิษฐานบนชั้นแว่นฟ้าทองในพระอุโบสถวัดบวรสถาน สุทธาวาสวันหนึ่ง จึงได้พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๔๓ และได้เชิญพระอัฐิส่วนหนึ่งทรงพระโกศทองลงยา เข้าหอพระนาค วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เชิญพระอัฐิอีกส่วนหนึ่งทรงพระเจดีย์ศิลาทองกับพระอังคารมาวัดบวรนิเวศวิหาร ประดิษฐานพระอัฐิไว้ที่พระตำหนักเดิม บรรจุพระอังคารไว้ที่ฐานพระพุทธปัญญาอัคคะในพระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร





    [​IMG]


    พระเจดีย์ศิลาบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (องค์กลาง) ประดิษฐานอยู่ภายในพระตำหนักเดิม วัดบวรนิเวศวิหาร



    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

    [​IMG]

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะเมื่อทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นสมเด็จพระมหาสังฆปริณายก ที่สมเด็จพระสังฆราชนั้น ยังไม่มีคำนำพระนามที่บ่งบอกถึงพระเกียรติยศในทางสมณศักดิ์ แด่เดิมนั้นเรียกตามพระอิสริยยศแห่งพระบรมราชวงศ์ว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเปลี่ยนคำนำพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระประมุขแห่งสังฆมณฑลว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า เพื่อให้ปรากฎพระนามในส่วนสมณศักดิ์ด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ในคราวเดียวกันกับที่ทรงสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๔ มีสำเนาประกาศดังนี้

    [​IMG]





    .



    .




    .




    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เรื่องของพระกริ่งปวเรศ
    บาตรน้ำมนต์หลวงปู่กรมพระยาปวรศ
    และขันสาครหลวงปู่กรมพระยาปวเรศ

    สำหรับพระกริ่งปวเรศ เนื้อสเตอร์ริงซิลเวอร์ และ เนื้อทองคำ

    ท่านผู้ให้สร้างพระกริ่งปวเรศ เป็นไวยาวัจกร และ กลุ่มศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่กรมพระยาปวเรศ

    ปีที่สร้างคือ ปี พ.ศ.2434 สร้างที่ทวีปยุโรป (ประเทศฝรั่งเศษ อาจจะมีประเทศอังกฤษ และ ประเทศอิตาลี ด้วย)

    เรื่องของเนื้อ จะประกอบไปด้วยเนื้อเงินสเตอร์ริงเป็นหลักใหญ่ครับ



    .



    .



    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    พระกริ่งปวเรศ เนื้อทองคำ ที่ผมเคยนำไปสแกนมา
    องค์นี้แท้ครับ


    ทองคำ 65.30 %
    เงิน 16.80 %
    ทองแดง 17.80 %

    น้ำหนัก 28.77 กรัม

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]




    .


    .


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • kreengtong.JPG
      kreengtong.JPG
      ขนาดไฟล์:
      39.7 KB
      เปิดดู:
      6,195
    • kreeng 1.JPG
      kreeng 1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      25.7 KB
      เปิดดู:
      5,878
    • kreeng 2.JPG
      kreeng 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      6 KB
      เปิดดู:
      5,475
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สัมฤทธิ์ตอนที่ 1
    คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง

    โดย แทน ท่าพระจันทร์

    สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีท่านผู้อ่านได้ถามมาถึงเรื่องเนื้อโลหะผสมและเนื้อสัมฤทธิ์กันมาก ซึ่งความจริงผมเองเคยได้เขียนถึงโลหะสัมฤทธิ์ตามสูตรโบราณไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่บางท่านยังไม่ได้อ่านจึงขอให้เขียนถึงอีกครั้ง จึงได้นำเอาของเก่ามาเล่ากันใหม่ครับ แต่จะไม่เหมือนกับครั้งที่แล้วทุกตัวอักษรเพราะผมไม่ได้เก็บต้นฉบับไว้ เขียนใหม่กันสดๆ แต่สูตรของโลหะยังคงเดิมตามแบบโบราณทุกประการ โดยขอนำข้อความบางตอนที่ท่านอาจารย์ ตรียัมปวายได้เคยเขียนไว้มาให้อ่านกันครับ

    คำว่าสัมฤทธิ์ตาม พจนานุกรม หมายความว่า น. ความสำเร็จ ถ้าหมายถึงโลหะก็จะหมายถึงโลหะเจือชนิดหนึ่งประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก ทองสัมฤทธิ์หรือสัมฤทธิ์ ก็เรียก เขียนว่าสำริดก็มี

    โลหะผสมที่นำ มาสร้างพระพุทธรูปหรือพระรูปหล่อลอยองค์ โดยมากใช้โลหะธาตุทองแดงผสมกับดีบุกและโลหะธาตุอื่นๆ แล้วแต่จะผสมกันไปตามสูตรของใครของมัน และในปัจจุบันเรียกกันว่า "เนื้อสัมฤทธิ์" แต่ถ้าจะพูดถึงโลหะสัมฤทธิ์ตามสูตรโบราณแท้ๆ นั้นเขามีหลักมีเกณฑ์ในการผสมโลหะ และเพื่อให้เป็นสิริมงคล จึงได้ใช้คำเรียกโลหะผสมชนิดนี้ว่า "สัมฤทธิ์" ซึ่งหมายถึงการสัมฤทธิ์ผล หรือสัมฤทธิ์ประโยชน์ตามความปรารถนา ทั้งนี้หมายความถึง ความสำเร็จนับแต่เริ่มต้นในการผสมโลหะตามสูตร การลงอักขระเลขยันต์ให้สำเร็จเป็นอิทธิวัตถุ บังเกิดเป็นมงคลและความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ และในประการสุดท้ายเมื่อนำอิทธิวัตถุสำเร็จไปใช้แล้ว ก็ย่อมจะอำนวยให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ปรารถนาได้ อาจสรุปได้ว่า แม้เพียงแต่การผสมโลหะต่างๆ ตามมูลสูตร แผ่เป็นแผ่นลงอักขระเลขยันต์ แล้วหล่อหลอมรวมกัน ก็ถือได้ว่าเป็นของวิเศษสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องรางของขลังได้ทันที ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า โลหะสัมฤทธิ์เป็นมงคลโลหะที่เหมาะสมที่สุดแก่การที่จะนำมาสร้างเป็นองค์พระ ปฏิมา

    โลหะสัมฤทธิ์ตามโบราณ ซึ่งใช้โลหะธาตุบริสุทธิ์ต่างๆ ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไปและอย่างมากที่สุดจะไม่เกิน 9 ชนิด หล่อหลอมผสมกันตามอัตราส่วนสำเร็จขึ้นมาเป็นโลหะชนิดใหม่เรียกว่า "สัมฤทธิ์" อย่างไรก็ดีโลหะสัมฤทธิ์จะต้องใช้โลหะตระกูลสูง 2 ชนิด คือ ทองคำและเงิน เป็นส่วนผสมหลักอยู่ด้วยเสมอ มิฉะนั้นจะไม่ถือว่าเป็นโลหะสัมฤทธิ์ นอกจากนี้จะต้องมีโลหะยืนโรงอีกชนิดหนึ่ง คือทองแดง ซึ่งจะต้องใช้มากเพื่อให้ได้ปริมาณ

    ตระกูลของสัมฤทธิ์ที่ถูกต้องตามสูตรโบราณมีอยู่ 5 ตระกูล คือ สัมฤทธิ์ผล สัมฤทธิ์โชค สัมฤทธิ์ศักดิ์ สัมฤทธิ์คุณ และสัมฤทธิ์เดช รวมเป็นสัมฤทธิ์ 5 ตระกูล อันมีความพิสดารดังต่อไปนี้

    1. สัมฤทธิ์ผล คือสัมฤทธิ์แดง หรือ ตริยโลหะ มีมงคลความหมายถึง พระรัตนตรัยเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อสาม ผสมด้วยโลหะธาตุ 3 ชนิด คือ ทองแดง เป็นส่วนใหญ่และเจือด้วยเงินกับทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะแดงคล้ายนาก แต่มีผิวเจือด้วยวรรณะคล้ำๆ คล้ายสีมะขามเปียก โบราณถือว่าเป็นมงคลวัตถุ อำนวยผลนานาประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเมตตามหานิยม พระพุทธรูปสมัยอู่ทองโดยเฉพาะพระพุทธรูปอู่ทองหน้าแก่มักสร้างด้วยเนื้อนี้

    2. สัมฤทธิ์โชค คือสัมฤทธิ์เหลือง หรือปัญจโลหะ เป็นโบราณนิยามหมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อห้า ได้แก่ ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เงิน ทองคำ มีวรรณะเหลืองคล้ายเนื้อกลองมโหระทึก หรือขันลงหิน มีแววนกยูงภายในเนื้อ เป็นสัมฤทธิ์ที่ให้คุณหนักไปทางด้านลาภผล กับความสำเร็จ พระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัยบางยุคและพระเชียงแสน พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราชแพ บางรุ่น และพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์บางรุ่นก็สร้างด้วยเนื้อนี้

    วันนี้หมดหน้ากระดาษพอดี พรุ่งนี้ผมจะเล่าต่อเรื่องเนื้อสัมฤทธิ์ศักดิ์ สัมฤทธิ์คุณและสัมฤทธิ์เดชจนจบครับ

    ด้วยความจริงใจ

    แทน ท่าพระจันทร์


    จากนสพ ข่าวสด




    สัมฤทธิ์ตอนที่ 2
    คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง
    แทน ท่าพระจันทร์

    สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราก็มาคุยเรื่องของโลหะเนื้อสัมฤทธิ์กันต่อ เมื่อวันก่อนก็ได้คุยกันถึงสัมฤทธิ์ผล และสัมฤทธิ์โชคกันไปแล้ว สัมฤทธิ์ที่เหลืออีก 3 เนื้อก็คือสัมฤทธิ์ศักดิ์ สัมฤทธิ์คุณ และสัมฤทธิ์เดช มาว่ากันต่อเลยนะครับ

    3. สัมฤทธิ์ศักดิ์ คือสัมฤทธิ์ขาว หรือสัตตโลหะ เป็นมงคลนามหมายถึง โพชฌงค์ 7 คือ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี 7 ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา สัมฤทธิ์ศักดิ์เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้ำน้อยๆ แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ นับถือกันว่าอำนวยผลในด้านอำนาจ มหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด

    4. สัมฤทธิ์คุณ คือสัมฤทธิ์เขียว หรือนวโลหะ หมายถึงนัยของธรรมอันสูงสุดในพระศาสนา อันได้แก่ นวโลกุตรธรรม อันมี มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 สัมฤทธิ์คุณเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดช ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว ชิน จ้าวน้ำเงิน เงิน และทองคำ แต่สัมฤทธิ์ตระกูลนี้แก่ส่วนผสมของเนื้อเงินมากกว่าธรรมดา ฉะนั้น เนื้อภายในจึงมีวรรณะสีจำปาอ่อนหรือนากอ่อน แต่ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะถูกไอเหงื่อ จะมีวรรณะคล้ำเจือเขียวเตยหม่นแกมเหลืองอ่อนคล้ำมีแววขาวโดยตลอดเนื้อ สัมฤทธิ์ชนิดนี้อำนวยคุณวิเศษเช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดชทุกประการ

    5. สัมฤทธิ์เดช คือสัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์คุณ แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้นภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะต้องไอเหงื่อ จะดำสนิท ประหนึ่งนิลดำ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คืออำนาจตะบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิ์เดช หรือนวโลหะ ที่เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาอยู่กับ สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ พระพุฒาจารย์มา ครั้งยังเป็นพระมงคลทิพยะมุนี วัดจักรวรรดิฯ และสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ ครั้งยังเป็นพระเทพโมลีตามลำดับ เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด มีดังนี้

    1) ชิน หนัก 1 บาท

    2) จ้าวน้ำเงิน หนัก 2 บาท

    3) เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท

    4) ตะกั่วเถื่อน หนัก 4 บาท

    5) ปรอท หนัก 5 บาท

    6) สังกะสี หนัก 6 บาท

    7) บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก 7 บาท

    8) เงิน หนัก 8 บาท

    9) ทองคำ หนัก 9 บาท

    เนื้อ ทองสัมฤทธิ์เดชนี้ เราจะเห็นได้ว่า ส่วนผสมใช้ทองคำมากกว่าโลหะอื่นๆ ซึ่งหนักถึง 9 บาท จึงจะได้น้ำหนักของเนื้อสัมฤทธิ์เดชเพียง 45 บาทเท่านั้น ซึ่งก็จะสร้างเป็นองค์พระไม่ได้มากนัก ในปัจจุบันจึงไม่มีใครกล้าทำเนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ซึ่งเป็นนวโลหะจริงๆ ตามสูตรโบราณเนื่องจากจะสิ้นเปลืองมาก


    การสร้างพระเครื่องและ เหรียญในปัจจุบันนี้ได้ทำให้คนเข้าใจผิดกันมาก โดยเรียกโลหะผสมชนิดเนื้ออ่อนๆ ชนิดหนึ่งว่าเป็นเนื้อนวโลหะ และเรียกโลหะผสมชนิดเนื้อกลับว่า เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นการตรงกันข้าม เพราะคำว่านวโลหะ หมายถึงเนื้อทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้าตามแบบโบราณเท่านั้น
    ครับ เรื่องของเนื้อทองสัมฤทธิ์ก็มีเท่าที่เล่ามานี้แหละครับ ส่วนเนื้อโลหะอื่นๆ ที่นำมาสร้างพระเครื่องก็ยังมีอีกมาก เช่นเนื้อชิน เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ และเนื้ออัลปาก้าเป็นต้น ซึ่งถ้ามีโอกาสก็ค่อยมาเล่าสู่กันฟังใหม่นะครับ วันนี้เอาแค่นี้ก่อนครับ

    ด้วยความจริงใจ



    แทน ท่าพระจันทร์


    ที่มา นสพ ข่าวสด

     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <table class="fontblacksm" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr valign="top"><td>โลหะผสมทองแดง โดย นายสมชาย พวงเพิกศึก และนายชูศักดิ์ แช่มเกษม

    ���м��ͧᴧ �ҡ ���ҹء��������Ѻ���Ǫ�� ������ 2

    สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 2

    โลหะที่ผสมทองแดง (copper base alloys) เป็นโลหะหลัก และเป็นที่รู้จักกันมานานแล้วคือ ทองเหลือง(brass) และทองสัมฤทธิ์ นอกจากนี้ก็มีโลหะผสมทองแดง-นิกเกิล โลหะผสมทองแดง-อะลูมิเนียม เป็นต้น
    </td> <td align="right"> <table> <tbody><tr><td nowrap="nowrap"> [ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้] </td> </tr></tbody></table></td> </tr> </tbody></table> หัวข้อ

    <table class="fontblacksm" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr valign="top"> <td> ทองเหลืองแอลฟา
    ทองเหลืองแอลฟา คือ ทองเหลืองที่มีส่วนผสมของทองแดงมากกว่าร้อยละ ๖๑ ทองเหลืองประเภทนี้อ่อน สามารถตีแผ่ หรือทำเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ง่ายเหมาะสำหรับทำภาชนะ และเครื่องใช้ต่าง ๆ
    [กลับหัวข้อหลัก]
    </td> <td align="right"> <table> <tbody><tr><td nowrap="nowrap"> [ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้] </td> </tr></tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> <table class="fontblacksm" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr valign="top"> <td> ทองเหลืองแอลฟา บีตา
    ทองเหลืองแอลฟา-บีตา ประกอบด้วยทองแดงระหว่างร้อยละ ๕๔-๖๑ ทองเหลืองชนิดนี้แข็ง และเปราะกว่าชนิดแรก ใช้ทำชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบของเครื่องจักร
    [กลับหัวข้อหลัก]
    </td> <td align="right"> <table> <tbody><tr><td nowrap="nowrap"> [ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้] </td> </tr></tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> <table class="fontblacksm" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr valign="top"> <td> ทองเหลือง
    ทองเหลือง คือโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ใช้ทำเครื่องใช้ เครื่องประดับ และงานทางศิลปะ ทองเหลืองที่ใช้งานทั่วๆ ไปมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่สามารถแยกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ๒ ประเภท คือ ทองเหลืองแอลฟา และทองเหลืองแอลฟา-บีตา (alpha, alpha-beta brass)
    [กลับหัวข้อหลัก]
    </td> <td align="right"> <table bgcolor="#cccccc" border="0" cellpadding="10" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td align="center" bgcolor="#ffffff">[​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="fontblackmini">ผลิตภัณฑ์จากทองเหลือง </td> <td align="right">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>
    <table> <tbody><tr><td nowrap="nowrap"> [ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้] </td> </tr></tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> <table class="fontblacksm" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr valign="top"> <td> สัมฤทธิ์
    สัมฤทธิ์ หรือ สำริด เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงและดีบุก สัมฤทธิ์บางชนิดอาจมีส่วนผสมของสังกะสี หรือตะกั่วปนอยู่ด้วย สัมฤทธิ์ที่เป็นโลหะผสมของทองแดง นิยมใช้ทำเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลที่ใช้กันมากในงานอุตสาหกรรม สัมฤทธิ์แบ่งออกเป็น ๖ ประเภท ตามชนิดและส่วนผสมของสาร คือ
    ๑. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกต่ำกว่าร้อยละ ๘ ค่อนข้างอ่อน ตีแผ่หรือรีดได้ง่าย เหมาะกับงานทั่วๆ ไป
    ๒. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกต่ำกว่าร้อยละ ๘ แต่มีสังกะสีหรือตะกั่วผสมอยู่ด้วย เช่น สัมฤทธิ์ ๕-๕-๕ คือสัมฤทธิ์ที่มีส่วนผสมของดีบุกร้อยละ ๕ สังกะสีร้อยละ ๕ ตะกั่วร้อยละ ๕ ใช้ทำเฟือง และหล่อทำเครื่องสูบน้ำ
    ๓. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกร้อยละ ๘-๑๐ อาจมีสังกะสีหรือตะกั่วปนอยู่บ้าง สัมฤทธิ์ชนิดนี้ใช้ทำท่อน้ำ
    ๔. สัมฤทธิ์ที่มีฟอสฟอรัสผสมอยู่ร้อยละ ๐.๑- ๐.๖ ดีบุกร้อยละ ๖-๑๔ สัมฤทธิ์ชนิดนี้ทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเล จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ทำชิ้นส่วนของเรือเดินทะเล เช่น ใบพัดเรือและทำเฟืองเกียร์
    ๕. สัมฤทธิ์ที่มีตะกั่วผสมร้อยละ ๘-๒๐ บางชนิดอาจสูงถึงร้อยละ ๓๐ ส่วนดีบุกนั้นมีตั้งแต่ร้อยละ ๐-๑๐ ใช้ทำแท่นรองรับ (bearing)
    ๖. สัมฤทธิ์ชนิดที่ใช้ทำระฆังหรือเครื่องเสียง มีส่วนผสมของดีบุกกว่าร้อยละ ๓๐ โดยผสมตะกั่วและสังกะสีลงไปเล็กน้อย
    [กลับหัวข้อหลัก]
    </td> <td align="right"> <table> <tbody><tr><td nowrap="nowrap"> [ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้] </td> </tr></tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> <table class="fontblacksm" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr valign="top"> <td> โลหะผสมทองแดง-นิกเกิล
    ทองแดงและนิกเกิลสามารถละลายเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน เกิดเป็นโลหะผสมที่ทนต่อการสึกกร่อนมีสีค่อนข้างขาว สามารถตีแผ่เป็นรูปต่างๆ ได้ โลหะผสมชนิดที่ใช้ประโยชน์มากที่สุดคือ เงินเยอรมัน (German silver) ซึ่งประกอบด้วย ทองแดงร้อยละ ๔๐- ๗๐ นิกเกิลร้อยละ ๑๐-๓๐ และสังกะสี ร้อยละ ๒๐-๔๕ ใช้ทำช้อนส้อม เหรียญกษาปณ์ และโลหะรูปพรรณ
    [กลับหัวข้อหลัก]
    </td> <td align="right"> <table bgcolor="#cccccc" border="0" cellpadding="10" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td align="center" bgcolor="#ffffff">[​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="fontblackmini">รูปพรรณต่างๆ ของนาก</td> <td align="right">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>
    <table> <tbody><tr><td nowrap="nowrap"> [ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้] </td> </tr></tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> <table class="fontblacksm" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr valign="top"> <td> นาก
    นาก เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงและทองคำประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนนิยมใช้ ทำเครื่องรูปพรรณ เช่น เข็มขัดนากหรือสายสร้อยเพราะมีสีแปลก และยังมีความแข็งมากกว่าทองคำบริสุทธิ์ หรือทองรูปพรรณ ทองคำและทองแดงเมื่อผสมกันแล้วจะมีสีแปลกและสวยงาม เป็นสีกึ่งกลางระหว่างทองคำและทองแดง เรามักจะนิยมเรียกสีของสิ่งของบางชนิดที่คล้ายคลึงกับโลหะผสมชนิดนี้ว่า สีนาก ส่วนผสมระหว่างทองคำและทองแดงมากน้อย แตกต่างกันตามชนิดของนาก นากที่มีสีสวยและราคาสูงจะมีทองคำผสมอยู่ร้อยละ ๖๐-๗๐ และสีจะอ่อนกว่านากราคาถูก ทั้งยังขัดถูให้สุกใสได้ง่ายกว่าอีกด้วย

    [กลับหัวข้อหลัก]
    </td> <td align="right"> <table> <tbody><tr><td nowrap="nowrap"> [ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้] </td> </tr></tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> <table class="fontblacksm" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr valign="top"> <td><table background="/images/dot.gif" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    บรรณานุกรม
    นายชูศักดิ์ แช่มเกษม
    นายสมชาย พวงเพิกศึก

    [กลับหัวข้อหลัก]

    </td></tr></tbody></table>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949



    ถ้าเป็นพระกริ่งปวเรศ เนื้อสเตอร์ริง ซิลเวอร์

    เป็นการสร้างที่ทวีปยุโรป โดยมวลสารจะเป็นเนื้อเงินสเตอร์ริง ซิลเวอร์เป็นหลักใหญ่ครับ

    เนื้อเงินสเตอร์ริง การกลับของเนื้อ จะกลับเป็นสีทองคำก่อน แล้วจึงกลับดำในระยะเวลาหลังสุด



    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมส่งคำเฉลยไปให้คุณ:::เพชร:::, คุณ นายเฉลิมพล และคุณปฐม เรียบร้อยแล้วครับ


    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong http://palungjit.org/forums/%E0%...ml#post3847580

    .



    .
    .
    </td> </tr> </tbody></table>
    ผมพึ่งนำพระใส่กล่องเรียบร้อยแล้ว

    วันพรุ่งนี้ ผมจะดำเนินการส่งให้ทุกๆท่านครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระพิมพ์ไสยาสน์ ตามรูป

    [​IMG]

    ข้อ 1. แท้หรือเก๊

    ก.แท้
    ข.ไม่แท้


    หากตอบในข้อ ก.แท้ ให้ตอบข้อที่ 2


    ข้อ 2.องค์ผู้อธิษฐานจิต เป็นองค์ไหน

    ก.สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
    ข.หลวงปู่อิเกสาโร
    ค.สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีและหลวงปู่อิเกสาโร
    ง.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า และ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

    หากตอบว่า เก๊ ให้ตอบข้อที่ 3 , ข้อที่ 4 และ ข้อที่ 5

    ข้อ 3. มีพลังอิทธิคุณหรือไม่

    ก.มี
    ข.ไม่มี

    ข้อ 4. มีการอธิษฐานจิตเพิ่้มเติมหรือไม่

    ก.มี
    ข.ไม่มี

    ข้อ 5. หากมีการอธิษฐานจิตเพิ่มเติม หลวงปู่องค์ไหนอธิษฐานจิต

    ก.สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
    ข.หลวงปู่อิเกสาโร
    ค.สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีและหลวงปู่อิเกสาโร
    ง.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า และ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

    ไว้ตอนเย็นวันพรุ่งนี้ มาเฉลย โดยผมส่งคำตอบให้ท่านผู้ตอบทาง pm ครับ
     
  20. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ขอตอบว่าแท้ครับคุณอา
     

แชร์หน้านี้

Loading...