แนะนำพระดี มีพลังมหัศจรรย์ อาถรรพ์หนุนชีวิต อิทธิฤทธิ์มหาศาล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย หนุ่มเมืองแกลง, 15 พฤษภาคม 2010.

  1. PITINATTH73

    PITINATTH73 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    2,991
    ค่าพลัง:
    +9,624
    ผมขอตัวพักผ่อนก่อนครับ ญาติธรรมทุกๆท่าน
     
  2. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    อย่าลืมพระดี พระขลัง พระที่เหมาะกับการแขวนบูชาอีกอย่างหนึ่ง คือพระของ หลวงปู่หมุน วัดบ้านจานนะครับ ยังพอแบ่งมาเก็บได้สักองค์สององค์ในเวลานี้ หากปล่อยเวลาให้เลยไปอีกไม่นาน น่าจะต้องคิดหนักหากจะเช่าหาไว้สักองค์
    เท่าที่สังเกตุดู ในเวปพลังจิตนี้ มีคนขายของแท้ๆของท่าน มากกว่าร้านข้างนอกครับ เห็นในเวปเช่าพระบางแห่ง ลงขายแต่ของเลียนแบบ เป็นพระเครื่องขวัญใจคนทำมาหากินจริงๆ
     
  3. ลูกน้ำเค็ม

    ลูกน้ำเค็ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    3,022
    ค่าพลัง:
    +14,548
    ขอตัวพักผ่อนเช่นกันครับ ราตรีสวัสดิ์ครับ
     
  4. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    มีเรื่องเล่าจากเซียนพระที่คุยกันว่า ตะกรุดทองแดงของ ลป.เอี่ยม วัดสะพานสูง ที่เช่าหากันแพงๆดอกละเป็นแสนๆบาทนั้น ในตลาดพระที่มีหมุนเวียนกันอยู่ทุกวันนี้ มีของจริงแค่ 5% ที่เช่าหากันไปทั้งที่คนมีสี หรือนักการเมืองเช่าไปแพงๆเกือบล้านบาท ก็ทำใหม่ทั้งนั้น

    ตอนนี้เขาแบ่งค่ายกันผลิต กลุ่มนี้ผลิตของสายนนทบุรี กลุ่มนั้นผลิตสายเหนือ กลุ่มโน้นผลิตสายภาคกลาง ห้ามทำเหมือนกัน และเอามาตั้งมาตรฐานเสียใหม่เพื่อการสร้างมรดกไว้ให้ลูกหลานในวันหน้า เมื่อเขาจับกลุ่มกันได้แบบนี้แล้ว ต่อไปเขาก็ไม่ต้องเหนื่อยหาของอีกแล้ว ของแท้ๆดั้งเดิมดีไม่ดี จะเป็นของปลอมไปเสียอีกในวันหน้า มาตรฐานใหม่ๆที่เพี้ยนๆกำลังถูกกำหนดขึ้นมาใหม่

    เครื่องรางหามาตรฐานได้ยากมาก เซียนพระหรือคนที่ชอบบอกว่ามีหลักการดูได้ ดูความเก่า ดูเอกลักษณ์ได้ หากมีตะกรุด ลป.เอี่ยม สะพานสูง มาปล่อยให้ สักแค่ 700,000.-บาท จะกล้าดูคนเดียวและกล้าจ่ายเงินเลยใหม ลองถามใจตัวเองดูก่อนก็ได้ ที่บอกว่าแน่นัก เห็นถือวิ่งไปหาลูกคู่ทุกราย ส่วนใหญ่หากราคาสูงๆต้องหาคนช่วยทั้งนั้นสำหรับเครื่องราง ไม่กล้าฉายเดี่ยวสักที
     
  5. ถิรวุษิ

    ถิรวุษิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,685
    ค่าพลัง:
    +7,521
    สุดๆจริงๆครับพี่หนุ่ม เพียงเท่านี้ก็อุ่นใจแล้วครับ
     
  6. ร้อยเกิน

    ร้อยเกิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +147
    ขอตัวพักผ่อนเช่นกันครับ ราตรีสวัสดิ์ครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  7. มะบอม

    มะบอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,255
    ค่าพลัง:
    +5,352
    ขอร่วมสนุกด้วยคนนะคร๊าบ
    เอาเฉพาะที่พกอยู่ปัจจุบันแล้วกันนะครับ

    แขวนเดี่ยว พระมงคลมหาลาภ วัดสารนารถ เพื่อเกื้อหนุนชะตาชีวิตครับ


    เครื่องรางคาดเอว

    -เบี้ยแก้สอดตะกรุด หลวงปู่เผือด วัดมะกอก
    นอกจากจะเอาไว้กันไว้แก้เหตุร้ายๆแล้ว เป็นคนไม่ชอบเจอสัตว์พิษทั้งหลายครับ เพราะเจอเมื่อไหร่ถ้ามันทำร้ายเรา ก็จำเป็นต้องกำจัดมันน่ะครับ ไม่ชอบเหตุการณ์แบบนั้น จึงเลือกพกไว้ เพราะท่านเก่งเรื่องกันงูกันสัตว์พิษ ไม่ใช่แค่ข่าวลือครับ นอกจากนั้นเวลายามว่างเราสามารถเล่นกับปรอทข้างในได้ด้วย

    -ตะกรุดยุคแรกทาทอง หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
    ผมเคารพรักและศรัทธาหลวงปู่ หามาหลายอย่างแล้ว สุดท้ายใช้อยู่อย่างเดียวครับ ไม่ทราบพุทธคุณ แต่เป็นตะกรุดที่หลวงปู่เสกจนฟ้าลั่น น้ำมนต์เดือด ตามคำบอกเล่าของลูกศิษย์ สร้างยุคตั้งแต่ก่อนท่านจะมาอยู่วัดป่าหนองหล่มครับ

    -ลูกอม หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ
    เป็นลูกอมที่ดีจริงๆครับ เมตตามหาเสน่ห์ และ แคล้วคลาด มากๆ

    -เสือ พระอาจารย์นา วัดบางปิ้ง จ.สมุทรปราการ
    เสือท่านแรงมากครับ เพราะท่านตั้งใจทำมาก แล้วท่านก็ได้นิมนต์และขออนุญาติหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ก่อนที่จะสร้างครับ

    -ปลัดขิกรุ่นแรก หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม
    ไม่ทราบว่าดีด้านไหน แต่ศรัทธาหลวงพ่อเต๋ กับ พ่อแย้ม วัดสามง่ามมากๆครับ

    -ตะกรุดมหารูด ยุคปลาย หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
    ไม่ทราบพุทธคุณ แต่ศรัทธาหลวงพ่อเต๋ ครับ แต่ยังไม่ได้นำไปใส่หลอดเลย

    เดี๋ยวรอลูกอมพรายมงคลก่อนครับ ต้องบูชาติดตัวแต่นอนทั้งสามรุ่น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010060.JPG
      P1010060.JPG
      ขนาดไฟล์:
      43.8 KB
      เปิดดู:
      64
    • P1010058.JPG
      P1010058.JPG
      ขนาดไฟล์:
      34.1 KB
      เปิดดู:
      55
    • P1010068.JPG
      P1010068.JPG
      ขนาดไฟล์:
      37.7 KB
      เปิดดู:
      62
    • P1010066.JPG
      P1010066.JPG
      ขนาดไฟล์:
      42.1 KB
      เปิดดู:
      63
    • P1010062.JPG
      P1010062.JPG
      ขนาดไฟล์:
      39.2 KB
      เปิดดู:
      55
    • 11.JPG
      11.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78.5 KB
      เปิดดู:
      72
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2010
  8. มะบอม

    มะบอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,255
    ค่าพลัง:
    +5,352
    รบกวนอาหนุ่ม หรือ ใครที่พอจะดูเป็นช่วยดูให้ด้วยครับ เค้าว่าเป็นลูกอมเนื้อชมพูของหลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก ครับ พอดีบังเอิญไปได้มาน่ะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010070.JPG
      P1010070.JPG
      ขนาดไฟล์:
      41.4 KB
      เปิดดู:
      78
    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.8 KB
      เปิดดู:
      68
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2010
  9. phrae2010

    phrae2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +524
    พระบรม ราโชบายการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดินใน ร.๕

    [SIZE=+1]ปฐมเหตุ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ประเทศไทย (สยาม) ต้องเผชิญกับภัยจากประเทศตะวันตกอยู่รอบทิศ ในขณะที่ระบบการบริหารราชการแผ่นดินยังไม่ก้าวหน้า และคล่องตัวเท่าที่ควร การทหารยังไม่ทันสมัย จำนวนประชากรยังมีน้อย กำลังทางเศรษฐกิจก็ยังมีน้อย การศึกษาของประชากรเพิ่งเริ่มต้นและยังไม่แพร่หลาย การคมนาคมแผนใหม่เพิ่งเริ่มต้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] ด้านภายนอกประเทศ การล่าอาณานิคมของประเทศทางตะวันตก ได้แผ่ขยายเข้ารุกรานประเทศต่าง ๆ ในเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาเซียอาคเนย์ ทุกประเทศโดยรอบประเทศไทย ตั้งแต่ลาว เวียดนาม กัมพูชา มลายา พม่า และในวงกว้างออกไปคือ จีนฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และอินเดีย[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้ทรงวางแผนพัฒนาประเทศในหลายสาขางาน และทรงดำเนินการป้องกันการรุกรานประเทศในทุกวิถีทางมาโดยตลอด ในการนี้ พระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาการใหม่ ๆ ด้วยพระองค์เองเพื่อนำแนวคิดอันเป็นประโยชน์มาใช้ นอกจากนั้น ยังทรงรับฟังความคิดเห็นของเจ้านาย ข้าราชการและผู้ทรงคุณวุฒิ เปิดโอกาสให้เสนอแนะข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์มาใช้ในการปรับปรุงงาน เป็นเหตุให้มีเจ้านายและข้าราชการหลายท่านได้กราบบังคมทูลเสนอแนะการแก้ไข ปรับปรุงงาน[/SIZE]
    [SIZE=-1]ต่อพระองค์เป็นจำนวนมาก เช่น คำกราบบังคมทูลของกรมหลวงวรศักดาพิศาล คำกราบบังคมทูลของเจ้านาย และข้าราชการ เพื่ออัญเชิญเสด็จประพาสยุโรป เพื่อทอดพระเนตรกิจการ ร.ศ.๑๐๓ (พ.ศ.๒๔๒๗) เจ้าหมื่นไวยวรนารถทูลเกล้า ฯ ถวายความเห็นเรื่องจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.๑๐๔ (พ.ศ.๒๔๒๘) เป็นต้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๔๒๗ กองทัพอังกฤษได้ยกเข้าตีกรุงมัณฑเลย์ของพม่าได้ และจับพระเจ้าธีบอ กษัตริย์พม่าไว้ได้ ทำให้พม่าต้องสูญเสียเอกราช และถูกผนวกเข้าไว้เป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ซึ่งตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อนแล้ว ประเทศในย่านเอเซียต่างตระหนกในเหตุการณ์นี้ และตระหนักถึงภัยของชาติมหาอำนาจตะวันตกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชอาณาจักรสยามที่มีพระราชอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรพม่า[/SIZE]
    [SIZE=+1]เหตุการณ์ ร้ายของพม่า ที่มาของหนังสือกราบบังคมทูล[/SIZE]
    [SIZE=-1] เมื่อข่าวเรื่องราชอาณาจักรพม่าเสียเอกราชแก่อังกฤษ ทำให้อังกฤษมีอาณานิคมในย่านนี้เพิ่มมากขึ้น ได้แพร่สะพัดในยุโรป หนังสือพิมพ์ของประเทศมหาอำนาจ ก็ได้ลงบทความยกย่องความสามารถทางทหารของอังกฤษ รวมทั้งวิเทโศบายทางการเมืองที่เหนือกว่าประเทศด้อยพัฒนาในแถบทวีปเอเซีย[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ในฐานะอัครราชทูตประจำประเทศฝรั่งเศส ได้ทรงทำรายงานสถานการณ์ถวายเลขานุการ และที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ทั้งได้ทรงแปลบทความหนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวพูดถึงประเทศพม่าแนบมาด้วย เพื่อขอให้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เมื่อได้ทรงทราบแล้ว มีพระราชดำริว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นภัยร้ายแรงต่อพระราชอาณาจักรไทย จึงได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์พระราชทานมายังพระองค์เจ้าปฤษฎางค์โดย ตรง ให้แสดงความคิดเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไขบ้านเมือง เพื่อป้องกันเหตุรัายสำหรับประเทศสยามอย่างไร พระองค์เจ้าปฤษฎางค์จึงได้ทรงทำหนังสือกราบบังคมทูลขึ้น เรียกในครั้งนั้นว่า หนังสือกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการ แผ่นดิน พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ทรงนำเอาพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ไปเปิดเผยหารือกับเจ้านาย และข้าราชการสถานทูต แล้วรับคำเสนอแนะมาทำเป็นหนังสือกราบบังคมทูล ผู้ที่ร่วมลงนามในหนังสือดังกล่าวรวม ๑๑ ท่าน ล้วนแล้วแต่เป็นข้าราชการไทย ประจำสถานทูตอังกฤษ และฝรั่งเศส นับแต่อัครราชทูตลงมาถึงข้าราชการระดับรอง ๆ ลงมาคือ กรมหมื่นนเรศวรวรฤทธิ์ ต่อมาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรวรฤทธิ์พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต ต่อมาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย พระยาดำรงราชพลขันธ์ (นกแก้ว คชเสนี) ต่อมาคือพระยา[/SIZE]
    [SIZE=-1]มหาโยธา หลวงเดชนายเวร (สุ่น ศาสตราภัย) ต่อมาคือ พระดรุณรักษา แล้วได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยพิพิธ หลวงวิเลศสาลี (นาค ณ ป้อมเพชร) ต่อมาคือ พระยาอภัยพลภักดิ์ นายเสน่ห์ หุ้มแพร (บุศ เพ็ญกุล) ต่อมาคือ เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ขุนปฏิภาณพิจิตร (หวุ่น) นายเปลี่ยนหรือนายร้อยเอกเปลี่ยน อยู่ในสกุลหัสดิเสวี ต่อมาได้เป็นหลวงวิสูตรบริหาร และนายร้อยตรีสอาด อยู่ในสกุลสิงหเสนี ต่อมาได้เป็นนายพลตรีพระยาสิงหเสนี ฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ข้อเท็จจริงตามหนังสือกราบบังคมทูล บางเรื่องแม้จะเป็นความจริงอยู่หลายประการ แต่ก็มีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง เพราะบางสิ่งบางอย่างที่กล่าวว่าล้าหลังนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้ทรงปรับปรุงให้ก้าวหน้าไปแล้ว เป็นจำนวนไม่น้อยเช่นในด้านการปกครอง ได้มีการแต่งตั้งสภาปริวิเคาซิล อันเป็นที่ปรึกษาในพระองค์ เป็นที่ทำหน้าที่ในการออกกฏหมาย ในด้านการบริหารก็กำลังทดลองจะจัดตั้งหน่วยงานระดับกระทรวง[/SIZE]
    [SIZE=-1] อย่างไรก็ตามควรนับได้ว่า คำกราบบังคมทูลมีคุณประโยชน์ ทำให้มีการเร่งรัดปฏิรูปการปกครองแผนใหม่ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ได้ริเริ่มให้ราษฎรลงคะแนน ในการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ เริ่มจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๘ และเริ่มจัดงานสุขาภิบาลใน ระยะต่อมา ซึ่งล้วนเป็นการวางรากฐานงานปกครองในพระราชอาณาจักรให้มีความมั่นคง นับเป็นงานเบื้องต้นของระบอบประชาธิปไตย[/SIZE]
     
  10. phrae2010

    phrae2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +524
    หนังสือ กราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.๑๐๓ (พ.ศ.๒๔๒๗)

    [SIZE=-1] เหตุทั้งปวงที่มีประสงค์และสามารถกราบบังคมทูล ด้วยเห็นว่า เป็นเวลาที่อันตรายจะมาถึงกรุงสยามได้ด้วยเหตุภัยต่าง ๆ ซึ่งถ้าไม่ได้กราบบังคมทูล ฯ ตามที่รู้เห็นแล้วก็เป็นการขาดกตัญญู และน้ำพระพัฒน์ทั้งความรักใคร่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ กับทั้งพระราชอาณาเขต[/SIZE]
    [SIZE=-1] เรื่องที่จะกราบบังคมทูล ฯ มีอยู่สามข้อเป็นประธาน คือ[/SIZE]
    [SIZE=-1] อันตรายซึ่งจะมีมาถึงกรุงสยาม ด้วยความปกครองของกรุงสยามอย่างเช่นมีอยู่ในปัตยุบันจะเป็นไปได้ด้วยเหตุ ต่าง ๆ ดังเช่นมีตัวอย่างของชาติที่มีอำนาจใหญ่ ได้ประพฤติต่อชาติซึ่งหาอำนาจป้องกันปกครองมิได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ทางที่จะป้องกันอันตรายได้ คือ การที่จะรักษาบ้านเมืองให้พ้นอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยการปกครองบ้าน เมืองอย่างที่มีอยู่ในปัตยุบันนี้ โดยทางยุติธรรมฤาอยุติธรรมของศัตรูก็ดี ต้องอาศัยความเปลี่ยนแปลงในทางทะนุบำรุงรักษาบ้านเมือง ตามทางที่ญี่ปุ่นได้เดินทางยุโรปมาแล้วแลซึ่งประเทศทั้งปวงที่มีศิวิไลซ์ นับกันว่าเป็นทางอันเดียวที่จะรักษาบ้านเมืองได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ทางป้องกันนั้นจะสำเร็จมิสำเร็จอาศัยสิ่งอันใด ที่จะจัดการตามข้อสองให้สำเร็จได้จริงนั้นอาจเป็นไปได้อย่างเดียว แต่จะตั้งพระราชหฤทัยว่าสรรพสิ่งทั้งปวง ต้องจัดให้เป็นไปโดยจริงอย่างอุกฤษฎ์ ทุกสิ่งทุกประการไม่เว้นว่าง[/SIZE]
    [SIZE=-1] อันตราย[/SIZE]
    [SIZE=-1] ว่าด้วยอันตรายทั้งปวงซึ่งจะมาถึงกรุงสยามด้วย ชาติยุโรปจะเบียดเบียน และยกขึ้นอ้างว่าเป็นยุติธรรมด้วยเหตุใด ภัยอันตรายที่จะมีมานั้น ต้องมาแต่ข้างนอกพระราชอาณาเขต และจะมาจากประเทศที่มีอำนาจมากกว่ากรุงสยาม มีประเทศหนึ่งประเทศใดในยุโรปเป็นต้น ชาติยุโรปชาติหนึ่งชาติใด จะต้องประสงค์เมืองหนึ่งเมืองใดเป็นเมืองขึ้นแล้ว ต้องมีทางที่เขาเรียกว่ายุติธรรมที่จะเอาเมืองนั้น ๆ ได้ ทางธรรมดาที่ชาติยุโรปใช้อยู่นั้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๑. อ้างความกรุณามนุษย์ อ้างว่าเป็นธรรมดา ผู้มีความกรุณาต่อมนุษย์ด้วยกันทั่วไป ต้องประสงค์ที่จะให้มนุษย์มีความสุขความเจริญ และได้รับความยุติธรรมเสมอทั่วกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๒. อ้างความเจริญของประเทศยุโรปแลความไม่เจริญของเอ เซีย แล้วจึงเห็นต่อไปว่า ใช่แต่จะเป็นการกีดขวางความเจริญของเอเซียเท่านั้น ไม่แต่เป็นทางกีดขวางของความเจริญแห่งประเทศที่เดินทางศิวิไลซ์ด้วย จึงเป็นช่องให้ประเทศหนึ่งประเทศใดในยุโรปคิดเข้าเป็นผู้ปกครองจัดการบ้าน เมืองให้เจริญ เพื่อจะได้ประโยชน์ทั่วกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๓. อ้างว่าโจรผู้ร้ายและการบำรุงรักษาไม่เรียบร้อย ทำให้เกิดอันตรายถึงชาวยุโรปด้วย ยกว่ารัฐบาลนั้น ๆ จัดการบ้านเมืองไม่เรียบร้อย จึงมีโจรผู้ร้ายทำอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สมบัติทั้งปวง อันตรายนั้นมาถึงชาวยุโรป ซึ่งทำผลประโยชน์อยู่ในประเทศนั้นด้วย จึงเป็นช่องทางอันหนึ่งของชาวยุโรป ที่จะเข้าจัดการบ้านเมืองนั้นได้ เพื่อประโยชน์ที่จะให้ได้ความสุขทั่วไปทั้งชาวยุโรปและคนในชาตินั้น ๆ และทั้งจะกำจัดคนพาลด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๔. อ้างการที่ไม่เปิดบ้านเมืองให้เกิดผลต่อมนุษย์ ทั่วกันเป็นการเหนี่ยวความเจริญของยุโรป ชาติใด ๆ ในยุโรปซึ่งมีความเจริญใหญ่โตมาแล้ว และจะตั้งอยู่ได้ต่อไปก็ดี ต้องอาศัยการค้าขายเป็นกำลัง เหตุฉะนั้นบ้านเมืองใด ซึ่งมีสินค้าและทรัพย์แผ่นดิน แต่หาได้เปิดและคิดให้เป็นทางค้าขาย เพื่อเป็นกำลัง และประโยชน์ต่อตน และท่านไม่ก็เป็นช่องทางที่ชาวยุโรปจะมาเปิดบ้านเมืองให้เป็นทางค้าขาย และทำบ่อแร่บ่อทองให้เป็นประโยชน์ขึ้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] รวมทางซึ่งประกอบสี่ข้อข้างบนนี้ลงความอย่างใด แต่ทางทั้งสี่ข้อนี้ต้องมารวมกันอยู่ในข้อเดียวว่า ทางให้ความสุขแก่มนุษย์เสมอกัน อ้างความเจริญของประเทศยุโรป ทางระงับโจรผู้ร้ายหรือเปิดทางค้าขาย ต้องประกอบไปด้วยการปกครองรักษาแผ่นดินของเมืองนั้น ๆ ทั้งสิ้น เมื่อเมืองใดมีแผ่นดิน มีทรัพย์ในแผ่นดิน และราษฎรอยู่ในแผ่นดินนั้นตามสมควร แต่เมืองนั้นไม่มีอำนาจ และความคิดที่จะจัดแจงปกครองบ้านเมืองของตน ให้เป็นประโยชน์แก่ตน และท่านได้แล้ว ก็ไม่ควรที่จะยึดเหนี่ยวเอาแผ่นดิน และทรัพย์ที่เป็นของสำหรับให้มนุษย์ทั้งโลกได้สวมประโยชน์ และความสุขในนั้นด้วยให้เสียไปเปล่า ซึ่งยุโรปคิดดังนี้เป็นการถูกโดยทางยุติธรรมของโลกอย่างยิ่ง[/SIZE]
    [SIZE=-1] ยุติธรรมของยุโรปเสมอยุติธรรมในกฎหมายไทย เหมือนหนึ่งกฎหมายไทยมีอยู่ข้อ ๑ ว่า ถ้าผู้จับจองไร่นาไว้ มิอาจสามารถที่จะทำให้เป็นผลประโยชน์ได้ เมื่อพ้นพระราชกำหนดแล้วผู้หนึ่งผู้ใดจะมาจับจองไปทำให้เป็นประโยชน์ ผู้ที่เป็นเจ้าของเดิมก็ไม่มีอำนาจที่จะขัดขืนได้ฉันใด การที่ประเทศยุโรปได้เที่ยวครอบครองบ้านเมืองน้อยใหญ่ในประเทศเอเซีย มีโกโลนี (อาณานิคม) ของอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นต้น และการที่เข้าครอบครองนั้นได้ด้วยสาเหตุศาลหรืออย่างใด ๆ ก็ดี ไม่มีชาติใดว่ากล่าวติเตียนว่าเป็นอยุยติธรรมไม่ เพราะสาเหตุนั้นจะมีพอหรือไม่ที่จะพาลรบ หรือเข้าครอบครองด้วยอุบายอย่างใดก็ดี แต่ความป่า[/SIZE]
    [SIZE=-1] ความประสงค์อันประเสริฐของยุโรปสามารถปิดทางป้องกัน มิให้ยุโรปเบียดเบียนเอเซียได้ แต่ความประสงค์ของยุโรปนั้นมีอยู่อย่างเดียว แต่ที่จะบำรุงความเจริญของโลกให้มนุษย์มีความสุขเสมอทั่วกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ป้องกันไม่ให้ยุโรปเบียดเบียนเอเซียได้ แต่ประเทศที่ต้องกดขี่อยู่ในใต้ปกครองของชาวยุโรปนั้น ก็ยังคิดเห็นๆ ไปต่าง ๆ ว่า ยุโรปทำการข่มเหงเพราะว่ามีอำนาจน้อย แต่เมื่อได้พิเคราะห์ดูโดยละเอียดแล้วก็จะเห็นได้ว่า การที่ทำนั้นเป็นทางเมตตากรุณา แต่เพื่อประโยชน์และความสุขของตน และราษฎรในเมืองซึ่งอยู่ในการปกครองด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1] ข้อความในหนังสือพิมพ์ที่ประเทศยุโรปกดขี่เข้า ครอบครองประเทศเอเซีย ในทางยุโรปเดิม และความคิดเห็นของชาวยุโรป ในการที่เขาเห็นควรจะเข้าปกครองบ้านเมืองใด ๆ ซึ่งเห็นว่าบำรุงรักษาตัวเองไม่ได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] เหตุใดชาติยุโรปจึงเข้ากันในทางเบียดเบียนชาติเอ เซีย ชาติยุโรปอิ่น ๆ ก็พลอยเห็นดี หาได้คิดที่จะช่วยชาติเล็กน้อยไม่ เพราะว่าการที่ชาติใดจะไปช่วยนั้น เขาต้องมีประโยชน์อย่างหนึ่งหรือเมื่อชาติใดไปข่มเหงเมืองเล็กน้อย ประโยชน์ของเขาที่ได้อยู่อาศัยพลอยเสียไปด้วยหนึ่ง แต่ทั้งสองข้อนี้ชาติที่จะช่วยยังต้องคิดเหมือนกันว่า เมืองที่กำลังน้อยนั้นตั้งอยู่ตามนิสัยประเทศเอเซียแล้ว เขาจะมีผลประโยชน์มากน้อยเท่าใด และถ้าเขาอยู่ในใต้ปกครองของชาติยุโรปชาติหนึ่งชาติใด ผลประโยชน์ของเขาจะประมูลขึ้นหรือไม่ เมื่อคิดไปดังนี้แล้ว ความเห็นของชาวยุโรปต่าง ๆ ก็พร้อมเพรียงกันว่า ชาติเล็กน้อยนั้น ถึงชาติใด ๆ ในยุโรป จะมีผลประโยชน์ในการค้าขาย หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากอยู่แล้วก็ดี แต่ให้อยู่ในความปกครองของชาติหนึ่งชาติใดในยุโรป แล้วชาติทั้งปวง คงจะต้องได้ผลประโยชน์มากขึ้นเป็นแน่ การที่เขาคิดดังนั้นก็เพราะการปกครองรักษาของชาติเล็กนั้นไม่ดีพอ หรือมิอาจสู้ความปกครองของชาติยุโรป ที่จะทำให้แก่ชาติในใต้บังคับของเขาได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] การปกครองกรุงสยามทุกวันนี้เป็นช่องที่จะให้ยุโรป เบียดเบียน เห็นอย่างเดียวว่ากรุงสยามที่มีการปกครองอย่างทุกวันนี้ เป็นช่องทางอันใหญ่ ที่ชาติหนึ่งชาติใดจะมารบเอาหรือปกครองด้วยอุบายทางหนึ่งทางใด จะมารบเขาหรือปกครองด้วยอุบายทางหนึ่งทางใด ดังมีตัวอย่างแล้วนั้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] อันตรายซึ่งจะเกิดขึ้นด้วยฝรั่งมีดินแดนใกล้กรุง สยามด้วยเหตุใด ในเวลาทุกวันนี้ฝรั่งเศสได้ไปใกล้กรุงสยามมาก และคิดจะขึ้นมาเวลาใด ก็อาจสามารถที่จะทำได้ในเวลานั้นเอง เพราะการที่ฝรั่งเศสได้ทำต่อประเทศต่าง ๆ นั้นมีช่องทางที่กรุงสยามพอที่เขาจะจับสาเหตุเอาได้เหมือนกัน อันตรายนั้นเป็นการใกล้กรุงสยามอย่างที่สุดจน มีหนังสือพิมพ์ออกความเห็นกะเวลาทำนายว่าไม่ช้าใน ๕ ปี คงจะต้องเกิดเหตุการณ์ กรุงสยามถ้าจะคิดรักษาแล้ว ต้องเป็นการจำเป็นที่จะนิ่งอยู่ไม่ได้เลย[/SIZE]
    [SIZE=-1] การแก้ไข[/SIZE]
    [SIZE=-1] ว่าด้วยการแก้ไขป้องกันอันตราย จากอันตรายดังกล่าวแล้วนั้น คงจะมีการแก้ไขรักษากรุงสยามให้พ้นอันตราย[/SIZE]
    [SIZE=-1] ทางป้องกันซึ่งได้คิดแล้วไม่เป็นทางป้องกันได้ จริงเพราะเหตุใด ทางแก้ไขต่าง ๆ และได้เดินทางนั้นซึ่งเห็นว่าเป็นที่พ้นภัยอันตรายได้ แต่ทางเหล่านั้นก็ดี หรือคิดกันอยู่แต่ว่าจะเดินต่อไป เห็นว่าไม่เป็นทางที่ป้องกันอันตรายได้จริงเลย[/SIZE]
    [SIZE=-1] ว่าด้วยทางป้องกันซึ่งได้คิดแล้วใช้ไม่ได้อย่างใด เปรียบเทียบในทางดังกล่าวนั้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๑. ทางอ่อนหวานอะลุ้มอล่วยใช้ไม่ได้อย่างใด ทางมีความอ่อนหวานที่ยอมอะลุ้มอล่วยเมื่อเวลาศัตรูมาจับสาเหตุจับข้อที่จะ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อประสงค์ให้ศัตรูมีความสงสาร ผ่อนผันให้บ้างพอสำเร็จตลอดไปได้เป็นเมื่อเป็นคราว และโดยถ้าจะเสียพระราชอาณาเขตบ้าง หรือค่าปรับไหมก็ยอม แต่ความคิดอ่อนน้อมยินยอมอันนี้เป็นความคิดผิด และใช้ไม่ได้ ด้วยตัวอย่างซึ่งชาติมีอำนาจได้ประพฤติแก่ชาติมหาอำนาจมิได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ญี่ปุ่นได้เดินทางอ่อนหวานผิดไปอย่างใด ความคิดอันอ่อนหวานอันนี้ ญี่ปุ่นได้ใช้มาช้านานแล้ว แต่เป็นการที่เขาเห็นว่าใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะได้เห็นชัดในการอ่อนน้อมอะลุ้มอล่วยตามไปนั้นมีแต่จะเสียทุนเข้าไปทุก ครั้งทุกคราว และเพื่อประสงค์ที่จะให้เขาสงสารนั้นก็เป็นประกันได้แต่เพียงผ่อนสั้นให้ เป็นยาว และต่อไปสาเหตุเก่าที่แล้วไปนั้น ก็คงกลับมาให้เป็นข้อเป็นเหตุเดิมร่ำไป จนญี่ปุ่นเห็นจริงใจว่าการที่จะให้ยุโรปสงสารนั้นได้อย่างเดียว แต่ที่จะจัดการบ้านเมืองของตน ให้สมควรที่เขาจะสงสาร และเกรงใจได้ญี่ปุ่นจึงมิได้คิดหวังใจในการอุดหนุน หรือความสงสารของประเทศยุโรปเลย ตั้งใจแต่จะจัดการให้เป็นยุติธรรม และเอาข้อยุติธรรมนั้น เป็นเครื่องกดขี่ให้ประเทศยุโรปนับถือ ยอมให้มีทางได้เสียเสมอกัน จนในเร็ว ๆ นี้จะได้ใช้กฎหมายของญี่ปุ่น ให้ชาวยุโรปที่อยู่ในเมืองนั้นปฏิบัติตาม เหมือนดังราษฎรญี่ปุ่นเอง เห็นว่าเมืองใด ๆ ที่มีอำนาจน้อยย่อมต้องใช้ความอ่อนหวานนี้ แต่เมืองนั้น ๆ เมื่อเวลาที่ชาติมีอำนาจใหญ่จะต้องประสงค์แล้ว ทางอ่อนหวานยินยอมเท่านั้น ก็ไม่ปรากฏว่าทำให้บ้านเมืองรอดจากเป็นข้าได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๒. ทางที่จะป้องกันด้วยกำลังทหาร ทางที่จะต่อสู้ด้วยกำลังทหารเมื่อเวลาที่ภัยอันตรายภายนอกมาถึงนั้นเป็นทาง ที่ใช้ไม่ได้เหมือนกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] - เป็นทางผิด ป้องกันไม่ได้ด้วยเหตุใด ได้สังเกตตามพงศาวดารยุโรปที่มีมา ยังไม่พบว่าชาวยุโรปรบชาติต่ำกว่า ซึ่งเป็นชาติในเอเซียแล้วปราชัยแก่เอเชียนั้น ๆ ชาติยุโรปมีแต่ได้ชัยชนะและอาจสามารถที่จะทำสัญญาเอาตามความประสงค์ของเขาใน ตอนปลายได้ และเมื่อชาติยุโรปได้รบเมืองใดชนะแล้ว ก็ย่อมคิดเอาเงินค่าที่ใช้ในการรบที่เขาต้องเสียไปนั้นแก่ชาติที่แพ้จนเหลือ เกินที่จะนึกว่าชาติยุโรปที่ไหน จะมีรบเราเพราะเขากลัวเสียเงินนั้น คิดดังนี้ไม่ถูก เพราะเขารบครั้งใด เงินที่เสียไปก็ได้คืน ยังซ้ำกลับคิดเอากำไรทุกครั้ง เขาจะต้องกลัวเสียเงินทำไม[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ชาวยุโรปเห็นชัยชนะของชาติเอเชียต่อชาติยุโรป เหมือนกำลังทำให้ชาติเอเชียนั้นเดินถอยหลังในทางประเสร็จไป ความคิดที่ได้พูดจากันในยุโรปมีอยู่เสมอว่า ถ้าชาติยุโรปชาติใดได้ไปรบแล้ว พ่ายแพ้แก่ชาติน้อย เป็นความเสียอันใหญ่ ดังไปทำให้ชาตินั่นกลับเดินถอยหลัง ในความเจริญรุ่งเรืองในบ้านเมืองนั้น ทั้งเป็นการเสียประโยชน์ และความป้องกันอันตรายของชาติยุโรปและอื่น ๆ ด้วย ถ้ายุโรปได้รบแล้วควรต้องเอาชัยชนะให้ได้ และเมื่อได้เมืองนั้น ๆ มาแล้ว ก็อาจสามารถที่จะทะนุบำรุงให้เจริญขึ้นได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] จะว่าโดยละเอียดขึ้นอีก ที่สุดไทยจะมีทหารที่จะต่อสู้ได้อย่างมากเพียง ๕๐,๐๐๐ และการที่จะจัดทหารให้ได้ ๕๐,๐๐๐ ก็ต้องออกพระราชทรัพย์ซื้ออาวุธต่าง ๆ และเครื่องสำหรับทหารพร้อมทุกสิ่งทุกอย่าง เงินนี้ได้คิดถัวให้ได้จริงเหมือนทหารในยุโรปแล้ว ก็เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ ชั่ง อย่างน้อยที่จะต้องเสียในชั้นต้น การที่จะจัดทหารให้สำเร็จขึ้นได้มากถึง ๕๐,๐๐๐ นั่นจะต้องเสียเวลาหลายปี[/SIZE]
    [SIZE=-1] - จัดทหารไม่เสร็จทันการด้วยเหตุใด อันตรายนั้นใกล้กรุงสยามที่สุด เวลาที่จะรอจัดทหารให้ถึง ๕๐,๐๐๐ หาพอกันกับเวลาที่อันตรายจะมาถึงไม่ โดยถ้ามีเวลาพอหรือจะรอไปให้จวนตัวอีกแล้ว จึงจะคิดจัดนั้น การหาซื้อเครื่องศัตราวุธมิใช่เป็นการเร็ว ต้องเสียเวลามากเหมือนกัน และถ้าเมืองหนึ่งเมืองใดในยุโรป หรืออเมริกาทราบข่าวว่า เมืองไมตรีของเขาจะทำสงครามกับไทย และทั้งเขาจะคิดอิจฉาริษยากันเองก็ดี รัฐบาลไทยคงจะได้ความลำบากมาก ที่จะซื้ออาวุธและเครื่องต่าง ๆ สำหรับทหาร ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - เหตุใดถ้ากรุงสยามมีชัยชนะแล้วยังรักษาต่อไปไม่ ตลอดได้ ฯลฯ เห็นว่าถึงเราจะมีชัยชนะแก่เขาก็ดี ก็เป็นจะชนะได้เป็นคราว ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ถึงไทยจะรักษาด้วยกำลังทหารสำเร็จ ก็ไม่เป็นการเจริญต่อบ้านเมืองได้ด้วยเหตุใด เห็นด้วยกับความเห็นของชาวยุโรปว่า จะเป็นการเดินถอยหลังของความเจริญแห่งบ้านเมือง เพราะว่าไทยเมื่อมีชัยชนะแก่ชาติยุโรปแล้ว ความประสงค์อันดีอันยุตธรรมของยุโรปเป็นต้น การเปิดสินค้า การระงับโจรร้าย และทั้งการให้ความสุขแก่มนุษย์ให้เสมอทั่วกัน ฯลฯ เหล่านี้ไม่อาจจะเป็นได้ โดยจริงที่จะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง เห็นว่าขนบธรรมเนียมของไทยทุกวันนี้ อย่างดีก็มากที่ผิดทั้งทางโลกทางธรรมแท้ก็มี และถ้าธรรมเนียมชั่วเหล่านี้มิได้เปลี่ยนแปลง และชาติยุโรปจะไปบังคับให้เปลี่ยนแปลง ถ้าไทยขัดขืนได้ด้วยกำลังทหาร แล้วธรรมเนียมนั้นก็คงยังตั้งอยู่เสมอ และเมื่อตั้งอยู่ตราบใด จำเป็นต้องกีดขวางความเจริญของกรุงสยามและราษฎรทั่วไป ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๓. ความเห็นในทางอาศัยภูมิประเทศของกรุงสยามเป็นที่ ป้องกันอยู่แล้ว ไม่ป้องกันได้จริงด้วยเหตุใด ตามภูมิประเทศของกรุงสยาม ที่มีเขตแดนติดต่อกับประเทศที่อยู่ในบำรุงชาติของยุโรปทั้งสองคือ อังกฤษ และฝรั่งเศส จึงยังเป็นที่พูดให้เห็นจริงได้อีกทางหนึ่งว่า กรุงสยามจะตั้งอยู่เป็นเอกราชได้ เหมืองเมืองอิยิปต์ หรือเมืองเบลเยี่ยม และเมืองสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น เพราะจะได้เป็นกำแพงในระหว่างเขตแดนอังกฤษและฝรั่งเศส ฯลฯ ถ้าไทยรักษาบ้านเมืองให้เรียบร้อย และรักษาทางพระราชไมตรีทั้งสองชาติให้เจริญ ก็มิต้องกลัวภัยอันตรายต่อไปอีกเลย[/SIZE]
    [SIZE=-1] ที่ถือเอาดังนี้ เห็นว่าเป็นการถูกต้อง แต่จะต้องเข้าใจว่ากรุงสยามที่จะตั้งอยู่ดังนั้นอยู่ได้ เหมือนกำแพงกั้นเขตแดนของชาติทั้งสองเท่านั้น และเขาจะยอมให้มีอยู่แต่แผ่นดินอย่างแคบที่สุด แต่ยาวพอตลอดเขตแดนของเขาก็ได้ ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - อังกฤษและฝรั่งเศสไม่ได้ริษยากันและกันจะแบ่งดิน แดนไทยให้เหลืออยู่เป็นกำแพงกั้นเท่านั้น การที่อังกฤษกับฝรั่งเศส คิดจะแบ่งดินแดนกรุงสยาม ให้เหลือพอเป็นกำแพงนี้ เมืองทั้งสองได้คิดและลงมือทำอยู่แล้ว อังกฤษยอมให้ฝรั่งเศสเอาเมืองเขมร และอังกฤษเองก็คิดล่วงลามเข้ามาเขตแดนมลายู เป็นที่ให้เห็นได้ว่าเขามิได้มีความริษยาซึ่งกันและกัน การที่แบ่งบ้านเมืองไทยให้เหลือเป็นแต่กำแพงดังนี้ เขาอาจที่จะทำได้ด้วยทางต่าง ๆ ฯลฯ และที่จะคิดว่าทางแก้ไขการอันนี้ เพียงแต่จะรักษาทางพระราชไมตรี และจัดการรักษาบ้านเมืองอย่างเดิมดังนี้ไม่ได้ ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๔. เถียงว่าไทยได้จัดแจงบำรุงบ้านเมืองอยู่แล้วอย่าง ทุกวันนี้ อีกทางหนึ่งซึ่งเห็นว่า เป็นการถือผิด ๆ คือ มีความหวังใจว่าชาติหนึ่งชาติใด จะมาข่มเหง กดขี่ด้วยกำลังอำนาจแล้ว เข้าครอบครองกรุงสยามด้วยความยุติธรรมคือ อ้างว่าไทยไม่จัดการให้มีผลประโยชน์ จะเข้ามาจัดการให้เกิดความเจริญขึ้นแก่ไทย[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ไม่ล้างความที่ยุโรปถือว่าเป็นยุติธรรมในการที่เขา ไปเบียดเบียนด้วยเหตุใด ไทยยังจะมีข้อเถึยงตามยุติธรรมให้โลกเห็นจริง และสงสารได้ว่า ไทยได้จัดการบ้านเมืองบริบูรณ์ขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายเท่า จนมีราชทูตสำหรับประเทศยุโรป มีการก่อสร้างประกอบผลประโยชน์ เหมือนมี สายโทรเลขและกรมไปรษณีย์ เป็นต้น และได้เลิกทาษ เลิกธรรมเนียมหมอบคลาน เป็นต้น แล้วเอาธรรมเนียมยุโรปเข้ามา เป็นแบบแผนหลายอย่าง มีการแต่งตัวและมีโซโซเอติ รับรองอย่างยุโรป เป็นต้น ทั้งได้มีสัญญาทางพระราชไมตรี และทางค้าขายต่อชาติในยุโรปเป็นอันมาก การที่ชาติมหาอำนาจมากดขี่ข่มเหงโดยทางพาล ดังนี้ไม่ได้ ฯลฯ ที่ไทยทำเพียงนี้ก็มีการคุ้มเกรงรักษาพออยู่แล้ว และท่านแต่ก่อนนั้นได้จัดแจงอย่างไรเล่า จึงรักษาบ้านเมืองมาได้จนป่านนี้ ต่อไปก็คงจะพลิกแพลงแก้ไขให้จงได้เหมือนกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ที่คิดดังนี้ เห็นว่เป็นการผิดอีกอย่างหนึ่ง ด้วยการปกครองที่อ้างขึ้นนั้นหาใช่การจัดแจงให้ดีขึ้น แต่พื้นรากของการไม่ เป็นแต่เพิ่มเติมขึ้นให้เข้าพวกยุโรปได้ในเวลาจำเป็น ฯลฯ จึงเห็นได้ว่า จะเถียงเอาทางยุติธรรมว่า การนี้เป็นการจัดแจงบ้านเมืองให้ดี และเป็นการป้องกันบ้านเมืองนั้นไม่ได้เลย ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๕. ถือสัญญาทางไมตรีเป็นที่ป้องกันอันตรายนั้นผิด ด้วยเหตุใด ที่ว่ากรุงสยามมีสัญญาทางพระราชไมตรีต่อประเทศนั้น ๆ จะเป็นที่ป้องกันกีดขวางต่างประเทศ เบียดเบียนได้ก็หาไม่ ประเทศจีนได้สัญญากับต่างประเทศทั้งหมดเหมือนกัน และในสัญญาอเมริกันซึ่งมีข้อว่า อเมริกาจะช่วยตัดสินไกล่เกลี่ย เมื่อเวลาที่ชาติใดมาข่มเหง ครั้นบัดนี้มีเข้าจริง อเมริกาก็มิได้ช่วย หรือสัญญากับประเทศทั้งปวง ก็มิอาจคุ้มการกดขี่ได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] สัญญาที่มีต่อต่างประเทศนั้น เป็นเครื่องป้องกันกดขี่ได้แต่ในครั้งแรกทำเท่านั้น เพราะถ้ากรุงสยามมิได้ยอมรับทำสัญญา ให้ผลประโยชน์แก่ต่างประเทศเสียแต่เดิมแล้ว ก็คงจะเข้ารบพุ่งกดขี่ให้ทำจนได้ ถ้ามิทำก็คงจะต้องเสียบ้านเมือง[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๖. ผลประโยชน์ต่างประเทศ การค้าขายและผลประโยชน์ของชาวยุโรป ซึ่งว่ามีในกรุงสยามจะเป็นที่กีดขวาง ต่อประเทศยุโรปก็เหมือนกัน จะเป็นที่กีดขวางได้ก็จริง[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ในกรุงสยามไม่กีดกันการเบียดเบียนของต่างประเทศได้ ด้วยเหตุใด เมื่อต่างประเทศได้ผลประโยชน์เต็มตามที่บ้านเมืองเจริญได้ ด้วยความบำรุงรักษานั้นเรียบร้อยดีอย่างประเทศยุโรป จนถึงจะมีชาติยุโรปมาบำรุงรักษานั้น เรียบร้อยดีอย่างประเทศยุโรป จนถึงจะมีชาติยุโรปมาบำรุง ก็ไม่เกินความดีเรียบร้อยของเรานั้นไปได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] การค้าขายในเมืองจีน ซึ่งยุโรปได้ผลประโยชน์ทั่วกันนั้น มีมากกว่าในกรุงสยามโดยมาก ยังมิอาจคุ้มหรือกีดกันประเทศฝรั่งเศสเบียดเบียนได้ ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๗. ถือว่าแต่ก่อนรักษามาได้ดังนี้ คงรักษาต่อไปได้ดังทุกวันนี้ไม่ได้ด้วยเหตุใด อีกข้อหนึ่งที่ว่า ท่านแต่ก่อนทำไมจึงรักษาบ้านเมืองมาได้เล่านั้น ถ้าได้พิจารณาไปก็เห็นว่าแต่ก่อนนั้น การไปมาหากัน และข่าวคราวกรุงสยามจะรู้ได้ถึงประเทศยุโรปนั้นยากเพียงใด ความคิดต่อกรุงสยามกับประเทศยุโรปแต่ก่อนมีน้อย ฯลฯ และในเวลานั้นประเทศเอเชีย ซึ่งเปรียบเหมือนอาหารของประเทศยุโรป ก็ยังมีเมืองมีชาติที่ไม่เคยผ่อนผันตามกาลเวลาอยู่หลายเมือง เพราะฉะนั้นยุโรปยังหากินได้ในเมือง ที่ไม่ความเจริญกว่า หรือผ่อนตามกาลเวลาอย่างไทย เป็นต้นว่า พม่าเมืองขึ้นของจีน และแขกทั้งปวง จึงเห็นได้ว่า แต่ก่อนนั้นการรักษาบ้านเมืองของไทยก็ง่ายอยู่เอง ฯลฯ ทั้งยุโรปก็ยังไม่รู้กำลังอิทธิฤทธิ์ ขนบธรรมเนียมชาวสยามเหมืองเขารู้ไส้รู้พุงละเอียดอย่างทุกวันนี้ไม่ จึงเป็นการรักษาง่ายดาย แต่บัดนี้ประเทศทั้งปวง ซึ่งเป็นอาหารก็หมดไปแล้ว ถ้าไม่คิดแก้ไขแล้ว น่าที่กรุงสยามจะต้องเป็นไปตามประเทศนั้น ๆ เหมือนกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๘. ถือความป้องกันด้วยยุติธรรมตามกฎหมายอินเตอร์แนช แนลนั้นผิดไปด้วยเหตุใด อีกประการหนึ่งซึ่งบางท่านหลงเชื่ออยู่ว่า เป็นทางป้องกันของกรุงสยามได้คือ ถือเอาตามอินเตอร์เแนชแนลลอ ซึ่งประเทศเอกราช ทั้งปวงย่อมได้รับความเคารพและนับถือ และสมควรที่จะได้รับไรท์ของกฎหมายทุกอย่าง[/SIZE]
    [SIZE=-1] การที่ละเมอไปดังนี้ ด้วยลืมคิดไปว่ากฎหมายอินเตอร์แนชแนลนั้น แต่งขึ้นไว้สำหรับประเทศซึ่งมีศิวิไลซ์ มีความคิดความเห็นผิดชอบชั่วดีทางเดียวกัน และมียุติธรรมถือกฎหมายตัดสินถ้อยความ และขนบธรรมเนียมก็คล้ายคลึงกัน จึงจะได้รับและนับถือตามกฎหมายนั้นได้ ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] แต่ญี่ปุ่นได้บำรุงความเจริญของบ้านเมืองตามทางศิวิไลซ์มาก็มาก ยังหาได้รับอนุญาตของยุโรปให้เข้าในพวกถือกฎหมายไม่ และญี่ปุ่นนั้นแต่เดิม ก็ได้คิดผิดไปในทางนี้เหมือนกัน ฯลฯ จนภายหลังรู้สึกตนจึงได้คิดจัดแจงการบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียม และกฎหมายที่ชั่ว ให้คล้ายคลึงกับของยุโรป ฯลฯ และยุโรปเดี๋ยวนี้ก็ตั้งใจจะยอมให้ แต่ยังรอให้ญี่ปุ่นทำกฎหมายให้สำเร็จ และฝึกสอนคนที่จะรักษากฎหมายนั้นได้แล้ว ญี่ปุ่นคงจะได้รับอินเตอร์แนชแนลไรต์ในเร็ว ๆ นี้ และไทยที่จะได้รับไรต์อันนี้ฉันใด ก็ต้องจัดแจงบำรุงการแผ่นดินรักษาผลประโยชน์ และราษฎรในราชอาณาเขต ให้เจริญขึ้นตามสมัยกาล และให้เป็นที่เชื่อถือแก่ชาวยุโรป ดังญี่ปุ่นได้จัดการมาแล้ว ชาติยุโรปทั้ปวง ก็คงจะต้องยอมให้ไทยได้ผลประโยชน์ เสมอชาติญี่ปุ่นนั้นบ้าง ความเจริญอันนี้จะเป็นการป้องกันกรุงสยามได้ด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1] การครอบครองกรุงสยามทุกวันนี้ ใช่แต่จะเป็นช่องให้เกิดอันตรายแต่ภายนอกอย่างเดียวหามิได้ด้วยเหตุใด เมื่อภัยอันตรายและทางแก้ไขซึ่งใช้ไม่ได้ทั้ง ๘ ทาง ดังกล่าวแล้ว ก็ขอเพิ่มเติมให้พิจารณาคือ[/SIZE]
    [SIZE=-1] การครอบครองของกรุงสยามอย่างเช่นมีอยู่ในปัตยุบันนี้ ใช่จะทำให้บ้านเมืองทำลายไปได้ฝ่ายเดียว เพราะศัตรูภายนอกจะเข้ารบเอาโดยอำนาจ หรืออุบายนั้นหามิได้ ฯลฯ การปกครองอันนี้ก็ยังไม่เป็นประเพณีของบ้านเมืองอันประเสริฐ ฯลฯ การปกครองทุกวันนี้เห็นว่า ถ้าประดุจหนึ่งไม่มีพระองค์ ฯ ทรงเป็นพระราชธุระแล้ว การบ้านเมืองทุกอย่างก็จะเป็นที่ฟกช้ำระส่ำระสาย และบางทีถึงจะให้เกิดจลาจลแก่บ้านเมืองได้ ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ว่าด้วยทางแก้ไขที่จะป้องกันอันตรายได้จริง ทางแก้ไขที่จะให้พ้นภัยอันตรายภายนอก และพ้นจากภัยที่จะเกิดขึ้นได้ในบ้านเมือง ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] เหตุใดทางนี้จึงเป็นทางเดียวและทางที่จะป้องกัน อันตรายได้จริง เห็นว่ามีทางเดียวที่จะจัดการบำรุงรักษาตามทางยุโรปทั้งปวง ฯลฯ เพราะที่จะรักษาบ้านเมืองให้พ้นจากความกดขี่ซึ่งเป็นต้นเหตุของอันตรายนั้น ต้องทำให้เป็นที่นับถือวางใจซึ่งกันและกัน ที่เห็นชั่วเห็นดีเห็นผิดเห็นชอบทางเดียวกัน จึงนับว่าเป็นผู้เห็นทางชอบธรรมเสมอกันได้ แต่การบำรุงรักษาอย่างเช่น มีในกรุงสยามทุกวันนี้เป็นทางผิดตรงกันข้ามต่อทางยุโรป ปราศจากแบบแผนและกฎหมายที่เรียกว่าคอนสติติวชัน ซึ่งประกอบด้วย สติปัญญาและกำลังของราษฎร เป็นการพร้อมเพรียงกันเป็นประมาณ ซึ่งเขานับว่ามียุติธรรมทั่วถึงกัน ฯลฯ แต่บัดนี้ชาวยุโรปพากันลงเนื้อเชื่อกันเป็นอันมาก ฯลฯ ว่าการรักษากรุงสยามในทุกวันนี้ไม่มีเสนาบดี และเจ้าพนักงานกรมใดเอาใจใส่ในพนักงานหน้าที่[/SIZE]
    [SIZE=-1]ของตน มีผู้บำรุงรักษา และคิดการแผ่นดินอยู่ก็แต่พระองค์เดียว กับผู้ที่ได้ช่วยในราชการเป็นกำลังจริงก็แต่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ฯลฯ จะมีชาติใดในยุโรปเชื่อถือว่า กรุงสยามจะมีความยุติธรรม และบำรุงรักษาให้เจริญ และเรียบร้อยไปได้ ฯลฯ การบำรุงรักษา โดยทางที่จะให้ได้ยุติธรรม จะมีได้ก็ต้องอาศัยความพร้อมเพรียง ผู้ที่เป็นเสนาบดีก็เป็นผู้แทนของราษฎร ซึ่งเลือกต่อ ๆ ขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกัน ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ว่าด้วยการจัดแจงเปลี่ยนแปลงให้เดินทางป้องกันอัน จริงได้ เหตุฉะนี้จึงจะต้องจัดการบ้านเมือง เปลี่ยนแปลงพระราชประเพณีของเก่า ให้เป็นประเพณีคอนสติติวชันใหม่ตามทางชาวยุโรป ฯลฯ เหมือนดังเมืองญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศเดียวในตะวันออก ที่ได้เดินในทางยุโรปมาแล้ว ฯลฯ ทางที่กราบบังคมทูล ฯ ว่าเป็นคอนสติติวชันยุโรปนั้น หาได้ประสงค์จะให้มีปาลีเมนต์ในเวลานี้ไม่ แต่ทางนั้นคือ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๑. เปลี่ยนพระราชประเพณีปกครอง ให้เป็นคอนสติตูชาแนลโมนากี ต้องเปลี่ยนแปลงประเพณีปัตยุบัน ฯลฯ ซึ่งมีประเพณีที่อังกฤษเรียกว่า แอพโซลุดโมนากี ให้เป็นประเพณีที่เรียกว่า คอนสติตูชาแนลโมนากี ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๒. ให้เสนาบดีรับผิดชอบและมีอำนาจจัดการได้เอง ไม่ต้องเป็นพระราชกังวลไปทุกอย่าง การป้องกันรักษาและทำนุบำรุงบ้านเมืองทุกอย่างนั้น ต้องอยู่ในความคิดความตัดสินของข้าราชการผู้ใหญ่ ซึ่งได้โปรดเกล้า ฯ ตั้งขึ้นไว้ในที่เป็นพวกแคบิเนต ฯลฯ ข้าราชการเหล่านี้เป็นหัวหน้าของกรมหรือดิปาดเมนต์ ทุก ๆ กรมและมีอำนาจตัดสินบังคับการรับผิดชอบในกรมนั้น ๆ ด้วยตนเอง ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๓. ปิดทางสินบนให้ตกหมดทุกอย่าง ฯลฯ ต้องให้ผู้ทำราชการได้ผลประโยชน์ตรง ๆ เงินเดือนให้พอใช้ตาม[/SIZE]
    [SIZE=-1]ฐานานุรูปจริง[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๔. ให้มนุษย์มีความสุขได้เสียเสมอกัน ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๕. เลิกธรรมเนียมและกฎหมายซึ่งเป็นอยุติธรรม ติเตียนต่อต่างประเทศ ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๖. เปิดความคิดเห็นของราษฎรและข้าราชการ ให้เป็นโสดในการคิดเห็น ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๗. เลือกและถอดข้าราชการตามกฎหมายที่แน่นอน ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] รวมความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้ประสงค์อันใด ทั้ง ๗ ข้อนั้น ฯลฯ เป็นใจความของการจัดการตามแบบยูโรป มีรวมความว่า เปลี่ยนแปลงยกถอนธรรมเนียมเก่า และกฎหมายเก่า เพิ่มเติมธรรมเนียม และกฎหมายซึ่งเป็นทางบำรุงความเจริญขึ้นใหม่ และจัดการเหล่านี้ให้มีผลประโยชน์ทั้วไปในพระราชอาณาเขต ให้ราษฎรมีความคิดรู้สึกตัวว่าการกดขี่ และอยุติธรรมต่าง ๆ ไม่มีอีกต่อไปแล้ว จึงจะมีความรักบ้านเมือง จนเห็นชัดว่ากรุงสยามนั้น เป็นเมืองของราษฎร และจะต้องช่วยกันบำรุงรักษา ฯลฯ และเมื่อถึงเวลาศัตรู หรือภัยอันตรายจะมาถึงตนเข้าแล้ว ก็จะคิดช่วยป้องกัน ช่วยเจ็บร้อน ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] จัดการปกครองให้เดินเองได้ดังเครื่องจักร ชาวยุโรปได้แปลคำจัดแจงบ้านเมืองของเขาคือคอนสติติวชันว่าเป็นเหมือนดัง เครื่องจักร ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] เหตุใดจึงเห็นทางนี้เป็นทางป้องกันได้ทางเดียว เห็นว่าทางที่จะจัดแจงรักษากรุงสยามได้จริงนั้นมีทางเดียว[/SIZE]
    [SIZE=-1] ยุโรปตั้งเจริญอยู่ได้ด้วยเหตุใด ประเทศทั้งปวงในยุโรปซึ่งมีความเจริญ และแน่นอนว่าจะตั้งเป็นเอกราชต่อไปได้นั้น ได้ด้วยเหตุ ๔ ประการ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๑ ความนับถือซึ่งกันและกัน ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๒ ความประสงค์เดียวกันในทางครอบครองมิให้มีทัพศึก ฯลฯ คิดหาทางช่วยเหลือกันในเวลาเมื่อชาติหนึ่งได้มีอำนาจมากมาเบียดเบียนชาติ เล็กน้อย ฯลฯ เรียกว่า อำนาจชั่งกันหรือแบแลนด์ออฟเปาเวอร์[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๓ ถือกฎหมายอินเเตอร์แนชแนลอันเดียวกัน ด้วยกฎหมายอินเตอร์แนชแนล ซึ่งเป็นประธานที่จะตัดสินความเข้าใจผิดชอบ และการยุติธรรมในระหว่างประเทศทั้งปวงในยุโรป ซึ่งถือตามกฎหมายนั้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๔ ด้วยเหตุนี้มีสินค้าไปขายแลกเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน ฯลฯ อาศัยซึ่งกันและกัน เหตุฉะนั้นจึงเห็นว่า กรุงสยามจะรักษาป้องกัน ให้อยู่เป็นเอกราชต่อไป ในทางอื่นไม่ได้ นอกจากที่จะเดินตามทางให้มีเครื่องป้องกันทั้ง ๓ ข้อ อย่างที่ประเทศน้อยใหญ่ในยุโรปทั้งปวงได้ถือว่าเป็นทางป้องกันซึ่ง เพราะว่าอันตรายหรือการใด ๆ ก็ดีอาจสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยชาติที่มีอำนาจทั้งสิ้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] เหตุฉะนั้นไทยต้องประพฤติตามยุโรปซึ่งเป็นที่จะ ป้องกันอันตรายได้ ไทยจึงต้องมีความอุตสาหะบากบั่น ที่จะให้ได้เครื่องป้องกันของชาติที่มีอำนาจใหญ่นั้นด้วย การประพฤติให้ดีตามทางของเขาเหมือนอย่างญี่ปุ่นได้ประพฤติตามอย่างเขาก็จะ ได้รับอำนาจ ฯลฯ ถ้าไทยเดินตามทางญี่ปุ่นแล้วยุโรปก็จะมีความนับถือไทยดังในข้อหนึ่ง ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] การบำรุงเพื่อประกอบการป้องกันชั้นที่สอง อนึ่งการป้องกันอันตราย ซึ่งบจะคุ้มการกดขี่ของประเทศยุโรปต่าง ๆ นั้น ยังมีข้อสำคัญอีกข้อ ๑ คือ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - การบำรุงการค้าขายจะป้องกันภัยไม่ได้ด้วยเหตุใด คือ การบำรุงผลประโยชน์ของยุโรปในการสินค้า ให้มีทุนรอนของเขาออกไปในการก่อสร้าง หรือประโยชน์สิ่งหนึ่งสิ่งใดในแผ่นดินสยาม ฯลฯ เคาเวอร์เมนต์ สยามต้องอุดหนุนโดยเต็มกำลัง เพื่อจะได้ประโยฃน์ทั้งสองฝ่าย และเมื่อชาวยุโรปลงทุนรอนไว้มาก ถ้าจะมีชาติใดชาติหนึ่งมาพาลข่มเหง ชาติทั้งปวงซึ่งมีประโยชน์ก็จะช่วยห้ามปราม[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ถ้าการปกครองไม่เรียบร้อยการบำรุงผลประโยชน์ยุโรป กลับให้มีช่องเกิดภัย แต่การที่บำรุงผลประโยชน์ของชาวยุโรป ฯลฯ จึงกลายเป็นช่องที่จะกลับให้เกิดอันตรายขึ้นได้เหมือนกัน มีตัวอย่างคือ อินเดีย จีน พม่า เป็นต้น ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] การปกครองเรียบร้อยการบำรุงผลประโยชน์ยุโรปอุดหนุน การป้องกันอันตราย ถ้าบ้านเมืองใด ๆ เมื่อมีเคาเวอนเมนต์ และกำหนดกฎหมายความยุติธรรมอันแน่นอน ผลประโยชน์ของชาวยุโรปซึ่งได้บำรุงนั้น ก็เป็นการช่วยป้องกันขึ้นอีก แลไม่ต้องวิตกในการพาลของชาติยุโรป ที่มีผลประโยชน์อยู่ในบ้านเมือง ฯลฯ เหตุฉะนี้ ถ้าเมืองใด ๆ มีเคาเวอนเมนต์ความปกครองรักษายุติธรรมอยู่แล้ว ผลประโยชน์ของชาวยุโรปที่จะประมูลขึ้น ก็เป็นทางรักษาเอกราชของเมืองนั้น ๆ มีญี่ปุ่น และประเทศทั้งปวงในยุโรป เป็นต้น และถ้าไทยได้จัดบ้านเมืองบำรุงการรักษาตามาแบบยุโรปมั่นคง ทางที่จำเป็นจะประมูลผลประโยชน์ของประเทศยุโรป ให้มีทรัพย์สินทุนรอนของเขาอยู่ในบ้านเมือง[/SIZE]
    [SIZE=-1] การบำรุงผลประโยชน์ยุโรปและสยามสิ่งใดเป็นการ ประเสริฐ เพื่อรักษาเอกราชของกรุงสยามให้แน่นอนขึ้น สิ่งที่ประเสริฐนั้นมีทางให้ต่างประเทศทำรถไฟ มีกำปนีเดินเรือ ขุดคลอง ทำถนน เป็นต้น เพราะทางเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ได้แก่บ้านเมืองมาก ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ว่าด้วยการขัดข้องที่จะจัดแจงแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปไม่ ได้อย่างใด และที่ไม่เห็นทางขัดข้องเหล่านี้ขัดอยู่จริงเพราะเหตุใด เห็นว่ามีทางอันเดียว ที่จะป้องกันรักษากรุงสยาม ให้เจริญเป็นเอกราชต่อไป และได้ปรูฟของทางนี้แล้ว ฯลฯ ทางที่ได้ตริตรองนั้น มีดังนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๑. ขัดด้วยจะไม่พรักพร้อมด้วยเสนาบดีจะไม่เห็นตาม ฯลฯ การครั้งนี้เป็นการใหญ่อันสำคัญ คงจะต้องปรึกษากับเสนาบดีให้เห็นพร้อมกันก่อน จึงจะเปลี่ยนแปลงไปได้ แต่การที่จะเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการที่จะตัดผลประโยชน์ ของเสนาบดีที่เคยได้ในทางตรงบ้างก็มี ทางลับบ้างก็มี ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ไม่เห็นขัดข้องด้วยเหตุใด ฯลฯ แต่ราชการกรุงสยามในทุกวันนี้ได้อยู่ด้วยเสนาบดี ไม่ตั้งใจฉลองพระเดชพระคุณโดยเต็มกำลังนั้น ไม่เป็นด้วยเหตุอื่นไกล เป็นด้วยทรงพระมหากรุณา แลท่านเสนาบดีมากเกินไป จนให้ท่านเสนาบดีเห็นไปว่า ทรงเกรงใจจึงได้คิดบิดเบือนไปต่าง ๆ ฯลฯ ถ้าตั้งพระราชหฤทัยในราชกิจโดยทางอันกวดขัน แข็งแรงไม่ละเว้นเห็นแก่หน้าผู้ใหญ่ผู้น้อยแล้ว การขัดขวางอันนี้จะมีมาแต่ไหน ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๒. ขัดด้วยข้าราชการจะคิดทรยศเพราะการจัดแจงใหม่ ตัดผลประโยชน์และอำนาจ ฯลฯ ท่านเสนาบดีที่รับราชการอยู่ทุกวันนี้ ได้เป็นเพราะความชอบความดีที่ตัวรับราชการ ฯลฯ ก็มี ได้เป็นเพราะตามเหล่าตามตระกูลก็มี ที่มีอำนาจ และผลประโยชน์ในราชการมากน้อย ก็มีไม่เสมอกัน ฯลฯ ฝ่ายพวกที่ได้เป็นเพราะมีตระกูลสืบอุดหนุน ฯลฯ จะหาสู้จงรักภักดีเหมือนผู้ซึ่งได้รับราชการมีความดี ด้วยผลแห่งราชการไม่ ถ้าเห็นกระแสพระราชดำริ หรือทางจัดพระนครไปตามการที่ถูกที่ควร แต่ว่าการนั้นเป็นความตัดประโยชน์ ตัดอำนาจที่เคยได้เคยมีอยู่แล้ว ฯลฯ ก็จะละความสัตย์ซื่อกตัญญูเสีย จะไปทำเหตุเป็นทางประทุษร้าย คิดส่งเสริมอุดหนุนยกผู้หนึ่งผู้ใดขึ้น เอาเป็นโล่ห์เป็นดั้ง ทำเหตุจลาจลขึ้นก็ดี ฯลฯ ยกขึ้นขัดขวางแห่งการที่ทรงพระราชดำริเปลี่ยนไปก็ดี ฯลฯ ก็จะเกิดเป็นช่องให้ชาวต่างประเทศพลอดสอดมือเข้ามารวบรัดเอากรุงสยาม ฯลฯ มีทางที่จะเรียกเรือรบเข้าไปรักษาผลประโยชน์ของตัว แล้วก็กลับเลยเป็นเหตุใหญ่โตไปได้ ถึงจะไม่ถึงกับเสียบ้านเสียเมืองได้ ก็คงจะมีอำนาจมากขึ้นในกรุงสยาม ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ว่าด้วยการแก้ข้อขัดขวางอันนี้ด้วยกำลังทหาร ข้อขัดขวางอันนี้ เห็นว่าเป็นข้อสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าทางที่จะแก้ไขให้หมดสิ้น เป็นที่เชื่อมั่นใจได้ก็มีแต่กำลังอย่างเดียว ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - เหตุใดการบำรุงกำลังทหารป้องกันจึงเป็นการจับปลาย มาหาต้นต้องเป็นการที่สุดจึงควรเดินทางนี้ ซึ่งจะหากำลังให้ต่อสู้ และดับภัยอันตรายในกรุง ที่จะเกิดขึ้นทางนี้ เห็นว่าจะต้องคิดจัดทหารรบรัดการฝึกหัด โดยกวดขันให้เชื่อว่าใช้ได้ ฯลฯ ในการป้องกันภัยภายในได้จริงก่อน แล้วจึงเปลี่ยนแปลงพระราชประเพณีต่อไปภายหลัง แต่การที่จะจัดทหารในชั้นต้นดังนี้ เห็นว่าเป็นการลำบาก และมีช่องทางที่จะไม่สำเร็จได้หลายอย่างหลายประการ ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ควรจัดทหารในชั้นต้นอย่างใดและจะสำเร็จได้ด้วย อย่างใด การที่จะจัดนี้ต้องอาศัยวิธี ที่จะรวบรวมทหารเข้าให้มีกำลังขึ้นมาก แต่อย่าให้เป็นที่เดือดร้อน และหวาดหวั่นของเจ้าหมู่นายกรม และต้องอาศัยผู้หัวหน้าที่จะบังคับการเป็นสำคัญอย่างหนึ่ง ฯลฯ การที่จะเปลี่ยนแปลงพระราชประเพณีนั้น เป็นการใหญ่การสำคัญอย่างยิ่ง เป็นความจำเป็นต้องควรหวาดหวั่นในภัยอันตรายให้มาก ฯลฯ การนี้จึงจะเป็นไปโดยเร็วพลัน ยังไม่ได้ก็ควรงดไว้จนกว่าการที่จะจัดทหารขึ้นให้ได้จริงนี้ ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ทางที่จะจัดแจงบำรุงทหารควรเดินและจัดทางใด ฯลฯ เห็นว่าควรต้องปิดความที่จะเปลี่ยนพระราชประเพณีนั้น ให้เงียบไว้ก่อน อย่าให้ผู้ใดทราบความ เพราะจะเป็นช่องแห่งความขัดขวางคนที่ไม่เห็นชอบ จะทำให้การลำบากมากไป ฯลฯ เห็นว่ากรมต่าง ๆ ที่เป็นทหารมาแต่โบราณ เป็นต้นว่า กรมอาสาทั้งปวงนั้น อันที่จริงแต่เดิมก็เป็นทหารทั้งสิ้น ถ้าจะทรงจัดโดยจริงรวบรวมเอาไพร่ หลวงกรมอาสาต่าง ๆ หมดทุกกรม ตามหมู่ทหารเอามาฝึกหัดยกขึ้นเป็นทหารให้ได้จริง ฯลฯ ก็จะเป็นการจัดพระราชประเพณีเดิมให้มั่นคงแข็งแรงขึ้น ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๓. ขัดขวางด้วยพวกที่เสียผลประโยชน์เพราะการ เปลี่ยนแปลงจะหาอำนาจต่างประเทศมาเกี่ยวข้อง ฯลฯ พวกที่มีความเสียอกเสียใจ ในการที่จะขาดประโยชน์ไป ฯลฯ จะไปทำเหตุอีกอย่างหนึ่ง จะเข้าหาอำนาจชาวต่างประเทศให้ช่วยปกครองป้องกัน หรือบางทีเอาบ้านเมืองไปมอบหมายกำนัลอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เป็นเหตุขึ้น ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ความเห็นในการแก้ไขข้อขัดข้องนี้ ฯลฯ การที่จะเปลี่ยนแปลงพระราชกำหนดกฎหมาย และพระราชประเพณีจัดการพระนครใหม่นั้น ฯลฯ ฝ่ายเราจำเป็นและควรจะต้องแจ้งความให้เคาเวอนเมนต์ต่างประเทศทราย เพื่อเขาจะได้เห็นแก่ความยุติธรรม ซึ่งเราจะบำรุงมนุษย์ทั่วกันให้ได้ความสุข อย่างเช่นเขาบำรุงตามทางที่แลเห็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯลฯ ป้องกันมิให้เขายกเหตุว่าเราไม่ได้ทะนุบำรุงบ้านเมือง และป้องกันเหตุภัยอันตรายในข้างหน้า ฯลฯ เวลานี้ชาวต่างประเทศต่าง ๆ มีฝรั่งเศส หรืออังกฤษ เป็นต้น กำลังคอยมุ่งหมายจะพาลหาเหตุ หาช่องซึ่งจะเข้าเบียดเบียนเรา ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๔. ขัดขวางด้วยราษฎรและข้าราชการ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นลางเป็นเหตุที่จะเสียบ้านเมือง การเลิกถอนพระราชประเพณีเดิม จะตั้งพระราชประเพณีใหม่ เป็นความเปลี่ยนแปลงนี้ จะเป็นเหตุให้ข้าราชการและราษฎร ที่ถือเคล็ดถือเงื่อน ฯลฯ จะพากันเห็นไปว่า ฯลฯ จะเป็นเหตุอันตราย หรือลางร้ายต่าง ๆ แก่บ้านเมือง ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - เหตุใดจึงเห็นความข้อนี้ไม่ควรกลัว ฯลฯ ถ้าทรงทำได้ตลอด ความติเตียนนั้นจะก็สงบหายไป ไม่เป็นการแปลกประหลาดลงในที่สุด ก็จะต้องกลับเป็นการสรรเสริญ ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ๕. ขัดด้วยจะไม่มีผู้ทำราชการได้ดังประเพณีที่จะ เปลี่ยนใหม่ ฯลฯ ด้วยทุกวันนี้เพียงแต่จะให้การเป็นไปตามพระราชประสงค์ หรือพระราชประเพณีบ้านเมือง ก็ยังไม่สำเร็จเป็นไปได้จริง ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - เหตุใดจึงเห็นว่าความข้อนี้ไม่ควรทรงพระปริวิตก ฯลฯ ข้าราชการที่จะฉลองพระเดชพระคุณก็มีมาก และที่ได้ทำไปในคราวแรก โดยพระราชประสงค์สำเร็จได้ทุกประการ ฯลฯ เหมือนการเคานซิลที่ทรงพระราชดำริจัดตั้งขึ้นใช้การมาคราวหนึ่ง ฯลฯ พระราชกำหนด กฎหมายและประเพณี ที่เปลี่ยนแปลงมาทุกวันนี้สำเร็จได้ในคราวครั้งเคานซิลนั้นแทบทุกสิ่ง ทุกอย่างโดยมาก ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - เหตุใดข้าราชการจึงทำการแข็งแรงได้จริงในชั้นต้น ไปปลายมือจึงเสียร่วงโรยไป ภายหลังเมื่อทรงพระมหากรุณาแก่ข้าราชการละเลยไป หาได้ทรงกวดขันให้เป็นตัวอย่างขึ้นแล้ว ราชการในหน้าที่ต่าง ๆ ก็คลายลงทุกที ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - เหตุใดจึงเห็นว่าข้อขัดขวางนี้จะให้มีก็ได้ ไม่ให้มีก็ได้ ฯลฯ เห็นว่าถ้าได้ตั้งพระราชหฤทัยที่จะทรงพระราชวินิจฉัยราชการทั้งปวงเป็นอย่าง อุกฤษฎ์ ให้เป็นที่เห็นได้ทั่วไปในข้าราชการ ว่าจะไม่ทรงพระกรุณาแก่ผู้มีวงศ์ตระกูล หรือหาตระกูลมิได้ผิดชอบประการใดต้องได้รับเสมอกัน และสรรพสิ่งทั้งปวง ต้องให้เป็นการสำเร็จจริงแท้ทั้งสิ้น ผู้ที่จะรับราชการก็จะต้องคิดรักษาหน้าที่หาความดีในทางที่กวดขันให้ได้จริง ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ความมุ่งหมายอันประเสริฐซึ่งมีในพระบรมราชสันดาน ฯลฯ ควรทรงพระราชดำริถึงรัชกาลปัตยุบันนี้ซึ่งตั้งอยู่ในสมัยการอันประเสริฐคือ "ศิวิไลเซชัน" นี้ ไม่ควรจะให้มีความดีความเจริญเพียงเสมอรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่โบราณมา ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ความประสงค์ของผู้ซึ่งมีในท้ายหนังสือนี้ ด้วยความประสงค์อันนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงจึ่งสามารถพระกรุณาบังอาจชี้แจงยืดยาวโดยพิสดาร แลใช้ถ้อยคำอันเรี่ยวแรงดังนี้ เพราะเป็นความประสงค์ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงที่จะกราบบังคมทูลแสดงความ กตัญญู รักใคร่ในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท แลบ้านเมืองซึ่งได้เป็นของไทยมาหลายร้อยปี โดยเต็มตามที่ใจคิดทุกอย่าง ฯลฯ มีความประสงค์ที่จะได้ฉลองพระเดชพระคุณซึ่งได้ทรงพระกรุณาชุบเกล้า ฯ มา แลทำความดีให้แก่บ้านเมือง ซึ่งเป็นที่รักของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อให้เป็นเอกราชต่อไป ฯลฯ ถ้าคำซึ่งข้าพระพุทธเจ้ากราบบังคมทูลพระกรุณานี้ต้องด้วยพระราชดำริ[/SIZE]
    [SIZE=-1]แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง จะขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ถวายบังคมทูลพระกรุณาในความแก้ไขจัดการบ้านเมืองอย่างยุโรปให้ละเอียดขึ้น อีกในคราวหน้า เพื่อได้ทรงพระราชดำริในการนั้นแลสร้างจัดขึ้นตามพระราชประสงค์ต่อไป[/SIZE]
     
  11. phrae2010

    phrae2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +524
    พระราช หัตถเลขาตอบ

    [SIZE=-1]พระบาทสมเด็จพระจุลบจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชดำรัสตอบ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๘ หลังจากที่ทรงทราบความแล้วเป็นเวลาประมาณ ๔ เดือน เรียกสารนี้ว่า พระบรมราชาธิบายแก้ไขการ ปกครองแผ่นดิน แต่ตามต้นฉบับเรียกเรียกพระราชหัตถเลขานี้ว่า พระราช ดำรัสตอบความเห็นของผู้ที่จะให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง จ.ศ.๑๒๔๗ มีความว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1] ด้วยเราได้รับหนังสือของท่านทั้งปวงลงชื่อพร้อมกันส่งมาเป็นความเห็นว่าด้วยอันตราย จะมีแก่บ้านเมืองอย่างไร การที่ควรจะหลีกหนีให้พ้นอันตราย ด้วยจัดการได้ถึงที่เพียงเท่าใด ความเห็นของท่านทั้งปวงที่กล่าวมาแล้วนั้น เราได้พิจารณาโดยถ้วนถี่ทุกข้อทุกประการแล้ว[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในเบื้องต้นนี้ เราขอตอบแก่ท่านทั้งปวงว่า เราชอบใจอยู่ในการซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์แลข้าราชการของเราได้ไปเห็นการใน ประเทศอื่น แล้วระลึกถึงประเทศของตน ปรารถนาที่จะป้องกันอันตราย แลจะให้มีความยั่งยืนมั่นคงอยู่ในอำนาจอันเป็นอิสรภาพ ในข้อความบรรดาที่ได้กล่าวมาแล้วที่เป็นตัวใจความ สำคัญทุกอย่างนั้น เรายอมรับว่าเป็นการจริงดังนั้น ยกไว้แต่ข้อ เล็กน้อยบางข้อ ซึ่งบางทีจะเป็นเข้าใจผิดไป แต่หาเห็นควรที่จะยกขึ้นพูดในที่นี้ไม่ แต่เราขอแจ้งความแก่ท่านทั้งปวง ให้ทราบพร้อมกันด้วยว่าความที่น่ากลัวอันตรายอย่างใดซึ่งได้กล่าวมานั้น ไม่เป็นการที่จะแลเห็นได้ขึ้นใหม่ของเราเลย แต่เป็นการได้คิดเห็นอยู่แล้วทั้งสิ้น แลการที่ควรจะทำนุบำรุงให้เจริญอย่างไรเล่า เราก็มีความปรารถนาแรงกล้าที่จะได้จัดการนั้นให้สำเร็จตลอดไปได้ ไม่ต้องมีความห่วงระแวงอย่างหนึ่งอย่างใด ว่าเราบจะเป็นผู้ขัดขวางในการซึ่งจะเสียอำนาจ ซึ่งเรียกว่าแอบโซลูดเป็นต้นนั้นเลย เพราะเราได้เคยทดลองรู้มาแล้ว ตั้งแต่เวลาเป็นตุ๊กตา ซึ่งไม่มีอำนาจอันใดเลยทีเดียว นอกจากชื่อ จนถึงเวลาที่มีอำนาจขึ้นมาโดยลำดับจนเต็มบริบูรณ์ในบัดนี้ "ในเวลาที่มีอำนาจน้อยปานนั้นได้ความลำบากอย่างไร และในเวลาที่มีอำนาจมากเพียงนี้ ได้ความลำบากอย่างไรเรารู้ดี จำได้ดี" เพราะที่จำได้อยู่อย่างนี้เหตุไรเล่าเราจึงบจะมีความปรารถนาอำนาจปานกลาง ซึ่งจะเป็นความสุขแก่ตัวเรา แลจะเป็นการมั่นคงถาวรของพระราชอาณาจักรด้วยนั้น เพราะเหตุฉะนี้เราขอให้ท่านทั้งปวงเข้าใจว่าเราไม่ เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งจะต้องบีบคั้นให้หันลงหาทางกลาง เหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินยุโรป ซึ่งมีมาในพงศาวดาร แลเพราะความเห็น ความรู้ซึ่งเราได้เป็นเจ้าแผ่นดินมาถึงสิบแปดปี ได้พบได้เห็นแลได้เคยทุกข์ร้อน ในการหนักการแรงการเผ็ดการร้อนของเมือง ซึ่งมีอำนาจจะมากดขี่ประการใด ทั้งได้ยินข่าวคราวจากเมืองอื่น ๆ ซึ่งมีเนือง ๆ มิได้ขาด แลการซึ่งเราได้ขวนขวายตะเกียกตะกาย อยู่ในการที่จะเปลี่ยนแปลงมาแต่ก่อน จนมีเหตุบ่อย ๆ เป็นพยานของเราที่ยกขึ้นชี้ได้ว่า เราไม่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเหมือนอย่างกับคางคก อยู่ในกะลาครอบ ที่จะพึงทรมานให้สิ้นทิฐิถือว่าตัวโตนั้นด้วยอย่างหนึ่งอย่างใดเลย[/SIZE]
    [SIZE=-1] เมื่อเราได้ชี้แจงถึงตัวเราเอง ว่าไม่เป็นผู้กีดแก่การจำเริญแลการมั่นคงของบ้านเมืองดังนั้นแล้ว เรายังต้องเป็นผู้รับผิดที่คนทั้งปวงจะลงร้าย ว่าเพราะเราเป็นคนอ่อน ไม่สามารถที่จะหักหาญแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เพราะความเห็นซึ่งจะถือว่า ถ้าเราประสงค์อย่างไรการนั้นคงจะตลอดไปได้ การซึ่งไม่ตลอดไปได้เพราะเราไม่คิดจะให้ตลอดดังนี้ ดูเหมือนเราเป็นผู้ทำให้เสียอำนาจเจ้าแผ่นดินไป เพราะความอ่อนของตัว ในความข้อนี้ เราไม่อยากจะซัดโทษให้แก่ท่านแต่ก่อนเลย แต่เป็นการจำเป็นที่จะต้องพูดว่า อำนาจเสนาบดีเจริญ ขึ้น เพราะมีอำนาจได้ตั้งเจ้าแผ่นดินมาแต่ก่อนมากนักแล้ว จนตลอดถึงเวลาเราได้เป็นเจ้าแผ่นดินขึ้น ก็เป็นเวลาเคราะห์ร้าย ที่ตัวเราเป็นเด็ก เป็นโอกาสยิ่งใหญ่ที่จะถอนอำนาจเจ้าแผ่นดินได้หมด เหมือนว่าวที่ปล่อยจนหมดสายป่านไม่มีเหลือเลย ยังเหลือแต่ธุระที่เราจะทำอยู่เพียงจะชั่งกำลังตัวว่า เมื่อเราเป็นเด็กอยู่มีกำลังเพียงเท่านั้น จะรั้งว่าวนั้นไม่ให้หกล้ม ฤาจะปล่อยให้ว่าวหลุดลอยเสีย แต่เป็นเดชะบุญที่เราเป็นแต่เด็กกำลังเดียวเท่านั้น ได้อาศัยเอาป่านพันหลักค่อย ๆ สาวเข้ามา จนไม่มีอันตรายหลุดลอยไปได้ แต่ก็ยังเป็นพนักงานอย่างเดียวที่จะสาวสายป่านให้สั้นเข้ามาทุกที สั้นเข้ามาทุกที เมื่อเหลือกำลังก็หย่อนไป เมื่อพอที่จะสาวก็สาวเข้ามาพันหลักไว้ เมื่อผู้ใดได้รู้การเก่า ผู้นั้นจะเห็นได้ว่าความยากลำบากของเรา เป็นประการใด ถ้าผู้ที่ได้เห็นแต่การภายหลังก็จะเข้าใจว่า เราได้นั่งขี้เกียจฤาโง่เซอะ มาเป็น ๑๗ - ๑๘ ปี ที่พูดมานี้ถ้าจะฟังในเวลานี้ ก็เห็นเป็นการเพ้อเจ้อ แต่ถ้าคิดถึงแต่ก่อนแล้วยิ่งเป็นการสำคัญมาก ยากที่จะทำ ซึ่งเราถือว่าเราไม่ได้ขี้เกียจอยู่เปล่าเลย ยกเอามาว่านี้เพราะจะให้เห็นว่าการแต่ก่อนนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุใดคำซึ่งถือว่าความปรารถนาของเราเป็นสำคัญ จะใช้ทั่วไปทุกเวลาไม่ได้ เราไม่ยอมรับผิดชอบในนั้นเลย เพราะเราได้ทำการเต็มกำลังแล้ว แต่เวลาปีหนึ่งสองปีนี้ดูเป็นโอกาสดีขึ้นมาก ที่ควรจะจัดการต่อไปอีกได้ เราก็ได้คิดจัดการต่อไปเมื่อได้รับอนุญาตของเรานั้น เป็นที่ชอบใจของเราอยู่ เราเห็นสมควรที่จะชี้แจงการที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้อย่างไร ความต้องการของเมืองเรานั้นต้องการอันใด ที่ผู้ซึ่งไม่ได้อยู่ใกล้ชิดต่อราชการ จะรู้แน่ได้โดยยาก[/SIZE]
    [SIZE=-1] คือราชการในเมืองเรานี้ ถ้าจะเทียบกับประเทศอื่น ๆ การแต่เดิม ๆ มานั้น การเอกเสกคิวตีฟ กับลิยิสเลตีฟ รวมอยู่ในเจ้าแผ่นดินกับเสนาบดีโดยมาก แต่ครั้งเมื่อริเยนซี ในตอนต้น อำนาจนั้นก็อยู่แก่ริเยนต์แลเสนาบดีทั้งสองอย่าง ครั้นภายหลังมาเมื่อเราค่อยมีอำนาจขึ้น ตำแหน่งเอกเสกคิวตีฟนั้นเป็นที่หวงแหนของริเยนต์แลจนถึงเคานซิล ที่ปรึกษาทำกฎหมายเนือง ๆ เป็นต้น จนตกลงเป็นเสนาบดีเป็นคอเวอนเมนต์ เราก็กลายเป็นหัวหน้าของพวกลิยิสเลติฟเคานซิล เป็นออปโปลิชั่นของคอเวอนเมนต์ตรง เมื่อภายหลังมามีเหตุการณ์ในการคอเวอนเมนต์มากขึ้น เป็นโอกาสที่เราจะได้แทรกมือลงไปได้บ่อย ๆ เราจึงได้ถือเอาอำนาจเอกเสกคิวตีฟได้ทีละน้อยละน้อย จนภายหลังตามลำดับ ลำดับมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ เรากลายเป็นตัวคอเวอนเมนต์ เราเชื่อเป็นแน่ว่าในการลิยิสเลตีฟเคานซิลครั้งนั้น คงจะได้แรงเพราะเรา จึงได้ทำการตลอดไปได้ไม่มากก็น้อย ครั้นเรากลับมาเป็นเอกเสกคิวตีฟคอเวอนเมนต์เสียแล้ว การลิยิสเลตีฟไม่มีผู้อุดหนุน เพราะเป็นการเหลือกำลัง ที่เราจะทำทั้งสองอย่างได้ตลอดเช่น พระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อน ด้วยราชการเกิดขึ้นมากกว่าหลายสิบเท่านัก แลเพราะเมมเบอร์ที่เป็นตัวสำคัญขาดไปเสียบ้าง จึงทำให้ลิยิสเลตีฟเคานซิลมีเสียงอ่อนไป ทำกฎหมายอันใดก็ไม่ใคร่จะทำสำเร็จได้ โทษที่การลิยิสเลตีฟเคานซิลเสียไป จะลงเอาว่าเพราะแต่ก่อนเราตั้งใจ อุดหนุนอยู่การจึงตลอดไป ในภายหลังเพราะเราทิ้งเสียจึงเสียไป ก็ต้องรับว่าเป็นการจริงอยู่ แต่ต้องขอชี้แจงให้เข้าใจอีกว่า การที่เราทำอยู่ในตำแหน่ง เอกเสกคิวตีฟคอเวอนเมนต์นี้ ถ้าจะเปรียบกับการคอเวอนเมนต์อังกฤษก็เหมือนหนึ่งเป็นปรีเมียเองในตัว แต่ได้เปรียบกว่ากันคนละอย่างคือ ปรีเมียอังกฤษต้องรู้การคิดการที่สำคัญทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นไว้แต่การเล็กน้อย คนอื่นทำไปได้ตำแหน่งมินิสตรีของตัว แต่ส่วนเราต้องรู้การตั้งแต่ใหญ่ลงไปจนเล็กทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องทำเองสั่งเองทุกสิ่ง ตลอดจนถ้อยความเล็กน้อย ไม่ใคร่จะได้อาศัย ฤาไม่ได้อาศัยเสนาบดีตามตำแหน่งนั้น ๆ เลย เราต้องรับการตำแหน่งนี้หนักยิ่งกว่าปรีเมียอังกฤษ แต่ปรีเมียอังกฤษต้องนั่งในเฮาสออฟปาลียเมนต์ คอยแก้ความ ส่วนเราไม่ต้องนั่งเป็นได้เปรียบปรีเมียอังกฤษ เมื่อการของเราหนักปานนี้ ไม่มีเวลาที่จะหยุดได้ จึงไม่ได้อุดหนุนในการลิยิสเลตีฟเคานซิล ให้แข็งแรงได้เหมือนแต่ก่อน จะหาเวลาที่จะเรียงหนังสือให้ยาว ๆ หน่อยหนึ่งก็ยากเป็นที่สุด อย่าว่าแต่จะทำกฎหมายเลย แต่ในการเอกเสกคิวตีฟคอเวอนเมนต์ เราสามารถที่จะพูดได้ว่า ยังชั่วขึ้นกว่าแต่เป็นแน่ แต่จะเรียกว่าดีนั้นไม่ได้เลย เพราะมีช่องที่จะเสียได้มาก แลไม่เป็นการถาวรด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1] เพราะฉะนั้น การต้องการในเมืองเราเวลานี้ ที่เป็นต้องการสำคัญนั้นคือ คอเวอนเมนต์รีฟอม จำเป็นที่จะให้พนักงานของข้าราชการแผ่นดินทุก ๆ กรม ทำการให้ได้เนื้อเต็มหน้าที่ แลให้ได้ประชุมปรึกษาหารือกัน ทำการเดินให้ถึงกันโดยง่าย โดยเร็วทำการรับผิดชอบในหน้าที่ของตัว หลีกลี้ไม่ได้ นี่เป็นความต้องการอย่างหนึ่ง[/SIZE]
    [SIZE=-1] ความต้องการอีกอย่างหนึ่งนั้นคือ ผู้ทำกฎหมายให้เป็นผู้สำหรับที่จะตริตรองตรวจการทุกสิ่งทุกอย่าง ในพวกที่ว่ามาแล้วนั้น จะทำฤาตัดสินการขัดข้องด้วยทุก วันนี้ จะหาผู้ที่ทำกฎหมายได้ เกือบจะเรียกได้ว่าไม่มีทีเดียว ได้คิดที่จะทำกฎหมายอันใดอันหนึ่งหลายเรื่องนักหนาแล้ว ไม่สำเร็จไปได้สักเรื่องหนึ่ง เพราะผู้ที่จะทำได้นั้น มักเป็นผู้ที่มีการในตำแหน่งที่ต้องทำเสมอจนเหลือที่จะทำได้ ถ้าจะให้ประชุมเคานซิลทำอย่างเช่นแต่ก่อน ก็ไม่สำเร็จได้เลยสักเรื่องเดียว ความต้องการทั้งสองสิ่งนี้ เป็นต้องการใหญ่ของเมืองเรา[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในการที่จะจัดตำแหน่งเสนาบดีให้รับการได้จริงทุกสิ่งทุกอย่างในสำรับเก่าที่ เป็นอยู่บัดนี้ ให้กลับทำการอย่างใหม่ได้จริงนั้นไม่ยาก แต่เพียงที่เคยเป็นออปโปสิชั่นกันมาเสียแต่ก่อน ที่จำเป็นจะต้องเห็นไม่ต้องกัน ฤาแกล้งบิดพลิ้วจะให้เสียนั้นอย่างเดียวเลย เป็นการที่เหลือกำลังจะทำไปได้ก็มี เหมือนอย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ กงสุลฝรั่งเศสมีหนังสือมา เรื่องประกาศห้ามไม่ให้บรรทุกกำลังศึกเข้าไปในเมืองจีน เราจึงได้มีคำสั่งเจ้าพระยาภาณุวงศ์ให้ทำคำประกาศ แลให้แปลหนังสือที่ประเทศทั้งปวง ได้ตกลงกันอย่างไร ลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ให้ลูกค้าทั้งปวงทราบ ได้สั่งการโดยละเอียดถ้วนถี่แล้ว ครั้นเมื่อร่างประกาศมาให้เราดู มีข้อความเพิ่มเติมลงไปอีก ว่าเมืองไทยเรามีแต่ข้าวเป็นสินค้า ข้าวไม่เป็นอาวุธ ไม่ต้องห้ามดังนี้ ที่เติมลงนี้ก็ประสงค์จะให้ดีเท่านั้น ใช่จะแกล้งอย่างหนึ่งอย่างใดเลย แต่หาได้ดูในหนังสือฉบับที่ให้แปลนั้นเองไม่ ว่าเขาจะกำหนดห้ามอันใด จะประกาศให้ทราบแลไม่มีกำหนดว่าจะห้ามอันใดบ้าง แลมีหนังสือพิมพ์ข่าวโทรเลข ในเวลานั้นลงออกอึงไปว่า ฝรั่งเศสจะห้ามแต่ข้าวอย่างเดียว ก็ไม่รู้เสียการวางมือไปไม่ได้อย่างนี้ ท่านเสนาบดีกรมนี้ก็นับว่าเป็นผู้มีปัญญายังชั่วกว่ากรมอื่น ๆ ยังเป็นดังนี้จะป่วยกล่าวไปไยถึงกรมอื่น ๆ เล่า เพราะเหตุอันนี้เราจึงต้องรับภาระอันหนัก โดยมิได้อยากจะขวนขวายไปรับเอามาเลย ดังเช่นกล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ถึงตัวท่านเสนาบดีเองเล่า เราก็เชื่อแน่ว่าได้รู้ตัวเหมือนกันว่า กำลังตัวเองไม่พอที่จะรับแก่การปัตยุบันนี้ได้ บางครั้งบางคราวเป็นแน่ จึงได้พากันหลบเลี่ยง ไม่ใคร่อยากเข้าที่ประชุมเลยเป็นนิจ ถ้าเข้าที่ประชุมก็ไม่พูดเสียบ้าง พาลโกรธน้อยอกน้อยใจเป็นการดูถูกดูแคลนไปบ้าง ฤาพูดออกมาแล้วการนั้นมักไม่ใคร่จะได้เป็นตามพูด เพราะความเห็นอย่างอื่นมีมากกว่า ก็เห็นเป็นคำพูดของตัวไม่มีราคาทำให้เกิดความท้อถอยเห็นเสียว่า สู้รักษาให้เป็นคมในฝักไม่ได้ เมื่อการเป็นอยู่ดังนี้ ก็เป็นเหตุที่ชวนให้คิดอยากเปลี่ยนแปลงใม่ แต่ต้องคิดอีกว่า การที่จะเปลี่ยนแปลงนั้น ในท่านสำรับเก่านี้จะทำการได้ฤาไม่ เมื่อทำการไม่ได้แล้วก็มีช่องเดียวแต่จะต้องรีไซน์ การที่มินิสเตอร์จะรีไซน์พร้อมกันมาก ๆ ซึ่งไม่เคยมีในเมืองไทยเลย จะมีเหตุผลประการใดท่านทั้งปวงก็ได้คิดชั่งคิดตวงมาแล้วทุกอย่าง แต่การที่ชั่งตวงนั้นจะถือว่า เป็นความถูกต้องมาแต่ดั้งเดิม เว้นแต่ไม่คิดนั้นไม่ได้ ถ้าเป็นแต่ก่อน จะชั่งน้ำหนักอย่างนี้ไม่ได้เลย แต่ในเวลานี้เราเห็นว่าจะเป็นไปได้อยู่แล้ว แต่ถึงอย่างไร ๆ ก็ดี ยังเป็นที่ตะขิดตะขวงใจมากแลเป็นที่ตกใจของคนตลอดหัวเมือง ทั่วพระราชอาณาเขตไม่น้อยเลย แต่บางทีก็จะมีเหตุผลได้บ้าง แต่ที่จะเป็นใหญ่โตอันใดไปเป็นไปไม่ได้ ผู้ซึ่งนั่งอยู่นอกจากวง ก็แลเห็นว่าไม่เป็นการยากอันใด แต่ผู้ซึ่งจะเป็นผู้ทำนั้นเป็นความลำบากอยู่บ้าง แต่การเรื่องนี้ก็ได้รั้งรอมานาน แลได้คิดแก้ไขอย่างอื่นมากแล้ว ก็เห็นเป็นการไม่ตลอดได้ ราชการทั้งปวงก็บีบคั้นเร่งรัดเข้า แลโอกาสที่จะจัดก็คอยโปร่ง ๆ ขึ้นทุกที เห็นเป็นเวลาที่ควรจะจัดได้ เราจึงขอบอกท่านทั้งปวงว่าการเรื่องนี้เรากำลังได้คิดจะจัดอยูทีเดียว เมื่อท่านทั้งปวงจะช่วยคิดแล้ว จงคิดการเรื่องนี้เถิด จะได้เทียบเคียงกับความคิดที่ในกรุงเทพ เลือกเอาตามภาระที่สมควรแก่บ้านเมือง[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในส่วนลิยิาเลตีฟเคานซิลนั้น เป็นการจำเป็นจะต้องมีดังเช่นเราได้กล่าวมาแล้ว แต่ไม่เป็นการง่ายเลย ที่จะหาตัวผู้ซึ่งจะเป็นการได้จริง ผู้ซึ่งจะมีปัญญาชี้เหตุการติแลชมได้นั้นมีมากคนไป แต่ไม่พ้นจากที่จะเหมือนกับชี้บอกว่า สิ่งนี้แดง สิ่งนี้ดำ สิ่งนี้ขาว ซึ่งแลเห็นอยู่แก่ตาทั่วกันแล้วอย่างนั้นเอง แต่ผู้ซึ่งจะทำให้เป็นรูปร่างอย่างใดเข้านั้น ไม่ใคร่มีตัวเลย อยู่ในไม่พ้นแล้วแต่จะโปรด ฯ ฤาถ้าทรงแล้วก็ได้ แต่ถ้าจะทรงด้วยกำลังเองไม่ไหว ให้ ไปทำมาก็เปล่าทั้งนั้น นิ่งเงียบ ๆ เสียพอลืมแล้วก็กลายเป็นเพราะไม่ทรง จึ่งได้ค้าง ส่วนตัวเราเองที่ไหนไหวเพราะการออกเป็นก่ายเป็นกองดังเช่นกล่าวมาแล้ว ถ้าลิยิสเลตีฟเคานซิลที่ตั้งขึ้นใหม่ ยังเป็นอย่างนี้อยู่แลัว ไม่มีดีกว่ามีเพราะเราจะถูกตั้งชื่อว่าเป็นผู้สำหรับที่เขาจะว่าเท่านั้น ไม่มีประโยชน์อันใดขึ้นอีก การเรื่องที่จะทำกฎหมาย และจะคิดการทั้งปวงในกระบวนได้เสียของกฎหมายที่จะออกไปเหล่านี้ เราเห็นว่าแต่กำลังคนไทยที่จะตั้งขึ้นเป็นลิยิสเลตีฟเคานซิล คงจะทำไม่ตลอดเป็นแน่ ด้วยการเกี่ยวข้องเจือปนกับต่างประเทศมากนัก เหลือความรู้ที่จะรู้ไปได้จริง ๆ จำเป็นจะต้องมีหมอความคนหนึ่งฤาสองคน มาเป็นที่หารือจึ่งจะทำการไปได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] การสองสิ่งนี้ รวมความก็อย่างเดียวกันคือ คอ เวอนเมนต์รีฟอม นี่แหละเป็นต้นเหตุที่จะจัดการทั้งปวงได้สำเร็จตลอด ถ้าการเรื่องนี้ยังไม่เป็นการเรียบร้อยได้แล้ว การอื่น ๆ ยากนักที่จะตลอดไปได้ เพราะฉะนั้นเราจึ่งขอให้ท่านทั้งปวงคิดการเรื่องนี้ ตามที่รับมาว่าจะคิดนั้นคิด การอื่น ๆ ที่จะต้องรีฟอมบ้าง จัดขึ้นใหม่บ้างนั้น เราของดไว้พูดต่อภายหลัง ซึ่งเราพูดอธิบายถึงตัวเราเองดังกล่าวข้างต้นนั้น ใช่จะมุ่งหมายปักหน้าว่า ท่านทั้งปวงลงเนื้อเห็นเอาว่าเราเป็นดังเช่นที่ได้กล่าวมานั้นทั่วไป เราเชื่อว่าคงมีผู้รู้แน่ว่าใจเราเป็นอย่างไร แต่ที่ว่าให้ตลอดดังนี้ เพื่อว่าคนในปัตยุบันนี้ฤาสืบไปภายหน้าที่ไม่สามารถรู้น้ำใจเรา เมื่อได้ยินได้ฟังการทั้งนี้ จะเข้าใจน้ำใจของเราผิดไป จึ่งจำเป็นจะต้องว่าไว้ให้ตลอด ตามความที่เป็นจริงอย่างไรในใจของเรา[/SIZE] <center> [SIZE=-1](พระราชหัตถเลขา) สยามินทร์[/SIZE]


    ที่มา
     
  12. chopper1972

    chopper1972 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +13,153
    ขออนุญาตร่วมสนุกด้วยคนครับ...

    ในคอสร้อย 2 เส้น....เส้นละ 1 องค์....

    1. พระคำข้าว

    2. สมเด็จหลวงพ่อกวย ออกวัดหนองปลิง ปี 2509

    ...ในห่อผ้าและแหนบติดกระเป๋าเสื้อชุดทำงาน....พระหางหมาก, มงกุฎเพชรพระราชพรหมยาน, เหรียญกูผู้ชนะ-ไพรีพินาศ วัดท่าซุง, เหรียญกรมกลวงชุมพรฯ วัดท่าซุง, เหรียญหลังยันต์หลวงพ่อกวย ปี 39, เหรียญหลังหนุมานหลวงพ่อกวยปี 52, พระแหวกม่านหลวงพ่อกวย ปี 52 , พระสมเด็จพิมพ์เล็กหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ปี 17 , พระปิดตาสายรุ้งหลวงพ่อแพ ปี 14, พระพุทธชินราชพิธีจักรพรรดิ์ ปี 15, พระพุทธชินราช-พระนเรศวรชนะศึก ปี 44,พระพุทธชินราช ปี 33, เหรียญทำน้ำมนต์หลวงปู่ศรี(คุณบอย Specialized มอบให้มา), พระปิดตาหลวงปู่ม่วง วัดยางงาม(เด็กบางแค มอบให้มา), พระผงเจ้าสัวหลวงปู่บุดดา, ขุนแผนหลวงพ่อแพ ปี 22...

    ...วันไหนอยากใช้ตะกรุดคาดเอว ก็ นางพิม-ดำเซ็น หลวงพ่ออั้บ หรือไม่ก็ ตะกรุดโทน หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก
    ...พวงกุญแจ 2 พวง ก็ คุณปลัดหลวงพ่อกวย และ นางพิมเนื้อผง หลวงพ่ออั้บ แยกคนละพวง

    ....แต่ตอนนี้รอรับพระรุ่น"มงคลชีวิต" ด้วยความระทึกใจครับ:cool:
     
  13. chainerror

    chainerror เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    2,783
    ค่าพลัง:
    +7,902
    สวัสดียามเช้าครับทุกๆท่าน
    เห็นคุณโต้งมีกิจกรรมแจกของเด็ดๆอย่างนี้ต้องร่วมด้วย อิอิ
    มาถึงกรุงเทพฯฝนตกกระหน่ำน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย
     
  14. โต้งชลบุรี

    โต้งชลบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,474
    ค่าพลัง:
    +18,351
    สวัสดียามเช้าครับ ทุกท่าน ขอให้ทุกท่านมีความสุข ตลอดทั้งวันนี้นะครับ
     
  15. โต้งชลบุรี

    โต้งชลบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,474
    ค่าพลัง:
    +18,351
    พระมงคลมหาลาภ ผมว่าสุดยอดอยู่แล้วครับ ส่วนที่เหลือก็ไม่ธรรมดาเช่นกัน แต่ที่ผมชอบมากที่สุดเห็นจะเป็นลูกอมหลวงพ่อสงวนครับ 555
    ขอบคุณมากครับ ที่ร่วมสนุกด้วยกัน
     
  16. โต้งชลบุรี

    โต้งชลบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,474
    ค่าพลัง:
    +18,351
    ขอบคุณครับที่ร่วมสนุกด้วยกัน แขวนพระแบบเดี่ยว ๆ พี่หนุ่มว่าจิตมั่นคงมากกว่าแขวนหลาย ๆ องค์ครับ
     
  17. โต้งชลบุรี

    โต้งชลบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,474
    ค่าพลัง:
    +18,351
    ชุดนี้ของพี่เดชาไปเที่ยวได้ทั่วครับ (ถ้ามีตังค์ 555) สำหรับองค์ที่ 2 ว่าง ๆ พี่นำรูปมาให้น้อง ๆ ได้ชมบ้างนะครับ ขอบคุณพี่มากครับ ที่ร่วมสนุกด้วยกัน
     
  18. 2zani

    2zani เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,549

    สวัสดีครับพี่หนุ่มและพี่ๆทุกท่านครับ

    ลมกับจิต

    [​IMG]

    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
    ( ท่านพ่อลี ธมฺมธโร )

    ๗ สิงหาคม ๒๕๐๑ ณ วัดอโศการาม
    * บันทึกโดยแม่ชีอรุณ อภิวณฺณา​

    ในการนั่งภาวนาให้ทำลมให้แคบที่สุด อย่าให้จิตไปยู่นอกตัว ถ้าเราเอาจิตไปอยู่กับคนอื่นสิ่งอื่น เราก็จะต้องได้รู้แต่เรื่องของคนอื่นสิ่งอื่น ส่วนเรื่องของตังเองก็เลยไม่ได้รู้ได้เห็นอะไรเลย
    เราอยู่ใกล้กับสิ่งใดจะต้องสนใจกับสิ่งนั้น เราอยู่ใกล้คนใด ก็จะต้องสนใจกับคนนั้นให้มากที่สุด คนใดนั่งใกล้เรา ต้องสนทนาปราศรัยกับเขา อย่านั่งเป็นใบ้ ทำความคุ้นเคยสนิทสนมกับเขาไว้ ถ้าเราไม่พูดคุยทำไมตรีกับเขาไว้บ้าง เขาก็จะต้องไม่ชอบเรา และกลายเป็นศัตรูของเราไป นี้ฉันใด เรื่องร่างกายของเรานี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ธาตุเหล่านี้ ก็ย่อมเปรียบเหมือนกับญาติหรือมิตรสหายของเรา เพราะเรานั่งนอนยืนเดินไปทางไหน เขาก็ติดตามเราไปทุกแห่ง ฉะนั้นเราต้องสนใจทำความรู้จักคุ้นเคยกับเขาไว้มากกว่า คนอื่น เมื่อสนิทสนมกันแล้ว นานๆ ไปเขาก็จะรักเราและช่วยเหลือเราได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อเรามีมิตรที่ดีและซื่อตรงเช่นนี้ เราก็ย่อมจะปลอดภัยและมีความสุข


    ถ้าเรารู้เรื่องธรรมดาของโลก และรู้จักความเป็นจริงของธรรมแล้ว เราก็จะไม่ต้องมีความยุ่งยากในการเป็นอยู่ เรื่องภายนอกนั้น ถึงเราจะศึกษา ให้มีความรู้สักเท่าไร ๆ ก็ไม่ทำให้เราพ้นจากทุกข์ได้ สู้การเรียนจิตใจของตนอยู่ภายในวงแคบๆนี้ ไม่ได้



    เรื่อง ของโลกยิ่งเรียนก็ยิ่งกว้าง เรื่องของธรรมยิ่งรู้ก็ยิ่งแคบ และรู้แคบเท่าไรก็ยิ่งดี ถ้ารู้กว้างออกไปมักฟุ้งซ่าน เป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับการเดินไปในหนทางที่แคบๆ ย่อมจะไม่มีใครเดินสวนทางเข้ามาชนกับเราได้ ส่วนคนเดินตามหลังนี้ช่างเขา เมื่อไม่มีใครสวนทางเข้ามาข้างหน้าแล้ว คนที่จะเดินบังหน้าเราก็ไม่มี เราก็จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าออกไปได้ไกลที่สุด ฉันใด



    ผู้ทำจิตใจให้แคบเข้าละเอียดเข้าก็จะเกิดความวิเวกสงบ เกิดแสงและเกิดวิปัสสนาญาณ มองเห็นอดีต อนาคต และปัจจุบันได้ทุกอย่าง
    เหตุนั้น ท่านจึงว่าผู้มีวิปัสสนาญาณ เป็นผู้มีสายตาอันไกล คนที่ส่งจิตออกไปอยู่นอกตัว เปรียบเทียบกับคนที่เดินไปตามถนนกว้างๆ ถนนกว้างนั้น อย่าว่าแต่คนจะสวนทางเข้ามาได้เลย แม้แต่สุนัข และสัตว์ตัวโต ๆ มันก็เดินสวนเข้ามาได้ ฉะนั้น จึงไม่ปลอดภัย จิตผู้นั้นก็จะมีแต่ความฟุ้งซ่าน เต็มไปด้วยนิวรณธรรมหาความสงบมิได้



    การทำจิตให้แคบ เปรียบอีกอย่างหนึ่งก็เหมือนกับการขุดหลุม ถ้าเราขุดหลุมเล็กๆ ก็ย่อมจะขุดได้ลึกและเร็วกว่าหลุมกว้างๆ ความเหน็ดเหนื่อยก็มีน้อย กำลังก็ไม่สึกหรอ ย่อมได้ผลดีกว่ากัน หรือจะเปรียบอีกอย่างหนึ่งก็เหมือนกับแม่น้ำ ถ้ากว้างมากก็มักไหลช้า และไม่แรง ถ้าแคบก็จะไหลเร็วและแรงด้วย หรือน้ำฝนที่ตกลงในที่กว้างย่อมกระจายไปทั่วในที่ต่างๆ น้ำก็จะไม่ขังในพื้นที่เหล่านั้นได้ เท่าไร ถ้าตกลงมาเฉพาะในที่แห่งใดแห่งหนึ่งแต่เพียงแห่งเดียว แล้ว มิช้าก็อาจจะท่วมท้นหัวคันนาได้ ฉันใด อำนาจแห่งจิต ก็เช่นเดียวกัน ถ้ายิ่งแคบและละเอียดมากเท่าไรก็ยิ่งมีกำลังแรงและคุณภาพสูงยิ่งขึ้น

    ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้เอาจิตมาจดจ่ออยู่กับลมหายใจอย่างเดียว ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องราวอื่น ๆ ให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ในลมหายใจอย่างเดียว ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องราวอื่นๆ ให้มีสติสัมปชัญญะ อยู่ในลมเท่านั้น มันจะไม่ดี จะโง่ จะมืด จะหนาอย่างไรก็ช่างมัน มุ่งดูลมอย่างเดียวจนจิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ต่อไปความรู้ก็จะผุดขึ้นในตัวของมันเอง ไม่ต้องไปนั่งคิดถึงว่าอะไรมันจะเป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา ความรู้เขาจะบอกเรื่องราวเหล่านี้ แก่เราเองอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน ไม่ใช่ความรู้ตามสัญญาที่ได้ยินเขาบอกเล่า แต่เป็นความรู้ซึ่งเกิดจากวิปัสสนาปัญญา

    จิตและลมของเรานี้มีอยู่ถึง ๕ ชั้น

    ชั้นที่ ๑ ลมหยาบที่สุดก็ได้แก่ลมที่เราหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" อยู่ขณะนี้


    ชั้นที่ ๒ ลมที่หายใจผ่านลำคอเข้าไปแล้วเชื่อมต่อกับธาตุ ต่างๆ ภายในเกิดความสบายหรือไม่สบาย



    ชั้นที่ ๓ ลมหยุดนิ่งอยู่กับที่หมด ไม่วิ่งไปมา ทุกๆส่วนในร่างกายที่เคยวิ่งขึ้นบนลงล่างก็หยุดวิ่ง ที่เคยไปข้างหน้า มาข้างหลังก็ไม่ไปไม่มา ที่เคยพัดในลำไส้ก็ไม่พัด ฯลฯ หยุดนิ่งสงบหมด


    ชั้นที่ ๔ ลมที่ทำให้เกิดความเย็นและเกิดแสง


    ชั้นที่ ๕ ลมละเอียดสุขุมมากจนเป็นปรมาณู แทรกแซงไปได้ ทั่วโลก มีอำนาจ ความเร็วและแรงมาก


    รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นี้ก็อยู่อย่างละ ๕ ชั้น เหมือนๆ กัน เช่น เสียงหยาบ ชั้นที่ ๑ ก็ได้แก่ เวลาพูดจบแล้วดับไป ชั้นที่ ๒ พูดไปแล้วยังดังอยู่ถึง ๒-๓ นาที จึงจะดับ ชั้นที่ ๓ อยู่ได้นานมากแล้วจึงหายไป ชั้นที่ ๔ พูดแล้วถึงพรหมโลก ยมโลก และชั้นที่ ๕ เป็นเสียงทิพย์ พูดแล้วได้ยินอยู่เสมอ พูด ๑๐๐ ครั้ง ก็มีอยู่ทั้ง ๑๐๐ ครั้ง เสียงไม่สูญไปจากโลก เพราะอำนาจแห่งความละเอียดจึงสามารถแทรกแซงได้อยู่ได้ทุกปรมาณูในอากาศ



    ฉะนั้น ท่านจึงว่า รูป รส กลิ่น เสียง ไม่สูญไปจากโลก เพราะโลกนี้เปรียบเหมือนกับจานเสียงที่อัดเสียงอะไรๆ ไว้ได้ทุกอย่าง รูป รส กลิ่น เสียง หรือกรรมดี กรรมชั่วอันใด ก็ดีที่เรากระทำไว้ในโลก มันย่อมจะย้อนกลับมาหาเราเมื่อตายทั้งหมด เหตุนั้น ท่านจึงว่า "บุญบาป" ไม่สูญหายไปไหน คงติดอยู่ในโลกนี้เสมอ จิตละเอียดที่สุด ซึ่งเปรียบเหมือน "ปรมาณู" นั้น มีอำนาจความแรงเหมือนกับดินระเบิดที่จมลงในพื้นแผ่นดิน แล้วก็สามารถระเบิดทำลายมนุษย์ให้ย่อยยับพินาศไปได้ ฉันใด จิตละเอียดที่จมลงในลมก็สามารถระเบิดคนสัตว์ให้พินาศย่อยยับเช่นเดียวกัน คือ เมื่อจิตละเอียดถึงที่สุดถึงขั้นนี้แล้ว ความรู้สึกในตัวตนของเราก็จะดับสิ้นไปไม่มีเหลือ จิตนั้นก็จะหมดความยึดถือในอัตภาพร่างกายตัวตนคนสัตว์ใดๆ ทั้งสิ้นจึงเหมือนกับ "ปรมาณู" ที่ทำลายสัตว์ ทั้งหลายฉันนั้น



    "วิตก" คือ การกำหนดลมหายใจ เปรียบเหมือนกับเราป้อนข้าวไปในปาก



    "วิจาร" คือขยาย แต่ง ปรับปรุงลมหายใจ เปรียบเหมือนกับเราเคี้ยวอาหาร ถ้าเราเคี้ยวให้ละเอียดๆ แล้วกลืนลงไป อาหารนั้นก็จะย่อยง่าย และเป็นประโยชน์ แก่ร่างกายได้มาก การย่อยนั้นเป็นหน้าที่ของธรรมชาติร่างกาย ส่วนการเคี้ยวเราต้องช่วยจึงเกิดผล ถ้าเรากลั่นกรองละเอียดได้เท่าไรก็ยิ่งได้ผลดีขึ้นเท่านั้น เพราะของสิ่งใดละเอียดสิ่งนั้นย่อมมีคุณภาพสูง


    การทำลมละเอียดนั้นจิตก็จะต้องละเอียดตาม และกายก็ละเอียดด้วย ฉะนั้น พระบางองค์ที่นั่งเจริญกรรมฐานอยู่จนลมละเอียดจิตละเอียด และกายของท่านจึงละเอียดเล็กลงๆ จนสามารถลอดซี่กรงหน้าต่างเข้าไปนั่งอยู่ในโบสถ์ หรือวิหารได้ทั้งๆ ที่ปิดประตูหน้าต่างอยู่ดังนี้ก็มี นี่ก็เป็นอำนาจของลมละเอียดอย่างหนึ่ง


    วัตถุใดที่มีความสามารถมากๆ ย่อมเป็นเหตุให้คุณภาพสูงขึ้นกว่าเดิม เช่น เกลือนี้ถ้าเรานำมากลั่นกรองมากๆ เข้า รสเค็มของเกลือนั้นจะกลายเป็นรสหวานไปได้ หรือน้ำตาลซึ่งเดิมรสหวานและเปรี้ยว ๆ นิดหน่อย แต่ถ้ากลั่นมากเข้าๆ ก็จะกลายเป็นรสขม ไปได้ เหตุนั้น ท่านจึงว่าไม่มีอะไรเป็นของเที่ยง แต่อะไรจะเที่ยงหรือไม่เที่ยงนี้ เราก็ไม่ต้องไปนึกถึงมัน เพราะเมื่อเราทำจิตใจแคบและละเอียดจนเกิดเป็นญาณความรู้ขึ้นในตนแล้ว อาการทั้งหลายจะบอกให้เรารู้เห็นเองในสิ่งเหล่านี้ เพียงตั้งใจทำจริงอย่างเดียว แล้วในที่สุดก็จะต้องเห็นผลแห่งความจริง

    "
    การไม่ทำจริง เป็นเหตุให้ไม่เกิดผล
    เมื่อไม่เกิดผลก็ย่อมเกิดสนิมขึ้นในใจ คือ ความเบื่อหน่าย
    ท้อถอย เกียจคร้าน แล้วในที่สุดก็เลิก ...
    ถ้าทำจริงแล้วย่อมจะเกิดผลเป็นกำลัง (พละ) ๕ ประการ
    คือ ศรัทธา...วิริยะ...สติ...สมาธิ...ปัญญา
    "
    มีบางคนเขาว่าคนที่มานั่งหลับตาทำสมาธิว่า "การมานั่งหลับตาอยู่นั้นจะได้ผลอะไร แต่คนที่เขามีความรู้มาก ๆ สูง ๆ ลืมตาอยู่ยังไม่เห็นผล นี่รู้ก็ไม่เท่าไร แล้วมานั่งหลับตานิ่งๆ อย่างนี้ จะได้ผลอะไร" เราก็ควรจะตอบได้ว่า "ผลอันแท้จริงนั้น ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้มาก หรือการศึกษาตำรับตำราบาลี เป็นมหาเปรียญอะไรดอก ผลความดีนั้นเกิดจากการกระทำจริง เมื่อใครทำจริงแล้วผลก็ต้องได้จริง" คนที่มานั่ง "พุทโธ ๆ" แต่จิตคอยเผลอบ้าง แลบไปข้างหน้าหลังบ้าง โงกง่วงบ้าง อย่างนี้เดี๋ยวก็ลืมลมหมด นั่ง ๑๐ ปี จนแห้งไปกับที่ ก็ไม่เกิดผล


    การไม่ทำจริง เป็นเหตุให้ไม่เกิดผล เมื่อไม่เกิดผลก็ย่อมเกิด สนิมขึ้นในใจ คือ ความเบื่อหน่าย ท้อถอย เกียจคร้าน แล้วในที่สุดก็เลิกวางทิ้งเลย พวกเราก็มักเป็นอย่างนี้กันโดยมาก การเจริญสมาธินี้ ถ้าทำจริงแล้วย่อมจะเกิดผลเป็นกำลัง (พละ) ๕ ประการ คือ ศรัทธา ความเชื่อ เมื่อเกิดความความเชื่อเห็นผล ในการกระทำของตนแล้ว วิริยะ ความขยันก็จะเกิดตามขึ้นมาเองโดยไม่ต้องมีใครบังคับ ต่อจากนี้ สติ ก็จะมีความรอบคอบในการกระทำ สมาธิ ก็ตั้งมั่นในสิ่งนั้น จึงเกิดปัญญา ความรู้พิจารณา ความถูกผิดทั้งหลายได้ นี้รวมเรียกว่า "พละ"



    ปัญญา ที่เกิดจากการเจริญสมาธินี้ มีความคมรอบตัวเหมือนกับจักรเลื่อยวงเดือน ที่ตั้งอยู่บนแท่น แกนของมันคือตัวจิต เลื่อยวงเดือนที่ตั้งอยู่บนแท่น แกนของมันคือตัวจิต เลื่อยวงเดือนนี้เมื่อมีอะไรส่งเข้ามาก็สามารถจะบั่นทอนตัดขาดได้หมดทุกสิ่ง ทุกอย่าง จะส่งเข้ามาทางด้านไหน วงเลื่อยก็หมุนไปตัดได้ทุกด้าน ส่วนแกนในของมันคือดวงจิต ก็ตั้งเที่ยงอยู่บนแท่น ไม่หมุนไปตามตัวเลื่อย ใครอยากได้ไม้ซุง ไม้เสา ไม้ฝา ไม้พื้น หรือตงรอดอย่างใด ก็สามารถจักหั่นให้ได้ทุกชนิดตามความต้องการ

    ปัญญานี้หมุนไปทาง กายกรรมก็เป็นการงานที่ชอบ ก็สามารถประกอบกิจการต่างๆ ให้สำเร็จประโยชน์ได้ทุกประการ หมุนไปทางวจีกรรมก็สามารถ กล่าวคำอันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้ฟังได้ทุกอย่างพูดดีก็เป็นน้ำตาล น้ำอ้อย พูดไม่ดีก็เป็นน้ำร้อนลวกเผาใจเขา เมื่อประกอบด้วยปัญญา แล้วจะเทศนาหรือพูดให้คนฟัง ก็สามารถกลั่นกรองให้ถูกกับอัธยาศัยของคนได้ ทุกชั้น ทุกเพศ ทุกวัย หมุนไปทางมโนกรรม ก็สามารถพินิจพิจารณาในความดีความชั่ว และบุญบาปทั้งหลายได้ถูกต้อง เมื่อเป็นดังนี้ก็จะมีแต่คุณประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นหาเวรภัยมิได้


    วิตก วิจาร ในลมหายใจนี้ ท่านเปรียบอีกอย่างก็เหมือนกับช่างแก้รถยนต์ ตัวจิตคือนายช่าง เมื่อเราขับรถไปนั้น เราจะต้องมีสติคอยสังเกตและหมั่นตรวจดูเครื่องยนต์ของเราว่า มีสิ่งใดชำรุดขัดข้องบ้าง เช่น พวงมาลัย ล้อ แหนบ เหล่านี้เป็นต้น ถ้าสิ่งใดขัดข้องเสียหาย ก็ต้องรีบจัดการแก้ไข เปลี่ยน ปรับปรุงเสียทันที แล้วรถของเราก็จะแล่นไปได้ตลอดสุดที่หมายปลายทางโดยไม่มีอันตราย



    การทำสมาธิต้องคอยสังเกต สำรวจตรวจตราดูลมหายใจของตนที่ผ่านเข้าไปนั้นเสมอว่าสะดวกหรือขัดข้องอย่าง ใด แล้วก็ขยับขยาย ปรับปรุงให้เป็นที่สบาย สมาธิของเราก็จักเจริญขึ้นเป็นลำดับจนถึงที่สุดแห่งโลกุตระ ฉันนั้น
    การเจริญสมาธินี้ ควรเจริญใน "อารักขกรรมฐาน" ด้วยคือ



    ๑. พุทธานุสสติ ทำกายจิตให้เป็นศีลก่อน ทำใจให้พ้นจากนิวรณ์ แล้วตั้งใจหายใจจริง ๆ ด้วยการระลึก "พุทโธ ๆ"


    ๒. เมตตญฺจ เมตตาตนเองโดยนึกถึงตัวว่า เราเกิดมาไม่มีอะไรเลย ช่างน่าสงสารจริง ๆ หนอ ร่างกายก็ไม่ใช่ของตน ไม่ได้เอาอะไรมา แล้วก็ไม่ได้เอาอะไรไป ผ้าขี้ริ้วผืนเดียวก็ไม่ได้ติดตัวมา เราจะต้องหาอริยทรัพย์ คือ ทำบุญกุศลไว้ จะได้นำติดตัวไปได้ เราเกิดมาตอนแรกมันก็แข็งแรงสวยงามดี ต่อไปมันก็จะแก่ไป ๆ แล้วก็เจ็บแล้ว ในที่สุดเขาก็จะหามขึ้นเชิงตะกอน


    ๓. อสุภ ทำความคุ้นเคยกับธาตุขันธ์ในตัวไว้ พิจารณาให้เห็นความไม่สะอาดในกาย ตั้งแต่ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ มันจะต้องเปื่อยเน่าผุ พังไปตามสภาพของมัน


    ๔. มรณสฺสติ ลมหายใจเข้าไม่ออก หรือออกแล้วไม่กลับเข้า เราก็ต้องตาย ชีวิตความตายเป็นอยู่อย่างนี้ นี่แหละ จะทำดวงจิต ให้ถึงความสงบและสิ้นทุกข์ได้
     
  19. โต้งชลบุรี

    โต้งชลบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,474
    ค่าพลัง:
    +18,351
    ยินดีครับ และขอให้เดินทางปลอดภัยนะครับ
     
  20. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,205
    สวัสดียามเช้าค่ะ.....

    อย่าเพิ่งเบื่อกันก่อนนะคะ....ฟังหนึ่งนาทีของชีวิต....

    เราอาจจะเสียใจ
    กับสิ่งที่ไม่ได้ทำ
    มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว....เสียอีก

    วันแล้ววันเล่าที่รอคอยความเปลี่ยนแปลง.....
    เวลาคือสิ่งเดียวที่คนบนโลกได้รับเท่ากันอย่างยุติธรรมที่สุด เพียงแต่ใครจะสามารถจัดสรรเวลาให้มีค่ามากที่สุด
    จงมุ่งมั่นเพื่อใช้มันให้เกิดคุณและค่าให้มากที่สุด
    การเอาชนะใจตนเอง คือชัยชนะที่ประเสริฐที่สุด
    เพราะความสำเร็จตัดสินที่ความสุขในใจเรา หาใช่คนรอบข้างและของภายนอกไม่
    จงเป็นและอยู่อย่างรู้เท่าทันในสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้
    จงทำตนให้มีคุณค่าทุกลมหายใจ หากโอกาสมันล่วงผ่านไป

    เราอาจจะเสียใจกับสิ่งที่ไม่ได้ทำ
    มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้วเสียอีก

    ทำในสิ่งที่รักหรือรักในสิ่งที่ทำ (อย่างถูกต้อง) หากไม่สามารถเลือกสิ่ง (ถูกต้อง)ที่เรารักได้ ก็จงรักในสิ่ง(ถูกต้อง)ที่เราต้องทำ เพราะความรักในงาน สร้างความสำเร็จได้เช่นกันเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส

    จงฉวยสิ่งดีจากสถานการณ์ที่เลวร้ายแทนที่จะให้คำว่า "ปัญหา"
    ให้หันมาใช้คำว่า "โอกาส" แทน
    เพราะเรื่องราวบนโลกนี้ มีมุมสำหรับมองมากกว่าสองด้านเสมอ
    คนที่ไม่เคยพลาด คือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย

    เมื่อพลาดพลั้งอย่าเพิ่งหมดหวังกับชีวิต มีเพียงคนที่ไม่เคยทำอะไรเลยเท่านั้น ที่จะไม่เคยพบกับความผิดหวัง แต่ความจริงก็ผิดหวังที่ไม่ได้ทำนะ)

    หากต้องการชัยชนะต้องศึกษาตนเองให้รอบทิศ ศึกษาคู่แข่งให้รอบด้าน ประเมินเขา ประเมินเรา ก่อนลงสู่สนามเพราะบางเวลาโอกาสที่ดี มีเพียงครั้งเดียว

    จงตั้งใจใช้สอยของขวัญ
    ให้เกิดคุณและค่าอย่างแท้จริง
    และโชคจะเข้าข้างเราเอง
    ในธรรมชาติไม่มีสิ่งใดพร้อม แต่ทุกอย่างมีสมบูรณ์แบบในตัวมันเอง แม้แต่ต้นไม้อาจบิดเบี้ยวโค้งงออย่างประหลาด แต่ก็ยังคงความงดงามมิใช่หรือ
    เรามักพูดกันว่ากาลเวลาเปลี่ยนทุกสิ่ง แต่จริงๆแล้ว เราต่างหากต้องเปลี่ยนทุกสิ่งด้วยตนเอง
    "เมื่อตะกี้คืออดีต
    วินาทีต่อไปคืออนาคต
    แต่วินาทีนี้คือสิ่งที่เรามี
    นี่คือเหตุผลว่าทำไม? จึงเรียกปัจจุบันนี้ว่า
    : ของขวัญ : (Present) สำหรับทุกคน "
    จงตั้งใจใช้สอยของขวัญให้เกิดคุณและค่าอย่างแท้จริง...
    ท่านละพร้อมที่จะรับของขวัญในวันนี้แล้วหรือยัง....
    ธรรมะสวัสดี......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ตุลาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...