หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Specialized, 28 กรกฎาคม 2010.

  1. รักษ์สยาม

    รักษ์สยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    707
    ค่าพลัง:
    +1,129
    มากราบหลวงปู่ครับ ขอให้หลวงปู่แข็งแรงขึ้นเร็ววันครับ
     
  2. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    [​IMG]
    ในช่วงเช้าวันที่ 27 ก.ค. ก่อนนิมนต์องค์หลวงปู่ศรี กลับวัดป่ากุง คณะสงฆ์,คณะแพทย์,และคณะศิษย์..ได้ร่วมกันทำพิธีกล่าวคำขอขมาองค์หลวงปู่ศรี
    [​IMG]
    คณะศิษย์ร่วมทอดผ้าป่าถวายปัจจัยแด่องค์หลวงปู่ท่าน...เพื่อมอบให้มูลนิธิหออภิบาลสงฆ์โรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น...
    ได้ปัจจัยมอบให้ทั้งสิ้นประมาณ หนึ่งล้านสามแสนกว่าบาท...
    [​IMG]
    ลูกศิษย์แจกวัตถุมงคลเป็นที่ระลึก แก่ผู้ร่วมมากราบเยี่ยมอาการหลวงปู่ท่านและร่วมทำบุญถวายปัจจัยมอบให้ ร.พ...ก่อนนิมนต์องค์หลวงปู่ศรี กลับวัดป่ากุงในเวลาประมาณ 11.39 น.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1-5.jpg
      1-5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      71.7 KB
      เปิดดู:
      496
    • 1-6.jpg
      1-6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67.3 KB
      เปิดดู:
      493
    • 1-7.jpg
      1-7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      88.8 KB
      เปิดดู:
      524
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2011
  3. peerasitg

    peerasitg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,557
    ค่าพลัง:
    +3,919
    ขอเมตตาบารมี พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ดูแลรักษาหลวงปู่ศรี มหาวีโร ของศิษย์ทุก ๆ ท่าน
     
  4. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์นับพัน...เดินทางมาร่วมต้อนรับองค์หลวงปู่ศรี กลับวัดป่ากุง..เพื่อรักษาอาการอาพาธต่อโดยการดูแลของคณะแพทย์...
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    คณะสงฆ์และบรรดาศิษยานุศิษย์ที่มารอรับองค์หลวงปู่ศรี ที่วัดป่ากุง ร่วมกันทำพิธีขอขมาองค์หลวงปู่ท่าน ก่อนนิมนต์ท่านเข้าพักในกุฎิกลางน้ำ ในเวลาประมาณ 13.59 น.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1-8.jpg
      1-8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      145.6 KB
      เปิดดู:
      464
    • 1-9.jpg
      1-9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      110.7 KB
      เปิดดู:
      472
    • 1-12.jpg
      1-12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.6 KB
      เปิดดู:
      432
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2011
  5. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    กุฎิกลางน้ำ ที่หลวงปู่ศรี ท่านเดินทางกลับมารักษาอาการอาพาธโดยการดูแลของคณะแพทย์ ณ.วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด
    [​IMG]
    [​IMG]
    ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น,คณะบดีแพทย์ศาสตร์,และคณะแพทย์ผู้รักษาได้เดินทางมาส่งหลวงปู่ศรีถึงวัดป่ากุงและร่วมกันแถลงการณ์ แจ้งอาการอาพาธขององค์หลวงปู่ศรี ให้คณะศิษยานุศิษย์..ที่เดินทางมาต้อนรับหลวงปู่ศรี ที่วัดป่ากุง ได้ทราบถึงอาการโดยละเอียด...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 524.jpg
      524.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.6 KB
      เปิดดู:
      532
    • 1-11.jpg
      1-11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      116.1 KB
      เปิดดู:
      461
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2011
  6. jaruwat007

    jaruwat007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +362
    รูปถ่าย0734.jpg รูปถ่าย0735.jpg
    รบกวนสอบถามผู้รู้ครับ รุ่นนี้ใครเป็นเรียกว่ารุ่นอะไรครับ เพื่อนพ่อที่เค้าอยู่ทางด้านอีสานให้มาครับ พ่อบอกของแท้ แต่ผมอยากรู้ว่ารุ่นอะไร พุทธคุณด้านไหนครับ ขอบคุณมากครับ
     
  7. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    พระเนื้อผงพิมพ์นี้ เป็นพระถอดพิมพ์ มีบุคคลท่านหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด...นำเหรียญโต๊ะหมู่เนื้ออัลปาก้าที่ได้รับแจก ไปถอดพิมพ์แล้วกดพิมพ์เป็นพระเนื้อผงจำนวนมากมาย ลายละเอียดพระไม่คมชัด...แล้วนำมาถวายพระในวัด อีกส่วนหนึ่งนำกลับไป...เท่าที่ทราบยังมีการทำออกมาเรื่อยๆครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2011
  8. jaruwat007

    jaruwat007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +362
    ขอบคุณมากครับ แล้วมีของเสริมแบบที่ท่านไม่ได้เสกรึเปล่าครับ
     
  9. มีดสยาม

    มีดสยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +2,535
    ขอบคุณคุณหนุ่มมากครับที่แจ้งข่าว:cool:

    ขอให้หลวงปู่ศรีมีสุขภาพดีขึ้นยิ่งๆขึ้นไปเทอญ.
     
  10. dansa

    dansa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    250
    ค่าพลัง:
    +490
    กราบ กราบ กราบ หลวงปู่ศรี ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลโลกให้หลวงปู่หายจากอาพาธด้วยเถิด สาธุ
     
  11. ช้างป่า

    ช้างป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    511
    ค่าพลัง:
    +16,480
    ใจจริงอยากไปกราบหลวงปู่ใหญ่มากๆ

    แต่วาไปไม่เป็น...

    ใครรู้วิธีการเดินทางช่วยบอกด้วยน่ะครับ
    เป็นการเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ จาก กทม.
    (ที่พักแล้วก็รถมอเตอร์ไซค์เช่าด้วย)

    รบกวนด้วยครับกำลังหาหนทางอยู่แต่ไม่รู้จริงๆ
     
  12. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    การเดินทางด้วยรถสาธรณะมีดังนี้ครับ...
    1.เดินทางไปขึ้นรถที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 โดยรถ บขส.หรือรถของสหพันธ์ทัวร์
    2.ไปลงที่สถานีขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด(จากตัวจังหวัดไปวัดป่ากุง ไม่มีรถสาธารณะให้บริการ)
    3.จากนั้นต้องเหมารถรับจ้างจากตัวจังหวัดไปวัดป่ากุง อ.ศรีสมเด็จ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร
    4.ขากลับหากได้กราบแล้วจะเดินทางกลับทันทีก็ให้รถที่เหมาไปรอรับกลับ..แต่หากจะอยู่เที่ยวชมวัดนานๆ..รถที่จ้างไปมักไม่รอก็ให้ขออาศัยรถลูกศิษย์ที่เข้าไปกราบองค์หลวงปู่กลับออกมาในตัวจังหวัด..(หรือหากจะพักค้างคืน ลองติดต่อพระที่สำนักเลขาวัดป่ากุง เพื่อขอพักในวัด)...หรือจะออกมาพักในตัวจังหวัดก็ได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2011
  13. ช้างป่า

    ช้างป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    511
    ค่าพลัง:
    +16,480


    แล้วรถเช่าอ่ะครับพอมีหรือเปล่า (เป็นมอเตอร์ไซค์ เอาไว้ขับไม่อยากเหมากลัวถูกโกง)
     
  14. ไพรัฐลาภสุนทรพิทักษ์

    ไพรัฐลาภสุนทรพิทักษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +516
    ท่านช้างไปเมื่อไหร่ ผมรอเพื่อนว่างงาน จะไปกราบหลวงปู่แต่ไม่รู้เมื่อไหร่ได้ไปครับ
     
  15. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    มอเตอร์ไซค์เช่าไม่มีครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2011
  16. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    ประวัติย่อ




    พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)
    วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
    เมื่อมีเหตุ ผลก็ต้องมี เหตุน้อย ผลน้อย


    เหตุพอประมาณ ผลพอประมาณ เหตุมาก ผลมาก เหตุพิเศษ ผลก็พิเศษ
    • ชีวิตฆราวาส
    พระเทพวิสุทธิมงคล หรือ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านเกิดในตระกูล ปักกะสีนังเกิดเมื่อ วันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย ณ บ้านขามป้อม ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เป็นบุตรคนที่ ๖ ของ นายอ่อนสี และ นางทุมจ้อย ปักกะสีนัง มีพี่น้องรวมกัน ๑๑ คน อาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่
    การศึกษา จบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนสารคามพิทยาคม ปี พ.ศ. ๒๔๘๐
    อาชีพ รับราชการครู สอบบรรจุครูได้ และเริ่มรับราชการครูในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ จากนั้นได้ลาออกจากการรับราชการครูในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ และในปีเดียวกันนั้น ก็ได้สอบบรรจุครูอีกครั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่รับราชการครูจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๘ จึงได้ขอลาออกจากราชการอีกครั้งเพื่อบรรพชาอุปสมบท
    ชีวิตครอบครัว แต่งงานในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ กับนางสาวสอน แสนยะมูล อายุ ๒๒ ปี เป็นบุตรสาวของนายสุธรรมา และนางหล้า แสนยะมูล มีบุตรธิดาสืบสกุล ๔ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๓คน
    คำสั่งของมารดาก่อนตาย หลวงปู่เล่าว่าก่อนที่แม่จะตาย ได้สั่งเสียเป็นเชิงอ้อนวอนรำพึงรำพันว่า ศรีเอ้ย!แม่อยากให้ลูกบวชให้ จัก ๑๐มื้อ(วัน) ๑๕ มื้อก็ได้ พอให้แม่ได้เพิ่ง(พึ่ง)บุญเพิ่งคุณ จะได้ไปดี ไปสวรรค์ นำเพิ่น(ผู้อื่น)เมื่อจบคำสั่งเสียของแม่แล้ว น้ำตาร่วง หัวใจเหมือนจะหลุดหล่นหาย ซึ้งในน้ำใจของท่านที่รักเรายิ่งนัก จึงรับปากแม่ว่าจะบำบวชให้แม่อย่างแน่นอนว่า แม่ไม่ต้องเป็นห่วงดอกเด้อ ข้อยสิบวชให้แน่นอน ขอให้แม่เฮ็ด(ทำ) ใจให้ซำบาย(สบาย) อีกไม่กี่วันต่อมาแม่ก็สิ้นใจตาย ...
    บรรพชาอุปสมบท
    อุปสมบทที่ วัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านป่ายาง ตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ได้ฉายาว่า มหาวีโร แปลความหมายว่า ผู้มีความหาญกล้ามาก หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้สามารถบุกเข้าไปทำลายกิเลสได้ โดยมีพระโพธิญาณมุณี (คำ โพธิญาโณ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นพระอุปัชฌาย์ , พระครูศิริธรรมธาดา เจ้าคณะอำเภอเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ , พระครูสมุห์พันธ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สิริอายุ ๒๙ ปี
    พรรษาที่ ๑ ปีพุทธศักราช ๒๔๘๘
    จำพรรษาที่ สำนักสงฆ์ป่าพูนไพบูลย์ (ปัจจุบันคือ วัดประชาบำรุง) อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็เดินทางไปหาท่านพระอาจารย์คูณธมฺมุตฺตโม ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่ได้ธุดงค์จาริกมาพักอยู่ที่วัดป่าพูนไพบูลย์ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ตามคำสั่งของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เพื่อเผยแพร่หลักธรรมและหลักปฏิบัติของพระคณะกรรมฐาน ได้ปฏิบัติธรรมอยู่จำพรรษาร่วมกับท่านพระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม และได้ปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านพระอาจารย์คูณอบรมสั่งสอน เอาธุระในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด คือ คันถธุระ การศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ ให้มีความรู้พระธรรมวินัย ดำรงรักษาตำราไว้มิให้เสื่อมสูญวิปัสสนาธุระ ได้แก่การศึกษาอบรมจิตใจตามหลักสมถะและวิปัสสนา เพื่อรู้แจ้งธรรมและกำจัดกิเลสออกจากจิตใจ
    ในพรรษาแรกนี้ หลวงปู่ศรีท่านก็สามารถจดจำ พระวินัยบัญญัติและสวดปาฏิโมกข์ได้ เร่งทำความเพียรและภาวนา อดนอนผ่อนอาหาร เวลานั่งสมาธิก็นั่งอยู่ตลอดจนรุ่งเช้า โดยหลวงปู่ท่านใช้อุบายสอนใจตัวเอง เพื่อสู้กับทุกขเวทนาว่า เรานั่งอยู่ในท้องแม่ แม่อุ้มท้องอยู่เป็นเวลา ๙เดือน ๑๐ เดือนไม่เห็นหนีไปไหนได้ ทำไมจึงอดทนอยู่ได้ผลสุดท้ายจิตเกิดแสงสว่าง ทุกขเวทนาที่ว่าเผ็ดร้อนได้หายไปหมด ทำให้ท่านเกิดศรัทธาอย่างมาก การบวชที่แต่เดิมคิดว่าจะบวชเพียงชั่วคราวได้หายไปสิ้น
    พอบวชครบพรรษา ด้วยเหตุว่ายังอยู่ใกล้บ้านเกิด ญาติๆมาเยี่ยมเยือนได้ง่าย ถูกรบเร้าให้สึกไปครองชีวิตฆราวาสอยู่บ่อยๆ จึงกราบลาพระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม เที่ยวธุดงค์ผ่านป่าผ่านเขาต่างๆ ไปหาท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ศิษย์รุ่นใหญ่ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าแสนสำราญ จังหวัดอุบลราชธานี
    พรรษาที่ ๒ ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙
    จำพรรษาที่ วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
    ท่านพระอาจารย์สิงห์ขนฺตฺยาคโม ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก เป็นเสมือนองค์แทนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ข้อกติกาสัมมาปฏิบัติ อันเป็นข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สำหรับพระคณะ กรรมฐาน ท่านพระอาจารย์ท่านก็ปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง ของพระภิกษุสามเณรผู้มุ่งมาบำเพ็ญในสำนักพระคณะกรรมฐาน คือ
    ต้องเป็นผู้หวังพ้นจากทุกข์จริงๆ และหวังบำเพ็ญกิจในพระพุทธ ศาสนา จึงต้องสละความห่วงอาลัยในชีวิตฆราวาส เหย้าเรือน ตลอดจนสละชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อทรมานตนให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร
    ต้องเป็นผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน มีขันติธรรม อดทนต่อ ความทุกข์ความยากความลำบากตรากตรำ ไม่หวั่นต่อเหตุการณ์ต่างๆทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเป็นผู้เห็นแก่พระศาสนาจริงๆ
    ต้องเป็นผู้มีน้ำใจอันซื่อสัตย์ ต่อพระศาสนาและครูบาอาจารย์ตลอดถึงหมู่คณะ อ่อนน้อมถ่อมตน ให้หมู่คณะว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนได้ในธรรมวินัย เมื่อมาอยู่ในหมู่คณะนี้แล้ว จะหลีกหนีไปก็ไม่ลอบลักดักหนี ให้ร่ำลาครูบาอาจารย์ของตนก่อน เมื่อท่านอนุญาตแล้วจึงไป
    ต้องเป็นผู้สนใจใคร่ธรรม ใคร่วินัย แสวงหาวิโมกขธรรม สันติสุขในพระพุทธศาสนา และหวังเชิดชูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป
    ได้อยู่กับท่านพระอาจารย์เพียงสามเดือน เพราะท่านพระอาจารย์กลับไปอยู่วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา ต่อจากนั้นหลวงปู่ศรีท่านเลยไปวิเวกอยู่บ้านค้อหวาง ซึ่งเป็นวัดของท่านเจ้าคุณอุบาลี
    พรรษาที่ ๓ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐
    จำพรรษาที่ วัดป่านาแกน้อย ตำบลบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
    พอรู้จักแนวทางในการประพฤติปฏิบัติกรรมฐานแล้ว องค์หลวงปู่จึงออกวิเวกเข้าป่าเข้าดงข้ามป่าข้ามเขา เพื่อบำเพ็ญกรรมฐานมุ่งหวังทดสอบขันติธรรมไม่เหยียบย่ำอยู่กับที่ ออกปฏิบัติเพียงลำพัง เหมือนพระอริยสาวกทั้งหลายที่พ้นทุกข์ รอนแรมซอกซอนผ่านหมู่บ้านน้อยใหญ่ที่อาศัยอยู่ตามเทือกเขาภูพาน วนเวียนอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จากนั้นออกเดินทางต่อไปยัง ถ้ำพระเวส อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ด้วยเห็นว่า ถ้าเราจะไปเฝ้ากราบนมัสการและไปประพฤติปฏิบัติกับ ท่านพระอาจารย์มั่น เราต้องทดสอบตัวเราเองก่อนว่าจะได้อะไรหรือไม่ได้อะไรไปอยู่ได้เพียงเดือนเศษ เกิดล้มป่วยและอาการก็หนักปางตายด้วยไข้มาเลเรีย เมื่อมันขึ้นแต่ละที ฉันยาอะไรก็ไม่หาย จึงใช้สมาธิรักษาจึงได้ผล ไข้มันสู้สมาธิไม่ได้ แต่มันก็ไม่ถอย สู้กันอยู่กับไข้อย่างนั้นเป็นเวลา ๑ ปี ๑๑ เดือน
    เมื่อฤดูกาลเข้าพรรษาใกล้เข้ามา จึงลงจากถ้ำไปจำพรรษาอยู่ที่ วัดบ้านนาแกน้อย อำเภอนาแก จัดหวัดนครพนม โดยมีพระอาจารย์จันทร์(วัดหนองห่าง)เป็นหัวหน้าคณะ จนกระทั่งออกพรรษา จึงได้จาริกไปในเขตจังหวัดต่างๆ เช่น สกลนคร อุดรธานี เพื่อเดินตามรอยทางแห่งธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    พรรษาที่ ๔ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑
    จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าช้า(วัดโนนนิเวศน์) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
    ( สถานที่แห่งนี้ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้มาพักจำพรรษาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๓-๒๔๘๔ ) เมื่อออกพรรษาแล้วจึงได้ออกเที่ยวธุดงค์ จนปลายปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ ก็ได้ธุดงค์มายัง ผาน้ำย้อยหลวงปู่ศรี ท่านบอกว่า ถิ่นนี้เป็นดงเสือ ใต้ถ้ำผาน้ำย้อยมีแต่ขี้เสือเต็มไปหมด บ้านโคกกลางมีเพียง ๑๕-๑๖ หลังคาเรือนไม่มีถนนต้องเดินเท้า ป่าภูเขาอยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดก็มีแค่นี้หละ อยู่ที่อื่นก็ใช้ไม่ได้ ไม่ค่อยมีน้ำที่ผาน้ำย้อยแห่งนี้หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้เกิดมีอุบายธรรมมากมาย
    พรรษาที่ ๕ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒
    จำพรรษาที่ วัดหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้เล่าประวัติของท่านว่า เราได้ท่องเที่ยวไปวิเวกตามผา ตามป่า ตามเขาหลายลูกหลายหน่วย คงพอตัวแล้ว ต้นปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ จึงตัดสินใจเดินทางจากภูเขาเขียว ดงมะอี่ จังหวัดร้อยเอ็ด ไปยังอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อเข้าไปกราบนมัสการฝากตัวเป็นศิษย์ใต้ร่มธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    เมื่อแรกเข้าไปถึงวัดหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม
    ท่านพระอาจารย์มั่นได้ถามว่า เคยได้ไปอยู่ตามภูเขา ตามถ้ำ ตามป่าคนเดียวหรือยัง?” กราบเรียนตอบท่านว่า เคยไปบ้างอยู่ครับ
    เคยไปเที่ยวกรรมฐานที่ไหนบ้างหล่ะท่านถาม เคยไปอยู่ภูนี้บ้างถ้ำนี้บ้าง ก็เคยไปอยู่บ้างแล้วครับ กราบเรียนตอบท่าน
    เอ้อ! ก็พอมีสติอยู่บ้างเน๊าะ!” ท่านพระอาจารย์มั่นพูดเสียงเน้นๆ กังวาน นัยน์ตาน่าเกรงขามเป็นที่ยิ่ง
    ส่วนทางเรา(หลวงปู่ศรี)นั้นแอบคิดในใจว่า นี่ขนาดเราได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ อย่างกล้าหาญ นั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรมตลอดคืนยันรุ่ง ไปอยู่คนเดียวเสือร้อง เฮ้ยๆ โฮกๆ อยู่ข้างๆ ก็ทำอยู่อย่างนั้นมาแล้ว จนสุดแรงเกิด แทบล้ม แทบตาย แต่ท่านก็ยังว่า พอมีสติอยู่บ้างเน๊าะ ถ้าอยู่คนเดียวได้จะต้องเป็นผู้มีสติดีนะ
    แล้วท่านก็ให้โอวาทซ้ำท้ายว่า ผู้ที่จะมาศึกษาธรรมกับเรา จะเป็นพระหรือโยมก็ตาม ขอให้เก็บหอกเก็บดาบเอาไว้ที่บ้าน ไม่ต้องนำติดตัวมาด้วยตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่ศรี จึงตั้งความเพียรให้หนักหน่วงกว่าเดิมเป็นเท่าทวีคูณ และได้ตั้งสัจจะอธิฐานไว้ว่า จะเร่งความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน
    วัตรปฏิบัติต่อพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ในปีที่หลวงปู่ศรี มหาวีโรได้ไปอยู่ คือการจับเส้นถวายทุกวัน ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเวลา ๕ ทุ่ม ๖ ทุ่ม หรือตี ๑ ตี ๒ ถ้าท่านไม่บอกเลิกก็ไม่ต้องเลิก อยู่กับหมู่คณะมีหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ฯ และมีหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นพระผู้ดูแลหมู่คณะในครั้งนั้น
    พระอาจารย์มั่นท่านให้ไปอยู่คนเดียวที่ ถ้ำคำไฮ เร่งความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน มีบ้านเพียง ๔ หลังพอได้บิณฑบาต ฉันแล้วล้างบาตรเสร็จแล้วก็เดินจงกรมจนหมดแสงตะวันถึงเลิก เป็นช่วงเดือน ๕ อากาศและแดดจะร้อนมาก กลางคืนก็มานั่งภาวนาทั้งคืนจนถึงเช้า หลวงปู่ศรีท่านเล่าให้ฟังว่า เราไปอยู่คนเดียว ไปถ้ำคำไฮเดือนหนึ่ง แต่ว่าเป็นไข้นะ ฉันจังหันไม่ได้ ไปบิณฑบาตก็มองไม่เห็นทาง มันวิงเวียน แต่ว่าก็นอนบ้าง เวลานอนมันก็ไม่ยอมนอนนะ นอนอยู่ผู้เดียว นอนกลางวันก็ตาม กลางคืนก็ตาม ผีมันก็เอาหัวแม่มือมาจับหัวแม่ตีนนี่ล่ะ กำแน่นๆแล้วก็กระตุกเลย ต้องบอกผีว่า เอ้า! ให้นอนสักหน่อยก่อนนะ ให้นอนสักหน่อยก่อน มันกำลังเมื่อย พอนอนเท่านั้น มันก็มากระตุกอยู่อีกอย่างนั้น หนักเข้าก็ไปเดินจงกรมอีก แต่ไม่กลัวนะ ไม่มีอะไรนะ มีแต่ฟากไม้ไผ่กว้างๆขนาดห้องนี้หละ กลางวันมันก็มาดึง คิดในใจว่า เอ๋! พวกเจ้าให้ข้าภาวนาดีแท้น้อ
    เดือน ๕ ท่านพระอาจารย์มั่นก็เริ่มป่วย จนกระทั่งเดือนอ้าย อาการของท่านพระอาจารย์มั่นก็หนักขึ้นเรื่อยๆ และวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ เวลา ๐๒.๒๓ น. ท่านพระอาจารย์มั่นก็ดับขันธวิบากเข้าสูอนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
    พรรษาที่ ๖ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓
    จำพรรษาที่ วัดป่าหนองผักตบ ตำบลปลาไหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร (ปัจจุบันวัดป่าโนนตูม)
    หลวงปู่ศรีท่านธุดงค์ผ่านจากเทือกเขาภูพาน ออกเที่ยวปลีกวิเวกภาวนาไปทางอำเภอกุดบาก มุ่งหน้าไปทางอำเภอวาริชภูมิ บ้านหนองผักตบ ทราบข่าวว่าสถานที่แห่งนี้มีครูบาอาจารย์ศิษย์สายท่านพระอาจารย์มั่นมาเที่ยวจำพรรษา และผ่านมาพักจำพรรษาอยู่เสมอ จึงเข้าจำพรรษาที่หนองผักตบ มีพระจำพรรษา ๕ รูป ในพรรษานั้นหลวงปู่ศรีท่านป่วยด้วยโรคเหน็บชาอย่างรุนแรง เท้าทั้งสองข้างแทบจะไม่รู้สึกเจ็บปวด ใช้มือหยิกเนื้อขา เนื้อขาก็ไม่รู้สึกอะไรเลย หาหยูกยาอะไรก็ไม่มี หลวงปู่ศรีจึงคิดได้ว่า เอายาที่ไหนมารักษามันก็คงไม่หาย เอายาที่เราหาอยู่ทุกวัน นั้นก็คือธรรมโอสถจากนั้นจึงตั้งสัจจะนั่งสมาธิ จะนั่งสมาธิรักษา จะกี่วัน กี่เดือน กี่ปี ก็ตาม ถ้าโรคไม่หายจะไม่ออกจากสมาธิ ถึงแม้ตายก็ตาม ก็ขอตายในท่านั่งสมาธิ น้ำไม่ดื่ม ข้าวไม่ฉัน ตั้งใจพิจารณาสังขารเพียงอย่างเดียว ทำสมาธิอย่างเดียวเท่านั้น ปฏิบัติแบบสละตายไม่อาลัยชีวิต เวลาผ่านไป ๓ วัน ในคืนที่ ๓ โรคร้ายได้หายขาด จึงได้ออกจากสมาธิ
    พรรษาที่ ๗ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔
    จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม
    ปลายปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ - ๒๔๙๔ ได้ติดตามหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ธุดงค์ท่องเที่ยวกรรมฐานไปทางบ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร และได้จำพรรษาอยู่ ๑ พรรษา ท่านพระอาจารย์มหาบัวเป็นที่พึ่งอันมั่นคงของพระเณร เหมือนอย่างที่ท่านพระอาจารย์มั่น สั่งไว้ก่อนปีที่ท่านจะนิพพานว่า เมื่อเราตายให้หมู่เพื่อนพึ่งมหาบัว
    ข้อปฏิบัติที่ท่านถือเคร่งในยุคนั้น คือ ปฏิบัติอย่างหยาบๆ ห้ามนอนก่อน ๔ ทุ่ม ถ้าใครนอนก่อน ๔ ทุ่ม ต้องตื่นขึ้นมาทำความเพียรก่อนตี ๔ ถ้าผิดจากนี้ ได้ตักเตือนถึง ๓ ครั้ง ถ้าทำไม่ได้ท่านพระอาจารย์มหาบัวจะไล่หนีจากวัดทันที ท่านตีและเข่นพระเณรให้พากเพียรเป็นอย่างมาก วันคืนที่ผ่านไปล้วนแต่ประกอบจิตภาวนาในอิริยาบถทั้ง ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน ประกอบความเพียรด้วยสติปัญญาตลอด
    บางปี พระเณรป่วยเป็นไข้มาเลเรียเกือบทั้งวัด คงเหลือแต่ท่านอาจารย์มหาบัวกับพระอีกไม่กี่รูป ท่านอาจารย์มหาบัวก็เป็นผู้ปัดกวาดลานวัดเอง ตักน้ำ ขัดถูศาลาเอง หลวงปู่ศรีท่านอยู่ที่ห้วยทรายก็ป่วยเป็นไข้มาเลเรียอย่างหนัก และแทบจะเอาชีวิตไม่รอด ถึงกับผมร่วง เป็นเวลา ๒๒ เดือน หลวงปู่ศรีท่านจึงคิดว่า ทำยังไงถึงจะหายไข้ จึงถามสามเณรว่า เณรน้อย อะไรหนอ มันผิดไข้มาเลเรีย(เป็นของแสลงกัน) สามเณรจึงตอบว่ามะพร้าวครับเหมือนดั่งผีหรือเทวดาฟ้าดินกลั่นแกล้ง วันหนึ่งชาวบ้านได้นำมะพร้าวมาถวายพระที่วัด แบ่งกันได้องค์ละ ๒ ลูก หลวงปู่ศรีท่านคิดว่า วันนี้ละจะได้รู้กัน เราเป็นไข้ป่ามันทรมานมานานวัน ถ้าฉันมะพร้าวแล้วจะผิดสำแดงเราจะฉันเพื่อให้ผิดสำแดงมะพร้าวทั้ง ๒ ลูกนั้นหลวงปู่ศรีท่านฉันจนหมดเกลี้ยง พอฉันเข้าไปเท่านั้นแหละ ท่านก็หน้ามืดอย่างแรง ตัวสั่นเทิ้ม ชักกระตุกล้มลงทันที สลบไสลไปเป็นเวลา ๓ วันสามคืน หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร (ท่านเป็นหมอยาสมุนไพรเก่า) เห็นอาการหลวงปู่ศรีท่านน่าเป็นห่วง หลวงปู่มหาบุญมีท่านจึงเอาช้อนงัดปากให้อ้าขึ้น แล้วกรอกยาลงไป ไข้มาเลเรียไม่นานก็หายขาดอย่างเหลือเชื่อ
    ต่อจากนั้นหลวงปู่ศรีท่านก็ ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติธรรมทั้งวันทั้งคืน ท่านได้ตั้งสัจจะไว้ว่า ถ้านกแซงแซวยังไม่ร้องก็จะไม่ลุกจากอาสนะ และไม่ต้องเปลี่ยนอิริยาบถ ห้ามมิให้เปลี่ยนโดยเด็ดขาด นั่งอยู่ท่าใดก็ให้นั่งท่านั้น หลวงปู่ศรีท่านปฏิบัติอย่างเข้มงวดอยู่ตลอด ๒๒ คืน คือจากตะวันตกดินจนรุ่งอรุณเป็นวันใหม่ ในด้านอุบายธรรมต่างๆ พระอาจารย์มาหาบัวท่านเป็นผู้แนะนำพร่ำสอน หลังจากออกพรรษา ออกเดินธุดงค์บุกป่าฝ่าดงใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่าดงมะอี่ พร้อมพระอีก ๒ - ๓ รูป ผ่านเทือกเขาเตี้ยๆสลับซับซ้อนเป็นเขตแดนรอยต่อ ๓ จังหวัด ระหว่างจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า เขาผาน้ำย้อย อยู่เป็นเวลานานพอสมควรจึงแยกทางกัน ส่วนหลวงปู่ได้เดินทางไปกราบคารวะหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ จังหวัดร้อยเอ็ด และได้อุปัฏฐากท่าน
    พรรษาที่ ๘ ปีพุทธศักราช ๒๕๙๕
    จำพรรษาที่ วัดป่าหนองแซง ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
    ขณะที่หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ กับหลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้พำนักอยู่ที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ จังหวัดร้อยเอ็ดได้ระยะหนึ่ง ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ปรารถนาจะสร้าง วัดกรรมฐาน ที่บ้านหนองแซง จังหวัดอุดรธานี จึงได้มานิมนต์หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ กับหลวงปู่ศรี มหาวีโร เมื่อท่านทั้งสองรับนิมนต์แล้ว จึงพาคณะธุดงค์จาริกจากวัดป่าศรีไพวัลย์ ผ่านดงมูล ผ่านมาทางท่าคันโฑ มุ่งสู่เมืองกุมภวาปี เข้าสู่ตัวจังหวัดอุดรธานี เข้ากราบนมัสการท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ก่อนแล้วจึง เดินทางไปยังป่าบ้านหนองแซง เพื่อจำพรรษาอยู่ที่วัดป่า หนองแซง สมัยนั้นจะเป็นกุฏิเล็กๆห้องเดียว มีพระเณรอยู่ประมาณ ๔-๕ รูป มีหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เป็นหัวหน้า หลวงปู่ศรี มหาวีโร หลวงปู่พุทธา หลวงปู่แสง และสามเณรสมร ที่นี่เองหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณได้กล่าวทำนายไว้ว่า ท่านศรีหนีจากร้อยเอ็ดบ่ได้ดอก ต้องอยู่ที่ร้อยเอ็ดจนตาย
    พรรษาที่ ๙ - ๑๑ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ - ๒๔๙๘
    จำพรรษาที่วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุงเก่า) บ้านศรีสมเด็จ ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
    ปฐมเหตุแห่งวัดป่ากุง... ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงปู่ศรีท่านได้เดินธุดงค์ผ่านจังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร ผ่านจังหวัดร้อยเอ็ดไปอำเภอวาปีปทุมซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดมหาสารคาม เจตนาอย่างหนึ่งของหลวงปู่ศรีที่เดินธุดงค์มายังแผ่นดินเกิดก็เพื่อ เยี่ยมเยียนสนทนาธรรมกับพระหลวงพ่ออ่อนศรี กิจฺจญาโณ ซึ่งเป็นบิดา เพื่อสนองคุณบิดาด้วยอรรถและธรรม ณ วัดป่าบ้านขามป้อม หลวงปู่ศรีท่านจึงปักกลดพักอยู่ที่วัดป่าขามป้อม กับพระหลวงพ่ออ่อนศรี กิจฺจญาโณ หลังจากนั้นจึงดำริเดินธุดงค์กลับร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครพนม เพื่อกราบคารวะพระธาตุพนม
    ในขณะที่ท่านเที่ยววิเวกผ่านมาทางบ้านหนองแดง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ปักกลดพักในบริเวณป่า เมื่อชาวบ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงทราบข่าว จึงได้นิมนต์หลวงปู่ให้พักที่ป่ากุงร้าง อันเป็นที่วัดร้างเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๑๓ หลวงปู่รับนิมนต์และได้อยู่จำพรรษา จึงทำให้ไม่ได้ธุดงค์ต่อตามที่ได้ดำริไว้ พ่อใหญ่ชาลี มงคลสีลา คนบ้านป่ากุง ได้ถวายที่ดินเพิ่มให้แก่วัดจำนวน ๑๐๐ ไร่ จากเดิมมีเนื้อที่เพียง๔-๕ ไร่
    ปลายปี ๒๔๙๘ ท่านได้ออกเที่ยวธุดงค์ไปที่ ภูมะค่า เขารางตะเข้ เขาจอมทอง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เมื่อท่านเดินทางไปถึงเขาจอมทอง ชาวบ้านต่างเตือนว่าไม่อยากให้ท่านขึ้นไปอยู่ถ้ำบนเขา เพราะว่ามีพระขึ้นไปตายมาหลายรูปแล้ว ถึงไม่ตายก็ไม่วายเป็นบ้าลงมา หลวงปู่ศรีท่านเล่าว่า ที่เขาจอมทองนี้เคยมีพระอรหันต์มามรณะภาพอยู่ถึง ๔ องค์ สถานที่แห่งนี้ใครได้มาอยู่มาปฏิบัติ ถ้าตั้งใจดีมีโอกาสที่จะเห็นธรรม ในถ้ำนั้นมีเจ้าที่เป็นงูใหญ่ ทุกๆ ๓ ปีงูตัวนี้จะออกจากถ้ำทีหนึ่งเพื่อมาเล่นน้ำ เวลาเล่นน้ำมันจะเอาหางพันต้นไม้แล้วเอาหัวหย่อนลงในน้ำ หลังจากท่านพักอยู่ที่เขาจอมทองเป็นเวลาพอสมควร ท่านจึงเดินธุดงค์กลับวัดป่ากุง
    พรรษาที่ ๑๒ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๙
    จำพรรษาที่ วัดป่ามหาวีระอุทการาม(วัดหนองใต้) ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
    เมื่อต้องเดินทางไปยังอำเภอวาปีปทุม จัดหวัดมหาสารคาม เพื่อสนองคุณบิดาด้วยอรรถและธรรม ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางอยู่บ้าง อีกทั้งท่านเองก็ต้องการหลีกจากผู้คนที่ศรัทธา ที่มาจากจังหวัดร้อยเอ็ด ที่นานวันยิ่งเพิ่มมากขึ้นทุกที ไม่เป็นการสะดวกในการปฏิบัติภาวนา ท่านทราบว่าที่บ้านหนองใต้มีป่าพอเป็นที่อาศัยปฏิบัติสมณะธรรม จึงได้ไปยังป่าที่บ้านหนองใต้ อาศัยปฏิบัติสมณะธรรมและได้จำพรรษาอยู่ที่ป่าหนองใต้ ๑ พรรษา คณะศรัทธาและหลวงปู่ได้ตั้งวัดขึ้นครั้งแรกในที่ แห่งนี้ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่
    พรรษาที่ ๑๓ - ๑๗ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ - ๒๕๐๔
    จำพรรษาที่ วัดสามัคคีธรรม บ้านขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
    ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ออกเที่ยวธุดงค์กรรมฐานจากจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครพนม เข้ากราบพระธาตุพนม แล้วออกเที่ยววิเวกผ่านมาพักอยู่ที่บ้านนาโดน กำนันพรหมา รังษี ชาวบ้านขามเฒ่าได้ทราบข่าวของหลวงปู่ศรี มหาวีโร จึงได้รีบมานิมนต์หลวงปู่ศรีมาโปรดชาวบ้านขามเฒ่า พร้อมทั้งกำนันพรหมา รังษี ได้มอบเสนาสนะป่าอยู่ติดกับป่าช้า เนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ ซึ่งกำนันพรหมาได้จับจองไว้สร้างเป็นวัด และปวารณาเป็นอุบาสกอุปัฏฐากหลวงปู่ศรี มหาวีโร ตลอดชีวิต แม้ตายสมบัติทั้งหมดก็ยกถวายให้หลวงปู่ศรีทั้งหมด ในที่นี้หลวงปู่ศรีได้สร้างศาลาใหญ่ให้เป็นศาลาปฏิบัติธรรม และบอกชาวบ้านช่วยกันปลูกขยายป่าเพิ่มเติม
    ในฤดูแล้งปี พ.ศ. ๒๕๐๔ จากเสนาสนะป่าช้าบ้านขามเฒ่า จังหวัดนครพนม มายังวัดป่ากุง จังหวัดร้อยเอ็ด มีหลวงปู่ศรี มหาวีโร เป็นหัวหน้า พระอาจารย์อินทร์ พระอาจารย์เสาร์ สามเณรอุดร ประจักโกศรี และผ้าขาวกอง เป็นคณะติดตาม ออกเดินทางมาบ้านคำพอก ผ่านไปทางอำเภอนาแก จังหวัดสกลนคร เดินผ่านทางบ้านด่านสาวดอย เข้าวัดบ้านน้ำกล่ำธาตุพนม ผ่านไปยังภูเขาหลังภูพาน มาจังหวัดกาฬสินธุ์ ข้ามป่าข้ามเขามาถึงเขื่อนลำปาว เข้าพักบ้านผักกาดหย่า จังหวัดกาฬสินธุ์ จากนั้นก็ไปบ้านนาขาม ดงแม่เผด เข้าเขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ธุดงค์ผ่านบ้านคำผอุง ออกไปอำเภอกมลาไสย มาข้ามแม่น้ำชีที่กมลาไสย ไปเมยวดี แล้วถึงมาวัดป่ากุง
    พรรษาที่ ๑๘ - ๑๙ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ - ๒๕๐๖
    จำพรรษาที่ วัดป่าศรีสมพร(หัวดง) บ้านน้อยหนองเค็ม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
    เมื่อออกพรรษาปี ๒๕๐๖ ที่วัดป่าศรีสมพร(หัวดง)แล้ว หลวงปู่ศรีท่านได้ดำริว่า เราปรารถนาจะปลีกวิเวกตามสมณวิสัย เพื่อห่างไกลผู้คนและญาติโยม เนื่องจากได้สร้างวัดวาอารามหลายที่หลายแห่ง เป็นภาระหนักอยู่ไม่สร่าง จนกระทั่งจิตเข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง เสื่อมถอยลงอย่างเห็นได้ชัด ใจที่เคยมีความสุขอันเลิศเลอ เคยกระหยิ่มยิ้มย่องด้วยธรรมอันเบ่งบานข้างใน มาบัดนี้ได้เกิดความเสื่อมถอย คุณภาพจิตได้รับความทุกข์อยู่เต็มหัวใจเหมือนคนมีสมบัติเป็นร้อยล้านพันล้าน แล้วสมบัตินั้นก็พลันมาฉิบหายมลายไปต่อหน้าต่อตา กลายเป็นยากจกทุคตะเข็ญใจในทันใด บุคคลนั้นจะตั้งตัวรับและยืนหยัดได้อย่างไร ยิ่งธรรมสมบัติคือ สมาธิที่เคยได้ลิ้มรสอันเลิศค่าด้วยแล้ว มาบัดนี้เสื่อมถอยไปต่อหน้าต่อตา เสื่อมเพราะความไม่ถนอมรักษา ตายใจว่านี้เป็นธรรมสมบัติอันจีรังมั่นคง จะสร้างความสุขให้เราได้ตลอดอนันตกาล แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะจิตในขั้นนี้ ยังมิใช่วิมุตติจิต ถึงแม้ว่าจะเร่งปฏิบัติสมาธิภาวนาสักเท่าใดเพื่อให้สมาธิธรรมนั้นกลับคืนมา ก็หาได้อย่างเดิมไม่ จิตเคยคล่องแคล่วปราดเปรียวเหมือนพญาเสือโคร่งตัวฉลาด ที่ล่าเหยื่อคือกิเลสได้ทันท่วงที มาบัดนี้เหมือนแมวเชื่องตัวน้อยๆ จึงออกเดินธุดงค์ออกจากนครพนมมุ่งหน้าไปยังอำเภอนาแก จังหวัดสกลนคร พักที่ถ้ำตางด ถ้ำพระ ถ้ำพระเวส เดินทางต่อจากอำเภอนาแก จังหวัดสกลนคร จนถึงวัดป่าหนองแซง หนองวัวซอ อุดรธานี สถานที่อยู่ของหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เพื่อให้หลวงปู่บัวท่านแก้จิตเสื่อมให้ หลวงปู่บัวเป็นพระที่หลวงปู่ศรีท่านให้ความเคารพยิ่ง
    หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณท่านให้อุบายธรรมต่างๆ หลวงปู่ศรีท่านจึงนำไปปฏิบัติแบบไม่ไยดีในชีวิต ทุ่มเทกำลังสติปัญญาที่มีทั้งหมด ใช้ความเพียรกล้าที่สุด ตอนท้ายหลวงปู่บัวได้ให้อุบายธรรมแก่หลวงปู่ศรี ให้ท่าน นั่งสมาธิเพียงอย่างเดียว ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งใด ถ้าจะเดินจงกรม ก็เดินเพื่อพักผ่อนอิริยาบถก็เพียงพอ เมื่อรับฟังโอวาทจากหลวงปู่บัวแล้ว หลวงปู่ศรีท่านจึงตั้งสัจจะว่า ถ้าจิตยังไม่บรรลุธรรมที่พึงประสงค์จะไม่ยอมลุกไปจากที่ เราจะยอมตายถวายชีวิตด้วยสัจจะบารมี
    หลวงปู่ศรีท่านปฏิบัติคล้ายที่เคยทำมา แต่หนักหน่วงกว่าเดิม โดยนั่งสมาธิอยู่ ๕ วัน ๖ คืน ครบ ๑๒ ชั่วโมงจึงเปลี่ยนอิริยาบถครั้งหนึ่ง คือขยับยกขาขึ้นแล้วเอาลงเท่านั้น มีกาเล็กๆใส่น้ำเอาไว้จิบพอชุ่มคอ เรื่องกลางวันกลางคืน เรื่องหลับนอนไม่ได้สนใจ อาศัยขันติคือความอดทน นั่งพิจารณาคลี่คลายสังขารส่วนต่างๆ จะตายก็ยอมตาย ไม่เสียดายอาลัยในชีวิตซึ่งเป็นสิ่งสมมุติ ในที่สุดมายุติตรงที่ว่าอวิชชาดับ เกิดญาณหยั่งทราบแน่ชัด จิตหมดการก่อกำเนิดในภพต่างๆอย่างประจักษ์ใจ โลกธาตุหวั่นไหว ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ต่างอันต่างเป็นอิสระ อินทรีย์ ๕ อายตนะ ๖ ทำงานตามหน้าที่ของตน ไม่กระทบกระเทือนให้เป็นทุกข์เหมือนดังแต่ก่อน ดับทุกข์ที่เผาลนจิตใจมาช้านานโดยประการทั้งปวง เหลือแต่ดวงจิตบริสุทธิ์ล้วนๆ สนามเต้นรำทำเพลงและเวทีของกิเลสไม่มีอีกแล้ว การทะเลาะบาดหมาง ลังเลสงสัย สับสนวุ่นวายในดีและชั่วจบลงแล้ว จิตว่างเปล่าจากกิเลสและการยึดติด เหลือแต่ธรรมธาตุรู้ล้วนๆ เพราะคำว่าทุกข์ ได้พ้นไปจากใจโดยสิ้นเชิง อัศจรรย์พระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงสามารถรู้เห็นได้ก่อน อัศจรรย์พระอริยสาวกผู้สามารถตามเสด็จพระพุทธเจ้าได้ อัศจรรย์ธรรมที่ตนเองรู้เห็นถึงความเป็นอัตตมโนภิกขุ คือ ภิกษุผู้มีใจเป็นของตน ไม่ต้องแสวงหาที่พึ่งอาศัยอะไรอีกต่อไป
    เมื่อหลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านได้ประพฤติปฏิบัติสำเร็จถึงอุดมธรรมตามความประสงค์ของท่านแล้ว หลวงปู่ศรีท่านก็ได้ออกธุดงค์อีกครั้งพร้อมศิษย์ติดตามอีก ๒ รูป คือพระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ และ หลวงพ่อพุทธา มุ่งสู่ภูเก้า-ภูพานคำ ในระหว่างธุดงค์ผ่านบ้านดงบาก หลวงพ่อพุทธา ขอลากลับ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านจึงไปกับพระติดตามเพียงรูปเดียว คือพระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ ผ่านบ้านดงบาก แล้วเดินต่อไปยังบ้านวังมนต์ ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสังข์ จังหวัดหนองบัวลำภู ท่านและศิษย์ได้หยุดพักปฏิบัติที่ถ้ำจันใด และต่อไปยังถ้ำหามต่าง พักอยู่ที่ ภูเก้านี้เป็นเวลา ๒ เดือนกว่า
    ย่างเข้าฤดูฝน ปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้ลงจากภูเก้า มาอำเภอโนนสังข์ ผ่านอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ใช้เวลา ไม่กี่วันก็ทะลุถึงเทือกเขาภูเวียง เดินต่อไปยังวัดป่าภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เข้ากราบคารวะและพักอยู่กับ ท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมปตฺโต ศิษย์รุ่นใหญ่ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมปตฺโต แนะนำว่า ให้พวกท่านขึ้นไปถ้ำกวาง ถ้ำพระ ซึ่งเป็นสถานที่สงบสงัด สัปปายะ เพราะผมเคยไปอยู่วิเวกภาวนาจำพรรษามาแล้วในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ทุกอย่างดีหมด เสียอย่างเดียวที่ ผี ดุมาก
    ได้ฟังดังนั้น หลวงปู่ศรีท่านจึงเดินทางต่อไปยัง บ้านโนนสวรรค์ บ้านหินล่อง ขึ้นไปพักถ้ำพระ ถ้ำกวาง เชิงเขาภูเวียง หลวงปู่ศรีได้นำพาสานุศิษย์ปฏิบัติธรรมอยู่ที่แห่งนี้เป็นเวลากว่าแรมเดือน ได้เกิดนิมิตเห็นว่าแม่ยาย (แม่ใหญ่หล้า แสนยะมูล โยมอุปัฏฐากวัดป่ากุง เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ รวมอายุ ๙๒ ปี) ของท่านป่วย ท่านจึงได้ออกเดินทางกลับวัดป่ากุงเมื่อเดินทางกลับมาถึงก็ได้ทราบว่าแม่ยายท่านป่วยหนัก จึงรีบไปเยี่ยมและเทศน์โปรด อีกต่อมาไม่นานนักแม่ยายของท่านก็หายจากอาการป่วยนั้น
    พรรษาที่ ๒๐ - ๔๒ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ - ๒๕๓๐
    จำพรรษาที่ วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง) บ้านศรีสมเด็จ ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
    นับเป็นเวลาถึง ๘ ปี ที่หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านได้ออกธุดงค์เที่ยววิเวกภาวนาและจำพรรษาในถิ่นอื่น การย้อนกลับมาสู่ถิ่นเดิมของท่าน ช่างเป็นความจริงอย่างกับที่หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ได้บอกไว้ว่า ท่านศรี ท่านจะหนีจากเมืองร้อยเอ็ดไปไหนไม่ได้ดอก ก็เป็นความจริงจนถึงทุกวันนี้เมื่อท่านกลับมาอยู่ได้ไม่นานนัก ทายกทายิกาประชาชนเห็นพ้องต้องกันจะบูรณะปรับปรุงวัดป่ากุงแห่งนี้ ให้เป็นวัดวาอารามสมบูรณ์ถาวรมั่นคงสืบไป จึงได้ดำเนินการขออนุญาตทางราชการจัดตั้งเป็นวัดขึ้น โดยให้ชื่อตามความหมายที่ประชาชนร่วมกันสร้างว่า วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) ในสังกัดคณะธรรมยุตติกนิกาย ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๘ โดยมีหลวงปู่ศรี มหาวีโร เป็นเจ้าอาวาสปกครองและบูรณปฏิสังขรณ์ให้เจริญรุ่งเรือง เขตวัดได้เพิ่มเป็น ๓๓๘ ไร่ ๘๒.๗ ตารางวา (พ.ศ. ๒๕๕๑)
    ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ ทรัพยากรป่าไม้บนเทือกเขาเขียวกำลังถูกทำลายเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ น.อ.ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดในสมัยนั้น จึงได้ไปกราบนิมนต์หลวงปู่ศรี มหาวีโร เพื่อขอให้ท่านพิจารณาตั้งวัดเป็นถาวรขึ้นบริเวณเขาผาน้ำย้อยเพื่อจะได้ใช้สถานที่ปฏิบัติธรรม และอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้กับประชาชน เมื่อท่านหลวงปู่ศรี มหาวีโรพิจารณาเหตุผลแล้ว จึงได้จัดตั้งเป็นวัดโดยถาวรใช้ชื่อว่า วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม(ผาน้ำย้อย) ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านโคกกลาง ต.โคกสว่าง อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ติดถนนสายหนองพอก-เลิงนกทา เริ่มแรกเนื้อที่ดูแลของวัดมีเนื้อที่ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ไร่(ภายหลังเพิ่มเป็น ๑๓๐,๐๐๐ ไร่) และได้บูรณะป่าให้สมบูรณ์ยิ่งๆขึ้น
    เมื่อวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ หลวงปู่ศรี มหาวีโรท่านได้ปรารภกับที่ประชุมคณะศิษยานุศิษย์ว่า ได้รับพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศศรีลังกาเป็นกรณีพิเศษ และมาพิจารณาเห็นว่าครูบาอาจารย์สายอีสานมีผู้มีความรู้ระดับนักปราชญ์ และปฏิบัติชอบระดับสัมมาปฏิบัติ ได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและพระศาสนาเป็นจำนวนมาก สมควรสร้างถาวรวัตถุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อัฏฐิธาตุ รูปเหมือนของครูบาอาจารย์เหล่านั้น เพื่อเป็นศูนย์กลางให้แก่ผู้ที่ต้องการมาศึกษา สักการะบูชา และเห็นว่าสมควรสร้างที่วัดผาน้ำย้อย ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ หลวงปู่ศรีท่านได้ประชุมคณะกรรมการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จประญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานฝ่ายบรรพชิต และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานกรรมการก่อสร้างเจดีย์
    ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘
    วันที่ ๑๗ พฤษจิกายน พ.ศ.๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐินต้น ณ.วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ต่อชาวอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ยิ่งนัก..ประชาชนต่างปิติยินดี ที่มีโอกาสได้เฝ้ารับเสด็จ..
    [​IMG]

    พรรษาที่ ๔๓ พุทธศักราช ๒๕๓๑
    จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบนหลังเขาเมืองปุณจะ ประเทศอินโดนีเซีย
    ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ท่านปรารภว่า อยากจะหาที่เหมาะสมไปพักผ่อน เนื่องจากเหน็ดเหนื่อยทรมานกายตั้งแต่ออกสงเคราะห์โลก อยากจะชำระธาตุขันธ์ที่หมักหมมด้วยการงานมาหลายปี ประกอบกับในขณะนั้นมีคณะศิษย์ที่อยู่ในต่างประเทศ นิมนต์ท่านไว้หลายแห่ง คณะศิษย์จึงกราบนิมนต์ท่านไปจำพรรษาที่ไร่ชา เมืองปุณจะ ประเทศอินโดนีเซีย ภายในเนื้อที่ ๑,๐๐๐ ไร่ เจ้าของไร่ชาคือคุณยูริ ยันติ ได้จัดที่พักบนหลังเขา และสร้างกุฏิบนต้นไม้ใหญ่ขนาดหลายคนโอบ อากาศสัปปายะ ป่าอุดมสมบูรณ์ ท่านได้ปฏิบัติสมณธรรมตามสมณวิสัย เดินจงกรม นั่งสมาธิไม่ได้ขาด เมื่อท่านได้ไปเยี่ยมพระเจดีย์บูโรพุทโธศาสนสถาน ที่สร้างด้วยหินขนาดใหญ่ ใช้ระเบิดทำลายก็ ไม่พังไปได้หมด และมีความศักดิ์สิทธิ์มาก หลวงปู่ศรีท่านจึงได้ปรารภว่า ถ้ามีโอกาสจะสร้างพระเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้บ้าง เพราะเป็นเครื่อง หมายแสดงถึง ความถาวรมั่นคงของพระพุทธศาสนา ใครพังทำลาย ไม่ได้ง่ายๆ สร้างเล็กๆน้อยๆเดี๋ยวคนเขาก็ทำลายได้ง่ายๆ ดูอย่างพระเจดีย์บูโรพุทโธยังคงงามสง่า ประกาศศักดาของความศรัทธา ในพระพุทธ ศาสนาของชาวอินโด เป็นประวัติศาสตร์ของโลก ออกพรรษาแล้ว ธาตุขันธ์ที่เคยหมักหมมเมื่อยล้ามานานขององค์หลวงปู่ กลับกระปรี้กระเปร่าผ่องใสงดงาม ท่านปรารภว่า เอาล่ะ สบายแล้วคราวนี้ จะไปไหนก็ไป หลังจากนั้นท่านและคณะศิษย์ที่ติดตามจึงเดินทางกลับประเทศไทย
    พรรษาที่ ๔๔ - ๖๑ ปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ - ๒๕๕๑
    จำพรรษาที่วัดประชาคมวนาราม(วัดป่ากุง) บ้านศรีสมเด็จ ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
    ¨ องค์หลวงปู่ใหญ่หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศ ดังนี้คือ
    วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๘ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระอุดมสังวรวิสุทธิเถระ”
    วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสังวรอุดม
    วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวิสุทธิมงคล
    นอกจากนี้ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ ได้รับ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา พุทธศาสตร์ จากมหามกุฎราชวิทยาลัย โดยสมเด็จพระญาณวโรดม วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร เป็นผู้นำมาประทานมอบให้
    ¨ วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๐ คณะศิษยานุศิษย์ได้เริ่มการก่อสร้างกำแพงหินรอบองค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตัวกำแพงมีความสูง ๕ เมตร กว้าง ๔ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่อด้วยอิฐหินลูกรังผสมซีเมนต์ ยาว ๓,๕๐๐ เมตร และมอบถวายบูชาคุณองค์หลวงปู่ ในวันที่ ๓พฤษภาคม ๒๕๔๖ ฉลองสิริอายุ ๘๖ ปี เป็นกำแพงแห่งศรัทธาที่ศิษยานุศิษย์มีต่อองค์ท่าน ภายในกำแพงเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม
    เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้เริ่มดำเนินการการก่อสร้างเจดีย์หิน ณ วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง) ถวายเป็นการบูชาคุณพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่ศรี มหาวีโร จำลองแบบมาจาก เจดีย์บูโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย มีความสูง ๑๙ เมตร กว้างยาว ๔๐ เมตร มีทั้งหมด ๕ ชั้น โดยมีพระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ พร้อมด้วยคณะสงฆ์วัดสาขาตลอดจนคณะ ศิษยานุศิษย์ ดำเนินการแล้วเสร็จถวายแด่องค์หลวงปู่ศรี มหาวีโร เนื่องในวาระฉลองอายุ ๙๐ ปี พรรษาที่ ๖๐ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
    บรรณานุกรม
    คณะศิษยานุศิษย์. หนังสือสวดมนต์ ระเบียบและข้อวัตรปฏิบัติ วัดประชาคมวนาราม
    (ป่ากุง) และวัดสาขา. กรุงเทพฯ : นำทองการพิมพ์, ๒๕๕๑.
    ขออนุญาตินำประวัติมาเผยแพร่..กราบขอขมาพ่อแม่ครูบาอาจารย์องค์หลวงปู่ศรี..หากลูกหลานล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ กราบขอขมาองค์หลวงปู่ศรี ขอท่านได้โปรดอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วย...จากใจจริง หนุ่ม อุดมสมพร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 549.jpg
      549.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.5 KB
      เปิดดู:
      2,476
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2011
  17. บ่าวเจียงใหม่

    บ่าวเจียงใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +454
    แวะมาอ่านข้อมูลดีๆของคุณหนุมครับ
     
  18. sinsae101

    sinsae101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +134
    เข้ามาแจ้งข่าวครับ...

    ระยะนี้หลวงปู่ท่านอาการยังทรงๆอยู่ครับ..แต่ข่าวลือเยอะมากขี้เกียจตอบคำถามจริงๆ
    ทุกๆวันจะมีหมอมาจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ชุดละ 3 ท่านผลัดเวรกันเข้ามาดูอาการหลวงปู่ตอนกลางคืน แล้วเดินทางกลับไปทำงานต่อที่ขอนแก่น ท่านเหล่านี้ได้บุญมากๆครับ..

    ส่วนใครที่อยากจะมากราบหลวงปู่แบบเช้าไปเย็นกลับก็ให้เลือกเดินทางโดยรถทัวร์ปรับอากาศ ป.1 ใช้บริการของสหพันธ์ทัวร์จะสะดวก เพราะจำนวนเที่ยวในแต่ละวันจะมาก...

    จาก กทม. รอบเช้าเริ่มเที่ยวแรก 06.00 น.(ป1)(ถึงร้อยเอ็ดประมาณ 14.00 น.) เที่ยวสุดท้าย 22.10 น.(FIRST CLASS)(ถึงร้อยเอ็ดประมาณ 05.00 น.)

    ขากลับจากร้อยเอ็ด รอบเช้า 08.00 น. รอบค่ำเที่ยวสุดท้าย 22.15 น.ครับ

    ค่ารถ ป.1. ไปกลับ 700 บาท(เที่ยวเดียว 375 บาท)
    ค่ารถ VIP เที่ยวละ 485 บาท
    ค่ารถ VIP (FIRST CLASS)24 ที่นั่ง เที่ยวละ 585 บาท

    ระยะทางจาก บขส. ไปถึงวัด ประมาณ 20 กม.

    ถ้ามาเที่ยวเช้า 06.00 น. ตีตั๋วไปกลับ 700 บาท(ป1) ระบุที่นั่งขากลับ เที่ยว 19.15 น. จะมาถึงร้อยเอ็ดประมาณ 14.00 น. ควรทานอาหารก่อนค่อยเหมารถกระบะเข้าวัด(ไม่ทราบราคาครับ)ถึงวัดประมาณ 15.30 น. กราบหลวงปู่แล้วพูดคุยสอบถามอาการ เดินชมวัด ชมเจดีย์หิน(จำลองจากปุโรพุทโธ) แล้วออกไปรอบริเวณศาลาปากทางเข้ากุฏหลวงปู่ สัก 17.00-18.00 น. คอยถามว่าใครจะเข้าร้อยเอ็ดก็ขออาศัยติดรถออกมาที่บขส. (ถ้าเสาร์อาทิตย์ยิ่งสบายเพราะคนมากราบหลวงปู่มากครับ)

    หวังว่าคงจะช่วยให้ท่านวางแผนการเดินทางมากราบหลวงปู่ได้ง่ายขึ้นนะครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 สิงหาคม 2011
  19. charoen.b

    charoen.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    5,726
    ค่าพลัง:
    +15,488
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2011
  20. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    ขอบคุณมากครับ ที่คอยติดตามข้อมูล จะนำข้อมูลดีๆมานำเสนอต่อไปครับ

     

แชร์หน้านี้

Loading...