ผมโดนของป่าวครับ เรื่องเกิดเมื่อกี้ 28/11/2554

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย surer, 28 พฤศจิกายน 2011.

  1. surer

    surer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,508
    ค่าพลัง:
    +1,317
    ไม่อยากสนองกลับครับ คืออยากแค่ให้สิ่งไม่ดีออกไป
    ผมไม่อยากเป็นการสร้างเวรต่อกันครับ
     
  2. nataphat

    nataphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2009
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +246
    ไม่ได้ให้ไปเพื่อสนองกลับแต่ให้เพื่อเอาออกให้ภาวนาเป็นปกติ อันนี้อ่านรายละเอียดเอาน่ะพระราชพรหมญาณท่านให้ไว้ ภาวนาไปเลื่อยๆเจ็บก็นึกว่างก็นึก เป็นบารมีพระพุทธเจ้าน่ะครับกรรมก็คือกรรมอย่าลืมสิเจตนาเราไม่ให้มันสนองกลับมันก็ไม่กลับเอาเป็นว่าคาภาบทเดี่ยวใช้ได้หลายอย่างอ่ะได้จนกระทั้งอญิญาณอ่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2011
  3. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ลองเอาคาถานี้ ไปท่องบริกรรม ให้กังวานถึงทั่วแดนโลกธาตุ
    โลกธาตุในที่นี้ คือ ขันธ์กับจิต คือบริกรรมภาวนาให้กังวานก้องในจิต

    "พุทธังสรณังคัจฉามิ ธัมมังสรณังคัจฉามิ สังฆังสรณังคัจฉามิ"

    อย่างในประวัติสมเด็จโต ที่มีคนมาลองดี
    จะมาปล่อยของแกล้งท่านหรือไงนี่ล่ะ กลับทำอะไรท่านไม่ได้เลย
    แต่นั่นก็ด้วยบารมีธรรมของท่าน แค่ท่านบริกรรมภาวนา พุทธังสรณังคัจฉามิ หรือไงนี่ล่ะ

    หลวงตามหาบัวท่านว่า “พุทโธคำเดียว สะเทือนสามโลกธาตุ”

    แต่ทีนี้เพิ่ม คำว่า "ธัมโม สังโฆ" เข้าด้วยอีก ว่ายึดเป็นสรณะให้สะเทือนเข้ามาในหัวใจเรา
    ทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ สะเทือนหมด เพราะสรณะนี้ได้ฝังแน่นอยู่ในหัวใจ

    อธิษฐานไปว่า ขอให้ไสยะมนดำทั้งหลาย ที่สิงสถิตย์ จงมลายหายสิ้น ด้วยพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ นี้
     
  4. BANRAI

    BANRAI เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2007
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +319
    วิธีแก้ที่ส่วนใหญ่ใช้แล้วได้ผล ที่ผมได้ยินได้ฟังมานะครับ
    1.สวดคาถาชินบัญชร แล้วสวดทำน้ำมนต์ด้วยคาถาชินบัญชร นำมาอาบ ดื่ม กิน
    2.ใช้เบี้ยแก้ มาอาราธนา ทำน้ำมนต์หรือนำมาลูบตามตัวเพื่อไล่ของออก
    เช่นเบี้ยแก้ อ.เจือ วัดกลางบางแก้ว หรือ เบี้ยแก้สายอ่างทอง หรือสายวัดนายโรง
    หรือ ของ พระอาจารย์ท่านอื่นก็ได้ครับ
    3.ให้พระที่ปฏิบัติดีทำน้ำมนต์พระปริตร มาใช้อาบ ดื่ม กิน ก็ได้ครับ
     
  5. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    วิทยุ วิทยุ วิทยุ


    วิทยุ มันอยู่ของมันดีๆ ใครไปหมุนคลื้นหาสิ่งที่ชอบ มาฟังมาสนองอารมณ์ตน

    ใช้เราไหม หรือ หากมีใครเปิดคลื้นนั้นให้เราฟังอยู่เเล้ว เราได้ยิน ชื่นชอบ ยินดีกับเพลงนั้นๆ ที่ดังออกมา
    เเล้วใครล่ะที่ยินดี รับฟังเสียงนั้นด้วยใจ ที่ชื่นชอบ

    ใช้ตนเองไหม ที่ไปหมุนหาคลื่นนั้นมาฟัง ใช้ใจตนเองไหมที่ เข้าไปฟังไปจับ ในสิ่งที่ตนชอบเอง

    ไม่ไปหมุนคลื่น ไม่ไปฟังซะอย่าง เเล้วจะเอาอะไรไป ชื่นชอบละจ๊าาาา ทีรัก
     
  6. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    น้องมีอีกวิธีนึง

    ปล่อยมันเลย มันจะวิ่งไปได้ถึงไหน ปล่ิอยมันวิ่งไป ตามดูมันไปเรื่อย ๆ ว่ามันจะไปไหน
    เดี่ยวพอมันเหนื่อยมัน ล้า มันก็หยุด พร่าม เอ๊ยย หยุดวิ่งไปเอง ตามกําลัง

    คนเรานี้ก็เเปลก อะไรที่มันพิศดาร พันลึกเข้าใจยากๆ เนี้ยละชอบกันนัก

    เอ๊าาาา วิ่งต่อไป วิ่งไปเรื่อยๆนะอย่าหยุด เเล้วพรุ้งนี้อย่าลืมมารายงานผลล่ะ ว่า มันวิ่งไปถึงไหนเเล้ว
    ถ้ามันวิ่งออกมาทาง ทวารเบื้องล่าง ก็อย่าลืมเก็บเอาตัวอย่างมาโพส โช ขึ้นบรอดร์ให้เห็นน่าตาทีนะเจ้าค่ะ

    น้องจะ เซฟ เ้ก็บไว้พิจารณาร่วมในระหว่างรัปทานอาหารเช้า ซะเลยยยยยยยย

    (deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(eek)(eek)(eek)
     
  7. ไปไม่ท้อ

    ไปไม่ท้อ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +9
    ผมฟังมาจากอาจารย์เอ๋ สแกนกรรม ว่า

    บทสวดธรรมจักร สามารถใช้ถอนคุณไสยได้

    ลองไหมครับ


    ........ เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง
    วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะ
    วัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ
    นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน
    คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง
    อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
    เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา
    ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี
    อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

    ........ กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา
    คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะ
    มายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต
    สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
    อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะ
    เตนะ อะภิ สัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะ
    สะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

    ........ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยัะสัจจัง ชาติปิ
    ทุกขะ ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ
    โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
    ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
    สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกยา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว
    ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา
    นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ
    กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ อิทัง โข ปะนะ
    ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ
    อะเสสะวิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ
    สัจจัง ฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา
    อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ

    ........ อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ
    อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทพปาทิ ญาณัง
    อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก
    อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญ
    เญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง
    อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง
    อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะ
    นุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ

    ........ อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
    อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก
    อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะ
    สัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
    อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก
    อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะ
    สัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
    ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะ
    ปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

    ........ อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
    อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก
    อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง
    สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
    ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
    วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง
    ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ
    อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ
    ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

    ........ อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ
    เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะ
    ปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ
    อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะ
    คามินี ปะฏิปะทา อะริสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุ
    ทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะ
    ปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา
    อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
    ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
    วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

    ........ ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
    เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัส
    สะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว
    สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะ
    พราหมะณิยา ปายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมา
    สัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ยะโต จะ โข เม
    เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง
    ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง
    อะโหสิ ฯ อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก
    สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะ
    มะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ
    ปัจจัญญาสิง ฯ ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง ปุทะปาทิ
    อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิปุ
    นัพภะโวติ ฯ อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา
    ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
    อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัส
    มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง
    อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ

    ........ ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา
    สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยังบ อิสิปะ
    ตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง
    อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ
    วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิวา โลกัสมินติ ฯ

    ........ ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา
    เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯจาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง
    สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
    ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะ
    มะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา
    เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง
    สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะ
    วะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะ
    วะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะ
    ปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปาริ
    สัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะปะโรหิตา
    เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะโร
    หิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา มะหาพรัหมา เทวา
    สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง
    สุตวา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณาภา
    เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวา
    นัง สัททัง สุตวา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสา
    เวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริต
    ตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภา
    นัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะ
    มะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง
    สุตวา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ฯ
    สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา เวหัปผะลา
    เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง
    สัททัง สุตวา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะตัปปา เทวา
    สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง
    สุตวา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสี เทวา
    สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เอตัมภะ
    คะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุต
    ตะรรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง สะมะ
    เณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ
    วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ

    ........ อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ
    พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยัญจะ ทะสะสะ
    หัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ
    อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ
    อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ อะถะโข ภะคะวา
    อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ
    วะตะ โภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญ
    ญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ


    คำแปล
    บทสวดธัมมจักกัปปวัฒนสูตร พระอานนทเถรพุทธอุปัฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ ในการทำสังคายครั้งที่ ๑ ว่าดังนี้
    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
    ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตน มฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ

    ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
    ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและ พิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ

    เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ

    โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
    การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจ ทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง

    โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
    และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจ ท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )

    เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง

    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
    ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ

    กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?

    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
    ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ

    เสยยะถีทัง
    ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ

    - สัมมาทิฏฐิ
    ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )

    - สัมมาสังกัปโป
    ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )

    - สัมมาวาจา
    วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )

    - สัมมากัมมันโต
    การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )

    - สัมมาอาชีโว
    การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )


    - สัมมาวายาโม
    ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )

    - สัมมาสะติ
    การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )

    - สัมมาสะมาธิ ฯ
    การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
    ( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )

    อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ

    - ชาติปิ ทุกขา
    ความเกิดก็เป็นทุกข์

    - ชะราปิ ทุกขา
    เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

    - มะระณัมปิ ทุกขัง
    เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

    - โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
    เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์

    - อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
    เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์

    - ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
    เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์

    - ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
    และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์

    - สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
    กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิด ทุกข์อย่างแท้จริง

    โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
    คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์

    ภะวะตัณหา
    สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์

    วิภะวะตัณหา
    และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ

    อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ

    อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ

    อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

    อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

    ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ
    ( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ
    1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง
    2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ
    3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์ แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )

    เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

    ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ

    อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

    ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
    ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ

    อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
    ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ

    อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
    พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ

    อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
    ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล

    อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
    ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ

    ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
    ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล

    ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
    ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

    "เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
    "นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"

    ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

    จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

    ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

    ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

    [bตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

    นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
    เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

    "เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
    "นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ

    อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
    และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ

    อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
    และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ

    อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
    อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ

    อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ
    ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)

    อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
    เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ
     
  8. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,962
    แล้วไปโดน ของอะไรมาครับ มีคมหรือไม่มีคม ของร้อนหรือของเย็น ครับ


    มะอะอุ นานาจิตตัง วินาศสันติ
     
  9. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,962
    แล้วไปหาหมอ หรือยังครับ


    สรุปแล้วผมงงอยู่เนี่ย ตื่นมาขยับตัวไม่ได้ แต่ทำกิจอย่างอื่นได้งง ไหนบอกขยับตัวไม่ได้ ฝันซ้อนหรือเปล่าเนี่ย

    ผมเคยฝันซ้อนกันถึง 3-4ครั้ง ซ้อนกัน รู้สึกตัวเหมือนกันแต่ขยับตัวไม่ได้แล้วผมก็ตื่นเปล่าหรอกยังหลับอยู่กำลังนอนฝันซ้อนฝัน ตื่นมาก็ยังเป็นฝันอีก ตัวเองคิดว่าตื่นแล้ว
    คิดว่าจิตออกจากร่างลองเหาะดูก็เหาะได้ ไปๆมาตื่นอีกทีนี้เหมือนโดนอะไรสูบตื่นมาอยู่ที่เดิมแต่มันก็ยังเ้ป็นฝันอีกง่ะ

    เอาล่ะมาตัดสินกัน ว่าคุณโดนของจริงหรือไม่ ให้คุณฟังเพลงนี่ด้วยใจ 9 จบ ถ้าไม่ดีขึ้น ลองไปหาหมอเถอะครับ

    [ame]www.youtube.com/watch?v=YbvfBG3YPsg[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  10. surer

    surer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,508
    ค่าพลัง:
    +1,317
    ผมไม่เคยเรียน อวิชา ครับ แต่เคยเพ่งกษิณไฟ
    เห็นยูสท่านหนึ่งบอก เป็นการเปิด มโนวิญญาณ
     
  11. surer

    surer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,508
    ค่าพลัง:
    +1,317
    อ๋อตคอนแรกฝัน พอตื่น ตามองเห็น แต่ทำไรไม่ได้
    แต่รู้สึกว่าจิต ยังขยับได้ครับแบบว่า ยังรู้สึกว่า
    เราพยาม เอามันออก มันเป็นอาการอธิบายยากมาก
     
  12. surer

    surer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,508
    ค่าพลัง:
    +1,317
    ที่ผมสงสัยตอนนี้คือ
    ก่อนผมจะขยับตัวได้ ผมได้ไล่ ลูกกลมๆ ไล่ไปไล่มา จนมันหล่นเข้า ไหปลาร้าขวา
    แล้วทีนี้ ผมมีอาการหูอื่อ แล้วถึงขยับตัวได้
    ผมเลยสงสัยว่า ที่หูอื่อ คือมันออกทางหูป่าว

    อาการล่าสุด
    ...... ปวดท้อง แบบเสียดๆ แปลกๆ ไม่ได้ปวดแบบอึ
    ผมเล่าให้แม่ฟังแล้ว วันนี้ก็เลยจะไปหาหลวงพ่อ ท่านหนึ่ง
    ที่เก่งด้านนี้ครับ ถ้าเกิด เป็นไงเดียวมาอัพเดท
    แต่ถ้าถึงกับทำพิธี ถอนของ จะถ่ายมาฝากครับ
    ว่าแต่สนใจดูป่าว ถ้าไม่สนใจก็จะไม่ถ่าย
     
  13. guaregod

    guaregod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    962
    ค่าพลัง:
    +1,009
    อ่านตั้งนาน แค่ความฝัน กินวีต้าแ้ล้วไปนอนซะ
     
  14. surer

    surer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,508
    ค่าพลัง:
    +1,317
    ตอนแรกเป็นฝันแต่ตอนหลัง เป็นในชีวิตจริง
     
  15. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,962
    อ้าวไปหาหลวงพ่ออะไรที่กล่าวมายังเนี่ยครับ
     
  16. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,431
    เวลาผมใช้สัมผัสพิเศษ ตอนกลางคืนนอนหลับเหมือนกับหลับตาไม่ลง คือจะมีแสงสว่างจ้าอยู่นะครับ ผมก็แก้ไขโดยนอนสวดมนต์เอานะครับ โดยสวดบทพระธารณปริตร พาหุง และบารมี30ทัศน์ เรียกว่า เดี๋ยวก็หลับไปเองนะครับ

    อาการที่เกิดขึ้นเรียกว่า ตกภวังค์ คือถอยออกจากสมาธิแล้ว แต่ไม่เชี่ยวชาญในวสีทั้งห้านะครับ ผู้ที่เป็นแบบนี้นั้นต้องได้อุปปจารสมาธิขึ้นไปครับ ถ้าต่ำกว่านั้นจะไม่เป็น การทำสมาธิของคุณนั้น เรียกว่าอุปจารสมาธิแล้วอิงปิติครับ คือมีฝ่ายธรรมอุปจารสมาธิ เป็นมงคลอันดีในชั้นนี้ ตัวเราจะรู้สึกสบายใจเป็นพิเศษ

    อธิบายว่า บางครั้งไปได้ไกลถึง อัปปนาสมาธิ เมื่อไปถึงจุดนั้น มีผู้มาอธิบายธรรมะให้ฟังนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับเราที่จะพิจารณานั้นเอง เชื่อถือได้แต่การฟังการเห็นนั้นเอง ส่วนจะตัดสินใจอย่างไรนั้น มันก็เป็นเรื่องของเราให้เห็นชัดรู้ชัดเฉพาะตนอีก

    เราปราถนาทางปรมัตต์เพราะปฏิบัติมาขนาดนี้แล้ว ใจก็ดี สติก็ดี ธรรมก็ดี อันมีพระปัญญาสัมปยุติอยู่ ซึ่งเป็นปัญญาอันลึกซึ้งลงไปอีก ปัญญาลึกซึ้งลงไปอีกนั้นก็คือ พระสติ พระปัญญานั้นลับคมตนเองไปในตัว เพราะ การพิจารณาบ่อยๆให้ติดต่ออยู่นั่นเอง คือ "เป็นสักว่า รู้ว่า เห็นบ่อยๆ นั่นเอง เป็นอาจารย์ใหญ่ในพระพุทธศาสนา"

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  17. surer

    surer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,508
    ค่าพลัง:
    +1,317
    6 โมงเย็น วันนี้ครับ
     
  18. สาวอุทัย

    สาวอุทัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    2,293
    ค่าพลัง:
    +6,620
    ถึง...น้อง surer
    พี่ขอแนะนำ..แบบคนธรรมดา ๆ นะคะ
    - พิจารณาว่า ป่วยทางกาย หรือ ป่วยทางใจ (จากเวรจากกรรม) ป่วยกายไปหาหมอ
    ป่วยใจพิจารณาจากกรรม
    - ถ้าเชื่อว่า เราเกิดมาจากกรรม มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นแดนเกิด พี่ก็ขอแสดง ความยินดี ที่เจอเจ้ากรรมนายเวรแล้ว และถ้าน้องไม่ต้องการจองเวรกันต่อไป นับว่าเป็นเรื่องที่ดียิ่งขึ้นไปอีก ให้คิดเสียว่าการเจ็บปวดครั้งนี้ เราก็คงเคยทำกับคนอื่นไว้เหมือนกัน อาจจะหนักหนาสาหัสมากกว่านี้อีก ก็ขอให้อโหสิกรรมต่อกัน ให้อภัย แผ่เมตตาให้ (ชาตินี้น้องได้มีโอกาสได้ตัดบ่วงกรรมด้วยตนเอง ไม่ต้องจองเวรกันในชาติต่อไปอีก) กรรมเราเป็นคนสร้าง เราก็ต้องแก้ไขเอง ...อดทน เมตตา ให้อภัย....
     
  19. กายในกาย

    กายในกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +1,265
    คุณคุรุวาโร เห็นได้ขนาดนั้นเลยเหรอครับ ผมขอปรึกษาต่อเลยนะครับ ผมรู้สึกหน่วง ๆ ที่บริเวณหน้าผากเหนือคิ้ว ผมก็เลยพยายามนั่งสมาธิเพ่งเทียนบ้างไม่เพ็งบ้าง อาการก็เกิดขึ้นบ้าง ไม่เกิดขึ้นบ้าง ผมมีจุดประสงค์ที่อยากสำเร็จวิชานี้จริง ๆ อย่างไรแล้ว รบกวนคุณคุรุวาโร แนะนำการฝึกตาทิพย์ว่าผมควรจะฝึกอย่างไร ใช้วิธีไหนอย่างไรดีครับ ขอบคณล่วงหน้าครับ
     
  20. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637
    หลายคนในนี้ ก็โดนของนะ บอกตรงๆ

    ข้ารู้ ข้าเห็น
     

แชร์หน้านี้

Loading...