ปรัชญาแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ (มหายาน-วัชรยาน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เทพธรรมบาล, 14 มกราคม 2012.

  1. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร (วรรคที่ ๔)

    大方廣圓覺修多羅了義經

    พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร

    The Grand Sutra of Perfect Enlightenment (วรรคที่ ๔)

    ภิกษุจีนวิศวภัทร

    (沙門聖傑)

    แปลจากจีนพากย์สู่ไทยพากย์

    於是金剛藏菩薩在大眾中,即從座起,頂禮佛足,右繞三匝,長跪叉手。而白佛言:大悲世尊,善為一切諸菩薩眾,宣揚如來圓覺清淨大陀羅尼,因地法行漸次方便,與諸眾生,開發蒙昧,在會法眾,承佛慈誨,幻翳朗然,慧目清淨

    。 ในเพลานั้น พระวัชรครรภ์โพธิสัตว์ก็ประทับร่วมอยู่ในมหาชน ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ กระทำ ศิราภิวาทเบื้องพระพุทธยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า ประทักษิณาวัตรสามรอบ คุกเข่าประนมกรแล้ว ทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระมหากรุณาโลกนาถเจ้า เพื่อหมู่โพธิสัตว์ทั้งปวง ขอพระองค์ทรง แสดงซึ่งวิศุทธิสมปูรณโพธิมหาธารณี และอุปายะที่สืบไปเป็นลำดับของเหตุภูมิธรรมจริยา เพื่อ เปิดออกซึ่งสิ่งปิดกั้นของสรรพสัตว์ทั้งปวง เพื่อธรรมาชนที่ประชุมในสภาแห่งนี้ จักน้อมพระพุทโธ วาท ยังตนให้แจ่มแจ้งเปิดออกซึ่งมายาที่ปกคลุม มีปัญญาจักษุที่บริสุทธิ์ด้วยเถิด

    世尊,若諸眾生本來成佛,何故復有一切無明,若諸無明眾生本有,何因緣故,如來復說本來成佛,十方眾生本成佛道,後起無明,一切如來,何時復生一切煩惱,惟願不捨無遮大慈,為諸菩薩開秘密藏,及為末世一切眾生,得聞如是修多羅教,了義法門,永斷疑悔。作是語已,五體投地,如是三請,終而復始

    ข้าแต่พระโลกนาถ หากหมู่สรรพสัตว์มีมูลภาวะที่สำเร็จพุทธะมาแล้ว ด้วยเหตุไรหนอจึงยัง มีอวิชชาทั้งปวงอยู่ ก็หากหมู่สรรพสัตว์ผู้มีอวิชชานั้นมีมูลภาวะ(แห่งพุทธะ)แล้วไซร้ ด้วยเหตุ ปัจจัยเช่นไร พระตถาคตยังตรัสว่ามีมูลภาวะที่สำเร็จพุทธะมาก่อนนั้นอีกเล่า อันสรรพสัตว์ใน ทศทิศล้วนมีมูลภาวะที่สำเร็จพุทธมรรคมาแล้ว แต่ภายหลังกลับมีอวิชชา ก็แลพระตถาคตเจ้าทั้ง ปวงนั้นเล่า กาลใดหนอที่จักเกิดกิเลสทั้งปวงขึ้นอีก ขอพระองค์อย่าเผิกเฉยซึ่งมหาเมตตา เปิด ออกซึ่งคุหยครรภ์ของโพธิสัตว์ทั้งปวง และเพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลายในอนาคต ผู้ได้สดับพระสูตรคำ สอนนี้ จักเข้าใจแจ่มแจ้งในอรรถะ ยังวิจิกิจฉาให้สิ้นด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า เมื่อทูลเช่นนี้แล้วจึง กระทำเบญจางคประดิษฐ์ อยู่เช่นนี้สามคำรบ

    爾時世尊告金剛藏菩薩言:善哉善哉,善男子,汝等乃能為諸菩薩及末世眾生,問於如來甚深秘密究竟方便,是諸菩薩最上教誨,了義大乘,能使十方修學菩薩,及諸末世一切眾生,得決定信,永斷疑悔,汝今諦聽,當為汝說。時金剛藏菩薩奉教歡喜,及諸大眾默然而聽

    。 ในกาลบัดนั้นแล สมเด็จพระโลกนาถเจ้าตรัสกับพระวัชรครรภ์โพธิสัตว์ว่า สาธุๆ กุลบุตร พวกเธอสามารถปุจฉาซึ่งอุปายะที่คัมภีรภาพและคุหยภาพอันเป็นที่สุดของพระตถาคต เพื่อหมู่ โพธิสัตว์และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอนาคต นี้คือวิชยอนุศาสน์ที่ประเสริฐสุดของโพธิสัตว์ทั้งปวง อันเป็นอรรถะแห่งมหายาน สามารถยังให้โพธิสัตว์ผู้ศึกษาทั่วทศทิศ และสรรพสัตว์ทั้งหลายใน อนาคต ได้บรรลุถึงศรัทธาตั้งมั่น ยังวิจิกิจฉาให้ขาดสิ้นไป เธอพึงสดับเถิด ตถาคตจักกล่าวแก่เธอ ครั้งนั้น พระวัชรครรภ์โพธิสัตว์เมื่อรับสนองพระอนุศาสนีย์แล้วจึงปีติยินดี อยู่พร้อมกับบรรดา มหาชนที่ดุษณียภาพอยู่เพื่อคอยสดับพระเทศนา

    善男子,一切世界,始終生滅,前後有無,聚散起止,念念相續,循環往復,種種取捨,皆是輪迴,未出輪迴,而辯圓覺,彼圓覺性即同流轉,若免輪迴,無有是處,譬如動目,能搖湛水,又如定眼,由回轉火,雲駛月運,舟行岸移,亦復如是

    。 ดูก่อนกุลบุตร โลกธาตุทั้งปวง อันมีการเริ่มต้นแลการอวสาน การเกิดแลการดับ เบื้อง ก่อนแลเบื้องหลัง ความมีแลความไร้ ความประชุมกันแลความแตกออก ความเจริญขึ้นแลความ ระงับนั้น ย่อมสันตติสืบเนื่องกันอยู่ทุกขณะแห่งจิต สลับหมุนเวียนไปมา ๑ เป็นอุปาทานแล อุเบกขาต่างๆ อันล้วนเป็นวัฏจักร เมื่อยังมิออกจากวัฏจักร จึงมีการโต้อภิปรายอยู่ซึ่งสมปูรณโพธิ อันสมปูรณโพธิภาวะ คือสภาวะรู้แจ้งที่สมบูรณ์รอบนั้น ก็จักไหลเวียนอยู่ดุจกัน หากมิเวียนเป็นวัฏ จักรแล้ว ย่อมมิใช่การณ์นี้ อุปมานัยเนตรที่แส่ส่าย ยังน้ำนิ่งให้กระเพื่อม ฤๅดั่งจักษุที่จับจ้อง ยังให้ เปลี่ยนเป็นอัคคี ดั่งว่าเมฆาขับเคลื่อนจันทราให้โคจร ให้นาวาชนเห็นฟากฝั่งว่าเคลื่อนไป ฉะนี้แล ๑ การสลับเปลี่ยนหมุนเวียน คือไตรลักษณ์ ตามใดที่ยังไม่พ้นจากวัฏฏะ จิตย่อมเกิดดับหมุนเวียนเรื่อยไป แม้นสมปูรณโพธิ คือการการรู้ แจ้งที่สมบูรณ์รอบ อันพ้นจากการกล่าวอภิปรายหรือบัญญัติด้วยวาจาก็ยังถูกนำมาบัญญัติ จึงทำให้สมปูรณโพธิ ต้องไหลเวียนเปลี่ยนผัน อยู่เช่นเดียวกับสังสารวัฏ

    善男子,諸旋未息,彼物先住,尚不可得,何況輪轉生死垢心,曾未清淨,觀佛圓覺而不旋復,是故汝等,便生三惑

    。 ดูก่อนกุลบุตร เมื่อการเวียนผันทั้งหลายยังมิยุติ สิ่งนั้นอันมีอยู่แต่เดิม ย่อมมิอาจเข้าถึง แล้ว จักประสาใดกับจิตมลทินแห่งสังสารวัฏที่มิเคยบริสุทธิ์ เมื่อจักพิจารณาพุทธสมปูรณโพธิด้วยความ มิเวียนผันแล้วไซร้ เหตุนี้เธอทั้งหลาย จักยิ่งเกิดเวทนาสาม๒

    善男子,譬如幻翳,妄見空華,幻翳若除,不可說言此翳已滅,何時更起一切諸翳。何以故,翳華二法,非相待故,亦如空華滅於空時,不可說言虛空何時更起空華。何以故,空本無華,非起滅故,生死涅槃,同於起滅,妙覺圓照,離於華翳

    。 ดูก่อนกุลบุตร ดั่งมายาที่ปกคลุมไว้ ให้หลงทัศนาบุปผาในอากาศ ก็แลเมื่อมายาที่ปก คลุมไว้ถูกกำจัด ก็ยังมิอาจกล่าวว่าสิ่งอันปกคลุมนี้ได้ดับลงแล้ว แล้วกาลใดเล่าที่จะเกิดสิ่งอันปก คลุมทั้งปวงอีก ด้วยเหตุไฉนฤๅ เพราะธรรมสองประการคือสิ่งอันปกคลุมและ(อากาศ)บุปผานั้น หาใช่ลักษณะอันกระทำต่อกัน ก็ประดุจอากาศบุปผาที่ดับลงในกาลแห่งความว่าง จึงมิอาจกล่าวว่า ความว่างนั้นจักเกิดอากาศบุปผาอีกเมื่อใด ด้วยเหตุไฉนฤๅ เพราะเดิมศูนยตาภาวะปราศจากซึ่ง บุปผา แลมิได้เกิดขึ้นหรือดับไป ชาติมรณะและพระนิรวาณ ล้วนแต่เกิดขึ้นและดับไปพร้อมกัน ความรู้แจ้งรอบทั่วอันประเสริฐนั้น ห่างไกลจากบุปผาและสิ่งอันปกคลุม

    善男子,當知虛空非是暫有,亦非暫無,況復如來圓覺隨順,而為虛空平等本性

    。 ดูก่อนกุลบุตร พึงทราบเถิดว่าความว่างนั้นหาใช่เพิ่งมี ทั้งมิใช่เพิ่งปราศจาก แล้วจักประสา ใดกับตถาคตปูรณโพธิ ที่อนุโลมตามอากาศสมตามูลภาวะ คือภาวะเดิมของความว่างเปล่าที่เสมอ ภาค ๒ พระองค์ตรัสเรื่องวัฏฏะ คือความหมุนเวียนไป ทั้งด้านสังสารวัฏ และโลกุตรวัฏ ว่ามิต่างกันในแง่ของการไร้ทวิบัญญัติเรื่องสังสารวัฏ และพระนิรวาณ หากยังไม่รู้แจ้ง จิตจักยิ่งปรุงแต่งไปตามเวทนา ๓ คือการเสวยอารมณ์ ความรู้สึกของอารมณ์ คือ ๑)สุขเวทนา ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายหรือทางใจ ๒)ทุกขเวทนา ความรู้สึกทุกข์ ทางกายหรือทางใจ ๓)อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุข และไม่ทุกข์ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา ซึ่งสภาวะแห่งสมปูรณโพธิ คือการปราศจากซึ่งบัญญัติทั้งปวง ๓ ประโยคนี้คือ เมื่อมายาที่ปกคลุมไว้ถูกกำจัดแล้ว ย่อมไม่มีการปรุงแต่งใดๆ อีก เช่นปรุงแต่งว่ามายายังอยู่ หรือมายาสิ้นไป หากยังมี บัญญัติว่าอยู่หรือสิ้นก็จักเป็นมายาทันที ในพระธรรมสูตรนี้ สอนเชิงปฏิเสธทวิบัญญัติ เพื่อละอุปาทานจิต หยั่งเห็นเอกภาพของ สังสารวัฏและพระนิรวาณ โดยอุปมาสิ่งอันปกคลุมเป็นมายา และอุปาทานเป็นอากาศบุปผา หรือดอกไม้ที่มีอยู่ในอากาศ

    善男子,如銷金礦,金非銷有,既巳成金,不重為礦,經無窮時,金性不壞,不應說言本非成就,如來圓覺,亦復如是

    。 ดูก่อนกุลบุตร ดุจการถลุงแร่ออกจากทองคำ อันทองก็หาต้องถลุงด้วยไม่ ก็เมื่อสำเร็จแต่ สุวรรณบริสุทธิ์แล้ว จึงมิต้องถลุงอีก เมื่อผ่านเพลาไปจิรกาล สภาวะแห่งทองนั้นก็หาได้เสื่อมไปไม่ อันมิพึงกล่าวว่ามูลภาวะมิได้สำเร็จมาก่อนแล้ว ตถาคตสมปูรณโพธิ ก็ดุจฉะนี้แล

    善男子,一切如來妙圓覺心本無菩提及與涅槃,亦無成佛及不成佛,無妄輪迴及非輪迴

    。 ดูก่อนกุลบุตร มูลภาวะเดิมของสมปูรณโพธิจิตอันประเสริฐของพระตถาคตทั้งปวงนั้น ไร้ซึ่ง โพธิแลนิรวาณ ทั้งไร้ซึ่งการสำเร็จพุทธะแลการมิสำเร็จพุทธะ ปราศจากซึ่งการลวงหลอกว่าสังสาร จักรแลมิใช่สังสารจักร

    善男子,但諸聲聞所圓境界,身心語言皆悉斷滅,終不能至彼之親證,所現涅槃,何況能以有思惟心,測度如來圓覺境界,如取螢火燒須彌山終不能著,以輪迴心生輪迴見,入於如來大寂滅海,終不能至。是故我說一切菩薩及末世眾生,先斷無始輪迴根本

    。 ดูก่อนกุลบุตร แต่วิสัยของบรรดาสาวกนั้น มีกายจิตและวาจาที่ล้วนเป็นสมุทเฉท ที่สุดก็มิ อาจเข้าถึงวิสัยนั้นโดยใกล้ชิด อันที่สำแดงเป็นพระนิรวาณ แล้วจักประสาใดกับการสามารถมีจิต คิดจินตนา หยั่งวัดสมปูรณโพธิวิสัยของพระตถาคตได้อีกเล่า อุปมาดั่งการนำไฟของตัวหิ่งห้อยมา เผาผลาญสุเนรุบรรพต อันมิสามารถแม้นที่สุด เมื่อใช้จิตแห่งวัฏจักรจึงเกิดวัฏจักรทัศนะ เมื่อจัก เข้าสู่มหานิโรธสาครของพระตถาคต ที่สุดก็มิอาจเข้าถึง เหตุดั่งฉะนี้แล ตถาคตจึงกล่าวว่าโพธิสัตว์ และสรรพสัตว์ในอนาคตทั้งปวง พึงต้องปหานมูลฐานแห่งวัฏจักรอันหาจุดเริ่มมิได้เสียประการ แรก

    善男子,有作思惟從有心起,皆是六塵妄想緣氣,非實心體,已如空華,用此思惟辯於佛境,猶如空華復結空果,輾轉妄相,無有是處

    。 ดูก่อนกุลบุตร เมื่อมีการนึกคิดอันเกิดจากภวจิต ซึ่งล้วนคือความหมายรู้ที่ลวงหลอก ของสฬายตนะ หาใช่จิตสังขารที่จริงแท้ไม่ ดุจอากาศบุปผา เมื่อใช้การนึกคิดประการนี้ตรึกตรอง พุทธวิสัยแล้วไซร้ ย่อมดุจบุปผาแห่งความว่างเปล่าเกิดเป็นผลไม้แห่งความว่างเปล่า เป็นมุสา ลักษณะที่สับสน ซึ่งมิใช่ในสถานนี้

    善男子,虛妄浮心,多諸巧見,不能成就圓覺方便,如是分別,非為正問

    。 ดูก่อนกุลบุตร ก็มุสาจิตอันไร้สาระ แม้นจักมีอุปายทัศนะอยู่มากประการ ก็มิอาจสำเร็จซึ่ง สมปูรณโพธิอุปายะ ด้วยการจำแนกเช่นนี้ จึงมิใช่การปุจฉาที่ถูกต้อง.

    爾時世尊欲重宣此義,而說偈言

    : ในครั้งนั้น สมเด็จพระโลกนาถเจ้าทรงปรารถนาจักย้ำในอรรถนี้

    จึงตรัสเป็นโศลกว่า...

    金剛藏當知,如來寂滅性

    。 วัชรครรภ์พึงทราบเถิด อันนิโรธสภาวะของตถาคต

    未曾有始終,若以輪迴心

    。 มิเคยมีซึ่งการเริ่มต้นแลอวสาน หากใช้จิตแห่งวัฏจักร

    思惟即旋復,但至輪迴際

    。 ตรึกคิดย่อมวกวน จนลุถึงวัฏจักรอาณา

    不能入佛海,譬如銷金礦

    。 มิอาจเข้าสู่พุทธสาคร อุปมาการถลุงแร่จากทองคำ

    金非銷故有,雖復本來金

    。 อันทองนั้นเล่าเมื่อมิได้ถลุงก็มีอยู่ แม้เป็นทองอันมีแต่เดิม

    終以銷成就,一成真金體

    。 ที่สุดเมื่อถลุงแล้วจึงปรากฏ สำเร็จเป็นบริสุทธิสุวรรณ

    不復重為礦,生死與涅槃

    。 อันมิต้องถลุงอีก ก็สังสารวัฏและนิรวาณ

    凡夫及諸佛,同為空華相

    。 บุถุชนแลพุทธะทั้งปวง ล้วนคือลักษณะแห่งอากาศบุปผา

    。 บุถุชนแลพุทธะทั้งปวง ล้วนคือลักษณะแห่งอากาศบุปผา

    思惟猶幻化,何況詰虛妄

    。 การจินตนาก็อุปมามายาการ แล้วจักเกิดเป็นความโป้ปดอีกได้เช่นไร

    若能了此心,然後求圓覺

    。 หากสามารถแจ้งซึ่งจิตนี้แล้วไซร้ จากนี้จงปรารถนาซึ่งสมปูรณโพธิเถิด.

    จบวรรคที่ ๔

    จาก มหาปารมิตา
     
  2. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน

    [​IMG]

    คำนำ (ของผู้แปลสู่พากย์ไทย)

    พุทธศาสนาวัชรยานไม่ควรเป็นยาหม้อใหญ่สำหรับคนไทยแต่ควรเป็นยา อีกขนานหนึ่งสำหรับรักษาโรคกิเลสของคน สำหรับผู้มีอุปนิสัยที่เหมาะ สมในการรับยาขนานนี้แล้ว ยาขนานนี้อาจให้ผลในการรักษาโรคชะงัด นัก ดังนั้นเราจึงควรเพ่งพินิจพุทธศาสนาแบบวัชรยานด้วยใจที่เที่ยงธรรม เพื่อให้ธรรมะของพระพุทธเจ้าบรรลุผลต่อสรรพสัตว์หมู่มากที่สุด

    เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งได้เป็นสามส่วนคือ หลักธรรม มรรค และผล หลักธรรมมีใจความสำคัญคือ จิตเดิมแท้ ซึ่งไม่ต่างจากพุทธ ศาสนาแบบเซนนัก ซึ่งนับว่ามีเนื้อหาที่สุขุมลึกซึ้งเป็นที่เสพอย่างยิ่ง ของผู้ใคร่ในธรรมรส มรรคเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นลำดับขั้นตอน พร้อม ทั้งรายละเอียดแสดงผลที่ปรากฏในแต่ละขั้นตอน ซึ่งนับว่าเป็นข้อเด่น ของหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้นักปฏิบัติได้เรียงลำดับตรวจสอบตนเอง ได้ วิธีปฏิบัติเป็นวิธีชั้นสูงคือการดำรงจิตไว้ในธรรมชาติแห่งความ ไม่ปรุงแต่งส่วนผลแสดงในรูปของตรีกายซึ่งไม่มีกล่าวไว้ในหลักธรรม ของเถรวาทแต่อย่างใด

    ในบทที่ว่าด้วยทางที่ผิดนั้น ยังได้อธิบายทางที่ผิดต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน เกือบทุกทาง จะมีผลให้เราเพิ่มความระมัดระวัง คอยตรวจสอบการปฏิบัติ ไม่ให้ผิดพลาดตามที่กล่าวไว้ นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อป้องกันตนเองจากการภาวนาผิดวิธี นับว่าเป็นข้อเด่นอีกประการหนึ่ง ของหนังสือนี้ การรู้ความผิดพลาดที่สามารถเกิดขึ้นได้ทำให้เรามีความ รอบรู้ในสมถะและวิปัสสนามากขึ้น และทำให้เรามีความเชี่ยวชาญในการ ทำภาวนามากขึ้นเพราะมีความรู้ " รอบ " คอบมากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม มีเนื้อหาหลายเรื่องที่ฟังดูแล้วเหมือนไม่น่าจะถูกต้อง สำหรับ กรณีนี้ผู้แปลขอให้อย่าเพิ่งปฏิเสธหนังสือเล่มนี้ สิ่งที่เราควรทำคือใคร่ควรญ เสียใหม่ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง การศึกษาธรรมะจากหนังสือเล่มนี้ไม่จำเป็นต้อง เชื่อตามในทันที และไม่จำเป็นต้องปฏิเสธในทันที แต่ควรให้เวลาสำหรับการ นำไปปฏิบัติ ทดสอบจนกว่าจะหยั่งรู้ด้วยตนเอง อันควรเป็นท่าทีของชาวพุทธ ตามหลักกาลามสูตร

    อาจจะมีหลายเรื่องในหนังสือเล่มนี้ที่เราไม่เห็นด้วย แต่จะไม่ทำให้หนังสือ ลดคุณค่าลงไปแต่อย่างใด หากยังมีข้อดีอีกมากมายสำหรับเราที่จะหาได้จาก หนังสือเล่มนี้

    เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นของวัชรยาน ซึ่งเน้นการปฏิบัติแบบโพธิสัตว์ เราจึงได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติแบบนี้ด้วย นับว่าเป็นประโยชน์สำหรับยุคปัจจุบัน ซึ่งมีพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ในที่ต่าง ๆ เพศต่าง ๆ ทั้งฆราวาสและ บรรพชิต

    เนื่องจากศัพท์บางคำมีความหมายที่ถอดเป็นภาษาไทยได้ยาก จึงได้จัดภาค ประมวลศัพท์ ไว้ท้ายเล่มด้วย เพื่อให้ผู้สนใจเทียบเคียงหาความหมายที่แท้จริง

    หนังสือเล่มนี้สำเร็จลงได้ด้วยความช่วยเหลือจากหลายท่านได้แก่พระไพสาร ฉันทธัมโม ช่วยพิมพ์ต้นฉบับ พระเมตตา วชิรนันโท อำนวยความสะดวก ทางด้านพจนานุกรม และคำแนะนำที่มีค่าหลายประการ เป็นต้น จึงขอแสดง ความอนุโมทนามาในที่นี้

    พระศักดิชัย กิตติชโย
    สำนักสงฆ์ธารน้ำร้อน
    ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี
    ( ๕ มีนาคม ๒๕๔๗ ตรงกับ มาฆบูชา เพ็ญเดือน ๔ ปีวอก )
     
  3. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน

    [​IMG]



    คำแนะนำมหามุทรา

    คำว่ามหามุทราเป็นคำที่เข้าใจยาก ณ ที่นี้ผู้แปลจึงของคัดลอกคำอธิบาย มหามุทราจาก " สีหนาทบันลือ " มาเป็นส่วนแนะนำให้ผู้อ่านได้เข้าใจ มหามุทราให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

    " มาถึงตรงนี้คงจะเป็นการดีหากได้กล่าวถึงมหามุทรา ซึ่งเกี่ยวโยงอยู่กับ เรื่องการเข้าสัมพันธ์กับธรรมชาติพื้นฐาน ในการปฏิบัติโยคะตามแนวทาง วัชรยาน มหา แปลว่า ' ใหญ่ ' และ มุทรา แปลว่า ' สัญลักษณ์ ' ดังนั้น มหามุทรา จึงหมายถึง ' สัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่ ' นี่คือแก่นหลักของการ ปฏิบัติในตันตระโยคะ ( ขั้นต่ำ ) ทั้งหมด ทั้งกิริยาโยคยาน อุปโยคยาน และโยคยาน ล้วนมีการปฏิบัติเพื่อเข้าสัมพันธ์กับต้นกำเนิดพื้นฐาน หรือ ฉี ในภาษาธิเบต ซึ่งหมายถึง ' ภูมิหลัง ' ดังนั้น โยคะเหล่านี้จึงเป็นโยคะ ต้นกำเนิดพื้นฐาน หรือโยคะแห่งภูมิหลัง หรือโยคะแห่งธรรมชาติพื้นฐาน มีข้อแตกต่างอยู่ระหว่างโยคะขั้นสูงซึ่งเรายังมิได้กล่าวถึง กับโยคะขั้นต่ำ ซึ่งมุ่งที่จะกระทำการร่วมกับรากฐาน โยคยานทั้งสามแห่งตันตระขั้นต่ำ ยังสัมพันธ์อยู่กับการปฏิบัติทางฝ่ายมหายาน ซึ่งมุ่งเน้นที่จะกระทำการ ร่วมกับศักยภาพพื้นฐานเช่นกัน ดังนั้น จึงเต็มไปด้วยการกล่าวอ้างอิงถึง การก้าวสัมพันธ์กับต้นกำเนิด เข้าสัมพันธ์กับศักยภาพพื้นฐาน

    " หลักการนี้เชื่อมโยงอยู่กับชีวทัศน์ของมหายาน ซึ่งให้ความสำคัญอย่างยิ่ง กับศักยภาพแห่งตถาคตครรภ์ อันเป็นธรรมชาติพื้นฐาน ดังนั้นเอง ทุกสถาน การณ์ในชีวิตของคุณจึงเป็นสิ่งที่ใช้การได้ ทั้งยังกล่าวกันอีกว่า มหามุทรา หรือสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่นี้ มุ่งที่กระทำการกับต้นกำเนิดพื้นฐานหรือศักยภาพ พื้นฐานนั้นเอง ดังนั้นเอง โยคะทั้งสามแห่งตันตระขั้นต่ำจึงยังเป็นสิ่งที่เชื่อม โยงอยู่กับบางสิ่งที่คุณอาจกระทำการร่วมด้วยได้ คุณมีศักยภาพอยู่ในตัวแล้ว คุณมีเมล็ดพันธุ์อยู่แล้ว

    " มหามุทราคือหนทางที่จะชักนำเอาสิ่งเหล่านี้มารวมเข้าด้วยกัน อันได้แก่ ความเว้นว่างอันไพศาล สุญญตา และการสำแดงออกภายในสุญญตา หลักการแห่งสุญญตาคือหลักการที่ว่าด้วยนิรวาณและการสำแดงออกของความ สับสน ซึ่งอุบัติขึ้นรอบ ๆ นิรวาณนั้นซึ่งก็คือสังสาระ ดังนั้น มหามุทรา จึงเกี่ยวพันกับเรื่องที่ว่าจะนำสังสารและนิรวาณให้มาบรรจบรวมกันได้ อย่างไร ข่าวสารทั้งมวลจากสังสารวัฏฏ์ไม่ว่าจะเป็นราคจริต โทสะ และ อารมณ์ความรู้สึกทั้งมวล ซึ่งอาจบังเกิดขึ้นในชีวิตจริง สิ่งเหล่านี้มิได้ถูก ปฏิเสธหรือขับไล่ไสส่ง ทว่ากลับถือว่าเป็นส่วนที่ใช้การได้ของธรรมชาติ พื้นฐานซึ่งเราอาจเข้าสัมพันธ์ด้วยได้ นี่ล้วนเป็นสถานการณ์ซึ่งใช้การได้ และไม่เพียงแค่ใช้การได้เท่านั้น ทว่ายังบรรจุล้นปรี่ด้วยข่าวสารอันจะช่วย กันผลักดันเราเข้าสู่สถานการณ์ซึ่งช่วยให้เราจัดการกับตนเองได้ เรากำลัง ถูกผลักเข้าไปสู่สถานการณ์พื้นฐานดังกล่าว

    " ดังนั้น มหามุทราก็คือการเรียนรู้ที่จะกระทำการร่วมกับข่าวสารแห่งจักร วาล ซึ่งก็คือข่าวสารพื้นฐานในสถานการณ์ชีวิตอันเป็นหลักธรรมคำสอน ด้วยเช่นกัน เราไม่จำเป็นต้องไปศึกษาพระธรรมคำสอนที่มีอยู่ในศาสนา เท่านั้น หากเรายังสามารถอ่านสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในสถานการณ์ชีวิตได้อีก ด้วย เราอยู่อย่างไร ที่ไหน สถานการณ์อันมีชีวิตเหล่านี้ล้วนเต็มไปด้วย ข่าวสาร ซึ่งเราอาจอ่าน ถอดรหัส และกระทำการร่วมกับมัน

    " ถ้าหากคุณขับรถเร็วเกินไป ก็จะได้ใบสั่ง แต่ถ้าหากขับช้าเกินไป ก็จะถูก รถข้างหลังบีบแตรไล่ ไฟแดงหมายถึงอันตรายไฟเขียวหมายถึงไปได้ ไฟ เหลืองหมายถึงเตรียมตัวออกรถหรือเตรียมหยุด

    " แรกสุด เราจะต้องพัฒนาสัญญาความหมายรู้อันกระจ่างชัดขึ้นมาเสียก่อน อันก่อเกิดขึ้นจากการถอนทำลายทวิภาวะอันเป็นเครื่องกางกั้นลงโดยอาศัย หลักธรรมสุญญตา นี่คือญาณทัศนะแห่งโพธิสัตว์ หลังจากได้ถอนทำลาย อุปสรรคหรือม่านหมอกอันบดบังลงแล้ว เราก็เริ่มรับรู้โลกแห่งปรากฏการณ์ได้ อย่ากระจ่างชัดดังที่มันเป็น นั้นคือประสบการณ์แห่งมหามุทรา มิใช่มหายาน นั้นจะเพียงแต่ถอนทำลายทวิภาวะอันเป็นเครื่องขวางกั้นลงเท่านั้น ทว่ามัน ยังมอบความมั่งคั่งให้แก่จิตใจของเรา เราจะกลับรู้สึกชื่นชมเห็นค่าในโลก อีกครั้งหนึ่งโดยปราศจากอคติหรืออุปสรรคขัดขวางใด ๆ

    " หากจะว่าไปแล้ว ประสบการณ์แห่งสุญญตานั้นเป็นประสบการณ์ด้านลบ โดยสิ้นเชิง นั้นคือการตัดทิ้งถอนทำลายลง มันยังเต็มไปด้วยอาการอันต่อสู้ ดิ้นรน และหากมองจากบางแง่มุมแล้ว คุณก็อาจกล่าวได้ว่าสุญญตานั้นจำเป็น ต้องอาศัยจุดอ้างอิง จุดอ้างอิงแห่งอุปสรรค ที่ขวางกั้นอยู่ระหว่างตัวเรากับ ผู้อื่น ก่อให้เกิดจุดอ้างอิงแห่งไร้อุปสรรค ทว่าหลักการแห่งมหามุทรากลับ ไม่ต้องการอาศัยแม้แต่อุปสรรคที่ดำรงอยู่หรือแม้สิ่งใด ๆ เลย เพื่อมาเป็นแรง ต้าน มันเป็นเพียงการสำแดงออกอันบริสุทธิ์และตรงไปตรงมาของโลกแห่ง การแลเห็นและกลิ่นและกายสัมผัส ในฐานะที่เป็นประสบการณ์อันดำรงอยู่ ด้วยตนเองของมณฑล จะไม่มีการสะกดยับยั้งหรือเหนี่ยวรั้งใด ๆ สิ่งต่าง ๆ จะถูกแลเห็นและรับรู้อย่างเที่ยงตรงคมชัดและงดงาม โดยไม่ต้องหวั่นเกรงว่า จะกลับตกเข้าไปอยู่ภายใต้มัน "
     
  4. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    [​IMG]

    ภาคนำ สรุปมหามุทรา

    มหามุทรามี 3 กระสวน มหามุทราสุตตะ มหามุทรามนตรา มหามุทราแก่นแท้

    มหามุทราสุตตะ เป็นการเข้าถึงความเป็นพุทธะโดยปัญจมรรคและทศภูมิ

    มหามุทรามนตราเป็นประสบการณ์แห่งความยินดี ( นันทิ ) ๔ ระดับโดยการ เพิ่มพลังชนิดที่ ๓ ซึ่งนำไปสู่ความว่าง ๔ ระดับ นัททิ ๔ ระดับได้แก่ ๑ ) นันทิ ๒ ) อภินันทิ ๓ ) นิรนันทิ ๔ ) บุพนันทิ ( ยินดีโดยธรรมชาติ ) นำไปสู่วิธี แห่งการรู้แจ้งทัศนะแห่งมหามุทรา คำพูดตามที่นิยมก็คือ " เข้าถึงปัญญาที่แท้ โดยวิธีของปัญญาที่เป็นสัญลักษณ์ " ปัญญาที่เป็นสัญลักษณ์ หมายถึง ความว่าง ๔ ระดับ ซึ่งมาจากนันทิทั้ง ๔ ขณะที่ปัญญาทีแท้ คือ มหามุทราแห่งสภาวะ ธรรมชาติและปราศจากการปรุงเสริมเติมแต่งในลักษณะนี้ เรียกว่า มหามุทรา มนตรา

    มหามุทราแก่นแท้ ถูกบรรยายในความหมายของแก่นแท้ ธรรมชาติและการ แสดงออก แก่นแท้คือความไม่เกิดขึ้น ธรรมชาติ คือ ความไม่ขัดข้อง และ การแสดงออก คือ สิ่งที่ปรากฏออกในหลาย ๆ ลักษณะ มหามุทราแก่นแท้ สามารถระบุลงไปโดยวิธีที่ฉลาดคือ " มหามุทราแก่นแท้คือ จิตธรรมดา ๆ ล้วน ๆ ซึ่งพักอยู่ในภาวะตามธรรมชาติที่ไร้การปรุงแต่ง "

    แม้ว่าคำสอนเรื่องมหามุทราและซอกเซนแห่งภาวะธรรมชาติจะต่างกันโดย คำศัพท์ หากความหมายไม่ต่างกันเลย ด้วยคำสอนนั้น จิตขณะมรณวิถี ผสมกับธรรมกายขณะที่ร่างกายกำลังแตกสลาย และเป็นไปได้ที่จะบรรลุ ถึงการตรัสรู้ที่แท้และสมบูรณ์ด้วยร่างกายนี้

    มหามุทราในภาวะนี้คือการรู้แจ้งอย่างไร้มลทินของครูอาจารย์ของอินเดีย ( โดยปราศจากข้อยกเว้น ) ได้แก่ ครูผู้ควรบูชาหกท่าน ผู้สูงสุดสองท่าน และมหาสิทธาอีกแปดสิบท่าน เพียงแค่ได้ยินคำว่า มหามุทรา ก็นำไปสู่การสิ้นสุดแห่งสังสาระ

    อาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ ตรังโป เทอร์ตัน เชรับ โอเซอร์ บรรยายไว้ว่า

    มหามุทราและซอกเซน
    ต่างกันเพียงคำศัพท์แต่มิใช่ความหมาย

    ในแง่มุมของมหามุทรา " มูลฐาน " " มรรค " และ " ผล " มหามุทรามูลฐาน คือ แก่นแท้ที่ไม่เกิด ธรรมชาติที่ไม่ถูกกีดขวาง และการแสดงออกในลักษณะต่าง ๆ ระบบซอกเซนอธิบายในสามแง่มุม คือ แก่นแท้ ธรรมชาติ และความกรุณา

    มรรคมหามุทรา คือ จิตธรรมดา เปล่า ๆ ล้วน ๆ ไม่มีสิ่งใดห่อหุ้มถูกปล่อย อยู่ในภาวะธรรมชาติที่ปราศจากการปรุงแต่ง

    ผลมหามุทรา คือ การได้รับธรรมกาย แห่งการไม่ภาวนา โยคะสี่แห่ง มหามุทราคือ เอกัคคตา เรียบง่าย หนึ่งรส และไม่ภาวนา ผลจะเกิดเมื่อ บรรลุถึงธรรมกายแห่งการไม่ภาวนา

    เอกัคคตา โยคะแรกของมหามุทรา มีสามระดับ ปฐม มัชฌิมะ และอุดม หรือ ชั้นต้น กลาง สูง ตามลำดับ เอกัคคตาส่วนใหญ่ประกอบด้วยสมถะ และความก้าวหน้าตามลำดับ ผ่านสมถะมีนิมิต ไม่มีนิมิต และสมถะชนิด ที่พระสุคตทรงยินดี ระหว่างกระบวนการนี้ ความยึดมั่นถือมั่นจะค่อย ๆ ลดลง


    ขั้นต่อไปคือ เรียบง่าย มีความหมายว่า ไม่ยึดติด ระหว่างระดับ ขั้นต้น กลาง และสูง ความยึดติดจะค่อยห่างหายไป ขณะที่ เอกัคคตาเป็นสมถะเสียส่วนใหญ่ เรียบง่ายมักเป็นวิปัสสนา

    หนึ่งรส คือ ภาวะที่สมถะและวิปัสสนาผสมกันเป็นเนื้อเดียวปรากฏการณ์ และจิตเกิดร่วมกันเป็นหนึ่งรส บุคคลไม่จำเป็นต้องจำกัดขอบเขตปรากฏการณ์ อยู่ที่หนึ่งและวิญญาณอยู่อีกที่หนึ่ง แต่ความยึดติดด้วยทวิภาวะแห่งปรากฏการณ์ และจิตใจหลอมรวมกัน เป็นหนึ่งรสในมิติที่ไม่เป็นคู่

    เมื่อเข้าเงียบอยู่ที่เขากัมโป คุรุกัมโปปะ ได้กล่าวกับสาวกว่า " การรวมกัน ระหว่างจิตและปรากฏการณ์คล้ายอย่างนี้ " แล้วท่านก็วาดมือผ่านเสากลาง ห้อง ส่วนบนและล่างของเสาก็แยกจากกัน ผู้ดูแลกลัวมากคิดว่าหลังคาจะ หล่นลงมา จึงนำหินชนวนมาแทรกกลาง การกระทำของกัมโปปะแสดงว่า ท่านถึง หนึ่งรสระดับสูง ซึ่งโลกและสรรพสิ่ง ปรากฏการณ์ทวิลักษณ์ ทั้งหลาย รวมกันเป็นหนึ่งรสในโลกแห่งความไม่เป็นคู่ มโนคติที่เป็นคู่ทั้ง หลาย เช่นดีและชั่ว บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ สุขสบายและเจ็บปวด ดำรงอยู่ และไม่ดำรงอยู่ วัตถุแห่งการยอมรับและปฏิเสธ รับและละเลย ความหวัง และความกลัว ทุกสิ่งผสมรวมกับเป็นหนึ่งรส ที่ประทับแห่งธรรมกาย

    ที่จุดนี้อาจจะยังมีความชื่นชมในลักษณะแห่งหนึ่งรส ขั้นเหนือขึ้นไปคือ " ไม่ภาวนา " แม้มโนคติเพียงเล็กน้อยของผู้ดู สิ่งถูกดู นักภาวนาและ อารมณ์แห่งการภาวนา ล้วนละลายหายไปจากการก่อร่างของจิต ดังนั้น ธรรมกายแห่ง " ไม่ภาวนา " ก็บรรลุถึงซอกเซนเลย เรียกภาวะนี้ว่า " การดับไปของปรากฏการณ์ขั้นเหนือมโนคติ " ไม่มีการภาวนาและไม่มี การสรรสร้างสิ่งใด นั่นคือธรรมกาย

    เมื่อถึงเอกัคคตา ไร้การยึดติด
    ระหว่างเรียบง่าย ไม่สุดโต่ง
    ไม่ผูกพันกับหนึ่งรส
    ไม่ภาวนาอยู่เหนือจิตแบบมโนคติ
    ดังนั้นฉันจึงได้ให้โครงร่างที่ชัดเจนเกี่ยวกับมหามุทราแล้ว



    ตุลกู เออร์เจน รินโปเช
    นากี กัมโป เนปาล ๑๙๘๘​
     
  5. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน

    [​IMG]

    อารัมภบท

    มหามุทรา บริสุทธิ์สิ้นเชิงตั้งแต่แรกเริ่ม
    ธรรมชาติที่หมดจดจากสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย
    ปัญญาสูงสุดและสว่างไสวแห่งธรรมกาย
    ฉันขอแสดงความเคารพด้วยการ เห็นแจ้ง ตามที่เป็นจริง

    แม้ไม่มีสิ่งใดดำรงอยู่ในแก่นของมัน
    แต่การแสดงออกของมันแสนมหัศจรรย์
    ฉันจะอธิบายเพื่อเธอจะเห็นธรรมชาติของตนเอง
    ลักษณะของธรรมชาติที่แบ่งแยกไม่ได้


    แก่นแท้แห่งคำสอนซึ่งมีมากมายประมาณไม่ได้ของพระพุทธองค์คือ สติปัญญาแห่งตถาคตาซึ่งมีอยู่ในตามธรรมชาติแล้วในสรรพสิ่งทั้งหลาย คำสอนและ ( มรรค ) ยานนานาแบบที่แท้คือคำสอนเพื่อให้เห็นธรรมชาติ นี้ มีประตูสู่ธรรมะสำหรับสรรพสัตว์อยู่มากมายเท่าอุปนิสัยของสรรพสัตว์ เอง นี่เกิดจากพลญาณจากพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    ในหมู่คำสอนทั้งหลายคือคำสอนที่สูงส่งและลัดสั้นที่สุด และท้ายสุดแห่ง จุดยอดในสายวัชรยานมนตราลับ มีชื่อเลื่องลือไปเช่นพระอาทิตย์และพระจันทร์ คือมหามุทราซึ่งเป็นวิธีที่เลิศสุดและตรงสุด ง่ายสุด ในการเปิดเผยโฉมหน้า ตามธรรมชาติแห่งจิตของเธอ ที่ซึ่งกายทั้งสามปรากฏอยู่แล้ว เป็นการเดินทาง บนถนนหลวงโดยสิทธาและวัชรธรทั้งหลาย ฉันจะอธิบายความหมายใน ประเด็นสำคัญ ๆ ในสามภาค

    ๑ . มหามุทรามูลฐาน ธรรมชาติที่แท้ของสรรพสิ่ง ความหมายของหลักธรรม อธิบายย่อ ๆ ในแง่มุมของความสับสนและความหลุดพ้น

    ๒ . มรรคมหามุทรา กระแสที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ลักษณาการแห่งทางผ่าน มรรคและภูมิทั้งสิบ อธิบายจากแง่มุมของสมถะและวิปัสสนา

    ๓ . ผลแห่งมหามุทรา ลักษณาการที่สวัสดิภาพของสรรพสัตว์ บรรลุถึงโดยการ เห็นแจ้งตรีกายแห่งพุทธะซึ่งบริสุทธิ์ไร้ราคี และสูงสุด อธิบายในลักษณะสรุป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2012
  6. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ประเดี๋ยวข้าจักมาต่อ นะจ๊ะ นะจ๊ะ ....... โอ้ย ว่ากันอีกยาว ข้อความมุทรานี้เอามาจาก คุณ มดเอ๊ก หรือ kamen rider เจ้าเก่านะจ๊ะๆ
     
  7. KONK

    KONK สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +24
    สุมิตรา ขอสรรเสริญในความพยายามของนายธรรมบาลนมัสเต
     
  8. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ตัวข้า ปรารถนาจะรวม คำสอน ปรัชญา คำภีร์ ของพุทธศาสนาฝ่ายเหนือซึ่งหาศึกษาอ่านยาก ที่มีทั้งหมดเท่าที่จะทำได้ ในสารบบอินเตอร์เน็ตก็ดี ตำราก็ดี เอามารวมที่เดียวกัน ถึงจะไม่เป็นหมวดหมู่มากนัก แต่ก็ยังดี

    เหตุที่ต้องเป็น พุทธศาสนาฝ่ายเหนือ เพราะ สรรพสัตว์หมู่มากทั้งหลายจักได้มีผู้มองเห็นและซึ่งมหาทุกข์เวทนา จักได้เกิดนัยยะจักษุแห่ง มหาปณิธานต่อไป

    เข้ามาอ่านได้แค่ บรรทัดก็นับว่าดี ........


    แต่อย่าสรรเสริญกันเลย ข้าก๊อปเขามา

    นะจ๊ะ นะจ๊ะ
     
  9. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน

    หลักธรรม

    มหามุทรามูลฐาน ธรรมชาติที่แท้ของสรรพสิ่ง ความหมายของหลักธรรม อธิบายย่อ ๆ ในแง่มุมของความสับสนและความหลุดพ้น

    แก่นแท้ ( natural essence ) ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นสังสาระหรือนิพพาน ไม่ถูกจำกัดด้วยความหมายใด ๆ เป็นอิสระจากขอบเขตแห่งการขยายหรือ ย่อย่น ไม่อาจทำให้เกิดมลทินหรือมัวหมองด้วยถ้อยคำ เช่นน่ายินดีหรือ ไม่น่ายินดี เป็นอยู่หรือสาบสูญ มีหรือไม่มี สัสสตะหรืออุจเฉทะ ตัวตน หรืออย่างอื่น และอื่น ๆ เพราะว่าไม่สามารถระบุด้วยด้วยถ้อยคำใด ๆ แก่นแท้จึงเป็นมูลฐานของปรากฏการณ์ในรูปแบบใด ๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะแสดง ออกมาในรูปใด แก่นแท้ล้วนไม่มีความมีตัวตนจริง ๆ มันเป็นความว่าง เป็นอิสระจากข้อจำกัดของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลาย เป็นอสังขต- ธรรมธาตุ แต่เบื้องต้นแล้วที่มันเป็นธรรมชาติที่กายทั้งสามแห่งพุทธะ ปรากฏออก และมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า " มหามุทรามูลฐานแห่งแก่นแท้ของ สรรพสิ่ง " คุยหครรภตันตระ ( Guhyagabhatantra ) สอนว่า

    " แก่นแท้แห่งจิตไม่มีมูลฐานหรือรากเหง้า
    มันเป็นมูลฐานของปรากฏการณ์ทั้งปวง "

    แก่นแท้นี้ไม่ใช่อะไรบางอย่างที่ปรากฏเฉพาะในกระแสจิตแห่งปัจเจกคน หนึ่งหรือพระพุทธะองค์หนึ่งเท่านั้น แต่มันเป็นมูลฐานของทุกสิ่งที่ปรากฏ และแสดงตนอยู่ ทั้งสังสาระและนิพพาน

    เมื่อเธอรู้ถึงธรรมชาติของมัน สำเหนียกสภาวะที่แท้ของมัน เธอคือพระพุทธเจ้า เมื่อเธอไม่รู้ ไม่สำเหนียกมัน และยังสับสน เธอคือสรรพสัตว์ ดังนั้น มันจึงเป็น มูลฐานแก่การท่องเที่ยวไปในสังสาระ และจึงเรียกว่ามูลฐานแห่งสังสาระและ นิพพาน ท่านพรหมมินทร์ สรหะผู้ยิ่งใหญ่กล่าวว่า

    " จิตหนึ่งเดียวนี้เป็นพืชพันธุ์ของทุกสิ่ง
    จากสิ่งนี้ มีทั้งสังสาระและนิพพาน "

    จากแก่นแท้นี้มีการปรากฏรูปแบต่าง ๆ กันมากมาย ขึ้นกับว่ามันถูกรู้หรือไม่ ถึงจะเป็นอย่างไรก็ตาม มันก็ยังเป็นมูลฐานแห่งกายทั้งสามที่แบ่งแยกไม่ได้ ไม่มีข้อบกพร่องทั้งดีทั้งชั่ว ไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงแก่นนี้ได้ สาวกยาน เรียกว่า อสังขตธรรม มันเป็นธรรมชาติมูลฐานขั้นดั้งเดิม

    ธรรมชาตินี้แสดงตนเป็นกลาง ๆ และไม่แบ่งแยก ไม่ว่าจะรู้จักมันหรือไม่ เรียกกันว่า " มูลฐาน " " อาลยะ " เพราะมันเป็นมูลฐานแก่ทั้งสังสาระและ นิพพาน อาลยะนี้ ไม่ใช่ความไม่มีอะไรเลยและไม่ใช่ความว่างแบบไม่มีเลย เป็นความตื่นรู้ ความสว่างไสว ( ปภัสสระ ) ที่มีอยู่ด้วยตนเองไม่รู้จักสิ้นสุด ความตื่นรู้นี้ซึ่งเรียกว่า " วิญญาณมูลฐาน " เปรียบได้กับกระจกและความ ชัดของมัน
     
  10. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    [​IMG]

    การแยกชั้นปฐม


    ต่อไปเป็นการอธิบายการแยกระหว่างสังสาระและนิพพานจากต้นกำเนิดคือ " มูลฐาน "

    จากมุมมองด้านปัญญาต่อมูลฐานนี้ สาระของมันคือความว่าง ธรรมชาติ ของมันคือการตืู่้นรู้ และสองสิ่งนี้แยกจากกันไม่ได้ ประกอบเป็นการระลึกรู้ เพราะเป็นเหตุแห่งความเป็นพุทธะและองค์สำคัญแห่งมรรคจึงเรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า " มูลฐานแห่งการกระทำทั้งปวง " " ตถาคตครรภ์ " " ธรรมกายแห่ง การรู้แจ้งในตนเอง " " ญาณแห่งปัญญา " " พุทธะในใจเธอ " และอื่น ๆ การจำแนกชื่อแก่ลักษณะด้านนิพพานเหล่านี้ล้วนมีความหมายเหมือนกัน ลักษณะทางด้านปัญญาเหล่านี้ควรสำเหนียกรู้ด้วยตนเองทุก ๆ คนที่ปฏิบัติ เพื่ออริยมรรค


    เนื่องจากความเขลาต่อสิ่งนี้ เธอไม่ตระหนักรู้แก่นแท้ของเธอเอง ไม่รู้ ภาวะตามธรรมชาติของเธอเอง เมื่อเป็นอย่างนี้เธอมืดมัวต่อภาวะของเธอ เรียกว่า " ความเขลาเกิดร่วม " หรือ " ความมืดแต่เบื้องบรรพกาล " เพราะ มันเป็นพื้นฐานที่วุ่นวายและความหลงผิดต่าง ๆ เกิดขึ้น จึงเรียกอีกชื่อ หนึ่งว่า " มูลฐานแห่งอนุสัย " ดังนั้น มันจึงเป็นมูลฐานแห่งความสับสน ของสรรพสัตว์ " ตันตระประตูแห่งการรู้แจ้ง " ( openness of realization tantra ) กล่าวว่า

    " เนื่องจากการตระหนักรู้ไม่ได้เกิดขึ้นจากมูลฐานนี้
    ความไม่ตื่นรู้อย่างสมบูรณ์แห่งจิต
    คือมูลฐานแหางความเขลาและความสับสน "

    สิ่งที่เกิดร่วมกับความเขลาคือ ทิฏฐิ ๗ เนื่องจากความหลง เช่นภวตัณหา

    จากความเขลาเกิดร่วม เป็นบ่อเกิดแห่งอุปทานในตนเองและการระบุ ตัวตน จากตนเองนำไปสู่การมีอุปาทานใน " ผู้อื่น " เมื่อไม่รู้ว่าการแสดง ออกเช่นนี้เพื่อวัตถุประสงค์ใด ( การแสดงความเป็นบุคคล ) ตนก็ไป ยึดถือราวกับเป็นวัตถุภายนอกอย่างหนึ่ง การสับสนเพราะยังไม่รู้ธรรมชาติ ของอุปาทานในผู้รับรู้และสิ่งถูกรู้ เรียกว่า " ความเขลาแห่งมโนคติ " หรือ " มโนวิญญาณ " เป็นปฏิกิริยาการเข้าใจระหว่าง วัตถุและจิต ว่าแบ่งแยกต่างหากจากกัน และเป็นบ่อเกิดแห่งทิฏฐิ ๔o อันเกิดจากตัณหา เช่น อุปาทาน

    จากการแสดงออกของมโนวิญญาณ อนุสัยและความสับสนหลายอย่าง เกิดขึ้นและแผ่ขยาย โดยกระบวนการปฏิจจสมุปบาท เช่น กระแสแห่ง กรรม และความไม่รู้ในอาลยะ ทำให้ กาย จิต ถูกปรุงแต่งอย่างสมบูรณ์ วิญญาณทั้งห้า สัญญาห้า เป็นปฏิจจสมุปปันธรรม

    ปราณใหญ่ทั้ง ๕ และปราณย่อยทั้ง ๕ กลายเป็นพาหะแห่งสังขารเช่นนี้ โดยความเคยชินจะเกิดความยึดถือด้วยความสับสน การปรากฏตัวของเธอ จะเป็นเหมือนกับโลกและผู้อยู่อาศัย จากพื้นฐานนี้ทุกสิ่งทุกอย่างก็ถูกปรุง แต่งขึ้น เรียกอีกชื่อว่า จิตที่เศร้าหมอง มันเป็นกระแสที่ไหลผ่านอายตนะ ทั้ง ๕ ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นและอื่น ๆ จึงเรียกอีกชื่อว่า " วิญญาณ ๕ " สิ่งที่เกิดร่วมคือทิฏฐิ ๓๒ อันเกิดจากโทสะ เช่น วิภวตัณหา และอื่น ๆ

    ในวิถีทางนี้ " มูลฐานแห่งอนุสัย " เป็นเสมือนรากเหง้า และอนุทิฏฐิ ๘o เป็นเสมือนกิ่งก้าน ก็เติบโตอย่างช้า ๆ และความสับสนก็ต่อเนื่อง โดยวิถี ทางนี้เธอเดินทางเวียนว่ายในวัฏฏะอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นี่เป็นหนทางแห่ง ความสับสนของสรรพสัตว์ผู้ยังไม่ตื่น


    เพราะความสับสนนี้ แนวโน้มสู่สังสาระและนิพพานยังคงอยู่ใน " มูลฐาน " ในลักษณะของ " พีชะ " วัตถุที่หยาบทั้งปวง นาฑีทั้งบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ปราณะ และพินธุแห่งกายภายใน ตลอดจนถึงปรากฏการณ์ทั้งปวงแห่งสังสาระ และนิพพาน โลกและสรรพสัตว์แห่งภพทั้งสาม ปรากฏออกมาภายนอกใน ลักษณะที่ผูกพันกันและกัน เหมือนกับวัตถุในความฝัน เป็นมายาปรากฏเพียง ผิวเผิน ไม่มีจริง เพราะความเคยชินที่จะยึดมั่นถือมั่นว่าเที่ยงแท้ รวบยอดและ ยึดฉวยว่าเป็นจริงแท้ เธอประสบกับความยินดียินร้ายแห่งภพทั้งสามและภูมิ ทั้งหก เธอหมุนวนไปในกระแสแห่งเหตุและผลของสังสาระ ลักษณะของ สรรพสัตว์ล้วนเป็นเช่นนี้
     
  11. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    [​IMG]


    แก่นแท้มั่นคงยั่งยืน


    แม้ว่าจะสับสนและท่องเที่ยวไปในสังสาระ ธรรมชาติแห่งตถาคตครรภ์ แก่นแท้แห่งการตื่นรู้ ไม่เคยบกพร่องหรือลดลงแม้แต่น้อยนิด taknyi tantra กล่าวว่า

    " สรรพสัตว์ทั้งหลายคือพุทธะ
    แต่ถูกปกคลุมแล้วด้วยเครื่องเศร้าหมอง "


    เมื่อกล่าวอย่างที่สุด ธรรมชาติดั้งเดิมนี้ปรากฏอย่างแจ่มชัดในลักษณะแห่ง ตรีกาย ในที่สุดก็ยังคงปรากฏเป็นตรีกายเมื่อบรรลุอริยผลแล้ว เมื่อมลทินถูก ชำระและความรู้แจ้งสองประการสมบูรณ์แล้ว ด้วยเหตุนี้ ลักษณะทั้งคู่แห่ง ความสับสนและความเป็นอิสระ เป็นสลากแก่สภาวะที่ยังไม่เป็นอิสระจาก มลทินแห่งความหลงและอวิชชา uttara tantra ( อุตรตันตระ ) กล่าวว่า

    " มันเป็นอย่างเมื่อก่อนนี้ และจะเป็นต่อไป
    เป็นธรรมชาติที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง "


    แม้ธรรมชาติแห่งจิตจะบริสุทธิ์อยู่เอง เหมือนอย่างแก่นแท้แต่ดั้งเดิมของมัน ความสับสนชั่วขณะ หรือความเขลาร่วมซึ่งปิดบังเธอเกิดจากเธอเอง คล้าย สนิมเคลือบทองคำ กรรมวิธีชำระความมืดมัวมีสอนอยู่มากมาย แก่นแท้นี้ ซึ่งเป็นปัญญาที่มีอยู่เอง ไม่เคยแปรเปลี่ยนในกาลทั้งสาม และปราศจาก มโนคติทั้งปวง เป็นปัญญาที่แท้และจริง มรรคทั้งหลายจึงรวมอยู่ใน " มรรคและปัญญา " นั่นเป็นการตระหนักรู้ของผู้ชนะข้าศึกคือกิเลสแล้ว

    เธอคิดว่าเป็นไปได้หรือที่ " มูลฐาน " เพียงอย่างเดียวจะแยกเป็นได้ทั้ง สังสาระและนิพพาน มันก็เหมือนกับการบูร ซึ่งมีประโยชน์และโทษใน การรักษาโรคก็ได้ แล้วแต่เหตุจากความเย็นหรือร้อน นอกจากนี้ สารพิษ ซึ่งปกติทำให้ถึงตาย สามารถใช้เป็นยาได้ถ้าใช้โดยชาญฉลาด ทำนอง เดียวกัน เธอก็หลุดพ้นเมื่อตระหนักและสำเหนียกธรรมชาติเดียวแห่ง " มูลฐาน " และหลงอยู่เมื่อไม่ตระหนักรู้ " มูลฐาน " และเข้าใจว่าเป็น ตัวตน ดังนั้น " มูลฐาน " จึงเปลี่ยนเพราะรู้ หรือ ไม่รู้ ท่านนาคารชุน กล่าวว่า

    " เมื่อปกคลุมด้วยตาข่ายแห่งอารมณ์วุ่นวาย
    บุคคลก็เป็น ' สรรพสัตว์ '
    เมื่อเป็นอิสระจากอารมณ์วุ่นวาย
    บุคคลก็เป็น ' พุทธะ ' "

    ด้วยเหตุนี้ การรับรู้ปรากฏการณ์ทั้งปวงด้วยวิธีที่ฉลาดจากคำสอนใน มหามุทรา เธอจะสามารถดำรงรักษาความมั่นคงในธรรมชาติแห่ง " มหามุทรามูลฐาน " เธอสามารถขจัดมนทินจากความคิดที่สับสนด้วย มรรคมหามุทรา และจับฉวยตรีกาย ซึ่งเป็นผลมหามุทรา ดั้งนั้น เธอเปิดประตูสู่กำไรสองต่อ บุคคลผู้ถูกกระแสกรรมบงการอยู่ควร ค้นหาครูอาจารย์ที่สามารถ และควรปฏิบัติตาม เช่น สัทธาปรูฑิตาปฏิบัติ ตามมณีภัทร หรือ นโรปะปฏิบัติตามติโลปะ เธอควรทำให้สุกงอมโดย วิธีเพิ่มพลัง ( empewerment ) ซึ่งเป็นประตูสู่วัชรยาน และควรทำความเพียรกระทั่งมีผลปรากฏโดยไม่หยุดเพื่อหาความสบาย เกียจคร้าน หรือ ว่าการปฏิบัติเป็นเรื่องเล็กน้อย นี่เป็นสิ่งมีค่าในฐานะคำแนะนำ ชั้นต้นเพื่อการหลุดพ้น

    กล่าวโดยเฉพาะ โดยความอุทิศตนต่ออาจารย์อย่างเต็มที่ และควรเน้นที่ การปฏิบัติโดยปราศจากความเสแสร้งแกล้งทำ นอกจากนี้ เธอควรมั่นใจ ที่จะได้รับพรด้วยความกรุณาอันอบอุ่นจากท่าน นี่คือแก่นอันศักดิ์สิทธิ์ใน ประเพณีของวิทยาธรนิกายกาจู มหาสันติธาราตันตระ ( great pacifying river tantra ) กล่าวว่า

    " ปัญญานี้ ไม่สามารถบรรยายได้
    บรรลุได้โดยการปฏิบัติการสะสม
    และการขจัดกิเลสเครื่องปกปิด
    และการให้พรจากอาจารย์ผู้รู้แจ้ง
    ควรเข้าใจว่าเป็นการหลงทางถ้าใช้วิธีอื่น "


    ทีนี้จะกล่าวถึงการปฏิบัติเป็นหลัก ไม่ว่าสายปฏิบัติใดก็ตาม หยั่งถึงการ ภาวนาจากหลักธรรม หรือหยั่งถึงธรรมจากการภาวนา สิ่งสำคัญยิ่งยวด คือการรับการให้พรจากอาจารย์
     
  12. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ธรรมที่แท้

    โดยทั่วไป ยานที่ต่างกันและสำนักวิชามากมาย มีวิธีต่างกันมากมายในการ รองรับหลักธรรม และต่างก็มีหลักพื้นฐานของตน เพราะทุกยานล้วนแสดง ถึงการเผยแผ่ธรรมอันประกอบด้วยพระมหากรุณาของพระชินสีห์ เราจะไม่ วิพากษ์ว่าดีหรือไม่ดี บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ เพียงแต่ยินดีเท่านั้น

    ในหัวข้อนี้ หลักธรรมก็คือ แก่นแท้แห่งจิต ปรากฏอยู่เองตั้งแต่เริ่มต้น ใน ลักษณะที่บริสุทธิ์และยิ่งใหญ่ เป็นอิสระ ( วิมุตติ นิพพาน ) ในกาละทั้งสาม คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต จากการปรุงแต่งแห่งการเกิด ตั้งอยู่ และดับ สลายไป และลักษณะเช่นมาและไป แก่นแท้แห่งจิตไม่มัวหมองเพราะมโนคติ แห่งอุปาทานในสังสาระและนิพพาน และมรรค มันไม่สามารถขยายและย่นย่อ อย่างเช่น มีอยู่หรือไม่มีอยู่ เป็นอยู่หรือไม่เป็นอยู่ ถาวรหรือไม่ถาวร ดีหรือชั่ว สูงหรือต่ำ มันอยู่เหนือการจับเท็จหรือพิสูจน์ ยอมรับและปฏิเสธ และการ เปลี่ยนแปลงแห่งปรากฏการณ์ทั้งปวงในสังสาระและนิพพาน

    ธรรมชาติที่แท้ดั้งเดิมหรือสภาวะของมันเป็นอิสระในลักษณะแห่งรูปลักษณ์ และความว่างที่แบ่งแยกจากกันไม่ได้ และเป็นเอกภาพที่กระจ่างชัดแห่งความ สว่างไสวและความว่าง มันเป็นความอิสระที่เปิดโล่งและแผ่ซ่านไปทั่วอย่าง สมบูรณ์แม้ในธรรมที่เกิดเอง นี่เป็นแกนแห่งหลักธรรม เป็นอยู่ตามธรรมชาติ ของมัน ปรากฏอยู่เองแต่ดั้งเดิม และเป็นแก่นแห่งสังสาระและนิพพาน ไม่มี หลักธรรมอื่นนอกเหนือจากนี้อีก

    การเห็นแจ้งความบกพร่องเพราะการเข้าใจแบบทวิลักษณ์ โดยการเข้าใจ ลักษณะเดิมแท้นี้เรียกว่า " การเห็นแจ้งหลักธรรม " " การเห็นแจ้งแก่นแท้ แห่งจิต " หรือ " การเข้าใจธรรมชาติของสรรพสิ่ง " ตามที่กล่าวไว้ใน Doha Kosha

    " เมื่อรู้แจ้ง ทุกสิ่งก็เป็นดังนั้น
    ไม่มีใครจะรู้มากไปกว่านั้น "


    ตามความจริงแล้ว ทั้งหมดทั้งสิ้นแห่งรูปลักษณ์และความดำรงอยู่ สังสาระ และนิพพาน ล้วนเป็นการแสดงตัวของตรีกาย จิตของเธอก็เช่นกัน มีธรรมชาติ แห่งตรีกายและตัวมันก็ไม่อยู่ต่างหากไป จากปรมัตถธรรมธาตุ ธรรมที่เป็น สังสาระทั้งปวง ล้วนมีอยู่ในคุณลักษณะของจิต ธรรมที่เป็นมรรคล้วนแล้วมีอยู่ ในหลักธรรม ธรรมที่เป็นผลมีอยู่ในกำลัง ( อินทรีพละ ) ของจิต

    แก่นแท้ที่ไม่เกิดของจิตคือ ธรรมกาย การแสดงออกโดยไม่ติดขัดเรียกว่า สัมโภคกาย การทำหน้าที่แปรเปลี่ยนในลักษณะใด ๆ ก็ตามคือ นิรมาณกาย ตรีกายนี้มีอยู่เองและเป็นสิ่งที่แยกจากกันเป็นส่วน ๆ ไม่ได้ การตระหนักและ การดำรงอยู่ในภาวะนี้เรียกว่าการรู้ธรรมแท้ การรู้อย่างอื่น ๆ ความเข้าใจหรือ การภาวนาที่ใช้ความคิดทึกทักเอา หรือการอ้างถึงความเป็นคู่ เช่น เป็นอิสระ หรือไม่เป็นอิสระ ธรรมดาหรือพิเศษ ดีหรือเลว และอื่น ๆ ไม่มีสอนใน
    มหามุทรา



    " มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
    ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
    ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

    มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
    ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "


    เกอเธ่...

     
  13. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    มาช่วย ทำมาหากิน นะจ๊ะ นะจ๊ะ
     
  14. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ขอบใจนะจ๊ะๆ ^^
     
  15. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา สมถะและวิปัสสนา

    [​IMG]


    ภาคสอง มรรคมหามุทรา


    ***สมถะและวิปัสสนา***



    " ภาวนาแห่งมรรคมหามุทรา อธิบายสมถะและวิปัสสนา ข้อผิดพลาด และคุณภาพ ภาวนา หลังภาวนา ความเข้าใจผิด วิธีเดินไปตามมรรค และอื่น ๆ "


    คำว่า ภาวนา ที่ใช้กันในสายปฏิบัติต่าง ๆ ล้วนมีความหมายแตกต่างกัน ได้มากมาย แต่ในที่นี้หมายถึงการลุถึงจิตในสภาวะธรรมชาติของมัน ตามที่ได้อธิบายมาแล้ว เธอไม่ภาวนาในการสร้างสิ่งใดขึ้นมาในใจ เช่น วัตถุที่มีสีและรูปทรงโดยเฉพาะ หรือไม่ใช่การภาวนาโดยการใคร่ครวญ ด้วยเจตนาขณะที่กดการคิดการรับรู้ อย่างเช่น การสร้างความว่าง ( หลอก ๆ ) ภาวนาหมายถึงการดำรงอยู่ในภาวะตามธรรมชาติของจิตโดยไม่ปรุงแต่ง สิ่งใดขึ้นมา

    กล่าวอย่างเจาะจง จิตมีความสามารถและความฉลาดอยู่มากมาย บุคคล พวกมีอินทรีย์แก่กล้า ไหวพริบดี ซึ่งเคยปฏิบัติมาก่อน ย่อมสามารถระลึก ถึงแก่นแท้ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านการปฏิบัติชนิดมีขั้นตอนด้วยสมถะ และวิปัสสนา แต่คนพวกอื่น คนธรรมดาต้องแนะนำไปตามลำดับ ดังนั้น เธอควรเริ่มต้นด้วยสมถะที่มีนิมิต เช่น ท่อนไม้ ก้อนหิน รูปเคารพ หรือเสียง หรือปฏิบัติปราณ พินทุ ฯลฯ แล้วจึงเข้าสู่สมถะที่ไม่มีนิมิต


    สมถะ


    สมถะที่แท้มีการสอนโดยวิธีการเหล่านี้

    ๑. ไม่ปล่อยให้จิตส่งออกไปกับวัตถุใด ๆ ทั้งภายในและภายนอกแต่พักอยู่ ในความสดชื่น ไม่วอกแวกตามธรรมชาติ

    ๒. ไม่ควบคุมทวารทั้งสามอย่างเคร่งครัดเกินไป แต่พักอย่างเป็นอิสระใน สภาวะแห่งการไม่กระทำตามธรรมชาติ

    ๓. ไม่ปล่อยให้สาระแห่งความคิดและความตื่นรู้ ( สติ ) แยกจากกันและ เป็นสิ่งที่ต่างกันราวกับเป็นขาถอนพิษ แต่จงพักอยู่ในความใสกระจ่าง แห่งการรู้ และการตื่นในตนเอง

    ชื่ออื่น ๆ เช่น " ไม่วอกแวก " " ไม่ภาวนา " " ไม่ปรุงแต่ง " ก็ใช้กันกับ สามข้อข้างบนนี้

    วิโมกข์มุข ๓ ( อนิมิตตวิโมกข์ อัปปนิหิตวิโมกข์ สุญญตวิโมกข์ ) ที่สอน ในสาวกยาน ก็พบได้ในสมถะทั้งสามแบบนี้ เมื่อจิตละจากการตามการ กระทำหรือเหตุการณ์ก็เรียก " อนิมิตตวิโมกข์ " เมื่อจิตปัจจุบันเป็นอิสระ จากความวุ่นวาย ( เพราะจิตสร้างขึ้น ) หรือการรับและปฏิเสธ " สิ่งนี้กำลัง เกิดขึ้น ฉันต้องทำสิ่งนี้ " เป็นสุญญตวิโมกข์ เมื่อจิตเป็นอิสระจากความ คาดหวัง เช่นสิ่งนั้นสิ่งนี้จะเกิดในอนาคต เช่นเดียวกับเป็นอิสระจาก ตัณหา เช่นหวังว่าจิตจะเข้าสู่ภาวนา หรือกลัวว่าจะไม่ เรียก " อัปนิหิต วิโมกข์ " สิ่งเหล่านี้มีอยู่ เพียงแต่เธอพักจิตอยู่ในภาวะตามธรรมชาติ โดยปราศจากการทำลาย หรือส้รางสรรค์สิ่งใดขึ้นมา ( ไม่ปรุงแต่ง )


    เมื่อจิตอยู่ในภาวะนี้และความคิดเกิดขึ้นโดยกะทันหัน เพียงแต่รู้แก่นแท้ ของตนเองอย่างกระจ่างชัด ก็พียงพอแล้ว ไม่ต้องพยายามด้วยเจตนา ใด ๆ ที่จะยับยั้ง หรือเพ่งอยู่ในภาวนา หรือควบคุมมันด้วยกรรมวิธีอื่น ๆ ไม่ว่าการกระทำใดก็ตามไม่ใช่หัวใจแห่งการดำรงธรรมชาติแห่งจิตไว้ใน ภาวะไร้การปรุงแต่ง


    แม้ว่าสายปฏิบัติอื่น ๆ มีวิธีปฏิบัติมากมายเกี่ยวกับสิ่งนี้ แก่นของเรื่องนี้ อยู่ที่การระลึกและแก่นแท้ของปรากฏการณ์ ถ้าเธอแสวงหาวิธีปฏิบัติ อย่างอื่น ก็ไม่ใช่มหามุทรา ดังที่ท่านสรหะผู้ยิ่งใหญ่กล่าวว่า


    " การภาวนาของสรรพสัตว์ล้วนสูญเปล่า
    เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะใช้สำหรับภาวนา
    บุคคลไม่ควรปล่อยใจให้วอกแวก ( ออกนอก ธรรมชาติแห่งจิต - ผู้แปล )
    แม้ชั่วขณะ สิ่งนี้ ฉันประกาศว่าคือ มหามุทรา "



    ดังนั้น ด้วยการพักอยู่ในธรรมชาติแห่งจิต ตามที่มันเป็นประสบการณ์ ทั้งสามแห่งสมถะก็จะปรากฏขึ้นเองอย่างช้า ๆ มันเป็นอย่างไรเล่า ขั้น แรกจะรู้สึกกระวนกระวายมากกว่าเดิม กระทั่งมีความคิดมากกว่าเดิม บางครั้ง ช่วงระหว่างการคิดแต่ละครั้ง จิตจะหยุดนิ่งอยู่ชั่วขณะ อย่าคิด ว่าการคิดเป็นความบกพร่อง แม้ว่าจนกระทั่งปัจจุบันจิต มันคิดตลอด เวลา แต่เธอไม่เคยตระหนัก จุดนี้คือการรู้ความแตกต่างระหว่างคิดและ หยุดนิ่ง เป็นประสบการณ์แรกแห่งสมถะ อุปมาได้กับน้ำตกจากหน้าผา

    หลังจากดำรงรักษาการภาวนาไว้อย่างนั้น จะควบคุมความคิดส่วนใหญ่ ได้ เธอจะสุภาพและผ่อนคลาย เริ่มสัมผัสความสุขได้ทั้งร่างกายและ จิตใจ และเธอจะไม่ชอบเอาธุระกับกิจกรรมอื่น ๆ แต่จะยินดีในการภาวนา จะเป็นอิสระจากความคิดเป็นส่วนใหญ่ มีข้อยกเว้นน้อยมาก นี่เป็นขั้น ที่สอง อุปมาได้กับกระแสน้ำไหลรินเนิบนาบ

    ต่อมา ภายหลังจากการปฏิบัติด้วยความพยายามอย่างไม่ขาดตอน ร่างกาย เธอจะได้รับแต่ความสุข ปราศจากทุกขเวทนาใด ๆ จิตใจใสกระจ่างปราศ จากความคิด ไม่สนใจวันและคืนที่ผ่านไป เธอสามารถอยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อน ไหวได้นานเท่านานเท่าที่ยังทำภาวนาอยู่ ทั้งไม่มีอันตรายใด ๆ อารมณ์รบกวน ต่าง ๆ สงบลง และไม่มีความหมกมุ่นเกี่ยวกับบางสิ่งเช่นอาหารและเครื่อง นุ่งห่ม ได้พบญาณทัสสนะอันวิเศษ และเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมาย การแสดง ออกต่าง ๆ เหล่านี้คือขั้นสุดท้ายของสมถะ ซึ่งอุปมาได้กับมหาสมุทรแห่ง ความสงบ

    นักปฏิบัติบางท่านไม่ได้ติดต่อกับอาจารย์ผู้มีความสามารถ และบางคน ที่ขยันมากแต่ศึกษามาน้อย มักหลงไปกับสิ่งเหล่านี้ เช่นเดียวกัน สามัญ ชนก็มักเห็นเป็นผู้วิเศษ นำไปสู่หายนะทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น จึงควรระวัง


    ความพยายามในสมถะยังไม่จัดเป็นส่วนหลักแห่งมหามุทรา แต่มันเป็น พื้นฐานที่สำคัญ กยัลวา ลอเรกล่าวว่า



    " สมถะทึ่ม ๆ ปราศจากความกระจ่างชัด
    เธออาจภาวนาเช่นนี้นานเท่านาน
    หากปราศจากความความเห็นแจ้ง
    หากครอบครองความว่องไวและความตื่นรู้ที่คมชัด
    การภาวนาก็ ( สำเร็จในเวลา ) สั้นมาก "



    วิปัสสนาคือส่วนหลัก


    ถ้ายังไม่ขจัดข้อสงสัยเกี่ยวกับธรรมชาติแห่งจิตว่าเป็นเช่นไร เช่น มี ลักษณะรูปธรรม มีสี รูปร่าง ฯลฯ มีจุดเกิด ดำรงอยู่ ดับไป หรือ มีอยู่ไม่มีอยู่ สัสสตะ หรืออุจเฉทะ เธอจะไม่สามารถรู้ธรรมชาติได้ ตามเป็นจริง และไม่สามารถรักษาการภาวนาอย่างเป็นธรรมชาติและ เป็นไปเองได้ ถ้าไม่รู้สิ่งนี้ ไม่ว่าจะทำสมถะ ( ทำให้หลง ) และควบ คุมจิตให้นิ่งเพียงใด เธอจะไม่สามารถอยู่เหนือกรรมและวิบากในภพ ทั้งสามได้ จึงควรชำระความคิดให้ถูกต้องกับครูอาจารย์ที่มีความ สามารถ


    กล่าวโดยเฉพาะมนตราอย่างลับเป็นหนทางแห่งการให้พรและความสุข เธอควรปฏิบัติตนในทางที่จะรู้ถึงพรและความสุขที่อาจารย์ของเธอได้รับ โดยวิธีนี้ เธอจะได้รับประสบการณ์แห่งการตื่นรู้ซึ่งอธิบายในภาคของ หลักธรรม ซึ่งปรากฏมีตั้งแต่เริ่มต้นในฐานะของตรีกาย เธอจะประสบ กับมันโดยตรง เป็นการตื่นขึ้นมาเห็น ไม่ใช่ลักษณะแห่งความคิดรวบยอด ซึ่งไม่สุดโต่งในด้านมีหรือไม่มี เที่ยงแท้ ( สัสสตทิฏฐิ ) หรือ สูญ ( นัตถิก ทิฏฐิ ) แม้ว่าจะประสบและเข้าใจโดยเป็นความรู้แจ้ง ความตื่น ความว่าง และความแบ่งแยกไม่ได้ การตื่นรู้นี้ไม่สามารถสรรหาถ้อยคำใด ๆ มา เปรียบเที่ยบได้ และมันอยู่นอกระเบียบแห่งการบรรยายด้วยคำ สภาวะนี้ การตื่นในความจริงและการเห็นแจ้งตามธรรมชาตินี้คือวิปัสสนาที่แท้


    สิ่งแรกสุด คนสามัญไม่เคยแม้ชั่วขณะที่จะแยกจากการรู้แจ้งตามธรรมชาติ นี้ แต่เนื่องจากไม่เคยมีผู้ชี้แนะและให้พร เขาเหล่านั้นจึงไม่ตระหนักถึงสิ่งนี้ นอกจากนี้สิ่งนี้ก็ยังมีอยู่ในสมถะและเป็นผู้สังเกตภาวะแห่งการคิดหรือความ สงบ มันเป็นผู้กระทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งหมด มันก็เหมือนกับเธอไม่เห็น ตัวเอง กระบวนการแห่งความคิดในคนธรรมดาก็ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจาก ภาวนาในรูปแห่งการคิด นอกจากนี้ประสบการณ์แห่งสมถะตลอดจนความ สงบจากการคิดก็ไม่ใช่สิ่งอื่นนอกจากวิปัสสนาแสดงตัวในลักษณะเช่นนั้น แต่เพราะไม่เคยเห็นแก่นแท้แห่งจิตที่ปราศจากมโนคติ สิ่งเหล่านี้กลับกลาย เป็นความหยุดนิ่งธรรมดาไม่ใช่หนทางสู่การตรัสรู้ ภายหลังจากที่เธอตระ หนักถึงแก่นแท้ของเธอ จะไม่มีภาวะหนึ่งใด ไม่ว่าจะเป็นการหยุดนิ่งหรือ การคิดซึ่งไม่เป็นวิปัสสนาหรือ มหามุทรา Lorepa กล่าวว่า



    " เมื่อเธอไม่ทำใจให้หยุดเฉยเสียแล้ว
    ไม่ว่าสิ่งใดปรากฏเป็นอายตนะทั้งหก
    ทุกสิ่งล้วนเป็นประสบการณ์สู่การหลุดพ้นทั้งสิ้น
    เธอรู้หรือไม่นักภาวนา"




    เอกภาพแห่งสมถะและวิปัสสนา


    โดยทั่วไปแล้วสมถะหมายถึงอยู่ในภพอันสงบ สดใส และปราศจากการคิด ภายหลังจากที่ความคิดสลายลง วิปัสสนาหมายถึงการเห็นแจ้งแก่นแท้แห่ง จิต ซึ่งเป็นความรู้จักตัวเอง ไม่มีการกระทำ เป็นอิสระจากการขยายหรือ การลดทอน ความหมายอื่น เช่น สมถะหมายถึงการปราศจากความคิด และ วิปัสสนาหมายถึงการรู้แก่นแท้แห่งความคิด มีคำอธิบายอื่น ๆ มากมาย แต่ความจริงแล้วไม่สามารถก้าวพ้นความเป็นเอกภาพ ( แบ่งแยกจากกันเป็น ส่วน ๆ ไม่ได้ - ผู้แปล ) ระหว่างสมถะและวิปัสสนา ความหยุดนิ่งหรือ การคิดล้วนก็เป็นกิจกรรมของจิต การตระหนักรู้แก่นแท้แห่งจิตไม่คิดว่า คิดหรือหยุดนิ่งเป็นธรรมชาติแห่งวิปัสสนา


    สมถะไม่ใช่การเกี่ยวข้องกับการเกาะติดกับอารมณ์ภายนอกทางอายตนะ ทั้งหก วิปัสสนาเป็นการรับรู้ที่ไม่มีการข้องขัด ดังนั้น ภายในขณะแห่ง การรับรู้ ย่อมมีเอกภาพแห่งสมถะและวิปัสสนาอย่างสมบูรณ์


    การเห็นแก่นแท้ของความคิดอย่างชัดแจ้งฉับพลันเป็นสมถะ ความเป็น อิสระอย่างธรรมชาติและปราศจากมโนคติเป็นวิปัสสนา ดังนั้น ในขณะ แห่งการคิด สมถะและวิปัสสนาก็ยังเป็นเอกภาพกัน


    นอกจากนี้ เมื่อเห็นแก่นแท้โดยปราศจากหลงไปกับอารมณ์รบกวน แม้ว่า จะรุนแรง เป็นสมถะ ความตื่นรู้ซึ่งรู้เห็นอารมณ์ และอารมณ์รบกวนอยู่ ในความว่าง ไม่แยกจากกันเรียกว่า วิปัสสนา ดังนั้นเอกภาพแห่งสมถะ และวิปัสสนาจึงไม่แยกจากกันแม้เมื่อมีอารมณ์รบกวนที่รุนแรง


    สรุป


    แก่นแท้แห่งจิตไม่ปรากฏเป็นการหยุดนิ่งหรือการคิด การอุบัติ การ สิ้นสุด ดีหรือชั่ว ปรากฏการณ์ทั้งปวงคือการแสดงออกแห่งจิตของ เธอ ทำนองเดียวกัน สมถะและวิปัสสนาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจาก คือเอกภาพที่แยกจากกันไม่ได้ อย่างไรก็ดี เพื่อให้คนเข้าใจได้ง่าย จึงสอนกันในชื่อและประเภทต่าง ๆ


    สมถะโดด ๆ จึงถูกระบุว่าไม่เพียงพอสำหรับมหามุทราภาวนาเพราะ


    ฌานของพวกนอกพุทธศาสนาหรือแม้ของอนุพุทธะหรือปัจเจกพุทธะ หรือของพวกเทวะจึงจัดเป็นของสามัญ ดังนั้น จึงไม่ใช่หนทางที่แท้ ของการเพิ่มพลังชนิดที่ ๔ ( empowerment of mantra ) โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ในมหามุทรา การยึดมั่นกับความหยุดนิ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ มหามุทราเป็นโอกาสแห่งการปฏิบัติต่อทุกสิ่งในฐานะธรรมกาย ถ้ายึด ถือความหยุดนิ่งว่าดี ว่าเป็นภาวนา และเห็นการคิดว่าเลว ไม่ใช่การ ภาวนานั้น ไม่สอดคล้องกับการเห็นว่าทุกสิ่งคือธรรมกาย หรือการ ปล่อยทุกสิ่งไว้โดยปราศจากเสกสรรค์ปรุงแต่ง
     
  16. thunderstrom

    thunderstrom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    853
    ค่าพลัง:
    +62
    พี่เทพครับ ทำยังไงให้มันรวมกันได้แล้วเก็บไว้อ่านใน ebook มีค่ามาก อยากเก็บไว้ทบทวนตอนว่างงานครับ
     
  17. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    พยายามรวมนะครับ คำภีร์มหายานวัชรยานถูกแปลมายุคหลังนี่เอง นะจ๊ะ นะจ๊ะ
    ถ้่าเป็นรูปแบบ e-book ก็ดีนะ แต่ว่า ตอนนี้ยังไม่เป็นหมวดหมู่ ข้าเจออันไหนก็เอามาลงอันนั้นแล

    ในมุมมองที่ข้ามี เห็นว่า คำภีร์เถรวาทของบ้านเรา เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องพระโพธิสัตว์ หรือพุทธภูมิน้อย ซึ่งคำภีร์ฝ่ายมหายานสามารถให้เนื้อหาด้านพุทธภูมิที่มากกว่า ในเมืองไทยก็มีไม่กี่ท่านที่แปลสู่ภาษาไทยจึงตั้งใจรวบรวมไว้ เรื่อยๆ
    นะจ๊ะ นะจ๊ะ
     
  18. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ประสบการณ์และการรู้แจ้ง

    [​IMG]

    ประสบการณ์และการรู้แจ้ง


    ภายหลังจากพากเพียรจนจิตตั้งมั่นในความเป็นกลางโดยไม่เกิดความ ผิดพลาด หรือทิฏฐิและการปฏิบัติที่ผิด และไม่ไถลออกนอกทางหรือ หันเหไปทางอื่น และกำกับความรู้ด้วยสติ โดยไม่ปล่อยให้เสียเวลา อยู่กับความสับสนอย่างคนทั่ว ๆ ไป ท่านจะได้รับประสบการณ์ และ ความรู้แจ้ง ตามระดับแห่งอินทรีย์หรืออัธยาศัย

    โดยทั่วไป เพราะมีระบบต่าง ๆ กันมากมายตามแต่อาจารย์ผู้ทรงคุณ จึงมีระบบแบ่งประสบการณ์และความรู้แจ้งที่แตกต่างกันมากมาย บ้างก็ว่าภายในแบบโยคะสี่ ภายหลังบรรลุถึง " ความเรียบง่าย " จะ ไม่มี " ภาวนา " หรือ " หลังภาวนา " ที่แยกกันได้ บ้างก็แยกเป็น " ภาวนา " " หลังภาวนา " สำหรับประสบการณ์ และความรู้แจ้งแต่ ละอย่าง ๆ บ้างก็มี " ภาวนา " หรือ " หลังภาวนา " สำหรับโยคะ แต่ละขั้น แท้จริงแล้ว จึงมีระบบต่าง ๆ กันมากมาย

    ทำนองเดียวกัน มีระบบต่าง ๆ มากมายเพื่อจัดประเภท ประสบการณ์ และรู้แจ้ง บ้างก็ว่าระดับทั้งสามแห่งเอกัคคตา เป็นแค่ประสบการณ์ ไม่ใช่การรู้แจ้ง คำสอนต่าง ๆ มีรายละเอียดต่าง ๆ มากมายอย่างเช่น ยอมรับว่าเห็นแก่นแท้แห่งจิตเมื่อถึงระดับ " ไม่ภาวนา " และอื่น ๆ


    เนื่องจากคำสอนต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นการแสดงถึงความกรุณาที่จะฝึกคน ที่มีอินทรีย์ อธิมุตติ ( อัธยาศัย ) และสภาพแห่งจิตที่ต่างกัน พูดด้วยความ เคารพ เธอไม่ต้องไปถือคำสอนหนึ่งว่าเลิศเลอ ผู้เขียนไม่ได้เข้าถึง สังเกตุ เห็น หรือเข้าใจสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ดังนั้น จึงไม่สามารถตั้งบรรทัดฐาน ว่าอะไรถูกประเด็นหรือถูกต้อง อะไรไม่ถูกประเด็นหรือไม่ถูกต้อง นั่น เปรียบเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิดผู้ไม่สามารถแยกสีที่สวยและน่าเกลียด ได้ เมื่อเทียบกับความเข้าใจของผู้เขียนแล้ว ผู้เขียนจะบรรยายระดับชั้น เหล่านี้โดยสังเขป



    ภาวนาและหลังภาวนา


    ศัพท์ " ภาวนา " และ " หลังภาวนา " มีอยู่ระหว่างการพัฒนาทั้งสองขั้น ซึ่งได้แก่ " ขั้นพัฒนา " และ " ขั้นเสร็จสมบูรณ์ " สิ่งนั้นคืออะไร " ภาวนา " หมายถึงมุ่งอยู่ที่อารมณ์แห่งการปฏิบัติโดยปราศจากการผสมผสานกับกิจ กรรมอื่น ๆ และ " หลังภาวนา " หมายถึงการภาวนาขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่นระหว่างพักปฏิบัติ สภาวะจิตขณะนั้นเรียก " ปัญญาผลลัพธ์ " และ " สัญญาผลลัพธ์ " โดยทั่วไปมักเรียกกันอย่างนี้ นอกจากนี้ ในกรณีเช่นนี้ เราเรียก " ภาวนา " เมื่อผู้เริ่มเรียนอยู่ในการฝึกปฏิบัติชนิดจริงแท้ และ " หลังภาวนา " เมื่อเขาทำกิจกรรมเช่น เดิน ไปโน่นไปนี่ ทานอาหาร นอน และอื่น ๆ สำหรับนักปฏิบัติจริงจัง " ภาวนา " และ " หลังภาวนา " แยก จากกันไม่ได้ และเป็นอิสระจากความวอกแวกและความสับสน การ ปฏิบัติเป็นไปอย่างต่อเนื่อง


    ประสบการณ์และการรู้แจ้ง


    เพื่อให้เข้าใจคำว่า ประสบการณ์และการรู้แจ้ง " ประสบการณ์ " หมายถึง การปฏิบัติเพื่อคุณธรรมระดับสูงหรือต่ำ ซึ่งไม่ผสมผสานกับแก่นแท้แห่ง แห่งจิต และมีทัศนะแห่งการกำจัดบางสิ่ง ( เช่นกิเลส ) และบริวาร หรือ อาจกล่าวว่า " ประสบการณ์เป็นการรักษาไว้ซึ่งทัศนะแห่งผู้ภาวนาและ วัตถุแห่งภาวนา " และ " การรู้แจ้งหมายถึงการปฏิบัติและจิตไม่ได้แยก จากกัน แต่แสดงออกมาเป็นแก่นแท้แห่งจิต ซึ่งปรากฏผลเป็นผลที่แน่นอน " กล่าวสั้น ๆ สองแง่มุมนี้ปรากฏไม่เฉพาะในบริบทแห่งการภาวนา แต่ยัง หมายไปถึงส่วนใหญ่แห่งการปฏิบัติมรรคด้วย เช่น คุรุโยคะ กรุณาและ โพธิจิต ระดับแห่งการพัฒนา และอื่น ๆ


    ตัวอย่างจะช่วยให้เข้าใจ เพราะได้ยินเรื่องราวหรือความคิดเกี่ยวกับวัชร- อาสนะ ( ท่าแห่งการบริหารกายแบบโยคะอย่างหนึ่ง - ผู้แปล ) เมื่อนึก ภาพและเรื่องราวในใจ และสามารถอธิบายผู้อื่นได้ นี่เรียก " สุตมยปัญญา " เมื่อมองจากที่ไกล ๆ หรือมองที่แผนผังทำให้เข้าใจโดยคร่าว ๆ เรียก " ประสบการณ์ " เมื่อปฏิบัติเอง เห็นเองอย่างละเอียดลออ และเข้าใจ อย่างลุมลึกอย่างแนบแน่นเกี่ยวกับมัน เรียกว่าการเกิดแห่ง " การรู้แจ้ง "



    บุคคลสามประเภท


    หัวข้อเหล่านี้จะเข้าใจหรือไม่ขึ้นกับระดับจิตใจของบุคคล ซึ่งสามารถ แบ่งออกเป็นสามจำพวก บุคคลจำพวกที่บังเกิดความเข้าใจ " ประสบ- การณ์ " และ " รู้แจ้ง " โดยเพียงแค่เห็นสัญลักษณ์ หรือสามารถทำให้ คุณภาพสมบูรณ์ได้ในทันทีโดยไม่ต้องปฏิบัติยากลำบาก เรียก " พวกฉับ พลัน " นี้คือพวกที่ได้ " รู้แจ้ง " ด้วยการฝึกฝนในครั้งก่อน บุคคลพวก ที่มีคุณภาพแห่งประสบการณ์และ " การรู้แจ้ง " ขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่มีขั้นตอน ที่แน่นอน และไม่สามารถจัดเป็นชั้นสูงหรือชั้นต่ำได้ เรียก " พวกข้ามขั้น ตอน " อีกพวกคือค่อยเลื่อนชั้นเป็นขั้นตอนแน่นอน เรียก " พวกค่อยเป็น ค่อยไป " ซึ่งรวมประชาชนทั่วไปด้วย เนื่องจากบุคคลสองกลุ่มแรก สามารถรวมในพวกมีลำดับแห่งพวกค่อยเป็นค่อยไป จึงจะอธิบายวิธี ปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป



    โยคะสี่


    ยานสามัญสอนว่าบุคคลบรรลุพุทธะได้โดยภูมิทั้งสิบ และมรรคทั้งห้า แต่ที่นี่จะอธิบายการปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป คือโยคะสี่โดยเฉพาะ สายดรักโป กาจู ( dakpo kagyu ) แต่ละระดับยังแบ่งย่อยออกเป็น ชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสูง ผลทั้งหมดจึงเป็น ๑๒ ระดับชั้น ซึ่งเป็นสาระแห่งคัมภีร์ ชื่อ ตันตระแห่งความลับสุดหยั่งรู้ ซึ่งอรรถาธิบายโดย lord Dawo Shonnu มีใจความดังนี้


    โดยสีหสมาธิ
    จิตกระจ่างชัดเนื่องจากเอกัคคตาจิตที่ไม่หวั่นไหวแผ่รัศมีไปทั่ว
    มันปลุกปัญญาแห่งการรู้โดยตนเองในตนเองจากภายใน
    และจากอัพยาที่มีเสถียรภาพ เธอพ้นจากทุกข์ในอบายภูมิ

    ระดับสอง สมาธิแห่งมายา
    สืบเนื่องจากภาวนาที่ยิ่งใหญ่ชนิดเรียบง่าย
    ปรากฏสิ่งที่คาดคิดไปถึงไม่ได้เป็นพลังแห่งสมาธิ
    และบรรลุถึงอัคคี เธอเป็นนายเหนือการเกิดใหม่


    ระดับสาม สมาธิแห่งการเคลื่อนไหวที่กล้าหาญ
    ความหลากหลายกลายเป็นหนึ่งรส บรรลุการหยั่งรู้ถึงภูมิทั้งสิบ
    เธอบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นในฐานะแห่งชินบุตรในกาลทั้งสาม
    และเมื่อบรรลุถึงอนุตระ ความก้าวหน้าจะไม่มีการชะงัก


    ระดับสี่ วัชรสมาธิ
    เป็นความพากเพียรปฏิบัติ " ไม่ภาวนา "
    ปัญญาของเธอหยั่งรู้ถึงพุทธภูมิ
    สิ่งที่ปรากฏเองโดยปราศจากความพยายามคือคุณอันสูงสุด




    ระดับและความหมายได้อธิบายอย่างกว้างขวางใน ลังกาวตารสูตร เช่นกัน อาจารย์ศานติปะได้อธิบายสิ่งเหล่านี้อย่างละเอียดโดย การ อธิบายตาทั้งห้า สัพพัญญุตาญาณ และอื่น ๆ และนอกจากนี้ ตาม หลักมหามุทราในนิกายนิงมะ คุรุรินโปเชยังได้สอนความหมายเหล่า นี้ ตามอย่างรัดกุม ใน Nekyi sintig ท่านได้อธิบายว่า




    เอกัคคตาจิต
    ด้วยใจที่มีคุณธรรมและความชั่วถูกชำระให้บริสุทธิ
    ท่านเลิกละอกุศลกรรมโดยอัตโนมัติ


    เรียบง่าย
    แก่นแท้แห่งจิตเป็นอิสระจากสิ่งปรุงแต่ง
    ท่านละเลิกอุปาทาน แห่งผู้รู้และสิ่งถูกรู้


    หนึ่งรส
    เมื่อทุกปรากฏการณ์คือ ธรรมกาย
    ท่านเลิกละความคิดรวบยอดต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ


    และไม่ภาวนา
    โดยรู้แจ้งว่าสังสารและนิพพาน
    ว่างเปล่าจากความเป็น " ตัวตน "





    ท่านเลิกละความยึดถือในสิ่งคู่ทั้งปวง ดังนั้น ท่านจึงสอนโยคะสี่ผสานปธานสี่ ยิ่งว่านั้น คุรุรินโปเช สอนว่า

    อัคคี คือการเห็นแจ้งธรรมชาติแห่งจิต อนุตตระ คือการเห็นความไม่เกิด ในฐานะแห่งธรรมกาย โดย อัพยา ท่านอยู่เหนือการปฏิเสธสังสาระและรับนิพพาน คุณวิเศษ คือทั้งสังสาระและนิพพานหลอมรวมกันในจิตหนึ่ง

    ในคำสอนนี้ได้รวมโยคะสี่และความมั่นใจสี่ประการแห่งมรรคแห่งการ ผสม ซึ่งความหมายก็เหมือนกับข้างบน

    ต่อไปจะอธิบายหนทางก้าวหน้า ซึ่งความหมายที่แท้ของโยคะสี่นี้แสดง ออก และวิธีที่ภูมิทั้งสิบและหนทางทั้งห้าในระบบพระสูตรบรรลุความ สมบูรณ์



    [​IMG]


    เอกัคคตา


    เมื่อกุลบุตรได้ละความยึดมั่นถือมั่นในชีวิตและสำคัญหมายในอาจารย์ ของตนว่าเป็นดังพุทธะ ได้รับการสั่งสอน และอาศัยอยู่ในที่อันสงัด เขาอยู่เป็นสุข ปลอดโปร่งใจ ไร้ความคิดฟุ้งซ่าน และจิตมีความตั้งมั่น ยังเก็บความรู้สึกไว้ว่า " การภาวนา เป็นการหลุดพ้นจากความคิดโดย การตระหนักรู้ " นี้เป็นปฐมเอกัคคติ ( เอกัคคตาชั้นต้น )

    แม้ว่าบุรพจารย์ในสายปฏิบัติ จะจัดเอกัคคตาทั้งสามระดับว่าเป็นสมถะ สำหรับความเข้าใจของฉัน ต้องมีบุคคลระดับต่าง ๆ กัน นอกจากนี้ สำหรับผู้รู้สภาวะดั้งเดิม ธรรมชาติที่แท้คือทั้งสมถะและวิปัสสนาจะ ปรากฏเป็นหนึ่งเดียวกันเสมอ ดังนั้น ควรเข้าใจในที่นี้ว่าสมถะมีวิปัสสนา ครอบคลุมอยู่ด้วย ปัญญาผลลัพธ์มีความเด่นอยู่ที่ความยึดมั่นในตัวตน ( แข็งกระด้าง ) ระหว่างฝันจะไม่ต่างจากบุคคลสามัญสามัญมากนัก กล่าวย่อ ๆ เพราะท่านเพิ่งเริ่มปฏิบัติ มีความขึ้นลงมากมายในความ ยากง่ายในการดำรงการปฏิบัติ


    ในระดับมัชฌิมเอกัคคตา ( เอกัคคตาชั้นกลาง ) ท่านสามารถดำรงการ ปฏิบัติไว้ได้นานเท่าที่ท่านต้องการ บางครั้งสมาธิเกิดขึ้นแม้จะไม่ภาวนา ปัญญาผลลัพธ์ มีความยึดมั่นในตัวตน ( และแข็งกระด้าง ) น้อยกว่า ดังนั้น การรับรู้จึงเป็นเปิดกว้างมากขึ้น และการสั่งสมคุณธรรมก็เกิดขึ้น แม้ขณะหลับ กล่าวง่าย ๆ เวลาแห่งการภาวนาก็เป็นการภาวนา ( จริง ๆ )


    หลังจากอุดมเอกัคคตา ( เอกัคคตาชั้นสูงสุด ) ตลอดวันและคืน การ ภาวนากลายเป็นประสบการณ์ที่ไม่มีขีดคั่น ประกอบด้วย ความสุข ความชัดเจน ความสว่างไสว และปราศจากวิตกวิจาร ไม่ต้องแบ่งปัน ประสบการณ์ผลลัพธ์ และปัญญาผลลัพธ์ สมาธิมีความต่อเนื่องโดย ตลอด ท่านเป็นอิสระจากเครื่องเสียดแทงทั้งภายในและภายนอกและ ไม่เกี่ยวข้องกับความยึดติดในรูปเสียง ฯลฯ คำสอนยังกล่าวว่า ท่าน บรรลุอภิญญาและอิทธิปาฏิหาริย์ อย่างไรก็ดี ท่านยังไม่พ้นจากการ ยึดติดในความดีเลิศ และไม่หลุดพ้นจากโซ่ตรวนแห่งมโนคติที่ยึดติด ในการภาวนา


    มีความแตกต่างกันมากมายในด้านความสามารถในหมู่ผู้ปฏิบัติเอกัคคตา เช่นเดียวกันความขยันของแต่ละคน กล่าวได้ว่าเธอจะเห็นแก่นของเอกัคคตา หรือไม่ก็ขึ้นกับว่าเธอได้ประสบและมั่นใจในการตื่นรู้ในภาวะแห่งสุข สว่างไสว และไร้คิดหรือไม่ ทำนองเดียวกันความสมบูรณ์ในการปฏิบัติ ขึ้นกับว่าประสบการณ์นี้ต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว ความคิดจะกลายเป็น การภาวนาหรือไม่ขึ้นกับว่าจะมีสติกำกับอยู่หรือไม่ คุณภาพขึ้นกับว่า กระแสแห่งจิตมีความอ่อนโยนแค่ไหน ความแพร่กระจายแห่งพีชะแห่ง รูปกายขึ้นกับว่าความกรุณาที่ปราศจากความยึดติดเกิดขึ้นหรือไม่ใน ระหว่าง " ปัญญาผลลัพธ์ " ทักษะต่อความสัมพันธ์ขึ้นกับเธอสามารถ เชื่อมโยงระหว่างเหตุและผลได้ดีหรือไม่ สิ่งเหล่านี้คือมาตรวัดที่สอน โดยบูรพาจารย์สายกาจู



    เรียบง่าย



    เมื่อได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับเอกัคคตา ถ้าเธอยังทุ่มเทในการปฏิบัติ โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของความเย่อหยิ่งทะนงตน และยึดติดกับภาวะอัน วิเศษบางอย่าง เธอจะเข้าถึงความเรียบง่าย ( หมายความว่าขั้นนี้ผู้ปฏิบัติ จะเลิกสนใจสิ่งวิเศษมหัศจรรย์ใด ๆ กลับมาสู่ความเรียบง่ายตามธรรมดา - ผู้แปล ) พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เธอจะพบอย่างถูกต้องว่าแก่นแท้ตามธรรม ชาติของจิตเป็นอิสระจากการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไป ในระหว่าง " ปัญญาผลลัพธ์ " เธอจะเป็นอิสระเมื่อกำกับสภาวะจิตด้วยความมีสติ ซึ่งจะนำเธอกลับสู่การภาวนา อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่กำกับไว้ด้วยความมี สติ ภาวะ " หลังภาวนา " จะกลายเป็นความยึดมั่นและแข็งกระด้าง ระหว่างฝันก็ไม่แน่ว่า เธอจะมีความสับสนหรือไม่ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ความเรียบง่ายชั้นต้นคือภาวะเมื่อเธอยังยึดมั่นกับความว่างอยู่บ้าง เช่น การคิดว่า " ปรากฏการณ์ใด ๆ ของการดำรงอยู่ การแสดงออกไม่ใช่ สิ่งอื่นนอกจากความว่าง "


    เมื่อถึงความเรียบง่ายชั้นกลาง ความยึดมั่นในความว่างและความยึดถือ ในความคิดว่าเป็นความจริงจะถูกชำระให้บริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม ความ ยึดมั่นถือมั่นต่อปรากฏการณ์ภายนอกว่าจริงยังไม่ถูกขจัดออกจนหมดสิ้น ระหว่าง " ปัญญาผลลัพธ์ " และระหว่างหลับ ความยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้น เป็นครั้งคราว และเธอก็มีความขึ้นลงในกรปฏิบัติด้วยเช่นกัน


    ความเรียบง่ายชั้นสูงสุดเกิดเมื่อได้ตัดความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับสังสาระและ นิพพาน ภายใน ภายอก ปรากฏการณ์และจิต และอื่น ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ ดั้งนั้น เธอเป็นอิสระจากความยึดมั่นต่อภาวะ เช่น " ความมั่นหมาย " " ไม่มั่นหมาย " " ว่าง " " ไม่ว่าง " และอื่น ๆ การภาวนาในระหว่างกลาง วันจะผ่านไปโดยราบเรียบไม่มีอาการสะดุดเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ความยึด มั่นถือมั่นมักเกิดในระหว่างฝัน อย่างไรก็ตาม สติยังไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น การมีสติที่คมชัดจึงเป็นสิ่งจำเป็น กล่าวย่อ ๆ ในระหว่างความเรียบง่ายนี้ เพราะว่าท่านประสบความว่างเป็นส่วนใหญ่ และมีประการณ์แห่งความ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ ว่าจริงแท้ ความอุทิศตนต่อการปฏิบัติ สัญญา ที่บริสุทธิ์และความกรุณาอาจลดลง การไม่ตกเป็นเหยื่อของความว่างที่เกิด ขึ้นมาเป็นศัตรูจึงจำเป็นอย่างยิ่งยวด


    ณ จุดนี้ การเห็นแก่นสารของความเรียบง่ายขึ้นกับว่า ความเศร้าหมอง หรือความเชื่อมั่นในประสบการณ์ที่ยึดติดกับความว่าง จะถูกชำระล้างให้ บริสุทธิ์ได้หรือไม่ ความสมบูรณ์แห่งการปฏิบัติขึ้นกับว่า เธอจะเป็นอิสระ จากความหวังและความกลัว หรือชำระล้างทัศนะผิด ๆ เกี่ยวกับความหมาย มั่นและความว่างได้หรือไม่ ฯ ความคิดจะปรากฏขึ้นในฐานะเป็นการภาวนา หือไม่ขึ้นกับว่า ในระหว่างการภาวาเพื่อเห็นโฉมหน้าที่แท้แห่งความคิด ความรู้แจ้งว่า ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากความว่าง เกิดขึ้นในระหว่างประสบ การณ์และระหว่างหลับหรือไม่ จะเชี่ยวชาญในการแพร่เมล็ดพันธุ์แห่งรูป กายได้แค่ไหนขึ้นกับว่า สามารถจัดการให้โพธิจิตและความบันดาลใจ เกิดร่วมกันได้แค่ไหน ภายหลังจากที่รู้เหตุและผลของความว่างแล้ว เธอ ควรรู้จุดแบ่ง



    หนึ่งรส


    หลังจากสิ้นสุดการรู้แจ้งความเรียบง่าย เธอเข้าใจความหมายและความ แตกต่างของความเป็นคู่ เช่น สังสาระและนิพพาน ปรากฏการณ์ความว่าง การริเริ่มและความสิ้นสุด สัมพันธ์และสมบูรณ์และอื่น ๆ ว่าล้วนเป็น หนึ่งรสในมหามุทรา แม้ว่าเธอจะสามารถใช้ทุกสิ่งในการปฏิบัติสู่การรู้แจ้ง ได้ แต่หากยังคงยึดมั่นกับประสบการณ์เหล่านี้หรือกับความรู้แจ้งเอง นี่ เป็นหนึ่งรสขั้นต้น


    เมื่อได้ชำระความยึดมั่นในสิ่งเหล่านี้แล้วเธอรู้แจ้งประสบการณ์และจิต ว่าเป็นสิ่งแยกกันไม่ได้ ไม่มีแม้ความยึดมั่นในประสบการณ์และความรู้ แจ้ง ( (จิตรู้) ที่ไปรู้แจ้งประสบการณ์ ) นี้เป็นหนึ่งรสชั้นกลาง คือ เป็น อิสระจากผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้


    โดยกำลังทวีคูณที่เห็นประสบการณ์มากมายมีหนึ่งรส แสดงออกซึ่ง ปัญญาอย่างทวีคูณ นี้คือหนึ่งรสขั้นสูง


    บูรพาจารย์ในสายปฏิบัติ ได้สอนกันว่า " ภาวนา " และ " หลังภาวนา " จะผสมปนเปกันที่จุดนี้ กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ปรากฏการณ์หรือความคิด ใด ๆ ที่ปรากฏขึ้นเมื่อมองในแง่มุมของแก่นแท้แล้ว มันคือธรรมกายหรือ ธรรมภูตแต่ดั้งเดิมนั่นเอง แต่ในแง่มุมที่มันแสดงออกหรือปรากฏต่อคน ที่ยังหลงอยู่ มันก็ยังคงรักษาภาวะ เช่น ความดำรงอยู่อย่างเป็นตัวตน และความยึดมั่นมั่นในภาววิสัย จิตวิสัยชั่วขณะที่หลุดพ้นคือชั่วขณะที่มี สติตื่นรู้ด้วยตนเอง ซึ่งไม่พบในโยคะชั้นต่ำ


    ขณะดูแลรักษาความคิดด้วยสติในกรณีนี้ หมายความว่า ยอมให้สิ่งใด ๆ เกิดขึ้นโดยไม่ต้องเจริญสติหรือไประลึกรู้แก่นสารอะไรจากที่อื่น ๆ อีก สิ่งนี้ขึ้นกับว่าได้รู้จักแก่นสารของหนึ่งรสหรือยัง การปฏิบัติจะสมบูรณ์ หรือไม่ขึ้นกับว่าความยึดมั่นถือมั่นในวิธีการ " แก้อารมณ์ " ยังคงอยู่ หรือหนนึ่งรสเกิดขึ้นเป็นทวีคูณหรือไม่ " ความคิดเกิดขึ้นในฐานะที่เป็น การภาวนา " ขึ้นอยู่กับว่าสัญญาทั้งหกซึ่งเกิดขึ้นแล้วอยู่เหนือความผูกมัด และความหลุดพ้นหรือไม่ คุณภาพของการภาวนาขึ้นอยู่กับว่าปัญญา เป็นนายต่อเหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอกและอิทธิปาฏิหาริย์หรือไม่ ความเป็นนายต่อสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับว่า หนึ่ง มีการเกิดแห่งหนึ่งรส อย่างทวีคูณ โดยการรวมตัวกันของจิตและปรากฏการณ์หรือไม่ สอง เหตุแะผลของการเป็นนายต่อปรากฏการณ์ได้นำมาสู่มรรควิถีหรือไม่ ความแพร่หลายของพีชะแห่งรูปกายขึ้นอยู่กับว่าทรัพย์คือการทำประ โยชน์แก่ผู้อื่น สามารถเกิดขึ้นโดยพลังแห่งความกรุณาชนิดที่ปราศจาก ความพยายามและความแบ่งแยกหรือไม่ มีผู้กล่าวถึงสิ่งเหล่านี้มากมาย
     
  19. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ไม่ภาวนา


    เมื่อผ่านพ้นสิ่งเหล่านี้ เธอก็ได้ปฏิบัติหนึ่งรสอย่างสมบูรณ์แล้ว ปรากฏ การณ์ทวิลักษณ์เช่นภาวนาหรือไม่ภาวนา ฟุ้งซ่านหรือไม่ฟุ้งซ่าน ได้ถูก ชำระให้บริสุทธิ์ และเธอก็ได้หลุดพ้นสู่รากเหง้าดั้งเดิมซึ่งประสบการณ์ ทั้งหลายคือการภาวนา " ไม่ภาวนาชั้นต้น " คือ การเกิดขึ้นแห่งความยึด มั่นถือมั่นซึ่งเป็นความหลงและละเอียดอ่อนระหว่างหลับเช่นเดียวกับ ระหว่าง " ประสบการณ์ผลลัพธ์ "


    " ไม่ภาวนาชั้นกลาง " คือเมื่อความยึดมั่นถือมั่นซึ่งเป็นความหลงเหล่านี้ ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งเวลากลางวันและกลางคืนกลาย เป็นการภาวนาที่ต่อเนื่องและยิ่งใหญ่ และจึงหยั่งรู้ถึงแก่นแท้แต่ดั้งเดิม แต่เพราะความคงอยู่ของวิญญาณห้า ซึ่งปกปิดปัญญาไว้ คือความเศร้า หมองของปัญญาชนิดทวินิยม ดังนั้น เมื่อยังไม่เป็นอิสระจากสิ่งนี้จึงเรียก ว่า ไม่ภาวนาชั้นกลาง


    เมื่อความไม่รู้ทางด้านภาวะไร้คิด ซึ่งคือความมัวซัวจากความรู้แบบทวินิยม ซึ่งคล้ายเศษของอาลยวิญญาณได้รับการชำระจนบริสุทธิ์ ความสว่างไสว แห่งแม่และลูกหลอมรวมกัน และทุกสิ่งสุกงอมสู่ปัญญาและความกรุณา ที่แผ่ขจรขจายไปทั่วทุกทิศทาง คือธรรมกายอันเป็นธรรมชั้นเอก นี้คือ " ไม่ภาวนาชั้นสูงสุด " ซึ่งเรียกว่า พุทธภาวะที่สมบูรณ์สุด เป็นการได้รับ ผลชั้นสูงสุด


    การเห็นสาระของการไม่ภาวนาไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกเหนือจากการเห็นแจ้ง สิ่งที่เคยเห็นในขั้นหนึ่งรส และดังนั้นจึงขึ้นกับว่า จิตซึ่งเป็นผู้มีประสบ การณ์ต่ออารมณ์ภาวนาหรือความเคยชินต่าง ๆ ถูกชำระให้บริสุทธิ์หือไม่ ความสิ้นสุดแห่งการไม่ภาวนาขึ้นอยู่กับว่า ความเศร้าหมองของอวิชชา แนวโน้มแห่งปัญญาแบบทวินิยมหมดสิ้นกำลังด้วยปัญญารู้แจ้งหรือไม่ ความคิดเกิดในฐานะที่เป็นภาวนาหรือไม่ ขึ้นกับว่าแนวโน้มของอาลยะ ละลายกลายเป็นปัญญาแห่งธรรมธาตุหรือไม่ การเกิดขึ้นของคุณภาพขึ้น กับว่ากาย ( วัตถุ ) แสดงเป็นหรือหลุดพ้นสู่กายรุ้ง จิตสู่ธรรมกาย และ ภพสู่ความบริสุทธิ์สิ้นเชิง หรือไม่ พีชะแห่งรูปกายจะเกิดขึ้นจริง ขึ้นกับ ว่าธรรมจักรอันประดับด้วยกาย วาจา ใจ บรรลุสวัสดิภาพของสรรพสัตว์ ทั่วสากลจักรวาลหรือไม่ การชำระล้างปรากฏการณ์สัมพัทธ์ทั้งหลายสู่ ธรรมธาตุ ขึ้นกับว่าได้ทำความสมบูรณ์แห่งพุทธภาวะอันสูงสุดหรือไม่ บุรพาจารย์สายกาจูได้บรรยายเรื่องเหล่านี้และแยกแยะไว้อย่างเด่นชัด


    [​IMG]

    สรุป


    เพื่อสรุปให้รวบรัด เอกัคคตาหมายถึง สามารถดำรงการภาวนาได้นาน เท่าที่ต้องการ เรียบง่าย หมายถึงรู้ว่าธรรมชาติที่แท้คือจิตธรรมดา และ รู้ว่ามันปราศจากฐานที่ตั้งหรือที่อิงอาศัย หนึ่งรสหมายถึง หลุดพ้นจาก ความยึดมั่นถือมั่นด้วยทวินิยมในสังสาระ และนิพพานด้วยความตื่นรู้ ไม่ภาวนาหมายถึง ความเศร้าหมองทั้งหลาย เพราะอกุศลกรรมและ ความเคยชิน ถูกชำระให้บริสุทธิ์ สาระสำคัญของโยคะสี่เป็นอย่างนี้


    กล่าวอย่างเฉพาะเจาะจง ความแตกต่างระหว่างภาวนาและไม่ภาวนา ของเอกัคคตาคือเป็นภพหรือไม่ ความแตกต่างระหว่างภาวนาและ หลังภาวนาของเรียบง่าย คือมีสติหรือไม่ ระดับเหนือหนึ่งรส ภาวนา และหลังภาวนา ผสมกัน จึงแยกความแตกต่างไม่ได้


    และยังมีอีกคือ ธรรมชาติของความคิดที่เกิดขึ้นอย่างไร้คิดคือ เอกัคคตา เกิดขึ้นอย่างความว่างคือ เรียบง่าย เกิดขึ้นเป็นความเท่าหรือเสมอกัน คือ หนึ่งรส ความสับสนสว่างไสวเป็นสติปัญญา ไม่ภาวนาอยู่เหนือกว่า คำพูด เช่น สับสน หรือไม่สับสน


    และยังมีคำสอนอีกว่า การประสบผลสูงสุดเมื่อบรรลุเอกัคคตาคือ การ เข้าใจความแบ่งแยกไม่ได้ระหว่างความหยุดนิ่งและการเกิดความคิด สำหรับ " เรียบง่าย " การประสบผลสูงสุด คือ การเข้าใจความแบ่งแยก ไม่ได้ระหว่างความสับสนและความหลุดพ้น สำหรับหนึ่งรส คือ การ เข้าใจความแบ่งแยกไม่ได้ระหว่างปรากฏการณ์และจิต สำหรับไม่ภาวนา คือ การเข้าใจความแบ่งแยกไม่ได้ระหว่าง " ภาวนา " และหลังภาวนา


    นอกจากนี้ ยังมีคำสอนว่าเอกัคคตาคือระหว่างที่จิตมีความยึดมั่นถือมั่น ในตัวตน ภาวะความเรียบง่ายคือภาวนาและหลังภาวนา ภาวะหนึ่งรส คือเอกภาพ ไม่ภาวนาคือจิตรู้แจ้ง


    ท้ายสุด เมื่อถึงเอกัคคตา ความคิดสงบระงับลง เมื่อถึงความเรียบง่าย รากเหง้าของความคิดถูกตัดขาด เมื่อถึงหนึ่งรส ปัญญาที่มีอยู่เองส่อง สว่างจากภายใน และไม่ภาวนาคือ การบรรลุถึงความตั้งมั่น กล่าวย่อ ๆ การแยกแยะและจำแนกชนิดต่าง ๆ มีมากมายแสดงได้ไม่มีสิ้นสุด แต่ หลักสำคัญมีดังนี้คือ การตระหนักรู้ภาวะดั้งเดิมแห่งจิต ภาวะที่แท้ตาม ธรรมชาติ การรู้วิธีดำรงจิตตามธรรมชาติตามสามัญธรรมดาไม่ถูกทำลาย โดยความปรุงแต่งเป็นสิ่งสำคัญเพียงประการเดียว ฑากินี นิกุมา ผู้ทรง ไว้ซึ่งปัญญากล่าวว่า


    ถ้าคนไม่เข้าใจว่าอะไรที่เกิดคือการภาวนา
    เธอจะบรรลุสิ่งใดโดยใช้ศาสตร์ที่ดีสุด
    สัญญา ( วิปลาส ) ไม่สามารถละทิ้งได้
    แต่เป็นอิสระทันทีเมื่อรู้ว่านั่นเป็นมายา





    ขอบคุณ kamen rider ที่เคยปรากฏตัวที่เว็ปพลังจิต หรือคุณมดเอ๊กซ์ที่
    ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคสอง มรรคมหามุทรา ประสบการณ์และการรู้แจ้ง
     
  20. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่สาม ผลมหามุทรา ตรีกายแห่งพุทธะ

    [​IMG]


    ภาคที่สาม ผลมหามุทรา



    ตรีกายแห่งพุทธะ


    เมื่อได้อธิบายธรรมชาติแห่งมูลฐาน หลักธรรม การภาวนา และปฏิปทา แล้ว ณ บัดนี้จะสรุปด้วยหัวข้อหลักที่สาม หนึ่ง อธิบายความหมายของ ผลมหามุทรา สอง ความแบ่งแยกไม่ได้แห่งกายทั้งสาม หรือ ความเป็น หนึ่งเดียวของกายทั้งสอง


    ธรรมกาย


    เมื่อนักปฏิบัติผู้มีวาสนาได้เห็นโฉมหน้าที่แท้ของมหามุทราพื้นฐาน เห็น ภาวะดั้งเดิม และมุ่งความสนใจสู่การปฏิบัติมรรคมหามุทรา หลักธรรม และการภาวนา และได้ทำให้สมบูรณ์ในการฝึกฝน เขาก็ได้เห็นแจ้งผล มหามุทรา ธรรมกายอันสูงสุด


    แก่นแท้ของธรรมกายคือความตื่นรู้ด้วยตนเองและความไร้การปรุงแต่งแต่ ดั้งเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ปรากฏอยู่แต่ดั้งเดิมใน กระแสจิตของสรรพสัตว์ในภพทั้งสาม สิ่งนี้คือสิ่งที่แท้จริงที่จะต้องทำให้ แจ่มแจ้ง โดยวิธีการปฏิบัติ หัวใจของมรรค นอกจากการตื่นชนิดนี้ ก็ไม่มี สิ่งอื่นอีก ไม่มีพุทธะองค์ใหม่ ไม่องค์ก่อน ๆ หรือ ธรรมกายอื่น ที่จะมา ปรากฏ คุณลักษณะแห่งธรรมกายเป็นดังนี้คือ


    เมื่อได้รับปัญญาที่มองเห็นทุกสิ่งตามที่เป็นจริง ( ยถาภูตสัมมัปปัญญา ) และสัพพัญญุตญาณ ( wisdom of all existing object knowledge ) กล่าวได้ว่าได้รับปัญญาสองชนิด เนื่องจากแก่นแท้บริสุทธิ์ได้รับการ ชำระแล้ว ธรรมกายจึงกล่าวได้ว่ามีความบริสุทธิ์สองชั้น กล่าวตามเป็น จริงแล้วมันเป็นอิสระจากความเศร้าหมองแห่งความไม่รู้หรือไม่เห็น ปรากฏการณ์ที่รู้ได้ และได้บริบูรณ์ในคุณธรรมทั้งปวง

    การแสดงออกของธรรมกายโดยไม่มีความขัดข้องให้เป็นที่ประจักษ์ การแสดงออกแห่งความตื่นเช่นนี้ ก่อให้เกิดสัมโภคกายและนิรมาณกาย



    องค์เจ็ดแห่งเอกภาพ


    ตรีกายเหล่านี้ประกอบด้วยองค์แห่งเอกภาพเจ็ดอย่างคือ


    ๑. ฉันทะ เนื่องจากใช้ธรรมจักรชิดมนตราลับ และลึกซึ้งสำหรับ โพธิสัตว์อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สุด ๒. สโมธาน เนื่องจากปัญญาได้รวมกันเข้ากับธรรมชาติอันประภัสสร ๓. ปีติ เนื่องจากความสุขตามธรรมชาติชนิดนี้ไม่เสื่อมไป

    ลักษณะทั้งสามนี้เป็นองค์คุณของ สัมโภคกาย


    ๔. กรุณา เป็นความกรุณาที่ปราศจากตัวตน ปราศจากมโนคติ แผ่ไปทั่วทุกทิศทาง คล้ายอวกาศ ๕. อนันตะ คือกิจกรรมที่ทำไปอย่างเป็นไปเองตามธรรมชาติ ไม่มีการให้ความหมาย มีมากมหาศาลเท่าขอบเขตแห่งสังสาระ ๖. ไม่สะดุด คือไม่พักอยู่ในความสงบแห่งพระนิพพาน


    ลักษณะทั้งสามนี้เป็นองค์คุณของ นิรมาณกาย


    ๗. อนัตตา เนื่องจากเอกภาพแห่งความว่างและความกรุณาเป็น อิสระอย่างหมดจดจากการปรุงแต่งแห่งจิต ดังนั้นจึงปราศจาก ธรรมชาติแห่งตัวตน นับว่าเป็นคุณลักษณะพิเศษของธรรมกาย


    ในลักษณะนี้ กายทั้งสามจึงประกอบด้วยองค์คุณทั้งเจ็ด



    วสีทั้งแปดของสัมโภคกาย

    มีคำสอนว่าตรีกายมีคุณแห่งวสีทั้งแปด



    ๑. มีความสามารถทุกด้านในการฝึกบุคคลผู้ต้องการฝึกคือ วสีในกาย
    ๒. กงล้อแห่งธรรมหมุนไปไม่สิ้นสุด คือสามารถสอนทุกคนที่ต้องการฝึก เรียกว่า วสีในวาจา
    ๓. ทรงไว้ซึ่งความกรุณาที่ปราศจากมโนคติคือ วสีในจิต
    ๔. อิทธิฤทธิ์ที่ไม่มีใครขัดขวางได้คือ วสีในอิทธิฤทธิ์
    ๕. ความตื่นรู้อย่างแท้จริงในสังสาระและนิพพานและกาลทั้งสามมี ความเท่ากันและเสมอกัน เรียกว่า วสีในความแพร่หลาย
    ๖. ไม่เศร้าหมองด้วยตัณหาแม้มีเทพธิดาจำนวนเท่าฝุ่นทั้งหมด ในเขาสุเมรุปรนเปรอด้วยกามคุณ เรียกว่า วสีในตัณหา
    ๗. ยังความปรารถนาของสรรพสัตว์ให้สำเร็จราวกับแก้วสารพัดนึก คือ วสีในความอารี
    ๘. ครองความเป็นธรรมราชาในภพทั้งสามในวังแห่งธรรมธาตุ อกนิษฐาตลอดกาลนานคือ วสีในการครองภพ



    นิรมาณกาย

    นิรมาณกาย เป็นการปรากฏออกแห่งธรรมกาย และสัมโภคกายที่สุด คาดคิดหรือจินตนาการได้ จึงเป็นการปรากฏเพื่อฝึกสรรพสัตว์เหมือน กัลเงาของพระจันทร์ในภาชนะบรรจุด้วยน้ำ คือพระจันทร์จะปรากฏ ในทุกภาชนะที่มีน้ำ การปรากฏอเนกอนันต์ทั้งจำนวนและลักษณะใน การฝึกสรรพสัตว์ด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม ตามแต่จำเป็น ผ่านนิรมาณ- กายแห่งการสร้างสรรค์ การเกิดใหม่ หรือการตรัสรู้ที่ยิ่งใหญ่และอื่น ๆ รู้กันว่าเป็นเคล็ดลับที่ประดับประดากงจักรคือ กาย วาจา ใจ ของ พระพุทธะทั้งปวง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...