สนทนาสบายๆ ตามประสา

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย ธณต, 8 พฤศจิกายน 2011.

  1. หนุ่มคอนถม

    หนุ่มคอนถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    2,605
    ค่าพลัง:
    +1,581
    หลวงปู่ลำภู ผมนึกว่ามีเนื้อขาวๆ ซะอีก
     
  2. Kawinpun

    Kawinpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +991
    แค่เล่นเหงื่อให้ผิวสวย ธรรมชาติยังห้อยเป็นปีเลยครับพี่หนุ่ม

    พอมีวิธีลัดก็กระซิบบ้างครับ :boo:ทั้งล้างทั้งบิ้ว :cool:
     
  3. หนุ่มคอนถม

    หนุ่มคอนถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    2,605
    ค่าพลัง:
    +1,581
    ผมล้างพระ แต่งพระไม่เป็นหรอกครับพี่กวิน
    พี่แกบอกว่าต้องไปให้แกสอนครับ เพราะเคยบอกคนให้ไปลองทำดู เจ็งทุกรายเลยครับ
    พระแต่ละเนื้อจะมีวิธีทำไม่เหมือนกันครับ มีน้ำยาโน่นนี่ ตากแดด แช่ตู้เย็น อะไรสารพัดเนี้ยแหละครับ
     
  4. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    อันนี้นั่งยันอีกคนครับ

    พระนะล้างสะอาด ล้างได้ครับ แต่จะล้างให้ผ่องกรรมวิธียุ่งมากครับ และเเต่ละเนื้อแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน พระอย่างเดียวกันบางทีการล้างยังไม่เหมือนกันเลยครับ
     
  5. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804
    องค์ของผมที่โชว์ด้านหลังผมเองก็หมดความสามารถแล้วครับ คงเก็บเข้ากล่องเหมือนเดิม ทำยังไงเนื้อก็ยังไม่เป็นสากล :'( สงสัยจะไม่ถึงยุคจริง ๆ (จะให้ใส่สัก 6 เดือน ปีนึงก็ไม่ไหวครับ)
     
  6. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    เชื่อมั้ยครับ.....พระกริ่งที่ผิวเสียการทำให้เนื้อแค่กลับในสภาพแค่พอดูได้ แช่น้ำฝนในตุ่มเป็นปีครับ
     
  7. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804

    ขอบคุณครับ วัยรุ่นใจร้อน (deejai)

    ขนาดดีกรีที่ 1 นะ ผมว่าช้ำจังครับ ผมว่าดูยากเหมือนกันนะครับ :cool:
     
  8. หนุ่มคอนถม

    หนุ่มคอนถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    2,605
    ค่าพลัง:
    +1,581
    พี่หมอครับ แบบนี้ไม่เรียกว่าช้ำนะครับ ที่เห็นคราบที่คลุมแบบนี้คือผิวเดิมๆเลยนะครับ
    ไม่ได้เป็นพระใช้นะครับ
     
  9. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804
    อ้าว ผมคิดว่าคราบเดิม ๆ จะเป็นแป้ง ๆ ซะอีก ว่าแต่ว่าผมก็เคยเห็นองค์จริง ๆ มาไม่กี่องค์เองครับ :cool:
     
  10. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    เข้าเวป มาไม่ได้ 2 วัน ครับเหมือนขาดอะไรไปหลายอย่าง

    ประวัติหลวงพ่อลำภู คงคฺปัญโญ

    ท่านนามเดิมว่า "ลำภู เรืองรักเรียน"
    เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2444 ตรงกับวันพุธ แรม 2 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลู ณ บ้านไก่จ้น ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายคง นางผิว เรืองรักเรียน มีพี่น้องรวม 10 คน ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2465 ณ วัดไก่จ้น หลังจากบวชแล้วท่านได้ศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมจนสามารถอ่านออกเขียนได้(สมัยนั้นนับคนอ่านเขียนภาษาได้น้อยมากนะครับ) จนแตกฉานในอรรถทั้งภาษาไทยและภาษาขอมบาลี
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 ท่านย้ายจากวัดไก่จ้นไปอยู่วัดช่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาและปฏิบัติวิปัสนากัมมัฏฐานเป็นเวลา 7 ปี ท่านได้สอบนักธรรมชั้นตรี ได้เมื่อปี พ.ศ.2473 ที่วัดหนองเขื่อนช้าง จ.สระบุรี
    จากนั้นปี พ.ศ.2477 ก็ย้ายจากวัดช่างทอง ไปอยู่วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาต่อ
    ในปีพ.ศ.2502 ท่านได้รับตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ทั้งๆที่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส แต่หลวงปู่ลำภู ท่านบอกว่า "ผมแก่แล้วไม่สามารถทำหน้าที่เจ้าอาวาสได้ ขอให้พิจารณาพระที่มีอายุพรรษาสมควรแก่หน้าที่ต่อไป" การสละสิทธิ์ที่จะพึงได้ของหลวงปู่ลำภูได้ประกาศในที่ประชุมคัดเลือกเจ้าอาวาสในครั้งนั้นเป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่
    ในปี พ.ศ.2510 ท่านได้ตำแหน่งฐานานุกรม เป็นพระครูสังฆรักษ์
    ในปี พ.ศ.2512 ต่อมาได้รับตำแหน่งรักษาการแทน เจ้าอาวาสวัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส)

    วัดไก่จ้น คือที่พำนักยามสิ้นอายุขัยของพระครูอมรคุณาจาร(หลวงปู่ลำภู)
    ในช่วงที่หลวงปู่ลำภูท่านมีอายุมากแล้ว ท่านได้สร้างวิหารส่วนตัวไว้ที่วัดไก่จ้น ท่านได้สั่งกับศิษย์ใกล้ชิดไว้ว่า ยามเมื่อท่านสิ้นอายุขัยแล้ว ให้ย้ายศพท่านกลับมาบ้านเกิด ที่วัดไก่จ้น
    ในปี พ.ศ.2533 หลวงปู่ลำภู ท่านได้สิ้นอายุขัยด้วยโรคชรา ที่กุฏิของท่านในวัดใหม่อมตรส ท่านมรณะภาพ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533เวลา 20.15 น. สิริอายุ 88 ปี 9 เดือน 4 วัน สังขารของท่านได้ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ที่ วัดใหม่อมตรส เป็นเวลา 1 ปี แล้วจากนั้นก็ย้ายมาที่วิหารที่หลวงปู่ลำภู สร้างไว้ที่วัดไก่จ้น จ.อยุธยา ปรากฎว่า สังขารของหลวงปู่ลำภูนั้นไม่เน่าไม่เปื่อย จวบจนปี พ.ศ.2552 คณะศิษย์ส่วนมากเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะจัดการพระราชทานเพลิงศพตามประเพณีนิยม เพราะเป็นการปลงภาระซึ่งคณะศิษย์รับไว้ ยิ่งนานต่อไปคณะศิษย์ก็ลดลงทุกวัน จึงเป็นความสมควรอย่างยิ่ง วันที่พระราชทานเพลิงศพ วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 เวลา 16.00 น.

    คำระลึกอนุสรณ์กล่าวถึง หลวงพ่อลำภู คงคฺปัญโญ (พระครูอมรคุณาจาร) ของพระครูพิพัฒนานุกูล เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม ความว่า
    "หลวงพ่อเป็นพระมหาเถระสำคัญรูปหนึ่งของวัดใหม่อมตรส ท่านเป็นพระเถระผู้รัตตัญญู ผู้มีคุณูปการสำคัญต่อวัดเป็นเวลายาวนาน คณะสงฆ์วัดใหม่ฯ ให้ความเคารพบูชาอย่างสูงยิ่งมาโดยตลอด พระสงฆ์-สามเณรได้รับการอุปถัมภ์บำรุงอย่างทั่วถึง โดยทุกท่านผู้อยู่ทันสมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่จะได้พึ่งบารมีของหลวงพ่อทั้งวัด ตอนหลวงพ่อลำภูเป็นรองเจ้าอาวาสและเป็นพระอาจารย์พระครูบริหารคุณวัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เมื่อเจ้าอาวาสวัดใหม่ฯ ว่างลงท่านไม่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ยกให้พระครูบริหารเป็น เพราะเห็นว่ายังหนุ่มกว่า ด้วยความที่ท่านมีอัธยาศัยไมตรีจิตที่ดีต่อทุกคน เมื่อได้พบท่านกราบท่านแล้วดูจะเอิบอิ่มใจ เพราะหลวงพ่อมีดีกับตัวที่หายาก และท่านก็ศักดิ์สิทธิ์มีมนต์ขลังจริง มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสมาอาบน้ำมนต์รักษาโรคจำนวนมาก พระสงฆ์สามเณรอบอุ่นมาก คราวที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ยิ่งกว่าร่มโพธิ์ร่มไทร ถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีหลายท่านรำลึกเสมอในบุญหลวงพ่อพระครูอมรคุณาจาร (ลำภู คงคฺปัญโญ) หลวงพ่อท่านสร้างความดีไว้มากเพื่อต้องการให้อยู่เลยตาย ตามคำนิยมที่รู้กันว่า อยู่แค่ตายอยู่ได้ทุกคน อยู่เพื่อปวงชนอยู่ได้เลยตาย หรืออยู่เพื่อตัวอยู่ได้แค่สิ้นลม อยู่เพื่อสังคมอยู่คู่ฟ้าดิน"
    คำบอกเล่ากล่าวถึง หลวงพ่อลำภู คงคฺปัญโญ (พระครูอมรคุณาจาร) ของพระครูพิพัฒนานุกูล เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม
    หลวงพ่อลำภูท่านเป็นพระที่ชอบนั่งวิปัสนาและศึกษไสยเวทย์ ในอดีตชาวบ้านในระแวกวัด เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะมาหาท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ท่ป่วยเกี่ยวกับโรคฝี หลวงพ่อท่านรักษาได้ฉมังนักแล

    สำหรับประวัติวัดไก่จ้น คือถิ่นกำเนิดสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านไก่จ้น ม.10 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระ นครศรีอยุธยา วัดตั้งตรงข้ามกับวัดสะตือ มีเพียงแม่น้ำกั้น แต่มีสะพานแขวนข้ามไปมาหากันได้

    วัดไก่จ้น เป็นวัดเก่าแก่ ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้าง ตั้งขึ้นเป็นวัดเมื่อปี 2375 เดิมเรียกว่า วัดบ้านไก่จ้น มีหลักฐานปรากฏในครั้งพระราชทานวิสุงคามสีมาของพระอุโบสถหลังเก่า ความว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่ วัดบ้านไก่จ้น เมื่อคราวพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสวัดสะตือ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวัดบ้านไก่จ้น

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระ ราชดำเนินวัดไก่จ้น เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2521 ทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถ ทรงตัดลูกนิมิต ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่เกตุพระประธานในพระอุโบสถ ทรงลงพระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธยที่แผ่นศิลา ทรงพระสุหร่ายพระประธานในพระอุโบสถและพระประธานจำลองพระประธานพระอุโบสถ และทรงปลูกต้นพิกุลด้านหน้าพระอุโบสถ 2 ต้น พระราชทานทรัพย์ทำบุญบำรุงวัดจำนวนหนึ่ง

    ปี 2523 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินวัดไก่จ้น เมื่อวันที่ 8 เมษายน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์วิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ทรงเททองหล่อพระพุทธรูปจำลองพระประธานพระอุโบสถ ทรงลงพระนามาภิไธยที่แผ่นศิลา และทรงเสด็จฯเยี่ยมประชาชนที่มาเฝ้าฯรับเสด็จ

    ต่อมาปี 2530 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าหลานเธอ พระ องค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จแทนพระองค์ไปวัดไก่จ้น เมื่อวันที่ 17 เมษายน ทรงประกอบพิธีเปิดวิหารสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ทรงพระราชทานของแก่ผู้มีจิตศรัทธา ทรงปลูกต้นสาละไว้ 1 ต้น ด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ และทรงเสด็จเยี่ยมประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จด้วย
    วัดไก่จ้นในปัจจุบันมี พระครูวิสุทธิธรรมากร (ประยูร ปัญญาภรโณ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ผู้ทำนุบำรุงดูแลวัดเป็นอย่างดี

    ประวัติการสร้างพระสมเด็จ หลวงพ่อลำภู คงคฺปัญโญ
    สำหรับประวัติการสร้างพระสมเด็จของหลวงปู่ลำภู มีดังนี้
    นับจากอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2500 ทางวัดใหม่อมตรส(บางขุนพรหม) ได้ทำพิธีเปิดกรุเจดีย์ภายในวัดอย่างเป็นทางการ ซึ่งภายในเจดีย์บรรจุพระเครื่องที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ในช่วงก่อนหน้าจะเปิดกรุนั้นเจดีย์เกิดชำรุดผุพัง สาเหตุเพราะมีคนแอบมาตกพระสมเด็จออกจากเจดีย์ จนทางวัดต้องเปิดเจดีย์นำพระออกมาให้บูชา ซึ่งพระในเจดีย์ก็มีทั้งสภาพที่ดีและชำรุดแตกหัก แต่ทางคณะกรรมการวัดได้คัดเอาพระสภาพที่ดีออกให้บูชา ส่วนพระที่หักหรือชำรุด ทางวัดไม่ได้ให้ห้ความสำคัญนัก หลวงปู่ลำภูท่านจึงได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่กุฏิของท่าน ในสมัยนั้น หลวงปู่ลำภู ดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส ท่านเป็นหนึ่งในกรรมการในการเปิดกรุสมเด็จบางขุนพรหม พอผู้คนและบรรดาลูกศิษย์ทราบก็มาขอท่านอยู่บ่อยๆ จนท่านได้ตัดสินใจ นำพระสมเด็จบางขุนพรหมที่หักมาบด แล้วนำมาผสมผงมวลสารผงวิเศษต่างๆที่ท่านมีและจัดเตรียมไว้ นำมาผสมสร้างเป็นพระสมเด็จปี 2502 ทุกพิมพ์จะหลังเรียบทั้งหมด จึงเป็นปฐมบทของการสร้างพระสมเด็จของท่าน ที่วัดบางขุนพรหม(ใหม่อมตรส)

    แบบพิมพ์พระสมเด็จของพระสมเด็จ หลวงปู่ลำภู
    จากคำบอกเล่าของ พระครูสุทธิธรรมากร หรือ หลวงตาประยูร ปัญญาภรโณ เจ้าอาวาสวัดไก่จ้น ท่านเป็นบุตรลูกบุญธรรมของหลวงปู่ลำภู) กล่าวว่า ช่างที่แกะพิมพ์พระสมเด็จให้ หลวงปู่ลำภู คือ "นายเสน่ห์" ลูกศิษย์หลวงปู่ลำภู ที่เคยบวชอยู่กับท่านได้แกะพิมพ์พระสมเด็จถวายไว้ โดยล้อแบบพิมพ์เค้าโครงจากพระสมเด็จบางขุพหมกรุเก่า มีre-buildพิมพ์ใหม่ ทั้งหมดมี 11 พิมพ์คือ
    1.พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม 2.พิมพ์ใหญ่ 3.พิมพ์ใหญ่ต้อ 4.พิมพ์อกครุฑ 5.พิมพ์ฐานคู่ 6.พิมพ์ฐานแซม 7.พิมพ์เส้นด้าย 8.พิมพ์ปรกโพธิ์ 9.พิมพ์คะแนน 10.พิมพ์จันลอย 11.พิมพ์ไสยาสน์
    ส่วนพิมพ์ไสยาสน์ หลวงปู่ลำภู ท่านสร้างไว้น้อยมากๆ ท่านแจกลูกศิษย์ไปไม่กี่องค์ และพระที่เหลือท่านได้นำลงฝังกรุที่วัดบางขุนพรหม
    แบบพิมพ์11 พิมพ์ที่แจ้งไว้นี้ บล็อคแม่พิมพ์เป็นแบบกดมือตัดด้วยมือ
    รอยจารที่ปรากฎที่หลังองค์พระสมเด็จ
    เท่าที่สังเกตพระที่หลวงปู่ลำภูจารให้นั้น ท่านจะจารแค่เลข ๙ เท่านั้น และต้องเป็นเลข ๙ ไทยเท่านั้นด้วย(อันนี้หลวงตาประยูร confirm)
    มวลสาร,เนื้อและลักษณะ ของพระสมเด็จ หลวงปู่ลำภู
    มวลสาร: ทุกครั้งที่มีการสร้างพระสมเด็จ การตำผงกดพิมพ์พระสมเด็จ ลูกศิษย์ของหลวงปู่ลำภูท่านได้ช่วยกันทำทุกครั้งที่มีการจัดทำพระสมเด็จ หลวงปู่ลำภูท่านจะถามว่าวันนี้จะสร้างพระจำนวนเท่าไหร่ จากนั้นท่านก็จะนำเศษพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าที่หักให้โดยประมาณจำนวนในการสร้างของวันนั้ เพื่อนำมาบด แล้วนำมาผสมผงอิทธิเจปถมัง ว่านเกสร108 ดอกไม่ผงขี้ธูปจากรูปเหมือนบูชาสมเด็จโต มวลสารผงวิเศษต่างๆที่ท่านมีและจัดเตรียมไว้
    ลักษณะเนื้อพระ: มีหลักอยู่3แบบ คือ เนื้อผงสีขาว เนือใบลานเผาสีดำ และเนื้อผงโซนสีเขียว(เข้มหรือเขียวขี้ม้า)
    ลักษณะด้านหลังพระสมเด็จ:จะมีอยู่3แบบ คือ แบบแรกหลังเรียบ แบบสองหลังเป็นแอ่งร่องหลุม และแบบสามหลังเป็นรูปยันต์ลึกลงไป
    ด้วยพระสมเด็จเนื้อผงที่ท่านสร้างนี้ ในช่วงแรกๆ เป็นการสร้างไปเรื่อยๆ มีเวลาว่างก็เกณฑ์ลูกศิษย์ มาบดและกดพระกันจึงทำให้พระมีความหลากหลายในเนื้อพระ ตรงนี้จะไปขยายใน ตอนที่3:บทวิเคาระห์ นะครับ

    ลักษณะการบรรจุเก็บพระสมเด็จ:การบรรจุพระของท่าน ที่สร้างในวัดใหม่อมตรส มี3แบบคือ
    1.ฝังกรุใต้ต้นโพธิ์: ในยุคแรกๆท่านจะนำพระสมเด็จใส่ตุ่มใบใหญ่ ปิดผนึกฝาตุ่มและนำไปขุดดินฝังที่ใต้ต้นโพธิ์ ตรงบริเวณหน้ากุฏิท่าน
    2.ตุ่มลายมังกร(ใส่น้ำมนต์): ตุ่มมังกรน้ำมนต์นี้จะอยู่บนหน้ากุฏิท่าน ในคราที่ พระลูกวัดและลูกศิษย์มาช่วยที่กดสร้างพระเสร็จ พอพระตากแห้งแล้วบางส่วนพระสมเด็จที่จัดทำ ท่านจะนำไปหย่อนลงในตุ่มน้ำมนต์หน้ากุฏินี้ พร้อมทั้งนำเศษผงพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าที่ตำละเอียดแล้วไปโรยทับอีกที
    3.พระแจกกับมือท่านเอง ไม่มีการลงกรุหรือลงตุ่ม ท่านจะนำมาหยิบแจกให้กับลูกศิษย์ที่มากราบไหว้ท่านและผู้ที่เคารพนับถือ
    ช่วงเวลาการสร้างพระสมเด็จ หลวงปู่ลำภู
    ในช่วงปี พ.ศ. 2502 หลวงปู่ลำภูท่านได้มีการสร้างพระสมเด็จเรื่อยมา
    ในช่วงปี พ.ศ.2514-16 หลวงปู่ลำภูท่านได้มีการสร้างพระสมเด็จ พระที่สร้างในยุคนี้ จะมีพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์จันลอย พิมพ์คะแนน แต่บล็อคแม่พิมพ์จะมีการผสมผสานทั้งสองแบบคือ เป็นบล็อคกดมือแบบเดิมที่มีอยู่แล้ว และแบบบล็อคทองเหลือง(ด้านหลังจะมียันต์ใบพัด ใต้ยันต์มีคำว่า"หลวงพ่อลำภู" กดจมลึกลงไปในเนื้อพระ) ในวงการเรียกว่า พระสมเด็จพิมพ์เกศจรดซุ้มหลังยันต์จม แล้วก็ยังมีเหรียญรูปไข่รุ่นแรกพิมพ์นั่งสมาธิเต็มองค์และเม็ดแตงอีก แล้วหลวงปู่ลำภูยังได้เชิญพระสหายธรรมและพระที่นับถือมาร่วมพุทธาภิเษกที่กุฏิของท่านอีกด้วย ส่วนเหรียญรุ่นที่ 2 นั้น หลวงปู่ลำภูออกเมื่อปี พ.ศ.2515 เป็นเหรียญรูปไข่ ต่อมาก็สร้างพระสมเด็จ ปี 2516, ปี 2517 นั้นได้ไปออกที่วัดไก่จ้น

    ในช่วงปี พ.ศ.2519 หลวงปู่ลำภู ท่านได้เปิดกรุพระ(พระยุคปี2502)ในกุฏิของท่าน นำพระออกมาแจกให้ลูกศิษย์ แต่ท่านดูแล้วว่าคงจะไม่พอ จึงได้สร้างพระเพิ่มขึ้นมาอีก และได้ทำตรายางปั๊มที่ด้านหลังเพื่อบอก ปีพ.ศ.มาปั๊มประทับตราไว้ที่พระ ตรายางที่ประทับไวจะเป็นสีแดง เป็นการประทับตราไว้เพื่อจะนำไปลงกรุที่วัดไก่จ้น โดยหมึกสีแดง(เลือดนก)ที่ใช้นี้เป็นหมึกพิมพ์ผ้าที่ลูกศิษย์ท่านนำมาถวาย ***เพราะฉะนั้นพระรุ่นนี้จึงมีทั้งพระสมเด็จปี2502 ฝังกรุไม่ปั๊มตรา และพระสมเด็จปี2502 ฝังกรุปั๊มตรา และพระสมเด็จใหม่ปั๊มตราปี 2519 เอาไว้ ส่วนพระพิมพ์คะแนนนั้นไม่ได้ปั๊มตราเลย *** พระชุดหลังตรายางแดงนี้มีจำนวนน้อยมาก ปัจจุบันพบหาได้ยาก

    ในช่วงปี พ.ศ.2521 หลวงปู่ลำภู ท่านได้จัดงานกฐินและผ้าป่าสามัคคีไปที่วัดไก่จ้น เพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถ ซึ่งในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินยังวัดไก่จ้น เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2521 ทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ ทรงตัดลูกนิมิต ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เกศพระประธานในอุโบสถ ทรงลงพระปรมา ภิไธยและพระนามาภิไธยที่แผ่นศิลา ทรงพระสุหร่ายพระประธานในพระอุโบสถ และพระประธานจำลองพระประธานอุโบสถ และทรงปลูกต้นพิกุลด้านหน้าอุโบสถ 2 ต้น รวมถึงพระราชทานทรัพย์ร่วมทำบุญบำรุงวัดด้วย
    ครั้งนี้ท่านได้นำมวลสารผงสมเด็จบางขุนพรหมมาสร้าง พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่จัมโบ้ โดยออกที่วัดบางขุนพรหม ด้านหลังพระปั๊มยันต์หมึกสีน้ำเงินเขียนว่า"อนุสรณ์สร้างโบสถ์วัดไก่จ้น" หลวงปู่ลำภูวัดใหม่อมตรส สร้าง และพิมพ์สมเด็จให้ประชาชนบูชาส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งนำมาฝังใต้ฐานพระประธานอีกเช่นเคย

    จากนั้นในภายหลังจากที่หลวงปู่ลำภูท่านมรณะภาพแล้ว ได้มีการเปิดกรุใต้ฐานพระประธานแล้ว นำพระออกมาส่วนหนึ่งเพื่อนำพระออกมาให้ประชาชนบูชาเมื่อปี พ.ศ.2542
    ในช่วงปี พ.ศ.2521 หลวงปู่ลำภู ท่านสร้างแค่เหรียญรุ่นเดียว เป็นเหรียญทรงกลมด้านหน้ามีรูปหลวงปู่ลำภูครึ่งองค์ ส่วนด้านหลังมีอักษรย่อพระปรมาภิไธย และเขียนว่าที่ระลึกสร้างพระอุโบสถวัดไก่จ้น ปี 2521
    ในช่วงปี พ.ศ.2522 หลวงปู่ลำภู ท่านได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาเพียงรุ่นเดียวพิมพ์เดียวคือ "พิมพ์ใหญ่" เท่านั้น ด้านหน้าโรยผงกรุบางขุนพรหม ส่วนด้านหลังเป็นตัวหนังสือนูนว่า "วัดไก่จ้น ๒๕๒๒" และมีอักษรย่อพระปรมาภิไธย

    ส่วนปี พ.ศ. 2524 นั้น หลวงปู่ลำภูไม่ได้สร้างพระเนื้อผงเลย ท่านสร้างแค่เหรียญรูปไข่เนื้ออัลปาก้าหน้าตรง รอบเหรียญมีจุดไข่ปลา หลังเหรียญก็จุดไข่ปลารอบเหรียญเช่นกัน และเขียนว่าที่ระลึกทำบุญอายุ 80 ปี พ.ศ.2524 ส่วนพระบูชารูปเหมือนหลวงปู่ลำภูนั้น ทางวัดไก่จ้นได้สร้างถวายหลวงปู่ลำภู จึงถือว่ารุ่นนี้คือ "รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ลำภู"<!-- google_ad_section_end -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  11. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    สวัสดีครับพี่ธณต 2 องค์นี้ มีผู้ใหญ่ที่นับถือท่านให้มา เมื่อยี่สิบกว่าปีแล้วครับ ตอนนี้ผู้ใหญ่ท่านนี้อายุเก้าสิบกว่าปีได้แล้วครับท่านเป็นศิษย์คนนึงของหลวงพ่อลำภูก็ว่าได้ครับ สององค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่ เนื้อผงใบลาน องค์แรกด้านหลังจะเห็นมวลสารเก่าเยอะหน่อยครับ องค์สองจะคุ้นตามากกว่า แต่ที่เห็นส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อขาวครับ เรื่องพิมพ์หรือรุ่นสร้างไว้มากครับ ผมเคยลงไว้ใน กระทู้พี่บุพนิมิต ครับ

    ส่วนแนะวิธีดู ผมเองไม่ได้ศึกษาละเอียดนัก ครับได้แต่จดจำเนื้อ ธรรมชาติครับ แต่พูดไปเรื่องพิมพ์ เรื่องรุ่น ต่างๆ ขอยอมแพ้ครับ
     
  12. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    ผมว่าพี่หนุ่มรู้แกล้ง อำผมล่ะมังครับ ในเว็ปใหญ่ๆหลายเว็ป เนื้อหาแบบนี้มีให้เห็นพอสมควรครับ ที่ติดรางวัลก็มีให้เห็นหลายองค์ บางทีพูดไปผมว่า พี่หนุ่มชอบสะสมพระสมเด็จ และสมเด็จหลวงปู่ลำภู พี่อาจมีเนื้อแบบนี้หลายองค์ก็ได้นะครับ ผมเดา(k)(k)
     
  13. Kawinpun

    Kawinpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +991
    พี่หนุ่ม เก็บแต่สมเด็จโต ตะหากครับพี่ทิพย์ มีเป็น 10 :cool:
     
  14. หนุ่มคอนถม

    หนุ่มคอนถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    2,605
    ค่าพลัง:
    +1,581
    ช่ายครับพี่กวิน แบบนี้เลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF3429.JPG
      DSCF3429.JPG
      ขนาดไฟล์:
      247.2 KB
      เปิดดู:
      69
  15. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    จริงแล้วความเชื่อส่วนตัวผม ผมว่าสมเด็จท่านก็เหมือนหลวงพ่อทวดนะละครับ จะยุคไหน จะแท้จะปลอมก็มีความศักสิทธิ์ในองค์ท่านอยู่นะครับแต่ก็ยังคงเชื่ออย่างไม่มีข้อสงสัยว่าถ้าเป็นรูปเหมือนท่าน ท่านไม่น่าจะสร้าง เพราะท่านไม่น่าสร้างสิ่งที่แทนตัวท่านโดยประวัติท่านไม่ได้เป็นพระที่อวดอ้างตนหรือยึดติดสิ่งใดๆครับ
     
  16. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    คุณพ่อน้องออม ได้กรุณานำ พระสมเด็จพระครูสังฆ์ มาให้ชมไอ้ผมก็ไม่ค่อยเป็นซะด้วยช่วยผมหน่อยนะครับ


    [​IMG][​IMG]
    [​IMG]
     
  17. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    เท่าที่สอบถามเบื้องต้น

    พระของพระครูสังฆ์จะเป็นพระที่มีส่วนผสมของพระสมเด็จเก่าแตกชำรุดผสมอยู่ในเนื้อพระพอสมควรเนื้อพระเลยมีร่องรอยของหลุมบ่อพอสมควรเพราะใช้วิธีตำแล้วโรยลงไปในเนื้อพระก่อนกดพิมพ์
     
  18. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804
    เอาใจคนนครปฐมหน่อยครับ
    ไปอ่านการปรับธาตุในกระทู้ของคุณโอสถเลยเห็นว่าผมควรจะใส่พระเนื้อดินดิบสักองค์ คิดอยู่นานว่าจะไปหาที่ไหน พอดีมีอยู่เป็นพระภูทราวดี ปี 2506 (พระร่วงโรจนฤทธิ์ ขององค์พระปฐมเจดีย์) อยู่องค์นึง เลยนำมาให้ชมครับ พิธีดีปลุกเษก 2 วาระใหญ่ ๆ (สายใต้หนึ่งรอบ และที่องค์พระปฐมเจดีย์อีกหนึ่งรอบ) แถมวันนี้ยังได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกครึ่งแรกที่วัดอินทรวิหารด้วยครับ แต่เรื่องเนื้อยังไม่ค่อยแน่ใจว่าดินดิบ (ไม่เผาไฟหรือไม่) เพราะอ่านดูบางข้อความก็ว่าเผาไฟ บางข้อความก็ว่าปล่อยให้แห้งเองตามธรรมชาติ :cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN3456.JPG
      DSCN3456.JPG
      ขนาดไฟล์:
      689.9 KB
      เปิดดู:
      102
    • DSCN3457.JPG
      DSCN3457.JPG
      ขนาดไฟล์:
      710 KB
      เปิดดู:
      106
  19. หนุ่มคอนถม

    หนุ่มคอนถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    2,605
    ค่าพลัง:
    +1,581
    สวัสดีครับ พี่ธณต พี่หมอ
    ช่วงนี้ เงียบเหงาๆ
     
  20. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    ครับ เงียบแบบแปลกๆครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...