พระสมเด็จฯ องค์หนึ่งเดียว

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย huyakorn, 25 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. crodile

    crodile เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    4,475
    ค่าพลัง:
    +7,765
    โหมิน่าเล่า..ผมตอบสมเด็จ..เก๊..ไปร่วมๆ..แสนองค์ละมั้ง...ไม่นับในเวปนี้นะ...พักหลังนี้..ผม..มีกรรม...เงิน..เป็นแสนๆ..เลยอะนะท่าน..สงสัย..สมเด็จ..ท่าน..คงเล่นผมซะแล้วละ..กรรม..เจงๆ....55555555..กะจะตอบ..เก๊..ให้ได้ซัก.ล้าน..องค์..จะได้..กรรม.เงิน..ล้านกะเค้าซักที555555555
     
  2. Sethawat

    Sethawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2012
    โพสต์:
    954
    ค่าพลัง:
    +1,577
    ผมกลัวลุงชัยจะหัวล้านก่อนได้เงินล้าน เพราะเบื่อตอบพระเก๊ซะก่อนละสิครับ 5555+ เก๊แล้วรับได้ก็ยังโอเคนะผมว่า แต่แบบเก๊แล้วงอแงนี่น่าเบื่อจริงๆ
     
  3. crodile

    crodile เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    4,475
    ค่าพลัง:
    +7,765

    เออมีรุ่น..เก๊งอแง..ด้วยรึ.....เกิดมาึ่พึ่งเคยได้ยินอะนะ..555555
     
  4. Sethawat

    Sethawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2012
    โพสต์:
    954
    ค่าพลัง:
    +1,577
    แบบโดนตีเก๊ แล้วรับไม่ได้อ่ะลุง ผมเรียกให้น่ารักหน่อยเป็นเก๊แล้วงอแง 555+ บุคคลประเภทนี้สำหรับผมแล้วน่าเบื่อจริงๆครับ
     
  5. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ ตอนนี้ผมกำลังศึกษาเรื่อง C14 วิธีตรวจอายุวัตถุโบราณอยู่ กลัวเจอแบบข่าวในวงการพระเครื่อง ที่คนซื้อแห่คืนพระสมเด็จ และพระปิดตาองค์ละหลายสิบล้าน เพราะนำไปตรวจหาอายุพระได้แค่ 50-60 ปี เท่านั้น ถ้านำพระไปทดสอบแล้วได้เรื่องอย่างไร ผมจะนำมาแชร์กันนะครับ


    "C14" คือการหาอายุ (absolute dating method) นั้นมีหลายวิธีขึ้นกับวัสดุที่ต้องการหาว่า เป็นสารอินทรีย์ เป็นผลึกแร่ เป็นสารแม่เหล็ก หรือเป็นสารที่เคยได้รับการแผ่รังสีหรือการเผา ทางโบราณคดี มักใช้ Carbon 14 แต่ยังมีวิธีอื่นที่ใช้กันอยู่นอกจาก radioactivity ก็มีเช่น fission track, TL dating, ESR (Electron Spin Resonance) , Paleomagnetic, chemical dating, Fluorine dating และจาก Amino acid เป็นต้น

    วิธี C14 คงได้แค่อายุไม่เกิน 5730 ปี หรือสูงสุดไม่เกินยุคน้ำแข็ง [ Ice Age] ถ้าเป็นหลายล้าน ๆ ปี คงต้องใช้อย่างอื่น ที่มีครึ่งอายุ (half life period) สูงกว่านั้น เช่น K-Ar ที่วัดได้ถึง 1.25 billion yrs. สถาบันที่น่าจะทำได้คือสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ แต่โดยมากมักส่งต่างประเทศ เพราะการทำน้อย ๆ ตัวอย่าง มักไม่คุ้ม และความคลาดเคลื่อนอาจสูง แต่ตอนนี้มีหลายสถาบันให้บริการอยู่ในราคาที่ไม่แพงมากนัก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2012
  6. hemicuda

    hemicuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +2,246

    ถ้าท่านศึกษาจริงๆ ท่านจะทราบว่ามันจะแม่นที่สุดถ้าวัตถุมีอายุมากกว่า 200 ปีขึ้นไป 50-60 ตรวจไม่ได้หรอกครับ
     
  7. nong975

    nong975 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +1,006
    รบกวนท่านผู้รู้ช่วยดูพระสมเด็จองค์นี้ให้หน่อยครับ
    อยากได้ความเห็นจากผู้มีความรู้ครับ

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  8. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    ลองฟังเสียงดูก่อนครับ

    ผมลองบันทึกเสียงที่กระทบกระจกหนา 1/2 เซ็นติเมตร ของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พระประธาน มาให้ฟังกัน ถ้ากระทบกับ หินอ่อน หรือ หินแกรนิตหนาๆ เสียงจะใส สั่น กังวาน กว่านี้มากครับ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=3x-Zr_4LIsQ]เสียงพระสมเด็จวัดระฆัง - YouTube[/ame]

    คุณ Nong จะลองใช้วิธีนี้ดูก่อนก็ได้ครับ เพราะพระสมเด็จวัดระฆังมีหลายยุค ของแท้มีหลายพิมพ์ ไม่ต้องห่วงเรื่องพิมพ์ของหลวงวิจารณ์ พระอาจจะแท้ แต่ไม่นิยมก็ได้ครับ

    (พระสมเด็จวัดระฆังมีหลายเนื้อ หลายยุค เสียงที่ได้ยินนี้ จะใชได้กับพระสมเด็จที่มีเนื้อเป็นปูนเปลือกหอย ผสมกับน้ำมันตังอิ้ว อายุร้อยกว่าปีเท่านั้น)
     
  9. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    [​IMG]

    เนื้ออย่างนี้ทำเลียนแบบยากมาก เนื้อแกร่ง รอยยุบ ย่น แยก รูพรุน และที่สำคัญมวลสารเศษพระซุ้มกอ หรือพระกรุกำแพงเพชร สามารถตรวจสอบอายุด้วย C14 ได้ เพราะมีอายุประมาณ 700-800 ปี แม้ไม่ดูพิมพ์ก็จะทราบว่าเป็นของแท้ หรือทำเลียนแบบ เรียกว่าไม่ต้องพึ่งเซียนมาการันตี เซียนตายไปแลัวก็ยังแท้ และจะแท้ตลอดไป

    [​IMG]

    หลุมพระจันทร์ รอยย่น ยุบ แยก ที่ด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังครับ

    [​IMG]

    มีตำราบอกว่า "ฐานชั้นล่างสุดจะมีรอบยุบเป็นร่องตรงกลาง" ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีทุกองค์ เพราะรอยนี้อาจจะเกิดจากการกดพิมพ์ไม่แน่น คนสร้างพิมพ์คงไม่ทำพิมพ์ที่มีตำหนิออกมา เพราะถือกันว่าการทำบุญด้วยของสวยงามมีอานิสงส์มาก และตรงจุดนี้จะเป็นจุดที่ลึกที่สุดของพิมพ์ด้วยครับ
     
  10. seto12

    seto12 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +31
    ชอบการถ่ายภาพของ K.huyakorn อ่ะครับ มีอุปกรณ์ไรบ้างครับ
     
  11. hemicuda

    hemicuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +2,246
    ไม่ทราบว่าท่านตรวจ C-14 ที่ใหนเหรอครับ
     
  12. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    ใช้อุปกรณ์ง่ายๆ..ครับ

    1. พยายามใช้กล้องที่มีความละเอียดสูงๆเข้าไว้ น่าจะเริ่มต้นที่ 10 ล้านพิกเซ็ล กล้องที่ผมใช้ Nikon D90 ความละเอียด 12 ล้านพิกเซ็ล
    2. ใช้เลนส์เอนกประสงค์ทั่วไปแบบที่มีทั้ง Zoom และ Macro อยู่ในตัวเดียวกัน ถ้ามีตังค์ก็ถอยเลนส์ Micro ออกมาเลยแต่แพงครับ 20,000 กว่าบาท ส่วนของผมใช้เลนส์ Nikon AF 18-200 ครับ หมื่นกว่าบาท
    3. ขาตั้งกล้องที่แข็งแรงหน่อย เพราะถ้าไม่แข็งแรงเวลากดชัตเตอร์กล้องจะสั่น ทำให้ภาพไหว ไม่ชัดได้
    4. ผมซื้อขาไมค์บูมมาใช้เป็นแท่นวางพระเครื่องเวลาถ่ายรูป โดยดัดแปลงทำเป็นฐานพลาสติกเล็กๆยึดติดกับขาไมค์ตัวที่ขนานกับพื้น สามารถปรับสูงต่ำได้ ผมซื้อมาจากคลองถม 500 บาท แผ่นพลาสติกอีก 50 บาท แล้วใช้ใบเลื่อยเหล็กตัดพลาสติกออกมา 2 ชิ้น นำมาติดกาวต่อแบบมุม 90 องศา (พื้น และฉากหลัง)
    5. เวลาถ่ายก็ถ่ายในที่มีแสงสว่างจัดๆ แต่ไม่ควรให้ถูกแดด เพราะจะเกิดเงาสะท้อนของรังสี UV เวลาขยายภาพจะเห็นรายละเอียดเป็นสีรุ้ง ไม่เป็นธรรมชาติ
    6. หาซื้อกระดาษแข็งสวยๆ มีสีให้เลือกมากมาย อยากได้สีอะไรเป็นพื้นก็เลือกได้ตามใจชอบ เซ็นทรัลก็มีครับขายเป็นขีด ขีดนึงได้ประมาณ 3-4 แผ่น 20 บาท
    7. เวลาถ่ายให้ถ่ายหลายๆ shots เต็มองค์บ้าง ครึ่งองค์บ้าง แยกถ่ายเป็นส่วนๆ แล้วมาเลือกทีหลัง
    8. การปรับโฟกัสควรใช้แบบ Manual ให้ใช้มือปรับ เพราะ Auto-Focus เราจะกำหนดจุดชัดไม่ค่อยได้ เนื่องจากองค์พระมีความหนา สูง-ต่ำ ไม่เท่ากัน เช่น พระสมเด็จจะมีทั้ง เส้นซุ้ม ฐาน องค์พระ และพื้นหลัง ความสูง-ต่ำจะไม่เท่ากัน ถ่ายออกมาแบบใกล้ๆก็จะชัดเป็นส่วนๆไป
    9. ใช้โปรแกรมช่วยแต่งภาพ เช่น Photoshop, ACDsee ฯลฯ ช่วยปรับภาพให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น หรือช่วยตัดภาพเฉพาะจุด แบบที่ผมใช้กับรูปพระสมเด็จก็ได้ครับ

    แค่นี้เราก็ได้ภาพถ่ายพระเครื่องที่สวยงามออกมาแล้วครับ

    ส่วนของคุณ hemicuda ที่ถามเรื่อง C-14 พอดีมีผู้แนะนำว่าที่นี่ตรวจโดยใช้น้ำยาพิเศษ สามารถตรวจได้ในระดับตั้งแต่ 100 ปีขึ้นไป ผมกำลังหาทางนัดเวลาอยู่ เพราะคิวยาวมาก ค่าตรวจก็ประมาณหลักพันต้นๆ ผมจะนำพระสมเด็จที่ลงในกระทู้นี้ไปตรวจ ถ้าได้ความยังไงแล้วจะมาเล่าให้ฟังครับ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2012
  13. hemicuda

    hemicuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +2,246
    ขอโทษนะครับผมเคยเรียนเรื่องนี้มาถ้าบอกว่า 100 ปี ตรวจได้ ผมเตือนว่าท่านโดนหลอกแล้วครับ แล้วยังตรวจด้วยนำยาพิเศษ คือ น้ำยาอะไรเหรอครับ

    เมื่อสิ่งมีชีวิตตายไป การแลกเปลี่ยนคาร์บอน-14 ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับชั้นบรรยากาศสิ้นสุด ทำให้ปริมาณคาร์บอน-14 ที่มีอยู่เดิมลดจำนวนลงไปเรื่อย ๆ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการสลายกัมมันตรังสี ของธาตุกัมมันตรังสี จากกฎการสลายกัมมันตรังสีของธาตุกัมมันตรังสี สามารถคำนวณหาเวลาตั้งแต่สิ่งมีชีวิต นั้นตายไปจนกระทั่งถึงปัจจุบัน (ปี) โดยทั่วไปการหาอายุโดยวิธีนี้ สามารถหาอายุได้ในช่วง 200 ถึง 50,000 ปี ซึ่งตัวอย่างที่สามารถนำมาหาอายุโดยวิธีนี้ต้องมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ ไม้ ถ่าน เปลือกหอย กระดูก และพีต เป็นต้น จะเห็นว่าตัวอย่างที่กล่าวมานั้นมาจากสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้น สำหรับตัวอย่าง หิน แก้ว เครื่องปั้นดินเผา ไม่สามารถนำมาหาอายุโดยวิธีนี้ได้
    เทคโนโลยีคาร์บอน-14 หาอายุของวัตถุโบราณ
    ธาตุ C -14 มีครึ่งชีวิต (half life) เท่ากับ 5,730 ปี ซึ่งหมายความว่าภายในเวลา 5,730 ปี ครึ่งหนึ่ง ของอะตอม C -14 ที่มีในวัตถุ จะสลายตัว และอีก 5,730 ปี ครึ่งหนึ่งของอะตอม C -14 ที่เหลือซึ่งก็คือ 1 ใน 4 ของของเดิมจะสลายตัว เป็นเช่นนี้ไปทีละครึ่งของ ที่มีในทุก 5,730 ปี จนกระทั่งอะตอมของ C -14 สลายตัวหมด และเพราะเหตุว่าความร้อน ความเย็น หรือความดันใดๆ ไม่สามารถ ชะลอหรือเร่งเวลาใน การสลายตัวของอะตอมเหล่านี้ได้เลย ดังนั้นการรู้อัตราการสลายตัวของ C -14 ที่มีในวัตถุ จะทำให้ นักวิทยาศาสตร์คำนาณหาอายุของวัตถุนั้นได้ทันที
    เครื่องมือที่ใช้ในการวัดกัมมันตภาพรังสีของคาร์บอน-14
    มี 2 แบบ คือเครื่องนับรังสีแบบสัดส่วนในแก๊ส (Gas Proportional Counter) เครื่องนับรังสีแบบแสงวับในของเหลว (Liquid Scintillation Counter)
    1. เครื่องนับรังสีแบบสัดส่วนในแก๊ส จะต้องเปลี่ยนคาร์บอนในตัวอย่างให้อยู่ในรูปของแก๊ส เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทน หรือแก๊สอะเซทิลีน
    2.เครื่องนับรังสีแบบแสงวับในของเหลวนั้น จะต้องเปลี่ยนคาร์บอนให้อยู่ในรูปของสารประกอบ เบนซีน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการเคมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือการเปลี่ยนคาร์บอนในตัวอย่างให้อยู่ใน รูปแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ การเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นแก๊สอะเซทิลีน และการเปลี่ยน แก๊สอะเซทิลีนเป็นสารประกอบเบนซีน หรือทำการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงด้วย สารละลายที่เป็นด่าง การหาอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14 จำเป็นต้องวัดกัมมันตภาพรังสีของคาร์บอน-14 ในตัวอย่างเปรียบเทียบกับกัมมันตภาพรังสีของสารมาตรฐาน โดยทั่วไปสารมาตรฐานที่นิยมใช้อยู่ใน ปัจจุบัน คือ กรดออกซาลิก และ ANU Sucrose
    ก้าวทุกวินาที กับ... สหวิชา ดอท คอม
     
  14. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269
    รอฟังผลตรวจเลยครับ...แหะๆ
     
  15. ครูชายแดน

    ครูชายแดน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,053
    ค่าพลัง:
    +2,787
    อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับสวดยอดดดดด:cool:
     
  16. โจ๊คเสาธง

    โจ๊คเสาธง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +94
    เอ่อ!!! แถวนี้มีใครทราบไม๊ครับ หมอชิตไปทางใหน....???
     
  17. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    [​IMG]

    ตามแผนที่นี้ไปเลยครับ หรือจะนั่งแทกซี่ไปก็ได้ แต่ถ้าไปตอนกลางคืนมืดๆ มองเห็นไม่ชัด ระวังโดนหลอกนะครับ เดี๋ยวนี้แท๊กซี่เถื่อนเยอะ ระวังจะโดนจี้ หรือเอาไปลอกคราบ ครับ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2012
  18. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    พักสายตากันดีกว่านะครับ ชุดพระปิดตาของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ มีพิมพ์แรกๆ 1 องค์ และพิมพ์หลังแบบ 2 องค์ ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. ตั้งใจธรรม

    ตั้งใจธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    449
    ค่าพลัง:
    +483
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ที่ร่วมแบ่งปันครับ เคยมีพี่ท่านหนึ่งเค้าแนะนำเหมือนกันครับ แต่เป็นการแนะนำสถานที่ในการตรวจสอบ ผมเคยลองโทรไปติดต่อดูแล้ว เค้าให้เราโทรนัดก่อนล่วงหน้าว่าทางสถานที่สะดวกเวลาให้เราได้วันไหน ค่าตรวจสอบอยู่ที่ 1,000 บาทครับ เบื้องต้นเค้าจะพิจารณาพระเราก่อนว่ามีคุณสมบัติที่สามารถตรวจค่า คาร์บอน 14 ได้ไหม จากนัดจะเป็นการเก็บชิ้นส่วนเพื่อทำการตรวจ เมื่อผลออกมาเค้าจะมีค่าอายุความเก่าให้เรา จากนั้นเมื่อค่าความเก่าเราได้หากทางเราต้องการใบรับรอง เค้าจะออกให้ผมไม่แน่ใจว่าเป็นค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ แต่คงไม่เกิน 500 ยังคิดชังใจอยู่เหมือนกันครับ ว่าจะตรวจดีไหม เพราะกลัวจะเป็นการตรวจที่ตัดสินใจเองของเค้าครับ กลัวจะเสียเงินฟรีแถมใบประกาศเก๊ แต่พอได้อ่านบทความที่พี่เขียนเลยเปลี่ยนความตั้งใจได้เยอะดีครับ ขอบคุณครับ
     
  20. โจ๊คเสาธง

    โจ๊คเสาธง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +94
    เฮ้อ...กลับถึงบ้านแล้วครับถ้าไม่ได้แผนที่ล่ะแย่เลย อ่านไปอ่านมามึนกลับไม่ถูกเลย
    ขอบคุณคร้าบบบบ ขอเอี่ยวเรื่องตรวจอายุพระด้วยคาร์บอน หรือคาร์บ๊องอะไรเนี่ย
    เคยมีคนรู้จัก(นานนนแล้ว)เอาพระสมเด็จไปให้ สนง.ปรมณูเพื่อสันติ ทำการตรวจสอบ
    เจ้าหน้าที่ก็ใจดีแนะนำว่าพระอายุแค่ร้อยกว่าปีนี้ตรวจไม่ได้หรอก แล้วอีกอย่าง
    ถ้าจะทำจริงๆ ต้องบดพระให้ละเอียดเอาตัวอย่างไปทำที่เมืองนอก ค่าLaptest แพงมาก
    ก็เลยเอวังด้วยประการละเช่นนี้..............
    อีกนิดอันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว... ถ้ามันทดสอบกันได้ง่ายๆ ราคาถูกๆป่านนี้บรรดาเซียนๆสมเด็จ พระกรุ นักปลอมพระทั้งหลายตายเกลื่อนแล้วครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...