จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ศีล คือ ชีวิต...ชีวิต คือ ศีล

    คนที่บอกว่าเขารักชีวิต แต่เขาไม่รักษาศีล
    จะเชื่อถือได้อย่างไรว่าเขารักชีวิตจริง

    คนไม่มีศีล เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ไม่มีราก
    เมื่อถูกลมพัดก็ย่อมล้ม

    คนไม่มีศีล เหมือนการสร้างบ้าน
    สร้างตึกที่ไม่มีรากฐานไม่มีเสาเข็ม
    ย่อมล้มเป็นธรรมดา

    คนไม่มีศีล เหมือนคนไม่มีเท้าย่อมเดินไม่ได้
    เหมือนรถไม่มีล้อแล่น วิ่งไม่ได้

    คนไม่มีศีล จะเจริญสมาธิและกระทำให้เกิดปัญญา
    และวิมุตติไม่ได้ และสำเร็จมรรคผลนิพพานไม่ได้

    คนมีศีล ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟก็ไม่ไหม้
    (ไม่ว่าจะอยู่ในหมู่คนพาลหรือคนดี ย่อมรักษาตัวรอดได้)


    คนมีศีล จะนั่งนอน หลับตื่น ก็เป็นสุขอยู่ในกาลทุกเมื่อ
    ไม่มีวิปฏิสาร (คือความเดือดร้อนใจ)


    คนมีศีล มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวย่อมประเสริฐกว่า
    ผู้ไม่มีศีลซึ่งมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี

    คนมีศีล ย่อมไม่ทำบาปแม้ในที่ลับ
    เพราะมีความตรงและจริงใจต่อตนเอง

    ศีล คือ เครื่องรางที่ป้องกันอบายภูมิได้อย่างศักดิ์สิทธิ์
    คนมีศีล ย่อมมีสุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า

    คนมีศีล จะค้าขายก็จะมีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว

    คนมีศีล เข้าสมาธิก็ง่าย ไม่สะดุ้งตกใจง่าย

    คนมีศีล ย่อมไม่ฝันลามก ย่อมไม่ฝันร้าย

    คนมีศีล บรรลุธรรมก็ง่าย

    คนมีศีล ย่อมไม่ก่อกรรมทำบาป

    คนมีศีล คือ ผู้ที่มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง
    (คือเชื่อในพระรัตนตรัยจริงๆ)

    คนมีศีล ย่อมเห็นโทษของบาปแม้เพียงเล็กน้อย

    เพราะผิดศีลข้อ ๑ จึงมีกรรม อายุสั้น มีโรคภัยไข้เจ็บมาก

    เพราะผิดศีลข้อ ๒ จึงมีกรรม ทรัพย์สมบัติต้องวิบัติ
    ด้วยแรงกรรมต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ

    เพราะผิดศีลข้อ ๓ จึงมีกรรม ภริยา-สามี นอกจิต นอกใจ
    บุตร-ธิดาไม่อยู่ในโอวาทคบชู้สู่ชาย

    เพราะผิดศีลข้อ ๔ จึงมีกรรม พูดจาไม่มีคนเชื่อถ้อยฟังคำ

    เพราะผิดศีลข้อ ๕ จึงมีกรรม โง่เง่า หลงทำกาลกิริยา เป็นบ้า เป็นใบ้

    รักษาศีลให้ได้ มีสุคติเป็นที่ไปแน่นอน

    รักษาศีลให้ได้ มีโภคทรัพย์แน่นอน

    รักษาศีลให้ได้ มีนิพพานเป็นที่ไป และเข้าถึงแน่นอน


    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
     
  2. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...พระมหาบัว ญาณสัมปันโน...

    ...ท่านได้ให้โอวาทถึง...อริยสัจนอก อริยสัจใน...

    ...ต่อไปนี้จะอธิบายอริยสัจ ทั้ง อริยสัจนอก และ อริยสัจใน...

    ...เพื่อท่านผู้ฟังซึ่งมีความเป็นอยู่แลเเพศ...ตลอดนิสัยและ...

    ...แง่แห่งความรู้สึกไม่เหมือนกันได้ฟัง จะได้นำไปปฏิบัติให้เหมาะสม...

    ...กับหน้าที่ของตน...กิระดังได้ทราบมา พระพุทธเจ้าแสดงถึงแต่...

    ...เรื่องความทุกข์ของสัตว์...ทำให้ผู้ฟังเกิดอิดหนาระอาใจ...และเกิดความเหี๋ยว

    ...แห้งใจไม่ร่าเริงต่อการฟังธรรม...คล้ายกับจะทำให้จิตของผู้ฟังมีความเศร้าหมอง

    ...เศร้าโศก...เพราะเรื่องของทุกข์จากการฟังธรรม...และเรื่องของทุกข์ที่มีอยู่...

    ...ภายในตัวของท่านผู้ฟังมาประดังกันมิหนำหลักธรรมของพระศาสนา คือ...

    ...อริยสัจ ก็ยิ่งยกกองทุกข์แสดงเป็นอันดับแรก...คล้ายกับจะขับไล่ผู้กำลัง...

    ...กลัวทุกข์วิ่งเข้ามาพึ่งธรรมซึ่งเป็นของเย็นให้เผ่นไปเสีย...โดยไม่ยอมนั่ง...

    ...ฟังผู้เทศน์พรรณนาเรื่องทุกข์ให้ฟังต่อไป...เพราะพระศาสนาสอนแต่เรื่องทุกข์.

    ...อย่างออกหน้าออกตา...นี่ถ้าจะคิดและพูดกันไปในทำนองนั้น...ก็แสดงให้เห็นว่า.

    ...ผู้นั้นยังไม่ได้รับการศึกษาอบรมให้รู้ความหมายของศาสนาที่แท้จริงให้ดีพอ

    ...เพราะที่พระศาสนาสอนเช่นนั้นเป็นการสอน ที่ถูกต้องตามหลักความจริง...

    ...สมนามว่าอริยสัจ ซึ่งเป็นหลักธรรมของพระศาสนา...เป็นจริง...

    ...และพระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้จริง...จึงสามารถสอนและชี้ถูกจุดบกพร่องของสัตว์...

    ...เพราะทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่คนและสัตว์...นั้นย่อมมีสาเหตุมาจากจุดบกพร่อง.

    ...เช่น ร่างกายเป็นโรคอันเป็นทางมาของทุกข์...ก็แสดงว่าร่างกายมีส่วนบกพร่อง

    ...ภายในตัว...หากว่าร่างกายยังสมบูรณ์อยู่ทุกๆ ส่วนแล้ว จะไม่มีช่องทาง...

    ...ให้ทุกข์เกิดได้เลย...จะเห็นได้จากคนไข้ด้วยโรคต่างๆ พากันหลั่งไหล

    ...เข้าไปรักษาที่โรงพยาบาล ทั้งนี้ล้วนเป็นผู้มีส่วนบกพร่องในร่างกายทั้งนั้น...

    ...ไม่ใช่ผู้มีร่างกายอันสมบูรณ์เลย...แม้การตรวจโรคและการยาของหมอ

    ...ก็คือตรวจดูสิ่งบกพร่องและการแก้ไขซ่อมแซมสิ่งบกพร่องของคนไข้ให้...

    ...สมบูรณ์ขึ้นเท่านั้นเอง...ถ้าการรักษาเริ่มดีขึ้น...คนไข้ก็เริ่มมีความสุข...

    ...เพราะโรคถูกกับยา...ถ้าร่างกายได้รับการรักษาโดยถูกต้อง โรคก็หาย...

    ...ทุกข์ที่มีอยู่ในใจก็ดับไป...นี่แหละอริยสัจนอก อริยสัจใน...

    ...พระธรรมคำสั่งสอนของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน...

    ...ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ กราบ กราบ กราบ...

     
  3. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]

    พระธรรมคำสอน
    โดย หลวงพ่อชา สุภทฺโท

    วัดหนองป่าพง
    ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


    มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข
    ความจริงสุขนั้นก็คือ ทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง
    ส่วนทุกข์ก็คือ ทุกข์อย่างหยาบ
    พูดอย่างง่ายๆ สุขและทุกข์นี้ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง
    ทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข
    เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ ทางปากมันมีพิษ
    ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา
    ไปจับหางมันก็ดูเหมือนเป็นสุข
    แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน
    เพราะทั้งหัวงูและหางงู มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน
    คือ ตัณหา ความลุ่มหลงนั่นเอง


    ฉะนั้น บางทีเมื่อมีสุขแล้วใจก็ยังไม่สบาย ไม่สงบ
    ทั้งที่ได้สิ่งที่พอใจแล้ว เช่น ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ
    ได้มาแล้วก็ดีใจก็จริง แต่มันก็ยังไม่สงบจริงๆ
    เพราะยังมีความเคลือบแคลงใจ ว่ามันจะสูญเสียไป
    กลัวมันจะหายไป ความกลัวนี่แหละเป็นต้นเหตุให้มันไม่สงบ
    บางทีมันเกิดสูญเสียไปจริงๆ ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก
    นี่หมายความว่า ถึงจะสุขก็จริงแต่ก็มีทุกข์ดองอยู่ในนั้นด้วย
    แต่เราไม่รู้จัก เหมือนกันกับว่าเราจับงู
    ถึงแม้ว่าเราจับหางมันก็จริง ถ้าจับไม่วางมันก็หันกลับมากัดได้

    ฉะนั้น หัวงูก็ดี หางงูก็ดี บาปก็ดี บุญก็ดี
    อันนี้อยู่ในวงวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง
    ดังนั้น ความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว ก็ไม่ใช่หนทาง

    ดูไม้ท่อนนี้ซิ .... สั้นหรือยาว
    สมมติว่า คุณอยากได้ไม้ที่ยาวกว่านี้ ... ไม้ท่อนนี้มันก็สั้น
    แต่ถ้าคุณอยากได้ไม้สั้นกว่านี้ ... ไม้ท่อนนี้มันก็ยาว
    หมายความว่า “ตัณหา” ของคุณต่างหาก
    ที่ทำให้มีสั้น มียาว มีชั่ว มีทุกข์ มีสุข ขึ้นมา

    ลงท้ายแล้ว แนวทางการทำสมาธิภาวนาทุกแบบ
    ต้องเป็นไปเพื่อการปล่อยวาง
    ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่น ... แม้ในตัวอาจารย์
    แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น
    ก็เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง

    ถ้าเราเอาชนะตัวเอง
    มันก็จะชนะทั้งตัวเอง ชนะทั้งคนอื่น ชนะทั้งอารมณ์
    ชนะทั้งรูป ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น ทั้งรส ทั้งโผฏฐัพพะ
    เป็นอันว่า ชนะหมด

    อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจ ข้อนี้เป็นศีล
    การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่าสมาธิ
    การพิจารณากำหนดลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยาก มิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง
    ข้อนี้เรียกว่าปัญญา

    นั่ง มันสงบก็ดูความสงบไป ที่มันไม่สงบก็ดูความไม่สงบไป
    ที่มันสงบนั้นก็เป็นเรื่องของจิต มันเป็นอย่างนั้นไม่ได้เป็นอย่างอื่น
    มันสงบแล้วก็สงบไป ถ้าไม่สงบก็ไม่สงบไป
    เราจะไปทุกข์เพราะมันไม่สงบไม่ได้ เราจะดีใจเพราะจิตสงบมันก็ไม่ถูก

    การฝึกจิตหรือการภาวนานี้ ถ้าจิตสงบแล้ว
    เราจะออกจากเพื่อน ไม่อยากคลุกคลี เพื่อนมาหาก็รำคาญ
    คนที่จิตยังไม่สงบจะชอบอยู่กันหลายคน พูดมากวุ่นวาย
    บางองค์จิตไม่อยู่นึกถึงองค์นั้นก็ไปหา นึกถึงเรื่องนั้นก็ชวนคุย
    เป็นไปตามคำสั่งตามอาการของกิเลสตัณหา
    ผู้ประพฤติปฏิบัติจริงอยู่กันร้อยสองร้อยก็ไม่มีเสียงคุย

    มรรคผลนิพพานมีอยู่ ... แต่สิ่งเหล่านั้นเกิดจากการปฏิบัติ
    เกิดจากการทรมาน กล้าหาญ กล้าฝึก กล้าหัด กล้าคิด
    กล้าแปลง กล้าทำ การทำนั้นทำอย่างไร
    ท่านให้ฝืนใจตัวเอง ใจเราคิดไปทางนี้ท่านให้ไปทางโน้น
    ใจเราคิดไปทางโน้นท่านให้ไปทางนี้ ทำไมท่านจึงให้ฝืนใจ
    เพราะใจถูกกิเลสเข้าพอกเต็มที่แล้ว มันยังไม่ได้ฝึกหัดดัดแปลง
    ยังไม่เป็นศีลเป็นธรรม ใจมันยังไม่แจ้งจะไปเชื่อมันได้อย่างไร

    กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย คือนักปฏิบัติ
    กินมาก นอนมาก พูดมาก คือคนโง่

    ถ้าเป็นของที่ซื้อมา สั่งมา หรือขอเขามา
    จะดีอย่างไรก็เห็นเป็นของไม่ดีไปหมด
    แต่ถ้าเป็นของที่ได้มาเองแม้ไม่ค่อยดี แตกหัก
    พอซ่อมแซมใช้ได้ก็ดูเป็นของดียิ่งนัก

    ฝึกให้ได้ว่าถึงเวลาวางก็ให้มันวาง
    ให้มันเป็นคนละอย่าง คนละอย่าง คนละอันกัน
    ทำก็ได้วางก็ได้ ให้มันขาดกันไปเลย
    ฝึกไปก็ค่อยเบาไป ง่ายขึ้น ทำอะไรก็หัดตัวเองอย่างนั้น
    ทำก็ได้วางก็ได้ เลยได้รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์และทีนี้
    เหตุที่ทุกข์เกิดก็รู้จักแล้ว ธรรมเกิดเพราะเหตุรู้จักแล้ว
    เห็นแล้ว เกิดอย่างนี้นี่เอง จากนั้นมาไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน
    ก็มีแต่ความสนุกเบิกบาน

    เราปฏิบัติอย่าให้หูหางมันเกิดขึ้น เป็นอะไรแล้วก็ให้มันแล้วกันไป
    เป็นพระโสดาบันแล้วก็ให้มันแล้วไป เป็นพระอรหันต์แล้วก็ให้มันแล้วไป
    อยู่ง่ายๆ ทำประโยชน์ไปเรื่อยๆ อยู่ที่ไหนก็อยู่ไปได้เป็นปกติ
    ไม่ต้องไปโอ้อวดว่าเราได้ เราเป็นอะไรๆ ทั้งนั้น

    ผู้ถึงสันติธรรมย่อมมีจิตอยู่อย่างนอกเหตุเหนือผล
    นอกสุขเหนือทุกข์ นอกดีเหนือชั่ว นอกเกิดเหนือตาย
    มันก็ทำความเกิดนั้นไม่ให้เป็นทุกข์ คือมันเกิดดับ
    ให้มีสติประจำกาลที่ได้ทำและคำที่พูดอยู่เสมอ
    นี่เรียกว่าปฏิปทาของจิต


    สาธุค่ะ ... กราบแทบเท้า หลวงปู่ เจ้าค่ะ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2013
  4. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...จะเอาอะไรกับใจคน...

    ...เมื่อชม...ก็ชอบใจ...เมื่อติ...ก็แค้นเคือง..

    ...เราได้ร่างที่เป็นทุกข์...อยู่กับร่างที่เป็นทุกข์...

    ...อยู่กับมันแล้ว...ยังจะกลับมามี...ร่างนี้อีกหรือ...

    ...ถามใจเจ้าของว่า...มันมีอะไรน่าชื่นใจ...หรือพอใจ...

    ...แต่มันเกิดกับสัตว์โลก...อย่างเราอย่างไม่มีใครหลีกได้...

    ...เพราะมัน คือ ธรรมชาติ และธรรมดา...

    ...จึงขอฝากไว้กับท่านผู้อ่านทุกๆท่านค่ะ...
     
  5. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]
     
  6. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    ธรรมะสำหรับผู้ป่วย

    โดย : พระไพศาล วิสาโล


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=msxzQOuK-iA&feature=em-subs_digest&list=TLzP_8J5AEhRI]เตรียมใจในยามป่วยหนัก - YouTube[/ame]​
     
  7. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ธรรมะเป็นของใกล้ตัวหรือในตัวเราคือ รูปกับนามนั้นเอง...หรือกายกับใจ คําว่าใจก็คือ รู้ การรับรู้ และกายหรือรูปนี้ไม่รู้อะไรคือมีสภาพไม่รู้เพราะเป็นกาย...เหมือนเราหมดสติหรือสลบก็ไม่สามารถรู้ได้...เราต้องอาศัยใจหรือนามในการรับรู้หรือคิด-สังเกตุเราก็จะเห็นตาม เพราะทุกอย่างเกิดมาจากเหตุ เพราะไม่มีเหตุก็ไม่มีผล...เพราะมีเหตุจึงทําให้เกิดผลตามมานั้นถ้าเราเป็นผู้รู้แล้วเราก็คงไม่มาก่อเหตุที่ทําให้เราเป็นทุกข์ อย่างเราได้เกิดมาก็มาจากความไม่รู้คือ อวิชาเพราะไม่รู้จึงก่อเหตุทําให้เกิดเป็นเราขึ้นมาถ้าผู้รู้แจ้งแล้วก็ไม่ทําเหตุนั้นๆ เราก็ต้องทําเหตุให้แจ้งในอริยสัจข้อที่สอง คือสมุทัยตัวก่อเหตุ...เหตุในที่นี่ก็คือเหตุให้เกิดทุกข์มาจากไหนนั้นเอง แล้วจะดับมันได้อย่างไรก็ต้องหาทางนั้น ก็คืออริยสัจข้อที่สาม นิโรธเราก็ต้องหาทางดับทุกข์ แล้วก็อาศัยมรรคมีองค์แปดนั้น เราก็ต้องดําเนินตามมรรคนั้นเราก็จะเข้าถึงเหตุแห่งการดับทุกข์ได้...เพราะมรรคนั้นเป็นทางที่จะทําให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงความหลุดพ้นได้...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2013
  8. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...มาคนเดียว...ไปคนเดียว...

    ...จะมีอะไรตัดพ้อล่ะ...จงเตรียมใจไว้เถอะ เมื่อถึงเวลานั้น...

    ...จะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์...เพราะผู้ที่เตรียมพร้อมแล้วย่อมรู้...

    ...ว่าทุกข์อย่างล้วนแต่เป็นทุกข์...กายนี้ ใจนี้ และอารมณ์ที่...

    ...หลงไปทั้งหลาย ทั้งหมด...ล้วนแต่เป็นทุกข์...ความเกิดเป็นทุกข์...

    ...ความอยู่ก็เป็นทุกข์...ภพชาติเป็นทุกข์...

    ...ใจที่ซ่านไปกับอารมณ์ทั้งหลาย...ไม่แน่ไม่นอนเป็นทุกข์...

    ...ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน...จงเป็นผู้ที่เห็นทุกข์...

    ...และคิดเสมอว่า...เรามาคนเดียว...เราก็ไปคนเดียว...

    ...ขอบพระคุณสำหรับผู้อ่านทุกๆท่านค่ะ...
     
  9. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ความไม่ประมาทที่ไม่ควรทํา ๔​
    ๑.ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต
    ๒.ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต
    ๓.ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต
    ๔.ในการละความเห็นผิด ทําความเห็นให้ถูก
    หรืออีกอย่างหนึ่ง
    ๑.ระวังใจไม่ให้กําหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด
    ๒.ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
    ๓.ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
    ๔.ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา
    ที่มาหนังสือนักธรรมและธรรมศึกษา
     
  10. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ธรรมะคำสั่งสอนขององค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    เวลาชีวิตจิตใจของคนที่จนตรอกจนมุมเข้ามาจริงๆ วาระสุดท้ายที่ชีวิตสิ้นสุดลงต้องเป็น

    แบบนี้ จิตจะต้องคิดไปต่างๆ เช่นคิดถึงคุณงามความดีบ้าง คิดถึงความชั่วบ้าง...

    ถ้าเคยทำความดีไว้พอคิดถึงความดี...จิตเกาะปั้บทันที และเย็นไปเลย ยิ่งผู้ที่ปฏิบัติ

    ความดีอยู่เรื่อยมาแล้ว...ไม่ต้องส่งสัยความดีนั้นแลเป็นเพื่อน เป็นมิรตสหาย เป็นคู่พึ่ง

    เป็นพึ่งตายได้อย่างแท้จริงยิ่งกว่าสิ่งใดๆ ในโลก ฉะนั้นถ้าเราทำความดีเป็นกิจ... พอคิดถึง

    ความดีจิตก็เกาะปั้บทันทีจำไว้...

    พระธรรมคำสอนขององค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    ลูกกราบน้อมรับคำสอนขององค์ท่าน และน้อมกราบองค์ท่านด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2013
  11. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Ge73wwmVqmo]กล้วยไม้ นัดดา วิยะกาญจน์ - YouTube[/ame]​
    ว่ากล้วยไม้สวยสดงดงามแล้วนะ
    แต่จิตเราสวยสดงดงามมากกว่าหลายเท่า
    ธรรมชาติเขาสร้างสรรค์มาให้เราสวยสดงดงามทุกสิ่งทุกอย่าง
    แต่จะมีสักกี่คนที่มองเห็นความสวยสดงดงามของธรรมชาติที่มอบให้
    เห็นมีแต่คนเราที่ไม่ค่อยจะสร้างสรรค์ เห็นมีแต่จะชอบทำร้าย เบียดเบียนตนเองหรือคนกันเอง
    เห็นมีแต่จะชอบทำลาย เบียดเบียนสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติ
    สรุปแล้ว
    เห็นมีแต่สิ่งภายในที่สวยสดงดงามกว่าสิ่งภายนอก นั่นก็คือ จิตใจเรา

    ขอจัดเพลงเอาใจสว.สูงวัยหน่อยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มีนาคม 2013
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=lhIyIP1_cHw]ความทุกข์ฯ ท่าน ว.วชิรเมธี - YouTube[/ame]​
    แท้ที่จริงแล้วธรรมะก็อยู่ภายในตัวของเราทุกคน นี่แหล่ะ!
    หาใช่ที่ไหนไม่ หรือหาใช่ที่วัดหรือที่พระ
    อย่าหลงไปตามหาจากที่อื่นที่ใด
    นั่นก็คือ สิ่งที่กำลังกระทบจิต กำลังนึกคิด กำลังปรุงแต่ง กำลังฟุ้งซ่าน
    หรือเรากำลังรู้สึกเป็นทุกข์อยู่นั่นไงเล่า!

    ดั่งพุทธภาษิต "ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นเห็นธรรม"

    วันนี้เราเห็นทุกข์เห็นธรรมกันหรือยัง?
    วันนี้เราเบื่อทุกข์กันหรือยัง?
    แต่ถ้าเราเบื่อทุกข์ ก็เริ่มเห็นทุกข์ เห็นธรรม
    นี่แหล่ะจะเป็นโอกาสหรือมีกำลังใจที่ดีในการละขันธ์ ๕ ละสักกายทิฎฐิ
    ผู้ใดละได้แล้ว ก็อยู่กับตัวทุกข์คือร่างกายได้อย่างสบาย โดยไม่เป็นทุกข์อีกต่อไป
    ขอให้มีความสุขกาย สบายใจ เจริญในธรรมและมีพระพุทธเจ้าอยู่ในดวงจิตทุกๆท่านด้วยเทอญ
    สาธุๆๆ
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,003
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ความว่างที่สร้างความสุข

    ท่าน ว.วชิรเมธี


    นักปราชญ์ชาวเอเชียวัยกลางคนหนึ่งเล่าว่า
    มีชายหนุ่มอยู่คนหนึ่ง แกเป็นคนอัตคัตความสุข
    พยายามแสวงหาความสุขจากวิธีการต่างๆ
    แต่แล้วก็ยังรู้สึกว่า ไม่ใช่ความสุขแท้ที่ตัวเองต้องการ


    อยู่มาวันหนึ่ง มีผู้แนะนำว่า
    ถ้าอยากมีความสุขก็ควรจะมีบ้านเป็นของตัวเอง
    เพราะในบ้านของเรานั้น
    เราสามารถเป็นเจ้าของทุกอย่างในบ้าน
    โดยที่ไม่ต้องมีใครมาคอยกวนใจ
    ซ้ำยังมีอิสระที่จะเสกสรรค์ปั้นแต่ง
    หรือจัดบ้านให้เป็นไปตามความต้องการของตนเองอย่างไรก็ได้


    เขาเชื่อตามที่มีผู้แนะนำ
    จึงตัดสินใจสร้างบ้านขึ้นมาหลังหนึ่ง
    เมื่อแรกสร้างบ้านนั้น บ้านของเขาหลังใหญ่ทีเดียว
    พอมีบ้านแล้ว เขามีความสุขมาก
    เขาเริ่มจัดบ้านตามต้องการ
    และเริ่มหาข้าวของต่างๆ มากมาย
    มากองไว้ในบ้านทีละอย่างสองอย่าง


    จนกระทั่งวันหนึ่ง ห้องว่างๆ ในบ้านของเขาก็หายไป
    ทุกพื้นที่ในบ้านเต็มไปด้วยข้าวของระเกะระกะ
    มองไปทางไหนก็รกหูรกตา


    ทีนี้ชายหนุ่ม เริ่มรู้สึกว่าบ้านของตนเอง
    ช่างเป็นสถานที่ที่ไม่น่าอยู่ อากาศก็อุดอู้
    เขาเริ่มบ่นกับตัวเองว่า คิดผิดถนัดที่สร้างบ้านขึ้นมา
    เพราะนึกว่าบ้านจะให้ความสุขได้นานๆ
    บางวันเขาก็ครุ่นคำนึงว่า
    น่าจะสร้างบ้านให้หลังใหญ่กว่านี้
    จะได้บรรจุอะไรต่อมิอะไรได้เยอะๆ ตามต้องการ


    ขณะที่เขาเริ่มไม่มีความสุข
    เพราะบ้านกลายเป็นโกดังเก็บของนั้นเอง
    ก็มีนักปราชญ์คนหนึ่งผ่านมาแถวนั้น
    เขาบ่นดังๆ จนปราชญ์คนนั้นได้ยิน
    นักปราชญ์หนุ่มจึงแนะนำว่า
    ถ้าเขาอยากให้บ้านเป็นสถานที่แห่งความสุข
    ก็ไม่เห็นจะยากอะไร
    เพียงแต่ขนข้าวของทั้งหมด
    ออกมาวางข้างนอกบ้านเสียก็หมดเรื่อง


    ชายหนุ่มได้ยินเช่นนั้น รีบทำตามทันที
    เขาเริ่มขนข้าวของซึ่งโดยมากล้วนเป็นสิ่งซึ่งไม่จำเป็น
    หากแต่เขาเก็บเอาไว้
    เพราะความละโมภมากกว่าออกมาทิ้งนอกบ้าน
    ขนอยู่สองวัน จนบ้านว่าง โล่ง
    และดูกว้างขึ้นมาผิดหูผิดตา
    คราวนี้เขามีความสุขมาก
    รำพึงกับตัวเองว่า
    แหม บ้านของฉันช่างกว้างขวาง และน่าอยู่เสียนี่กระไร
    นักปราชญ์ได้ยินแล้วก็ได้แต่อมยิ้ม
    ก่อนจะเปรยขึ้นมาว่า
    บ้านของเจ้าน่ะ มันกว้างขวาง ว่าง โล่ง
    และน่าอยู่มาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว
    เจ้าของต่างหากล่ะที่ทำให้มันไม่น่าอยู่
    ด้วยการบรรจุอะไรๆ ที่เกินจำเป็นใส่เข้าไป
    จนบ้านกลายสภาพเป็นกองขยะดีๆ นี่เอง


    ใช่หรือไม่ว่า คนส่วนใหญ่ที่กำลังกวาดตา
    มองหาความสุขและพยายามที่จะเติมสิ่งนั้นสิ่งนี้เข้าไปในชีวิต
    แต่แล้วก็ยังคงรู้สึก “พร่อง”
    หรือหมักหมมไปด้วยความทุกข์อยู่เหมือนเดิม
    ไม่แตกต่างอะไรกับชายเจ้าของบ้านในนิทานปรัชญาเรื่องนี้


    การจัดการชีวิตให้มีความสุขนั้น
    ทางที่ถูก อาจไม่ใช่การใส่อะไรลงไปในชีวิต
    แต่แท้ที่จริงแล้ว คือการถ่ายเท ปล่อยวาง
    หรือระบายบางสิ่งบางอย่างออกจากชีวิตมากกว่า


    ในพุทธศาสนานั้น เราถือกันว่า
    ความสุขอาจเกิดจากความมี (สามิสสุข) ก็ได้
    แต่ที่เหนือกว่านั้น
    ความสุขอาจเกิดจากความเป็นอิสระ
    จากความมีก็ได้ด้วย (นิรามิสสุข)


    บ้านแห่งชีวิตของเรา เมื่อแรกสร้างก็ดูโปร่ง โล่ง
    เป็นระเบียบเรียบร้อย สบายหูสบายตา
    แต่เมื่ออยู่กันไป อะไรๆ ก็ชักจะเพิ่มขึ้น
    และบางทีเพิ่มมากมาย
    จนกลายเป็นปัญหาอันบั่นทอนต่อความสุขในชีวิตคู่


    จะดีกว่าไหม หากมีเวลาว่าง คนรักกัน
    น่าจะลองหาวิธีทำพื้นที่หัวใจให้ว่าง
    ด้วยการถอดถอนบางอย่างทิ้งออกไป


    ขอเพียงเรียนรู้ที่จะลดบางอย่างลงไป
    ความสุขในหัวใจก็คงจะเพิ่มขึ้น

    ความสุข บางครั้งอาจไม่ได้ผูกพันอยู่กับความมี
    แต่บางที... อาจมาจากความว่าง


    ที่มา...สถาบันวิมุตตยาลัย

    ************************
    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
     
  14. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261


    เมื่อมีกำลังจากสมาธิที่เราฝึกมาแล้ว ก็เอาไปต่อยอดวิปัสสนา ด้วยการเจริญสติ ตามรู้ตามดู ความเป็นจริง ของกายและใจของเรา มีสติรู้ให้ทันสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ราคะ โทสะ โมหะ ที่มากระทบที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย(กายสัมผัส) ใจ เมื่อเข้ามากระทบให้รู้ เพียงแค่รู้ และเห็น(เห็นด้วยใจ) การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของสิ่งเหล่านั้น...เป็นการรู้ภายใน ในกายในใจ ของตน

    การปฏิบัติทั้งหมด รวมลงที่จุดนี้ เพียงแค่รุ้ ก็จะเห็นได้ว่า ตัวเราจริงๆนี้ไม่มี มีเพียงปรากฎการณ์ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเท่านั้น...เกิด ดับ ๆๆๆๆ สืบเนื่องกันไป มีเพียงแค่นี้ แต่เราไปสำคัญมั่นหมายเป็นตัวตนของเราขึ้นมาเอง....อุปาทานยึดติดในตัวตน แค่เพียงมีสติ ตามรู้ ตามดู แค่นั้น..ก็จะเห็นความเป็นจริงของกายและใจ

    ถ้าหากเราไม่มีกำลังแห่งสมาธิ การตามรู้ตามดู กิเลส(ราคะ โทสะ โมหะ)ที่มากระทบอายตนะของเรา หรือที่มาย้อมจิตเรา ทำให้จิตเราใหลรวมไปกับกิเลส ไม่สามารถตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ดูได้ ...จิตเกาะพระ(พุทธานุสติกรรมฐาน) จึงเป็นฐานกำลังแห่งสมาธิที่สำคัญ เมื่อได้มาแล้วต้องใช้ให้เป็นประโยชน์..ทุกอย่างต้องพอเหมาะพอดีกันระหว่าง สมถะและวิปัสสนา จึงจะไปได้ถูกต้อง ...

    คนเราทุกวันนี้สนใจแต่สิ่งภายนอก ชอบคิดปรุงแต่งกับสิ่งภายนอก ชอบดูผู้อื่นสนใจในจริตและกิริยาของผู้อื่น ไม่มามองย้อนดูตน..จึงไม่เห็นความเป็นจริงแห่งตน...อวิชชา พาให้หลง ให้สงสัย ให้สนใจแต่สิ่งภายนอก สนใจในสรรพวิชาต่างๆในโลก จึงพาให้เราหลงวนเวียนอยู่ในวัฏฏะอย่างยาวนาน ไม่มีที่สิ้นสุด ตามกำลังแห่งบุญ บาป..

    เพียงแค่มีสติตามรู้ ตามดู กายและใจของตน ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ) และเป็นกลาง(ไม่มีการให้ค่า..ใดๆ)...ก็จะเห็นสภาวะต่างๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปทั้งสิ้น .. มีแต่เพียงอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา มีเพียงแค่นี้จริงๆ..

    การจะทิ้งกาย ทิ้งใจ ..ก็จะต้องปฏิบัติวิปัสนาให้จิตมีปัญญา เพื่อให้รู้ตามความเป็นจริง ของกาย ใจ เท่านั้น...

    เป็นทางสายเอก(เอกานยมรรค) สายเดียว....ที่จะนำพาให้เราหลุดพ้นจากสังสารวัฏ...

    (ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ และแนวทางในการปฏิบัติต่อๆไป ผิดถูกอย่างไร ข้าพเจ้ากราบขออภัยทุกท่านด้วยครับ..สาธุ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2013
  15. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261

    สติปัฏฐานสี่

    บทนำ

    (1) ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุ ใกล้นิคมของชนชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อน ภิกษุทั้หลาย" ภิกษุเหล่านี้กราบทูลรับแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ" พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อระงับความโศกและความคร่ำครวญ เพื่อดับทุกข์กายและทุกข์ใจ เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกทาง เพื่อเห็นแจ้งพระนิพพาน ทางเดียวนี้คือ สติปัฏฐานสี่

    (3) สติปัฏฐานสี่ คืออะไรบ้าง
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียร มีสติมีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูกายในกายอยู่ กำจัดความยินดีอยากได้และความทุกข์ใจในโลกเสียได้; เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ กำจัดความยินดีอยากได้และความทุกข์ใจในโลกเสียได้; เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูจิตในจิตอยู่ กำจัดความยินดีอยากได้และความทุกข์ใจในโลกเสียได้; เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูธรรมในธรรมอยู่ กำจัดความยินดีอยากได้และความทุกข์ใจในโลกเสียได้
     
  16. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    1. การเฝ้าตามดูกาย

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่อย่างไร

    1.1 สติในการหายใจ; อานาปานปัพพะ หมวดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปอยู่ป่าก็ดี ไปอยู่โคนไม้ก็ดี ไปอยู่ในอาคารว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า

    (2) ภิกษุนั้น มีสติอยู่แลหายใจเข้า มีสติอยู่แลหายใจออก; เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น; ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักกำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักกำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจออก; ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจออก

    (3) เปรียบเหมือนช่างกลึง หรือลูกมือช่างกลึงผู้ชำนาญ เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักยาว หรือเมื่อชักเชือกสั้นก็รู้ชัดว่าเราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเช่นกันแล เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น หรือว่าเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักกำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักกำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจออก ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจออก

    (4) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (5) ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (6) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (7) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.2 ท่าต่าง ๆ ของร่างกาย; อิริยาบถปัพพะ หมวดอิริยาบถ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่าเราเดินอยู่ เมื่อยืนอยู่ก็รู้ชัดว่าเรายืนอยู่ หรือนั่งอยู่ก็รู้ชัดว่าเรานั่งอยู่ หรือนอนอยู่ก็รู้ชัดว่าเรานอนอยู่ ก็หรือว่ากายของภิกษุนั้นปรากฏอยู่โดยอาการใด ๆ ก็รู้ชัดในอาการนั้น ๆ

    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (4) ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.3 สติพร้อมด้วยความรู้ชัด; สัมปชัญญะปัพพะ หมวดสัมปชัญญะ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุเป็นผู้กระทำสัมปชัญญะ ในการก้าวไปและถอยกลับ กระทำสัมปชัญญะในการแลดูไปข้างหน้าและเหลียวดูในทิศอื่น ๆ กระทำสัมปชัญญะในการคู้เข้าและในการเหยียดออก ในการทรงผ่าสังฆาฏิ บาตรและจีวร กระทำสัมปชัญญะในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม กระทำสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ กระทำสัมปชัญญะในการเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด นิ่ง

    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (4) ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่ากายมีอยู่ ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.4 การพิจารณาความเป็นปฏิกูลของร่างกาย; ปฏิกูลปัพพะ หมวดสิ่งปฏิกูล

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุพิจารณาดูกายนี้แหละ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มโดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนถุงมีปาก 2 ข้าง บรรจุเต็มด้วยธัญชาติต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดี แก้ถุงนั้นแล้วออกตรวจดู พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้เมล็ดงา นี้ข้าวสาร แม้ฉันใด

    (4) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเช่นกันแล พิจารณาดูกายนี้แหละ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มโดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร

    (5) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (6) หรือเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (7) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (8) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.5 การพิจารณาโดยความเป็นธาตุ; ธาตุปัพพะ หมวดธาตุ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุพิจารณาดูกายนี้แหละตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ปรากฏอยู่โดยเป็นธาตุว่า ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่

    (3) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าวัว หรือลูกมือของคนฆ่าวัวผู้ชำนาญ ครั้นฆ่าแม่วัวแล้ว นั่งชำแหละเนื้อออกเป็นชิ้น ๆ นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่ 4 แพร่ง แม้ฉันใด

    (4) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเช่นกันแล พิจารณาดูกายนี้แหละ ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ปรากฏอยู่โดยเป็นธาตุว่า ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่

    (5) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (6) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (7) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6 การพิจารณาป่าช้าทั้งเก้า; นวสีวถิกาปัพพะ หมวดป่าช้าทั้งเก้า

    1.6.1 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นศพที่ตายแล้ว 1 วันบ้าง ตายแล้ว 2 วันบ้าง ตายแล้ว 3 วันบ้าง เป็นศพขึ้นอืด ศพเขียวน่าเกลียด ศพมีน้ำเหลืองเฟะ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.2 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นศพที่นกกาทั้งหลายจิกกินบ้าง นกแร้งทั้งหลายจิกกินบ้าง นกเหยี่ยวทั้งหลายจิกกินบ้าง สุนัขทั้งหลายกัดกินบ้าง สุนัขจิ้งจอกทั้งหลายกัดกินบ้าง สัตว์มีชีวิตทั้งหลายกัดกินบ้าง แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้น เป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.3 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่เป็นโครงกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.4 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อแต่มีเลือดเปื้อนเปรอะ มีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แลก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.5 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แลก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.6 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย ไม่มีเอ็นรัดรึงแล้ว กระจัดกระจายอยู่ตามทิศใหญ่ทิศน้อย กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่ทางหนึ่ง กระดูกข้อต่อสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กระดูกศีรษะอยู่ทางหนึ่ง แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.7 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย สีขาวเหมือนสีสังข์ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.8 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย กองอยู่ด้วยกันเกินกว่าปีมาแล้ว แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.9 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย ผุเปื่อยป่นเป็นผงแล้ว แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้
     
  17. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    2. การเฝ้าตามดูเวทนา

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเสวยเวทนาเป็นสุข ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นสุข เมื่อเสวยเวทนาเป็นทุกข์ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นทุกข์ เมื่อเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุข ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุข

    (3) เมื่อเสวยเวทนาเป็นสุขมีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นสุขมีอามิส หรือเมื่อเสวยเวทนาเป็นสุขไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นสุขไม่มีอามิส เมื่อเสวยเวทนาเป็นทุกข์มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นทุกข์มีอามิส หรือเมื่อเสวยเวทนาเป็นทุกข์ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นทุกข์ไม่มีอามิส หรือเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุขมีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุขมีอามิส หรือเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มีอามิส

    (4) ภิกษุเฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (5) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในเวทนาทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในเวทนาทั้งหลายอยู่บ้าง

    (6) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า เวทนาทั้งหลายมีอยู่อย่างนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (7) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ด้วยประการดังกล่าวนี้แล
     
  18. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    3. การเฝ้าตามดูจิต

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูจิตในจิตทั้งหลายอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ขัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ขัดว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ขัดว่าจิตเป็นสอุตตระ จิตเป็นอนุตตระ ก็รู้ขัดว่าจิตเป็นอนุตตตระ จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ขัดว่าจิตเป็นสมาธิ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ขัดว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น

    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูจิตในจิตภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูจิตในจิตภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (4) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในจิตอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในจิตอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในจิตอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า จิตมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูจิตในจิตอยู่ด้วยประการดังกล่าวนี้
     
  19. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    4. การเฝ้าตามดูธรรม

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมอยู่อย่างไร

    4.1 นิวรณ์ห้า; นิวรณ์ปัพพะ หมวดนิวรณ์
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ นิวรณ์ห้าอยู่
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ นิวรณ์ห้าอยู่อย่างไร

    4.1.1 กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันทะ ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะ ณ ภายในมีอยู่ หรือ เมื่อกามฉันทะ ณ ภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะ ณ ภายในไม่มี

    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย และกามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นอีกด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย

    4.1.2 พยาบาท ความคิดร้าย

    (1) เมื่อพยาบาท ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า พยาบาท ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่อพยาบาท ณ ภายในไม่มี ก็รู้ชัดว่า พยาบาท ณ ภายในไม่มี

    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของพยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดด้วยเหตุนั้นด้วย และพยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย

    4.1.3 ถีนมิทธะ ความท้อแท้และความง่วงเหงาเซื่อมซึม

    (1) เมื่อถีนมิทธะ ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่าถีนมิทธะ ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่อถีนมิทธะ ณ ภายในไม่มี ก็รู้ชัดว่า ถีนมิทธะ ณ ภายในไม่มี

    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย และถีนมิทธะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย

    4.1.4 อุทธัจจะ และกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน และความหงุดหงิดรำคาญใจ

    (1) เมื่ออุทธัจจะและกุกกุจจะ ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่าอุทธัจจะและกุกกุจจะ ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่ออุทธัจจะและกุกกุจจะ ณ ภายในไม่มี ก็รู้ชัดว่า อุทธัจจะและกุกกุจจะ ณ ภายในไม่มี

    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของอุทธัจจะและกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละอุทธัจจะและกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย และอุทธัจจะและกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย

    4.1.5 วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

    (1) เมื่อวิจิกิจฉา ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉา ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่อวิจิกิจฉา ณ ภายในไม่มี ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉา ณ ภายในไม่มี

    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย และวิจิกิจฉาที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย

    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (4) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ นิวรณ์ห้าอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล

    4.2 อุปาทานขันธ์ห้า; ขันธปัพพะ หมวดขันธ์

    (1) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ห้าอยู่

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ห้าอยู่อย่างไร

    (4) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดังนี้

    (5) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง

    (6) อนึ่ง ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออุปาทานขันธ์ห้าอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล

    4.3 อายตนะภายในหกและอายตนะภายนอกหก; อายตนะปัพพะ หมวดอายตนะ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละหกอยู่
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละหก อยู่อย่างไร

    4.3.1 ตากับรูป

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตาด้วย รู้ชัดรูปทั้งหลายด้วย และรู้ชัดสังโยชน์ที่อาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นเกิดขึ้น

    (2) อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    4.3.2 หูกับเสียง

    4.3.3 จมูกกับกลิ่น

    4.3.4 ลิ้นกับรส

    4.3.5 กายกับสิ่งสัมผัส

    4.3.6 ใจกับธรรมารมณ์

    (1) ภิกษุย่อมรู้ชัดหู รู้ชัดเสียง...รู้ชัดจมูก รู้ชัดกลิ่น...รู้ชัดลิ้น รู้ชัดรส...ย่อมรู้ชัดกาย รู้ชัดสิ่งสัมผัสกาย...ภิกษุย่อมรู้ชัดใจ รู้ชัดธรรมารมณ์ และรู้ชัดสังโยชน์ที่อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้ง 2 นั้นเกิดขึ้น

    (2) อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง เฝ้าตามดูสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละหกอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล

    4.4 องค์ประกอบ 7 แห่งการตรัสรู้; โพชฌงค์ปัพพะ หมวดโพชฌงค์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ โพชฌงค์ 7 อยู่

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ โพชฌงค์ 7 อยู่อย่างไร

    4.4.1 สติสัมโพชฌงค์; องค์แห่งการตรัสรู้คือ สติ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ หรือ เมื่อสติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในไม่มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในไม่มีอยู่

    (2) อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    4.4.2 ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์

    4.4.3 วิริยสัมโพชฌงค์

    4.4.4 ปิติสัมโพชฌงค์

    4.4.5 ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

    4.4.6 สมาธิสัมโพชฌงค์

    4.4.7 อุเบกขาสัมโพชฌงค์

    (1) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...

    (2) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...

    (3) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...

    (4) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...

    (5) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...

    (6) อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ ณ ภายในไม่มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ณ ภายในไม่มีอยู่

    (7) อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    (8) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (9) เฝ้าตามดูสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง

    (10) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (11) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายคือ โพชฌงค์ 7 อยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล
     
  20. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    (ต่อ)​

    4.5 อริยสัจสี่; สัจจปัพพะ หมวดสัจจ์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อริยสัจสี่อยู่

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อริยสัจสี่อยู่อย่างไร

    (4) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ที่เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ปฏิปทาดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ดังพรรณนามาฉะนี้

    4.5.1 ทุกขอริยสัจจ์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจจ์เป็นอย่างไร

    (2) ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ แม้ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความโทมนัสใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นทุกข์

    4.5.1.1 ชาติ; ความเกิด

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นอย่างไร ความเกิด เกิดพร้อม (คือมีอายตนะบริบูรณ์) ความหยั่งลง (ชลาพุชะ หรือ อัณฑชปฏิสนธิ) เกิด (สังเสทชปฏิสนธิ) เกิดจำเพาะ (อุปปาติกปฏิสนธิ) ความปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ความเกิด

    4.5.1.2 ชรา; ความแก่

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ชราเป็นอย่างไร ความแก่ ความคร่ำครา ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังหดเหี่ยวเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ชรา

    4.5.1.3 มรณะ; ความตาย

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มรณะเป็นอย่างไร ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพ ความขาดไปแห่งชีวิตอินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ความตาย

    4.5.1.4 โศกะ; ความแห้งใจ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โศกะเป็นอย่างไร ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความโศก ความเศร้าใจ ความแห้งใจ ความแห้งผาก ณ ภายใน ความโศก ณ ภายในของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้ที่ความทุกข์อันใดอันหนึ่ง มาถูกต้องแล้วอันใด อันนี้กล่าวว่า โศกะ

    4.5.1.5 ปริเทวะ; ความร่ำไรรำพัน

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ปริเทวะเป็นอย่างไร
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ ความที่ร่ำไรรำพัน ของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหาย อันใดอันหนึ่ง และผู้ที่ความทุกข์อันใดอันหนึ่งมาถูกต้องแล้วอันใดเล่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า ปริเทวะ

    4.5.1.6 ทุกข์; ความไม่สบายกาย

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์เป็นอย่างไรเล่า
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในกาย ความไม่สำราญเกิดในกาย เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์เกิดแต่สัมผัสทางกายอันใดเล่า อันนี้ที่กล่าวว่า ทุกข์

    4.5.1.7 โทมนัส; ความไม่สบายใจ, ความเสียใจ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โทมนัสเป็นอย่างไรเล่า
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในใจ ความไม่สำราญเกิดในใจ เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์เกิดแต่สัมผัสทางใจ อันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า โทมนัส

    4.5.1.8 อุปายาส; ความคับแค้นใจ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อุปายาสเป็นอย่างไร
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความแค้น ความคับแค้น ความที่สัตว์แค้น ความที่สัตว์คับแค้นของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้ที่ความทุกข์อันใดอันหนึ่งมาถูกต้องแล้วอันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า อุปายาส

    4.5.1.9 ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความประสบสัตว์และสังขารซึ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์อย่างไร
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ปลื้มใจ คือรูป เสียง กลิ่น รส และอารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ย่อมมีแก่ผู้นั้น อนึ่ง หรือชนเหล่าใด ที่ใคร่ต่อความฉิบหาย ใคร่สิ่งที่ไม่เกื้อกลู ใคร่ความไม่สำราญ และใคร่ความไม่เกษมจากเครื่องประกอบแก่ผู้นั้น การไปร่วม การมาร่วม ความประชุมร่วม ความระคนกับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้น อันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ความประสบกับสัตว์และสังขารซึ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์

    4.5.1.10 ความพลัดพรากกับสิ่งที่รัก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารซึ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์อย่างไร
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ซึ่งเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ปลื้มใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และอารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ย่อมมีแก่ผู้นั้น อนึ่ง หรือชนเหล่าใด ที่ใคร่ต่อความเจริญ ใคร่ประโยชน์เกื้อกลู ใคร่ความสำราญ และใคร่ความเกษมจากเครื่องประกอบแก่ผู้นั้น คือ มารดา หรือบิดา พี่ชายน้องชาย หรือพี่หญิงน้องหญิง มิตร หรืออำมาตย์ หรือญาติสาโลหิต ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่ระคนกับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้น อันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร ซึ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์

    4.5.1.11 ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้น เป็นทุกข์อย่างไรเล่า
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า เออหนา ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความเกิดเป็นธรรมดาเถิด ขอความเกิดอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้ ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้นก็เป็นทุกข์

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ซึ่งมีความแก่... ความเจ็บไข้... ความตายเป็นอย่างนี้ว่า เออหนา ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความตายเป็นธรรมดาเถิด อนึ่ง ขอความตายอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้ ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้นก็เป็นทุกข์

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ที่มี โสกะ ปริเทวะ ทุกขุ โทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้
    เออหนา ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มี โสกะ ปริเทวะ ทุกขุ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดาเถิด อนึ่ง ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกขุ โทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้

    ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้
    แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้นก็เป็นทุกข์

    4.5.1.12 อุปาทานขันธ์ห้า

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นทุกข์อย่างไร นี้คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โดยย่อเหล่านี้กล่าวว่า อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นทุกข์

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า อริยสัจจ์คือทุกข์

    4.5.2 ทุกขสมุทัย; เหตุให้เกิดทุกข์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจจ์ คือทุกขสมุทัย เป็นอย่างไร

    (2) ตัณหา (ความทะยานอยาก) นี้อันใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา (ความกำหนัดยินดีอันประกอบด้วยกาม) ภวตัณหา (ความกำหนัดยินดีอันเกิดร่วมกับความคิดเห็นว่ามีตัวตนที่เที่ยง) วิภวตัณหา (ความกำหนัดยินดีอันเกิดร่วมกับความคิดเห็นว่าตัวตนจักขาดสูญไป)

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็แลตัณหานั้นนั่นแล เมื่อจะเกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน

    (4) ที่ใดเป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น

    (5) ก็อะไรเล่า เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

    (6) ตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น

    (7) หู..., จมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น

    (8) รูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น

    (9) ความรู้ทางตา (จักขุวิญญาณ)..., ความรู้ทางหู (โสตวิญญาณ)..., ความรู้ทางจมูก (ฆานวิญญาณ)..., ความรู้ทางลิ้น (ชิวหาวิญญาณ)..., ความรู้ทางกาย (กายวิญญาณ)..., ความรู้ทางใจ (มโนวิญญาณ) เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น

    (10) ความกระทบทางตา (จักขุสัมผัส)..., ความกระทบทางหู..., ความกระทบทางจมูก..., ความกระทบทางลิ้น..., ความกระทบทางกาย..., ความกระทบทางใจ (มโนสัมผัส) เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น

    (11) เวทนาที่เกิดแก่กระทบทางตา (จักขุสัมผัสสชาเวทนา)..., ทางหู..., ทางจมูก..., ทางลิ้น..., ทางกาย..., ทางใจ

    (12) ความจำรูป (รูปสัญญา)..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (13) ความจงใจในรูป (รูปสัญเจตนา)..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ความจงใจในธัมมารมณ์ (ธัมมสัญเจตนา)...

    (14) ความอยากในรูป (รูปตัณหา)..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (15) ความตรึกถึงรูป (รูปวิตก)..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (16) ความตรองถึงรูป (รูปวิจาร)..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...
    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า อริยสัจจ์ คือทุกขสมุทัย

    4.5.3 ทุกขนิโรธ; ธรรมเป็นที่ดับทุกข์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจจ์คือทุกขนิโรธเป็นอย่างไร

    (2) คือ ความสำรอก และความดับโดยไม่มีเหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยในตัณหานั้นนั่นแล อันใด

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็แลตัณหานั้นนั่นแล เมื่อบุคคลจะละเสีย ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน

    (4) ที่ใดเป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับก็ย่อมดับในที่นั้น

    (5) ก็อะไรเล่า เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

    (6) ตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

    ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับในที่นั้น

    (7) หู..., จมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ

    (8) รูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (9) ความรู้ทางตา..., ทางหู..., ทางจมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ...

    (10) ความกระทบทางตา..., หู..., จมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ...

    (11) เวทนาที่เกิดแก่กระทบทางตา..., หู..., จมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ...

    (12) ความจำรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (13) ความจงใจในรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (14) ความอยากในรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (15) ความตรึกถึงรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (16) ความตรองถึงรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่นั้น เมื่อจะดับก็ย่อมดับที่นั้น

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า อริอริยสัจจ์คือทุกขนิโรธ

    4.5.4 ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา; ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไร

    (2) ทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดทางเดียวนี้แล

    (3) ทางนี้เป็นอย่างไร

    (4) คือปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ

    4.5.4.1 สัมมาทิฏฐิ; ปัญญาอันเห็นชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิเป็นอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ

    4.5.4.2 สัมมาสังกัปปะ; ความดำริชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะเป็นอย่างไร

    (2) คือความดำริในการออกจากกาม (เนกขัมม) ความดำริในความไม่พยาบาท (อพยาปาท) ความริในการไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา)

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ

    4.5.4.3 สัมมาวาจา; เจรจาชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจาเป็นอย่างไร

    (2) การงดเว้นจากการกล่าวเท็จ งดเว้นจากการกล่าววาจาส่อเสียด งดเว้นจากการกล่าววาจาหยายคาย งดเว้นจากการกล่าววาจาเพ้อเจ้อ

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาวาจา

    4.5.4.4 สัมมากัมมันตะ; การกระทำชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะเป็นอย่างไร

    (2) การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมากัมมันตะ

    4.5.4.5 สัมมาอาชีวะ; การเลี้ยงชีพชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะเป็นอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพผิดเสียแล้ว ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพชอบ

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาอาชีวะ

    4.5.4.6 สัมมาวายามะ; ความพยายามชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะเป็นอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจ (ฉันทะ) ให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมระดมความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดขึ้น

    (3) ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมระดมความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว

    (4) ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมระดมความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น

    (5) ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมระดมความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ไม่ให้สาบสูญ เพื่อความเจริญ
    ยิ่ง เพื่อความไพบูลย์มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาวายามะ

    4.5.4.7 สัมมาสติ; ความระลึกชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    (3) เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูกายในกายอยู่ กำจัดความเพ่งเล็งอยากได้ และความทุกข์ใจในโลกเสียได้

    (4) เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาอยู่ กำจัดความเพ่งเล็งอยากได้ และความทุกข์ใจในโลกเสียได้

    (5) เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูจิตในจิตอยู่ กำจัดความเพ่งเล็งอยากได้ และความทุกข์ใจในโลกเสียได้

    (6) เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูธรรมในธรรมอยู่ กำจัดความเพ่งเล็งอยากได้ และความทุกข์ใจในโลกเสียได้

    (7) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสติ

    4.5.4.8 สัมมาสมาธิ; ความตั้งจิตมั่นชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิเป็นอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปิติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    (3) บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจาร สงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

    (4) เธอมีอุเบกขา มีสิต มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

    (5) เธอบรรลุจตุถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    (6) อันนี้ เรียกว่า สัมมาสมาธิ

    (7) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์

    (8) เฝ้าตามดูสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง

    (9) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (10) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายคือ อริยสัจจ์สี่อยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล
     

แชร์หน้านี้

Loading...