ใจมันพูดเองเออเองได้ด้วยหรอคับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย spyderco, 27 มกราคม 2014.

  1. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทีนี้ คุณ พยายามจะสื่อว่า คุณ พิจารณาจิต ลงเป็น ธาตุ ด้วยความเป็น อยานตนะ

    ถ้า ทำได้จริงอย่างที่อ้าง ก็ พึงสังเกต อยาตนะ มันมี สองระดับ

    ระดับแรก จะกระทบผัสสะ แล้ว เกิด ความรู้ทางธรรมทันที เป็น อยาตนะนอก
    หูกระทบปากก็โพล่ง!! อันนี้ ปัญญาโหลยโถ้ย !!

    ระดับที่สอง จะกระทบผัสสะ จำนวนมาก ความรู้ธรรมก็เกิดมาก ยุบยับ แต่กำหนด
    รู้ลงเป็นความแปรปรวนทั้งหมด แล้วมันจะถอย มีการถอยเข้ามาในมุมห่างๆ
    ปัญญาอันนี้จะถือว่าเป็น อยาตนะใน หูกระทบมีการเลือกเฝ้นอรรถและพยัญชนะ
    ที่สงัดจากนิวรณ์มากที่สุด แต่ก็ยังจัดว่า โหลยโถ้ย

    บางคนโดนหลอกให้เข้าใจว่าเป็น มโนทวาร เป็นความรู้จาก มโนทวาร ด้วย
    การหลอกคำถาม รอมา 5 ปี พึ่งมีคนตอบ พอตอบออกไป ทั้งๆที่ ผิด แต่
    ไอ้คนถามก็ 555 ( คือมันก็ งง ) แต่ มัน 555 แล้ว ไพล่ไปว่า ที่สุดก็มีคนตอบ

    จริงๆ ไม่มีหรอก ความรู้จะมาจาก มโนทวาร มันมีที่ไหน อะไรทีเป็นสิ่ง
    พูดได้ เป็นบัญญัติ มันจะมาจาก สัญญาขันธ์ กับ สังขารขันธ์ เท่านั้น

    ดังนั้น ไอ้ที่ ฮานาก้า จิตเป็นสมาธิ แล้วมีความรู้ออกมา หากไม่ใช่ ความ
    รู้จากตำรา มันก็คือ สังขารขันธ์ล้วนๆ เท่านั้น

    แล้ว

    ตรงไหนหละใช่

    ฮะเอ่อ อันนี้ หากภาวนาเห็น อยาตนะ จริงๆ ไปลองฝึกเห็น ใน เห็น นอก ดู
    ก่อน แล้วจะพบว่า ในมุมเงียบๆ อีกมุมหนึ่ง ซึ่ง ไม่พูดอะไรเลย นั่นแหละ
    โคตรเง้าของปัญญา มันก็มีอยู่ แล้ว เลยไปกว่านั้น ก็ยังมีอีก จบง่ายๆ ที่ไหนกันหละ

    กว่าจะ พ้นอยาตนะได้ เห็นสภาะ สิ้นภพ พ้นอยานตนะโหล้ยโถ้ยทั้ง6 ได้ ก็
    ใช่ว่าจะง่ายดาย เลือดตาแทบกระเด็นทั้งนั้นแหละ [ จริงๆ ที่มันยาก เพราะ ไม่ปฏิบัติ ฮะเอ่อ ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2014
  2. TheVisionMind

    TheVisionMind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2014
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +2,226
    ผมก็เป็นคล้ายๆ กันเลย
    โรคคล้ายๆ กันหลายอย่างเลยนะนี่ .. ทั้งฟุ้งซ่าน, คิดไม่ดี, ไม่กล้าเข้าหาครูบาอาจารย์
    นี่ก็กำลังแก้โรคเหล่านี้อยู่เหมือนกัน

    และเมื่อก่อนยิ่งนั่งยิ่งมึน (ผิดทาง)
    แต่หลังๆ ดีหน่อยมีโชคดีบ้าง ถ้านั่งได้ดีแม้ไม่นาน ใจจะรู้สึกสงบ เหน็บชาไม่ค่อยเกิด
     
  3. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    อย่าเอาจิตไปอยู่กับคิด ให้เอาจิตกลับมาอยู่กับความรู้สึกตัว
    ต้นกำเนิดของความฟุ้ง คือ ขันธ์ มันทำงานเป็นธรรมชาติของมัน ตัวต้นตอนั้น มันทำงานเป็นปกติ ไม่สามารถไปห้ามมันได้

    แต่การที่เราไปคิดตามมัน นั่นคือการให้อาหารความฟุ้งซ่าน มันจะต่อยาวออกไปเรื่อยๆ ไม่จบ

    จุดนี้ ต้องใช้ความเพียรกันหน่อย เพียรพยายามในการระลึกรู้ตัว รู้ว่ามันดิ้น มันฟุ้ง มันเผลอ เมื่อไหร่ ให้ดึงกลับมาอยู่กับความรู้สึกของร่างกายเลย
     
  4. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634

    อนุโมทนาค่ะ

    ผู้ที่ศึกษามาก หรือ จริตเน้นทางด้านปัญญา หรือ สั่งสมทางด้านปัญญามากมากจะมีเรื่องเยอะ เจอสิ่งใดชอบสงสัย นำมาขบคิดพิจารณาเพื่อหาเหตุผลคะ เท่าที่ทราบนะคะ หากว่าเรามีความคิดเยอะหากจับข่ม หรือ กดมันไว้ ก็ไม่ตรงจริตอาจได้ผลช้า ลองพิจารณาเหตุผลนี้ดูนะคะ เพื่อประกอบการพิจารณา

    การนั่งสมาธิ มี 2 วิธี

    1. การนั่งสมาธิแบบดันเข้าไป คือ การกำหนดอารมณ์หนึ่งเดียวให้ตั้งมั่น เพื่อดันเข้าไปให้เกิดสมาธิ และ สติ เพื่อนำไปสู้การระลึกรู้ อันเป็นเป้าหมาย

    2. การนั่งสมาธิแบบดึงเข้าไป คือ การกำหนดความรู้สึกตัว รู้ตัวทุกขณะ คิดก็รู้ คือ ไม่มีเจตนาคิด แต่จะคิดก็คิดไป ถึงเวลาจุดอิ่มตัว ก็หยุดคิดของมันไปเอง เราเพียงเป็นผู้ดู เดี๋ยวคิดก็รู้ เดี๋ยวหยุดก็รู้ ไม่บังคับให้คิด หรือ บังคับไม่ให้หยุดคิด กำหนดรู้อย่างนีัไปเรื่อย ๆ เมื่อถึงเวลาหนึ่งแล้ว ความคิดตัวนอกจะหายไป จะเหลือสติระลึกรู้ ถ้าสติแข็งระลึกรู้ได้ ก็จะเห็นความคิดภายในที่เปลี่ยนแปลง เกิดดับตลอดเวลา อันนั้นน่าเหมาะสำหรับผู้ที่มีความคิดเยอะ

    ความฟุ้งซ่าน จริง ๆ แล้ว คือ ความคิดที่ไม่มีสติระลึก คิดไปเรื่อยเปื่อยไม่รู้ตัว ไม่รู้ว่าตัวเองคิดอะไร จับไม่ได้ พอรู้ตัวอีกทีเมื่อกี้เราคิดอะไรนะ

    สำหรับตัวข้าพเจ้าเองนะคะ ที่จริตที่คล้ายกับท่าน แต่เป็นอัธยาศัยส่วนตัวนะคะ (ปัจจัตตัง)

    ข้าพเจ้าจะใช้วิธี เกลือจิ้มเกลือค่ะ ก็คือ จิตบอกจิต หรือ จิตสอนจิตไปเลยค่ะ (นำความรู้ภายนอกเข้าสู่ภายใน) เป็นคนชอบคิดมากใช่ไหม ให้จิตหาเหตุผลไปเลยคะ เพราะส่วนใหญ่ที่เราทำผิดไปนั้น ก็คือ เพราะจิตเรามันเสีย เนื่องจากความเห็นผิด จึงกระทำผิด เพราะการกระทำทุกครั้ง จะเกิดจากจิตที่มันมีความเห็น ข้าพเจ้าจึงนำสิ่งที่ได้รับการบอกกล่าวจากคำสอนของพระพุทธองค์ หรือ ครูบาอาจารย์ นักปราชญ์ต่าง ๆ มาอบรมจิตตนเอง ให้จิตมีมโนธรรม หรือ ให้มันมีความเห็นถูกขึ้นมาก่อนนะคะ เมื่อจิตมันยอมรับ เงียบสงบแล้ว ก็ค่อยปล่อยวาง แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความอดทน เลิกไปเสียก่อน

    ที่ชอบวิธีนี้เพราะมาก หากต้องการเป็นนักพูดก็ต้องหัดพูดเสียก่อน แต่เผอิญพูดเสียงดังไปหน่อยค่ะ

    แล้วที่จริงค่ะ ก็ทราบนะคะว่าปัญญาที่ไม่ได้เกิดจากการบัญญัติคำพูดนั้น หรือ การตั้งใจปรุงแต่งความคิดขึ้นมา มันมีอยู่เหมือนกับ จิตที่มีสภาวะน้ำไหลนิ่ง คือ ภายนอกเงียบสงบ แต่ภายในกระเพื่อมด้วยความคิดที่ประกอบด้วยปัญญา แต่ยังหาวิธีเข้าไปหาสิ่งนั้นยังไม่ได้ค่ะ ใครมีวิธีช่วยแนะนำบ้างซิค่ะ

    วิธีที่ข้าพเจ้าใช้อยู่ ซึ่งมันอ้อมนะคะ หากทางตรงมีอยู่ค่ะ ก็คือ สติสัมปชัญญะ และ อินทรีย์สังวร เพื่อนำไปหา สุจริตทั้ง 3 สติปัฎฐานสี่ และโพฌชงค์ ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2014
  5. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ภายนอกประกอบไปด้วยความคิด
    ภายในตั้งอยู่กับรู้
    ความคิดถูกรู้ ความคิดทำงานไปตามปกติ แต่ไม่ได้เข้าไปยึดถือมันเป็นสำคัญ

    จิตที่ไม่ไหลไปตามขันธ์ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ ที่มันเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
    ขันธ์เปลี่ยนแปลง แต่จิตตั้งมั่น ก็ไม่ต้องไปวิ่งไล่ตามสภาวะอะไร ไม่เป็นจิตที่หิวโหย ไม่ใช่จิตที่ต้องคอยวิ่งเข้าไปแสวงหาอารมณ์ หรือ ความคิด มาเป็นอาหาร

    หากถึงตรงนี้ มันจะคิด หรือ ไม่คิด ก็ไม่มีความสำคัญอะไร เพราะสิ่งสำคัญ คือ ภายใน นั้นสงบนิ่งอยู่ ไม่ได้ไหลไปตามสิ่งที่ถูกรู้ หรือ สิ่งที่คิด

    การจะทำให้ถึงตรงนี้ ให้สร้างเหตุแห่งสติ ให้เต็มที่ แล้วดูการทำงานของขันธ์ โดยปกติธรรมชาติของมัน โดยไม่ต้องไปปรุงแต่ง ไม่ต้องไปคิดอะไร ไม่ต้องไปพยายามค้นหาว่าปัญญาตัวนี้ มันอยู่ที่ไหน มันเป็นยังไง สำคัญ ที่ ดูตามธรรมชาติ ของมัน
    หากไปรบกวนมันด้วยการพยายามคิด จะไม่เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมัน จะไม่เจอปัญญาที่ว่านี้อย่างแท้จริง
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846



    แต่ถ้า จิตบางดวง มีอุปนิสัยเบาบาง จะก้าวขึ้นสู่ภูมิ วิปัสนา
    พอถอนออกมา พอรู้สึกว่ามีกายเท่านั้น
    จิตดวงนี้ก็จะเกิดความรู้ ความคิด ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อย่างกับน้ำพุ
    ซึ่งมันจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ

    ในตอนนี้นักปฏิบัติบางท่าน อาจจะเข้าใจผิดว่า จิตฟุ้งซ่าน
    แต่ ความจริงไม่ใช่จิตฟุ้งซ่าน จิตจะก้าวสู่ภูมิ แห่งวิปัสนาเองโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ

    ถ้าจิตถอนจากสมาธิมาแล้ว
    มาเกิดความคิด ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ขึ้นมา สติสัมปชัญญะก็รู้พร้อม
    ตรงที่จิตมันเกิดความคิด คิดแล้วก็ปล่อยวาง คิดแล้วก็ปล่อยวาง
    ไม่ได้วิ่งตามเรื่องราว ที่จิตคิด กำหนดรู้เพียงจุดที่เกิดความคิดเท่านั้น
    อันนี้เรียกว่า สมาธิวิปัสนา

    อ่านต่อที่นี่ http://palungjit.org/threads/การปฏิบัติภาวนาจิต-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.522295/
     
  7. อสุนีบาต

    อสุนีบาต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +237
    เรานึกว่าเราบ้าคนเดียวเสียอีก
    เราไม่ได้ว่า จขกท บ้านะ เราก็เป็น
    มันพูดเองเออเอง นั่นโน่นนี่

    บางครั้งเราตอบกลับไป เอ็งจะพล่ามไรนักหนาฟะ! ....... เอ่า ด่าตัวเองอีก =="
     
  8. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    ค่ะ ขอบคุณที่แนะนำ บางครั้งเราคืมคิดกันไปว่า ก่อนจะถึงยอดได้ มันก็ต้องมาจากฐาน จินตามปัญญาไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นสิ่งที่ควรกระทำควบคู่ไปด้วย เพียงแต่ว่าม้นไม่ใช่สิ๋งสูงสุดเหมือนภาวนามยปัญญาเท่านั้นเองค่ะ

    รสที่เลิศที่สุดคือรสพระธรรม ส่วนจิตที่หิวโหย คือ จิตที่เต็มไปด้วยตัณหา จิตที่มีอาหาร คือ ธรรมเป็นอารมณ์แล้ว ได้พิจารณาสิ่งต่างๆ แล้วเข้าใจ มีความปิติ น่าจะไม่ผิด เพราะสติก็ระลึกรู้ได้ และก็มีสติจับอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบได้ตลอดเวลา ก็แล้วแต่นิสัยวาสนาของแต่ละคน เพราะสิ่งสูงสุดก็มีโอกาสได้เข้าไปรับรู้แล้ว เพียงแต่มาหาทางไปให้ถึงเท่านั้นเอง ก็ต้องอาศัยกัลยาณิตร ทุกๆท่านนี่แหละ ที่ช่วยแนะนำ เพราะไม่มีใครประสบความสำเร็จได้โดยลำพังนะคะ
     
  9. Jan2014

    Jan2014 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2014
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +143
    ผมใช้วิธีบ้านๆครับ ถ้าความคิดมันขึ้นมาเยอะเกิน บีบคั้นเกิน มันจะรู้เองว่านี่แหละคือฟุ้งซ่าน พอรู้แล้ว มันก็จะรู้ต่อเองว่านี่แหละเหตุแห่งทุกข์ พอเห็นว่ามันเป็นเหตุแห่งทุกข์ปั๊บ มันก็ปล่อยเอง ปล่อยหมด วางหมด ไม่สนที่จะคิด เพราะมันมีแต่เหตุแห่งทุกข์ทั้งนั้น พอใจไม่เอาแล้ว ความคิดที่ว่า มันก็หายไปเอง
    สรุปประมาณว่า ถ้าคิดเยอะ พยายามคิด ต่อให้คิดได้ ก็ได้ไม่ดี
    แต่ถ้าไม่ิคิดแล้วปล่อยใจให้ว่าง ว่างแบบไม่สนอะไรเลย ว่างแบบไม่ได้แกล้งทำเป็นว่าง แต่ว่างแบบไม่มีอะไรมาเกาะเกี่ยวใจเลย พอว่างอย่างนี้ มันจะมีความคิดโผล่ขึ้นมา แต่เป็นความคิดที่เหมือนเป็นความรู้ รู้โดยที่ไม่ต้องกำหนดโจทย์ที่จะคิด ไอ้รู้อย่างนี้ผลลัพธ์ดี แต่ถ้ารู้จากการพยายามคิดแบบแรกผลลัพธ์ไม่ค่อยดี มันเลยเห็นว่าเป็นฟุ้งซ่านแล้วก็วางเสีย คือป่วยการที่จะมัวไปเสียเวลาคิด
     
  10. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    จิตนมยปัญญา เป็นขั้นตอนสำคัญในการปฏิบัติ ที่จะละเลยไปเสียไม่ได้เลย
    เพราะจิตโดยปกติ ที่เคยชินกับกิเลสมานาน ด้วยอำนาจของความเคยชิน ไม่มีทางที่จะอยู่ดีๆ ทำสติให้พร้อมบริบูรณ์ได้

    ก็ต้องอาศัย จินตมยปัญญา ทำให้จิตมันคลายจากการยึดมั่นอย่างรุนแรง ให้มันเบาลงไปก่อนในชั้นหนึ่ง

    แต่ที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ ตัวจินตมยปัญญาเองนั่นแหละ คือการยึดมั่นแบบหนึ่ง แต่เป็นการยึดมั่นที่เบาบางกว่าการยึดในกิเลสทั้งหลาย

    ดังนั้นแล้ว สำหรับนักปฏิบัติ สำคัญมาก ที่เมื่อถึงเวลาอันสมควร จะต้องปล่อยการยึดมั่นในจินตมยปัญญาลงไป
     
  11. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ก็ดูรสอร่อยของมันไปก็พอ
    ชอบ/ไม่ชอบ เพลินใจ/ไม่เพลินใจ
    ยิ่งอร่อยมาก ก็ยิ่งต้องเจ็บปวดมาก

    ทำไม?..
    ต้องเจอกับตัวเองจริง ๆ ถึงจะรู้
    ยิ่งผลักไส ก็เท่ากับ ยิ่งยึดไว้

    รู้ทันรสอร่อยไปตามประสาก็พอ
    ทำตนดั่งลิ้นงูในปากงู

    แต่ไม่เจ็บก็ไม่จำ ไม่เข็ดหลาบ ให้มันทุกข์ซะให้พอ
     
  12. Jibrail

    Jibrail สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2014
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    เคยมีคนถามคล้ายๆอย่างนี้ แล้วก็เคยตอบไปแล้ว ว่าใจคนคิดเองเออเองได้ ลองหาหนังสือจิตวิทยา ซิกมันฟรอยส์มาอ่าน คนเราจะมีสองความคิด ในเวลาเดียวกันเพื่อ กลั่นกรองว่าแนวทางใดดีที่สุด สมัยเด็กๆ เคยเห็นไหม เพื่อนในจินตนาการ ที่เด็กมันนั่งเล่น คิดเอง เออเอง พูดเองคนเดียวกับเพื่อนในจินตนาการที่สร้างขึ้นมา แม้แต่ผู้ใหญ่ก็เป็น โดยเฉพาะพวกผู้ชาย

    วิธีแก้อารมย์ฟุ้งซ่าน พยามรักษาศีล ลด กิเลสต่างๆ ทานมังสาวิรัตก็ช่วยให้กิเลสลดลงได้เยอะ พอ ศีลดี นั่งสมาธิมันก็ไม่ฟุ้งซ่าน
     
  13. spyderco

    spyderco เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +201
    อย่าด่าผมนะ ผมกลัวแล้ว อิอิ
    สร้างวีรกรรมกับคนถือศีลบาปนะ
    เจ้าจงกลับตัวกลับใจเสียเถอะ
    ไม่อย่างนั้นข้าจะลงโทษเจ้าโดยการ เสกหมาเน่าคล้องคอ ตลอด 7 ปี
    โอม มะ รุก กุ๊ก กุ๋ยยย
     
  14. กัญชาอารยะ

    กัญชาอารยะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +26
    ขออนุญาติร่วมเสวนาครับ ดังที่ จขกท.เล่ามาผมเป็นอย่างเหมือนอย่างคุณเลยครับ
    สมาธิก็ไม่เคยนั่ง แต่ผมสามารถเหม่อลอยในขณะลืมตาได้ เหม่อลอยที่ว่าคือไม่คิดอะไรเลยนั่งนิ่งๆเฉยๆเลยครับอาการในหัวมันจะคล้ายๆกับเสพกัญชามาคือมันจะเอื่อยๆช้าๆแทบจะไม่มีความคิดแวบมาในหัวเลย แต่ถ้าจะเข้าภาวะเช่นนั้นผมจะรู้สึกว่าไม่มีสติ..น่าจะคล้ายๆกับอาการเมา ในภาวะเช่นนั้นไอ้เสียงจิตถามตอบมันจะเบาลงจบเกือบไม่ได้ยินหรือไม่ได้ยินเลย
    แต่ถ้าผมรู้สึกว่ามีสติรู้ตัวเมื่อไหร่นะไอ้เสียงที่ว่านี้มันจะกลับมาทันทีเลยครับ บางทีมันกลับมาขณะพูดอยู่กลางประโยคทำให้ผมเข้าใจว่ามันคิดอยู่ตลอดเวลาแหละครับแต่จิตเราจะละเอียดที่จะจับมันทันหรือป่าว ซึ่งในที่นี้สำหรับผมมันคือสติ แล้วสมาธิมีเพื่อความว่างหรือความแนบแน่นไปกับอารมณ์ แค่สติกับสมาธิผมยังสับสนอยู่เลยครับ หรือว่าสติก็คือขณิกสมาธิ รบกวนท่านผู้รู้แนะนำด้วยครับ
     
  15. กัญชาอารยะ

    กัญชาอารยะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +26
    วิธีที่ผมใช้เพื่อลดความเครียดคือความเข้าใจครับ น่าจะคล้ายๆกับเจ้าของกระทู้ คือถ้าเข้าใจในเรื่องปัญหาหรือปริศนาอะไรก็แล้วแต่ความคิดมันจะโล่งไปเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งทุกๆเรื่องมันเป็นธรรมโดยธรรมดา พอคิดแบบนั้นบ่อยจะหายเครียดลงเยอะ ถึงแม้อาจยังไม่ใช่ทางที่บรรลุแต่หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างครับ
     
  16. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    มันปรุงแต่งความคิดปริศนาขึ้นมาในจิต แล้วมันก็เกิดความอยาก อยากหาคำตอบให้ได้ มันจะได้โล่ง ได้สบายลงไป แล้วก็ต้องไปเดือดร้อนหาคำตอบให้มัน หาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ถ้าหาไม่ได้ ใจมันก็ทุกข์ร้อนรน

    นอกจากจะไม่ใช่ทางบรรลุแล้ว ยังเป็นการสะสมกิเลสเพิ่ม ออกห่างจากทางไปอีกต่างหากนะ
     
  17. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สติ ก็คือสติ คือ การระลึกรู้ได้ว่าจิตเราขณะนั้นเป็นอย่างไร
    เมื่อมีสมาธิ เป็นฌานอยู่ ก็มีสติประกอบด้วยได้
    อยู่ที่ว่า ระลึกรู้ได้อยู่หรือเปล่า
     
  18. กัญชาอารยะ

    กัญชาอารยะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +26
    ช่วยแนะนำวิธีฝึกให้มีสติประคองอยู่ในสมาธิฌาณลึกด้วยครับ แล้วในสภาวะปกติ(ใช้ชีวิตประจำวัน)ควรจะดำรงสมาธิไว้ระดับไหนดีครับ
     
  19. กัญชาอารยะ

    กัญชาอารยะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +26
    ขออธิบายเพิ่มเติมครับ คือความคิดที่มันคิดขึ้นมามันเป็นกิเลสจริงๆครับที่อยากรู้หาคำตอบ สิ่งที่หาคำตอบไม่ได้สุดท้ายผมจะคิดว่าธรรมชาติมันเป็นไปอย่างนั้น ส่วนเรื่องที่คิดว่าหาคำตอบได้แล้ว พอเอากลับมาคิดอีกช่วงเวลานึงมันก็กลับจะหาส่วนเพิ่มเติมของคำตอบนั้นขึ้นมาอีกกลายเป็นว่าคำตอบยังไม่สิ้นสุดสามารถอธิบายออกไปได้เรื่อยๆ พอเอาเข้าจริงๆมันก็กลายเป็นหาคำตอบไม่ได้ แล้วก็คิดว่ามันเป็นของมันอย่างนั้นเองแล้วมันก็จะสบายใจครับ ในทุกๆวันก็มีทนไม่ไหวแล้วหงุดหงิดบ้างเป็นครั้งคราวเหมือนกันแต่ก็หายเร็วกว่าเดิมเยอะครับ(ไม่ได้แสดงออกในเชิงก้าวร้าว)ออกแนวรำคาญ ต้องขอโทษที่ไม่ได้อธิบายโดยละเอียดตั้งแต่แรกกลัวจะยาวเกินไป อย่างนี้ท่านว่าควรปรับปรุงตรงไหนครับ
     
  20. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ต้องฝึกเอาอย่างเดียวทั้งคู่ครับ ตัวชี้วัดก็คือ ถึงแม้จะเข้าฌานลึกไประดับที่ไม่มีร่างกาย ไม่มีความคิด ไม่มีอะไรเลย ถ้าเรายังระลึกรู้ได้อยู่ ว่าเรากำลังอยู่กับความว่าง ก็คือยังมีสติอยู่

    ในชีวิตประจำวันปกติก็เหมือนกัน ระดับที่ว่านี้ มันถ่ายทอดบอกกันไม่ได้ ต้องลองฝึกแล้วปรับระดับดูเองครับ ว่าจุดไหนเหมาะสมที่สุด กับการใช้ชีวิตทางโลกในแต่ละสถานการณ์
    แต่ที่ดีที่สุด คือ การอยู่กับสติ อยู่กับรู้ ปล่อยให้ขันธ์มันทำงานของมันตามหน้าที่สมมติทางโลกไปตามปกติ แต่สติของเราคอยคุมใจไว้ ไม่ให้มันซัดส่ายไปหาความฟุ้งซ่าน หรือ ความทุกข์ หรือ อกุศลใดๆ แต่ไม่ต้องเอามันไปผูกไว้กับคำบริกรรม จนไม่สามารถทำหน้าที่ของมันตามสมมติได้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...