เชิญบูชา...รูปหล่อหลวงตาดำ สัมผัสอภินิหารพระอภิญญาในดง แดนนิพพานเหนือโลก

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย หนุ่มเมืองแกลง, 2 ตุลาคม 2014.

  1. sornchai-k

    sornchai-k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2005
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +672
    สาธุโมทนาบุญ กับคุณหนุ่มมากครับ หายใจโล่งเลยกับพี่ๆน้องๆที่จองแต่ไม่ได้ชำระครับ บุญกุศลหนุนนำพวกเราแล้วนะครับ สาธุ
     
  2. poonlap

    poonlap เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +213
    เห็นที่ทางพี่หนุ่มโพสเลื่อนเวลาการชำระค่าบูชารูปหล่อองค์หลวงตาดำอุดผงพทุธคุณ
    จากวันที่ 4 พ.ย.2557 เป็นวันสุดท้ายวันที่ 17 พ.ย. 2557 แล้วรู้สึกโล่งเลยครับตอนแรกคิดว่าจะโอนได้แค่องค์เดียว แต่ตอนนี้ช่วงระยะเวลาที่ทางพี่หนุ่มเลื่อนออกให้ ทำให้น่าจะโอนได้ครบตามจำนวนที่ได้แจ้งไว้ ขอบพระคุณมากครับ
    ผมเห็นว่าช่วงนี้เป็นช่วงโรงดรียน เปิดเทอมหลายๆท่านอาจจะกำลังพัลวัน กับเงินค่าเทอมของลูกๆ
    ผมขออนุโมทนาสาธุกับผลบุญที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ด้วยนะครับ
    แล้วก็องค์พระสวยงามมากครับ พี่หนุ่ม
     
  3. kraiwit

    kraiwit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +743
    สวัสดีครับ แจ้งโอนเงินครับ 2,080บาท
    กองทุน สร้างกุฏิพระอภิชิโต ภิกขุ
    ที่อยู่ส่งให้ทาง PM ครับ ขอบคุณมากครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. พริ้วไหว

    พริ้วไหว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +334
    จองธรรมดา 1 องค์ครับ
    โอนแล้วจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งนะครับ
     
  5. เขมทัต

    เขมทัต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2007
    โพสต์:
    623
    ค่าพลัง:
    +2,252
    งดงาม น่ากราบไหว้บูชา มากเลยครับ

    ขออนุโมทนาครับพี่หนุ่ม
     
  6. moo noi

    moo noi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    6,328
    ค่าพลัง:
    +23,902
    [FONT=&quot]เงื่อนไขการจองบูชา[/FONT]

    [FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot] ปิดรับจอง (ขยายเวลา).... ในวันศุกร์ที่ [/FONT][FONT=&quot] 17 พฤศจิกายน 2557 เวลา 24.00[/FONT]

    [FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ชำระเงินค่าจองบูชาทั้งหมด ภายในวันอังคารที่ [/FONT][FONT=&quot]17 พฤศจิกายน 2557 เวลา 24.00[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่จองบูชาไว้ในหน้ากระทู้ จะได้รับการส่งมอบวัตถุมงคลทางพัสดุไปรษณีย์เท่านั้น งดการส่งมอบในพิธีถวายพระประธานที่วัดทองฯ เพื่อป้องกันความยุ่งยากและปัญหาต่างๆที่จะตามมา[/FONT]

    [FONT=&quot] *** [/FONT][FONT=&quot]โปรดช่วยค่าจัดส่ง [/FONT][FONT=&quot]80.-บาท ทุกครั้งในการจัดส่งพัสดุ เพื่อเป็นค่ากล่องและค่าส่ง ems[/FONT]

    http://palungjit.org/threads/เชิญบู...ง-แดนนิพพานเหนือโลก.539420/page-9#post9291666

    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ หนุ่มเมืองแกลง
    หนังสือ 2 เล่ม พร้อมรูปหล่ออุดผง(บรรจุกล่อง 2องค์) จะใส่ลงพอดีในกล่องพัสดุขนาด ข. มีน้ำหนักชั่งได้ประมาณครึ่งกิโล รวมค่ากล่อง12บาท ค่าจัดส่งems อีก 50.บาท ค่าวัสดุกันกระแทก 6 บาท ดังนั้นหากท่านใดจองไว้เกิน2องค์และขอรับหนังสือครบตามจำนวน ก็ลองพิจารณาค่าจัดส่งพัสดุให้สักนิดครับ แต่หนังสือนี้ดีมากสำหรับคนแขวนพระและเชื่อในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำนาจพระพุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณ แต่ยังบูชาใช้พระไม่ค่อยได้ผลมากเต็มประสิทธิภาพ เมื่อมีไว้และอ่านโดยพิจารณาอย่างรอบคอบพร้อมฝึกไปด้วยตนเองแล้ว จะพบวิธีกำหนดจิตในการอาราธนาบูชาที่ให้ผลอย่างที่ใจปรารถนา เป็นแขนงหนึ่งของวิชาทางวิทยาศาสตร์และไสยศาสตร์ผนวกเข้าด้วยกัน

    2 องค์ พร้อมหนังสือ 2เล่ม หนัก 500 กรัม ค่าส่ง ems 50.บาท
    4 องค์ พร้อมหนังสือ 4เล่ม หนัก 1,000.กรัม ค่าส่ง ems 70.บาท


    [FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่โอนชำระค่าบูชาช้ากว่ากำหนด หรือขาดการโอนตามกำหนด ถือว่าสละสิทธิ์การจอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่โอนชำระค่าจองบูชาแล้ว กรุณาแสดงหลักฐานไว้หน้ากระทู้ หรือส่งสำเนาให้คุณ[/FONT][FONT=&quot]moo noi เพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
    [FONT=&quot] [/FONT]เพราะผมไม่สามารถตรวจสอบได้ตามปกติเช่นที่เคยทำมา[/FONT]


    [FONT=&quot]***[/FONT][FONT=&quot]ค่าบูชาวัตถุมงคลและค่าจัดส่งทั้งหมด ให้โอนเข้าบัญชีของวัดทองฯ ตามรายละเอียดดังนี้[/FONT]

    [FONT=&quot] ชื่อบัญชี กองทุน สร้างกุฏิพระอภิชิโต ภิกขุ[/FONT]
    [FONT=&quot] ธนาคาร กสิกรไทย สาขา บางขุนนนท์[/FONT]
    [FONT=&quot] หมายเลขบัญชี [/FONT][FONT=&quot]753 – 2 – 38758 – 7[/FONT]


    update ยอดโอนเงินค่าบูชา ณ วันที่ 5 พ.ย. 57....

    <a href="http://picture.in.th/id/7b228ade957496c2efdf9f4e7d3a439c" target="_blank"><img border="0" src="http://image.free.in.th/v/2013/ih/141105124058.jpg" alt="images by free.in.th" /></a>
    <a href="http://picture.in.th/id/5de5ce35989eaa373bd5e366a215c1cc" target="_blank"><img border="0" src="http://image.free.in.th/v/2013/ic/141105011940.jpg" alt="images by free.in.th" /></a>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2014
  7. patzapon

    patzapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    145
    ค่าพลัง:
    +566
    โอนค่าจัดส่งเพิ่มเติมไปยังบัญชีใดครับ ดึกๆจะโอนไปครับ




     
  8. ชัยชโย

    ชัยชโย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +261
    สวัสดีครับ
    แจ้งการโอนเงินบูชารูปหล่อหลวงตาดำ 2 องค์ ดังสลิป
    โอนวันที่ 4 พ.ย. 57 ที่อยู่จัดส่งใน PM
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. moo noi

    moo noi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    6,328
    ค่าพลัง:
    +23,902
    พี่หนุ่มให้โอนไปที่บัญชีวัดค่ะ

    ^-^
     
  10. บัวใต้โคลน

    บัวใต้โคลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +380
    แจ้งการโอนเงินบูชารูปหล่อหลวงตาดำ 1 องค์ พร้อมแนบสลิป
    โอนวันที่ 4 พ.ย. 57 เวลา 16.45 น.จำนวน 1,080 บาท ที่อยู่จัดส่งใน PM พี่หนุ่มครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_2799.JPG
      IMG_2799.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      55
  11. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    บทความที่ดีน่าสนใจ เหมาะแก่ผู้เริ่มศึกษา การปฏิบัติสมาธิอย่างยิ่ง
    มีลงไว้ในหนังสือที่กำลังจัดทำเพื่อเป็นธรรมทานและครบทุกแนวทาง
    ...........................................................................
    การฝึกสมาธิ

    มีคนจำนวนมากยังเข้าใจว่าการฝึกสมาธิหรือวิปัสสนา เป็นเรื่องของนักบวชหรือพระ ไม่ใช่เรื่องที่คนทั่วไปจะฝึกปฏิบัติ ถึงฝึกก็ไม่ได้ผลอะไรเพราะว่าไม่มีเวลา มัวยุ่งอยู่กับการทำมาหากินจะเอาเวลาที่ไหนไปฝึก นี่ก็เป็นความเห็นของคนในระดับหนึ่งหรือประเภทหนึ่ง แต่ยังมีบุคคลอีกระดับหนึ่ง หรืออีกประเภทหนึ่ง ซึ่งอยากจะทดลองฝึกสมาธิวิปัสสนาดูว่าจะได้ผลดีไหม ฟังเขาพูดกันบ้าง อ่านหนังสือพบบ้าง คงจะมีผลดี มีประโยชน์ตามที่รู้มา ทดลองฝึกดูบ้าง ฝึกไปบ้างหยุดบ้าง เพราะเป็นเพียงอยากลองก็ไม่เห็นจะได้ผลอะไร?

    แต่ยังมีอีกจำนวนมากที่เชื่อว่าการฝึกสมาธิวิปัสสนาจะต้องถือศีลให้ครบถ้วนและต้องสำรวมมาก ทำให้ขาดการเข้าสังคม หมดสนุกไม่ได้เที่ยวหรือกินเหล้า ความจริงสมาธิขั้นต้นเคยทำอย่างไร ก็ทำตามเคยได้เลย บุคคลบางประเภทเป็นผู้ทำอะไรทำจริงไม่ท้อถอย เห็นว่าฝึกสมาธิวิปัสสนามีผลดี มีประโยชน์ ก็ตั้งหน้าตั้งตาฝึกจริงจัง แต่ขาดครูที่ดีบ้าง ปฏิบัติถูกบ้างผิดบ้างก็ย่อมไม่ได้ผลดีตามที่คาดคิด ก็เกิดความเห็นที่ผิดว่า บุญเก่าบารมีเก่าของตนไม่พอ มีบุญบารมีน้อย ฝึกไปชนิดเอาจริงเอาจังแค่ไหนก็ไม่ได้ผล ที่แท้เป็นเพราะตนทำไม่ถูกวิธี

    จึงขอทำความเข้าใจว่า “บุญ” ก็คือความดีหรือกุศลอันเกิดจากการประพฤติในทางกาย ทางวาจา ทางใจ ส่วน “บารมี” ก็คือบุญที่สะสมไว้( มีคำแปลไว้ในพจนานุกรม ) ทำความดี( บุญ )ไว้หลายครั้งก็เป็นบารมี ในทางพระพุทธศาสนาคำว่า วันก่อน ชาติก่อน มีความหมายหรือคำแปลว่า ล่วงมาแล้ว ผ่านมาแล้วหรือแปลว่า อดีต ชั่วโมงก่อนหรือวันก่อน เดือนก่อนหรือชาติก่อน ก็หมายถึงที่ผ่านมาแล้ว ชาติก่อนก็มีความหมายถึงชั่วโมงก่อน หรือชาติที่เกิดมาแล้ว ก็เพราะคนเรามีจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าร่างกายมาก ในชั่วโมงนี้เป็นคนดีใจเยือกเย็นใจบุญ แต่ชั่วโมงต่อไปอาจมีเรื่องกระทบใจให้โกรธแค้นมากถึงกับฆ่าคนได้อย่างทารุน ชั่วโมงนี้จึงกลับกลายเป็นคนใจร้ายเหี้ยมโหดทารุน ก็คือกลับชาติเกิดเป็นคนละชาติกับที่เป็นคนดีใจบุญในชั่วโมงก่อน

    การที่เกิดมาเป็นคนนี้ก็นับว่ามีบุญบารมีอยู่แล้วจึงเกิดเป็นคนไม่เกิดเป็นสัตว์ ถ้าเราคิดห่วงว่าบุญบารมีของเรามีแต่ไม่พอ เมื่อสงสัยว่ามีไม่พอก็ต้องทำเพิ่มเติมให้พอ จึงจะเรียกว่าเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นคนดีคนขยันเปรียบเหมือนเราจะซื้อวิทยุราคา ๒ พันบาทแต่มีเงินอยู่เพียง ๑ พันบาทคือมีเงินไม่พอ ก็ต้องขวนขวายหาเงินเก็บหอมรอมริบไว้พอก็จะซื้อได้ การฝึกสมาธิวิปัสสนาก็เช่นเดียวกันถ้าคิดว่าบุญบารมีของตนไม่พอ ก็สะสมขึ้นอีกให้พอ อาจจะมีผู้บอกว่าชาติก่อนบุญบารมีเราไม่พอ ฝึกไปก็ไม่ได้ผล ดังนี้ก็พลอยเชื่อเขา เกิดท้อถอยไม่อยากฝึก อย่างนี้ไม่ถูกต้อง เราควรพิจารณาว่า...ผู้ที่บอกว่าบุญชาติก่อนเราไม่พอนั้นเขารู้ได้อย่างไร? เขาสามารถระลึกชาติก่อนของเขาได้แล้วหรือ? เมื่อเขาระลึกชาติของเขาไม่ได้ เหตุไฉนจะระลึกชาติก่อนของเราได้ ดังได้กล่าวแล้วว่า “ชาติก่อน” ก็คือเวลาที่ล่วงเลยมาแล้ว วันก่อน เดือนก่อนก็เป็นชาติก่อน การฝึกสมาธิวิปัสสนาก็คือ การภาวนา ซึ่งเป็นบุญที่พระพุทธเจ้ายกย่องว่า ประเสริฐกว่าบุญอย่างอื่น เพราะการภาวนาเป็นปฏิบัติบูชา เราคงได้ยินพระท่านสอนบ่อยๆว่า บุญหรือการทำบุญสรุปรวมเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ ๓ ข้อ คือบุญเกิดจากการให้ทาน บุญเกิดจากการรักษาศีล และบุญเกิดจากการเจริญภาวนา พูดสั้นๆ ว่า “ทาน ศีล ภาวนา” ดังนั้นการนั่งสมาธิ หรือการควบคุมจิตให้สงบในอิริยาบถใดก็ตาม หรือการพิจารณากายของเราในทางวิปัสสนา ก็ล้วนแต่จัดเป็นการภาวนา เป็นการทำบุญกุศลเป็นการสะสมบุญให้มากขึ้น จะได้มากพอหรือคู่ควรที่จะเกิดสมาธิขั้นสูงขึ้นไปหรือเกิดญาณ ( ความรู้ ปัญญา) ที่สูงขึ้นไปได้
     
  12. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    ข้อยกเว้นการเริ่มฝึกสมาธิ สำหรับผู้ที่มีจิตใจอ่อนแอหรือขี้วิตกกังวล

    ควรฝึกการหายใจหรือบริหารลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตมีกำลังขึ้นมาเสียก่อนดังนี้
    ๑.เอามือช่วยกดบริเวณท้องน้อย ให้ท้องแฟบมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ พร้อมกับหายใจเข้าออกทางปากและทางจมูกให้ลมหมดท้อง เปรียบเหมือนกับเทของเสียทิ้งให้หมดก่อน แล้วหายใจเข้าทางจมูกอย่างเดียวให้เต็มท้อง ซึ่งท้องจะพองเมื่อหายใจเข้าโดยอัตโนมัติ (เวลาหายใจเข้าอย่าให้หน้าอกกระเพื่อม เพราะถ้าหน้าอกกระเพื่อม เวลาหายใจเข้าท้องจะแฟบ) ให้ทำอย่างสักประมาณ ๓ ถึง ๗ ครั้ง

    ๒.ต่อจากนั้นเมื่อหายใจเข้าจนท้องพองเต็มที่แล้ว ให้กักลมไว้ที่ท้องสักนิดหนึ่งแล้วปล่อยออกจนหมด ในขณะที่ปล่อยลมออก ให้รู้สึกว่าลมกระจายไปทั่วตัวทุกรูขุมขน ไปถึงปลายมือ ปลายเท้า และศีรษะ ให้ทำอย่างนี้ประมาณ ๓ ถึง ๗ ครั้ง

    ๓.ต่อจากนั้นให้หายใจเป็นปกติธรรมดา
    ควรฝึกตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๓ บ่อยๆก็ทำให้จิตมีกำลัง เมื่อจิตมีกำลังขึ้นมาแล้วก็ให้มีสติสัมปชัญญะ สักแต่รู้ว่าลมหายใจเข้าออกตามความเป็นจริง ลมหายใจสั้นก็รู้ว่าลมสั้น ลมยาวก็รู้ว่าลมยาว ลมหยาบก็รู้ว่าลมหยาบ ลมละเอียดก็รู้ว่าลมละเอียด บางครั้งลมหายใจบางเบาจนจับไม่ได้ ก็ให้สักแต่ว่ารู้อยู่เฉยๆ ให้อยู่กับรู้ อย่าไปไล่จับหรือไล่ตามลมหายใจ ให้สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างลมหายใจกับกับความรู้หรืออารมณ์ต่างๆ ถ้าลมหายใจกระแทกกระทั้น สั้นๆยาวๆ ไม่มีความสม่ำเสมอ จิตใจก็จะไม่สบาย ถ้าลมหายใจราบเรียบสม่ำเสมอ จิตใจก็จะสบาย หรือถ้าลมหายใจหยาบ จิตใจก็หยาบ ถ้าลมหายใจนุ่มนวล จิตใจก็นุ่มนวลผ่องใส ถ้าลมหายใจมีความละเอียด จิตก็จะละเอียด ถ้าลมหายใจบางเบาจนแทบจับความรู้สึกไม่ได้ จิตใจก็จะบางเบามาก

    ข้อควรระวัง

    อย่าเริ่มต้นที่จะพยายามทำลมหายใจให้เบาทันทีเพราะจะทำให้อึดอัด และจะไม่รู้ความสัมพันธ์ระหว่างลมหายใจกับความรู้สึกหรืออารมณ์ตามความเป็นจริง ต้องให้มีสติสัมปชัญญะรู้ลมหายใจเข้าออกพร้อมกับสังเกตจิต (คิดปรุงแต่ง) ไปพร้อมกันว่าจิตอยู่กับลมหายใจเข้าออก หรือส่งจิตออกนอก ให้ค่อยสังเกตจนรู้เท่าทันจิต ถ้าส่งจิตออกนอก ก็ขอให้มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัวขึ้นมา จิตก็จะกลับมาอยู่กับลมหายใจเข้าออกได้นานขึ้นเรื่อยๆ หรือเรียกว่าจิตเป็นสมาธิ
     
  13. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    สมาธิกับวิปัสสนาหรือจะเรียกว่าสมถะกับวิปัสสนาต่างก็เป็นวิธีการฝึกจิตและดีทั้งคู่ ช่วยส่งเสริมกันได้ ผู้ที่มุ่งหนักไปทางฝึกสมาธิ ก็อาศัยหลักวิปัสสนามาช่วยบ้างในบางโอกาส ผู้ที่ฝึกแบบวิปัสสนาก็หนักไปทางพิจารณา แต่ก็จำเป็นต้องใช้หลักสมาธิไปเจือปนอยู่หรือเป็นฐานประจำอยู่ มิฉะนั้นก็ไปไม่รอด แต่จะฝึกวิธีใดแบบใดก็ตามในตอนปลายก็ต้องไปฝึกวิปัสสนาอันแท้จริง เพื่อให้ได้ยอดปัญญาซึ่งจะได้กล่าวต่อไป ในขั้นนี้จะกล่าวถึงสมาธิขั้นกลาง ขั้นสูง และวิธีแก้ไขจิตที่ดื้อไม่ยอมเป็นสมาธิต่อไป เมื่อสมาธิได้ก้าวมาถึงปลายสุดสมาธิขั้นต้นแล้ว เราจะมีจิตดิ่งอยู่ที่จุดตั้งจิตอย่างมั่นคง รู้สึกเหมือนว่าไม่ได้หายใจเลย มีความสงบ ปีติและสุขชนิดพิเศษซึ่งเหนือกว่าสุขสำราญโดยทั่วไป ถ้าเราสามารถควบคุมจิตให้สงบมีความสุขอยู่ได้นานพอสมควรและชำนาญในการเข้า ก็เป็นการเข้าถึงสมาธิขั้นกลาง (ในพระบาลีเรียกว่าอุปจารสมาธิ หรือพิจารณาในแง่นิมิต สมาธิขั้นกลางนี้ก็เรียกว่า อุคคหนิมิต ซึ่งแปลว่านิมิตติดตา กล่าวคือนิมิตเกิดขึ้นในขั้นนี้ เช่นเห็นภาพต่างๆ หรือเห็นแสงก็ชัดเจน และเป็นภาพนิ่ง)

    เนื่องจากจิตแน่วแน่และความสุขที่ลึกซึ้งเช่นนั้น ไม่ช้าก็ทำให้จิตละทิ้งร่างกายไปเสีย ขณะเดียวกัน สติจะขาดลงโดยสิ้นเชิงชั่วเวลาประเดี๋ยวเดียว แล้วจิตก็แยกจากร่างไปพร้อมๆกันนี้เอง ทวารทั้ง ๕ ก็จะดับสูญลงไป คงเหลือแต่ทวารใจอย่างเดียวกล่าวคือสติ (ความรู้ตัว) ได้ย้ายออกจากร่างกายไปอยู่ที่ใจอย่างเดียว ผลที่เด่นชัดเป็นดังนี้คือ จิตยึดมั่นอยู่ที่เดียวด้วยความสุขสำราญ รู้อยู่ว่า “นี่คือตน เป็นจิตที่อยู่โดดเดี่ยวในความว่างและอยู่ในความสุขสุดยอด ฉันรู้สึกว่าไม่มีร่างกาย ร่างกายและของทุกอย่างในตัวไม่พบว่าอยู่ที่ไหน ”

    ในกรณีเช่นนี้ ส่วนมากรู้สึกว่าว่างหรือเป็นความมืด ขั้นสุดท้ายเป็นแสงสว่างมาก เรียกว่า “แสงโอภาส” ซึ่งกว้างใหญ่จนปิดร่างกายของตนเองและทุกสิ่งทุกอย่างในสากลจักรวาล รู้สึกว่ามีจิต (วิญญาณ) ของตนอย่างเดียวลอยอยู่เท่านั้น ลักษณะเช่นนี้อาจะเรียกง่ายๆ ว่า “จิตว่างจากรูปหยาบ(กาย) ” หรือการเข้าสู่สภาวะความว่าง จากกายมาอยู่กับรูปละเอียด (แสง) จัดเป็นระดับสูงสุดในสมาธิขั้นกลาง (ความว่างในขั้นนี้ ไม่ใช่ความว่างที่แท้จริง) เราจะอยู่ในสมาธิขั้นกลางไม่นานนัก จิตก็ถอยไปสู่สภาวะปกติ และควบคุมร่างกายตามเคยและยังจำหรือระลึกได้ว่าอะไรเกิดขึ้นแล้ว

    ข้อควรระมัดระวังที่สำคัญยิ่ง เมื่อได้เข้าถึงขั้นกลางแล้ว อย่าหยุดพักเป็นอันขาด ให้พยายามเข้าสู่สมาธิขั้นกลางซ้ำซากจนกว่าจะชำนาญในการเข้าออก จึงพักการทำสมาธิ (อาจต้องทำติดต่อถึง ๒ วัน) ถ้าไม่ทำเช่นนี้จะหลงทางเข้าและทำไม่ได้อีกเป็นเวลานาน อาจจะเป็นเวลาหลายปี นิมิตที่เห็นด้วยตาชั้นในได้นั้น อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดก็ได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นและรู้วิธีบังคับได้ก็จะเกิดเป็นวิชาพิเศษขึ้น ถ้าบังคับผิดหลักก็มีโทษมาก ฉะนั้นทางที่ปลอดภัยที่สุดก็คือ ปล่อยวางนิมิตเสีย เพื่อให้ได้สมาธิขึ้นสูงต่อไป
     
  14. newmoon30

    newmoon30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ชอบมากๆครับ ไม่ทราบว่าบทความเหล่านี้ มีในหนังสือที่แจกกับการสั่งจองรูปหล่อหลวงตาดำด้วยไหมครับคุณหนุ่ม
     
  15. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    การฝึกสมาธิมุ่งหมายจะให้จิตมีความปกติปลอดโปร่งและรู้สึกสบาย จิตที่ไม่ปกติ ไม่สบาย สมาธิก็แก้ให้สบายให้อย่างปกติ เมื่อสบายมากขึ้นก็เป็นเหตุให้เกิดปีติคือความอิ่มกายอิ่มใจ เบาใจปลื้มใจ ปีติก็เป็นเหตุสำคัญให้เกิดความสงบ ระงับกายและใจ ลมหายใจก็ระงับลงเพียงไม่รู้สึกว่ามีการหายใจ ความเจ็บไข้ ความเจ็บปวดทางกายก็ระงับลง ไม่รู้สึกว่ามีการหายใจ ความเจ็บไข้ความเจ็บปวดทางกายก็ระงับลงไม่รู้สึกเจ็บปวด จึงเป็นเหตุให้เกิดสมาธิขั้นกลางขึ้นได้ และรู้สึกมีความสุข เป็นความสุขที่มากมายลึกซึ้งกว่าความสุขในทางโลก ถ้าฝึกสมาธิมีความรู้สึกว่าไม่สบาย ไม่ปลอดโปร่งก็นับว่าผิดหรือไม่ได้ผล ต้องหาวิธีแก้ไข สำหรับจิตที่ไม่ปกติ ไม่สบาย เช่นรู้สึกหงุดหงิด รำคาญ โกรธ พยาบาท เสียใจ กลัว ตกใจ ใจสั่นเป็นต้น จงสนใจเฉพาะเรื่องจิต เรื่องลมหายใจ ส่วนร่างกายจะปวดเมื่อยก็ไม่สนใจ ถ้าผ่านการปวดเมื่อยไปได้ครั้งหนึ่ง ต่อไปก็ไม่ปวดเมื่อย

    การตรวจสอบว่าสมาธิดีขึ้นเพียงใด นอกจากจะดูลม นับลมหายใจและทดลองใช้พลังจิตดูแล้วยังมีวิธีสังเกตง่ายๆคือสังเกตหู ถ้ามีสมาธิดีขึ้น การได้ยินจะดังเท่าเดิมแต่ไม่รำคาญ ต่อไปได้ยินเบาลงจนถึงไม่ได้ยินเสียงใดๆนานพอควร ก็นับว่าได้ถึงสมาธิขั้นกลาง

    สงเกตนิมิต...คือการเห็นทางจิต ถ้าเห็นแสง เห็นคน เห็นต้นไม้ฯ แต่ภาพที่เห็นนั้นมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่งก็เป็นบริกรรมนิมิต เป็นสมาธิขั้นต้น ถ้าภาพนั้นเห็นชัดเจนหยุดนิ่งได้นานหน่อยก็นับว่าได้ “อุคคหะนิมิต” เป็นสมาธิขั้นกลาง ถ้าภาพทางใจชัดเจนหยุดนิ่งได้นานและน้อมจิตให้ภาพนั้นเล็ก ให้ใหญ่ ให้อยู่ใกล้ ให้หายไป ให้เกิดใหม่ได้ดังนี้ ก็นับเป็นปฏิภาคนิมิต เป็นการเริ่มต้นของสมาธิขั้นสูง หรือเป็นปลายสุดของสมาธิขั้นกลาง ซึ่งเริ่มเป็นสมาธิขั้นสูง เป็นข้อสำคัญที่ใช้ประโยชน์และรู้อะไรได้มากมายเป็นการ “ผุดรู้” และทำได้อย่างน่าอัศจรรย์

    การควบคุมจิตให้สงบแน่วแน่อยู่ในเรื่องเดียวหรือสิ่งเดียวกัน เรียกว่าการทำจิตเป็นสมาธิ เมื่อรวมจิตให้เป็นสมาธิ รับรู้อยู่เพียงเรื่องเดียวได้ชั่วขณะ แล้วจิตก็กลับไปรับรู้หรือคิดเรื่องอื่นๆอีก ครั้นเมื่อรวมจิตใหม่ก็มีความแน่วแน่อยู่เพียงครู่เดียว ดังนี้เรียกว่าเป็น “ สมาธิชั้นต้น ”

    เมื่อมีสิ่งแวดล้อมบังคับหรือมีการฝึกสมาธิให้มากขึ้น ก็อาจจะรวมจิตให้แน่วแน่อยู่ในเรื่องเดียวได้เป็นเวลานานมากกว่าเดิม แล้วจิตจึงถอยจากสมาธิไปรับรู้เรื่องอื่นๆ สมาธิในลักษณะนี้เรียกว่า “ สมาธิชั้นกลาง ”

    เมื่อได้ฝึกสมาธิมากขึ้น จนสามารถรวมจิตให้แน่วแน่อยู่ในเรื่องเดียว สิ่งเดียวได้นานตามความประสงค์ของตัวเองและเข้าสู่สมาธิได้เร็ว มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา อยากจะออกหรือเข้าสมาธิเมื่อใดก็ทำได้ตามใจต้องการ สมาธิลักษณะนี้เรียกว่า “ สมาธิชั้นสูง ”

    ในการฝึกจิตเมื่อแก้ไขจิตมาตั้งสงบเป็นสมาธิ จิตมักนิ่งประเดี๋ยวเดียวก็ถอยกลับ ต้องแก้ไขปรับปรุงดังกล่าวแล้วตลอดเวลา เมื่อฝึกมากๆเข้าก็ทำจิตนิ่งได้นานเข้าทีละน้อยๆ ถือเป็นสมาธิที่สูงขึ้นทีละน้อยตามลำดับ ขออย่าท้อใจเราต้องฝึกกันบ่อยๆ ฝึกติดต่อไปนานๆเท่าที่จะทำได้ ยิ่งฝึกได้ทั้งกลางวันกลางคืนในที่เงียบสงัด มีอาหารเตรียมไว้ให้สะดวก หยุดการติดต่อโดยการพักงานทำต่อเนื่องครั้งละ 7 วันได้ยิ่งดี ถ้าไม่มีโอกาสก็ฝึกที่บ้าน วันละเล็กวันละน้อยเรื่อยไป ควรจะกำหนด เวลาหรือกฎเกณฑ์ว่าต้องฝึกทุกวัน และจับเวลาในการฝึกดู พยายามนั่งฝึกติดต่อให้ได้นานขึ้นทุกทีจึงจะฝึกได้เร็วขึ้น ขออย่าร้อนใจว่าไม่เห็นได้ประโยชน์อะไร ผู้คิดเช่นนั้นก็คือคนไม่ทำจริง เมื่อผูกจิตให้สงบนิ่งได้ชั่วขณะ มักจะมีการเห็นการรู้สึกไปต่างๆคล้ายๆกับฝัน เรียกว่านิมิต ทั้งนี้ไม่ใช่อื่น คืออารมณ์ตกค้างออกจากจิตของตนเอง อย่าได้นึกหวาดหวั่นตัวอย่างเช่น เห็นคน สัตว์ ตนเอง เห็นนรก สวรรค์ ผี บางทีเกิดนิมิตทางหู ได้ยินเสียงพูดเสียงร้อง เสียงปืน บางทีปรากฏกลิ่น เช่นกลิ่งหอม เหม็นคล้ายกลิ่นศพ บางทีเกิดความรู้สึกต่างๆ เช่นรู้สึกซู่ซ่าขนลุก น้ำตาไหลดีใจ ตาพองโตขึ้นบ้าง เล็กลงบ้าง รู้สึกแขนขาชา หน้าชา แขนขาหายไป เห็นแสง เห็นพระ ต้นไม้ รู้สึกตัวหมุน ตกจากที่สูงหรือหล่นลงไปในเหว ดังนี้เป็นต้น
     
  16. patzapon

    patzapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    145
    ค่าพลัง:
    +566
    [​IMG][/url][/IMG]
     
  17. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    ที่ลงไว้ เป็น1 ใน 200 ส่วนครับ
    ผมสรุปย่อมาจากหนังสือเก่าๆ 3600 หน้า จาก 16 เล่ม จาก 5 ครูบาอาจารย์ น่าสนใจดีและใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายครับ ลองเอาให้แม่อ่านดู แกยังเข้าใจวิธีกำหนดอารมณ์ สร้างสมาธิเลยครับ อ่านสักสามรอบก็ตีโจทย์แตก เพราะผู้เรียบเรียงใช้คำอธิบายพื้นๆแบบคนธรรมดา ใช้วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์และหลักการพื้นๆ เวลาอ่านไม่ต้องใต่บันไดอ่าน ช่วงนี้ผมเลยไม่ค่อยได้เข้าหน้าเวปครับ เร่งปรับปรุงบทความที่ต่อเชื่อมกันให้เอามาอยู่หมวดเดียวกัน ทบทวนคำผิด เรียงหน้าและใส่ภาคขยายความอยู่ครับ
     
  18. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    การปฏิบัติต่อนิมิตในการทำสมาธิ

    1. ทำจิตให้สงบนิ่งคือ อยู่ที่จุดกระทบคอยกำหนดจุดรู้อยู่จุดเดียว อย่าหวั่นไหวในนิมิต เราต้องรู้เท่าทันว่าเป็นอารมณ์ตกค้างออกมาจากจิตตนเอง ไม่มีของจริงอะไร พิจารณาการเกิดขึ้น การหายไป การเปลี่ยนแปลงให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และปล่อยวางนิมิตนั้น เพื่อให้สมาธิดีขึ้นตามลำดับ ถ้ามัวหลงมัวติดนิมิต สมาธิก็จะไม่ก้าวหน้าเพราะว่านิมิตเป็นศัตรูของสมาธิ ทำให้หลงเพลิน ให้กลัว ให้ตกใจ ดีใจเลยเสียสมาธิไป ต้องปล่อยว่างขับไล่นิมิตนั้นออกไป ด้วยการพิจารณาดังกล่าวแล้ว ถ้าไม่หายก็ให้ใช้วิธีแง้มตาขึ้นนิดหนึ่ง แล้วจึงหลับตาทำสมาธิต่อไป หรือจะใช้แก้ด้วยหายใจยาวขึ้น 2-3 ครั้ง รักษาสติให้กำกับอยู่ที่จุดตั้งจิตให้ดี นิมิตก็หายไป ถ้านิมิตเป็นภาพคน แก้ไม่หายต้องใช้วิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เวลาทำสมาธิก็แผ่กุศลไปให้

    2. นิมิตบางอย่างมีประโยชน์ต่อสมาธิ ต้องรู้วิธีใช้ให้เป็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่นรู้สึกแขนขาชามากขึ้นแล้วค่อยๆหายไปทีละน้อย ก็ทำให้จิตอนุโลมให้หายไปในที่สุด หายไปหมดทั้งร่างกายเหลือแต่จิตลอยอยู่ตรงจุดที่ตั้ง จิตก็ถึงสมาธิขั้นกลางและจะพุ่งไปสู่สมาธิขั้นสูงต่อไป ถ้ามีนิมิตเห็นแสงหรือสี หรือคน สิ่งของวอมแวมไหวเคลื่อน ไม่อยู่นิ่ง ก็ลองบังคับให้นิ่ง ให้เล็กให้โต ให้เข้ามาใกล้ ให้ออกไปไกล ให้หายไป ให้เกิดใหม่ เมื่อบังคับได้ชำนาญแล้ว ก็จะเกิดเป็นวิชาขึ้น คือเห็นรูปอื่นได้โดยไม่ต้องลืมตา เห็นของที่อยู่ไกลได้โดยไม่ต้องไปดู (เรียกว่าตาทิพย์) หรือได้ยินเสียงไกลๆได้ (ซึ่งเรียกว่าหูทิพย์) อาจทำอย่างอื่นได้เช่นเรียกความร้อน เรียกความเข้มแข็งมาสู่ร่างกาย (ซึ่งเรียกว่าอำนาจทิพย์) แต่วิธีนี้เป็นการฝึกข้ามขั้น ถ้าไม่รอบรู้ระมัดระวังให้ดี อาจเสียสติหรือผิดทาง ถ้าเห็นว่าตนจะข้ามขั้นไม่ได้ก็ปล่อยวางนิมิตเสีย
     
  19. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    ข้อควรปฏิบัติเมื่อสมาธิเริ่มก้าวหน้าขึ้น

    เป็นต้นว่าเข้าขั้นเพลิน เข้าสมาธิขั้นกลางหรือขั้นฌานก็ดีควรปฏิบัติดังนี้คือ ไม่ว่าจะฝึกวิธีใด เมื่อจิตได้สงบนิ่งดีขึ้นก็คอยสังเกตให้แม่ยำว่า สภาพร่างกายเป็นอยู่อย่างไร การหายใจของเราอยู่ในลักษณะอย่างไร หายใจถี่ห่างหนักเบาอย่างไร แล้วจำลมให้ชัดเจนว่าเมื่อจิตเข้าขั้นนี้ การหายใจของเราจะเบาขนาดไหน จังหวะหายใจอย่างไร เมื่อจิตถอยกลับไปสู่สภาพธรรมดาคือขาดความสงบนิ่งอยู่นั้น ลมหายใจเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เมื่อจำได้แม่นยำแล้วเวลาเริ่มนั่งสมาธิครั้งหลังก็ให้ตั้งลม คือหายใจในลักษณะที่จิตตนก้าวหน้าไปถึงเมื่อที่ผ่านมา วิธีนี้ทำให้จิตตั้งดิ่งได้เร็วและจิตเข้าสู้ขั้นที่ตนฝึกได้แล้วในเวลาอันสั้น ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่เป็นเวลานานเหมือนตอนแรก ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการทายเหตุการณ์ด้วยอำนาจจิตหรือใช้อำนาจอย่างอื่นนั้น ถ้าชำนาญแล้วก็ทำได้เร็วเพราะแม่นยำในการตั้งลม หรือแม่นยำในกานบังคบจิตนั้นเอง

    อนึ่ง..ถ้าวันใดจิตได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง เช่นรู้สึกดีขึ้นหรือรู้สึกมืดหรือสว่างหรือรู้สึกว่าในโลกนี้ดูว่างๆไปหมด ไม่มีอะไรเลย รู้สึกเพียงมีจิตของตนลอยนิ่งอยู่หรือรู้สึกว่าแขนขาชา แขนขาหายไป ตกดิ่งๆลงเหว ตัวลอยสูงขึ้นทุกที รู้สึกเสียงอึกทึกมากหรือรู้สึกตัวหมุนเหล่านี้แสดงว่า ฝึกสมาธิได้ดีขึ้นแล้ว เมื่อจิตคลายจากสมาธิไม่ควรจะรีบลุกไปหรือนอนพักผ่อนไม่ควรเลิกฝึกเสีย ที่ถูกต้องสังเกตให้แม่นยำว่าลมเป็นอย่างไร โดยนั่งฝึกต่อไปอีกให้ได้ผลอย่างเดิมอีก พอสมาธิถอยคลายออกอีกก็ฝึกซ้ำต่อไปอีก จนจิตชำนาญในการเข้าออกจากสมาธิขั้นนั้นคือเข้าถึงสมาธิขั้นนั้นได้ในเวลาอันสั้น

    ทั้งนี้จะต้องทำซ้ำให้ได้เป็น 7 ครั้งหรือ 2 วันติดต่อกันหรือมากกว่านี้ จนชำนาญในการเข้าออก ชำนาญในการทำให้เกิดขึ้น ชำนาญในการรักษาให้คงไว้และทำให้หายไปจึงจะเลิกฝึกได้ เรียกตามศัพท์ว่าทำเป็น วสี วิธีนี้ทำให้การฝึกในครั้งหลัง หรือวันหลังลัดเข้าสู่ขั้นนั้นได้ทันที ถ้าไม่ทำเช่นที่ว่านี้ การฝึกครั้งหลังก็เป็นการเริ่มต้นใหม่อีก ส่วนมากจะไม่ได้ถึงขั้นที่เคยได้ไว้เป็นเวลาหลายปี
     
  20. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    ลำดับความรู้สึกจากสมาธิขั้นต้นถึงขั้นสูง

    ๑.เมื่อจัดลมหายใจให้สบายได้แล้ว รักษาความสบายไว้ได้นานหน่อย ก็จะเกิดความเพลินในความสบาย เรียกว่าขั้นเพลิน
    ๒.เมื่อเพลินในความสบายมากขึ้น จิตก็เกิดความสงบนิ่งไม่คิดโน่นคิดนี่ เป็นสมาธิขั้นต้น
    ๓.เพราะมีความสงบนิ่งสบายอยู่นี่เองเรียกว่าจิตเกิดสมาธิ และสมาธิจะค่อยๆดีขึ้น ในขณะเดียวกันที่สมาธิก้าวหน้าดีขึ้นก็เกิดพลังจิต หรืออำนาจจิตมากขึ้นตามลำดับของสมาธิ โดยธรรมชาติถึงเราจะไม่ต้องการมีพลังจิตก็ตาม พลังจิตก็จะเกิดมากขึ้นตามสมาธิเสมอไป
    ๔.เพราะเหตุว่าสมาธิสูงขึ้นและมีพลังจิตเพิ่มขึ้นในตัว จิตจึงมีความสามารถพิเศษเพิ่มขึ้นและเกิดการรู้การเห็นทางจิตขึ้น ซึ่งเรียกว่า “นิมิต”
    ๕.นิมิตที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเพียงนิมิตในสมาธิขั้นต้นซึ่งเรียกว่า “บริกรรมนิมิต” ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ เช่น รู้สึกชาที่จุดตั้งจิต รู้สึกแขนชาขาชา รู้สึกขนลุกขนพอง รู้สึกดีใจสบายใจ รู้สึกซาบซ่านขึ้นในกาย เห็นภาพทางจิตเป็นภาพคน สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือนเป็นต้น ภาพเหล่านี้ไม่หยุดนิ่ง มีการเคลื่อนไหวได้ เห็นแสงที่เคลื่อนไหวได้วอมแวม รู้สึกตัวชาและพองใหญ่ขึ้น รู้สึกตัวลอยสูงขึ้นสูงขึ้น รู้สึกว่าตกลงไปในเหวลึก ตกลึกลงลึกลงไป รู้สึกว่าไม่ได้หายใจ ลืมภาวนาพุทโธ ความจริงยังหายใจอยู่แต่แผ่วเบาจนไม่รู้สึก พระอาจารย์บางท่านใช้คำว่า “การหายใจยังมีอยู่ แต่ไม่ปรากฏ” ความรู้สึกต่างๆมีแปลกๆ เป็นเครื่องแสดงว่าจิตเกิดสมาธิดีขึ้น และก้าวหน้าสูงขึ้นจวนจะเข้าถึงสมาธิขั้นกลาง(อุปุจารสมาธิ)แล้ว

    ข้อเตือนใจที่สำคัญ จะต้องมีสติรู้อยู่ตลอดเวลา การลืมภาวนา “พุทโธ” ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปเอง อย่ามีเจตนาที่จะเลิกภาวนาเอาเอง ตั้งจิตหรือรวมสติรู้อยู่ที่จุดตั้งจิตที่เดียวอย่างมั่นคง ไม่สนใจไม่ส่งจิตไปที่นิมิต ไม่ติดตาม ไม่เกาะที่ความรู้สึกต่างๆอันเป็นนิมิต โดยพิจารณาว่าล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง (อนิจจัง) และไม่มีตัวตน (อนัตตา) แต่เดิมไม่มีไม่เกิดนิมิต ต่อมาเมื่อสมาธิดีขึ้นนิมิตจึงเกิดแล้วก็ดับไปเอง ไม่ควรยึดถือ ไม่ควรยินดีหรือชอบใจ ไม่ควรยินร้ายคือกลัวเกลียดหรือไม่ชอบใจ วางใจสงบและรู้เฉยๆ ใจเป็นกลางอยู่ ทั้งนี้เพราะนิมิตในสมาธิขั้นต้นนี้ยังไม่นิ่ง และยังใช้ประโยชน์ไม่ได้ ควรปล่อยผ่านไปเพื่อเข้าสู่สมาธิขั้นกลาง (อุปจารสมาธิ) จนถึงสมาธิขั้นสูง (อัปปนาสมาธิ)

    เมื่อตั้งจิตไว้ที่จุดตั้งจิตอย่างเหนียวแน่น ไม่ส่งจิตไปยังนิมิตต่างๆและความรู้สึกต่างๆในสมาธิขั้นต้น ไม่สนใจกับความรู้สึกหรือนิมิตเหล่านั้น ประคับประคองให้จิตสงบนิ่งอยู่รู้อยู่เฉยๆดังกล่าวมาแล้ว สมาธิจะก้าวหน้าดีขึ้นพอสมควร แล้วจะเกิดความรู้สึกวูบไปหรือรู้สึกมีอาการกระตุกเบาๆ (สปัสซั่ม)แวบเดียว ซึ่งพระอาจารย์ทางสมาธิเรียกว่า จิตเข้าสู่ “ภวังค์” หรือ จิตตก “ภวังค์” ทำให้จิตทิ้งกายหรือแยกออกจากกาย มาอยู่ที่จิตอิสระอยู่โดดเดี่ยว หรือจะว่าลืมกาย ไม่รู้สึกว่ามีกาย “ภวังค์” เป็นหัวต่อที่จิตเปลี่ยนสภาพ หรือเปลี่ยนระดับของสมาธิจากปลายของสมาธิขั้นต้น เข้าสู่ “สมาธิขั้นกลาง” คล้ายกับหัวต่อจากการรู้ว่ามีรูปกายกับการหลับ ซึ่งไม่รู้ว่ามีร่างกาย ต่างกันที่การหลับเป็นการปล่อยวางที่ขาดสติ ขาดจากการรู้มาเป็นหลับ

    ภวังค์เป็นการปล่อยวางละทิ้งรูปกายเดิม ไม่รู้สึกว่ามีกายแต่ยังมีสติมีการรู้อยู่ สติอาจจะขาดตอนไปชั่วครู่เดียว ประเดี๋ยวเดียวแล้วก็มีสติรู้อยู่แต่ลืมกาย ลืมไปว่ามีกาย หูซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกายก็ไม่รู้ว่ามี คือหูไม่ได้ยินเสียงรอบๆ พระอาจารย์บางท่านเรียกว่า “หูดับ” การรับรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และทางกาย ก็ดับไปไม่รับสัมผัส คงเหลือเพียงการสัมผัสหรือรับรู้ทางใจอย่างเดียว รูปกายเดิมซึ่งท่านเรียกว่า “กายหยาบ” ไม่ปรากฏว่ามีและไม่รู้สึกว่ามีอะไรในโลก มีแต่จิตลอยอยู่นิ่ง จิตจึงไม่มีความห่วงใย ไม่มีกังวลอะไรเป็นสมาธิขั้นกลาง จึงมีความสุขสบายมาก จิตหยุดนิ่งสงบอยู่ในรูปที่ละเอียดแทนรูปหยาบ เราอาจจะรู้สึกว่าจิตลอยนิ่งอยู่ในความว่างๆ หรืออยู่ในความมืดทึบ ต่อไปก็จะลอยนิ่งอยู่ในความสว่างมาก กว้างใหญ่ทั่วโลก ไม่มีการเคลื่อนไหว ท่านเรียกว่า “แสงโอภาส” นี่คือระดับสูงสุดของสมาธิขั้นกลาง จวนจะเข้าถึงสมาธิขั้นสูง (อัปปนาสมาธิ) และระดับสมาธิขั้นกลางที่จวนจะเข้าถึงสมาธิขั้นสูงนี้ มีความสงบแน่วแน่มั่นคงและมีความสุขความปลอดโปร่งมากมาย

    อาจมากจนทำให้เข้าใจผิดได้ง่ายว่า ตนได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาหรือได้ถึงขึ้นฌาน อาศัยการพิจารณาให้เห็นแสงโอภาสนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ก็จะละทิ้งจากแสงโอภาสเสียได้โดยสมาธิจะตกภวังค์ แล้วเลื่อนขึ้นเป็นสมาธิขั้นสูง (อัปปนาสมาธิ-สมาธิแน่วแน่) ซึ่งอาจจะเป็นฌานที่ ๑ ซึ่งมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข และ เอกัคตา เป็นเพียงอาการของจิต หรือความรู้สึกทางจิตเท่านั้น ผู้ไม่มีอุปนิสัยที่จะเดินทางฌานก็ไม่เข้าฌาน ไม่เป็นฌานแต่เป็นสมาธิขั้นสูงที่มีความรู้สึกว่าว่างๆ (ยังไม่ใช่ความว่างอันแท้จริง) มีความสุขอย่างยิ่ง ถึงขั้นที่จวนจะเข้าถึงฌานหรือสมาธิขั้นสูงนั้นได้ข้ามพ้นรูปทั้งปวงแล้ว ทิ้งรูปละเอียดที่เป็นแสงโอภาสได้แล้ว จะเป็นตะเข็บต่อ หรือหัวต่อระหว่างสมาธิขั้นกลางและขั้นสูงมีพลังจิตสูงมาก สามารถใช้พลังจิตได้อย่างน่าอัศจรรย์
     

แชร์หน้านี้

Loading...