ใจมันพูดเองเออเองได้ด้วยหรอคับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย spyderco, 27 มกราคม 2014.

  1. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ถ้าไม่มีความพอใจ ซึ่งก็คือความต้องการที่จะกระทำใดๆโดยเพลิดเพลินแล้วล่ะก็
    จะไปมีความเพียรได้อย่างไร ก็ในเมื่อเราไม่ต้องการสิ่งนั้นๆ
    ความเพียรก็คือความยินดีที่จะทนรับสภาพนั้นๆ ด้วยมีหวังว่าจะสำเร็จ
    บุคคลทุกคน ไม่มีใครทำอะไร หรือเพียรอะไรโดยไม่มีจุดมุ่งหมายไม่ได้ตั้งเป้า
    แน่นอนว่า ถ้าเริ่มทำอะไรสักอย่าง แสดงว่าต้องเล็งเห็นผลลัพไว้แล้ว ฉันทะมันเกิดแต่ตอนนั้น และก็เกิดวิริยะตามมา
    วิริยะ จะหมดได้ ก็เพราะฉันทะหมดไปก่อน ฉะนั้น วิริยะจะมาก่อนฉันทะไม่ได้เลย
    อุปมาการมีวิริยะโดยไม่มีฉันทะว่า บุคคลผู้ลงมือขุดดินเล่นๆ
    เมื่อไปถามว่าขุดทำไม กลับตอบว่า "ไม่รู้เหมือนกัน"
    ผู้ที่กระทำโดยไม่มีจุดหมายอย่างนี้ ไม่มี
    แม้คนบ้าที่ลงมือขุด ก็เพราะคิดว่าจะได้อะไรสักอย่าง
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ข้อ 1 กับ 2 ตอบรวมกัน

    คุณยังเข้าใจผิดเรื่องอวิชชา คุณไปคิดว่า อวิชชา มันคือสภาวะของกิเลส สภาวะของอกุศล นั่นมันไม่ใช่เลย ตัวจริงของสิ่งพวกนั้น เป็นแค่สภาวะในธรรมชาติ ที่จิตไปให้ความหมายว่า มันคืออกุศล มันคือกิเลส ตัวมันเอง ไม่ได้เป็นอวิชชาอะไรเลย

    โดยธรรมชาติ ที่สุดแล้ม มีแค่ กรรม กับ วิบาก ทำกรรมไว้อย่างไร ได้รับวิบากตามที่ทำไว้
    สิ่งไหนดี สิ่งไหนชั่ว สิ่งไหนกุศล สิ่งไหนอกุศล จิตเป็นผู้ปรุงแต่งให้มันเป็นไปเช่นนั้น
    สิ่งไหนทำแล้วได้รับวิบาก ที่จิตมันเอาไปตีความหมายว่า เป็นความสุขสบาย สิ่งนั้นเป็นกุศล
    สิ่งไหนทำแล้วได้รับวิบาก ที่จิตมันเอาไปตีความหมายว่า เป็นความทุกข์ยาก สิ่งนั้นเป็นอกุศล

    ดังนั้น อวิชชา มันไม่ใช่สภาวะของอกุศล ไม่ใช่สภาวะของกิเลส แต่ อวิชชา คือ อาการเข้าไปยึดถือสภาวะในธรรมชาติทั้งหลาย เอามาเป็นตน มันจะไปเอากุศล หรือ อกุศล มายึดถือไว้ มันเป็นอวิชชาทั้งนั้น

    พูดอีกอย่างหนึ่งว่า อวิชชา คือ ตนเอง ตัวตนของคุณเองนั่นแหละ คือ อวิชชา
    สิ่งทั้งหลาย ที่จิตเข้าไปยึดถือ มันเป็นแค่ขันธ์ มันเป็นแค่ของไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามธรรมชาติของมัน
    ขันธ์ทั้งหลาย นั้นมันหวุนวนอยู่รอบจิต โดยธรรมชาติของมัน มันเป็นแค่สภาวะธรรมชาติ ที่แปรปรวน เปลี่ยนไปตามเรื่องตามราวของมัน จิตต่างหาก ที่ไม่ได้ปล่อยให้ขันธ์มันหมุนวนรอบจิตตามธรรมชาติ แต่วิ่งเข้าไปยึดถือขันธ์ อันนี้แหละ คือ อาการของอวิชชา

    อกุศล กิเลส ทั้งหลาย มันก็เป็นแค่สภาวะนามธรรม ที่หมุนวนอยู่รอบจิต แล้วจิตมันวิ่งเข้าไปยึดเอาไว้
    ผู้ที่ยังไม่เกิดปัญญา จะไปคิดว่า มันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ต้องไม่ให้มีเกิดขึ้น เกิดความไม่อยากเอา
    นอกจากจะเป็น วิภวตัณหาแล้ว ก็จะปฏิบัติโดยการไปพยายามเปลี่ยนสิ่งที่หมุนวนจิต ให้กลายเป็นสภาวะนามธรรม ของกุศล
    แต่ อาการของจิต ที่เข้าไปยึดถือไว้ ยังคงมีอยู่เหมือนเดิมทุกประการ

    ตรงกันข้ามกับผู้ที่เกิดปัญญาแล้ว
    สิ่งที่หมุนวนอยู่รอบจิตนั้น มันจะเป็นอย่างไร มันก็เรื่องของมัน เพราะมันเป็นขันธ์ เป็นสิ่งไม่เที่ยง ไม่ได้จำเป็นจะต้องไปบังคับเปลี่ยนแปลงอะไร แค่ตัดอาการที่จิตมันวิ่งเข้าไปยึดถือสภาวะพวกนี้เอาไว้ มันจึงเกิดสิ่งที่เรียกกันว่า "มีขันธ์ แต่ไม่มีผู้เข้าไปเป็นยึดถือในขันธ์" การเข้าไปยึดถือในขันธ์นี้ ในพระไตรปิฎก จะเรียกว่า "อุปาทานในขันธ์"

    ดังนั้นแล้ว ขอให้คุณเข้าใจเสียใหม่ มิฉะนั้น จะแปลธรรมะของพระพุทธเจ้าผิดไป

    วงจรปฏิจจสมุปปบาท เริ่มต้นจาก อวิชชา - อวิชชา ปจจยา สังขารา สังขาระ ปัจจยา วิญญาณัง ฯลฯ
    หากคุณเข้าใจต้นผิด เข้าใจส่วนหัวผิด ส่วนปลายทาง ส่วนหาง มันจะเพี้ยนไปได้ครับ

    ข้อ 3. การปฏิบัติของฤาษีนั้น ใช้ได้หมดทุกอย่าง ลมหายใจเข้าออก เป็นของกลางของโลก ไม่ใช่ว่าก่อนที่พระพุทธองค์ จะตรัสรู้ จะไม่มีวิธีการทำสมาธิด้วยการดูลมหายใจ
    สิ่งที่แตกต่าง ระหว่างการปฏิบัติ เพื่อไปเป็นพรหม กับ การปฏิบัติ เพื่อหลุดพ้น มีแค่
    การปฏิบัติ เพื่อไปเป็นพรหม จะทำพยายามเพื่อสร้างสภาวะของอารมณ์เดียว ไม่เปลี่ยนแปลง แต่การปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นนั้น ทำเพื่อการสร้างสติ รับรู้สภาวะที่เปลี่ยนแปลง จนละเอียดเข้าเรื่อยๆ จนเห็นถึงกิริยาจิต ที่เปลี่ยนแปลงไปมา เพื่อให้ถึงตัวผู้รู้

    ข้อ 4. จุดประสงค์ของการละอารมณ์ คืออะไร? ทำไมจึงต้องละ? ในเมื่อการปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นนั้น มันไม่ใช่เรื่องของการไปทำให้สภาวะที่หมุนอยู่รอบจิต กลายเป็นสภาวะแห่งความสงบ หรือ สภาวะที่ไม่มีอกุศล
    การปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น คือการที่จิตไม่วิ่งเข้าไปยึดถือในสภาวะของขันธ์ที่มันอยู่รอบจิต ไม่ใช่ไปเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มันอยู่รอบๆ จิต ให้เป็นไปตามที่เราต้องการให้มันเป็น

    สุดท้ายแล้ว จะ "ตัด" จะ "ทำลาย" อะไร? ในเมื่อกระบวนการที่มันจะไป "ตัด" ไป "ทำลาย" มันเป็นกระบวนการในส่วนของขันธ์ ทั้งหมดเลย? แค่ตั้งใจจะ "ตัด" จะ "ทำลาย" มันก็เป็นการทำงานของขันธ์ ไปเรียบร้อยแล้ว

    มันไม่มีอะไรให้ต้องทำลาย ไม่มีอะไรให้ต้องตัด มันมีแค่ ไม่มีอุปาทานออกไปยึดในขันธ์ ก็เท่านั้นเอง

    ป.ล. ก่อนหน้านี้ ใช้คำศัพท์ว่า ทำลายผู้รู้ อาจจะทำให้สับสน แต่ในชั้นการทำงานของจิต ตรงนี้ จริงๆ แล้ว ไม่ได้มีสิ่งใดที่จะต้องถูกทำลายลงไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2014
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ คำถามที่ถามนี้ เป็นเรื่องของ อิทธิบาท 4 แต่รู้สึกว่า "ผู้ถาม" จะพยายามเจาะลงไปตรง "ความยาก" ของมัน ดังนั้น ผมจะให้ลองดูตรง "ความง่าย" ของมันดูบ้าง เพื่อจะได้ทำได้ง่ายขึ้น ดังนี้

    1. เมื่ออยากทำ = ฉันทะ
    2. ก็ลงมือทำ ไม่ต้องโอ้เอ้ = วิริยะ
    3. เมื่อลงมือทำ ก็ลงมือจริงจัง = จิตตะ
    4. ยามลงมือ ก็มี "สติ" ในทุกขั้นตอน = เหตุของ "วิมังสา"

    +++ จากคำถามข้างบนนั้น มองดูทีเดียวก็รู้ได้ว่า "ผู้ถาม" ยังติดอยู่ที่คำศัพท์ และครุ่นคิดในความหมายของมัน แบบ "ยิ่งคิด ยิ่งติด ยิ่งติด ยิ่งวน" เพราะยังใช้ "ตรรกะทางโลก" ที่ไม่ใช่ "จากเหตุ สู่ ผล แบบทางพุทธะ" ดังนั้น ให้ "อ่านใน 4 ข้อ ตรงที่เป็นภาษาไทย" ดูนะครับ เพราะตรงนี้ "เป็นการใช้ภาษาที่ ตรงกับอาการที่เป็นจริง" และทำได้ตามความเป็นจริง
    =======================================================

    ส่วนหัวข้อของกระทู้นี้ คือ "ใจมันพูดเองเออเองได้ด้วยหรอคับ"

    +++ ตัวที่มันพูดเองเออเองอยู่ตลอดเวลานั้น หลวงปู่สิม ถ้ำผาปล่อง ท่านเรียกมันว่า "วจีจิตตะสังขาร" ส่วนผมเรียกมันว่า "ตัวพูดมาก" มันเป็นส่วนหนึ่งของจิต มันมีอยู่ของมัน ตามความเป็นจริง หน้าที่หลัก ๆ ของมันคือ "การแปล" ทุกอย่างที่ตกกระทบเข้ามาให้เป็น "คำพูด" แต่ตัวมัน "ไม่ใช่ผู้รู้" มันเป็นเพียง "ผู้แปล หรือ ล่าม เท่านั้นเอง"
     
  4. DhammaTpo

    DhammaTpo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +34
    ตอบคุณอินทรบุตร

    ในข้อ1,2 ที่คุณอินทรบุตร ที่กล่าวว่า ผมเข้าใจผิดว่า "สภาวะของกิเลส สภาวะของอกุศล" เป็นตัวอวิชชานั้น
    ผมกล่าวว่าการละอารมณ์ คือ การตัดอาหาร ของ อวิชชา ในโพสที่ 46 ลองกลับไปดูครับ


    "อวิชชา คือ อาการเข้าไปยึดถือสภาวะในธรรมชาติทั้งหลาย เอามาเป็นตน" ถ้าสิ่งนี้คือ "อวิชชา"
    อย่างที่คุณอินทรบุตรกล่าวมานั้น... วิธีการละนันทินั้นที่ผมกล่าว ก็คือการตัด อาหารที่เป็นตัวไปป้อน
    ให้อวิชชา ที่แข็งแรง ยึดมั่นแรง ให้อ่อนกำลัง ในขันธ์ทั้ง3 คือ เวทนา สัญญา สังขาร ทั้ง 3 ตัวนี้ที่เป็น
    "นามธรรม" จนสุดท้ายเห็นแจ้ง คลายความยึดถึง ในขันธ์ที่เป็น "รูป" ก็ถึงที่สุดของทุกข์เลยครับ


    ส่วนวงจรปฏิจสมุปปบาทนั้น มิได้เริ่มต้นจาก อวิชชาเสมอไป อยากให้คุณอินทรบุตร ลองศึกษาดูอีกครั้ง
    การปฏิบัติของคุณนั้น ลองเทียบในวงจรดูครับว่าเป็นอย่างไร ถึงอยากให้คุณอินทรบุตร ช่วยอธิบายวิธี
    ที่ปฏิบัติอยู่ ผมจะได้กล่าวถูกว่า เป็นอย่างไร จะได้แลกเปลี่ยนกันได้ครับ


    ในข้อ4 ต้องขอให้กลับไปอ่าน ในโพสที่ 46 อีกครั้งครับว่า การละอารมณ์นี้ แม้แต่ อารมณ์ที่เป็นกุศล
    ก็ต้องละ.. ไปอยู่ที่ฐานกายก่อน มีผลเป็น อุเบกขา ให้จิืตตั้งมั่น พร้อม เห็นสภาวะที่เป็นจริง ด้วยใจที่
    เป็นกลาง(สัมมาสมาธิ)


    ถามท่านอินทรบุตร เมื่อมีสติรู้ แล้ว จิตคุณอินทรบุตร วางที่ตรงไหน สิ่งไหนเป็นที่ยึดของจิต หรือปล่อยไหล
    ไปภายใน แล้วเกิดอะไรขึ้นในนั้นหรือไม่ เห็นวงจรหรือเปล่าครับ


    "ไม่มีอุปาทานออกไปยึดในขันธ์" ผลที่สุดเท่ากันไหมครับ? อย่าเพิ่งติดกับวิธีการครับ ว่าต้องอย่างนี้ใช่
    อย่างอื่นไม่ใช่ ผมบอกลำดับของจิตไปหมดแล้ว จนสุด จะวิธีการใดๆ วิธีการนั้น ไม่ทำมรรคมีองค์8
    ให้พร้อม ก็เพียงได้แต่เห็นการเกิด-ดับ เท่านั้น

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เธอย่อมยุบ ย่อมไม่ก่อ" ซึ่งขันธ์5 ... วิธีการ ละนันทินี้ ผิดไปจากจุดประสงค์ของ
    พระพุทธเจ้าหรือไม่ครับ


    ถ้าคุณอินทรบุตร เข้าใจให้สิ่งที่ผมต้องการสื่อ ว่า คืออะไร จะไม่มั่วมาคลุกอยู่กับ "วิธีการ" ว่า "ต้องเข้าไปรู้" หรือไม่
    มรรคมีองค์8 นั่นแหละสำคัญที่สุด ในการไปถึงปลายทาง ผมไม่ได้บอกครับว่า การมีสติเข้าไปรู้นั้น ไม่ดี แต่มีวิธีการ
    มากกว่า1 จะทำให้ถึงที่สุดได้ เหมือนกับการที่ "วิญญาณไม่มีที่ตั้ง" โดยหยิบพุทธพจน์ แสดงไว้ที่โพส 56 อยากให้
    คุณอินทรบุตรเข้าใจที่จุดประสงค์ด้วยครับ ถ้าผมหยิบขึ้นมาอีก หรือเขียนให้คุณอินทรบุตรอีก ก็เขียนอย่างเดิมเดี๋ยวมัน
    จะเปอะไป เพราะว่าผมก็จะเขียนเหมือนเดิม แต่อยากให้กลับไปอ่านให้เข้าใจมากกว่าครับ ว่า เมนหลัก คืออะไร...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2014
  5. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เหตุทั้งหมด เกิดขึ้นมาจาก คุณยังไม่เห็นอวิชชา คุณจึงคิดเดาเอาตามความคิดของตน ว่า อวิชชา นั้นเป็นอย่างไร เอาความนึกคิดตนเองจินตนาการเอา

    เมื่อคุณเป็นตาบอดคลำช้าง แล้วคุณมาบอกกับผมว่า ช้างเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ แต่ผมบอกอีกอย่างหนึ่ง แล้วคุณไม่ปักใจเชื่อ ผมก็ไม่เห็นเหตุผลที่จะคุยต่อกันไปให้ยืดยาว เพราะถึงจะคุยต่อกันไปอย่างไร คุณก็ยังมองช้างด้วยการคลำอยู่ดีครับ

    ขอให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ นะครับ เมื่อถึงเวลา ช้างที่คุณเห็น หน้าตาจะเปลี่ยนไปเอง ตามวาระโอกาส และ บุญบารมี ครับ
     
  6. DhammaTpo

    DhammaTpo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +34


    ยินดีครับ แต่ที่คุยกันนี้เปรียบเหมือนการถกธรรมะกัน ซื่งเป็นสิ่งที่ดี แต่การที่คุณอินทรบุตร "ประมาณในผู้อื่น"
    อย่างนี้ก็ไม่ควรครับ เราถกกัน ในข้อ "ธรรม" กันไม่ใช่ว่า "คุณยังไม่เห็น" "คุณยังไม่รู้ " จะทราบได้อย่างไรครับ
    ว่าที่ผมพิมพ์มาทั้งหมดนี้ เกิดจากการ "ปฏิบัติจริง" หรือ "จินตนาการเอา"

    " ตาบอดคลำช้าง " ตรงนี้ยังไม่แน่ว่าใครคลำกันแน่ครับ คุณอินทรบุตรเห็นทางเดินของตนเหรือยังครับ หรือก็
    ยังไม่เห็น... ส่วนในโพส46 ผมกล่าวแล้วว่าสงสัยตรงไหน ผมจะขยายให้ ผมปฏิบัติมาหรือไม่ ยังไม่ได้ถามผมเลย
    อย่างนี้คุณอินทรบุตร "จิตนาการเอา" หรือไม่ ... การแลกเปลี่ยนธรรมะกันนั้น วิสัยแห่งปุถุชน " มักประมาณในผู้อื่น "
    หากพ้นวิถี " ปุถุชน " ไปแล้ว จะเห็นว่าที่เค้าไม่รู้ ก็จะเข้าใจว่า " ภูมิจิตเขายังไม่ถึง " แต่จะไม่กล่าวออกไปด้วย
    ความมั่นหมายว่า "ทำไมมันยังไม่รู้เหมือนกูวะ " จะมีแต่ " อยากทำอย่างไรให้เค้ารู้.. โดยไม่คิดว่า เขาจะเป็นอย่างไร "
     
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เราเชื่อในคำสอนของครูบาอาจารย์ เพราะครูบาอาจารย์ ท่านก็เคยค้นหาหนทางมาก่อน เหมือนกับเรา แต่ท่านหาจนเจอทางที่ถูกแล้ว ทางที่เราเดินอยู่นั้น ท่านก็เคยเดินผ่านมาก่อนหน้าเราแล้ว ถูกต้องไหมครับ?
     
  8. spyderco

    spyderco เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +201
    อ๋อ ขอบพระคุณมากครับ เหมือนที่หลวงพ่อปราโมทย์เคยเทศไว้เลย
     
  9. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    เพ่งฌานที่จุดมโนทวารพอช่วยได้บ้างครับ
     
  10. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คำตอบแรกที่คุณกล่าวถึงเสียงในใจที่พูดนั้น เป็นคุณคิดเองและมีข้อยุติเองขอรับ เนื่องระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์มหัศจรรย์แปลกปลาดขอรับ ถ้าจะกล่าวเป็นศัพท์ภาษาทางพุทธศาสนา ก็เรียกว่า "สังขาร"คือ การปรุงแต่ง ขอรับ เหตุเพราะคุณมีข้อมูลประสบการณ์ต่างๆอยู่ในสมองของคุณอยู่แล้ว ณ.ห้วงเวลาหนึ่ง หรือ ชั่วขณะหนึ่ง ความจำหรือประสบการณ์เหล่านั้นเกิดการ ปรุงแต่ง(สังขาร) จึงเกิดเสียงดังที่คุณเล่ามาขอรับ

    คำตอบที่สอง เป็นคำถามที่คุณถามถึง วิธีระงับความฟุ้งซ่าน ความจริงแล้ว ความฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นในตัวคุณนั้น เป็นเพียงระบบการทำงานของร่างกายอย่างหนึ่ง ซึ่งในทางพุทธศาสนาเรียกว่า "ฌาน"(ชาน) คือเกิดอาการ วิตก วิจารณ์ ฯลฯ
    ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะคุณมีความต้องการที่จะฟุ้งซ่าน คือไม่ยอมกับประสบการณ์ที่คุณได้พบเห็นได้สัมผัส ต้องการที่จะคิดคือฟุ้งซ่านเพื่อให้ได้ข้อยุติ และเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของคุณ ซึ่งในทางพุทธศาสนา เขามีคำศัพท์ใช้เรียกอาการเหล่านั้นว่า "ยกจิตขึ้นาสู่อารมณ์"
    การระงับความฟุ้งซ่าน หากจะนับเป็นวิธี คงนับได้ยาก เพราะมีมากมายหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่า ตัวคุณมีความต้องการมีความตั้งใจที่จะระงับหรือขจัดความฟุ้งซ่านที่คุณกำลังกระทำอยู่หรือไม่ หากเป็นในแง่ปุถุชนคนทั่วไป ก็มีวิธีการง่ายๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา เดินเล่น หากิจกรรมทำให้เกิดความเพลิดเพลิน หรือพบปะพูดคุยปรึกษาสิ่งที่ทำให้คุณเกิดความฟุ้งซ่านกับผู้รู้ ผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้ที่อยู่ใกล้ช่ิด ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
    แต่ถ้าคุณอยากจะระงับความฟุ้งซ๋านของคุณในทางด้านศาสนาคุณก็หาสถานที่ฝึกสมาธิ หรือทำกิจกรรมทำบุญต่างๆเพื่อให้เกิดความสบายใจ ก็ได้เช่นกันขอรับ
     
  11. babae

    babae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +470
    สาธุครับ คุณเก่งมาก หาเครื่องอยู่ซะนะ เป็นธรรมชาติของจิตนะครับ ถ้ามัวไปสนใจตรงนี้จะข้องนานเนินช้ามีอัตตาขึ้นมา กูรู้กูเก่ง จบ
     
  12. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    รวมถึงการป่วนไปทั่วเว็บ เพื่อระงับความฟุ้งซ่าน
    แบบบ้านๆ ของปุถุชนชนไปทั่ว ว่างแบบอันธพาล
    หาเรื่องคิดว่า ตัวเองปฏิบัติได้ ในสายตาเรา
    ยังไม่เข้าโลกุตตระธรรมเลย คนที่เค้ามีธรรมโลกุตตระธรรม เหมือนกันเค้าจะไม่ไปขัดแข้งขัดขาขัดคอใคร
    เพราะรู้ไปทางเดียวกัน ไม่ใช่ฉันเก่งฉันสอนถูก
    คนอื่นสอนผิดไปหมด พวกหลงความคิด คิดว่าโตเองดีแล้ว ถ้าโตดีไม่จริง โตก็จะเลวลงๆ
     
  13. Jan2014

    Jan2014 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2014
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +143
    อ้าว ท่านศรีมาตอบกระผมอยู่นี่เอง :VO
     
  14. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    คุยนักคุยหนา รู้จิตเห็นจิต ทีนี้แล้วมารู้ที่หลัง
    หลงความคิด ติดอารมณ์ กรรมของสัตว์

    ขนาดพระพรหม ที่บรรลุฌานโลกีย์ ก็ยังตกอยู่
    ในภาวะเวไนยสัตว์
     

แชร์หน้านี้

Loading...