เรื่องเด่น สุขของโลกคล้ายสุขของหมูในเล้า (หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย songsakth, 24 กุมภาพันธ์ 2020.

  1. songsakth

    songsakth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2013
    โพสต์:
    1,964
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +2,661
    สุขของโลกคล้ายสุขของหมูในเล้า (หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก)

    81491663_2606057022958689_7944610550275637248_o.jpg

    การสร้างคุณงามความดีใส่ตัวเองนี้เป็นเครื่องอุ่นใจ จะไป ณ สถานที่ใด จนวาระสุดท้ายก็ยังอุ่นใจอยู่ เพราะคุณงามความดีคุ้มครอง แต่ถ้าหากว่าคุณงามความดีไม่มีในจิตในใจ ใจมันเหี่ยวแห้ง มันอับเฉา มันแห้งในจิตในใจ

    แต่บางคนยุคนี้สมัยนี้ ก็เคยได้ยินผู้ที่มาพูดให้หลวงพ่อฟัง บอกว่าผม ได้ยินคนพูดเรื่องเข้าวัดเข้าวา ไปวัดไปวานี้ ผมก็ได้ยินแล้วผมก็ฟัง ๆ แต่ตามที่จริงในใจของผมเอง ถึงผมจะมาวัดก็เถอะ ผมก็ยังไม่คิดว่าไม่จำเป็น มาก็มาเพื่อการศึกษาก็จริงอยู่ แต่ว่าไม่จำเป็น เพราะเหตุไร เพราะเราก็ไม่เดือดร้อนอะไร ครอบครัวของเราก็มีความสุขตามอัตภาพ การเป็นอยู่ของเราก็ไม่เดือดร้อน และอีกอย่างหนึ่งเราก็ไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อนกับเราด้วย เราก็อยู่ตามเรื่องของเรา ที่เราเกิดมาหรือว่าเราเป็นอยู่อย่างนี้ เราก็มีความสุขตามอัตภาพ ไม่เห็นเดือดร้อน ไม่เห็นจะต้องเข้าไปศึกษา หรือว่าไปสนใจเรื่องวัดวาศาสนา ธรรมะ อยู่ตามขนาดนี้ก็เพียงพอแล้ว ท่านอาจารย์มีความเห็นว่าอย่างไร

    ถ้าเขาพูดเพียงแค่นั้นก็ไม่เป็นไรนะ แต่เขาก็ถามความเห็นของเราเพราะว่าเราเป็นพระ อยู่ในป่าดงพงไพรอีกต่างหาก อยู่ในที่อันตายอีกต่างหาก อยู่ใกล้ต้นไม้บ้าง อยู่ในป่า บางคนก็ยิ่งอยู่มากกว่านี้อีก มีสัตว์สาราสิงห์อีก มีงู มีอสรพิษอีก เขาก็ว่าทำไมมาอยู่อย่างนี้ ก็ไม่เห็นจะจำเป็น อันนี้ถ้าเขาพูดแต่ความเห็นของเขา เราก็คงจะเฉยนะ แต่ในเมื่อเขามาถามความเห็นของเรา อันนี้เราก็ต้องแสดงความคิดเห็น

    หลวงพ่อก็บอกว่าใช่ ถ้าคิดแบบธรรมดาๆ ก็ไม่จำเป็น แต่ในหลักของพระพุทธศาสนา ตามแนวแถวของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันตสาวกที่ท่านปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ในวัฏสงสาร ที่ถึงพระนิพพานไปแล้ว ท่านว่า
    พวกเราท่านทั้งหลายอยู่ในโลกนี้ ถึงจะว่ามีความสุขขนาดไหน ก็มีความสุขเหมือนหมูอยู่ในเล้า คือหมูอยู่ในเล้าในกรง เขาเลี้ยงหมูไว้ เขาไม่ให้มันไปที่ไหน มันอยู่ในเล้า มันอยู่ในกรงที่แคบบ้าง กว้างบ้าง คนมีเงินเขาก็ให้มันอยู่กว้าง ๆ หน่อย จากนั้นเขาก็อาหารมาให้มันกิน รดน้ำล้างกรง อาหารอุดมสมบูรณ์ เพื่อจะให้หมูมันโตเร็ว อาหารดี ๆ เขาก็เอาขนมาให้มันกิน เพื่อเลี้ยงหมู หมูกินแล้วมันก็ไม่ได้คิดอะไร กินแล้วก็นอน ๆ ไม่จำเป็นจะต้องออกไปข้างนอก ก็มีความสุขอยู่แล้วนี้

    อันนี้ก็คือความคิดของหมู แต่มันจะคิดอย่างนั้น หรือไม่คิดอย่างนั้นก็เถอะ แต่เราดูแล้ว อาการของมัน มันไม่กระตือรือร้น มันไม่กระเสือกกระสน มันไม่ทำอะไร มันก็กินแล้วก็นอนของมัน มันก็คงจะมีความสุขตามอัตภาพของมันที่เรามองดู

    แต่ตามที่จริงพอมันได้ขนาดแล้วทีนี้นั้นละที่มันเห็นทุกข์ทรมานจริง ๆ ก็คือพญามัจจุราชก็คือเจ้าของหมูนั้น พอหมูใหญ่ได้ขนาดแล้ว สมควรจะขึ้นตาชั่งขายแล้วทีนี้ เขาก็จับหมูออกมาจากกรง หมูก็คงจะไม่รู้อีก ทำไมแต่ก่อนทำไมให้ความสุข แต่คราวนี้ทำไมทารุณถึงขนาดนี้ จับหมูยัดเข้าไปในกรงอีกทีนี้ ให้มันแคบขึ้น ถ้าไม่ขึ้นก็ทั้งเตะ ทั้งถีบ ทั้งตีอีกทีนี้ ทำไมมันถึงขนาดนี้ แต่ก่อนทำไมไม่เป็นอย่างนี้ ก็คงจะคิดเหมือนกัน

    ผลที่สุดเขาก็ไปชั่งใส่ตาชั่ง พอตาชั่งเสร็จแล้ว เอาเข้าโรงละทีนี้ ถึงจุดนั้นนั้นละ ค้อนเขาทุบหัว มีดเขาเชือดคอนั้นนะ หมูจึงรู้ว่าโอ้โห! ความสุขที่ผ่าน ๆ มาที่อยู่ในเล้าในกรงนั้นนะ กับมรณภัย มันเทียบกันไม่ติด มันคนละเรื่องกันเลย หมูจะรู้ได้ ผลที่สุดก็ไปแล้ว หนีออกจากร่างไปแล้ววิญญาณดวงนั้น


    นี่ละ พระพุทธเจ้า ท่านให้พวกเราเตรียมพร้อมเอาไว้ ความสุขมีอยู่ มีกิน มีใช้ มีสอย ธรรมดานั้นก็คือความสุขทั่ว ๆไ ป แต่มรณภัยที่จะถึงพวกเราในอนาคตนั้นมันมหาศาล ถึงใครจะพูดหรือไม่พูดก็ตาม ถึงหลวงพ่อกำลังพูดอยู่อย่างนี้ก็เถอะ หลวงพ่อก็หนีไม่พ้นจุดนั้นเหมือนกัน เมื่อถึงจุดนั้นแล้วไม่มีใครที่จะได้เปรียบเสียเปรียบกัน เสมอภาคกันหมดคือมรณภัย ในหลักของพุทธศาสนาท่านว่าให้ระวังไว้จุดนั้น เป็นจุดที่อันตรายมาก เป็นจุดที่หักเหมาก เป็นจุดที่ทุกข์มาก เป็นจุดที่ตกต่ำมาก หรือเป็นจุดที่ไปสูงได้ จุดนั้นเป็นจุดที่คนจะสอบตกหรือจะสอบได้ จะได้ชั้นได้ภูมิหรือจะไปตกต่ำคือจุดนั้น พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์สาวกหรือธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาจึงสอนให้เตรียมพร้อม

    หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
    จากพระธรรมเทศนา “สุขของโลกคล้ายสุขของหมูในเล้า”
    แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

    เครดิตเฟสบุ๊ค หลวงพ่ออินทร์ถวาย วัดป่านาคำน้อย Luangpo Inthawai Santussako
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2020

แชร์หน้านี้

Loading...