รวมคําสอนเรื่องนิพพานของพระผู้ปฎิบัติดี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ลูกพ่อลิงดำ, 25 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=578 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=3><TABLE class=webbody cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=webbody width=749 height=33>
    คําสอนของพระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก)<!-- #EndEditable -->​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=206></TD><TD vAlign=top colSpan=3><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD vAlign=top><!-- #BeginEditable "detail" -->

    [​IMG]
    วัดพระพุทธบาทตากผ้า ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    ถ้าจะว่าตามขั้นสมมติธรรมแล้ว คำว่า ตัวของเราก็ได้แก่ ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาผสมกัน ทั้งอากาศ ธาตุ และ วิญญาณธาตุ มีตัณหา อุปาทาน เข้ามายึดถือ ให้เกิดความสำคัญ มั่นหมาย และ บังคับให้เป็นไป มีประการต่าง ๆ ตามอำนาจของกิเลส อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ จนไม่มีที่สิ้นสุด
    เป็นที่เราควรคิด แต่เดิมนั้น เราไม่ได้ยึดถือ ไม่ได้ติดข้อง อยู่ในสิ่งใดเลยสักอย่าง เดี๋ยวนี้เรายึดถือให้เกิด ความสำคัญมั่น หมาย และบังคับให้เป็นไปมีประการต่างๆ ตามอำนาจของกิเลส อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ จนไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสิ่งที่เราควรคิด ต่อไป
    เราควรแก้ไข โดยอุบาย ที่ไม่ยึดถือ และไม่ติดข้อง อยู่ในสิ่งทั้งหลายหมด ทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเป็นการถูกต้อง ควรพิจาณาให้รู้ให้เห็น ตามที่จริง ความจริง ตามชั้นปรมัตถธรรมแล้ว ตัวเราไม่มี มีแค่รูปกับนาม เท่านั้น
    ไม่ใช่ สัตว์ บุคคลตัวตน เรา เขา เป็นของว่างเปล่า ไม่ยึดมั่น ด้วยอุปทาน ก็จะได้กระทำ สิ่งที่สุดแห่งทุกข์ อันเป็นจุดหมาย ปลายทางของชีวิตโดยแท้
    ผู้ปรารถนา จะเข้าสู่นิพพานอย่างแท้จริง ต้องสละละความอาลัยในโลก และสิ่งของสำหรับโลกนี้เสีย
    เตรียมตัวพร้อม ยอมเป็นคนยากจน ไม่ต้องหวังพึ่งเพื่อนฝูง และญาติ พี่น้องผู้ใด คือ ให้สงัดกาย สงัดใจ วิเวกธรรม อดทน ต่อความ ติฉินนินทา ความเกลียดชัง และ ความหมิ่นประมาทของผู้อื่น อดทนต่อทุกข์ ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่มาถึงตน แม้จะ ต้องเสียชีวิตก็ยอมสละเพื่อเห็นแก่ธรรม อุตส่าห์กระทำตามรีตรอย แห่งพระอริยะเจ้าทั้งหลาย ที่ปฏิบัติสืบสายกันมาแต่ปางก่อน โดยไม่ท้อถอย จึงเป็นการถูกชอบ และสมความมุ่งมาดปรารถนา
    การอยู่ในโลกนี้ ให้เข้าเหมือนอยู่ในกองไฟ และเหมือนอยู่ในคุกตะราง ให้เร่งรีบแสวงหาทางออกเสมอ

    อย่าได้นิ่งนอนใจ และหลงยินดีเพลิดเพลินอยู่ จงถือเอาศรัทธา ความเชื่อ เป็นทางเดินแห่งวิถีจิต
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="75%"><TBODY><TR><TD class=webbody width="19%">เอาสติ </TD><TD class=webbody width="81%">คือ ความระลึกรู้สึกตัว พร้อมเป็นเพื่อนพ้องเดินทาง </TD></TR><TR><TD class=webbody width="19%">เอาวิริยะ</TD><TD class=webbody width="81%">คือ ความเพียรพยายามเป็นกำลังกาย</TD></TR><TR><TD class=webbody width="19%">เอาขันติ</TD><TD class=webbody width="81%">ความอดทนเป็นอาวุธสำหรับป้องกันอันตราย </TD></TR><TR><TD class=webbody width="19%">เอาปัญญา</TD><TD class=webbody width="81%">ความรอบรู้เป็นประทีปส่องทางไป</TD></TR></TBODY></TABLE>แล้วรีบเร่งเดินอย่าแวะซ้ายแวะขวา อย่าหยุดพักอยู่ในที่ใด ๆ ก็จะได้ถึงซึ่งที่สุดแห่งขันธ์โลกคือ พระนิพพานดังที่พระพุทธ องค์ทรงตรัสว่า
    " ชีวิตเป็นของน้อย ถูกชรารุกรานเงียบๆ อยู่เสมอ รุกรานไปสู่ความตาย ไม่มีอะไรต้านทานไว้ได้ ถ้าใครเพ่งเห็นภาวะที่น่ากลัวอันนั้น ในความตาย แล้วพึงรีบคืนคลาย ละโลกาสพอใจในนิพพาน "
    ซึ่งเป็นถ้อยคำที่สูงและมีคุณค่ายิ่ง พุทธบริษัทผู้หวังปฏิบัติต่อโลกุตรธรรมพึงจำใส่ใจ แล้วพิจารณาคืนคลายละเสียซึ่งความสุข ความสนุกเพลิดเพลินในกามารมณ์ อันเป็นเหยื่อล่อของโลก แล้วตั้งใจประพฤติ ปฏิบัติ ตามองค์แห่ง อัฏฐังคิกมรรค มี องค์ 8 ซึ่งย่อ เข้ามาได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดมีขึ้น ในสันดาน ก็จะได้ เป็นปัจจัยแก่ มรรคผล นิพพาน อันเป็นจุดมุ่งหมายของผู้ปฏิบัติธรรมโดยแท้
    "ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร พึงเจริญสมาธิ ให้เกิดมีขึ้นในสันดาน เมื่อจิตตั้งมั่น เป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง" ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรม พึงบังเกิดศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และในสมาธิภาวนา พยายามหาโอกาสเวลาสละกิจการน้อยใหญ่ เข้าสู่ที่สงัด หรือห้องพระนั่งขัดสมาธิ หรือ พับเพียบ ตามควรแก่ภาวะของตน น้อมจิต เอากรรมฐาน บทใดบทหนึ่งเป็นอารมณ์ ตั้งสติคอยกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ไปช้า ๆ อย่ารีบด่วน ให้ทำด้วยใจเย็นๆ หายใจ เข้าออก ให้สม่ำเสมอ ให้ละเอียด อ่อนโยน
    เพราะการภาวนาเป็นงานของจิตโดยเฉพาะ ค่อยรวมกำลังจิตดิ่งลงสู่จุดของอารมณ์กรรมฐานพร้อมกับให้มีสัมปชัญญะความรู้ตัว พิจารณาอารมณ์กรรมฐาน ให้เห็นประจักษ์แจ้งชัดขึ้นในใจ ค่อยกำหนดไปๆ ด้วยความวิริยะอุตสาหะและอดกลั้นบรรเทา ได้นานเท่าไร่ก็ยิ่งดี (ระวังอย่าง่วงนอนเป็นอันขาด) นานเข้าจิตก็จะติดแนบแน่น กับอารมณ์กรรมฐาน
    ต่อจากนั้น ปิติ คือ ความอิ่มใจ ปราโมทย์ คือ ความร่าเริงบันเทิงใจ ก็จะเกิดขึ้น นามกายก็จะสงบระงับ ความสุขกายสุขใจ ก็จะเกิดขึ้น นามกาย ก็จะสงบระงับ ความสุขสุขใจ ก็จะเกิดขึ้น จะรู้สึกสบาย และ เยือกเย็น จากนั้นสมาธิ อันประกอบด้วย องค์ 3 คือ จิตบริสุทธิ์สะอาด จิตตั้งมั่น จิตคล่องแคล่ว ควรแก่การพิจารณา สภาวะธรรมที่จะเกิดขึ้น
    อันดับต่อไป ก็ควรแก่การพิจารณา สภาวะธรรมคือ รูปนาม หรือขันธ์ 5 ให้รู้ตามความเป็นจริง โดยการเจริญ วิปัสสนาภาวนา ตามนัยแห่งสติปัฏฐาน 4
    คือ ให้พิจารณาว่า กาย เวทนา จิต และ ธรรมนี้ ก็สักว่า เป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคลตัวตนของ เรา เขาเป็นของไม่จีรังยั่งยืน ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน เป็นของว่างเปล่า ไม่ใช่เราไม่ ใช่ของเรา พิจารณา กำหนดไปๆ นานต่อนาน จนกว่าจิตใจ จะหลุดพ้น จากความเกาะเกี่ยวเหนียวแน่นจากกิเลส ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยวิปัสสนาภาวนา เป็นอันดี ผู้ปฏิบัติธรรมถึงขั้นนี้เรียกว่า เป็นแก่นสาร ปิดประตูอบายภูมิทั้ง 4 มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เที่ยงแท้แน่นอน
    การที่ พระพุทธศาสนา ทรงไว้ซึ่งความประเสริฐ ยิ่งกว่าศาสนาอื่นใด ในโลกทั้งหมด ก็เพราะ "วิปัสสนา ภาวนา" นี่แหละ เป็นแก่นแท้ และเป็นหลักใหญ่ บุคคลผู้ใดยังเข้าไม่ถึง คือยังไม่ได้เจริญวิปัสสนาภาวนา แล้วจะมาเข้าใจว่าตนเข้าถึงแก่น แห่งธรรม ว่าตนมีความรู้ซาบซึ้ง ในคำสอนของพระพุทธศาสนา อย่างถูกต้อง บุคคลผู้นั้นจะมาเข้าใจเอาเองอย่างนี้ยังใช้ไม่ได้เป็นอันขาด
    การที่ วิปัสสนาภาวนา เป็นของผู้ประเสริฐ เป็นของวิเศษและสูงสุดนั้น ก็เพราะเป็นหลักปฏิบัติ ที่สามารถจะนำสัตว์ออก จากทุกข์ในวัฏฏสงสาร ได้โดยแท้จริง
    ดังนั้นทาง ที่เป็นทางเอก ระงับดับทุกข์ เป็นทางให้ถึง ซึ่งพระนิพพาน ก็คือ "สติปัฏฐาน 4" นั้นเอง อันได้แก่ ความกำหนด พิจารณา เห็นกายของตน อันเป็นไป ในอริยบาท ทั้ง 4 คือ การเดิน ยืน นั่ง นอน การกำ หนดพิจารณาเห็นเวทนา คือความ รู้สึกว่า เป็นสุข เป็นทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์ภายในตน กำหนด พิจารณา เห็นจิต คือ สิ่งที่ให้สำเร็จ ความนึก ความคิด และ สะสมอารมณ์ต่าง ๆ ไว้ กำหนดพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย เป็นกุศล และ อกุศล ตลอดถึง นามรูปว่า สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงนี้ เพียงแต่ เป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต และ เป็นธรรมเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ตัวตน เราเขาเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัต ตา มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในท่ามกลาง และ ดับไปในที่สุด จนเกิด ความเบื่อ หน่าย คลายความกำหนัด กำจัดอวิช ชา และโทมนัส คือ ความยินดียินร้ายในโลกเสียได้ โดยอาศัยความเพียร อาศัยสติและสัมปชัญญะเป็นหลักใหญ่และสำคัญ ทำให้สามารถ แยกรูปและนาม ออกจากกันได้ โดยเด็ดขาด
    เมื่อตั้งสติกำหนด พิจารณาต่อไปก็ไม่เห็นมีอะไร เห็นมีแต่รูปกับนามเท่านั้น
    คำต่างๆ ที่ใช้ เรียกกัน เช่น บุคคล ตัวตน เราเขา เทวดา อินทรพรหม ยมยักษ์นั้น ความจริงก็ถูกตามขั้น ของสมติบัญญัติ ตามภาษาของตน แต่เมื่อพิจารณา ภาษาของปรมัตถ์ธรรมแล้ว ก็มีแต่ รูปกับนาม นอกจากนั้นก็ไม่มีอะไร
    ซึ่งแต่ก่อนที่ยังไม่ได้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน เราย่อมไม่สามารถจะแยกรูปกับนามออกจากกันได้โดยเด็ดขาดเพราะถูก โมหะ และอวิชชาความหลง ปกปิดห่อหุ้มไว้ รูปนามซึ่งเป็นของที่มีอยู่ในตนแท้ๆ จึงยังไม่ปรากฏให้เห็น พึ่งมาปรากฏ เมื่อ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน และเมื่อผู้ปฎิบัติเห็นรูปนามตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะค้นหาสมุฏฐานของรูปนามว่า มีความเป็น มาอย่างไร จึงได้เป็นรูปนาม ดังที่ได้เป็นอยู่บัดนี้ เมื่อเป็นประการนี้แล้ว
    การบริกรรมภาวนา ต้องทำให้ติดต่อกัน ทำแล้วทำอีกๆ แต่ว่าอย่าได้ปรารถนาอะไร ตอนที่วิปัสสนา ต้องพยายามปล่อยวาง การยึดมั่นถือมั่นว่า ตัวกู ของกู อะไรของกู ออกจากจิต จากใจ
    ต้องปล่อยวาง ทำไปเรื่อย ๆ ติดต่อกันหนักเข้า ๆ จิตใจของเรา มันจะเชื่อง คุ้นเคยต่ออารมณ์กรรมฐาน สติของเรา ก็จะแก่กล้าขึ้น เราจะผูกมัดจิต ของเราได้ดี ความเพียรของเรา ก็จะแก่ขึ้นๆ สติของเรา ก็จะแก่ขึ้นทุกวัน ๆ เมื่อจิตของเราสูงขึ้น บริสุทธิ์ สะอาดขึ้น ตั้งมั่นดีแล้ว มันจะไม่นึกไม่คิดอะไร จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่นึกถึงอะไร ไม่นึกถึงใคร ไม่อาลัย แม้แต่ตัวเราเอง
    จนถึงที่สุด จิตของเราจะมีแต่ความสุขใจ มีแต่อุเบกขา เอกัคคตา (ความเป็นอารมณ์เดียว) เป็นจิตที่สูงยิ่ง เป็นบาทของมรรคผลนิพพาน
    การปฏิบัติต้องเอาจริงเอาจัง แม้แต่ชีวิตของเราก็ยอมเสียสละเอาชีวิตแลกซึ่งมรรคผลนิพพานทำไปๆจนจิตสะอาดบริสุทธิ์ ขึ้น ตั้งต้นด้วยบริกรรมภาวนาว่า คำของมันท่องคำของมัน มันไปจนจิตของเราตั้งมั่น เป็นสมาธิชั่วครั้งชั่วคราวจนหนักเข้า จิตของเราจะบริสุทธิ์สะอาดยิ่งขึ้น แนบแน่นไม่หวั่นไหวจะยุให้มันไปจะบังคับให้มันไปก็ไม่ได้ จิตมั่นสมาธิเป็นจิตที่บริสุทธิ์ สะอาด เรียกว่า จิตตั้งอยู่ในองค์ฌาน คือ มีแต่อุเบกขา กับเอกัคคตา คือ ความเฉย จิตเป็นหนึ่งอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ต่อ ไปจิตของเรา จะครองอยู่ในองค์ธรรม องค์ของธรรมจะทำให้เกิด ความรู้แจ้ง เห็นจริงในรูปในนามของเรา ซึ่งเรียกว่า " วิปัสสนาญาณ "
    รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม แยกออกจากกัน ได้อย่างเด็ดขาด รูปก็อย่างหนึ่ง นามก็อย่างหนึ่ง ไม่ใช่อัน เดียวกัน
    สูงขึ้นๆ จนถึงอุเบกขา คือ สังขารรูป สังขารอุเบกขาญาณ การวางเฉยจากสังขาร ไม่มีความยึดมั่น ถือมั่น ว่าตัวกู ของกูว่า สวยงามว่า ผู้หญิงผู้ชาย อย่างนั้นอย่างนี้ ก็ไม่ได้ยึดถือ ใจสูงขึ้นพ้นจากความยึด ใจบริสุทธิ์ใจเป็นสุขที่สุด มีแต่ความ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป มันสว่างไสวไปหมดแล้ว จะรู้สึกคล้ายกับไม่มีเรา รูปมีที่ใด นามมีที่ใด อะไรที่ไหนที่เกี่ยวกับกรรมฐาน จะปรากฏแจ้งชัดขึ้น ในจิตของเรา แล้วจิตของ เราจะหายตื่น หายอยาก หายจากความยึดมั่นถือมั่น ในรูปนาม เป็นสิ่งที่อยู่ เหนืออารมณ์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะรู้สึกสบายใจ เราไม่ตกเป็นข้าทาสของอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น เราไม่รักใคร เราไม่ ชังใคร เราเฉยจากทุกอย่าง จิตของเราจะเป็นอิสระ จะไม่มีโมโห อะไรกับเขา เป็นจิตที่เป็นแก่น เป็นสาร เป็นจิตที่ เราจะ หาไม่ได้ในภพที่เราเกิดในชาติที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราได้อบรมฝึกฝนจิตของเราดีแล้วจิตของเราจะเป็นจิตที่ประเสริฐ เป็นหลัก คือ ที่พึ่งของเราตั้งแต่ปัจจุบัน ช่วงที่เราหายใจนี้เป็นต้นไป เราพึ่งตนเองได้ในที่สุด เมื่อเราตายลงไปก็มีสุคติเป็น ที่ไปเที่ยงแท้แน่นอน
    สรุปในหลักปฏิบัติ ก็คือ หนทางที่จะดับทุกข์ได้มีทางเดียวเท่านั้น คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งก็คือ กรรมฐาน ที่จะทำให้เกิดความรู้แจ้ง เห็นจริงในสภาวะธรรม คือ รูปนาม
    รูป ก็คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ คือ ช่องว่างของตัวเรานี้ ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า รูป คือเป็นสิ่งที่ รู้แตก รู้ดับ รู้สลาย ส่วนนาม นั้น ได้แก่ เวทนาอันเดียวกับจิต ได้แก่ ความสุข ความทุกข์ ความไม่สุข ไม่ทุกข์ เรียกว่า เวทนา
    สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ ตาเห็นอะไร หูเราได้ยิน เสียงอะไรมา เราก็จำไว้
    สังขาร คือ ความปรุงแต่งของจิต เป็นทางบุญก็มี เป็นทางบาปก็มี มิใช่บุญ มิใช่บาปก็มี จิตปรุงขึ้นต่างๆ
    วิญญาณ ก็คือ ความรู้แจ้งในอารมณ์ทั้ง 6
    รูป และ นาม ทั้ง 2 ประการนี้ มาอาศัยซึ่งกันและกัน แล้วก็ให้เป็นไป เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " ขันธ์ 5 " ที่ประกอบด้วย รูปกับนาม ดังที่กล่าวแล้ว ถ้าพิจารณาแล้ว ทั้ง 5 ประการนี้เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ หรือ แปรปรวนไปในท่ามกลาง แตกสลายไปในอวสานกาลเป็นที่สุด ไม่จีรังยั่งยืน วิปัสสนาญาณกรรมฐานที่จะใช้ ในการปฏิบัติก็ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 อันมี
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="76%" border=0><TBODY><TR><TD class=webbody width="49%">กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน </TD><TD class=webbody width="51%">เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน </TD></TR><TR><TD class=webbody width="49%">จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ </TD><TD class=webbody width="51%">ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน</TD></TR></TBODY></TABLE>กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี้ก็ให้เอาสติไปกำหนดที่กายหรือรูป เป็นอารมณ์ รูปได้แก่ตัวของเราทั้งหมด ให้กำหนดในอิริ ยาบถทั้ง 4 คือ ยืน เดิน นั่ง และนอน ซึ่งมีทั้งอิริยาบถใหญ่ และอิริยาบถย่อย ให้เอาสติไปกำหนดตลอดจนถึงลมหายใจเข้า ออก ซึ่งก็เป็นกายหรือเป็นรูป นี่เป็นเรื่องของการกำหนด กำหนดไปๆ ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจขึ้นว่า กายนี้สักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เป็นการ ตามรู้ ตามเห็น เรื่องกายของตนเอง และกายของผู้อื่น
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้เอาสติไปกำหนดเรื่องเวทนาขณะเมื่อเป็นสุขก็ให้กำหนดรู้ว่าสุข เป็นทุกข์ก็ให้รู้เป็นความไม่สุข ไม่ทุกข์ก็ให้รู้ เอาสติติดตามดังนี้ ให้เกิดความรู้ ความเห็นขึ้นว่า เวทนานี้ก็สักแต่ว่า เวทนาเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวเราเขา
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้กำหนดถึง เรื่องจิต สิ่งที่ให้สำเร็จ ความนึกคิด สิ่งที่สะสมอารมณ์ ให้มีทั้งดีก็มี ไม่ดีก็มี แต่ ที่นี้ท่านให้กำหนดเฉพาะกิริยาของจิตที่มันเคลื่อนไหวไป มันอยู่ในร่องในรอย ขณะเมื่อกำหนด ก็ให้เอาสติติดตาม จนกว่า จะเกิดความรู้ความเห็นขึ้นว่า จิตนี้สักแต่ว่าจิต ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวเรา เขา
    ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน ให้กำหนดถึงรูปธรรม คำว่า ธรรมะ ที่มีความกว้างเป็นที่สุดครอบไปทั้งโลก อะไรๆก็เป็นธรรมะ ทั้งนั้น แยกออกไปดังกล่าว เป็นชิ้นเป็นอัน ออกไปรวมกันเข้าก็เป็นธรรมะ ไม่ใช่บาป ไม่ใช่บุญ ก็เป็นธรรมะทั้งนั้น รูป ก็เป็นธรรมะ ไม่ใช่บาป ไม่ใช่บุญ ก็เป็นธรรมะทั้งนั้น รูปก็เป็น ธรรมะ นาม ก็เป็นธรรมะ
    แต่ที่ท่านจำกัดเอาว่า ขณะเมื่อจิตของเรา มันแสดงออก ซึ่งความนึกคิด ไปในทางบาปหรือทางบุญก็ตาม ก็ให้กำหนดรู้ให้ มีสติ ไปกำหนดจิตของเรา ให้กลับตื่นมาสู่ อารมณ์ของกรรมฐาน แม้แต่จิตคิดเฉยๆ ไม่หนักไปทางใดทางหนึ่งก็เช่นกัน
    เมื่อรู้ที่มาของทุกข์และวิธีปฏิบัติ เพื่อดับทุกข์พอสังเขปแล้ว เราก็จะเข้าใจในที่สุดว่า ต้นปลายเหตุ แห่งชีวิตของเรา เราจะ ศึกษาให้รู้ ให้เข้าใจ ซึ่งจิตใจของเรา ว่าเป็นมาอย่างไร เป็นมาไม่ดีเป็นทุกข์ทั้งนั้น
    ป็นทุกข์พราะเหตุใด ก็เพราะ ตัณหา คือ ความอยาก ความอยากนี้ มันเกิดมาจากที่ไหน ก็เกิดมา อวิชชา คือ ความไม่รู้ อวิชชา ก็ดี ตัณหา ก็ดี มาปัจจุบัน ทันด่วนนี้ ที่เราเห็นได้ใกล้ที่สุด เห็นต่อหน้าต่อตา ก็เกิดมาจาก อายตนะภายในและภายนอก มาติดต่อกัน แล้วทำให้เกิดความรักความชังอะไร ๆ ขึ้นมาสารพัดอย่าง ซึ่งเป็น สิ่งที่นำมาซึ่ง ความทุกข์ ความลำบากยากเข็ญแก่ชีวิตจิตใจของเรา เป็นอย่างนี้มาเรื่อย ๆ
    เดี๋ยวนี้เรารู้สึกตัวแล้ว ทุกท่านจงพยายามแก้ไขความทุกข์ การที่จะแก้ไขความทุกข์ ก็ต้องแก้ที่สาเหตุ ของความทุกข์เสียก่อน นั้นคือ ความอยาก ให้มันเบาบาง ถึงกับจางหายไป จากจิตใจของเราเป็นที่สุด ให้เป็นผู้มีสติ ให้ เป็นผู้มีปัญญา ที่จะสามารถต้านทาน หรือป้องกันอารมณ์ที่ไม่ดี ที่จะมาครอบงำจิตใจของเราและเป็นเหตุ เป็นปัจจัยอย่าง ที่กล่าวแล้วว่า เราสร้างดวงประทีป เพื่อให้ได้ กำจัดเสียซึ่งความมืดที่อยู่ภายในจิตใจของเรา คือ อวิชชา ความมืดบอด ให้มันจางหายไป จากจิตใจของเรา
    เมื่อเราสร้าง สติปัญญาของเรา ให้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา แล้วสติปัญญานี้ จะมากำจัดเสีย ซึ่งกระแสแห่งความอยาก คือ ตัณหา และความมืดบอด ที่ปิดบังสติปัญญาของเรา ไว้มิให้เห็นซึ่งมรรคผลนิพพานให้มัน สว่างไสวขึ้นในจิตใจของเรา ต่อ ไปเราก็จะได้อยู่เย็นเป็นสุข ด้วยการที่เราได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถึงแม้ว่า สติปัญญาของเรา ยังไม่ถึงสุดยอด คือ สติปัญญาของเรายังอ่อนอยู่ ก็ไม่เสียทีที่เราได้ประพฤติปฏิบัติแล้ว สติปัญญาของเราก็จะเป็นตัวเหตุ ตัวปัจจัย ส่งเสริมไปให้ ได้สติปัญญาที่แก่กล้าขึ้น ในวันข้างหน้า ไม่วันใดวันหนึ่งเที่ยงแท้แน่นอนไม่ต้องสงสัย
    คัดจากหนังสือ ตอบปัญหาศีล สมาธิ ปัญญา และหนังสืออนุสรณ์ ในงานพระราชทาน
    เพลิงศพ พระสุพรหมยานเถร วัดพุทธบาทตากผ้า

    <!-- #EndEditable --></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><!-- / message --><!-- sig -->
     
  2. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    http://www.praruttanatri.com/v1/special/books/laapra.pdf

    ลองเข้าดูนะครับไม่ได้อวดอาจารยืแต่อยากให้ลองอ่านในนั้นดูมีเรื่องพระนิพพานและอย่างอื่นเยอะมาก
     
  3. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    แหมของดีๆทั้งนั้นนะครับเนี่ย ขออนุโมทนาจากใจเลยครับท่าน
     
  4. SERAPHIM

    SERAPHIM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +884
    โมทนาสาธุครับ

    ธรรมใด มรรคใดที่สมเด็จพระโลกนาถบรมศาสดาเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว ทรงสั่งสอนไว้ดีแล้ว ที่พระอริย์เจ้าทั้งหลายได้เห็นแล้ว ได้แจ้งแล้ว

    ข้าพระพุทธเจ้าขอเห็นแจ้งในธรรมนั้น ในชาติปัจจุบัน ฉับพลันนี้เทอญ

    สาธ สาธุ สาธุ
     
  5. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]


    ข้อลอกข้อความจากพี่ตั้มนะครับมีประโยคมากเลย

    เรื่องที่จะนำมาถ่ายทอดต่อไปนี้ คัดลอกมาจากหนังสือ "เสียงจากถ้ำ (นารายณ์) ฉบับพิเศษ : บนเส้นทางพระโยคาวจร" เขียนโดย "สายฟ้า" [หลวงตาวัชรชัย เจ้าอาวาสวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)] ผู้ถ่ายทอดกราบขออนุญาตต่อหลวงตาวัชรชัย ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ และจะขอตัดตอนนำเฉพาะบางตอนที่กล่าวถึงหลวงพ่อฤๅษีลิงดำกับหลวงปู่บุดดา ถาวโร โดยตรงมาถ่ายทอด ดังนี้


    "ถ้าจะมีพระสงฆ์สักองค์หนึ่งที่สามารถนั่งสนทนาโต้ตอบกับพ่อ (หลวงพ่อของพวกเรา) ได้แบบทันปากพ่อ ทันใจพวกเราแล้ว ผู้เขียนนึกออกมาได้เพียงองค์เดียวจริงๆ นั่นคือ พระคุณหลวงปู่บุดดา ถาวโร หนึ่งในจำนวนพระสุปฏิปันโนที่พ่อนิมนต์มาในงานฉลองวัดเมื่อเกือบ 24 ปี มาแล้ว


    .....พระคุณหลวงปู่บุดดา ท่านพรมน้ำมนต์ที่ศาลา 4 พระองค์ วันนั้นดูเหมือนไม่เหนื่อย แต่พอกลับมาพักที่กุฏิก็จับไข้ตามเดิม ผู้เขียนจำได้ไม่มีลืม กลับมาท่านก็ยังไม่ยอมนอนพัก นั่งอยู่ชั้น 2 กุฏิเบอร์ 2 กับผู้เขียนตัวต่อตัว ท่านมองฟ้า มองหลังคาพระอุโบสถวัดท่าซุง ผ่านหน้าต่างกุฏิ ตายังงี้ใสแจ๋วเหมือนแก้ว ไร้อารมณ์ไร้เดียงสา บริสุทธิ์เหมือนดวงตาเด็ก (เด็กดีๆ นะ) ปากก็พูดลอยๆ แต่ชัดเจนว่า



    [​IMG]



    "เออ..งานนี้ (หมายถึงงานวัดเราที่มีพระสุปฏิปันโนมารวมกันถึง 10 องค์) จัดยากนักหนา ใครๆ จะไปนิมนต์พระดีหลายๆ องค์มารวมกันยังงี้ทำไม่ได้หร็อก พระเจ้าแผ่นดินทั่วโลก พระสังฆราช พระสันตะปาปารวมกัน ไปนิมนต์ท่าน ท่านไม่มาให้หร็อก..! แต่พระมหาวีระ (ตอนนั้นพ่อยังไม่ได้สมณศักดิ์) องค์เดียวทำได้ ท่านทำให้ลูกหลานได้ดีกัน แต่หลวงปู่ยังสงสัยว่า ลูกหลานทั้งหลายจะเข้าใจเจตนาครูบาอาจารย์ และฉวยความดีนั้นเอาไว้ได้ไหม?.."


    ท่านพูดแค่นั้นแหละ...นิ่งเงียบไปเลย ผู้เขียนธรรมดาโง่อยู่แล้ว หลังจากนั้นอีก 3 ปี จึงได้เข้าใจจุดหมายอันลึกซึ้งยิ่งใหญ่ไพศาลที่หลวงปู่บุดดาพูดถึง จะเล่าให้ฟังในตอนสรุปท้ายเรื่อง "พระผู้เป็นเนื้อนาบุญ" ตามลำดับระยะเส้นทางพระโยคาวจร


    หลวงปู่บุดดามีจริยาวาจาตรงๆ ง่ายๆ ใครก็ทราบกันอยู่แล้ว ที่สำคัญก็คือ เป็นพระสงฆ์ที่รักผ้าครอง 3 ผืน ยิ่งนัก จะเห็นว่า ท่านจะพาดสังฆาฏิติดตัวอยู่เสมอไม่เคยขาด อีกอย่างก็คือไม่จับเงินทอง ไม่ให้ผู้หญิงเข้าใกล้ตัวเลย เรื่องสนุกมากๆ ก็เกิดตรงจุดนี้ คือ เมื่อเสร็จจากงานวัดแล้ว พ่อก็จัดรถนำลูกหลานไปกราบเยี่ยมหลวงปู่ที่ อ.สรรคบุรี ไปกันหลายคันรถ ศาลารับแขกของหลวงปู่ที่สำนักนั้นแน่นไปหมด พ่อก็บอกว่า


    "ลูกหลานเอ๊ย...ช่วยหลวงปู่สร้างศาลาใหม่นะลูก ช่วยกันคนละเล็กละน้อย"


    โธ่เอ๋ย...ถ้าหลวงพ่อออกปากอย่างนี้ ซ้ำยังบอกว่า




    [​IMG]




    "หลวงปู่บุดดาเป็นพระทองคำทั้งองค์นะลูกนะ ทำบุญกับท่านก็คือทำบุญกับพระอรหันต์นะ" จากคนละเล็กละน้อยก็รวมเป็นก้อนใหญ่มากๆ จำไม่ได้ว่าเท่าไร หลวงพ่อสั่งให้นับจำนวนเงินมัดรวมเข้าเป็นปึกสวยเชียว


    "ถวายหลวงปู่เข้าไป เอ๊า...โมทนาพร้อมๆ กันลูกเอ๊ย..."


    คนถือเงินน้อมถวายปุ๊บ หลวงปู่ก็คว้าย่ามมาแหวกปั๊บ แหวกกว้างเลยกะให้เงินหล่นใส่ย่ามไม่ถูกมือท่าน เท่านั้นแหละท่านผู้อ่าน พ่อเราก็คว้าเงินทั้งปึกมาถือไว้... แย่งเอาเสียเองเลย


    "หลวงปู๊....." พ่อทำเสียงยาวเลย


    "นี่...ถ้าจับเงินไม่ได้ก็ไม่ต้องเอานะ... นี่ถ้าพระใจเป็นแก้วทั้งใจอย่างหลวงปู่ยังคิดว่าไอ้แบงก์กับธาตุดินมันยังมีค่าต่างกัน...ถ้าธาตุดินนี้มันทำให้ใจหลวงปู่เสียหายได้ ก็ไม่ต้องเอาน๊ะ...."


    เท่านั้นแหละหลวงปู่ผู้ไม่จับเงินมาตลอดชีวิต ก็มีอันเปลี่ยนไป ท่านคว้าเงินมาจากมือพ่อ

    "เอาของเขาคืนมานะ..." จับ 2 มือแน่นชูขึ้นตรงหน้าเลย

    "นี่..นี่..นี่ บุดดาจับเงินแล้วนะ จับเงินแล้วนะ"

    จับยัดใส่ย่ามวางบนตัก ชนิดใครก็มาแย่งไปอีกไม่ได้ พวกเราหัวเราะกันลั่นเลย หัวเราะไปใจเป็นสุขที่สุด ไม่รู้ว่าเป็นสุขเพราะอะไร... พ่อบอกอยู่เสมอว่า ใจพระทองคำแท้ (พระอรหันต์) ท่านไม่ติดอะไรทั้งโลก แม้ร่างกายตัวท่านเอง แต่ท่านอยู่กับร่างกายและโลก เกี่ยวพันบริหารงานโลกโดยใจไม่มีทุกข์โทษเวรภัยใดๆ มาทำให้มัวหมองแปดเปื้อนได้ เมื่อใจไม่ติดแน่นอนแล้ว จริยาทางกาย วาจา ก็ลดลงมาหากระแสโลกเพียงเพื่อสงเคราะห์ จะได้พูดกันแนะนำกันรู้เรื่องแบบธรรมดาโลกเขา แต่จริยาท่านอยู่ในสมณมารยาท ในวินัยประเพณี ไม่มีบกพร่องด่างพร้อย เมื่อพ่อกล้าทำอย่างนั้น พ่อก็กล้าชักชวนให้หลวงปู่องค์อื่นออกมาทำงานแทนคุณพระพุทธเจ้าก่อนที่ร่างกายจะสลายหายประโยชน์ไป พระคุณหลวงปู่บุดดาท่านเข้าใจ เต็มใจทำอยู่แล้ว เมื่อมีเพื่อนผู้รู้ใจมารับรองประคองเชิญ ท่านก็ก้าวออกมา... นับแต่นั้น ! หลวงปู่บุดดาก็จับเงินทองได้ ให้ญาติโยมผู้หญิงผู้เลื่อมใสศรัทธาเข้าใกล้ตัวท่านได้ ด้วยประการะฉะนี้ (เอาเข้าให้..)"


    [​IMG]




    รูปหลวงพ่อ จากเว็ปพระรัตนตรัย
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  6. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]



    เอาละ...ทีนี้มาต่อความ หลังจากพ่อชวนหลวงปู่บุดดาเป็น "พระเปิด" เรียบร้อยแล้ว เรื่องมันก็ยิ่งตรงแน่ไม่ต้องแปลกันแล้ว ขอออกตัวคือบอกความจริงกันเสียก่อนว่า ผู้เขียนไม่มีวาสนาได้ตามพ่อไปทุกที่ หรือได้ฟังได้เห็นไปเสียทุกเรื่องราวที่พ่อทำ... นานๆ จะได้พบเห็นปรากฏการณ์บริสุทธิ์ของพระพุทธศาสนาจากจริยาที่พ่อประพฤติเป็นธรรมดาๆ สักครั้ง จึงจดจำสลักเข้าไปในใจตัวเอง... แต่ไม่หวงแหนที่จะเล่าให้ท่านฟัง

    เหตุการณ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ "บ้านซอยสายลม" ของพวกเรานี่แหละ ตั้งแต่สมัยพี่อ๋อย (คุณเฉิดศรี ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา เจ้าของบ้าน) ยังมีชีวิตอยู่นั้น หลวงปู่บุดดาก็มักจะมาเยี่ยมพ่อที่บ้านนี้บ่อยครั้ง พี่อ๋อยจะยิ้มเต็มปากเต็มหน้าเต็มใจต้อนรับหลวงปู่ ชี้ถวายที่นั่ง..... ประเคนถวายน้ำฉัน แล้วก็จะนั่งยิ้มคุยกับหลวงปู่คอยเวลาที่พ่อจะลงมาพบ พี่อ๋อยกับหลวงปู่บุดดาคงจะเป็นคนประเภทเดียวกันคือ พูดตรงไปตรงมา เสียงดังฟังชัด สมัยก่อนโน้นหลวงปู่บุดดาพูดเสียงดังมาก โดยเฉพาะเวลาคุยกับพ่อนี่ไม่ต้องใช้ไมโครโฟนหรอก ถ้าพระคุณ 2 องค์นี่คุยกันทีไร พวกเราคอยหัวเราะได้เลย ท่านทันกันจริงๆ พ่อบอกว่า

    "ก็ไอ้คน "ถาวโร" เหมือนกันนี่ มันก็อย่างนี้แหละ...."

    ครั้งหนึ่งพ่อคุยเรื่องอารมณ์พระนิพพานกับหลวงปู่... พวกเราก็นั่งเชียร์กันเต็มที่ ท่านปรารภเรื่องร่างกายว่าเป็นของไม่ดี แล้วถามหลวงปู่ว่า

    "หลวงปู่...ร่างกายนี่มันทุกข์ไหมครับ ?.."
    "มันทุกข์น่ะเช้..." หลวงปู่มักจะทำเสียงยาว ทำหน้าจริงจัง จ้องตายืนยันคำพูดทุกครั้ง ซึ่งมักจะตกหลุมพ่อทุกครั้งเหมือนกัน
    "อ้าว...ถ้ามันทุกข์แล้วหลวงปู่ "เสือก" เกิดมาทำไมล่ะ...."
    " ก้อ ก้อ มันโง่น่ะเช้...."
    แล้วท่านก็ไปกันได้ทุกครั้ง...ไม่เคยอับจนซักที

    เกี่ยวกับเรื่องที่พ่อมักจะใช้คำพูดที่ "ดูเหมือนจะไม่เคารพ" ต่อพระที่มีพรรษามาก ซ้ำยังเป็นพระสุปฏิปันโนเสียอีกด้วยนั้น พวกเราใช้หูคนฟังใช้ใจมนุษย์คิด ก็มักจะมีข้อข้องใจกันบ่อยๆ แต่ถ้าฟังให้ตลอดเรื่องถึงตอนจบ ก็จะพบเห็นว่า พ่อจะยกมือไหว้เป็นเชิงขอขมาพร้อมกับเอ่ยเสียงอ่อนโยนตบท้ายเสมอ

    "อ้อ..ครับ...ครับ.. แล้วหลวงปู่จะเกิดอีกไหมครับ..."
    "จาไปเกิดให้มันโง่อีกเร้อ..."
    หลวงปู่ก็พูดไปชี้ๆ จิ้มๆ ไปเหมือนเดิมอีก

    ครั้งหนึ่งที่หลวงปู่มาคอยอยู่ แต่ว่าพ่อออกไปกิจนิมนต์นอกบ้านสายลมเป็นกรณีพิเศษ พ่อกลับมาก็พบหลวงปู่นั่งอยู่บนเก้าอี้เชิงประตูทางขึ้นที่พ่อพัก... พ่อหยุดยืนเอามือชี้หลวงปู่
    " เอ้า...พระที่ไหนเล่านี่.."
    หลวงปู่ก็เอามือชี้ไปที่พ่อ
    " ก้อ ก้อ พระที่วัดท่าซุงนะเช้..."

    พ่อมักจะหัวเราะเสียงดังชอบอกชอบใจ พวกเราก็ชอบมากๆ ด้วย มาถึงครั้งสำคัญของบ้านซอยสายลม คือ คราวที่พี่อ๋อยเสียชีวิตด้วยโรคประจำวิบากกรรมของท่าน คือโรคมะเร็งที่หน้าอก....... ศพของพี่อ๋อยตั้งอยู่ตรงห้องพรมเขียว (ตอนนี้เปลี่ยนสีหรือยังไม่ทราบเพราะผู้เขียนไม่มีโอกาสได้ไปบ้านซอยสายลมมาหลายปีแล้ว) คือ ห้องที่ใช้ฝึกญาณ 8 ในปัจจุบัน (พ.ศ.2542) ตั้งโลงชิดผนังห้อง ด้านท้ายห้องมีม่านกั้นห้องน้ำไว้สวดพระอภิธรรมกันที่นี่ ต้อนรับแขกที่ห้องนี้แหละ

    พวกเรารุ่นโน้น คือที่ไปซอยสายลมทันช่วงเวลาปี 2516 - 2522 คงจะจำความรู้สึกร่วมสมัยได้ว่า เราก็มั่นใจในพ่อ... พอใจพระนิพพาน ทำตามพ่อสอนเต็มใจอิ่มใจ แต่ไม่วายสงสัยว่า "แล้วจะไปพระนิพพานได้จริงๆ หรือนี่.."
    พี่อ๋อยก็เคยคุยกันถึงเรื่องนี้ พอพี่อ๋อยตายพ่อก็บอกว่า
    "ท่านอ๋อยสบายแล้ว ไปนิพพานเสียแล้ว..."

    พวกเรา (ก็ขออนุญาตเชิญท่านเจ้ากรมเสริม..พี่หนุ่ย..คุณหน่อย..คุณโหน่ง คุณหน่าและคุณหน่อง..ครอบครัวพี่อ๋อยเป็นต้นแถว ไม่รู้ว่าจะอนุญาตไหม) ทุกคนเชื่อพ่อ ยิ้มแย้มแจ่มใสที่พี่อ๋อยชนะแล้ว คงจะเป็นสุขกันแบบคนไม่สนใจในโลกไปชั่วขณะ จนญาติมิตรที่มากันในงานศพพากันบ่นว่า
    " คุณเสริมนี่จะยังไงเสียแล้ว เมียตายไม่ทันเผาก็ยิ้มย่อง คงอยากมีเมียใหม่ซีนะ..."

    แต่ทั้งๆ ที่เชื่ออย่างนี้แล้วก็แหม... อยากจะให้มัน... ให้มันยังไงก็นึกไม่ออก ก็พอดีหลวงปู่บุดดามาเยี่ยมศพพี่อ๋อย พ่อก็นั่งอยู่ด้วย "หลวงปู่พระมหาอำพัน วัดเทพศิรินทร์" ก็นั่งอยู่พร้อม คนอื่นเป็นยังไงไม่รู้ แต่ผู้เขียนน่ะตาลุกหูผึ่งเชียวละ อยากให้หลวงปู่บุดดายืนยัน นี่...สารภาพกันตรงๆ ไม่กลัวใครด่าแล้ว พ่อคงจะทราบถึงไข้ประจำสันดานของผู้เขียนและของใครๆ ด้วย ท่านเลยถามหลวงปู่บุดดาตรงๆ

    "นี่หลวงปู่... คุณอ๋อยนี่ตอนมีชีวิตอยู่ท่านมีคุณต่อพระศาสนามาก ใจท่านก็รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ตอนตายแล้วนี่อ๋อยอยู่ที่ไหน..."

    หลวงปู่หันขวับมาทางหลวงพ่อ ตาก็อย่างเดิมนั่นแหละ จ้องเป๋งใสแป๋วเลย... แล้วชี้ไปบนอากาศพูดเสียงดังฟังชัด

    "จาไปไหน... ก็เป็นพระอรหันต์ไปอยู่ในนิพพานนะเช้ ตัวใสแจ๋วเป็นแก้วอยู่นั่นน่ะไม่เห็นเร้อ..."

    เฮกันเลย... ฮากันในงานศพต่อหน้าแขกเหรื่อนั่นแหละ หน้ายังงี้ยิ้มระรื่นกันไปหมด ลืมดูไปว่าตอนนั้นแขกเหรื่อที่ไม่ใช่ศิษย์พ่อเขาทำหน้าตากันยังไง

    ปฏิปทามารยาทของหลวงปู่บุดดาในบั้นปลายที่เห็นกันอยู่นั้น ใครๆ ก็จะเห็นท่านเทแป้งฝุ่นใส่หัว ใส่มือโยมผู้หญิง เขาขอให้ท่านจับหัว ท่านก็จับเสกเป่าให้บ้าง โยมผู้หญิงเขาขอนวดเท้า ท่านก็ยื่นให้เขานวดบ้าง นี่เป็นกริยาอาการสงเคราะห์ผู้มีศรัทธา ตามวาะบุญบารมีของญาติโยมเท่านั้น... ใครทำอะไร มีความสุขใจก็ทำไปเถิด ร่างกายท่าน วัตถุที่ร่างกายท่านเกี่ยวข้องอยู่ ส่วนไหนชิ้นไหนที่ทำประชาชนเข้าถึงความสุข ความปลื้มใจได้ ท่านพร้อมสละออกไปหมดแล้ว ชีวิตหลวงปู่ยืนยาวครบ 100 ปี มานี้ เคยมีใครรู้ใครเห็นว่า ท่านเคยทำความเดือดร้อนให้ใครบ้าง ท่านเองนั่นแหละที่ได้มอบชีวิตร่างกายและเวลาทั้งหมดรับใช้ให้ผู้อื่นเป็นสุขใจสะดวกกายมาโดยตลอด เหน็ดเหนื่อยมาโดยตลอด

    บัดนี้หลวงปู่ก็จากเราไปแล้ว... โอกาสที่เราจะเห็นสังขารร่างกายของท่านทำประโยชน์สุขแก่ผู้คน ไม่มีอีกแล้ว

    ผู้เขียนจำภาพสุดท้ายที่หลวงปู่มาเยี่ยมศพพ่อระหว่างงาน 100 วัน ที่ศาลา 12 ไร่ ท่านนั่งห่อตัวซึ่งเหลือนิดเดียว ตาจ้องโลงศพพ่อ ชี้มือไปที่ศพพ่อ พร้อมกับพูดเสียงเบาแผ่วว่า

    "ยังไงเล่า... วันนี้ทำไมไม่ลุกขึ้นมาคุยกันเล่า... ทีก่อนโน้นล่ะพูดเก่ง ทีนี้ทำไมนอนเฉยเสียเล่า เอ๊อ...เก่งจริง ก็ลุกขึ้นมาเถียงกันอีกเช้..."

    โธ่เอ๋ย...เจ้าประคุณ... แม้องค์หนึ่งตาย องค์หนึ่งร่างกายหมดสภาพแล้วก็ยังอุตส่าห์ระลึกถึงลีลาที่เคยบ้นเทิงธรรมให้ลูกหลานชื่นใจ ใจเลวๆ ของเกล้ากระผม จะขอจารึกพระคุณทั้งสองไว้...ไม่มีลืม.
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  7. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ข้อลอกข้อความจากพี่ตั้มนะครับมีประโยคมากเลย
    เรื่องที่จะนำมาถ่ายทอดต่อไปนี้ คัดลอกมาจากหนังสือ "เสียงจากถ้ำ (นารายณ์) ฉบับพิเศษ : บนเส้นทางพระโยคาวจร" เขียนโดย "สายฟ้า" [หลวงตาวัชรชัย เจ้าอาวาสวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)] ผู้ถ่ายทอดกราบขออนุญาตต่อหลวงตาวัชรชัย ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ และจะขอตัดตอนนำเฉพาะบางตอนที่กล่าวถึงหลวงพ่อฤๅษีลิงดำกับหลวงปู่ครูบาธรรมชัย โดยตรงมาถ่ายทอด ดังนี้


    ท่านผู้อ่านคงจำได้ว่า เมื่อตอนที่เขียนถึงหลวงปู่คำแสนเล็ก ได้เคยกล่าวถึงพระสงฆ์องค์หนึ่งที่หลวงปู่คำแสนเล็กทั้งดุและเอ็นดู และเมื่อตอนที่แล้วของหลวงปู่ชุ่มในพิธียกฉัตรจำลองที่พระธาตุจอมกิตติ ได้เอ่ยชื่อพระสุปฏิปันโนองค์สุดท้ายในรายชื่อพระที่ไปร่วมพิธีบวงสรวงครั้งสำคัญ พระองค์นั้นคือ “หลวงปู่ธรรมชัย” แห่งวัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ นั่นเอง

    ท่านผู้อ่านที่รัก ถ้าจะมีพระดีสักองค์ที่รักและเคารพพ่อของเรา (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง) อย่างสุดที่จะรักได้ และแสดงความในใจออกมาทางกายได้เหมือนใจที่สุด องค์นี้แหละเป็นอย่างที่กล่าวนั้น

    ผู้เขียนพบหลวงปู่ครูบาธรรมชัยครั้งแรกในงานบวงสรวงยกฉัตรพระเจดีย์ธาตุจำลองที่วัดพระธาตุจอมกิตติ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เมื่อเกือบจะ 30 ปี โน้น แต่บุคลิกภาพของท่านยังชัดเจนไม่เคยเลือนราง ยังต่อเนื่องภาพลำดับเหตุการณ์ของหลวงปู่ ไม่เคยจางหาย เช้าวันนั้น...พวกเราชาววานรชาญสมรชาญบุรุษทั้งหลาย นั่งล้อมรอบพ่อรอเวลาฤกษ์จะบวงสรวงยกฉัตร ขณะนั้นก็มีพระร่างเล็กห่มดองครองสีกรัก ใส่ประคำคอเม็ดใหญ่ มือถือไม้สั้นอย่างทะนุถนอมแต่โอ่อ่าดุจถือคฑาประจำยศ ใบหน้าท่านเกลื่อนเกลี่ยด้วยรอยยิ้มเต็มใบหน้า เดินค้อมไหล่นิดๆ เข้ามากราบองค์พระเจดีย์จำลอง กราบนุ่มนวลนบนอบกอบใส่เกล้า

    .
    <!-- / message --><!-- sig -->เรานี่... ดูท่านแล้วต้องน้อมใจ ก้มหัวนึกกราบตามกอบตามท่านชนิดห้ามใจไม่อยู่ เสร็จแล้วท่านก็มากราบพ่อแทบเท้า ยิ้มสบตาพ่อด้วยรอยยิ้มเหมือนเด็กดีใจ โอยนี่มันคืออะไร... พ่อก็มองหน้ารับยิ้มตอบเหมือนท่านผู้ใหญ่จับตาพบเด็กน้อยที่คอยหา เอาล่ะ....เท่านี้ก็พอที่จะกระตุ้นความอยากของผู้เขียนให้ชนะความสำรวมมารยาทได้ทันที เมื่อเลี่ยงเข้าไปถามท่านว่า

    “หลวงปู่กราบสวยจังครับ ตอบกราบเจดีย์ยิ่งงามมาก...” (กำลังจะถามต่อว่า หลวงปู่กราบอะไร เห็นอะไร ทำนองนั้นแหละ) ท่านก็หันมายิ้มตอบว่า

    “หลวงปู่กราบพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า แสงรังสีสวยงามเหลือเกิน เป็นบุญมากน๊อ...” ก็หายสงสัยคลายอารมณ์คัน ผู้เขียนน่ะไม่ได้เห็นแสงฉัพพลัณณรังสีเหมือนหลวงปู่ แต่รู้แน่ชัดเพราะเห็นพ่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นกับตาของตัวเองตามที่เขียนเล่าในตอนหลวงปู่ชุ่ม

    หลวงปู่ธรรมชัยองค์นี้ จะเรียกว่าพระอภิญญาหรือเปล่า ไม่ชัดเจนนัก แต่ด้านทิพจักขุญาณนี่ว่องไวไม่ทันกำหนดจิต หลวงปู่เป็นพระหมอ สงเคราะห์ผู้คนด้านรักษาโรคและกฎของกรรมพิสดารพ้นวิสัยเยียวยาของแพทย์สมัยปัจจุบัน เวลาท่านตรวจอาการของโรค จะให้คนไข้จับไม้คฑาที่ท่านถือคู่กายอยู่ตลอดเวลานั่นแหละ คนไข้จับด้านปลาย หลวงปู่จับทางด้าม ลืมตาบอกเสียงจะแจ้งเลย...

    “เป็นโรคกษัย....ไม่ใช่มะเร็ง... ป่วยมา 3 ปี 4 เดือน 12 วัน มีอาการปวดเอียว (ผู้เขียนช่วยท่านจดฉลากยาในบางครั้งต้องย้ำถาม จึงได้ความว่าปวดเอว ภาษาเหนือนี่ลืมไปหลายชาติแล้ว) ...ให้กินยามะขางโหด... ยา...(โอย...จำชื่อไม่ได้ มันนานมาแล้ว เกือบ 30 ปี แล้วก็มีมากมายหลายขนาน) ... รักษา 29 วัน หาย!”

    แล้วท่านก็ยิ้มเต็มหน้าเมตตาล้นใจ มองหน้าคนไข้ ผู้เขียนเห็นเขากราบ หน้าเบิกบานมีความสุข ยังนึกว่าคงจะหายโรคก่อน 29 วัน ด้วยซ้ำไป เอ้า...คนอื่นต่อไป... ทยอยเข้ามายาว...แถวยาว...

    สมัยแรกๆ หลวงปู่ธรรมชัยจะรักษาคนไข้ที่บ้านซอยสายลม... มีอยู่วันหนึ่งกำลังทำงานง่วนอยู่ในห้องสอนกรรมฐานปัจจุบันของซอยสายลมนี่แหละ นั่งกันอยู่ในห้อง มีฝามีผ้าม่านปิด ท่านรีบบอกผู้เขียน

    “นี่....รีบไปเข็นรถลูกหลวงปู่มาเร็ว เอามาเร็วๆ เข้ามาก่อนใครๆ เขาไข้หนักหนานัก”

    ผู้เขียนรีบตาลีตาลานออกไปนอกห้อง หน้าบ้านก็ไม่มี โน่น ! ที่ถนนหน้าบ้านสายลมโน่น....กำลังเปิดประตูท้ายรถแวนเข็นทุลักทุเลลงจากรถ ผู้เขียนรีบเข้าไปช่วยด้วยความงงมากกว่าความสงสาร ....นี่ ขนาดนี้เชียวหรือ ท่านเห็นได้ รู้ได้ยังไง โอย...พาเข้าไปตรงหน้าหลวงปู่ นั่งหน้าเหลืองเหมือนศพ มีสายเสียบจากเอว จากท้อง จากอะไร เขียนว่าอะไรดี....ไอ้ที่ใช้ปัสสาวะน่ะ ระโยงระยางแยงลงในขวด ในถุงพลาสติกที่แขวนรอบรถ ญาติคนป่วยบอกว่าหมอเชิญให้กลับมาตายที่บ้าน หลวงปู่มอง...ยิ้ม....โคลงหน้าจังหวะสั้นๆ สุภาพเชียว

    “ไม่ตาย...ไม่ตาย... ไปอยู่กับปู่ที่เชียงใหม่ รับรองเดือนเดียวหาย...”

    ข่าวที่แน่ชัดในเวลาต่อมาอีก 2 เดือน ก็คือ กวาดวัด ทำงานได้ มอบกายถวายชีวิตให้หลวงปู่เรียบร้อยไปแล้ว

    หลวงปู่ธรรมชัยมาปรากฏกายสงเคราะห์ศิษยานุศิษย์ที่วัดท่าซุงในปี 2519 ซึ่งเป็นปีที่ 2 ของงานประจำปี ท่านมาทีหลังหลวงปู่องค์อื่นแต่ทำงานมากกว่าทุกองค์รวมกัน ทั้งรักษาโรค ทั้งแก้วิบากกรรม (แก้ไขให้ผ่อนหนักเป็นเบา) ทั้งพยากรณ์ให้กำลังใจ หลังฉันอาหารเช้า (ฉันมื้อเดียว ประมาณ 10.00 น.) ก็ลงมือรักษาไปจนโน่น....ดึกเลย จะพักบ้างก็สรงน้ำตอนเย็น ใบหน้ายิ้มตลอดเวลา ผู้เขียนไม่เคยเห็นท่านทำหน้าบึ้งเบื่อหน่าย ไม่เคยได้ยินคำบ่นจากปากว่าเหน็ดเหนื่อย ทั้งๆ ที่คนไข้ก็มีอาการป่วยมากมายหลายประเภท ท่านก็รักษาช่วยเหลือเขาได้

    มีอยู่ครั้งหนึ่ง.... ทีนี้โรคใจ...

    คนนี้เป็นผู้หญิง สวยเสียด้วย เป็นนางงามและดาราภาพยนตร์สมัย 20 ปี กว่าโน้น เธอเข้ามากราบ... กราบ.... กราบ... กราบ... พอเงยหน้ามองหลวงปู่เท่านั้นแหละ... หน้าสวยๆ นี่...เบะเบ้เลย ร้องไห้โฮลั่นห้อง ไม่อายใคร

    “หลวงปู่เจ้าขา....ฮือ...ฮือ....หลวงปู่....”

    ตาฉ่ำน้ำ ตามองหน้าหลวงปู่เหมือนจะกลืน เหมือนจะกลัว

    “พระอรหันต์มีจริงนะเจ้าคะ....หลวงปู่...”

    “ผมอยากบวชครับ หลวงปู่...”

    อ้าว.... ผู้หญิงหรือผู้ชายกันแน่ เธอก็รำพันของเธอต่อไป ....ยิ่งร้องไห้ น้ำมูกนี่ไหลเปรอะหมดงามกันเลยล่ะ

    หลวงปู่ก็ยิ้ม..ม... พยักหน้าน้อยๆ แล้วพยักหน้าให้ผู้เขียนพาเธอไปล้างหน้าล้างตา กลับออกมายิ้มแป้นสวยกว่าเดิม เพราะตอนนี้ยิ้มแบบมีความสุข สงบจากปิติโลดโผนนั้นแล้ว หันหน้าไปคุยกับพี่ ป้า น้า อา ผู้หญิงที่นั่งประดาหน้าหลวงปู่อยู่ด้วยกัน หลวงปู่ธรรมชัยหันมาพูดกับผู้เขียนเบาๆ ว่า

    “คนนี้ชาติก่อนเขาชื่อ สุทัศน์ บวชเป็นศิษย์หลวงปู่คู่กับเรานี่แหละ”

    อ้าว...มาเกี่ยวข้องกับเราด้วย อย่างนี้นี่เอง ตอนพาไปชี้ห้องน้ำล้างหน้าถึงได้เดินเกาะผู้เขียนไปเหมือนสนิทกันนักหนา ทั้งที่เพิ่งพบหน้ากันครั้งเดียวนี้เอง แล้วหลวงปู่ก็เล่าต่อ

    “บวชแล้วก็ทำความเพียรเคร่งครัด ได้ฌานสมาบัติเก่งพอตัว แต่ยังไม่ทันได้เป็นพระอริยะก็เกิดเรื่องเสียก่อน คือ พอคลายความเพียรนั่งพักอยู่หน้ากุฏิ ชาวบ้านเขาแห่นางงามชนะการประกวดผ่านหน้าไป ใจสุทัศน์กำลังสบายอยู่ก็นึกไปว่า “เขามีบุญนะที่เกิดมาสวยได้เป็นนางงาม..... เกิดสิ้นชีวิตในช่วงอารมณ์นั้น... ก็เลยต้องมาเกิดเป็นนางงาม ตายจากชาตินี้จะขึ้นไปอยู่ชั้นดุสิต จะลงมาเกิดอีกครั้งที่เกาะภูเก็ตพร้อมหลวงปู่ ในสมัยศาสนาครบ 5,000 ปี โน่น...”

    โอ้โฮ...ท่านพูดคล่องไม่ต้องตั้งท่าหลับตาสักนิด....!

    สำหรับตัวผู้เขียนเอง จากการสัมผัสเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ธรรมชัยมา มีความคิดเห็นเป็นส่วนตัวว่า ถึงจะพบจะเห็นหลวงปู่มาก แต่ความมักคุ้นจะมีน้อยกว่าองค์อื่นๆ ทั้งนี้เห็นจะเป็นเพราะหลวงปู่ไม่ได้มุ่งสอนพระกรรมฐาน มุ่งในด้านสงเคราะห์ แบ่งเบาทุกข์หยิบยื่นสุขแก่สุขภาพทางกายที่ได้รับวิบากกรรมทุกข์ทรมานเสียเป็นส่วนใหญ่ การเข้าไปนั่งถามนั่งฟังนานๆ จึงไม่มีโอกาสนัก เพราะระยะนั้นผู้เขียนมีความปรารถนาบวชรุนแรงมาก คิดแบบไฟแรงจัดว่า เราจะสนใจเฉพาะอารมณ์ตัดอารมณ์ละเพื่อพระนิพพานเท่านั้น ก็เลยได้เรื่องหลวงปู่ธรรมชัยมาเล่าค่อนข้างน้อย

    สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้เขียนรู้สึกได้คือ ความเมตตากรุณาและความอ่อนน้อมที่สูงส่งไม่มีประมาณ ความเมตตานั้นเห็นชัดเจนใจที่ท่านสงเคราะห์ประชาชน ใบหน้าบ่มสุข สายตานุ่มนวลยิ้มฉายเชื่อมสายตาคนไข้ให้ตื้นตันปิติ การพยักหน้าที่สุขุมเชื่อมั่นที่ทำให้ผู้คนอบอุ่นใจได้ว่า ได้ที่พึ่งที่วางใจได้สนิท คนหนึ่งจบภาระจากไป ก็ส่งสายตาตามปิดงานสงเคราะห์อย่างหมดจดงดงาม อีกคนหนึ่งเข้ามาเฉพาะหน้าก็เงยหน้าฉายแววอบอุ่นต้อนรับเป็นอย่างนี้เสมอมา.... ไม่เคยแสดงอาการเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่ายให้ผู้คนเห็น


    ในด้านความอ่อนน้อมนั้นเห็นได้ที่ตัวหลวงปู่ การเดินที่เนิบนาบ ค้อมไหล่ การแย้มยิ้มที่อาบอิ่มกระแสใจ คำพูดที่ซื่อตรงสบายอารมณ์สบายหู ....แต่ถ้าจะดูให้ชัดเจนต้องดูเวลาที่ท่านกราบพ่อ (หลวงพ่อฤๅษีฯ) จากเท้าและเข่าที่กระโหย่งถึงมือและเศียรเกล้าที่กรานกราบแนบพื้น จากมือที่พนมถวายคำพูดและสนทนาปราศรัย มือนั้นงามนอบน้อมเหมือนช่อดอกไม้ที่ประคองบูชา ไม่เคยตกต่ำลงมาจนกว่าคำพูดนอบน้อมจะจบลง นั่นก็ยังไม่น่าอัศจรรย์ใจ เพราะพระดีที่มีความสุขแล้ว ท่านก็ทำกันอย่างนั้นทุกองค์ ที่ประทับใจผู้เขียนไม่มีลืมกลับเป็นตอนนี้....

    วันนั้นหลวงปู่มาธุระที่กรุงเทพฯ มาพักที่บ้านซอยสายลม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พ่ออยู่ที่วัดท่าซุง พี่อ๋อย (ที่จริงผู้เขียนน่าจะเรียกแม่ ถึงตอนที่เขียนถึงท่านจะเรียกให้สมใจ) ก็ให้จัดหลวงปู่พักบนห้องพ่อ เราก็พาท่านขึ้นไปกราบเรียนว่า

    “หลวงปู่... พักบนเตียงหลวงพ่อนะขอรับ ผมเปลี่ยนที่นอนให้เรียบร้อยแล้ว”

    เท่านั้นแหละผู้อ่านเอ๋ย.... หลวงปู่ธรรมชัยถึงกับคุกเข่าลงบนพื้นหน้าเตียงนอน กราบลงบนพรมวางเท้าแล้วพูดเสียงน่าสงสารว่า

    “จะฆ่าหลวงปู่หรื๊อ.... จะให้หลวงปู่ตกนรกหรื๊อ.... หลวงปู่ขอนอนตรงนี้ก็พอแล้ว...”

    แล้วท่านก็กราบชี้ตรงที่วางเท้าหน้าเตียงนอนพ่อ ก็ต้องรื้อฟูกลงมาปูตามที่ท่านยืนยันขันแข็ง

    หลวงปู่ธรรมชัยน่าจะปีเดียวกับพ่อ (หลวงพ่อฤๅษีฯ) แต่มารยาทการแสดงออกนั้น เสมือนลูกที่กระทำต่อพ่อที่ตนรักและเกรงกลัว

    ....ยิ่งหลวงปู่อ่อนน้อมและค้อมต่ำ ก็ยิ่งส่งให้ท่านดูสูงส่ง มั่นคงในความดีไม่มีประมาณ และยิ่งชี้ชัดให้พระคุณของพ่อเด่นกระจ่าง แม้จะพยายามปกปิดซ่อนเร้นให้เห็นแต่ความธรรมดาสามัญตลอดมาก็ตาม...

    จนเวลานี้.... แม้พระคุณทั้งสองจะทิ้งร่างลาโลกไปแล้วก็ยังส่งมอบมรดกธรรมล้ำค่าไว้ให้ลูกหลานทัศนาใช้สอย นั่นก็คือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน และการปกปิดความดีไม่อวดอ้าง เหมือนจันทร์เพ็ญเด่นกระจ่าง แม้จะเอาเมฆนุ่มหนามาบดบังเอาไว้ก็ยังครองใจชาวโลกให้จดจ่อระลึกถึงอยู่ไม่มีเวลาเสื่อมสลายคลายศรัทธา.

    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กุมภาพันธ์ 2008
  8. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ข้อลอกข้อความจากพี่ตั้มนะครับมีประโยคมากเลย

    เรื่องที่จะนำมาถ่ายทอดต่อไปนี้ คัดลอกมาจากหนังสือ "เสียงจากถ้ำ (นารายณ์) ฉบับพิเศษ : บนเส้นทางพระโยคาวจร" เขียนโดย "สายฟ้า" [หลวงตาวัชรชัย เจ้าอาวาสวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)] ผู้ถ่ายทอดกราบขออนุญาตต่อหลวงตาวัชรชัย ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ และจะขอตัดตอนนำเฉพาะบางตอนที่กล่าวถึงหลวงพ่อกับหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร แห่งวัดถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่ โดยตรงมาถ่ายทอด ดังนี้


    [​IMG]


    เมื่อชีวิตพ่อล่วงลับ ผู้เขียนก็ย้อนถึงหลวงปู่ทั้งหลายที่เคยมาร่วมงานประจำปีในอดีตที่ผ่านมา พบว่าแต่ละองค์ต่างทยอยลาโลกไปแทบครบองค์เสียแล้ว ใจหายน่ะมันมีแน่ แต่กลับซึ้งใจในความจริง ชัดเจนว่าพระอริยเจ้าผู้ทรงพระคุณต่อชาวโลกนี่ ท่านเกิดมาเพื่อความดับไม่เหลือเชื้อจริงๆ ระหว่างท่านทรงชีวิตอยู่ก็เป็นเนื้อนาบุญอันเกิดประโยชน์ชุ่มเย็นไม่มีประมาณต่อชาวโลก เมื่อสิ้นภาระร่างกายก็จบกิจหมดอาลัยเข้าสู่พระนิพพานดุจประทีปอันเรืองรองดับวูบไปฉะนั้น


    หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ก็เป็นประทีปแก้วอีกดวงหนึ่งซึ่งส่องแสงเจิดจ้าจับใจชาวโลก แล้วก็ดับไปตามสัจธรรมที่สมเด็จพ่อของเราทั้งหลายทรงแสดงไว้


    เมื่อประมาณ 30 ปี ที่ผ่านมา ประทีปอันบริสุทธิ์เย็นใจดวงนี้ได้มาเพิ่มความสุขให้แก่บรรดาลูกพ่อ ที่วัดท่าซุงถึง 3 ปี ติดต่อกัน ได้ประทับฝากฝังความทรงจำแก่ผู้เขียนไม่มีลืมไปได้

    [​IMG]

    หลวงปู่สิม เป็นศิษย์ของพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต จริยาของท่านสงบเยือกเย็นแผ่กระแสความเมตตาอย่างเป็นธรรมดา อย่างของจริง อย่างไม่มีประมาณ แต่ในจริยามารยาทที่สงบเงียบนั้น ใครจะทราบบ้างว่า ท่านทรงคุณอภิญญาสมาบัติและก็แสดงออกมาชนิดไม่ยอมอ้อมแอ้มค้อมแค้ม จะเล่าให้ฟังเอาไหม ?


    ก็ต้องนำภาพการจัดงานวัดของเราเมื่อปี 2518 โน้น มาให้เห็นกันอีกจุดหนึ่งเสียก่อนคือ เมื่อจัดสรรที่พักให้หลวงปู่ทั้งหลายลงตัวแล้ว พ่อก็จัดลูกศิษย์ (คือพี่อ๋อยจัดแจงแทนพ่อทั้งหมด) ให้รับใช้ประจำองค์หลวงปู่ตามที่ได้เล่าให้ฟังมาแล้วในตอนต้น หลวงปู่สิมพักอยู่กุฏิเบอร์ 3 มีคุณธำรง (ศุภสิทธิ์) อารีกุล เป็นศิษย์ประจำองค์ ผู้เขียนทำหน้าที่อะไรล่ะ.... จะว่าเป็นหัวหน้าก็ไม่อยากจะว่า คือต้องรับบุญรับกรรมช่วยช่วยควบคุมดูแลแก้ปัญหาทั่วไปทุกกุฏิด้วย ที่ว่ารับบุญก็คือรับบุญมหาศาลที่ถวายความสะดวกกายสบายใจแก่พระสุปฏิบันโน ที่ว่ารับกรรมคือมันอย่างนี้.....


    พ่อสั่งกำชับเป็นคำขาดว่า ไม่อนุญาตให้ใครเข้าไปรบกวนหลวงปู่ในกุฏิที่พัก ถ้าท่านจะสงเคราะห์ท่านก็ออกมานั่งอาสนะที่จัดถวายไว้ในศาลารับแขก คือที่พักชาย 17 ห้อง หลังพระอุโบสถ หน้ากุฏิ 10 หลัง นั่นแหละ ในตอนปี 2519 ยังเป็นศาลาโล่งเต็มแนวยาวเลย สร้างขึ้นเพื่อให้หลวงปู่ทั้ง 10 องค์ รับแขกโดยเฉพาะ ตรงกับกุฏิแต่ละหลังก็มีตั่งอาสนะประจำกุฏิ มีประตูทางเดินทะลุจากกุฏิเข้ามาได้เลย ใครๆ จะมาบำเพ็ญกุศลกราบนมัสการก็ให้นั่งคอยที่นี่จนกว่าท่านจะมาสงเคราะห์เอง ผู้ใดฝ่าฝืน พ่อสั่งเป็นคำขาดกับเจ้าหน้าที่รับใช้พระว่า


    “จับมันมัดไว้กลางลานวัดหน้าโบสถ์เลย ข้าจะดูซิว่าใครจะกล้าฝ่าฝืนหานรกใส่หัวบ้าง พวกแกไม่ต้องกลัวใคร หัวหงอกหัวดำมัดประจานไว้เลย ข้าจะชำระมันเอง....”


    ........ผู้เขียนและคณะ “ลิงรับใช้พระ” นั้นปลื้มมากลำบากใจแค่ไหน โธ่....หลวงปู่พระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ตั้ง 10 องค์ มาสถิตส่องแสงเจิดจ้าอยู่หลังพระอุโบสถ ใครจะไม่อยากเข้าไปกราบเพิ่มบุญตัวเอง ยิ่งได้กราบเป็นส่วนตัวในกุฏิเป็นพิเศษ มันเป็นยอดของความปลื้มใจอยู่แล้ว จึงมีผู้ใหญ่มากท่าน มายืนขู่เด็กลิงรับใช้พระจะเข้าไปทำบุญกับหลวงปู่ในที่..... ขอโทษ ! ... ในที่นอนนั่งสบายอิริยาบถของท่าน แล้วก็ยังมีที่ไม่กล้าใหญ่นัก.... ยืนชะเง้อมองมาที่กุฏิตลอดเวลา ตอนนั้นผู้เขียนยังสงสารไม่เป็น ยังคิดเห็นใจใครไม่ออก คิดออกอยู่อย่างเดียวว่า คำสั่งพ่อคือสิ่งที่ต้องรักษาและทำตามด้วยชีวิต แล้วยังนึกถึงหัวตะพดเลี่ยมเงินในมือพ่อ คิดถึงรสชาติความเจ็บมึนมากๆ เวลาถูกตีกบาล ตัวอาจจะโดนอย่างอื่นของพ่อประทับเข้าให้อีกต่างหาก จึงได้กีดกันขันแข็งจนเถียงกับผู้ใหญ่ทุกวัน กรรมของลิง เลิกงานวัดแล้วไปยกมือไหว้ท่าน... ยังไม่รู้ว่าจะรับไหว้กันหรือเปล่าหนอ.... (คำรำพึงเมื่อ 30 ปี ก่อนโน้น...)
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  9. Romli the kid

    Romli the kid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +720
    สาธุ

    ข้าพเจ้าขอกราบอนุโมทนาสาธุ กับลูกวัดท่าซุงด้วยนะครับ สุดยอดจริงๆ

    Romli the kid(good)
     
  10. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    อ่านตอนหลวงปู่บุดดาท่านพูดกับสรีระของหลวงพ่อที่อยู่ในโลงแล้วน้ำตาจะไหลเลยแฮะ...T_T
     
  11. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ข้อความที่ผมเอามาลงทั่งหมดกรุณาอย่าปรามาสคุณจะบาปอย่างมหันต์
     
  12. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558


    [​IMG]
    หลวงปู่คำแสนใหญ่

    ข้อลอกข้อความจากพี่ตั้มนะครับมีประโยคมากเลย


    เรื่องที่จะนำมาถ่ายทอดต่อไปนี้ คัดลอกมาจากหนังสือ "เสียงจากถ้ำ (นารายณ์) ฉบับพิเศษ : บนเส้นทางพระโยคาวจร" เขียนโดย "สายฟ้า" [หลวงตาวัชรชัย เจ้าอาวาสวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)] ผู้ถ่ายทอดกราบขออนุญาตต่อหลวงตาวัชรชัย ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ และจะขอตัดตอนนำเฉพาะบางตอนที่กล่าวถึงหลวงพ่อกับหลวงปู่คำแสนใหญ่ (พระครูสุคันธศีล) แห่งวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ โดยตรงมาถ่ายทอด ดังนี้


    "พระอุโบสถวัดท่าซุงในปัจจุบัน ใครมาเห็นก็ชมว่าสวย ใครมาเดินรอบพระอุโบสถในเขตกำแพงแก้ว ก็ต้องชื่นใจในกระแสความสงบแห่งบรรยากาศกระแสธรรม... รอบๆ กำแพงแก้วก็เป็นแนวต้นพิกุลอันเขียวสงบเย็นตา กลิ่นก็หอมกล่อมจิตใจให้สงบสุขบรรยายไม่ถูกถ้วน พวกเราต่างรู้จักมักคุ้นสถานที่นี้ดี เพราะนี่คือบ้านพ่อ... บ้านของเรา

    แต่ถ้าย้อนไปเมื่อปี 2518 อันเป็นปีที่เราเริ่มสร้างวัดกันใหม่หมาดๆ ท่านอ่านไป นึกภาพตามไปในอดีต ก็จะนึกออกว่าบริเวณรอบๆ พระอุโบสถยังเป็นดินลูกรังทั้งหมด แล้วก็เป็นหลุมเป็นบ่อด้วย กำแพงแก้วกับต้นพิกุลยังไม่มี ตัวอาคารพระอุโบสถยังก่ออิฐเห็นสีแดง ประตูหน้าต่างยังว่างโล่ง มองไปทางท้ายพระอุโบสถจะเห็นกุฏิ 10 หลัง มีหลังคาทรงเรือนไทยปลูกชิดกำแพง ด้านหน้ามีศาลานวราชบพิตร แต่ไม่มีหอนาฬิกา ตรงนี้แหละ... ที่ผู้เขียนได้สัมผัสความเย็นของกระแสจิตพระพุทธสาวก ... และยังเย็นฉ่ำใจจนถึงวันนี้

    ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นแล้ว งานฉลองวัดหรือเรียกว่างานครบ 100 ปีเกิดหลวงปู่ปานเริ่มขึ้นแล้ว เริ่มตามแบบของพ่อคือ สงบเงียบ แต่แรงกล้าด้วยพลานุภาพของศรัทธาสามัคคี ผู้เขียนกับผู้ร่วมงานแผนกต้อนรับพระสุปฏิปันโนก็คอยจ้องดูว่า พระคุณหลวงปู่องค์ใดมาถึงก็รีบทำหน้าที่... หลวงปู่ใคร (ตามที่แบ่งกันไว้แล้ว) ใครก็รับตัวท่านเข้ากุฏิ เวลานั้นกำลังรอหลวงปู่คำแสนใหญ่ (ของผู้เขียน) กันอยู่

    ตอนนั้นผู้เขียนจัดอะไรเพลินอยู่จำไม่ได้ กำลังนั่งอยู่ข้างพระอุโบสถด้านเรือนพักธรรมสถิตย์... รู้สึกว่าใจตนเองมีความเยือกเย็นสว่างไสวขึ้นมาอย่างฉับพลัน มันเป็นสุขบอกไม่ได้เอาเสียเลย และรู้สึกว่ากระแสแห่งความสุขสว่างไสวนั้นมาจากอีกด้านหนึ่งของพระอุโบสถ มันจำเป็น... มันเต็มใจวิ่งอ้อมไปดูก็เห็นพระภิกษุชราภาพรูปหนึ่ง ร่างกายสูงใหญ่ แต่เดินหลังค้อมลงมาบ้างแล้ว


    ท่านผู้อ่านเอ๋ย... เพียงเห็นท่าเดิน... เห็นอิริยาบถคนแก่ของท่าน ใจผู้เขียนมันมีปิติล้นหลามออกมา ซ้ำเห็นยิ้มของท่าน ใจเราก็อาบชุ่มด้วยความสุข... เห็นโยมผู้หญิงศิษย์หลวงพ่อคนหนึ่ง กำลังกราบแนบหน้ากับพื้นฝุ่นลูกรัง น้ำตาแกไหล ปากก็บ่นว่า

    " หลวงปู่เจ้าขา... หลวงปู่เจ้าขา.... "

    หลวงปู่องค์นั้นก็หันมายิ้ม ยิ้มสวยจริงๆ สวยออกมาจากใจเลย ท่านบอกว่า

    " เออ...เออ...เออ... เป็นสุขเน้อ"

    ท่านเอ๋ย... ผู้เขียนไม่ทราบว่าหลวงปู่คำแสนใหญ่องค์นั้นจะมีจิตตานุภาพเป็นอย่างไร แต่ผู้เขียนยอมคุกเข่าลงกราบ กราบด้วยความสุขใจ น้ำตาคงจะไหลออกมาด้วย ช่างเป็นบุญตัวของเราจริงหนอ ที่ได้ประคองพระคุณท่านเข้ากุฏิรับรอง... จำได้ว่าเป็นกุฏิที่ 4 ...เดี๋ยวก่อน! ถ้าจะมีบางท่านนึกถามขึ้นมาว่า

    ".... แล้วอยู่กับหลวงพ่อ ไม่ชื่นใจหรือ ?" หรืออะไรทำนองนี้ ขอได้โปรดอดใจอ่านต่อไปเถิด ท่านจะทราบคำตอบเอง ทราบจนรู้ซึ้งไปจนวันตายเหมือนผู้เขียน

    แล้วงานปรนนิบัติพระสุปฏิปันโนก็เริ่มขึ้น คือจัดการ "วาง" หลวงปู่คำแสนใหญ่ที่อาสนะพักผ่อนที่ชั้นล่าง มีอาสนะนั่ง ภาชนะน้ำใช้น้ำฉัน ก็น้อมประเคนถวาย ท่านจะเข้าห้องน้ำก็รีบเข้าไปเช็ดให้แห้ง เหยียบพื้นไม่ลื่น ท่านออกมาแล้วก็รีบทำความสะอาดให้ดีที่สุดไว้เสมอ ท่านจะพักผ่อนหลับนอนก็ประคองขึ้นชั้นบน ซึ่งก็จัดไว้พร้อมพอสมฐานะพระทองคำของพระศาสนา... รวมความว่าลูกศิษย์ 2 คนนี้ จะห่างหลวงปู่ไม่ได้เด็ดขาด มีรางวัลหัวตะพดเลี่ยมเงินในมือ "พ่อ" พร้อมประทานให้อยู่เสมอ

    ท่านทั้งหลาย งานปฏิบัติพระตามปกติมันก็ไม่หนักหนาอะไรหรอก... ยิ่งเป็นพระทองคำทั้งองค์อย่างหลวงปู่คำแสนใหญ่ด้วยแล้ว ยิ่งเบาใจ อิ่มใจ สบายใจ เหมือนเราจะลอยได้อย่างนั้นแหละ ตัวท่านเองก็ไม่ต้องการอะไรจุกจิก มีแต่เราเองนะซิที่คอยจุกจิกท่าน คือขยัน อยากจับอยากนวดบ้าง อยากให้ท่านเข้าห้องน้ำอีกซักครั้ง จะได้เช็ดถูพื้นเพิ่มบุญให้ตัวเองอีกสักหนบ้าง แล้วที่คันหัวใจอดไม่ไหวเลย ก็คืออยากถามธรรมะให้ท่านพูด....คิดว่าจะได้ชื่นใจสบายจิต ...เรื่องสำคัญจึงเกิดขึ้นตรงนี้แหละ

    คืนนั้น.... ที่หลวงปู่เพิ่งมาถึงนั่นเอง ก็มีผู้ปฏิบัติพระด้วยกันท่านหนึ่ง นั่งอยู่ตรงหน้าหลวงปู่ด้วยกันกับผู้เขียน ท่านผู้นั้นก็ชวนหลวงปู่สนทนาขึ้นมาว่า

    " เขาลือกันว่าหลวงปู่ยิ้มสวย จนเรียกว่า รอยยิ้มพระอรหันต์ ทำอย่างไรจึงจะยิ้มได้เหมือนหลวงปู่ครับ ?"

    เขาพูดลอยๆ ออกมา ท่าทางก็ไม่ค่อยจะนุ่มนวลนัก ใจผู้เขียนก็ขุ่นขึ้นมาตามแบบน้ำใจของเราเอง แต่ว่าน้ำใจหลวงปู่ท่านไม่เหมือนเรา ท่านยิ้มจนหางตาย่นมากๆ แต่ว่าริมฝีปากกับดวงตาท่านมีอะไรหนอ... มีประกาย มีความงาม มีความสุขฉายออกมาพร้อมกับคำตอบ

    " เอ๊อ... (พยักหน้าหลายๆ ที) ....ถ้าใจมันไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ มันก็ยิ้มสวยเองแหละเน๊อ...."
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  13. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]



    ท่านผู้อ่านที่รัก ท่านอ่านคำบันทึกของผู้เขียนนี้ ก็คงจะได้เพียงภาพพจน์และอารมณ์เป็นสุขบ้างแบบอ่านหนังสือ แต่ผู้เขียนได้ยินเสียง.... ได้เห็นกระแสสายตา ความงามของมุมปากยิ้มขำๆ ปนใจดีมีสุข ซ้ำยังกระทบกระแสความเมตตาของท่านในขณะนั้น.... มันบอกไม่ถูกว่าเป็นสุขอย่างไร รู้แน่แก่ใจตัวว่า "ท่านเอาใจของท่านออกมาพูด" ผู้เขียนก็เลยลืมขุ่นใจท่านผู้นั้นไปเลย... พอท่านผู้นั้นลุกออกจากกุฏิไปแล้ว ผู้เขียนก็ได้ใจจะเอาบ้าง กระหย่งเท้ากราบลงแทบเท้าหลวงปู่คำแสนใหญ่ละล่ำละลักประจบประแจง


    " หลวงปู่ครับ ผมอยากบวช "

    " เอ้อ อยากบวชจริง ก็ได้บวชเน้อ... "

    แหม... มันไม่หายคันหัวใจ

    " บวชแล้ว ผมจะได้เป็นพระอรหันต์ไหมครับ ? " (เอาเข้านั่น)

    " เอ้อ... เอ้อ... ถ้าปฏิบัติถูกต้อง ปฏิบัติให้มันดี ปฏิบัติให้มันตรงทาง พอถึงปลายทางก็เป็นพระอรหันต์เองแหละเน้อ..."

    โอย... ไม่เอาใจกันบ้างเลย มันจะหายโรคคันได้ยังไง

    " หลวงปู่ครับ ผมขอฝากตัวเป็นศิษย์ ขอประทานโอวาทไว้ปฏิบัติครับ "

    เท่านั้นแหละท่านผู้อ่านเอ๋ย หน้าที่ยิ้มสวยๆ เสียงที่อ่อนโยนเนิบนาบก็เปลี่ยนไป.... เปลี่ยนแบบฟ้าร้องไม่ทันอุดหู

    " ไอ้คนจังไรนี่ พูดเอาอัปปรีย์เข้าตัวนี่... " ชี้หน้า ตาลุกเลย !


    " อย่าไปพูดจังไรอย่างนี้กับพระองค์ไหนอีกเลยน๊า... เออ... ครูบาอาจารย์ของตัวเองนะ เป็นพระอรหันต์องค์เอกของโลก ในปลายศาสนา 5,000 ปี นี่ จะหาใครมาเหมือนท่านได้ นี่... ยังจะมีกะใจแส่หาอาจารย์อื่นอีกหรือ ไม่มีใครเขาจะสอนเราได้เหมือนอาจารย์เราสอนหรอก... จำไว้นา... อย่าพูดอย่างนี้อีก ตัวเองนี่... รีบไปกราบเท้าขอขมาท่านเสีย แล้วมงคลจึงจะเข้าถึงตัวได้ ไปรักษาศีล 5 ให้ดี เอาไว้รับความดีที่ท่านจะมอบให้เถิด จำไว้นาลูกเอ๊ย... "



    ประโยคสุดท้ายเปล่งออกมา ประกายตา รอยปาก ก็เปล่งความในใจออกมาอีก.... ผู้เขียนร้องไห้อยู่นาน ท่านลองเดาดู... ร้องทำไม ?

    นับแต่เวลานาทีนั้น... ใจผู้เขียนก็มีความปลื้มใจ ภูมิใจ และสลดใจ ปะปนกันทุกครั้งที่นึกถึงพ่อและตัวเอง และสำหรับหลวงปู่คำแสนใหญ่ (ผู้ไม่พูดเอาใจเสียเลย) ผู้เขียนขอเทิดไว้ในความทรงจำด้วยความเคารพและขอบพระคุณสุดจะประมาณได้


    รุ่งขึ้นก็สงบเสงี่ยมเจียมวาจาปรนนิบัติบูชาหลวงปู่ ตอนนี้หายคันแล้ว ..ชักไม่อยากกินข้าวกินน้ำ มันอิ่มไปหมด ใจมันอยากจะวิ่งไปกราบเท้าพ่อเสียเวลานั้น... แต่ก็นึกได้ทันว่า ที่มือพ่อมักจะถือตะพดหัวเลี่ยมเงินอยู่เสมอ แล้วก็ตีแรงด้วย แม่นยำด้วย ...ก็เลยหยุด

    พอถวายอาหารเช้าหลวงปู่เสร็จ ถ้าท่านประสงค์จะเจริญศรัทธาญาติโยมที่มาในงาน ก็จะประคองท่านออกไปนั่งอาสนะที่จัดไว้นอกกุฏิ ท่านจะพักก็พากลับ เป็นอย่างนี้จนถึงวันที่สอง... วันรองสุดท้ายของงาน


    พอถึงตีสาม ลูกศิษย์ของท่านที่มาด้วยกันก็มาปลุกผู้เขียนบอกว่า หลวงปู่ให้ขึ้นไปพบ (ท่านนอนชั้นบน เรานอนเฝ้าชั้นล่าง) ก็ขึ้นไปหาเข้าใจว่าท่านจะต้องการใช้สอย เห็นท่านนั่งขัดสมาธิสบายๆ อยู่ กวักมือเรียกให้เข้าไปใกล้แล้วบอกว่า

    " หลวงปู่จะกลับก่อนตอนตีสี่นี่เน้อ... ทางวัดสวนดอกมีธุระให้คนมาแจ้งเมื่อตอนดึกนี่ บอกหลวงพ่อด้วยว่า อยู่ลาไม่ทันแล้ว "

    แล้วท่านก็ดึงหัวผู้เขียนไปที่หน้าตักท่าน เอาดินสอมาเขียนขยุกขยิกลงบนกระหม่อมแล้วให้พรให้สมปรารถนา ดาราเจ้าน้ำตาก็แสดงบทถนัดอีกครั้ง ท่านจะลงอะไรบนหัวเรา เราคิดอย่างเดียวว่า ท่านได้สลักโอวาทและรอยยิ้มพระอรหันต์ลงในกระดูกศรีษะ ทะลุผ่านเข้าไปติดตรึงในดวงใจเราไม่มีวันจะลบออกได้ แล้วท่านก็ลงมาคอยรถเขาถอยมารับที่หน้ากุฏิ


    ตอนนั้นตีสี่พอดี ก็ได้ยินเสียงหัวเราะ ได้เห็นพ่อเดินแกว่งไม้เท้าเข้ามาหา (พ่อพักอยู่ด้านริมน้ำคนละฝั่งถนน)


    "...(เรียกชื่อผู้เขียน) เอ๊ย ! ... เรียบร้อยดีไหมหว่าทางนี้ อ้าว... นั่น ! พระอะไรมานั่งอยู่นี่ ข้าวของนี่จะเอาของเขาไปไหน เอ้า... ช่วยกันค้น ! หลวงปู่ขโมยอะไรเราไปบ้างหว่า... "

    แล้วท่านก็แหวกย่ามหลวงปู่ เอาซองหนาปึ๊กยัดเข้าไป ทรุดกายลงกราบที่ตักหลวงปู่คำแสนใหญ่ 1 ครั้ง


    " ขอบคุณหลวงปู่ที่เมตตามางานผม ยังไม่ได้คุยกันเลยจะกลับเสียแล้ว นี่ผมนอนไม่หลับเดินเรื่อยเปื่อยมาพบพอดี ปีหน้าเมตตามาใหม่นะขอรับ "


    ท่านผู้อ่านเอ๋ย... ภาพนั้น... หลวงปู่ยิ้มแบบเดิม พึมพำรับปากพ่อว่าจะมาอีกในปีหน้า พ่อหัวเราะเสียงดังตามแบบของพ่อ ดวงตาผู้เขียนพิมพ์ภาพนั้นไว้ แต่ใจคิดเตลิดไม่หยุด


    พ่อกูเอ๋ย... พ่อผู้รู้จบ... พ่อผู้ปิดบังตัวเองไว้ ลูกผู้ตาบอดใจจัญไร จนต้องให้พระคุณหลวงปู่คำแสนใหญ่มาชำระล้างให้มองเห็นพ่อชัดเจนเด่นกระจ่าง จนบัดนี้ ลูกเดินอย่างมั่นใจไปบนทาง... บนเส้นทางพระโยคาวจร ตามรอยเท้าพ่อไป.... จนตราบรอยเท้าสุดท้าย.
     
  14. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ข้อลอกข้อความจากพี่ตั้มนะครับมีประโยคมากเลย


    เรื่องที่จะนำมาถ่ายทอดต่อไปนี้ คัดลอกมาจากหนังสือ "เสียงจากถ้ำ (นารายณ์) ฉบับพิเศษ : บนเส้นทางพระโยคาวจร" เขียนโดย "สายฟ้า" [หลวงตาวัชรชัย เจ้าอาวาสวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)] ผู้ถ่ายทอดกราบขออนุญาตต่อหลวงตาวัชรชัย ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ และจะขอตัดตอนนำเฉพาะบางตอนที่กล่าวถึงหลวงพ่อฤๅษีลิงดำกับหลวงปู่คำแสนเล็ก โดยตรงมาถ่ายทอด ดังนี้


    แผ่นดินไทยเราเป็นแผ่นดินพระพุทธศาสนา ก่อตั้งมาด้วยทั้งความดีงามของพระธรรมและพระอริยสงฆ์ สมเด็จพ่อพระบรมศาสดา และด้วยชีวิตเลือดเนื้อความจงรักภักดีของเหล่าคนไทยตั้งแต่องค์พระประมุขลงมาถึงทหารกล้าประชาราษฎร์ทั้งปวง และแน่นอนที่สุด จะต้องมีผู้คนพวกหนึ่งที่ปักใจเวียนเกิดเวียนตายจงรักปกป้องบำรุงแผ่นดินอยู่ไม่ยอมห่างไม่ยอมทอดทิ้ง บางชาติก็เป็นนักรบของอาณาจักร บางชาติก็เป็นพระสงฆ์เนื้อนาบุญเกื้อกูลกำลังใจแก่ประชาชน ท่านเหล่านี้นอกจากพระคุณพ่อของพวกเราแล้วยังมี “หลวงปู่คำแสนเล็ก” และ “หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก” อีกสองท่านที่หลอมน้ำใจห่วงหวงแผ่นดินไทยคู่กับพ่อโดยตลอดมาจนตราบท้าวเข้าสู่พระนิพพานในชาติสุดท้ายของพระคุณท่านทั้งสามพี่น้องร่วมบุญบารมีนั้น


    จะขอกล่าวถึงหลวงปู่คำแสนเล็ก (สำนวนอย่างกับผู้ชนะสิบทิศ) เสียก่อน พระคุณเจ้าองค์นี้พ่อบอกว่าเป็นพี่ชายองค์หนึ่งของพ่อมาแทบทุกชาติ น้ำใจที่รักน้องนั้นมากมายขนาดยอมสละทุกสิ่งที่น้องต้องการได้ แม้สิ่งนั้นจะมีเศวตรฉัตรบัลลังก์เจ้าเหนือหัวคนทั้งแผ่นดินท่านก็ให้น้ององค์นี้ได้ ส่วนองค์ท่านเองนั้นชอบแต่ความสงบสันโดษมาโดยตลอด จนชาติปัจจุบันนี้บวชเรียนมาแต่เล็กจนได้พบพ่อเมื่ออายุ 80 แล้ว จึงมีจริยาที่สงบเย็นเมตตาการุณต่อพวกเราลึกซึ้งไม่มีประมาณ สมกับฉายาพระภิกษุของท่านที่ว่า “คุณาลังกาโร” เป็นที่สุด


    ผู้เขียนจำได้ว่าในปีแรกของงานฉลองวัด คือปี 18 นั้น หลวงปู่คำแสนเล็กพักอยู่กุฏิ 3 ที่จำได้เพราะอยู่ติดกับกุฏิหลวงปู่บุดดา ซึ่งอยู่กุฏิ 2 และเพราะอยู่ติดกันทำให้ศิษย์ติดตามองค์หลวงปู่บุดดาคนหนึ่งขึ้นไปหาหลวงปู่คำแสนเล็ก และเกิดเรื่องทั้งขำขันและชื่นใจในจริยาของหลวงปู่คำแสนไม่มีลืม เอาสักเรื่องก่อนดีไหม ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องลึกๆ ของพระคุณท่าน



    คือมันอย่างนี้..... ผู้เขียนน่ะได้ยินคำพ่อบอกเล่ามาก่อนว่า หลวงปู่คำแสนเล็กท่านมีจริยานุ่มนวลเยือกเย็น มีเมตตาปราณีให้อภัยไม่ว่าคนหรือสัตว์ ท่านไม่มีโทษภัยให้แก่ใครๆ ตลอดมา จึงดูเหมือนว่า จะเสียเปรียบเขามาทุกชาติ และก็ขี้อาย ขี้เกรงใจเอามากๆ ด้วย


    ผู้เขียนยิ่งเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อมีศิษย์ประจำตัวหลวงปู่บุดดาคนหนึ่งผลุนผลันขึ้นไปหาท่านถึงห้องนอนชั้นบน ผู้เขียนจะห้ามปรามก็ไม่ทันการณ์แล้ว เขาเข้ามากราบ ท่านก็ยิ้มสวยเชียว หน้ายังงี้ก็แววขำๆ จำยอมอยู่เป็นปกติ เขามาชวนท่านคุย ท่านก็พยักหน้า “เอ้อ....เอ้อ ๆ...” ฟังเขาพูด เขาถามท่านก็ตอบคำเดียวสั้นๆ ตอบไปยิ้มไป จนตาคนนั้นแหละเครื่องร้อนได้ที่ก็ได้เรื่อง แกก็นั่งขัดสมาธิปั๊บต่อหน้าหลวงปู่คำแสนนั่นแหละ ทำตาหลุบต่ำ หน้าเคร่งขรึม พูดออกมาว่า

    “ผมนี่ทรงพระพุทธเจ้าได้ หลวงปู่อยากพบพระพุทธเจ้าไหมครับ ?”

    หลวงปู่ก็ยิ้มตามกระแสน้ำเหมือนเดิม ตอบเขาไปว่า “ เอาก็เอา”

    “เอ้าพระพุทธเจ้ามาแล้วนะ....” เขาพูดเสียงดังก้อง.....ตัวสั่นไปถึงหน้าตัก... หน้าเบี้ยวเชียว หลวงปู่ก็ยิ้ม ยิ้มขำชัดเจนเลย ท่านคงจะสงสัยว่าพระพุทธเจ้าของเราทำไมหน้าไม่สวยกระมัง ตาคนนั้นก็รุกต่อ “เอ้า.... จะถามอะไรฉันไหม.....”

    ถึงตอนนี้ค่อยเข้าท่าหน่อย คือ ท่าทางน้ำเสียงเริ่มมีเค้าขึ้นหน่อย หลวงปู่เราก็....แหม.....เกิดไม่มีอะไรจะสงสัย ตอบเขาไปว่า “ไม่มี”

    “เอ้า.... ไม่มีผมจะกลับละนะ”

    หมดเค้าเลย.... อีตอนนี้พระพุทธเจ้าเกิดตรัสกับพระสาวกว่า “ผม” ขึ้นมาเสียได้

    “ก้อ..... กลับเถอะ...” เอ๊า.... หลวงปู่ก็ปล่อยให้ท่านกลับไปเสียง่ายๆ ยิ้มสวยส่งเสด็จอีกด้วย

    “ปั๊บ.... ปั๊บๆ ๆ ๆ.....” สั่น.... ล้มกระตุก 2 ที แล้วลุกขึ้นมาลืมตา ทำท่างงๆ พระพุทธเจ้าคงจะออกไปแล้วกระมัง เขากราบหลวงปู่ ท่านก็ยิ้มตามเดิม ตาคนนั้นก็ทำเก้อ หันมาดูหน้าผู้เขียนแล้วรีบลงจากกุฏิไป เพราะรับรองได้เลยว่าทั้งสีหน้าและสายตาผู้เขียนตอนนั้นจงใจบอกให้รู้ว่า หากแกขืนแสดงฤทธิ์ต่อไปอีกจะประเคนสมบัติส่วนตัวคือเท้า 2 ข้าง มืออีกต่างหากให้ ครั้นจะส่งตามหลังให้ไปเสียเลยตอนนั้นก็เกรงใจหลวงปู่คำแสน ก็เลยถามท่านว่า

    “เขาทรงจริงหรือครับ หลวงปู่”

    “ก้อ... จริงของเขา” ทั้งเสียงทั้งสีหน้าไม่มีอาการถือโทษหรือรำคาญอะไรให้เห็นเลย แถมหัวเราะสบายใจเสียอีกด้วย


    ท่านผู้อ่าน.... ที่เล่ามานี่จะเชิญท่านชมจริยาของพระอรหันต์องค์หนึ่ง ผู้ไม่เคยถือสาหาอารมณ์กับใครๆ แม้คนนั้นจะขาดมารยาท จะหยาบหยามต่อคุณพระรัตนตรัย และต่อองค์ท่านอยู่ชัดแจ้ง ถ้าเป็นผู้เขียนละก้อ..... จะขอออกฤทธิ์ซะให้ตกกะไดไปเลย ตามประสาผู้ที่ทรงพิโรธสมาบัติได้เป็นปกติวิสัย

    หลวงปู่คำแสนเล็กท่านฉันหมาก วิธีฉันน่ารัก มองไม่มีเบื่อ ......ทีนี้ท่านลองนึกดูว่า เมื่อมีพระอรหันต์อายุ 80 ปี แล้วน่ารักอย่างหลวงปู่คำแสนมานั่งเคี้ยวหมากเจริญศรัทธาที่งานวัดท่าซุง คนที่มุ่งมากราบท่านจะชื่นใจกันเพียงไหนหนอ เวลาคนมากราบมาถวายปัจจัยไทยทาน ท่านก็ค้อมกายก้มหน้าลงมานิดๆ ยิ้มรับ เอื้อนคำอวยพรเบาๆ เวลาคนมาถามปัญหาปรึกษาอารมณ์ ท่านก็ยิ้มเงยหน้าหน่อยๆ ตอบสั้นๆ แต่ว่าแทงใจดำตำใจแดงปลื้มกันได้ทุกคนทุกครั้งไป ท่านสงเคราะห์อย่างนี้ไปจนสิ้นวันงาน คือ 3 วันต่อกัน

    แถมเรื่องที่วัดท่าซุงอีกเรื่องหนึ่งก่อน หลวงปู่คำแสนนี่ผู้เขียนมั่นใจว่าทิพจักขุญาณของท่านนั้นสุดจะประมาณได้ ไม่ใช่ผู้เขียนรู้อารมณ์ใจท่านหรอก แต่ว่าโดนมาเองจะๆ แจ้งๆ คือคืนหนึ่ง ผู้เขียนและสหธรรมมิกผู้มีน้ำใจอันเดียวกันกลุ่มหนึ่งได้เข้าไปถวายสังฆทานหลวงปู่ที่ศาลารับแขกหน้ากุฏิ เผอิญว่ายังไม่มีท่านใดแปลกปนเข้าไปมากนัก ปกติพวกเราชอบเจริญมรณานุสสติ ตามพ่อบอกให้ทำ ทำได้ไม่ได้ก็ท่องบ่นไว้เสมอว่า

    “อนิจฺจา วต สงฺขารา ฯลฯ ...”

    ท่องไปพิจารณาความหมายตามกระแสธรรมไปด้วย คือชอบอย่างนี้เหมือนกันทุกคน พอถวายเสร็จหลวงปู่ก็ยิ้มเงยหน้าสง่าสวยเชียวล่ะ บอกเราว่า

    “เอ้า.... หลวงปู่จะให้พรเน้อ ตั้งใจรับพรกันเน้อ.....”

    พวกเราก็ยิ้มพริ้มหน้า สงบใจฟังท่านยะถา สัพพี เปล๊า..... แทนที่จะยะถาท่านกลับยิ้นแป้นเอ่ยพรว่า......

    “อนิจจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวย ธมฺมิโน อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชชนฺติ เตสงฺวูปสโม สุโข เน้อ.....”

    พวกเรานี่ฮือกันเลย บางคนก็โฮ หญิงก็มีกรี๊ดสุภาพๆ โธ่เอ๋ย... พระคุณของลูกหลานเอ๋ย ช่างแจ้งแทงตลอดเข้าไปในก้นบึ้งสันดานของลูกเชียวหนอ ตาที่มองหลวงปู่ยังงี้เหมือนจะกินหลวงปู่ กลืนเข้าไปเก็บไว้ไม่ให้กลับวัดดอยมูลเลยละ ท่านก็ยิ้มชอบใจ สายตาท่านก็ยิ้มได้พูดได้ เราผู้หยาบช้าก็ยังสามารถดูสายตาท่านออก มันเป็นภาษาบุญบารมีที่ท่านบอกว่า

    “ฉันรักพวกเธอ รักมาทุกชาติ รักและเลี้ยงดูมานานแสนนาน เธอรู้ไหม”


    โธ่.... รู้ซีครับ รู้ซีเจ้าคะ เจ้าประคุณของลูก น้ำตาอย่างงี้ไม่ยอมเช็ดกันเลย อยากให้มันออกมามากๆ ไหลให้นานแสนนาน นานสมกับความเกี่ยวเนื่องกันด้วยสายใยบารมีย้อนหลังนับชาติไม่ได้ แล้วท่านก็เอื้อนอธิบายอีกว่า


    “ เออ... เขาหมายความว่า สังขารร่างกายนี่มันไม่เที่ยงน้อ เกิดมาแล้วเลื่อนไหลไปหาความตายเป็นธรรมดาน้อ.... ลงได้เกิดมาแล้วก็ต้องตายไปเป็นธรรมดาของมัน การสงบไม่คบกายไปนิพพานเสียได้ นี่มันเป็นสุขจริงน้อ.....”


    บรรเลงเพลง “ลิงร้องไห้” กันทั้งวงเลยทีนี้.... คนที่มาสมทบทีหลังนี่ออกจะงงๆ มาตั้งแต่คำให้พรแล้ว พอมาเห็นพวกเราเป่าปีสีซอออเคสตร้า ผู้หญิงก็ร้องขับคลอไปว่า

    “ หลวงปู่เจ้าขา.... ฮือ....ฮือ....ฮื้อ..”

    เขาก็งงละล้าละลัง คงจะคิดว่าพวกคนไข้โรงพยาบาลศรีธัญญา (คนบ้า) หลุดมาถึงวัดท่าซุงตั้งกลุ่มเบ้อเริ่มเชียวหนอ....
    <!-- / message --><!-- sig -->

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  15. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    หลังจากงานวัดท่าซุงปีแรกคือปี 2518 แล้ว พวกเราก็ตามพ่อไปพบหลวงปู่คำแสนในที่อื่นๆ อยู่บ่อยครั้ง อย่างที่บ้านซอยสายลมละก้อ.... บ่อยที่สุด ! เพราะอะไรผู้เขียนบอกไม่ถูก ที่หลวงปู่สุปฏิปันโนทั้งหลายที่มางานวัดเราแล้ว จะต้องวนเวียนไปพบกันทั้งที่นัดหมายบ้าง ไม่ได้นัดหมายบ้างอยู่เป็นเรื่องปกติที่บ้านซอยสายลม แม้เวลาที่พ่อยังไม่ได้กำหนดไปซอยสายลมท่านก็มากัน มาเยี่ยมท่านเจ้าของบ้าน คือ ท่านเจ้ากรมเสริมและคุณอ๋อยภรรยา มากันทีละหลายองค์ คนที่รับมอบหมายให้จัดที่พักให้ท่านก็คือ..... ผู้เขียนคนหนึ่งละ ที่นอนของท่านก็คือพื้นที่ตรงที่พวกเรายืนเลือกหนังสือและบูชาเครื่องสังฆทานนั่นแหละ.... เอาผ้าม่านขึงราวเข้า กั้นเป็นห้องเป็นล็อคๆ บางคราวก็ย้ายไปทำ “ห้องพักเฉพาะกิจ” อย่างนั้นตรงบริเวณที่พ่อและหลวงพี่นันต์รับแขกปัจจุบันนี้แหละ (พ.ศ.2543)


    ทีนี้ก็มาถึงบทหลวงปู่คำแสนโคจรมาพักที่ซอยสายลม วันนั้นอัศจรรย์แฮะ.... มาตรงเป๊ะกับ “หลวงปู่ธรรมชัย” และ “หลวงปู่ครูบาชัยวงษ์” และที่สำคัญคือ “พ่อของเรา” ก็มาด้วย


    เอาละพอตกค่ำฉ่ำอารมณ์ก็จัดอาสนะเก้าอี้ตั้งเป็น 4 เส้า บริเวณท้ายห้องโถงปฏิบัติกรรมฐานนั่นแหละ สมัยโน้นยังยกพื้นไม้สูง ขัดมันเงาวับ ลองนึกภาพด้วยมโนมยิทธิตามไปดู ถ้าเดินเข้าประตูเลื่อน จากห้องสังฆทานเข้าห้องโถง ตรงมุมขวามือแรก คือ ที่นั่งหลวงปู่วงษ์ ซ้ายมือห่างมาสัก 2 วา พ่อเรานั่ง เว้น 2 ศอก อยู่กับหลวงปู่คำแสน


    เดินลงไปถึงมุมขวามือ ท้ายห้องโถงเป็นที่นั่งหลวงปู่ธรรมชัย แล้วพวกเราลูกหลานก็นั่งตรงกลางวงบ้าง รอบล้อมแน่นปึ้กออกไปอีกชั้นบ้าง แทบจะขี่คอกันเลยล่ะ


    ทีนี้องค์แสดงบทพระเอกวันนั้นเป็นหลวงปู่ธรรมชัย พ่อบอกให้รับสังฆทานแก้กรรมตามพิธีที่หลวงปู่ถนัดจัดเจน เรื่องของหลวงปู่ธรรมชัยนี่พวกเราก็ทราบกันว่า ท่านเป็นพระยอดกตัญญูรู้คุณคน ท่านก็ร่ายยาวบูชาคุณครูบาอาจารย์เสียงดังฟังชัด ครูท่านมาก ท่านก็ร่ายโองการตามพระนามที่ท่านเคารพ ร่ายไปสัก 10 นาที ยังไม่จบ ยังไม่ได้รับสังฆทาน ที่พูดนี่โปรดเข้าใจว่าผู้เขียนเคารพหลวงปู่ธรรมชัยไม่น้อยกว่าใครๆ แต่ที่เล่านี่ไม่ได้เจตนาปรามาส จะเล่าถึงเรื่องสนุกจริยาหลวงปู่แสนคำเล็กประกอบกัน



    หลวงปู่คำแสนทีแรกก็ฟังยิ้มเงยหน้าสวย สักครู่ก็หันไปทำหน้าดุๆ กับหลวงปู่ธรรมชัย พูดขัดจังหวะเลย

    “เอ๊อ.... เรื่องมาก.....ยังลำบากอีกนานเน้อ”



    หลวงปู่คำแสนชี้มือจิ้มไปที่หลวงปู่ธรรมชัย หลวงปู่ธรรมชัยก็ยิ้มน้อมรับ ปากก็ยังว่าต่อไป แล้วหลวงปู่คำแสนก็หันมาหัวเราะ จิ้มมือไปที่หลวงปู่ชัยวงษ์

    “นี่ก็อีกองค์ เหนื่อยอีกมากนักเน้อ.....”


    หลวงปู่ชัยวงษ์ก็ยิ้ม... ยิ้มอมแก้มตุ่ยน่ารักไปคนละแบบ แล้วหลวงปู่ก็นั่งยิ้มมาทางพ่อ พ่อกำลังเขียนอะไรขยุกขยิกใส่สมุดพกอยู่ เอ.... ทีนี้ไม่ยักกล้าว่าอะไรแฮะ... ยิ้มเฉยๆ ยิ้มชื่นชมเหมือนพี่มองน้องสุดรัก พี่หนุ่ยลูกสาวเจ้ากรมเสริมทนไม่ไหวถามพ่อเบาๆ ว่า

    “หลวงพ่อเขียนเลขหวยหรือเจ้าคะ”

    “หวยห่าอะไรล่ะ.... ข้ากำลังคิดหนี้ค่าลูกรัง ยังไม่ได้ให้เขา”



    ท่านผู้อ่านอย่าเข้าใจพี่หนุ่ยผิดไปนะจ๊ะ ที่บ้านสายลมนี้ นอกจากแม่อ๋อยผู้แม่แล้ว ก็มีพี่หนุ่ยผู้ลูกสาวนี่แหละที่พ่อชอบคุยด้วยเป็นที่สุด เพราะว่ามีปฏิภาณถามปัญหาเป็นเลิศ ถามให้พ่อคลายอารมณ์ได้ไม่มีใครเหมือน



    ดูเอาเถิดท่านเอ๋ย พระผู้เป็นดวงประทีปของพวกเราทั้งหลายนั้น ต่างองค์ก็ต่างมีหน้าที่กันคนละอย่าง จรรโลงงานพระศาสนากันคนละจุด อยู่กันคนละภูมิประเทศ ต่างมานั่งล้อมวงให้ลูกหลานชื่นชมสมปรารถนา..... และบัดนี้ดวงประทีปแก้วเหล่านั้นได้พากันดับวูบสิ้นแสงสังขาร... จากพวกเราไปเกือบหมดแล้วหนอ

    “อนิจฺจา วต สงฺขารา .....” คิดถึงคำให้พรของหลวงปู่คำแสนเสียจริงๆ....



    อีกวาระหนึ่งที่วัดวังมุย ลำพูนโน้น... พระคุณหลวงปู่ชุ่มเมตตาเข้านิโรธสมาบัติ นัดหมายให้พ่อนำลูกหลานไปบำเพ็ญกุศลเป็นพิเศษ.... ท่านเข้านิโรธ 7 วัน พอวันที่ 6 พวกเราก็เดินทางจากซอยสายลม มากมายล้นหลาม..... ไปถึงลำพูนฝนตกหนักต้องแวะพักที่วัดจามเทวีของพระคุณหลวงปู่บุญทึม....



    ทีนี้ ผู้เขียนก็ไปจัดผ้าไตรจีวรในพระอุโบสถวัดวังมุย โอ้โฮ... กองสูงเกือบครึ่งโบสถ์ ต่างคนต่างเอามาถวายพระออกจากนิโรธสมาบัติ ขณะนั้นหลวงปู่ชุ่ม... กำลังนั่งเสลี่ยงออกจากที่บำเพ็ญเพียร พ่อคอยหลวงปู่ชุ่มบนกุฏิ หลวงปู่คำแสนก็นั่งคอยอยู่ในโบสถ์องค์เดียว ตอนนั้นท่านแหงนหน้ามองฟ้าฉ่ำละอองฝน ยิ้มสงบสุข ยิ้มเย็นเหมือนละอองฝน ท่านพูดขึ้นว่า


    “เอ้อ... พระมหาวีระ (ชื่อพ่อไง ลืมกันไปหรือเปล่าก็ไม่รู้) นี่... บุญท่านมากล้นน้อ... ไปทางไหนมันแน่นหนาฝาคั่ง บนพื้นดินลูกศิษย์แน่นล้นหลาม บนฟ้าเทวดาพรหมก็ตามโมทนาแน่นฟ้าเต็มจักรวาลน้อ....”


    ผู้เขียนวางจีวรก้มกราบรับคำหลวงปู่ ใจที่มุ่งมั่นไปงานหลวงปู่ชุ่มออกจากนิโรธสมาบัติเคยชุ่มชื่นกระชับอารมณ์มาหลายวันแล้ว แต่บัดนี้นั่งมองหลวงปู่คำแสนรำพึงถึงพ่อ ใจเรามันคลาย มันเบา นึกอยู่ในใจว่า เออนี่.... กูจะเอาอย่างไรอีกหนอ มีพ่อผู้พรหมเทพตามโมทนาทุกสถานที่ที่ย่างบาทไป แม้พระอรหันต์ผู้เลิศอภิญญาผ่องใสก็ยังยอมรับนับถือ นี่กูมางานหลวงปู่ชุ่มหรืองานพ่อกันแน่หนอ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  16. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    มาถึงเรื่องสุดท้ายตอนที่หลวงปู่คำแสนมรณภาพแล้ว เรื่องนี้... ผู้เขียนไม่ได้เห็นเอง แต่ว่าพ่อเล่าให้ฟัง คือมีอยู่ครั้งหนึ่งพ่อออกจากซอยสายลมแล้วก็เลยไปฉันเพลที่บ้านศิษย์คนสำคัญท่านหนึ่ง มียศเป็นพลเอกทหารบก ขอไม่ออกชื่อเพราะเจ้าตัวอาจจะไม่อยากเปิดเผยก็ได้ คือพ่อถึงวัดก็เล่าให้ฟัง เอาเป็นคำพูดพ่อเลยดีกว่า

    “(เอ่ยชื่อพลเอก) เขานิมนต์ข้าไปฉันเพล นิมนต์หลวงปู่ธรรมชัยไปด้วย แหม... ฉันเสร็จ ยถาสัพพีไม่ทันหายเหนื่อยแกก็เล่าเลยเหมือนกันอั้นมานาน แกเล่าถึงหลวงปู่คำแสนเล็ก....”

    แล้วพ่อก็เล่าท้าวความว่า ท่านพลเอกเคยมาหาพ่อฝากตัวเป็นศิษย์ แต่พ่อทราบดีว่าเธอยังศรัทธาไม่เต็มใจ ตอนนั้นเธอยังไม่เชื่อว่าในโลกนี้จะยังมีพระอรหันต์หรือพระทรงอภิญญาเหลืออยู่ พ่อก็บอกว่า ฉันไม่รับเธอตอนนี้ ให้เธอไปตามหาพระที่ชื่อหลวงปู่คำแสนให้พบก่อนแล้วค่อยกลับมาหาฉัน (ตอนนั้น พ่อกับหลวงปู่คำแสนยังไม่ได้พบกัน) เธอก็ไปตามหาหลวงปู่จนพบ แล้วก็กลับมาหาพ่อฝึกมโนมยิทธิได้แจ่มใสเก่งมากเชียวละ อยู่มาจนได้ข่าวหลวงปู่คำแสนมรณภาพ วันนั้นแหละ เธอก็ตาลีตาลานนิมนต์พ่อกับหลวงปู่ธรรมชัยไปฉันเพลที่บ้านแล้วเล่าให้ฟัง ตามคำพ่อเล่าเป็นอย่างนี้.....

    “แกว่าแกรอให้หลวงปู่คำแสนตาย จึงจะเล่าให้ฟังว่า..... เมื่อไปหาหลวงปู่พบก็กราบ.... กราบ.... เงยหน้าขึ้นมาหลวงปู่ก็พูดแทงใจดำแกเลยถึงเรื่องที่แกสงสัยอยู่ พูดไปร่างหลวงปู่ก็ค่อยๆ... จางหายเป็นอากาศหายขึ้นมาจากเท้า เสียงก็พูดไป หายจนหมดถึงหัว หายตัวตลอดก็ยังได้ยินเสียงชัดเจน เอาล่ะสิ.... พ่อตัวดีก็ตกตะลึง แล้วหลวงปู่ก็คืนหัว เห็นถึงกลางตัว ค่อยๆ เห็นเต็มถึงเท้า ตลอดเวลาก็พูดไม่หยุด จนคืนเต็มร่างแล้วก็ชี้หน้าพ่อพลเอกตัวดี พูดชัดเจนกำชับ “นี่แกเอาเรื่องนี้ไปพูดไม่ได้นะ ถ้าเราไม่ตาย เอาไปพูดขอให้ตาแตก” (หรืออะไรทำนองนี้ คือแช่งกันให้กลัวนั่นแหละ)

    ทีนี้พอหลวงปู่ตายปั๊บ แกก็เลยนิมนต์ไปฟังแกเล่า เอาหลวงปู่ธรรมชัยไปเป็นพยานด้วย นี่มันต้องเจออย่างนี้จึงจะเอาพ่อคนนี้อยู่หมัดได้....”

    ท่านทั้งหลายเรื่องราวของพระ ลูกพระฟังชื่นใจ คนจะเชื่อกันได้ ก็ต้องเคยเกิด....ตาย บำเพ็ญบารมีร่วมกันมานับชาติไม่ถ้วน พระคุณเจ้าทั้งสามท่านนั้นบัดนี้ได้ละชาติขาดชีวิตจากเราไปแล้ว เหลือแต่ความทรงจำฉ่ำชื่นในเรื่องราวความดีและความเมตตาไม่มีประมาณของพระคุณท่านให้เราไว้เป็นอนุสสติ


    หากจะย้อนชาติถอยไกลออกไปอีกก็คงจะพบว่า ท่านและพวกเราเกี่ยวพันกันมาอย่างนี้โดยตลอด บางชาติก็เป็นกษัตริย์ บางชาติเป็นนักรบป้องกันแผ่นดินบำรุงพระพุทธศาสนามาทุกชาติ จนชาติสุดท้ายนี้ ชาติสุดท้ายของพวกเราก็พากันมาเป็นพระ เป็นลูกพระ เป็นทหารของพุทธจักรทุ่มเทกำลังทั้งสิ้นสุดตัวรบถอนรากถอนโคตรกองทัพกิเลส

    จนบัดนี้จอมทัพผู้เป็นพ่อ ผู้เป็นท่านลุงคำแสนได้ถึงหลักชัย... ไม่มีแพ้อีกต่อไปแล้ว.... ท่านทั้งสองได้เสวยวิมุติเศวตฉัตรในเมืองแก้วมหานฤพานเป็นบรมสุข.... เราผู้เป็นลูก.... มีสายเลือดเดียวกับท่าน... ถ้าไม่มุ่งพระนิพพาน จะไปที่ไหนได้.....

    เดินต่อไปเถิด.... เดี๋ยวก็ถึง

    ทนอีกหน่อยเถิด.... เดี๋ยวก็สบาย

    ตายเมื่อไร... เราก็ชนะแล้ว.
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <CENTER>[SIZE=+2]ท่านเคยมีชื่อว่า ... “ท่านทุกขิตะ หรือ ท่านทุกภิกขะ” .... หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร[/SIZE]</CENTER>หลวงปู่คำแสน เป็นพระอาจารย์องค์หนึ่งที่หลวงพ่อฤาษีฯท่านพาลูกหลานไปกราบ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระอริยเจ้านั้น ยังคงมีอยู่ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง กระผมจึงขอนำประวัติของท่าน มาเรียนเสนอแด่ท่านทั้งหลาย รวมทั้งข้อเขียนของท่าน พ.ต.ท. อรรณพ กอวัฒนา (ยศเมื่อปี ๒๕๓๔) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านหนึ่งของหลวงพ่อ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ครับ ...

    หลวงปู่คำแสน เกิดเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ปีมะเมีย เป็นบุตรของนายเป็ง นางจันทร์ตา เพ็งทัน อยู่บ้านสันโค้งใหม่ ต.ทรายมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ มีพี่น้องรวมกัน ๘ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๗ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี โดยมีพระอธิการ (ครูบา) โพธิ วัดสันโค้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ และต่อมาก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดดอนมูลนี้ เมื่อบวชได้ ๓ พรรษา ท่านก็ได้ไปศึกษาต่อกับพระอธิการ (ครูบา) แก้ว ชัยยะเสโน ที่วัดน้ำจำ โดยได้ศึกษาธรรม และเรียนกัมมัฏฐาน

    ก่อนหน้านั้นท่านได้ทราบข่าวจากชาวบ้าน ว่าทางราชการได้จับครูบาศรีวิชัย ยอดนักบุญแห่งลานนาไทย มากักขังไว้ที่วัดศรีดอนไชย เชียงใหม่ หลวงปู่ฯมีความเคารพ และเลื่อมใสในครูบาเจ้าฯเป็นอย่างยิ่ง ก็ให้รู้สึกเสียใจ และอยากจะไปกราบนมัสการให้กำลังใจท่าน ได้ชักชวนพระสงฆ์ และชาวบ้านให้พากันไปเยี่ยม แต่คนทั้งหลายกลัวจะถูกตำหนิ หรือถูกกลั่นแกล้งจากทางราชการ ในที่สุดก็เดินทางไปกับเณร และลูกศิษย์เพียง ๒-๓ คนเท่านั้น ได้เดินทางประมาณ ๑๕-๑๖ กิโลเมตรกว่าจะถึงวัดศรีดอนไชย เมื่อเข้าไปภายในพระวิหารนั้น เขาใช้เชือกมนิลาเส้นโต ผูกเสาวิหารไว้เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนคอกหมู ภายในคอกสี่เหลี่ยมนั้น มีพระสงฆ์รูปหนึ่งสูงอายุนั่งอยู่ด้วยอาการสงบ ในลักษณะขัดสมาธิ ห่มผ้าสีกลัก มีลูกประคำ เส้นโตๆคล้องคอ กำลังนับลูกประคำนั้นอยู่ จึงคลานเข้าไปกราบตรงหน้า

    ในขณะที่กราบลงไปนั้นก็เกิดอารมณ์อ่อนไหว จิตใจอ่อนแอจนร้องไห้ออกมาโฮใหญ่ ด้วยอารมณ์สงสารในครูบาศรีวิชัย ที่ต้องมาถูกจองจำ และจะถูกจับสึกที่กรุงเทพฯ เสียงร้องไห้สะอึกสะอื้นของพระคำแสนในขณะนั้น คงจะทำให้ท่านครูบาฯออกจากการปฏิบัติ เพราะได้เอื้อมมือมาตบที่ไหล่ พร้อมกับดุว่า ท่านเป็นพระจะร้องไห้ไม่ได้ พระเป็นผู้ตัดแล้วซึ่งกิเลส เมื่อเป็นเช่นนั้นต้องระงับอารมณ์ ไม่ให้มีการร้องไห้เด็ดขาด ขณะเดียวกันก็เริ่มสอนให้นั่งขัดสมาธิ เอามือประสานกันวางไว้บนตัก หลับตาพร้อมกับท่องคำ นโม ในใจ หลายสิบหลายร้อยจบให้ท่องไปเรื่อยๆ พระคำแสนก็ปฏิบัติตามคำสั่ง ท่องไปท่องมาไม่นานอาการ สะอื้น และน้ำตาก็หายไป ครูบาฯจึงสั่งให้ลืมตาขึ้น แล้วก็สอบถามว่าเป็นใครมาจากไหน

    พระคำแสนก้มลงกราบแทบเท้า และนมัสการว่า มาจากอำเภอ สันกำแพง ครูบาฯได้เทศน์อบรมเกี่ยวกับขันติให้พระคำแสนฟัง พร้อมกับแนะนำสั่งสอนให้ศึกษาวิปัสสนาธุระ โดยเริ่มต้นปฏิบัติดังที่ได้ทำมาแล้วเมื่อสักครู่ แล้วก็ให้นมัสการลา จึงนับว่าเป็นบทเรียนบทแรกในชีวิต เกี่ยวกับการศึกษาวิปัสสนา และท่านก็ดิ้นรนหาลู่ทางจะศึกษาในเรื่องนี้ จากทุกแห่งที่มีข่าวว่ามีอาจารย์สอน ต่อมาเมื่อท่านได้เรียนกัมมัฏฐานจากท่านครูบาแก้ว ชัยยะเสโน แล้วท่านก็ขอลาพระอาจารย์ ออกเดินธุดงค์จาริกไปในที่ต่างๆ เมื่อถึงคราวเข้าพรรษา ท่านจึงจะกลับมาอยู่ที่วัดดอนมูล

    พออายุได้ ๓๔ ปี ๑๓ พรรษา ท่านเจ้าอาวาสก็มรณภาพลง ทางคณะศรัทธาจึงได้นิมนต์หลวงปู่คำแสน เป็นเจ้าอาวาสแทนสืบต่อมา... จนท่านมีอายุได้ ๓๙ ปี ๑๘ พรรษา มีพระธุดงค์ชื่ออาจารย์แหวน สุจิณโณ เดินธุดงค์มาพักอยู่ที่อู่ทรายคำ ในเมืองเชียงใหม่ เมื่อหลวงปู่ทราบดังนั้น ท่านได้ให้โยมไปนิมนต์ พระอาจารย์แหวน ให้มาเผยแพร่ อบรมศรัทธาที่วัดดอนมูล ต่อมาท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้มาพำนักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง พระอาจารย์แหวน และหลวงปู่คำแสน ก็ได้ไปนมัสการ และได้ มอบกาย มอบจิตถวาย เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น แต่บัดนั้นมา ...

    ต่อมาท่านอาจารย์แหวน ท่านได้จาริกไปๆมาๆในเมืองเชียงใหม่ และไปจำพรรษา ที่วัดป่าห้วยน้ำริน อ.แม่แตง ส่วนหลวงปู่คำแสนหลังจากได้เรียนพระกัมมัฏฐาน จากท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ท่านก็ออกเดินธุดงค์ไปยังประเทศพม่า ย่างกุ้ง หงสาวดี แล้วเดินย้อนกลับ เดินธุดงค์ไปสู่ภาคอีสาน ไปอยู่กับท่านอาจารย์สิงห์ที่โคราช แล้วกลับขึ้นไปทางเหนืออีก ที่ใดเป็นที่วิเวกเป็นป่าเปลี่ยวท่านก็ได้พักภาวนา ตามอัธยาศัยของท่าน ระยะหลังๆท่านได้ ไปอยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับท่านอาจารย์แหวน ตามวัดป่าต่างๆ ๑ พรรษาบ้าง ๒ พรรษาบ้าง แม้เมื่อท่านอาจารย์แหวนย้ายไปจำพรรษา อยู่ที่วัดป่าดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ หลวงปู่ฯก็ไปมาคารวะท่านอาจารย์อยู่เสมอๆ (ท่านเป็นลูกศิษย์เพียงองค์เดียว ที่ท่านอาจารย์มั่นอนุญาตให้อยู่ในมหานิกายได้ ไม่ต้องญัตติใหม่เป็นธรรมยุติกนิกาย) ... หลวงปู่ได้มรณภาพ ในวันอาทิตย์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ อายุได้ ๘๖ ปี ๖๘ พรรษา ...

    กระผมขอจบเรื่องด้วยข้อเขียนของ ท่าน พ.ต.ท.อรรณพ กอวัฒนา ซึ่งเขียนถึงหลวงปู่ไว้ดังต่อไปนี้ครับ ...

    “หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร แห่งวัดป่าดอนมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ องค์นี้ภายหลังหลวงพ่อฯ ของเรา เปิดเผยว่า เคยเป็นพี่ชายของท่านมาหลายชาติแล้ว ท่านเป็นคนใจบุญ ได้ทรัพย์ได้สมบัติมาเท่าใด ก็ไม่สะสม เทออกทำบุญจนหมดสิ้น ทำบุญจนหมดตัวเหมือนกับ ท่านมหาทุกขตะ ยังไงยังงั้น แต่จริงๆแล้วสมัยเดิมโน้น... โน้น.. โน้น ท่านเคยมีชื่อว่า “ท่านทุกขิตะ หรือ ท่านทุกภิขะ” เพราะฉะนั้นเมื่อประสบพบกัน ทั้งสององค์ก็คุยกันกระหนุงกระหนิง แต่โน่นแน่ะเป็นเรื่องราวสมัย พระเจ้าพรหมมหาราช มีโต้มีเถียงกันกระจุ๋มกระจิ๋มบ้าง เรื่องยุทธการสมัยนั้น (แล้วพวกผมจะไปรู้เรื่องเรอะ) ตอนที่กำลังคุยรู้เรื่องกันเพียง ๒ องค์ ต่างองค์ก็แสดงทัศนะ ในเรื่องรายละเอียดของมหายุทธวิธีในยุคที่ว่านั้น หลวงปู่ว่าถ้าหลวงพ่อเชื่อท่าน ทำตามที่ท่านคิด เหตุการณ์จะเป็นอย่างนี้ หลวงพ่อฯ ก็ว่าท่านมีเหตุผลที่ดีกว่านั้น ถึงอย่างไรก็ต้องเป็นไปอย่างโน้น เฮ้อ ดีครับดี รู้เรื่องกันเพียง ๒ องค์ ตาเถรเณรยายชีไม่มีใครรู้เรื่อง

    บางตอนหลวงพ่อฯท่านก็หันมาถาม ท่าน พล.อ.ท. ม.ร.ว. เสริม ศุขสวัสดิ์ ที่พวกเรามักจะเรียกท่านว่า ท่านเจ้ากรมเสริมฯ หรือลุงเสริมฯนั่นแหละ (ท่านที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน จะไม่มีวันทราบเลยว่าท่านเป็น นายทหารใหญ่ครองยศถึง พลอากาศโท และเป็นเชื้อพระวงศ์ ถึง หม่อมราชวงศ์ เพราะท่านวางตัวเป็นกันเอง มีเมตตาต่อพวกเราทุกคนเหมือนลูกเหมือนหลาน ไม่ถือเนื้อถือตัว ให้เกียรติ และยกย่องผู้อื่น ยิ่งท่านทำตัวเป็นกันเองกับพวกเราเท่าใด พวกเราก็ยิ่งให้ความเคารพท่านมากขึ้นเท่านั้น และยิ่งท่านทำตัวเล็กลงเท่าใด ก็ดูเหมือนตัวท่านจะยิ่งโตใหญ่ขึ้นๆ เป็นทวีคูณ ท่านผู้นี้หลวงพ่อฯว่าเป็นเพื่อนเคียงบ่าเคียงไหล่กับท่าน มาทุกยุคทุกสมัย)

    สมัยนั้นหลวงปู่ฯ ท่านกำลังหนีคนไปสร้างวัดใหม่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากวัดเดิม ซึ่งเริ่มไม่สงบ ท่านเรียกว่า “วัดป่าดอนมูล” ผมเคยท้วงติง โดยถามท่านว่าด้านหลังวัดอยู่ติดลำห้วย มีป่าโปร่งๆอยู่นิดหน่อยกระหรอมกระแหรม ไหงหลวงปู่ตั้งชื่อเสียน่ากลัวว่าวัดป่า ท่านว่าป่าที่เอาเป็นชื่อวัดนั้น ไม่ได้หมายความตามอย่างที่ผมเข้าใจ ท่านหมายถึงป่าช้าต่างหาก เพราะเดิมที่ตรงนั้นเป็นป่าช้า ไอ๊หยา ! เป็นอันว่าที่ท่านตั้งชื่อว่า “ป่า” ไม่ใช่เพื่อเพิ่มความขลังให้กับสถานที่ แต่เพราะเดิมมันเป็นป่าช้า ได้ตัดคำว่า “ช้า” ออกไปเพราะเกรงว่ามันจะน่ากลัวเกินไปต่างหาก พอรู้แล้วผมก็หมดกังขาว่าเวลาวิกาล หลวงปู่ฯจะต้องได้ความสงบวิเวกอย่างเต็มที่ เพราะท่านเข้าไปจำวัดอยู่ในป่าช้า คงไม่มีใครกล้าเข้าไปรบกวนหรอกครับ บรื๊อ... !

    และแล้ววันหนึ่ง กรรมของผมก็มาถึง จำไม่ได้ว่าหลวงพ่อฯใช้ให้ไปหาเรื่องอะไร ก็ไปกันหลายคนกับรุ่นน้องๆนี่ละครับ สมัยนั้นกำลังหนุ่มแน่น (ผมน่ะหนุ่มใหญ่ แต่น้องๆ เพิ่งจะสอนขัน แต่เพราะเพิ่งจะสอนขันก็เลยอยากจะขันบ่อยๆ) ดังนั้นแทนที่พวกเราจะรีบไปทำธุระให้หลวงพ่อ เจ้าลิงพวกนี้ก็เลยแวะโน่นแวะนี่ (ไม่เห็นเจ้าเห็นหลังคาบ้านเจ้าก็ชื่นใจแท้) เที่ยวกันจนดึกดื่น พอเลี้ยวควับเข้าไปที่วัดนอก(วัดดอนมูล) กะนอนที่วัดนอก ตาย.. แล้ว หลวงพี่ที่เราคุ้นเคยก็ไม่อยู่ หลวงปู่ก็ไปจำวัดอยู่ที่วัดป่า (ก็ที่ป่าช้านั่นแหละคุณ) ใครจะกล้าตามเข้าไปหือ ทั้งเปลี่ยวทั้งน่ากลัวหนทางก็รกชัฏไม่มีบ้านคน หาข่าวได้มาเพิ่มเติมอีกว่า รุ่งขึ้นแต่เช้าหลวงปู่ก็จะไม่อยู่จะเข้ากรุงเทพฯ แต่เช้ามืดทำอย่างไงดี เอาละวาสู้ตาย มากันหลายคนนี่หว่าจะไปกลัวอะไร เอ็ม ๑๖ ในรถก็มีหลายกระบอก ผมเป็นหัวหน้ารับผิดชอบอยู่แล้ว ใครๆก็เชื่อมือหลับกรนครอกๆกันทุกคน (ก็คงจะเพลียนั่นแหละ) ผมก็เลี้ยวซ้ายขวาด้วยความชำนาญ ในใจนึกดูหมิ่นว่าป่าขนาดแค่นี้จะมีอะไร ไม่พอมือพอขี้ยา ป่าดงดิบแถมยังเต็มไปด้วยกับระเบิด พ่อยังฝ่ามาเสียหลายสมรภูมิ ป่าใกล้ๆแค่นี้ไม่พอมือพอตีนลูกช้างหรอก (ขี้โม้ประจำเลยผมนี่)

    ผมขับอยู่นาน เอ๊ะ ! ไหงมันนานนักไม่ถึงเสียที มันน่าจะถึงตั้งนานแล้วนี่นา ??? ง่วงก็ง่วง รำคาญเสียงกรนก็รำคาญเพราะก็อยากจะนอนเต็มแก่เหมือนกัน แต่เอ๊ะๆ นั่นรอยรถบนถนนข้างหน้าทำไมมันถึงได้เหมือนกับล้อรถเราจัง จอดลงไปดูซะหน่อย ฮี่ธ่อก็จะไม่เหมือนได้ไง๊ ก็มันคือรอยล้อรถของเราเองไม่ใช่ของใครอื่น ตาย.. หลงว่ะ หลงทาง รู้ไปถึงไหนอายตาย... ดีแล้วที่พวกน้องๆ มันยังหลับไม่รู้ว่าเราพาหลงทาง จอดรถข้างทางคว้าไฟฉายลงไปดูลู่ทาง มองไปแต่ไกลเห็นหลอดไฟแดงๆ สูงระดับยอดตาลอยู่ 2 หลอดไม่ไกลนัก เออค่อยยังชั่วน่าจะเป็นอะไรๆ สักอย่างที่มนุษย์ทำขึ้น เพื่อล่อแมงดาหรือไล่ค้างคาวหรือนกกลางคืนอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไปที่ตรงนั้นก็คงจะได้พบคนจะได้ถามทาง กลับมาขึ้นรถอีกคราวนี้ไม่ไปตามทางแล้ว สังเกตเอาทิศจับเอาทางที่เห็นหลอดไฟแดงแล้วมุ่งตรงเข้าไปหา พอเข้าไปใกล้ เอ้า! ไฟหายไปอีกแล้ว ลงจากรถอีก ไฟฉายท่านก็ไม่เป็นใจเหลือไฟอยู่ริบหรี่ นี่ขนาดเป็นไฟฉายในรถของท่านนายพลเอกในอนาคตนะ (รถขอยืมไปจากท่าน พล.อ. ชวาล กาญจนกูล สมัยนั้นท่านยังเป็น พ.อ.) เดินย่องเข้าไปสำรวจเห็นลำตาลคู่ทะมึนอยู่ตรงหน้า คะเนว่าต้องเป็นเสาที่เขาแขวนหลอดสีแดงที่เห็นมาก่อนนั้น เดินเข้าไปจนห่างซักประมาณ 5 วา เอาไฟฉายส่องดู ใจหายแว้บ!!! ไอ้เวร... ไม่ใช่ลำตาลนี่หว่า ดูๆ มันคล้ายกับหน้าแข้งคน ถอยห่างมาอีก 5 ก้าว กลั้นใจส่องไฟฉายไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ โอ๊ย... กูว่าแล้ว เปรตโว้ยเปรต ยืนทะมึนนัยน์ตาแดงโร่คร่อมทางอยู่ตรงหน้า โกยแน่บกลับมาที่รถแหกปากร้องเรียกน้องๆ ให้ตื่น เปรตมันจะมาเหยียบกบาลพวกมึงแล้วไม่รู้หรือ ชุลมุนกันไปหมด พอมีสตินึกขึ้นมาได้ยกสองมือประนมขอให้พระช่วย แล้วตัดสินใจหันหัวรถเอาไฟรถส่องดู อ้าว... หายไปแล้ว เอ๊ะ! แล้วไอ้ตรงที่เห็นว่าเป็นขาของมันยืนคร่อมอยู่นั้น แต่ถัดออกไปหน่อยคือประตูเข้าวัดป่านั่นเอง รอดตายแล้วกู กระทืบคันเร่งเลี้ยวควั๊บเข้าไปเลย จอดลงตรงหน้ากุฏิ หลวงปู่ยืนยิ้มเผล่รอรับอยู่ที่ระเบียง ไอ้ทะโมนทั้งสี่ตัวเผ่นผลุงเข้าไปในกุฏิ จับกลุ่มนั่งกอดเข่าตัวสั่นงก ไม่พูดไม่จา กว่าจะตั้งสติพอมีสตังค์ได้ จึงหันไปกราบหลวงปู่ฯ ท่านทำหน้าตายถามว่าไปทำอะไรมา หนาวเหรอ ธ่อ... หลวงปู่ฯ นะหลวงปู่ฯ แกล้งทำเป็นมาถาม ไม่เห็นเร๊อะขี้อยู่บนหัวขมองกันทุกคน คราวนี้ต่างคนก็ต่างอ้อนซิ คนโน้นก็เห็นคนนั้นก็เห็น กูเห็นมึงเห็น เห็นกันทุกคน ชิงกันเล่าน้ำไหลไฟแลบ หลวงปู่ก็เอาแต่หัวเราะหึๆ ไล่ให้พากันไปอาบน้ำ แต่แหมทีนี้หยุดเล่าเงียบกริ๊บ อิดๆ เอื้อนๆ กลัวหนาวกันไปหมดไม่มีใครยอมไปอาบน้ำ (กลัวหนาวนะครับ ไม่ใช่กลัวผี) แถมเมื่อไม่ยอมอาบน้ำอ้างว่าหนาวและง่วงนอน แต่เมื่อจะนอน หลวงปู่ฯยังต้องยอมตกลงให้ไอ้พวกลิงทะโมนนอนเบียดสุมหัวกันในกุฏิหลวงปู่ฯ ทุกคน ภายหลังหลวงปู่ฯท่านก็เล่าให้หายสงสัยว่า ที่เห็นนั้นน่ะไม่ใช่เปรต แต่เป็นยักษ์ที่เขารักษาสถานที่วัดป่าอยู่ เอาเถิดครับหลวงปู่ฯ ไม่ว่าจะเป็นเปรตหรือไม่เปรต ยักษ์หรือไม่ยักษ์ พวกผมก็ไม่อยากได้ไม่อยากเห็นทั้งสองอย่างนั่นแหละครับ โปรดเรียกให้เขาไปอยู่ที่อันควรส่วนของเขาเถิด

    ในส่วนลึกของใจผมนั้น ผมคิดเอาเองนะครับว่าหลวงปู่ฯ จะต้องมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นเป็นใจอย่างแน่นอน บางทีอาจจะเป็น “ตัวการ” ทีเดียวแหละที่ส่ง “คุณตาแดง” ตนนั้นออกไปดัดสันดานพวกผม ที่อยากเอาแต่เที่ยวเอาแต่เถลไถล จนเกือบจะเสียงานของหลวงพ่อฯ เป็นแน่

    เรื่องที่พวกเราเห็นนี้ หลวงปู่ฯ ท่านเตือนผมหลายครั้งหลายหน ห้ามไม่ให้เล่าให้ใครฟัง ท่านว่าเขาไม่เชื่อเราเขาจะหาว่าเราบ้า แต่ผมก็อดไม่ได้แอบเล่าให้พวกกันจริงๆ ฟังไปหลายคน โดยได้พยายามเลือกคนที่จะฟัง เลือกแล้วเลือกอีก กลัวเขาจะหาว่าบ้านะซิครับ!!! (แค่ไม่ได้เล่าเรื่องนี้ พวกเขาก็ว่าอย่างงั้นอยู่แล้ว ก็ว่าบ้าน่ะซีครับ ถามได้) ” …

    ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ตลอดจนพระบารมีของครูบาอาจารย์ที่เคารพทุกๆท่าน โปรดคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลาย ให้ประสบแต่ความสุขสวัสดี มีจิตอันเข้มแข็งในการปฏิบัติ เพื่อก้าวสู่แดนแห่งความบริสุทธิ์ คือ พระนิพพาน ด้วยกันทุกท่าน ... เทอญ
     
  18. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    หนังสือทางเข้าสู่นิพพานของหลวงพ่อฤาษีลิงดํา

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>การทรงอารมณ์เพื่อเข้าถึงพระโสดาบัน</TD></TR><TR><TD align=left> การทรงอารมณ์เพื่อเข้าถึงพระโสดาบัน

    สำหรับโอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทได้สมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปนี้ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจสงบอารมณ์ให้เป็นสมาธิคือ ในอันดับแรก ขณะที่รับฟังเสียง ตั้งใจฟังเสียงให้รู้เรื่องทุกถ้อยคำ
    การตั้งใจฟังเสียงทุกถ้อยคำแสดงว่าจิตทรงสมาธิ เพราะว่า สมาธิแปลว่าตั้งใจไว้ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะ เวลาที่เราตั้งใจฟังเสียง ถ้าหูได้ยินเสียง จิตรู้เรื่องตาม ก็ชื่อว่าอารมณ์เป็นสมาธิ ถ้าหากว่าท่านใช้ปัญญาพิจารณาไปตามกระแสเสียงด้วยหรือตามถ้อยคำ และเนื้อความที่กล่าว ก็ชื่อว่าเป็นการใช้ปัญญาในด้านวิปัสสนาญาณ นี่มีความสำคัญ
    หลังจากพูดจบแล้วขอบรรดาท่านพุทธบริษัทพยายามทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิ โดยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก หายใจยาวหรือสั้น หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายในออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ อย่างนี้ จัดว่ามีอารมณ์เป็นสมาธิ ถ้าจะใช้คำภาวนาก็ให้ใช้ว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึก พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ อย่างนี้เป็นอารมณ์สมาธิ ขณะใดการรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก รู้คำภาวนา นั่นเป็นสมาธิ
    สมาธิจัดไว้หลายระดับคือ ขณิกสมาธิ เรียกว่า สมาธิเล็กน้อย อุปจารสมาธิ สมาธิใกล้เข้าถึงปฐมฌาน แล้วขึ้นไปเป็น ฌาน คือ ฌานที่ 1 ฌานที่ 2 ฌานที่ 3 และฌานที่ 4 และอารมณ์ที่เป็นสมาธิจะอยู่ในระดับใดก็ตามก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของความดี เพราะจิตเราตั้งอยู่ในกุศล
    อีกประการหนึ่ง ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนพยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ใน พรหมวิหาร 4 เป็นปกติ คือว่าเราจะมีความรักในคนอื่นและสัตว์อื่นนอกจากตัวเรา เสมอด้วยตัวเรา เราจะมีความสงสารเกื้อกูลเขาให้เป็นสุขตามกำลังที่เราพึงจะทำได้ เราไม่มีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เห็นใครได้ดีพลอยยินดีตาม ถ้าสิ่งใดเป็นเหตุเกินวิสัยด้วยอำนาจกฎของกรรมหรือกฎของธรรมดาเกิดขึ้น เราจะไม่มีความหวั่นไหวในจิต นี่อารมณ์อย่างนี้ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททรงไว้ได้ ก็จัดว่าเป็นศูนย์กำลังใจที่มีความสำคัญที่สุดอันจะพึงก้าวเข้าไปสู่ความดี
    ถ้าหากว่าบรรดาจิตใจของบรรดาท่าพุทธบริษัทมีคติตรงกันข้าม คิดเห็นว่าคนอื่นเป็นศัตรูสำหรับเรา มีอารมณ์ปรารถนาในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น ด้วยการเสียดสีด้วยวาจาบ้าง แสดงอาการทางกายบ้างอย่างนี้เป็นต้น และมีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่นเมื่อเห็นเขาได้ดี อดทนอยู่ไม่ไหว เห็นคนอื่นได้ดี หาทางกลั่นแกล้ง กล่าววาจาเสียดสีกระทบกระแทกให้เกิดความช้ำใจ อาการตรงกันข้ามกับพรหมวิหาร 4 แบบนี้เป็นปัจจัยให้ท่านทั้งหลายลงอเวจีมหานรกเป็นอารมณ์ชั่ว ถ้าอารมณ์ชั่วที่มันจับอยู่ในใจตลอดเวลามันก็เป็นอาจิณกรรม กรรมนั้นบันดาลให้เราลงอเวจีมหานรก
    ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงเว้นเสีย ถ้าจิตเราทรงพรหมวิหาร 4 ได้ตลอดกาลก็ชื่อว่าเราสามารถ คุมศีล ของเราให้ปกติอยู่ได้ตลอด สามารถ คุมสมาธิ ให้ทรงตัว คือ จิตน้อมอยู่ในเกณฑ์ของกุศลตลอดเวลา และ คุมวิปัสสนา และเมื่อจิตเราเยือกเย็นมีแต่ความรัก ความสงสาร ปรารถนาในการเกื้อกูล มีจิตอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาใคร มีการวางเฉยไม่หวั่นไหวในเมื่อกฎของกรรมเกิดขึ้น อารมณ์จิตของเราก็มีความเย็น อารมณ์จิตมีความสุข เมื่อจิตมีความเยือกเย็น จิตมีความสุข อารมณ์สบายก็เกิดขึ้น เมื่ออารมณ์สบายเกิดขึ้นศีลมันก็ไม่ขาด สมาธิก็ทรงตัว ปัญญาก็แจ่มใส สามารถพิจารณาได้ตามเหตุตามผลที่สมควร คนที่ทรงอารมณ์อย่างนี้ได้เป็นปกติ บุคคลประเภทนั้นจะเป็นผู้ทรงฌาน ก็ไม่ยาก เพราะ จิตมีความดีอยู่ในด้านกุศลทรงอยู่ มันเป็นฌานอยู่แล้ว จะบังคับจิตให้ทรงฌานขนาดไหนก็ได้ ตามอัธยาศัย แล้วก็ใช้เวลาไม่นานยิ่งไปกว่านั้นถ้าเรามีความปรารถนาจะเป็นพระอริยเจ้าก็เป็นไม่ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระโสดาบัน เป็นอันดับต้น
    นี่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนมาตั้งใจทำความดี ก็จงอย่าคิดว่าเราจะสร้างความดีกันแค่ความดีสามัญ หรือที่เรียกกันว่าทำเป็นแค่อุปนิสัย อันนี้ไม่สมควร มันจะเป็นการขาดทุนเกินไปในการที่บำเพ็ญความดี อารมณ์ของเราก็ควรจะคิดว่า อย่างเลวที่สุดเราจะต้องตั้งอยู่ใน พระโสดาบัน เป็นอย่างต่ำ เพราะว่าพระโสดาบันแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ
    1. เอกพีชี มีอารมณ์เคร่งเครียด เป็นพระโสดาบันละเอียด
    2. โกลังโกละ เป็นพระโสดาบันอย่างกลาง
    3. สัตตักขัตตุง เป็นพระโสดาบันอย่างหยาบ
    อย่างเลวที่สุด เราควรจะคิดว่าภายใน 3 เดือน ใน 6 เดือน หรือว่า 1 ปี เราจะทรงอารมณ์ความเป็นพระโสดาบันไว้ให้ได้ นี่ควรจะตั้งใจอย่างนี้ เพราะการเจริญพระกรรมฐานเราทำเพื่อความดี อย่าคบกิเลส อย่าทำใจให้เป็นทาสของกิเลส นี่การปฏิบัติเข้าถึงพระโสดาบันเบื้องต่ำที่เรียกกันว่า สัตตักขัตตุง อันนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า มีสมาธิพอสมควร คือ มีสมาธิเล็กน้อย แล้วก็มีปัญญาพิจารณาวิปัสสนาญาณเล็กน้อย ก็สามารถเป็นพระโสดาบันได้
    ความจริงพระโสดาบันไม่ใช่ของสูง เป็นของธรรมดาที่เรียกกันว่า ชาวบ้านชั้นดี ถ้าพระอริยะเบื้องสูงซึ่งกล่าวว่าพระโสดาบัน คือ ธรรมะที่จะทำให้คนเป็นพระโสดาบันเหมือนกับของเด็กเล่น คือ เป็นของทำง่าย ๆ มีพรหมวิหาร 4 ประจำใจ เราก็เป็นพระโสดาบันได้แบบสบาย ถ้าเรามีความฉลาด แต่ถ้าหากว่าเราโง่ ปล่อยให้จิตเป็นทาสของกิเลส ยังมีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น อยากจะพิฆาตเข่นฆ่าทำลายบุคคลอื่น ให้มีความทุกข์ ขาดความเมตตาปรานี มีอารมณ์อิจฉามีอารมณ์หวั่นไหวในกฎของกรรมอันเป็นสิ่งธรรมดา อันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างนี้จะป่วยการกล่าวไปใยถึงพระโสดาบัน แม้แต่เราจะเป็นคนก็ยังเป็นไม่ได้เพราะวิสัยเป็นจิตของอบายภูมิ คือ เป็นนิสัยของสัตว์นรก เป็นวิสัยของเปรต เป็นวิสัยของอสุรกาย เป็นวิสัยของสัตว์เดรัจฉาน ฉะนั้นอารมณ์ประเภทนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จงเว้นเสีย ทรงพรหมวิหาร 4 ให้เป็นปกติ
    นี่เรามาพูดกันถึงการเป็นพระโสดาบัน ต่อนี้ไปเราก็จะใช้วิธีอธิบายให้ละเอียดสักหน่อย เพราะการเป็นพระโสดาบันที่บอกว่าไม่ยาก ในอันดับแรก ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทมีอารมณ์จิตคิดไว้เสมอว่า เราจะไม่สนใจกับจริยาของบุคคลอื่น โดยจะไม่ไปก้าวก่ายกับจริยาของใคร ไม่เข้าไปอิจฉาริษยาบุคคลอื่น ว่าบุคคลนี้กินมากเกินไป นอนมากเกินไป หลงในลาภสักการะเกินไป บำเพ็ญเพียรดีเกินไป อย่างนี้เป็นต้น ถือว่าเรื่องนั้นมันเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา ถ้าจิตเราไปยุ่งกับเขาแสดงว่าเรานิยมอบายภูมิ อย่างนี้ไม่ต้องมีใครแช่ง ไปเองแบบสบาย จะบวชพระสักกี่โกฎิปีมันก็ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าจิตมันเลว สภาวะของเพศเป็นพระ แต่จิตเป็นจิตของอบายภูมิ จะสร้างความดีแบบไหน มันก็ดีไม่ได้ คนที่มีจิตเลว นี่เป็นอันว่าเราจะพยายามควบคุมจิตของเราไม่ให้ไปยุ่งกับจริยาของบุคคลอื่น แค่ความจริงเรื่องนี้ เราได้ยินกันอยู่ทุกวัน แต่ความเลวของพวกเราน่ะเปลื้องกันได้หรือเปล่า
    ในประการต่อไปเราตั้งใจไว้เสมอว่า จะทรงศีลให้บริสุทธิ์ โดยไม่ทำลายศีลเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว และเราจะมีจิตยอมรับนับถือความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความดีของพระธรรม ความดีของพระสงฆ์ และมีจิตตรงเฉพาะพระนิพพาน คือ การกระทำกิจทุกอย่างไม่ว่าอะไรทั้งหมด จะให้ทานแก่สัตว์ ชี้ทางให้แก่บุคคลผู้หลงทาง แนะนำบุคคลผู้มีความโง่ ถวายทานแก่พระสงฆ์ บูชาพระรัตนตรัย นึกถึงความดีของบิดามารดา ครูบาอาจารย์เป็นต้น เราทำอย่างนี้ทุกอย่างเราไม่หวังผลในการตอบแทนในปัจจุบัน เรามีความต้องการอย่างเดียวคือ สร้างความดีเพื่อสู่พระนิพพาน อารมณ์ที่กล่าวมานี้เป็นอารมณ์ของ โสดาบันสัตตักขัตตุง คำว่า สัตตักขัตตุง ก็หมายความว่า เราเกิดเป็นมนุษย์อีก 7 ชาติ ก็จบกิจเป็นพระอรหันต์ได้ ถ้าหากท่านทั้งหลายจะถามว่า เอาสมาธิจิตมาจากไหน ก็จะต้องตอบว่า ถ้าหากท่านทั้งหลายคิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงพระธรรม คิดถึงพระอริยสงฆ์ ว่าท่านทั้งหลายทั้ง 3 ประการนี้มีความดีหาประมาณมิได้ เราขอยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้า โดยจะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกอย่าง และจะเว้นถ้อยคำห้ามปรามที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้ปฏิบัติ แล้วเราก็ยอมรับนับถือพระอริยสงฆ์สาวกว่าท่านมีควาดีตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน แล้วท่านปฏิบัติตาม เป็นความดีที่ท่านทรงความบริสุทธิ์ มีจิตเป็นสุข มีอารมณ์เป็นสุขอย่างนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านเชื่อพระพุทธเจ้า ไม่ฝ่าฝืนข้อห้าม และก็พยายามปฏิบัติความดีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคิดอย่างนี้ไว้เป็นปกติ ถึงแม้ว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคิดอย่างนี้ไว้เป็นปกติ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ท่านจะไม่ภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้มีสมาธิใน พุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐาน เพราะจิตเราทรงตรงอยู่ในความดี ยอมรับนับถือความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี่เป็นองค์สมาธิที่มีความสำคัญ
    แค่ที่เรานั่งภาวนาเพื่อให้จิตสงบเฉพาะเวลา แต่พอลืมตาขึ้นมาก็ปล่อยอารมณ์ลอยไปในสถานที่ต่าง ๆ เป็นปัจจัยของความชั่ว คือ ไม่ยอมเคารพในศีล ไม่ยอมเคารพในธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำ การหลับตาสักแสนปีหรือโกฎิชาติก็ไม่มีประโยชน์ใด ๆ มันมีอยู่อย่างเดียวคือ อารมณ์ทรงความดี
    ทีนี้ในเมื่อยอมรับนับถือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นปกติ เมื่อเรายอมรับนับถือท่านเราก็ต้องทรงศีล 5 ในศีลของตนเองบริสุทธิ์ พระมีศีล 227 บริสุทธิ์ เณร มีศีล 10 บริสุทธิ์ ฆราวาสมีศีล 5 บริสุทธิ์ นี่เราว่ากันขั้นพระโสดาบัน สำหรับศีล 8 นั้นเป็นขั้นของพระอนาคามี ในเมื่อเรามีศีลบริสุทธิ์ ศีลน่ะมันบริสุทธิ์ยากถ้าอารมณ์ใจเราต่ำ ถ้ามีอารมณ์เลว ศีลจะบริสุทธิ์ได้ต้องมีอารมณ์เยือกเย็น คือ มีอารมณ์เป็นน้ำ ไม่ใช่มีอารมณ์เป็นไฟ ทั้งนี้เพราะว่าต้องมีใจประกอบไปด้วยความรัก เห็นคนและสัตว์เป็นที่รักของเราทั้งหมด จิตต้องประกอบไปด้วยความกรุณา ความสงสาร เห็นคนและสัตว์เราเห็นว่าเป็นคนที่เห็นว่าเราควรจะสงเคราะห์ทั้งหมด ตามกำลังที่เราจะพึงทำได้ อารมณ์จิตเราจะอ่อนโยน ไม่หวั่นไหวไปในความชั่ว พลอยยินดีเมื่อบุคคลอื่นได้ดี ไม่อิจฉาริษยาบุคคลอื่น อารมณ์อิจฉาริษยาน่ะ มันเป็นอารมณ์ของสัตว์นรก มันมีแต่ความเร่าร้อน อารมณ์ที่ไม่มีจิตอิจฉาริษยาใครเป็นอารมณ์เยือกเย็น เป็นอารมณ์ของสวรรค์ เป็นอารมณ์ของพรหม เป็นอารมณ์ของนิพพาน แล้วเราก็มีอุเบกขา หมายความว่ารู้ว่าสิ่งใดที่มันเป็นธรรมดา เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
    ทีนี้ถ้าพรหมวิหาร 4 มีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นหาความเลวไม่ได้ มีแต่ความดี การที่จะคิดฆ่าสัตว์ตัดชีวิตก็ไม่มีในใจ เพราะเรามีความรัก ความสงสาร การจะลักจะขโมยเขามันก็ไม่มี วาจาหยาบคายก็ไม่มี วาจาส่อเสียดยุยงส่งเสริม อารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่นก็ไม่มี แล้วก็วาจาเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์ก็ไม่มี นี่เป็นอันว่าการทรงพรหมวิหาร 4 ทำตนให้เป็นพระโสดาบันได้ง่าย และก็แถมใจอีกนิดหนึ่งว่าเราต้องการพระนิพพาน ทีนี้การที่เราคิดอยู่ว่าเราจะทรงศีล 5 ให้บริสุทธิ์ คือ ทรงศีลประจำเพศให้บริสุทธิ์ อันนี้เป็น สีลานุสสติกรรมฐาน ถ้าเราทรงอารมณ์ไว้ได้ ชื่อว่าเรามีฌานในสีลานุสสติกรรมฐาน ถ้านึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่เป็นประจำ ก็ชื่อว่าเรามีฌานอยู่ในอนุสติ 3 ทีนี้ถ้าหากว่าเราตั้งใจอยู่ในพรหมวิหาร 4 ประการเป็นปกติ ก็ชื่อว่าเรามีฌานในพรหมวิหาร 4 จิตน้อมไปถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าเรามีฌานใน อุปสมานุสสติกรรมฐาน
    เป็นอันว่าอารมณ์แห่งการถึงพระโสดาบันขั้นต้นมีเพียงเท่านี้ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านจงเข้าใจว่าการเป็นพระโสดาบันเป็นของไม่ยาก คนดีเป็นง่าย คนเลวเป็นยาก เพราะหากว่าคนเลวมีสันดานอบายภูมิติดมา ก็ย่อมไม่เห็นคุณค่าของความเป็นพระโสดาบัน โดยการปฏิบัติความดีเพียงแค่เล็กน้อย
    ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    หนังสือทางเข้าสู่นิพพานหลวงพ่อฤาษีลิงดํา

    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height="100%" cellSpacing=3 cellPadding=3 width=250 border=0><TBODY><TR><!-- BEGIN DYN: tdcol --><TD vAlign=top bgColor=#f6f6f6></TD><!-- END DYN: tdcol --></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top>
    <CENTER><TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>สังโยชน์ของพระโสดาบัน</TD></TR><TR><TD align=left> สังโยชน์ของพระโสดาบัน
    สำหรับโอกาสนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อนี้ไปตั้งใจสดับคำแนะนำในการปฏิบัติพระกรรมฐาน
    สำหรับคำแนะนำวันนี้จะขอตัดตอนต้นไป เพราะเป็นการซ้ำกันบ่อย ๆ ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้น เป็นการเดินทางเข้าสู่สายพระนิพพานโดยตรง การปฏิบัติตนให้สู่พระนิพพานนี่อาจจะต้องพูดกันหลายวันหน่อย เพราะว่าเพื่อความเข้าใจของนักปฏิบัติ วันนี้จะยกเรื่องสมาธิทิ้งไป และก็จะไม่ปรารภจริตใด ๆ ทั้งหมด เพราะการเดินทางสายเข้าสู่พระนิพพานต้องเป็นคนมีอารมณ์จิตเข้มแข็ง จะไม่ยอมก้มศีรษะให้แก่กรรมทุกอย่าง มิฉะนั้นแล้วท่านทั้งหลายก็จะเป็นเหยื่อของนรก เรื่องที่พูดกันถึงพระนิพพานก็ไม่ต้องพูดกัน เราจงรู้ตัวของเรา
    ทีนี้ตามพระบาลีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสถึงความเป็นพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคา อรหันต์ ตรัสเป็นเขตไว้ ขอบรรดาท่านทั้งหลายจำไว้แล้วก็นำไปประพฤติปฏิบัติ เพราะเป็นจุดหมายปลายทางและเป็นหนทางที่ตรงอย่างยิ่ง จะได้ไม่เอนไม่เอียง ไม่มีความสงสัย การที่อวดตัวว่ารู้มากตำราไม่มีความหมาย ความสำคัญมีอยู่อย่างเดียว คือ ทำจิตให้หมดจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานนี้เป็นความต้องการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็เป็นความต้องการของผมด้วย ขอได้โปรดจำกันไว้ให้ดีว่า ผมต้องการคนที่มีความปรารถนาในการตัดกิเลสและก็พยายามตัดกิเลส ไม่ใช่เพาะกิเลส
    มีเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงกฎแห่งการที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงการเป็นพระอริยเจ้าที่เคยปรากฏอยู่เสมอว่า บรรดาพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาที่บวชเข้ามาแล้วต้องมีสิกขา 3 ประการ คือ
    1. อธิศีลสิกขา ปฏิบัติศีลอย่างยิ่ง คำว่า อย่างยิ่ง ก็หมายความว่า เคร่งครัด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด มีศีลจับใจเป็นอารมณ์ สิ่งใดที่ขัดต่อศีลเราไม่ทำ และสิ่งใดที่ขัดต่อความดีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัส เราไม่ทำ
    2. อธิจิตสิกขา พยายามเร่งรัดอารมณ์สมาธิให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์สูงสุดจริง ๆ คือ ฌาน 4
    3. อธิปัญญาสิกขา มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง มีปัญญาสามารถจะรู้กำหนดการตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานเบื้องสูง
    สิกขา 3 ประการนี่ที่ว่าเราจะต้องปฏิบัติกัน เพราะว่า ภิกขุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร สมณะ แปลว่า สงบ หรือผู้มีบาปอันลอยแล้ว นึกดูน้ำใจของเรา ว่า น้ำใจของเราน่ะมันเลวหรือว่ามันดี อัตตนา โจทยัตตานัง พระพุทธเจ้ากล่าวว่า จงเตือนตนไว้เสมอ ไม่ใช่ไปนั่งเตือนคนอื่น คือ ไปนั่งค่อนขอด ค่อนแคะประณามบุคคลอื่น ถ้าเราไปนั่งค่อนขอด ค่อนแคะประณามบุคคลอื่น นั่นแสดงว่าเราเลวเกินไปที่จะเป็นมนุษย์ได้ เป็นวิสัยของสัตว์ในอบายภูมิ นี่เป็นเรื่องสำคัญ เตือนตนไว้เสมอ
    สำหรับอธิศีลสิกขา พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นวิสัยของพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี จำให้ดีนะ
    อธิจิตสิกขา เป็นวิสัยของพระอนาคามี
    อธิปัญญาสิกขา เป็นวิสัยของพระอรหัตผล
    เป็นอันว่าถ้าเราพิจารณาตามพระพุทธฎีกาข้อนี้ จะเห็นว่าการปฏิบัติตนตรงต่อความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของไม่ยาก ไม่ยากเพราะอะไร เพราะว่าเรารู้อยู่ว่าสำหรับพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีไม่มีอะไรมาก คือ เป็นผู้ปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัดนั่นเอง
    ทีนี้เราก็หันไปดูองค์ของพระโสดาบัน หรือว่าไปดูสังโยชน์ของพระโสดาบัน เอาสังโยชน์ก่อน สังโยชน์ที่เราจะละเข้าถึงพระโสดาบัน นั่นก็คือ 1. สักกายทิฏฐิ พิจารณาว่า อัตตภาพร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา สำหรับสักกายทิฏฐิข้อนี้เราตัดกันแต่เพียงเบา ๆ เท่านั้น คำว่าตัดเพียงเบา ๆ ก็หมายความว่ามีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย เราไม่ประมาทในชีวิต คิดไว้เสมอว่าความตายอาจจะมีแก่เราได้ทุกขณะ ไม่ใช่ว่าวันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ คิดถึงความตายไว้เป็นปกติว่า เราอาจจะต้องตายเดี๋ยวนี้ เมื่อเราคิดว่าเราจะตายเดี๋ยวนี้ เราก็ต้องรวบรวมกำลังใจสร้างความดี เพื่อว่าเมื่อตายแล้วจะได้ไม่ไปตกอยู่ในอบายภูมิ นี่สำหรับสักกายทิฏฐิข้อต้น
    พระโสดาบันถ้าจะว่าตัดก็ยังไม่ถึง เรียกว่า ขัดสีฉวีวรรณสักกายทิฏฐิให้มันผ่องใสขึ้นเท่านั้น เพราะว่าอารมณ์เดิมของเรามันเต็มไปด้วยความโง่ เห็นชาวบ้านเขาตาย รู้ แต่ว่าไม่เคยคิดเลยว่าตัวจะตาย หาความรู้สึกว่าตัวจะตายไม่ได้ มีความประมาทสร้างความชั่วเป็นปกติ นี่อารมณ์เดิมของเรามันเลวแบบนี้ ทีนี้พอมาถึงมีจิตหวังตั้งใจจะปฏิบัติให้เป็นพระอริยเจ้า ก็ต้องนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ถ้าไม่นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ความประมาทมันก็มีอยู่ เมื่อความประมาทมีอยู่ ตายแล้วก็ต้องไปตกอบายภูมิแน่
    เมื่อเรานึกถึงความตายแล้ว เราก็คิดว่าถ้าเราตายแล้วคราวนี้เราจะไปไหน ถ้าเราคิดว่าเราจะเกิดเป็นคนใหม่มันก็เลวเต็มที ถ้าเป็นพ่อค้าก็ถือว่าขาดทุน ทั้งนี้เพราะอะไร เราลงทุน 100 บาท ค้าขายอยู่ 9 ปี 10 ปี ก็มีทุนอยู่แค่ 100 บาท ถ้าอย่างนั้นเราไม่ทำเลยดีกว่า เป็นอันว่าเราก็ตั้งใจว่าอย่างเลวที่สุด เราจะเป็นผู้เข้าถึงกระแสของพระนิพพาน คือ เป็นพระโสดาบันเป็นอันดับน้อยที่สุด เลวที่สุด อย่าลืมนะ เราต้องถือว่าการทำจิตให้เข้าถึงพระโสดาบันนี่เป็นความเลวที่สุด คือ ได้ดีน้อยที่สุดที่เราต้องการจะพึงถึง
    แต่ทว่าการเข้าถึงพระโสดาบันนี่ถือว่าเข้าถึงกระแสพระนิพพานเป็นระยะการที่เราจะก้าวเข้าไปสู่พระนิพพานโดยไม่ถอยหลัง คือ ไม่กลับถอยหลังกลับมา เพราะ พระนิพพานเบื้องต้นเราจะเกิดระหว่างเทวดากับมนุษย์ หรือ ระหว่างเทวดากับพรหม มาเกิดอย่างละ 7 ชาติ พอเป็นมนุษย์ชาติที่ 7 เราก็เป็นอรหันต์ ถ้าเป็น โกลังโกละ มีความเคร่งเครียด คือ ว่ารวบรัดอารมณ์จิต ดึงอารมณ์จิตไว้มั่นคงกว่า สัตตักขัตตุง อันนี้เราก็มีจังหวะเกิดมาเป็นมนุษย์กับเทวดาสลับกันอีก 3 ชาติ เราก็เป็นอรหันต์ ถ้ามีอารมณ์เคร่งครัด เรียกว่ามีอารมณ์จิตมั่นคงอย่างยิ่งในองค์พระโสดาบัน เราตายจากคนไปเป็นเทวดาหรือพรหม พ้นจากนั้นมาเป็นมนุษย์อีกหนึ่งชาติ เราก็เป็นพระอรหันต์ นี่เป็นอันว่าอาการของพระโสดาบันมี 3 อย่าง มี 3 ระดับ
    ทีนี้ คนที่เป็นพระโสดาบันจริง ๆ เราเอาอะไรเป็นเครื่องกำหนด
    อันดับแรก เราก็ต้องรู้องค์ของพระโสดาบัน ทีนี้พูดถึงสังโยชน์ยังไม่จบ อันดับแรกเรานึกถึงสังโยชน์ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อารมณ์ที่เกาะขันธ์ 5 คือ เกาะกาย คราวนี้เราไม่เกาะละ ปล่อยน้อย ๆ คิดว่าร่างกายนี้จะต้องตายแน่ เราควบคุมมันไม่ได้แน่นอน แม้แต่องค์สมเด็จพระชินวรเป็นพระพุทธเจ้าก็ยังไม่สามารถจะควบคุมร่างกายไม่ให้ตายได้ มันตายแน่ เราไม่ยอมเกาะมันเกินไป แต่มันยังเกาะอยู่นะพระโสดาบันเกาะกายเหมือนกันแต่ไม่หลงคิดว่ามันจะไม่ตาย คิดว่ามันจะตายไว้เสมอ
    ทีนี้สังโยชน์ที่สอง ท่านบอกว่า วิจิกิจฉา เราใช้ปัญญาพิจารณาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะในเรื่องของ ศีล ว่าเราพอจะเชื่อได้ไหมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
    สีเลนะ สุคติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข
    สีเลนะ โภคะสัมปะทา ศีลเป็นปัจจัยให้ทรัพย์สินเยือกเย็น
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน
    ใช้ปัญญาพิจารณาศีล 5 ประการ ว่าเราต้องการให้บุคคลทั้งหลายมีศีลเพื่อเรา แล้วเราล่ะ เป็นผู้มีศีลเพื่อบุคคลอื่นไหม คำว่าเราต้องการให้คนอื่นมีศีลเพื่อเรา ก็ หมายความว่า เราไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าเรา มาทำร้ายเรา มาลักทรัพย์สินของเรา แย่งคนรักของเรา มาโกหกมดเท็จ พูดเสียดสี พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์ และเป็นคนไร้สติสัมปชัญญะ อันนี้เราไม่ต้องการ
    ในเมื่อเราไม่ต้องการเราก็ใช้ปัญญาสิ อย่าทำเป็นควาย ๆ คิดว่าเราไม่ต้องการอย่างนี้ แล้วคนอื่นเขาต้องการอย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความสำคัญที่สุด ถ้าพูดคำหยาบ โกหกมดเท็จ เสียดสี ทำลายกำลังใจของบุคคลอื่น พูดเพ้อเจอเหลวไหล เป็นอาการเสียดแทงใจของบุคคลอื่น ทำลายความดีของบุคคลอื่นที่มีอารมณ์จิตยังไม่มั่นคงนัก อาการอย่างนี้เกิดขึ้น ใครเลว เราผู้พูดนั่นละเลวที่สุด เพราะอะไรจึงเลว เพราะไม่ควบคุมวาจาไว้ให้ดี
    ทีนี้ทางกายล่ะ ถ้าหากว่าวาจามันไม่ดี กายไม่ดี ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตลักขโมยของเขา ยื้อแย่งความรัก ถ้าเราเลวอย่างนี้ คนอื่นเขาไม่ต้องการ เราไปทำเข้า ก็จัดว่าเราเลวเกินกว่าที่เขาจะคิดว่าเราเป็นคน นี่มันเลวเกินไป
    สำหรับการไร้สติสัมปชัญญะเป็นของดีไหมการดื่มสุราเมรัยเป็นปัจจัยให้ไร้สติสัมปชัญญะ มันก็ไม่ดี คนไม่มีสติสัมปชัญญะนี่สัตว์เลี้ยงมีค่ามากกว่า เพราะยังไง ๆ มันก็เป็นสัตว์
    รวมความว่า คนที่มีกายชั่ว มีวาจาชั่ว มีสติชั่ว อย่างนี้มีค่าไม่เท่าสัตว์เลี้ยง เพราะอะไร เพราะสัตว์เลี้ยงมันเป็นสัตว์ มันอยู่ในอบายภูมิ มันไม่มีอารมณ์พิเศษ มันยังต้องโทษอยู่ แต่เราเป็นคนรู้ดีรู้ชั่ว รู้ตัวว่าถ้าใครทำความดีความชอบ ใครพูดดีเราชอบ แต่ว่าเรากลับทำชั่วเพื่อเขา เราพูดชั่วเพื่อเขา อย่างนี้มีค่าไม่เท่าสัตว์เลี้ยง หรือจะกล่าวไปอีกทีก็มีค่าตัวไม่เท่ากับสัตว์ทั่วไปในโลกเลวกว่าสัตว์ เพราะอะไร เพราะว่าสัตว์ตายแล้วเกิดเป็นสัตว์ใหม่หรือมิฉะนั้นก็เกิดเป็นคน มิฉะนั้นก็เกิดเป็นเทวดา แต่คนที่มีกายชั่ว วาจาชั่ว มีอคติชั่ว ตายแล้วลงนรก ถ้าชั่วมากลงอเวจีมหานรก
    นี่เราลองเทียบกันว่าคนประเภทนั้นกับสัตว์เดรัจฉานน่ะใครจะดีกว่ากัน เป็นอันว่าคนประเภทนั้นมีความดีไม่เท่าสัตว์เดรัจฉาน ใครต้องการบ้าง ถ้าต้องการก็อยู่ที่นี่ไม่ได้ เพราะที่นี่ไม่ต้องการคนที่เกิดเป็นคนแล้ว แต่ว่าทำตนเพื่อความเป็นสัตว์และเลวยิ่งกว่าสัตว์ เป็นอันว่า เราต้องประณามตัวแบบนี้ อัตตนา โจทยัตตานัง พระพุทธเจ้าทรงเตือน และสำนักนี้พูดเสมอว่าจงเตือนตนรู้ตนอยู่เสมอ ระเบียบมี วินัยมี สำนักนี้ถ้าเลวแล้วละก็ไม่ควรจะไปอยู่ที่ไหนเลย ถ้าฟังภาษาคนไม่รู้เรื่องละก็จงอย่าไปอยู่ที่ไหนเลย ถ้าที่ดีไม่มีใครเขาคบ เขาฟังธรรมะกันวันละ 4 เวลา แต่ว่าถ้ายังเลวอยู่ แสดงว่าสัตว์เดรัจฉานดีกว่าเราเยอะ นี่เราต้องประณามตัวแบบนี้ เราอย่าไปนั่งมองคนอื่นเขา มองตัวเรา นี่เตือนกันทุกเย็น ใครมีความรู้สึกตัวบ้างไหมว่าเราเลว ถ้าเลวแล้วไม่เห็นว่าเลว ก็แสดงว่าเรารวมอยู่กับ พระเทวทัต ได้แน่นอน นี่เราต้องประนามตัวเราแบบนี้
    คนดีน่ะเขาไม่ยกย่องตัวเอง คนดีเขาจะประณามตัวเอง เพราะว่า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงพยายามประณามตนไว้เสมอ โจทก็กล่าวโทษ มองหาความผิดของตัวไว้เป็นปกติ อย่าไปหาความดี ในเมื่อมันหาความผิดไม่ได้ละมันก็ดีเอง ถ้าไม่มีชั่วละมันดี
    สังโยชน์ที่เราจะพึงตัด
    1. ไม่อาลัยในชีวิตมากเกินไป รู้ว่าเราจะต้องตาย
    2. ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า
    3. รักษาศีลบริสุทธิ์
    นี่เราจะเห็นว่าพระโสดาบันนี่มีเท่านี้
    อันนี้เราก็หันไปอีกทีถึงองค์ เมื่อกี้เป็นสังโยชน์ บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอารมณ์อย่างนี้
    1. เคารพในพระพุทธเจ้า
    2. เคารพในพระธรรม
    3. เคารพในพระสงฆ์ แล้วก็
    4. มีศีลห้าบริสุทธิ์สำหรับฆราวาส สำหรับพระมีศีล 227 บริสุทธิ์ สำหรับเณรมีศีล 10 บริสุทธิ์ ถึงพระสกิทาคามีก็เหมือนกันมีเท่านี้
    ตอนนี้สมมุติว่าคนที่เขาไม่เคยเจริญพระกรรมฐาน แต่ชอบสวดมนต์เป็นปกติ มีศีล 5 บริสุทธิ์ จะถามว่าคนประเภทนี้เป็นพระโสดาบันได้ไหม ก็ต้องตอบว่าได้ คนที่เขานั่งสวดมนต์เป็นปกติ เขาสวดด้วยความเคารพพระพุทธเจ้า เคารพพระธรรมในพระอริยสงฆ์ เพราะบทสวดมนต์ทุกบทมีค่าเท่ากัน คือ สรรเสริญความดีของพระพุทธเจ้า สรรเสริญความดีของพระธรรม สรรเสริญความดีของพระอริยสงฆ์ แล้วเขาก็มีศีลบริสุทธิ์ แต่ตอนนี้ต้องระวังนิดหนึ่ง ถ้าเรามีจิตเบาเพียงเท่านี้อาจจะยังไม่ได้พระโสดาบัน อาจจะเรียกว่า กัลยาณชน
    ทีนี้ ถ้าบุคคลผู้นั้นเขามีกำลังใจเพิ่มไปอีกนิดหนึ่งว่า ที่เรายอมเคารพในพระพุทธเจ้า ยอมเคารพในพระธรรม ยอมเคารพในพระสงฆ์ มีศีล 5 บริสุทธิ์อย่างนี้ เรามีความประสงค์อย่างเดียว คือ พระนิพพาน ถ้าอารมณ์ใจเขาหยั่งถึงพระนิพพานอย่างนี้เป็นพระโสดาบันแน่ นี่อารมณ์พระโสดาบันมีเท่านี้ พระสกิทาคามีก็เหมือนกัน แล้วก็อย่าลืมอีกนิดหนึ่งว่า ทำไมพระโสดาบันยังรักเขาอยู่ล่ะ ยังอยากแต่งงาน ยังอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง นี่ก็ต้องย้ำลงไปอีกนิดว่า ดูองค์ของพระโสดาบันว่ามีอะไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อธิศีลสิกขา คือ มีศีลยิ่งเท่านั้นเอง พระโสดาบันกับสกิทาคามีความสำคัญอยู่ที่ศีล เขาอยากรวยเขาก็ไม่โกงใคร เขารักเขาก็อยู่ในขอบเขตของศีล เขาโกรธเขาไม่ฆ่าใคร เขาหลงรัก หลงสวย หลงงาม เขาก็ไม่ลืมความตาย นี่จะไว้ว่านี่เป็นองค์พระโสดาบัน แล้วการปฏิบัติเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์เบื้องต้น องค์สมเด็จพระทศพลกล่าวว่าเต็มไปด้วย อธิศีลสิกขา
    สำหรับในการพูดในวันนี้ก็ขอยุติไว้เพราะหมดเวลา
    ต่อจากนี้ไปขอท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height="100%" cellSpacing=3 cellPadding=3 width=250 border=0><TBODY><TR><!-- BEGIN DYN: tdcol --><TD vAlign=top bgColor=#f6f6f6></TD><!-- END DYN: tdcol --></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top>
    <CENTER><TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>อารมณ์ของพระโสดาบัน</TD></TR><TR><TD align=left> อารมณ์ของพระโสดาบัน
    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปนี้ ขอให้รวบรวมกำลังใจให้อยู่ในเขตของกุศล คือ อันดับแรกตั้งใจฟังเสียง ขณะที่ได้ยินเสียงชัดรู้เรื่องทุกอย่างทุกถ้อยคำ อย่างนี้ชื่อว่า จิตเป็น สมาธิ เพราะคำว่าสมาธิแปลว่า ตั้งใจไว้เฉพาะเหตุใดเหตุหนึ่ง นี่เราตั้งใจฟังเสียง เมื่อฟังแล้วก็คิดตามเป็นตัว ปัญญา
    วันนี้พูดต่อถึงทางสายเข้าสู่พระนิพพาน เมื่อวานนี้ได้กล่าวไว้แล้วตามพระพุทธพจน์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า อธิศีลสิกขา เป็นกำลังของพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี อธิจิตสิกขา เป็นกำลังของพระอนาคามี อธิปัญญาสิกขา เป็นกำลังของพระอรหัตผล นี่ถ้าเราเข้าใจรวบรัดในการปฏิบัติพระกรรมฐาน เราก็จะมีกำลังใจเข้าถึงมรรคผลได้โดยง่าย แต่ทั้งนี้ก็ต้องเว้นไว้แต่ว่าเว้นจาก ปลิโพธิ และ ติรัจฉานกถา
    จงจำไว้ว่าอารมณ์ใดที่ประกอบไปด้วยความรัก ประกอบไปด้วยความโลภ ประกอบไปด้วยความโกรธ ประกอบไปด้วยความหลง อันนั้นพระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็น อารมณ์ของ ติรัจฉาน คำว่า ติรัจฉาน ก็หมายความว่า ไปขวาง เดรัจฉานนี่เขาแปลว่าไปขวาง ๆ คือ มันขวางจากทางดี มันไม่ตรงดี เพราะว่าอาการอย่างนั้นเป็นอาการของเดรัจฉาน ใจคิดเป็นใจเดรัจฉาน วาจากล่าวติรัจฉานกถาเป็นวาจาของเดรัจฉาน อาการทำเป็นอาการของเดรัจฉาน ใช้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์
    ฉะนั้นอาการของเดรัจฉานทั้งหมด อันพึงจะเกิดทางจิตก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี จงอย่ามีในสำนักของเรา จงระมัดระวัง กำลังใจเป็นสำคัญ อย่าเอาอารมณ์ของเดรัจฉานเข้ามาใช้ในจิตและจงอย่าไปเพ่งเล็งบุคคลอื่น จงอย่าสนใจกับอารมณ์ของคนอื่น จงอย่าสนใจกับจริยาของบุคคลอื่น ให้พยายามปรับปรุงใจตนเองเป็นสำคัญ และให้ทรงพรหมวิหาร 4 มีอิทธิบาท 4 ฟังแล้วก็ต้องจำ จำแล้วก็ต้องประพฤติปฏิบัติ จงจำไว้ ถ้าจำไม่ได้ก็จงรู้ตัวว่าเลวเกินไป คนเลวเขาไม่เรียกว่า คน เขาเรียกว่า สัตว์ในอบายภูมิ
    ต่อไปนี้ให้ทุกคนควบคุมตัวเองเป็นสำคัญ อย่าเข้าไปยุ่งกับบุคคลอื่น ทุกคนที่เข้ามาในสำนักควรจะปฏิบัติอยู่ในความดี และ ควบคุมตัวเองเป็นสำคัญ อย่าทำจิตเสีย อย่าทำวาจาเสีย อย่าทำใจเสีย ถ้าอยากจะเสียไปเสียที่อื่น อย่ามาเสียที่นี่ เพราะอะไร
    เพราะว่าเราสอนเพื่อความอยู่เป็นสุข เราปฏิบัติกันเพื่อความอยู่เป็นสุข ความเป็นสุขเกิดจากอะไร
    หนึ่ง อธิศีลสิกขา มีศีลเป็นปกติ คนที่เขามีศีลน่ะ เขาไม่สร้างความยุ่งให้เกิดกับบุคคลอื่น เพราะว่าเขามองหาความเลวของตัวเป็นสำคัญ ถ้าจิตของเราดีละก็มันก็ไม่ยุ่ง กายก็ดี วาจาก็ดี ถ้าจิตของเราเลว วาจาก็เลว กายก็เลว ทุกคนจงสำนึกตัวไว้ อย่าให้มีอะไรเกิดขึ้น เป็นการผิดระเบียบตามพระพุทธศาสนาและตามระเบียบวินัยแล้วเราก้ควบคุมศีล
    ศีลของเรามีเท่าไรปฏิบัติให้ครบ ทำไว้ให้มันครบ ธรรมะมีเท่าไรที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน มีเท่าไรปฏิบัติให้ครบ อารมณ์สมถะมี 40 ปฏิบัติให้มันครบองค์ วิปัสสนาญาณมีเท่าไรปฏิบัติให้ครบ ถ้าพยายามคิดประพฤติปฏิบัติอยู่อย่างนี้ มันก็ไม่มีเวลาที่จะไปยุ่งกับบุคคลอื่น ถ้าเราดีเสียแล้วก็ไม่สร้างความยุ่งยากความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่น
    อาการที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่นก็ชื่อว่าไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง คนอื่นเขามีอารมณ์เป็นสุขเราก็มีอารมณ์เป็นสุข ถ้าเราทำคนอื่นเขาให้มีความเร่าร้อน เราก็ได้รับอารมณ์เร่าร้อนเช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ปูชโก ละภะเต ปูชัง วันทโก ปฏิวันทะนัง ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ ผู้ไหว้ย่อมได้ไหว้ตอบ ถ้าเรามีพรหมวิหาร 4 เสียอย่างเดียว มันจะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นความเร่าร้อนมันก็ไม่เกิดขึ้น
    ขอทุกท่านพยายามควบคุมกำลังใจ ประพฤติปฏิบัติให้ถูกแบบ เพราะสถานที่นี้เป็นพุทธเขต คือ เป็นเขตของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าย่อมไม่เลี้ยงคนชั่ว พระพุทธเจ้าทรงยกย่องแต่คนดี นิคคหะ ปัคคหะ เป็นจริยาของพระพุทธเจ้า ใครดีก็ยกย่องสรรเสริญ ความดีเป็นส่วนของความดี ใครผิดพระพุทธเจ้าลงโทษ อย่าเอาความดีเข้ามาบวก ถือว่าทำความดีแล้วทำความชั่วไม่มีโทษอันนี้ไม่ได้ มันคนละเรื่อง นี่เป็นการควบคุมกำลังใจของเราให้เข้าถึงพระโสดาปัตติผล
    อารมณ์แห่งพระโสดาปัตติผลนี่ความจริงมันเป็นหญ้าปากคอกแล้วพูดกันง่าย ๆ ก็เป็นของเด็กเล่นสำหรับผู้ใหญ่ เราบวชกันเข้ามาแล้ว เวลานานพอสมควรทำไมไม่รักษาอารมณ์นี้ให้ได้ นี่พูดสำหรับคนชั่ว สำหรับที่ท่านมีอารมณ์ดีก็มีมาก ที่รู้ว่าอารมณ์ชั่วก็เพราะว่า ปากชั่ว จริยาเกิดทางกายชั่ว มันมาจากใจชั่ว ให้รู้ตัวความชั่วของตัวไว้ ทีนี้เราจะปราบความชั่วของเราได้ยังไง ก็ทรงพรหมวิหาร 4 ไว้เป็นสำคัญ ถ้ามีพรหมวิหาร 4 แล้วหาชั่วไม่ได้ศีลก็บริสุทธิ์
    พระโสดาบัน ท่านบอกว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ คำที่จะเคารพจริง ๆ หรือการที่จะเคารพจริง ๆ ก็คือ คุมศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตให้เกิดขึ้น ทรงกายสุจริต ทรงวจีสุจริต ทรงมโนสุจริต นี่เป็นจริยาของฆราวาส หรือของพระ สำหรับพระเณร มีศีลห้ามากอยู่แล้วก็ไม่ควรจะเลว ถ้าเลวละก็ไปเปรียบเทียบกับสัตว์เดรัจฉาน สู้สัตว์เดรัจฉานไม่ได้ ตามที่พูดแล้วเมื่อคืนนี้
    เมื่อคืนเราอธิบายกันมาแล้วว่า อาการพระโสดาบันก็มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีลห้าบริสุทธิ์ เพราะมีอธิศีลสิกขาเป็นสำคัญ เป็นปัจจัยของพระโสดาบันกับสกิทาคา ในเมื่อพูดกันตอนนั้น และก็ปรารภกันบอกว่าการปฏิบัติอย่างนี้ไม่ต้องสนใจเรื่องจริต จริตมันจะเป็นยังไงก็ช่าง เราสนใจอยู่อย่างเดียวว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ มีศีลบริสุทธิ์ มีนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็มีมรณานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ นึกถึงความตายไว้เป็นปกติ ว่าตายแล้วเราจะไม่ยอมไปในที่ชั่ว
    ทีนี้ถ้าเราจะตายให้มันดี มันก็ต้องมีกายดี วาจาดี มีใจดี ถ้าหากว่าเรามีกายชั่ว วาจาชั่ว ตายแล้วมันก็ชั่ว คือ พระโสดาบัน คุมกำลังใจให้ทรงอยู่อยู่ในความดีเท่านั้น ยังไม่สามารถจะตัดความโลภได้ ยังไม่สามารถจะตัดความรักได้ ยังไม่สามารถจะตัดความหลงได้ แต่สิ่งทั้ง 4 ประการนี้ยับยั้งอยู่ในขอบเขตของศีล มีวงแคบเข้ามา
    เมื่อคืนนี้เราพูดกันถึงอาการที่จะทรงพระโสดาบัน ถ้าใครเขาจะถามหรือไม่ถาม เราก็สร้างความเข้าใจของเราเอง เพราะคำว่า พระโสดาบันนี่ไม่ต้องการสมาธิหรือยังไง ทำไมจึงไม่พูดถึงสมาธิกันบ้าง เป็นอันว่าโสดาบันไม่ต้องหาสมาธิจิต หรือคนอื่นเขาถามหรือท่านจะถามก็ตามใจ หรือเขาไม่ถามก็ได้ ก็เตรียมแก้ความเข้าใจตัวเองเช้าไว้ ก็จงตอบเขา บอกว่า
    คนที่นึกถึงพระพุทธเจ้า คุณความดีของพระพุทธเจ้าเป็นปกติ ไม่ขาดในอารมณ์ของจิต อันนี้เป็นการเจริญพระกรรมฐานเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน
    ปรารภคุณความดีของพระธรรม ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปกติ ไม่ลืมความดีในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้แล้ว อันนี้เป็น ธัมมานุสสติกรรมฐาน
    เรานึกถึงคุณความดีของพระอริยสงฆ์ที่ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน จนได้บรรลุมรรคผลเราก็แสวงหาความดีตามนั้นตามท่าน ปฏิบัติตามท่านนึกถึงท่านเข้าไว้ อย่างนี้เป็น สังฆานุสสติกรรมฐาน
    เรานึกถึงศีลที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงมอบให้ แนะนำสั่งสอนเรา ระมัดระวังศีลทุกข้อทุกสิกขาบทให้ปรากฏอยู่ครบถ้วนอยู่ด้วยดี อย่างนี้เป็น สีลานุสสติกรรมฐาน
    เรามีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตายแน่ จะตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายด้วยอาการปกติ หรือด้วยอุบัติเหตุก็ตาม ก็ขึ้นชื่อว่าจะต้องตาย เราไม่ประมาทในชีวิตก่อนที่เราจะตาย จะกอบโกยความดีใส่กำลังใจไว้ให้มันครบ พระพุทธเจ้าทรงสอนแบบไหน ปฏิบัติให้จบ ให้ครบทุกประการ ให้บริบูรณ์ทั้งหมด ในฐานะที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคต อย่างนี้เป็น มรณานุสสติกรรมฐาน
    เป็นอันว่าด้านสมาธิจิตของพระโสดาบันนับไปให้ดีว่ามีอะไรบ้าง
    . พุทธานุสติ
    2. ธัมมานุสติ
    3. สังฆานุสติ
    4. สีลานุสติ
    5. อุปสมานุสติ
    6. มรณานุสติ
    ทีนี้การเจริญพระกรรมฐานพร้อม ๆ กันเขาทำกันยังไง การที่จะเป็นพระโสดาบันมีกฎบังคับว่า อารมณ์จิตต่ำกว่าปฐมฌานจะเป็นพระโสดาบันไม่ได้ หรือว่าจะเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้ อย่างเลวที่สุดจิตต้องทรงอยู่ในปฐมฌานเป็นปกติ และอย่างดีที่สุดจิตก็จะทรงอยู่ในฌาน 4 เป็นปกติ แต่ฌาน 4 นี่ปกติไม่ได้ ปกตินี่หมายความว่า ถึงเวลาที่เราจะใช้ ในยามปกติธรรมดาเราพูด เราคุย เราทำงาน จิตต้องอยู่ในปฐมฌานเป็นปกติ แล้วอารมณ์ปฐมฌานเป็นอย่างไร
    อารมณ์ปฐมฌานก็คือว่า เมื่อกิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นกับเรา อารมณ์นี้จะคุมอยู่ในอนุสติทั้งหกตลอดเวลา เราจะไม่ลืมพระพุทธเจ้า เราจะไม่ลืมพระธรรม เราจะไม่ลืมพระสงฆ์ เราจะลืมศีล เราจะไม่ลืมพระนิพพาน เราจะไม่ลืมนึกถึงความตาย
    นี่ถ้าทุกคนทำได้อารมณ์อย่างนี้ มันจะมีบ้างไหมที่จะสร้างเดือดร้อนให้กับบุคคลอื่น จะไปยุ่งกับจริยาของบุคคลอื่น จะไปยุ่งกับอาการของบุคคลอื่น จะไปติโน่นติงนี่ ว่าคนนั้น ด่าคนนี้ เสียดสีคนโน้นเสียดสีคนนี้ มันจะมีไหม แล้วมีการทนงตน มันจะมีไหม ไม่มี สำหรับคนดีประเภทนี้
    ความจริงพระโสดาบันไม่มีอารมณ์สูงพิเศษอะไรเลย ถ้าเราเป็นชาวบ้านก็เป็นชาวบ้านชั้นดีเท่านั้น ถ้าเป็นพระก็เป็นพระชั้นเลว ไม่ใช่พระชั้นดี พระโสดาบันนี่เป็นพระเริ่มต้น เป็นพระเด็ก ๆ ถ้าเป็นพระก็เรียกว่าพระชั้นเลว ถ้าเป็นฆราวาสก็เป็นฆราวาสชั้นดี แต่ถ้าอารมณ์ของเราทรามลงกว่าพระโสดาบันล่ะ ถ้าเป็นพระ ก็เลยเป็นพระเดรัจฉานไป ถ้าฆราวาสก็จัดว่าเป็นปุถุชนคนหนาแน่นไปด้วยกิเลส เป็นพาลชน คนโง่ โง่เพราะอะไร โง่เพราะไม่คุมความดี ไม่หาความสุขให้เกิดแก่ตน ทั้งนี้ก็เพราะว่า คนที่เข้าถึงพระโสดาบันน่ะมีอารมณ์เป็นสุขปกติ ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คำว่าไม่ถือมงคลตื่นข่าว ก็คือเขาเฮที่ไหนไปที่นั่น เขาลือที่โน่นดีไปที่โน่น เขาลือที่นี่ดีมาที่นี่ ผลที่สุดหาดีอะไรไม่ได้ จับไม่ถูก มีอารมณ์ไม่แน่นอน มีสติไม่ตรง อย่างนี้ไม่ใช่พระโสดาบัน
    สำหรับพระโสดาบันน่ะอยู่ที่ไหนก็อยู่ที่นั่น ที่ไหนไม่สำคัญ คำสอนของอาจารย์องค์ไหน พระองค์ไหน องค์ไหน ๆ ก็ไม่สำคัญ ถ้าตรงต่อคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุคต พระโสดาบันยอมรับ ย่อมไม่ถือว่าอาจารย์เป็นสำคัญ ถือพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ ไม่ใช่ไปนั่งถือตัวบุคคลว่า พระองค์นั้นสอนดี อาจารย์องค์นี้สอนไม่ดี เขาไม่ถืออาจารย์เป็นสำคัญ เพราะท่านถือว่าเป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส
    ฉะนั้น ท่านที่ถึงพระโสดาบันแล้วจึงยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นพระพุทธบิดา
    อย่าง พระนางสามาวดี เมื่อพระเจ้าอุเทนบรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอทรงขอขมา เพราะการหลงผิด ลงโทษพระนางสามาวดีโดยไม่มีโทษ แต่โทษไม่เกิด เพราะลูกศรไม่ทำอันตรายพระนาง พระเจ้าอุเทนก้มลงจะกราบขอขมา พระนางบอกว่าขอขมาหม่อมฉันไม่ได้ ต้องไปขอขมาต่อบิดาของหม่อมฉัน นี่การผิดในพระอริยเจ้า ต้องขอขมาตรงต่อพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า ขอขมาต่อบิดาเพราะถือพระพุทธเจ้าเป็นพ่อ
    ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย การปฏิบัติพระกรรมฐาน จงอย่านำความเลวเข้ามาไว้ในจิต ขอได้โปรดทราบว่าสำนักของเราตั้งมานานพอสมควร องค์เก่าอยู่นานพอสมควร ถ้ายังมีอารมณ์เลวอยู่ เราก็จะคัดออกไป จะไม่เห็นหน้ากับบุคคลผู้ใด ทำความดีเพียงใด นั่นเป็นเรื่องของความดี แต่ความชั่วต้องเป็นเรื่องของความชั่ว อย่าเอาความดีเข้ามากู้ความชั่ว อันนี้อภัยให้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็ปฏิบัติอย่างนั้น
    เพราะฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย ถ้าปรารถนาจะทรงความเป็นพระโสดาบันไว้ แต่ความจริงพระโสดาบันนี่ใครปฏิบัติเต็ม 3 เดือน ไม่ได้พระโสดาบันนี่รู้สึกว่าจะเลวเกินไป เพราะมันเป็นของไม่ยาก จะเลวเกินกว่าที่คิดว่ามีความดีอยู่บ้าง เพราะว่าอะไร เพราะว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ นึกถึงความดีของท่านเป็นปกติ อันนี้มันน่าจะมีกับพวกเราอยู่แล้วเป็นธรรมดา และการมีศีลบริสุทธิ์มันก็ควรจะมีอยู่แล้ว นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ มันก็ควรจะมีได้เป็นของไม่ยาก นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ มันก็ควรจะมีอยู่แล้ว และการตัดกิเลสก็ไม่มีความสำคัญตรงไหน ยังมีความรักในเพศ ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลงแต่ไม่ละเมิดศีล รักแต่ไม่รักนอกขอบเขตของศีล อยากรวยก็รวยด้วยความบริสุทธิ์ คือ ไม่คดโกงใคร ทำมาหากินตามปกติ โกรธแต่เราไม่ประหัตประหารบุคคลอื่น หลง ยังรักสวยรักงาม แต่ไม่ลืมความตาย นี่เป็นของง่าย ๆ หญ้าปากคอก เป็นของที่ไม่เกินวิสัย พอจะทำได้
    หวังว่าต่อไปนี้ท่านทั้งหลายคงจะไม่มีใครเลว มีแต่ความดีและก็ทรงความดีทั้งหลายอย่างนี้ไว้ ถ้าเป็นพระทรงความดีแค่นี้ผมถือว่าเลวเกินไปในฐานะที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ สำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัทที่เป็นฆราวาสก็ขอยกย่องว่า ถ้าทรงไว้ได้จัดว่าเป็นความดี
    และต่อจากนี้ไปขอท่านทั้งหลายโปรดตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินเสียงสัญญาณบอกหมดเวลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...