ขอถามท่านผู้เรื่อง วิปัสสนากับวิปัสสนึก ต่างกันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เทพคาถา, 29 เมษายน 2016.

  1. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    ขอถามท่านผู้เรื่อง วิปัสสนากับวิปัสสนึก ต่างกันอย่างไร
    เคยคุยเรื่องเกี่ยวฝึกจิตสมาธิกับผู้จัดการที่บริษัท
    เค้าว่าจะฝึกสมาธิให้ดีควรฝึกวิปสนาด้วย สมาธิไปถึงระดับสูง
    เมื่อไม่ปัฏิบัตินานๆ จะมีการตกเร็วกว่า ส่วนวิปัสสนาไม่ ถ้าเราฝึกวิปัสสนา
    ไประดับไหนระดับนั้นก็จะอยู่ตลอดไป เคล็ดการฝึกก็คือการเพิ่งจิต
    รับรู้ภายในร่างกาย เมื่อปัฏิบัติสักระยะ แล้วจะสามารถทำให้ควบคุม
    สติและอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งไม่เหมือนกับสมาธิ จะมีสิตและอารมณ์
    เฉพาะช่วงที่นั่งฝึกสมาธิหรือทำสมาธิ ทุกอริยบทเท่านั้น แต่เมือออกจาก
    สมาธิ แล้วจะควบคุมตนเองไม่อยู่ เมื่อมีอะไรมากระทบความรู้สึกหรือขัดใจ
    ท่านก็จะมีอารมณ์ รุนแรงมาเป็นพิเศษมากกว่าผู้ไม่ฝึกสมาธิมาก่อนเลย
    แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาอารมณ์ผู้ฝึก แม้ออกจากวิปัสสนาก็จะไม่เป็นเช่นนี้
    เคยมีบางคนว่าวิธีแบบนี้เป็นรูปแบบที่ไม่ใช่วิปัสสนา แต่เป็นวิปัสสนึกแทน

    ตอนแรกเข้าใจว่าเป็นว่าเป็นการประชด แต่เมื่อเจอคนพูดถึงอีกรอบผมจึง
    อยากรูและทำความเข้าใจให้กระจ่างต่อไป

    ผมสงสัยอยู่นาน จึงใคร่ถามท่านผู้รู้ว่า

    วิปสสนาที่แท้จริงเป็นอย่างไร แนวทางฝึก คืออย่างไร

    เมื่อรู้แล้วจะได้นำไปฝึกปัฏบัติให้ถูกต้องในกาลต่อไป

    ขอบคุณครับ
     
  2. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314

    วิปัสนา คิดแล้วถึงความจบ ในหัวข้อธรรมนั้นๆ
    เมื่อตอบคำถามในหัวตนเองในเรื่องนั้นๆ ธรรมนั้นๆ ถูกต้อง จบจริงในข้อธรรม จะรู้ว่าตอบถูกต้องดีแล้ว ด้วย ปิติ สุข เอกคตา (องค์ฌาณ) จะเกิดขึ้นมารองรับ ด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัย จะช่วยรับรองผลความถูกต้องนั่นเอง แต่มีข้อแม้ว่า ต้องเป็นพุทธบริษัท เคยถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งมาก่อนหน้านั้นแล้วจ้า... จึงจะได้รับผลดั่งนี้
     
  3. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    นึก คือการนึกคิด ในทางธรรม พระท่านหมายถึง ความปรุงแต่งทางความคิด

    วิปัสสนึก คือความไม่เอาจิตไปตามดูตามรู้ความเป็นจริงหรือธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งนั้นที่เราสนใจ สักแต่ว่า ตามดูตามรู้ รู้แล้วก็วางก็สักแต่ว่าดูว่ารู้เท่านั้น แต่เป็นอาการที่เอาความนึกคิดปรุงแต่งเข้าไปผสมโรง นึกไปอย่างนั้นอย่างนี้ คิดไปว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เป็นต้น

    การเจริญวิปัสสนา เป็นการฝึกจิตฝึกสมาธิเพื่อการเข้าไปรู้ความจริงทั้งปวง ความจริงทั้งปวงจะปรากฏได้เพราะอาศัยการไม่เอาจิต เอาอารมณ์ เอาความรู้สึก ไปร่วมปรุงแต่งไปกับมัน การตามดูตามรู้จึงสักแต่ว่าดูว่ารู้เท่านั้น แล้วปล่อยวาง ทำเช่นนี้ให้เกิดเป็นปกตินิสัย ความจริงทั้งปวงย่อมปรากฏให้รู้ ความจริงที่ปรากฏให้รู้ทั้งปวงนี้เอง ในท้ายที่สุดพึงน้อมนำมาโยนิโสมนสิการ อยู่เนื่องๆ ว่า ออธรรมดาเช่นนี้แล สรรพสิ่งมีความไม่เที่ยงจีรังอย่างไร นั่นแล

    ขอยกตัวอย่างส่วนเดียวตามที่ได้ลงไว้ในกระทู้ของผมครับ

    สติปัฏฐานสี่
    ตัวที่ 1
    กายาคตานุสปัสสติ=กาย+เอกคตา+วิปัสสนา+สติ
    หมายความว่า การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องด้วยสี่ปัจจัยคือ กาย เอกคตาจิต วิปัสสนา สติ
    กายคือกายหยาบของเรา ร่างกายของเรา
    เอกคตาจิต คือสมาธิที่มีความแน่วแน่รวมลงจุดเดียวไม่แส่ส่ายไปที่อื่น
    วิปัสสนาคือการงานที่จำเพาะเพื่อตามรู้หรือการเข้าไปรู้ธรรมชาติของสิ่งต่างๆอันเป็นการเข้าไปเห็นความจริงทั้งปวง
    สติ หมายถึงการระลึกรู้ว่ากำลังทำกิจ หรือการงานอันใดอยู่โดยไม่หลงลืมหรือแส่ส่ายไปที่อื่น
    สรุปแบบรวมรัดตามแบบนักปฏิบัติ
    กายะคตานุปัสสติ หมายถึง ความที่จิตทรงสติ อันเกิดเป็นสมาธิแน่วแน่จำเพาะลงที่การพิจารณาตามรู้หรือเข้าไปรับรู้สภาพธรรมชาติของร่างกาย ของกายหยาบหรือกายเนื้อนั่นเอง หรือรูปกายนั้นเอง
    วิธีการ คือ การกำหนดสติเป็นบาทฐาน อาศัยสติกำหนดตั้งไว้คือระลึกรู้สึกตนทุกลมหายใจเข้าออก จากสติเมื่อตั้งมั่นรวมกันเข้าแล้วเกิดเป็นสมาธิ ซึ่งมีความแน่วแน่จำเพาะลงไป ลงไปที่กายเนื้อหรือร่างกายของท่านนั่นเอง แต่วิธีการคือการงานที่อาศัยการไม่ปรุงแต่ของจิต แต่อาศัยจิตที่ทรงสติสมาธิ ตามดูตามรู้ธรรมชาติของร่างกายที่เป็นไปเท่านั้นเอง กายเนื้อทุกส่วนของร่างกายตนมีความธรรมดาหรือธรรมชาติเป็นอย่างไร ให้ตามดูตามรู้ความเป็นไปในกายนี้ โดยห้ามมีการปรุงแต่งนึกคิดใดๆ ให้สักแต่ว่า รู้เฉยๆ คือให้สักแต่ว่า ออเป็นเช่นนี้ เรารู้แล้ว ออเป็นแบบนี้เรารู้แล้ว สักแต่ว่ารู้เพียงเท่านั้น การตามดูตามรู้กายเนื้อตนนี้ให้ทำให้มาก ทำให้เห็นให้มาก ทั้งนอกและใน ทั้งบน ตรงกลาง และล่าง ทั้งซ้ายและขวา ทั้งหน้าและหลัง ทั้งหยาบ ปานกลาง และละเอียด
    สักแต่ว่ารู้ อย่างไม่ปรุงแต่ง เห็นอย่างไรรู้อย่างนั้นรู้แล้ววาง ไม่ปรุงแต่ง ตามดูตามรู้เช่นนี้ไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผลย่อมปรากฏคือความรู้จริง เพราะเห็นและรู้ของจริงเพราะไม่มีการปรุงแต่ง ท้ายที่สุดปัญญาย่อมเกิดมากมายตามความเป็นจริงเพราะไม่มีการปรุงแต่ง
    อจีรังวะตะยังกาโย=อนิจจังวะตะยังกาโย= กายของเราทั้งหลายนี้ไม่เที่ยงไม่จีรัง
    ทุกขังวะตะยังกาโย= กายของเราทั้งหลายนี้เป็นทุกข์
    อนัตตังวะตะยังกาโย =กายของเราทั้งหลายไม่ควรยึดมั่น
    หากเราเจริญ กายาคตาสุปัสสติ ให้มากเราจะพบความจริงว่า กายทั้งหลายที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ควรยึดมั่น
    กายไม่ได้สวยงามหากแต่กายมีธรรมดาของกายที่อาศัยธาตุต่างๆที่รวมกันส่งเสริมกันอย่างสมดุลย์ทำให้กายนี้ทรงตัวอยู่ได้ แม้กายทรงตัวอยู่ได้ แต่กายก็ต้องมีการรักษาสภาพสมดุลย์อยู่เสมอ และเมื่อใดที่สภาพเกิดความไม่สมดุลย์ กายย่อมแปรปรวน ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ในขณะเดียวกัน กายของเรานี้ เมื่อได้รับปัจจัยต่างๆมากระทบรุมเร้าหรือเบียดเบียน ความสมดุลย์ในกายก็เปลี่ยนไป แม้กระนั้น ความชรา ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง แห่งกายเนื้อที่เสื่อมลงไปตามอายุการใช้งานตามกาลเวลาอันเป็นธรรมดาของกายของสิ่งมีชีวิต
    ความไม่เที่ยงเสื่อมโทรมก็ดี ความไม่ปกติของกายก็ดี เกิดขึ้นทุกลมหายใจเข้าออก เกิดขึ้นทุกวี่ทุกวัน อย่าปล่อยให้ความธรรมดาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ผ่านเลยไปอย่างไร้สติไร้ปัญญา จงมีสติปัญญารู้เท่าทันไม่ประมาท
    กายาคตานุปัสสติ ตัวแรกนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นฝ่ายสติปัญญาเข้าไปดับรูป แท้จริงกายเนื้อ สรรพสัตว์ไม่ได้แตกต่างกันเลยเสมอกันในทางธรรม สักแต่ว่าธาตุที่ประชุมรวมกัน ไม่ได้มีสิ่งที่น่าพิศวาทยึดมั่นถือมั่นหรือน่าหลงไหลอะไรเลย มีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีความสกปรกอุจาดเป็นธรรมดา มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่เสื่อมลงดับไปเป็นธรรมดา นั่นเองครับ
    หากท่านเจริญกายาคตานุปัสสติ ตามรู้ตามดู โดยไม่ปรุงแต่ง จนปรากฏเห็นกายเนื้อเป็นแก้วใส สว่าง ว่างเปล่า คือไม่ปรากฏกายส่วนใดให้ต้องดูอีกแล้ว มีเพียงความว่างเปล่าของกายนี้ ไม่มีสิ่งใด อีก นั่นย่อมแสดงว่า จิตของท่านถึงที่สุดแห่งสติปัญญาในกายที่กำลังจิตมันแสดงให้ปรากฏว่าถึงที่สุดแล้ว เช่นนั้น นั่นเองครับ สาธุ
     
  4. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    ถ้าวิปัสสนึก ก็นึกๆคิด ปรุงแต่งไปตามสัญญาความจำเก่าๆของตนนั้นละครับ เป็นเรื่องของปุถุชนทุกคนมีอยู่แล้ว เหมือนเราศึกษาหาความรู้ก็ต้องใช้สุตตมยปัญญา กับ จินตมยปัญญา เป็นปัญญาแบบทางโลกมีการพิจารณาหาเหตุหาผล ปรุงแต่งได้หมด แต่ดับกิเลสไม่ได้ ถ้าเป็นวิปัสสนาแท้แล้วต้องเกิดจากภาวนามยปัญญา เกิดจากมีสมาธิอันแน่วแน่ เข้าไปเห็นปรากฎการณ์
    ต่างๆตามความเป็นจริง ไม่ได้เกิดจากการปรุงแต่งนึกคิดของตน อย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนา คือ รู้เห็นตามความเป็นจริง เจริญในธรรมครับ
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    วิปัสสนึก ถ้ากิริยาทางด้านนามธรรม..
    ก็คือ ตัวจิตมันยังรวมอยู่กับความคิดที่เกิดจากจิต
    (ความคิดที่จะคิดให้ดี หรือ ไม่ดีก็ได้)
    หรือตัวจิตมันรวมอยู่กับขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมหรือความ
    คิดที่ผุดขึ้นมาเองได้อย่างไม่ตั้งใจ บังคับเรื่องราวไม่ได้
    ไม่เลือกสถานที่เลือกเวลา บางกรณีเรียกว่า กระแสจร
    หรือกระแสความคิดที่มัน วนไปวนมาอยู่เรื่อยๆ
    หรือเรียกกระแสวิบาก หรือวิบากกรรมก็ได้ครับ
    หรือตัวจิตรวมกับกระแสภายนอกที่คอยมาแหย่
    สำหรับบุคคลบางกลุ่มที่มีสัมผัส
    ให้มีความนึกคิด แสดงนิสัยอย่างโน้นนี่นั้นครับ


    ส่วนใหญ่พวกนี้มักเป็นเรื่องราวในอดีตต่างๆ
    ที่เคยได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ได้รับรู้ ได้สัมผัสมา..

    เพราะว่าตัวจิต ยังมีกำลังสติทางธรรมไม่พอ
    ที่จะแยกความคิดที่กล่าวมาแล้วออกจากตัวจิตได้...
    หรือพูดง่ายๆว่า ยังไม่เข้าใจกิริยาที่จิตรวมกับความคิด
    ยังไม่เข้าใจกิริยาที่จิต รวมกับขันธ์ ๕ นามธรรม ฯลฯ
    มันก็เลยยังรวมกันอยู่กับตัวจิต....
    แล้วไปเผลอยกมันขึ้นมาพิจารณา
    เพราะเข้าใจไปว่าเป็นตัวสติตัวปัญญาครับ....
    แต่ไม่ใช่ว่า ไม่มีประโยชน์นะครับ..
    มีประโยชน์ถ้า ยกเรื่องใดขึ้นมาแต่เป็นเรื่อง
    ที่หนุนนำ ส่งเสริมเพื่อใช้สำหรับ
    ให้จิตมีแนวทางในการเดินปัญญาได้ในอนาคตเช่นกัน..
    เพียงแต่ระดับนี้ ไม่มีผลต่อการคลายตัวของกิเลส
    ไม่มีผลต่อปัญญาทางธรรม ไม่มีผลต่อสัมผัส
    หรือความสามารถอะไรพิเศษ..
    ไม่มีผลช่วยหนุนในเรื่อง
    ความเข้าใจทางด้านนามธรรมครับ..

    แต่ถ้าเผลอไปยึด จะกลายเป็นเสมือนการสะกดจิตตัวเอง...
    พูดเองเอ่อเอง และสุดท้ายก็จะวิปลาสได้ หากว่า
    ไปยึดติด จนหมายหมั่นว่าต้องใช่
    หรือจนกลายเป็นตัวเองครับ...

    ถ้าจะให้ดีหากไม่แน่ใจว่าตนเองแยกได้
    หรือเห็นมันได้ หรือเข้าใจกิริยาตอนที่มันรวมกับจิตได้...
    ไม่ว่ามันจะเป็นความคิดแบบไหน
    ก็ไม่ต้องไปยึด ให้ปล่อยวางไปทุกๆกรณีครับ..

    แยกตัวจิตออกจากความคิด ออกจากขันธ์ ๕ นามธรรมได้...
    โดยเห็นมันเป็นส่วนๆไม่ใช่สิ่งเดียวกันได้แล้ว..
    ถึงจะสามารถมาเริ่มต้นเดินปัญญาทางธรรมได้
    มาวิปัสสนาเพื่อลด ละ กิ เลสได้ครับ...
    เพราะจะเข้าใจกิริยาที่จิตเป็นกลางได้หรือกิริยา
    ที่ไม่มีอะไรมารวมกับจิต และก่อนจะแยกได้
    ก็จะมีสติทางธรรม ที่สร้างจากการเจริญสติในชีวิตประจำวัน
    มาแล้วพอสมควร ส่วนจะไปวิปัสสนาหรือเดินปัญญาใน
    ระดับกำลังสมาธิระดับใดๆต่อนั้น
    ก็แล้วแต่วาระและความถนัดของแต่ละบุคคลครับ
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ขออนุญาตเสริมอีก #Rep นะครับ
    เท่าๆที่พอมีประสบการณ์
    ปัญหาของกลุ่มบุคคลที่ ใช้งานทางจิตได้
    มีความสามารถพิเศษทางจิต
    หรือตัวจิตมักสัมผัส นามธรรมโน่นนี่นั่นได้
    มักจะเจอก็คือ...ไม่ทันกระแสแหย่ ที่เป็นกระแสจรที่เวียน
    เข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งจะเป็นกระแสที่มาจากภายนอก..
    เป็นกระแสที่มีอะไรพิเศษเช่นกัน...และไม่ใช่เกิดจากตัวจิตผู้นั้นครับ..
    ลักษณะกระแสแบบนี้ ให้ลองสังเกตุให้ดีๆ จะเป็นกระแส
    ที่จะมาแหย่ประมาณว่า จะเล่นด้วยไหม จะเป็นแบบนี้ไหม..
    อะไรประมาณนี้หละครับ..เป็นเหตุให้ไม่สามารถ
    วิปัสสนาต่อเพื่อ ลดตัว ลาภ ยศ สุข สรรเสริญต่อได้..
    กระแสพวกนี้ ต้องใช้การผลักให้ออกจากตัวจิตให้นิ่งก่อน
    แล้วก็ค่อยอุทิศส่วนกุศลซ้ำ...หลังจากนั้นค่อยมาว่ากันเรื่อง
    เดินปัญญาและวิปัสสนาครับ...
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ให้ อนุโลม เรียนธรรมะ จากหัวหน้า ไปเลยฮับ รับรองว่า ใช้ได้ ถ้าท่านพูดแบบนั้น


    ทีนี้ หากจะไม่ให้เหตุผล ก็จะ อนุโลมยาก แต่พอให้เหตุผล คุณจะต้อง เหยียบเอา
    ไว้ตรงนี้ อย่าได้ทำอาการ รู้อุบายธรรมของ หัวหน้างาน เด็ดขาด


    ที่เป็นแบบนั้น เพราะ งานในหน้าที่ ความสัมพันธ์ระหว่าง เจ้านาย กับ ลูกน้อง

    อีกทั้งสิ่งสำคัญยิ่งยวด ในกรณีเป็น ฆราวาส คือ " เป้าหมายองค์กร "

    บริษัท ห้างร้าน องคาพยบ ที่เต็มไปด้วย คนหลากเชื้อชาติ ศาสนา ความคิด
    สิ่งที่สำคัญยิ่ง ขัดไม่ได้ คือ เป้าหมายองค์กร ถ้า ขัดเป้าหมายองค์กร
    คุณจะต้อง ลาออกจากงาน ทันที ( คล้ายๆ พันท้ายนรสิงห์ )

    เป้าหมายองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ จะต้อง อิง กิเลส ตัณหา อุปทาน การเร้า การตลาด

    ดังนั้น

    เวลาเรียนธรรมะ กับ บุคคลในองค์กร ถ้า มีระดับหน้าที่ต่างกัน จะพูดธรรมะแบบ
    เต็มที่ไม่ได้ เว้นแต่ จะเป็น ลูกน้องคนสนิทจริงๆ

    งง ไหม

    คือ จะบอกว่า

    วิปัสสนาเนี่ยะ เวลาภาวนา จะต้องมี การเห็นกิเลส ชี้ว่านั่นทุกข์ แล้ว ละ ทันที !!!
    มันจึง ล่วงส่วนทันที ไม่มีย้อนกลับ เว้นแต่ จะ มารยาสาไถย เห็นกิเลส เห็นทุกข์
    ยกวิปัสสนาได้ แต่กลับ ลูบหน้าปะจมูก เล่นแบบลิงหลอกเจ้า ต่อหน้าเห็น ลับหลังแอ
    แฮ่ สองสลึง !!

    เหตุผล มีแค่นั้น วิปัสสนา จะต้องเป็นการเห็นกิเลส และ ละสมุทัย
    ประจักษ์นิโรธน เจริญมรรค ......... แต่ความที่ เอาเข้าจริงๆ มันจะ
    ค่อยเป็นค่อยไป มีการขัดเกลา มีการละ แต่กว่า จะ ตัดแบบสังโยชน์
    จนเราไม่เห็นกิเลสชนิดนั้นในนักภาวนาอีก

    และความที่ กิเลส มันยังแสดงได้อยู่ บางครั้ง ทำไปตามหน้าที่ หาก
    นักภาวนา พยายามจะเอา เจ้านาย เป็น idol ทางธรรม เวลา เห็น
    เจ้านายว๊ากกก หรือ คิดสาระตะ เพื่ออำนวย เป้าหมายองค์กร จิตของ
    คุณจะเกิด อาการดูหมิ่น เหยียดหยาม ไหนหละ ว่า ละกิเลส

    สรุปนะ

    วิปัสสสนา มีการเข้าไปเห็นกิเลส และ ละ !!! ผลของการ ละสมุทัยได้
    ไม่ใช่ การนึกแน่นอน [ ปัจจัตตัง เวทิตพโพ วิญญู ฮีติ ]

    ส่วน การทำสมถะแบบฤาษี ต่อให้ ทำได้ ฌาณ8 แต่ไม่มี วิปัสสนา ไม่มี สัลเลขา
    เครื่องขัดเกลา(วิปัสสนา) ย่อมเป็น วิปัสสนึก ว่า จิตตัวเอง บริสุทธิ อุดมด้วยเมตตา
    อย่างโง้นอย่างงี้ แต่กิเลส ไม่เคยตัดได้สักตัวตามจริง(ไม่เคย ยกวิปัสสนาญาณ)

    อย่างไรก็ดี หากไปเจอคนทำฌาณ เข้าจริงๆ ก็อย่าไป ปรามาส ว่า เขามีกิเลส
    เพราะ คนมีกำลังฌาณ ย่อมให้ผลรุนแรง กว่าคนไม่มีฌาณ หากเราไปประมาท

    หากคนมี ฌาณ เป็นคนยอมรับ การมีกิเลสในตน อันนี้เราค่อยแย๊บเข้าไปว่า ทุเรศ !!!
    ซึ่งเขาจะรับฟัง ยอมจำนน คอตก .....ไม่อย่างนั้นนะ ........................โอยยยย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2016
  8. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    ขอบคุณทุกท่านมากๆครับ
     
  9. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    ต่างกันที่กำลังสมาธิ
    ไม่มีกำลังฌาน รู้ก็ไม่แจ้ง ตัดก็ไม่ขาด
     
  10. markdee

    markdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    745
    ค่าพลัง:
    +1,911
    ต้องลองทำดูเอง..ทำเองรู้เอง ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ......
     
  11. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ...ผมขอแสดงความคิดเห็นด้วยคน

    ...วิปัสสนา คืออะไร
    ...วิปัสสนึก คืออะไร

    ...ในความคิดเห็นของผม เข้าใจอย่างนี้นะครับ

    ....การรู้ด้วยจิต แล้วนำมาไตร่ตรองด้วยจิต นี้ เรียก จินตามยปัญญา อันนี้เป็นวิปัสสนึกใช่หรือไม่
    ....การรู้ด้วยญาณ รู้ตามความจริง หรือรู้ตามที่น้อมจิต โดยที่จิตป้อนความรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนี้เรียกว่าตรัสรู้ธรรม เรียกว่า รู้ด้วยญาณ เรียกว่า เกิดญาณปัญญา อันนี้เรียกว่า วิปัสสนาญาณ ถ้าเกิดขึ้นหนึ่งครั้ง อย่างน้อยก็ได้โสดาปฏิผล ละครับ

    .........การรู้ด้วยจิต คืออย่างไร
    .......การอ่าน การฟัง ธรรมะของพระพุทธเจ้า อันนี้ก็เป็นการรู้ด้วยจิต
    .......การนำความรุ้มานึกคิดใตร่ตรอง อันนี้ก็เป็นการรับรู้ด้วยจิต
    .......การเกิดเห็นภาพนิมิตรต่างๆ ขณะปฏิบัติธรรม คิดว่าตนสำเร็จ อันนี้ก็เกิดขึ้นที่จิต
    .......การรู้ การเห็นสิ่งต่างๆ แล้วมีการปรุงแต่ง นี้ล้วน เกิดที่จิต ห้ามนำมาเป็นที่หมายสำคัญ ว่าได้บรรลุไดๆเลยครับ
    .......การคิดต่างๆนาๆ ก็เป็นความรู้ที่จิต

    .........การรู้ด้วยญาณ คืออย่างไร
    ......การทำสติปัฏฐานสี่ เมื่อมีสติ ก็ตามด้วยสัมปชัญญะ
    ......ตัวสัมปชัญญะ ก็หมายถึง การรู้สึกตัว การรู้สึกตัว ก็เป็นตัวนามธรรมอันคงที่อันหนึ่ง มิใช่จิต
    ......นามธรรมอันคงที่นี้ มีการรับรู้ สิ่งต่างๆ ได้ เรียกว่า สัมปชัญญะ
    ......สัมปชัญญะ เมื่อเกิดต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นญาณ
    ......สติที่บริสุทธิ์ ก็จะกลายเป็นสมาธิ สัมปชัญญะ ที่ต่อเนื่อง ก็จะกลายไปเป็นญาณ


    ......ตัวจิต จะเก็บข้อมูล ป้อนให้ตัวญาณ เมื่อตัวญาณรับรู้ ก็เรียกว่า เกิดวิปัสสนาญาณ (การรู้อย่างวิเศษ) นั้นเอง

    .....การปฏิบัติ การทำสติปัฏฐาน จะต้องเข้าใจเรื่อง สติ กับสัมปชัญญะ ว่าไม่เหมือนกัน ทำให้ถูก ตัวสัมปชัญญะจะ ต่อเนื่อง สังเกตุคำสอน การดูลมหายใจ รู้สั้น รุ้ยาว รู้กองลมทั้งปวง ล้วน สอนให้รู้สึกตัว อยู่ตลอด แม้แต่ภาวะไม่นั่งปฏิบัติ เราก็สร้างสติ จากลมหายใจ หรือการดูจิต แล้ว เรียกสัมปชัญญะมาได้เสมอ แล้วปล่อยให้จิตมันเป็นไป แต่ผู้ดูคือสัมปชัญญะ
    .....ตัวสัมปชัญญะ เป็นแว๊บสั้นๆ แต่ก็สัมผัสได้ นั้นคือสภาวะนิพพาน มันเย็น ไม่สุขไม่ทุกข์ ลองดูเป็นเหมือนผมว่าหรือเปล่า


    ......จิต เจตสิค รูป นิพพาน
    .......ตัวจิต เป็นนามธรรม สามารถรับรู้ ปรุงแต่ง นึกคิด จดจำสิ่งต่างๆได้เพราะ จิต เกิดขึ้นเพราะประกอบกับ เจตสิคเสมอ
    .......ตัว นิพพาน เป็น นามธรรม ที่เป็น อสังขตธาตุ เป็นธาตุ ที่คงที่ มีการรับรู้ได้ การรับรู้ เรียกว่า สัมปชัญญะบ้าง ญาณบ้าง แล้วแต่สภาวะ

    .....นิพพาน เกาะเกี่ยวกับ จิต ด้วย กิเลสสังโยชน์ การตัดกิเลสสังโยชน์ได้ก็ต้องทำวิปัสสนาญาณให้เกิด นึกเอาด้วยจิต ตัวญาณก็ไม่เกิดนะครับ

    [๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรค
    อย่างไร ฯ
    ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ
    เป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่
    ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธ
    เป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค
    อย่างนี้ ฯ


    .......จิตเป็นใหญให้เกิด เช่น การทำสติปัฏฐาน ก็เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ นำไปสู่การเกิดญาณ
    .......ญาณเป็นใหญ่ในการเห็น แน่นอน ญาณเป็นตัวเห็น เพราะคำว่า วิ แปลว่าเห็น เห็นความจริงว่า ขันธ์ห้า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยการที่จิตเป็นตัวป้อนให้เห็น

    ....ถ้าไม่เข้าใจ สติ ต่างกับสัมปชัญญะอย่างไร เริ่มต้นก็ผิดแล้ว
    ....ถ้าคิดว่า จะให้จิตมันเข้าใจสิ่งต่างๆตามคำสอนโดยนั่งภาวนา ก็ผิดแล้ว จิตต้องเข้าใจสิ่งต่างๆ ด้วยการอ่าน การคิดกาฟัง ใช้สมองใช้ไอคิว ไม่ต้องนั่งภาวนา

    .....การภาวนาก็เพื่อฝึกจิตให้สงบ เพื่อให้เกิดญาณ มารุ้เห็นตามที่จิตมันรู้ และตามความจริงของ ขันธ์ห้า
     
  12. นักบุญภาคอีสาน

    นักบุญภาคอีสาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2008
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +334
    ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดด้วยความรู้น้อยๆของผม ขออธิบายแบบบ้านๆตามประสาคนเรียนน้อยนะครับ อาศัยประสบการณ์และคำสอนของครูบาอาจารย์ผู้ทรงอรรถทรงธรรม ดังนี้ครับ

    - จริงๆแล้วจะเป็น วิปัสสนึก หรือ วิปัสสนา ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าเราพิจารณาในขณะจิตแบบใด ถ้าเราพิจารณาในขณะที่จิตไม่รวม จิตไม่รวมก็คือจิตที่ไม่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นเครื่องอาศัย การพิจารณานั้น ก็เป็นวิปัสสนึก คือ จิตไม่มีกำลังพอที่จะเห็นความจริง ของธรรมชาติที่มีอยู่ดั้งเดิมได้ เป็นเพียงพิจารณาแบบสัญญาคือความจำๆ หรือเห็นๆเท่านั้น อารมณ์ในขณะนี้ก็จะมีอารมณ์อื่นเข้ามาแซกแซงด้วย(กำลังของกิเลสที่พยามปรุงแต่ง) ดังเช่น ถ้าพิจารณาอสุภกรรมฐาน จิตที่ไม่มีกำลังสติสัมปชัญญะพอ ก็จะไม่สามารถควบคุมจิตให้เห็นความจริงได้ จะมีอารมณ์อืนเข้ามา เช่น ความเห็นว่าน่ารังเกียจ กลิ่นเหม็นเน่า คลื่นไส้อยากอาเจียน อาการต่อต้านต่างๆ ไม่อยากเห็น เป็นต้น อาการเหล่านี้ที่เกิดขึ้น ล้วนแสดงออกมาทางธาตุ 4 โดยเกิดจากความฟุ้งซานภายในที่จิตเกิดฟุ้งซาน(อุทธัจจะกุกกุจจะ 1 ใน นิวรณ์ 5) แต่ด้วยเราๆท่านๆยังครองธาตุสี่อยู่ สิ่งเหล่านี้จึงแสดงออกมาทางธาตุให้เห็นแทน

    - สุดท้ายจิตได้แต่ความน่ารังเกียจอันเกิดจากความฟุ้งซาน ภายในเท่านั้น นอกจากจะไม่ได้เห็นผลตามความจริงแล้ว ก็ยังทำให้เบื่อหน่อยกับการปฎิบัติอีกด้วย(ด้วยอำนาจของกิเลส ถีนมิทธะ)....นี้จึงเรียกว่า
    วิปปัสสนึก แต่แท้จริงวิปปัสสนึก ก็ยังพอมีประโยชน์อยู่บาง เมื่อจิตมีสติสัมปชัญญะครบพร้อม

    - ส่วนวิปัสสนา นั้นก็คือสภาวะที่จิตมีกำลังเพียงพอ ต่อการฝืน ฝืนจากการกดถ่วงของกิเลสได้ จิตในขณะนี้ก็อาศัยกำลังของสมาธิ ที่ภาษาบาลีเรียกว่า สมถกรรมฐาน นั้นและครับเป็นบาทฐาน

    ในการฝืนนี้ เป็นภาษาปากที่ใช่เรียกสภาวะธรรมที่พอจะสามารถ รู้ เห็นธรรมชาติดังเดิมได้ โดยที่ไม่มีกิเลสมา กดถ้วง ให้อารมณ์ต่างๆเข้ามาแซกแซงในขณะนั้น ซึ่งภาษาบาลีใช่เรียกสภาวะนี้ว่า อุปจารสมาธิ

    ส่วนเรื่องญาณสมาธิ นั้นเป็นเครื่องอยู่ เครื่องพักของจิต ยิ่งสมาธิสูงมากเท่าไร จิตที่ไปพักอยู่ ทรงญาณนั้นอยู่ ก็มีกำลังรู้เห็นมากเท่านั้น แต่สุดท้ายเราก็ต้อง ถอยมาพิจารณาหาความจริงในขั้นที่ จิตสามารถรู้เห็นได้นั้นคือ อุปจารสมาธิ หรือเกิงๆเรียกไม่ถูกแต่จะอยู่ในระหว่างนี้

    เพราะจะเรียกว่าพิจารณาในญาณก็ไม่ถูก เพราะญาณนั้นโดยตัวศัพย์หรือความเป็นจริง เป็นเครื่องรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิ นั้นเอง นอกจากจะพิจารณาไม่ได้แล้ว หรือรองพิจารณาดู ย้อมเคลื่อน ออกจากเครื่องรู้หรือสภาวะนั้นทันที ซึ่งก็กลายเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ญาณ เสียแล้ว ท่านจะให้ขั้นญาณแต่ละชั้นว่า อัปปนาสมาธิ คือจิตรวมลงในสภาวะต่างๆ ไม่ว่าจะญาณ 1- 4 ก็แล้วแต่

    - ซึ่งในสภาวะที่ฝืนได้ ที่ได้กล่าวไปข้างตนนั้น จิตในสภาวะเช่นนี้คือจิตที่ประกอบด้วย สติสัปชัญญะแล้ว การพิจารณาในขั้นนี้ อารมณ์ต่างๆที่เกิดจากกิเลสตันหา จะไม่เข้าแซกแซงก่อกวน เพราะอำนาจของสมาธิ ที่ เรียกขานกันว่าสภาวะหินทับหญ้า(ทำให้นิวรณ์ ไม่แสดงตนได้) ซึ่งเป็นโอกาสให้เราได้ วิปปัสนา ตามรู้ความเป็นจริงได้นั้นเอง ซึ่งรู้ในขั้นนี้ รู้จริงๆจังๆ ไม่ใช่รู้ผ่านประสาทสัมผัส

    - ส่วนจะวิปปัสนาอย่างไรนั้น อันนี้ขึ้นอยู่ที่ปัญญาของแต่ละท่านละคน หรือที่เรียกว่าเทคนิค ของใครของเรา ว่าจะยกข้อธรรมะอะไรขึ้นมา พิจารณาในสภาวะนี้ เพื่อให้จิตเห็นความจริง และปล่อยสภาวะที่ก่อกวนวุ้นวายนั้นเสีย ซึ่งในสภาวะนี้ก็ใช่การ นึกคาดคะเน สิ่งที่ยกขึ้นมาพิจารณา อีกนั้นแหละครับ...

    - ดังที่ครูบาอาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า วิมุติ มันก็มาจากสมมุติ นั้นแหละ(หลวงปู่ดู่ กล่าว)

    - และในมุตโตทัย ของหลวงปู่มั่น ท่านได้กล่าวไว้ว่า การเดินจงกรม นั่งสมาธิ ทำให้มาก เจริญให้มาก ในการพิจารณามหาสติปัฏฐาน มีกายนุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นเบื้องแรก พึงพิจารณาส่วนแห่งร่างกาย โดยอาการแห่งบริกรรมสวนะคือ พิจารณาโดยอาการคาดคะเน ว่าส่วนนั้นเป็นอย่างนั้นด้วยการมีสติสัมปชัญญะไปเสียก่อน เพราะเมื่อพิจารณาเช่นนี้ใจไม่ห่างจากกาย ทำให้รวมง่าย เมื่อทำให้มาก ในบริกรรมสวนะแล้ว จักเกิดขึ้นซึ่งอุคคหนิมิตให้ชำนาญในที่นั้นจนเป็นปฏิภาค ชำนาญในปฏิภาคโดยยิ่งแล้วจักเป็นวิปัสสนา เจริญวิปัสสนาจนเป็นวิปัสสนาอย่างอุกฤษฏ์ ทำจิตเข้าถึงฐีติภูตํ ดังกล่าวแล้วในอุบายแห่งวิปัสสนาชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้ว โมกฺขํ จึงจะข้ามพ้น จึงพ้นจากโลกชื่อว่าโลกุตตรธรรม เขมํ จึงเกษมจากโยคะ (เครื่องร้อย) ฉะนั้น เนื้อความในมัชฌิมเทศนาจึงสำคัญเพราะเล็งถึงวิมุตติธรรมด้วยประการฉะนี้และฯ

    - อุคคหนิมิต คือ เครื่องหมายที่นึกหรือตั้งขึ้นเพื่อนเห็น เป็นเครื่องหมายที่ชัดเจน
    - ปฏิภาคนิมิต คือ สามารถแยกส่วนที่พิจารณาให้เห็นชัดมากยิ่งขึ้น
    เพราะนิมิต คือเครื่องหมายของจิตนั้นเอง
    ตามที่ได้แสดงความคิดเห็นไป เป็นประโยชน์บาง ไม่เป็นประโยชน์บาง ต้องขออภัย เพราะข้อความข้างตน เป็นการแสดงความคิด ความเห็นของผู้เขียนที่มีความรู้น้อย แต่อาศัย คำสั้ง คำสอนของครูบาอาจารย์มาเล่าสู่ฟังเท่านั้น

    ถ้าผิดพลาดประการใด ขอให้ชี้แนะชี้นำ ให้ผู้เขียนมีปัญญา เห็นตามตรงด้วย จะเป็นความกรุณาอย่างยิ่ง ....ครับ



     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เรียยร้อยเลยท่านนักบุง

    ลองบอกว่า หินทับหญ้า เปนจิตกุสล นี่เพี้ยน
    แน่นอน

    อวิชชากดเก็บไว้ในจิต หินทับหญ้าเกิดขึ้น แล้วบอก
    ว่าการพิจารณานั้น ตัดกิเลสได้ นี่ ภาวนาอีกแสนโกฏิ
    ชาติ ก็สำคัญผิดว่า พ้นอวิชชา วิปัสนึกเต็มประตู
    ดันไปสอนคนอื่นอีกว่า เปนวิปัสสนา

    ปฏิบัติผิด สอนผิดให้เปนกรรม เสวยกรรมเดินทางผิด

    เจาเรียกว่า โรคพิการซ้ำซ้อน นิยตมิจฉาทิฏฐิ ปิดนิพพาน
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    น้องๆ หนูๆ คนไหน พอลงมือปฏิบัติ

    จิตก้รวม แต่มีน้ำหนัก หน่วง ไหว ตึง ซึม
    เปนสมาธิหินทับหญ้าขึ้นมา ไม่ต้องรอถอย
    ออกจากสมาธิแล้วไปพิจารณาขน เลบ ฟัน
    หนัง หรือกิเลสอื่นๆ นะฮับ

    กิเลสตัวไหนเกิดก่อน พระท่านให้ดูตัวนั้น

    จิตรวมหินทับหญ้าปรากฏ ก้ ดูสภาวะ เปนจุด
    เปนดวง มีน้ำหนัก ตรงนี้เข้ามาตรงๆเลย

    เปนการพิจารณา ทุกขาปฏิปทา ถ้ารู้ช้า มันจะ
    ไม่เกิด เอโกธิภาวะแยกออกมาจากจุด จากดวง

    ถ้ารู้เร็ว จิตเปนจุดเปนดวง จิตอวิชชา จะถูกแยกออก
    กำหนดรู้ว่า จิตเปนตัวทุกข์ เนี่ยน วิปัสสนาอุกกฤษ
    อย่าได้หนี หรือไปสมยอม ว่าจิตหินทับหญ้าดี้ดี เปนตน
    ของตน ช่วยตนพิจารณาเจอนิพพาน ฝาดเข้าไปเลย
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้าทำถูก จะเหนสภาวะ ที่ความขาว ความดำ ปรากฏใน ธาตุนั้นๆ ไม่ได้

    ถ้าไม่พลาด จะค่อยๆเข้าใจ

    สุขใด เหนือความสงบไม่มี

    คือ สงบ แล้วจบ

    ไม่ใข่ยังต้องถามหา ไหนสุข
     
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    หลงยึดมั่นถือมั่นในสังขารเป็นตัวเป็นตนเมื่อไหร่ การกระทำทั้งหลายก็กลายเป็นวิปัสสนึกไปทั้งหมดแหละครับ (ต่อให้แยกรูปแยกนามได้ก็ตาม ถ้าหลงหยิบจับฉวยเอาปรากฎการณ์เหล่านั้นมาเป็นตนเป็นของของตนเมื่อไหร่ ก็ไม่ต่างกันเลย) แต่พอกลับมามีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันความหลง ความหลงจึงดับ สติปัญญาเกิด หลงดับ เกิดดับ ๆ ตามเหตุตามปัจจัยอยู่นั่น รู้อยู่เห็นอยู่ นั่นแหละครับ จึงเรียกว่าเจริญวิปัสสนา ก็หมั่นกระทำไว้ในใจโดยแยบคายอย่างนี้เรื่อยไป เพียรมีสติสอดส่อง รู้ตามความเป็นจริง เห็นเกิดเห็นดับ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย เดี๋ยวก็แจ้งในทุกข์ไปโดยลำดับเองครับ อนิจจา วต สังขาราฯ สัพเพธัมมานาลัง อภินิเวสายะ
     
  17. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844

    วิปสสนาที่แท้จริงเป็นอย่างไร แนวทางฝึก คืออย่างไร

    เมื่อรู้แล้วจะได้นำไปฝึกปัฏบัติให้ถูกต้องในกาลต่อไป


    การนึก การคิด ไม่ว่านึกคิดเรื่องอะไร ก็วิปัสสนึกทั้งสิ้น วิปัสสนาที่จริงไม่มีการนึกคิดใดๆทั้งสิ้น วิปัสสนาที่แท้จริงคือการเพ่งเข้ารู้ และดับตัวรู้ที่จุดเพ่งนั้นให้ได้
    สุดยอดของวิปัสสนาคือรู้แล้วดับตัวรู้
    จุดเพ่งท่านให้เพ่งที่จุดมโนทวาร อยู่กลางใบหน้า ระหว่างดงตาทั้งสองข้าง ที่จุดดั้งจมูกหัก
    ใครทำใครได้ ใครสงสัยก็ถาม
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2016
  18. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    รู้สึกนึกคิด...
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก่อนที่ใครจะละเมอ ไปเพ่งเบ้าตาเหล่ ดับความคิด

    ให้กลับมา พิจารณา คำว่า โยนิโสมนสิการ อันเปนแสงอรุณแห่งมรรค นิมิตแห่งวิมุตติ ดูก่อน

    มิจฉาทิฏฐิ ปฏิบัติผิด มีปรกติทำอริยูปวาโท เท่านั้น ที่จะเพ่งเบ้าตาเหล่ ดับความคิด ว่าเปน โยนิโสมนสิการ

    หนทางพ้น อาการวิปัสนึก อันเปนทุกขควรกำหนดรู้ มีแน่ โยนิโสมนสิการให้ดีๆ
     
  20. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ตามพระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังกิณี เล่ม๑ ภาค๑ หน้าที่๔๐ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ประมาณ ๗ วัน พระองค์ก็อุทานว่า
    "ยทา หเว ปาตุภวันติ ธรรมมา อาตาปิโน ฌานยโต พราหมฌัสสะ ฯ เป ฯ สูโรวะ โอภาสยมนูตลิกขัง"
    ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พรามณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป เพราะมาทราบชัดซึ่งธรรมพร้อมทั้งเหตุ.
    ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พรามณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป ซึ่งมาได้รู้ซึ่งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย.
    ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พรามณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมาร และเสนามารได้เหมือนพระอาทิตย์ยังท้องฟ้าให้สว่างอยู่ ฉะนั้น.
    ทั้งสติปัฏฐาน 4 หรือฌานสมาบัติ 9 และวิปัสสนาญาณ 9 ก็ใช้หลักการเพียรเพ่ง(ไม่มีการพิจารณา การรู้การเห็นก็เป็นจริงตามที่รู้ที่เห็นไปเลย) การเพียรเพ่งผลคือการดับไม่ว่าทั้งสติ ปัญญาและกิเลสก็ดับด้วยกันทั้งหมด ว่าโดยรวมๆก็ความคิดดับนั่นเอง ปัญญาที่ถูกดับนี้เป็นปัญญาโลกีย์ เมื่อดับไปทั้งหมดก็จะมีปัญญาญาณเกิดขึ้นหรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นปัญญาระดับโลกุตรธรรมครับ
    ธรรมแท้ที่ถูกปกปิด ที่หลงเหลือในพระไตรปิฎก ใครจะโต้แย้งก็ตามใจ
    เจริญในธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...