ประกาศ ถอนสัจจะ และประกาศสัจจะใหม่

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 1 มีนาคม 2008.

  1. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ย้อนหลังไปเมื่อกลางปี 2544 ผมได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์ ของบ้านหนองร้านหญ้าตำบลหัวหนอง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ที่คนแถวนั้นเรียกว่า "เมืองเก่าผือบัง" และเหมือนมีบางสิ่งบางอย่างที่มองไม่เห็นสัมผัสจับต้องไม่ได้ แต่มีพลังเหนือจิตวิญญาณของผู้เขียน ที่บัดดลให้ต้องเป็นผู้นำ ในการกระทำพิธีกรรมบัดพลีบวงสรวง แด่เทพยดาอารักษ์และดวงวิญญาณ ของพระมหากษัตริย์สมัยโบราณ ทั้งที่แต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยมีการกระทำกันมาก่อน แล้วผู้เขียนเป็นใครจึงริอ่านมาชักนำ ให้ผู้หลักผู้ใหญ่ในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นนายอำเภอ ส.จ.หรือแม้แต่ ส.ส. ต้องมายืนจุดธูปพนมมือป้อ อยู่หน้าโต๊ะเครื่องเซ่นบวงสรวงสังเวยบัดพลี ล้อมหน้าอ้อมหลังไปด้วยคุณหญิงคุณนาย ท่ามกลางตัวแทนพี่น้องประชาชน ที่มาจากทุกหมู่บ้านทุกตำบลในเขตอำเภอบ้านไผ่ ที่พร้อมใจบวชชีพราหมณ์นุ่งขาวห่มขาวกว่า 3,000 คนในงาน "ทำบุญสืบชะตาบ้านต่อชะตาเมืองอำเภอบ้านไผ่" เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2544
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    โดย หลังจากผ่านการ ทำพิธี ทำบุญสืบชะตาบ้านต่อชะตาเมือง อีกไม่กี่เดือนต่อมา ก็มีแรงบันดาลใจ ให้นั่งคิดจินตนาการเป็นตุเป็นตะ เขียน นิทานออกมา เป็นเรื่องแรก ให้ชื่อว่า จากลวปุระ สู่อาณาจักรมหิธรปุระแดนพุทธเกษตร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2009
  2. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    - ๓ -<O:p</O:p

    พระเจ้าหิรัณยวรมัน มีองค์มเหสีพระนามว่าพระนางหิรัณยลักษมี ผู้ที่นอกจากจะได้ให้การเลี้ยงดูราชโอรส-ราชธิดาของพระองค์เอง ๓ พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายธรณินทรวรมัน เจ้าหญิงหิรัณกัลยาเทวี และเจ้าชายอีสานวรมัน แล้วยังได้รับภาระอุปการะเลี้ยงดูเจ้าชายกษิตีนทราทิตย์พระราชนัดดาซึ่งเป็นราชโอรสของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ กับพระมเหสีอีกพระองค์หนึ่งที่ประทับอยู่ในอาณาจักรลวปุระ ซึ่งได้ประสูติในปีมหาศักราช ๙๔๒ แต่พระราชมารดาได้สิ้นพระชนม์ภายหลังจากเจ้าชายกษิตีนทราทิตย์มีพระประสูติกาลได้ไม่นาน พระราชบิดาจึงได้ฝากฝังไว้ให้พระนางหิรัณยลักษมีเป็นผู้เลี้ยงดูมาโดยตลอด โดยขณะที่พระเจ้าหิรัณยวรมันเสด็จออกจากอาณาจักรลวปุระ มาตั้งราชอาณาจักรใหม่ที่อาณาจักรมหิธรปุระนั้น เจ้าชายกษิตีนทราทิตย์มีพระชันษาได้เพียง ๑๐ ปีเท่านั้น ส่วนเจ้าชายธรณินทรวรมันประสูติในปีมหาศักราช ๙๖๖ เจ้าหญิงหิรัณกัลยาเทวีประสูติในปีมหาศักราช ๙๖๘ และเจ้าชายอีสานวรมันประสูติในปีมหาศักราช ๙๗๐ และทั้งสี่พระองค์ก็ได้รับการเลี้ยงดูและเติบใหญ่ที่อาณาจักรมหิธรปุระพุทธเกษตรแห่งนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    - ๔ -<O:p</O:p

    ในปีมหาศักราช ๙๙๗ เจ้าชายธรณินทรวรมัน พระชันษาได้ ๓๑ ปี ก็ได้รับการประทานพิธีอภิเษกสมรสกับพระนาง</O:p
    ในปีมหาศักราช ๙๙๙ พระราชธิดาองค์เดียวแห่ง พระเจ้าหิรัณยวรมัน ผู้มีพระนามว่า พระนางหิรัณกัลยาเทวี ได้เข้าพิธีเสกสมรสกับเจ้าชายกษิตีนทราทิตย์ ผู้เป็นราชนัดดาของพระเจ้าหิรัณยวรมันนั่นเอง และได้นำไพร่ฟ้า ราษฎรครึ่งหมื่นขึ้นไปสร้างบ้านแปงเมืองใหม่ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอาณาจักรมหิธรปุระ ที่บนยอดเขาพนมผาแก้ว ต้นแม่น้ำป่าสัก และได้ฉลองพระนามให้ควรแก่ฐานะราชบุตรเขยที่ พระเจ้ากษิตีน ทราทิตย์
    <O:p</O:p
    ในปีมหาศักราช ๑๐๐๒ เจ้าชายอีสานวรมัน ราชบุตรองค์สุดท้องแห่ง พระเจ้าหิรัณยวรมัน ขณะที่มีพระชันษาครบ ๓๒ ปี ก็ได้เข้าพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรมหิธรปุระ ภายหลังจากพระเจ้าหิรัณยวรมัน และพระนางหิรัณยลักษมี ที่ได้ทิวงคตในเวลาไล่เลี่ยกันในปลายปีมหาศักราช ๑๐๐๑ ได้รับการฉลองพระนามที่ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงธรรม สืบต่อพระราชบิดา

    <O:p</O:p

    - ๕ -<O:p</O:p

    โดยเหตุการณ์ที่สำคัญหลังจาก พระเจ้าหิรัณยวรมัน เสด็จทิวงคตนั้น ทั้งพระเจ้าธรณินทรวรมัน และพระเจ้ากษิตีนทราทิตย์ ได้เดินทางมาร่วมพิธีถวายพระเพลิงศพพระเจ้าหิรัณยวรมัน ที่อาณาจักรมหิธรปุระ โดยเมื่อเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีศพแล้ว ได้มีการหารือกันว่าผู้ใดจะขึ้นครองอาณาจักรมหิธรปุระสืบต่อพระราชบิดา แต่ไม่เป็นที่ตกลงกันได้ เนื่องจากเจ้าชายอีสานวรมันประสงค์ที่จะให้พระเจ้าธรณินทรวรมัน ขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อพระราชบิดา แต่พระนางชัยจุฑาราชเทวีทรงคัดค้านด้วยไม่ปรารถนาให้พระสวามีขึ้นครองอาณาจักรนี้ เพราะต้องการที่จะประทับอยู่ดูแลพระราชบิดาและพระราชมารดาที่พนมผาแคง จึงทำให้พระเจ้าธรณินทรวรมันรู้สึกกระอักกระอ่วนพระทัย จึงได้เสนอให้พระเจ้ากษิตีนทราทิตย์ ราชบุตรเขย ซึ่งเป็นผู้อาวุโสสูงกว่าและเป็นหน่อกษัตริย์แห่งพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ จึงสมควรขึ้นเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรมหิธรปุระ อีกทั้งเป็นโอกาสอันดีที่พระนางหิรัณกัลยาเทวีก็จะได้กลับมาดูแลพระราชมารดาคือพระนางหิรัณยลักษมี ซึ่งทรงพระประชวรเป็นโรคพระหทัย อีกทั้งกำลังอยู่ในภาวะเศร้าโศรกที่ต้องสูญเสียพระราชสวามีอันเป็นที่รักไป แต่เจ้าชายอีสานวรมัน ไม่ทรงเห็นด้วยและยืนกรานที่จะให้พระเจ้าธรณินทรวรมันขึ้นเป็นกษัตริย์ ในระหว่างที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ พระนางหิรัณยลักษมี ก็ได้ตรอมพระทัยอย่างหนักด้วยอาลัยในพระสวามี และเสด็จสู่สวรรคาลัย ทั้งสามฝ่ายจึงได้ยุติเรื่องการขึ้นครองอาณาจักร เพื่อจัดการพระราชพิธีศพของพระราชมารดาให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    - ๖ -<O:p</O:p

    ภายหลังจากจากเสร็จสิ้นพระราชพิธี แล้วจึงได้มีการหารือกันอีกรอบ โดยในครั้งนี้พระนางหิรัณกัลยาเทวีได้แสดงพระประสงค์อย่างมั่นคงที่จะกลับไปยังนครพนมผาแก้ว ด้วยปรารถนาชีวิตที่สงบ และก็ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ดูแลพระราชมารดาอีก อีกทั้งพระเจ้ากษิตีนทราทิตย์เองก็ย่างเข้าสู่วัยชราชันษาได้ ๖๐ กว่าปีแล้ว จึงไม่ได้ปรารถนาราชอำนาจแต่อย่างใด จึงได้เสนอให้เจ้าชายอีสานวรมัน ขึ้นเป็นกษัตริย์ขึ้นครองอาณาจักรต่อ ด้วยเหตุผลที่เป็นผู้ที่ได้อยู่ใกล้ชิดพระราชบิดาและช่วยบริหารราชการอยู่แล้วย่อมจะสามารถดูแลอาณาประชาราษฎรได้เป็นอย่างดี เมื่อเหตุผลและเป็นความต้องการทั้งของพระเชษฐาและพระเชษฐภคินี จึงไม่อาจขัดพระประสงค์ได้เจ้าชายอีสานวรมันจึงได้มีเข้าพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ขึ้นครองอาณาจักรมหิธรปุระ ฉลองพระนามที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ โดยมีพราหมณ์ทิวากรบัณฑิตเป็นราชปุโรหิต กระทำพิธีราชาภิเษกในปีมหาศักราช ๑๐๐๒ โดยก่อนที่จะแยกย้ายกลับบ้านเมือง ได้มีการกำหนดนัดหมายที่จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับพระเจ้าหิรัณยวรมัน กับพระนางหิรัณยลักษมี ในอีกหนึ่งปีข้างหน้า โดยขอให้แต่ละเมืองสร้างพระพุทธรูปมาถวายเพื่อการอุทิศดังกล่าว<O:p</O:p
     
  3. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    - ๗ -<O:p</O:p

    เมื่อพระเจ้าธรณินทรวรมันกับพระนางชัยจุฑาราชเทวี ได้เสด็จกลับสู่อาณาจักร ยโศธรปุระนั้น จึงได้ทราบว่าพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ ได้ทรงสิ้นพระชนม์ โดยมิทันได้ได้เตรียมการราชาภิเษกกษัตริย์องค์ใหม่แทน จึงเกิดความยุ่งยากขึ้นในอาณาจักรยโศธรปุระ เนื่องจากมีผู้มักใหญ่ใฝ่สูงต้องการยึดอำนาจเพื่อขึ้นเป็นกษัตริย์เสียเอง โดยมิได้คำนึงพระราชประสงค์ของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ ที่จะให้พระเจ้าธรณินทรวรมันสืบราชย์สมบัติ แต่ความยุ่งยากในครั้งนั้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากพระอนุชาคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ที่ได้นำกองทัพมาปราบปรามอริราชศัตรูที่คิดก่อการกบฏยึดอำนาจได้อย่างราบคาบ แต่ก็ทำให้อาณาจักรยโศธรปุระบอบช้ำและอยู่ในภาวะอ่อนล้า ประชาชนขาดขวัญและกำลังใจ พระเจ้าธรณินทรวรมันจึงมิได้ปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรยโศธรปุระ แต่ยังคงดูแลอาณาจักรที่ลดฐานะตัวเองเป็นเพียงเมืองยโศธรปุระเท่านั้น เพื่อปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎรต่างพระเนตรพระกรรณแทนพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ที่มีอิทธิพลทางจิตใจเหนือชาวเมืองยโศธรปุระ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    - ๘ -<O:p</O:p

    มหาศักราช ๑๐๐๓ ได้มีการจัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับพระเจ้าหิรัณยวรมัน กับพระนางหิรัณยลักษมี ที่อาณาจักรมหิธรปุระ โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ได้สร้างพระประธานองค์ใหญ่และได้บรรจุพระอัฐิธาตุของพระเจ้าหิรัณยวรมันไว้ในองค์พระพุทธรูปนั้น พระเจ้าธรณินทรวรมัน ได้สร้างพระพุทธรูปบูชาขนาดเล็กและได้บรรจุพระอัฐิธาตุของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ ไว้ในองค์พระพุทธรูปนั้น ส่วนพระนางหิรัณกัลยาเทวีได้สร้างพระพุทธรูปสลักจากแผ่นหิน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเมืองพนมผาแก้ว และได้มีการจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองเบิกพระเนตรพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ เพื่อให้เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองแห่งอาณาจักรมหิธรปุระพุทธเกษตร สืบต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    - ๙ -<O:p</O:p

    มหาศักราช ๑๐๐๕ พระเจ้ากษิตีนทราทิตย์กับพระนางหิรัณกัลยาเทวีได้มีพระประสูติกาลราชบุตร จึงตั้งพระนามว่าเจ้าชายอาทิตยบุตร ให้คล้องจองกับกับพระอัยกาคือ พระเจ้าอาทิตยราชบุตร (พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑) ครั้นเมื่อเติบใหญ่เจริญวัยในเมืองพนมผาแก้วจนมีพระชันษาได้ ๘ ปี สมควรแก่การที่จะได้รับการศึกษาศิลปวิทยาการต่าง ๆ ในปีมหาศักราช ๑๐๑๓ พระราชมารดาจึงได้ส่งเจ้าชายอาทิตยบุตรให้เข้ามาศึกษาหาความรู้ที่เมืองยโศธรปุระ โดยให้อยู่ในความอุปการะดูแลของพระปิตุลา คือ พระเจ้าธรณินทรวรมัน ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ได้มีทั้งราชบุตรและราชธิดา ดังนั้น เจ้าชายอาทิตยบุตรจึงได้รับการดูแลและให้ความรักใคร่เอ็นดูจากพระชัยจุฑาราชเทวีประดุจบุตรในอุทร พระเจ้าธรณินทรวรมันได้สนับสนุนส่งเสริมให้ได้เล่าเรียนในศิลปะวิทยาการทุกแขนง

    <O:p</O:p

    - ๑๐ -<O:p</O:p

    ในปีมหาศักราช ๑๐๒๓ เมืองพนมผาแก้วได้เกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ น้ำป่าหลาก แผ่นดินถล่ม เมืองทั้งเมืองจมลงสู่ทะเลโคลน ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดรอดชีวิตได้ ไม่เว้นแม้แต่พระเจ้ากษิตีนทราทิตย์และพระนางหิรัณกัลยาเทวี ไม่หลงเหลือหลักฐานใด ๆ เลย นอกเจ้าพระพุทธรูปสลักบนแผ่นหินที่เป็นสัญลักษณ์ของพนมผาแก้วเท่านั้นที่อยู่ที่อาณาจักรมหิธรปุระ<O:p</O:p
    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่พนมผาแก้ว ยังความเศร้าโศกสลดมาสู่เจ้าชายอาทิตยบุตรอย่างสุดซึ้ง เพราะต้องสูญเสียทั้งพระราชบิดาและพระราชมารดาในคราวเดียวกัน อีกทั้งบ้านเมืองที่ตั้งพระทัยเอาไว้ว่าหลังจากสำเร็จการศึกษาศิลปวิทยาการทั้งปวงแล้ว จะได้เสด็จกลับไปเป็นเจ้าครองเมืองพนมผาแก้วสืบต่อจากพระราชบิดา ก็มีอันสูญสลายหายไปกับภัยธรรมชาติครั้งนี้ ด้วยความตั้งพระทัยและความสูญเสียที่เกิดขึ้นนี้เองได้เป็นพลังขับให้เจ้าชายอาทิตยบุตร เกิดความมักใหญ่ใฝ่สูง ตั้งมั่นว่าสักวันหนึ่งจักต้องขึ้นครองเมืองยโศธรปุระและสร้างอาณาจักรแห่งนี้ให้กลับมายิ่งใหญ่ดังเช่นในอดีตให้ให้จงได้ เพื่อสืบสายกษัตริย์ของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ผู้เป็นพระอัยกาเจ้า<O:p</O:p


    - ๑๑ -<O:p</O:p

    และเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็ได้เกิดขึ้นในอีก ๖ ปีต่อมา ในปีมหาศักราช ๑๐๒๙ ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่อาณาจักรมหิธรปุระ ปราสาทราชวังได้พังทลาย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ สิ้นพระชนม์ในซากปรักหักพังของปราสาท พร้อมกับราชปุโรหิตประจำอาณาจักรมหิธรปุระผู้ซื่อสัตย์ และไม่ยอมทอดทิ้งอาณาจักรแห่งนี้ไป ผู้คนในอาณาจักรทั้งหมดต้องจบชีวิตลงอย่างน่าสังเวชและสลดใจแม้ว่าจะได้พยายามวิ่งหนีเอาตัวรอด ผู้ที่มีความห่วงใยในองค์พระพุทธรูปล้ำค่าได้พยามยามที่จะนำเอาพระพุทธรูปหนีจากภัยแผ่นดินไหว ทางหนึ่งนำพระพุทธรูปบูชาองค์เล็กหนีไปทางทิศตะวันออก แต่ก็ไม่สามารถรอดชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ได้ อีกทางหนึ่งช่วยกันยกเอาพระพุทธรูปที่แกะบนแผ่นหินหนีไปทางทิศตะวันตก ก็ไม่สามารถเอาชีวิตรอดจากภัยแผ่นดินไหวได้เช่นกัน ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ เป็นผู้สร้าง ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ ก็ได้พังครืนลงกับที่ นับเป็นเหตุการณ์ที่เศร้าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง
     
  4. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    - ๑๑ -<O:p</O:p

    และเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็ได้เกิดขึ้นในอีก ๖ ปีต่อมา ในปีมหาศักราช ๑๐๒๙ ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่อาณาจักรมหิธรปุระ ปราสาทราชวังได้พังทลาย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ สิ้นพระชนม์ในซากปรักหักพังของปราสาท พร้อมกับราชปุโรหิตประจำอาณาจักรมหิธรปุระผู้ซื่อสัตย์ และไม่ยอมทอดทิ้งอาณาจักรแห่งนี้ไป ผู้คนในอาณาจักรทั้งหมดต้องจบชีวิตลงอย่างน่าสังเวชและสลดใจแม้ว่าจะได้พยายามวิ่งหนีเอาตัวรอด ผู้ที่มีความห่วงใยในองค์พระพุทธรูปล้ำค่าได้พยามยามที่จะนำเอาพระพุทธรูปหนีจากภัยแผ่นดินไหว ทางหนึ่งนำพระพุทธรูปบูชาองค์เล็กหนีไปทางทิศตะวันออก แต่ก็ไม่สามารถรอดชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ได้ อีกทางหนึ่งช่วยกันยกเอาพระพุทธรูปที่แกะบนแผ่นหินหนีไปทางทิศตะวันตก ก็ไม่สามารถเอาชีวิตรอดจากภัยแผ่นดินไหวได้เช่นกัน ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ เป็นผู้สร้าง ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ ก็ได้พังครืนลงกับที่ นับเป็นเหตุการณ์ที่เศร้าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง

    <O:p</O:p<O:p</O:p

    - ๑๒ -<O:p</O:p

    หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ในอาณาจักรมหิธรปุระ จนกระทั่งอาณาจักรทั้งอาณาจักรพังล่มสลายไป พระเจ้าธรณินทรวรมัน ซึ่งทำหน้าที่ประดุจเป็นอุปราชของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ที่เมืองยโศธรปุระ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ที่จะไม่เข้าพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ เพื่อปกครองอาณาจักรยโศธรปุระได้ ดังนั้น ในปีมหาศักราช ๑๐๒๙ นี้เอง พราหมณ์ทิวากรบัณฑิตจึงได้กระทำพระราชพิธีราชาภิเษกให้พระเจ้าธรณินทรวรมันขึ้นเป็นกษัตริย์ฉลองพระนามที่ พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ ๑ และพราหมณ์ทิวากรบัณฑิตเองก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นราชปุโรหิต เพื่อถวายคำแนะนำในการบริหารราชการบ้านเมือง และเมืองยโศธรปุระก็ได้ยกฐานะมาเป็นอาณาจักรยโศธรปุระอีกวาระหนึ่ง

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    - ๑๓ -<O:p</O:p

    ในปีมหาศักราช ๑๐๓๒ หลังจากพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ ๑ ขึ้นครองราชย์ได้ ๓ ปี พระนางชัยจุฑาราชเทวีได้มีพระประสูติกาลเป็นเจ้าชายน้อยผู้มีลักษณะสมบูรณ์ด้วยลักษณะของมหาบุรุษยิ่ง พระรูปพระโฉมละม้ายคล้ายคลึงกับพระอนุชาคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ที่สิ้นพระชนม์ท่ามกลางอาณาจักรมหิธรปุระ ที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อสามปีที่แล้ว จึงได้ตั้งพระนามให้ราชกุมารพระองค์นี้ว่า เจ้าชายสตวรมัน และได้ทะนุถนอมและเลี้ยงดู บำรุง เจ้าชายสตวรมันเป็นอย่างดี<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    - ๑๔-<O:p</O:p

    ปีมหาศักราช ๑๐๓๕ ขณะนั้นเจ้าชายอาทิตยบุตรมีพระชันษาได้ ๓๐ ปี และทรงสำเร็จการศึกษาศิลปวิทยาการทุกแขนง มีสติปัญญาเป็นเลิศ ได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์ ผู้มีความปราดเปรื่องในวิทยาการทุกแขนง จึงได้มีดำริว่าถึงเวลาที่จะช่วงชิงอำนาจจากพระปิตุลาคือพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ ๑ ซึ่งเข้าสู่วัยชราพระชนม์พรรษาได้ ๖๘ ปี จึงได้เข้ายึดอำนาจอย่างเงียบ ๆ และพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ ๑ ก็ทรงยินยอมแต่โดยดี และได้ให้มอบพราหมณ์ทิวากรบัณฑิตกระทำพิธีราชาภิเษกเจ้าชายอาทิตยบุตรขึ้นเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรยโศธรปุระ ฉลองพระนามที่ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ และพระองค์ได้ได้แต่งตั้งพราหมณ์ทิวากรบัณฑิตเป็นราชปุโรหิตประจำราชอาณาจักรอีก และได้รับหน้าที่ให้เดินทางไปแสวงบุญยังศาสนสถานสำคัญต่าง ๆ ทั่วทั้งอาณาจักร เพื่ออุทิศถวายสิ่งต่าง ๆ แทนพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ซึ่งตั้งพระทัยที่จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพชน ตลอดทั้งประชาชนในอาณาจักรมหิธรปุระและเมืองพนมผาแก้วที่ได้ประสบอุบัติภัยครั้งใหญ่และสิ้นชีวิตกันอย่างน่าเศร้าสลดใจ

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    - ๑๕ -<O:p</O:p

    ในรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ นี้ ได้มีการก่อสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่และถือว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความงดงามเชิงสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมเป็นอย่างยิ่งนั่นคือ ปราสาทหินนครวัด ซึ่งสร้างถวายเป็นพุทธบูชา เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลตามคตินิยมทางพุทธศาสนา ตามแบบอย่างพระเจ้าอโศกมหาราชได้กระทำมาก่อน ความรุ่งเรืองได้ดำเนินไปเป็นเวลานานร่วม ๔๐ ปี และเข้าสู่ยุคเสื่อมในปลายรัชกาล จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ โดยผู้ที่ขึ้นสืบเป็นกษัตริย์สืบต่อจากพระองค์มิได้มีความเข้มแข็ง ทั้งเกิดการแก่งแย่งช่วงชิงราชบัลลังก์ จนกระทั่งกองทัพจามบุกเข้ายึดอำนาจในที่สุด


    <O:p</O:p

    - ๑๖ -<O:p</O:p

    จะกล่าวถึงพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ ๑ กับพระนางชัยจุฑาราชเทวีรวมทั้งเจ้าชายสตวรมัน หลังจากที่ที่พระองค์ได้เสด็จลงจากอำนาจแล้ว ก็ได้รับการบำรุงเลี้ยงดูอุปการะเป็นอย่างดีจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ประหนึ่งบุพการีบังเกิดเกล้า ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากทั้งสองพระองค์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนกระทั่งพระราชบิดาและพระราชมารดาสิ้นพระชนม์ในคราวเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ จนทำให้เมืองพนมผาแก้วล่มสลายไป
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    - ๑๗ -<O:p</O:p

    จะกล่าวถึงเจ้าชายสตวรมัน ผู้ซึ่งได้เจริญรอยตามพระราชบิดาคือพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ ๑ ซึ่งเป็นกษัตริย์ทรงธรรมผู้ทรงนับถือพระพุทธศาสนาของพระชินะเจ้าอย่างมั่นคง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ชีพ ดังนั้น ตลอดระยะเวลาที่เจ้าชายสตวรมันได้เสด็จไปร่วมแสวงบุญร่วมกับพระราชบิดาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จนกระทั่งพระชันษาได้ ๑๗ ปี ในปีที่พระราชบิดาได้สิ้นพระชนม์ลง จึงมีส่วนสนับสนุนให้ความคิดความอ่านและพระจริยาวัตรของเจ้าชายสตวรมันเป็นที่เคารพยกย่องจากครูบาอาจารย์ และพระองค์ได้รับการการอุปการะ เลี้ยงดูและสนับสนุนให้พระองค์ได้รับการศึกษาศิลปวิทยาการทุกแขนง จากพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ จึงทำให้เจ้าชายสตวรมันเป็นผู้ที่มีความเพรียบพร้อมในทุกด้าน และเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้พระองค์เป็นมหาราชผู้กอบกู้เอกราชและอิสรภาพของอาณาจักรยโศธรปุระจากอาณาจักรจัมปาที่ได้ยกกองทัพจามเข้ามารบพุ่งยึดเมืองและแผ่อำนาจเหนืออาณาจักรแห่งนี้อยู่เป็นระยะเวลาร่วม ๔ ปี เมื่อเจ้าชายสตวรมันเข้าพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นมหากษัตริย์ทรงได้รับการฉลองพระนามที่ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗..<O:p</O:p

    --------------------------------------------------------------------------<O:p</O:p

    ปล. หากต้องการแปลง มหาศักราชเป็น พุทธศักราช ให้นำ 621 บวกเข้าไป.<O:p</O:p
     
  5. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เดือน พฤษภาคม 2545 ผ่านมาอีก 1 ปี ที่อำเภอบ้านไผ่ ยังคงมีกำหนดจัดงาน ทำบุญสืบชะตาบ้านต่อชะตาเมือง เป็นปีที่ 2 ต่อจาก เมื่อปีที่แล้ว ที่แตกต่างก็คือ ผมไม่ได้ไปร่วมด้วย เพราะ ได้ไปทำพิธีกรรมแยกต่างหาก ก่อนที่จะถึงกำหนดวันงานบุญที่ทางอำเภอกำหนดขึ้น เนื่องจาก ได้มีผู้แนะให้ได้รู้จัก
     
  6. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    และ ในการบวงสรวงครั้งนั้น อาจารย์ไก่ ได้ร่างคำโองการถอดถอนคำสาป เพื่อให้ผม อ่านหน้าบายศรี วันนั้นว่า ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    "ในวันนี้เป็นฤกษ์งามยามดีที่เบื้องบน เปิดโอกาสให้ข้าพเจ้า นายเอกอิสโร วรุณศรี ได้ตั้งเครื่องบายศรีต้น 9 ชั้น เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า บายศรีพรหมทั้งหลาย เพื่อบูชาพรหมทั้งหลายและครูบาอาจารย์ที่เป็นพรหม บายศรีเทพเพื่อบูชาเทพทั้งหลายและครูบาอาจารย์ที่เป็นเทพบัดพลีต่าง ๆ เพื่อเป็นการนอบน้อมแด่ท่านท้าวมหาราชทั้ง 4 ทุกสิ่งนี้เป็นอามิสบูชาซึ่งบรรพชนไทยได้ทำสืบทอดกันมา ซึ่งข้าพระพุทธเจ้ายังมีความดีไม่ทรงตัว จึงต้องทำพลีกรรมในที่นี้ ถึงจะเป็นกุศลเล็กน้อย ในพุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ เทวตานุสติ ขอเป็นเครื่องบูชาคุณทุกท่านทุกพระองค์ ที่ในอดีตกาลที่ข้าพเจ้าได้นำฤทธิในอภิญญา 5 ที่ได้เรียนมาจากสำนักพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น มาใช้ในทางที่ผิดเป็นมิจฉาทิฐิ อธิษฐานบังคับ อสูรให้เป็นบริวารในการทำคุณไสยต่าง ๆ จนเป็นการเบียดเบียนให้บุคคลที่ตนไม่พอใจ ต้องอาถรรพณ์ต่าง ๆ จนต้องเสียชีวิตและถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว เป็นเวลา 1,000 ปีเศษ และเป็นจำนวนมากและได้เข้าฌาน 1 จนถึงอรูปฌาน 4 แล้วอธิษฐานสาปแช่ง อาทิ สาปแช่งว่าหากแผ่นดินนี้ มิใช่แดนเกิดแห่งกูในทุกชาติ ก็ขอให้แผ่นดินนั้นเกิดอาถรรพ์วิบัติ ผู้ใดอยู่ไม่เจริญรุ่งเรืองให้มีแต่ความขัดแย้ง ด้วยไอ้...อี...เหล่านั้นทำให้กูได้เจ็บใจคับแค้นใจ ดังนี้ เป็นต้น แล้วใช้อสูรมาควบคุมวิญญาณต่าง ๆ ที่มาจุติในพื้นที่อธิษฐานของตน ตัดรอนชีวิต อายุ การเงิน การงาน และความสุขในครอบครัว ทุกครั้ง ที่ตนเองมิได้ลงมาจุติ แต่เมื่อตนได้มาจุติแล้วก็คับแค้นจนพัฒนาบ้านเมืองไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะผลของทานบารมีน้อยลงไปทุกที แต่ก็ได้ตั้งความหวังที่จะทำตบะให้แกร่งกล้าเพื่อมาถอนคำสาปของตน
    <O:p</O:p
    บัดนี้ เป็นกาลเวลาที่ดีแล้ว ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอขมาลาโทษ ต่อต้นตระกูลไทยสายการใช้อักขระออกเสียงสั้น คือ กะ ขะ คะ งะ ซึ่งเป็นไทยขอมโดยมี พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 เป็นต้นแห่งตระกูล
    <O:p</O:p
    และข้าพเจ้าและคณะก็มีเพียงความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ดังหิ่งห้อยในยามค่ำคืน จึงใคร่ขอบารมีทุก ๆ พระองค์ที่ประชุมในที่นี้ และโดยเฉพาะเทพประจำมีดหมอชาตรีที่หลวงพ่อได้อธิษฐานจิตไว้ดีแล้ว จงได้ปลดปล่อยวิญญาณเหล่าอสูรที่ถูกนำมาใช้งานอาถรรพ์ที่เกิดจากการเข้าฌานถึงอรูปฌาน 4 ในการสาปแช่ง ในแผ่นดินแห่งภาคอีสานทั้งหมด และเหล่าแม่พระธรณี พระภูมิเจ้าที่รุกขเทวดา และอินทกะ ที่ถูกลงโทษด้วยอาญาสวรรค์ที่เพิกเฉยเสียจนเกินไปในการทำพิธีนั้น ขอให้บารมีหลวงพ่อและมีดหมอชาตรีจงปลดปล่อยถอดถอนอาถรรพ์ต่าง ๆ นั้น โดยเฉียบพลัน
    <O:p</O:p
    ข้าพเจ้าจึงขอสละเลือดในกายข้าพเจ้า ลงสู่พระแม่ธรณีเพื่อประกาศให้วิญญาณต่าง ๆ ได้รู้ว่าข้าพเจ้าสำนึกผิดนั้นแล้วซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแบบโบราณ
    <O:p</O:p
    และขอตั้งสัตยาธิษฐานจะเป็นคนดีของบ้านเมือง ที่มีคุณธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จนที่สุดแห่งชีวิตเพื่อเป็นการบูชาความดีทุก ๆ พระองค์
    <O:p</O:p
    และขอให้อานิสงส์นี้จงส่งผล อิทัง ปุญญะ พะลัง ผลบุญใดที่ได้ทำแล้ว ณ โอกาสนี้ขอผลบุญนี้ จงส่งผลให้เจ้ากรรมนายเวรและวิญญาณที่ต้องอาถรรพณ์ต่าง ๆ จงโมทนาบุญ แล้วจะสร้างพระพุทธรูป </O:p
     
  7. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    หลังจาก กลับมาจาก พิธีล้างอาถรรพ์ คำสาปแล้ว ก็ได้เกิด จินตนาการเป็นตุ เป็นตะ เขียน เค้าโครงนิทานได้ อีก 2-3 เรื่อง และที่เขียน เป็นเล่ม ชื่อ "อนินทิตปุระ...อรุณรุ่งแห่งอารยธรรม"
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มาเริ่มที่ เค้าโครงนิทาน เรื่อง แรก
    <O:p</O:p

    มหิธรปุระ...อารยะที่อัสดง<O:p</O:p

    <O:p</O:p




    พ.ศ. ๑๒๘๘ พระบาทอาทิตยอธิราช ได้ขึ้นครองราชย์ สืบต่อ "พระเจ้าชัยสิงหวรมัน" ตรงกับ ปี...... <O:p</O:p
    (ลำดับการณ์ของพระบาทอาทิตยราช<O:p</O:p
    เกิด พ.ศ. ๑๒๓๔<O:p</O:p

    ครองราชย์ พ.ศ.๑๒๘๘ ชันษา.๕๔ ปี.......<O:p</O:p
    สวรรคต พ.ศ. ๑๓๑๔ ชันษา ๘๐ ปี ครอง ๒๖ ปี<O:p</O:p
    ลูกทั้ง ๕ เกิดระหว่าง ๑๒๖๓ - ๑๒๘๕ และลูกคนสุดท้องต้องอายุมากพอที่จะครองเมือง ตอนพ่อตาย ดังนั้น<O:p</O:p

    ลูกคนเล็ก เกิด ๑๓๐๓-๑๘ เท่ากับ ๑๒๘๕ พระบาทอาทิตยราช อายุ ๑๒๘๕-๑๒๓๔ เท่ากับ ๕๑ แก่เกินที่จะมีลูก? <O:p</O:p
    ลูกคนที่ ๔ อายุ ๓๐ ปี เกิด ๑๓๐๓-๓๐ เท่ากับ ๑๒๗๓ พ่ออายุ ๓๙ ปี<O:p</O:p
    ลูกคนที่ ๓ (พระทอง) อายุ ๓๒ ปี เกิด ๑๓๐๓-๓๒ เท่ากับ ๑๒๗๑ พ่ออายุ ๓๗ ปี<O:p</O:p
    ลูกคนที่ ๒ อายุ ๓๖ ปี เกิด ๑๓๐๓-๓๖ เท่ากับ ๑๒๖๗ พ่ออายุ ๓๓ ปี<O:p</O:p
    ลูกคนโต อายุ ๔๐ ปี เกิด ๑๓๐๓-๔๐ เท่ากับ ๑๒๖๓ พ่ออายุ ๒๙ ปี <O:p</O:p
    ปี พ.ศ. ๑๓๐๐ ที่เปลี่ยนชื่อน่าที่จะได้ส่งลูก ๆ ไปครองเมืองต่างๆ<O:p</O:p
    หลังจากครองราชย์ครบรอบปีนักษัตร ในปี พ.ศ.๑๓๐๐ ได้ทำการเฉลิมฉลองการครองราชสมบัติ และทำการเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่จาก "อนินทิตปุระ" มาเป็น "โพธิสารหลวง" ด้วยเหตุที่ชื่อเดิมยากต่อการเรียกขานของชาวต่างชาติที่เข้ามาทำการค้าขายและทำไมตรีทางการฑูต จึงได้อาศัยนิมิตที่อาณาจักรอนินทิตปุระนี้เป็นดินแดนที่ประชาชนทั้งหลาย มีศรัทธาและฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนา เรียกว่าทุกลมหายใจเป็นธรรมะ พระบาทอาทิตยราชจึงได้ ให้ชื่อเมืองหลวงใหม่นี้ว่า "โพธิสารหลวง" อันมีความหมายว่า "ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาอันกว้างใหญ่ไพศาล" ซึ่งเมื่อพระองค์มีพระราชสาสน์ไปแจ้งยังราชสำนักจีน พระเจ้า.....ฮ่องเต้ ก็ได้มีพระบรมราชโองการตั้งให้พระบาทอาทิตยราชเป็น "อ๋องแห่งดินแดนพุทธิทางทะเลใต้" และเรียกกรุงโพธิสารหลวงนี้ว่า "โฟ-ซิ-หนาน-ต้า"
    <O:p</O:p
    ในปีเดียวกันนั้นเอง ทางกรุงอีศานปุระที่ลูกหลานของพระเจ้าชัยวรมันสืบราชสมบัติกันมา ก็ได้เปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่เช่นเดียวกัน โดยอาศัยนิมิตหมายเอาว่าเป็นชนชาติที่สืบเผ่าพงศ์มาแต่พราหมณ์กัมพู และเพื่อที่จะสร้างความยิ่งใหญ่ให้กลับคืนมาสู่แผ่นดินอีศานปุระนี้อีกครั้งเหมือนดังบรรพชนในอดีต จึงมีกุศโลบายที่จะกระตุ้นเตือนประชาชนทั้งหลายให้เกิดสำนึกในความยิ่งใหญ่ และต้นพงศ์ของตน เพื่อให้เกิดความฮึกเหิมที่จะร่วมกันสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น จึงเปลี่ยนชื่อเรียกจากกรุงอีสานปุระเป็น "กรุงกัมพูชา" มีกษัตริย์สืบราชสมบัติและสั่งสมความเจริญทั้งด้านศิลปวิทยาการและกองทัพอันยิ่งยิ่งใหญ่ เพื่อรอจังหวะที่จะช่วงชิงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิแห่งทะเลใต้กลับคืนมาอีกครั้ง
    <O:p</O:p
    ในกรุงโพธิสารหลวง นั้น...เมื่อประกาศตั้งกรุงโพธิสารหลวงขึ้นแล้ว ก็โปรดให้ส่งพระโอรสไปปกครองตามหัวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่รายรอบกรุงโพธิสารหลวง โดย <O:p</O:p
    เมืองหนองหานหลวง ให้ลูกคนโตไปครอง<O:p</O:p
    เมืองเสมา ให้ลูกคนรอง ไปครอง<O:p</O:p
    เมืองสระกำแพง ให้ลูกคนกลาง(พระทอง) ไปครอง<O:p</O:p
    เมืองคอนสวรรค์ ให้ลูกคนรองสุดท้อง ไปครอง<O:p</O:p
    ส่วนลูกคนเล็ก ให้อยู่ช่วยพระราชบิดา อยู่ที่กรุงโพธิสารหลวง เพราะอายุเพิ่งได้ ๑๘ ปียังน้อยอยู่นั่นเอง
    <O:p
    </O:pในปี พ.ศ. ๑๓๐๓ พระทอง(พระเทววงศ์ฯ)ยกกำลังทหารบุกไปกรุงโพธิสารหลวง ด้วยความเข้าใจว่าพระราชบิดายกราชสมบัติให้น้องคนเล็ก แต่เมื่อความจริงไม่ได้เป็นอย่างที่คิด จึงถูกเนรเทศออกจากอาณาจักรโพธิสาร ข้ามทะเลไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์จาม
    <O:p</O:p
    วันหนึ่ง ของปี พ.ศ. ๑๓๐๔ ได้เสด็จประพาสที่เนินโคกหมัน และได้พบกับนางนาคทาวดี เกิดสมัครรักใคร่ชอบพอกัน ท้าวภุชงค์นาคา จึงจัดการแต่งงานให้ แล้วสร้างเมืองใหม่ให้ชื่อว่า "กรุงกัมพูชาธิบดี" ด้วยหมายให้เข้าใจว่า เป็นเมืองของพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่ากรุงกัมพูชา ว่าอย่างนั้น เมื่อครองกรุงกัมพูชาธิบดีอยู่ชั่วระยะหนึ่ง
    <O:p</O:p
    ในปี พ.ศ. ๑๓๐๕ นางนาคทาวดี ได้ให้กำเนิดบุตรแก่พระเทววงศ์ฯ ให้ชื่อว่า "พระเกตุมาลา"<O:p</O:p
    จนกระทั่ง พ.ศ. ๑๓๑๙ เมื่อสั่งสมกำลังพลได้มากและเข้มแข็งพอแล้ว จึงยกกองทัพไปตีกรุงโพธิสารหลวงจากน้องคนสุดท้องที่ครองเมืองต่อจากพระราชบิดา แล้วจึงทิ้งเมืองโพธิสารให้พี่เมียซึ่งเป็นนาคดูแลแทน และถือเป็นเขตเมืองขึ้นของกรุงกัมพูชาธิบดี จากนั้นตัวพระเทววงศ์อัศจรรย์ก็กลับมาครองกรุงกัมพูชาธิบดี
    <O:p</O:p
    ตั้งแต่นั้นมาศูนย์กลางแห่งอำนาจ ก็เคลื่อนย้ายและเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่บนแผ่นดินที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ซึ่งขณะนั้นแบ่งเป็น ๒ ก๊ก คือก๊กของพระเทววงศ์อัศจรรย์ ที่กรุงกัมพูชาธิบดี กับก๊กของลูกหลานพระเจ้าชัยวรมันที่กรุงกัมพูชาจนกระทั่ง...
    <O:p</O:p
    พ.ศ. ๑๓๒๓ พระศรีมหาราช ยกกองทัพเรือจากกรุงศรีโพธิมาปราบ พระเจ้ามหิปติวรมันที่ กัมพูชา(เจนละน้ำ) แล้วมอบให้ปุโรหิต-อำมาตย์ คัดสรรผู้ที่จะมาเป็นกษัตริย์แทน บรรดาอำมาตย์-ปุโรหิต จึงเลือกเอา พระเทววงศ์อัศจรรย์ ขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อ โดยพระเทววงศ์ได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงกัมพูชาธิบดี แล้วจึงรวมทั้งสองกรุงเป็นอันเดียวกัน และโปรดให้เรียกชื่อราชธานีนี้ว่า "กรุงกัมพูชา" และเพื่อเป็นหลักประกันว่า กรุงกัมพูชา จะไม่แข็งข้อหรือประกาศแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นกับกรุงศรีโพธิ พระศรีมหาราชจึงได้นำเอาพระเกตุมาลา ซึ่งเป็นลูกของพระเทววงศ์ฯ ไปเลี้ยงดูเป็นตัวประกันที่ กรุงซาบาก (ศรีโพธิ?)<O:p</O:p

    จนกระทั่งปี พ.ศ. ๑๓๔๕ พระเทววงศ์อัศจรรย์สิ้นพระชนม์ พระศรีมหาราชจึงได้ส่งพระเกตุมาลา ไปครองแผ่นดินกัมพูชา โดยสร้างเมืองให้ใหม่ที่ลุ่มน้ำ "บึงทะเลสาป" ซึ่งบึงนี้มีลักษณะพิเศษคือ...........จึงเป็นเหมือนว่าได้ "สาปเอาไว้" นั่นเอง โดยตั้งชื่อพระนครแห่งใหม่นี้ว่า "อินทปรัตถ" เพื่อไม่ต้องขึ้นกับ "กรุงกัมพูชา" ซึ่งเป็นดินแดนต้องคำสาป และหาความเจริญไม่ได้<O:p</O:p
    พระเกตุมาลาเมื่อขึ้นครองราชย์ได้รับสมัญญานามว่า "พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒" ทรงครองราชย์อยู่ได้...๔๘.....ปี ก็สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๑๓๙๓ เมื่ออายุได้ ๘๘ ปี (เท่ากับว่าเกิด พ.ศ. ๑๓๙๓-๘๘ เท่ากับ เกิด พ.ศ. ๑๓๐๕)<O:p</O:p
    เมื่อพระเกตุมาลา (ชัยวรมันที่ ๒) สิ้นพระชนม์ พระธรรมฤทธิ์ (นาคเสน) ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของพระเกตุมาลา ได้ช่วงชิงอำนาจ จากพระวิโรชราช ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเกตุมาลา ซึ่งกำลังจัดการพิธีพระบรมศพของพระราชบิดาอยู่ ณ ที่กรุงอินทปรัต โดยพระธรรมฤทธิ์ (นาคเสน) ได้ทำการปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ที่กรุงโพธิสารเดิม เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์ก็หาได้ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม มีใจฝักไฝ่แต่ในทางกามคุณ ไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ผู้คนทั้งหลายจึงเกิดความเดือดร้อน ไปทั่วทุกหย่อมหญ้า
    <O:p</O:p
    จนกระทั่ง เมื่อ พ.ศ. ๑๓๙๗ พระวิโรชราช หลังจากได้รวบรวมไพร่พล ได้จำนวนมากพอ จึงได้ยกกำลังทหารมาจากกรุง<O:p</O:p
    อินทปรัต เพื่อมาปราบพระธรรมฤทธิ์ (นาคเสน) ด้วยฤทธิอำนาจที่เหนือกว่าของพระวิโรชราช ผนวกกับความไม่พอใจของประชาชนและทหารในเมืองนั้นเอง จึงทำให้พระวิโรชราชสามารถเอาชนะพระธรรมฤทธิ์ (นาคเสน) ได้อย่างไม่ยากเย็น
    <O:p</O:p
    เมื่อสามารถเอาชนะได้แล้ว ด้วยความแค้นจึงได้สั่งให้สำเร็จโทษพระธรรมฤทธิ์(นาคเสน)ด้วยการฝังทั้งเป็น โดยพระวิโรช-ราช ได้สั่งให้ทหาร ๓-๔ นาย ฝังพระธรรมฤทธิ์ (นาคเสน) ในท่อนไม้ซุงที่ถูกถากให้เป็นเหมือนโลง ในลักษณะการฝังในท่ายืนและเพื่อเป็นการสะกดวิญญาณได้ใช้วิธีเตโชกสิณ และได้นำฤทธิในอภิญญา ๕ ที่ได้เรียนมาจากสำนักพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น มาใช้ในทางที่ผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ อธิษฐานบังคับอสูรให้เป็นบริวารในการทำคุณไสย์ต่าง ๆ จนเป็นการเบียดเบียนให้บุคคลที่ตนไม่พอใจ ต้องอาถรรพ์ต่าง ๆ จนต้องเสียชีวิตและถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว เป็นจำนวนมาก และได้เข้าฌาณ ๑ จนถึงอรูปฌาณ ๔ แล้วอธิษฐานสาปแช่ง ซึ่งมีเนื้อความบางตอนว่า
     
  8. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    จากนั้นก็มีการผลัดเปลี่ยนกันขึ้นครองราชสมบัติและมีการย้ายราชธานีอยู่หลายครั้งจนกระทั่ง...
    <O:p</O:p
    ถึงสมัยของ "พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๕" ซึ่งครองราชย์ในปี พ.ศ. ๑๕๑๑ นับเป็นกษัตริย์ที่สืบสายเลือดของพระเกตุมาลา หรือพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ องค์สุดท้ายที่ครองราชสมบัติ และได้ย้ายราชธานีกลับมาที่กรุงศรียโสธรปุระอีกครั้ง พระองค์ครองราชสมบัติได้ ๓๓ ปี ก็สิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ. ๑๕๔๔ หลังจากนั้นได้เกิดความระส่ำระสายขึ้นในอาณาจักร เกิดการช่วงชิงความเป็นใหญ่ระหว่างพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ ๒ กับพระเจ้าชัยวีรวรมัน ทำให้เกิดความอ่อนแออันเนื่องมาจากการรบพุ่งช่วงชิงอำนาจ มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ใช้กำลังทหารเข้าห้ำหั่นกันเอง ทหารล้มตายข้างละไม่น้อย จนบ้านเมืองบอบช้ำเป็นอันมาก
    <O:p</O:p
    และในเวลาไล่เลี่ยกันก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อพระเจ้าอุจฉิตแห่งเมืองลวปุระ ได้ยกกองทัพขึ้นไปทำสงครามกับพระเจ้าอัตราสตกะแห่งเมืองหริภุญไชย ในขณะที่สงครามกำลังจะเริ่มขึ้นระหว่างเมืองทั้งสองนั้น พระเจ้าสุชิตราชแห่งกรุงศรีโพธิก็ได้ยกกองทัพเข้ายึดเมืองลวปุระไว้ได้ในอำนาจแล้วแต่งตั้งให้ราชบุตรของพระองค์ คือ เจ้าชายอาทิตยราชบุตร เป็นกษัตริย์ครองเมืองลวปุระ ได้รับสมัญญานามว่า "พระเจ้าสูรยวรมัน" หลังจากครองเมืองลวปุระได้ไม่นานนัก เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบถึงความระส่ำระสายในกรุงยโศธรปุระ จึงได้ยกกองทัพเข้ายึดพระนคร แล้วสำเร็จโทษพระเจ้าชัยวีรวรมันเสีย แล้วจึงอภิเษกสมรสกับพระนาง....ซึ่งเป็นมเหสีของพระเจ้าชัยวีรวรมัน เพื่อให้การขึ้นครองราชยสมบัติถูกต้องตามจารีตประเพณี ก่อนจะกระทำพิธีราชาภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรียโสธรปุระ ต่อไป ส่วนที่เมืองลวปุระก็ตกอยู่ในฐานะของเมืองลูกหลวงของกรุงยโสธรปุ-ระ
    <O:p</O:p
    จนกระทั่ง พุทธศักราช ๑๕๗๓ เจ้าชายหิรัณยราชบุตร ซึ่งเป็นโอรสอีกพระองค์หนึ่งของพระเจ้าสุชิตราช และได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าสูรยวรมัน ผู้เป็นพระเชษฐาให้เป็นองค์อุปราชปกครองกรุงลวปุระ ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงศรียโศธรปุระ แต่เนื่องด้วยเจ้าชายหิรัณยราชบุตรเป็นผู้ที่มีจิตใจโน้มไปในทางธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ปรารถนานิพพานสมบัติ สวรรค์สมบัติ เป็นผู้ชิงชังการสงคราม พระองค์ได้ตระหนักว่าหากยังคงปกครองอยู่ที่เมืองลวะปุระต่อไป ย่อมจะหลีกหนีไม่พ้นการถูกคุกคามของอาณาจักรลังกาสุกะ ดังในอดีตที่กษัตริย์จากอาณาจักรแห่งนี้ได้เคยยกทัพมารุกรานแคว้นสุวรรณภูมิครั้งแล้วครั้งเล่า โดยครั้งใหญ่ในปี พุทธศักราช ๑๑๘๒ จนลูกหลานของแคว้นสุวรรณภูมิต้องหลีกหนีไปคนละทิศละทางข้างฝ่ายหนึ่งลงไปตั้งกรุงศรีโพธิที่ไชยา อีกข้างฝ่ายขึ้นไปทางเหนือมาตั้งกรุงลวปุระ ในสมัยพระเจ้าฟ้าระงึมอธิราช ดังนั้น ความตั้งมั่นที่จะแสวงหาความสงบก็คงจะเกิดขึ้นไม่ได้เป็นแน่แท้ เมื่อตรึกพระทัยได้ดังนี้แล้ว พระองค์จึงได้นำไพร่ฟ้าและอาณาประชาราษฎร์ที่จงรักภักดีออกแสวงหาที่ตั้งบ้านเมืองใหม่ โดยมุ่งเป้าหมายไปที่ดินแดนทิศอีสาน ซึ่งตามประวัติที่เล่าสืบกันมาว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระชินศรีอย่างมั่นคงตั้งแต่ครั้งพุทธกาลเมื่อกว่าพันปีที่ผ่านมา ในสมัยที่พระปุณณเถระเจ้าได้เดินทางไปพบศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าที่ชมพูทวีปและขอบวชเป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา แล้วได้นำพระพุทธศาสนากลับมาประดิษฐานและตั้งมั่นที่แคว้นสุวรรณภูมิ ก่อนจะเผยแผ่มายังกรุงพนมและมาตั้งมั่นที่กรุงอนินทิตปุระเมื่อสามร้อยกว่าปีที่ผ่านมา และมีเรื่องเล่าสืบขานนานมาว่าที่กรุงอนินทิตปุระนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานรอยพระบาทขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่บัดนี้ได้ถูกปล่อยทิ้งร้างลงไป พระองค์จึงเห็นสมควรที่จะไปทำการรื้อฟื้นความเจริญรุ่งเรืองให้กลับคืนมาอีกครั้ง ซึ่งจะยังเป็นการจรรโลงพระสัทธรรมอันบริสุทธิ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ฟื้นคืนกับมาในแผ่นดินที่ได้เคยชื่อว่า "โพธิสารหลวง หรือ ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาอันกว้างใหญ่ไพศาล" อันจะได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบพระพุทธศาสนาให้สถิตสถาพร ตามที่พระพุทธองค์ได้เคยมีพระพุทธฎีกาพยากรณ์ตรัสทำนายไว้ว่า พระพุทธศาสนาของพระโคดมจะสถิตสถาพรอยู่ ณ ผืนแผ่นดินนี้ตลอดชั่ว ๕๐๐๐ พระวัสสา
    <O:p</O:p
    เมื่อขบวนของเจ้าชายหิรัณยราชบุตรได้เดินทางรอนแรมมาทางทิศอีสานข้ามฟากแม่น้ำป่าสัก และเคลื่อนขบวนยาตราไปตามลำน้ำมุ่งขึ้นสู่ทิศอีสานข้ามวันข้ามคืน จนกระทั่งเข้าวันที่สิบก็เดินทางมาถึงบริเวณที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ไพศาลแห่งหนึ่งมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีช้างป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบทั้งมีแก่งน้ำขนาดใหญ่น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ทั้งมีร่องรอยที่ตั้งชุมชนโบราณด้วยพบเห็นพระพุทธรูปตลอดจนเสมาหิน คงจะเป็นดินแดนที่ตั้งของกรุงโพธิสารหลวงเดิมเป็นแน่แท้
    <O:p</O:p
    จึงมีดำริว่าที่นี้เป็นที่เหมาะที่ควรแก่การสร้างบ้านแปงเมือง และได้กระทำพิธีสถาปนาบ้านเมืองขึ้นในปีพุทธศักราช ๑๕๗๓ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งบังเอิญเป็นวันที่ตรงกับเป็นวันที่ได้มีการค้นพบรอยพระบาทใจกลางกรุงอนินทิตปุระ เมื่อ ๓๓๗ ปีก่อน โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "มหิธรปุระ" และเจ้าชายหิรัณยราชบุตรได้เข้าสู่พิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ของเมืองมหิธรปุระ ฉลองพระนามที่ "พระเจ้าหิรัณยวรมัน"
    <O:p</O:p
    และเพื่อเป็นเครื่องระลึกเตือนใจถึงบ้านเมืองที่ได้สืบสายมาคือ "ลวปุระ" จึงได้ตั้งชื่อแก่งน้ำใหญ่นี้ว่า "แก่งละว้า" พระเจ้าหิรัณยวรมัน เป็นกษัตริย์ผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม ดูแลไพร่ฟ้าอาณาราษฎรด้วยความผาสุก บ้านเมืองก็มีความร่มเย็น ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีแหล่งเกลือใหญ่ เลี้ยงผู้คนมิได้ขาด ศาสนาพระโคดมจึงรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ผู้คนอยู่ในศีลในธรรม มาโดยตลอด
    <O:p</O:p
    พระเจ้าหิรัณยวรมัน มีพระมเหสีพระนามว่าพระนางหิรัณยลักษมี ผู้ที่นอกจากจะได้ให้การเลี้ยงดูราชโอรส-ราชธิดาของพระองค์เอง ๓ พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายธรณินทรวรมัน เจ้าหญิงหิรัณกัลยาเทวี และเจ้าชายอีสานวรมัน แล้วยังได้รับภาระอุปการะเลี้ยงดูเจ้าชายกษิตีนทราทิตย์พระราชนัดดาซึ่งเป็นราชโอรสของ พระเจ้าสูรยวรมัน กับพระมเหสีชาวเมืองลวะปุระ ซึ่งได้ประสูติในปีพุทธศักราช ๑๕๖๓ แต่พระราชมารดาได้สิ้นพระชนม์ภายหลังจากเจ้าชายกษิตีนทราทิตย์มีพระประสูติกาลได้ไม่นาน พระราชบิดาจึงได้ฝากฝังไว้ให้พระนางหิรัณยลักษมีเป็นผู้เลี้ยงดูมาโดยตลอด โดยขณะที่พระเจ้าหิรัณยวรมันเสด็จออกจากเมืองลวปุระ มาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่มหิธรปุระนั้น เจ้าชายกษิตีนทราทิตย์มีพระชันษาได้เพียง ๑๐ ปีเท่านั้น ส่วนเจ้าชายธรณินทรวรมันประสูติในปีพุทธศักราช ๑๕๘๗ เจ้าหญิงหิรัณกัลยาเทวีประสูติในปีพุทธศักราช ๑๕๘๙ และเจ้าชายอีสานวรมันประสูติในปีพุทธศักราช ๑๕๙๑ และทั้งสี่พระองค์ก็ได้รับการเลี้ยงดูและเติบใหญ่ที่เมืองมหิธรปุระแห่งนี้
    <O:p</O:p
    ในปีพุทธศักราช ๑๖๑๘ เจ้าชายธรณินทรวรมัน พระชันษาได้ ๓๑ ปี ก็ได้รับการประทานพิธีอภิเษกสมรสกับพระนางffice:smarttags" /><?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]ชัยจุฑาราชเทวี พระชันษาเพียง</st1:personName> ๑๖ ปี ผู้เป็นพระราชธิดาแห่งพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรยโศธรปุระ ที่พนมผาแคง ทางตอนใต้ของเมืองมหิธรปุระ และฉลองพระนามราชบุตรเขยเป็นพระเจ้าธรณินทรวรมัน ด้วยเป็นพระประสงค์ที่จะให้ขึ้นครองอาณาจักรแห่งนี้เมื่อพระองค์เสด็จลงจากอำนาจแล้ว เนื่องจากพระองค์ไม่มีองค์รัชทายาทนั่นเอง
    <O:p</O:p
    ในปีพุทธศักราช ๑๖๒๐ พระราชธิดาองค์เดียวแห่ง พระเจ้าหิรัณยวรมัน ผู้มีพระนามว่า พระนางหิรัณกัลยาเทวี ได้เข้าพิธีเสกสมรสกับเจ้าชายกษิตีนทราทิตย์ ผู้เป็นราชนัดดาของพระเจ้าหิรัณยวรมันนั่นเอง และได้นำไพร่ฟ้า ราษฎรครึ่งหมื่นขึ้นไปสร้างบ้านแปงเมืองใหม่ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองมหิธรปุระ ที่บนยอดเขาพนมผาแก้ว ต้นแม่น้ำป่าสัก และได้ฉลองพระนามให้ควรแก่ฐานะราชบุตรเขยที่ "พระเจ้ากษิตีนทราทิตย์"
    <O:p</O:p
    ต่อมาในปลายปี พ.ศ. ๑๖๒๒ พระเจ้าหิรัณยวรมัน ได้สิ้นพระชนม์ลง ทั้งพระเจ้าธรณินทรวรมัน และพระเจ้ากษิตีนทราทิตย์ ก็ได้เดินทางมาร่วมพิธีถวายพระเพลิงศพพระเจ้าหิรัณยวรมัน ที่เมืองมหิธรปุระ
    <O:p</O:p
    โดยเมื่อเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีศพแล้ว ได้มีการหารือกันว่าผู้ใดจะขึ้นครองเมืองมหิธรปุระสืบต่อพระราชบิดา แต่ยังไม่เป็นที่ตกลงกันได้ เนื่องจากเจ้าชายอีสานวรมันประสงค์ที่จะให้พระเจ้าธรณินทรวรมัน ขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อพระราชบิดา แต่พระนางชัยจุฑาราชเทวีทรงคัดค้านด้วยไม่ปรารถนาให้พระสวามีขึ้นครองที่มหิธรปุระนี้ เพราะต้องการที่จะประทับอยู่ดูแลพระราชบิดาและพระราชมารดาที่กรุงยโศธรปุระ ทำให้พระเจ้าธรณินทรวรมันรู้สึกกระอักกระอ่วนพระทัยเป็นอันมาก จึงได้เสนอให้พระเจ้ากษิตีนทราทิตย์ ผู้เป็นพี่เขย และเป็นผู้อาวุโสสูงกว่าทั้งยังเป็นหน่อกษัตริย์แห่งพระเจ้าสูรยวรมัน ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองมหิธรปุระ อีกทั้งเป็นโอกาสอันดีที่พระนางหิรัณกัลยาเทวีก็จะได้กลับมาดูแลพระราชมารดาคือพระนางหิรัณยลักษมี ซึ่งทรงพระประชวรเป็นโรค(หัวใจ) อีกทั้งกำลังอยู่ในภาวะเศร้าโศรกที่ต้องสูญเสียพระราชสวามีอันเป็นที่รักไป แต่เจ้าชายอีสานวรมัน ไม่ทรงเห็นด้วยและยืนกรานที่จะให้พระเจ้าธรณินทรวรมันขึ้นเป็นกษัตริย์
    <O:p</O:p
    ในระหว่างที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ พระนางหิรัณยลักษมี ก็ได้ตรอมพระทัยอย่างหนักด้วยอาลัยในพระสวามี และสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา ทั้งสามฝ่ายจึงได้ยุติเรื่องการขึ้นครองราชสมบัติ เพื่อจัดการพระราชพิธีศพของพระราชมารดาให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
    <O:p</O:p
    ภายหลังจากจากเสร็จสิ้นพระราชพิธี แล้วจึงได้มีการหารือกันอีกรอบ โดยในครั้งนี้พระนางหิรัณกัลยาเทวีได้แสดงพระประสงค์อย่างมั่นคงที่จะกลับไปยังนครพนมผาแก้ว ด้วยปรารถนาชีวิตที่สงบ และก็ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ดูแลพระราชมารดาอีก อีกทั้งพระเจ้ากษิตีนทราทิตย์เองก็ย่างเข้าสู่วัยชราชันษาได้ ๖๐ กว่าปีแล้ว จึงไม่ได้ปรารถนาราชอำนาจแต่อย่างใด จึงได้เสนอให้เจ้าชายอีสานวรมัน ขึ้นเป็นกษัตริย์ขึ้นครองราชสมบัติต่อ ด้วยเหตุผลที่เป็นผู้ที่ได้อยู่ใกล้ชิดพระราชบิดาและช่วยบริหารราชการอยู่แล้วย่อมจะสามารถดูแลอาณาประชาราษฎรได้เป็นอย่างดี
    <O:p</O:p
    ในปีพุทธศักราช ๑๖๒๓ ตรงกับวันขึ้น...... เดือน..... เจ้าชายอีสานวรมัน ราชบุตรองค์สุดท้องแห่ง พระเจ้าหิรัณยวรมัน ขณะที่มีพระชันษาครบ ๓๒ ปี จึงได้เข้าพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเมืองมหิธรปุระ โดยมีพราหมณ์ทิวากรบัณฑิตเป็นราชปุโรหิต ได้รับการฉลองพระนามที่ "พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖" ขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงธรรม สืบต่อพระราชบิดา
    <O:p</O:p
    เมื่อพระเจ้าธรณินทรวรมันกับพระนางชัยจุฑาราชเทวี ได้เสด็จกลับสู่กรุงยโศธรปุระนั้น จึงได้ทราบว่าพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ ได้ทรงสิ้นพระชนม์ โดยมิทันได้ได้เตรียมการราชาภิเษกกษัตริย์องค์ใหม่แทน จึงเกิดความยุ่งยากขึ้นในอาณาจักร(กัมพูชา)ยโศธรปุระ เนื่องจากมีผู้มักใหญ่ใฝ่สูงต้องการยึดอำนาจเพื่อขึ้นเป็นกษัตริย์เสียเอง โดยมิได้คำนึงพระราชประสงค์ของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ ที่จะให้พระเจ้าธรณินทรวรมันสืบราชย์สมบัติ แต่ความยุ่งยากในครั้งนั้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากพระอนุชาคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ที่ได้นำกองทัพมาปราบปรามอริราชศัตรูที่คิดก่อการกบฏยึดอำนาจได้อย่างราบคาบ แต่ก็ทำให้อาณาจักรยโศธรปุระบอบช้ำและอยู่ในภาวะอ่อนล้า ประชาชนขาดขวัญและกำลังใจ พระเจ้าธรณินทรวรมันจึงมิได้กระทำพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักร(กัมพูชา) แต่ยังคงดูแลอาณาจักร(กัมพูชา) ที่ลดฐานะตัวเองเป็นเพียงเมืองยโศธรปุระเท่านั้น และมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของมหิธรปุระ ซึ่งบัดนี้ได้สถาปนาเป็น "อาณาจักรมหิธรปุระ" แล้ว
    <O:p</O:p
    กล่าวถึง พัฒนาการของอาณาจักรมหิธรปุระ บทบาทของ "พราหมณ์ศรีวรุณะ" ที่รู้ว่าบ้านเมืองนี้ต้องคำสาป และความพยายามที่จะล้างคำสาป และในระหว่างนั้น ก็เกิดภัยพิบัติที่เมืองพนมผาแก้ว เป็นเหมือนสัญญาณเตือนภัย โดย
     
  9. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ต่อด้วยเค้าโครงนิทาน เรื่องที่ 2<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กำเนิดอาณาจักรเสียม
    <O:p</O:p
    ย่างเข้าฤดูหนาวปี พ.ศ. ๑๖๕๐ ท่ามกลางซากปรักหักพัง ที่จมอยู่กลางทะเลโคลนเบื้องหน้า พราหมณ์ศรีวรุณะคุกเข่า ฟูมฟาย ร่ำไห้ ปานจะขาดใจ เมื่อได้กลับมาพบกลับความวิบัติฉิบหายของ ปราสาทพระราชวังแห่ง
     
  10. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เมื่อผ่าน พิธีล้างอาถรรพ์ คำสาป และจินตนาการเป็นตุ เป็นตะ เปิดเผยได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ว่าตัวเองเคยเกิดเป็นคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง เรื่องราวที่เกินกว่าที่จะบอกกล่าวให้คนทั้งหลายเชื่อ หรือเห็นคล้อยตามได้ ก็เกิดขึ้นในระบบการรับรู้ของผม นั่น ก็คือเรื่องที่ว่า<O:p</O:p
    <O:p</O:p

     
  11. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เมื่อ เป็นดังนั้น จึงได้เกิด คำอธิษฐาน ที่เพื่อนๆ ชาวเว๊ป อ่านแล้ว ต้องถามครูสอน ภาษาไทยสมัยเรียน เพราะ เขาหาสัมผัสไม่เจอ แต่ก็บอกแล้วว่า มันเป็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2008
  12. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    หลังจากนั้น ก็ได้เดินทาง ท่องเที่ยว ค้นหา เรื่องราวต่างๆ หลังจาก ตอบคำถามของตัวเองที่ว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2008
  13. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ซึ่งหลังจาก พยายาม เปิดเผย งานค้นคว้าเรื่อง ความจริงของแผ่นดิน เปิดตำนานพระพุทธศาสนาในถิ่นไทย มาได้ระยะหนึ่ง ก็เริ่มเปิดเรื่อง
     
  14. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    แต่ ก็ไม่ได้มีการตอบสนองใดๆ จนกระทั่ง วันเวลาผ่านไป ท่านนายกทักษิณ กลับมาตั้งรัฐบาลใหม่ ก็ยังไม่วาย ทำหนังสือไปกราบเรียนท่านอีก ทั้งที่ สิ่งที่เราเตือนว่าจะเกิด แต่มันก็ไม่ได้เกิด ด้วยความซ้ำๆ อีกว่า
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    เรื่อง ขอเสนอแนะหนทางแก้ไขปัญหาของแผ่นดินก่อนที่จะเกิดมหันตภัยพิบัติ<O:p</O:p

    กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ( พ.ต.ท.<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]ทักษิณ ชินวัตร</st1:personName>)<O:p</O:p
    อ้างถึง ๑. หนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๗ เรื่อง ขอเสนอแนะหนทางแก้ไขปัญหาของแผ่นดินก่อนที่จะเกิดความวิบัติฉิบหาย <O:p</O:p
    สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. ภาพถ่ายสำเนา บทความ เรื่อง พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ประเทศไทย จากหนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์ วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จำนวน ๒ แผ่น<O:p</O:p
    ๒. ภาพถ่ายสำเนา บทความ เรื่อง ถอดรหัส
     
  15. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    หลังจากนั้น ไม่กี่เดือน เกิด การยึดอำนาจ แม้แต่ เมื่อมีนายกรัฐมนตรี ที่มาจากคณะปฏิรูปการเมือง (คมช.) ก็ยังไม่เว้นอีก ยัง ทำหนังสือ ไปกราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรี อีก ดังสำเนาหนังสือ ที่ไปถึง นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ความซ้ำๆ เดิม ว่า



    ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙<O:p</O:p

    เรื่อง คำเตือนครั้งสุดท้ายก่อนการเกิดมหันตภัยพิบัติ ในปี ๒๕๔๙-๒๕๕๐<O:p</O:p

    กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ( พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์)<O:p</O:p
    สิ่งที่ส่งมาด้วย๑. เอกสารสรุปงานเผยแพร่ เรื่อง ความจริงของแผ่นดิน เปิดตำนานพระพุทธศาสนาในถิ่นไทย โดย ชุมนุมฟื้นธรรมฟื้นไทยแห่งยุคหลังกึ่งพุทธกาล จำนวน ๑ เล่ม<O:p</O:p
    ๒. เอกสารสรุปงานเผยแพร่ เรื่อง พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ประเทศไทยจริงหรือ? โดย ชุมนุมฟื้นธรรมฟื้นไทยแห่งยุคหลังกึ่งพุทธกาล จำนวน ๑ เล่ม<O:p></O:p>
    ๓. ภาพถ่ายสำเนา หนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ เรื่อง ขอเสนอแนะหนทางแก้ไขปัญหาของแผ่นดินก่อนที่จะเกิดมหันตภัยพิบัติ จำนวน ๕ แผ่น
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ด้วยกระผม นาย ซึ่งได้ทุ่มเททำการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย มาตั้งแต่ช่วงปลายปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ ที่ผ่านมา จนได้ค้นพบความจริงทางประวัติศาสตร์ที่ว่า แท้ที่จริงแล้วพระพุทธศาสนาไม่ได้มีกำเนิดอุบัติขึ้นที่ประเทศอินเดีย แต่ได้กำเนิดขึ้นในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ได้เป็นชนชาวอินเดียอย่างที่คนทั่วโลกทั้งหลายเข้าใจอย่างผิดๆ แต่พระองค์ได้ถือประสูติในชนชาติเชื้อที่เป็นบรรพบุรุษของคนไทยโบราณ บนแผ่นดินที่เรียกว่าอุษาคเนย์นี้ ความละเอียดตามเอกสารที่ส่งมาด้วย ลำดับที่ ๑. และ ๒.
    <O:p</O:p
    ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา กระผมได้มีความพยายามที่จะนำเสนอเรื่องนี้ กับผู้ผลักผู้ใหญ่ในประเทศเป็นลำดับทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งความละเอียดมีปรากฏอยู่ใน ภาคผนวกท้ายเล่ม ของเอกสารสรุปงานเผยแพร่ เรื่อง พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ประเทศไทยจริงหรือ? แล้วนั้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเสนอให้มีการศึกษาและค้นคว้าหาหลักฐานโดยละเอียด เพื่อทำความจริงเรื่องนี้ให้กระจ่างและเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก ซึ่งต่อมากระผมได้ตั้งข้อสังเกตว่า เรื่องราวการค้นคว้าที่จะทำความจริงให้ปรากฏนี้ อาจมีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับภัยพิบัติที่ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ หากพิจารณาบนพื้นฐานความเชื่อในกฎแห่งกรรม ตามคำสอนในทางพระพุทธศาสนา
    <O:p</O:p
    ทั้งนี้ ก็สืบเนื่องมาจากการที่นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตกได้ทำการบิดเบือนประวัติของพระพุทธองค์และประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา จึงเป็นกรรมอันหนักอย่างยิ่ง ทั้งยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจที่จะศึกษาถ้อยความในพระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามพระไตรปิฏก ของพุทธศาสนิกชนชาวไทย จึงไม่ได้พากันขวนขวายที่จะปกป้องความจริง หรือนำความจริงให้กลับคืนสู่แผ่นดิน ทั้งที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธศาสนามาแต่โบราณกาล ดังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้มีพระราชดำรัสตรัสกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เมื่อครั้งที่ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้ส่งเอกอัครราชทูตพิเศษ เข้าเฝ้าเพื่อโน้มน้าวพระทัยให้พระองค์เปลี่ยนไปเข้ารีตนับถือศาสนาคริสเตียน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๒๒๘ ว่า "...การที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเพื่อนรักของเรามาแนะนำการอันยากเช่นนี้ และเป็นเรื่องที่เราไม่มีความรู้เลยนั้น เป็นเรื่องที่กระทำให้เราเสียใจเป็นอันมาก แต่ขอให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ตรึกตรองดูว่า การที่จะเปลี่ยนศาสนาซึ่งได้เคยนับถือต่อๆ กันมาถึง ๒๒๒๙ ปีแล้ว จะเป็นการสำคัญและลำบากสักเพียงไร...."
    <O:p</O:p
    กระผมขอกราบเรียนว่า ภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้นับวันแต่จะทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งไม่ใช่เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมายของกระผม เนื่องจากได้มีพุทธพยากรณ์เหตุการณ์มหาภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นต่อโลกนี้เอาไว้แล้ว ว่าจะเกิดเหตุอุบาทว์ใหญ่เพื่อชำระล้างชาวโลกในยุคแห่งความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม โดยระบุว่าจะเกิดขึ้นในช่วงหลังกึ่งพุทธกาล คือ หลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ ไปแล้วในช่วง ปีวอก-ระกา-จอ-กุน ก่อนจะเข้าสู่กาลแห่งการยอยกพระพุทธศาสนาให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง จริงอยู่ แม้ในพุทธทำนายจะไม่ได้ระบุว่าเป็น พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๕๐ นี้ แต่จากสภาพการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นบนโลกนับตั้งแต่ วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นมานั้น แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มที่จะเกิดมหาภัยพิบัติตามพุทธทำนาย ก็มีความเป็นไปได้อย่างสูง ทั้งจากภัยพิบัติธรรมชาติ จากภาวะโรคระบาด จากภัยสงครามนิวเคลียร์ จึงไม่อาจจะประมาทวางใจได้ว่า เหตุการณ์ในพุทธทำนาย จะไม่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในปี จอ-กุน คือในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๐ นี้ เพราะแม้แต่ภายหลังจากที่กระผมได้พยายามที่จะส่งจดหมายกราบเรียน อดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) ครั้งหลังสุด เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ เรื่อง ขอเสนอแนะหนทางแก้ไขปัญหาของแผ่นดินก่อนที่จะเกิดมหันตภัยพิบัติ ว่าประเทศไทยจะถูกทำลายใหญ่ ในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา ความละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๓. แต่กลับไม่ได้รับการตอบสนอง แต่อย่างใด ซึ่งผลที่ตามมาเป็นที่ประจักษ์แล้วก็คือ บ้านเมืองได้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในหลายด้าน อาทิ การเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่และยาวนาน และมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเกิดความไม่สงบต่อเนื่อง หรืออาจจะเกิดพิบัติภัยทางธรรมชาติ และภัยจากโรคระบาดตามมาได้อีก ในอนาคตอันใกล้นี้
    <O:p</O:p
    ดังนั้น เพื่อตั้งไว้ในความไม่ประมาท ทั้งอาจจะเป็นการยับยั้งภัยพิบัติใหญ่ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยหรือโลกของเรา ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๐ นี้ได้ กระผมจึงไม่อาจจะทนอยู่นิ่งเฉยอยู่ได้ โดยที่จะไม่กราบเรียนต่อ ฯพณฯ ท่าน ด้วยเล็งเห็นว่า ฯพณฯ ท่าน เป็นผู้ที่มีความฝักใฝ่ในกิจของพระพุทธศาสนา และเป็นผู้ที่มีความยึดมั่นในคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ถูกที่ต้อง กระผมจึงใคร่ขออนุญาตกราบเรียนต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ถึงคำเตือนและข้อเสนอแนะครั้งสุดท้ายก่อนการเกิดมหันตภัยพิบัติ ในปี ๒๕๔๙-๒๕๕๐ เพื่อให้ ฯพณฯ ท่าน ได้พิจารณา ดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. ขอให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำประเทศ ดำเนินการขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการนำเอา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2008
  16. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    และสุดท้าย ที่ทำ และคงจะไม่ทำหนังสือไปที่ไหนอีกแล้ว หลังผ่านพ้นวันที่ 6 มีนาคม 2551 นี้ไปแล้ว นั่นก็คือ การกราบบังคมทูล เรื่องงานค้นคว้า ความจริงของแผ่นดิน นี้ ต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงพระประชวร เข้าประทับรักษาพระองค์ที่ โรงพยาบาลศิริราช ดังสำเนา หนังสือกราบบังคมทูล ว่า
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    เพื่อ ถวายพระพรชัยมงคล ให้ทรงหายจากพระอาการประชวร

    นายเอกอิสโร วรุณศรี ผู้กราบบังคมทูล
    ณ โรงพยาบาลศิริราช

    วันเสาร์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ <O:p</O:p





    <HR align=center width="100%" SIZE=2>



    <B>ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
    <O:p</O:p
    ข้าพระพุทธเจ้า นายเอกอิสโร วรุณศรี <?xml:namespace prefix = st1 /><st1:personName w:st="]เอกอิสโร" ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยอันศักดิ์สิทธิ์ และมหิทธิฤทธิ์แห่งเทพยดาอารักษ์ทั่วจักรวาล ด้วยบุญญาภินิหารแห่งพระสยามเทวาธิราช และดวงพระวิญญาณสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ด้วยอำนาจแห่งพระราชกุศลที่ได้ทรงบำเพ็ญปฏิบัติ เพื่อพระโพธิญาณ โปรดประชุมบันดาลอภิบาลรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็วพลัน ทรงพระเจริญพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญ สถิตเสถียรในมไหศวรรยราชสมบัติ เจริญจำรัสด้วยพระเกียรติคุณอดุลยยศ ปรากฏขจายขจรไปทั่วทิศานุทิศ ทรงเป็นฉัตรแก้วคุ้มเกล้าปวงข้าพระพุทธเจ้า เหล่าพสกนิกรชาวไทยตราบกาลนาน และขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส กราบบังคมทูล พระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ถึงผลงานอุตสาหะค้นคว้าของข้าพระพุทธเจ้าตลอดระยะเวลาเกือบ ๕ ปีที่ผ่าน ในวาระนี้ อีกโสตหนึ่ง

    <O:p</O:p

    ตลอดระยะเวลาเกือบ ๕ ปี ที่ผ่านมา ข้าพระพุทธเจ้าได้อุตสาหะทุ่มเทศึกษา ค้นคว้า เรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ด้วยการศึกษาอย่างเจาะลึก และค้นหาหลักฐานอ้างอิง ทั้งจาก ตำนาน พระราชพงศาวดาร พงศาวดาร พระไตรปิฎก อรรถกถา ตลอดจนการออกสำรวจสภาพพื้นที่จริง ตั้งแต่ต้นปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ ที่ผ่านมา จนทำให้ได้ข้อสรุปที่ว่า ต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนา หรือที่จะเรียกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2008
  17. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    โดย ในเนื้อหา หนังสือ ทั้ง ๒ เล่ม เป็นการรวบรวม เรื่องราวงานค้นคว้า เรื่อง ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ที่จะมีพิเศษ ก็คือ ในเล่ม ความจริงของแผ่นดิน...เปิดตำนานพระพุทธศาสนาในถิ่นไทย ในท้ายเล่ม จะมี พุทธทำนายแห่งอีสานประเทศ...ประกอบหมายเหตุ ซึ่งก็คือ ที่มีของการนับถอยหลัง 66 วัน นับจากวันที่ 1 มกราคม 2551 และจะเป็นที่มาของการ ประกาศถอนสัจจะเก่า และประกาศสัจจะใหม่ ในวันที่ 1 มีนาคม 2551 ซึ่ง เป็นวันครบรอบวันเกิด ปีที่ 38 ซึ่ง ในพุทธทำนาย ที่ได้ถอดรหัสเวลาออกมา มีว่า

    <O:p</O:p
    พุทธทำนายแห่งอีสานประเทศ...ประกอบหมายเหตุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พุทธทำนายนี้ มีอยู่ในใบลาน
    ตั้งแต่บูฮาน มีมาก่อนเก่า
    ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ถือเป็นเค้าแต่ก่อนมา
    *ข้าสินำมูลเค้า ความฝันอันประหลาด
    สิเป็นลางเหตุฮ้าย หรือใดเจ้าให้ฮำเพิง

    *ในคืนนั้น เป็นคืน สิบห้าค่ำ แต่ฟ้าดำเมฆกุ้ม จันโทเศร้า บ่ ผ่องใส
    *คือพระทัยของเจ้า ปัสเสน กะเหงาหง่วม ย่อนว่าความฮักกุ้ม สุมไหม้ดั่งไฟ
    *ไฟตัณหาความฮักใคร่ ในผัวเขาเมียท่าน ไฟนารก กะบ่ปาน มีแต่ควันอูดเอ้า ในใจเจ้าอยู่ บ่ เซา
    *จนยามสามล่วงเข้า จึงเนาว์นอนนิททะเน่ง เสียงระเม็งเสพสร้อง จึงลาห้องเสพ งัน
    *พระทรงธรรม์สุบินเบื้อง เผดียงฝันประหลาดต่าง สิเป็นลางเหตุฮ้าย หรือใดแท้ สิ่งใด
    *ในพระทัยองค์เจ้า พระปัสเสน สะดุ้งตื่น พระองค์ฮู้เมื่อขึ้น อรุณรุ่ง ฮู่งมา
    *มัลลิกาเทวีเหง้า เห็นราชาหน้า บ่ ซื่น สมบัติมีหมื่นตื้อ สีหน้า ผัดหล่าหมอง แท้น้อ
    *พระองค์ทรงสืบสร้าง ครองเมืองตุ้มไพร่ แต่หัวคิดบอดใบ้ ปัญญาตื้นตีบตัน
    *พระทรงธรรม์ควรเข้าเฝ้า สัพพัญญู ฮู้แจ้งโลก สิบรรเทาโศกฮ้อน รีบไปถ่อนอย่าอยู่นาน
    *พระภูบาลฟั่งฟ้าว ตกแต่งเดาดา มัลลิกาเทวี แม่เมือง เคียงข้าง
    *พระก็ ดำเนินเข้า เชตวัน วิหารใหญ่ พระอานนท์ทราบเรื่อง พาไปเฝ้า ศาสดา
    *พระราชาทูลไหว้ พระจอมไตรโลกนาถ กราบพระบาท สามเทื่อ แล้ว หยับไปเฝ้าอยู่ที่ควร
    *ส่วนว่าองค์พุทโธเจ้า เนาว์บนพุทธอาสน์ ตรัสโอวาทอิ่นอ้อย แถลงถ้อย ก่อนพระยา
    ว่าดูรา เจ้า ราชายศใหญ่ ผู้เป็นจอมไพร่ฟ้าสองแคว้นยอดเมือง
    พระองค์เคืองขัดข้อง หมองพระทัย จั่งใดแน วรรณะเขียว พ่องแหล่ สีหน้า บ่ ชื่นบาน แท้น้อ
    พระภูบาลเจ้า ปัสถเวน ทูลเหตุ แห่งสุบินประประหลาดล้ำ สิบหก ข้อ ต่อไปฯ

    <O:p</O:p
    ข้อ 1
     
  18. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ตามที่ ผมได้ ประกาศผ่านทางเว๊ปบอร์ด พลังจิต ไว้แล้วว่า
    หากผ่านพ้นวันที่ 6 มีนาคม 2551 เข้าสู่วันที่ 7 มีนาคม 2551
    ไม่เกิดเหตุภัยพิบัติใหญ่ ขึ้น ดังที่ คาดคิดแล้ว
    ผมจะยุติเรื่องราวทั้งหลาย ที่ผ่านมาตลอดระยะ เวลา 5-6 ปี ที่ผ่านมา
    เพื่อความสงบสุขของชาวเว๊ป และความสงบสุขของชีวิตครอบครัว

    <O:p</O:pโดย จะขอเอาฤกษ์งามยามดี ในวันครบรอบวันเกิดปีที่ 38
    ในวันที่ 1 มีนาคม 2551 นี้ อาศัยซึ่ง มงคลสถาน หน้าหลักโลกุตตระ
    วัดถ้ำกระบอก อ. พระพุทธบาท จ. สระบุรี

    </O:p
    ประกาศถอนสัจจะที่ได้ประกาศมาเป็นระยะๆ ที่จะมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2008
  19. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    อยากให้คุณเอกพิจารณาคำทัดทานของผมสักหน่อย

    เจตนาในการศึกษาประวัติที่มาที่ไปของพระศาสนาเป็นเรื่องดี เพราะคุณเอกได้สร้างวิริยะบารมีแก่ตน สร้างกำลังใจแก่ตน

    ไม่ผิดที่คุณเอกได้เชื่อมั่นในงานที่ทำ และจริงจังอย่างที่สุด

    ภัยจะเกิด...หรือไม่เกิด...ไม่ใช่คุณเอกเป็นคนทำ...การอ้างอิงกาลเวลาใดๆจึงเป็นการไม่ถูกต้อง

    หากแต่เราควรอ้างอิงเหตุการณ์...เป็นหลัก...เมื่อมีเหตุ...จึงต้องมีผล...ครั้นกาลเวลามาถึง..แต่เหตุยังไม่เกิด...จะมีผลตามมาได้อย่างไร

    ขอโปรดพิจารณา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2008
  20. Lazaza

    Lazaza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +5,549
    ขออนุโมทนากับคุณ สนั่นนะคะ

    ดิฉันคงไม่มีคำทัดทานอะไรนะคะ
    เพราะตัวเองไม่เคยได้สัมผัสอะไร
    แต่ก็มีทัศนะส่วนตัว

    คำสอนแรกที่พระพุทธองค์ท่านสอน
    หลังจากตรัสรู้ ท่านสอนแก่ปัญจวัคคีว่า
    "สุดโต่ง 2 สิ่งไม่ควรทำ คือตึงเกินไป
    และหย่อนเกินไป"

    ทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง ไม่แน่นอน
    และมันล้วนมีเหตุ มีปัจจัย ก็ขนาดเหตุ
    และปัจจัยก็ยังมีความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน
    ดังนั้นผลมันย่อมมีความแปรปรวนอยู่มาก
    การที่คุณเอก จะเอาตัวเองไปผูก
    กับสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ก็นับว่า
    คุณยังไม่เข้าใจกฎของไตรลักษณ์นะคะ

    แล้วอย่างนี้ ที่คุณมีความตั้งใจ ไม่ว่าจะ
    สืบทอดศาสนา หรือบรรลุโสดาบัน
    ก็อาจกล่าวได้ว่า คุณยังไปไม่ถูกทาง
    แต่ก็นับถือในความพากเพียรนะคะ

    ดิฉันความรู้น้อย หากกล่าวสิ่งใด
    ผิดพลาดก็ขออภัยไว้ด้วยนะคะ

     

แชร์หน้านี้

Loading...