ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    พิจารณา ผ้าเช็ดหน้า,เมล็ดข้าว,สายฝน แล้วบรรลุธรรม
    คุณเชื่อว่า เป็นไปได้จริงๆหรือไม่ ฝากไว้พิจารณาเป็นข้อคิดครับอ่านดูแล้วมีประโยชน์สำหรับนักปฏิบัติไม่มากก็น้อย


    นำมาจาก http://larndham.net/index.php?showtopic=12019
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 align=center><TBODY><TR><TD width=160>[​IMG]</TD><TD width=113>[​IMG]</TD><TD width=113>[​IMG]</TD><TD width=113>[​IMG]</TD><TD width=113>[​IMG]</TD><TD width=113>[​IMG]</TD><TD width=55>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffcc00 height=20 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 align=center background=../../../images/a.gif><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff height=20>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffac59 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 align=center border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top borderColor=#fffeee width=780 height=22><TABLE borderColor=#fffeee cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top borderColor=#fff2bd width="25%" background=../../../images/b.gif bgColor=#fffeee><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=156 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=156 align=center bgColor=#fffeee background=../../../images/bg04.gif border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top borderColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD> [​IMG] หน้าแรก</TD></TR><TR><TD> [​IMG] ประวัติวัด</TD></TR><TR><TD> [​IMG] ถาวรวัตถุ</TD></TR><TR><TD> [​IMG] ภาพจิตรกรรม</TD></TR><TR><TD> [​IMG] ลำดับเจ้าอาวาส</TD></TR><TR><TD> [​IMG] จำนวนพระสงฆ์</TD></TR><TR><TD> [​IMG] วันสำคัญของวัด</TD></TR><TR><TD height=16> [​IMG] วันพระตามปักข์</TD></TR><TR><TD> [​IMG] ตารางแสดงธรรม</TD></TR><TR><TD> [​IMG] ตารางอบรมกรรมฐาน</TD></TR><TR><TD> [​IMG] หนังสือธรรมะ</TD></TR><TR><TD> [​IMG] แฟ้มภาพ</TD></TR><TR><TD> [​IMG] รวมเว็บ</TD></TR><TR><TD> [​IMG] ติดต่อวัด</TD></TR><TR><TD> [​IMG] สมุดเยี่ยม</TD></TR><TR><TD> [​IMG] กระดานสนทนา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=156 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR><TR><TD background=../../../images/a.gif><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" background=../../../images/a.gif border=0><TBODY><TR><TD width="33%">[​IMG]</TD><TD width="33%"> </TD><TD align=right width="34%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top borderColor=#ffffff background=../../../images/b2.gif bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=14 cellPadding=0 width="84%" align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD height=27>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG] ภาพจิตรกรรมที่บานประตูด้านในของประตูหลัง พระอุโบสถ [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2 height=17>
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="37%">
    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=right width="63%" bgColor=#f7f7f7><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top> มหาผล ที่ประตูด้านในของประตูหลังทั้ง ๒ ข้าง มีภาพมหาผล ๑๐ ชนิด ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้ใช้ทำน้ำอัฏฐบาน เพราะเป็นมหาผล (ผลใหญ่) พร้อมกับภาพต้นของมหาผลเหล่านั้น มีรูปตามลำดับ ดังนี้

    ที่บานประตูด้านซ้ายมีรูปมหาผล ๕ ชนิด ๑. มะพร้าว ๒. ทุเรียน ๓. ฟักเขียว ๔. แตงโม ๕. น้ำเต้า


    ที่บานประตูด้านขวามีรูปมหาผล ๕ ชนิด คือ ๑. ลูกตาล ๒. ขนุน ๓. ฟักทอง ๔. แตงไทย ๕. ข้าวสาลี

    ผลไม้และผลของพืชเหล่านี้ หรือผลอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันนี้ ใช้ทำน้ำอัฏฐบานไม่ได้ เพราะเป็นมหาผล คือ ผลใหญ่ พระภิกษุสามเณรจะฉันได้ก็เฉพาะในกาล คือ เวลาเช้าถึงเที่ยงเท่านั้น.

    (คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยาย)

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD colSpan=2> </TD></TR><TR><TD colSpan=2><HR width="100%" color=#dddddd SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR align=middle><TD>ภาพด้านซ้ายมือ</TD><TD>ภาพด้านขวามือ</TD></TR><TR align=middle><TD><TABLE borderColor=#cccccc cellSpacing=2 cellPadding=0 width="20%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD><TABLE borderColor=#cccccc cellSpacing=2 cellPadding=0 width="20%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR align=middle><TD>๑. มะพร้าว</TD><TD>๑. ลูกตาล</TD></TR><TR align=middle><TD height=21>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR align=middle><TD><TABLE borderColor=#cccccc cellSpacing=2 cellPadding=0 width="20%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD><TABLE borderColor=#cccccc cellSpacing=2 cellPadding=0 width="20%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR align=middle><TD height=21>๒. ทุเรียน</TD><TD>๒. ขนุน</TD></TR><TR align=middle><TD height=21> [​IMG]</TD><TD> [​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR align=middle><TD><TABLE borderColor=#cccccc cellSpacing=2 cellPadding=0 width="20%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD><TABLE borderColor=#cccccc cellSpacing=2 cellPadding=0 width="20%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR align=middle><TD>๓. ฟักเขียว</TD><TD>๓. ฟักทอง</TD></TR><TR align=middle><TD> [​IMG]</TD><TD> [​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR align=middle><TD><TABLE borderColor=#cccccc cellSpacing=2 cellPadding=0 width="20%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD><TABLE borderColor=#cccccc cellSpacing=2 cellPadding=0 width="20%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR align=middle><TD>๔. แตงโม</TD><TD>๔. แตงไทย</TD></TR><TR align=middle><TD> [​IMG]</TD><TD> [​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR align=middle><TD><TABLE borderColor=#cccccc cellSpacing=2 cellPadding=0 width="20%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD><TABLE borderColor=#cccccc cellSpacing=2 cellPadding=0 width="20%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR align=middle><TD>๕. น้ำเต้า</TD><TD>๕. ข้าวสาลี </TD></TR><TR align=middle><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR align=middle><TD> </TD><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff height=21><HR color=#dddddd SIZE=1></TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>
    - ของดีวัดโสมนัสวิหาร พระศรีวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)​
    </TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff height=21>
    </TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#f7f7f7 height=21> [​IMG] รายการภาพจิตรกรรม [​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#f7f7f7 height=22><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#fffeee>ที่</TD><TD align=middle width="32%" bgColor=#fffeee>ชื่อ</TD><TD align=middle bgColor=#fffeee colSpan=2>ตำแหน่ง</TD><TD align=middle width="12%" bgColor=#fffeee>จำนวน</TD></TR><TR><TD align=middle width="4%" bgColor=#f7f7f7></TD><TD bgColor=#f7f7f7>คติธรรม</TD><TD width="38%" bgColor=#f7f7f7>- เสาภายใน</TD><TD width="14%" bgColor=#f7f7f7>พระวิหาร</TD><TD align=right bgColor=#f7f7f7>๑๒ ภาพ </TD></TR><TR><TD align=middle></TD><TD bgColor=#ffffff>สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ</TD><TD bgColor=#ffffff>- บานประตูและหน้าต่างด้านนอก</TD><TD bgColor=#ffffff>พระวิหาร</TD><TD align=right bgColor=#ffffff>๘ ภาพ </TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#f7f7f7></TD><TD bgColor=#f7f7f7></TD><TD bgColor=#f7f7f7>- บานประตูและหน้าต่างด้านใน</TD><TD bgColor=#f7f7f7>พระวิหาร</TD><TD align=right bgColor=#f7f7f7>๒ ภาพ </TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff></TD><TD bgColor=#ffffff>เนื้อที่ห้ามภิกษุฉัน ๑๐ ชนิด</TD><TD bgColor=#ffffff>- บานประตูด้านใน ของประตูหน้า</TD><TD bgColor=#ffffff>พระอุโบสถ</TD><TD align=right bgColor=#ffffff>๑๑ ภาพ </TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff></TD><TD bgColor=#f7f7f7>ผลไม้ที่ทำน้ำอัฏฐบาน ๘ ชนิด</TD><TD bgColor=#f7f7f7>- บานหน้าต่างด้านใน</TD><TD bgColor=#f7f7f7>พระอุโบสถ</TD><TD align=right bgColor=#f7f7f7>๙ ภาพ </TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#f7f7f7></TD><TD bgColor=#ffffff>มหาผล ๑๐ ชนิด</TD><TD bgColor=#ffffff>- บานประตูด้านใน ของประตูหลัง</TD><TD bgColor=#ffffff>พระอุโบสถ</TD><TD align=right bgColor=#ffffff>๑๑ ภาพ </TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#f7f7f7></TD><TD bgColor=#f7f7f7>อสุภกรรมฐาน</TD><TD bgColor=#f7f7f7>- ฝาผนัง</TD><TD bgColor=#f7f7f7>พระอุโบสถ</TD><TD align=right bgColor=#f7f7f7>๘ ภาพ</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff></TD><TD bgColor=#ffffff>เมรุ</TD><TD bgColor=#ffffff>- ฝาผนัง </TD><TD bgColor=#ffffff>พระอุโบสถ</TD><TD align=right bgColor=#ffffff>๔ ภาพ </TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#f7f7f7></TD><TD bgColor=#f7f7f7>ธุดงควัตร</TD><TD bgColor=#f7f7f7>- ฝาผนัง </TD><TD bgColor=#f7f7f7>พระอุโบสถ</TD><TD align=right bgColor=#f7f7f7>๕ ภาพ </TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>๑๐</TD><TD bgColor=#ffffff>แปลนวัดโสมนัสวิหาร</TD><TD bgColor=#ffffff>- ฝาผนัง </TD><TD bgColor=#ffffff>พระอุโบสถ</TD><TD align=right bgColor=#ffffff>๒ ภาพ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#f7f7f7>
    คลิกที่ชื่อ ชมภาพ
    </TD></TR><TR><TD><HR color=#dddddd SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=25 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 align=center background=../../../images/a2.gif border=0><TBODY><TR><TD align=middle height=27>&copy; Copyright 2004 watsomanas.com All Right Reserved. <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="ภาพจิตรกรรม (ภาพมหาผล)";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits2.gits.net.th/data/n0025196.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.6.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT>[​IMG] <!-- END WEBSTAT CODE --><!-- Begin Nedstat Basic code --><!-- Title: วัดโสมนัสวิหาร :+: watsomanas.com --><!-- URL: http://www.watsomanas.com/ --><SCRIPT language=JavaScript src="http://m1.nedstatbasic.net/basic.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript type=text/javascript><!-- nedstatbasic("ADEw3gCxO1oaps/vhUDnJg0avNzw", 0);// --></SCRIPT>[​IMG]<SCRIPT language=JavaScript src="http://m1.webstats.motigo.com/md.js?country=th&id=ADEw3gCxO1oaps/vhUDnJg0avNzw&_t=1205470637516" type=text/javascript></SCRIPT> <NOSCRIPT> <imgsrc="http://m1.nedstatbasic.net/n?id=ADEw3gCxO1oaps/vhUDnJg0avNzw"border="0" width="18" height="18"alt="Nedstat Basic - Free web site statisticsPersonal homepage website counter"> </NOSCRIPT><!-- End Nedstat Basic code --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    บุญเป็นอย่างไร
    คนส่วนมากอยากได้บุญ แต่บุญเป็นอย่างไรอยู่ที่ไหนก็หารู้จักไม่เป็นแต่เขาว่าอย่างนี้ได้บุญก็เชื่อหาตรึกตรองด้วยปัญญาของตนเองไม่
    เมื่อทำไปก็ผิดบ้างเป็นแต่เฉียดๆ บ้างอีกอย่างหนึ่งคืออยากได้บุญแต่ขี้เกียจมักง่าย เลือกทำแต่ที่ง่ายๆ สบายๆ ตามชอบใจของตนที่อยาก
    เป็นบุญเป็นกุศลแท้ก็หาทำไม่ท้อถอยเสียโดยที่สุดจะภาวนานั่งหลับตาบริกรรมครู่หนึ่งพอเมื่อยขาก็ว่าได้บุญมากแล้ว
    ละความเพียรนอนเสีย ถ้าทำโดยขี้เกียจมักง่ายดังว่ามานี้ ก็หาถูกต้องเป็นบุญ เป็นกุศลไม่ เป็นแต่เฉียดๆ ไป.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2008
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    การสร้างและบูชาเจดีย์
    เมื่อจะไหว้พระบูชาพระ ให้คิดว่า บรรดาเจติยฐานทั้งสิ้น สร้างเฉพาะต่อพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ข้าพเจ้าไหว้บูชาพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทั้งพระธรรมด้วย พระสงฆ์ด้วย จงเป็นประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าด้วย แก่เทพยดาและมนุษย์ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยสร้างพระเจดีย์ได้บุญมากกว่าสร้างพระพุทธรูป ด้วยพระเจดีย์ พระพุทธเจ้าอนุญาตให้สร้าง พระพุทธรูปพระองค์ไม่ได้อนุญาต พระพุทธรูปนั้น บางทีจะให้เกิดสัตตูปสัญญา ถือว่าพระองค์นั้นงาม องค์นั้นเล็ก องค์นั้นใหญ่ จะสร้างก็ให้ถูกพระมหาปุริลักษณะจะได้เกิดความเลื่อมใส สร้างพระเจดีย์นั้น เพื่อจะให้เห็นว่าเป็นแต่ธาตุ เป็นของสูญ จึงได้บุญมากเดี๋ยวนี้ไม่อยากไปไหน ไหว้พระที่นี่แห่งเดียว เหมือนไหว้พระทั้งแผ่นดิน.



    http://www.watsomanas.com/thai/dhammastory/somdettap.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2008
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    พุทธานุสสติ
    อนึ่ง เมื่อจะระลึกถึงคุณรพระรัตนตรัย พึงระลึกดังนี้ก็ได้ว่า เพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ลุกโพลงรุ่งเรืองไหม้สัตว์เผาสัตว์ให้รุ่มร้อนอยู่เป็นนิตย์ในภพทั้ง ๓
    เพลิงกิเลสนั้น คือ ราคะ ความกำหนัดยินดี โทสะ ความเคืองคิดประทุษร้าย และโมหะ ความหลงไม่รู้จริง
    ราคะ โทสะ โมหะ ทั้ง ๓ นี้ท่านกล่าวว่าเป็นเพลิง เพราะเป็นเครื่องร้อนรนกระวนกระวายของสัตว์
    เพลิงทุกข์นั้น คือ ชาติ ความเกิด คือขันธ์และอายตนะ และนามรูปที่เกิดปรากฏขึ้น ชรา ความแก่ทรุดโทรมคร่ำคร่า มรณะ ความตาย คือชีวิตขาด กายแตก วิญญาณดับ โสกะ ความเหือดแห้งใจ เศร้าใจ ปริเทวะ ความบ่นเพ้อคร่ำครวญร่ำไร ทุกขะ ทนยากเจ็บปวดเกิดขึ้นในกาย โทมนัส ความเป็นผู้มีใจชั่วเสียใจ และอุปายาส ความคับแค้นอัดอั้นใจ
    ทุกข์มีชาติเป็นต้นเหล่านี้ ท่านกล่าวว่าเป็นเพลิง เพราะเป็นเหตุให้เกิดความร้อนรนกระวนกระวายต่างๆ แก่สัตว์
    เพลิงกิเลสเพลิงทุกข์เหล่านี้ ยกพระพุทธเจ้าเสียแล้ว ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งในโลกดับได้ แต่ผู้ที่จะรู้ว่าเป็นเพลิงเครื่องร้อนเท่านั้น ก็หายากเสียแล้ว ผู้ที่จะดับเพลิงนั้นจะได้มาแต่ไหนเล่า ก็ในโลกหมดทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดผูหนึ่งดับได้ จึงพากันร้อนรนกระวนกระวายอยู่ด้วยเพลิงหมดทั้งโลก ก็ไม่รู้สึกตัวว่าเพลิงมันเผาเอาให้เร่าร้อนอยู่เป็นนิตย์ เพราะอวิชชาความหลงไม่รู้จริง
    สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งของเรา พระองค์ตรัสรู้ชอบตรัสรู้ดีแล้วเอง ตรัสรู้จริงเห็นจริง ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ของพระองค์ได้แล้ว คือทำให้แจ้งซึ่งพระนฤพานและขันธนฤพานได้แล้ว ทรงสั่งสอนสัตว์ให้รู้ตามเห็นตาม ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนฤพานได้ด้วย พระองค์นั้นจึงเป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ประเสริฐกว่าสัตว์ เป้นผู้อัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนัก ควรเลื่อมใสจริงๆ
    สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมที่เป็นที่พึ่งของเรา ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วดี ทรงคุณคือดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ของสัตว์ผู้ปฏิบัติชอบ ช่วยให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นได้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาด้มรรค ผล นฤพาน พระธรรมนั้น ท่านทรงคุณคือดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ได้อย่างนี้ จึงเป็นอัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนัก ควรเลื่อมใสจริงๆ
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์ผู้สาวกของพระผู้มีพระภาคที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านปฏิบัติดีแล้ว ทำให้บริบูรณ์ในศีล สมาธิ ปัญญา บรรลุมรรคผลทำให้แจ้งซึ่งพระนฤพาน ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ของตนได้แล้ว สั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตาม เห็นตาม ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ได้ด้วย และเป็นเขตให้เกิดบุญเกิดกุศลแก่เทวดามนุษย์มากมายนัก พระสงฆ์นั้นท่านปฏิบัติดีอย่างนี้ จึงเป็นอัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนัก ควรเลื่อมใสจริงๆ
    เมื่อนึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ รัตนะนี ตรึกตรองด้วยปัญญา ครั้นเห็นจริงเกิดความเลื่อมใสขึ้นแล้ว จะนึกแต่ในใจหรือจะเปล่งวาจาว่า
    อะโห พุทโธ พระพุทธเจ้าที่เป็นที่พึ่งของเรา พระองค์ตรัสรู้จริงเห็นจริง สำเร็จประโยชน์ตนสำเร็จประโยชน์ผู้อื่นได้แล้ว ควรซึ่งทักษิณาอันเลิศ เป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์หมดทั้งสิ้น เป็นอัศจรรย์น่าเลื่อมใสจริง
    อะโห ธัมโม พระธรรมที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านทรงคุณคือดับกิเลสเครื่องร้อนใจของสัตว์ได้ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นอัศจรรย์น่าเลื่อมใสจริง
    อะโห สังโฆ พระสงฆ์ที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านปฏิบัติดีแล้ว เป็นเขตบุญอันเลิศ หาเขตบุญอื่นยิ่งกว่าไม่มี เป็นอัศจรรย์น่าเลื่อมใสจริงภาวนาดังนี้ก็ได้ดีทีเดียว
    เมื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ รัตนะนี้เป็นที่พึ่งของตนจริงๆ เสมอด้วยชีวิตแล้ว ท่านกล่าวว่าถึงสรณะแล้ว มีผลอานิสงค์ใหญ่กว่าทานหมดทั้งสิ้น
    อนึ่ง ผู้ใดได้ความเชื่อความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ รัตนะนี้แล้ว ผู้นั้นได้ชื่อว่าเลื่อมใสแล้วในที่อันเลิศ ผลที่สุกวิเศษเลิศใหญ่กว่าผลแห่งกุศลอื่นๆ ทั้งสิ้น ย่อมมีแก่ผู้เลื่อมใสในรัตนะทั้งสามนั้น
    อนึ่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้ เป็นรัตนะอันเลิศวิเศษ ยิ่งกว่ารัตนะอื่นๆ หมดทั้งสิ้น ย่อมให้สำเร็จความปรารถนาแก่สัตว์ผู้ที่เลื่อมใสได้ทุกประการ เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอุตส่าห์นึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดความเลื่อมใสทุกๆ วันเถิด จะได้ไม่เสียทีประสบพบพระพุทธศาสนานี้.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2008
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    เจริญเมตตา
    อนึ่ง เมื่อจะเจริญเมตตา พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า
    สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแต่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น อะเวรา จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    สัพเพ สัตตา ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแต่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น อะพะยาปัชฌา จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความเจ็บไข้ลำบากกายลำบากใจเลย
    สัพเพ สัตตา ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแต่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น อะนีฆา จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
    สัพเพ สัตตา ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแต่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
    เมตตาภาวนานี้ เป็นข้าศึกแก่พยาบาทโดยตรง เมื่อเจริญเมตตานี้ย่อละพยาบาทเสียได้ด้วยดี เมตตานี้ชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะเป็นเครื่องหลุดพ้นจากพยาบาทของใจ มีผลอานิสงค์ยิ่งใหญ่กว่าทานแลศีลหมดทั้งสิ้น
    อนึ่ง เมตตานี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงค์ ๑๑ ประการ อานิสงค์ ๑๑ ประการนั้น คือ
    ผู้ที่เจริญเมตตานี้หลับก็เป็นสุข ที่ ๑
    ตื่นก็เป็นสุข ที่ ๒
    ฝันเห็นก็เป็นมงคลไม่ลามก ที่ ๓
    เป็นที่รักของมนุษย์ ที่ ๔
    เป็นที่รักของอมนุษย์ ที่ ๕
    เทวดาย่อมรักใคร่รักษาไว้ให้พ้นภัย ที่ ๖
    ไฟก็ไม่ไหม้ไม่ทำให้ร้อนได้ พิษต่างๆ และศัสตราวุธก็ไม่ประทุษร้ายทำอันตรายแก่ชีวิตได้ ที่ ๗
    จิตกลับตั้งมั่นได้โดยเร็วพลัน ที่ ๘
    มีผิวหน้าผ่องใสงาม ที่ ๙
    เป็นผู้มีสติไม่หลงตาย ที่ ๑๐
    ตายแล้วไปเกิดในพรหมโลกด้วยเมตตานี้ ที่ ๑๑
    เมตตามีอานิสงค์วิเศษต่างๆ ดังว่ามานี้
    เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอย่าได้ประมาทในเมตตาภาวนานี้เลย อุตส่าห์เจริญเถิด จะได้ประสบอานิสงค์วิเศษต่างๆ ซึ่งว่ามานี้ เทอญ.





    ทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวงนี้นำมาจากสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทธสิริ) แห่งวัดโสมนัส สนใจ ตามเข้าไปดูในหน้า โฮมเพจ ข้างต้นได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2008
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    สุภาษิตสอนหญิง (ตัวอย่าง) ยังมีอีกหลายบทที่

    http://www.watsomanas.com/thai/dhammastory/sunthornpoo.php

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=right border=0><TBODY><TR><TD height=15>เป็นสาวแซ่แร่รวยสวยสะอาด
    แม้นแตกร้าวรานรอยถอยราคา
    อันตัวต่ำแล้วอย่าทำให้กายสูง
    ค่อยเสงี่ยมเจียมใจจะไว้วาง

    </TD><TD height=15>ก็หมายมาดเหมือนมณีอันมีค่า
    จะพลอยพาหอมหายจากกายนาง
    ดูเยี่ยงยูงแววยังมีที่วงหาง
    ให้ต้องอย่างกริยาเป็นนารี ฯ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2008
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC][SIZE=+3]ชาวพุทธ [/SIZE][/FONT]

    [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width=597 align=center><TBODY><TR bgColor=#f4f4f4><TD vAlign=top bgColor=#f4f4f4 height=38>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ชาวพุทธ ๔ ประการ
    ๑.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2008
  9. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,294
    กราบขอบพระคุณและโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ได้ร่วมกันทำบุญสงเคราะห์พระสงฆ์ที่กำลังอาพาธด้วยครับ
    โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ

    วันนี้ (14 มี.ค. 2551) ผมได้นำเงินเข้าบัญชีทุนนิธิฯที่มีผู้ฝากมา
    ดังนี้ครับ

    1. ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร 500 บาท

    2. พี่ใหญ่ 500 บาท

    3. ร.ต.อ. ศิรณวิชญ์ อินทร 2,000 ยาท

    รวมเป็นเงิน 3,000 ยาท

    ขอกราบขอบพระคุณและโมทนาบุญกับในการกุศลในครั้งนี้ด้วยครับ
    โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,294
    ขอนำใบโมทนาบัตรที่ทาง ร.พ. สงฆ์ ออกให้ของเดือนที่ผ่านมา(กุมภาพันธ์)แต่พึ่งส่งไปให้คุณพันวฤทธิ์เมื่อไม่กี่วันนี้เองมาแสดงให้ดูและโมทนาบุญที่ได้กระทำร่วมกันด้วยครับ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]


    เมื่อวานนี้เพิ่งไปต่อบุ๊คบัญชีเงินฝากของทุนนิธิฯมาครับเพราะเต็มแล้วต้องขึ้นเล่มใหม่ ต้องขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่ได้มีส่วนที่ผลักดันให้ทุนนิธินี้ดำเนินการมาได้จนทุกวันนี้ พวกเราทุกคนรู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจไมตรีของทุกๆท่าน ไม่มีอะไรที่จะตอบแทนนอกจากคำว่า
    "กราบขอบพระคุณและคารวะด้วยใจจริง"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,294
    วิธีพิสูจน์จิต (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

    วิธีพิสูจน์จิต (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]

    การฝึกหัดเบื้องต้นโดยมากก็มักถูกกับกรรมฐาน
    บทอานาปานสติ คือ กำหนดลมหายใจเข้าออก

    โดยมีสติกำกับรักษาจิตอย่าให้เผลอในขณะที่ทำ
    ทำใจให้รู้อยู่กับลมเข้าลมออกเท่านั้น
    ไม่คาดหมายผลที่จะพึงได้รับมีความสงบเป็นต้น
    ทำความรู้สึกอยู่กับลมเข้า ลมออกธรรมดา

    อย่าเกร็งตัวเกร็งใจจนเกินไป จะเป็นการกระเทือนสุขภาพทางกายให้รู้สึกเจ็บนั้นปวดนี้
    โดยหาสาเหตุไม่เจอ ซึ่งความจริงสาเหตุก็คือการเกร็งตัวเกร็งใจจนเกินไปนั่นเอง

    ควรมีสติรับรู้อยู่ธรรมดา ใจเมื่อได้รับการรักษาด้วยสติจะค่อยๆ สงบลง ลมก็ค่อยละเอียดไปตามใจที่สงบตัวลง ยิ่งกว่านั้นใจก็สงบจริงๆ ลมหายใจขณะที่จิตละเอียดจะปรากฏว่าละเอียดอ่อนที่สุด จนบางครั้งปรากฏว่าลมหายไป คือลมไม่มีในความรู้สึกเลย ตอนนี้จะทำให้นักภาวนาตกใจกลัวจะตายเพราะลมหายใจไม่มี

    เพื่อแก้ความกลัวนั้น ควรทำความรู้สึกว่า แม้ลมจะหายไปก็ตาม เมื่อจิตคือผู้รู้ยังครองร่างอยู่ ถึงอย่างไรจะไม่ตายแน่นอน ไม่ต้องกลัว อันเป็นเหตุเขย่าใจตัวเองให้ถอนขึ้นจากความละเอียดมาเป็นจิตธรรมดา ลมหายใจธรรมดา ซึ่งทำให้เกิดความเสียใจในภายหลัง

    ถ้ากำหนดเฉพาะลมหายใจเป็นอารมณ์อย่างเดียวไม่สนิทใจ จะตามด้วยการบริกรรมพุทโธ ก็ได้ไม่ผิด ผู้ชอบบริกรรมเฉพาะธรรมบทใดบทหนึ่ง เช่น พุทโธ ก็ได้ตามอัธยาศัยชอบไม่ขัดแย้งกัน สำคัญที่ให้เหมาะกับจริต และขณะภาวนาขอให้มีสติรักษา อย่าปล่อยให้ใจส่งไปตามอารมณ์ต่างๆ ก็เป็นอันถูกต้องในการภาวนา

    คำว่า จิตใจ มโน หรือผู้รู้เป็นอันเดียวกัน คือเป็นไวพจน์ของกันและกัน ใช้แทนกันได้ เช่น กิน-รับประทานเป็นต้น เป็นความหมายอันเดียวกันใช้แทนกันได้ ตามปกติใจเป็นสิ่งละเอียดมากยากจะจับตัวจริงได้ ใจเป็นประเภทหนึ่งต่างหากจากร่างกายทุกส่วน

    แม้อาศัยกันอยู่ก็มิได้เป็นอันเดียวกัน ร่างกายที่ตั้งอยู่ได้ย่อมขึ้นอยู่กับใจเป็นผู้รับผิดชอบ ถ้าใจออกจากร่างไปเมื่อใดร่างกายก็หมดความหมายลงทันที โลกเรียกว่าตาย แต่ความรู้คือใจนี้ต้องไม่ตายไปด้วยร่างกายที่สลายตัวไป

    เมื่ออยากทราบความจริงจากใจ จำต้องมีเครื่องมือพิสูจน์ เครื่องมือพิสูจน์ใจได้แก่ธรรมเท่านั้น นอกนั้นไม่มีสิ่งใดจะสามารถพิสูจน์ได้ การภาวนาเป็นการพิสูจน์ใจโดยตรง ผู้มีสติดีมีความเพียรมาก มีทางพิสูจน์ความจริงของใจให้เห็นชัดเจนได้เร็วยิ่งขึ้นผิดธรรมดา

    คำว่าเครื่องมือคือธรรมนั้น โปรดทราบว่า ส่วนใหญ่คือสติปัฏฐาน ๔ และสัจธรรม ๔ เป็นต้น ส่วนย่อยแต่จำเป็นทั้งในขั้นเริ่มแรกและขั้นต่อไป ได้แก่อานาปานสติ หรือพุทโธ เป็นต้น เป็นบทๆ ไป ที่ผู้ภาวนานำมากำกับใจแต่ละบทละบาท เรียกว่าเครื่องมือพิสูจน์ใจทั้งสิ้น

    เมื่อใจพร้อมกับเครื่องมือคือธรรมบทต่างๆ ได้รวมกันเข้าเป็นคำภาวนา มีสติเป็นผู้ควบคุมให้ระลึกรู้อยู่กับลมหายใจ หรือธรรมบทใดก็ตามโดยสม่ำเสมอ ไม่ให้จิตเผลอออกไปสู่อารมณ์ภายนอก

    ไม่นานกระแสของใจที่เคยสร้างอยู่กับอารมณ์ต่างๆ จะค่อยรวมตัวเข้ามาสู่จุดเดียว คือที่กำลังทำงานโดยเฉพาะได้แก่คำภาวนา ความรู้จะค่อยๆ เด่นขึ้นในจุดนั้น และแสดงผลเป็นความสงบสุขขึ้นมาให้รู้เห็นได้อย่างชัดเจน

    : หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    http://www.luangta.com/thamma/thamma...D=2610&CatID=3
     
  12. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,294
    ทำไมต้องตั้ง "นะโม" ก่อน??

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ครั้งหนึ่ง ได้มีโยมคนหนึ่ง คือ อาชญาขุนพิจารณ์ (บุญมาก) สุวรรณรงค์ เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีอยู่ในอำเภอพรรณานิคม บุตรของพระเสนาณรงค์ (สุวรรณ์) เจ้าเมืองพรรณานิคมคนที่ 4 และเป็นนายอำเภอพรรณานิคม คนแรกในรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้นมัสการถามท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ พระบุพพาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานถึงเรื่อง "นะโม" ว่าเหตุใดการให้ทานหรือการรับศีลจึงต้องตั้ง "นะโม" ก่อนทุกครั้ง จะกล่าวคำถวายทาน และรับศีลเลยทีเดียวไม่ได้หรือ ?

    พระอาจารย์มั่นได้เทศน์ชี้แจงเรื่อง "นะโม" ให้ฟังว่า...
    "เหตุใดหนอ นักปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดีจะรับศีลก็ดี หรือจะทำการกุศลใดๆ ก็ดีจึงต้องตั้งนโมก่อนจะทิ้ง นโมไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ จะยกขึ้นพิจารณา ได้ความปรากฏว่า
    นะ คือธาตุน้ำ โมคือธาตุดิน พร้อมกับบทพระคาถาขึ้นมาว่า มาตาเปติกสมฺภโว โอทนกุมฺมา สปจฺจโย สัมภวธาตุ ของมารดาบิดาผสมกันจึงเป็นตัวตนขึ้นมาเมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้วก็ได้รับข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นเครื่องเลี้ยงจึงเจริญเติบโตขึ้นมาได้ "นะ" เป็น ธาตุ ของมารดา โม เป็นธาตุของบิดา ฉะนั้น เมื่อธาตุทั้ง 2 ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจน ได้นามว่า "กลละ" คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ปฏิสนธิในธาตุ "นะโม" นั้น
    ....เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว "กลละ" ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น "อัมพุชะ" คือ เป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น "ฆนะ" คือ แท่งและเปสี คือ ชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็น ปัญจสาขา คือ แขน 2 ขา 2 หัว 1 ส่วนธาตุ "พ" คือ ลม "ธ" คือ ไฟนั้น เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจาก " กลละ" นั้นแล้ว กลละ ก็ต้องเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละ ก็ต้องทิ้งเปล่า หรือ สูญเปล่า ลม และไฟก็ไม่มี คนตายลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุ ทั้ง 2 คือ นะโม เป็นดั้งเดิม
    .....ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย "นะ" มารดา "โม" บิดาเป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยการให้ข้าวสุก และขนมกุมมาสเป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดา ว่า "ปุพพาจารย์" เป็นผู้สอนก่อนใครๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณ มิได้มรดกที่ท่านทำให้กล่าว คือ รูปกายนี้แลเป็นมรดกดั้งเดิมทรัพย์สินเงินทองอันเป็นภายนอก ก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลย เพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น"มูลมรดก" ของมารดาบิดา ทั้งสิ้น จึงว่าคุณของท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย
    ...ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่เราต้องเอาตัวเราคือ นะโม ตั้งขึ้นก่อน แล้วจึงทำกิริยาหาได้แปล ต้นกิริยาไม่มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุนทำการฝึกหัดปฏิบัติตนไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ นะโม เมื่อกล่าวเพียง 2 ธาตุเท่านั้นยังไม่สมประกอบ หรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้ คือ เอาสระอะ จากตัว "น" มาใส่ตัว "ม" เอา สระโอจากตัว "ม" มาใส่ตัว "น" แล้วกลับตัวมะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่า ใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้ทั้งกายทั้งใจ เต็มตามสมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้ มโน คือ ใจนี้เป็นดั้งเดิมเป็นมหาฐานใหญ่ จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมดได้ในพระพุทธพจน์ว่า

    มโนปุพฺพงฺ คมา ธมฺมา มโนเสฎฐา มโมยา ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ

    ....พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติออกไปจากใจ คือ มหาฐานนี้ทั้งสิ้นเหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้สึก นโมแจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมบัติทั้งหลาย ในโลกนี้ต้องออกไปจากนโมทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใครต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้ ถือเอาเป็นสมบัติ บัญญัติตามกระแสแห่งน้ำ โอฆะ จนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลงถือว่าตัวเป็นเราเป็นของเราไปหมด"
    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- / message --><!-- sig -->
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    ขอขอบคุณเว็บไซท์ พุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
     
  13. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,294
    *** ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ***

    กล่าวกันว่า"ท่านพุทธทาสภิกขุ" เป็นพระมหาเถระ ผู้มากด้วยปัญญาและเมตตาต่อศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย แต่ใช้ปัญญาอย่างสูงส่ง
    ศิษย์ฝรั่งคนหนึ่งมาบวชศึกษาธรรมะอยู่กับท่านเป็นเวลานานพอสมควร ช่วงแรกๆ ศิษย์ฝรั่งคนนี้ยังมีความเป็น "ฝรั่งจ๋า" อยู่เต็มตัว คือ ช่างสงสัย ช่างไต่ถาม ชอบความสมบูรณ์แบบค่อนไปทาง Perfectionist เสียด้วยซ้ำ
    บ่อยครั้งที่พระฝรั่งสังเกตเห็นว่าพระไทยไม่สู้สนใจในวัตรปฏิบัติเคร่งครัดนัก เอาแต่ทำงานกุลี โดยหารู้ไม่ว่าที่นี่ (สวนโมกข์) ถือคติ
    "การทำงาน คือการปฎิบัติธรรม" ความเป็นนักสมบูรณ์แบบนิยมของท่าน ทำให้ท่านกลายเป็นนัก "จับผิด"
    ผู้อื่นไปโดยปริยาย ยิ่งจับผิดยิ่งพบว่า จิตใจเร่าร้อนกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียว อะไรๆ ดูเหมือนจะไม่ได้ดั่งใจไปเสียทั้งหมด
    ท่านหอบเอาความ
    "ไม่ได้ดังใจ" ไประบายให้ท่านพุทธทาสฟังครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ทุกครั้งไม่มีปฏิกิริยาอะไรตอบกลับมาจากผู้เป็นอาจารย์เลย พระฝรั่งพูดอะไรมาท่านฟังทั้งหมด แต่เป็นการฟังที่เสมือนไม่ได้ยิน ศิษย์ฝรั่งจึงรู้สึกเอะใจฟ้องอะไรออกไปเหมือนทุกอย่างถูกดูดหายเข้า กว่าจะรู้ว่าถูกพระอาจารย์สอนเรื่อง "ความว่าง"
    ก็เผลอฟ้องไปหลายเรื่องแล้ว
    คนส่วนใหญ่พอใจเรียกร้องความสมบูรณ์แบบจากคนอื่น โดยหลงลืมการเรียกร้องจากตัวเอง มีอยู่เสมอที่เราเผลอคาดหวังให้คนนั้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น เข้มงวดกับใครต่อใครเข้าไปทั่ว แต่สำหรับตัวเองกลับ "ยืดหยุ่น" ได้ทุกเรื่อง เรามักลืมไปว่า โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์ไม่มีใครสมบูรณ์แบบไปเสียทั้งหมด ทุกคนย่อมมีข้อดีข้อด้อยในตัวเองไม่มากก็น้อย คนฉลาดย่อมรู้จักเลือกที่จะมองข้ามข้อด้อยของคนอื่น นึกนิยมแต่ในข้อดีของเขา ส่วนคนเขลาพอใจยกข้อด้อยของคนอื่นมาโจมตี แล้วทำทีมองไม่เห็นข้อดีของคนอื่น หากเราตระหนักอย่างชัดเจนว่า "ความไม่สมบูรณ์แบบ" คือ สัจจธรรมพื้นฐานของมนุษย์
    เราจะเรียกร้องจากคนอื่นน้อยลง เข้าใจตนและคนอื่นมากขึ้น มองโลกและชีวิตอย่างอ่อนโยนและผ่อนคลาย พร้อมเสมอที่จะให้อภัยในความ "ไม่สมบูรณ์แบบ" ของคนอื่นอย่างรู้เท่าทัน...
    (พลายชุมพล 22/9/46)

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณเว็บไซท์ พุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net

     
  14. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,294
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=big2 vAlign=bottom height=35>"อดทนต่อคำที่ล่วงเกินได้ ประเสริฐยิ่ง" </TD></TR></TBODY></TABLE>


    วจนกฺขโม = อดทนต่อถ้อยคำล่วงเกิน


    เมื่อใดที่เราเป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำหยาบ คำใส่ร้าย คำป้ายสี...

    เราจะลดและบรรเทากรรมเวรที่ต้องตอบโต้กับผู้กล่าววาจาร้ายใส่เราได้

    เป็นการฝึก ขันติ(อดกลั้น) ทมะ(ข่มใจ) รวมไปถึงอภัยทาน(ทานที่ทำได้ยากเมื่อทำได้จะตัดเวรตัดกรรม) แก่ผู้ที่มาทำร้ายทางวาจา

    บางท่าน ใครพูดทับถม หรือเสียดสีเล็กๆน้อยๆ ก็ร้อนใจ นอนไม่หลับ กินไม่ลง สายตาระทม ผิวพรรณหม่นหมองเพราะแรงฟุ้ง เป็นกิเลสอย่างหนึ่งทำให้คิดหมุนวน

    นี่เป็นผลของการเก็บเอาคำพูดของคนอื่นมาทิ่มแทง
    ใครล่ะที่ยินดีเก็บคำพูดของคนอื่นไว้ ถ้าไม่ใช่ใจท่านเอง

    บางท่าน โดนด่า โดนพูดเสียดสี ตั้งแต่เดือนก่อน แต่เก็บเอาคำพูดมาแทงตัวเองทุกๆวัน
    รู้หรือไม่ ว่าคนที่ด่าท่าน เขาลืมไปนานแล้ว ท่านต่างหากที่ยังไม่ลืม และใช้ใจตัวเองหมักหมมถ้อยคำไร้สาระเก็บไว้ไม่ยอมสลัดทิ้ง

    ท่านห้ามพระอาทิตย์ไม่ให้ส่องแสงได้ ท่านคงสามารถห้ามคนนินทาได้

    ธรรมดา..ที่ต้องเกิดมาเจอถ้อยคำกล่าวโทษ เพ่งโทษ

    ธรรมดา..ที่ต้องเกิดมาเจอถ้อยคำเสียดสี เหน็บแนม

    ธรรมดา..ที่ต้องเกิดมาเจอถ้อยคำด่าทอ ผรุสวาท

    แต่อะไรก็ตามที่เป็นสิ่งสมมุติ ล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ในที่สุด

    ถ้อยคำล่วงเกินต่างๆ มันได้"ดับ"ไปนานแล้วตั้งแต่ที่คนๆนั้นเขาพูดเสร็จ
    แต่ท่านเอง กลับทำให้ถ้อยคำเหล่านั้น "เกิดใหม่"ทุกๆวัน ด้วยการเก็บเอามาคิดแค้นใจ น้อยใจ เสียใจ ไม่หยุดหย่อน



    ข้อความจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     
  15. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,294
    เมื่อหลวงพ่อชา"ถีบ"พระฝรั่ง.!!??!!

    ภาษาธรรมที่ท่านใช้สื่อสารกับพระฝรั่งเป็นอย่างไร คำตอบมีอยู่ในคำบอกเล่าของพระฝรั่งชาวออสเตรเลีย นามญาณธัมโมภิกขุ.....

    .........."วันหนึ่ง อาตมามีเรื่องขัดใจกับพระรูปหนึ่ง รู้สึกโกรธหงุดหงิดอยู่ทั้งวัน รุ่งเช้าไปบิณฑบาตก็เดินคิดไปตลอดทาง ขากลับเข้าวัดพอดีเดินสวนทางกับหลวงพ่อ ท่านยิ้มและทักอาตมาเป็นภาษาอังกฤษว่า กู๊ด มอร์นิ่ง ซึ่งทำให้อารมณ์ของอาตมาเปลี่ยนทันที ที่กำลังขุ่นมัว หงุดหงิด กลับเบิกบาน ปลื้มปิติที่หลวงพ่อทักเรา"

    ........."ถึงเวลาสวดมนต์ทำวัตรเย็น หลวงพ่อให้อาตมาเข้าไปอุปัฏฐากถวายการนวดที่กุฏิของท่านเป็นการส่วนตัว อาตมารู้สึกตื่นเต้นดีใจมากกับโอกาส
    ใกล้ชิดอยู่สองต่อสองที่หาได้ยากอย่างนั้น เพราะเราเป็นพระใหม่ แต่ขณะที่กำลังถวายการนวดอยู่อย่างตั้งอกตั้งใจและปลื้มปีติ
    ทันใดนั้นเองอย่างไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว หลวงพ่อก็ถีบเปรี้ยงเข้าที่ยอดอกซึ่งกำลังพองโตด้วยความรู้สึกภาคภูมิของอาตมาจนล้มก้นกระแทก"

    .........."แล้วท่านก็ตำหนิว่า
    จิตใจไม่มั่นคง พอไม่ได้ดั่งใจก็ขัดเคือง หงุดหงิด เมื่อได้ตามปรารถนาก็ฟูฟ่อง ผมฟังท่านดุไปหลาย ๆ อย่างแล้วร้องไห้เลย
    ไม่ใช่เพราะโกรธหรือเสียใจ แต่ซาบซึ้งเพราะสำนึกในพระคุณของท่านหลวงพ่อมากที่เมตตาช่วยชี้กิเลสของเรา ไม่เช่นนั้นเราก็คงมืดบอดมองไม่เห็น คงเป็นคนหลงอารมณ์ไปอีกนาน...."

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณเว็บไซท์ พุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net

     
  16. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,294
    "จริง" แต่ "ไม่จริง"!!!???

    (จากหนังสือ" วรธัมโมกถา ตอนที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.สนทนาธรรมกับหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา)

    ในหนังสือของ หลวงตามหาบัว เขียนประวัติของ หลวงปู่มั่น ตอนที่ว่า หลวงปู่มั่นคุยกับพระพุทธเจ้า คุยกับพระอรหันต์ ซึ่งนักปราชญ์ทั้งหลายนำไปวิจารณ์กัน ทั้งข่าวหนังสือพิมพ์ ทั้งหนังสือธรรมะ ท่านทั้งหลายลงความเห็นว่า พระพุทธเจ้า พระอรหันต์นิพพานดับไปแล้ว เอาอะไรมาคุยกับท่านอาจารย์มั่น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบันท่านก็เคยถาม ไปเฝ้าท่าน ท่านก็ถามว่า

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2008
  17. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,294
    แก่นแท้แห่ง"เศรษฐกิจแบบพอเพียง

    เศรษฐกิจแบบพอเพียง

    <DD>พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้

    <DD>
    "
     
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,294
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=big2 vAlign=bottom height=35>สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในอนันตจักรวาล </TD></TR></TBODY></TABLE>


    สิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ไม่ใช่สัตว์ประหลาดจากต่างดาว ไม่ใช่โรคภัยไข้เจ็บ ไม่ใช่สิ่งไกลตัวที่ไหน แต่เป็นจิตของเราแต่ละคนนั่นเอง ที่กล่าวว่าจิตของเราเองคือสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในอนันตจักรวาลนั้น ก็เพราะว่า โดยความเป็นจริงที่แท้แล้วสิ่งอื่นหรือคนอื่นนั้น ไม่มีอะไรหรือใครเลย ที่จะทำให้เราเป็นทุกข์ได้ ไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำ สายตา กิริยา ท่าทาง น้ำเสียง ฯลฯ (ถ้าจิตของเราไม่ไปยึดมั่นถือมั่น ไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งเหล่านั้น) แต่สิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์ ก็คือจิตของเราเองที่หวั่นไหวไปตามสิ่งเหล่านั้นต่างหาก

    ไม่ว่าคนอื่นจะแสดงกิริยาในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้าจิตของเราไปยึดมั่นก็ย่อมจะหวั่นไหว ถ้าไม่หวั่นไหวไปในทางที่เป็นสุข ก็หวั่นไหวไปในทางที่เป็นทุกข์ คือถ้าปรุงแต่งให้สุขก็สุข ปรุงแต่งให้ทุกข์ก็ทุกข์ แต่ถ้าจิตไม่ไปยึดมั่นก็จะไม่หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหวก็จะสงบระงับ ไม่กระเพื่อม ไม่ซัดส่าย ไม่โยกโคลงเคลงไปมา แล้วก็จะได้พบกับความสุขอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นความสุขอันประณีต ล้ำลึก เป็นสภาวะของจิตที่บริสุทธิ์ ปลอดโปร่ง เบาสบาย ซึ่งผู้ที่เคยสัมผัสมาแล้วย่อมจะซาบซึ้งใจได้ดี

    มาพิจารณาถึงความน่ากลัวของจิตกันต่อ ไม่ใช่เฉพาะความทุกข์ทางใจเท่านั้น ที่เกิดจากจิตของเราเอง แม้แต่ความทุกข์ทางกายทั้งหลาย เช่น ความเจ็บปวด ความหนาว ความร้อน ก็ล้วนเกิดจากจิตของเราเองด้วย ลองพิจารณาดูสิว่า คนที่หลับสนิทนั้น เป็นทุกข์เพราะความเจ็บปวด ความหนาว ความร้อน ฯลฯ หรือไม่ ที่ไม่เป็นทุกข์นั้น ไม่ใช่เพราะเขาไม่ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกเลย แต่เป็นเพราะว่า จิตของเขาไม่ได้ไปรับรู้สภาวะแวดล้อมเหล่านั้นเลยต่างหาก
    นี่ก็เป็นเครื่องยืนยันอย่างชัดเจนแล้วว่า สิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ทางกายนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่สิ่งอื่นเลย แต่เป็นเพราะจิตของเรานี้นั่นเอง ทุกข์ทางกายจึงเกิดขึ้น

    เพราะจิตของเราเองเป็นต้นเหตุที่แท้จริงของทุกข์ ทั้งทางกายและทางใจนั่นเอง จึงกล่าวได้ว่า จิตของเราเองคือสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในอนันตจักรวาล สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา ... เวรี วา ปน เวรินํ
    มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ ..... ปาปิโย นํ ตโต กเร

    โจรกับโจร หรือไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน
    ส่วนจิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำเขาให้เสียหายยิ่งกว่านั้น.


    (จากพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    น ตํ มาตา ปิตา กยิรา ... อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
    สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ ... เสยฺยโส นํ ตโต กเร.

    มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้
    ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น

    (จากพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ... มโนเสฏฺฐา มโนมยา
    มนสา เจ ปทุฏฺเฐน .... ภาสติ วา กโรติ วา
    ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ ... จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ
    มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ... มโนเสฏฺฐา มโนมยา
    มนสา เจ ปสนฺเนน ..... ภาสติ วา กโรติ วา
    ตโต นํ สุขมเนฺวติ ...... ฉายาว อนุปายินี ฯ

    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ
    ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม
    ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น
    (กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต - ทุจริตทางกาย วาจา ใจ)
    เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไปอยู่ ฉะนั้น
    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ
    ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม
    สุขย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะสุจริต ๓ อย่างนั้น
    เหมือนเงามีปรกติไปตาม ฉะนั้น

    (จากพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)
    จะเห็นว่าสิ่งที่ทำให้เราได้ดี ได้ชั่ว ไปสู่ที่สูงที่ต่ำ หรือเป็นสุขเป็นทุกข์ แท้จริงแล้วก็มีอยู่สิ่งเดียวเท่านั้น ก็คือจิตของเรา จิตของเราเท่านั้นที่จะบันดาลให้เราเป็นไปต่างๆ ได้อย่างแท้จริง คนอื่นๆ จะมีผลบ้างก็เพียงส่วนเล็กน้อย ผิวเผินในปัจจุบันเท่านั้นเอง คือจะมีส่วนในการกระตุ้น ชักจูง เหนี่ยวนำ ก่อกวน บ่อนทำลาย แนะนำ ให้ความรู้ ให้กำลังใจ ให้การสนับสนุน ฯลฯ แต่ถ้าจิตของเราแน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว หรือเฉื่อยชา เฉยเมย ชาชิน คนอื่นเหล่านั้นก็ทำอะไรเราไม่ได้ ไม่ว่าจะทำให้เราดีขึ้น หรือแย่ลง จิตของเราก็จะมีความคงที่ (ดีคงที่ กลางๆ คงที่ หรือแย่คงที่) ไม่ขึ้นไม่ลง

    แต่ถ้าจิตของเราเองพุ่งตรงไปสู่สิ่งที่ไม่ดี คือเป็นจิตที่ตั้งไว้ผิดแล้ว ความเสียหายทั้งปวงก็จะตามมา ซึ่งความเสียหายนั้น จะรุนแรงกว่าที่มหาโจรผู้ยิ่งใหญ่จะทำแก่เราได้เสียอีก เพราะมหาโจรนั้นจะทำได้อย่างมากก็เพียงแค่ทำให้เราตายไปเท่านั้นเอง แล้วก็จบกันแค่นั้น แต่ความเสียหายที่จิตเราสร้างขึ้นมาเองนั้น จะติดตามไปไม่รู้จักจบสิ้น หลายภพหลายชาติ จนกว่าจะหมดแรงกรรมนั้น แม้ในชาตินี้เอง ก็จะทำให้จิตต้องเร่าร้อน เป็นทุกข์อยู่เป็นประจำ

    ส่วนจิตที่พุ่งตรงไปสู่สิ่งที่ดี คือจิตที่ตั้งไว้ดีแล้วนั้น ประโยชน์สุขทั้งหลายก็จะตามมา ซึ่งประโยชน์นั้น จะยิ่งใหญ่และมากมายจนเกินกว่าที่ผู้อื่นจะทำให้ได้ เพราะผู้อื่นจะให้ได้เฉพาะความสุข หรือประโยชน์ในขณะนั้นๆ เท่านั้นเอง ไม่ยั่งยืน อยู่ได้อย่างมากก็เฉพาะในชาตินี้เท่านั้น แต่ประโยชน์สุขที่จิตเราสร้างขึ้นมาเองนั้น จะติดตามเราไปได้ทุกหนแห่ง หลายภพหลายชาติ จนกว่าจะหมดแรงกรรมนั้น แม้ในชาตินี้ก็จะส่งผลให้ได้รับความสุข ความสบายใจอยู่เสมอ

    คำว่าจิตที่ตั้งไว้ผิดนั้นก็คือ ตั้งไว้ด้วยเจตนาแห่งความโลภ ความโกรธ ความคิดที่จะเบียดเบียน ทำร้ายผู้อื่น อันเป็นเหตุให้ทำผิดศีลธรรมนานาประการ ซึ่งจะทำให้ได้รับผลเป็นความทุกข์ จากความกังวลใจ ขัดเคืองใจ หวาดระแวง ต้องคอยระวังศัตรูจะทำร้าย มีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัวอยู่เสมอ ฯลฯ

    ส่วนจิตที่ตั้งไว้ถูกก็คือ ตั้งไว้ด้วยเจตนาแห่งความเสียสละ ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ความคิดที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น มีความเพียรในการรักษาศีล ทำสมาธิ เจริญวิปัสสนา อยู่ในศีลธรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นเหตุแห่งกุศลกรรมทั้งปวง อันจะส่งผลให้มีความสุข สบายใจ ไม่ต้องสะดุ้งหวาดกลัว

    ที่มา, เวปพลังจิต
     
  19. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,294
    พระธรรมเทศนาของหลวงปู่ทิม อิสริโก
    แห่ง วัดละหารไร่ จ.ระยอง

    พระธรรมเทศนาของหลวงปู่ทิม เรื่อง "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"
    "นะโม ตัสสะ ภะคำวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"(3จบ)
    มาบัดนี้อาตมาใคร่แสดงธรรมสั่งสอนของพระพุทธองค์ เพื่อที่ทุกท่านจะได้นำไปใช้ดำเนินในชีวิตให้ถูกต้อง พระพุทธเจ้าท่านเป็นศาสดาเอกของโลก ท่านรู้เอง เป็นอนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ คือเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่านี้อีกแล้ว และเราทำไมไม่ตั้งใจรำลึกถึงพระองค์บ้าง วิธีรำลึกถึงพระองค์ ก็ให้หลับตาภาวนา พุทโธ ๆ ๆ ๆ เพราะพุทโธ เป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หลับตาให้เห็นรูปพระพุทธเจ้าให้อยู่ในใจเราตลอด อย่าพะวักพะวงไปที่อื่น ถ้าหากจิตนึกไปอยู่ในกาม รูป เสียง กลิ่น รส แสดงว่าจิตนั้นยังติดอยู่ในกิเลส สมาธิก็หาเกิดไม่ ความนิ่งเฉยก็ไม่มี เมื่อจิตนั่งเป็นสมาธิแล้วก็ให้คิดซิว่า วันนี้เราทำอะไรไว้บ้าง ดีหรือชั่วอย่างไร ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ความดีความชั่วในใจนั่นเอง เมล็ดมะม่วงกว่าจะโตขึ้นเป็นต้นมะม่วง เมล็ดมะปรางกว่าจะโตเป็นต้นมะปราง เมล็อของต้นอะไรโตขึ้นก็เป็นต้นไม้อย่างนั้น
    บุญและบาปเป็นสิ่งหนึ่งที่คอยควบคุมให้ทุกอย่างเป็นไปได้เช่นกัน เป็นสิ่งที่เป็นวิญญาณคอยควบคุมโชคชะตาของมนุษย์ ฉะนั้นทำความดีไว้เถิด ไม่เสียหายอะไร ทำไปเถิดเดี่ยวได้ผลตอบแทน ไม่ต้องรอถึงชาติหน้าแล้ว ชาตินี้ก็เห็น แต่ถ้าเราคิดว่า ทำความดีแล้ว ต้องได้อย่างโน้นอย่างนี้ หรือทำบุญ 10 บาท ก็ขอให้ถูกหวย ล้านบาท ก็เป็นไปไม่ได้ เราทำความดี อย่าไปคำนึงถึงผลตอบแทน ทำไปเถิดถ้าคิดว่าสิ่งนั้นทำไปแล้วเราสบายใจ ถึงแม้ว่าเรายังไม่ได้ผลตอบแทนในตอนนี้ แต่เราก็ได้ความสบายใจไม่ใช่หรือ ? เมื่อใจสงบ นิ่งเฉย สมาธิก็เกิด ความอิ่มเอมในจิตใจก็ดีขึ้น ปัญญารอบรู้ก็เกิด ทำให้สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
    ต้นไม้พันธุ์ดี แต่ถ้าปลูกในที่ซึ่งไม่เหมาะกับพันธุ์อย่างนั้น ต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดหรือเกิดแต่ไม่สวยไม่งาม ไม่มีผลมาก เช่นเดียวกับคนดี ถ้าอยู่ผิดที่ก็อาภัพได้ ความดีไม่ให้ผลเท่าที่ควรจะให้ หรือคนดีร่างกายไม่สมประกอบ ก็อาจจะน้อยใจไม่ประกอบความดีก็ได้ หรือคนดีบางคน ถ้ายังไม่ถึงที่ความดีจะให้ผลดีก็เหมือนต้นไม้ที่ยังไม่ถึงเวลาจะมีผล คนดีนั้นก็อาภัพ หรือนัยหนึ่ง คนดีบางคน หากความดีไม่สมบูรณ์เช่นมีแต่ความซื่อ แต่ความฉลาดไม่มี มีแตความขยัน แต่ไม่รู้จักกาละเทศะ อะไรต่าง ๆ ทำนองนี้คนดีนั้นก็อาจอาภัพได้เช่นกัน
    เพราะแต่ละคนที่สร้างความดีขี้นมานั้น ไม่ใช่ว่าเขาจะทำดีทุกครั้ง ส่วนมากคนเราเวลาทำความดีมักจะแทรกความชั่วลงไปด้วย ทำให้เชื่อไม่ได้ว่า คนที่มีบุญจำเป็นต้องมีร่างกายดีเสมอไป ร่างกายเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ตายแล้วเกิดเอาใหม่ได้ แต่ความดีที่มีอยู่ในวิญญาณนั้น ถ้าหมั่นประกอบความดีอยู่เสมอความดีนั้นจะไม่ตาย จะต้องยั่งยืนแน่นอน ถึงไม่ให้ผลตอนนี้ วันหนึ่งก็ต้องให้ผลอย่างแน่นอน ทำไปเถิดความดี คนเราไม่มีใครรู้ความตายได้ ถ้ารู้ความตาย ทุกคนก็ต้องเกรงกลัวต่อบาป หรือถ้ามีใครสามารถฝึกตนเองจนรู้ถึงนรก ไปเห็นความไม่สวยงามในนรก อาจจะเกิดความกลัว ไม่ทำในสิ่งที่ผิดได้ จงทำมันซะเดี๋ยวนี้ซิ ทำมันไปได้ประโยชน์แน่นอน และพยายามฝึกจิตใจให้สงบ แผ่เมตตาไว้ ทำใจให้เป็นสมาธิ สมาธินั้นเราสังเกตุได้ 3 ทาง คือ นิ่ง เฉย เงียบ แต่จะเงียบแบบคนตายแล้วนั้น มักจะเงียบไปเฉพาะชาตนี้ ชาติต่อไปก็ไม่เงียบ มันก็เกิดอีก เพราะจิตมันมาเกิดอีก มันอยากได้ อยากดี อยากอยู่ตลอดเวลา
    เราทุกคนที่ใจกำลังคิดทำความดีนั้น ทำไปเถิด ความดีนั้นแหละ ดีแน่ ๆ แต้ถ้าใจตอนนี้กำลังคิดจะทำความชั่ว ก็ให้รีบงดเสียเถิด จะปล่อยให้เวลาที่คิดนั้น ล่วงเลยไป อย่าลืมว่า เวลาเป็นสิ่งไม่แน่นอน แต่ความดีหมั่นทำไว้เสมอนั้นแน่นอน ตายแล้วก็พาเอาความดีติดตามไปถึงชาติหน้าได้อีก คนที่ซึ้งในคุณค่าของความดีจริง ๆ เขาจะรอคอยจนกว่า จะถึงเวลาที่ความดีจะให้ผลได้เสมอ
    ตรงกันข้ามคนชั่วที่ฉลาดในการปกปิดความชั่วของตนจนคนอื่นไม่รู้ หรือรู้แต่ทำอะไรเขาไม่ได้ ชีวิตของเขาจะรุ่งเรืองอยู่เสมอ คนอย่างนี้ก็มีอยู่ไม่น้อยในกลุ่มของคนที่มีการเรียนดี แต่เราอย่าท้อถอย จงเชื่อว่าความชั่วที่สะสมไว้ทุก ๆ วันนั้น มันก็จะมากขึ้นเป็นอันดับ ซึ่งในวันหนึ่ง ความชั่วนั้นจะต้องปรากฏออกมาให้ผู้อื่นรู้ แต่คนที่มีนิสัยเลวร้ายไม่นึกถึงความดี มัวแต่นึกถึงความชั่วที่คนอื่นกระทำได้ผลดีแล้ว โดยไม่นึ่กผลร้ายที่จะเดินมาสู่ทีหลัง เวลาเขาจับได้ก็หาว่าเขาโง่ หรือตัวเองฉลาดกว่าเขา หารู้ไม่ว่า ตัวเองหลอกตัวเองอยู่ตลอดเวลา อาตมาขอยืนยันว่า คนที่ไม่ถูกหลอกเลย มีประเภทเดียว คือ คนที่ยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
    คนโดยมาก ถ้าเก่งในทางไหน มักจะพูดตัวเองในทางนั้น ซึ่งบางทีก็พูดมาก จนคนอื่นรำคาญหรือเหตุที่ตัวเด่นในทางนั้นจริงเลยเกิดเข้าใจผิดคิดว่า ความดีของคนอื่นซึ่งไม่เหมือนกับของตนไม่สำคัญ เขาไม่ยอมรับความดีของคนอื่น ไม่ยอมรับนับถือความดีในแง่อื่น
    มีคนถามว่า ทำไมคนชั่วถึงได้ดีอยู่เสมอ ตัวฉันทำความดีตั้งนานไม่เห็นใครเห็นเลย ขอให้พิจารณาให้ถ่องแท้ คนชั่วพวกนี้มักใช้ความดีเป็นฉากกำบังความชั่ว เมื่อตอนที่ทำความดี ความชั่วก็ยังไม่เกิดผล เมื่อความชั่วถูกสะสมบ่อย ๆ เข้า วันหนึ่งความดีก็อาจไม่คุ้มครองได้ ตอนนี้นแหละ ความชั่วก็จะต้องให้ผล หรือที่คนมักพูดกันว่า"เพราะบุญเก่ายังมีผลอยู่ ความชั่วในปัจจุบันจึงยังไม่สนอง แต่เมื่อบุญเก่าหมดเมื่อไหร่ บาปที่ทำไว้ก็จะให้ผลทันที"
    อาตมาภาพเองก็ได้พูดถึงเรื่องการทำความดีดีกว่าความชั่วให้ญาติโยมฟังมาก็นานพอควรแล้ว และเห็นว่าสมควรแก่เวลา และขอให้ญาติโยมที่นั่งฟังนี้ จงนำไปคิดเพื่อที่จะได้เป็นสิ่งที่ดีงาม สามารถนำไปใช้ในครอบครัวได้ ขอความสุขทั้งหลายจงมีแต่ญาติโยมทุกท่านเทอญ....เอวังก็มีประการฉะนี้แล.....
    ผมนำข้อมูลมาจากเว๊ป ๆ หนึ่ง ครับ
    วุธ จันทบุรี (01-8646598)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]



    ขอขอบคุณเว็บไซท์ พุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    งานบุญ วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2551 ที่ รพ.สงฆ์ ทุกอย่างยังคงเป็นไปตามกำหนดการเดิม ใครอยากจะไปร่วมโมทนาบุญและถวายสังฆทานอาหารให้พระภิกษุที่อาพาธก็ขอเชิญได้ รูปทุกรูป รายชื่อทุกรายชื่อที่บริจาค เราจะบันทึกหมด เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาเรื่อง "พระกำลังใจ" ในภายหลังครับ

    กติกาการแจกจะไม่กล่าวถึงอีก สำหรับผู้บริจาคโดยไม่ระบุชื่อ กรรมการไม่รู้จะพิจารณาจากอะไร คงได้แต่ "บุญ" ติดตัว ข้ามภพชาติไปละครับ

    แต่เหนือสิ่งอื่นใด เราอยากให้ท่านไปร่วมทำบุญ รับโมทนาบุญ กับพระที่อาพาธ ไปสนทนาแลกเปลี่ยนกัน รู้จักกัน หรือบางที รับฟังเรื่องอจินไตยแห่ง "จิต" ที่จะถูกเผยในบางโอกาสกันมากกว่าครับ เพราะบางอย่างเป็นเรื่องที่ท่านควรรู้ มากกว่าฟังจากเรา หรืออ่านในกระทู้

    ด้วยความเคารพ
    พันวฤทธิ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...