สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    ?temp_hash=82c0e9b3001cd9efaf50716f1c50d920.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    27540495_799279673603384_4987556128672610521_n.jpg

    27540551_799279690270049_4420045013952291373_n.jpg

    27544667_799279713603380_8975675222885090070_n.jpg

    27657747_799279733603378_8981894701188424151_n.jpg

    27332476_799279760270042_2608797054019873129_n.jpg

    27332282_799279773603374_6273974686957875688_n.jpg


    27544877_799279816936703_4541227282059492519_n.jpg


    27067848_799279833603368_499143769961756811_n.jpg

    27072577_799279873603364_4660404863477761593_n.jpg




    27458964_799279893603362_5846685775196435573_n.jpg


    27073120_799279920270026_8131641700068400678_n.jpg


    27072512_799279933603358_4270005747065591205_n.jpg


    27073248_799279950270023_4072040946599988117_n.jpg


    27073248_799279950270023_4072040946599988117_n.jpg


    27072266_799279980270020_743289054855138890_n.jpg


    27332616_799280020270016_8998812227085199724_n.jpg


    27544552_799280046936680_4070771566366039640_n.jpg

    27331825_799280070270011_6522363637692544011_n.jpg

    27540368_799280103603341_8447608787779914459_n.jpg


    27332412_799280120270006_9105477550153678978_n.jpg


    27545641_799280143603337_49973175781996356_n.jpg


    27540705_799280170270001_3970252216656280409_n.jpg


    27545239_799280196936665_311242246259409337_n.jpg









    **************************************************************

     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    ?temp_hash=ee46783a8d05bd1cf5e5c3121035e848.jpg




    วันนี้ในอดีต


    วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) มรณภาพ เวลา ๑๕.๐๕ น.



    รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ. (สํ.ส. ๑๕/๒๑๐/๕๙)


    รูปกายของสัตว์ทั้งหลายย่อมแตกสลายไป แต่นามและโคตรหาแตกสลายไปไม่.

    ******************************************************


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    27459511_1982960128384156_3299727646897232924_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    phrathepyanamongkol.jpg




    แรงบันดาลใจเกี่ยวกับการพิทักษ์รักษาวิชชาธรรมกายที่บริสุทธิ์




    ในข้อนี้มีความสำคัญอยู่ถึง 2 ประการด้วยกัน
    ประการแรก:ก็คือว่า หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร(ปัจจุบัน พระราชพรหมเถระ) รองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ องค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของอาตมภาพนี้ ท่านได้เป็นศิษย์ผู้หนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดวิชชาธรรมกาย ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และวิชชาธรรมกายชั้นสูง จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) มาเองโดยตรง ตั้งแต่สมัยที่หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถรยังเป็นฆราวาส แล้วภายหลังต่อมา ก็ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นองค์อุปัชฌาย์ และก็ได้รับการฝึกทำวิชชาธรรมกายชั้นสูงกับหลวงพ่อมาอย่างใกล้ชิดโดยตลอด จนกระทั่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้มรณภาพลง แล้วภายหลังจากนั้น ก็ได้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชชาธรรมกายนี้แก่ศิษยานุศิษย์ สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ นับว่าหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร เป็นศูนย์รวมหรือคลังแห่งวิชชาธรรมกาย ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยตรง และยังเป็นที่รวมวิชชาธรรมกายชั้นสูง ที่ศิษย์ในพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่เป็นพระเถระรุ่นพี่ ได้จดทำบันทึกไว้ ก็ยังได้มารวมตกแก่หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร องค์ปัจจุบันนี้อีกด้วย

    จึงเห็นว่าวิชชาธรรมกายทุกระดับทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และวิชชาธรรมกายชั้นสูง ควรจะต้องมีการรวบรวมขึ้น เป็นหลักฐานอ้างอิงที่สำคัญต่อไป เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ศึกษาและปฏิบัติต่อไปอย่างถูกทางและสมบูรณ์ ตามที่พระเดช พระคุณหลวงพ่อได้ถ่ายทอดไว้

    ในประการที่สอง: หากจะพิจารณาในเหตุผลและจากประสบการณ์ที่อาตมาเคยได้รับได้รู้เห็นมากพอสมควรแล้ว ก็จะพบว่า อาจจะมีผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชชาธรรมกายในสมัยพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ที่มีภูมิรู้ไม่เท่ากัน และทั้งอาจได้ยินได้ฟังมาไม่เท่ากัน ก็ย่อมจะได้รับวิชชาความรู้ไปได้ไม่เท่ากัน และอาจจะมีบางท่านที่สำคัญผิดและรับรู้ไปผิดเพี้ยนบ้างก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรายที่มีพื้นความรู้ทางปริยัติมาน้อย ก็อาจจะมีความสำคัญในธรรมะที่ได้ยินได้ฟังมาผิดๆ และก็อาจถ่ายทอดสืบต่อๆ กันไปผิดๆ ได้ นอกจากนี้ยังอาจจะมีผู้ที่ค้นคว้าวิชชาไปเอง โดยที่ยังมิได้ผ่านการกลั่นกรองและอนุมัติจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อเสียก่อน แล้วนำออกใช้และเผยแพร่สืบทอดต่อๆ กัน ไปอย่างผิดๆ เพี้ยนๆ เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปบ้าง ซึ่งก็อาจจะมีได้เป็นได้ ตราบใดที่อวิชชายังไม่หมดสิ้นโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน ก็ยังอาจจะถูกอภิสังขารมาร ได้แก่ ลาภสักการะและฐานะอันสูงส่ง หรือแม้โลกิยวิชชานั้นเองหลอกลวงได้โดยง่าย ผู้ที่มีสมาธิดีที่มิใช่พระอริยะ ซึ่งสามารถเจริญโลกิยวิชชาที่อาจจะใช้ได้ผลดีในบางครั้งบางคราว ก็ยังอาจจะหลง เพราะถูกมารเขาหลอกให้เห็นผิดเป็นชอบได้ อย่างเช่นพระเทวทัต ซึ่งเคยมีโลกิยวิชชา ถึงขั้นเหาะเหินเดินอากาศได้ในสมัยพุทธกาลนั้น เมื่อกิเลสคือ โลภะ โทสะ และโมหะเข้าครอบงำ ก็ถึงกับทำสังฆเภท ยุยงพระสงฆ์ให้แตกแยกกัน และกระทำโลหิตุปบาทแก่พระพุทธเจ้า เป็นอนันตริยกรรมได้ จึงต้องไปเสวยวิบากกรรมในอเวจีมหานรก นั่นแหละ เพราะอย่างนี้ผู้ที่มิใช่อริยบุคคลแต่เจริญโลกิยวิชชาได้ หากหลงในอภิสังขารมารหรือโลกิยวิชชาเมื่อใด ก็อาจจะถูกมารเขาหลอกให้เห็นผิด จึงรู้ผิดคิดผิด พูดผิดทำผิดและแนะนำผู้อื่นผิดๆ ต่อไปเป็นโทษทุกข์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นได้มาก

    หลักการศึกษาและปฏิบัติธรรมของอาตมาและศิษยานุศิษย์ ในสำนักนี้ จึงต้องอิงหลักปริยัติตำรับตำรา และครูอาจารย์ที่เชื่อถือได้ และที่เป็นกัลยาณมิตรจริงๆ จนกว่าจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว นั่นแหละจึงจะวางใจได้ ความจำเป็นที่จะต้องรวบรวมวิชชาธรรมกายทุกระดับ ออกมาเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่เชื่อถือได้ เพื่อไว้อ้างอิงเป็นตำรับตำราแก่อนุชนรุ่นหลัง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คณะผู้บริหาร โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และ โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ได้จัดตั้งสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกายแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นองค์กร หรือ แหล่งที่รวบรวมสรรพตำราตามแนววิชชาธรรมกาย ที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ โดยคณะบุคคลผู้ซึ่งได้รับถ่ายทอดวิชชาธรรมกาย จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยตรงที่เชื่อถือได้ และศิษยานุศิษย์ผู้มีทั้งในหลักธรรมปฏิบัติและในหลักปริยัติสัทธรรมมาดีพอสมควร เพื่อพิทักษ์รักษาวิชชาธรรมกายอันบริสุทธิ์นี้ไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง ได้รู้จักวิชชาธรรมกายที่ถูกต้องตรงตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านได้ถ่ายทอดเอาไว้ และก็เหตุนี้แหละที่องค์กรนี้ได้ชื่อว่า “สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย”(วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม)




    พระเทพญาณมงคล(หลวงป๋า)
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    ทำไมบางคนกิริยาวาจายังหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน 18 กาย ได้ง่ายดายนัก
    ในนิตยสารธรรมกายปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม 2530 ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า 16-17 กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ 1-8 ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง 4 ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน 18 กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก

    ตอบ:

    ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน

    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า

    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ

    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ

    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง

    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ 4 อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน 8 อสงไขยแสนกัปป์ 16 อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย

    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง

    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม 10 คนภายใน 15 วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า 5-6 คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ 15 วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือ 33% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ 1 ใน 4 หรือ 25% นี้เป็นอัตราธรรมดา

    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง

    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง

    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย

    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    ผู้ที่ฝึก 18 กายเมื่อเห็นจริงแล้ว เป็นพระอริยบุคคลแล้วใช่ไหม ?
    ผู้ที่ฝึก 18 กายเมื่อเห็นจริงแล้ว เป็นพระอริยบุคคล เข้าโลกุตตระ เห็นพระนิพพานตามความหมายของพระพุทธศาสนาแล้วใช่ไหม ? ถ้าไม่ใช่ จะอุปมาการเห็นนั้นให้เข้าใจได้อย่างไร ?

    ตอบ:

    ถ้าเพียงแต่เข้าถึงรู้เห็นชั่วคราว ชื่อว่าโคตรภูบุคคล เมื่อใดที่จิตจรดอยู่ในความรู้สึกเป็นธรรมกายอยู่ จิตจรดที่ใสละเอียดอยู่ ก็ปราศจากกิเลส ตามระดับของความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ที่จิตจรดอยู่อย่างนั้น แต่ขณะใดที่จิตออกจากที่สุดละเอียดของธรรมกาย กิเลสก็สามารถทำอะไรได้ เช่นเดียวกับปุถุชนทั่วไป

    เพราะฉะนั้นกระผมถึงกล่าวเสมอว่า ผู้ที่ถึงธรรมกายแล้วอย่าเหิมเกริม ต้องมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมอยู่เสมอ อย่างน้อยต้องคอยพิจารณาดูว่า จิตใจเราขุ่นมัวหรือผ่องใส ถ้าขุ่นมัวก็รีบดับหยาบไปหาละเอียดไปสู่สุดละเอียดถึงความเป็นธรรมกายพระอรหัตในพระอรหัตๆ ๆ หรือถึงธรรมกายในเบื้องต้นก็ดีแล้ว นี้เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของการเจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่ใช่พิจารณาเห็นเฉย ๆ แต่ให้พิจารณาสภาวธรรมทั้งที่เป็นสังขารและวิสังขาร ให้เจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรม ให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 4 ไปตามระดับภูมิธรรม แล้วดับหยาบไปหาละเอียด ถึงธรรมกายที่สุดละเอียด ถึงพระนิพพาน จิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ด้วยญาณของธรรมกาย ดำรงอยู่ในที่สุดละเอียดนั้นเสมอ จิตใจก็จะบริสุทธิ์ผ่องใส โลกุตตรธรรมคือมรรคผลนิพพานก็จะปรากฏมีขึ้นได้เสมือนหนึ่งชาวนาที่ทำหน้าที่ของชาวนาดีที่สุด ปลูกข้าวไขน้ำเข้านาใส่ปุ๋ย ถอนวัชพืชศัตรูข้าว ฯลฯเป็นต้นดีแล้ว เมื่อถึงเวลา ข้าวก็ออกรวงเอง นี้เป็นพระพุทธดำรัสของพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน

    ธาตุธรรมเมื่อแก่กล้า บุญบารมีเต็ม ก็จะสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งและกำจัดกิเลสอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    แต่ว่าผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายไม่แน่เสมอไปว่าจะเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ เพราะการอธิษฐานจิตบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกัน เช่นบางคนตั้งใจบำเพ็ญบารมีเป็นผู้บรรลุมรรคผลนิพพานในระดับปกติสาวก ก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ค่อนข้างจะง่ายกว่าเร็วกว่าผู้ที่บำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์เพราะพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญบารมีจนถึงปรมัตถบารมีตามส่วนของท่านแล้ว จึงจะบรรลุมรรคผลนิพพาน และพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้

    ถ้าบำเพ็ญบารมีถึงธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคล แล้วกลับประมาทขาดสติสัมปชัญญะ ไม่มีศีลสังวรเมื่อใดหรือขาดอินทรีย์สังวร ญาณสังวรก็เป็นอันเสร็จ คือจิตตกต่ำไปด้วยอำนาจของกิเลสได้เหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น กระผมจึงกล่าวเสมอ แม้เมื่อเช้านี้ก็กล่าวกับพระให้ท่านรับคำว่า ต่อแต่นี้ไปผู้ถึงธรรมกายแล้วพึงจะมีอินทรีย์สังวร ศีลสังวร ญาณสังวร เพื่อรักษาตนไปจนถึงธาตุธรรมแก่กล้าบุญบารมีเต็ม สามารถตัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้แล้วโดยสิ้นเชิงนั่นแหละจึงวางใจได้

    แต่ว่าท่านผู้ใดถึงธรรมกายแล้วเจริญภาวนาให้เกิดปัญญาแจ้งชัดในสภาวธรรมด้วยสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์

    โลกุตตร มรรคจิต มรรคปัญญา เกิดและเจริญขึ้นให้สามารถตัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ก็บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ ข้อนี้ไม่มีประมาณ

    เพราะฉะนั้น ผู้ถึงธรรมกายที่ยังไม่บรรลุโลกุตตรธรรมอาจจะกลับไปเป็นปุถุชนได้ชั่วพริบตาในเพียงไม่กี่ชั่วโมง ไม่กี่นาที ถ้าประมาทขาดสติสัมปชัญญะไม่สำรวมระวังศีลและอินทรีย์ แล้วลุแก่อำนาจของกิเลส โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา อุปาทาน

    ส่วนธรรมกายที่บรรลุมรรคผลนิพพานเพราะกำจัดสัญโญชน์ได้หมดโดยเด็ดขาดแล้ว เป็นวิสุทธิขันธ์เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม แล้วย่อมไม่ดับ ไม่มัวหมอง เพราะธาตุธรรมนั้นไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งแล้ว แต่สำหรับผู้ถึงธรรมกายที่ยังตัดสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการยังไม่ได้ ก็ยังเห็น ๆ หาย ๆยังไม่ใช่ธรรมกายมรรค ผล นิพพานที่บริสุทธิ์แท้ ๆ ยังประกอบด้วยเครื่องปรุงแต่งทั้งธรรมที่เป็นบาปอกุศลและทั้งกุศล มีศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ มีส่วนประกอบอยู่ แต่ว่ากุศลธรรมที่บริสุทธิ์ มีมากยิ่งกว่าฝ่ายบาปอกุศล จึงสามารถปฏิบัติธรรมเข้าถึงธรรมกายได้ชั่วขณะที่จิตใจยังบริสุทธิ์ ผ่องใส ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถึงธรรมกายโคตรภูบุคคล ฯลฯ ได้เป็นต้น

    ธรรมกายที่บรรลุมรรค ผล นิพพานแล้ว คือกำจัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้แล้ว นั่นแหละแน่นอนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ถอยคืนกลับมามีแต่จะเจริญงอกงามจนถึงที่สุด คือ ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว ชื่อว่าพระนิพพาน นั่นแหละเป็นวิสังขารแท้ ๆ เป็นพระนิพพาน เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรมแท้ ๆ ไม่ประกอบด้วยปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งเลย เป็นธรรมขันธ์ที่บริสุทธิ์ที่สุด จึงมีสภาพที่เที่ยง (นิจฺจํ) เป็นบรมสุข (ปรมํ สุขํ) และยั่งยืน (ธุวํ) เป็นอมตธรรมนั้นแล
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว ?
    เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว คือไม่เคยเห็นดวงเห็นกายเลย นั่งทีไรพบแต่ความว่าง เผลอสติได้ง่าย ทั้งๆ ที่พยายามกำหนดจุดเล็กใสแล้ว จะแก้ไขอย่างไร ?

    ตอบ:

    เรื่องติด ก็คือหลงติดสุขในฌาน แต่ถ้าเราปฏิบัติ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำหนดศูนย์กลางไปเรื่อย เห็นดวง หยุดนิ่งกลางดวงให้ใสสว่าง ละเอียดไปสุดละเอียด เห็นกายในกาย ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ใสละเอียด ทีละกายๆ ไปจนสุดละเอียด อย่างนี้แล้วก็ถูกวิธี อย่างนี้ไม่ติดสุข

    เพราะฉะนั้น เรื่องติดสุขในฌาน ไม่ต้องไปคิดละครับ ให้มีฌานจริงๆ ก่อนแล้วค่อยคิด แล้วถ้าปฏิบัติในวิชชาธรรมกายแลัวง่ายครับ ไม่ต้องคิดละครับ เพราะอะไร ผมจะเรียนเพิ่มเติมนิดหน่อยในเรื่องฌานนี้ ตัวเองไม่ได้เก่งกาจละครับ ครูบาอาจารย์สั่งสอนมานะครับ มีประสบการณ์นิดนึง ไม่มาก ทีนี้จะเรียนให้ทราบ

    ในวิชชาธรรมกายนั้น เราเจริญฌานสมาบัติให้ละเอียดสุดละเอียด มุ่งหมายที่การกำจัดกิเลสนิวรณ์ บางท่านที่จะปฏิบัติให้ละเอียดไปถึงอรูปฌาน แต่ต้องอธิษฐานจิตก่อนว่า ให้ถอยกลับมาเป็นปฏิโลม ถึงเวลาแล้ว ภายในเขาจะบอกเอง เราจะรู้สึกเองว่า ถอยกลับได้แล้ว เมื่อถอยกลับเป็นอนุโลมปฏิโลมแล้ว ไม่ติดอยู่ทีไหน แล้วเที่ยวสุดท้ายโดยอนุโลมแค่จตุตถฌาน ถ้าใครทำได้นะครับ รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางธรรมกายอรหัต ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จะอยู่ตรงกลางธรรมกาย ก็เห็น พอเห็นแล้วจิตหยาบลงมาเลย จากจตุตถฌานโดยอัตโนมัติ เมื่อหยาบลงมาแล้ว เราเอาใจธรรมกายเป็นหลักอีกครั้งหนึ่ง ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ซึ่งจะผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด กายหยาบกายละเอียดทั้งหมด 18 กาย จนถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต เรียกว่าสุดละเอียดของกายเถา 18 กาย รวมเรียกว่ากายเถา

    เพราะฉะนั้น เรามุ่งอย่างเดียวจะเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต คือให้ผ่องใสสุดละเอียดของธรรมกายอรหัตจากกายเถา กายที่หยาบรองลงมาชื่อว่ากายชุด เพราะแต่ละกายก็มีชุด 18 กายของเขา พิสดารไปสุดละเอียด เป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ชุดเหล่านั้นล้วนแต่มีกิเลสอนุสัยกิเลสของเรา มันเกาะอยู่นับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่รู้เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นสัตว์โลกมานี่แหละ

    นั้นแหละ มีกายเถา กายชุด กายชุดสุดละเอียดไปแล้วเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ที่หยาบรองลงมาอีกก็เป็นกายชั้น กายตอน กายภาค ภายพืด ซึ่งจะมีกายในกายที่ยังไม่บริสุทธิ์อีกมาก แต่ก็ละเอียดไป ละเอียดไปจนสุดละเอียดหมด เป็นแต่ธรรมกายล้วนๆ นั่นแหละที่ว่าปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ เพราะไม่พิจารณาลบฌาน แต่ระดับสมาธิที่ละเอียดๆ สมาธิยิ่งหยุดยิ่งนิ่ง สมาธิก็สูงขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ แต่ไม่ต้องคำนึงว่าสูงแค่ไหน ถึงอย่างไรเมื่อสุดละเอียดจนถึงละเอียดหนัก ปล่อยอุปาทานในเบญจขันธ์ได้แม้ชั่วคราว ปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ นั่นเขาทะลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ภพชาติติดอยู่ในศูนย์กลางธรรมในธรรมของเรา ธรรมในธรรมนั้นแหละ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ นั่นแหละ ธาตุละเอียดมันอยู่ตรงนั้น ธาตุละเอียดนั้นแหละครับ มันมีทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เปลี่ยนแปลงไปตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมตลอดเวลา

    เมื่อพิสดารกาย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทำนิโรธ สุดละเอียดเข้าไปอย่างนั้นแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ในส่วนละเอียดคือธรรมในธรรมที่เป็นกุสลาธัมมา มันจะเต็มเปี่ยม เป็นมรรคมีองค์ 8 ถ้ายังไม่ถึงอริยมรรค ก็เป็นมรรคในโคตรภูญาณ นั่นมรรคเขารวมกันเป็นเอกสมังคี แต่ในระดับโคตรภูญาณแล้ว เตรียมพร้อม ถ้าบุญบารมีเต็ม ก็พร้อมที่จะ... ประเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่า จิตของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้นจะพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นภพสุดท้ายที่สุดละเอียด ธรรมกายหยาบจึงตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจึงพ้นโลก ไปปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอายตนะนิพพานใหม่ๆ ที่ไม่เคยชิน รู้สึกมันหวิวนิดๆ นั้นแหละ ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ หยาบในขณะนั้นคือสุดละเอียดแล้วนะ แล้วที่สุดละเอียดก็ยังจะปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะความบริสุทธิ์ของธรรมกาย บริสุทธิ์พอที่จะสัมผัสรู้เห็นอายตนะนิพพานและความเป็นไปในอายตนะนิพพาน กล่าวคือ พระนิพพานธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระอรหันต์ขีณาสพที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สัมผัสได้ เห็นได้ รู้ได้ ด้วยอาการอย่างนี้นะครับ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยอัตโนมัติครับ เมื่อจิตละเอียด สุดละเอียด เหมือนกับยิงจรวดนะครับ ยิงไปด้วยกำลังที่สูง แล้วพ้นแรงดึงดูดของโลก ตัวจรวดที่พ้นคือตัวดาวเทียมที่เขาส่งไป แต่ว่าตัวที่เป็นโลกๆ ก็ยังอยู่ทางโลกนี้แหละ หล่นอยู่ทางโลก แต่ตัวที่เขาต้องการให้พ้น มันก็พ้นออกไป พ้นแนวดึงดูดของโลก พ้นโลกแต่ยังอยู่ในโลกๆ เลยเล่าให้ฟัง

    เพราะฉะนั้น การติดฌาน ในแนววิชชาธรรมกายไม่ต้องพูดถึง ถ้าปฏิบัติถูกจะเป็นอย่างนี้ หรือจะเจริญแม้ถึงอรูปฌานเป็นสมาบัติ 8 ทบไปทวนมา เมื่อจะทวนขึ้นถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานไปได้โดยอัตโนมัติก็หลุดไปได้เหมือนกัน เพราะธรรมกายที่หยาบ เมื่อละเอียดไปสุดละเอียด ตกศูนย์ พ้นจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ธรรมกายที่สุดละเอียดก็ไปปรากฏได้เหมือนกัน นั้นเขามักเรียกว่า เจโตวิมุตติ แต่ว่าจริงๆ ปัญญาวิมุตติด้วย กระผมก็เลยกราบเรียนเพื่อทราบว่าอย่างนี้

    การอบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นที่ 29 6 พ.ค. 2538 โดย หลวงพ่อพระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    คำหลวงปู่
    .............................. ถึงหลวงพ่อจะสอนวิธีการบรรลุธรรมอย่างละเอียดลออ บอกกันอย่างถึงแก่นกันทีเดียว ไม่ใช่บอกแต่เปลือก สอนกันอย่างไม่หวงวิชชาความรู้ไม่มีขยักกั๊กไว้แม้สักน้อย สำหรับคนที่ยังไม่ได้ ท่านก็ให้เจริญอิทธิบาท ๔ ท่านอธิบายไว้ ดังนี้

    อิทธิบาท ๔ เป็นหัวใจแห่งความสำเร็จทั้งมวล ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา แปลอย่างจำได้ง่ายว่า ปักใจ บากบั่น วิจารณ์ ทดลอง ไม่ว่าจะทำกิจการใด ถ้าประกอบด้วย ๔ อย่างนี้ เป็นสำเร็จทั้งสิ้น ว่าโดยเฉพาะในการบำเพ็ญภาวนา

    ๑) ต้องปักใจรักการนี้จริง ๆ ประหนึ่งชายหนุ่มรักหญิงสาว
    ๒) ต้องบากบั่น พากเพียรเอาจริงเอาจัง การทำใจให้หยุดเป็นของทำได้ยากแก่บุคคลผู้เกียจคร้านคนมีความเพียรทำไม่ยาก
    ๓) วิจารณ์ ตรวจดูการปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามแนวสอนของอาจารย์ให้ดีที่สุด
    ๔) ทดลอง ในที่นี้ได้แก่หมั่นใคร่ครวญสอดส่องดูว่าวิธีการที่ทำไปนั้น มีอะไรขาดตกบกพร่องบ้าง รีบแก้ไข อย่างนั้นไม่ดี
    เปลี่ยนอย่างนี้ลองดูใหม่ เช่นนั่งภาวนาในที่นอน มักจะง่วง ก็เปลี่ยนมานั่งเสียที่อื่น เป็นต้น

    ข้อสำคัญให้ยึดแนวสอนเป็นหลักไว้ อย่าออกนอกทาง ๔ อย่างนี้ เรียกว่าอิทธิบาท เป็นเครื่องที่จะช่วยให้เกิดความสำเร็จในกิจทั้งปวง

    ท่านปรารภเรื่องความเพียร อันเป็นข้อ ๒ ของอิทธิบาท ๔ เสมอว่า วัน คืน เดือน ปีล่วงไป ๆ มิได้ล่วงไปแต่วัน คืน เดือนปีเปล่า ๆ ชีวิตของเราล่วงไปตามวัน คืน เดือน ปีนั้นไปด้วย ชีวิตที่เป็นอยู่ร้อยปีพอหมดไปเสียวันหนึ่ง ก็ขาดร้อยปีไปวันหนึ่ง แล้วลดคืนหนึ่ง ผ่านร้อยปีไปแล้วคืนหนึ่ง แล้วหมดเสียวันกับคืนหนึ่ง ขาดร้อยปีไปวันกับคืนหนึ่งแล้ว อย่างนี้เรื่อยไป เมื่อวัน คืน เดือน ปีล่วงไปเท่าไร ชีวิตก็หมดไปเท่านั้น

    ท่านให้หมั่นยึดถือสุภาษิตนี้ แล้วจะหลุดพ้นได้เร็ว

    “ ด้วยความหมั่นมั่นใจไม่ประมาท
    รักษาอาตม์ข่มใจไว้เป็นศรี
    ผู้ฉลาดอาจตั้งหลักพำนักดี
    อันห้วงน้ำไม่มีมารังควาน ”

    คำว่าห้วงน้ำ หลวงพ่อหมายถึงการวนเวียนอยู่ในภพด้วยอำนาจโอฆะกิเลส ๔ ประการ ที่เปรียบเหมือนกระแสคลื่นท่วมทับครอบงำจิตใจสัตว์อยู่ทุกเมื่อ ได้แก่ กาโมฆะ โอฆะคือกาม ภโวฆะ โอฆะคือภพ ทิฏฺโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา

    หลวงพ่ออธิบายถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของเบญขันธ์ว่า รูปทั้งหลายไม่ว่าจะประณีตสวยงามหรือไม่ แตกต่างกันอย่างไรก็ตาม ก็มาลงเอยที่อนิจจังด้วยกันทั้งสิ้น คือตายหมดไม่มีเหลือ ไม่ว่าจะถือกำเนิดมาจากชั้นวรรณะใด ย่อมเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่อย่างนี้ มีแต่ความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น ถ้าจะหาความเที่ยงความสุขก็ต้องหาภายในกายมนุษย์เข้าไป จนกระทั่งพบกายมนุษย์ละเอียด

    แต่ในกายมนุษย์ละเอียดก็ยังไม่สามารถหาความสุขเที่ยงได้ ต้องเดินเข้าไปอีกในกายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมละเอียด จนถึงการธรรม พอเข้าไปพบการธรรมนั่นแหละ จะรู้สึกตัวเองทันทีว่า นี่เองที่เที่ยงที่เป็นสุขจะเห็นสิ่งที่เที่ยงที่เป็นสุขในกายธรรม หรือธรรมกายนี้เอง

    เมื่อเข้าถึงกายธรรมแล้วใจคอที่เคยคับแคบก็เวิ้งว้างกว้างขวางสุขสบาย ใครไปถึงกายธรรมได้ก็แจ่มใสเบิกบาน กายธรรมนี่เป็นของเที่ยง การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าอะไร ๆ ไม่เที่ยงนั้น จุดประสงค์ก็คือจะให้เข้าถึงกายธรรม จึงมีหลักว่านอกจากกายธรรมแล้ว จะเป็นกายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด เหล่านี้ต่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งสิ้น คือต้องเวียนว่ายอยู่ในภพทั้ง ๓ จึงเป็นกายที่ยังไม่เที่ยง ยังต้องเป็นทุกข์อยู่

    ต่อเมื่อเข้าถึงกายธรรมจึงเป็นนิจจัง สุขขัง อัตตาขึ้นทันที เป็นของเที่ยง เป็นสุขเป็นตัวตนทันทีเมื่อถึงกายธรรมละเอียดก็ยิ่งดีหนักขึ้น กายธรรมพระโสดา พระโสดาละเอียดก็ยิ่งดีหนักขึ้น เที่ยงหนักขึ้นสุขหนักขึ้นไม่มีถอย กายธรรมพระสกิทาคา พระสกิทาคาละเอียดก็เที่ยงหนักขึ้น สุขหนักขึ้น กายธรรมพระอนาคามี พระอนาคามีละเอียดก็ยิ่งเที่ยงหนักขึ้นสุขหนักขึ้น กายธรรมพระอรหัตต์ พระอรหัตต์ละเอียดก็ยิ่งเที่ยงทีเดียว สุขที่เดียวไม่แปรผันต่อไป เป็นกายคงที่คงวา อุปมาเหมือนเสาเขื่อน ย่อมไม่เขยื้อนไปตามอารมณ์โลกธรรมทั้ง ๘ คือ อิฏฐารมณ์ ๔ ได้แก่ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ และอนิฏฐารมณ์ ๔ ได้แก่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ ติฉินนินทา ไม่สามารถทำให้ยุบลงหรือฟูขึ้นได้

    หลวงพ่อท่านได้ยกพระพุทธภาษิตประกอบว่า

    ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
    อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

    จิตของบุคคลผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวไม่เศร้าโศก ไม่ยินร้ายไม่ยินดี ย่อมปราศจากความขุ่นมัว เป็นแดนเกษมจากโยคะ ได้ชื่อว่าเป็นมงคลอันสูงสุด ฯ

    หลวงพ่อท่านให้คติธรรม วิธีการประสบผลสำเร็จด้านการปฏิบัติธรรม ตามขั้นตอนไว้ดังนี้

    ประกอบเหตุ สังเกตผล สนใจเถิด ประเสริฐนัก
    ประกอบในเหตุ สังเกตในผล สนใจเข้าเถิดประเสริฐดีนัก
    ประกอบที่ในเหตุ สังเกตที่ในผล สนใจเข้าเถิด ประเสริฐยิ่งนัก

    ทำใจให้ใสเท่านั้นแหละ เป็นใช้ได้

    อิฏฐารมณ์เป็นที่นิยมชื่นชอบของทุกคนส่วนอนิฏฐารมณ์ไม่เป็นที่นิยม ไม่เป็นที่ปรารถนา เราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต เมื่อรู้จักอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เหล่านี้แล้วมีทางเลี่ยงได้โดยทำดังนี้ คือต้องบังคับจิตให้ดี ต้องตั้งจิตให้ดี ถ้าตั้งจิตให้ดีถูกหลักถูกฐานของที่ตั้งจิตแล้ว จะสามารถต่อสู้กับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ได้

    ต้องหมั่นเอาใจจดจ่ออยู่ที่กลางกั๊ก อันเป็นศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ให้หมั่นเอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นเสมอ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน กิน ดื่ม จะทำ จะพูด แม้แต่จะอุจจาระ ปัสสาวะ ก็หยุดอยู่ตรงนั้นเสมอ จรดหนักเข้า ๆ ๆ ๆ พอชินหนักเข้า ก็ชำนาญหนักเข้า ๆ ๆ ๆ ก็หยุดได้

    พอใจหยุดเสียได้เท่านั้นแหละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติฉินนินทา ทุกข์ ไม่มีทางกระทบกระเทือนแล้ว เฉยเสียแล้ว ถ้าทำจิตให้ได้ขนาดนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่า ถึงซึ่งมงคลสูงสุดแล้วถ้ายังอาดูรเดือดร้อนไปตามอนิฏฐารมณ์ เป็นอัปมงคลแท้ ๆ

    หลวงพ่อย้ำว่า “อัปมงคลมิใช่เป็นแต่เฉพาะฆราวาส หญิง ชายเท่านั้น ภิกษุ สามเณรก็เป็นได้เหมือนกัน พอสงบไม่ลง ทำใจให้หยุดไม่ได้ ก็เป็นอัปมงคล หลวงพ่อท่านเคยสอนพระสงฆ์ สามเณรว่า “ ภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา พอบวชแล้วไม่ต้องทำอะไร ทำใจให้ใสเท่านั้นแหละเป็นใช้ได้ ถ้าใจไม่ใส ภิกษุ สามเณรนั้นใช้ไม่ได้ ยังเป็นภิกษุสามเณรภายนอก ภายในเป็นไม่ได้ พอทำใจให้ใสได้เท่านั้นก็เป็นที่บูชาของมหาชนทีเดียว”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2018
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    เสียงเทศน์ หลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จันทสโร) เรื่อง มหาสติปัฏฐานสี่



    a.jpg


    http://palungjit.org/attachments/a.3256791/
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    วิธีเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    พิจารณาและปหานอนุสัยกิเลส( ตามแนววิชชาธรรมกาย )




    -----------------------------------------------------------------

    "อนุสัยกิเลส" หมายถึงกิเลสละเอียดที่นอนเนืองอยู่ในจิตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๗ อย่าง

    ๑. กามราคานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความยินดี พอใจ ติดใจ อยู่ในกามคุณทั้ง ๕ คือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย กิเลสประเภทนี้ เมื่อมีสิ่งที่ก่ออารมณ์จากภายนอกมากระทบ หรือจิตสร้างอารมณ์ขึ้นมาเอง ก็จะแสดงตัวออกมาพร้อมกับอกุศลจิต ในรูปของราคะ โลภะ หรืออภิชฌา-วิสมะโลภะ ซึ่งเป็นกิเลสในระดับกลางและหยาบตามลำดับ

    ๒. ทิฏฐานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความเห็นผิดซึ่งจะแสดงตัวขึ้นมาในรูปของโมหะ หรือมิจฉาทิฏฐิ พร้อมกับอกุศลจิต ในฐานะเป็นเหตุนำหรือเหตุหนุนแล้วแต่กรณี

    ๓. ปฏิฆานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความขัดเคืองใจ ไม่พอใจในอารมณ์ต่างๆ เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็จะแสดงตัวขึ้นมาในรูปของโทสะ คือความโกรธอย่างรุนแรง ในรูปของโกธะ คือความโกรธอย่างบางเบา หรืออุปนาทะ คือความผูกใจเจ็บ ผูกพยาบาทหรือจองเวร

    ๔. ภวราคานุสัย คือ ความยินดีในความเป็นอยู่ในภพ

    ๕. มานานุสัย คือ ความอวดดื้อถือดี ไม่ยอมใคร ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ถือว่าตนดี หรือถือว่าตนด้อย ซึ่งแสดงออกมาในรูปของมานะทิฏฐิ อันเป็นปมด้อยหรือปมเด่นทางใจต่างๆ

    ๖. วิจิกิจฉานุสัย คือ ความลังเลสงสัยในสภาวะธรรมต่างๆ

    ๗. อวิชชานุสัย คือ ความไม่รู้แจ้งสัจธรรมทั้ง ๔ ได้แก่ ความไม่รู้ในลักษณะของทุกข์ทั้งลับและเปิดเผย ทั้งที่เห็นง่ายและเห็นยาก, ความไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์, ความไม่รู้ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ,ความไม่รู้ในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อันถาวร, ความไม่รู้อดีต, ความไม่รู้อนาคต, ความไม่รู้ทั้งในอดีตและในอนาคต, และความไม่รู้เหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกัน ที่เรียกว่า "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" อวิชชานุสัยนี้จะแสดงตัวออกมาพร้อมกับอกุศลจิตในฐานะที่เป็นทั้งเหตุนำและเหตุหนุนกิเลสอื่น ในลักษณะโมหะหรือมิจฉาทิฏฐิ

    อนุสัยกิเลสทั้ง ๗ นี้ ความจริงก็มีอนุสัยหลักอยู่ ๓ ประเภท คือ ปฏิฆานุสัย, กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย
    ส่วนอนุสัยกิเลสอื่นนอกจากนี้ ก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดแยกย่อยออกไปจากอนุสัยหลัก ในการพิจารณาสภาวะธรรมจึงจะยกมากล่าวแต่เพียง ปฏิฆานุสัย, กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย


    (ต่อจากโพสข้างบน)

    การเจริญจิตตานุปัสสนา เห็นจิตในจิต ตามแนววิชชาธรรมกาย




    ให้ท่านผู้ปฏิบัติรวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายธรรมที่ละเอียดที่สุด แล้วให้ญาณ หรือ ตาพระธรรมกายเพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์

    หยุดนิ่ง ให้ดวงเห็น(รับ) ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้หยุดนิ่งเป็นจุดเดียวกันทั้งหมด

    แล้วตรวจพิจารณารอบๆดวงรู้ ก็จะเห็นเครื่องหุ้มของรู้อยู่รอบๆรู้ หนาประมาณ ๑ กระเบียด มีลักษณะสัญฐานกลมประมาณเท่าเมล็ดพริกไทยสีดำ มัวๆ ถ้าเป็นผู้มีกิเลสมาก ก็จะเห็นเป็นสีดำเข้มมาก ถ้าเป็นผู้มีกิเลสน้อยก็จะเห็นเป็นสีมัวๆฝ้าๆเหมือนกระจกฝ้า เครื่องหุ้ม"รู้"อยู่รอบนอกดวงรู้(ดวงวิญญาณ หรือที่เรียกว่าตัวรู้)นี้เองคือ "อวิชชานุสัย"


    ทีนี้ก็ให้ตรวจพิจารณาดูรอบๆดวงคิด หรือ"ดวงจิต" ก็จะเห็นเครื่องหุ้มของคิดมีลักษณะสัญฐานกลม โตประมาณเท่าลูกตาดำหนาประมาณ ๑ กระเบียด สีมัวๆ หุ้มดวงคิด(จิต)อยู่รอบนอก คือ "กามราคานุสัย" สำหรับผู้มีกามราคะกล้า ก็จะเห็นเป็นสีเข้มมาก ถ้ามีกามราคะเบาบางลงมากแล้ว ก็จะเห็นสีมัวๆฝ้าๆ

    เมื่อพิจารณาผ่านไปยังดวงจำและดวงเห็น(รับ) ก็จะเห็นเครื่องหุ้มของเห็นและจำอยู่โดยรอบ มีสัญฐานกลมประมาณเท่าลูกตาขาวทั้งหมด สีดำมัวๆ หนาประมาณ ๑ กระเบียด คือ "ปฏิฆานุสัย" ผู้ที่มีกิเลสประเภทเจ้าโทสะ ก็จะเห็นเป็นสีดำเข้มมาก ถ้ามีกิเลสประเภทโทสะน้อย ก็จะเห็นเป็นสีจางๆมัวๆ

    ตามนัยที่พิจารณานี้ เป็นการพิจารณาจากละเอียดมาหาหยาบ ที่เรียกว่า ปฏิโลม คือจากตัวรู้มาหาตัวเห็น(รับ)




    แต่ถ้าพิจารณาจากหยาบไปหาละเอียดเป็น อนุโลม ก็จะเห็นว่า ปฏิฆานุสัย หุ้มเห็นและจำอยู่ชั้นนอก เหมือนลูกตาขาว, กามราคานุสัย ก็หุ้มคิด(จิต)อยู่ชั้นกลางเข้าไปเหมือนลูกตาดำ, และอวิชชานุสัย ก็หุ้มตัวรู้(วิญญาณ)อยู่ชั้นในเข้าไปอีก เหมือนแววตาดำฉะนั้น

    เนื่องด้วยอนุสัยทั้งสาม คือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัยนี้ต่างก็หุ้ม เห็น จำ คิด รู้ เป็นไส้กัน คือในกลางของกลาง เป็นชั้นๆกันเข้าไปในจิต นี้ประการหนึ่ง, และตัวอนุสัยกิเลสเอง ก็เกิดจากความนอนเนืองของกิเลส ทั้งหยาบ กลาง ละเอียด ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมอกุศลจิตที่ฟุ้งซ่านออกไปรับ-ไปยึด ไปเกาะอารมณ์ภายนอกที่ถูกใจบ้าง ที่ไม่ถูกใจบ้าง และที่เฉยๆบ้าง แล้วประกอบกรรมที่เป็นอกุศลด้วย กาย วาจา ใจ ไปโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเพราะความมืดมน ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ หรือไม่รู้จักทางเจริญ ทางเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิเลสประเภทโมหะและมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ความหลงผิด เห็นผิด ความไม่รู้แจ้ง แล้วหมักหมมนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดาน นี้อีกประการหนึ่ง

    การกำจัดหรือปหานอนุสัยกิเลสเหล่านี้ จึงต้องกระทำที่จิตใจ อันประกอบด้วย เห็น(รับ) จำ คิด รู้ ซึ่งเป็นชุมทางของกิเลสนั่นเอง

    กล่าวคือ ผู้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้หมั่นพิสดารกายไปสู่สุดละเอียดอยู่เสมอ หรือให้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของใจรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายธรรมที่สุดละเอียด ทุกอริยาบถ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็ให้เห็นละเอียดอยู่เสมอ เห็นดำหรือขุ่นมัวก็รู้แล้วละจนใสสะอาดทันที เพราะดำหรือขุ่นมัวนั้นก็คือ ธรรมฝ่ายอกุศลและอัพยากฤต ซึ่งกำลังแทรกซ้อนเข้ามาในจิตใจ เอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็น เข้ามาในจิตใจ จึงต้องมี"สติพิจารณาเห็นจิตในจิต"เป็นภายในแล้วเร่งกำจัดเพื่อชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ โดยให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดในหยุด กลางของกลางๆๆลงไป ณ ที่ศูนย์กลาง เห็น จำ คิด รู้ นั่นแหละ

    พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า จิตดวงเดิมซึ่งตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบก็ตกสูญ ลงไปยังฐานที่ ๖ แนวสะดือ เมื่อจิตดวงเดิมว่างหายไป จิตดวงใหม่พร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็จะบังเกิดขึ้นมาแทนที่ เครื่องหุ้ม เห็น จำ คิด รู้ คือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย ก็จะจางลงและกลับใสละเอียด บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้ดวงเห็น จำ คิด รู้ของกายมนุษย์ละเอียดขยายส่วนโตขึ้นกว่าของกายมนุษย์หยาบ คือโตขึ้นเป็นประมาณสองเท่าของไข่แดงของไข่ไก่

    ทีนี้ก็ให้ใจของกายมนุษย์ละเอียดรวมหยุดนิ่งลงไปที่ตรงกลางเห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์ละเอียดต่อไป พอใจหยุดถูกส่วนเข้า จิตดวงเดิมพร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้นก็ตกสูญว่างหายไปอีก แล้วจิตดวงใหม่พร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ปรากฎขึ้นแทนที่ เครื่องหุ้มเห็น จำ คิด รู้ คือปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัยของทิพย์ก็จางลง ใสละเอียดและสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งกว่าของกายมนุษย์ละเอียด ดวงเห็น จำ คิด รู้ก็ขยายส่วนโตขึ้นไปอีก เป็นประมาณสามเท่าของไข่แดงของไข่ไก่... พอใจหยุดนิ่งถูกส่วน จิตดวงเดิมและดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ตกสูญ ว่างหายไป ปรากฎดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด เป็นไปในลักษณะนี้ตามลำดับในกายต่างๆ กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม

    จนถึงใจของกายอรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งลงไปที่กลางเห็น จำ คิด รู้ ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดต่อไปอีก พอใจหยุดถูกส่วนเข้า ก็จะตกสูญพร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ว่างหายไป แล้วจะเห็นจิตของธรรมกายโคตรภู พร้อมด้วยดวงธรรมของธรรมกายโคตรภู ก็ปรากฎขึ้นแทนที่ อวิชชานุสัย เครื่องหุ้มรู้ ก็ยิ่งใสละเอียดยิ่งขึ้น และกลับเป็น"วิชชา" ธรรมเครื่องช่วยให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมและสภาวะที่แท้จริงของธรรมชาติ ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริง ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ก็ขยายขึ้นโตเต็มส่วนเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย

    "กาย กับ ใจ" ของธรรมกายก็กลับเป็น ปฐมมรรค เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎก(สภาวะ) ดวงศีล ก็เป็นอธิศีลไป คือศีลยิ่งอย่างแท้จริง กาย วาจา ใจตลอดทั้งเจตนา ความคิดอ่านทั้งหลาย เป็นอันสะอาดบริสุทธิ์ทั้งหมด

    "จิต" ก็กลับเป็น มรรคจิต เป็นเนื้อหนังอันแท้จริง รวบยอดกั่นมาจากพระสุตตันตปิฎก(สภาวะ) เป็น อธิจิต คือ จิตอันยิ่งแท้ๆ

    "ตัวรู้"หรือ"วิญญาณ" ก็เป็น มรรคปัญญา เป็น ญาณ เพราะอวิชชานุสัย เครื่องหุ้มของรู้จางลงมาก จึงใสละเอียดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองมาก และขยายโตเต็มส่วนของธรรมกาย มรรคปัญญานี้เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรมปิฎก(สภาวะ) จึงเป็น อธิปัญญาแท้ๆ

    กายธรรมนี้เองคือพุทธรัตนะ ดวงธรรมของธรรมกาย คือ ธรรมรัตนะ และกายธรรมละเอียดๆในท่ามกลางพุทธรัตนะนี้คือ สังฆรัตนะ

    ก็ให้ใจของกายธรรมหยุดในหยุด ลงไปที่กลางของกลางๆๆ ต่อๆไปอีก ก็จะถึงจิตและดวงธรรมของกายธรรมที่ละเอียดๆต่อไป คือ ธรรมกายโคตรภูละเอียด, ธรรมกายโสดาบัน, ธรรมกายโสดาบันละเอียด, ธรรมกายสกิทาคามี, ธรรมกายสกิทาคามีละเอียด, ธรรมกายอนาคามี, ธรรมกายอนาคามีละเอียด, ธรรมกายอรหัตต์, ธรรมกายอรหัตต์ละเอียด ซึ่งใสละเอียด บริสุทธิ์จาก
    เครื่องหุ้มฝ่ายอกุศลทั้งปวง ดวงธรรมของธรรมกายก็ขยายส่วนโตขึ้นไป ตามลำดับยิ่งดำเนินไปสุดละเอียดเพียงใด จิตใจก็จะยิ่งใสสะอาดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองยิ่งขั้นไปเพียงนั้น

    ทั้งหมดนี้ คือการเจริญภาวนาพิจารณาสภาวะของจิตให้รู้จริงเห็นจริงตามธรรมชาติ พร้อมด้วยถอนอนุสัยกิเลสจากจิตของกายหยาบ ไปสู่จิตที่ละเอียดยิ่งกว่า จนถึงโลกุตตรจิต คือจิตของธรรมกายซึ่งเป็นกายในกายที่สุดละเอียด พ้นจากกายในภพสามนี้ตั้งแต่กายที่เก้าเป็นต้นไปจนสุดละเอียด ช่วยให้ปัญญาหยั่งรู้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น พร้อมด้วยวิชชา ได้แก่ วิชชาสาม วิชชาแปด ที่จะใช้ปหานอวิชชาอันเป็นมูลรากฝ่ายเกิดบาปอกุศลทั้งปวงให้หมดสิ้นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

    เพราะฉะนั้น แนวทางปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ที่ให้ผู้ปฏิบัติรวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด ผ่านกาย เวทนา จิต และธรรม หรือที่เรียกว่า พิสดารกายจนสุดละเอียด

    แล้วก็รวมใจหยุดในหยุดไว้ ณ ศูนย์กลางกายธรรมที่ละเอียดที่สุดที่เข้าถึงอยู่เสมอ อย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่งของใจ ให้เห็นใส ละเอียด สะอาดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองอยู่เสมอนั้น ก็คือการปฏิบัติภาวนาที่ให้ผลเป็นการดับกิเลสจากจิตของกายหยาบไปสู่จิตของกายละเอียด

    ที่เรียกว่า "ดับหยาบไปหาละเอียด"ไปจนสุดละเอียด อันเป็นธรรมเครื่องปหานหรือกำจัดอนุสัยกิเลสที่ละเอียดๆและนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานให้หมดสิ้นไป ด้วยโลกุตตรปัญญา คือมรรคจิตและมรรคปัญญา(โลกุตตรฌานและโลกุตตรวิปัสสนา)อันเจริญขึ้นเมื่อถึงธรรมกายแล้ว

    พร้อมด้วยวิชชา ธรรมเป็นเครื่องช่วยให้รู้แจ้งเห็นจิรงในสัจธรรม และสภาวะของธรรมชาติที่เป็นจริงจากการได้ทั้งรู้และเห็นนั่นเอง


    และในขณะเดียวกัน การเจริญภาวนาดังกล่าวก็มีลักษณะเป็นการถอดขันธ์จากกายโลกียะทั้งแปด ซึ่งเป็นกายที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ ไปสู่กายที่ละเอียดกว่า คือ ธรรมขันธ์ ซึ่งเป็นกายที่พ้นภพสามไปแล้ว และไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอสังขธาตุ อสังขตธรรมล้วนๆ จึงไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์

    ผลจากการเจริญภาวนาดังกล่าวนี้เอง ที่สามารถช่วยให้เจโตวิมุตติ หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ และเสวยสุขจากความสงบด้วยปัญญาอันเห็นชอบต่อไป



    a.jpg
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    a.jpg





    1. เหตุผลที่บุคคลควรเจริญพรหมวิหาร 4


    การเจริญพรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตาพรหมวิหาร คือ การคิดให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วกันหมด กรุณาพรหมวิหาร คือปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงที่เป็นทุกข์อยู่ ให้พ้นจากทุกข์ทั้งสิ้น มุทิตาพรหมวิหาร คือปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงที่ได้สุขสมบัติหรือคุณสมบัติแล้ว จงดำรงอยู่ในสุขสมบัติหรือคุณสมบัติของตน อย่าได้พลัดพรากจากสุขสมบัติหรือคุณสมบัติที่ตนได้แล้ว และ อุเบกขาพรหมวิหาร มีความเพิกเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ในสัตว์ทั้งหลายที่ได้สุขหรือได้ทุกข์

    ในการดำเนินชีวิตประจำวัน หากบุคคลใดมีพรหมวิหารธรรมเป็นคุณธรรมประจำตนแล้ว ก็นับว่าผู้นั้นมีคุณธรรมของ "ผู้ใหญ่" หรือ "ผู้ปกครอง" อย่างสมบูรณ์ จะเป็นผู้นำชุมชนใด ก็จะเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรหรือเป็นที่พึ่งที่อาศัยของผู้น้อยหรือผู้อยู่ใต้ความปกครองได้เป็นอย่างดี

    อนึ่ง พรหมวิหาร 4 นั้น เป็นคุณธรรมที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายพึงเจริญ ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า หมู่สัตว์หรือปุถุชนผู้ที่ยังมากด้วยกิเลสหยาบ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หรือ กิเลสกลางๆ คือ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น มักต้องเวียนอยู่ในไตรวัฏ คือ กิเลสวัฏ ความมีกิเลสดังกล่าว แล้วก็ กรรมวัฏ คือมีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม อันมีลักษณะที่เป็นความผูกโกรธ พยาบาท จองเวร เบียดเบียน ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน เพราะความหลงผิด ยึดมั่น ถือมั่น เห็นแก่ตัวตน และพวกพ้อง หมู่เหล่า เป็นการสร้างภพ สร้างชาติ อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์แก่ตนเองเป็นทับทวี เรียกว่า วิปากวัฏ ยากแก่การปฏิบัติธรรมโดยมัชฌิมาปฏิปทา คือ ศีล สมาธิและปัญญา อันเป็นเครื่องช่วยให้พ้นทุกข์เป็นการถาวรได้

    พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนผู้ใคร่จะพ้นทุกข์ ประกอบจิตใจของตนให้อยู่ในพรหมวิหารธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาพรหมวิหารนี้ เพื่อให้จิตใจสงบระงับจากอุปกิเลสหรือนิวรณธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่องขวางกั้นการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ให้บรรเทาเบาบางหรือหมดสิ้นไป ก็จะสามารถเปิดทางให้แก่สาธุชนผู้เจริญพรหมวิหารธรรมนั้น สามารถเห็นอรรถเห็นธรรมได้ตามความเป็นจริง เมื่อปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมเจริญขึ้น ก็สามารถจะปหานกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายให้หมดสิ้นไปได้เป็นลำดับ

    นอกจากนี้ พระอริยบุคคลผู้ที่จะบรรลุอรหัตตผล ตัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิงก็ดี, ที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ดี จักต้องเจริญพรหมวิหารธรรมนี้ จนเมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี ซึ่งเป็น 2 ประการในบารมีสิบทัศ สูงถึงขั้น อุปบารมี และ ปรมัตถบารมี ได้เต็มส่วน จึงจะบรรลุอรหัตตผล หรือตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้

    พรหมวิหารธรรม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปฏิบัติธรรมจักต้องเจริญอยู่เสมอ เพื่อให้จิตใจปลอดจากนิวรณธรรม อุปมาดั่งการใช้ "ด่าง" เป็น "กลาง" ไม่เป็นโทษหรือเป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองหรือผู้อื่นอีกต่อไปนั่นเอง

    เมื่อท่านทั้งหลายเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเจริญพรหมวิหารธรรมดังนี้แล้ว จงตั้งใจศึกษาวิธีการเจริญพรหมวิหารธรรม ทั้งในทางอรรถและโดยธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ และหมั่นเจริญอยู่เสมอ

    การเจริญเมตตาพรหมวิหารนั้น เริ่มแรก สาธุชนพึงพิจารณาเหตุผลให้เข้าใจเสียก่อนว่า เมตตาพรหมวิหารนี้เป็นธรรมคู่แข่งหรือธรรมที่จะใช้ระงับกิเลสประเภทใด นี้ข้อหนึ่ง, โทษของการมีกิเลสประเภทที่ว่านั้นมีอย่างไรบ้าง หรือร้ายแรงเพียงใด นี้ข้อหนึ่ง, คุณค่าของการข่มหรืออดกลั้นต่อกิเลสประเภทนี้ ข้อหนึ่ง, กับ ความสันติสุขอันเกิดแต่ความปลอดภัยจากกิเลสที่ว่านี้อันตนได้รับอยู่ นี้อีกข้อหนึ่ง จึงจะมีความรู้สึกปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่นได้รับความสุขเช่นที่ตนเองได้รับด้วยอย่างได้ผลสมบูรณ์

    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว จึงจะนับว่าเป็นผู้มีเมตตาธรรมอย่างแท้จริง และสามารถจะแผ่เมตตาพรหมวิหารนี้ไปยังผู้อื่นและสัตว์อื่นได้อย่างเป็นผล ไม่ใช่สักแต่ว่าท่องจำคำแผ่เมตตาได้ แล้วก็ว่าออกไปๆ โดยที่จิตใจของตนเองยังแข็งกระด้างอยู่ด้วยกิเลสประเภทหยาบๆ หรืออย่างกลางอันหนาแน่น แกะไม่ออก การแผ่เมตตานั้นก็ได้ผลน้อย

    ลักษณะของกิเลสอันเป็นคู่แข่งของเมตตาพรหมวิหาร หรือที่จะต้องได้รับการปราบด้วยพรหมวิหารธรรมนั้น คือ โทสะ เป็นกิเลสตระกูลใหญ่ ซึ่งมีลักษณะรุ่มร้อนประดุจไฟที่สามารถจะเผาผลาญสิ่งต่างๆ ให้พินาศลงได้

    กิเลสตระกูลโทสะนี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่ความไม่พอใจในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า อรติ ความไม่พอใจ นี้ หากไม่ระงับลงแล้ว ก็จะกลายเป็นความขัดเคืองใจ ที่เรียกว่า ปฏิฆะ คืออาการของจิตที่เก็บอารมณ์นั้นไว้ กรุ่นอยู่ ไม่อาจลืมได้ หากไม่ระงับก็จะกำเริบขึ้น กลายเป็นความเดือดดาล หรือที่เรียกว่า ความโกรธ หรือ โกธะ นั่นเอง ทีนี้ หากไม่ระงับก็จะกำเริบมากขึ้นอีก กลายเป็นความคิดประทุษร้ายด้วยกาย วาจา และใจ เรียกว่า โทสะ หากโทสะนี้ไม่ระงับลงอีก ก็จะกำเริบเสิบสาน กลายเป็นความ พยาบาท หรือความผูกใจเจ็บแค้น คือคิดหาทางที่จะแก้แค้นหรือมุ่งร้ายเขาต่อไป เมื่อได้แก้แค้นแล้วความโกรธก็หายไป แต่บางรายยังไม่หาย ไม่ระงับ กลับผูกใจเจ็บที่จะจองล้างจองผลาญต่อๆ ไปอีก ก็เรียกว่า ผูกเวร นี่แหละร้ายนัก เพราะจะเป็นเหตุให้เกิดโทษทุกข์ต่อๆ กันไป ไม่สิ้นสุด

    พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนหมั่นประกอบจิตใจของตนเองให้อยู่ใน "ขันติธรรม" และ "พรหมวิหารธรรม" อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมตตาพรหมวิหารนี้ เพื่อให้สามารถข่มโทสะให้คลายลง และให้สามารถอดกลั้นต่ออนิฏฐารมณ์ ไม่เบียดเบียนหรือเป็นโทษภัยแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น

    สาธุชนจึงพึงต้องพิจารณาให้เห็นโทษภัยของกิเลสตระกูลโทสะนี้อยู่เสมอ แล้วเพียรพยายามระงับด้วยเมตตาพรหมวิหาร และกำจัดให้หมดเด็ดขาดได้ด้วยปัญญา ถ้าหากสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมและประเทศชาตินี้ มีความอดกลั้น คือขันติต่ออารมณ์ที่ขัดเคืองซึ่งกันและกัน อภัยให้ซึ่งกันและกัน ไม่คิด ไม่พูด หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการประทุษร้ายต่อกัน และไม่จองเวรซึ่งกันและกันแล้ว ตนเองและสังคม ประเทศชาติ ก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ไม่เดือดร้อนวุ่นวาย ดังที่ได้ยินได้ฟังข่าวร้ายๆ อยู่เสมอ เช่นในปัจจุบันนี้

    2. วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 โดยทั่วไป และอานิสงส์



    ก) วิธีเจริญเมตตาพรหมวิหาร

    คำว่า "เมตตา" นี้หมายถึงความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข

    การเจริญเมตตาพรหมวิหาร หรือในกรณีเจริญภาวนา บางทีก็เรียกว่า การแผ่เมตตานั้น จะได้ผลเพียงใดย่อมขึ้นอยู่ที่วิธีการปฏิบัติภาวนาและความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ ของผู้เจริญภาวนา วิธีปฏิบัติภาวนาเจริญเมตตาพรหมวิหารที่จะให้ได้ผลดีนั้น มีดังต่อไปนี้

    ก่อนอื่นให้พิจารณาโทษของโทสะ และคุณของความอดกลั้นต่อโทสะกิเลส แล้วจึงตั้งตนเองเป็นพยานไว้ก่อนว่า ตนเองประสงค์แต่ความสงบสุข ความร่มเย็น เกลียดชังความทุกข์อันเนื่องแต่ความเบียดเบียนหรือประทุษร้ายจากผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการประทุษร้ายต่อร่างกาย ต่อทรัพย์สิน หรือต่อชื่อเสียงเกียรติคุณความดีด้วยประการต่างๆ ฉันใด สรรพสัตว์หรือบุคคลอื่นทั้งหลายก็รักความสันติสุข และไม่ประสงค์ความทุกข์ ฉันนั้นเหมือนกัน

    เมื่อเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นดังนี้จากใจจริงแล้ว ก็อธิษฐานตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกาย ก่อนหรือหลังจากการเจริญภาวนาธรรม หรือในขณะใดๆ ก็ตาม แผ่ความปรารถนานั้นไปยังมนุษย์หรือสรรพสัตว์อื่น เริ่มตั้งแต่ผู้ที่ตนรักเสียก่อน เมื่อจิตใจอ่อนโยน แผ่เมตตาพรหมวิหารหรือความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนรักมีความสุขอย่างเต็มใจแล้ว จึงค่อยตั้งความปรารถนานั้นแผ่ไปยังบุคคลหรือสัตว์ที่ตนรู้สึกเฉยๆ คือไม่รักไม่ชัง เมื่อจิตใจอ่อนโยน แผ่ความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนก็มิได้รักมิได้ชังจนเปี่ยมใจแล้ว ก็จึงตั้งความปรารถนานั้นแผ่ไปยังบุคคลหรือสัตว์ที่ตนเกลียดชัง จนจิตใจอ่อนโยน แผ่ความปรารถนาที่จะให้เขามีความสุขจนเปี่ยมใจแล้ว จึงตั้งความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่มีเวรต่อกันเป็นสุขปราศจากทุกข์ภัย อีกต่อไป จงแผ่ความเมตตานี้ไปยังบุคคลหรือสรรพสัตว์เหล่านี้ให้เปี่ยมใจหมดตลอดทั้งสี่ 4 เหล่า ฝึกเจริญภาวนาบ่อยๆ เข้าก็จะค่อยๆ ชำนาญไปเอง จิตใจก็จะมีแต่เมตตาธรรม พร้อมที่จะให้อภัยแก่ผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่ผูกโกรธหรือผูกเวรอันเป็นการสร้างภพสร้างชาติต่อไปอีก

    สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาจนถึงธรรมกายหรือได้ดวงปฐมมรรคแล้ว เมื่อตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกายแผ่เมตตาธรรมนั้น ดวงธรรมของทุกกายก็จะใสสะอาดขึ้น และแผ่ขยายกว้างออกไปยิ่งขึ้น หากธรรมแก่กล้าสามารถเจริญเมตตาภาวนาในระดับฌานได้ ข่ายของญาณพระธรรมกายก็จะขยายออกไปได้จนสุดภพ และขยายออกไปอย่างกว้างขวางตลอดทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ การเจริญเมตตาภาวนาก็ยิ่งจะเป็นผลมาก แล้วให้ผู้ปฏิบัติจงหมั่นพิจารณาเหตุสังเกตที่ผลของการเจริญภาวนาอยู่เสมอ ก็จะได้ทราบผลด้วยตนเอง

    อนึ่ง การเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ ไม่เฉพาะแต่จะปฏิบัติอย่างเป็นทางการก่อนหรือหลังจากการเจริญภาวนาเท่านั้น หากแต่พึงกระทำทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นขณะเดิน ยืน นั่ง หรือ นอน กล่าวคือ

    เมื่อใดที่ตนเองประสบหรือได้รับความสันติสุข ไม่ว่าจะเป็นความสุขทางโลกิยะหรือโลกุตตระ ย่อมปีติยินดีในความสุขนั้นเพียงใด ก็จงตั้งความปรารถนาแผ่ความสุขนั้นไปยังผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่น ให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น จงประสบหรือได้รับความสุขเช่นที่ตนได้รับอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน

    เมื่อใดที่ตนเองประสบหรือได้รับความทุกข์หรือภัยต่างๆ เราไม่ชอบและไม่ปรารถนาความทุกข์หรือภัยพิบัติเหล่านั้นฉันใด ผู้อื่นก็ย่อมไม่ปรารถนา ฉันนั้น ก็จงตั้งความปรารถนาแผ่ความเมตตาไปยังบุคคลอื่นหรือสรรพสัตว์อื่น ขออย่าได้ประสบกับทุกข์ภัย การเบียดเบียนหรือจองเวรซึ่งกันและกัน และอย่าได้ลำบากกายลำบากใจเลย ขอจงให้มีแต่ความสุขกายสุขใจ และรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายเถิด

    จงแผ่ความปรารถนาดี ด้วยจิตใจอันอ่อนโยน เปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหารนี้ ไปยังมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายหมดทั้ง 4 เหล่า คือ ทั้งผู้ที่ตนรักหรือเคารพนับถือ ผู้ที่ตนมิได้รักมิได้ชัง ผู้ที่ตนเองเคยเกลียดชัง และผู้ที่เคยมีเวรต่อกัน พยายามแผ่ให้กว้างออกไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ มีทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม และสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ตลอดทั่วทั้งภพและจนหมดทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ แล้วท่านก็จะทราบผลจากการปฏิบัตินี้ด้วยตนเอง

    และใคร่จะขอแนะนำว่า การแผ่เมตตาพรหมวิหารนี้ทุกครั้งให้อธิษฐานตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อยู่เสมอ เพราะศูนย์กลางกายนี้ตรงกัน อยู่ในแนวเดียวกันกับโอกาสโลก (โลกคือแผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลก มีมนุษย์โลกเป็นต้น) สังขารโลก (โลกคือสังขาร) สัตว์โลก (โลกคือหมู่สัตว์ทั้งหลาย มีมนุษย์ เทพยดา รูปพรหม อรูปพรหม และสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น) อายตนะนิพพาน (ที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุที่ดับขันธ์แล้ว) ภพ 3 (กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) และอายตนะโลกันต์ ทั้งของจักรวาลนี้และจักรวาลอื่นทั้งหมด จึงเป็นผลมาก คือมีอานิสงส์และอานุภาพมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว จะสามารถเจริญเมตตาภาวนาได้ผลดีมาก เพราะใจตั้งมั่นอยู่ ณ ศูนย์กลางกายดีแล้ว ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกาย หากปฏิบัติดังกล่าวนี้เนืองๆ ก็จะช่วยให้สมาธิตั้งมั่นได้เร็วขึ้น เป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ตามลำดับ เพราะเมตตาภาวนานี้ เป็นเครื่องชำระนิวรณธรรมคือ โทสะและพยาบาทให้ระงับลง จิตใจก็อ่อนโยน สามารถที่จะรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวได้ง่าย

    การเจริญเมตตาภาวนานี้ มีอานิสงส์มาก ดังพระพุทธดำรัส ซึ่งแสดงไว้ว่า มีมากกว่าอานิสงส์ของการสมาทานศีล 5 ศีล 8 และไตรสรณคมน์ หรือการสร้างวิหารถวายแก่สงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง 4 หรือการถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเสียอีก (อํ.นวก.23/224/480) นับได้ว่ามีอานิสงส์เป็นที่สองรองจากการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานทีเดียว

    คุณค่าของการเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ เท่าที่เห็นๆ คือว่า หากมนุษย์ซึ่งเป็นแต่ละหน่วยของสังคมและประเทศชาติ มีเมตตาพรหมวิหารต่อกันมากเพียงใด มนุษย์ก็จะยิ่งมีแต่ความสันติสุขและร่มเย็นเพียงนั้น นอกจากนี้ การเจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ ยังเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติได้รับผลดีในการดำเนินชีวิตอีกมาก จะหลับอยู่ก็เป็นสุข จะตื่นอยู่ก็เป็นสุข เพราะไม่มีเวรภัยกับผู้ใด จึงไม่ต้องวิตกกังวลใดๆ ทั้งสิ้น จะฝันก็เป็นมงคล ย่อมเป็นที่รักใคร่ ยินดี ของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย มีทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมเป็นต้น ปลอดจากอัคคีภัย ภัยจากยาพิษ หรือสัตว์ที่มีพิษทั้งหลาย ศัสตราวุธต่างๆ ย่อมไม่อาจประทุษร้าย หรือทำอันตรายแก่กายและชีวิตได้ สีหน้าย่อมผ่องใส เมื่อจะตาย ย่อมได้สติ ไม่หลงตาย หากยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล เมื่อละโลกไปแล้ว ย่อมไปสู่สุคติภพ มีโลกมนุษย์หรือเทวโลกเป็นต้น และหากยังไม่เสื่อมจากฌาน ย่อมไปบังเกิดในพรหมโลกดังพระพุทธดำรัสที่ทรงแสดงไว้ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 ประการ 11 ประการเป็นไฉน ? คือ ย่อมหลับเป็นสุข 1 ย่อมตื่นเป็นสุข 1 ย่อมไม่ฝันลามก 1 ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย 1 ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย 1 เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา 1 ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ย่อมไม่กล้ำกรายได้ 1 จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว 1 สีหน้าย่อมผ่องใส 1 เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ 1 เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก 1

    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 ประการนี้แล." (อํ.เอกาทสก.24/222/370-371)

    ข) วิธีเจริญกรุณาพรหมวิหาร

    ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์ ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ให้พิจารณาถึงความทุกข์ โศกหรือโรคภัยที่ตนเองหรือผู้อื่นได้รับอยู่ก็ดี หรือแม้แต่ภัยในวัฏฏะ ได้แก่ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ ที่เห็นมีอยู่ในสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล นิพพานก็ดี เราก็ตั้งตนไว้เป็นพยานว่า เราปรารถนาที่จะพ้นทุกข์และภัยเช่นนั้น ก็ขอให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่นทั้งหลายซึ่งเป็นที่รัก ที่ไม่รักไม่ชัง ที่เคยชัง และที่เคยมีเวรต่อกัน ขอให้เขาเหล่านั้นจงพ้นจากความทุกข์ โศก โรค และเวรภัย ตลอดทั้งภัยจากวัฏฏะเสียทั้งสิ้น โดยตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งความปรารถนาดังกล่าวลงไป ณ ศูนย์กลางกายนั่นไว้เสมอ สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาจนถึงธรรมกายแล้ว และได้เจริญภาวนาจนปัญญาเจริญขึ้น จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น อริยสัจ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ เพียงใด ก็จะยิ่งเจริญเมตตาและกรุณาภาวนานี้ได้ผลมากและลึกซึ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเพียงนั้น

    ค) วิธีเจริญมุทิตาพรหมวิหาร

    ให้พิจารณาถึงสุขสมบัติและคุณสมบัติ ทั้งในระดับโลกิยสมบัติและโลกุตตรสมบัติ ตนไม่ประสงค์จะพลัดพรากจากสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้นเพียงใด และปรารถนาที่จะให้เจริญรุ่งเรืองในสุขสมบัติและคุณสมบัติ ตั้งแต่โลกิยสมบัติไปจนถึงโลกุตตรสมบัติยิ่งๆ ขึ้นไป จนตราบเท่าบรรลุมรรค ผล นิพพาน เพียงใด ก็ตั้งความปรารถนานั้น แผ่มุทิตาจิตไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลาย จงดำรงอยู่ในสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น อย่าได้พลัดพรากจากสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น และขอจงให้มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองต่อๆ ไปจากโลกิยสมบัติไปจนถึงโลกุตตรสมบัติ ดังเช่นที่ตนเองปรารถนาเช่นเดียวกันด้วยกันหมดทั้งสิ้น

    ง) วิธีเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร

    เมื่อตั้งความปรารถนา แผ่เมตตา กรุณา และมุทิตา อันได้แก่ ความปรารถนาที่จะให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเป็นสุข และอย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้น ขอจงปราศจากทุกข์ โศก และโรคภัย และขอจงรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายแล้ว ก็พิจารณาต่อไปอีกว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย ผู้ประกอบกรรมอันใดไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ย่อมต้องได้รับผลกรรมนั้นเอง เมื่อพิจารณาเห็นความจริงตามกฎแห่งกรรมดังนี้แล้ว จิตใจที่เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา และมุทิตา แต่ยังต้องกระเพื่อมฟุ้งอยู่ ด้วยความรู้สึกสงสารผู้อื่นหรือสัตว์อื่นที่กำลังได้รับความทุกข์เดือดร้อนอยู่ ซึ่งตนหมดหนทางที่จะช่วยเหลือได้อีกต่อไปแล้วก็ดี หรือความกระเพื่อมฟุ้งเพราะความยินดีอย่างมากที่เห็นผู้อื่นได้ดีมีสุขก็ดี จะค่อยๆ ระงับลงด้วยปัญญาหยั่งรู้ในกฎแห่งกรรมตามธรรมชาติ จิตใจก็จะมัธยัสถ์ เป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในความทุกข์และความสุข ของทั้งตนเองและผู้อื่น นี้เรียกว่าการเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร

    จะขอเน้นว่า เพื่อให้การเจริญพรหมวิหารธรรมนี้เป็นผลดียิ่งขึ้น เริ่มแรกให้พิจารณาโทษของโทสะ และคุณของความอดกลั้นจากโทสะเสียก่อน แล้วให้ตั้งตนเองเป็นพยานไว้ก่อนว่า ตนปรารถนาแต่ความสุข ไม่ปรารถนาความทุกข์เพียงใด ผู้อื่นก็ปรารถนาเช่นเดียวกันกับตนทั้งสิ้น ในการพิจารณาและตั้งความปรารถนาไปยังผู้อื่นนั้น สำหรับผู้ที่ยังจิตใจอันแข็งกระด้างอยู่ ให้เริ่มตั้งความปรารถนาแผ่พรหมวิหารไปยังผู้ที่ตนรักเสียก่อน เมื่อจิตใจอ่อนโยนดีแล้ว จึงค่อยตั้งความปรารถนาไปยังผู้ที่ตนชัง เมื่อจิตใจอ่อนโยนดีแล้ว ก็จงตั้งความปรารถนา แผ่พรหมวิหารธรรมนี้ไปยังผู้ที่มีเวรต่อกัน ให้จิตใจอ่อนโยนดีกับบุคคลและสัตว์ทุกหมู่เหล่า จึงจะได้ผลดี

    มีข้อสังเกตว่า หากชำนาญมากเข้า ก็สามารถเจริญภาวนาได้รวดเร็ว ความรู้สึกในบุคคลหรือสัตว์ที่รัก ที่ชัง หรือที่มีเวรต่อกัน ก็จะจางลง ความรู้สึกดังกล่าวยิ่งจางลงได้มากเพียงใด ย่อมแสดงว่าการเจริญพรหมวิหารธรรมได้ผลดีมากขึ้นเพียงนั้น ระดับสมาธิก็จะดีขึ้น จิตใจก็จะสามารถตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่ายกว่าเดิม นิวรณธรรมก็จะพลอยลดน้อยลง ระดับสติปัญญาและภูมิธรรมก็จะยิ่งสูงขึ้นตามลำดับ

    กล่าวโดยสรุป อานิสงส์ของการเจริญพรหมวิหารธรรมนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่ามีอานิสงส์สูงเป็นที่สองรองจากการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานทีเดียว (อํ.นวก.23/224/480) ทั้งนี้ก็เพราะการเจริญพรหมวิหารธรรมนั้น จุดมุ่งหมายเบื้องต้นก็เพื่อจะให้สัตว์ทั้งหลายอยู่ร่วมกันโดยสันติสุข ไม่เบียดเบียน โกรธพยาบาทจองเวร หรืออิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน ให้มีความรักใคร่ ปรองดอง เอื้ออารี เผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และให้รู้จักสงบจิตใจ ไม่ยินดียินร้ายเมื่อผู้อื่นถึงซึ่งความวิบัติ

    จุดมุ่งหมายเบื้องสูงยิ่งขึ้นไปอีก ก็เพื่อให้ผู้เจริญพรหมวิหารธรรมได้บำเพ็ญเมตตาและอุเบกขาบารมีให้เต็มส่วน ถึงอุปบารมีและปรมัตถบารมี ที่จะสามารถช่วยให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้จิตใจของผู้เจริญคุณธรรมนี้ สงบระงับจากกิเลสนิวรณ์ธรรมข้อพยาบาท และระงับความคิดที่ฟุ้งซ่านต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ คุณธรรมข้อนี้ยังเป็นเครื่องกำจัดกิเลสคือความริษยาและความผูกโกรธ หรือพยาบาทจองเวรได้ดีอีกด้วย

    จิตใจที่สงบระงับจากนิวรณธรรมนั้น ย่อมสามารถรับการฝึกหัดให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิที่แนบแน่น มั่นคงได้ง่าย จึงเป็นพื้นฐานสำคัญแก่งานวิปัสสนา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง และรู้แจ้งในอริยสัจทั้ง 4 อันเป็นทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาได้สะดวก

    เมตตา กรุณา มุทิตา พรหมวิหารนั้น มีอานิสงส์แก่ผู้เจริญให้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิให้สำเร็จขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และถึงอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นต้นของปฐมฌาน และให้สามารถพัฒนาต่อไป ถึงทุติยฌาน และตติยฌาน ได้ตามลำดับ ส่วนอุเบกขาพรหมวิหารนั้น มีอานุภาพให้ผู้เจริญ ได้ถึงจตุตถฌาน โดยจตุกนัย หรือถึงปัญจมฌาน โดยปัญจกนัยทีเดียว

    ผู้ทรงพรหมวิหารธรรมนั้น อาจแยกพิจารณาได้เป็น 3 ระดับกล่าวคือ

    พรหมโดยสมมติ หนึ่ง กล่าวโดยทางปริยัติ ก็ได้แก่ บิดา มารดา ผู้เป็นพรหมของบุตร เป็นต้น แต่ในทางธรรมปฏิบัตินั้น ได้แก่ มนุษย์ มนุษย์ละเอียด, ทิพย์ และทิพย์ละเอียด ซึ่งทรงพรหมวิหารธรรม
    พรหมโดยอุบัติ หนึ่ง กล่าวโดยทางปริยัติ ก็หมายเอาผู้ที่ได้กำเนิดหรือถือคติเป็นพรหมในพรหมโลก ด้วยพรหมธรรมและผลจากการเจริญภาวนาสมาธิ โดยที่ก่อนตาย จิตยังไม่เสื่อมจากฌานในระดับใดระดับหนึ่ง ในทางปฏิบัติ ได้แก่ รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด ซึ่งอยู่ในท่ามกลางทิพย์และมนุษย์, กับอรูปพรหมหยาบ และอรูปพรหมละเอียด ซึ่งอยู่ในท่ามกลางของพรหม อันเป็นผลจากการเจริญพรหมวิหารและภาวนาสมาธิ อีกนัยหนึ่ง สามารถจะเข้าถึงได้โดยทางธรรมปฏิบัติในปัจจุบันชาติ
    พรหมโดยวิสุทธิ อีกหนึ่ง ในทางปริยัติ หมายเอาพระอริยเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันตปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกพระพุทธเจ้า ซึ่งสะอาดบริสุทธิ์จากอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน เครื่องเศร้าหมองทั้งปวงแล้ว ส่วนในทางธรรมปฏิบัติ ก็ได้แก่ ธรรมกาย ที่บรรลุมรรค ผล นิพพานแล้ว ซึ่งอยู่ในท่ามกลางของกายโลกิยะทั้ง 8 กายข้างต้น เป็นกายในกายที่ละเอียดที่สุด อยู่ในศูนย์กลางกายมนุษย์นั่นเอง เพราะกายนี้เป็นกายที่สะอาดบริสุทธิ์และทรงพรหมวิหารธรรมอย่างยิ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเพียงชั่วขณะที่จิตใจของผู้ปฏิบัติธรรมใสสะอาด บริสุทธิ์ หยุดนิ่ง แล้วเข้าถึงได้ หรือเป็นกายธรรมพระอรหัตที่ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว ดังพระพุทธดำรัสว่า "วาเสฏฐะและภารัทวาชะ คำว่าธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของตถาคต." (ที.ปา.11/55/92)
    นี่ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้เจริญหรือผู้ทรงพรหมวิหารธรรมนั้นยังแตกต่างกันด้วยภูมิธรรม และภูมิปัญญาของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการแผ่พรหมวิหารก็ย่อมจะมีอานุภาพที่ไม่เท่ากัน ด้วยประการฉะนี้ เป็นต้นว่า พระนิพพานคือพระธรรมกายที่ได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ย่อมทรงพรหมวิหารธรรม และแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายได้อย่างกว้างขวางสุดประมาณ และมีอานุภาพสูงที่สุดยิ่งกว่าธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล

    และส่วนธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล หากแต่ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว ก็ย่อมทรงพรหมวิหารและแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสัตว์ทั้งหลาย ได้ดีกว่าผู้ที่ยังเป็นแต่เพียงโคตรภูบุคคลอยู่

    ธรรมกายที่ยังมิได้บรรลุมรรคผลในขั้นใดเลย หากแต่ได้พยายามเจริญภาวนาพิจารณาให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งในสัจจธรรมตามสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้มีความเข้าใจในทุกข์, ในเหตุแห่งทุกข์ ที่เรียกว่า สมุทัย, ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า นิโรธ, และในหนทางปฏิบัติเพื่อความดับเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่า มรรคมีองค์ 8 ได้แจ่มแจ้งเพียงใด ก็ย่อมจะเจริญและทรงพรหมวิหารได้มาก และสามารถแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายได้มากเพียงนั้น

    ด้วยเหตุนี้ การเจริญและแผ่พรหมวิหาร ในขณะที่จิตทรงสมาธิและได้เจริญปัญญาภายหลังจากการพิจารณาอริยสัจแล้ว จึงมีอานุภาพมากคือมีผลต่อผู้อื่นมาก และมีอานิสงส์ต่อผู้เจริญภาวนาเองมาก


    3. วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 ระดับฌาน
    ลำดับนี้จะแนะนำวิธีการเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌานแก่ผู้ที่ถึงธรรมกาย ซึ่งได้ฝึกหัดเจริญฌานสมาบัติแล้วต่อไป ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกายก็ให้น้อมใจตามไปได้ แต่ขอให้รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย ตรงกลางที่หมายจุดเล็กใสนั่นไว้เสมอ ก็จะได้ผลดีกว่าการเพียงแต่สวดบทแผ่พรหมวิหาร โดยที่ใจมิได้รวมหยุดเป็นสมาธิถูกศูนย์ถูกส่วน ณ ที่ศูนย์กลางกาย

    จึงขอให้ทุกท่านจงตั้งใจเจริญภาวนา แผ่พรหมวิหารธรรมต่อไป

    ผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกาย ก็ให้พยายามรวมใจหยุดในหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย ตรงที่หมายจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม หรือตรงกลางเครื่องหมายที่นึกให้เห็นด้วยใจ เป็นดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปเกตุดอกบัวตูม ขาวใสบริสุทธิ์ ณ ศูนย์กลางกายนั้นแหละ พยายามนึกให้เห็นใสละเอียด ทำจิตใจให้สว่างดุจกลางวัน แล้วก็คอยน้อมใจตามคำแนะนำต่อไป

    ส่วนผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้รวมใจหยุดในหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด แล้วพิสดารกาย เจริญฌานสมาบัติ พร้อมกันหมดทุกกายสุดกายหยาบ กายละเอียด ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต โดยอนุโลมและปฏิโลมหลายๆ เที่ยว เพื่อชำระธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ให้ใสละเอียด บริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ เที่ยวสุดท้ายให้เจริญฌานสมาบัติโดยอนุโลม เพียงรูปฌาน 4 พิจารณาสัจจะทั้ง 4 ในกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม และธรรมกายทำนิโรธดับสมุทัย โดยพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัต ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จนเป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ใสบริสุทธิ์

    แล้วน้อมเอาภพ 3 เข้ามาเป็นกสิณ คือเอามาตั้งไว้ตรงศูนย์กลางกาย ให้ใจของธรรมกายเพ่งลงไปที่ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็จะมีองค์ฌาน (เหมือนแผ่นกระจกใส) ปรากฏขึ้นรองรับหมดทุกกาย ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต ให้ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็นปฐมฌาน แล้วก็ขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนเต็มจักรวาล ให้ข่ายของญาณหว่านล้อมธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ เข้ามารวมที่ศูนย์กลางกายทั้งหมด ให้อายตนะภายใน ที่ตั้งความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้, ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้, ธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด ธาตุรู้ ของทุกกายตรงกันกับของเราหมด แล้วเพ่งพิจารณาโทษของการขาดเมตตาพรหมวิหารและคุณของเมตตาพรหมวิหารว่า ตัวเราเองปรารถนาในสุขสมบัติและคุณสมบัติ, มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลาย ก็มีความปรารถนาในความสุขเช่นนั้นเหมือนกัน ตัวเราเองไม่ปรารถนาความทุกข์เดือดร้อน จากการเบียดเบียนหรือเวรภัยใดๆ ผู้อื่นก็ไม่ปรารถนาความทุกข์เดือดร้อนเช่นกัน เมื่อจิตใจเปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหาร คือความรัก ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ที่จะให้อยู่ดีมีสุขด้วยกันแล้ว ก็แผ่ฌานและเมตตาพรหมวิหาร ด้วยจิตใจที่ละเอียดอ่อน บริสุทธิ์ สมบูรณ์ บริบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัตินั้น จากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเรา ไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลายให้หมดทั่วทั้งจักรวาล ให้ใสละเอียดหมด

    แล้วพิสดารกายทิพย์ในกายทิพย์ ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ในทิพย์ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายทิพย์ในทิพย์ก็ปรากฏขึ้นใหม่ ใจของกายธรรมก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง ศูนย์กลางกายทิพย์ในทิพย์ จนใสละเอียดหมดทุกกายถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต จนละวิตกวิจารได้ คงแต่ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็จะเห็นองค์ฌานใหม่ปรากฏขึ้นรองรับทุกกาย นี้เป็นทุติยฌาน ก็ให้ข่ายของญาณพระธรรมกายขยายกว้างออกไปจนเต็มจักรวาลอีก หว่านล้อมเอาธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลายให้มารวมอยู่ที่ศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดอีก แล้วเพ่งพิจารณาโทษของการขาดกรุณาธรรมและคุณของกรุณาพรหมวิหารว่า เราประจักษ์ในทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งของตัวเราเองด้วย ว่าเป็นเพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาครอบคลุมจิตใจอยู่ จึงเกิดกิเลส ตัณหา อุปาทานในสังขารธรรมทั้งหลาย จึงเป็นทุกข์ ด้วยความเกิด แก่ เจ็บ และตาย, เป็นทุกข์เพราะความที่ต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก และต้องประสบเข้ากับสิ่งที่ตนเกลียดชัง, เป็นทุกข์ด้วยความไม่สมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนาจะได้ จะมี จะเป็น, หรือเป็นทุกข์ที่ต้องได้รับผลจากอกุศลกรรม ได้แก่ เหตุวิบัติ บาปศักดิ์สิทธิ์ ภัยพิบัติ ภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ รวมทั้งการได้กำเนิดทุคคติ เช่น เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น และแม้แต่จะกำลังได้เสวยผลจากกุศลกรรม ตราบใดที่ยังไม่พ้นจากไตรวัฏฏะ คือ กิเลสวัฏฏะ กรรมวัฏฏะ และ วิปากวัฏฏะ แล้ว ก็ไม่วายที่จะต้องเสื่อมจากความสุขและสมบัติที่เคยได้รับ

    ตนเองปรารถนาที่จะพ้นจากทุกข์เหล่านั้นเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลายก็ย่อมปรารถนาที่จะพ้นทุกข์ภัยเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อจิตละเอียดอ่อน เปี่ยมด้วยกรุณาพรหมวิหาร คือความสงสาร ปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายรวมทั้งตัวเราเองด้วยได้พ้นทุกข์เหล่านี้ไปเสีย ดังนี้แล้ว ก็แผ่ฌานและกรุณาพรหมวิหารจากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเราเอง ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ขอให้ได้รู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์ ในเหตุแห่งทุกข์ แล้วก็ไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต เร่งประกอบความเพียรเพื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์นั้น กระทำนิโรธให้แจ้ง และเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลายด้วยปัญญาอันเห็นชอบเถิด ให้แผ่ฌานและกรุณาพรหมวิหารด้วยจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์และละเอียดอ่อนนั้นไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ใสละเอียดหมดทั่วทั้งจักรวาล

    แล้วพิสดารกายรูปพรหมในรูปพรหม ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหม พอใจหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายรูปพรหมในรูปพรหมปรากฏขึ้นใหม่ ใจของธรรมกายก็หยุดในหยุดกลางของหยุด กลางของกลางศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหม ในรูปพรหม จนใสละเอียดหมดทุกกาย ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัตจนละปีติได้ คงแต่สุขกับเอกัคคตา ก็จะปรากฏองค์ฌานใหม่บังเกิดขึ้นรองรับทุกกาย ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็น ตติยฌาน แล้วขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนเต็มจักรวาล หว่านล้อมเอาธาตุธรรมสรรพสัตว์ทั้งหลายมายังศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดอีก แล้วพิจารณาโทษของการขาดมุทิตา และคุณของการมีมุทิตาพรหมวิหารว่า เราปรารถนาที่จะไม่เสื่อมจากสุขสมบัติและคุณสมบัติอย่างไร และปรารถนาในความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น จากผลของทาน ศีล ภาวนา ขึ้นไปเป็นผลของ ศีล สมาธิ และปัญญา, อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา, ปฐมมรรค มรรคจิต และมรรคปัญญา, ธรรมโคตรภู, พระโสดาปัตติมรรค, โสดาปัตติผล, พระสกิทาคามิมรรค พระสกิทาคามิผล, พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล ยิ่งๆ ขึ้นไปเป็น พระอรหัตมรรค พระอรหัตตผล หรือถึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลายก็ย่อมปรารถนาในสุขสมบัติและคุณสมบัติเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อเพ่งพิจารณาจนจิตละเอียดอ่อนเปี่ยมด้วยมุทิตาพรหมวิหารแล้ว ก็แผ่ฌานและมุทิตาพรหมวิหารด้วยจิตใจที่ใสละเอียดบริสุทธิ์ จากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเราไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลาย ให้ใสละเอียดไปทั้งหมด

    แล้วพิสดารกายอรูปพรหมในอรูปพรหมต่อไป ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมในอรูปพรหม พอหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายอรูปพรหมในอรูปพรหม ก็ปรากฏขึ้นใหม่ ใจของธรรมกายก็หยุดนิ่งกลางของกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมในอรูปพรหม ใสละเอียดหมดทุกกายถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต จนสุขหมดไป คงแต่เอกัคคตา ก็จะเห็นองค์ฌานใหม่เกิดขึ้นรองรับทุกกาย เพ่งให้ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็น จตุตถฌาน แล้วก็ขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนสุดจักรวาล หว่านล้อมเอาธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลายเข้ามารวมที่ศูนย์กลางกายสุดละเอียดต่อไปอีก พิจารณาโทษของการขาดอุเบกขาพรหมวิหาร และคุณของการมีอุเบกขาพรหมวิหารว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีกรรมเป็นของตนเอง เป็นทายาทของกรรม เป็นผู้รับผลกรรมเอง เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย ผู้ใดทำกรรมอันใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น เมื่อเพ่งพิจารณาจนจิตละเอียดอ่อน เปี่ยมด้วยอุเบกขาพรหมวิหารแล้ว ก็แผ่ฌานและอุเบกขาพรหมวิหารนั้นไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ใสละเอียดทั่วกันหมดทั้งจักรวาล

    นี้เป็นวิธีเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌาน เป็นการเจริญภาวนาที่มีผลมากแก่ผู้อื่น และมีอานิสงส์มากแก่ผู้เจริญภาวนา แม้ผู้เจริญภาวนาที่มีสมาธิในระดับที่ต่ำอยู่ ก็สามารถน้อมใจเจริญภาวนาตามนี้ได้ แต่ต้องรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่ศูนย์กลางกาย ตรงกลางที่หมายจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม หรือตรงกลางนิมิตที่ตรึกนึกให้เห็นด้วยใจ เป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูมก็ได้ แล้วพยายามเพ่งพิจารณาตรงศูนย์กลางนิมิตนั้น ทำจิตใจให้สว่างดุจกลางวัน นึกให้เห็นนิมิตนั้นใสละเอียด แล้วก็แผ่ความใสละเอียดนั้นไปให้กว้างที่สุด เท่าที่จะกระทำได้ อย่างนี้ก็เป็นผลมาก และมีอานิสงส์มากยิ่งกว่าการสักแต่กล่าวคำแผ่พรหมวิหารออกไป โดยที่ส่งใจไปจรดที่อื่นมากมายนัก

    การเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌานนี้ มีอานิสงส์และอานุภาพมาก เมื่อกระทำจนชำนาญมากเข้า ก็จะสามารถแผ่พรหมวิหารนี้ไปยังสรรพสัตว์ในจักรวาลอื่น โดยอธิษฐานจิตซ้อนเข้ามาในลักษณะเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว ให้ศูนย์กลางตรงกันหมด ทับทวีทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณทีเดียว


    -------------------------------------------------------------


    ราหุล ! เธอจง เจริญเมตตาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่, พยาบาท จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญกรุณาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่, วิหิงสา (ความคิดเบียดเบียน) จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญมุทิตาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่, อรติ (ความไม่ยินดีด้วยใครๆ) จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญอุเบกขา เถิด. เมื่อเธอเจริญอุเบกขาอยู่,ปฏิฆะ (ความหงุดหงิดแห่งจิต) จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญอสุภะภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญอสุภะภาวนาอยู่, ราคะ จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญอนิจจสัญญาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่, อัสมิมานะ (ความสำคัญว่าตัวตนและของตน) จักละไป.
    **********************
    - ม. ม. ๑๓/๑๔๐/๑๔๕.
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    [​IMG]
    การสืบทอดวิชชาธรรมกาย

    ๑.ในขั้น “สมถะ” หรือขั้นถึง “๑๘ กาย” แล้วเริ่มพิจารณาสภาวธรรมนั้น

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจะถ่ายทอดให้กับบุคคลทั่วไปเป็นประจำ

    แต่ส่วนมากจะเป็นวิธีปฏิบัติเบื้องต้น...เป็นหลักใหญ่



    ๒.ในส่วน “วิปัสสนา” นั้น

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อจะใช้วิธี “แสดงพระธรรมเทศนา”

    โดยท่านจะยกเอา “พระพุทธสุภาษิต” หรือ “พุทธวจนะ” มาแสดงก่อน

    แล้วก็อธิบายพุทธวจนะนั้น ทั้งในเชิง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ



    สำหรับ “ปริยัติ” นั้น อธิบายตามพระบาลี ตามหลักพระไตรปิฎก



    ส่วน “ปฏิบัติ” นั้น หลวงพ่อทั้งปฏิบัติเอง และสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติให้ทั้งรู้และเห็น

    เพราะฉะนั้นในการเทศน์ จึงเอาสิ่งที่ท่าน “เห็น” และสิ่งที่ท่าน “รู้” นำมาแสดง

    ซึ่งไม่มีที่ไหนแสดงถึงขนาดนี้ และผลของการปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร...ท่านก็เอามาแสดง

    คือ ท่านแสดงพร้อมทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ



    เรื่อง "มหาสติปัฏฐาน ๔" ส่วนใหญ่จะอยู่ในพระธรรมเทศนา ซึ่งมักจะสอนคนทั่วไป

    มีเหมือนกันในบางพระธรรมเทศนา จะมี “วิชชาชั้นสูงล้ำๆ” อยู่ด้วย

    แต่ผู้ฟังอาจฟังเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง

    ผู้ที่ได้ ๑๘ กายแล้ว ตรึกตามก็พอจะเข้าใจได้



    ยังมีการถ่ายทอดอีกช่วงหนึ่งที่สำคัญมาก สำหรับ “วิชชาธรรมกายชั้นสูง” คือ

    หลวงพ่อจะสอนวิชชาให้กับพระสงฆ์ที่เป็นวิชชา...ที่หลวงพ่อวางใจด้วย

    คือ ต้องเป็นธรรมกายด้วย และต้องเป็นธาตุธรรมที่หลวงพ่อ...ตรวจดีแล้ว



    บางท่านแม้เป็นธรรมกาย หลวงพ่อก็ไม่ถ่ายทอดให้

    ท่านอาจจะมีญาณพิเศษของท่าน ว่าคนนี้ถ่ายทอดไปแล้วแทนที่จะเป็นผลดี...ก็อาจไม่ดี

    คือ จะเป็นฐานของภาคมารไป



    ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอด เท่าที่ทราบมีทั้งพระสงฆ์ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา



    ทางฝ่าย "พระสงฆ์" ที่ได้รับการ “ถ่ายทอดวิชชาชั้นสูง” คือ

    - พระมหาจัน เปรียญธรรม ๕ ประโยค และท่านยังได้ “จดบันทึก” ไว้ด้วย

    - พระครูวินัยธร (ชั้ว โอภาโส)

    - พระภาวนาโกศลเถร (ธีระ ธมฺมธโร)

    - พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)

    - ฯลฯ



    เฉพาะเท่าที่ได้ยินชื่อในฝ่าย “อุบาสก , อุบาสิกา” มี

    - อาจารย์แม่ชีปุก มุ้ยประเสริฐ

    - คุณยายทองสุข สำแดงปั้น

    - คุณครูญาณี ศิริโวหาร

    - คุณยายถนอม อาสไวย์

    - คุณยายเธียร ธีระสวัสดิ์

    - คุณครูฉลวย สมบัติสุข

    - คุณครูจันทร์ ขนนกยูง

    - คุณครูตรีธา เนียมขำ

    - คุณกุล ผ่องสุวรรณ



    ในการถ่ายทอดนั้น มีทั้งได้รับมาก ได้รับน้อย คือ

    ในวิชชาชั้นสูง หลวงพ่อจะสั่งวิชชา ให้ทำวิชชาแก้เรื่องนั้นเรื่องนี้ แก้โรคบ้าง แก้ปัญหาบ้านเมืองบ้าง เป็นต้น

    สมัยนั้นมีสงครามด้วย วิชชาธรรมกายจึงได้ถูกนำมาใช้เพื่อสันติสุขของประเทศชาติเป็นส่วนรวม









    วิชชาทั้งหมดทุกระดับนั้น



    เบื้องต้นใครๆก็ได้รับ...ไม่มีปัญหา



    เบื้องกลาง คือ ระดับวิปัสสนา ....ที่เป็นพระธรรมเทศนานั้น

    ผู้ที่บันทึกไว้คือ ท่านเจ้าคุณพิพัฒน์ธรรมคณี โดยท่านได้บันทึกเทปไว้

    ซึ่งท่านได้มอบเทปที่บันทึกไว้ทั้งหมดแก่ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)



    และท่านพระมหาจัน เปรียญธรรม ๕ ประโยค ซึ่งจดวิชชาเอาไว้ที่เป็น “วิชชาชั้นสูง” หรือ “วิชชาครู” นั้น

    ก็ตกทอดมายัง พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) เช่นกัน



    เพราะฉะนั้น หลวงพ่อพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)

    รองเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    จึงเป็นที่รวมของวิชชาธรรมกายตั้งแต่ เบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูง



    ขณะเดียวกันท่านก็ได้ “ถ่ายทอดวิชชา” ให้กับ พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล)

    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    .... ซึ่งมีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

    โดยตรงก็ “สอน” กัน

    โดยอ้อมก็ให้ “รวบรวมเรียบเรียงขึ้นเป็นตำรา”

    ซึ่งได้รวบรวมเรียบเรียงใน ระดับสมถวิปัสสนา และ มหาสติปัฏฐาน ๔ รวมทั้งพระธรรมเทศนา



    หลวงพ่อพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) ท่านได้ให้ความเมตตาไว้วางใจแก่

    พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ร่วมกับ พระครูสมุห์ณัฐนันท์ กุลสิริ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    ในการรวบรวม “วิชชาธรรมกายชั้นสูง” คือ มรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๑ / มรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๒



    ต่อมาท่านก็ให้รวบรวม "วิชชาชั้นสูง เล่มที่ ๓” อีก

    และได้จัดพิมพ์เป็นเล่มไว้แจกแก่บุคคล (ที่ได้ธรรมกายแล้ว)

    หลังจากที่ได้มาฝึกปฏิบัติกับท่านพอสมควรแล้ว







    การถ่ายทอดวิชชาธรรมกาย...ที่สืบทอดต่อกันมานั้น มีข้อสังเกตว่า



    ๑. ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอด มีภูมิธรรมภูมิปัญญา...ไม่เท่ากัน

    การรับ......จึงไม่เท่ากัน



    ๒. วาระของการสอนออกไป

    แม้บางคนจะมีภูมิธรรมภูมิปัญญาสูง บางทีมาในขณะในสมัยที่กำลังแสดงธรรมนั้น บางทีก็ไม่ได้มา

    และบางคนที่มีภูมิธรรมปานกลางก็มา ในส่วนที่กำลังแสดงที่สำคัญบ้าง ไม่สำคัญบ้าง

    สรุปง่ายๆว่า แต่ละคนมีโอกาสเข้ามารับฟัง มาเรียนรู้ธรรมปฏิบัติ

    โดยเข้ามาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน....จึงได้ธรรมะไปก็ไม่เท่ากันอยู่ดี



    ๓. ธาตุธรรมแก่กล้าไม่เท่ากัน

    อันนี้เป็นพื้นของเก่า หรือจะกล่าวว่ามี “บุพเพกตปุญญตา” ไม่เท่ากัน

    แล้วแต่ใครสร้างบารมีมาแบบไหน



    บางคนสร้างบารมีมาเพื่อเป็น “ปกติสาวก” เขาก็รับช่วงหนึ่งสมบูรณ์



    บางคนสร้างบารมีมาในระดับสูงกว่านั้น คือ

    ระดับ “พุทธอุปัฏฐาก” หรือว่า “อัครสาวก” หรือ “อสีติมหาสาวก” เขาก็รับได้มากกว่า



    บางคนก็ตั้งจิตอธิษฐานเข้าสู่ “พุทธภูมิ” ท่านเหล่านี้ก็ได้รับมาก



    มันจึงเป็นไปตามธาตุธรรมที่แก่กล้าไม่เท่ากัน

    และในแต่ละระดับที่ต่างกันนี้ บางทีผู้ที่ปรารถนาต่ำแต่บารมีเต็ม...กลับรับได้ชัดเจน

    เหมือนวิทยุเครื่องเล็กจิ๋ว...แต่ว่ารับได้ดี



    บางคนแม้จะสร้างบารมีมาในระดับปานกลาง อธิษฐานมาในระดับกลาง ระดับสูง

    อาจจะรับได้ดีหรือไม่ได้ดี...เท่าคนที่อธิษฐานบารมีน้อยๆก็ได้

    เพราะบารมียังไม่เต็มธาตุธรรม ยังไม่แก่



    สรุปใน ๓ เหตุ ๓ ปัจจัยนี้

    ทำให้ผู้รับการถ่ายทอด...ได้รับไปสมบูรณ์ไม่เท่ากัน

    เพราะฉะนั้นผลก็ออกไปตามส่วนอย่างนี้



    เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ หลวงพ่อพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)

    และ หลวงพ่อพระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) มีความรู้สึกว่า

    “วิชชาธรรมกายที่บริสุทธิ์ และสมบูรณ์ถูกต้อง” ... สมควรที่จะได้รับการถ่ายทอดให้กว้างขวางขึ้น

    เผยแพร่ให้มากขึ้น และทำให้เป็นหลักเป็นฐาน

    เพื่อให้เป็นเอกสาร และพยานบุคคลอ้างอิงได้ต่อไปในอนาคต



    เพราะมิฉะนั้นแล้ว


    วิชชาธรรมกายอาจจะถูกบุคคล หรือ ศิษยานุศิษย์ที่รับไปไม่เท่ากัน

    หรือ บกพร่อง เข้าใจไม่เท่าเทียมกัน หรือ เข้าใจผิดบ้างถูกบ้าง

    นำออกไปปฏิบัติไปถ่ายทอด ที่ไขว้เขวออกไปนอกลู่นอกทางของแนววิชชาธรรมกาย (ซึ่งมีอยู่ตรงกับพระไตรปิฎก) ทำให้เป็นที่เสื่อมศรัทธาของบุคคลได้




    a.jpg



    ทุก1-14 พฤษภาคม กลางปีและ ทุก1-14 ธันวาคม


    อบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี (ฆราวาสเข้าร่วมอบรมได้) ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชุบรี
    - ขั้นพื้นฐาน เพื่อให้จิตสงบ พบดวงใส
    - ขั้นกลาง เพื่อต่อจากดวงใส เป็น 18 กาย และต่อไปถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า
    - ขั้นสูง เพื่อตรวจภพตรวจจักรวาล เจริญวิชชา และละกิเลสในใจตน
    นำโดย พระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล, ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม พระวิทยากร และอุบาสก อุบาสิกาวิทยากร ที่ครูบาอาจารย์คัดเลือกให้สอนสมาธิได้

    - ปฏิบัติธรรมรวมกลุ่มใหญ่
    - ปฏิบัติธรรมแยกกลุ่มย่อยกับวิทยากร
    - ฟังธรรมจากพระมหาเถระ






    a.jpg
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    a.jpg





    กัณฑ์ที่ ๓๖
    โพชฌงค์ปริตร
    วันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๗
    ...............................................................




    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

    ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สญฺจิจฺจ ปาณํ ชีวีตา โวโรเปตา ฯ เตน สจฺเจน โสตฺถิ เต โหตุ โสตฺถิ คพฺพสฺส ฯ
    โพชฺฌงฺโค สติสงฺขาโต ธมฺมานํ วิจโย ตถา
    วิริยมฺปีติปสฺสทฺธิ โพชฺฌงฺคา จ ตถาปเร
    สมาธุเปกฺขโพชฺฌงฺคา สตฺเต เต สพฺพทสฺสินา
    มุนินา สมฺมทกฺขาตา ภาวิตา พหุลีกตา
    สํวตฺตนฺติ อภิญฺญาย นิพฺพานาย จ โพธิยา
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ฯ
    เอกสฺมึ สมเย นาโถ โมคฺคลฺลานญฺจ กสฺสปํ
    คิลาเน ทุกฺขิเต ทิสฺวา โพชฺฌงฺเค สตฺต เทสยิ
    เต จ จํ อภินนฺทิตฺวา โรคา มุจฺจึสุ ตงฺขเณ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ฯ
    เอกทา ธมฺมราชาปิ เคลญฺเญนาภิปีฬิโต
    จุนฺทตฺเถเรน ตญฺเญว ภณาเปตฺวาน สาทรํ
    สมฺโมทิตฺวา จ อาพาธา ตมฺหา วุฏฺฐาสิ ฐานโส
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ฯ
    ปหีนา เต จ อาพาธา ติณฺณนฺนมฺปิ มเหสินํ
    มคฺคาหตกิเลสา ว ปตฺตานุปฺปตฺติธมฺมตํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทาติ ฯ


    -------------------------------------------


    ณ บัดนี้อาตมภาพจักได้แสดงความจริงความสัตย์ ซึ่งปรากฏชัดตามตำรับตำราอันมีมาในโพชฌงคปริตรจะแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอเป็นเครื่องปฏิการสนองประคองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิตบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า เริ่มต้นธรรมเทศนาว่า



    ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สญฺจิจฺจ ปาณํ เป็นอาทิ นี้เป็นคำของพระอังคุลิมาลเถระท่านแสดงไว้ ท่านเชิดความจริงความสัตย์ของท่าน ให้พุทธบริษัทจำไว้เป็นเนติแบบแผน

    เมื่อครั้งหนึ่งพระอังคุลิมาลเถระ ไปพบหญิงปวดครรภ์เต็มที่จะคลอดบุตร แต่มันคลอดไม่ออก มันจะถึงกับตายร้องไห้ พระอังคุลิมาลเถระช่วย พระอังคุลิมาลเถระจึงได้เปล่งวาจาช่วยหญิงคลอดบุตรนั้นว่า

    ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สญฺจิจฺจ ปาณํ ชีวีตา โวโรเปตา เตน สจฺเจน โสตฺถิ เต โหตุ โสตฺถิ คพฺพสฺส

    แปลเป็นสยามภาษาว่า ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาแล้ว โดยชาติเป็นอริยะ นาภิชานามิ ไม่มีใจแกล้งเลยที่จะปลงสัตว์ที่มีชีพและชีวิต ด้วยความสัตย์อันนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่าน พอขาดคำเท่านี้ หญิงนั้นคลอดบุตรผลุดทีเดียว หายจากทุกข์ภัยกัน การคลอดบุตร

    เมื่อคลอดเสียแล้วมันก็หายทุกข์หายภัย หายลำบากแก่มารดาผู้คลอด เหมือนท้องผูกถ่ายอุจจาระไม่ออก มันก็เดือดร้อนแก่เจ้าของ แต่พอออกมาเสียแล้วก็หมดทุกข์กัน นี้ด้วยความสัตย์อันนี้แหละคลอดบุตรก็ ง่ายเต็มที นี่บทต้น

    บทที่สองรองลงไป นี่พระองค์ทรงรับสั่งเองว่า
    โพชฺฌงฺโค สติสงฺขาโต ธมฺมานํ วิจโย ตถา
    วิริยมฺปีติปสฺสทฺธิ โพชฺฌงฺคา จ ตถาปเร
    สมาธุเปกฺขโพชฺฌงฺคา สตฺเต เต สพฺพทสฺสินา
    มุนินา สมฺมทกฺขาตา ภาวิตา พหุลีกตา
    สํวตฺตนฺติ อภิญฺญาย นิพฺพานาย จ โพธิยา
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ฯ


    แปลเป็นสยามภาษาว่า โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ

    สติสัมโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    วิริยสัมโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    ปีติสัมโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    ปัสสัทธิโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    สมาธิสัมโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    เหล่านี้ อันพระมุนีเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงกล่าวไว้ชอบแล้ว

    ภาวิตา พหุลีกตา อันบุคคลเจริญธรรมให้มากแล้ว
    สํวตฺตนฺติ ย่อมเป็นไปพร้อม
    อภิญฺญาย เพื่อความรู้ยิ่ง
    นิพฺพานาย เพื่อนิพพาน
    โพธิยา เพื่อความตรัสรู้ ด้วยความสัตย์อันนี้ ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ นี่เป็นบทต้นของโพชฌงค์



    บทที่สองรองลงไป
    เอกสฺมึ สมเย นาโถ โมคฺคลฺลานญฺจ กสฺสปํ
    คิลาเน ทุกฺขิเต ทิสฺวา โพชฺฌงฺเค สตฺต เทสยิ
    เต จ จํ อภินนฺทิตฺวา โรคา มุจฺจึสุ ตงฺขเณ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ฯ
    เอกสฺมึ สมเย ในสมัยอันหนึ่ง
    นาโถ พระโลกนาถเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะและ พระกัสสปะอาพาธถึงซึ่งความเวทนาแล้ว ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ ท่านทั้ง ๒ คือ พระโมคคัลลานะ กับพระกัสสปะ ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า โรคก็หายไปในขณะนั้น ด้วยอำนาจความกล่าวสัตย์อันนี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านในกาลทุกเมื่อ



    บทที่สาม ต่อไป
    เอกทา ธมฺมราชาปิ เคลญฺเญนาภิปีฬิโต
    จุนฺทตฺเถเรน ตญฺเญว ภณาเปตฺวาน สาทรํ
    สมฺโมทิตฺวา จ อาพาธา ตมฺหา วุฏฺฐาสิ ฐานโส
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ฯ
    เอกทา ครั้งหนึ่ง ธมฺมราชาปิ แม้พระธรรมราชาคือพระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของธรรม
    เคลญฺเญนาภิปีฬิโต ผู้อันอาพาธเบียดเบียนแล้ว
    จุนฺทตฺเถเรน ตญฺเญว ภณาเปตฺวาน ทรงรับสั่งให้พระจุนทเถรแสดงซึ่งโพชฌงค์นั้นแหละ พระองค์ทรงสดับโพชฌงค์เช่นนั้นแล้วร่าเริงบันเทิงพระทัยอาพาธก็หายไปโดยฐานะอันนั้น
    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์อันนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
    ปหีนา เต จ อาพาธา ติณฺณนฺนมฺปิ มเหสินํ
    มคฺคาหตกิเลสา ว ปตฺตานุปฺปตฺติธมฺมตํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทาติ ฯ
    ปหีนา เต จ อาพาธา อาพาธทั้งหลายเหล่านั้น
    ติณฺณนฺนมฺปิ มเหสินํ มคฺคาหต กิเลสา ว ปตฺตา
    อันท่านผู้แสวงหาซึ่งคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ ท่าน ถึงซึ่งความดับหายไป ดุจกิเลส อันมรรคบำบัดแล้ว หรืออันมรรคกำจัดแล้ว ด้วยอำนาจสัจวาจานี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านจงทุกเมื่อ

    นี่แปลมคธภาษาเป็นสยามภาษาฟังเพียงแค่นี้ ท่านผู้แปลบาลีฟังออกเข้าใจแล้ว แต่ว่าท่านผู้ไม่ได้เรียนอรรถแปลแก้ไขยังไม่เข้าใจ ต้องอรรถาธิบายลงไปอีกชั้นหนึ่ง



    ในบทต้นว่าพระอังคุลิมาลเถระเจ้า ท่านเป็นผู้กระทำบาปหยาบช้ามากนัก ก่อนบวชในพระธรรมวินัยของพระศาสดา ฆ่ามนุษย์เสีย ๙๙๙ ชั้นต้นก็ทำดีมา ได้เล่าเรียนศึกษาวิชา จวนจะสำเร็จแล้ว ถูกอาจารย์ลงโทษจะทำลายชีวิตเสีย เกิดต้องทำกรรมหยาบช้าลามก เศร้าโศกเสียใจเหมือนกัน ฆ่ามนุษย์เกือบพัน เก้าร้อยเก้าสิบเก้าคน

    พระทศพลเสด็จไปทรมาน อังคุลิมาลโจรนั้นละพยศร้าย กลับกลายบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา
    ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน

    ชาวบ้านชาวช่องกลัวกันนัก ขึ้นชื่อว่าอังคุลิมาลโจรละก็ ซ่อนตัวซ่อนเนื้อทีเดียว กลัวจะทำลายชีวิตเสีย กลัวนักกลัวหนา กลัวยิ่งกว่าเสือยิ่งกว่าแรดไปอีก เพราะเหตุว่าอังคุลิมาลโจรผู้นี้เป็นคนร้ายสำคัญ ถ้าว่าจะฆ่าใครแล้วไม่กลัวใครทั้งนั้น ฆ่าแล้วตัดเอาองคุลีไปร้อย จะไปเรียนวิชาเป็นเจ้าโลก

    เมื่อจำนนฤทธิ์พระบรมศาสดา เข้ายอมบวชในพระธรรมวินัยของพระศาสดาแล้ว บวชแล้วไปบิณฑบาต หญิงท้องแก่ท้องอ่อนไม่เข้าใจ พอได้ยินข่าวว่าพระองคุลิมาลมาละก็ซ่อนเนื้อซ่อนตัว วิ่งซุกวิ่งซ่อนกัน ได้ข่าวว่าหญิงท้องแก่ลอดช่องรั้ว ลูกทะลักออกมาทีเดียว ด้วยกลัวพระองคุลิมาล




    คราวนี้ท่านไปในที่สมควร หญิงที่กำลังจะคลอดบุตรอยู่นั่นหนีไม่พ้น ไปไม่ได้ก็ร้องให้องคุลิมาลช่วย

    พระองคุลิมาลเป็นพระอรหันต์แล้ว สงสารหญิงที่กำลังคลอดบุตรนั้น ก็กล่าวคำสัตย์คำจริงขึ้นว่า

    ยโตหํ ภคินิ ว่าดูกรน้องหญิง กาลใดเมื่อได้เกิดแล้วโดยชาติเป็นอริยะ ไม่มีความแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตเลย ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่าน

    ขาดคำเท่านี้ หญิงนั้นคลอดบุตรผลุดทีเดียว นี่ยกข้อไหน?
    ให้จำไว้เป็นตำรับตำรา เป็นภิกษุก็ดี เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ดี ในพระธรรมวินัยของพระศาสดา ในศาสนาของพระพุทธเจ้า นี้เป็นคำของพระอรหันต์ พระองคุลิมาลท่านเป็นพระอรหันต์เสียแล้ว

    ท่านจะกล่าวถ้อยคำว่าตั้งแต่ท่านเกิดมาไม่ได้ฆ่าสัตว์เลยน่ะ ไม่ได้มีใจแกล้งฆ่าสัตว์เลยน่ะ ท่านกล่าวไม่ได้ ท่านเป็นคนร้ายมา พึ่งกลับมาเป็นคนดี เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อเกิดเป็นพระอรหันต์แล้ว

    ท่านจึงได้ชี้ชัดว่า จำเดิมแต่เราเกิดแล้วโดยชาติเป็นอริยะ ไม่มีความแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตเลย นี่ความจริงของท่าน ท่านยกเอาความจริงอันนี้แหละขึ้นเชิด ที่ท่านเป็นผู้ประเสริฐ เป็นอริยบุคคลในธรรมวินัยของพระศาสดา ขอความจริงอันนี้แหละจงบันดาลเถิด

    ท่านขอความจริงอันนี้ อธิษฐานด้วยความจริงอันนี้ พอขาดคำของท่านเท่านั้นลูกคลอดทันที นี่ความสัตย์ยกความจริงขึ้นพูด



    ไม่ใช่แต่พระองคุลิมาลเท่านั้นที่ยกความจริงขึ้นพูด หญิงแพศยาทำฤทธิ์ทำเดชได้ยกความจริงขึ้นพูดเหมือนกัน

    หญิงแพศยาคนหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินยกพยุหเสนาไปพักอยู่ที่แม่น้ำใหญ่ ว่ายข้ามก็จะไม่พ้น น้ำไหลเชี่ยวเป็นฟอง ไหลปราดทีเดียว เมื่อเขาตั้งพลับพลาให้พักอยู่ที่คันแม่น้ำใหญ่เช่นนั้น

    ท่านทรงดำริว่า แม่น้ำใหญ่ไหลเชี่ยวขนาดนี้จะมีใครผู้ใดผู้หนึ่งอาจสามารถจะทำให้น้ำไหลกลับได้บ้าง ทรงดำริดังนี้ รับสั่งแก่มหาดเล็กเด็กชายของพระองค์ มหาดเล็กเด็กชายของพระองค์ก็ไปเที่ยวป่าวร้องหาว่าผู้ใดใครผู้หนึ่งอาจสามารถทำให้น้ำในแม่น้ำนี้ไหลกลับขึ้นได้บ้าง

    หญิงแพศยาคนหนึ่งรับทีเดียว ว่าฉันเองจะทำให้น้ำไหลกลับได้ เพราะนางเป็นแพศยาก็จริงมั่นใจว่า ชายคนใดไม่ว่าชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นต่ำ
    ให้เงินเพียงค่าบาทหนึ่งปฏิบัติเพียงเท่านี้
    ให้เงินค่าสองบาทปฏิบัติเพียงเท่านี้
    สามบาทปฏิบัติเพียงเท่านี้
    พอแก่ค่าของเงินเท่านั้น เหมือนกันไม่ได้ขาดตกบกพร่อง
    ไม่ว่าชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นต่ำ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ทำไปตามหน้าที่ของตัว ความสัตย์มีอย่างนี้

    นางเมื่อราชบุรุษพาไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินทรงรับสั่งว่า เจ้าหรืออาจจะทำให้น้ำไหลกลับได้

    พะย่ะค่ะหม่อมฉันอาจสามารถจะทำให้น้ำไหลกลับได้
    เจ้าจะต้องการอะไร ธูปเทียนดอกไม้จะหาให้ ถ้าเจ้าทำน้ำให้ไหลกลับได้ตามคำกล่าวของเจ้าแล้ว เราจะรางวัลให้หนักมือทีเดียว ถ้าว่าเจ้าทำน้ำไหลกลับไม่ได้ เจ้าจะมีโทษหนักทีเดียว

    นางจุดธูปเทียนตั้งสัตยาธิษฐานหันหน้าไปทางด้านแม่น้ำ ยกเอาความสัตย์นั่นเอง อธิษฐานว่า

    เดชะบุญญาภินิหารความสัตย์ ความจริงของหม่อมฉัน ได้สั่งสมอบรมมาตั้งแต่เป็นหญิงแพศยา ได้ปฏิบัติชายผู้หนึ่งผู้ใดที่มาหาข้าพเจ้า

    ข้าพเจ้าปฏิบัติโดยค่าควรแก่บาทหนึ่ง ควรแก่สองบาท ควรแก่สามบาท ตามหน้าที่ความจริงทำอยู่ดังนี้ ไม่ได้เคลื่อนคลาดไปแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าว่าความสัตย์จริงอันนี้ของหม่อมฉันจริงดังหม่อมฉันอธิษฐานดังนี้แล้ว

    ขออำนาจความสัตย์นี้ จงบันดาลให้น้ำไหลกลับโดยฉับพลันเถิด พออธิษฐานขาดคำเท่านั้น น้ำไหลกลับอู้ ไหลลงเชี่ยวเท่าใด ก็ไหลขึ้นเชี่ยวเท่านั้นเหมือนกัน พอกันทีเดียว

    พระเจ้าแผ่นดินเห็นอัศจรรย์เช่นนั้น ก็ให้เครื่องรางวัลแก่หญิงแพศยานั่นอย่างพอใจ ให้เป็นนายหญิงแพศยาต่อไป

    แล้วก็ให้บ้านส่วยสำหรับพักพาอาศัยอยู่ ไม่ขาดตกบกพร่องใดๆ ละ เป็นสุข สำราญ เบิกบานใจทีเดียว หญิงแพศยาผู้นั้น

    นี่ความสัตย์โดยความชั่วยังเอามาใช้ได้ ส่วนพระองคุลิมาลเถระเจ้านี้
    ท่านยกความสัตย์ที่ได้บรรลุพระอรหันต์ขึ้นอธิษฐาน หญิงคลอดบุตรไม่ออก พอขาดคำหญิงคลอดบุตรผลุดออกไป อัศจรรย์อย่างนี้


    นี่ใช้ความสัตย์อย่างนี้ ติดขัดเข้าแล้วอย่าเที่ยวใช้เรื่องเลอะๆ เหลวๆ บนผีบนเจ้า
    นั่นไม่ได้ยินได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เลย พวกนั้นไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเลย ความเห็นจึงได้เลอะเทอะเหลวไหลเช่นนั้น ไม่ถูกหลักถูกฐาน ถูกทางพุทธศาสนา
    ถ้าว่ารู้จักหลักทางพระพุทธศาสนาแล้ว ต้องยกขึ้นพูดความสัตย์ความจริงนั่นเป็นข้อสำคัญ





    ถ้าความบริสุทธิ์ของศีลมีอยู่ก็ต้องยกความบริสุทธิ์นั่นแหละขึ้นพูด
    หรือความบริสุทธิ์ของสมาธิมีอยู่ ก็ยกความบริสุทธิ์ของสมาธิขึ้นพูดขึ้นอธิษฐาน

    หรือแม้ว่าความจริงของปัญญามีอยู่ก็ยกความจริงของปัญญานั้นขึ้นอธิษฐาน
    หรือความสัตย์ความจริงความดีอันใดที่ทำไว้แน่นอนในใจของตัว ให้ยกเอาความดีอันนั้นแหละ ขึ้นอธิษฐานตั้งอกตั้งใจ บรรลุความติดขัดทุกสิ่งทุกประการ ให้รู้จักหลักฐานดังนี้


    นี่ในเรื่องพระองคุลิมาลเถระเจ้าเป็นสาวกของพระบรมศาสดา พระศาสดาทรงรับสั่งไว้ในโพชฌงค์กถา หรือโพชฺฌงฺคปริตตํ นั้น ปรากฏว่า โพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ ตั้งแต่สติจนกระทั่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทั้ง ๗ ประการเหล่านี้แหละ อันพระมุนีเจ้าผู้เห็นธรรมทั้งสิ้น ได้กล่าวไว้ชอบแล้ว

    ถ้าว่าบุคคลใดเจริญขึ้นกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน เพื่อความตรัสรู้ ความจริงอันนี้ ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้แหละขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ ข้อนี้เป็นข้อสำคัญ

    สติสัมโพชฌงค์ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้บรรลุมรรคผลสมมาดปรารถนา
    ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    วิริยสัมโพชฌงค์
    ปีติสัมโพชฌงค์
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    สมาธิสัมโพชฌงค์
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์



    สติสัมโพชฌงค์ เราต้องเป็นคนไม่เผลอสติเลย เอาสตินิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ตั้งสติตรงนั้นทำใจให้หยุด ไม่หยุดก็ไม่ยอม ทำให้หยุดไม่เผลอทีเดียว ทำจนกระทั่งใจหยุดได้



    นี่เป็นตัวสติสัมโพชฌงค์แท้ๆ ไม่เผลอเลยทีเดียว ที่ตั้งที่หมาย หรือกลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สะดือทะลุหลังขวา ทะลุซ้าย กลางกั๊กนั่นใจหยุดตรงนั้น

    เมื่อทำใจหยุดตรงนั้น ไม่เผลอสติทีเดียว ระวังใจหยุดนั้นไว้ นั่งก็ระวัง ใจหยุด นอนก็ระวังใจหยุด เดินก็ระวังใจหยุด ไม่เผลอเลย นี่แหละตัวสติ สัมโพชฌงค์แท้ๆ จะตรัสรู้ต่างๆ ได้เพราะมีสติสัมโพชฌงค์อยู่แล้ว

    ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อสติใจหยุดนิ่งอยู่ก็สอดส่องอยู่ ความดีความชั่วจะเล็ดลอดเข้ามาท่าไหน ความดีจะลอดเข้ามา หรือความชั่วจะลอดเข้ามา

    ความดีลอดเข้ามา ก็ทำใจให้หยุด
    ความชั่วลอดเข้ามา ก็ทำใจให้หยุด
    ดีชั่วไม่ผ่องแผ้วไม่เอาใจใส่ ไม่กังวล ไม่ห่วงใย ใจหยุดระวังไว้ ไม่ให้เผลอก็แล้วกัน นั่นเป็นตัวสติวินัย ที่สอดส่องอยู่นั่นเป็นธรรมวิจยสัมโพชฌงค์

    วิริยสัมโพชฌงค์ เพียรรักษาใจหยุดนั้นไว้ไม่ให้หาย ไม่ให้เคลื่อนทีเดียว ไม่เป็นไปกับความยินดียินร้ายทีเดียว


    ความยินดียินร้ายเป็น อภิชฌา โทมนัส เล็ดลอดเข้าไปก็ทำใจหยุดนั่นให้เสียพรรณไปให้เสียผิวไป ไม่ให้หยุดเสียให้เขยื้อนไปเสีย ให้ลอกแลกไปเสีย มัวไป ดีๆ ชั่วๆ อยู่เสียท่าเสียทาง

    เพราะฉะนั้นต้องมีความเพียรกลั่นกล้ารักษาไว้ให้หยุดท่าเดียว นี้ได้ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นองค์ที่ ๓





    ปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อใจหยุดละก็ชอบอกชอบใจ ดีอกดีใจ ร่าเริงบันเทิงใจ อ้ายนั่นปีติ ปีติที่ใจหยุดนั่น ปีติไม่เคลื่อนจากหยุดเลย หยุดนิ่งอยู่นั่น นั่นปีติสัมโพชฌงค์ นี้เป็นองค์ที่ ๔


    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิ แปลว่า ระงับซ้ำ

    หยุดในหยุดๆๆ ไม่มีถอยกัน พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น หยุดในหยุด หยุดในหยุด นั่นทีเดียว นั่นปัสสัทธิระงับซ้ำ เรื่อยลงไป ให้แน่นหนาลงไว้ ไม่คลาดเคลื่อน ปัสสัทธิ มั่นคงอยู่ที่ใจหยุดนั่น ไม่ได้เป็นสองไป เป็นหนึ่งทีเดียว นั่นเรียกว่า สมาธิทีเดียว นั่นแหละ


    พอสมาธิหนักเข้าๆ นิ่งเฉยไม่มีสองต่อไป นี่เรียกว่า อุเบกขา เข้าถึงนิ่งเฉยแล้ว อุเบกขาแล้ว



    นี่องค์คุณ ๗ ประการอยู่ทีเดียวนี่ อย่าให้เลอะเลือนไป

    ถ้าได้ขนาดนี้ ภาวิตา พหุลีกตา กระทำเป็นขึ้นแค่นี้ กระทำให้มากขึ้น
    สํวตฺตนฺติ ย่อมเป็นไปพร้อม
    อภิญฺญาย เพื่อรู้ยิ่ง
    นิพฺพานาย เพื่อสงบ ระงับ
    โพธิยา เพื่อความตรัสรู้ ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้แหละขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านในทุกกาลทุกเมื่อ



    ความจริงอันนี้ ถ้ามีจริงอยู่อย่างนี้ละ รักษาเป็นแล้ว รักษาโพชฌงค์เป็นแล้ว อธิษฐานใช้ได้ ทำอะไรใช้ได้ โรค ภัย ไข้เจ็บ แก้ได้ ไม่ต้องไปสงสัยละ




    ความจริงมีแล้ว โรคภัยไข้แก้ได้ แก้ได้อย่างไร?

    ท่านยกตัวอย่างขึ้นไว้
    เอกสฺมึ สมเย นาโถ โมคฺคลฺลานญฺจ กสฺสปํ
    คิลาเน ทุกฺขิเต ทิสฺวา โพชฺฌงฺเค สตฺต เทสยิ
    เต จ จํ อภินนฺทิตฺวา โรคา มุจฺจึสุ ตงฺขเณ
    เอกสฺมึ สมเย ในสมัยหนึ่ง
    นาโถ พระโลกนาถเจ้าทรงทอดพระเนตร ทรงดูพระโมคคัลลานะ และพระกัสสปะอาพาธถึงซึ่งทุกขเวทนา อาพาธเกิดเป็นทุกขเวทนา ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ดังกล่าวแล้ว

    ที่แสดงแล้วนี่ ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้ทำใจหยุดลงไว้ให้นิ่งลงไว้ เมื่อพระองค์ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ แล้ว ท่านทั้งสอง พระโมคคัลลานะกับ พระกัสสปะ มีใจร่าเริงบันเทิงในภาษิตของพระองค์นั้น โรคหายในขณะนั้น

    นี่ความสัตย์อันนี้ ความจริงอันนี้โรคหายทีเดียว ได้ศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้ นี่ว่าอย่างพระโมคคัลลานะ พระพุทธเจ้า นี่ท่านผู้แสวงซึ่งคุณอันยิ่งใหญ่หนา

    ทั้ง ๓ ท่านเป็นผู้สำเร็จแล้ว ยังมีโรคเข้ามาเบียดเบียนได้ เบียดเบียนก็ใช้โพชฌงค์กำจัดเสีย ไม่ต้องไปกินหยูก กินยา ที่ไหนเลยสักอย่างหนึ่ง โพชฌงค์เท่านั้นแหละโรคหายไปหมด


    ดังวัดปากน้ำบัดนี้ ก็ใช้วิชชาบำบัดโรคเช่นนี้เหมือนกัน ใช้บำบัดโรคไม่ต้องใช้ยา ตรงกับทางพุทธศาสนาจริงๆ อย่างนี้ นี่ชั้นหนึ่ง


    นี่พระองค์เองพระองค์ทรงเอง คราวนี้โดนพระองค์เข้าบ้าง

    เอกทา ธมฺมราชาปิ เคลญฺเญนาภิปีฬิโต ครั้งหนึ่งพระธรรมราชา

    ธมฺมราชาปิ แม้พระธรรมราชา คือ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของพระธรรมเอง ปิ อันนั้นไม่แม้ แปลเป็นเองเสีย ครั้งหนึ่งพระธรรมราชาเอง อันอาพาธเข้าบีบคั้นแล้ว

    เคลญฺเญนาภิปีฬิโต จุนฺทตฺเถเรน ตญฺเญว ภณาเปตฺวาน ทรงรับสั่งให้พระจุนทเถร แสดงโพชฌงค์ ๗ ประการนั้นด้วยความยินดี

    สมฺโมทิตฺวา จ อาพาธา ทรงบันเทิงพระทัยในโพชฌงค์ที่พระจุนทเถรทรงแสดงถวายนั้น อาพาธหายไปโดยฉับพลัน ด้วยฐานะอันสมควร ด้วยความสัตย์อันนี้ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

    นี่พระองค์เองอาพาธ พระจุนทเถรแสดงสัมโพชฌงค์ระงับ ก็หายอีกเหมือนกัน ในท้ายพระสูตรนี้ ว่า


    ปหีนา เต จ อาพาธา อาพาธทั้งหลายเหล่านั้น
    ตมฺหาวุฏฺฐาสิ ฐานโส มคฺคาหตกิเลสา ว ปตฺตานุปฺปตฺติธมฺมตํ
    อาพาธทั้งหลายเหล่านั้นถึงซึ่งความดับไป ดุจกิเลสอันมรรคกำจัดไปดังนั้น ไม่เกิดขึ้นได้ นี่ด้วยความสัตย์จริงอันนี้ ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทุกเมื่อ นี่ความจริงเป็นดังนี้




    ถ้าเรารู้จักพุทธศาสนาดังนี้ เราจะต้องปฏิบัติให้ถูกหลักฐานความจริงของพระพุทธศาสนา อังคุลิมาลเถระเจ้า ท่านเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา เป็นขีณาสพแล้ว ท่านใช้ความสัตย์จริงของท่านขึ้นอธิษฐาน บันดาลให้หญิงคลอดบุตรไม่ออกให้ออกได้ ตามความปรารถนา

    ส่วนโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ พระบรมศาสดาจารย์ทรงแสดงให้พระโมคคัลลานะ พระกัสสปะ กำลังอาพาธอยู่ก็หายโดยฉับพลัน แล้วส่วนพระองค์ท่านล่ะอาพาธขึ้น ทรงรับสั่งให้พระจุนทเถรแสดงโพชฌงค์นั้น อาพาธของพระองค์ก็หายโดยฐานะอันสมควรทีเดียว


    นี่หลักอันนี้โพชฌงค์เป็นตัวสำคัญ ประเสริฐเลิศกว่าโอสถใดๆ ในสากลโลกทั้งนั้น
    เหตุนี้ท่านผู้มีปัญญา เมื่อได้สดับมาในโพชฌงคปริตรนี้ จงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า
    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา
    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า

    อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้

    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้






    [​IMG]
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    สัจจกิริยคาถา เทศนาธรรม โดย หลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จันทสโร)

    สัจจกิริยคาถา





    3 กรกฎาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ พุทฺโธ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ธมฺโม เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา
    เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา เย จ พุทฺธา อนาคตา
    โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน
    สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน วิหรึสุ วิหาติ จ
    อถาปิ วิหริสฺสนฺติ เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา
    ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน มหตฺตมภิกงฺขตา
    สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ.
    ณ บัดนี้ จักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย สัจจกิริยคาถา วาจาเครื่องกล่าวในการกระทำ สัจจะ เรียกว่า สัจจกิริยคาถา วาจาเครื่องกล่าวในการกระทำสัจจะนั้น สัจจะต้องแสวงหา ความจริง หญิงก็ดี ชายก็ดี ถ้าว่าเป็นคนจริงอยู่แล้ว ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนมีสาระแก่นสาร หรือ ภิกษุสามเณรก็ดี ถ้าว่าเป็นภิกษุสามเณรที่จริงอยู่แล้ว ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีสาระแก่นสารจริง นี่แหละเป็นที่มั่นหมายของพระศาสดาจารย์ทุกๆ พระองค์ ที่ล่วงไปแล้วมากน้อยเท่าใด สำเร็จด้วยความจริงทั้งนั้น ที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคหน้าเท่าใดก็สำเร็จด้วยความจริง ซึ่งปรากฎอยู่ในบัดนี้ ก็สำเร็จด้วยความจริง ความจริงอันนี้แหละ หญิงชาย คฤหัสถ์ บรรพชิตทุกทั่วหน้า ควรให้มีในสันดานของตน ถ้ามีความจริงอยู่แล้ว ถึงจะแก่เฒ่าชราสัก เท่าใดก็ตามเถิด ได้ชื่อว่าเป็นคนมีแก่นสาร ถึงจะตั้งอยู่ในวัยปานกลางก็ได้ชื่อว่าเป็นคนมี แก่นสาร ถึงจะตั้งอยู่ในวัยเป็นเด็ก ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนมีแก่นสาร ความจริงอันนี้เป็นบารมี ของพระพุทธเจ้าที่ได้สั่งสมอบรมมาทุกๆ พระองค์ จะเว้นเสียสักพระองค์หนึ่งไม่ได้เลย เว้นความจริงแล้วเป็นอันไม่สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าทีเดียวอย่างแน่นอน เหตุนี้เราท่าน ทั้งหลาย หญิงชายคฤหัสถ์ บรรพชิตทุกทั่วหน้า เมื่อรู้จักหลักที่จริงนั่นเป็นอย่างไร ตาม วาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นเป็นตำรับตำราว่า นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี พุทฺโธ เม สรณํ วรํ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการ กล่าวคำสัจนี้ โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี ธมฺโม เม สรณํ วรํ พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการกล่าวคำสัจนี้ โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ ท่านทุกเมื่อ นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี สงฺโฆ เม สรณํ วรํ พระสงฆ์เป็น ที่พึ่งอันประเสริฐของเรา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการกล่าวคำสัจนี้ โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

    นี่เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้ นี่เป็นหลักสำคัญ ที่จะแสดงสัจจกิริยคาถานี้เพราะเนื่องมาจากสัปดาห์ก่อนๆ โน้น สัปดาห์ต้นวันอังคารเมื่อ เข้าพรรษา แสดงถึงธรรมขาวกับธรรมดำ ซีกดำให้ละเสีย ซีกขาวให้เจริญต่อไป ซีกดำเป็น ปหาตัพพธรรม ซีกขาวเป็นภาเวตัพพธรรม และให้พิจารณากายวาจาใจของตนด้วยตน ของตนเอง ไม่มีชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ตัวเองพินิจพิจารณาแล้วว่าเสียหายพิรุธ อย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ คนอื่นจะพินิจพิจารณาด้วยใจของตน หาความเสียหายไม่ได้ แม้ ทั้งตนและบุคคลอื่น ทั้งพินิจพิจารณาด้วยปัญญาด้วย ก็ไม่เห็นความพิรุธเสียหายอย่างหนึ่ง อย่างใด เห็นความดีชัดๆ นั่นแหละ ให้รักษาความดีอันนั้น ไม่ให้กระจัดกระจาย ให้แน่นอน ในขันธสันดาน นี่ในขั้นต้นเมื่อเข้าพรรษา กัณฑ์ที่ 2 รองมา ให้เคารพพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ แล้วแสดงให้รู้จักพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ด้วย

    วันนี้ ในสัจจกิริยคาถานี้ เพราะเราท่านทั้งหลายทุกทั่วหน้า อยากหาที่พึ่งกันนัก ที่ว่าไม่รู้ที่พึ่งจริงอยู่ที่ไหน ที่พึ่งจริงนี่แหละเป็นตัวสำคัญนัก เข้าใจว่าเงินเป็นที่พึ่ง ทองเป็น ที่พึ่ง หาเงินหาทองไปแล้วก็ตาย ไม่เห็นติดตัวไปสักนิดเดียว หาเงินหาทองได้แล้ว ไม่ติดตัว ไปเลย นี่เข้าใจว่าเงินทองเป็นที่พึ่งแล้วนะ บางพวกคิดไปอีกว่า เป็นตายก็ได้ภรรยาสักคน เถิด จะได้พึ่งพักพาอาศัยกันและกัน เอ้า! พอได้ภรรยาแล้ว ได้ลูกอีกคนเถิด จะได้พึ่งพา อาศัยลูกต่อไป ผู้หญิงก็เช่นนั้น ได้สามีสักคนเถิด จะได้พึ่งสามีต่อไป พอได้สามีแล้ว ได้ ลูกสักคนสองคนเถิด จะได้พึ่งลูกต่อไป แล้วลงท้ายเป็นอย่างไรบ้าง ถามท่านยายท่านตา ดูบ้างซิ ท่านก็รู้หรอก ท่านบอกว่าเหลวทั้งนั้น ไม่ใช่ที่พึ่งจริงอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่พึ่งเลว เหลวไหลทั้งนั้น เหตุนี้แหละที่พึ่งแน่แท้แน่นอนทีเดียวนั้นพึ่งอื่นไม่ได้ พึ่งอื่น พระพุทธเจ้า ไม่ทรงรับสั่งเลย รับสั่งว่าพึ่งตัวของตัวนี่แหละ ที่ทรงรับสั่งว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตน นี่แหละเป็นเกาะ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตัวนี่แหละเป็นที่พึ่งของตัว สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ บริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ์เฉพาะตัว นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย บุคคลอื่นทำบุคคลอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องตัวของตัวเองจึงได้ ตัวของตัวเองรักความบริสุทธิ์ก็ทำความบริสุทธิ์ของตัวได้ ตัวเอง รักความบริสุทธิ์แต่ไม่ทำบริสุทธิ์ใส่ตัวก็บริสุทธิ์ไม่ได้ ไม่ทำบริสุทธิ์ใส่ตัวก็ชื่อว่าไม่รักตัว ลงโทษตัวอย่างขนาดหนัก เมื่อทำความบริสุทธิ์ให้แก่ตัวแล้ว ช่วยตัวเองอย่างขนาดหนัก ทำความไม่บริสุทธิ์ใส่ตัว เหมือนเรามีผ้าที่สะอาด เอาของโสโครกมาประพรมเสีย ผ้านั้น เป็นอย่างไรบ้าง ผ้าที่สะอาดนั้นก็ดูไม่ได้ กลายเป็นของเลวเกวไป คนที่สะอาด คนที่ดีๆ แท้ๆ คนที่บริสุทธิ์แท้ๆ ไปประพฤติชั่วเข้าเป็นอย่างไร ก็เหมือนผ้าเปื้อนสกปรกนั่นแหละ ใช้ไม่ได้ดุจเดียวกัน ต้องรักษาความสะอาดนั้นไว้ พระองค์ทรงรับสั่งว่า อตฺตทีปา อตฺตสรณา นาญฺญสฺสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา นาญฺญสฺสรณา ว่าตัวนี่แหละเป็นเกาะ ตัวนี่แหละเป็น ที่พึ่งของตัว สิ่งอื่นไม่ใช่ ธรรมนั่นแหละเป็นเกาะ ธรรมนั่นแหละเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ รับสั่ง อย่างนี้ บัดนี้ในสัจจกิริยคาถาท่านยกขึ้นไว้ว่า นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี พุทฺโธ เม สรณํ วรํ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา อ้าวรู้หละ พระพุทธเจ้าเป็น ที่พึ่งอันประเสริฐของเรา พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอัน ประเสริฐของเรา เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเราแท้ๆ แล้วจะคิดว่ากระไร พระพุทธเจ้าเป็น ที่พึ่งอันประเสริฐของเราละ เราจะเอาใจเข้าจรดในรูปพระปฏิมากรนี่หรือ รูปพระประธาน ในโบสถ์นี่หรือ นั่นหรือคือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน หรืออยู่ในตัวเรา หรือนอกตัวเรา คิดดูซิว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน ที่เรานับถือพระพุทธเจ้า เอาหละ จะเอาใจไปเข้าที่ไหน จรดเข้าที่พระปฏิมากรนี่หรือ หรือนับถือพระธรรม พระธรรม เป็นที่พึ่งของเรานั่น เอาใจไปจรดในพระธรรมในตู้ในใบลานนั่นหรือ นับถือพระสงฆ์นั่นหรือ เอาใจไปจรดเข้าที่ตรงนุ่งเหลืองสมมตินี่แหละ หรือว่ากระไรกัน นึกดูซิ ท่านตาท่านยาย เชียวนะ กล่าวเข้าอย่างนี้ละก็ ท่านตาท่านยายงง ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังนั้นงง เอ! นี่จะเอา ใจไปจรดที่ใดแน่ จึงได้ถูกพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือโน้น เอาใจเข้าที่พระสิทธัตถราชกุมาร ที่กรุงกบิลพัสดุ์ ผู้เป็นโอรสพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา ที่ได้ดับ ขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ที่เมืองกบิลพัสดุ์โน้น ไปจรดเข้าที่พระพุทธเจ้าตรัสปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตรนั่นหรือ หรือว่าเอาใจเข้าไปจรดเข้าที่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 หรือ พระยสะ 55 พระราชกุมาร 30 ชฎิล 1,003 รูปโน้น หรือ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ หรือไม่ อย่างนั้น หรือพระพุทธเจ้าอยู่ในตัว พระพุทธเจ้า แปลว่า ตรัสรู้ ความรู้ในตัวของเรานี่ แหละเป็นพระพุทธเจ้าอย่างนั้นหรือ หรือพระธรรมอยู่ในตัว ทำถูกทำจริงที่อยู่ในตัวนี่แหละ นั่นคือพระธรรม แล้วตัวของตัวที่รักษาความดีความถูกความจริงไม่ให้หายไป ความรู้นั่น ไม่หายไป ที่รักษาไว้ได้นั่นหรือเป็นพระสงฆ์ อย่างนี้ก็เหลวทั้งนั้น เอาจริงไม่ได้เลย เอา หลักฐานไม่ได้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าอันประเสริฐ ไม่ใช่พระธรรมอันประเสริฐ ไม่ใช่พระสงฆ์ อันประเสริฐ พระพุทธเจ้าอันประเสริฐนั่น มีจริงๆ หนา แต่ว่าอยู่ในตัวของเรานี่แหละ พระพุทธเจ้าเป็นเนมิตตกนาม พระธรรมก็เป็นเนมิตตกนาม พระสงฆ์ก็เป็นเนมิตตกนาม ไม่ใช่ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ตัวพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะนั่นแหละ เป็นตัวจริง ยืมให้บังเกิดเป็น พุทฺโธ ยืมให้บังเกิดเป็น ธมฺโม ยืมให้บังเกิดเป็น สงฺโฆ พุทธรัตนะ ยืมให้ บังเกิดนั่น ไปตรัสรู้ธรรมทั้ง 4 เกิดสงฆ์เข้าประณามขึ้น เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นกับพระองค์ เป็น พุทฺโธ พระธรรมรัตนะ เล่า ได้ทรงผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไป ในที่ชั่ว เกิดสงฆ์ที่เป็นเนมิตตกนาม เกิดขึ้นเรียกว่า ธมฺโม นี่เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นอย่างนี้ ก็ส่วน สังฆรัตนะ เล่า รักษาธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไว้ไม่ให้หายไป ธรรมนั่นแหละ อันพระสงฆ์ทรงไว้ ธรรมอันพระสงฆ์ทรงไว้ สงฺเฆน ธาริโต ธรรมอันพระสงฆ์ทรงไว้ ที่ท่าน ทรงธรรมไว้ได้นั่นแหละเป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้น เรียกว่า สงฺโฆ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เกิดขึ้น เป็นเนมิตตกนามเหมือนอย่างกับนาม อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นเนมิตตกนามทั้งนั้น สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ เป็นเนมิตตกนามทั้งนั้น สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ นี่เป็นเนมิตตกนามทั้งนั้น ไม่ใช่ตัวจริง ตัวจริงนะ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั่นแหละที่เป็นที่พึ่งจริงๆ อยู่ที่ไหน ท่านจะ เอาใจไปจรด ตรงไหน จึงจะถูกพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ จะจรดให้ถูกแท้ๆ ละก้อ ในมนุษย์นี่แหละมีพุทธรัตนะ ทางไปถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มีอยู่ในกายมนุษย์นี่ จะให้ถูกแท้ๆ ต้องจรดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดง ของไก่ ในกายมนุษย์นี่แหละ เอาใจหยุดที่เดียว พอหยุดกึกเข้า ก็ถูกพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะทีเดียว พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะไปทางนี้ นั่นก็จะถูกทางเท่านั้น ยังไม่ใช่ ถูกองค์ พุทโธ ธัมโม สังโฆ เลย ยังไม่ใช่ถูกองค์ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เลย ถูก แต่ทางเท่านั้น

    เอาเถอะถูกทางนั้นเป็นพบตัวแน่นอนละ ไม่ต้องสงสัย เมื่อถูกทางแล้วก็ใจหยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอหยุดถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า จะเข้า ถึงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์หนักเข้า ที่ลัดว่าลัดๆ ให้เร็วขึ้น หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ถูกส่วน เข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดหนักเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหม หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนหนักเข้า จะเข้าถึง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถึงดวงธรรมที่ทำให้ เป็นธรรมกาย ก็เห็นตัวทีเดียว

    เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียด โด่อยู่นี่เอง

    พอเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เห็นกายทิพย์ พอเข้าถึงกายทิพย์ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ก็เห็น กายทิพย์ละเอียด

    หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ก็เห็นกายรูปพรหม หยุดอยู่ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ก็เห็นกายรูปพรหมละเอียด

    เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหมละเอียด ก็เห็นกายอรูปพรหม หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ก็เห็นกายอรูปพรหม ละเอียด

    หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ก็เห็นกายธรรม รูปพระปฏิมาเกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า งามนัก อย่างน้อยๆ หน้าตัก ไม่ถึง 5 วา แต่ว่านี่ธรรมกายหยาบ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายหยาบ วัดเส้นผ่าศูนย์ กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ใจธรรมกายไปหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย หยาบนั่นแหละ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นธรรมกายละเอียด เส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรมเท่าหน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม เห็นชัดๆ อย่างนี้

    เมื่อเห็นธรรมกายหยาบ นั่นแน่! นั่นแหละตัวพุทโธหละ ตัวพุทธรัตนะหละ เป็น เนมิตตกนามให้เกิดขึ้นว่า พุทโธ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่นแหละ เป็นเนมิตตกนาม เกิดขึ้นให้เป็นธัมโม พระธรรมรัตนะ และ สังฆรัตนะ ก็ ธรรมกายละเอียด นั่นแหละ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้น เรียกว่า สังโฆ

    นั่นต้องจรด นี่ไม่ใช่จรดชื่อนะ จรดตัวจริงนี่ ต้องเอาใจไปนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพุทธรัตนะทีเดียว วัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย เอาใจหยุดนิ่ง อยู่ตรงนั้น นิ่งอยู่ที่เดียวนะ ถูกพระพุทธรัตนะ ถูกพระธรรมรัตนะ ถูกพระสังฆรัตนะ ไม่ต้อง มีสองต่อไป นิ่งอยู่ที่เดียว ถูกพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นี่ที่พึ่งจริงๆ เป็นอย่างนี้นะ ถ้ารู้จักที่พึ่งจริงอย่างนี้แล้ว อย่าเอาใจไปจรดที่อื่นนะ จรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น พุทธรัตนะนั่น พอถูกส่วนเข้าแล้วจะเข้าถึง ธรรมกายละเอียด

    จรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียดเข้าแล้ว นั่นดวงธรรมที่ ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว ใจธรรมกายละเอียด หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด พอถูกส่วนเข้าแล้วจะเข้าถึงธรรมกาย พระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น ธรรมกายพระโสดา พอถูกส่วนเข้าแล้ว จะเข้าถึงธรรมกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา ดวงธรรมวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 วา เท่ากัน กลมรอบตัว

    หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดาละเอียด พอถูกส่วนเข้า จะเข้า ถึงธรรมกายพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคา วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พระสกทาคา จะเข้าถึงธรรมกายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคาละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 วา กลมรอบตัว

    ใจธรรมกายพระสกทาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พระสกทาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าแล้ว จะเข้าถึงธรรมกายพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา และดวงธรรมวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 วา กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระอนาคาหยาบนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงธรรมกายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอนาคาละเอียด 20 วา เท่ากัน กลมรอบตัว

    ใจของธรรมกายพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น ธรรมกายพระอนาคาละเอียดนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าแล้ว ก็เข้าถึง ธรรมกายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอรหัต วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พระอรหัต พอถูกส่วนเข้า ก็จะเข้าถึงธรรมกายพระอรหัตละเอียด หน้าตัก 30 วา สูง 30 วา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอรหัตละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 วา กลมรอบตัว เหมือนกัน นั่นเป็นธรรมกายพระอรหัตละเอียด

    แผนนี้แหละพระสมณโคดมท่านทรงสั่งสอนมา พระอรหันต์ท่านก็คิดเอาเอง ค้นเอา เอง ค้นทั่วถึงหมด ไม่ต้องเกรงใจใคร ไปถึงหมด นรกสวรรค์ไปตลอด นรก 456 ขุม ดูตลอด อบายภูมิทั้ง 4 สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก ดูตลอด กายทิพย์ ดูตลอด ชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี ไปพูดกันได้ ถามอะไร กันได้ ไปทำอะไรกันได้ รู้เรื่องหมด ตลอดจนกระทั่งไปถึงรูปพรหม 16 ชั้น อรูปพรหม 4 ชั้น ไปตลอด นิพพานไปตลอด พระพุทธเจ้าไปอยู่ในนิพพานที่ไหนไปพบกันหมด ไปพูดกันได้ ถามกันได้ทั้งนั้น นี่ถ้าแม้ว่าเข้าถึงที่พึ่งอันนี้แล้ว เลิศประเสริฐอย่างนี้ นี่ถ้าว่าผู้หนึ่งผู้ใด เข้าถึงกันได้ดังนี้แล้ว ก็นี่วาจากล่าวสัจจะอันนี้แหละ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ เถิด ความจริงเป็นอย่างนี้ เมื่อรู้จักความจริงดังนี้แล้ว พระพุทธเจ้าท่านได้สำเร็จตัดกิเลส เป็นสมุจเฉท ท่านรู้ว่าท่านเป็นศาสดาจารย์เอกในโลก ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่มีใคร ล้ำท่านทีเดียว ไม่มีใครถึงท่านทีเดียว มาร พรหม อยู่ใต้บังคับใต้อำนาจหมด ท่านเฝ้า นึกอยู่ในพระทัยว่า เออ! นี่เราจะเคารพใครล่ะ ธรรมดาการเคารพนั่น ถ้าว่ามนุษย์คนใด มีความเคารพแน่นหนาอยู่แล้วก็มนุษย์คนนั้นมีหลักฐาน ภิกษุสามเณรองค์ใดมีความเคารพ แน่นหนาอยู่ในที่ใดแล้ว ภิกษุสามเณรองค์นั้นมีหลักฐาน อุบาสกอุบาสิกาเคารพสิ่งใด มั่นหมายอยู่แล้ว ก็ได้ชื่อว่าอุบาสกอุบาสิกาคนนั้นมีหลักฐาน ถ้าว่าไม่มีที่เคารพ ไม่มี หลักฐานกันทีเดียว ไม่มีที่หลักฐานทีเดียว นักปราชญ์ทุกๆ ประเทศเขากล่าวกันว่า คนที่ ชั่วร้ายน่ะไม่สำคัญนัก พอแก้ได้ เขาอิดหนาระอาใจและเกลียดคนไม่มีศาสนานี่แหละ เขา อิดหนาระอาใจรังเกียจนักคนไม่มีศาสนานั่น ไม่มีที่จรดของใจ ไม่รู้จะเอาใจไปจรดกับอะไร ไม่รู้ที่พึ่งเสียด้วย ไม่มีที่จรดไม่มีที่พึ่งทีเดียว ไม่มีที่พึ่งก็จะเอาหลักที่ไหน จะเอาอะไรมาแก้ไข เธอแก้ไขไม่ได้ เพราะไม่มีหลักใจเสียแล้ว คนต้องมีหลักใจ อย่างพระพุทธเจ้าท่านได้เป็น ศาสดาเอกในโลก ต้องมีหลักพระทัย หลักใจเหมือนกัน ถ้าไม่มีหลักใจแล้วท่านจะไปเป็น พระพุทธเจ้าขึ้นเองเป็นเอกอุดมในโลกไม่ได้ เมื่อท่านพบหลักใจเป็นหลักฐานแล้ว ท่านก็ แนะนำสั่งสอนสรรพสัตว์ทั้งหลายให้มีหลักใจ ไม่ใช่มีเองนะ ไม่ใช่ไปหาเองหรอก มีเอง เมื่อถึงพระอรหัตแล้ว เอาใจจรดติดแน่นที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตทีเดียว ไม่ขยับเขยื้อน ไม่เลื่อนทีเดียว ตั้งหลักตายตัวทีเดียว ตั้งแน่นตายตัวทีเดียว ตามวาระพระบาลี ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้ว่า เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วง ไปแล้วด้วย เย จ พุทฺธา อนาคตา พระพุทธเจ้าเหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาค ข้างหน้าด้วย โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน พระสัมพุทธเจ้าองค์ใด ผู้ยังความ โศกของคนเป็นอันมากให้พินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในบัดนี้ สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน พระพุทธเจ้า ทั้งสิ้นล้วนเคารพสัทธรรม สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน ล้วนเคารพสัทธรรมทั้งสิ้น

    เคารพสัทธรรมนั้นเป็นอย่างไร ใจนั้นก็ตั้งอยู่กลางดวงธรรมนั้น ไม่เขยื้อนเลยทีเดียว ตั้งตายตัวตั้งแน่นหนา ตั้งติดทีเดียว และตำรับตำราอ้างว่า อินฺทขีลูปโม แน่นหนาเหมือน เสาเขื่อนที่ปักไว้หน้าผา ลมพัดไปจากทิศทั้ง 4 ไม่เคลื่อนเลย อีกนัยหนึ่ง ปพฺพตูปโม เหมือน ภูเขาที่ตั้งอยู่โดยปกติธรรมดา ลมที่จะพัดมาจากทิศทั้ง 4 จะให้ภูเขาเขยื้อนไม่ได้เลย นี่ฉันใด ก็ดี ใจของพระแน่นในธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าฉันนั้น แต่ว่าปุถุชนก็ไม่แน่นหนาขนาด นั้น พระโสดาก็ติดอยู่บ้างแล้ว พระสกทาคาแน่นอยู่หน่อย พระอนาคาแน่นขึ้น พอถึงพระ อรหันต์แน่นจริงทีเดียว เหมือนเสาเขื่อนทีเดียว เหมือนภูเขาทีเดียว ไม่เขยื้อนตามไป ทางใดหละ แน่นขนาดนั้นนั่นแหละมีที่พึ่ง ท่านได้ที่ตั้งของใจ ที่ปักของใจ ที่ติดของใจ ไม่ไหว เขยื้อนไปตามใครละ โลกธรรมทั้งแปดจะมาระดมพระองค์ ให้ใจพระองค์เขยื้อนไม่ได้ ตายตัว ทีเดียว ตั้งอยู่ในพรหมวิหารฝ่ายเดียว เมตตา รักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข กรุณา ความ สงสารคิดช่วยจะให้พ้นทุกข์ มุทิตา พลอยยินดีในเมื่อผู้อื่นเขาได้ดี อุเบกขา วางเฉยเมื่อ แก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ก็เฉย หรือถ้าแก้ไขได้ก็แก้ไป แก้ไขไม่ได้ก็เฉยเสีย อุเบกขา ไม่สมน้ำหน้า ไม่อิจฉาริษยาอย่างหนึ่งอย่างใดเลย นี่หน้าที่ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุนั้นพระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้เคารพสัทธรรม วิหรึสุ มีอยู่แล้วด้วย พระพุทธเจ้ามี อยู่แล้วด้วย ที่ตรัสรู้ไปแล้วมากน้อยเท่าใด มีอยู่แล้วด้วย วิหาติ จ มีอยู่ในบัดนี้ด้วย ปัจจุบัน นี้ที่มีธรรมกายนั้น เป็นพระพุทธเจ้าทั้งนั้น

    คำว่าพระพุทธเจ้ามี 6 จำพวก สัพพัญญูพระพุทธเจ้า เป็นที่ 1, ปัจเจกพุทธเจ้า เป็น ที่ 2 สาวกพุทธเจ้า เป็นที่ 3, สุตพุทธเจ้า เป็นที่ 4, พหุสุตตพุทธเจ้า เป็นที่ 5, อนุพุทธเจ้า เป็นที่ 6, พระพุทธเจ้ามี 6 จำพวก

    เป็นธรรมกายแล้วเป็นพระพุทธเจ้าทั้งนั้น เป็นอนุพุทธเจ้า ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไป นั่นแหละคือพระพุทธเจ้า นั่นแหละมีอยู่ในปัจจุบันนี้ด้วย อถาปิ วิหริสฺสนฺติ มีต่อไปในภาย ภาคข้างหน้าด้วย พระพุทธเจ้าจำพวกที่ยังไม่เป็นธรรมกาย พอเป็นธรรมกายแล้ว ก็เป็น ปัจจุบันขึ้น ถ้ายังไม่เป็นธรรมกายก็เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตต่อไป นี่ปรากฏอย่างนี้ เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ข้อนี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ปรากฏอย่างนี้อยู่เนืองนิตย์ ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน เพราะเหตุนั้น บุคคลมีความใคร่ประโยชน์ของตน มหตฺตมภิกงฺขตา จำนงความเป็นใหญ่ ไม่มีใครถึงละ สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ สรํ พุทฺธาน สาสนํ ระลึกถึงคำ สั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรเคารพสัทธรรม ผู้ที่เคารพสัทธรรมนั่นแหละ จะถึงซึ่ง ความเป็นใหญ่ เป็นใหญ่อย่างไร ด่าท่านก็ไม่โกรธ ทำอย่างไรก็ไม่โกรธ แกไม่อิจฉาริษยาใคร แกตั้งอยู่ในธรรมของแกมั่น ไม่ง่อนแง่นไปตามใคร ถึงเด็กก็ต้องยกว่าเป็นผู้ใหญ่ คนชนิด นั้นถึงกลางคนก็ต้องยกให้เป็นผู้ใหญ่ ถึงเป็นผู้หญิงก็ต้องถือว่าเป็นบัณฑิตถี หญิงประกอบ ด้วยปัญญา หญิงเป็นใหญ่ ไม่ใช่หญิงเลวทราม ไม่ใช่หญิงง่อนแง่นคลอนแคลน มั่นคงตั้ง เป็นหลักเป็นฐาน เป็นหัวหน้าประธานของคนได้ หากว่าเป็นสามเณรก็เป็นประธานของคนได้ เป็นภิกษุก็เป็นประธานของคนได้ เป็นคนแก่ยิ่งน่านับถือหนักเข้า น่าบูชาหนักเข้า เพราะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน จะด่า จะว่า จะเสียดสี สักเท่าหนึ่งเท่าใดก็ยิ้มแฉ่ง สบายอกสบายใจ เพราะตั้งอยู่ในพระธรรม คนที่ว่านั้นก็ไม่รู้เดียงสา เหมือนพระพุทธเจ้า ใครจะไปด่าก็ด่าไปซิ ใครจะไปเสียดสีก็เสียดสีไปซิ ไม่เขยื้อนเลย ไม่กระเทือนเลย นี่แหละ ทางพระพุทธศาสนาประสงค์จริงอย่างนี้ ให้ตั้งมั่นให้เคารพสัทธรรม

    แต่ว่าเคารพสัทธรรมนั้นเคารพอย่างไร เอาอีกแหละ เคารพไม่ถูก ถึงแก่เฒ่าชรา ปานใด เป็นภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา เคารพสัทธรรมนั่นเคารพอย่างไร เหมือนภิกษุ สามเณรอย่างนี้แหละ บูชานับถืออยู่ เป็นกระถางธูปของพลเมืองอยู่ แต่ว่าไม่รู้ตัว ไม่รู้ตัว ว่าเป็นกระถางธูปของพลเมืองอยู่ ไม่เดียงสา ได้แต่ประพฤติเลวทรามต่ำช้า ผิดธรรม ผิดวินัย นั่นฆ่าตัวเองทั้งเป็นแล้ว ไม่ให้เขานับถือ ไม่ให้เขาบูชา ให้เขาเกลียดแล้ว ให้เขาลงโทษแล้ว หนักเข้าเขาก็ให้สึกเสีย อยู่ไม่ได้ ภิกษุสามเณรอยู่ไม่ได้แล้ว ประพฤตินอกรีต ผิดธรรม ผิดวินัย ถ้าว่าภิกษุสามเณรเคารพสัทธรรมอยู่ เป็นสามเณรก็ไม่ให้เคลื่อนจากศีลของสามเณรไปเสีย นิดหน่อยหนึ่งไม่ให้ล้ำกรอบ กระทบกรอบศีลทีเดียว ตั้งมั่นอยู่ในกลางศีลทีเดียว เป็นภิกษุ ก็ตั้งมั่นอยู่ในศีล 227 สิกขาบท ไม่กระทบกรอบของศีล ตั้งมั่นอยู่ในศีลทีเดียว เป็นอุบาสก ก็ตั้งมั่นอยู่ในศีลของอุบาสกทีเดียว ในศีล 5 ศีล 8 ตามหน้าที่ ไม่กระทบกรอบของศีล ทีเดียว เป็นอุบาสิกาก็ตั้งอยู่ในศีลมั่นคง ไม่กระทบกรอบของศีลทีเดียว ตั้งอยู่ในศีลทีเดียว ถ้าว่าเป็นได้ขนาดนี้ นั่นแหละเรียกว่า สทฺธมฺมครุโน เคารพสัทธรรมหละ ใครๆ ก็ต้องไหว้ ใครๆ ก็ต้องบูชา เพราะเหตุว่ามีธรรมเป็นหลักเป็นประธานเป็นแก่นแน่นหนา ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนเหลวไหลโลเล ได้ชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนาต่อไป ภิกษุสามเณร ประพฤติได้ขนาดนั้น ได้ชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนาต่อไป อุบาสกประพฤติได้ขนาดนั้น ก็จะได้เป็นตัวอย่างของอุบาสก จะได้เป็นตำรับตำราของอุบาสกในปัจจุบันนี้และภายภาค ข้างหน้า อุบาสิกาล่ะ ได้เช่นนี้ก็จะได้เป็นตำรับตำราของอุบาสิกาในยุคนี้และภายภาค หน้าต่อไป ชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนา ให้เคารพสัทธรรม

    เคารพสัทธรรมนั้นดีประเสริฐอย่างไรหรือ ดังที่กล่าวแล้วทุกประการว่า ถ้าว่าใคร เคารพสัทธรรมละก้อ ไม่ต้องหาข้าว ไม่ต้องหาข้าวสารนะ ไม่ต้องเที่ยวขอเขานะ ไปนั่งอยู่ คนเดียวในป่า เขาก็ต้องเลี้ยง เขาก็ต้องเอาข้าวไปเลี้ยง เอาอาหารไปเลี้ยง เอาผ้าให้นุ่งหุ่ม อย่าไปทุกข์ร้อนไปเลย ให้มั่นอยู่ในสัทธรรมเข้าเถิด สัทธรรมนี่แหละเป็นตัวสำคัญ สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ พระพุทธเจ้าท่านสำเร็จแล้ว ท่านเคารพสัทธรรมอย่างเดียว ใจท่านแน่นใน กลางดวงสัทธรรมนั่นแหละ ก็อุบาสกอุบาสิกาเล่า ยังไม่มีนี่ ธรรมชั้นสูงยังไม่มีกับเขา อยากจะได้สัทธรรม จะเอาใจไปจรดตรงไหนเล่า จุดศูนย์กลางของกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่า ฟองไข่แดงของไก่ นิ่งอยู่กลางนั่นแหละ ให้เห็นดวงให้ได้ ถ้าไม่เห็นก็จรดอยู่กลางดวงนั่น แหละ อย่าไปจรดที่อื่น จะตัดหัวขั้วแห้งก็ไม่จรดที่อื่น จะตัดหัวขั้วแห้ง เขาบอกว่าโน่นแน่ เจ็บไข้เต็มทีจะตายแล้ว หมอที่โน้นแน่ดีนัก ยิ้มเฉย ใจปักอยู่ที่ธรรมนั่น ปวดแข้งปวดขาจัด ปักเข้าไป ร้องโอยๆ ก็ช่าง เขาบอกว่าโน้นแน่ะ ผู้เป่าเก่งอยู่ที่โน่นดีนัก ยิ้มเฉย ยิ้มแฉ่ง เอาใจปักอยู่ที่ธรรมนั่นแหละ ใครๆ ไม่ช่วยก็ปวดตายไปเถิด ไม่ได้เคลื่อนไปจากธรรม มั่นใจ ปักอยู่ที่ธรรมนั่นเอง ขนาดนี้แม้จะไม่ถึงธรรมกาย ไม่มีพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ยังไม่เข้าถึง แต่ว่าเข้าถึงเช่นนี้ ถูกทางพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะแน่นอนแล้ว เมื่อ ถูกทางเช่นนี้แล้วก็มั่นเชียว เคารพมั่นทีเดียว ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ไม่ท้อถอยละ จะเป็นจะตายก็ช่างเถิด มั่นอยู่กับธรรมรัตนะกลางกายมนุษย์นั่นแหละ ถ้ามีกายมนุษย์ ละเอียด ก็มั่นอยู่กับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ ถ้ามีกายทิพย์ละก้อ มั่นอยู่ในดวงธรรม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ที่มีอยู่ในศูนย์กลางกายทิพย์นั่นแหละ 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่ หรือกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กายทิพย์ละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่นั่นแหละ ถ้ากายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหมนั่นแหละ 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่ หรือหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหมละเอียด หกเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมดิ่งเชียว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถ้าถึงอรูปพรหมละก้อ ใจของกายอรูปพรหมแน่นอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมทีเดียว เจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว งดงาม นัก ผ่องใส หรือเข้าศูนย์กลางอรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายอรูปพรหมละเอียดทีเดียว ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในทางใดทางหนึ่งทั้งหมด ไม่เลอะๆ เทอะๆ ไม่เหลวไหล เขาว่าจ้าวคนโน้นแน่นะ จ้าวผีมันจะดีกว่ามนุษย์อย่างไร มนุษย์ดีกว่าจ้าวผีเป็นก่ายเป็นกอง ถ้าว่ามีฤทธิ์มีเดชก็มีเหมือนผีซิ มนุษย์ก็มีฤทธิ์เดชส่วน มนุษย์เหมือนกัน ข้าก็มีฤทธิ์ส่วนนั้น ในธรรมรัตนะเหมือนกัน ข้าไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ไม่ตามใครละ นี้แหละ สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ คนชนิดนี้แหละ ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสก ก็ดี อุบาสิกาก็ดี ได้ชื่อว่าได้เคารพสัทธรรมแท้ๆ จริงเลย ควรนับถือควรไหว้ควรบูชาทีเดียว

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นตามมตยาธิบายพอสมควร แก่เวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้าทั้งปวง สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ทั้งปวง ปิฏกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้ง 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอำนาจชินสาวกของท่าน ผู้ชนะมาร จงดลบันดาลให้ความสุขสวัสดิ์อุบัติบังเกิดมีในขันธ์ปัญจกแห่งท่านทายก และ อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาด้วยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.



    a.jpg
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    สมาธิสูตร



    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
    เป็นไฉน คือ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
    เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
    แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนาอันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนา
    อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑




    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ
    ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
    ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา
    มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ
    อริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน




    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลก-
    *สัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ๑- ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือน
    กลางคืน มีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่ ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่
    เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น
    รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
    อาสวะเป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
    เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
    ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
    ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
    ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้ว
    ในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า
    ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะรู้ความ
    สูงต่ำในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือความโกรธ
    เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง เรากล่าวว่า ข้าม
    ชาติและชราได้แล้ว ฯ
    จบสูตรที่ ๑

    *************************************


    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=1188&Z=1233
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2018
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    a.jpg

    ในขัั้นตอนการเจริญวิชชาฯ

    พระเดชพระคุณ พระเทพญาณมงคล ได้อธิบายคำว่า “นิโรธ” ไว้ว่า
    ... “นิโรธ ดับสมุทัย (มิใช่นิโรธสมาบัติ) ตามความหมายของ ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ’ กล่าวคือเป็นการละ (ปหาน) อกุศลจิตของกายในภพ ๓ [ซึ่งเป็นที่ตั้ง หรือ เป็นที่สะสม – หมักดอง – ตกตะกอนนอนเนื่องของกิเลส (หยาบ-กลาง-ละเอียด) เป็น ‘อาสวะ/อนุสัย’ ในจิตตสันดาน] ให้กิเลสเบาบางลง ถึงหมดสิ้นไป บรรลุมรรค-ผล-นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้” ...
    (สมถวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า หน้า ๗๖)

    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้กล่าวถึงอริยสัจ ๔ ไว้ว่า
    ทุกข์ เป็นผล สมุทัย เป็นเหตุ
    นิโรธ เป็นผล มรรค เป็นเหตุ
    (คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๕ สาย หน้า ๑๖๕)

    ดังนั้น การทำนิโรธให้ได้ผลดีนั้น ต้องทำมรรคให้ดีเสียก่อน เพราะมรรคเหตุให้เกิดนิโรธ นิโรธเป็นผลมาจากมรรค
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    y13063676-2-jpg.jpg





    เล่าเรื่อง ... “อรูปพรหม”



    อรูปภพ คือ ที่สถิตอยู่ของ “อรูปพรหม” ๔ ชั้น
    ผู้ที่ในอดีตชาติได้เจริญ “อรูปฌาน” แล้ว
    ขณะกำลังจะจุติ (ตาย) จิตยังไม่เสื่อมจาก อรูปฌาน ชั้นใด
    ก็จะได้มาเกิดเป็น อรูปพรหม ในชั้นนั้น
    สถิตอยู่ในวิมานที่ละเอียด ประณีตสวยงาม ... ลอยอยู่ในอากาศ
    แต่ละชั้นภูมิอยู่สูงต่ำกว่ากัน ตามความละเอียดประณีตของแต่ละชั้นภูมิ (อรูปฌาน ๔)
    บนพื้นอรูปโลกเดียวกันนั่นเอง

    ชั้นที่ ๑ อากาสานัญจายตนภูมิ เป็นที่เกิดของ อรูปพรหม
    ที่ก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจาก อากาสานัญจายตนฌาน
    มีอายุ ๒๐,๐๐๐ มหากัป

    ชั้นที่ ๒ วิญญานัญจายตนภูมิ เป็นที่เกิดของ อรูปพรหม
    ที่ก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจาก วิญญานัญจายตนฌาน
    มีอายุ ๔๐,๐๐๐ มหากัป

    ชั้นที่ ๓ อากิญจัญญายตนภูมิ เป็นที่เกิดของ อรูปพรหม
    ที่ก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจาก อากิญจัญญายตนฌาน
    มีอายุ ๖๐,๐๐๐ มหากัป
    (อาฬารดาบส ได้บรรลุ “อรูปฌาน ๓” เมื่อตายจากโลกมนุษย์ ก็ได้มาเกิดในภพนี้)

    ชั้นที่ ๔ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เป็นที่เกิดของ อรูปพรหม
    ที่เมื่อชาติก่อนได้เจริญ “อรูปฌาน ๔” (รวมรูปฌาน ๔ เป็น สมาบัติ ๘)
    ที่ก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจาก เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    จึงได้มาเกิดในภพนี้ มีอายุ ๘๔,๐๐๐ มหากัป
    (อุทกดาบส ได้บรรลุ “อรูปฌาน ๔” เมื่อตายจากโลกมนุษย์ ก็ได้มาเกิดในภพนี้)



    อรูปพรหม มีรูปร่างสวยงามมาก วรกายใหญ่
    มีเครื่องประดับที่สวยงาม ละเอียดประณีตยิ่งนัก
    ละเอียดมากจนแม้แต่อรูปพรหมด้วยกัน ... ก็ไม่เห็นรูปกายของกันและกัน
    คงติดต่อกัน รู้กัน ... ด้วยจิต


    อรูปพรหม มีทั้งที่เป็นปุถุชน และที่เป็นอริยบุคคล

    อรูปพรหมปุถุชน เมื่อสิ้นอายุแล้ว มีโอกาสไปเกิดในภพภูมิที่ต่ำกว่า
    ตามกรรมเก่า ... ที่กำลังรอให้ผลอยู่ได้เสมอ

    ส่วน อรูปพรหมอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้น พระอนาคามีบุคคล ลงมา
    ที่สถิตอยู่ใน อรูปภพชั้นที่ ๑ - ๒ – ๓
    เมื่อสิ้นอายุก็มีโอกาสไปเกิดในภูมิที่สูงกว่าได้ จะไม่ไปเกิดในภูมิที่ต่ำกว่าเดิมอีก
    จนกว่าจะบรรลุ พระอรหัตตผล แล้ว ... ก็จะ ปรินิพพาน ในชั้นนั้น

    เฉพาะ อรูปพรหมอนาคามีบุคคล ลงมา
    ที่สถิตอยู่ใน อรูปภูมิชั้นที่ ๔ (ชั้นสูงสุด) คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
    เมื่อสิ้นอายุลงก็จะเกิดในภพภูมิเดิมนี้ จนถึงบรรลุความเป็น พระอรหันต์
    ก็จะ ปรินิพพาน ในชั้นนี้



    แม้จะชื่อว่า “อรูปพรหม” ... ตามเหตุปัจจัย คือ “อรูปฌาน”
    (ความเพ่งที่ไม่อาศัยรูป เพราะเห็นว่า ... รูปฌานยังหยาบอยู่
    จึงเจริญฌานที่ละเอียดยิ่งกว่า ... โดยไม่อาศัยรูป
    )
    เป็นชนกกรรม นำให้มาเกิดใน อรูปภพ

    แต่ “รูปขันธ์” ย่อมต้องเกิดมีพร้อมกับ “นามขันธ์ ๔”
    ตามสาย “ปฏิจจสมุปบาทธรรม” คือ
    อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร
    สังขาร
    เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ
    วิญญาณ
    เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป (สฬายตนะ ผัสสะ ฯลฯ)

    เพียงแต่รูปกายของอรูปพรหมนั้น ... ละเอียดนัก (เพราะ อรูปาวจรวิบาก)
    จนไม่อาจเห็นได้ แม้แต่จักษุของอรูปพรหมด้วยกัน
    หรือ ด้วยจักษุของสัตว์โลก ... ในภูมิที่ต่ำกว่า
    มีแต่ “ญาณพระธรรมกาย” เท่านั้น ... ที่ละเอียดกว่า
    สามารถเห็น “รูปกายของอรูปพรหม” ได้ตามที่เป็นจริง



    ถ้าสัตว์โลกที่เกิดด้วยอำนาจของ ... อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    เกิดขึ้นแต่เฉพาะ “นามขันธ์” โดยปราศจาก “รูปขันธ์” ได้
    พระพุทธดำรัส ที่ว่าด้วย “ปฏิจจสมุปบาทธรรม” ... ก็ไร้ความหมาย
    ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ... ที่สัตว์โลกจะมีแต่ “จิตใจ”
    โดยไม่มี “รูปกาย” เป็นที่ตั้งที่อาศัย
    และเป็นไปไม่ได้ที่ พระพุทธพจน์ ... จะเป็นอื่น (คือไม่จริง)

    “พระพุทธพจน์” ... ย่อมเป็นธรรมที่แท้จริงเสมอ





    * ที่มา
    หนังสือ ทางมรรคผลนิพพาน
    (ธรรมปฏิบัติถึงธรรมกายและพระนิพพาน)

    สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี

    หนังสือ สมถวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔
    (ถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า)

    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    อสัญญีภพ เป็นที่สถิตอยู่ของ "อสัญญีพรหม" (พรมลูกฟัก)
    ผู้ที่ชาติก่อนได้เจริญ รูปฌาน ... โดยไม่ยินดีในสัญญา (ความจำ)

    พระโพธิสัตว์ เเละ พระอริยเจ้า ย่อมไม่มาบังเกิดในภพภูมินี้

    อ้างอิงจาก
    หนังสือ ทางมรรคผลนิพพาน
    (ธรรมปฏิบัติถึงธรรมกายและพระนิพพาน)

    สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...