สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    อรูปพรหม คือ พรหมที่เกิดในภพ อันเนื่องจากสาเหตุแห่งการเพ่งความเป็นอรูป


    ไม่ได้หมายความว่า เป็นพรหม ที่ไม่มีรูปให้เห็น

    รูปนั้นมี แต่ละเอียดนัก ต้องเห็นด้วยจักษุอันละเอียดกว่า
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    “อมตะวาทะ”
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ------------------------------
    ขันธ์ ๕

    ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระสำคัญและหนักด้วย ใครปล่อยวางขันธ์ ๕ ละไม่ได้ ผู้นั้นต้องเวียนว่ายตายเกิด ผู้ใดปล่อยได้ผู้นั้นนับวันจะหมดชาติหมดภพ จะมีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ที่เทศนานี้ล้วนสอนให้ถอดขันธ์ ๕ ออกเป็นชั้นๆไป แต่ว่าจะถอดขันธ์ ๕ จะถอดอย่างไร มันเหมือนมะขามสด เนื้อกับเปลือกมันติดกันไม่หลุด ไม่กรอกจากกัน ไม่ล่อนจากกัน ถอดไม่ได้ เรายังไม่เห็นขันธ์ ๕
    ต่อเมื่อใดถอดขันธ์ ๕ เราจะเห็นขันธ์ ๕ เห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เรารู้เห็นด้วยตามนุษย์ รูปเราเห็นได้ เวทนาเราก็เห็นได้ หน้าตาแช่มชื่นดี เราก็รู้ว่าสุข เรื่องสัญญา สังขาร วิญญาณ เราก็ไม่เห็น เราจะต้องเห็นทั้ง ๕ อย่างจึงจะละได้วางได้ ถ้าไม่เห็นขันธ์ทั้ง ๕ อย่าง ละวางไม่ได้
    ถ้าอยากเห็นขันธ์ ๕ เราต้องถอดกายออกเป็นชั้นๆ ต้องถอดกายทิพย์ออกจากกายมนุษย์ วิธีจะถอดขันธ์ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของยากหมื่นยากแสนยากทีเดียว แต่วิธีเขามีที่วัดปากน้ำ วิธีเข้ากายถอดขันธ์ คือ ทำจิตให้หยุดให้นิ่งที่กำเนิดเดิม ถอดขันธ์ออกไปแล้วจึงเห็นขันธ์
    a.jpg


    จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๖๑
    เรื่อง ภารสุตตกถา
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    29 ธันวาคม 2496
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา

    ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก

    นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ

    สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห



    ภารหาโร จ ปุคฺคโล

    ภารนิกฺเขปนํ สุขํ


    อญฺญํ ภารํ อนาทิย

    นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.




    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ 5 นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ 5 น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ ... แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยขันธ์เป็นภาระอันหนัก ตามวาระพระบาลีและคลี่ความเป็นสยามภาษา

    เพราะว่าเราท่านทั้งหลายเกิดมาหญิงชายทุกถ้วนหน้า ล้วนแต่แบกภาระขันธ์ 5 ด้วยกันทั้งนั้น ขันธ์ 5 เป็นของหนัก ไม่ใช่ของเบา
    หนักอย่างไร
    หนักตั้งแต่อุบัติตั้งแต่อยู่ในท้อง ตั้งแต่เกิดในท้องมารดา หนักเรื่อยมา นั่นบังคับให้มารดาผู้ทรงครรภ์นั้นหนักแล้ว ตัวเองก็หนักไปไหนไม่ค่อยไหว ติดอยู่ในอู่มดลูกนั่นเอง
    เจริญวัยวัฒนา เป็นลำดับๆ ไป เมื่อคลอดก็หนักถึงกับตายได้
    ถ้าว่าขันธ์ที่เกิดนั้นไม่ตาย ขันธ์ของมารดาที่ให้เกิดนั้นถึงกับตายลำบากยากแค้นนัก หนักด้วย ลำบากด้วย ฝืดเคืองด้วย คับแค้นด้วย คับแคบด้วย ลำบากทั้งนั้น
    ขันธ์ 5 เป็นของหนักจริงๆ ไม่ใช่ของเบา ไปไหนก็ไปเร็วไม่ได้ อุ้ยอ้าย
    เมื่อเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับแล้วก็ไปได้ด้วยตนของตนเอง แต่ว่าเป็นกายหนัก เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ ไปเร็วไม่ได้ ต้องไปตามกาลสมัยตามกาลของขันธ์นั้น ไม่ใช่หนัก พอดีพอร้าย หนักกาย ต้องบริหารมากมาย


    ผู้เกิดมานั้นต้องบริหารขันธ์ 5 นั้นด้วย ต้องดูแลรักษา ครั้นเจริญวัยวัฒนาตัวของตัว
    เมื่อหลุดจากมารดาบิดาบริหารรักษาแล้ว ตัวของตัวต้องรักษาตัวเองอีก ตัวของตัวเองรักษาตัวเองก็ไม่ค่อยไหว
    บางคนถึงกับให้คนอื่นเขารักษาให้ ต้องให้เขาใช้สอยไปต่างๆ นานา รักษาขันธ์ 5 ของตัวไม่ได้ ต้องบากบั่นตรากตรำมากมาย

    ในการเล่าเรียนศึกษา กว่าจะรักษาขันธ์ 5 ของตนเองได้ จนกระทั่งรักษาขันธ์ 5 ของตนได้ พอรักษาขันธ์ของตัวได้ ขันธ์ 5 ก็เก่าคร่ำคร่า หนักเข้าขันธ์ 5 ของตัวเองก็พยุงตัวเองไม่ไหว พยุงตัวไม่ไหวต้องอยู่กับที่ ขยับได้บ้าง ไปโน่นมานี่ได้บ้าง แต่หนักเข้าก็ลุกไม่ขึ้น หนักเข้าก็หมดลมอัสสาสะปัสสาสะเข้าโลงไป 4 คนนั่นแหละต้องหาม 4 คนก็เต็มอึดเชียวหนา มันหนักขนาดนี้ หนักอย่างโลกๆ ไม่ใช่หนักอย่างธรรมๆ
    หนักอย่างทางธรรมน่ะนั่นลึกซึ้ง

    แบกขันธ์ทั้ง 5 นำขันธ์ทั้ง 5 ไปมากมายนัก ในมนุษย์โลกนี้แบกขันธ์ทั้ง 5 ไปมากมายนัก ภาระคือ ขันธ์ 5 นี้หนัก ไม่ใช่หนักแต่ในมนุษย์โลกนี้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็หนักอีก ไปเกิดเป็นพรหมก็หนักอีก ไปเกิดเป็นอรูปพรหมก็หนักอีก หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เบา

    ถ้าไปเกิดเป็นสัตว์นรก หนักขึ้นไปกว่านั้นอีก ในสัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาตะ โรรุวนะ มหาโรรุวนะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจี หนักขึ้นไปกว่านั้น หรือไปเกิดในบริวารนรก รวมนรก 456 ขุม ขุมใดขุมหนึ่ง หรือไปเกิดเป็นเปรตก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดเป็นอสุรกายก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็หนักอีกเหมือนกัน เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย ก็หนักทั้งนั้น ขันธ์ 5 นี่เป็นของหนัก
    ท่านจึงได้ยืนยันตามพระบาลีว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา
    ขันธ์ทั้ง 5 เป็นของหนัก

    ภารหาโร จ ปุคฺคโล
    บุคคลผู้นำขันธ์ 5 ที่หนักนั้นไป
    ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก
    การถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง 5 นั้นหนัก เป็นทุกข์ในโลก
    ภารนิกฺเขปนํ สุขํ
    สละขันธ์ 5 ปล่อยขันธ์ 5 วางขันธ์ 5 ทิ้งขันธ์ 5 เสียได้เป็นสุข
    นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ
    การทิ้งภาระที่หนักอันนั้นเสียได้แล้ว
    อญฺญํ ภารํ อนาทิย
    ไม่ถือเอาของหนักอื่นอีกต่อไป
    สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห
    ชื่อว่าเป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้
    นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต
    หมดกระหาย ไปนิพพานได้ หมดกระหาย หมดร้อน หมดกระวนกระวาย ไปนิพพานได้ ให้ทิ้งขันธ์ 5 เสีย ทิ้งขันธ์ 5 เสียได้แล้ว ได้ชื่อว่าถอนตัณหาทั้งรากได้ นี้เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักดังนี้

    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ 5 นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ 5 น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ หมดทั้งสากลโลก ขันธ์ 5 ของตัวเอาไปไม่ได้ ขันธ์ 5 ของสามีภรรยากันล่ะ เอาไปไม่ได้ แต่ของตัวเอาไปไม่ได้แล้ว นี่จะเอาของคนอื่นไปอย่างไรล่ะ เอาของลูกไปบ้างไม่ได้หรือ ไม่ได้ แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด

    เมื่อรู้ชัดดังนี้

    วิธีจะละขันธ์ 5 ถอดขันธ์ 5 ทิ้ง วิธีจะถอดสละขันธ์ 5 วางขันธ์ 5 นั้น ต้องเป็นผู้ตั้งอยู่ในสังวรกถา ที่จะตั้งอยู่ในสังวรกถาได้ ต้องอาศัยมีความรู้ความเห็นแยบคาย เห็นแยบคายอย่างไร ? รู้เห็นแยบคาย ความยินดีในรูปในอารมณ์นั้นๆ ต้องปล่อยวาง ต้องละต้องทิ้งความยินดีในอารมณ์นั้นๆ ถ้ายังยึดความยินดีในอารมณ์อยู่ ปล่อยขันธ์ 5 ไม่ได้ การยึดอารมณ์ยินดีในอารมณ์ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้เป็นเนติแบบแผน เป็นภาษามคธว่า

    สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
    โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ
    ตํ เว ปสหตี มาโร
    อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
    กุสีตํ หีนวีริยํ
    วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ
    แปลเป็นสยามภาษาว่า สุภานุปสฺสึ ผู้ที่เห็นอารมณ์งาม รูปารมณ์ก็ดี สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ผู้เห็นอารมณ์งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นแหละเรียกว่า สุภานุปสฺสึ ผู้เห็นอารมณ์งามอยู่ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเกียจคร้าน กุสีตํ จมอยู่ในอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด หีนวิริยํ มีความเพียรเลวทราม ตํ เว ปสหตี มาโร มาร ย่อมประหารบุคคลผู้นั้นได้ วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ เหมือนลมประหารต้นไม้ อันมีกำลังทุพพลภาพได้ฉันนั้น นี้พระคาถาต้น คาถาสองรองลงไป




    อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
    โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุํ
    ตํ เว นปฺปสหตี มาโร
    อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ
    สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
    วาโต เสลํ ว ปพฺพตํ

    ผู้ที่เห็นอารมณ์อันไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารหรือโภชนาหาร มีความเชื่อ ปรารภความเพียรอยู่ มารย่อมประหารบุคคลผู้นั้นไม่ได้ เหมือนอย่างลมประหารภูเขาอันล้วนแล้วด้วยศิลาเขยื้อนไม่ได้ ฉันนั้น




    จกฺขุนา สํวโร สาธุ
    ฆาเนน สํวโร สาธุ
    กาเยน สํวโร สาธุ
    มนสา สํวโร สาธุ
    สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ
    สาธุ โสเตน สํวโร
    สาธุ ชิวฺหาย สํวโร
    สาธุ วาจาย สํวโร
    สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
    สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ

    แปลเนื้อความว่า สำรวมตาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมจมูกได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมกายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมวาจาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมใจได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมในที่ทั้งหมดปรากฏว่า ยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ผู้ศึกษาธรรมวินัยเป็นผู้สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายในอินทรีย์ทั้งสิ้น เมื่อสำรวมได้เช่นนี้ตัดสินว่า สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปด้วยประการดังนี้ นี่สังวรกถา แสดงการสำรวม
    แต่ว่าที่กล่าวมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ถ้าจะอรรถาธิบายขยายความในการที่ปล่อยขันธ์ 5 เป็นลำดับไป ขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราแบ่งเป็นภาระหนักอยู่ในบัดนี้ แล้วอวดดีด้วยนะ ภาระของตัวหนักพออยู่แล้ว ยังอวดดีไปแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าอีกด้วย เอากันละตรงนี้

    อวดดีแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าด้วย ไม่ใช่แบกน้อยด้วย
    บางคนแบกหลายๆ ขันธ์ แอบไปแบกเข้า 5 ขันธ์อีกแล้ว หญิงก็ดีชายก็ดีแอบไปแบกเข้าอีก 5 ขันธ์ แล้วรวมของตัวเข้าเป็น 10 ขันธ์ แล้วหนักเข้า ก็หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์ เป็น 15 ขันธ์ แล้วแบกเอาไป แบกเข้าไปเฮอะ เอ้าหนักเข้าๆ หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์แล้ว เป็น 20 ขันธ์แล้ว นานๆ หลายๆ ปีเข้า หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์ แล้วเป็น 25 ขันธ์ นานๆ หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์แล้ว เอ้าเป็น 30 ขันธ์ ดังนี้แหละ

    บางคนแบก ถึง 40-50-60-70-80-90 บางคนถึง 100 ขันธ์ สมภารแบกตั้ง 1,000 ขันธ์เชียวนา ไม่ใช่น้อยๆ นั่นอวดดีล่ะ ถ้าอวดดีอย่างนี้ต้องหนักมาก เขาจึงได้ชื่อว่าสมภาร สัมภาระ แปลว่าหนักพร้อม หนักรอบตัว พ่อบ้านแม่บ้าน พ่อครัวแม่ครัว ก็เหมือนกัน หนักใหญ่อีกเหมือนกัน หนักรอบอีกเหมือนกัน เพราะแบกขันธ์ทั้งนั้น ที่ทุกข์ยากลำบากกันหนักหนา ทีเดียว เพราะแบกขันธ์เหล่านี้แหละต้องปลูกบ้านเป็นหย่อมๆ เป็นหลังเป็นพืดไป นั่นเพราะอะไร บริหารขันธ์แบกขันธ์ทั้งนั้น แบกภาระที่หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เล็กน้อย ไม่ใช่พอดีพอร้าย เพราะเหตุดังนั้น การแบกภาระของหนักนี่แหละ ถ้าปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ละก้อ เป็นทุกข์หนักทีเดียว บุคคลผู้แบกของหนักไป
    บุคคลผู้แบกขันธ์ 5 ที่หนักไป ถ้าว่าปล่อยวางขันธ์ 5 ไม่ได้ ก็เป็นทุกข์แท้ๆ ถ้าปล่อยวางขันธ์ 5 เสียได้ก็เป็นสุขแท้ๆ เหมือนกัน ตรงกันข้ามอย่างนี้


    แต่ว่า วิธีปล่อยขันธ์ 5 ไม่ใช่ของเล็กน้อย ไม่ใช่เป็นของปล่อยง่าย
    ถ้าปล่อยไม่ได้ ก็เป็นทุกข์ ปล่อยได้ก็เป็นสุขแต่ขันธ์ 5 จริงๆ เราก็ไม่รู้จักมันเสียแล้วนะ ปล่อยมันอย่างไร

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณน่ะ เอาเถอะ แก่เฒ่าอยู่วัดอยู่วาไปตามกัน บวชแล้วก็ตาม ไม่บวชก็ตาม ถามจริงๆ เถอะว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จริงๆ น่ะคืออะไร เอาละอึกอักกันทีเดียว ไม่เข้าใจตัวของตัวแท้แท้ไม่เข้าใจ



    รูปน่ะคือร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกันอยู่นี้ ถ้าว่าแยกออกไปก็เป็น 28 มหาภูตรูป 4 อุปาทายรูป 24 เป็นรูป 28 ประการดังนี้ นี่แหละมีรูปเท่านี้ เป็นเบญจขันธ์นี้ รูป 28

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นามขันธ์ 4 โดยย่อ
    สังขาร 3 วิญญาณ 6 เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ สังขาร ความคิด วิญญาณความรู้ เป็นดวงสีต่างๆ กัน
    ส่วนเวทนาก็เป็นดวง ถ้าสุขเวทนาก็ใส ถ้าทุกขเวทนาก็ขุ่น ดังนี้ เป็นดวงๆ ดังนี้

    สัญญา ความจำก็เป็นดวงเหมือนกัน เป็นดวงต่างกัน ดีชั่วหยาบละเอียดเลวประณีตสังขาร ความคิดดีคิดชั่ว คิดไม่ดีไม่ชั่ว นี่ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน

    วิญญาณ ความรู้ ความรู้ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน ต้องรู้จักพวกนี้ ให้เห็น พวกนี้เสียก่อน ให้เห็นขันธ์ทั้ง 5 เสียก่อน ให้เป็นปฏิบัติ

    ที่แสดงแล้วนั่นเป็นปริยัติ ถ้าปฏิบัติ ต้องเห็น
    เห็นขันธ์ทั้ง 5 นั่น รูปเป็นดังนั้นโตเล็กเท่านั้น สัณฐานอย่างนั้น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 แล้ว ก็ดูความจริงของมัน ขันธ์ 5 เหล่านี้น่ะ ถ้าแม้ว่า ขืนไปยึดถือมันเข้าไว้ละก้อ เป็นทุกข์ ท่านถึงได้วางตำราเอาไว้ว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ยึดถือมั่นในเบญจขันธ์ 5 นั่นเป็นทุกข์ ถ้าหากว่าปล่อยเบญจขันธ์ 5 เสียได้ก็เป็นสุข แต่ว่าปล่อยไม่ใช่ได้ง่าย ปล่อยไม่ได้ง่ายเหมือนอะไร ปล่อยไม่เป็น ถ้าปล่อยเป็นปล่อยได้ง่าย ปล่อยไม่เป็นปล่อยได้ยาก ปล่อยไม่เป็นเหมือนอะไร เหมือนเด็กๆ กำไฟเข้าไว้ ยิ่งร้อนหนักเข้า ยิ่งกำหนักแน่นหนักเข้า ร้องใจหายใจคว่ำก็ร้องไป ปล่อยไม่เป็น คลายมือไม่เป็น ถ่านก้อนที่กำเข้าไว้น่ะ เมื่อเด็กกำเอาเข้าไว้แล้ว กำเสียดับเลยทีเดียว กำเสียมิดทีเดียว มือก็ไหม้ เข้าไปรูหนึ่งแล้ว

    นั่นเพราะอะไร

    เด็กมันปล่อยถ่านไฟไม่เป็น ปล่อยไม่เป็นหรือมันไม่ปล่อย ปล่อยไม่เป็นจริงๆ ถ้าปล่อยเป็นมันก็ปล่อยเหมือนกัน
    เหมือนพวกเรานี่แหละยึดมั่นเอาเบญจขันธ์ทั้ง 5 เข้าไว้ ปล่อยไม่เป็น ไม่รู้จะปล่อยท่าไหน วางท่าไหนก็ไม่รู้ วางไม่ออก ปล่อยไม่ออก
    ปล่อยไม่เป็น วางไม่เป็น หรือปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้

    ไอ้ที่ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ อีกพวกหนึ่ง
    ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง

    ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้น่ะ รู้แล้วว่าปล่อยเท่านั้นวางเท่านั้น ไม่ยอมปล่อย ไม่อยากปล่อย เพราะอะไร เสียดายมัน นั่นอีกพวกหนึ่ง ไม่อยากปล่อยขันธ์ 5 อยากจะได้ขันธ์ 5 ให้มากขึ้น นั่นพวกหนึ่ง
    ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง ไม่ได้เล่าเรียนศึกษา ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้า ไอ้พวกนั้นปล่อยไม่เป็น

    ไอ้พวกที่ได้ฟังแล้วจะปล่อยก็เป็น แต่ว่าเสียดาย...ไม่ยอมปล่อย...

    อีกพวกหนึ่งตั้งใจปล่อยจริงๆ แต่ปล่อยไม่ได้

    ไอ้ที่ไม่อยากปล่อยน่ะ เหมือนอะไรล่ะ

    เหมือนพรานวางเบ็ด เมื่อปลาติดเบ็ดแล้ว ถ้าปลาตัวเล็กๆ พอจะปลดปล่อยได้ ถ้าปลาถึงขนาดเข้าปล่อยไม่ได้ เสียดาย ต้องใส่เรือของตัวไป ไอ้อยากปล่อยแต่ปล่อยไม่ได้น่ะเหมือนอะไร เหมือนนกติดแร้ว อยากปล่อย แต่เครื่องติดมันมี มันมีเหมือนอะไรล่ะ นี่แหละเหมือนอย่างเราครองเรือน อย่างนี้แหละ อยากจะปล่อยมัน แต่ว่าเครื่องติดมันมีเลยปล่อยไม่ได้ เสียดาย มันปล่อยไม่ได้ มันติดอยู่ดังนั้นแหละ ปล่อยไม่ถนัด เพราะเหตุฉะนี้แหละเบญจขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ต้องถอดกัน ไม่ถอด ปล่อยไม่ได้




    วิธีถอดเบญจขันธ์เบื้องต้นต้องสำรวม ที่จะสำรวมน่ะ ต้องพิจารณาเบญจขันธ์ทั้ง 5 เสียก่อนว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม เป็นของไม่ดีไม่งามนะ เป็นของหนักจริงๆ นะ รู้ว่าเป็นของหนักแล้ว เริ่มต้นทีเดียว เมื่อเห็นว่าหนักละก็เริ่มต้นสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลยทีเดียว สำรวมระวังไว้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มากระทบ คอยระวังไว้สำรวมไว้ให้ดี เมื่อระวังให้ดีแล้วสละความยินดียินร้ายไม่ให้มากระทบ ไม่ให้ความชอบความไม่ชอบซึ่งเป็นกิเลสหยาบเข้ามากระทบได้ สละเสีย

    เมื่อสละเช่นนั้น ถ้าว่าเกียจคร้านไม่ได้นะ ต้องหมั่นขยันทีเดียว ต้องมีความเชื่อมั่นว่าปล่อยได้จริง แล้วขยันหมั่นเพียรจริงๆ นั่นแหละจึงจะปล่อยได้ ถ้าไม่สำรวมระวังปล่อยพลั้งเผลอละก้อ เหมือนดังคนเกียจคร้านมีปัญญาเลวทราม ก็ต้องรัดรึงตรึงตราอยู่ในเบญจขันธ์ทั้ง 5 ก็บุคคลมีศรัทธา มีความเพียรดี มีความเพียรหมั่นขยัน กลั่นกล้านั้นแหละอาจปล่อยขันธ์ 5 ได้ล่ะ แต่ว่าวิธีจะปล่อย ท่านชี้แจงแสดงย่อยออกไปเป็นตำรับตำราออกไปเป็นส่วนๆ ให้เป็นตำรับตำราออกไปว่า
    จกฺขุนา สํวโร สาธุ
    สำรวมตาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ อย่างไร ความติดมั่นในรูปารมณ์ก็ไม่มี สำรวมหูได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำเร็จอย่างไร ความติดมั่นในสัททารมณ์ก็ไม่มี หยุดไปได้ สำรวมจมูกได้ ความติดมั่นถือมั่นในกลิ่นก็ไม่มี หลุดไปได้ สำรวมในลิ้นได้ ก็ไม่ติดในรส สำรวมในกายได้ ความสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ก็หลุดไป ยังประโยชน์ให้สำเร็จดังนี้ เมื่อสำรวมกายได้ สัมผัสก็หลุดไป สำรวมวาจาได้ ที่จะมีโทษทางวาจาก็ไม่มี หลุดไป สำรวมใจได้ โทษทางใจก็ไม่มี ยังประโยชน์ให้สำเร็จเป็นชั้นๆ ไป ดังนี้ ความสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นแหละ ทั้ง 6 อย่างสำรวมได้แล้ว ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ทั้งหมด ปรากฏว่าผู้ศึกษาพระธรรมวินัยต้องเป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้ เมื่อมีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้แล้ว ได้ชื่อว่าสำรวมดีในสิ่งทั้ง 6 ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำรวมใจดีแล้วหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้จริงๆ นะ


    เขาทำกันอย่างไร



    ต้องทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ที่เคยแสดงอยู่เสมอๆ เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ดี ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของกลางๆๆๆๆๆ เป็นลำดับไป เมื่อเข้ากลางของกลางเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์หยาบหลุด หยุดอยู่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เข้ากลางของกลาง หยุดเรื่อยไป ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายทิพย์หยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายรูปพรหม กายทิพย์ละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมหยาบหลุดไป
    • เข้าถึงกายอรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    • เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบหลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรม กายอรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    นี่หลุดไป 8 กายแล้ว
    • เข้าถึงกายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรมโคตรภูหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระโสดาบันหยาบ กายธรรมโคตรภูละเอียดหลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด กายพระโสดาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาหยาบ กายพระโสดาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด กายพระสกทาคาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาหยาบ กายพระสกทาคาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด กายพระอนาคาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายพระอรหัตหยาบหรือพระอรหัตตมรรค กายพระอนาคาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียดหรืออรหัตตผล กายพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคก็หลุดไป
    • พอเข้าถึงอรหัตตผล เรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เรียกว่าเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดจากธรรมที่ปะปนด้วยกิเลส สราคธาตุสราคธรรม หลุดหมด เบญจขันธ์ทั้ง 5
    • ขันธ์ 5 ของมนุษย์ ขันธ์ 5 ของกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดแล้ว ก็หลุด
    • ขันธ์ 5 ของกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ก็หลุด,
    • ขันธ์ 5 กายของรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด เข้าถึงอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็หลุด, หลุดหมด หลุดเป็นชั้นๆ ไป
    ขันธ์ 5 ของกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรมเสียแล้ว ก็หลุด, ถึง กายธรรมพระโสดา ขันธ์ 5 ของกายธรรมโคตรภูหยาบ-โคตรภูละเอียด หลุด, เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาแล้ว กายธรรมของโสดา-โสดาละเอียดหลุด, เข้าถึงกายธรรมของ พระอนาคาหยาบ-อนาคาละเอียดแล้ว กายธรรมของพระสกทาคาหยาบ-สกทาคาละเอียด หลุดออกไปเช่นนี้ เป็นชั้นๆ เช่นนี้เรียกว่ารู้จักสำรวมถูกส่วนเข้าแล้วหลุดเป็นชั้นๆ ไปดังนี้ เมื่อหลุดออกไปได้แล้วเห็นว่าหลุดจริงๆ ไม่ใช่หลุดเล่นๆถ้าว่าโดยย่อแล้วละก็ พอถึง กายธรรมหยาบละเอียดเท่านั้นไปนิพพานได้แล้ว แต่ว่าหลุดดังนี้เป็นตทังควิมุตติ ประเดี๋ยวก็ กลับมาอีก

    พอหลุดแค่พระโสดา นั่นเป็นโลกุตตระ ข้ามขึ้นจากโลกได้แล้ว เป็นอริยบุคคลแล้ว แต่ว่าไม่พ้นจากไตรวัฏฏ์ ต้องอาศัยไตรวัฏฏ์ เพราะยังไปนิพพานไม่ได้ ต้องอาศัยกามภพ รูปภพอยู่ แต่ว่าอาศัยอยู่แต่เปลือกนอก ข้างในล่อนจากเปลือกนอกเสียแล้ว อย่างนั้นก็พอ ใช้ได้ แต่ว่ายังไม่ถึงที่สุด ต้องถึงที่สุดคือพระอรหัตตผลนั่นแหละจึงจะพ้นขาดเด็ดเป็น วิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดได้จริงๆ เช่นนี้ อย่างนี้เอาตัวรอดได้ อย่างนี้ เมื่อรู้จักหลัก ความหลุดพ้นเช่นนี้แล้วก็ตั้งใจให้แน่วแน่ ต้องมีความสำรวมเบื้องต้น ที่ท่านได้ชี้แจงแสดงไว้ใน อารมณ์ที่ไม่งาม แล้วสำรวมระวังให้ดี รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเพียร มีศรัทธา กล้าหาญไม่ย่อท้อ นั่นแหละคงจะไปถึงที่สุดได้ ทว่าย่อท้อเสียแล้วถึงที่สุดไม่ได้ง่าย ให้เข้าใจ หลักอันนี้ หลักที่แสดงแล้ว ที่แสดงในทางขันธ์ 5 เป็นของหนักแล้ว คิดสละขันธ์ 5 นั่นได้ ด้วยความสำรวมระวัง นี้เป็นทางปริยัติ เป็นลำดับไปจนเข้าถึงถอดกายเป็นชั้นๆ ออกไปแล้ว จนกระทั่งถึงพระอรหัต ถึงวิราคธาตุวิราคธรรม กายพระอรหัตหยาบ-พระอรหัตละเอียดนั้น ในแนวนั้นเป็นทางปฏิบัติ ปฏิเวธก็เป็นชั้นๆ เคยแสดงแล้ว



    กายมนุษย์เมื่อปฏิบัติถูกส่วนเข้าแล้วเห็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นเป็นนิโรธ เป็นปฏิเวธ รู้แจ้งแทงตลอดของกายมนุษย์ เมื่อกายมนุษย์ละเอียดเข้าถึงกายทิพย์ ก็เป็นปฏิเวธ ของกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์เมื่อเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายทิพย์ รู้จักกายทิพย์ละเอียดแล้ว เมื่อกายทิพย์ละเอียดเข้าถึงกายรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหมเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม, กายรูปพรหมละเอียดเข้าถึงกายอรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหมหยาบเห็นกายอรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมหยาบ, กายอรูปพรหมละเอียดเห็นกายธรรม ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรมเห็นกาย ธรรมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมหยาบ, กายธรรมละเอียดเห็นกายธรรมพระโสดา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมละเอียด, กายธรรมพระโสดาเห็นกายธรรมพระโสดาละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาหยาบ, เมื่อกายธรรมของพระโสดาละเอียดเห็นกายธรรม ของพระสกทาคา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาละเอียด, กายธรรมพระสกทาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคา, กายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเห็นกายธรรมพระอนาคาหยาบ ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคาละเอียด, กายธรรมพระอนาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระอนาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคา, กายธรรมของพระอนาคาละเอียดเห็นกายธรรมของพระอรหัต ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคาละเอียด, กายธรรมของพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคเข้าถึงกายธรรมของพระอรหัตละเอียดหรือพระอรหัตตผล ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอรหัต นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นมาลำดับอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักดังนี้ละก็ การเล่าเรียนในทางพุทธศาสนา การแสดงก็ดี การสดับตรับฟังก็ดี ให้รู้จักทางปริยัติ ทาง ปฏิบัติ ทางปฏิเวธ จึงจะเอาตัวรอดได้ ถ้ารู้จักแต่เพียงทางปริยัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิบัติ ต้องให้เข้าถึงทางปฏิบัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิเวธ ให้เข้าถึงทางปฏิเวธนั่นแหละจึงจะเอาตัว รอดได้ ด้วยประการดังนี้


    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดา มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติ ธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความด้วยเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.



    U14521946358311433635101751.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    อบรมพระกัมมัฏฐาน
    uposatha.gif
    การอบรมพระกัมมัฏฐานประจำปี
    ณ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 1
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    (อุบาสกอุบาสิกา สมัครเข้ารับอบรมด้วยได้)

    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็น สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 1 โดยอนุมัติมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 มกราคม ศกนี้ ได้จัดให้มีการอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา เป็นประจำทุกปีๆ ละ 2 รุ่น

    1. รุ่นกลางปี ระหว่างวันที่ 1-14 พฤษภาคม และ
    2. รุ่นปลายปี ระหว่างวันที่ 1-14 ธันวาคม
    จึงขออาราธนาพระภิกษุสามเณร และขอเชิญอุบาสก อุบาสิกา ผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติทุกท่าน สมัครเข้ารับการอบรมพระกัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย ซึ่งพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติและสั่งสอนถ่ายทอดไว้

    วัตถุประสงค์การอบรม

    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ได้เปิดการอบรมพระกัมมัฏฐานประจำปีแก่พระภิกษุสงฆ์และสาธุชนทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ ในการดำเนินกิจกรรม 3 ประการ คือ

    1. เพื่อสร้างพระในใจตนเองและผู้อื่น เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของสาธุชนให้กว้างขวางออกไป
    2. เพื่อสร้างพระวิปัสสนาจารย์หรือวิทยากรให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และให้งดงามพร้อมด้วยศีลาจารวัตร เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เป็นที่พึ่งทางใจแก่สาธุชนได้อย่างแท้จริง ได้ช่วยกันสืบบวรพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวยิ่งๆ ขึ้นไป
    3. เพื่อรักษาและสืบต่อธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ให้ถูกต้องสมบูรณ์ ตามที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้สั่งสอนและถ่ายทอดเอาไว้
    หลักสูตรและวิธีการอบรมสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    1. ภาคพระปริยัติธรรม

    ทุกวันจะมีพระมหาเถระ พระเถรานุเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิ มาถวายความรู้ภาคปริยัติสัทธรรมแก่ผู้เข้าอบรม โดยเฉพาะ พระเดชพระคุณ พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 1 เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามรัฐประศาสนศาสน์มหาบัณฑิต "เกียรตินิยมดี" จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะได้ถวายความรู้ "หลักการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย" และ "หลักการบริหารวัด" ตามสมควรแก่เวลาและโอกาส

    2. ภาคปฏิบัติ

    การฝึกอบรมในภาคปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานแต่ละวันนั้น จะมีทั้งการถวายคำแนะนำในการฝึกปฏิบัติ ภาวนาเป็นส่วนรวม และทั้งการปฏิบัติเป็นกลุ่มย่อยๆ โดยมี พระวิทยากรผู้ช่วยคอยช่วยแนะนำอย่างใกล้ชิดทุกกลุ่ม ภายใต้การสอนและการควบคุมของพระเดชพระคุณพระราชญาณวิสิฐ เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมฯ / เจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดฯ โดยมี พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร รองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม. เป็นที่ปรึกษา

    อุปกรณ์การฝึกอบรม

    จะมีหนังสือคู่มือธรรมปฏิบัติ เช่น หนังสือ "หลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น" เทปสอนภาวนา และหนังสือ "การบริหารวัด" เป็นต้น ถวายตามสมควร ตามกำลังทุนทรัพย์ที่มีเจ้าภาพ

    ระเบียบการเข้ารับการอบรม

    จำนวนและระยะเวลาการอบรม

    เพื่อให้พอเหมาะแก่กำลังพระวิทยากร ที่จะถวาย/ให้คำแนะนำโดยใกล้ชิด โดยการอบรมแต่ละรุ่นๆ ละ 14 วัน จะสามารถรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมได้ประมาณรุ่นละ 800 ท่าน รวมทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสก/อุบาสิกา

    ในกรณีที่มีพระภิกษุสมัครเข้ารับการอบรมเกินกว่าจำนวนดังกล่าวข้างต้น ก็จะพิจารณาแบ่งให้สมัครเข้ารับการอบรมพระกัมมัฏฐานในรุ่นต่อไป ผู้สมัครที่มาก่อน จะได้รับการพิจารณาให้เข้ารับการอบรมก่อน

    การสมัครเข้ารับการอบรม

    สำหรับผู้สนใจที่จะเข้ารับการอบรม โปรดจดหมายขอสมัครเข้ารับการอบรมไปยัง

    พระราชญาณวิสิฐ
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

    อำเภอดำเนินสะดวก
    จังหวัดราชบุรี 70130

    ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถ้ามีผู้สมัครเข้ารับการอบรมร่วมกันหลายคน โปรดระบุรายชื่อและวัดของผู้ที่จะไปร่วมกันนั้นด้วย

    การเดินทางมาวัดหลวงพ่อสดฯ

    เมื่อพระคุณเจ้าได้ส่งจดหมายแจ้งความจำนงขอสมัครเข้ารับการอบรมไปแล้ว หากพระคุณเจ้าไม่ได้รับแจ้งว่า จำนวนผู้สมัครเต็มแล้ว ขอให้พระคุณเจ้าเตรียมเดินทางไปเข้ารับการอบรมได้เลย โดย

    1. ขออาราธนาพระคุณเจ้าเดินทางถึง วัดสระเกศ (ภูเขาทอง) กทม. ก่อนเปิดการอบรมฯ หนึ่งวัน คือ วันที่ 30 เมษายน และวันที่ 30 พฤศจิกายน (เวลา 12.00 น.) เพื่อขึ้นรถที่จัดไว้ให้ เดินทางไปวัดหลวงพ่อสดฯ พร้อมกัน รถโดยสารจะจอดรอและจะออกเดินทางจากหน้าปากทางเข้าวัดสระเกศ (ภูเขาทอง) กทม. เวลา 13.00 น. ก่อนวันเปิดการอบรมหนึ่งวัน ของการอบรมทุกรุ่น หรือ
    2. พระคุณเจ้าจะเดินทางไปยังวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เองโดยตรง ตามวันเวลาที่ระบุนี้ก็ได้ รถ บขส. (ขึ้นรถที่ขนส่งสายใต้) สาย 78 ปรับอากาศ (สายกรุงเทพ-ดำเนินสะดวก) รถจะถึงและผ่านหน้าวัด ก่อนถึงตลาดดำเนินสะดวก ดูแผนที่
    สิ่งของที่ต้องนำมาด้วย

    1. ใบสุทธิ
    2. ใบรับรองจากเจ้าอาวาสพร้อมประทับตราวัด (เจ้าอาวาส/รองเจ้าอาวาส ไม่ต้องนำใบรับรองมาด้วย)
    3. บาตร และกลด
    ระเบียบการอยู่อบรม

    วัตรปฏิบัติเป็นประจำคือ ถือธุดงควัตร

    1. อยู่กลด กลางแจ้ง อยู่โคนไม้ หรือสถานที่ที่จัดไว้ให้
    2. ฉันภัตตาหารเฉพาะบิณฑบาต และ
    3. ฉันภัตตาหารมื้อเดียว
    กำหนดการประจำวัน

    04.30 น. ตื่นนอน (สัญญาณระฆัง)
    05.00 น. ทำวัตรเช้า ฝึกเจริญภาวนาธรรม
    06.30 น. ฉันยาคู
    09.00 น. เจริญภาวนาธรรม
    11.00 น. ฉันภัตตาหารเฉพาะบิณฑบาต
    14.00 น. ฟังธรรมบรรยาย มีสติปัฏฐาน 4, โพธิปักขิยธรรม พระวินัย เป็นต้น
    17.00 น. แบ่งกลุ่มปฏิบัติภาวนาธรรม มีพระวิทยากร ช่วยแนะนำควบคุมพระกัมมัฎฐานโดยใกล้ชิด ส่วนผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายรับการต่อวิชชา
    19.30 น. ทำวัตรเย็น เจริญภาวนา ตอบปัญหาธรรม
    22.00 น. ดับไฟ จำวัด

    ข้อห้ามระหว่างการอบรม

    1. ห้ามสูบบุหรี่และสิ่งเสพติดมึนเมาทุกชนิด
    2. ห้ามขาดการประชุมทุกครั้ง
    3. ห้ามฟังวิทยุเด็ดขาด
    4. ห้ามจับกลุ่มสนทนากัน
    5. ห้ามออกนอกบริเวณวัด โดยมิได้รับอนุญาต
    6. ห้ามพูดอวดผลการปฏิบัติธรรม
    7. ห้ามลงอาบน้ำหรือซักผ้าในคลอง
    ข้อควรปฏิบัติในการอบรม

    1. เข้าประชุมตรงต่อเวลา
    2. ต้องรักษาความสะอาดในบริเวณวัด
    3. ต้องมีความสำรวมในทุกอิริยาบถ
    4. นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล สำหรับพระภิกษุ-สามเณร สีของไตรจีวรต้องให้สีเหลืองอมแดงเข้ม หรือสีกรัก (สำหรับอุบาสกอุบาสิกา แต่งกายสุภาพ สีขาว)
    5. รักษาระเบียบวินัย และร่วมมือกับทางวัดด้วยดี
    หมายเหตุ

    1. สำหรับท่านที่เคยติดสูบบุหรี่และ/หรือยาเสพติดให้ โทษทุกชนิด ขอได้โปรดฝึกอบรมปฏิบัติธรรมอยู่ ณ วัดหรือสำนักของท่าน จนสามารถเลิกได้เสียก่อน จึงค่อยไปร่วมอบรมที่วัดหลวงพ่อสดฯ ในคราวต่อไป
    2. ในการเข้ารับการอบรมนี้ ไม่ต้องเสียค่าสมัครและค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    ----------------------------------------------------------------


    a.jpg





    พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี
    ถอดเสียงโดยคุณอภิวัฒน์ มีลาภ

    .

    ............เชิญญาติโยม สาธุชน พุทธบริษัททั้งหลาย พระภิกษุ-สามเณร มาเข้ารับการอบรมได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ถ้าจะมีญาติโยมใดมีจิตศรัทธาที่จะมาทำนุบำรุงการให้การศึกษาอบรมเผยแผ่เป็นธรรมทาน และก็ทั้งอามิสทาน โอ..นี่เป็นมหากุศลเลย เพราะไม่ว่าจะเป็นพระ เณร อุบาสก อุบาสิกา ล้วนแต่มาปฏิบัติธรรมทั้งนั้น เป็นผู้ที่พุทธศาสนิกชนผู้มีไตรสรณคมน์ และยิ่งตั้งใจศึกษาปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "ผู้ปฏิบัติเพื่อพระโสดาปัตติมรรค ทั้งหมดเนี้ยนะ ถ้าใครมาทำบุญด้วยเนี้ย อานิสงส์นับประมาณไม่ได้ ให้เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสาร ธรรมสาร สมบัติ" นี่นับประมาณภพชาติไม่ถ้วน เนี้ยที่จะได้อานิสงส์ ถ้าใครมาทำนุบำรุง มาทำนุบำรุงเนี้ย ด้วย

    1. อามิสทาน ด้วยปัจจัย 4 หรือเครื่องอำนวยความสะดวก

    2. ด้วยธรรมทาน คือการให้การศึกษา อบรม เผยแผ่ รวมไปถึงหนังสือธรรมะ เทปต่าง ๆ ที่จะแจกให้แก่ผู้มาปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระภิกษุสงฆ์ที่มาจากวัดต่าง ๆ และก็ญาติโยมที่ได้รับธรรมะไป นี่เป็นการให้ธรรมเป็นทาน

    แล้วเราปฏิบัติไปจนถึงอภัยทาน ใครจะมาล่วงเกินเรา ใครจะมาขัดใจเรา อะไรกับเราก็แล้วแต่ อภัยให้ตลอด ไม่ถือสาหาความ ปล่อยไป ถ้าว่าเขารู้ตัวดีว่าเขาผิดพลาดเขามาขออภัยเรา เราก็ต้องให้อภัยนะอย่าไปติดใจเอาไว้ หรือแม้เขาไม่มาขออภัยก็ปล่อยไปอย่าไปเก็บไว้ มันเป็นบาปอกุศลอยู่ในใจเรา อย่าไปเอามันไว้ นั่นเป็นอภัยทาน

    .

    ทีนี้มีอีก 1 รายการ อบรมพระวิปัสนาจารย์ โอ้..นี่หลักสูตรสำคัญ เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกับวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ปีหนึ่งมี 2 รุ่น ที่จะอบรมแบบนี้ มีพระเถรานุเถระจากจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยเราเนี้ย ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาเขาจะคัดเลือกขอให้จังหวัดต่าง ๆ ส่งมาอบรมที่นี่ทุกปี ปีละ 2 รุ่น หลายร้อยรูป นี่ท่านก็จะไปทำประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนา แก่สาธุชน พุทธบริษัท นี่ก็ใครมาทำนุบำรุงก็เป็นบุญเป็นกุศล อันนี้ก็เจริญพรให้ทราบโดยถ้วนหน้ากัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a.jpg
      a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      121.3 KB
      เปิดดู:
      78
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มีนาคม 2018
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    ติดต่อสอบถามได้ที่

    ประชาสัมพันธ์วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130 โทร.090-5955162




    a-jpg.jpg
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    28685533_2025544397459062_5802309493145343204_n.jpg
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    ของที่ได้โดยยาก


    lphor_tesna_vn.jpg

    [51]
    7 พฤศจิกายน 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ
    ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงใน ทุลฺลภ สิ่งที่หาได้โดยยาก ทั้ง 4 ประการนี้ จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย กว่าจะยุติกาล ลงโดยสมควรแก่เวลา

    เริ่มต้นใน ทุลฺลภ ทั้ง 4 นี้ว่า ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ ความได้เป็นมนุษย์เป็นของได้ยาก เป็นประการแรก พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นของได้ยาก เป็นประการที่สอง ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ ถึงพร้อมด้วยขณะด้วยสมัยเป็นของได้ยาก เป็น ประการที่ 3 สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภ สัทธรรมเป็นของได้ยากยิ่ง เป็นประการที่ 4 ทุลฺลภ ทั้ง 4 ประการนี้ แปล เนื้อความของพระบาลีเป็นสยามได้ความเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายความเป็นลำดับไป อัตภาพเป็นมนุษย์ที่ได้ยากนั้นเป็นไฉน เพราะความบังเกิดขึ้นของมนุษย์ ต้องบริสุทธิ์ด้วยกาย บริสุทธิ์ด้วยวาจา บริสุทธิ์ด้วยใจ ไม่มีขาดตกบกพร่องเลย จึงจะได้อัตภาพเป็นมนุษย์

    ความบริสุทธิ์ด้วย กาย นั้น เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ทำลาย ชีวิตสัตว์ เว้นขาดจากถือเอาวัตถุที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมยและหลอกลวง ฉ้อโกงต่างๆ คือเว้นจากถือพัสดุที่เจ้าของมิได้ให้ด้วยเป็นของตน ชักชวนบุคคลอื่นไม่ให้ถือ เอาพัสดุที่เจ้าของมิได้ให้ และยินดีในการที่ไม่ถือเอาพัสดุที่เจ้าของมิได้ให้ และสรรเสริญ การดำเนินเช่นนั้น นี้ได้ชื่อว่าไม่ถือเอาพัสดุที่เจ้าของมิได้ให้ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ด้วยตนของตน เว้นจากการชักชวนบุคคลอื่นให้ประพฤติผิดในกาม และไม่สรรเสริญ ผู้ดำเนินด้วยกายวาจาเช่นนั้น และไม่ยินดีพวกดำเนินประพฤติเช่นนั้นตลอดไป นี้ 3 ข้อ แยกออกเป็นข้อละ 4 ๆ เป็น 12 ข้อนี้ เว้นขาดจากใจ ไม่ได้มีการกระทบจิตใจ ในกาย วาจา ตลอดถึงใจของตนเลย ดังนี้ได้ชื่อว่า บริสุทธิ์กาย

    ส่วน วาจา ไม่พูดปด พูดแต่ถ้อยคำที่จริงด้วยตนของตน ชักชวนบุคคลผู้อื่นให้ พูดคำที่จริงเหมือนตน ยินดีพวกกล่าวถ้อยคำจริงเหมือนตน สั่งสอนและสรรเสริญพวกที่ พูดจริงเหมือนตน 4 ข้อนี้เป็นวาจาบริสุทธิ์ เว้นจากพูดกล่าวคำหยาบช้า ด่าชาติด่าตระกูล กล่าวคำไม่เป็นที่ไพเราะเสนาะโสต คำหยาบช้าทารุณเช่นนี้ ตัวเองเว้นได้ดี ชักชวนบุคคล ผู้อื่นให้เว้นด้วยเหมือนอย่างตนบ้าง ยินดีพวกเว้นจากคำหยาบเช่นนั้น สรรเสริญพวกดำเนิน ด้วยการไม่กล่าวคำหยาบเช่นนั้นบ้าง นี้เรียกว่าเป็นดีส่วนหนึ่ง กล่าวคำสมาน ไม่กล่าวคำ แตกร้าวฉาน แล้วกล่าวคำสมานให้กลมเกลียวสนิทชิดชมในกันและกัน แล้วชักชวนบุคคล ผู้อื่นให้กล่าวคำสมานเหมือนอย่างตนบ้าง ยินดีพวกกล่าวคำสมาน สรรเสริญพวกกล่าว คำสมาน นี่เป็นวาจาบริสุทธิ์ กล่าวคำเป็นหลักเป็นธรรมวินัย เมื่อต้องการหาความจริง สาวหาเหตุได้ ไม่ใช่ถ้อยคำเหลาะแหละเหลวไหล กล่าวคำเป็นหลักเป็นธรรมวินัยด้วยตน ของตนแล้ว ชักชวนบุคคลผู้อื่นให้กล่าวถ้อยคำเป็นธรรมเป็นวินัยเหมือนตนบ้าง ยินดีพวก กล่าวถ้อยคำเป็นธรรมวินัย สรรเสริญพวกกล่าวถ้อยคำเป็นธรรมเป็นวินัยเหมือนตน นี่ เรียกว่า วจีสุจริต อีกอย่างหนึ่ง บริสุทธิ์ทั้ง 4 ข้อนี้ รวมเป็นข้อละ 4 ๆ เป็น 16 ข้อ วาจา บริสุทธิ์ทั้ง 16 ข้อนี้แล้ว เรียกว่า วจีสุจริต

    ส่วน ใจ ก็ด้วยเหมือนกัน ไม่โลภ อยากได้ของเขา คิดจะให้สมบัติของเราเป็นเบื้อง หน้า คิดชักชวนบุคคลผู้อื่นให้สละสมบัติของตน ให้แก่บุคคลผู้อื่น นี่เป็นมโนสุจริต ไม่โกรธ ไม่พยาบาท เป็นคนเมตตาแก่ตนและบุคคลผู้อื่นทุกถ้วนหน้า รักใคร่ปรารถนาจะให้เขาเป็น สุข เขาเป็นสุขแล้วยินดีชอบอกชอบใจ แล้วก็ชักชวนบุคคลผู้อื่นให้ดำเนินเช่นนั้น สรรเสริญ พวกดำเนินเช่นนั้น ยินดีพวกดำเนินเช่นนั้น นี้เป็นมโนสุจริต ความเห็นผิดไม่กล่าว ความ เห็นผิดทางใจเลิกเสีย ให้ความเห็นถูก เห็นถูกด้วยตัวของตัวแล้ว ชักชวนบุคคลผู้อื่นให้ เห็นถูก ยินดีในการเห็นถูก สรรเสริญในการเห็นถูก 3 ข้อนี้ ข้อละ 4 ๆ เป็น 12 นี้เรียกว่า มโนสุจริต เมื่อบริสุทธิ์ ไม่พิรุธทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ 3 ประการนี้แล้ว เรียกว่าเป็นหลัก ประธานของการประพฤติธรรมที่จะทำให้เป็นมนุษย์ เมื่อบริสุทธิ์ ไม่มีพิรุธ แตกกายทำลาย ขันธ์จากมนุษย์ ได้กลับเป็นมนุษย์อีกทันทีเมื่อประพฤติขึ้นไปกว่านี้ ประพฤติดีขึ้นกว่า บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ประพฤติดีขึ้นไปกว่านี้ ก็ได้เป็นมนุษย์สูงขึ้นไปกว่านี้ เป็นมนุษย์เกินมนุษย์ขึ้นไป นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ เป็นของได้ยาก ดังนี้นะ เมื่อเราปรับกับตัวของเราแล้วละก็ ขาดธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์มากนัก ขาดธรรมที่ทำให้ เป็นมนุษย์จะไปเป็นอะไร เมื่อขาดธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ละก้อ แตกกายทำลายขันธ์จาก มนุษย์ ต้องไปเกิดเป็นเปรตบ้าง อสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เกิดในนรก 456 ขุมบ้าง ขุมใดขุมหนึ่ง อบายภูมิทั้ง 4 ไม่เคลื่อนล่ะ ไม่พ้น พอเคลื่อนจากการเป็นมนุษย์แล้ว ก็เป็น ผู้ไปอบายภูมิทั้ง 4 ทีเดียว เพราะเหตุนี้ การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของได้ยาก ไม่ใช่เป็นของได้ง่าย เกิดเป็นมนุษย์ต้องประพฤติถูกธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์จึงได้ง่าย ถ้าเคลื่อนจากธรรมที่ทำให้ เป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์ไม่ได้

    เหตุนี้เราจะต้องคาดคั้นตัวเองเสียให้ดี ว่าเราได้อัตภาพเป็นมนุษย์ด้วยความบริสุทธิ์ เช่นนั้นแล้วละก็ ต่อแต่นี้ไปเราจะเป็นมนุษย์อีกหรือไม่ เราจะเป็นกับเขาอีก ต้องพินิจ พิจารณา เราเกิดมาเป็นมนุษย์ แค่เราเกิดนี้ยังเป็นมนุษย์ชั้นต่ำอยู่ หรือแค่เป็นมนุษย์ ชั้นกลาง หรือเป็นมนุษย์ชั้นสูง เราก็รู้ได้ เกิดเป็นมนุษย์ชั้นสูงก็เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็น ผู้ปกครองประเทศ เป็นเศรษฐี พวกโน้นเป็นมนุษย์ชั้นสูง ลดส่วนกว่านั้นลงมา มนุษย์ชั้น กลางๆ ลดส่วนจากพวกกษัตริย์ เศรษฐีลงมา เป็นมนุษย์ธรรมดา เขาเรียกว่าเป็นพลเมืองดี เป็นคนมั่งมี คหบดี มีทรัพย์สมบัติ มีบริษัทมีบริวารมาก เป็นคนสุจริตนั้น บริสุทธิ์สนิทดี เป็นมนุษย์ชั้นกลาง เป็นมนุษย์ชั้นต่ำ หาเช้ากินค่ำ หยุดทำงานไม่ได้ ข้าวสารไม่มีกรอกหม้อ พวกไหนหยุดทำงานไม่ได้ พวกไหนไม่มีงานทำ ไม่มีเวลาหยุด พวกนั้นแหละมนุษย์ชั้นต่ำ ไม่มีข้าวสารกรอกหม้อ หยุดทำงานไม่ได้ ข้าวสารไม่มีกรอกหม้อ นั้นเรียกว่ามนุษย์ชั้นต่ำ หรือต่ำลงไปกว่านั้น เป็นคนขอทานนั้นก็ต่ำมาก ชั้นต่ำก็ต้องจัดไปอีกมา มนุษย์ชั้นต่ำ ของต่ำ มนุษย์ชั้นต่ำของกลาง มนุษย์ชั้นต่ำของสูง สูงในชั้นต่ำ กลางในชั้นต่ำ ต่ำในชั้นต่ำ แยกออกไปดังนี้ มากมายนัก เราอยากเป็นมนุษย์ชั้นไหน เราต้องแก้ไขตัวของตัวเรา ใน เวลาเราจะเป็นมนุษย์อีก บริสุทธิ์ด้วยกายดังกล่าวแล้ว บริสุทธิ์ด้วยวาจาดังกล่าวแล้ว บริสุทธิ์ด้วยใจดังกล่าวแล้ว เราจะต้องมีมารยาทเพิ่มเติมอีก เราต้องการเป็นคนดี เมื่อเวลา ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องใช้มารยาทให้เรียบร้อย เวลาจะ ให้ทาน ต้องใช้มารยาทที่นุ่มนวลเป็นที่น่าดูน่าชม ใครเห็นก็นิยม เมื่อเราอยากจะทำเช่นนั้น บ้าง เมื่อมีมารยาทเช่นนั้นแล้วก็จะเป็นเหตุให้เกิดสกุลสูง มันจะให้เป็นมนุษย์ที่มีมารยาทดี ต้องแก้ไขตัวของตัวเช่นนี้ ส่วนวาจาเล่า จะพูดจาปราศรัยกับบุคคลผู้หนึ่งผู้ใด ผู้เฒ่าผู้แก่ สมณพราหมณาจารย์ ก็พูดแต่ถ้อยคำที่นุ่มนวลชวนสดับ ถ้อยคำที่กักขฬะชั่วช้าหยาบคาย อย่าเอาไปใช้ ถ้าใช้เข้าแล้วมันเป็นนิสัยติดไป จะไปเป็นคนป่าเถื่อนเช่นนั้นบ้าง ให้ใช้วาจา ที่นุ่มนวลชวนสดับทีเดียว เวลาให้ทาน จำศีล ภาวนา เมื่อใช้อยู่จนกระทั่งเคยติดกาย ติด วาจา ติดใจ เช่นนั้นแล้ว ก็จะเป็นคนดีได้ต่อไปในภายหน้า

    ส่วนใจเล่า ใจก็ต้องให้นุ่มนวล ให้อ่อนโยน ต้องใช้ใจที่เป็นบุญเป็นกุศล ใจเป็น อกุศลไม่เอาเข้ามาใช้ ใจที่เห็นผิด เข้าใจผิด อย่าเอามาใช้ ใจที่เห็นชอบ เห็นถูก ก็เอาเข้า มาใช้ อย่างชนิดนั้นเกิดไปในภายหน้าเป็นมนุษย์ชั้นสูง หรืออย่างต่ำพลาดพลั้งลงมา ก็ชั้น กลางของสูง พลาดพลั้งลงมาก็ชั้นต่ำของสูง เราจะไม่ตกไปเป็นมนุษย์ชั้นกลาง ชั้นต่ำ ให้แก้ไขตัวดังนี้ ให้มั่นหมายทีเดียว ถ้าได้เช่นนั้นแล้วละก็ จะได้อัตภาพว่า เป็นมนุษย์ สมมาดปรารถนา สมด้วยบาลีว่า ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ ได้เป็นมนุษย์เป็นของได้ยาก เราก็ได้ เป็นมนุษย์ สมมาดปรารถนา

    พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นของได้ยาก ความบังเกิด ขึ้นของพระพุทธเจ้านะ บังเกิดอย่างไร เราฟังกันมานานแล้ว ความบังเกิดขึ้นของมนุษย์ เป็นของได้ยาก พุทธประวัติกล่าวไว้ว่า พระสิทธัตถราชกุมาร นานกว่าจะได้เป็น พระพุทธเจ้า ได้รับพยากรณ์แล้วนะ 4 อสงไขยแสนกัป ได้รับพยากรณ์เมื่อครั้งพระพุทธทีปังกรได้เสด็จเข้าไปเมืองอมรวดี ทอดตัวลงที่เปลือกตม อาราธนาให้พระพุทธทีปังกร ให้เดินเป็นสะพานไปให้ข้าม เหยียบตัวสุเมธดาบส ข้ามไปเป็นสะพาน พระสงฆ์แสนรูปก็ ข้ามไปเช่นกัน เหยียบตัวของสุเมธดาบสนั้น พอสุดหมดพระสงฆ์แล้ว มนุษย์หนึ่งแสนเดิน เหยียบไปได้ ถ้าว่าบารมีไม่แก่กล้าแล้ว ก็ตายคาเท้าเชียวนะ ไม่ใช่พอดีพอร้ายนะ มนุษย์ แสนหนึ่งนะ เอาไม้ไผ่มาเป็นแพๆ นะ วางไว้เกือบแหลกเชียวนะ เหยียบเสียเกือบแหลก เชียว ถึงแสนหนึ่งนะ ไม่ใช่น้อยนะ ที่ทนอยู่ได้ก็เพราะบารมี

    สุเมธดาบส แกมีฌานสมาบัติ แกเห็นจะต้องเข้าฌานสมาบัติเวลานั้น ถ้าไม่เข้า ฌานสมาบัติ กายแกจะแหลกแน่ แต่ว่าแกอยู่ในเปลือกตม เหยียบลงไปมันก็หยุ่นๆ มันไม่ แข็งแรงนัก อ้ายเปลือกตมมันรองรับอยู่ข้างล่าง เหมือนอยู่บนเบาะบนฟูกก็พอทนได้ พอข้าม ไปเสร็จแล้ว พระพุทธทีปังกรก็เสด็จหันพระพักตร์กลับมา พระสงฆ์กลับมาพร้อมกัน มาล้อม อยู่ที่สุเมธดาบสนั้น ทรงรับสั่งถามพระสงฆ์ทั้งหลาย พระสงฆ์ทั้งหลายรู้จักไหม ดาบสผู้นี้นะ คือใคร ไม่มีใครรู้จัก พระองค์ก็ทรงตรัสว่า ดาบสผู้นี้นะ น้องชายเราตถาคตนะ ต่อไปในภาย หน้าอีก 4 อสงไขยแสนกัป จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนอย่างเราเช่นนี้ ทรงรับสั่งเรื่อง พุทธมารดา พุทธบิดา พุทธอนุชา พุทธบุตร เสร็จทีเดียว พระสาวกซ้ายขวาเสร็จ เมื่อได้ พุทธพยากรณ์เสร็จแล้วเช่นนั้น ดีอกดีใจ สุเมธดาบสเหมือนจะเป็นพระพุทธเจ้าในวันพรุ่งนี้ ทีเดียว มันหมายความเป็นพระพุทธเจ้าทีเดียว ก็ตรึกนึกในใจว่า เออ! นี่เราได้รับพยากรณ์ แล้ว จะได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แล้ว แต่เรื่องความเป็นพระพุทธเจ้านะ เริ่มต้นเราจะทำอะไร กันเล่า จึงจะเริ่มต้นความเป็นพระพุทธเจ้า นี่ทำอย่างไรกัน พระองค์ฉลาดปรีชาสามารถรอบรู้ ทุกสิ่งทุกประการว่าเราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร ไปเกิดมาเกิดอยู่อย่างนี้อีก 4 อสงไขย แสนกัป ถ้าเราเลินเล่อเผลอตัวเมื่อไรแล้ว ต้องทนยากลำบาก ถ้าเราไม่เลินเล่อเผลอตัวแล้ว ละก้อ เราจะเป็นคนมั่งมี เราจะทำอย่างไรเล่า นี่เราจะต้องให้ทาน เริ่มต้นต้องให้ทาน ต้อง ให้ทานกันยกใหญ่ ใครขออะไรเราให้ทั้งนั้น ถ้าไม่ขอเราก็ให้คนจนคนยากเสมอไป เกิด ชาติใดภพใดไม่ขาดสายทีเดียว เรื่องให้ทานก็มั่นหมายด้วยพระทัยว่า เช่นนั้นพระโพธิสัตว์ จึงได้สร้างบารมีให้ทานเป็นเบื้องหน้า เกิดมาเป็นมนุษย์ให้ทานเป็นเบื้องหน้าทีเดียว ทาน นั่นแหละจะเป็นชนกกรรมนำไปเกิดในสกุลที่มั่งมีมาก เพราะผลทานส่งให้ เมื่อให้ทานแล้ว สมบูรณ์บริบูรณ์ ผู้ยากขัดสนก็สมบูรณ์ อ้ายความสมบูรณ์ที่ให้แก่เขานะ กลับมาเป็นของตัว มากน้อยเท่าใดกลับมาเป็นของตัวทั้งหมด ปรากฏว่าพระองค์ให้ถึงปัญจมหาบริจาค ให้ทาน วัตถุนอกกาย เงินทอง ข้าวของ ตึกร้านบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา เรือนแพ นาวา สมบัติ พัสถาน ทรัพย์ศฤงคาร บริวารให้หมด การให้เช่นนี้ เป็น ทานบารมี เท่านั้น ยังไม่เป็น ทานอุปบารมี

    ให้เนื้อ และ เลือดของตัวเองเป็นทานได้ นี้เป็น ทานอุปบารมี ให้ชีวิตเป็นทาน ได้นี้ เป็น ทานปรมัตถบารมี

    เมื่อให้ทาน 3 ประการเช่นนี้แล้ว ยังไม่พอ ในชาติเป็นพระเวสสันดรหรือชาติใดๆ ก็ตาม ที่ให้ทาน ให้ลูกเป็นทาน ให้เมียเป็นทาน เมื่อชูชกไปขอกัณหาชาลีที่เขาวงกต พระราชทานกัณหาชาลีทั้งสองให้ชูชก นั้นเรียกว่า ปุตตบริจาค เป็นทานข้อคำรบ 4 พระอินทร์ เห็นว่าไม่ได้การ พระเวสสันดรนี้ใจกล้าหาญนัก เรื่องศรัทธาบารมีมีเต็มอยู่แล้ว ถ้ามี ผู้หนึ่งผู้ใดมาขอมัทรี จะให้เสียอีก ถ้าให้เสียอีก เธอก็จะลำบาก หาลูกไม้บริโภคเอง ถ้าหาก ว่ามัทรีอยู่ ก็จะได้หาผลหมากรากไม้มาให้ทรงเสวย พระอินทร์ก็แปลงเป็นพราหมณ์ลงมา ขอมัทรีเสียทีเดียว ขอก็ทรงพระราชทานพระมัทรีให้ แต่ว่าพราหมณ์ฉลาด ข้าพระพุทธเจ้า ได้ขอพระมัทรี พระองค์ได้ทรงพระราชทานแก่ข้าพระพุทธเจ้า เป็นสิทธิ์ของหม่อมฉันแล้ว ต่อแต่นี้ไปผู้หนึ่งผู้ใดมาขอ ให้ไม่ได้ แต่ว่าหม่อมฉันจะขอฝากพระองค์ไว้ กว่าเมื่อใด ต้องการจึงจะมาเอา ถ้ายังไม่ต้องการ จะให้ใครผู้หนึ่งผู้ใดเป็นไม่ได้ เป็นของหม่อมฉันแล้ว แกคาดคั้นไว้เสียเช่นนี้ ใครมาขออีกเท่าไรก็ไม่ได้แล้ว เพราะแกให้พราหมณ์ไปเสียแล้ว นี่ พระอินทร์มาสงเคราะห์พระเวสสันดร ให้พระมัทรีอยู่พิทักษ์รักษา จะได้ไม่ลำบากด้วย พระกระยาหารแต่อย่างหนึ่งอย่างใด นี้ได้ชื่อว่าให้ภรรยาเป็นทานอีกแล้ว จิตบริจาคอันหนึ่ง เป็น 5 เรียกว่า ปัญจมหาบริจาค ให้ทานจริงๆ เช่นนี้นะ ไม่ใช่พอดี พอร้ายนะ

    ถ้าให้ทาน ให้ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ของชอบใจไม่ให้เก็บเสีย ซ่อนเสีย ของไม่ดีที่ ไม่เสมอใจให้เสีย ให้อย่างนี้มันเลือกให้ ให้ของไม่ดีเป็นทาน เป็นทาสทาน จัดว่ายังเข้าไม่ถึง สหายทาน เป็นทาสทานแท้ๆ เพราะเลือกให้ หากว่ามีมะม่วงสัก 3 ใบตั้งขึ้นก็จะให้ใบเล็ก เท่านั้นแหละ เอามะม่วง 3 ใบเท่าๆ กัน ก็จะให้ใบที่ไม่ชอบใจนั่นแหละ เอามะม่วง 3 ใบ เสมอกัน ก็จะเลือกเอาอีกแหละ ลูกที่ไม่ชอบจึงให้ ลูกที่ชอบไม่ให้ หรือมันใกล้จะสุกแล้ว ไม่ให้ ให้ที่อ่อนๆ ไปอย่างนี้ อย่างนี้เป็นทาสทาน ไม่ใช่สหายทาน

    ถ้าให้สหายทานจริงแล้ว ก็ตัวบริโภคใช้สอยอย่างไร ให้อย่างนั้น เป็นสหายทาน ถ้าว่าสามีทานละก้อ เลือกหัวกระเด็นให้ เลือกให้ของที่ไม่ดีกว่านั้นต่อไป ถ้าเลือกหัวกระเด็น ให้เช่นนี้ละก็ เป็นสามีทาน ลักษณะโพธิสัตว์เจ้าให้ทานนะ ให้สามีทานนะ ให้สหายทาน สามีทานทีเดียว ทาสทานไม่ให้ นี้เราสามัญสัตว์ ชอบให้แต่ของที่ไม่ประณีต ไม่เป็นที่ของ ที่ชอบเนื้อเจริญใจละก็ให้ มันก็เป็นทาสทานไป เสมอที่ตนใช้สอยมัน ก็เป็นสหายทานไป ยิ่งกว่าตนใช้สอย มันก็เป็นสามีทานไป แต่ว่าพวกเราที่บัดนี้ เป็นสามีทานอยู่ก็มี เช่นเลี้ยง พระสงฆ์องค์เจ้า ตบแต่งสูปพยัญชนะเกินกว่าเราบริโภคทุกวันๆ ที่เกินใช้สอย เช่นนี้เป็น สามีทาน ประณีตบรรจงแล้วจึงให้ อย่างนี้เรียกว่า สามีทาน

    ทานนี่แหละเป็นข้อสำคัญนัก พระโพธิสัตว์จะได้เสด็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็อาศัยทาน นี้แหละ ไม่ให้ทานละก้อ เป็นไม่สำเร็จทีเดียว เพราะฉะนั้นบัดนี้วัดปากน้ำที่มีภิกษุสามเณร มารวมอยู่มาก ก็เพราะอาศัยเจ้าอาวาสบริจาคทาน บริจาคมานาน 37 ปี บริจาคมา บริจาคเรื่อย ไม่ได้ครั่นคร้ามนะ ถ้าว่าใครไม่มาบริจาค ก็บอกผู้หนึ่งผู้ใดมาบริจาคด้วยละ ก็ทำไป ถ้าว่าไม่พอละก้อ เท่าใดก็ให้ทีเดียว เป็นหนี้เป็นสินยอมทีเดียว เขาจะบริจาคทาน ทำบารมี ไปในอนาคตกาลข้างหน้ากันอย่างนั้น เรียกว่า ความเป็นพุทธเจ้า นะ ไม่ใช่เป็น ของได้ง่าย ของได้ยาก

    เมื่อพระสิทธัตถราชกุมารเป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็เพราะอาศัยเบื้องต้นให้ทานทีเดียว ทั้งเป็นสุเมธดาบส ท่านกำหนดจะเป็นพระพุทธเจ้า นึกอยู่แต่ในใจ 7 อสงไขย แต่ออกวาจา ว่าข้าพเจ้าปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า ปรารถนาอย่างนี้แล้ว ก็อีก 9 อสงไขย ได้รับพยากรณ์แล้วเมื่อครั้งเป็นสุเมธดาบส เมื่อพระพุทธทีปังกรได้ทรง พยากรณ์ไว้เช่นนั้นแล้ว ต่อไปอีก 4 อสงไขยแสนกัป รวมทั้งหมด สร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขย หนึ่งแสนกัป ที่พระสิทธัตถราชกุมารได้ทำสูงขึ้นไปกว่านี้ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า พิสดารออกไปแล้วก็ 8 อสงไขยแสนกัป นี้หลักการอย่างนี้เรียกว่า 16 อสงไขยแสนกัปนะ ต้องแยกพิศดารออกไปอีก ตามจำนวนอีกเท่าหนึ่ง เรียกว่าปรารถนาบารมีท่านสูง สามพวก นี้แหละที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้า แต่อย่างย่อลงไปก็ 4 อสงไขยแสนกัป 8 อสงไขยแสนกัป 16 อสงไขยแสนกัป สามจำนวนนี้ แต่ว่าสร้างบารมีกว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านะ ไม่ใช่เป็น ของง่าย

    ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี เป็นทั้งนั้น ศีลบารมี ศีลอุปบารมี ศีลปรมัตถบารมี เป็นทั้งนั้น เนกขัมมบารมี เนกขัมมอุปบารมี เนกขัมมปรมัตถบารมี ปัญญาบารมี ปัญญาอุปบารมี ปัญญาปรมัตถบารมี วิริยบารมี วิริยอุปบารมี วิริยปรมัตถบารมี ขันติบารมี ขันติอุปบารมี ขันติปรมัตถบารมี สัจจบารมี สัจจอุปบารมี สัจจปรมัตถบารมี อธิษฐานความตั้งใจมั่น อธิษฐานบารมี อธิษฐานอุปบารมี อธิษฐานปรมัตถบารมี เมตตาบารมี เมตตาอุปบารมี เมตตาปรมัตถบารมี อุเบกขาบารมี อุเบกขาอุปบารมี อุเบกขาปรมัตถบารมี เต็ม 30 ทัศ

    แต่ว่าบารมีหนึ่งๆ กว่าจะได้เป็นบารมีนะ ไม่ใช่เป็นของง่าย ทานบารมีเต็มดวงนะ ดวงบุญที่เกิดจากการบำเพ็ญทาน ได้เป็นดวงบุญ ดวงบุญใหญ่โตเล็กเท่าไหร่ไม่ว่า สร้างไป เถอะ ทำไปเถอะ แล้วเอาดวงบุญนั้นมากลั่นเป็นบารมี ดวงบุญมากลั่นเป็นบารมีนะ บุญมี คืบหนึ่ง เต็มเปี่ยมเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทีเดียว เอามากลั่นเป็นบารมีได้นิ้วเดียว เท่านั้น เอง กลมรอบตัวเท่านั้นแหละ กลั่นไปอย่างนี้แหละทุกบารมี ไปจนกว่าบารมีนั้นจะเต็มส่วน แล้วก็บารมีที่จะเป็นอุปบารมี เอา บารมี นั้นแหละ คืบหนึ่งเต็มส่วนเอามากลั่นเป็นอุปบารมี ได้นิ้วเดียว แล้วเอา อุปบารมี นั่นแหละ คืบหนึ่ง กลมรอบตัว เอามากลั่นเป็นปรมัตถบารมี ได้นิ้วเดียว

    บารมี ก็ดี อุปบารมี ก็ดี ปรมัตถบารมี ก็ดี วัดผ่าเส้นศูนย์กลางกลมรอบตัวทุกบารมีไป มีทั้ง 30 ทัศ จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ยากนักเรื่องนี้ยากนัก พระองค์จึงได้ทรงโปรด ออกพระโอษฐ์ว่า พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นของได้ยาก

    ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ ที่จะถึงด้วยทานมัย เป็นของได้ยากอีกประการหนึ่ง ถึงพร้อม ด้วยทานมัยเป็นอย่างใด พระพุทธเจ้ามาอุบัติตรัสขึ้นในโลกนี้ พูดถึงทานมัยนี้ เราไปเกิด เสียบ้านนอกเมืองดอนรอนแขมแรมไพร สิบวันพันปี ไม่พบภิกษุสามเณรผ่านไป ทางนั้น สักหนหนึ่ง นี่เป็นอขณสมัยเสียข้อหนึ่งแล้ว พระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดในโลกโน้น ไปเกิดเป็น สัตว์นรกเสีย ก็เป็นอขณสมัยเสีย ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเสีย พระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้น ในโลก ก็เป็นอขณสมัยเสีย ไปเกิดเป็นเปรต อสุรกายเสีย ก็เป็นอขณสมัยอีกเหมือนกัน พระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้นในโลก ก็ไปเกิดเป็นอรูปสัตว์ ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น หรืออสัญญีสัตว์โน้น พระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้นในโลก เกิดมาเป็นมนุษย์ในโลกได้เสียกำเนิด นี้ก็เป็นอขณสมัย พระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดในโลก เขาเรียกว่าเป็นบ้าเสีย เอาเรื่องไม่ได้ นี้ก็ เป็นอขณสมัย พระพุทธเจ้ามาอุบัติในโลก เป็นคนดีบริสุทธิ์ ตัวกลับเฉลียวฉลาด พูดจา ปราศรัยไม่ได้กลัวใคร ไม่ได้ครั่นคร้ามผู้หนึ่งผู้ใด พระพุทธเจ้าก็ไม่กลัวเสียอีก กลับดูถูก ดูหมิ่นพระพุทธเจ้าไปเสียอีก หาว่าตัวฉลาดกว่าพระพุทธเจ้าเข้าไปเสียอีก พูดจาปราศรัย ไม่มีใครเทียมทันทั้งนั้น ผู้คนชนิดนี้เขาเรียกว่าเอฬมตฺตโก บ้าน้ำลาย เอาจริงไม่ได้ ดูถูก ดูหมิ่นคละไปเสียอีก เป็น เอฬมตฺตโก เป็นอขณสมัย เหมือนกับไม่พบพุทธศาสนา ไม่พบ พระพุทธเจ้าทีเดียวนั้นแหละ แบบเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิเสีย ก็ใช้ไม่ได้ ก็เป็นอขณสมัยเสียอีกเหมือนกัน ไม่เอาจริง พวกนี้เหลวไหลทั้งนั้น อขณสมัย พระพุทธเจ้า มาอุบัติตรัสขึ้นในโลก ตัวเองเป็นคนสมบูรณ์บริบูรณ์อยู่ เลื่อมใสเหมือนภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ในบัดนี้ก็เหมือนกันละนะ ต่างพวกเป็นคนบ้าน้ำลายเหมือนกัน เอฬมตฺตโก ดีแต่พูดไม่จริงซักอย่างหนึ่ง ไอ้ชนิดนี้เขาเรียกว่าบ้าน้ำลาย เป็นอขณสมัย มาพบพุทธศาสนาไม่ได้อะไร เสียเวลาเปล่า ให้เป็นโทษเสียอีก

    ทว่าเลื่อมใสในศาสนาในพระศาสดาจริงๆ เหมือนกับ ท่านทั้งหลายที่ได้บริจาคทาน ได้ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ปรากฏอยู่เช่นนี้ ก็ได้ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยขณะถึงพร้อมด้วย สมัย ไม่เสียทีที่เป็นมนุษย์ เกิดมาพบพุทธศาสนา ได้บริจาคทานในพุทธศาสนา ได้มารักษา ศีลในพุทธศาสนา โดยน้ำใสใจจริง ได้เจริญภาวนาในพระพุทธศาสนา ทำไมว่ามีเจริญ ภาวนา มี ธรรมกาย ขึ้น เรียกว่าเข้าถึงรัตนตรัย เข้าถึงแก่นพุทธศาสนาทีเดียว มีธรรมกาย ขึ้นเหมือนวัดปากน้ำได้มีตั้ง 150 กว่าคน มีธรรมกายทั้งหญิงทั้งชาย ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มีธรรมกาย 150 กว่าคน ไปนรก ไปสวรรค์ ไปนิพพาน ได้อย่างนี้ ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ ถึงพร้อมด้วยขณะ ถึงพร้อมด้วยสมัยแท้ๆ ทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วละก็ นี่ แหละที่พระองค์ทรงรับสั่งว่า ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ พร้อมด้วยขณะพร้อมด้วยสมัยเป็นของ ได้ยาก เป็นประการที่ 3

    สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภ สัทธรรม เป็นของได้ยากยิ่ง สัทธรรมเป็นของได้ยากอย่างยิ่ง นะเป็นไฉน สัทธรรมคือธรรมเครื่องสงบระงับ แยกบทออกไปว่า สนฺโต ธมฺโม อันว่าธรรม ของผู้สงบระงับ ธรรมสงบระงับนั่นคือธรรมอะไร อยู่ที่ไหน กุศลธรรมสงบระงับเสียซึ่ง อกุศลธรรม หรือสงบระงับเสียซึ่งบาปชั่ว นี้สงบระงับเสียซึ่งชั่ว สุจริตสงบระงับเสียซึ่งทุจริต นี้ก็เป็นสัจจธรรมส่วนหนึ่ง ภายนอกศีล 5 เป็นสัทธรรมของทุกศีล ทั้งศีล 5 ศีล 8 เป็น สัทธรรมของทุกศีล ทั้งศีล 8 ศีล 10 เป็นสัทธรรมของทุกศีล ทั้งศีล 10 ศีล 227 เป็น สัทธรรมของทุกศีล ทั้ง 227 ข้อนั้น นี่เป็นสัทธรรมโดยย่อ ที่เรียกว่าเป็นสัทธรรมจริงแท้ แน่นอนเป็นไฉน

    สัทธรรม แปลว่า ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ทำให้สัทธรรมของพวกนรก สัตว์ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ท่วมทับธรรมให้เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย หายไป แทรกซอนเข้ามาไม่ได้ อยู่ด้วยความบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ นี่เป็น สัทธรรมของมนุษย์

    ถ้าเป็นดวงใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ใสเป็น กระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย ด้ายกลุ่มขึงเส้นตึง ตรงกลางมาจรด กันนั่น “กลางกั๊ก” กลางกั๊กนั่นถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟอง ไข่แดงของไก่ ดวงธรรมดวงนั้นแหละได้ชื่อว่าเป็นสัทธรรมแท้ๆ เรียกว่า สัทธรรมของมนุษย์ ธรรมเครื่องสงบ ธรรมที่ทำให้เป็นอมนุษย์ไม่มีต่อไป เป็นมนุษย์ก็เกิดปรากฏขึ้นนั่นชั้นหนึ่ง

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ที่นอนฝันออกไป 2 เท่าฟองไข่แดงของไก่ ธรรมดวงนั้นเป็นสัทธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์สูงขึ้นไป

    ไปถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นเป็นสัทธรรมของ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด

    เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นเป็นสัทธรรม ของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์

    เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพรหม 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว นั่นเป็น สัทธรรมของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด

    เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด 6 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบ ตัว นั่นเป็นสัทธรรมของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม

    เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม 7 เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นเป็นสัทธรรม ของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด

    เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นเป็น สัทธรรมของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมหยาบ

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็น ธรรมกาย วัดหน้าตักเท่าหน้าตักธรรมกาย ใหญ่เท่าใด แต่ว่า หย่อนกว่า 5 วา สูง 5 วา นั่นเป็นสัทธรรมของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลางกลมรอบตัว นี่เป็น สัทธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมกาย เป็นลำดับขึ้นไป

    เข้าถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดา นั่นเป็นพระสัทธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด 5 วา กลมรอบตัว

    เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดาละเอียด นั่นเป็นสัทธรรมของดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายพระโสดา

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา เป็นสัทธรรมของดวงธรรมที่ทำให้เป็น พระโสดาละเอียด นั้นหนักจุขึ้นไป 10 วา กลมรอบตัว

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคาละเอียด 10 วา นั่นเป็นสัทธรรมของ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาหยาบ

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 วา กลมรอบตัว นั่นเป็น สัทธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคาละเอียด

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด 15 วา กลมรอบตัว เป็นสัทธรรมของ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาหยาบ

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต 20 วา กลมรอบตัวเหมือนกัน นั่นเป็นสัทธรรม ของดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตละเอียด เป็นสัทธรรมด้วย ต่อเป็นลำดับขึ้นไป ทีเดียว

    นี่สัทธรรมเป็นของได้ยากอย่างนี้ นี่นะไม่ใช่เป็นของได้ง่าย พอดีพอร้าย วัดปากน้ำ ได้ค้นพบตลอดมาหลายแล้ว หลักฐานก็ชี้ได้แน่นอนแล้ว ได้ยากนัก พระสัทธรรมนี่เป็นของ ได้ยากยิ่ง

    พระฝรั่งวิลเลียม เป็นศาสตราจารย์ในลอนดอน เป็นผู้ได้มาบวชในโบสถ์วัดปากน้ำนี้ ผู้เทศน์นี้เป็นอุปัชฌาย์ ได้สั่งสอนให้พระวิลเลียมซึ่งเป็นฝรั่งนั้น ได้บรรลุธรรมจริงอย่างนี้ ที่เห็นจริงอย่างนี้นี่แหละ จะเอาไปประกาศในลอนดอน ประเทศอังกฤษ จะไปวันที่ 8 นี้ นี่วันนี้วันที่ 7 แล้ว บุ๊คเรือบินไว้เสร็จแล้ว แต่ว่าค่าโดยสารที่จะไปนั้นนะ และเครื่องใช้ไม้ สอยด้วย ผู้เทศน์นี้ได้บริจาคไว้แล้ว 30,000 บาท ผู้ใดจะทำบุญค่ารถค่าเรือของพระฝรั่งบ้าง จะได้เป็นนิสัยปัจจัยไป ท่านจะได้ไปประกาศศาสนา จะได้เป็นเนื้อนาบุญอันสำคัญ ต้องการ จะบริจาคละก้อ ให้ไปมอบกับนายประยูร ที่กุฏินั่นได้ สำหรับเป็นไวยาวัจกรงบประมาณ ในเรื่องนี้ สำหรับงบประมาณในเรื่องส่งพระฝรั่งไปประกาศศาสนาในประเทศฝรั่งโน้น ไปไม่ใช่ไปเลย ไปถ้าถึงปีหรือสมควรแก่เวลาทั้งนั้น แล้วก็จะกลับมาอีก นำเอาฝรั่งมาบวช อีก จะตั้งศาสนาในลอนดอนให้ได้ ให้เป็นวัดไทยจริงๆ กัน นี้เป็นข้อสำคัญอย่างนี้นะ เรื่อง วิชชาธรรมกายวัดปากน้ำนะ จะเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่ไพศาลในยุโรปทีเดียว ให้อุตส่าห์ตั้งใจ บุญกุศลยิ่งใหญ่นะ ข้อนี้นะ นี้ก็ของหาได้ยากเหมือนกัน ในประเทศไทยหาได้เหมือนกัน ธรรมกายอย่างวัดปากน้ำ ธรรม 4 ประการนี้ก็หาได้ยากเหมือนกัน เราได้ฟังสมเจตนา เรื่องการกุศลนี้ก็หาได้ยากเหมือนกัน เราก็ได้ฟังสมเจตนาด้วยเหมือนกัน

    ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา วรญฺญํ สรณํ นตฺถิ สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐของเราทั้งหลาย สรณํ เม รตนตฺตยํ พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่ นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาก็พอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถ นิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    ธชัคคสูตร


    lphor_tesna_vn.jpg
    [36]
    20 มิถุนายน 2497
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)


    ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ. อถโข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท เทเว ตาวตึเส อามนฺเตสิ สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา มเมว ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ มมํ หิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา โส ปหิยฺยิสฺสตีติ.

    ณ บัดนี้อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยความชนะและความแพ้ 2 กระแส โลกปรารถนาความชนะทุกถ้วนหน้า ไม่มีใครปรารถนาความแพ้เลย ความแพ้ หรือความ ชนะนี้เป็นของคู่กัน ในศึกสงครามใดๆ ในมนุษย์โลก ต่างฝ่ายก็ชอบชนะด้วยกันทั้งนั้น ไม่มี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากจะแพ้ หรือมุ่งมาตรปรารถนาความแพ้ ถ้าว่าคิดว่าแพ้แน่แล้ว ก็ไม่สู้ ถ้าว่าคิดว่าสู้ก็ไม่แพ้ ตั้งใจอย่างนี้

    บัดนี้ สงครามโลกกำลังปรากฏอยู่ ในเกาหลียังปรากฏอยู่ ในอินโดจีนนั้นก็ยัง ปรากฏอยู่ ต่างฝ่ายก็มุ่งเอาชัยชนะด้วยกัน สู้กันจริงๆ จังๆ อย่างนี้

    ทางพุทธศาสนาเล่า มุ่งความชนะยิ่งกว่านั้น แต่ว่าความแพ้มันล่อแหลม มันก็ ปรากฏอยู่เหมือนกัน เหมือนภิกษุที่สวมฟอร์มเป็นภิกษุอยู่เช่นนี้ ถ้ามุ่งความชนะจึงได้ สวมฟอร์มเช่นนี้ เข้าสู้รบทีเดียว ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกาแสดงอากัปกิริยามุ่งความชนะอีก เหมือนกัน แต่ความชนะน่ะ ชนะอะไร ชนะที่สุดต้องชนะความชั่วทั้งหมด ความชั่วทั้งหมด มีมากน้อยเท่าใด มุ่งชนะทั้งหมด จนกระทั่งดีที่สุดถึงพระอรหันต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน มุ่งหลักฐานเช่นนั้น

    โลกดุจเดียวกัน มุ่งความชนะเป็นเบื้องหน้า เพื่อจะหลีกเลี่ยงเสียจากความแพ้ เมื่อได้ชัยชนะแล้ว ก็ได้ความเป็นใหญ่ในประเทศนั้นๆ ชนะทุกประเทศเป็นเอกในชมพูทวีป เรียกว่า ชนะเลิศ การชนะนี้แหละเขาต้องการกันนัก มีแพ้ชนะ 2 อย่างเท่านั้น

    ไม่ว่าแต่ความแพ้ชนะในมนุษย์นี่ ในดาวดึงส์เทวโลกนั่นเทวดายังรบกันเลย เรื่องนี้ ปรากฏตามกำหนดวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรพ์มีมาแล้วในกาลปางก่อน เทวาสุรสงฺคาโม สงครามเทวดาและอสูร สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ ได้ประชิดกันเข้าแล้ว เทวดา และอสูรในดาวดึงส์ทำสงครามกันขึ้นแล้ว เมื่อสงครามเกิดขึ้นเช่นนั้น ในคราวใดสมัยใด พวกอสูรแพ้ท้าวสักกรินทรเทวราช ก็ลงไปตั้งพิภพอยู่ภายใต้เขาพระสุเมรุ บนยอดเขา พระสุเมรุนั้น พระอินทร์ตั้งพิภพอยู่ในที่นั้น เรียกว่าดาวดึงส์ หนทางไกลตั้ง 84,000 โยชน์ จากยอดไปถึงตีนเขาโน่น จากยอดเขาไปถึงยอดเขา 84,000 โยชน์ หนทางไกลขนาดนี้ แต่ว่า เขาพระสุเมรุอยู่ในน้ำ มีน้ำล้อมรอบ

    เมื่อถึงเทศกาลฤดูดอกแคฝอยในพิภพของอสูรบานขึ้นเวลาใด ชาวอสูรตกใจก็ที่พิภพ ของเราที่เราเคยอยู่มันมีดอกปาริฉัตตชาติ นี่ดอกแคฝอยเกิดขึ้นในพิภพของเราเช่นนี้ ไม่ใช่ พิภพของเราเสียแล้ว คิดรู้ว่า อ้อ! เมื่อครั้งเราเมาสุรา ท้าวสักกรินทรเทวราชจับเราโยนลงมา พวกเราจึงมาอยู่ในเขาพระสุเมรุนี้ ที่เกิดพิภพอสูรขึ้นเช่นนี้ก็เพราะบุญของเรา แต่ว่าหักห้ามความแค้นใจนั้นไม่ได้ ต้องผุดขึ้นมาจากน้ำ ออกมาจากเชิงเขาพระสุเมรุจากในน้ำนั้นแหละ เหาะขึ้นไปในอากาศ ไปรบกับท้าวสักกรินทรเทวราช

    ถึงคราวสมัยทำสงครามกับอสูรเวลาใด ท้าวสักกรินทรเทวราช ก็เรียกเทวดาในชั้น ดาวดึงส์ หมู่เหล่าเทวดาในชั้นดาวดึงส์มีมากน้อยเท่าใด เรียกมาสั่งว่า สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา มเมว ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ มมํ หิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา โส ปหิยฺยิสฺสติ ว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าความกลัว หรือความหวาดสะดุ้ง หรือ ความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่ท่านทั้งหลายที่ไปอยู่สงครามแล้ว ท่านทั้งหลายเมื่อความ กลัวเกิดขึ้นเช่นนั้น ให้แลดูชายธงของเรา เมื่อท่านแลดูชายธงของเรากาลใด กาลนั้นความกลัว ความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าอันใดที่มีอยู่ อันนั้นย่อมหายไป เมื่อท่านแลดูชายธงของ เราแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งไม่หายไป ขอท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเทวราชปชาบดีเถิด เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชปชาบดี ความกลัวก็ดี ความ หวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่มีอยู่ ย่อมหายไป เมื่อท่านแลดูชายธงของ เทวราชปชาบดีแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งไม่หายไป ท่านพึงแลดูชายธงของวรุณเทวราช เถิด ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านก็จะหายไป ถ้าว่าเมื่อท่าน แลดูชายธงของเทวราชวรุณแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้านั้นยังไม่ หายไป ทีนั้นท่านพึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อว่าอีสานเถิด เมื่อท่านแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสานแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านจะหายไป

    เมื่อท่านแลดูชายธงของท่านทั้ง 4 เหล่านี้ ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพอง สยองเกล้าบางทีก็หายไปบ้าง บางทีก็ไม่หายบ้าง ตํ กิสฺส เหตุ นั่นเหตุอะไรเล่า สกฺโก หิ ภิกฺขเว เทวานมินฺโท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกรินทรเทวราชผู้เป็นจอมของเทวดา อวีตราโค มีราคะยังไม่ไปปราศแล้ว อวีตโทโส มีโทสะยังไม่ไปปราศแล้ว อวีตโมโห มีโมหะ ยังไม่ไปปราศแล้ว ภิรุ ฉมฺภี อุตฺตราสี ปลายีติ เป็นผู้ยังกลัว ยังหวาด ยังสะดุ้ง ยังหนีไปอยู่ ท่านทั้ง 4 นั้นยังกลัว ยังหวาดสะดุ้ง ยังหนีไปอยู่ อหญฺจ โข ภิกฺขเว เอวํ วทามิ สเจ ตุมฺหากํ ภิกฺขเว อรญฺญคตานํ วา รุกฺขมูลคตานํ วา สุญฺญาคารคตานํ วา อุปฺปชฺเชยฺย ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวอย่างนี้แล เมื่อท่านทั้งหลายไปอยู่ป่าแล้ว ไปอยู่ที่โคนต้นไม้แล้ว ไปอยู่ เรือนว่างเปล่าแล้ว ถ้าแม้ว่าความกลัวความหวาดความสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้น แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเราผู้ตถาคตเข้าเถิด เมื่อท่านระลึกถึงเราผู้ตถาคต แล้วกาลใด กาลนั้นความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านทั้งหลาย จะหายไป เมื่อท่านระลึกถึงเราแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าไม่หายไป ทีนั้นท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมเข้าเถิด เมื่อท่านทั้งหลายระลึกถึงพระธรรมเข้าแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าจะหายไป เมื่อท่านระลึกถึงพระธรรมแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าของท่านไม่หายไป ทีนั้นท่านพึงระลึกถึง พระสงฆ์เข้าเถิด เมื่อท่านระลึกถึงพระสงฆ์เข้าแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพอง สยองเกล้าของท่านก็จะหายไป

    ที่ท่านทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความกลัวความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าหายไป ตํ กิสฺส เหตุ นั่นเหตุแห่งอะไร ตถาคโต อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระตถาคตเจ้าเป็นผู้หมดกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ วีตราโค เป็นผู้มีราคะไปปราศ แล้ว วีตโทโทสมีโทสะไปปราศแล้ว วีตโมโห มีโมหะไปปราศแล้ว อภิรุ อจฺฉมฺภี อนุตฺตราสี อปลายี เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนีไป เพราะท่านเป็นผู้หมด ภัยแล้ว ท่านไม่มีภัยแล้ว เมื่อระลึกถึงท่านเข้า เมื่อระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เข้า ภัยอันใดจักมี ภัยอันใดที่มี ภัยอันนั้นย่อมหายไป อยู่ไม่ได้ นี้เป็นเครื่องมั่นใจของ พุทธศาสนิกชนยิ่งนักหนา

    ฝ่ายท้าวสักกรินทรเทวราช ปชาบดีเทวราช วรุณเทวราช อีสานเทวราช ท่านมี บุญหนักศักดิ์ใหญ่ในดาวดึงส์เทวโลก เป็นผู้ปกครองของเทพเจ้าในดาวดึงส์เทวโลก ท้าว สักกรินทรเทวราชผู้เป็นจอมเทวดา เป็นเทวดาผู้ใหญ่ เป็นที่มั่นใจของเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวโลกฉันใด พุทธศาสนิกชน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มีพระรัตนตรัยเป็นหลัก คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เป็นหลัก เมื่อระลึกถึงหลักอันนี้แล้ว ย่อมไม่หวาดเสียว ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่สะดุ้ง มั่นคงในพระพุทธศาสนา เมื่อมั่นคงในพระพุทธศาสนา เมื่อมั่นคง แน่แท้เช่นนี้แล้ว จะเอาชัยชนะได้ ไม่ต้องสงสัยละ กระทำสิ่งใดสำเร็จสมความปรารถนาทีเดียว

    จะทำอย่างไรพุทธศาสนิกชนที่จะทำจริง ทำแท้แน่นอน เอาจริงเอาจังกันละ ของ ไม่มาก ของนิดเดียวเท่านั้น พุทธศาสนิกชน หญิงก็ดี ชายก็ดี คฤหัสถ์ บรรพชิต ไม่ว่า ต้องทำใจให้หยุด หยุดที่ตรงไหน ที่หยุดมีแห่งเดียว เคลื่อนจากที่หยุดแห่งนั้นละก้อ เป็น เอาตัวรอดไม่ได้ ไม่ถูกเป้าหมายใจดำพุทธศาสนา ทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั้น พอ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่นได้แล้ว นั่นแหละเป้าหมายใจดำพุทธศาสนา ตรงนั้นแหละ เมื่อ มนุษย์จะเกิดมา ต้องเอาใจหยุดตรงนั้น กลางตัวละก้อ หญิงชายเกิดต้องเอาใจไปหยุด ตรงนั้น ที่หยุดของใจ เวลาจะหลับก็ต้องเอาใจไปหยุดตรงนั้นจึงหลับได้ หลับตรงไหน ตื่นตรงนั้น เกิดตรงไหน ตายที่นั่น อ้ายที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่นนั่นแหละ เอาใจไปหยุดตรงนั้น

    พอหยุดถูกส่วนเข้ากลางกายมนุษย์ คราวนี้ก็จะเดินไปแบบเดียวกันนี้แหละ ไม่มีสอง ต่อไปละ พุทธศาสนาแท้ๆ ทีเดียวนา ออกจากโอษฐ์พระบรมศาสดานะ คำว่าหยุดนั่นแหละ เมื่อพระองค์เสด็จไปทรมานองคุลิมาล องคุลิมาลหมดพยศร้ายแล้ว แพ้จำนนพระบรมศาสดาแล้ว เปล่งวาจาว่า สมณะหยุดๆ พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์ สมณะหยุดแล้ว ท่านไม่หยุด คำว่าหยุด นี่ออกจากโอษฐ์พระบรมศาสดา องคุลิมาลพอรู้จักนัยที่พระบรมศาสดาให้เช่นนี้ ก็หมดพยศร้าย มิจฉาทิฏฐิหาย กลายเป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น อ้ายตัว หยุดนี่แหละหนา เลิกเป็นมิจฉาทิฏฐิ กลับเป็นสัมมาทิฏฐิทีเดียว

    หยุดนี่แหละเป็นตัวถูกละก้อ เอาใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไม่หยุดไม่ยอมกัน แก้ไขจนกระทั่งใจหยุดกึ๊ก เมื่อใจหยุด แล้ว เข้ากลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆ ไม่มีเขยื้อน ที่กลางของกลางทีเดียว พอถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใสเป็น กระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าใสเกินใจ ใจก็หยุดอยู่กลางดวงของธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล เท่ากับดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วน เข้า กลางของกลางที่ใจหยุดหนักเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่น หยุดกลางของกลางถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ดวงเท่ากัน เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่น พอหยุด ก็เข้ากลางของกลางที่หยุดนั่น กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เข้ากลางของใจที่หยุด ถูกส่วน เข้า เห็นกายมนุษย์ละเอียดที่ฝันออกไป จำได้ อ้ายนี่เมื่อนอนฝันออกไป เมื่อเวลาไม่ฝัน มาอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี่เอง พอถึง รู้จักทีเดียว กำชับให้ฝันได้ นั่งฝันได้ละคราวนี้ จะฝันสักกี่เรื่องประเดี๋ยวก็ได้เรื่อง ประเดี๋ยว ก็ได้เรื่องฝันได้สะดวกสบาย เมื่อเป็นเช่นนี้ อ้อ! นี่ขั้นหนึ่งแล้ว เข้ามาแต่กายมนุษย์ มาถึง กายมนุษย์ละเอียดแล้ว

    ใจของกายมนุษย์ละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกัน พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสะ แบบเดียวกัน ก็เข้าถึงกายทิพย์ อ้อ! นี่กายที่ 3 แล้ว ใจของกายทิพย์หยุดอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์แบบเดียวกัน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ แล้วก็ไปเห็นกายทิพย์ละเอียด อ้าวถึงกายที่ 4 แล้ว ใจก็หยุดอยู่ศูนย์ กลางที่ 4 นั่น หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่ 4 นั่น ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายรูปพรหม กายที่ 5 ใจกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ใจกายรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียดนั้น ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม กายที่ 7 ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ใจกาย อรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วน เข้า ก็เข้าถึงกายธรรม

    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายธรรม ละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูกส่วนเข้าก็ถึง กายพระโสดา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง กายพระโสดาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายพระสกทาคา ใจพระสกทาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา ถูกส่วนเข้า แบบเดียวกันหมด เข้าถึงกายพระสกทาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระอนาคา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด ใจพระอนาคา ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าก็เข้า ถึงกายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้นไป ใจพระอรหัต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระอรหัต ละเอียด เสร็จกิจในพุทธศาสนาเพียงเท่านี้

    เพราะอาศัยการรบศึกแค่นี้ชนะสงครามแล้วในพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชน ภิกษุ สามเณร ชื่อว่าชนะสงครามแล้ว อุบาสกอุบาสิกามาถึงแค่นี้ได้ชื่อว่าชนะสงครามแล้ว ชนะ สงคราม ชนะความชั่ว ถ้าไปถึงธรรมกายขนาดนั้นละก้อ ความชั่วเท่าปลายขนปลายผมไม่ทำ เสียแล้ว ขาดจากกาย วาจา ใจ ทีเดียว นี่พึงรู้ชัดว่า อ้อ! พุทธศาสนิกชนปฏิบัติได้จริงจังอย่างนี้ โลกชนะสงครามแล้วเขาได้รับความเบิกบานสำราญใจเพียงแค่ไหน ฝ่ายพุทธศาสนิกชน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ได้ชนะสงครามชั่ว หมดกิเลสเข้าไปเป็นชั้นๆ เช่นนี้แล้ว จะเบิกบาน สำราญใจสักแค่ไหน หาเปรียบไม่ได้ทีเดียว เลิศล้นพ้นประมาณเป็นสุขวิเศษไพศาล

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีเป็นหลักเป็นประธาน พอสมควรแก่กาลเวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมี แก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพ พระพุทธเจ้าทั้งปวงสพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ทั้งปวง ปิฎกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้ง 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอานุภาพของชินสาวก สาวกของท่านผู้ ชนะมาร จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ จงอุบัติเกิดให้ปรากฎในขันธบรรจกแก่ท่าน ทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    [​IMG]
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    29187008_861379614070087_892550807482793984_n.jpg
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    29249496_826624717538702_1274487770781319168_n.jpg


    29313241_826624760872031_8086419753230401536_n.jpg




    #พบเสาที่จารึกคำว่า "พระธรรมกาย" ที่นครวัด เสียมเรียบ ประเทศพระราชอาณาจักรกัมพูชา


    อยู่ทางเดินทิศใต้ ทิศที่ประดิษฐานพระศรีอาริยเมตตรัย นับจากศูนย์กลางจักรวาล (เดินเข้ามาทางประตูกลาง) ต้นที่ ๒ ซ้ายมือ


    ข้อความก่อนคำว่า "พระธรรมกาย" จารึกว่า "พระอรหันต์ ... คุณพระรัตนะ" (แปลโดยไกด์ชาวกัมพูชา)


    และนับขึ้นบรรทัดที่ ๑๓ จารึกว่า "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงพระธรรมกาย ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ" (แปลโดยพระครูสังฆรักษ์ธนกร กมโล)


    จารึกไว้ในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๗ ทรงบูรณะนครวัด (ข้อมูลจากไกด์ชาวกัมพูชา)

    ขอบคุณภาพที่ ๑ และภาพที่๒ ของ www.diri.ac.nz


    **********************************************************


     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    #อย่าหลงผิด_ดึงเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา

    พระพุทธดำรัส ว่า "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา จึงหมายเฉพาะสังขารธรรมทั้งหลาย กับธรรมอื่นที่ไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นของเที่ยง ในความเป็นสุขที่ถาวรแท้จริง และไม่มีสาระในความเป็นตัวตนเท่านั้น มิได้รวมถึง วิสังขาร คือ พระนิพพาน อันเป็นปรมัตถธรรม ที่มีสาระ (สารํ นิพฺพานํ) เป็นอสังขตธรรม (อสงฺขตํ นิพฺพานํ) และเป็นอมตธรรม (อมตํ นิพฺพานํ)[*15] ด้วยแต่ประการใด

    เพราะเหตุดังนี้ ผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติ พึงเข้าใจความหมายของคำว่า"#อนัตตา" ว่าหมายถึง"#สภาวะของธรรมชาติทั้งปวงที่ไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นของเที่ยง ในความเป็นสุขที่ถาวรแท้จริง และไม่มีสาระในความเป็นตัวตนของใครที่เที่ยงแท้ถาวรแต่ประการใดด้วย ดังปรากฏในคัมภีร์เนตติวิภาวินี ว่า...

    "อนตฺตาติ นิจฺจสารสุขสารอตฺตสารรหิตตฺตา อสารกฏฺเฐน อนตฺตา, อวสวตฺตนฏฺเฐน วา อนตฺตา."

    "ข้อว่า #อนตฺตา ความว่า #สภาวธรรมทั้งหลาย #ที่ชื่อว่าอนัตตา #เพราะปราศจากสาระว่าเป็นของเที่ยง #ปราศจากสาระว่าเป็นสุข #และปราศจากสาระว่าเป็นตัวตน.

    อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าอนัตตา เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ (ของตน)."

    [*15] พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๓๑ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ข้อ ๗๓๕ หน้า ๖๒๙-๖๓๔.

    ที่มา
    จากหนังสือประสบการณ์การศึกษาสัมมาปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย และพระนิพพานของพระพุทธเจ้า

    โดย พระเทพญาณมงคล
    (เสริมชัย ชยมงฺคโล-พลพัฒนาฤทธิ์)
    (น.ธ.เอก,ป.ธ.๖,รป.ม.เกียรตินิยม"ดี",มธ.)

    _______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี

    _____________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า

    เปิดดูไฟล์ 4507170
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    พระพุทธเจ้าองค์ต้นๆในพระนิพพานเป็น


     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    29790647_1739404936136738_8192184314856135374_n.jpg







    มรรคจิต มรรคปัญญา


    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้สอนศิษยานุศิษย์ผู้ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าแล้วให้เจริญปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา เป็นต้น มีปรากฏในหนังสือวิชชามรรค ผล พิสดาร ภาค ๒ หน้า ๗๐ ว่า


    ... “กิเลสของภาคดำ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ, โลภะ โทสะ โมหะ, ราคะ โทสะ โมหะ, กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย


    สมบัติของภาคขาว คือ ทาน ศีล ภาวนา, ศีล สมาธิ ปัญญา, อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา, ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา, โคตรภู โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า” ...


    * * * * * * * * * * * * * *

    “มรรคจิต มรรคปัญญา” นี้ พระพุทธโฆษาจารย์ได้อรรถาธิบายว่าสมถะที่เจริญเพิ่มพูนแล้ว พัฒนาเป็นมรรคจิต วิปัสสนาเจริญเพิ่มพูนแล้ว พัฒนาเป็นมรรคปัญญา มีปรากฏในคัมภีร์มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ภาค ๒ หน้า ๓๐-๓๑ ว่า


    พุทธพจน์ว่า ย่อมอบรมจิต ความว่า เจริญเพิ่มพูน พัฒนามรรคจิต...


    พุทธพจน์ว่า ย่อมอบรมปัญญา ความว่า มรรคปัญญาอันวิปัสสนาให้เจริญ คือให้เพิ่มพูนให้พัฒนา...


    สหชาตธรรมทั้งสอง คือมรรคจิต มรรคปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยประการฉะนี้.


    * * * * * * * * * * * * * *

    พุทธพจน์ที่ว่า “ย่อมอบรมจิต และ ย่อมอบรมปัญญา” นั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในวิชชาภาคิยธรรม (ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา) มีปรากฏในอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต (๒๐/๒๗๕-๒๗๖/๗๗-๗๘) ว่า


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้


    วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญ ด้วยประการฉะนี้แล


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    วจีทุจริตนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย

    การโกหกหลอกลวง การกล่าววาจาหยาบคาย การกล่าววาจาให้เขาแตกแยกกัน และการกล่าววาจาเพ้อเจ้อ มีการนินทาว่าร้ายกันโดยไม่เป็นธรรม เป็นต้น นี้กล่าวในความหมายอย่างกว้าง

    คุณความดีที่ตรงกันข้ามกัน ก็คือว่า การกล่าวแต่คำจริง ไม่เจตนากล่าวคำเท็จ มีความจริงใจต่อตนเอง แล้วก็จริงใจต่อผู้อื่น

    กล่าววาจาไพเราะอ่อนโยนอ่อนหวานตามฐานะ ผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย ผู้น้อยจะพูดกับผู้ใหญ่ ผู้เสมอกันควรจะพูดอย่างไร นี้..กล่าววาจาที่ดี

    และการกล่าววาจาสมานไมตรี ตรงนี้สำคัญนัก การกล่าววาจาสมานไมตรี บางคนชอบพูดให้คนเขาแตกกัน แม้แต่ในครอบครัว บางทีพูดแล้วคนแตกกัน ต้องระวัง ไปจนถึงสังคม ถึงประเทศชาติ

    เฉพาะในหมู่สงฆ์นี้ ถ้าพระภิกษุใดยังสงฆ์ให้แตกแยกกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เรียกว่าให้สงฆ์เขาแตกแยก จนถึงกับไม่ลงทำสังฆกรรมด้วยกัน ดังนี้เป็นต้นแล้ว ก็มีโทษหนัก ถ้าว่าสงฆ์สวด "สมนุภาส" ประกาศให้กลับใจ ๓ ครั้ง แล้วยังไม่กลับใจ ไม่กลับคืนดี ต้อง"อาบัติสังฆาทิเลส" และกรรมชั่วอย่างนั้น ยังนำให้ไปเกิดใน"ทุคคติ" คือ อบายภูมิ #โดยเฉพาะอย่างยิ่งถึงอเวจีมหานรกทีเดียว ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย

    วจีทุจริตนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แต่ละข้อ ทุกข้อ ไปถึงข้อนินทาว่าร้าย เหล่านี้เป็นต้น เสียหายมาก

    คุณความดีจะทำอย่างไร ก็กล่าวแต่วาจาสมานไมตรี คนที่โกรธกัน เราพูดให้เขาดีกัน คนเราจะดีกันหรือไม่ดีกันนั้น อาจจะมีคนหนึ่งถูก คนหนึ่งผิด หรืออาจจะผิดทั้งคู่ หรือ อาจจะว่าผิดก็ไม่ใช่ จะว่าถูกก็ไม่เชิง แต่ไม่เข้าใจกัน ไม่ทำความเข้าใจกันให้ดี ก็ผิดใจกันได้ แตกกันได้

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่รู้จักสมานไมตรี ต้องรู้จักแยกแยะผิดและถูก ให้ลึกซึ้ง ให้ถูกต้อง ให้รอบคอบ

    ถ้าว่า..ไม่ได้เหตุปัจจัยแห่งความถูกต้อง หรือความผิดที่แท้จริงแล้ว บางทีเราตัดสินใจพูดไป บางทีพลาด พลาดแล้วแทนที่เขาจะดีกัน เลยแตกกันใหญ่เลย เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ในสังคมทุกระดับ ตั้งแต่สังคมครอบครัว ไปจนถึงประเทศชาติ และ ทั้งสังคมอย่างเช่นหมู่พระภิกษุสงฆ์

    เพราะฉะนั้น แม้แต่ตัวอย่างเรื่องในประเทศชาติ มีการใส่ไฟ มีการปัดแข้งปัดขา อะไรต่อมิอะไรกันในคณะบุคคลต่างๆ ทำให้แตกแยก และรวมกันไม่ติด อย่างนี้มีโทษมาก ทำให้บ้านเมืองเสียหาย ในหมู่พระภิกษุสงฆ์ก็ทำให้พระธรรมวินัยที่ตั้งไว้ดีแล้วแต่คนปฏิบัติไม่ดี ก็เลยพลอยทำให้แตกแยกเสียหาย จึงมีโทษมาก

    #เพราะฉะนั้นการกล่าววาจาสมานไมตรี เราจะต้องดูที่เหตุว่า คนเราแตกกันเพราะอะไร เราอย่าไปตอกลิ่มให้แตกลงไปอีก เราต้องดูว่าอะไรผิดอะไรถูกอย่างแท้จริง อย่าเดา

    เมื่อได้ความจริงที่แท้จริงแล้วเราจึงค่อยว่า ถ้าใครผิดเราค่อยๆแนะนำ ว่านี้ตามที่เป็นจริงเธอผิดอย่างไร

    แต่ต้องรู้จักวิธีพูด หาโอกาสพูดตามความเหมาะสม เพราะคู่กรณีอาจจะเป็นผู้ใหญ่ อาจจะเป็นผู้เสมอกัน อาจจะเป็นผู้น้อย เมื่อเรารู้เหตุรู้ปัจจัยที่ทำให้เขาแตกกันอย่างนั้นแล้ว เราค่อยสมานไมตรีได้

    แล้วเราก็พยายามทำให้คนผิด ให้กลับตัวเป็นคนถูก คนถูกอยู่แล้วให้รู้จักให้อภัย คนผิดก็ให้รู้จักว่าตนผิด ตามที่เป็นจริงอย่างไร ไม่ใช่ตะบี้ตะบันผิดต่อไปอีก อย่างนี้เป็นต้น

    แต่ถ้าคู่กรณีเอาทิฏฐิเข้าหากัน สังคมนั้นเป็นสังคมที่จะต้องลุกเป็นไฟ เพราะการที่บุคคลไม่เข้าใจกันอย่างนี้ มีปัญหามากในสังคมทุกระดับ แม้แต่ในวัด ในครอบครัว และในสังคมประเทศชาติ

    เพราะฉะนั้น ข้อนี้ให้สังวรไว้มากๆ

    ตลอดไปจนถึงเรื่อง การกล่าววาจาเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไร้สาระ #ต้องพูดแต่สิ่งที่มีสาระประโยชน์ #ไม่เอะอะคอยแต่จะนินทากันอย่างโน้นอย่างนี้ นินทาไปทำไม หยุดทำชั่วทางปาก อย่าไปพูดเลอะเทอะเลย

    #การพูดเลอะเทอะนี้ ปากต่อปาก ค่อยๆหลุดออกจากความเป็นจริงไปทุกทีๆ จนกระทั่งหาต้นสายปลายเหตุไม่เจอ เหล่านี้เป็นต้น หนักๆเข้าก็กลับกลายเป็น ทำให้คนแตกกันอีกแล้ว นินทาว่าร้ายทำให้คนแตกกันได้

    เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ เรามาปฏิบัติธรรมแล้วให้ลึกซึ้งลงไป ต้องเข้าใจว่า ความดีอยู่ตรงไหน ความชั่วอยู่ตรงไหน ต้องให้มีความสังวรวะวัง.

    _______________
    _______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________



     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,856
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    ?temp_hash=c86609af8e0d0d9c5ae881449bd57186.jpg


    ตอบปัญหาธรรม เรื่อง "อาสวะกิเลส คืออะไร"
    โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    (คัดลอกบางส่วน)

    www.mongkoldhamma.org//พระเทพญาณมงคล-อาสวะกิเ-video_f6fcb4e…
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...