ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE borderColor=white cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 17 มีนาคม 2551 23:24:06 น.-->"คารวะ หรือ คารวตา 6"
    <!-- Main -->เช้าวันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม 2551
    พระมหาวุฒิชัย วชิระเมธี (ว.วชิระเมธี)
    วัดเบญจมบพิตรดุลิตวนาราม มหาวรวิหาร กรุงเทพ
    ท่านเทศน์เรื่อง

    [​IMG]

    คารวะ หรือ คารวตา 6
    คือ ความเคารพ, การถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะพึงใส่ใจและปฏิบัติด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือโดยความหนักแน่นจริงจัง, การมองเห็นคุณค่าและความสำคัญแล้วปฏิบัติต่อบุคคลหรือสิ่งนั้นโดยถูกต้องด้วยความจริงใจ
    1. พุทธคารวตา คือ ความเคารพในพระพุทธเจ้า
    2. ธัมมคารวตา คือ ความเคารพในธรรม
    3. สังฆคารวตา คือ ความเคารพในสงฆ์
    4. สิกขาคารวตา คือ ความเคารพในการศึกษา
    5. อัปปมาทคารวตา คือ ความเคารพในความไม่ประมาท
    6. ปฏิสันถารคารวตา คือ ความเคารพในปฏิสันถาร หรือ การต้อนรับ

    ท่านเทศน์อธิบาย เพิ่ม ว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา การไม่ประมาท และ การต้อนรับ เป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือโดยความหนักแน่นจริงจัง, การมองเห็นคุณค่าและความสำคัญแล้วปฏิบัติต่อบุคคลหรือสิ่งนั้นโดยถูกต้องด้วยความจริงใจ
    ท่านได้เสริมถามว่า ใคร,สิ่งใด และ เวลาใด สำคัญที่สุด และ ตอบว่า ปัจจุบันสำคัญที่สุด ใครที่อยู่ตรงหน้า สิ่งที่อยู่ตรงหน้า ขณะที่เป็น เวลา ปัจจุบัน สำคัญที่สุด
    ท่านได้ยกตัวอย่าง มีเศรษฐินี จาก กรุงเทพ มุ่งมาเชียงใหม่ เพื่อหาวัดที่จะบริจาคเงินสร้างศาลาการเปรียญให้ 1 ล้านบาท ตะเวนหาก็ยังไม่พบวัดที่จะบริจาค จนกระทั่งมาถึงวัดแห่งหนึ่งได้นั่งพักเหนื่อยที่ศาลา มีเณรกำลังกวาดลานวัด เณรน้อยเมื่อเห็นเข้าก็รีบไปหาน้ำเย็นมาต้อนรับ และ นั่งคุยซักถามด้วยความห่วงใย เศรษฐินี ซึ้งในน้ำใจของเณร และ ถามถึงเจ้าอาวาส อยู่หรือไม่อยากขอพบเจ้าอาวาส เณรก็ถือเป็นธุระ รีบไปตามมาให้พบ เศรษฐินี ยิ่งซึ้งใจมากจากการที่เณรน้อยเป็นธุระ รีบไปนิมนต์เจ้าอาวาส มาหาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จักว่าเป็นใคร เมื่อเจ้าอาวาสมาถึง เจ้าอาวาส ก็มีท่าทีเหมือนเณร เข้ามาซักถามด้วยความเป็นห่วงว่า มีอะไรจะให้อาตมาช่วย ให้รีบบอกมาจะพยายามหาทางช่วยเหลือให้ถ้าไม่เกินความสามารถ เศรษฐินีก็ยิ่งซึ้งใจ มากขึ้นเพราะไม่ว่าเณร ตลอดจนเจ้าอาวาส มีไมตรีกับคนแปลกหน้า อย่างญาติมิตร จึงบอกไป ว่าต้องการหาวัดที่ต้องการบริจาคสร้างศาลาการเปรียญให้ 1 ล้านบาท ได้ตะเวนหามาก็ยังไม่พบวัดที่ถูกใจ จนมาถึงวัดนี้ จึงตัดสินใจจะบริจาคเงินให้วัดนี้ เจ้าอาวาสก็แสดงอนุโมทนา ต่อการบริจาคทานครั้งนี้ และ บอกเณรให้ทราบว่า ที่เณรปฏิบัติ ในคารวะ 6 ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดา ได้ผลแห่งการทำความดีทันตาเห็น ได้เงินสร้างศาลาการเปรียญ 1 ล้านบาท จากผลของการปฏิบัติตามคารวะ 6 นี้เอง

    จบพระธรรมเทศนาแล้วก็มีคำถามจากทางบ้านถามมาว่า
    พระไตรปิฏกฉบับภาพยนต์ ที่สร้างขึ้นมาท่านเห็นว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร

    [​IMG]

    พระเทพวิสุทธิกวี วัดราชาธิวาส ได้เมตตาตอบว่า
    พระไตรปิฏก คำสอนของพระพุทธเจ้า อยู่ในตู้มา 2550 ปีมาแล้วประชาชนยังไม่สนใจมาศึกษา ดูการที่นำมาทำเป็นภาพยนต์ จะทำให้เนื้อหาในพระไตรปิฏก ได้เผยแพร่ออกไปสู่สายตา ประชาชน จะได้เข้ามาสัมผัสได้มากขึ้น เปรียบเหมือน การทำให้นามธรรม มาเป็น รูปธรรม ทำให้คนเข้าใจง่าย จึงเห็นว่าเป็นการเผยแพร่ที่เหมาะกับยุคสมัย ที่มีความเจริญด้านเทคโนโลยี่



    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=panomsarakham&month=17-03-2008&group=8&gblog=4


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 14 มีนาคม 2551 10:45:56 น.-->เรื่องของช้าง.........กับกิ่งไม้
    <!-- Main -->[SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <CENTER>คนอินเดียเวลาจะฝึกลูกช้างให้เชื่อง ไม่ให้หนีไปไหน
    จึงมักจะผูกลูกช้างไว้กับวัตถุขาดใหญ่ ที่ไม่อาจ
    ขยับเขยื้อนได้ เช่น ต้นไม้ใหญ่ ซึ่งไม่ว่าลูกช้าง
    จะดึงหรือลากอย่างไร ก็ไม่อาจหลุดพ้นเป็นอิสระได้

    สิ่งนี้เองเป็น การจดจำว่า "ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ในสัตว์"
    ดั้งนั้น หลังจากที่พยายามอย่างเต็มที่เเละเป็นเวลานานพอ
    เเต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ลูกช้างจะยอมเเพ้ไปเองเเละ
    เชื่อว่าไม่ว่าจะอย่างไร ก็ไม่อาจหนีไปไหนได้

    ท้ายที่สุด เมื่อลูกช้างโตเต็มที่น้ำหนักหลายตัน คนเลี้ยงก็
    อาจผูกช้างไว้กับกิ่งไม้ก็พอ มันจะไม่หนีไปไหน
    อันที่จริงมันไม่คิดเเม้เเต่จะลองหนีเลยด้วยซ้ำ

    คูณเคยรู้สึกเช่นนี้ไหม ? เหมือนผูกติดกับสิ่งที่ไปไหน
    มาไหนไม่ได้เเละไม่อาจหลุดพ้นเป็นอิสระหรือติดอยู่
    กับรูปเเบบสังคม ชีวิตที่ซ้ำซากเหมือนไม่มีทางเลือกอื่น
    ถ้าคุณไม่อยากทำงานแบบเดิมๆ หรือทำอะไรซ้ำซากๆ
    จำเจ คุณก็ไม่ต้องทำ

    พวกเราสามารถเลือกที่จะอยู่ เลือกที่จะเป็นตามที่ใจ
    เราปราถนา เเล้วคุณจะพบว่า สิ่งที่ผูกติดคุณไว้
    เป็นเพียงกิ่งไม้เล็กๆ เท่านั้น

    ใครบางคนเคยพูดไว้ว่า

    " เป็นอิสระจากสิ่งที่ไม่ชอบ เพื่อเป็นทาสในสิ่งที่ชอบ "

    ว่าแต่ว่าคนเราจะรู้ตัวกันหรือยัง ว่าตัวเองชอบอะไร
    และพร้อมที่จะอยู่กับมันไปตลอดชีวิตรึเปล่า
    </CENTER>[/SIZE]......................................................................

    ที่มา.........................................www.dek-d.com
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [SIZE=-1]<TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 4 มีนาคม 2551 23:58:08 น.-->เวลา กับความเข้าใจ

    <!--Main-->ความเข้าใจของคนเรามีหลายระดับ
    โดยทั่วไปก็เป็นเพียงการตรึกตรองเอาตามตรรกะ
    พอเห็นว่ามันเมคเซนส์ ก็เรียกว่าเข้าใจ
    เราเคยเป็นคนของโลกนี้มาก่อน
    เราเป็นพวกตรรกะดี เลยคิดว่า อะไรๆเราก็เข้าใจได้ง่ายๆแหละ

    แต่เมื่อได้ลงทุนพิสูจน์ความเข้าใจโลกด้วยตัวเอง
    ก็พบว่า มันไม่จริงเลย
    ความเข้าใจที่แท้จริงของจิตใจตัวเองนั้น
    มันอยู่ที่ประสบการณ์ด้วย

    ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ
    การอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง
    อ่านตอนเด็ก ก็รู้สึกอย่างหนึ่ง
    พอโตขึ้นมาไปหยิบมาอ่านใหม่
    ก็รู้สึกแตกต่างไปจากเดิม
    รู้สึกว่าความเข้าใจในเนื้อหามันมีมิติที่แตกต่างออกไป

    เราเคยเห็นคนขี่จักรยาน
    เรามองแล้วก็เข้าใจว่าเขาขี่จักรยานกันยังไง
    แต่เมื่อไหร่ที่ยังไม่ได้ขี่เอง
    ก็ยังไม่เข้าใจอะไรๆที่มันเกิดขึ้นจากการขี่จักรยานได้อย่างถ่องแท้

    เช่นเดียวกับการตามดู เข้าใจตัวเอง
    มันต้องใช้เวลา บวกปัญญา บวกความหมั่นเพียร
    แล้วมันจะเห็นได้ว่า เราเข้าใจตัวเองในมิติที่แตกต่างออกไปได้
    ฉะนั้น คำสอนที่สอนจิตใจเรานั้น
    แต่ละคำสอน เราต้องใช้เวลา
    เมื่อจิตใจพร้อมและเห็นตามจริงตามคำสอนนั้นเมื่อไหร่
    มันจึงไม่ใช่ความเข้าใจที่เกิดขึ้นแต่ที่สมองเท่านั้นแล้ว
    แต่มันเข้าใจไปถึงจิตถึงใจอย่างแท้จริงเลยแหละ

    คำสอนดีๆ เราจึงต้องจำเอาไว้
    ไม่ใช่จำไปเชื่อเป็นตุเป็นตะ
    แต่เพื่อให้สักวันหนึ่ง เมื่อจิตใจมีคุณภาพพร้อมที่จะเข้าใจมัน
    เมื่อระลึกถึงคำสอนนี้ได้
    ก็จะลงล็อก แล้วก็จบข่าวไปหนึ่งข่าว เท่านั้นเอง

    เอ๊า ก็เท่านั้นแหละ
    จะเอาอะไรมากกว่านี้ล่ะ



    http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=jeyz&date=04-03-2008&group=1&gblog=37
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [/SIZE]
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [​IMG]



    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวัฑฒโณ) วัดสุวรรณาราม กทม.
    ปัจจุบันท่านอายุ 101 ปี ยังอาพาธ อยู่ที่ รพ.สงฆ์ ควรหาเวลาไปกราบไหว้เพื่อเอาบุญกันครับ เพราะท่านคงไม่มาอีกแล้วตามที่เคยบอกไว้เป็นนัยข้างต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2008
  5. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    คาถาป้องกันหมากัด
    ขณะอยู่ข้างถนน ถ้าเป็นช่วงค่ำ ๆ มืด ๆ บางที ถีบจักรยานอยู่ หรือเดินอยู่ข้างถนน สุนัขจะเห่าใส่ ไล่ตาม
    มีคาถา สั้น ๆ ป้องกัน สุนัข เห่าใส่ ไล่ตาม หรือ กัด ดังนี้
    (เป็นบทแผ่เมตตา แต่ เราจะแผ่เมตตาแบบสั้น ๆ ที่สุนัขบางตัวมัน ฟังออกด้วย)

    เมื่อเดินอยู่ริมขอบถนน เมื่อเรามองจากระยะไกล เห็นฝูงสุนัขอยู่ริมถนนเบื้องหน้า เราเห็นสุนัข ในระห่าง มากพอ และมันหันมามองเราหูตั้ง ทำท่าจะเห่า หรือขู่ ให้เราเดินไป ธรรมดา ไม่ช้าเกินไป ไม่เร็วเกินไป อย่าแสดงความหวาดกลัวเป็นอันขาด
    ให้แผ่เมตตา จากระยะไกล ขณะเดินไปไกล้ ไม่ต้องเปร่งเสียงดังมาก ภาวนาแผ่เมตตาเบา ๆ
    ให้ กล่าวบทแผ่เมตตา สั้น ๆ ช่วงหนึ่ง ว่า
    " สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ อย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ อย่าเบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกันเลย "
    มันอาจฟังรู้เรื่อง หรือไม่รู้เรื่อง แต่ มันจะ สงบลง และ ไม่สนใจเราอีก ให้เราเดินผ่านมันไป อย่างระมัดระวัง จนผ่านช่วงนั้นไปได้โดยสวัสดิภาพ

    ให้ทำความรู้สึกแบบแผ่เมตตาให้เขาจริง ๆ เขาจะรับความรู้สึกแบบนี้ได้ และ ไม่สนใจทำร้ายเรา

    ทำบ่อย เพราะเดินบ่อย และจะได้ผลทุกครั้ง ที่ภาวนาอย่างนี้

    http://www.webboard.mahamodo.com/we...id=1742&pageNo=1&wb=fulltalk&show=pic&txtfind=

    ที่นำมาให้ชมกัน เพราะเป็นวิธีการพิสูจน์ผลของการแผ่เมตตาว่ามีจริง จิตเราคิดเมตตาสงสารเค้าจริง ก็จะได้ผลจริง ยกเว้นพวกทำแต่ปาก ก็ไม่ได้ผลเพราะไม่ได้มาจากใจครับ

    [​IMG]
    http://palungjit.org/showthread.php?t=120231

    ขนาดสุนัขยังพยายามไหว้พระ ตามเจ้าของ แต่คนบางคนนับถือศาสนา แต่ไม่ปฏิบัติตามคำสอนพระพุทธองค์ แม้นแต่สวดมนต์และแผ่เมตตาก็ไม่เคยทำ
     
  6. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    โรงเรียนวิถีพุทธ
    คือ โรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมพระพุทธศาสนามาใช้
    หรือประยุกต์ใช้ในการบริหารและการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา
    เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา อย่างบูรณาการ
    รูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ
    ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างบูรณาการ
    ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา
     
  7. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    ต้องขอกราบประทานโทษคุณ Active เป็นอย่างสูงเลยครับที่ลงข้อมูลผิดพลาด เนื่องจากตอนสแกนข้อมูลยังไม่ได้รับข้อมูลว่าเป็นของท่านใดและจำสับกับของพี่สิทธิพร ก็ต้องขอกราบประทานโทษเป็นอย่างสูงอีกครั้งนะครับคุณ Active ครับและต้องขอกราบขอบพระคุณและโมทนาบุญกับคุณ Active ที่ได้ช่วยกันสงเคราะห์พระสงฆ์อาพาธในครั้งนี้ด้วยครับ
    โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2008
  8. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    กรณียเมตตสูตรพร้อมคำแปล


    กะระณียะเมตตะสูตร

    กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
    กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
    เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
    เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
    เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย
    [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด
    [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
    ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา )หรือเป็นผู้มั่นคง( ไม่มีตัณหา )ทั้งหมดไม่เหลือ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    เหล่าใดยาวหรือใหญ่ หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี
    [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
    เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ภูตา วา สัมภะเวสี วา [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
    ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
    อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคับแค้นใจ
    [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    มารดาถนอลูกคนเดียว ผู้เกดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด
    [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ุพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น
    [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น
    [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
    เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
    นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
    ับัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ทัสสะเนนะ สัมปันโน
    ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
    ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว


    ขอขอบพระคุณเว็บพุทธวงศ์
    http://www.phuttawong.net
    [/FONT]
     
  9. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    พุทธธรรมในหัวใจ ซุปเปอร์สตาร์ระดับโลก

    พุทธธรรมในหัวใจ ซุปเปอร์สตาร์ระดับโลก

    ในขณะที่กระแสเห่อและคลั่งไคล้ตะวันตกกำลังถาโถม เข้าสู่คนไทย จนวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามกำลังจะเลือนหายไปจากสังคมไทย พร้อมๆกับการนับถือพุทธศาสนาเป็นหลักครองใจในการดำเนินชีวิต ก็กำลังจะกลายเป็น เพียงนับถือพุทธ ตามสำเนาทะเบียนบ้านเท่านั้น!!

    หากจะตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับศาสนาพุทธ ก็คงจะไม่ถูกนัก เพราะแม้แต่นักปราชญ์ชาติต่างๆที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ในยุโรป และสหรัฐอเมริกา อาทิ เบอร์ทรันด์ รัสเซล,อัลเบิร์ต ไอนสไตน์,อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ ฯลฯ รวมทั้งซุปเปอร์สตาร์ระดับโลก เช่น ริชาร์ด เกียร์, โรเแบร์โต บาจโจ ฯลฯ ก็ยังได้กล่าวคำสดุดีและยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา เป็นหลักในการดำเนินชีวิต

    พุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักกันในตะวันตกเมื่อประมาณ 150 ปีที่แล้ว โดยในระยะแรกนั้นเป็นเพียงการศึกษาทางวิชาการเท่านั้น แต่เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมาจากความนิยมทางหลักวิชาการ ก็กลายมาเป็นที่นิยมในแง่ของ การปฏิบัติมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธมากขึ้นนั้นเป็นเพราะความน่าเลื่อมใสศรัทธาของพระหรือครูผู้สอน ที่ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี และมีความรู้ความสามารถในการทำให้ผู้ที่เข้ามาปฏิบัติได้เข้าใจหลักธรรมและวิธีการปฏิบัติ จนประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ

    ประเด็นสำคัญที่น่าคิดก็คือทำไมที่ผ่านมาชาวตะวันตกจำนวนมากจึงหันมาหาพุทธศาสนา คำตอบก็คือพวกเขาคิดว่า ศาสนาพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นมาก ในแง่ที่ว่าชาวพุทธเป็นผู้รักสงบและไม่ใช้ความรุนแรง

    ในประเทศอังกฤษเองนั้น เป็นที่ทราบกันดีแล้ว จากข่าวของพระเขมธัมโม พระไทยชาวอังกฤษ ศิษย์ของหลวงพ่อชา ซึ่งได้เข้าไปสอนปฏิบัติธรรมให้แก่นักโทษในเรือนจำของอังกฤษกว่า 26 ปี จนเกิดผลดีช่วยลด ปัญหาของเรือนจำได้มาก กระทั่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ 2 แห่ง สหราชอาณาจักร ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังมีนักโทษจำนวนมากมายที่หันมานับถือพุทธศาสนา บางรายที่พ้นโทษ ออกมาก็ได้มาเป็นอาสาสมัครในการเผยแผ่พุทธธรรมด้วย พุทธศาสนิกชน ชาวอังกฤษเชื่อว่าศาสนาพุทธจะขยายตัวออกไปเรื่อยๆ และจะเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในตะวันตก

    หากไม่เชื่อ ลองอ่านคำสดุดีที่นักคิดนักเขียน นักปราชญ์ชาวตะวันตก กล่าวไว้ ดังนี้

    อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ (ค.ศ.1788-1860) นักปรัชญาชาวเยอรมัน กล่าวว่า
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    "กระดูก 300 ท่อน"
    สุดยอดธรรมจากหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร

    *************
    กระดูก ๓๐๐ ท่อน
    *************

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


    เอ้า ตั้งใจภาวนา วันนี้ให้กำหนดอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนของตัวเอง ทำไมจิตมันหลง แค่เขาถ่ายเงาเท่านั้นก็หลง เพราะไม่ดูอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนของตัวเองอันมีอยู่ในร่างกายตัวตนของเราตั้งแต่กระดูกเท้า กระดูกแข้งขา เต็มอยู่จนถึงกระโหลกศีรษะ เพราะไม่ดูอัฐิกับกระดูก ๓๐๐๐ ท่อนของตัวเอง จึงได้เกิดความลุ่มหลงมัวเมาไม่ดูของจริง เมื่อของปลอมมาถึงเข้า เกิดความลุ่มหลงมัวเมา จิตไม่สงบ หลงใหลไปตามรูปตามเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
    เมื่อมันหลงไปหมดทุกอย่างทุกประการ เมื่อรู้อย่างหนึ่งได้ มันก็รู้ได้ทุกอย่างทุกประการ เวลานี้อย่าให้ใจคิดไปที่อื่น พุทโธก็ไม่ต้องว่า ฟังที่ท่านอธิบายไป จิตใจก็เพ่งดูตามที่ท่านอธิบายนั้น

    เริ่มต้นแต่กะโหลกศีรษะหรือว่ากระบอกตา ตัวคนเราทุกคนนี้ เรามองเห็นเป็นหนังหุ้มกระดูก แต่กระดูกอันมีอยู่ในตัวเราไม่ดู จึงได้หลงตา หลงหู หลงจมูก หลงลิ้น หลงกาย หลงใจ เพราะไม่พิจารณาดูกองกระดูกของตัวเอง

    อันนี้เป็นความประมาท จิตใจคนเรามันประมาท กระดูกมันสวยงามที่ไหน ดูกองกระดูกมันงามที่ไหน ดูกระบอกตากระบอกตานี้ก็ให้เพ่งให้เห็นเป็นกระดูก อย่าไปเพ่งเห็นเป็นลูกตา ลูกตานี้ไม่ให้เห็นเนื้อหนังมังสาไม่ให้มี เวลานี้เปรียบอุปมาเหมือนอย่างว่าร่างกายของเราทุกคนนี้มันตายไปนานแล้ว ยังเหลือแต่กองกระดูกให้เพ่งใจจิตเตือนจิตนี้ว่าอย่าคิดไปที่อื่น มันตายแล้วยังเหลือแต่กระดูกอ่อนกระดูกแข็ง เพ่งดูกระบอกตาตัวเองให้ดูให้รู้ตานี้มันโหว่เข้าไป ไม่ให้จิตคิดไปอื่น เพ่งในกระบอกตานั่น มันโหว่เข้าไปเหมือนกับไข่ที่เอาไปทำอาหารทิ้งไว้อย่างนั้นแหละ โหว่เข้าไปลึกเข้าไปเป็นกระดูกไม่ใช่เนื้อหนัง เพ่งดูจนเห็นว่ามันเป็นกระดูกจริง ๆ โหว่เข้าไปจริง ๆ

    ถ้าดูจนเห็นมันโหว่เข้าไปลึกเข้าไปมันก็เหมือนผีหลอกในกระบอกตานั่นมันเป็นผีหลอก คือไม่ต้องให้เห็นลูกกระตาคนยังไม่ตาย เพ่งให้เห็นว่ากระบอกตานี่มันผีหลอกที่ว่าผีหลอกโหว่เข้าไปนี่แหละ ดูเดี๋ยวนี้เวลาเพ่งเดี๋ยวนี้เวลานี้ ให้มันเห็นกระบอกตาของตัวเองเมื่อไม่เห็นกระบอกตาตัวเอง อย่าได้ไปดูตาคนอื่น ตาเราก็ไม่ดู ดูกระบอกตา ดูให้มันเห็น เพ่งให้มันเห็น ระมัดระวังไม่ให้จิตมันแวบไปแวบมา

    ใจโลเลในกิเลสละให้หมด เพ่งดูกระบอกตาตัวเอง ให้มันเห็นแจ้งตามความเป็นจริง ถ้าไม่เห็นแจ้งตามความเป็นจริง ก็ยังมาสำคัญว่าเราสวยเรางาม งามที่ไหนดูกระโหลกศีรษะตัวเอง ผีหลอกทั้งเพ มาหลงมันทำไม หลงกระโหลกศรีษะ หลงกระบอกตา จึงได้มาลุ่มหลงมัวเมาเกิดมาภพชาติใด ก็มายึดเอาถือเอากองกระดูกอันนี้ไม่มีที่จบสิ้น

    เมื่อดูกระบอกตาเข้าใจแล้ว ก็ให้ดูกระโหลกศีรษะนั้นมัดจอดกันเป็นซีก ๆ เรียกว่าเข้ากันสลับกัน สมัยเมื่อยังไม่ตาย กระโหลกศีรษะนี้มันป้องกันไม่ให้สมองในศีรษะนั้นแตกไปง่าย ๆ มีอะไรมาโดนมาตำเข้าหรือเส้นประสาทภายในนั้นจะได้ไม่เสีย สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ คือยังไม่ตาย แต่ว่าบัดนี้ใหดูเป็นกระโหลกกระดูก ข้างในก็ให้เห็นเป็นว่างไปทั้งนั้น แล้วก็ให้มองดูในกระโหลกศีรษะ จากกระบอกตาขึ้นไป เรียกว่า กระดูกหน้า กระดูกคิ้ว กระดูกหน้า กะโหลกศีรษะมันจอดกันเหมือนมะพร้าว กะโหลกศีรษะคนเราคล้ายกันกับมะพร้าวที่เขาเอาเปลือกมันออกแล้วยังเหลือแต่กะลาในนั้น กะโหลกศีรษะนี้ก็เหมือนกัน จอดกันเป็นชิ้น ๆ ดูข้างหน้ามันงามที่ไหน ยังเหลือแต่กระดูก ดูข้างหลังมันสวยงามที่ไหน ดูข้างซ้ายมันงามที่ไหนก็เป็นกระดูกเหมือนกัน ดูข้างขวาก็ให้เป็นกระดูก
    จิตอย่าไปเห็นเป็นเนื้อเป็นหนัง แล้วอย่ามาเห็นว่าเป็นกระดูกของเรา มันกระดูกผีตายมานานแล้ว จิตอย่าได้มาหลงเอายึดเอากระโหลกศีรษะนี้ ดูให้มันแจ้งให้มันเห็น เอาจิตจดจ่อให้มันเข้าใจ อย่าให้มันแส่ส่ายไปที่อื่น เพ่งดูกระโหลกศีรษะ

    ต่อจากกระบอกตาลงมาก็เรียกว่ากระดูกดั้งจมูก ดั้งจมูกก็ไม่ให้เป็นเนื้อเป็นหนัง ให้เห็นเป็นกระดูกโหว่เข้าไป มีช่องเข้าไปสำหรับหายใจ เมื่อสมัยยังมีชีวิตอยู่ บัดนี้มันตายแล้ว ยังเหลือแต่กระดูกโหว่เข้าไป มันงามที่ไหน ผีหลอกทั้งนั้น คางข้างบนก็มีเขี้ยวมีฟันเป็นซี่ ๆ ดูฟันให้มันเห็นทุกซี่ที่ฝังอยู่ในคางข้างบนนั่น แล้วก็ดูคางข้างล่าง ดูฟันข้างล่างเป็นซี่ ๆ ฟันข้างล่างนี้เรียกว่าแขวนอยู่ คางข้างล่างมันแขวนอยู่ แขวนอยู่ข้างล่าง สมัยเมื่อยังไม่แตกไม่ตายมันเอาคางข้างล่างนี้ตำบดเคี้ยวอาหาร ก็เหมือนครกเหมือนสากนั่นแหละ แต่ว่าคางข้างล่างนี้เรียกว่าเป็นสากธรรมชาติ ไม่ใช่สากตำน้ำพริกคนเราไม่ใช่ตำลงข้างบน ตำข้างล่างขึ้นมา บดเคี้ยวอาหารเมื่อสมัยยังไม่ตายเดี๋ยวนี้ไม่เกี่ยวแล้ว ยัง เหลือแต่คาง ยังเหลือแต่ฟันเป็นซี่ ๆ ทีนี้ถ้ากำหนดมาถึงนี่ก็ดูซิ ดูฟันข้างบนข้างล่างประกบกันดูไปจนถึงกระบอกตาหน้าดั้งจมูกกะโหลกศีรษะทั้งหมด แค่นี้ก็เป็นผีหลอกอยู่วันยังค่ำเป็นผีหลอกอยู่คืนยังรุ่ง เป็นผีหลอกตั้งแต่เกิดมา เป็นเด็กก็มีอยู่เท่านี้มาเป็นหนุ่มก็มีอยู่อย่างนี้ ปานกลางคนมันก็มีอยู่อย่างนี้
    กระโหลกอันนี้ฟันอันนี้ คางอันนี้ ดูให้มันทั่วถึง ทำไมจิตมันจึงมาหลง มาหลงอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อน หลงรักใคร่พอใจ หลงโกรธให้กัน หลงฆ่ากัน ฟันกันก็เพราะไม่ดูกองกระดูกตัวเอง กิเลสความโกรธมันจึงเกิดขึ้น กิเลสราคะตัณหามันจึงเกิดขึ้น เพราะไม่เห็นกระดูกของตัวเองให้ดูเดี๋ยวนี้ กำหนดเดี๋ยวนี้ ภาวนาเพียรเพ่งดูเดี๋ยวนี้ จิตใจดวงผู้รู้ไม่ให้มันไปคิดที่อื่นคิดที่อื่นมาตั้งแต่อเนกชาติ ไม่มีความรู้ความเข้าใจประการใด จงดูกองกระดูกคาง ไม่รู้จักผีหลอก ผีมันหลอก ผีอื่นใดมันไม่หลอก ผีตัวเองหลอกตัวเองเพราะไม่ภาวนากับอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนของตัวเองดูจริง ๆ กำหนดจริง ๆ จนไม่ให้มีอะไรมาปิดบัง เหมือนกับเราลืมตาดูอย่างนั้น ตรงใดมันเป็นอย่างใด ให้มันแสดงให้เห็นเดี๋ยวนี้ ขณะนี้แล้วต่อไปตลอดชาติ ก็ไม่ให้มันหลงเป็นอย่างอื่นไปอีกในกระโหลกศีรษะในหน้าในตา เห็นคนเห็นเราก็ให้เห็นว่าเป็นกระบอกตา เห็นเป็นดั้งจมูกโหว่ เข้าไป ไม่งามไม่มีการสวยงามธาตุแท้มันไม่ใช่งามกระดูกจริง ๆ ไม่งาม เอาให้ใครก็ไม่เอา เห็นเข้าก็ว่าผีหลอก กระโหลกผีหลอกเห็นไหมล่ะ มันหลอกลวง ไม่ให้หลง หลงให้ติดให้ข้อง ไม่ดูกระโหลกศีรษะตัวเอง

    ทีนี้กระโหลกศีรษะนี้เมื่อดูให้ทั่วถึงแล้ว ก็เอาไปตั้งไว้ที่ไหน กะโหลกศีรษะ ธรรมชาติก็เอามาก่อตั้งไว้ต่อกระดูกคอ กระดูกคอข้างบนเอามาต่อกับกระโหลกศีรษะนี้ เหมือนกับว่ากระโหลกศีรษะคนเอาไปตั้งไว้ในไม้ในโต๊ะ กะโหวกกะหวากอย่างนั้นแหละ แล้วกระดูกคนนี้เป็นกระดูกที่เลื่อนได้ เมื่อสมัยยังไม่ตายเวลาจะดูอะไรก็หมุนเอาที่คอนี่แหละ หมุนเอาที่คอนี้ดูข้างซ้าย ดูข้างขวา ดูข้างหลัง ดูข้างหน้า เรียกว่าเลื่อนได้ กระโหลกศีรษะมันเลื่อนตามกระดูกคอไป แล้วก็ดูให้ดีกระดูกคอมันก็ต่อกันเป็นข้อ ๆ เหมือนกัน กระดูกคอข้างล่างก็ต่อ กระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังก็มาต่อกับกระดูกคอนี้ ดูเพียรเพ่งดู ให้รู้ให้แจ้งในจิต แล้วไม่ให้ลุ่มหลงอีกต่อไปอีก กระดูกคอ เป็นอย่างไรดูข้างหน้า ดูข้างซ้าย ดูข้างขวา ดูข้างใน ดูข้างนอก มันว่ามันสวยงามไหมกระดูก เขาไม่ว่า จิตหลงไปว่าเขา

    ทีนี้ให้กระดูกสันหลังเป็นข้อ ๆ ขึ้นมาก็มีกระดูกเหง้าแขน ต่อจากกระดูกสันหลัง กระดูกหน้าอกออกไปเป็นแขนข้างซ้ายข้างขวา ท่อนบนเป็นอย่างหนึ่งต่อกันกับแขนข้างล่าง แขนข้างล่างมีสองท่อน เพื่อไม่ให้หักง่าย ๆ สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่แขนข้างบนแขนข้างล่างสองข้างเหมือนกัน ต่อลงไปก็เป็นกระดูกมือ กระดูกมือก็เป็นข้อ ๆ แล้วก็ไปต่อเป็นกระดูกนิ้วมือ กระดูกนิ้วมือก็เป็นท่อน ๆ เป็นข้อ ๆ ต่อกัน ทั้งสิบนิ้วเหมือน ๆ กัน ดูอย่าให้จิตไปที่อื่นดูกองกระดูกของตัวให้เห็นให้รู้ มีอยู่นี้ไม่รู้ไม่เห็น ไปที่ไหนจิตให้ตั้งมั่นเพียรเพ่งดู ไม่ใช่กระดูกมันดูให้จิตใจของตัวเองน่ะจิตใจดวงผู้รู้อยู่ที่ไหน เดี๋ยวนี้รู้อยู่ก็รู้อยู่นี่เพ่งดูกระดูก จนสุดกระดูกนิ้วมือดูขึ้นมาข้างบนทั้งสองข้างตามที่มันมีมันเป็นอยู่ มาถึงเหง้าแขนเหง้าแขนมันก็ต่อกับกระดูกสันหลัง กระดูกคอ กระดูกสันหลังนี้ กระดูกสันหลังก็เป็นท่อน ๆ แล้วก็มีกระดูกข้างต่อออกไปสองข้าง กระดูกข้างนั้นเป็นกระดูกป้องกันภัย อันตรายในสมัยที่ยังไม่ตาย เดี๋ยวนี้มันมีแต่กระดูกหน้าอก กระดูกไหปลาร้าเราก็ว่า ถ้าเอากระดูกคอออกแล้วมันก็เหมือนไหปลาร้า กระดูกข้าง กระดูกหน้าอก กระดูกสันหลังตั้งไว้ก็เหมือนไหปลาร้านั่น กระดูกบั้นเอว กระดูกบั้นเอวไม่มีกระดูกข้างดูกระดูกสันหลัง ดูให้มันเห็น ไม่เห็นอย่าไปเคลื่อนที่ โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้เวลานี้ หรือเวลาเราไปนั่งคนเดียว เอาให้มันแจ่มแจ้งชัดเจนในจิตของตัวเอง

    ที่แท้มันก็กองกระดูกทำไมจิตมันมาหลงยึดหลงถือหน้าของกูตาของกู ตามันไม่มี หูมันไม่มี ยึดทำไมมีเหลือแต่กระดูกเท่านี้ ใครจะมาถ่ายวิดีโอวิดีอาไม่ต้องเกี่ยว ดูกองกระดูกของตัวให้รู้ไม่รู้ไม่เข้าใจอย่าไปกินข้าว นั่งภาวนาเพ่งดูให้มันเห็นอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนของตัวเอง ดูกระดูกสันหลัง เป็นท่อน ๆ ต่อกับกระดูกบั้นเอว กระดูกบั้นเอวก็เป็นกระดูกต่อกับกระดูกตะโพก กระดูกก้นกบกระดูกตะโพก เขาก็ว่ามองให้เห็น กระดูกแท้ ๆ มีอยู่ไม่เห็นไม่ได้ ต้องเพ่งดูให้เห็นเดี๋ยวนี้ ขณะนี้เรื่อยไป ทำไมเขาว่าเป็นกระดูกก้นกบ ดูให้ดีของมีอยู่ไม่ดูไม่พิจารณาจึงได้เกิดความหลง โมหะ อวิชชาไม่รู้ แล้วก็มีกระดูกเหง้าขามาต่อกับกระดูกตะโพก กระดูกขาก็ต่อไปหากระดูก เข่า กระดูกเข่าก็คือว่าเป็นกระดูกที่แข้งขึ้นมาก็มาต่อกระดูกเข่า มีกระดูกสะบ้ากลม ๆ แล้วกระดูกแข้งต่อลงไปทั้งสองข้างขาแข้งเหมือน ๆ กัน กระดูกแข้งมันก็มีกระดูกสามเหลี่ยมกระดูกเล็กต่อลงไปเป็นกระดูกส้นแข้ง ข้างล่างมันต่อกับกระดูกเท้า กระดูกตีนเท้าก็คือว่าไปทางไหนมันเอาเท้าไปเรื่อย เท้าเดินเท้าหน้าไป ดูกระดูกเท้าเป็นข้อ ๆ ต่อออกไปจนถึงกระดูกนิ้วเท้า มันสวยงามที่ไหนทั้งสองข้างถ้าเอาไปยืนดู ยืนขึ้นต่อกันไว้ แขวนไว้ แล้วก็ดูซิ กระดูกนิ้วเท้า กระดูกเท้า กระดูกแข้งเป็นผีหลอกใหญ่ หลอกทั้งตัวเลย ที่จิตหลงเห็นเป็นของสวยของงาม เกิดราคะตัณหาเพราะไม่ดูกระดูกของตัวเอง จิตกิเลส จิตมัวเมา มันดูไปไม่ถูก ดูของปลอม ดูของจริงดูกระดูกซิ กระดูกมันเป็นของจริงไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปไหนตั้งแต่เกิดมามันเป็นกระดูกมันก็เป็นอยู่ เดี๋ยวนี้ก็เป็นกระดูกอยู่ เลยนี่ไปมันก็จะเป็นกระดูกอยู่อย่างนั้น โน่นแหละจนถึงวันตายมันก็เป็นกระดูกอยู่อย่างนั้น

    นี่แหละโครงร่างผีหลอก ผีหลอกของเรา อย่าไปหลอกผีตนอื่นอีก มันเป็นผีด้วยกันทั้งหญิงทั้งชาย คนจะเป็นชาติใดภาษาใดก็ไม่มีใครแปลกประหลาดกว่ากัน มันก็กองกระดูกนี่แหละ อย่าไปมัวคิดฟุ้งซ่านไปที่อื่น ดูกองกระดูกของตัวเองให้รู้ให้เข้าใจ เวลายืนก็กองกระดูกยืน ให้เห็นอย่างนั้น ไม่ต้องมองให้เห็นเนื้อหนังมองเป็นกองกระดูก ยืนก็ผีหลอกยืน โหวกๆ หวากๆ ไปหมด มันดีอย่างไรวิเศษอย่างไร จิตนี้จึงมาหลง มันไม่ดูกองกระดูกของตัวเองจึงได้มัวเมากองกระดูก เวลานั่งสมาธิภาวนาก็กระดูก ๓๐๐ ท่อนมันนั่งไม่ให้เห็นเป็นเนื้อเป็นหนัง เห็นกระดูกนั่ง จะนั่งแบบไหนก็กระดูก ๓๐๐ ท่อน มันนั่งมันยืนขึ้นก็กระดูก ๓๐๐ ท่อน มันยืนขึ้น ยืนอยู่ ทั้งนี้มันเดินไปมาที่ไหนก็ดูมันเดิน มันจะเอากระดูก ๓๐๐ ท่อนนี่แหละเดินโทกเทกๆ ไปมา เดินไปข้างหน้า เดินไปข้างหลัง เดินไปข้างซ้ายข้างขวา นี่แหละดูกระดูกให้มันเห็น มันอยู่ในอิริยาบถใดก็ดูตามความเป็นจริงในอิริยาบถนั้น มันเดินเป็นยังไง ดูมันขึ้นบนลงล่าง ไปไหนมาไหน ก็เห็นกระดูกมันเดินไปยังงั้นแหละ ระวังกระดูกมันจะหัวเราะให้ดู เวลากระดูกมันหัวเราะคางมันอ้าขึ้นมา ดีใจก็หัวเราะแฮก ๆ กระดูกน่ะเสียใจก็ร้องไห้ น้ำหูน้ำตาไหล ถ้ายังไม่ตาย ถ้ายังเหลือแต่กระดูก มันแห้งไม่มีน้ำตา ร้องไห้เป็นที่ไหน มันร้องไห้ก็ให้ดูกระดูกมันร้องไห้ ดูตั้งแต่กระโหลกศีรษะลงมา กระดูกคอ กระดูกแขนกระดูกสันหลัง กระดูกข้าง กระดูกขา กระดูกเท้า กระดูกนิ้วเท้า หมดจากมันเดินแล้วมันก็จะมานั่ง นั่งก็ดูมันนั่ง นั่งมันเอาอะไรลงก่อน กระดูก ๓๐๐ ท่อนนั้นแล้วมันเป็นยังไง นั่งพับเพียบแล้วมันเป็นอย่างไรกระดูก ๓๐๐ ท่อนนี้ นั่งคุกเข่ามันเป็นอย่างไรกระดูก ๓๐๐ ท่อน ดูมันทุกอิริยาบถเมื่อนั่งมันนาน ๆ มันเหนื่อยมันก็จะนอน กระดูก ๓๐๐ ท่อนมันนอนนอนก็ดูมันตั้งแต่กระโหลกศีรษะจนถึงปลายเท้า กองกระดูกระนาวไปหมดจิตอย่าได้มาหลง ไม่ต้องมาหลงเนื้อหลงหนังของมนุษย์ ดูกองกระดูกของตนให้มันทั่วถึง ให้มันได้ทุกขณะที่กระดูกมันเคลื่อนไหวไปมา นอนมันหลับไป หลับไปสักพักคนมันยังไม่ตายก็ตื่น ตื่นขึ้นมากระดูกมันก็เคลื่อนไหวไปมา มันไปนั่งในห้องน้ำ นั่งในส้วม มันก็กองกระดูกมันก็เคลื่อนไหวไปมา มันไปนั่งในห้องน้ำ นั่งในส้วม มันก็กองกระดูกมันเดิน กองกระดูกมันยืน กองกระดูกมันนั่ง กองกระดูกมันนอน กองกระดูกมันถ่าย กองกระดูกมันพูดจาปราศรัย หัวเราะ ร้องไห้ อะไรต่อมีอะไรจิปาถะ กองกระดูกมันแสดงบทบาททั้งนั้น เอาให้มันเห็นเงากองกระดูก ไม่ต้องเห็นเงาหน้าตาคนธรรมดา เขาฉายถ่ายวิดีโอก็ถ่ายเอากองกระดูกนี่แหละ ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรจะเป็นของดีของวิเศษเกินกระดูกไปได้ไม่เกินตาย ตายแล้วมันก็กระดูกอ่อนอย่างนี้แหละ จิตหลงจิตมาร จิตกิเลส จิตไม่รู้ จิตอวิชชา ตัณหา จิตตาบอด จิตมันเป็นนะโมตาบอด คือสิ่งที่มันเป็นจริงอยู่ไม่ดู ไม่เห็น เรียกว่าตาบอด ตาอวิชชาตัณหา ตาราคะ ตาโทสะ ตาโมหะ มันไม่เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันชอบ ดูให้มันเห็นแจ้งให้มันเข้าใจในใจของตัวเอง เมื่อไม่เห็นกระดูกของตัวเองก็เรียกว่าฟังธรรมก็ได้ยินแต่เสียงเท่านั้น ไม่เห็นของจริง ถ้าเพ่งให้เห็นกระดูก ๓๐๐ ท่อน นับได้ให้มันเหมือนพระพุทฺทธเจ้า พระพุทธเจ้าพระองค์นับได้ ๓๐๐ ท่อน มันอยู่ที่ไหนบ้างมีอยู่ในร่างกายนี้แหละมีอยู่ในกองกระดูก ดูกองกระดูกของตัวเองตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันแตกตายไม่ให้มันหลงใหลไปได้

    นี่แหละอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อน พระพุทธเจ้าสอนมาแล้วตั้งสองพันปีกว่า จิตใจคนเราก็ยังไม่สนใจ ยังไม่เอามาคิดมาอ่านโลเลไป โลเลอยู่ โลเลกิน โลเลนอน โลเลไปตามอำนาจกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ไม่พิจารณาอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนของตัวเอง ก็มาเกิด มาแก่ มาเจ็บ มาไข้ มาตายก็เพราะแบกกระดูก ๓๐๐ ท่อนไม่รู้จักปล่อยวางให้โลกเขาสับมะกอกอยู่ทุกวันทุกคืน ให้เขาด่าอยู่ทุกวัน ทุกคืน ไม่เห็นไม่รู้ไม่เข้าใจ เขาเอาค้อนตีหัวตีกระโหลกศีรษะก็ตีกองกระดูก ช่างมันที่สุดมันก็ตายแหละ อย่าไปก่อกรรมทำเข็ญต่อไปอีกเกลียดชังใครก็อย่าไปฆ่าอย่าไปแกงกัน กองกระดูกไม่ถึง ๑๐๐ ปีมันก็ตายแล้ว ๙๙ ปียังไม่เต็มก็ตาย เหมือนหลวงปู่แหวนเราน่ะ ตายแล้วก็เห็นไหม อยู่ในหีบนั่น เขาถ่ายรูปไว้ ไม่เห็นมีฤทธิ์มีเดชหมดเรื่อง พวกเรายังอยู่ตัวเรายังอยู่ก็เหมือนกัน
    ดูกระดูกให้มันเห็นชัดเห็นแจ้ง พระก็สมมติเณรก็สมมติ ผ้าขาวก็สมมุติ มันก็กองกระดูก นั่นแหละ หญิงก็กองกระดูกชายก็กองกระดูก คนชาติใดภาษาใดก็กองกระดูก ไปหลงกองกระดูกมันทำไม โหวก ๆ หวาก ๆ ไม่เห็นมันสวยมันงามที่ไหน ทำไมจึงไม่กำหนดพิจาณา ต้องกำหนดพิจารณา ดูให้มันเห็นแจ้งด้วยสติด้วยสมาธิปัญญา เห็นแจ้งในจิตในใจของตัวเองจนไม่ต้องไปถามคนอื่นว่ากระดูกตรงไหนมันเป็นอย่างไร คือยังไม่ดูไม่พิจารณา ถ้าดูพิจารณาแล้วมันเห็นแจ้งเห็นชัดในหัวใจของตัวเองไม่ต้องไปถามใคร ข้ารู้หมดนี่แหละ พระพุทธเจ้าท่านรู้ เจ้าสังขาร มาสร้างกองกระดูกให้เราตถาคตลุ่มหลงมัวเมามาอย่างนี้ตั้งแต่อเนกชาติแล้ว ต่อไปเจ้าสังขารจะไม่ได้สร้างอีก เราได้ทำลายแล้ว ทำลายอวิชชาจิตไม่รู้ พระองค์ทำลายฆ่ามัน พระองค์เห็นแจ้งในอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนแล้วจิตใจของพระองค์ก็ไม่หลงเพลินเพลินในกองกระดูก นั่งก็ไม่หลงกองกระดูก กระดูกคนอื่นก็ไม่หลง กระดูกตัวเราก็ไม่หลง กินก็กระดูกมันกิน พูดก็กระดูกมันพูด เอาให้มันทันกองกระดูก พิจารณากองกระดูกของตัวให้มันเข้าใจ ให้มันเห็นแจ้งเห็นชัด เหม็นหอมมันก็มาจากระดูกมันมีสมัยเมื่อยังไม่ตาย ยังไม่เป็นกองกระดูก เหม็นก็อยู่นี่ หอมก็อยู่นี่ กินถ่ายอยู่ตลอดวันตาย ตื่นเช้าก็แสวงหาอาหารมากิน กินเข้าไปเลี้ยงกองกระดูก กินแล้วก็ถ่ายเทออกมา ดีวิเศษอะไรจิตให้รู้ให้เข้าใจภาวนาดูให้เข้าใจ ละกิเลสโลเล จิตใจโลเลออกไปให้หมด เป็นจิตที่แน่วแน่เพียรเพ่งดูให้มันทะลุปรุโปร่งตามความเป็นจริง ของจริงและกระดูกจริงอย่างนั้นถ้าไม่เห็นมันก็ยังหลงของปลอมนี่อีก ถ้ามันรู้มันเห็นแจ้งว่าอัฏฐิกังกระดูก ๓๐๐ ท่อน พระพุทธเจ้าสอนให้ดูให้รู้แจ้งในใจ จึงไม่ลุ่มหลงมัวเมาต่อไป ถ้าไม่เห็นแจ้งในอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อน มันก็มาวนอยู่เข้าใจว่าเป็นสวยของงามไป สวยที่ไหนงามที่ไหน ผีหลอกทั้งเพ ผีหลอกตั้งแต่กระโหลกศีรษะลงมาจนถึงปลายมือปลายเท้า ผีหลอกทั้งนั้น ไม่ว่าหญิงว่าชายพิจารณากองกระดูกตัวเองให้รู้ อย่าให้หลงใหลต่อไป

    อัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อน ดูให้แจ้ง ดูให้เห็น กำหนดให้ได้ กำหนดให้ได้ทุกเวลา กระดูกกำหนดไปถึงไหนถึงวันตาย ตายเมื่อใดก็ดูกระดูก ๓๐๐ ท่อนมันไป นั่งก็กระดูก ๓๐๐ ท่อน ไปหลงมันทำไม พูดก็กระดูก ๓๐๐ ท่อนไปหลงมันทำไม ถ่ายภาพถ่ายรูปก็เงา ไปหลงเงาทำไม เงากระดูก เหตุไม่ดูกระดูกของตัวเอง จึงได้หลงกองกระดูกคนอื่น เดี๋ยวนี้เวลานี้ให้ดูกระดูกของตัวเอง ดูจนนับได้ อ่านได้ด้วยตนเอง จึงเรียกว่าพิจารณา ถ้าไปถามคนอื่นบอกมันเรื่องของจริงมันอยู่ที่กระดูก เห็นแจ้งกระดูก กระดูกเขา กระดูกคนทั้งโลกก็เหมือนกัน จะไปทะเยอทะยานวุ่นวายไปทำไม เมื่อมันถึงขั้นตายเป็นกองกระดูกแล้วมันหาบสมบัติในโลกไปได้กี่ชิ้น กี่อัน ไม่มีอะไรก็ทิ้งเปล่า ๆ อัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนทั้งหมดละ ตายเมื่อใดมันเอาอะไรไปไม่ได้ แต่ถ้าไม่เห็นแจ้งในอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อน จิตมันก็โลเลไม่ตั้งมั่นเที่ยงตรง

    นี่แหละเราท่านทั้งหลาย อัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อน ต่อไปภายหน้าอย่าได้มีความลุ่มหลงมัวเมา ให้กำหนดให้ทั่วถึงรอบคอบทุกชิ้นทุกอัน แล้วก็จะต้องกำหนดอยู่จนถึงวันสิ้นชีวิตจึงจะเข้าใจในธรรมปฏิบัตินี้ ดังแสดงมาก็สมควรแก่กาลเวลา เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    เหตุให้พระพุทธธรรมอันตรธาน

    พุทธศาสนาสูญหายด้วยเหตุ ๕ อย่างคือ

    ๑. พุทธบริษัท ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ
    ๒. พุทธบริษัท ไม่เรียนธรรมโดยเคารพ
    ๓. พุทธบริษัท ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ
    ๔. พุทธบริษัท ไม่พิจารณาธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ
    ๕. พุทธบริษัท ไม่ยอมปฏิบัติธรรมตามที่ตนเข้าใจแล้วโดยเคารพ (อํ. ปญฺจก)


    เหตุให้สูญหายอีก ๕ ประการ คือ

    ๑. พุทธบริษัท เรียนธรรมมาผิดๆพลาดๆ
    ๒. พุทธบริษัท เป็นคนหัวดื้อ ว่ายาก ขาดการอดทน
    ๓. พุทธบริษัท ที่เป็นพหูสูตรคงแก่เรียน เรียนจบแล้วไม่ยอมรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
    ๔. พุทธบริษัท ชั้นผู้นำหมู่คณะ เป็นคนมัวเมาลาภสักการะ
    ๕. พุทธบริษัท แตกความสามัคคีกัน (อํ. ปญฺจก)


    ภัยของพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน

    ๑. ภัยที่เกิดมากจากลัทธิการเมือง
    ๒. ภัยที่เกิดมาจากต่างศาสนา
    ๓. ภัยที่เกิดมาจากลัทธิแต่งตัวเลียนแบบ
    ๔. ภัยที่เกิดมาจากความประพฤติเหลวแหลกในสังคมสงฆ์
    -----------------------------------------------------------

    ขยายความ

    ประการที่ ๑ การตั้งใจฟังธรรมที่ตนยังไม่เข้าใจโดยเคารพ ย่อมเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้นับถือพระพุทธศาสนาเกิดความซาบซึ้งในธรรมรส และอรรถรสของพระพุทธศาสนา แต่เมื่อขาดความเคารพเสียอย่างเดียวเท่านั้น ก็มองเห็นศาสนาว่าเป็นเพียงยาเสพติดเท่านั้น


    ประการที่ ๒ การตั้งใจเรียนธรรมโดยเคารพ ย่อมเป็นต้นเหตุโน้มน้าวจิตใจให้ตระหนักคุณค่าของพระพุทธศาสนาว่า เป็นเสมือนดวงประทีปนำทางของชีวิต สามารถจะบันดาลให้ประสบกับประโยชน์ในปัจจุบัน อนาคต และประโยชน์อย่างยิ่งได้ เมื่อขาดความเคารพเสียอย่างเดียวเท่านั้น ก็ย่อมเห็นว่าการเรียนธรรมไม่มีประโยชน์อะไร สึกลาเพศไปแล้วหางานหาการทำก็ยาก สู้เรียนวิชาแบบโลกๆ ที่เขาเรียนกันก็ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็พากันเบื่อหน่ายไม่สนใจในการเรียนธรรม พากันทอดทิ้งพระปริยัติศาสนาอันเป็นกิจของตนเองไปหมด เพราะผู้สืบทอดพระพุทธศาสนามุ่งอาชีพมากกว่าการมุ่งผลที่จะพึงได้มาจากการปฏิบัติธรรม


    ประการที่ ๓ การท่องบนสาธยายทรงจำ เป็นกิจของผู้สืบศาสนาโดยตรง

    เมื่อก่อนพุทธศกล่วงได้ประมาณ ๔๐๐ ปี พระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนใช้การจำพระไตรปิฎกกันมาด้วยมุขปาฐะทั้งนั้น เพิ่งจะมาจารึกเป็นอักษรเมื่อประมาณ ๒๐๐๐ ปีเศษๆ นี่เอง ดังนั้นการท่องจำจึงเป็นกิจของพระเณรโดยตรง

    แต่เมื่อพระเณรพากันทอดทิ้งกิจ คือ สาธยายท่องบ่นเสียแล้ว หลักฐานการทรงจำก็จะต้องเสื่อมสูญลงอย่างแน่นอน เราจะไปเอาวิธีการแบบใหม่ของยุโรปเขามาใช้นั้นมันไม่ได้ เพราะวิธีโลกนั้นไม่มีหลักตายตัว มีการเปลี่ยนแปลงกันอยู่เรื่อย ๆ เมื่อถึงเวลาล่วงกาลผ่านไปๆ ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขกันใหม่

    ส่วนบาลีพระไตรปิฎกนั้น ใครจะไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขของท่านไม่ได้ ของท่านมีมาอย่างไรแม้จะล่วงไปตั้งพันๆ ปี ก็จะต้องคงของท่านไว้อย่างนั้น เพราะคำสอนของพุทธะนั้น เป็นพระวาจาที่ไม่รู้จักตายนั่นเอง เมื่อตรัสคำใดแล้ว คำนั้นต้องแน่นอนไม่แปรผันเป๋นอย่างอื่นไปได้ตราบเท่าชั่วฟ้าดินสลาย


    ประการที่ ๔ ไม่พิจารณาธรรมโดยเคารพ

    กิจนี้ก็เป็น กิจที่สำคัญมาก เพราะเมื่อท่องบ่นทรงจำไว้แล้ว แต่ทว่าขาดการพิจารณาให้รู้ซึ้งถึงเหตุผล ก็ยากที่จะนำเอามาปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตใจของตนให้พ้นจากอำนาจของกิเลส ทั้งยังจะเป็นโทษที่ยากต่อการที่จะนำออกเผยแผ่อีกส่วนหนึ่งด้วย

    เมื่อไม่มีความเข้าใจก็เป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่าย ในที่สุดก็ทอดทิ้งธรรมแล้วหันไปสนใจอย่างอื่นเท่าที่ตนเห็นว่าดี


    ประการที่ ๕ การยอมอบตนเข้าปฏิบัติตามธรรมเท่าที่ตนเกิดความเข้าใจแล้วนั้น

    ย่อมเป็นต้นเหตุอันสำคัญที่จะทำให้ตนรู้รสชาติของพระพุทธศาสนาได้ด้วยการรู้แจ้งแทงตลอดตามสภาวธรรม พุทธบริษัทจะได้มาก็ด้วยการปฏิบัติธรรมโดยสมควรแก่ธรรมเท่านั้น

    แต่ถ้าหากตนเองขาดความเคารพในการปฏิบัติตามธรรมเท่าที่ตนเข้าใจแล้ว ตนก็ไม่สามารถรู้รสชาติของพระศาสนาเลย ดูไม่ต่างอะไรกับคนเลี้ยงโค

    ธรรมดาคนเลี้ยงโคส่วนใหญ่จะไม่ได้รับรสของโค ๕ อย่าง มีนมและเนยเป็นต้นจากโคที่ตนเลี้ยง จะได้เพียงค่าจ้างเลี้ยงประจำวันหนึ่งๆ เท่านั้น อันนี้ก็เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญได้

    มิใช่แต่เพียงเหตุ ๕ ประการข้างต้นเท่านั้น ที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อม ยังมีเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมอีก ๕ ประการ คือ

    ประการที่ ๑ การที่พุทธบริษัทได้พากันศึกษาเล่าเรียนธรรมมาโดยถ่องแท้ ไม่มีความผิดพลาดทั้งอรรถะและพยัญชนะ นี่ก็เป็นมูลฐานสำคัญที่จะให้การเผยแผ่เป็นไปตรงตามหลักธรรมความเป็นจริง

    แม้การที่จะปฏิบัติธรรมเท่าที่ตนเรียนมาโดยถูกต้องนั้น ก็ย่อมจะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงสภาวธรรมความเป็นจริงได้ เพราะปริยัติที่ถูกก็ย่อมเป็นปัจจัยแก่การปฏิบัติที่ถูกตรงอยู่ในตัวแล้ว แต่ถ้าเรียนมาผิดพลาดก็จะปฏิบัติให้ถูกต้องไม่ได้เลย

    เหมือนตัวอย่างที่พราหมณ์ ๒ คนเข้าไปเรียนกรรมฐานจากสำนักพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็สอนแก่พราหมณ์ว่า "ขยวยะ" ใจความก็ว่าให้พราหมณ์สองคนกำหนดถึง "ความเสื่อมและความสิ้นไป" แต่พราหมณ์สองคนกลับฟังผิดพลาดไปว่า "ฆฏะปฏะ" ซึ่งแปลว่า "แผ่นผ้าที่หม้อ"

    เมื่อพราหมณ์พากันไปปฏิบัติกรรมฐาน ก็ย่อมไม่ได้ผลเลย ดังนั้นการเรียนมาอย่างผิดพลาดจึงเป็นเหตุให้พุทธศาสนาเสื่อมสูญอีกข้อหนึ่งด้วย


    ประการที่ ๒ การที่พระพุทธศาสนาได้มีอายุยืนยงคงมาได้ถึงสองพันห้ายี่สิบแปดปีในปีนี้ ก็เพราะได้อาศัยภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยเป็นคนที่ว่านอนสอนง่าย ยินดีมีศรัทธาที่จะปฏิบัติพระธรรมวินัย มีความอดทนต่ออุปสรรคความขัดข้องที่จะมาทำลายพระพุทธศาสนา

    แม้ในกาลต่อไปในภายหน้า ถ้าภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยผู้เป็นอนาคตของพุทธศาสนายังพากันมีคุณธรรมข้อที่ว่านี้อยู่ ศาสนาของพระบรมครูเจ้าก็จะสถิตสถาพรต่อไปตลอดกาลนาน

    แต่ถ้าทุกคนเกิดมีความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ลาภผล เห็นแก่อาชีพ เห็นแก่สินจ้างรางวัล เห็นแก่ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขแบบชาวโลกเขาเสาะแสวงหากัน ไม่ยอมเชื่อฟังครูบาอาจารย์ เป็นคนที่อวดดื้อถือดีเสียแล้ว ก็แน่นอนเหลือเกินว่า พระพุทธศาสนาจะต้องบ่ายโฉมหน้าลงดินแน่นอน

    เพราะอนาคตของพระพุทธศาสนาฝากชีวิตไว้แก่ชนพวกนี้ ส่วนพระเถระผู้ใหญ่ ก็จะต้องพากันสิ้นสภาพไปตามกฎธรรมดาของสังขารธรรมอย่างชนิดที่ไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงได้เลย


    ประการที่ ๓ อนึ่ง หน้าที่การรับผิดชอบเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทผู้ที่เป็นพหูสูตรคงแก่เรียนจะต้องรับผิดชอบ การสังคายนาแต่ละครั้งที่ผ่านมาก็ล้วนแต่เป็นผลงานของท่านผู้ที่เป็นพหูสูตหนักแน่นในพระพุทธศาสนาทั้งนั้น

    หากท่านผู้ทรงพระคุณเหล่านั้นไม่พากันรับผิดชอบ ต่างคนต่างปลีกเอาตัวรอดเสีย พระพุทธศาสนาจะมีอายุยืนยงคงถาวรมาถึงพวกเราได้อย่างไร แม้ในอนาคตกาลที่พระพุทธศาสนาจะมีอายุยืนต่อไป ก็จะต้องเป็นภาระธุระของผู้ที่เป็นพหูสูตคงแก่เรียนนี่แหละเป็นผู้รับผิดชอบ

    แต่ถ้าต่างคนต่างพากันปลีกตัวหนี ทอดทิ้งกิจในการสอนการเผยแผ่ด้วยใจจริงเสียแล้ว พุทธศาสนาก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปไม่ได้แน่นอน อันนี้ก็เป็นเหตุทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญอีกข้อหนึ่ง


    ประการที่ ๔ การที่จะพัฒนาพุทธศาสนาให้ถึงความมั่นคงถาวรและเจริญก้าวหน้า ทั้งในด้านปริยัติและการปฏิบัติต่อไปได้นั้น สังเกตเหตุการณ์เท่าที่ได้เป็นมาแล้วตามประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ก็จำเป็นจะต้องอาศัยพระเถระระดับผู้นำศาสนา เป็นหัวหน้าหมู่คณะชักจูงแนะนำเหล่าศิษยานุศิษย์ให้เป็นผู้ที่มีความสนใจ เสียสละลาภและสักการะที่จะพึงได้มาจากความเคารพนับถือของตน มีความเป็นห่วงเป็นใยในเรื่องของปริยัติและปฏิบัติอย่างเต็มชีวิตจิตใจ

    การกระทำแบบที่ว่านี้ พระพุทธศาสนาจึงจะสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่ถ้าพระเถระระดับผู้นำหมู่คณะเป็นผู้มัวเมาในลาภผลซึ่งจะได้มาจากความเคารพนับถือที่นำมาบูชาสักการะ จนไม่มีเวลาว่างที่จะมาดูแลกิจ คือ การศึกษาและการปฏิบัติแล้ว การศึกษาและการปฏิบัติก็ไม่อาจเป็นไปได้เหมือนกัน

    เพราะประเพณีพิธีกรรมที่เรียกว่าศาสนพิธีเท่าที่ชาวพุทธบัญญัติขึ้นทำนั่นแหละ ถ้าทำกันแต่พอประมาณก็เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา แต่ถ้ามากจนเกินขอบเขตไป แทนที่จะเป็นประโยชน์กลับเป็นอุปสรรคเข้ามาขัดขวางการพัฒนาพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัว

    ศาสนาธรรม คือ การท่องบ่นสาธยาย การสั่งสอน อบรมตามคัมภีร์เท่าที่มีอยู่ก็ดี การปฏิบัติธรรมตามแบบเท่าที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก็ดีจะหมดสิ้นไปด้วยพิธีกรรมเหล่านี้ เพราะพิธีกรรมต่างๆ ถ้ามีมากจนเกินขอบเขตจำเป็น ต้องใช้กำลังคนมาก กำลังเงินมาก มันก็จะยุ่งยากมาก เสียกำลังมาก หมดเงินมาก ผลที่จะได้รับการตอบแทนจากพิธีกรรมที่ทำนั้น สำรวจดูแล้วแต่ละงานมันไม่สมดุลกันเลย

    เช่น งานบวชนาค งานศพ งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ บ้านเก่า ปีใหม่ ปีเก่า แต่ละงานจะต้องหมดเงินงานละมากๆ สาระเกี่ยวกับธรรมที่จะให้ผู้ที่มาในงาน รู้สึกว่าจะไม่ค่อยมีอะไรเลย อย่างดีก็เพียงให้ได้มีโอกาสเห็นหน้ากัน เป็นเกียรติแก่กันเป็นการขึ้นแรงกันไปในตัวเท่านั้น

    ส่วนพระสงฆ์ที่ไปในงานก็ไม่ได้มีบทบาทอะไรที่จะเอาความดีเกี่ยวกับการยกระดับจิตใจของเขาให้สูงส่งขึ้นได้ นอกจากสวดมนต์ให้ศีล ฉันเช้า ฉันเพล ยถา ให้พรแล้วก็แล้วกันไป เมื่อพระกลับวัดแล้วก็มีการกินเลี้ยงกัน บางงานถึงกับจำญาติจำพี่น้องกันไม่ได้ จนบางครั้งต้องทำให้ถึงกับเลือดตกยางออกในงานมงคลก็มีอยู่มาก

    งานอย่างนี้เราทำกันมานานแล้ว ยังไม่เห็นว่ามีอะไรดีขึ้นเลย ดังนั้นการที่ผู้นำศาสนามามัวเมาอยู่ในลาภสักการะที่จะพึงได้ มันจึงเป็นสาเหตุอีกข้อหนึ่งที่ทำให้พระศาสนาเสื่อมสูญได้


    ประการที่ ๕ กิจการงานในพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นกิจกรรมอันยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่คนๆ เดียวจะทำกันได้ จึงจำเป็นต้องผนึกกำลังให้เกิดความสามัคคีพร้อมเพรียงร่วมกันทำงานแบ่งการรับผิดชอบในหน้าที่เท่าที่ตนมีความรู้ความเข้าใจ

    ขอให้สังเกตดูผลงานแต่ครั้งอดีตที่ล่วงมาแล้วก็ได้ เช่น อย่างการทำสังคยานาแต่ละครั้ง ฝ่ายสงฆ์ก็จำเป็นต้องคัดเลือกพระเถระผู้ที่ชำนาญการเจ้ารับภาระในหน้าที่ๆ ตนชำนาญ อย่างจัดพระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัยปิฎก และคัดเลือกพระอานนท์ผู้ชำนาญในพระสูตรและพระอภิธรรมเป็นผู้วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรมเป็นต้น ส่วนพระมหากัสสปะก็รับภาระหน้าที่เป็นฝ่ายถาม สำหรับในด้านอาณาจักรก็ได้อาศัยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้ถวายการอุปถัมภ์ ในการนั้นจำเป็นต้องใช้การกสงฆ์ ๕๐๐ รูป จึงทำสำเร็จ

    ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าต้องอาศัยความพร้อมเพรียงร่วมกันทำ แต่ถ้าสมัยใดในสังฆมณฑลเกิดความแตกร้าวชิงดีชิงเด่นกัน เอาเรื่องส่วนตัวเข้ามากดขี่ข่มเหง ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงกันต่างฝ่ายต่างมุ่งร้ายเสวงหาโทษใส่ร้ายป้ายสีต่อกัน สมัยนั้นศาสนาก็ถึงความระส่ำระสายอลเวงล่มจมลงในที่สุด จึงนับว่าการแตกความสามัคคีในหมู่สงฆ์ เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงอีกข้อหนึ่ง

    เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ พูดเฉพาะเหตุที่ทำให้พระศาสนาเสื่อม เท่าที่มีมาในแต่สมัยพุทธกาลเท่านั้น ส่วนภัยที่กำลังเกิดแก่พระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ยิ่งเป็นภัยที่น่าสะพรึงกลัวมากมายยิ่งกว่านั้นอีกหลายเท่าทีเดียว ซึ่งจะกล่าวเป็นลำดับไป ภัยที่จะนำมากล่าวในที่นี้ จะขอยกเอามาพูดไว้เพียง ๔ ข้อโดยย่อๆ เท่านั้น

    ๑. ภัยที่เกิดจากลัทธิการเมือง

    ในโลกปัจจุบันนี้ มีระบบการปกครองอยู่ ๒ ฝ่ายด้วยกัน คือ ฝ่ายเสรีประชาธิปไตย กับฝ่ายสังคมนิยม การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เป็นระบบการปกครองที่เอื้ออำนวยแก่ปวงชนส่วนใหญ่ เพราะมีการเปิดโอกาสให้สิทธิเสรีแก่ชนทุกฝ่าย แม้ศาสนาก็มีการส่งเสริมทำนุบำรุง ถวายความอุปถัมภ์ทุกวิถีทาง

    แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นประมุขของประเทศก็ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภ์ พระพุทธศาสนาจึงได้เจริญรุ่งเรืองมาได้จนถึงปัจจุบันนี้ ถึงในประเทศอื่นที่มีระบบการปกครองแบบเดียวกันก็เป็นเช่นนั้น

    ส่วนลัทธิสังคมนิยมที่เราเรียกกันว่าฝ่ายซ้ายนั้น เป็นระบบการปกครองที่จำกัดขอบเขตของปวงชน ไม่ให้อิสระเสรีในการดำเนินการแทบจะทุกอย่าง และถ้าเป็นระบบคอมมิวนิสต์ด้วยแล้วก็ยิ่งมีการริดรอนสิทธิของมนุษยชนหมดทุกวิถีทาง

    เมื่อเป็นเช่นนี้จึงนับว่าเป็นระบบการปกครองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนาโดยตรง เพราะเขาเห็นว่าพระพุทธศาสนามีโทษเหมือนยาเสพติด ศาสนธรรมที่มีจารึกอยู่ในตำรับตำราก็ถูกเผาทำลายไป ฉะนั้นลัทธิการเมืองจึงนับว่าเป็นภัยแก่พระพุทธศาสนาได้เช่นกัน


    ๒. ภัยที่เกิดจากต่างศาสนา

    ประเทศไทยของเรา เป็นประเทศที่มีการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตย มีการเปิดโอกาสให้หมู่ชนทำกิจกรรมของตนตามสะดวก กิจกรรมใดที่ไม่ขัดข้องต่อศีลธรรมและกฎหมาย ก็เป็นอันว่าทำได้ตามใจชอบ

    โดยที่สุดแม้ศาสนาเอง ก็เปิดโอกาสให้ดำเนินการกันได้อย่างเสรี ด้วยเหตุนี้ในประเทศของเราจึงมีศาสนาต่าง ๆ เข้ามาเผยแพร่อยู่หลายศาาสนาด้วยกัน ตัวอย่าง เช่น ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ เป็นต้น แต่ศาสนาาบางลัทธิที่ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

    มีเจตนาไม่บริสุทธิ์คิดล้มล้างพระพุทธศาสนา เพื่อดึงเอาศาสนิกไปเป็นพวกของตนแสดงความก้าวร้าวอย่างเห็นได้ชัด ชาวพุทธเราเป็นฝ่ายรักสันติไม่ได้แสดงการตอบโต้ด้วยประการใด ๆ แต่ทางฝ่ายเขาก็หาได้หยุดยั้งในเรื่องการรุกรานใหม่ ยังพยายามสร้างอิทธิพลแผ่อำนาจสร้างสถาบันขึ้นหลายต่อหลายแห่ง

    นอกจากนั้นเขายังเที่ยวกว้านเอาพวกที่มีความรู้ในฝ่ายเราระดับมหาเปรียญ ๕-๖-๗-๘-๙ เข้าไปช่วยอบรมสั่งสอนในสถาบันของเขา โดยให้ค่าตอบแทนในราคาแพง ๆ เพราะในปีหนึ่ง ๆ เขาจะได้งบประมาณ ในการสนับสนุนมากยิ่งกว่าการตั้งงบประมาณจ่ายประจำปี ในประเทศไทยของเราทั้งประเทศเสียด้วยซ้ำไป

    นอกจากนั้น เขายังมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเพื่อผลิตนักวิชาการในฝ่ายโลก เพื่อให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของเขา ได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในประทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ของรัฐบาล บางท่านที่ทำงานในวงการรัฐบาลตำแหน่งสูง ๆ ก็มีอยู่มาก ทั้งนี้เพื่อต้องการจะสร้างอำนาจความถ่วงดุลย์ให้มีน้ำหนักทั้งทางฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักรนั่นเอง

    ส่วนในด้านหลักการสอนฝ่ายเขาก็พยายามส่งตัวแทนที่มีสมองชั้นนำเข้ามาศึกษาถ่ายทอดจากคัมภีร์ของเราทั้งในส่วนพระวินัย พระสูตร ตลอดถึงพระอภิธรรม ตำหรับตำราอะไรที่ขึ้นชื่อโด่งดังในฝ่ายเรา เขาก็พยายามสะสมไว้มากมาย

    แทบจะกล่าวได้ว่าเขาพร้อมทุกอย่างที่จะฝังรากฐานลัทธินี้ให้มั่นคง เพราะอุปกรณ์ที่จำเป็น ในการใช้พัฒนาศาสนาของเขาก็ทันสมัย บุคลากรของเขาก็มีประสิทธิภาพสูง เงินทองที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานของเขาก็พร้อมทุกอย่าง

    ปัจจุบันนี้เขากำลังเปลี่ยนใหม่ ที่จะต้องรับสมาชิกให้เข้าไปร่วมกับกิจกรรมของเขา เช่น เวลาจะบวชก็มีอุปัชฌาย์คู่สวด มีพระอันดับ มีการทำบุญให้ทาน ทอดกฐิน ผ้าป่า เป็นต้น ตามแบบของพุทธเรา ต่อไปชาวพุทธเราผู้ที่ขาดความสังเกตหรือความรู้ไม่ถึง ก็ย่อมตกหลุมพรางของเขาหมดโดยไม่รู้ตัว

    ดังนั้นภัยต่างลัทธิต่างศาสนาจึงเป็นภัยที่น่ากลัว ป้องกันและกำจัดได้ยากมาก เพราะพุทธเราด้อยไปเสียทุกอย่าง พุทธเราทางด้านเศรษฐกิจเราก็ด้อย จะทำอะไรแต่ละครั้งก็จะต้องเรี่ยไรกัน ขาดปัจจัยสำคัญ คือ เงินทอง พูดถึงบุคคลกรก็มี

    ประสิทธิภาพต่ำ มีจำนวนน้อยไม่พอใช้ เครื่องทุ่นแรงในการเผยแผ่ก็ดี ในการศึกษาก็ดี ในการพัฒนาสถานที่ ๆ จำเป็นต้องใช้ก็ดี รู้สึกด้อยไปทุกอย่าง จึงเป็นเรื่องที่น่าหนักใจอยู่ไม่น้อย


    ๓. ภัยที่เกิดจากลัทธิเลียนแบบ

    ปัจจุบันนี้ มีพวกลัทธิเลียนแบบอยู่หลายสำนัก กำลังกำเริบสานอย่างหนัก เช่น เลียนแบบเครื่องแต่งตัว เลียนแบบเครื่องอุปกรณ์ที่ต้องใช้ เลียนแบบตำราเรียน สร้างความนิยมให้แก่ผู้มีอันจะกิน โดยยกตนข่มท่านด้วยการถือศีล

    กินเจอวดอ้างตนว่าเป็นผู้อยู่นอกโลก ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา ไม่ยอมตั้งอยู่ในอาณัติของใคร ๆ ทั้งนั้น อาศัยเกียรตินิยมเท่าที่ตนเคยมีอยู่แต่สมัยเป็นฆราวาส สร้างอิทธิพลสะสมพวกพ้อง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเศรษฐี คหบดี สละทรัพย์ซื้อที่ทางสร้างสำนัก

    มีการบวชพระเณรกันเอง ตั้งตนเป็นอุปัชฌาย์เอาเอง โดยไม่ขึ้นแก่ใครทั้งนั้น ตั้งนิกายขึ้นใหม่โดยเอกเทศ เลียนแบบในเรื่องการนุ่งห่ม เรื่องการปฏิบัติตามแบบเท่าที่ตนได้บัญญัติขึ้น มีการบิณฑบาตแบบพระเถร

    ไม่ว่าเพศหญิงเพศชายใช้พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ที่กรมการศาสนาแปลจัดพิมพ์ไว้แล้ว เป็นเครื่องอ้างในการทำตำราออกเผยแพร่ แล้วก็ตีความเอาเอง เมื่อดูแล้วก็ยากที่จะทำความเข้าใจได้

    สำหรับสามัญชนที่อ่อนต่อการศึกษา มีโรงพิมพ์ตำราออกเผยแพร่เอง พยายามส่งสาวกออกเที่ยวเผยแพร่ตามชนบทในถิ่นทุรกันดาร ทำให้ประชาชนที่ยากจนด้อยพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ต้องยอมตัวเข้ามาสวามิภักดิ์เป็นสานุศิษย์กันเป็นจำนวนมาก

    ส่วนพระเถรเจ้าของถิ่นที่เป็นหลวงตา หลวงปู่ที่เฝ้าวัดอยู่ไม่กี่องค์ก็ต้องพลอยงงงันไปตาม ๆ กัน แล้วพวกนี้ ส่วนใหญ่จะทับถมพระเก่าในรูปการต่าง ๆ จนในทางท้องถิ่นต้องหลงเชื่อ

    แล้วพากันทอดทิ้งพระเณรและวัดเดิมของตนไปเป็นสมาชิก ของพวกลัทธิเลียนแบบอย่างที่ว่านี้ก็มีอยู่มาก จึงเป็นที่น่าวิตกสำหรับภัยจากพวกลัทธิเลียนแบบอย่างที่ว่านี้ มากพอสมควรทีเดียว


    ๔. ภัยที่เกิดจากความประพฤติเหลวแหลกในสังคมสงฆ์

    ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยของเรากำลังประาบภัยอยู่รอบด้าน ทั้งภายในและภายนอก ขวัญของประชาชนก็ไม่สงบร่มเย็นเท่าที่ควร ไหนจะปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง ปัญหาทางการทหาร แต่ละอย่างล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่บีบบังคับ

    และเขย่าขวัญให้เกิดความโยกคลอนทั้งนั้น ประชาชนไม่ทราบที่จะหันหน้าไปพึ่งหรือยึดเหนี่ยวสรณะอันใด ให้เป็นที่อบอุ่นใจได้เต็มที่ จะมีอยู่ก็แต่สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้ง ๓ นี้ เท่านั้น

    แต่บัดนี้สถาบันชาติหรือก็ง่อนแง่นเต็มที เพราะประเทศไทยของเรานั้น มีการปนปะคละกันไปไม่ว่าชาติใด ๆ รู้สึกว่าจะหาดูได้แทบทุกชาติ ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศของเรา จะสำรวจตามบัญชีสำมะโนครัวบางทีเป็นคนไทย

    แต่สัญชาติญวนก็มีอยู่มาก บางทีเล็ดลอดจากค่ายกักกัน โดยยื่นสินจ้างรางวัลให้แก่เจ้าหน้าที่ ที่เห็นแก่เงิน ไม่นึกว่าชาติของตนจะล่มจม ให้เข้ามาลอยนวลอยู่ในเมืองหลวงก็มีอยู่มาก ดังนั้นสถาบันชาติก็ไม่ค่อยจะมั่นคงถาวรเท่าใดนัก

    ถึงสถาบันศาสนาก็เยอะ เมื่อมาเปิดเผยถึงภัยที่เกิดแก่พระพุทธศาสนาอย่างที่ได้ชี้แจงมา ก็รู้สึกว่าไม่ค่อยน่าสบายใจเท่าใดนัก

    ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น พระองค์พร้อมด้วยพระบรมราชินีนาถ พระราชโอรส พระราชธิดา ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ด้วยความเหนื่อยยากลำบากพระวรกายตลอดถึงพระราชหฤทัยอยู่ไม่น้อย แต่กระนั้นพระองค์เอง ก็จะต้องพึ่งสถาบันศาสนาเป็นสรณะที่พึ่งในทางใจ

    แต่ปัจจุบันนี้ก็มาเกิดเหตุการณ์ที่น่าบัดสีขึ้นในสังคมสงฆ์อยู่บ่อยครั้ง เช่น ประเดี๋ยวคดีเจ้าอาวาส ต้องอันติมวัตถุกับสตรีเพศบ้าง เกิดโจรกรรมของสงฆ์โดยมีพระสงฆ์ร่วมมือด้วยบ้าง เกิดอาชญากรรมโดยน้ำมือของภิกษุผู้บวชในศาสนา

    บ้างเกิดสำนักสงฆ์เถื่อนตั้งสำนักขึ้นเองแล้วซ่องสุมผู้คนที่เป็นภัยแก่สังคม ก่อความไม่สงบทำให้เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ประจานความเลวร้าย ความเสียหาย ทำลายศรัทธาของประชาชนอยู่บ่อยครั้งมาก

    รวมความแล้วเหตุการณ์แต่ละอย่าง ล้วนแล้วแต่เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาให้เสื่อมสูญลงทั้งนั้น เมื่อจะประมวลเหตุการณ์ดูทั้งหมดแล้ว ก็รู้สึกว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าวิตกอยู่มากพอดูทีเดียว

    เมื่อพวกเราชาวพุทธที่มีความเคารพสักการะต่อพระพุทธศาสนา ไม่ตื่นตัวผนึกกำลังช่วยกันในทุก ๆ ด้านแล้ว ก็เชื่อว่าพระพุทธศาสนาอันเป็นที่เคารพสักการะของพวกเรา จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกไม่นานอย่างแน่นอนทีเดียว
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบพระคุณเว็บพุทธวงศ์
    http://www.phuttawong.net
     
  12. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    ผู้มีส่วนและไม่มีส่วนแห่งสามัญผล

    ผู้มีส่วนและไม่มีส่วนแห่งสามัญผล

    พระพุทธภาษิต


    พหุมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน
    น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
    โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ
    น ภาควา สามญฺญสส โหติ ฯ
    อปฺปมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน
    ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
    ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
    สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
    อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา
    ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ


    คำแปล

    บุคคล แม้จะกล่าวธรรมที่มีประโยชน์ได้มาก แต่มิได้ประพฤติตามธรรมนั้น ก็จัดว่าเป็นผู้ประมาท ย่อมไม่มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค คอยนับโคให้คนอื่น ไม่ได้ดื่มปัญจโครส
    ฝ่ายบุคคล แม้จะกล่าวธรรมที่มีประโยชน์ได้น้อย แต่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ละราคะ โทสะและโมหะได้ เป็นผู้รอบคอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดี ไม่ยึดมั่นถือมั่นทั้งในโลกนี้และโลกอื่น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล

    อธิบายความ

    สามัญผล แปลตามตัวอักษรว่า ผลแห่งความเป็นสมณะ อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในสามัญผลสูตร อันมีตั้งแต่ผลเบื้องต่ำ เช่นเคยเป็นทาส จนถึงขั้นสูง คือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งมวล
    มองอีกปริยายหนึ่ง ตีความให้ใช้ได้ทั้วไปทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ สามัญผล อาจหมายถึงผลแห่งความรู้ คือ ไม่รู้เสียเปล่า นำเอาความรู้นั้นมาใช้ประโยชน์ มาปฏิบัติตามให้เกิดความดีงามขึ้นในตน มิใช่เพียงรู้ธรรม กล่าวธรรม แต่ไม่ประพฤติธรรม
    คนที่รู้ธรรม กล่าวธรรม แต่ไม่ประพฤติธรรมนั้นทรงเปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค รุ่งขึ้นก็รับโคไปเลี้ยง เย็นลงก็นับโคส่ง แต่ไม่ได้กินนมโค ไม่ได้อะไรจากโค นอกจากค่าเลี้ยงประจำวัน เทียบกับผู้รู้มากแสดงธรรมมาก มีศิษย์มาก ผลที่เขาได้รับก็คือปัจจัย 4 ความเคารพนับถือจากสิษย์ แต่ไม่ได้สมาธิและวิปัสสนา อย่างนี้ท่านว่ายังประมาทอยู่
    ท่านบางท่าน รู้ธรรมน้อย กล่าวธรรมได้น้อย แต่ปฏิบัติตามธรรมได้มาก สามารถละกิเลสอันละได้ยาก คือราคะ โทสะและโมหะ จิตหลุดพ้นด้วยดี ไม่ยึดมั่นถือมั่น อย่างนี้ท่านว่าได้เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล ได้รับผลแห่งความเป็นสมณะ
    จุดใหญ่ใจความก็คือให้ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่เพศภูมิของตนๆ เพื่อมิให้ความรู้และการเรียนเสียเปล่า อีกนัยหนึ่งให้ได้ผลคุ้มค่าดังเรื่องต่อไปนี้

    เรื่องประกอบ..ภิกษุสองสหาย

    ชาย 2 คน ชาวเมืองสาวัตถี ฟังพระธรรมของพระศาสดาแล้วเกิดเลื่อมใส ออกบวชพร้อมกัน อยู่ในสำนักอุปัชฌายาจารย์ 5 พรรษาแล้ว รูปหนึ่งเรียนกัมมฐานออกป่า ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "วิปัสสกภิกษุ" อีกรูปหนึ่งพอใจเรียน ปริยัติ หรอคันถธุระ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "คันถิกภิกษุ"
    พระวิปัสสกะพยายามอยู่ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
    ส่วนพระคันถิกะเรียนพระไตรปิฎกแตกฉานได้เป็นอาจารย์ของภิกษุประมาณ 500 เป็นอาจารย์ของคณะถึง 18 คณะ รวมความว่าเป็นคณาจารย์ใหญ่
    ภิกษุเป็นอันมากเรียนกัมมฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว ไปสู่สำนักพระวิปัสสกะ สมัครตนเป็นศิษย์ของท่าน อยู่บำเพ็ญวิปัสสนาไม่นานก็ได้สำเร็จอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้น มีความประสงค์จะเฝ้าพระศาสดาจึงเรียนท่านว่า"กระผมทั้งหลายใคร่ไปเฝ้าพระศาสดา"
    "ไปเถิดท่านผู้มีอายุ" พระวิปัสสกะกล่าว "ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระศาสดา และนมัสการพระสาวกผู้ใหญ่ 80 รูป ในนามของเราด้วย(ฝากนมัสการ) อนึ่ง มีภิกษุผู้เป็นสหายของเราอยู่รูปหนึ่ง ท่านทั้งหลายจงนมัสการภิกษุนั้นในนามของเราด้วย"
    ภิกษุเหล่านั้นไปถวายบังคมพระศาสดา พระอสีติมหาสาวกและภิกษุผู้เป็นสหายของอาจารย์ตามลำดับ
    "ใครคืออาจารย์ของพวกท่าน" พระคันถิกะภิกษุถาม
    "ภิกษุผู้เป็นสหายของท่านที่บวชพร้อมกัน" ภิกษทั้งหลายตอบ
    เมื่อภิกษุทั้งหลายเดินทางมาเชตวนาราม วิปัสสกภิกษุได้ฝากข่าวมาเยี่ยมเยียนภิกษุผู้สหายเนืองๆ จนภิกษุผู้สหายประหลาดใจว่า "สหายของเราบวชแล้วเข้าป่า ไม่ได้เรียนพระไตรปิฎกเลย ไม่รู้ธรรมอะไรมาก ยังสามารถมีศิษย์ได้มากมายถึงปานนี้ เมื่อท่านมาเฝ้าพระศาสดา เราจักถามปัญหาดู"
    ต่อมาพระวิปัสสกภิกษุมาเฝ้าพระศาสดา เก็บบาตรและจีวรไว้ในสำนักพระคันถิกะ เมื่อเฝ้าพระศาสดาและนมัสการพระอสีติมหาสาวกเสร็จ ก็ไปพักที่สำนักของพระคันถิกะผู้สหาย
    พระคันถิกะให้ศิษย์ของตนปฏิบัติพระวิปัสสกะ แล้วนั่งบนอาสนะเสมอกัน ตั้งใจจะถามปัญหา
    พระศาสดาทรงทราบเหตุการณ์นั้นด้วยพระญาณ ทรงดำริว่า"พระคันถิกภิกษุจะพึงตกนรก เพราะเบียดเบียนพระวิปัสสกภิกษุ" ดังนี้แล้ว ทรงอาศัยเมตตานุเคราะห์ในคันถิกภิกษุนั้น จึงทรงกระทำประหนึ่งว่าเสด็จเที่ยวจาริกในวิหาร มาถึงสำนักของคันถิกภิกษุแล้วประทับนั่งบนอาสนะ แล้วตรัสถามปัญหาหลายอย่าง เริ่มต้นแต่ปัญหาเกี่ยวกับปฐมฌานแก่คันถิกภิกษุ ไปจนถึงปัญหาในรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติ แต่ภิกษุนั้นตอบไม่ได้สักปัญหาเดียว เมื่อทรงถามวิปัสสกภิกษุ ท่านตอบได้
    ท่านถามปัญหาเกี่ยวกับโสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตผล คันถิกภิกษุตอบไม่ได้ แต่วิปัสสกภิกษุตอบได้
    พระศาสดาทรงประทานสาธุการแก่วิปัสสกภิกษุนั้น พวกเทวดาก็ช่วยกันสาธุการด้วย พวกสัทธิวิหาริก อันเตวาสิกของพระคันถิกะตำหนิพระศาสดาว่า ทรงประทานสาธุการแก่พระเถระแก่ซึ่งไม่รู้อะไร ส่วนอาจารย์ของตน พระศาสดาไม่กระทำแม้สักว่าการชมเชยสรรเสริญ อาจารย์ของพวกตนเป็นอาจารย์ของภิกษุถึง 500
    พระศาสดาจึงว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย! อาจารย์ของพวกเธอเป็นเหมือนคนเลี้ยงโค ได้เพียงค่าจ้างในศาสนาของเรา ส่วนวิปัสสกภิกษุบุตรของเราเป็นเหมือนเจ้าของโคได้บริโภคแล้วซึ่งปัญจโครสตามใจของตน" ดังนี้แล้วตรัสว่า
    "บุคคล แม้จะกล่าวธรรมที่มีประโยชน์ได้มาก แต่มิได้ประพฤติตามธรรมนั้น ก็จัดว่าเป็นผู้ประมาท ย่อมไม่มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค คอยนับโคให้คนอื่น ไม่ได้ดื่มปัญจโครส
    ฝ่ายบุคคล แม้จะกล่าวธรรมที่มีประโยชน์ได้น้อย แต่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ละราคะ โทสะและโมหะได้ เป็นผู้รอบคอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดี ไม่ยึดมั่นถือมั่นทั้งในโลกนี้และโลกอื่น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล".

    หมายเหตุ ปัญจโครส หมายถึง รสอันเกิดแต่โค 5 อย่าง คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยใส เนยข้น


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบพระคุณเว็บพุทธวงศ์
    http://www.phuttawong.net
     
  13. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    วันนี้ได้โอนเงินที่มีผู้ฝากให้ทำบุญกับทุนนิธิฯจำนวน
    2550 บาท ดังรายนามต่อไปนี้ครับ
    คุณสำรวม , คุณรัดเกล้า ,คุณอรอุมา ศิริมาตร
    คุณถวัลย์ศักดิ์ จิตพิศิฐชัย

    คุณธวัชชัย คลองสกุล
    รวม5ท่าน 600 บาท
    คุณวิทยา 350 บาท
    คุณอณาธร ศรีสกุลพาณิชย์ 300 บาท
    คุณเอก(หลานอาจารย์ประถม)1000บาท
    คุณชัชวาล คูสมิทธิ์ 300 บาท

    โมทนาสาธุ สาธุ สาธุ
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    "สมาธิขั้นใด ที่จำเป็นในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน"
    ผมขอสรุปจากพ่อแม่ครูอาจารย์ที่เคารพพอสังเขปดังนี้



    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจากหลวงตา มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    "หลักใหญ่ให้จิตสงบได้นั้นแหละของดี เพียงจิตสงบเท่านั้นก็ตัดความกังวลวุ่นวาย ซึ่งเคยประจำจิตเสียดแทงจิตออกได้โดยลำดับลำดา จนถึงกับเป็นขั้นสบาย เพราะฉนั้นผู้ภาวนาเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว จึงมักขี้เกียจในการพิจารณาธรรมทั้งหลายด้วยปัญญา นอนจมอยู่กับสมาธินั้นเสียไม่ออกพินิจพิจารณา สุดท้ายก็เข้าใจว่าความรู้ที่แน่วแน่แห่งความเป็นสมาธิของตนนั้นเป็นมรรคผลนิพพานไปเลย ในข้อนี้ผมเคยเป็นแล้ว จึงได้นำมาอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้ทราบ ว่าสมาธิต้องเป็นสมาธิ ปัญญาต้องเป็นปัญญา เป็นคนละสัดเป็นคนละส่วน เป็นคนละอันจริงๆ ไม่ใช่อันเดียวกัน หากเป็นอยู่ในจิตอันเดียวกันนั่นแล เป็นแต่เพียงไม่เหมือนกัน.............ผู้ที่เป็นสมาธิ ถ้าไม่ออกพิจารณาทางด้านปัญญา จะเป็นสมาธิอย่างนั้นตลอดไป จนกระทั่งวันตาย ก็หาเป็นนิพพานได้ไม่ หาเป็นปัญญาได้ไม่ ต้องเป็นสมาธิอยู่ตลอดไป นี่ละท่านจึงสอนให้ออกพิจารณาทางด้านปัญญา มีความจำเป็นอย่างนี้ให้ทุกๆท่านจำไว้ให้แม่นยำ นี่สอนด้วยความแม่นยำด้วย สอนด้วยความแน่ใจของเจ้าของ เพราะได้ผ่านมาแล้วอย่างนี้ ติดสมาธิก็เคยติดมาแล้ว.............."

    (จาก หลักเกณฑ์การปฏิบัติสมาธิ - ปัญญา (๓ พฤษภาคม ๒๕๔๑) โดย พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
    [​IMG]
    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจากหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    มีผู้ไปกราบเรียนหลวงปู่(หมายถึง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) เรื่องสมาธิว่าปฏิบัติได้ดีอย่างยิ่ง เหลือแต่ความสุข สุขอย่างยิ่ง เย็นสบาย แม้จะให้อยู่อย่างนี้นานเท่าไรก็ได้
    หลวงปู่ยิ้มแล้วพูด
    "เออ ก็ดีแล้วที่ได้ผล พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบมิได้ แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น มันก็ได้แค่นั้นแหละยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัด ภพ ชาติ ตัณหา อุปาทานให้ละสุขนั้นเสียก่อนแล้วพิจารณาขันธ์ ๕ ให้แจ่มแจ้งต่อไป"
    (จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม หน้า๔๙๕)
    [​IMG]
    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก ท่านพุทธทาส ที่กล่าวแสดงทั้งสมถกรรมฐานหรือสมาธิ และสมถวิปัสสนา
    "........ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญก็ได้ เอากุศลก็ได้ สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับคนโน้นคนนี้ที่โลกอื่น ตามที่ตนกระหาย จะทำให้เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิเพื่อการไปเกิดในภพนั้น ภพนี้ อย่างนี้เรียกว่า สมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง ตามความหมายของมันนั่นเอง(webmaster-บุญ แปลว่า ความใจฟู ความอิ่มเอิบ) ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่า ทำอันตรายแก่เจ้าของถึงกับต้องรับการรักษาเป็นพิเศษ หรือรักษาไม่หายจนตลอดชีวิตก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่าสมาธิเช่นนี้ มีตัณหาและทิฎฐิเป็นสมุฎฐาน แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุด ก็เพียงได้เกิดในวัฏสงสารตามที่ตนปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนสมาธิที่มีความมุ่งหมาย เพื่อการบังคับใจตัวเองให้อยู่ในอำนาจ เพื่อกวาดล้างกิเลสอันกลุ้มรุมจิตให้ราบเตียน ข่มขี่มิจฉาทิฏฐิอันจรมาในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใส เป็นทางเกิดของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร จึงตรงกันข้ามจากสมาธิเอาบุญ"
    (จากบุญ กับ กุศลโดย ท่านพุทธทาส)
    [​IMG]
    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก ท่านหลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี
    ในหนังสือส่องทางสมถวิปัสสนาของหลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี ได้มีกล่าวถึงการปฏิบัติไว้ทั้ง ๒ ทาง คือแบบสมถะหรือสมาธิล้วนๆ และอีกแบบหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า แนวนี้เดินสมํ่าเสมอกว่าแนวสมถะล้วนๆ คือ แนวสมถวิปัสสนา กล่าวคือ การใช้สมาธิเป็นบาทฐานของวิปัสสนานั่นเอง ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้
    "บริกรรมหรือเพ่งอย่างนั้นเหมือนกัน(หมายถึงเหมือนสมถะ) แต่ไม่ให้จิตสงบ คือน้อมจิตให้เข้าไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว(webmaster - เช่นในข้อธรรม หรือนิมิตอันดีงามถูกต้องเช่น อสุภหรือธาตุ) เพ่งพิจารณานิมิตนั้นให้เป็นธาตุหรือเป็นอสุภ ยกขึ้นสู่(การพิจารณาด้วยปัญญาใน)ไตรลักษณ์เป็นต้น เมื่อเห็นชัดแล้วจิตจะรวมลงไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว หรือจะเป็นสมาธิ หรือจะเกิดปัญญาให้สลดสังเวชก็ได้ พูดย่อๆ เรียกว่า หัดสมถะเป็นไปพร้อมกันกับวิปัสสนา" (ก็คือสมถวิปัสสนา)


    ที่จริงบทความฉบับจริงนั้นยาวมาก และอธิบายละเอียด ผมเห็นว่ายาวเกินไปจนหากอ่านจะเกิดความเบื่อหน่ายก่อน จึงเลือกเอา เฉพาะหัวใจของพ่อแม่ครูอาจารย์แต่ละท่านมาให้อ่าน แต่ถ้าอยากทำความเข้าใจก็ตามเข้าไปดูได้ในนี้ครับ

     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    บทความนี้ก็น่าสนใจสำหรับผู้นิยมในธรรมะปฏิบัติเช่นกันครับ

    พระไตรลักษณ์ โดยย่นย่อ และปรมัตถ์ที่สุด



    สังขาร จึงเกิดขึ้นมาแต่ มีเหตุต่างๆหรือก็คือสิ่งต่างๆ มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้น ดังนั้นฆนะมวลรวมหรือกลุ่มก้อน ล้วนคือมายาที่เห็น จึงไม่ใช่สิ่งๆเดียวหรือชิ้นเดียวแท้จริง แต่้ประกอบขึ้นมาแต่เหตุต่างๆ จึงมีสภาวะของแรงที่บีบเค้นขึ้นโดยธรรมหรือธรรมชาติต่อสังขาร ให้คืนสู่สภาพเดิมหรือธรรมชาติเดิมแท้ก่อนการปรุงแต่ง จึงทำให้เกิดสภาวะของอนิจจังหรือความไม่เที่ยง ที่เกิดการแปรปรวนจากแรงบีบเค้นนั้นๆขึ้นเป็นธรรมดา
    เมื่อไม่เที่ยงแล้วจึงมีอาการแปรปรวนไปมา จนถึงที่สุดของอาการแปรปรวนคือทุกขัง สภาวะที่ทนอยู่ไม่ได้อีกต่อไป จึงดับไปเป็นที่สุด


    สังขารทั้งปวงจึงล้วนอนัตตา ไม่ใช่ตัวใช่ตนแท้จริง ตัวตนที่เห็นหรือผัสสะได้ด้วยอายตนะใดๆก็ตามทีล้วนเป็นเพียงมายาของกลุ่มก้อนที่ปรุงแต่งกันขึ้นดังกล่าวข้างต้น ส่วนอสังขตธรรมนั้นก็เป็นเพียงธรรมชนิดนามธรรมและยังไม่เกิดเป็นปรากฏการณ์ ของการที่เหตุต่างๆ มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้นให้เป็นตัวเป็นตนเป็นผลขึ้นแต่อย่างใด จึงเป็นอนัตตาอยู่ในที หรือโดยธรรม คือย่อมยังไม่มีตัวตนนั่นเองด้วยเหตุดังนี้ ธรรมทั้งปวงจึงล้วนอนัตตา ไม่ใช่ตัวใช่ตน หรือไม่มีตัวตนแท้จริง
    หรือ พิจารณาจากธรรมดังนี้ ก็ย่อมเห็นความจริงได้เช่นกันว่า


    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา



    ดังนั้นสังขาร เมื่อถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดย่อมคืนสู่สภาพเดิมหรือธรรมชาติเดิมก่อนการปรุงแต่งโดยธรรมหรือธรรมชาติ กล่าวคือย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา จึงบังเกิดอาการของอนิจจังความไม่เที่ยงขึ้น ที่มีอาการของความแปรปรวนเพื่อคืนสู่ธรรมชาติเดิมเป็นธรรมดา จนทุกขังทนอยู่ไม่ได้ในที่สุด จึงย่อมต้องดับไปเป็นธรรมดา จึงล้วนเป็นอนัตตาเพราะไม่มีตัวตนแท้จริงอีกแล้ว เพราะดับไปเสียแล้ว
    (อ่านพระไตรลักษณ์จบแล้ว กลับมาอ่านพิจารณาอีกหลายๆครั้ง)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2008
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    หมวดต่อไปจะขอนำเสนอในหัวข้อปุจฉา/วิสัชนา ลองดูตัวอย่างที่เห็นว่าหลายท่านบางครั้งยังติดอยู่ดังนี้

    ปุจฉา ผมเจริญฌานสมาธิไม่ได้ผลดีเลย คงเกิดแต่นิวรณ์ ๕ นี้เป็นเหตุนั่นเอง ผมคิดว่ามีปัญหาในข้อ ถีนมิทธะ คือจิตหดหู่ และมีอาการง่วงเหงาหาวนอนทุกทีเมื่อปฏิบัติ ควรแก้ไขประการใดดีครับ
    วิสัชนา นิวรณ์ ๕ ก็มีธรรมที่เป็นคู่ปรับโดยตรง กล่าวคือ เมื่อรู้แน่แก่ใจว่านิวรณ์ใดเป็นเหตุโดยตรง ก็ให้เน้นปฏิบัติในธรรมที่เป็นคู่ปรับกับนิวรณ์นั้นๆโดยตรง อันย่อมยังผลให้การเจริญสมาธิเป็นไปได้ดี จึงขออาราธนาธรรมบรรยายของท่านพุทธทาส มาแสดง ณ ที่นี้
    ๑. ให้พิจารณาในทางอสุภะและปฏิกูล เช่น กายคตาสติ เป็นต้น ซึ่งกำจัดกามฉันทะได้
    ๒. ให้เจริญเมตตา โดยนัยเป็นต้นว่า ให้เห็น โดยความเป็น เพื่อนสัตว์ ที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด ทุกคน ทุกชีวิต นี่ ย่อมกำจัดพยาบาท
    ๓. ให้ทำในใจถึง แสงสว่างเป็นอารมณ์ เช่น การเจริญอาโลกสัญญาเป็นต้น ย่อมกำจัด ถีนมิทธะ ข้อนี้ แม้การทำในใจ ถึงสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใส หรือ อิ่มใจ เช่น การเจริญ พุทธานุสติ เป็นต้น ก็ อาจจะช่วยกำจัดถีนมิธะ ได้ตามสมควร
    ๔. ให้ทำจิต จดจ่อ อยู่ที่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งง่ายแก่การจดจ่อ เช่น การเจริญกสิณ ทั่วๆไป หรือแม้แต่การเจริญอานาปานสติ ย่อมกำจัดอุทธัจจะกุกกุจจะได้
    ๕. ให้ทำความเชื่อ ในสิ่งที่ควรเชื่อ แน่ใจในสิ่งที่ควรแน่ใจ ทำให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้ เช่น เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แน่ใจในเรื่องกรรม หรือทำความรู้ในเรื่องไตรลักษณ์ อย่างนี้เป็นต้น ย่อมกำจัดวิจิกิจฉา ให้สิ้นไป
    ถ้ากล่าวกลับกันอีกทางหนึ่ง ถ้าผู้ใดสามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยวิธีใดก็ตาม จนกระทั่งเป็น อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิที่แน่วแน่แล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ย่อมเป็นอันระงับไปหมดสิ้น ฉะนั้นในอันดับแรกนี้ บุคคลควรเริ่มต้นด้วยการเจริญสมาธิที่สะดวกสบาย เช่น อานาปานสติ เป็นต้น ต่อเมื่อทำไปไม่สำเร็จเพราะนิวรณ์อย่างใดรบกวนพิเศษ จึงค่อยหันไปเจริญสมาธิที่เป็นคู่ปรับกับนิวรณ์นั้นโดยตรง จะเป็นวิธีที่สะดวกกว่า และได้ผลดีกว่า
    ความไม่มีนิวรณ์ หมายถึง จิตมีลักษณะบริสุทธิ์ ผ่องใส เยือกเย็น ปลอดโปร่ง เป็นความพร้อมที่จะรู้แจ้งเห็นจริง ในอรรถะและธรรมอันลึก นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องมีหรือต้องฝึกหัด สำหรับผู้ที่ประสงค์จะก้าวหน้าไปในทางธรรม แม้จะกล่าวกันอย่างโลกๆ เวลาที่จิตไม่ถูกนิวรณ์รบกวน ก็กล่าวได้ว่า เป็นเวลาที่มีความผาสุกที่สุด จึงได้มีผู้หลงใหลในรสของสมาธิหรือฌาน จนถึงสิ่งนี้เคยถูกบัญญัติเหมาเอาว่าเป็นนิพพานมาแล้วในยุคหนึ่ง คือ ยุคที่ยังไม่มีความรู้ในทางจิตสูงไปกว่านั้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน นิวรณ์ ๕ โดยท่านพุทธทาส)

    และหากต้องการอ่านปุจฉา/วิสัชนา ฉบับเต็ม เผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านนักปฏิบัติทางจิต ลองเข้าไปอ่านในนี้ครับ

    http://www.nkgen.com/708.htm
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [​IMG]


    ในหมวดธรรมะปฏิบัติข้างต้น ที่ผมได้นำเสนอบางหมวดธรรมเป็นหมวดที่ลึกซึ้ง ซึ่งผู้ปฏิบัติหากพอได้บ้าง ก็จะทำให้เร็วขึ้น ถ้าหากยังไม่เคยปฏิบัติ ต้องค่อยๆ ทำอย่าเร่ง หลักของพ่อแม่ครูอาจารย์มีหลากหลาย เหมือนอาหาร สุดแต่เราจะเลือกรับประทานเอาว่าจะเป็นแบบใด คราวต่อไป จะพยายามหาเลือกหมวดปฏิบัติ สำหรับนักปฏิบัติ หรือจะเลือกเป็นหมวดปรัชญา สำหรับพวกที่ชอบคิด ชอบการเตือนใจให้ ธรรมะบางที่ดีๆ หรือปรัชญาทางธรรมที่ดีๆ บางหมวด ซ่อนในกระทู้ตามเวบต่างๆ หรือบางทีซ่อนอยู่ตาม เวบ blog หากมีเวลา จะทยอยนำเสนอให้เป็นความรู้กัน สาระต่างๆ ที่นอกเหนือจากนี้ที่ไม่เกี่ยวกับการทำบุญ จะพยายามตัดออกไปหรือจะให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งนี้ เพื่อปรับมาตรฐานของกระทู้ ให้ได้ประโยชน์ทั้งผู้โพสท์กระทู้ และผู้อ่านที่อาจจะถูกจำกัดในเรื่องเวลา หรือการหาข้อมูลครับ และเช่นกัน หากติชมกันได้ก็จะดีมาก จะเป็นการส่องกระจกให้ตัวเองด้วยว่าถูกผิดประการใด ผมและคณะกรรมการฯ ท่านอื่น ยินดีเสมอครับ


    ด้วยความนับถือ
    พันวฤทธิ์
    30/3/51


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2008
  18. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    วันนี้ไปบ้านพี่ใหญ่ รับพระกรุโลกอุดรที่คุณลุง ศิษย์ผู้ใหญ่ของอาจารย์ประถม ได้เก็บสะสมมาตั้งแต่พ.ศ2530 ถึงปัจจุบันยี่สิบกว่าปี เป็นพระกรุแรกๆ ที่ทำให้เรารู้จักพระที่ท่านหลวงปู่โลกอุดรอธิษฐานฤทธิ์ไว้ เรื่องปลอมเลิกพูดได้เลย เพราะเวลานั้นยังไม่มีกี่คนรู้จักพระโลกอุดรอย่างเป็นทางการ เหมือนปัจจุบัน มักรู้กันเฉพาะผู้ปฏิบัติธรรมที่มีวาสนาเกี่ยวเนื่องกับท่านเท่านั้น

    พระนี้พี่ใหญ่ตรวจ อาจารย์ประถมตรวจแล้ว ตรงกันว่าดีมาก ทางทุนนิธิฯ จะทำการแจกให้กับผู้ที่ ทำบุญต่อเนื่อง โดยจะเริ่มแจกประมาณปลายเดือนเมษายนนี้ เพื่อเป็นสิ่งมงคลให้ท่านเนื่องด้วยปีใหม่ไทย ไว้จะทยอยลงรูปให้ได้ชมกันไปก่อนถึงเวลาแจก ส่วนรายละเอียดอื่นๆขอประชุมกันในคณะกรรมการทุนนิธิฯก่อนครับ

    พระกรุนี้ปัจจุบันถ้าเทียบราคา ก็หลักพัน ยังหาเจอของแท้ยาก แต่ลุงท่านนี้ให้คำสัตย์กับตนเองว่าไม่ขายพระหลวงปู่กินเป็นอันขาด! จึงนำมาแจกฟรีให้กับผู้ทำบุญกับทุนนิธิฯ ไม่มีขายแลกบุญ ไม่มีให้ฟรีกับบุคคลทั่วไปที่หวังแต่วัตถุมงคลไม่สนใจบุญ ไม่มีตั้งราคา ทำบุญมากทำบุญน้อยแต่ทำต่อเนื่องได้เสมอกันครับ

    พี่ใหญ่บอกแล้วว่า หลวงปู่ไม่มีเจตนาให้พระท่านแพง ท่านต้องการให้คนดี มีศีลธรรม มีใจเป็นกุศล ทุกฐานะมีไว้บูชาได้ ท่านใดอยากเป็นศิษย์หลวงปู่ก็ปฏิบัติตามนี้ครับ

    โมทนากับคุณลุงใจดีท่านนี้ด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 มีนาคม 2008
  19. onimaru_u

    onimaru_u เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +854
    เมื่อวาน 30/03/51 เวลา 7:42 น.
    ผมได้ร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธฯ
    เป็นจำนวน 300 บาท ครับ
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านทุกประการครับ
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    น่าสนใจดี

    เหตุแห่งความงาม


    <!-- Main -->[SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]</CENTER>[/SIZE]

    [SIZE=-1]ดร.มาซารุ อิโมโต (Dr.Masaru Emoto) มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจากการจับภาพ
     

แชร์หน้านี้

Loading...