ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ดาวตกลูกไฟกับโซนิคบูม ในซีแอตเติลวันที่ 6 พฤษภาคม 2563

    Fireball meteor with sonic boom in Seattle on May 6 2020



     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ลูกบอลไฟ เหนือท้องฟ้าสเปน วันที่ 5 พฤษภาคม 2563



     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สัปสนไปหมด

    FB_IMG_1588898010640.jpg

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คนเสี่ยงตกงานกว่าครึ่งโลก WEF เตือน เร่งปรับตัว ปรับวิธีคิดและการทำงานเพื่อความอยู่รอด : สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มผ่านพ้นช่วงเวลาที่เรียกได้ว่าเป็นวิกฤตไปแล้ว ด้วยจำนวนผู้ป่วยในหลายประเทศที่ลดลงเรื่อยๆ แน่นอนว่าภาครัฐบาลและเอกชน ต้องเฝ้ารอจังหวะเวลาที่เหมาะสมที่จะผ่อนปรนมาตรการล็อคดาวน์ เพื่อให้คนได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ รวมถึงเพื่อเป็นการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจที่กระทบกับการจ้างงานคนจำนวนมากอีกด้วย

    จากสถิติของ World Economic Forum พบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ประชากรครึ่งหนึ่งของโลกตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะตกงาน ดังนั้น โลกของการทำงานในอนาคต (Future of Work) จึงเป็นเรื่องสำคัญ หลังจากที่ถูกพูดถึงมานานหลายปีว่าเทคโนโลยี และปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจจะ Disrupt วิธีการทำงานแบบเดิมๆ

    ปรับการทำงานรับมือโลกหลังโควิด-19

    พนักงานในโรงงานที่มีความเสี่ยงจะถูกเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ โดยการใช้งานระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิตมากยิ่งขึ้น ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยิ่งเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ดังนั้นตลาดแรงงานควรใช้ช่วงเวลานี้ในการปรับตัวให้โลกของการทำงานกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว ดังนี้

    ให้ความสนใจพัฒนาทักษะเดิม และหาทักษะใหม่ๆ

    ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาครัฐ และเอกชนหลายๆ บริษัทเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่ (Upskill) และเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ (Reskill) เพื่อเตรียมความพร้อมกับยุค Disruption ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยิ่งเป็นการเร่งให้เกิดการ Disruption จากการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานบางอย่างมากขึ้น

    ทางรัฐบาล และหน่วยงานเอกชนต้องทำงานในเชิงรุก เพื่อกระตุ้นให้แรงงานรู้จักเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่มีความจำเป็นกับการทำงานในโลกหลังโควิด-19 โดยเฉพาะทักษะดิจิทัล เพื่อปรับตัวให้อยู่รอดในระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป

    ให้ความสำคัญกับงานในยุคใหม่

    ที่ผ่านมา World Economic Forum ได้ให้ความสำคัญกับงานในอนาคต (Job of Tomorrow) ซึ่งจะมีความสำคัญในอนาคตมากขึ้น โดยเฉพาะงานในเศรษฐกิจใส่ใจ (Care Economy) ที่เน้นเกี่ยวกับการดูแลร่างกาย อารมณ์ และความต้องการของคน เศรษฐกิจให้ความสนใจกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Green Economy) รวมถึงงานที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและ การจัดการ และธุรกิจ E-commerce ที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต

    แต่อย่างไรก็ตามการระบาดของโรคโควิด-19 จะทำให้เราต้องหันไปให้ความสนใจคนที่ทำงานในโรงพยาบาล ร้านซุปเปอร์มาเก็ต และโรงเรียน ซึ่งนับว่ามีความสำคัญในช่วงเวลาเช่นนี้

    ช่วยเหลือคนที่ตกงาน

    สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้คนทั่วโลกต้องตกงาน ดังนั้นการช่วยเหลือคนที่กำลังตกงานเป็นสิ่งสำคัญทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ตอนนี้หลายๆ บริษัทเริ่มช่วยเหลือพนักงานที่ตกงาน ด้วยการเปลี่ยนหน้าที่การทำงาน จากเดิมที่อาจทำงานที่มีความต้องการต่ำ ไปสู่การทำงานในตำแหน่งใหม่ที่มีความต้องการสูงกว่า โดยเฉพาะในธุรกิจการขนส่ง

    ส่วนรัฐบาลควรมีการช่วยเหลือแรงงานที่กำลังตกงานด้วยการเปิดเผยข้อมูลตลาดแรงงาน เปิดตลาดแรงงานเป็นตัวกลางช่วยหางานใหม่ ซึ่งจะช่วยลดอัตรการว่างงานได้

    คิดใหม่ว่างานอะไรสำคัญ

    ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเริ่มมีการตระหนักมากขึ้นว่างานที่ได้รับค่าตอบแทนน้อย ก็เป็นงานที่มีความสำคัญเช่นเดียวกันโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็ก ที่มักได้รับค่าแรงต่ำ

    World Economic Forum แสดงความเห็นว่าควรใช้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงใหม่ ว่างานบางชนิดก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เช่นเดียวกับช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีการเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับการทำงานใหม่ จนเกิดการพัฒนากฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวกับแรงงาน

    สร้างความร่วมมือระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

    การสร้างความร่วมมือระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐบาล ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศนับว่ามีความสำคัญซึ่งจะช่วยฟื้นฟูสภาพการทำงานหลักวิกฤตโควิด-19 ได้ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อควรปฎิบัติในการทำงานระหว่างกัน เพื่อสร้างทักษะการทำงานที่สามารถอยู่รอดได้หลังวิกฤตโควิด-19

    โดย Pran Suwannatat

    Source: Brandinside.asia
    https://brandinside.asia/new-workforce-after-covid-19/

    เพิ่มเติม
    - The future of work is here: 5 ways to reset labour markets after coronavirus recovery : https://www.weforum.org/agenda/2020...et-labour-markets-after-coronavirus-recovery/

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พัทยาปิดพื้นที่ชายหาด ป้องกันมั่วสุม 9 – 31 พ.ค. นี้
    .
    นาย อํานาจ เจริญศรี นายอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และ นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา เรียกเจ้าหน้าที่ประชุมหารือเตรียมความพร้อมคุมเข้มนักท่องเที่ยวห้ามใช้พื้นที่บริเวณชายหาดของเมืองพัทยาทั้งหมด จำนวน 9 จุด อาทิ หาดพัทยา หาดจอมเทียน หาดพระตำหนัก และ หาดกระทิงลาย โดยนายสนธยา ระบุ วันนี้ได้มีการร่วมกันวางแผนดำเนินการตามประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ซึ่งมีการประกาศใช้ไปจนถึงวันที่ 31 พ.ค.63 หลังจากที่มีการผ่อนปรนร้านอาหาร อนุญาตให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ห้ามดื่มภายในร้านและที่สาธารณะต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และประกาศของคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดชลบุรี จึงได้มีการกำหนดควบคุมพื้นที่ชายหาดเมืองพัทยาทั้งหมด โดยจะอนุญาตให้ใช้พื้นที่สวนสาธารณะ พื้นที่ทางเท้าบริเวณชายหาดในการออกกำลังกายเท่านั้น ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่ม มารับประทานหรือรวมกลุ่มกัน และ ทางเมืองพัทยาจะมีการปิดพื้นที่บริเวณชายหาดของเมืองพัทยาทั้งหมด เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 9-31 พ.ค. 63 ซึ่งได้มีการติดป้ายประกาศทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และจะติดป้ายเพิ่มเติมทั้งภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และยังมีการประชาสัมพันธ์ของระบบกระจายเสียงจากเจ้าหน้าที่เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับทราบ หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    'เวอร์จิน แอตแลนติก' จ่อปลดพนักงานกว่า 3 พัน : การคุมเข้มด้านการเดินทางของทุกประเทศทั่วโลก ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเหมือนฝันร้ายของทุกบริษัทที่อยู่ใน อุตสาหกรรมการเดินทาง รวมถึง สายการบิน ทุกแห่งที่ต้องหยุดให้บริการชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการขาดรายได้ เมื่อขาดรายได้เป็น ระยะเวลานาน สายการบินก็ขาดสภาพคล่อง หรือขาดแคลนเงินสดหมุนเวียนสำหรับ บริหารธุรกิจรายวัน ที่พึ่งสุดท้ายคือ การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ และลดขนาดธุรกิจ

    สายการบินเวอร์จิน แอตแลนติก ของริชาร์ด แบรนสัน เจ้าของอาณาจักรธุรกิจเวอร์จิน เคยกล่าวไว้ในช่วงเปิดตัว สายการบินว่า วิธีที่เร็วที่สุดในการเป็น มหาเศรษฐีคือต้องเริ่มต้นทำตัวเป็น มหาเศรษฐีพันล้าน แต่ตอนนี้สายการบินของเขามีชะตากรรมไม่ต่างอะไรกับบรรดาสายการบินอื่นๆทั่วโลก คือขาดรายได้เข้ามา จุนเจือจนต้องตัดสินใจลดพนักงาน 3,150 คน และย้ายฐานบัญชาการทางธุรกิจที่อยู่ในสนามบินแกตวิกของกรุงลอนดอนมาไว้ที่สนามบินฮีธโรว์ ในกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นสนามบินที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดอันดับ 2 ของโลกแทน

    "การตัดสินใจที่จะลดจำนวนพนักงานประมาณ 3,150 คนของสายการบิน เวอร์จิน แอตแลนติก ซึ่งมีฐานดำเนินงานอยู่ในกรุงลอนดอน จะทำให้สายการบินมีขนาดเล็กลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และขณะนี้สายการบินไม่ได้รอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลหรือรอเงินทุนจากนักลงทุน ที่สนใจลงทุนในธุรกิจการบินเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีเงินสดสำรอง หากต้องการ เอาตัวรอดจากวิกฤติครั้งนี้ให้ได้"อเล็กซ์ มาเชอราส นักวิเคราะห์ด้านการบินพลเรือน ให้ความเห็น

    การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้สายการบินจำนวนมากต้องตัดสินใจ ยกเลิกการให้บริการชั่วคราว ขณะที่มาตรการล็อกดาวน์และการปิดพรมแดนระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นทั่วโลกทำให้ตลาดการเดินทางทางอากาศล่มสลายเลยก็ว่าได้ ผลพวง ที่ตามมาคือ คนตกงานหลายพันคน เช่น กรณีของสายการบินบริติช แอร์เวย์ส ที่ประกาศลดพนักงาน 12,000 คน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งการปรับลดพนักงานเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างและแก้ปัญหาคนล้นงาน โดยบริษัทคาดการณ์ด้วยว่า ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าปริมาณ ผู้โดยสารจะกลับสู่ระดับเดียวกับในปี 2562

    "เราเผชิญมรสุมหลายลูกมากตั้งแต่เริ่มให้บริการเที่ยวบินแรกเมื่อ 36 ปีก่อน แต่ไม่มีครั้งไหนที่เลวร้ายเท่าการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมากและเปลี่ยนแปลงวิธีชีวิตของคนทั่วทั้งโลก แต่เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด และสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างยั่งยืน เราต้องเลือกลดต้นทุน รักษากระแสเงินสด และปกป้องตำแหน่งงานที่เหลือไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้"ไช่ เวสส์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ)เวอร์จิน แอตแลนติก กล่าว

    สายการบินเวอร์จิน แอตแลนติก มีบริษัทเวอร์จิน กรุ๊ป ของแบรนสันถือหุ้นในสัดส่วน 51% ส่วนหุ้นอีก 49% ถือครองโดยสายการบินเดลต้า แอร์ไลน์ของสหรัฐ และช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสหรัฐนั้น แบรนสัน ได้ส่งอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลจำนวนมากจากเอเชียไปให้รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการ แพร่ระบาดของโควิด-19 จนผู้ว่าการรัฐต้องออกมาประกาศให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรคนี้
    แต่ไม่ได้มีแค่สายการบินเท่านั้น ที่ประสบปัญหา ผู้ผลิตเครื่องบินอย่างแอร์บัส ของฝรั่งเศส ก็ประกาศยอดขาดทุนสุทธิ 481 ล้านยูโรในไตรมาส 1 ปีนี้ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งบริษัท มีกำไรสุทธิ 40 ล้านยูโร

    ส่วนรายได้ในไตรมาส 1 ร่วงลง 15% สู่ระดับ 1.063 หมื่นล้านยูโร ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานหลังการปรับปรุงลดฮวบ 49% เหลือ 281 ล้านยูโรในไตรมาสเดียวกัน ซึ่งแอร์บัสระบุว่า สาเหตุที่ทำให้บริษัทขาดทุนในไตรมาส 1 ปีนี้ มาจากอุปสงค์ทั่วโลก ที่ทรุดตัวลงอย่างหนัก เนื่องมาจากการ แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และแอร์บัส ยังระบุว่า บริษัทจะไม่เปิดเผยรายงานคาดการณ์ ผลประกอบการสำหรับปีงบการเงิน 2563 เนื่องจากแนวโน้มทางธุรกิจยังไม่ชัดเจน

    ด้าน "ไดอานา ฮอลแลนด์" ผู้ช่วยเลขานุการของสหภาพแรงงาน "ยูไนท์" เรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมการบินพลเรือนในประเทศ

    "เราค่อนข้างวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดกับสนามบินแกตวิกและเศรษฐกิจท้องถิ่นหลังจากเวอร์จิน แอตแลนติกลดพนักงานจำนวนมาก เนื่องจากสหราชอาณาจักรมีสายการบินและมีบริษัทด้านอากาศยานระดับโลกจำนวนมาก ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการเยียวยาจากการระบาดของโรคโควิด-19"ฮอลแลนด์ กล่าว

    Source: กรุงเทพธุรกิจ

    เพิ่มเติม
    - Coronavirus: Virgin Atlantic to cut 3,000 jobs and quit Gatwick : https://www.bbc.com/news/business-52542038

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (May 7) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาดจากพิษโควิด : กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจำนวน 3.17 ล้านรายในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.05 ล้านราย

    ทั้งนี้ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานโดยรวมพุ่งขึ้นสู่ระดับ 33.5 ล้านรายในช่วง 7 สัปดาห์ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ที่สหรัฐประกาศล็อกดาวน์ในรัฐต่างๆในช่วงครึ่งหลังของเดือนมี.ค.เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

    อย่างไรก็ดี ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่มีการรายงานในวันนี้ถือว่าต่ำที่สุดในช่วง 7 สัปดาห์ดังกล่าว

    ส่วนในวันพรุ่งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะดิ่งลง 21.5 ล้านตำแหน่งในเดือน เม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานจะพุ่งขึ้นสู่ระดับ 16%

    เมื่อเดือนที่แล้ว กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลง 701,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ย.2553 ส่วนอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสู่ระดับ 4.4% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2560 หลังจากแตะระดับ 3.5% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี

    นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะมีการเปิดเผยในวันพรุ่งนี้ จะเป็นหนึ่งในตัวเลขการจ้างงานที่ย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ

    "อัตราการว่างงานจะพุ่งสูงมาก โดยอาจสูงกว่า 20%" นายบูลลาร์ดกล่าว

    นายบูลลาร์ดกล่าวเสริมว่า ผลกระทบส่วนใหญ่จากการแพร่ระบาดจากไวรัสโควิด-19 จะปรากฎในไตรมาส 2 แต่คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในไตรมาส 3 ขณะที่อัตราการว่างงานจะกลับสู่ตัวเลขหลักเดียวในไตรมาส 4 ขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ

    https://www.ryt9.com/s/iq29/3121634

    เพิ่มเติม

    -US weekly jobless claims total 3.169 million, bringing seven-week tally to 33.5 million : https://www.cnbc.com/2020/05/07/us-weekly-jobless-claims.html

    - Millions more Americans seek jobless benefits; productivity dives

    https://www.reuters.com/article/us-...ess-benefits-productivity-dives-idUSKBN22J0HT

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    PSX_20200508_074623.jpg

    (May 8)สหรัฐและจีนเตรียมกลับหารือตามความคืบหน้าข้อตกลงการค้า: เจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนและสหรัฐฯ เตรียมหารือกันทางโทรศัพท์ในสัปดาห์หน้าเป็นครั้งแรก เพื่อติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐระยะที่ 1 ที่ตกลงร่วมกันตั้งแต่เดือน ม.ค. 63

    การกลับมาหารือครั้งนี้มีขึ้นหลังประธานาธิบดี Trump กล่าวว่าทางสหรัฐฯ จะประเมินการดำเนินการตามข้อตกลงของจีนในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้าและขู่ว่าอาจจะยกเลิกข้อตกลงหากทางจีนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข

    นาย Liu He รองนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้แทนฝ่ายจีนเพื่อหารือทางโทรศัพท์กับนาย Robert Lighthizer ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ที่ผ่านมาจำนวนการซื้อสินค้าสหรัฐของจีนในปีนี้ยังล่าช้ากว่าเป้าที่วางไว้ โดย 4 เดือนแรกของปี 2020 ตัวเลขการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.9 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้เป็นที่จับตามองว่าจีนจะสามารถเร่งและบรรลุตามข้อตกลงที่กำหนดให้จีนต้องซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่ม 200 พันล้าน USD ในอีก 2 ปีนี้ได้หรือไม่

    ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ย่ำแย่ลงหลังจากที่สหรัฐฯ ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 และทางประธานาธิบดี Trump ได้กล่าวหาว่าจีนไม่เปิดเผยข้อมูลของเชื้อไวรัสตามความเป็นจริง รวมทั้งขู่ว่าอาจจะมีมาตรการต่าง ๆ ที่ลงโทษจีน ทั้งการเพิ่มภาษี ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศของจีนได้กล่าวว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ บางรายพยายามจะโยนความผิดให้ผู้อื่น เพื่อบ่ายเบี่ยงความสนใจจากการที่สหรัฐฯ ไม่สามารถรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสได้

    Source: BoTSS

    - U.S., China Trade Chiefs to Speak as Trump Threatens Deal:
    https://www.bloomberg.com/news/arti...hiefs-to-speak-after-trump-threat-to-end-deal
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    PSX_20200508_075004.jpg

    (May 7) อียูหวั่น ‘เศรษฐกิจถดถอย’ ครั้งประวัติศาสตร์ จากวิกฤติโควิด19 :สหภาพยุโรป เปิดเผยการคาดการณ์เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอียู 27 ประเทศ ซึ่งชี้ว่าอาจเกิด ‘ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งประวัติศาสตร์’ ในปีนี้ เนื่องจากผลของวิกฤติโควิด 19

    ในการประมาณการครั้งเเรกของอียู นักวิเคราะห์ระบุว่า เศรษฐกิจอาจหดตัวร้อยละ 7.5 ในปีนี้ ก่อนที่จะขยายตัวอีกครั้งที่อัตราร้อยละ 6 ในปีหน้า

    เปาโล เจนติโลนี ประธานคณะกรรมการฝ่ายเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปกล่าวว่าโคโรนาไวรัส ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของอียู หายไปหนึ่งในสาม ‘เพียงชั่วข้ามคืน’ และความเสียหายส่งไปยังเเทบทุกภาคธุรกิจ

    อียู คาดว่าอัตราคนว่างงานปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 9% จาก 6.7% ปีที่แล้ว และในปีหน้าอัตราคนว่างงานน่าจะอยู่ที่8%

    รายงานของสหภาพยุโรปชี้ด้วยว่า สเปน อิตาลี และฝรั่งเศสจะได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ส่วนปัญหาของเยอรมนี อยู่ในระดับปานกลางและน่าจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศอื่น

    ทั้งนี้ในยุโรปมีผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสกว่า1 ล้าน1 แสนคน และมีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 137,000 ราย

    Source: VOA Thai
    https://www.voathai.com/a/eu-economic-recession/5408986.html

    - EU Forecasts 'Recession of Historic Proportions' This Year
    https://www.voanews.com/covid-19-pandemic/eu-forecasts-recession-historic-proportions-year
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    PSX_20200508_075311.jpg

    (May 7) สหรัฐสู้พิษโควิดไม่ไหว กู้เงินสูงสุดในประวัติศาสตร์ : เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับวิกฤติครั้งใหญ่ จากผลกระทบที่ได้รับจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดหนักจนมีจำนวนคนตายสูงสุดในโลก และ ดูเหมือนรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ จะยังแก้ปัญหานี้ไม่ตก

    ล่าสุดมีรายงานว่า นายสตีเว่น มนู ชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สหรัฐฯได้วางแผนที่จะระดมทุนผ่านการกู้ยืมจากตลาดครั้งใหญ่วงเงินราว 3 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วงไตรมาส 2 นี้ เพื่อนำไปพยุงเศรษฐกิจให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19

    แถลงการณ์ของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุว่า กระทรวงฯคาดว่าจะกู้ยืมเงินผ่านการขายตราสารหนี้ให้กับภาคเอกชนในวงเงิน 2.999 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย.นี้ และการกู้ยืมเงินในตลาดรอบนี้จะทำให้ดุลบัญชีเงินสด ณ สิ้นเดือน มิ.ย.อยู่ที่ 8 แสนล้านดอลลาร์

    "การกู้ยืมเงินเพิ่มขึ้นผ่านการขายตราสารหนี้ให้กับภาคเอกชนรอบนี้ มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือประชาชน และภาคธุรกิจที่กำลังเจอภาวะหดตัวอย่างรุนแรง" แถลงการณ์ของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุ
    .
    สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การกู้ยืมเงินของกระทรวงการคลังสหรัฐเกิดขึ้น หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ รายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงของสหรัฐประจำไตรมาส 1 ของปี 2020 หดตัวลง 4.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน อันเนื่องมาจากผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งเป็นการหดตัวลงรายไตรมาสครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2008

    รอยเตอร์เปิดเผยว่า แผนการกู้เงินของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นวงเงินที่สุงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และจะทำลายสถิติในปี 2009 ที่ทำสถิติกู้ไว้มากถึง 1.28 ล้านล้านดอลล์

    Source: ฐานเศรษฐกิจออนไลน์
    https://www.thansettakij.com/conten...homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

    เพิ่มเติม
    - Mnuchin to Issue $3 Trillion in Debt After Virus Hobbles Economy : https://www.bloomberg.com/news/arti...o-borrow-record-3-trillion-in-current-quarter
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    FB_IMG_1588899313654.jpg

    (May 7) 'ไทย' รุกส่งออก ป้อนโลกตุนอาหาร : ผู้ส่งออกรุกตลาดโลก หลังโควิด ส่งผลหลายประเทศตุนอาหาร ยืนยันอาหารในประเทศเพียงพอ “ซีพีเอฟ” เผย สหรัฐชะลอส่งออกไก่ เพิ่มสต๊อกภายในประเทศ จีนรับรองโรงงานไก่ไทยเพิ่ม หวังนำเข้าป้อนความต้องการพุ่ง

    การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้หลายประเทศมีความต้องการสินค้าอาหารเพื่อสำรองเพิ่มมากขึ้น โดยผู้ผลิตอาหารบางประเทศชะลอการส่งออกเพื่อเก็บไว้บริโภคในประเทศ ในขณะที่บางประเทศยอมผ่อนเกณฑ์นำเข้าสินค้าอาหารที่เคยเข้มงวดลง เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหารภายในประเทศ

    นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้กำลังซื้อทั่วโลกลดลง ซึ่งจะกระทบกับการส่งออกด้านอาหารของไทยในระยะสั้น แต่กำลังซื้อที่ลดลงดังกล่าวไม่ได้สะท้อนว่าความต้องการอาหารจะลดลงตาม รวมทั้งที่สำคัญความต้องการยังมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย มั่นใจว่าการส่งออกอาหารจะมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    การส่งออกอาหารหลังจากนี้ หลายประเทศจะเพิ่มความเข้มงวดด้านมาตรฐานความปลอดภัยมากยิ่งไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรจุภัณฑ์ มีความเป็นไปได้อย่างสูงว่าอาหารแช่แข็งจะกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอาหารแช่แข็ง

    นอกจากมีความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แล้ว ยังถูกห่อหุ้มด้วยบรรจุภัณฑ์ที่รัดกุมเพื่ออากาศสัมผัสกับสินค้าที่อยู่ภายในจนเกิดความเสียหาย รวมทั้งการขนส่งสินค้าแช่แข็งยังต้องควบคุมอุณหภูมิตลอดระยะทางการส่งด้วย ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้าอาหารแช่แข็งนั้น ต้องมีความปลอดภัยจริงจนถึงมือผู้บริโภค

    “ผมว่าในไตรมาส 4 ของปีนี้ จะเห็นภาพการส่งออกสินค้าอาหารของไทยมีมากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด" นายประสิทธิ์ กล่าว

    ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาความต้องการสินค้าอาหารรายประเทศจะเห็นความเปลี่ยนแปลงจากการระบาดของโรคโควิด-19 ดังนี้

    1.ตลาดจีน พบว่าประเทศจีนมีสัญญญาณที่ดีกลับมาแล้วจากที่จีนสามารถควบคุมโรคโควิดได้ และต้องการนำเข้าเนื้อไก่จำนวนมาก เนื่องจากเป็นสินค้าอาหารพื้นฐาน ประกอบกับผลผลิตในจีนเดิมไม่เพียงพอกับความต้องการอยู่แล้ว การที่โควิดระบาดหนักก่อนหน้านี้ทำให้ความต้องการมากขึ้นอีก รวมทั้งก่อนหน้าจีนได้ไปรับรองโรงงานไก่เพื่อนำเข้าจากสหรัฐอเมริกากว่า 147 โรงงาน ในขณะที่ของไทยจีนรับรองเพียง 15 โรง เท่านั้น

    2.ตลาดสหรัฐ ปัจจุบันโรงงานแปรรูปไก่ในสหรัฐมีผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคภายใน ในขณะที่ผู้ผลิตไก่รายใหญ่อย่างบราซิลก็มีปัญหาอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคโควิด เช่นกัน โอกาสจึงเป็นของไทยที่จะผลักดันให้ส่งออกในตลาดจีนได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนได้รับรองโรงงานไก่ของไยเพิ่มขึ้นเป็น 21 โรง เมื่อกลางเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา

    3.ตลาดสิงคโปร์ มีแนวโน้มจะหันมาสั่งซื้อไก่จากไทยเช่นกัน จากเดิมที่นำเข้าจากมาเลเซียเป็นหลักแต่ปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องโควิดระบาด ซึ่งทำให้ต้องปิดด่านนำเข้า-ส่งออก โดยสิงคโปร์ไม่สามารถผลิตอาหารได้เองต้องพึ่งพาการนำเข้าเกือบ 100% จึงเริ่มมีปัญหา

    อย่างไรก็ตามสิงคโปร์ถือเป็นตลาดส่งออกอาหารพร้อมรับประทานของไทยและยอมเปิดตลาดไข่ไก่ให้กับไทยเมื่อเร็วๆนี้ แต่ไทยมีปัญหาไข่ขาดตลาดช่วงก่อนหน้าทำให้การส่งออกหยุดชะงัก ปัจจุบันสถานการณ์ไข่ไก่เริ่มคลี่คลายแล้ว คาดว่ารัฐบาลจะผ่อนคลายเงื่อนไขซึ่งจะส่งผลให้ซีพีเอฟส่งไข่ไก่ในตลาดสิงคโปร์ได้อีกครั้ง และจะพยายามให้กลายเป็นตลาดถาวรให้ได้ในที่สุด

    ไทยไร้ปัญหาความมั่นคงอาคาร

    นายประสิทธิ์ กล่าวว่า การส่งออกอาหารได้มากขึ้น นั้นไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านอาหารของไทยอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสินค้าภาคปศุสัตว์ ที่ไทยมีศักยภาพมาก ทำให้มีการผลิตโปรตีนจากเนื้อสัตว์เฉลี่ยต่อวันมีปริมาณสูง เช่น ไข่ไก่ 41 ล้านฟอง เนื้อสุกร 5 ล้านกิโลกรัม ไก่เนื้อ 8 ล้านกิโลกรัม และในจำนวนนี้ไทยมีการส่งออกไก่วันละ 3 ล้านกิโลกรัม ซึ่งทั้งหมดเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อการบริโภคของคนไทย

    “ผมต้องทำทุกอย่างให้เคร่งครัดที่สุด เพราะบริษัทฯ เรามีหน้าที่และความรับผิดชอบเรื่องความมั่นคงทางอาหาร คือ ความเพียงพอของอาหารของประเทศไทย ทุกอย่างในโรงงานเราต้องมีระบบหมดโดยเฉพาะการบริหารความกลัวของคนเพราะถ้าคนทำงานไม่กล้ามา เราก็จบหมดเหมือนกัน เราต้องทำให้พวกเขารู้สึกว่ามาโรงงานแล้วปลอดภัยกว่าอยู่บ้าน เราจึงยกระดับเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัย”

    นายอนันต์ ศิริมงคลเกษม นายกสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า สมาคมฯ ได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์และผู้ผลิตไก่สดและแปรรูปของไทย เพื่อประเมินสถานการณ์โควิด-19 ต่อความต้องการสินค้าไก่ของไทยในตลาดโลก โดยพบว่าความต้องการสินค้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทยจะมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไทยถือเป็นผู้ผลิตไก่เนื้อรายใหญ่ของโลกอันดับ 8 ด้วยกำลังการผลิต 2.8 ล้านตันต่อปี และเป็นผู้นำด้านการส่งออกเป็นอันดับ 4 ของโลก ถือว่าผลิตได้เกินความต้องการบริโภคในประเทศ

    สำหรับการส่งออกไตรมาส 1 ของปี 2563 นี้ การส่งออกไก่ของไทยมีการขยายตัว 3-4% แม้จะมีอุปสรรคเรื่องการล็อคดาวน์ในประเทศต่างๆ จากปัญหาโควิด-19 ทำให้ลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อ แต่เชื่อว่าสถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้น บางประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการลงจะทำให้ความต้องการบริโภคเริ่มกลับมา

    "สมาคมฯ คาดว่าการส่งออกไก่ในปี 2563 จะมีปริมาณใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่ปริมาณ 950,000-960,000 ตัน มูลค่ากว่า 111,000 ล้านบาท ขึ้นกับสถานการณ์โควิด-19 ว่าจะคลี่คลายเร็วหรือช้า ทั้งนี้ยังมีปัจจัยบวกในตลาดจีนที่เป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (อียู) ที่คาดว่าปีนี้จะส่งออกไปจีนได้เพิ่มขึ้นอีก 35,000-40,000 ตัน”

    สิงคโปร์เร่งนำเข้าแก้ขาดแคลน

    ทั้งนี้ จีนประกาศรับรองโรงงานไก่อีก 7 แห่ง ทำให้มีโรงงานไก่ของไทยถึง 21 แห่งที่ส่งออกไก่ไปจีนได้ ขณะที่สิงคโปร์ที่เป็นตลาดอันดับที่ 6 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ การนำเข้าไก่ขยายตัวถึง 10% และมีคำสั่งซื้อที่แน่นอนเข้ามาปกติ รวมทั้งมีสัญญาณการผ่อนคลายมาตรการที่เคยเข้มงวดด้านการนำเข้า เพื่อให้มีปริมาณเนื้อไก่เพียงพอกับการบริโภค ป้องกันปัญหาการขาดแคลนอาหาร สะท้อนว่าตลาดไก่ยังสดใส และไทยพร้อมส่งออกอยู่ตลอดเวลารอเพียงออร์เดอร์ที่เข้ามาเท่านั้น

    ขณะเดียวกัน ในตลาดส่งออกอันดับ 1 อย่างญี่ปุ่น ที่มีปริมาณ 438,000 ตัน มูลค่า 59,700 ล้านบาท ซึ่งได้มีการนำเข้าไปสต็อกเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าจึงกำลังรอดูสถานการณ์ก่อน รวมถึงสหภาพยุโรป (อียู) ที่เป็นตลาดอันดับ 2 ประมาณ 320,000 ตัน ก็ยังคงโควตาเดิม มูลค่า 33,800 ล้านบาท และยังรอการผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิดอยู่

    ล็อคดาวน์ส่งผลอียูลดนำเข้า

    สำหรับประเด็นที่สมาคมผู้แปรรูปสัตว์ปีก (AVEC) สมาคมผู้ค้าสัตว์ปีกแห่งสหภาพยุโรป และสมาคมผู้เลี้ยงและฟักสัตว์ปีกแห่งสหภาพยุโรป (ELPHA) ขอให้คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ปรับลดการนำเข้าไก่เนื้อจากบราซิล ไทย และยูเครน จำนวน 850,000 ตัน เพื่อแก้ปัญหาไก่ในประเทศโอเวอร์ซัพพลายนั้น คณะกรรมาธิการยุโรปต้องพิจารณาว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ และที่สำคัญจะกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศหรือไม่

    ทั้งนี้ ปัจจุบันลูกค้าในตลาดนี้ได้ชะลอซื้ออยู่แล้ว เนื่องจากในยุโรปร้านอาหารต่างปิดตัวลงจากสถานการณ์โควิด ทำให้ไทยส่งเข้าอียูลดลงอยู่แล้ว ตามความต้องการบริโภคที่ลดลง และเป็นเรื่องของรัฐบาลกับรัฐบาลที่จะเจรจาจำกัดหรือชะลอการนำเข้า เพราะสถานการณ์เช่นนี้ความต้องการย่อมลดลง เป็นปัญหาที่ทั้งโลกต้องเผชิญร่วมกัน

    ต้องการอาหารทะเลแปรรูปพุ่ง

    นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ความต้องการสินค้าอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มแปรรูปทูน่าที่ต้องการสูงมาก เพราะรับประทานได้ทุกคนทุกศาสนา และเป็นสินค้าบรรจุกระป๋องที่เก็บรักษาง่ายและอยู่ได้นาน

    ส่วนสถานการณ์กุ้งไทยในขณะนี้ยังไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายใหญ่อย่างอินเดียและเวียดนามได้ ทั้งนี้เพราะกุ้งของไทยมีปัญหาเรื่องต้นทุนที่สูงกว่า และผลผลิตมีน้อย แม้ว่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

    ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลภายใต้โครงการรักษาเสถียรภาพทางด้านราคานั้นเป็นวิธีการชั่วคราว หากต้องการแก้ไขในภาพรวมต้องเริ่มที่ต้นทุนการผลิตก่อน โดยรัฐบาลควรเข้ามาช่วยเหลือลดค่าไฟฟ้าที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งปัจจุบันยังเป็นอัตราเดียวกับที่อยู่อาศัย ควรปรับให้เป็นอัตราที่เกษตรกร หาพื้นที่เลี้ยงที่ปลอดโรคให้มากขึ้น และหาแนวทางลดต้นทุนด้านอาหารกุ้งเปิดนำเข้ากุ้งเพื่อส่งออกเท่านั้น ห้ามจำหน่ายในประเทศ วิธีการเช่นเดียวกับทูน่า ที่ปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ ยังไม่มีใครแข่งขันได้

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/879286
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    FB_IMG_1588899447522.jpg

    (May 7) ธปท.กำชับแบงก์เร่งยื่นขอ "ซอฟต์โลน" ช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs : ธปท.กำชับทุกแบงก์เร่งยื่นขอวงเงินสินเชื่อซอฟต์โลน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs และห้ามเก็บค่าธรรมเนียม หลังเปิดรับคำขอ 2 สัปดาห์ มีแบงก์ขอใช้วงเงินเข้ามาแล้ว 36,000 ล้านบาท

    วันนี้ (7 พ.ค.2563) นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อซอฟต์โลนของแบงก์ชาติ วงเงินรวม 500,000 ล้านบาท ที่เปิดรับคำขอมา 2 สัปดาห์แล้ว มีการใช้วงเงินไปแล้วทั้งสิ้น 36,000 ล้านบาท ครอบคลุมลูกหนี้ 22,000 ราย มูลค่าสินเชื่อเฉลี่ยต่อรายอยู่ที่ 1.6 ล้านบาท กระจายครอบคลุมทั่วประเทศ โดย 74% เป็น SMEs ที่อยู่ในต่างจังหวัด (ไม่รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล) และเป็น SMEs ขนาดเล็ก

    ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่ตอบสนองต่อนโยบาย และยื่นคำขอเข้ามามากที่สุด คือธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ขณะที่มีสถาบันการเงินอีกหลายแห่งที่ยังส่งคำขอเข้ามาไม่มากหรือยังไม่ได้ยื่นคำขอเลย ธปท.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้กำชับและติดตามให้สถาบันการเงินเร่งช่วยเหลือลูกค้า

    "ซอฟต์โลน" ยังมีวงเงินเหลือเพียงพอ

    อย่างไรก็ดี การยื่นคำขอสินเชื่อซอฟต์โลนในช่วงที่ผ่านมายังมีไม่มากนั้น ส่วนหนึ่งเพราะมีวันหยุดหลายวันและหลายสถาบันการเงินใช้เวลามากกว่าที่คาดในเรื่องการจดจำนองหลักประกัน ทั้งนี้ ธปท.ได้ให้สถาบันการเงินเร่งดำเนินการ เพื่อให้สามารถส่งต่อสินเชื่อไปถึงลูกหนี้ SMEs ได้เร็วที่สุด

    ธปท.ขอย้ำว่าซอฟต์โลนแบงก์ชาติ ยังมีวงเงินเหลือเพียงพอ พร้อมให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยกู้ต่อให้กับ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และขอให้สถาบันการเงินสื่อสารไปยังผู้ปฏิบัติงานที่สาขาให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้ซอฟต์โลน เช่น ห้ามคิดค่าธรรมเนียม ห้ามกำหนดเงื่อนไขการขายประกันต่างๆ เป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อ

    แนะ SMEs ติดต่อขอสินเชื่อได้ที่แบงก์

    ทั้งนี้ หากพบว่า SMEs นั้นขาดคุณสมบัติในการขอซอฟต์โลนให้พิจารณาช่วยเหลือในรูปแบบอื่นๆ ตามแนวทางของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง

    สำหรับ SMEs ที่ต้องการขอสินเชื่อซอฟต์โลนแบงก์ชาติ สามารถติดต่อสถาบันการเงินที่ตนเองเป็นลูกค้า หากพบว่ามีปัญหาในการขอสินเชื่อดังกล่าว สามารถติดต่อ call center ของสถาบันการเงินนั้นๆ หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของแบงก์ชาติ (ศคง.) โทร. 1213

    Source: ThaiPBS

    https://news.thaipbs.or.th/content/292169
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วัคซีน COVID-19 ของไทยผลทดลองในสัตว์น่าพอใจ

    -ฐานเศรษฐกิจ- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย ผลทดลองวัคซีนโควิด-19 ของไทย ได้ผลการทดลองในสัตว์ทดลองเป็นที่น่าพอใจ เตรียมทดลองต่อให้มีศักยภาพและเหมาะสมฉีดในคน

    6 พฤษภาคม 2563 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยระหว่างการแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในไทยว่า มีข่าวดีกรณีการทดสอบวัคซีนของนักวิทยาศาสตร์ไทยร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลจุฬาฯ ศิริราชพยาบาล รามาธิบดีและอื่นๆทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ ทราบว่า มีข่าวดีโดยผลการทดลองวัคซีนของทีม ศ.นพเกียรติ รักษ์รุ่งธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการพัฒนาวัคซีนต้นแบบที่เรียกว่า DNAวัคซีนที่ได้ทดสอบในสัตว์ทดลอง คือ หนู ด้วยวิธีการฉีดวัคซีนต้นแบบเข้าไปในตัวหนู และเอาเลือดของหนูมาตรวจเพื่อตรวจสอบว่า มีภูมิคุ้มกันหรือเกิด Antibody(แอนติบอดี้)ขึ้นหรือไม่นั้น ผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าหนูที่ได้รับการทดลองฉีดวัคซีนต้นแบบของทางจุฬาฯที่พัฒนาขึ้นมีการสร้างแอนติบอดี้ขึ้นในระดับค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจซึ่งหลังจากนี้จะได้มีการทดสอบวัคซีนดังกล่าวในหลายๆรูปแบบทั้งในสัตว์ทดลองและเอาเลือดมาตรวจซ้ำเพื่อให้แน่ใจว่าเกิดแอนติบอดี้ที่มีประสิทธิภาพและได้ขนาดรูปแบบที่เหมาะสม ในการใช้ในคนต่อไป

    “ถือว่า เป็นความสำเร็จก้าวเล็กๆ และเชื่อว่า จะเป็นความสำเร็จ เป็นเครื่องมือที่สำคัญของคนไทยมีศักยภาพในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้ แม้ว่า ความก้าวหน้าในการพัฒนาวัคซีนตามขั้นตอนของไทยจะไม่ทันในหลายประเทศที่ได้มีการพัฒนาไปก่อนหน้านี้ เช่น จีน แต่ก็หวังว่าการที่นักวิทยาศาสตร์ของไทยได้พยายามทดลองพัฒนาวัคซีนโควิด-19 จะได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจในอนาคตต่อไป”

    https://bit.ly/2xBo6Mi

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ถ้าเข้าใจไม่ผิดรู้สึกว่าคลื่นความร้อนจะแผ่วงกว้างกว่าปีที่แล้วหรือเปล่า

    #คลื่นความร้อนปกคลุมประเทศไทย ช่วงนี้จะเป็นวันที่อากาศร้อนจัดโดยเฉพาะช่วงบ่าย ที่ 40-41 องศา

    ดื่มน้ำเยอะๆ อย่าอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ หาน้ำมาใส่ภาชนะเปิด วางไว้ในห้อง เพื่อเพิ่มความชื้น ลดความร้อนในห้อง ควรระวังผู้สูงอายุ อาจช็อคด้วยความร้อน และหัวใจวายได้

    Good TV อยู่บ้านไม่ออกไปไหน ดูหนัง Fox สารคดี ดีๆ www.tv.co.th

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คลื่นความร้อนแผ่กว้างขนาดนี้ก็ไม่แปลกเพราะสภาพอากาศโลกวิปริต

    FB_IMG_1588900075912.jpg FB_IMG_1588900143335.jpg
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แม่เฒ่า 86 ปี ชีวิตสุดแกร่ง!!
    นั่งกะละมังเก็บผักบุ้ง-เข็นรถเร่ขายผักข้าวแกงถุง เลี้ยงตัวเองทุกวัน!!

    ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ทั้งคนบ้านกร่าง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย รวมทั้งผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาจะพบว่ามีคุณยายอายุ 86 ปี ชื่อนางป้อม เกษประดิษฐ์ ถึงแม้แก่ชราอายุมากแล้วแต่ก็ยังสู้ทำงานหาเลี้ยงชีพเองด้วยการเก็บผักบุ้งและเข็นรถเร่ขายผัก-กับข้าว-ของกิน โดยออกจากบ้านตั้งแต่ 6 โมงเช้า กลับตอนบ่าย 3 ทุกวัน (ยกเว้นป่วย) รวมระยะทางเดินเท้าเข็นรถขายของทั้งไปและกลับประมาณ 4 กิโลเมตร

    อ่านต่อ>>https://mgronline.com/local/detail/9630000047955

    #ชีวิตต้องดิ้นรน #ปากกัดตีนถีบตัวจริง

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แม่เฒ่า 86 ปี ชีวิตสุดแกร่ง!!
    นั่งกะละมังเก็บผักบุ้ง-เข็นรถเร่ขายผักข้าวแกงถุง เลี้ยงตัวเองทุกวัน!!

    ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ทั้งคนบ้านกร่าง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย รวมทั้งผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาจะพบว่ามีคุณยายอายุ 86 ปี ชื่อนางป้อม เกษประดิษฐ์ ถึงแม้แก่ชราอายุมากแล้วแต่ก็ยังสู้ทำงานหาเลี้ยงชีพเองด้วยการเก็บผักบุ้งและเข็นรถเร่ขายผัก-กับข้าว-ของกิน โดยออกจากบ้านตั้งแต่ 6 โมงเช้า กลับตอนบ่าย 3 ทุกวัน (ยกเว้นป่วย) รวมระยะทางเดินเท้าเข็นรถขายของทั้งไปและกลับประมาณ 4 กิโลเมตร

    อ่านต่อ>>https://mgronline.com/local/detail/9630000047955

    #ชีวิตต้องดิ้นรน #ปากกัดตีนถีบตัวจริง

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อิรัก, 6 พฤษภาคม

    FB_IMG_1588940246581.jpg



     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #หุ้นขึ้นทองขึ้น #หุ้นลงทองลง #เกิดอะไรขึ้น?!!

    “ทอง” คือ สินทรัพย์ปลอดภัย หลาย ๆ คนอาจจะได้ยินประโยคนี้กันมาจนหนาหู และก็สรุปกันขึ้นมาว่า งั้นช่วงเวลาที่ไม่ปลอดภัยอย่างช่วงวิกฤติ ก็คือช่วงเวลาที่ทองจะได้เฉิดฉายงั้นสิ ซึ่งแต่ก่อนผมเองก็เคยเชื่อเช่นนั้น

    ตอนสมัยที่ผมเรียนอยู่ ผมเองก็เคยสังสัยว่าทำไมช่วงตอนปี 2008 ทองถึงลงมาได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงวิกฤติ และก็ได้คำตอบมาเพียงว่า “ยามวิกฤติคนจะถือเงินสด” ซึ่งก็ไม่ได้คลี่คลายความสงสัยในหัวผมเลย (งงกว่าเดิม) นอกจากนั้นหากไปศึกษาเพิ่มเติม ปัจจัยที่ส่งผลต่อทองคำมันก็เยอะเหลือเกิน เช่น ความไม่แน่นอน (ไม่ปลอดภัย) ภาวะเศรษฐกิจ ความเสี่ยงค่าเงิน เงินเฟ้อและอื่น ๆ

    แต่สิ่งที่ผมอยากจะให้ทุกคนโฟกัส ณ จุดนี้ก็คือ “เงินเฟ้อ” ซึ่งผมเชื่อว่ามันเป็นหนึ่งในตัวแปรหลักที่มีความสำคัญและส่งผลต่อราคาทองคำ ท่ามกลางปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ซึ่งบทความนี้ผมก็จะพาทุกคนไปพิสูจน์กันว่า ทำไมทองกับเงินเฟ้อถึงไปด้วยกันได้ดี ซึ่งสิ่งนี้ก็จะไปตอบคำถามในส่วนที่ว่าทำไม “หุ้นขึ้นทองขึ้น และหุ้นลงทองลง” เช่นกัน

    ตัวแปรหลัก ๆ ที่ส่งผลต่อทองล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด “เงินเฟ้อ”

    ก่อนจะลุยไปถึงพระเอกของบทความนี้ผมขอเกริ่นในส่วนของปัจจัยพื้นฐานหลัก ๆ ที่ส่งผลต่อราคาทองคำก่อนละกันครับ ประกอบไปด้วย ค่าเงินดอลลาร์ เสถียรภาพของธนาคารกลาง อัตราดอกเบี้ย มาตรการต่าง ๆ จากธนาคารกลาง รวมถึงอื่น ๆ

    หากเราสังเกตตัวอย่างข้างต้นก็จะเห็นได้ว่าตัวแปรต่าง ๆ ที่ผมได้กล่าวไว้ล้วนมีความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อ เช่น ค่าเงินดอลลาร์ที่หากเกิดเงินเฟ้อค่าเงินจะอ่อนลง เสถียรภาพของธนาคารกลางที่หากมีเงินสำรองน้อยจนน่าเป็นห่วงอาจทำให้เกิดเงินทุนไหลออก (Capital outflow) ที่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่หากลดลงเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น รวมถึงมาตรการต่าง ๆ จากธนาคารกลางอย่าง QE หรือ QT ที่ส่งผลต่อปริมาณเงินในระบบและส่งผลต่อเงินเฟ้อ

    ดังนั้นผมจึงเชื่อว่า “เงินเฟ้อ” เป็นหนึ่งในตัวแปรหลักที่ใช้ขับเคลื่อนราคาทอง เราจึงอาจใช้ประโยชน์ในส่วนนี้ไปเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ราคาทองคำเพิ่มเติมได้

    หุ้นขึ้นทองขึ้น หุ้นลงทองลง เพราะอะไร? เช็กผ่านความคาดหวังเงินเฟ้อ

    ราคาทองคำที่เป็นมาตรฐานและใช้กันอย่างแพร่หลายจะถูกนำไปจับคู่กับสกุลเงินประเทศมหาอำนาจอย่าง “ดอลลาร์” ดังนั้นเส้นความคาดหวังเงินเฟ้อที่ว่าผมจึงใช้ของอเมริกาเป็นหลักครับ ซึ่งหากดูจากภาพก็จะเห็นได้ว่า ทองคำและเงินเฟ้อ นั้นไปด้วยกันได้ค่อนข้างชัดเจน แต่จะมีบางช่วงที่มีการเหลื่อมลํ้ากันบ้าง โดยทองคำในบางทีอาจจะให้สัญญาณก่อนเงินเฟ้อ หรือบางทีเงินเฟ้ออาจให้สัญญาณก่อนทองคำ

    มันหมายความว่าอะไร? เราอาจจะใช้ช่วง Gap เวลาที่ว่าเป็นสัญญาณเข้าซื้อหรือขายทองคำได้ เช่น เมื่อความคาดหวังเงินเฟ้อเริ่มขึ้น เราอาจจะลองเข้าซื้อทองคำ หรือเมื่อความคาดหวังเงินเฟ้อเริ่มลง เราอาจจะทยอยขายทองคำ

    ในขณะเดียวกันในบางช่วงหากทองคำเริ่มปรับตัวลง แต่ความคาดหวังเงินเฟ้อยังไม่ลง เราก็อาจจะคาดเดาได้ว่าเงินเฟ้ออาจจะลดลงในอนาคตเช่นกัน (ขาขึ้นก็กลับกันครับ)

    ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังเงินเฟ้อ (10 ปี) กับทองคำตั้งแต่ก่อนวิกฤติปี 2008 ถึงปัจจุบัน

    ผมอยากให้โฟกัสตรงส่วนที่เป็นวงสีแดงสักนิดจะสังเกตได้ว่าความคาดหวังเงินเฟ้อ (เส้นสีขาว) เริ่มเคลื่อนที่แบบไร้ทิศทาง (sideway) ก่อนทองคำ (เส้นสีฟ้า) จะปรับตัวไร้ทิศทาง ณ จุดนี้เราอาจใช้เป็นสัญญาณที่บอกว่าทองคำกำลังจะเข้าสู่ช่วง sideway ในอนาคต

    ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังเงินเฟ้อ (10 ปี) กับทองคำช่วงล่าสุด
    ความคาดหวังเงินเฟ้อมีการปรับตัวลงหรืออาจจะสื่อว่าหุ้นกับทองกำลังจะปรับตัวลง?

    แล้วมันใช้กับหุ้นได้อย่างไร?

    โดยปกติแล้วเวลาเศรษฐกิจเติบโตจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “เงินเฟ้อ” เกิดขึ้นซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้คนจับจ่ายใช้สอยต่อไป เช่น ของแพงขึ้นนิด ๆ เงินเดือนปรับขึ้นหน่อย ๆ ทำให้คนพร้อมใช้จ่ายต่อเนื่อง ดังนั้นหากจะสรุปได้ว่า เงินเฟ้อ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หุ้นเติบโตก็คงไม่ผิดนัก เพราะหุ้นเองก็ราคาเติบโตจากการที่บริษัทต่างๆ ขายสินค้าหรือบริการและทำกำไรกันได้ ดังนั้นเราจึงอาจนำเส้นความคาดหวังเงินเฟ้อที่ว่ามาใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าช่วยซื้อหุ้นได้เช่นกัน (หุ้นขึ้นเงินเฟ้อขึ้น หุ้นลงเงินเฟ้อลง)

    รวมถึงอาจจะใช้หลักเกณฑ์ที่ราว ๆ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายเงินเฟ้อที่ทางธนาคารกลางส่วนใหญ่เล็งไว้ (หากตํ่ากว่านั้น ๆ มากหุ้นอาจไม่ไปต่อ)

    “ทองคำ” กับ “หุ้น” สัมพันธ์กันในเชิงบวก

    ดังนั้นเราอาจจะสรุปได้ว่า ทองคำและหุ้น จริง ๆ แล้วมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันและเข้ากัน เพราะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ต่างก็ส่งผลให้ทองคำและหุ้นปรับตัวขึ้น ซึ่งขาลงก็เช่นเดียวกัน

    สรุปส่งท้าย ก่อนจากกัน…

    เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับไอเดียการลงทุนในวันนี้ จริงๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ส่วนตัวผมเองก็สงสัยมานานแล้ว และก็ต้องขอขอบคุณ คุณณัฏฐะ จาก KTAM ต้นไอเดียของเรื่องนี้ ซึ่งผมมองว่าตัวแปรอย่างความคาดหวังเงินเฟ้อนั้นค่อนข้างเมคเซ้นส์และน่าจะนำมาใช้ได้จริง จึงนำมาขยายความเพิ่มเติม เพราะจากที่ผมสังเกตนักลงทุนที่เก่ง ๆ ระดับโลกหลายคนก็ใช้ “เงินเฟ้อ” เป็นหนึ่งในปัจจัยวิเคราะห์การลงทุน เช่นเดียวกัน ผมเลยอยากมาแชร์ให้ทุกคนได้ฟังกันครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์

    หวังว่าบทความนี้จะช่วยเพิ่มเครื่องไม้เครื่องมือและอาวุธในการลงทุนให้กับทุกคนได้นะครับ สำหรับวันนี้ผมขอลาไปก่อน

    #ขอให้ทุกคนโชคดีในการลงทุนครับ
    Credit ..Mr.Serotonin..finnomena.com

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,489
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “ประยุทธ์” ยัน 17 พ.ค.ปลดล็อกเปิดห้าง-กิจการขนาดใหญ่
    ผ่อนปรนระยะ 2 ขอบคุณ ปชช.ร่วมมือ
    .
    “บิ๊กตู่” ยอมรับ 17 พ.ค.ปลดล็อกผ่อนปรนระยะ 2 ขอบคุณทุกภาคส่วนร่วมมือทำให้ตัวเลขติดเชื้อโควิด-19 ลดลงเหลือเพียงหลักหน่วย วอนทุกฝ่ายอดทนอีกนิดอย่าเอาทุกเรื่องมาเป็นข้อขัดแย้ง ทุกประเทศเจอปัญหาเดียวกัน
    .
    วันนี้ (8 พ.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ภายหลังเป็นประธานตรวจเยี่ยม ติดตามผลการดำเนินงานด้านการปราบปราม ยึดทรัพย์ ตัดวงจรยาเสพติด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ โดยขอบคุณบรรดาผู้ประกอบการทั้งเอกชนและทุกภาคส่วนรวมทั้งประชาชนที่ให้ความร่วมมือจนทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 เหลือเพียงหลักหน่วยว่า ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้โฆษกรัฐบาลชี้แจงและขอบคุณไปแล้ว และวันนี้ได้สั่งการให้รวบรวมแบบอย่างที่ดีและตัวอย่างที่ผู้ประกอบการได้ดำเนินการในส่วนขององค์กรนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของร้านค้าปลีก ร้านค้าย่อยต่างๆ เพื่อให้เห็นเป็นตัวอย่างและแบบอย่าง ถ้าทุกคนช่วยกันแบบนี้ก็จะทำให้เกิดความปลอดภัย ไว้วางใจ และทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่จะออกมาใช้ชีวิตปกติ แม้จะเป็นในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของโรคอยู่ สิ่งสำคัญที่สุดถ้าเราไม่ทำแบบนี้แล้วถ้าเกิดการระบาดกลับมาอีกจะเดือดร้อนและลำบากมากกว่าเดิม ฉะนั้นทุกคนต้องช่วยกันตรงนี้ รัฐบาลมีทุกมาตรการออกมาแล้ว แต่ถ้าทุกคนไม่ทำ ไม่ปฏิบัติตามก็มีปัญหาทุกเรื่องไป ขออย่าให้ทุกเรื่องเป็นความขัดแย้งเลย ทุกประเทศก็เจอปัญหาเช่นเดียวกันกับเรา และเราก็ถือว่าเราทำดีที่สุดของเราในปัจจุบัน รวมทั้งความร่วมมือจากต่างประเทศด้วย
    .
    อ่านต่อ>>https://mgronline.com/politics/detail/9630000048035
    #mgronline #ปลดล็อกเปิดห้าง #ผ่อนปรนระยะ2 #โควิด-19

     

แชร์หน้านี้

Loading...