สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    ในมนุษยโลก เราผ่านไปผ่านมาเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นบ้านเมืองของเรา ไม่เป็นถิ่นทำเลที่เราอยู่ เป็นทำเลที่ สร้างบารมีเท่านั้น อย่าไปยึดติด

    "...สมบัติเงินทองข้าวของที่เป็นสวิญญาณกทรัพย์ และ อวิญญาณกทรัพย์ที่เราหาได้มา เก็บหอมรอบริบไว้หรือได้มรดกมาก็ดี สิ่งทั้งหลายนั้นเมื่อเรา รักษาอยู่ เมื่อเรายังมีชีวิตเป็นอยู่ ก็เป็นของเราอยู่

    แต่พอแตกกายทำลายขันธ์เท่านั้น สมบัติ เหล่านั้นไม่ใช่ของเราเสียแล้ว กลายเป็นของคนอื่นเสียแล้ว ไม่ใช่ของเราจริงๆ

    ในมนุษยโลก เราผ่านไปผ่านมาเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นบ้านเมืองของเรา ไม่เป็นถิ่นทำเลที่เราอยู่ เป็นทำเลที่ สร้างบารมี มาบำเพ็ญทาน ศีล เนกขัมม์ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เท่านั้น นี่ข้อสำคัญรู้จักหลักนี้แล้ว ให้ละสุขอันน้อยเสีย

    สุขอันน้อยนั่นคืออะไร รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เราใช้สอยอยู่นี้ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ ชอบใจ ติดอยู่ในกามภพ ที่ให้เราซบอยู่ในกามภพนี้โงศีรษะไม่ขึ้น ไอ้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละเป็นสุขนิดเดียว

    สุขเล็กน้อยไม่ใช่เป็นสุขมาก สุขชั่วปรบมือกระพือปีกไก่เท่านั้น มันสุขน้อยจริงๆ ให้ละสุขน้อยนั้นเสีย ให้ละ 5 อย่างนี้ คือ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่น ที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ชอบใจ เมื่อละได้แล้วเรียกว่า จาคะ สละสุขที่ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นได้

    ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นเป็นไฉน เงินทองข้าวของ สวิญญาณกทรัพย์ อวิญญาณกทรัพย์ เหล่านี้เรียกว่า รูปสมบัติ ที่เรายินดีในรูปสมบัตินั้นแหละ เรียกว่า ยินดีในรูป

    เสียงยกย่องสรรเสริญ ยกยอสรรเสริญ ชมเชยต่างๆ เหล่านี้ ที่เป็น โลกธรรมเหล่านี้นั่นแหละ ยินดีในเสียง ถ้าเราไปยินดีติดอยู่ในเสียงสรรเสริญอันนั้นละก้อ ทำให้เพลินซบเซาอยู่ในโลกเป็นทุกข์ เป็นสุขกับเขาไม่ได้

    กลิ่นหอมเครื่องปรุงต่างๆ อันเป็น ที่ชื่นเนื้อเจริญใจนั่นแหละ ยินดีในกลิ่น มัวยินดีในกลิ่นอยู่เถิดจะซบเซาอยู่ในมนุษยโลก ใน กามภพ ดุจคนสลบโงศีรษะไม่ขึ้น ติดรสเปรี้ยวหวานมันเค็มอยู่นี่แหละ ยินดีในรส ถ้าว่า ติดอยู่ในรสเช่นนั้นแล้วละก็ หรือติดรสอันใดก็ช่าง ความติดรสอันนั้นแหละ ทำให้โงหัว ไม่ขึ้น

    ยินดีในความสัมผัส ถูกเนื้อต้องตัว ถ้าเอาใจไปยินดีในสัมผัสถูกเนื้อต้องตัวเข้าแล้ว เข้าไปอยู่ในเปือกตมทีเดียว โงศีรษะไม่ขึ้นอีกเหมือนกัน 5 อย่างนี้ให้สัตว์โลกจมอยู่ในวัฏฏสงสาร

    ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ออกจาก วัฏฏะไม่ได้ กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ ออกไม่ได้ ออกจากภพ 3 ไม่ได้ ออกจาก กามไม่ได้

    เพราะสละสิ่งทั้ง 5 ไม่ได้ ถ้าสละสิ่งทั้ง 5 อันเป็นสุขน้อยนี้เสียได้แล้ว เมื่อสละสิ่งทั้ง 5 เสียได้แล้ว จะได้ประสบสุขอันไพบูลย์ ต้องประสบสุขอันไพบูลย์แท้ๆ สุขอันไพบูลย์ ยิ่งๆ ขึ้นไป..."

    คัดลอกบางส่วนจาก
    พระธรรมเทศนา หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    พระมงคลเทพมุนี ( สด จนฺทสโร )

    OjsOnQY9PyS0HRjqU3zk59T61j8ES7O4YMDw5-GC01rPXGgBf3XX2O1LUHCE-2F1Gkz6mhGR&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    xnc6oawMc6QwRq4Ll4d6Ot4XtSbg7_Lq0UFYx0GYzDzLKZw1TNPPkuGC5MAQTkeWv8IwJLGX&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    - การทำบุญกับคนชั่ว คนพาล ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
    เราจะได้บุญหรือไม่ ?


    ☀️ ถาม :: การให้ทานขอทาน ที่มิใช่ขอทานจริง แต่ทำกันเป็นกระบวนการ เราสมควรจะให้หรือเปล่า และจะทำให้เราเป็นบาปหรือไม่ ฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่ง ที่ผลักดันให้เขาไม่ประกอบอาชีพ คือ มาใช้วิธีร่วมมือกันเป็นกระบวนการขอทานแบบนี้ แต่บางครั้งเราไม่ทราบ ??

    ☀️ ตอบ :: ก่อนอื่นต้องกล่าวคำว่าทานกุศลก่อน ขึ้นชื่อว่าทาน คือการให้ ย่อมได้บุญเสมอไป ข้อนี้คุณโยมต้องเข้าใจไว้เป็นอันดับแรกก่อน แต่..ได้บุญอย่างไร ??

    พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ ให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉานอิ่มหนึ่ง ยังได้อานิสงค์ ๑๐๐ อัตภาพ หมายความว่าได้อานิสงค์ ๕๐๐ เท่า คือ ได้อานิสงส์ในส่วนที่เป็น อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ ๕ อย่างเนี่ย แต่ละอย่างๆๆเนี่ยจะได้ร้อยอัตภาพ คือเกิดมาจะได้รับอย่างนี้ แต่ละอย่างๆนี้ อย่างละร้อยอัตภาพ ห้าอย่างก็ห้าร้อย ห้าร้อยเท่า นี่ เพียงให้อาหารอิ่มหนึ่งแก่สัตว์เดรัจฉานตัวหนึ่ง

    ถ้าให้อาหารอิ่มหนึ่งแก่คนทุศีล ยังได้อานิสงส์ ๑,๐๐๐ อัตภาพ หรือ ๕,๐๐๐ เท่า คือ เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ ถึงหนึ่งพันอัตภาพ คือ เกิดชาติใดหนใดก็จะได้รับอานิสงส์ผลบุญเป็นอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ อย่างละ ๑,๐๐๐ ชาติ ห้าอย่างก็ ๕,๐๐๐ เท่า นี้เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่า ขึ้นชื่อว่าทานได้อานิสงค์เรื่อยไป มากหรือน้อยอย่างไรเดี๋ยวฟังกันต่อ

    ทีนี้ พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปอีกว่าอย่างนี้นะ

    ท่านว่า ผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ฟังให้ดีนะ ให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ไม่ให้ในคนที่ควรให้ ผู้นั้นเมื่อประสบความทุกข์หรืออันตราย เมื่อประสบความทุกข์หรือความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมไม่ได้สหาย

    นี่ น่าคิดนะพระพุทธดำรัสนี้ ตรัสว่า ถ้าให้บุคคลที่ไม่ควรให้ คือ คนพาล คนโง่ คนประพฤติผิดศีล ผิดธรรม ไปให้อย่างนี้นะ ก็ได้อานิสงค์ตามที่ตรัสไว้ แต่ ในยามที่มีทุกข์หรือถึงความเสื่อมเพราะประสบอันตรายต่างๆ ไม่ได้สหาย คือไม่ได้มิตรแท้ที่จะช่วยอุปการะเจือจุน เพราะบุคคลผู้โง่เขลาเบาปัญญา เป็นมิจฉาทิฐิมีความเห็นผิด หรือประพฤติผิดศีลผิดธรรม ชื่อว่าเป็นคนพาล เหล่านี้ก็ไม่รู้จักคุณคนน่ะพูดกันง่ายๆ และด้วยอำนาจของ แม้เราให้ทานกับบุคคลเหล่านี้ ด้วยอำนาจของความเป็นพาลของเขา สำหรับบุคคลที่ให้ทานไปนั้น ถ้าว่าประสบความทุกข์เดือดร้อนเพราะอันตรายต่างๆ จะไม่มีบุคคลประเภทคนพาล คนโง่เขลาเบาปัญญา หรือประเภททุศีลนี่มาช่วยเหลือ นี่แหละจึงตรัสว่า "#ย่อมไม่ได้สหาย"

    ทีนี้ ตรัสอีกว่า

    ผู้ใดไม่ให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ให้คนที่ควรให้ ไม่ให้คนที่ไม่ควรให้ก็คือว่า คนที่มักประพฤติผิดศีลผิดธรรม หรือมิจฉาทิฏฐิมีความหลงผิดทำนองคลองธรรม ไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง อย่างนี้ไม่ให้ แต่ให้คนที่ควรให้ คือคนที่มีศีลมีธรรม อยู่ในศีลในธรรม ให้คนประเภทนี้ได้อานิสงส์มาก แล้วยังตรัสว่า ผู้นั้นเมื่อประสบความเสื่อมหรือความทุกข์เพราะอันตราย #ย่อมได้สหาย

    อันนี้ ท่านลองสังเกตดูตัวอย่างง่ายๆ ในทางสังคมปัจจุบันนี่แหละ ถ้าว่า ท่านให้ด้วยความรู้สึกกรุณา ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข เมตตาปรารถนาให้ผู้อื่นอยู่ดีมีสุข กรุณาปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ถ้าเราให้แก่คนที่ควรให้ อย่างนี้ คนเช่นนั้น คือ คนดี มีศีลมีธรรม ย่อมรู้สึกในความกตัญญูกตเวทิตา คือ รู้สึกคุณของผู้มีพระคุณ และเมื่อมีโอกาสก็จะตอบแทนคุณผู้มีพระคุณ นี่เป็นธรรมดาที่สุด นี่แหละพระพุทธองค์ตรัสตรงตามธรรมชาติที่เป็นจริง

    แล้วก็ เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า "ผู้ใดไม่ให้ทานบุคคลผู้ไม่ควรให้ ให้ในบุคคลที่ควรให้ ผู้นั้นเมื่อประสบความทุกข์เดือดร้อนเพราะอันตราย ย่อมได้สหาย" นี่แหละเป็นธรรมดา ผู้ให้นั้นยามตกทุกข์ได้ยาก มีความเดือดร้อน ผู้อื่นก็จะมาช่วย ด้วยอำนาจของบุญกุศลนี้ เพราะเราให้แต่คนดีมีศีลมีธรรม คนดีมีศีลมีธรรมก็จะระลึกได้ แม้ตายไปเกิดมาใหม่แล้ว แม้จะรู้จักกันหรือไม่รู้จักกัน แต่บางทีเราจะเห็นบุคคลบางคนเมื่อประสบทุกข์ยาก หรือเคราะห์กรรมต่างๆ ก็จะมีผู้อื่นมาอนุเคราะห์ช่วยเหลือด้วยดี นี่ ก็เพราะว่าได้เคยให้ทานแก่บุคคลที่ควรให้ เพราะฉะนั้น เขาจะได้รับอานิสงส์อย่างนี้ต่อๆไปทุกภพทุกชาติ

    และส่วนว่า ไปให้บุคคลที่ไม่ควรให้ ผิดศีลผิดธรรม เป็นมิจฉาทิฏฐิ อันนี้ อาตมาจะขอยกตัวอย่างให้ฟัง อันนี้ก็มีอยู่ในคัมภีร์พระธรรมบท พระพุทธเจ้าเมื่อเสวยพระชาติเป็นพญาช้าง และก็มีนายพราน นายพรานน่ะได้มาต้องการงาพญาช้างนั้น พญาช้างนั้นตัวใหญ่ด้วย มีบริษัทบริวารมากด้วย จะทำยังไงดีถึงจะได้ เพราะถ้าเข้าใกล้ก็ตายลูกเดียว พยายามแอบไปตอนที่ช้างเผลอ คือว่า รู้ว่าช้างตนนี้มายืนพักตรงนี้เป็นประจำ ตนเองก็ไปขุดเป็นหลุม แล้วตนเองก็ไปอยู่ข้างในนั้นแหละ มีธนูอาบน้ำพิษไว้ แล้วก็เอาหญ้าปกไว้ ช้างนั้นก็ เมื่อถึงเวลาจะพักก็มายืนตรงนั้น นายพรานนี่ก็ยิงช้างด้วยธนู ช้างนั้นมีความเจ็บปวด รู้ว่าข้างล่างต้องมีคนทำร้ายแน่ แต่เป็นช้างโพธิสัตว์ ก็ไม่ทำร้าย เรียกตัวออกมา ปรากฏว่านายพรานออกมา ช้างก็ถามว่าต้องการอะไร บอกต้องการงา ต้องการงา นายสั่งให้เอางาไป จะให้รางวัลอย่างงาม

    ช้างพระโพธิสัตว์นั้น ยอมให้นายพรานนั้นเลื่อยตัดงาของตน ทั้งที่เจ็บปวดแสนสาหัส ตัดงาแล้วงามันหนัก นายพรานนั้นจะกลับไปสู่ถิ่นของตนก็ไปไม่ถูก เพราะมันหลงป่า ช้างพระโพธิสัตว์นั้นก็ช่วยยกงานั้นใส่บรรทุกบนหลัง แล้วก็ยกนายพรานนั้นขึ้นไปนั่งข้างบนคอช้าง พาไปส่ง

    นี่ พระมหาโพธิสัตว์น่ะ ให้ทุกอย่างแก่บุคคลที่ต้องการ เป็นทานปรมัตถบารมี เพื่อพระโพธิญาณ แต่ปรากฏว่านายพรานนั้น ต่อมาภายหลังก็คือ เจ้าชายเทวทัต เป็นน้องชายของพระนางพิมพายโสธรา ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระมหาโพธิสัตว์เจ้า ที่มาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะนั้นเอง แล้วภายหลังเมื่อพระมหาโพธิสัตว์เจ้าออกบวช จนบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็เจ้าชายท่านนี้ก็มาขอบวชด้วย คือเทวทัตนั่น ก็ตามผจญพระพุทธเจ้ามานี่ไม่ใช่ภพชาติเดียวนะ นับภพนับชาติไม่ถ้วน แม้กระทั่งพระชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ก็ยังติดตามมาล้างมาผลาญกันอยู่ คือพระเทวทัต

    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ นะ ผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ผู้นั้นเมื่อประสบความทุกข์หรือความเสื่อม ย่อมไม่ได้สหาย กลายเป็นศัตรูไปเสียก็มี และเพราะเหตุนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า คนอกตัญญูน่ะ แม้จะยกแผ่นดินให้ทั้งแผ่นดินก็ไม่พอใจ ดั่งเช่นพระเทวทัตนี่แหละ นี่แหละจึงตรัสคำนี้ เพราะฉะนั้นจำไว้

    เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสอีกว่า
    "วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ"
    การเลือกให้ อันพระสุคตเจ้าทรงสรรเสริญ
    นี่ ตรัสคำนี้หมายความว่า จงรู้จักเลือกให้บุคคลที่ควรให้ อย่างนี้

    ทีนี้ ถ้าจะถามว่า "เราสมควรจะให้หรือเปล่า" คำตอบก็มีอยู่ในพระพุทธดำรัสแล้ว

    แล้วถามต่อไปว่า "จะทำให้เราเป็นบาปไหม ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่ง ที่ผลักดันให้เขาไม่ประกอบอาชีพ แต่บางครั้งเราไม่ทราบ" ข้อนั้นอย่าไปคิด ถ้าเราปรารถนาจะทำบุญทำไปเลย ไม่เป็นไร เพราะอานิสงส์ได้อยู่แล้ว คือ ได้อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ นี่รวม ๕ อย่าง เฉพาะคนทุศีล ประเภทเหล่านี้ ที่จัดเป็นขบวนการ นี่ประเภททุศีล ประเภทนี้แม้เราให้ทานก็ยังได้อานิสงส์ ๑,๐๐๐ อัตภาพ แต่ละข้อ ๕ ข้อ ก็เป็น ๕,๐๐๐ เท่า แต่ว่า มีผลอยู่ว่า ผู้ใดให้ทานบุคคลที่ไม่ควรให้ ยามมีความทุกข์เดือดร้อนไม่ได้สหาย คือไม่ได้คนช่วยเหลือ อย่างจริงใจ นะ อันนี้ก็ขอให้เข้าใจ แต่ไม่ได้เป็นโทษอะไร.

    _______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
    ที่มาจากเทศนาธรรมตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ
    "เวบมงคลธรรม"
    _______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า.
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    ในขณะปฎิบัติก็
    เพียงแต่กำหนดบริกรรมนิมิตกับบริกรรมภาวนาไว้ มิให้คลาดจากกัน•

    7~9/10
    อุปกิเลสข้อที่ 9
    อภิชัปปา ความอยากที่จะเห็นนิมิตจนเกินไป

    ก็เป็นเหตุ ให้ใจเคลื่อนจากสมาธิไปได้อีก เพราะความอยากที่จะเห็นนิมิตจนเกินไปนั้น ทำให้จิตใจกระวนกระวาย ไม่สามารถจะหยุดได้ถูกส่วน

    เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฝึกปฏิบัติใหม่ๆ ควรจัดวางใจเป็นกลางๆเข้าไว้

    ในขณะปฎิบัติก็เพียงแต่กำหนดบริกรรมนิมิตกับบริกรรมภาวนาไว้ มิให้คลาดจากกัน สามารถกำหนดได้เท่าใดก็เอาเท่านั้น เห็นก็ช่าง ไม่เห็นก็ช่าง เมื่อถึงเวลาก็จะเห็นเอง

    ขอแต่ให้มีใจรักที่จะฝึกปฏิบัติ ประกอบด้วยความเพียรไม่ย่อท้อ เอาใจจดจ่อในธรรมอยู่เนื่องนิจ ไม่ทอดทิ้งหรือวางธุระเสีย

    และให้คอยมีสติพิจารณาแก้ไขวิธีการปฏิบัติให้ถูกทาง พร้อมด้วยหมั่นดูที่เหตุและสังเกตผลอยู่เสมอ

    อุปกิเลสข้อที่ 10
    นานัตตะสัญญา ความคิดฟุ้งซ่าน

    นึกไปในสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ย่อมเป็นเหตุให้ใจไม่สามารถจะรวมหยุด หยุดอยู่ในอารมณ์เดียวได้ จึงต้องคอยมีสติรู้อยู่เสมอ

    หากปรากฏว่า จิตใจฟุ้งซ่านออกไปนอกตัวแล้ว ก็ให้พยายามน้อมใจให้กลับมายังศูนย์กลางกายตามเดิม โดยวิธีเหลือบตากลับขึ้นข้างบน ให้ความเห็นกลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้ความเห็นนั้นกลับเข้าข้างใน

    พร้อมด้วยกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปแก้วใสเกตุดอกบัวตูม ขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 และบริกรรมภาวนาว่า สัมมาอะระหังๆๆๆ ประคองนิมิตนั้นต่อไปอีก ร้อยครั้ง พันครั้ง จนใจค่อยๆเชื่องเข้า และค่อยๆหยุดอยู่ในอารมณ์เดียวมากเข้า ก็จะเห็นนิมิตชัดขึ้นและใสขึ้น จึงค่อยหยุดบริกรรมภาวนา

    และแตะใจเบาๆลงไปที่ศูนย์กลางนิมิตนั้น พอใจหยุดถูกส่วนเข้า นิมิตเดิมก็จะว่างหายไป และปรากฏเป็นดวงใสแจ่มบังเกิดขึ้นมาแทนที่ ที่ศูนย์กลางกายหรือองค์พระพุทธรูปแก้วนั้น เป็นการเห็นด้วยใจ

    เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็น้อมใจหยุดในหยุด ลงไปที่ศูนย์กลางดวงใสสว่างนั้นอีก พอถูกส่วนเข้า ดวงเก่าก็จะว่างหายไป และปรากฎดวงใหม่ แต่ใสละเอียดยิ่งกว่าเก่าเกิดขึ้นมาแทนที่อีก ก็ให้ดำเนินไปในแบบเดิมอีก ก็จะเห็นดวงใสละเอียดหนักเข้า

    เมื่อดวงใสละเอียดนั้นว่างหายไป ก็จะปรากฏเห็นกายมนุษย์ละเอียด หรือพระพุทธรูปใสดุจแก้วประกายพรึกผุดขึ้นมาจากศูนย์กลางนั้น ให้รวมใจหยุดในหยุด ลงไปที่ศูนย์กลางกายใหม่นั้นอีก ก็จะเห็นดวงธรรมต่อๆไปอีก

    แล้วให้ดำเนินไปในแบบเดิม คือเข้ากลางของกลางๆๆๆๆ ก็จะเห็นดวงธรรมและกายที่ใสละเอียด และมีขนาดโตยิ่งขึ้น.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    dt5kgphmkrpesfjjfvixi0aaikp3zhtswbra8wdxh9ru4vfarfs2ce4lmqri4rsspdzi-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    DehGO5-4j_J6srOmodYGzdkCp07wK4dFEF5HaCOM86m6BW01LJBpZHTphNX-3YFywzjeIOb8&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    •ใจมันมีแต่ออกไปนอกตัวอยู่เสมอ
    เลยหยุดไม่เป็น•


    ในระหว่างที่กำลังปฎิบัติธรรมอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจริญภาวนาธรรมตามแนววิชชาธรรมกายนี้ แม้ว่าจะยังไม่ถึงขั้น บรรลุมรรค ผล นิพพาน ก็ให้คุณค่าแก่การดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไปอย่างมากมาย คุ้มค่าแก่การปฏิบัติ

    ดังจะขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ เท่าที่จะพอรวบรวมมาได้ดังต่อไปนี้

    ประการที่ 1 ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ได้เป็นอย่างดีทางหนึ่ง

    ตามปกติ จิตใจของคนเรานั้น มีสภาพที่เบา ดิ้นรน กวัดแกว่งง่าย หรือฟุ้งซ่านอยู่เสมอ แต่รักษาให้สงบได้ยาก

    บางครั้ง เจ้าตัวรู้สึกว่า อ่อนเพลียทั้งกายและใจเหลือเกิน แล้วอยากจะให้มันหยุดสงบเสียที เพื่อจะได้พักผ่อนหลับนอนเอาแรงบ้าง มันก็ไม่ยอมหยุด ประเดี๋ยวคิดไปถึงเรื่องนั้น ประเดี๋ยวก็คิดไปถึงเรื่องนี้ ยึดไอ้นู่น เกาะไอ้นี่อยู่รำ่ไป

    ทั้งนี้ เป็นเพราะเหตุอะไร

    เพราะเหตุว่า จิตใจไม่เคยได้รับการฝึกให้หยุดให้นิ่ง ตั้งแต่เกิดมาเลยทีเดียว ใจมันมีแต่ออกไปนอกตัวอยู่เสมอ เลยหยุดไม่เป็น นี่เป็นเหตุข้อที่หนึ่ง

    ที่นี้เหตุข้อที่ 2 ก็เพราะอวิชชา คือความไม่รู้ ลักษณะของธรรมชาติตามสภาพที่เป็นจริงว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนั้น มันไม่เที่ยง มีเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ถ้าใครไปยึดไปเกาะเข้าแล้ว ก็เป็นทุกข์ เพราะมันเพียงแต่ผ่านเข้ามาในวงชีวิตชั่วระยะหนึ่งแล้ว ก็ผ่านไปไม่มีใครเป็นเจ้าของได้เลย

    แต่เมื่อปัญญาจริงๆ มันยังไม่เกิดอย่างแจ้งชัดในจิตใจล่ะก็ ทึกทักเอาเป็นจริงเป็นจังทีเดียว ยึดเกาะไว้แน่น ไม่ยอมปล่อย ยอมวางกันเทียวหละ

    ทั้งๆที่รู้อยู่ว่า ยิ่งยึดยิ่งเกาะ มันยิ่งทุกข์ ก็สลัดไม่ออก เพราะฝึกฝนมาน้อย ปัญญายังไม่ส่องสว่างเพียงพอ ที่จะกำจัดอวิชชาเสียได้

    ก็เฝ้าแต่ครุ่นคิด ฟุ้งซ่าน วิตกกังวลอยู่นั่นแหละ แม้แต่อยากจะนอน ก็นอนไม่หลับ อ่อนเพลียทั้งจิตใจและร่างกาย ดีไม่ดี ก็จะพาลเป็นโรคเส้นประสาทเอาง่ายๆ.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    P-4iIfhV5kAf6e2fVhnttjK-M2MJm48lxMpihgJ4P51rnRa9gJdlwxPe2pZLnZ7mCNkrpLe7&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    ผู้ปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วช้าต่างกันเพราะเหตุใด ?

    ตอบ:

    การปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วช้าต่างกันเพราะเหตุปัจจัยต่างๆ ดังเช่นต่อไปนี้

    1. การบำเพ็ญบุญกุศล และการสร้างบาปอกุศลมากน้อยหนักเบามาไม่เท่ากัน จึงยังผลให้การปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วช้าต่างกัน เพราะว่าบุญกุศลที่ผู้ปฏิบัติธรรมประกอบบำเพ็ญในปัจจุบัน ย่อมทำหน้าที่เป็นกรรมสนับสนุน (อุปัตถัมภกกรรม) ช่วยส่งเสริมบุญกุศล ที่ได้สั่งสมอบรมมาแต่เดิม ให้แก่กล้าขึ้นเป็นบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี เต็มส่วนเร็วขึ้น และช่วยให้ผลการปฏิบัติธรรมดีขึ้นตามลำดับ ส่วนว่าความประพฤติปฏิบัติที่เป็นบาปอกุศล ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันก็ทำหน้าที่เป็นกรรมบีบคั้น (อุปปีฬกกรรรม) เบียดเบียน ขัดขวาง ปิดกั้น มิให้บุญบารมีที่ได้เคยสั่งสมอบรมมา ไม่ให้ผลอย่างสมบูรณ์เต็มที่ผลของการปฏิบัติธรรม ของแต่ละบุคคลจะได้ผลเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับบุญกุศลและบาปอกุศลที่แต่ละคนประกอบบำเพ็ญ สั่งสมอบรม มาที่แตกต่างกันดังกล่าว
    2. ขึ้นอยู่กับการอธิษฐานบารมี ที่ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นๆ ได้เคยอธิษฐานจิตเอาไว้ ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันว่าแตกต่างกันเพียงใด บางท่านอธิษฐานจิตปฏิบัติธรรมเพียงบรรลุมรรค ผล นิพพาน ในระดับภูมิธรรมขั้นปกติสาวก บางท่านอธิษฐานในระดับอสีติมหาสาวกผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ บางท่านอธิษฐานเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า และบางท่านอธิษฐานปรารถนาพุทธภูมิ เป็นพระอรหันต์ปัจเจกพุทธเจ้า และสูงขึ้นไปถึงเป็นพระอรหันต์ สัพพัญญูพุทธเจ้า ซึ่งจะต้องอาศัยการบำเพ็ญบารมีที่มากและนานกว่ากัน กว่าจะบำเพ็ญบารมีได้ เต็มส่วนถึงปรมัตถบารมี อันยังผลให้การปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วและแตกต่างกัน
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


    lphor_tesna_vn-jpg.jpg


    1 มกราคม 2498

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    เอวมฺเม สุตํ. เอกํ สมยํ ภควา พาราณสิยํ วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเย. ตตฺร โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู อามนฺเตสิ

    เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค หีโน คมฺโม โปถุชฺชนิโก อนริโย อนตฺถสญฺหิโต โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต. เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ.

    กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ. อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค. เสยฺยถีทํ สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ. อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ในวันปัณณรสีที่ 15 ค่ำ ในเดือนยี่นี้ เป็น วันขึ้นปีใหม่ของทางสุริยคติ ผู้เทศน์ก็ต้องดำริหาเรื่องที่จะต้องแสดงให้สมกับวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันแรก และเป็นวันมงคลของพระพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย วันนี้แหละถือว่าเป็นวันขึ้น ปีใหม่ เราจะทำอย่างไรจึงจะเป็นคนดี เรื่องนี้เรื่องที่เป็นมงคลดี-ไม่ดีนั้น พระองค์ทรงรับสั่ง ยืนยันตัดสิน ตั้งแต่ปีใหม่นี้เราต้องตั้งใจเด็ดขาดลงไป สมกับที่พระองค์จอมปราชญ์แสดง มงคลว่า อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เราต้องตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่า อเสวนา จ พาลานํ ไม่เสพสมาคมคบหาคนพาลเด็ดขาด ทีเดียว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ตั้งแต่ได้อรุณวันนี้ ไม่เสพคบหาสมาคมกับคนพาลเป็นเด็ดขาด ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา จะเสพสมาคมคบหาแต่บัณฑิตเท่านั้น ปูชา จ ปูชนียานํ จะบูชาสิ่งที่ ควรบูชา เอตํ ติพฺพิธํ 3 ข้อนี้แหละเป็นมงคลอันสูงสุดคือจะไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต บูชาแต่สิ่งที่ควรบูชา ตั้งใจให้เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ อย่าลอกแลก ไม่เสพสมาคมกับคนพาล น่ะ ในตัวของตัวเองมีหรือ ซีกทางโลกเป็นซีกของ โลภ โกรธ หลง เป็นเหตุของคนพาล เป็นเหตุให้เกิดพาล ซีกทางธรรมเป็นซีกของ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นเหตุของบัณฑิต เป็นเหตุให้เกิดบัณฑิต บูชาสิ่งที่ควรบูชา มั่นลงไปอย่างนี้นะ นี่วันนี้ปีใหม่เราต้องตั้งใจให้ เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ เมื่อเด็ดขาดลงไปดังนี้ละก็ ตัดสินใจว่าเราดีแน่ นี่วันนี้ปีใหม่เราต้อง ตั้งใจให้เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ เมื่อเด็ดขาดลงไปดังนี้ ไม่มีทุจริต ไม่มีชั่วเข้าไปเจือปนเลย เป็นซีกบัณฑิตแท้ๆ เหตุนี้แล เมื่อเป็นบัณฑิตแล้วสมควรจะฟังธรรมเทศนา

    ในวันใหม่ปีใหม่ในทางสุริยคตินี้ พระจอมไตรอุบัติขึ้นในโลก ยังไม่ได้แสดงธรรมเทศนา กับบุคคลใดบุคคลอื่นเลย ได้แสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรก โปรดพระปัญจวัคคีย์ วันนี้จะ แสดงปฐมเทศนาที่พระองค์โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แคว้นเมือง พาราณสี บัดนี้เราจะฟัง ปฐมเทศนา ซึ่งเป็นธรรมอันลุ่มลึกสุขุมนัก ไม่ใช่ธรรมพอดีพอร้าย และธรรมนี้เป็นตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไปด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ว่าเป็น ปฐมเทศนาเท่านั้น เป็นตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนทีเดียว ที่ผู้ปฏิบัติจะเอาตัวรอดได้ใน ธรรมวินัยของพระบรมศาสดา

    เริ่มต้นแห่งปฐมเทศนาว่า เอวมฺเม สุตํ นี่เป็นพระสูตรที่พระอานนท์เอามากล่าว ปฏิญาณตนเพื่อให้พ้นจากความเป็นสัพพัญญู ว่าตัวไม่ได้รู้เอง เพราะได้ยินได้ฟังมาจาก สำนักของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เอวํ อากาเรน ด้วยอาการอย่างนี้ เอกํ สมยํ ในสมัย ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งหลาย ทรงประทับสำราญอิริยาบถ ณ สำนักมิคทายวัน แคว้นเมืองพาราณสี ครั้งนั้นพระองค์ทรงรับสั่งหาพระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 มารับสั่งว่า เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดทั้ง 2 อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค การประกอบตน ให้พัวพันด้วยกามในกามทั้งหลายนี้ใด หีโน เป็นของต่ำทราม คมฺโม เป็นเหตุให้ตั้งบ้าน เรือน โปถุชฺชนิโก เป็นคนมีกิเลสหนา อนริโยไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ อนตฺถสญฺหิโต ไม่เป็นประโยชน์ นี่คืออย่างหนึ่ง โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต การประกอบความลำบากให้แก่ตนเปล่านี้ใด กลับเป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบด้วย ไม่ไปจาก ข้าศึกคือกิเลสได้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้อย่างหนึ่ง เป็น 2 อย่างนี้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค นี่เป็นตัวกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค ทีเดียว

    เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่แวะเข้าใกล้ซึ่งที่สุดทั้ง 2 อย่างนี้นั้น อัน พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง และทำความเห็นให้เป็นปกติ เรียกว่า จกฺขุกรณี ญาณกรณี ย่อมเป็นไปพร้อม อุปสมาย เพื่อความเข้าไปสงบระงับ อภิญฺญาย เพื่อความรู้ยิ่ง สมฺโพธาย เพื่อความรู้พร้อม นิพฺพานาย เพื่อความดับสนิท กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติเป็นกลางนั้นที่พระตถาคต เจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโคหนทางมีองค์ 8 ประการ ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ เสยฺยถีทํ คือ สมฺมาทิฏฺฐิ ความเห็นชอบ สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบ สมฺมาวาจา กล่าววาจาชอบ สมฺมากมฺมนฺโต ทำการงานชอบ สมฺมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ สมฺมาสติ ระลึกชอบ สมฺมาสมาธิ ตั้งใจชอบ นี่ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง กระทำความเห็นให้เป็นปกติ กระทำความรู้ให้เป็น ปกติ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่งรู้พร้อมเพื่อพระนิพพาน

    นี้หลักประธานปฐมเทศนา ทรงรับสั่งใจความพระพุทธศาสนาบอกพระปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 โดยตรงๆ ไม่มีวกไปทางใดทางหนึ่งเลย บอกตรงๆ ทีเดียว แต่ว่าผู้ฟังพอเป็นนิสัยใจคอ เป็นฝ่าย ขิปฺปาภิญฺญา เท่านี้ก็เข้าใจแล้วว่าธรรมของพระศาสดานี้ลึกจริง ถ้าว่าไม่เป็น ขิปฺปาภิญฺญา เป็น ทนฺธาภิญฺญา จะต้องชี้แจงแสดงขยายออกไปอีก จึงจะเข้าใจปฐมเทศนา พระองค์ทรงรับสั่งบอกพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ว่าที่สุดทั้ง 2 อย่างนั่นนั้น อันบรรพชิตไม่ควรเสพ ที่สุด 2 อย่างน่ะอะไร

    เอาใจไปจรดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ที่ชอบใจนั้นแหละ หรือ ยินดีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจนั้นแล ตัวกามสุขัลลิกานุโยค ถ้าว่าเอาไปจรดรูปนั้นเข้าแล้ว จะเป็นอย่างไร ทุกฺโข เป็นทุกข์แก่ผู้เอาใจไปจรดนั้น หีโน ถ้าเอาใจไปจรดเข้ารูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจนั้น ใจต่ำ ไม่สูง ใจต่ำทีเดียว ใจมืดทีเดียว ไม่สว่างเพราะเอาไปจรดกับ อ้ายที่ชอบใจ ที่มัวซัวเช่นนั้น ถ้าไปจรดที่มืดมันก็แสวงหาที่มืดทีเดียว ไม่ไปทางสว่างละ นั่นน่ะจับตัวได้ เอาใจเข้าจรดกับรูป เสียง กลิ่น สัมผัส ที่ชอบใจ ชวนไปทางมืดเสียแล้ว ไม่ชวนไปทางสว่าง ปิดทางสว่างเสียแล้ว เมื่อเป็นอย่างนั้นท่านจึงได้ยืนยันหีโน ต่ำทราม ไม่ไปทางนักปราชญ์ราชบัณฑิต ไปทางโลก ไปทางปุถุชนคนพาลเสียแล้ว หีโน ต่ำทราม ลงไปอย่างนี้ คมฺโม ถ้าไปจรดมันเข้าไม่สะดวก ทำให้ต้องปลูกบ้านปลูกเรือนให้เหมาะเจาะ มีฝารอบขอบชิดให้ดีจึงจะสมความปรารถนานั้น ไปเสียทางโน้นอีกแล้ว นั้นใจมันชักชวน เสียไปทางนั้นแล้วนั้น โปถุชฺชนิโก ก็หมักหมมสั่งสมกิเลสให้หนาขึ้นทุกที ไม่บางสักทีหนึ่ง นั่นแหละรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เข้ามาๆๆ เป็นตึกร้านบ้านเรือนกันยกใหญ่เชียวคราวนี้ แน่นหนากันยกใหญ่เชียว อนริโย ไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ไม่หลุดจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่หลุดจากความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่นั่นเอง พระองค์ทรงรับสั่ง ว่า นี่ๆ พวกนี้ กามสุขัลลิกานุโยค ไปจากข้าศึกคือกิเลสไม่ได้ ไปไม่ได้ทีเดียว อนตฺถสญฺหิโต แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ไม่มีประโยชน์เลย ถามคนแก่ดูก็ได้ที่ครอบครองเรือนมาแล้ว ที่ติดอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสมาแล้ว ติดจนกระทั่งถึงแก่เฒ่าชรา ไปถามเถอะ ร้อยคนพันคน มายืนยัน บอกตรงทุกคน ทำไมจึงบอกตรงล่ะ แกวางก้ามเสียแล้วนะ บอกตรงซิ ถ้ายังไม่วาง ก้าม ยังกระมิดกระเมี้ยนอยู่ ยังจะนิยมชมชื่นอยู่ นั่นพระองค์ทรงรับสั่งว่า กามสุขัลลิกานุโยค ไม่มีประโยชน์อะไร อย่าเข้าไปติด ถ้าเข้าไปติดแล้วไปไม่ได้

    นั่นว่า โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข ประกอบความลำบากให้แก่ตนเปล่า ไร้ ประโยชน์ นี่ อตฺตกิลมถานุโยโค เป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไปจากข้าศึกคือกิเลสนั้นไม่ได้ ไม่มี ประโยชน์อีกเหมือนกัน อัตตกิลมถานุโยคนั่นทำอย่างไร ประกอบความลำบากให้แก่ตน พวกประกอบความลำบากให้นั่นทำอย่างไร นอนหนาม ตากแดด ย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้ง หาบทราย นี่พวกประพฤติดับกิเลส นอนหนาม ตากแดด ย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้ง หาบทราย นอนหนามหนามนั่นเจ็บ เสียความสงัดยินดีก็หายไปได้ เข้าใจว่าหมดกิเลส เป็นทางหมด กิเลส ตากแดดล่ะ เมื่อตากแดด แดดร้อนเข้าก็ไม่มีความกำหนัดยินดีเข้านะซิ เข้าใจว่ากิเลส ดับแล้ว นั่นความเข้าใจของเขา เข้าใจอย่างนั้น ย่างไฟล่ะ ย่างไฟมาจากแดด แดดไม่สะดวก ก็เอาไฟย่างมาก่อไฟ ก่อไฟถ่าน อยู่ข้างบนเข้าให้ นอนบนกองไฟ นอนบนไฟย่าง นอนบนไฟ นอนข้างบนร้อนรุ่มเหมือนอย่างกับไฟย่างนั้น ได้ชื่อว่าย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้งล่ะ มีความ กำหนัดยินดีขึ้นมา ไม่รู้จะทำอย่างไร มันเดินก็ไม่ถนัด ขาแข็งไปหมด ไม้เคาะหน้าแข้งเปก เข้าไปให้เงียบ หายความกำหนัดยินดี ดับไป เอ้อ! นี่ดีนี่ ได้อย่างทันอกทันใจ ทีหลัง กำหนัดยินดี เวลาไหนก็เอาไม้เคาะหน้าแข้งเปกๆ เข้าไปให้อย่างหนัก นี้ความกำหนัดยินดีก็ หายไป อย่างนี้เป็นหมู่เป็นพวก ต้องทำเหมือนกัน เป็นหนทางดีทางถูกของเขา พวกไม้เคาะ หน้าแข้ง หาบทราย หาบทรายเหนื่อยเต็มที่ หมดความกำหนัดยินดี ควายเปลี่ยวๆ ยังสยบ เลย ถึงอย่างนั้น หาบทราย ไอ้ทรายกองใหญ่ที่พวกอัตตกิลมถานุโยคประพฤติตนปฏิบัติ อยู่นาน เข้ามาอาศัยกองใหญ่มหึมาทีเดียว หาบมาเอามากองเข้าไว้ หาบเข้ามากองไว้ใหญ่ มหึมา นั่นเพื่อจะทำลายกิเลส ดับกิเลส นี่เขาเรียกว่าอัตตกิลมถานุโยคทั้งนั้น ลักษณะ อัตตกิลมถานุโยค มีมากมายหลายประการ ที่ผิดทางมรรคผลปฏิบัติตนให้เหนื่อยเปล่า ไม่มี ประโยชน์ นั่นแหละอัตตกิลมถานุโยคทั้งนั้น ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อัตตถิลมถา- นุโยคเหมือนกัน เอาดีไม่ได้ เดือดร้อนร่ำไป นั่นอัตตกิลมถานุโยคเหมือนกัน อัตตกิลมถานุโยค เป็นอย่างไรล่ะ ร่างกายทรุดโทรมไปตามกัน ฆ่าตัวเอง ทำลายกำลังตัวเอง ตัดแรงตัวเอง นี่ งมงายอวดว่าฉลาด นึกดูที เอ้อ! เราไม่รู้เท่าทัน ถ้ารู้เท่าทัน ไม่ถึงขนาดนี้เลย เพราะไม่ได้ยิน ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ได้ฝึกฝนใจทางพระพุทธเจ้าเลย ความรู้ไม่เท่าทัน จึงได้เป็นอัตตกิลมถานุโยคอยู่เช่นนี้ นี่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

    2 อย่างนี้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค เลิกเสีย ไม่เสพ อย่าเสพ อย่าเอา ใจไปจรด อย่าเอาใจไปติด ปล่อยทีเดียว ปล่อยเสียให้หมด เมื่อปล่อยแล้วเดินมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่แวะวงเข้าไปใกล้ซึ่งทางทั้ง 2 อย่างนั้น อันพระตถาคตเจ้าตรัสรู้ แล้ว ด้วยพระญาณอันยิ่ง นี่ข้อปฏิบัติเป็นกลางซึ่งเราควรรู้ กลางนี่ลึกซึ้งนัก ไม่มีใครรู้ ใครเข้าใจกันเลย ธรรมที่เรียกว่าข้อปฏิบัตอันเป็นกลางน่ะ ปฏิบัติแปลว่า ถึงเฉพาะซึ่งกลาง อะไรถึง ต้องเอาใจเข้าถึงซึ่งกลางซิ เอาใจเข้าไปถึงซึ่งกลาง กลางอยู่ตรงไหน กลางมีแห่งเดียว เท่านั้นแหละ เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ ใจเราก็หยุดอยู่กลาง เมื่อเวลาเราจะหลับ ใจเราก็ต้อง ไปหยุดกลาง ผิดกลางหลับไม่ได้ ผิดกลางเกิดไม่ได้ ผิดกลางตายไม่ได้ ผิดกลางตื่นไม่ได้ ต้องเข้ากลางถูกกลางละก้อ เป็นเกิด เป็นหลับ เป็นตื่นกันทีเดียว อยู่ตรงไหน ในมนุษย์นี่ มีแห่งเดียวเท่านั้น ศูนย์กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ได้ระดับ กรอบปรอททีเดียว สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้ายขึงด้ายกลุ่มอีกเส้น ตึงอยู่ในระดับแค่กัน ได้ระดับกันทีเดียว ได้ระดับกันเหมือนแม่น้ำทีเดียว ระดับน้ำ หรือระดับ ปรอทแบบเดียวกัน เมื่อได้ระดับเช่นนั้นแล้ว ดึงทั้ง 2 เส้น ข้างหน้าข้างหลังตึง ตรงกลาง จรดกัน ตรงกลางจรดกันนั่นแหละ เขาเรียกว่า “กลางกั๊ก” ที่เส้นด้ายคาดกันไปนั่น กดลงไป นั่นกลางกั๊ก กลางกั๊กนั่นแหละถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟอง ไข่แดงของไก่ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ แรกเรามาเกิดเอาใจหยุดอยู่ ตรงนั้น ตายก็ไปอยู่ตรงนั้น หลับก็ไปอยู่ตรงนั้น ตื่นก็ไปอยู่ตรงนั้น นั่นแหละเป็นที่ดับ ที่หลับที่ตื่น กลางแท้ๆ เทียว กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดง ของไก่ กลางนั่นแหละ ตรงกลางนั่นแหละ ไปหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางนั่นแหละ ได้ชื่อว่ามัชฌิมา มัชฌิมานะ พอหยุดก็หมดดีหมดชั่ว ไม่ดีไม่ชั่วกัน หยุดทีเดียว พอหยุดจัดเป็นบุญก็ไม่ได้ พอหยุดจัดเป็นบาปก็ไม่ได้ จัดเป็นดีก็ไม่ได้ ชั่วก็ไม่ได้ ต้องจัดเป็นกลาง ตรงนั้นแหละกลางใจ หยุดก็เป็นกลางทีเดียว นี้ที่พระองค์ให้นัยไว้กับองคุลิมาลว่า “สมณะ หยุด!” “สมณะ หยุด!” พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มา สมณะหยุดแล้ว ท่านก็หยุด นี้ต้องเอาไปหยุดตรงนี้ หยุด ตรงนั้นถูกมัชฌิมาปฏิปทาทีเดียว พอหยุดแล้วก็ตั้งใจอันนั้นที่หยุดนั้น อย่าให้กลับมาไม่หยุด อีกนะ ให้หยุดไปท่าเดียวนั่นแหละ พอหยุดแล้วก็ถามซิว่า หยุดลงไปแล้วยังตามอัตตกิลม- ถานุโยคมีไหม ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ตัวรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ยินดีไหม ไม่มี นั่นกามสุขัลลิกานุโยคไม่มี ลำบากยากไร้ประโยชน์ (อัตตกิลมถานุโยค) ไม่มี หยุดตาม ปกติ ของเขาไม่มี ทางเขาไม่มีแล้ว เมื่อไม่มีทางดังกล่าวแล้ว นี่ตรงนี้แหละที่พระองค์ทรงรับ สั่งว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา พระตถาคตเจ้ารู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง ตรงนี้แห่งเดียวเท่านั้น ตั้งต้นนี้แหละจนกระทั่งถึงพระอรหัตตผล

    ทีนี้จะแสดง วิธีตรัสรู้ เป็นอันดับไป ถ้าไม่แสดงตรงไม่รู้ ฟังปฐมเทศนาไม่ออกทีเดียว อะไรล่ะ พอหยุดกึกเข้าคืออะไร หยุดกึกเข้านั่นละ เขาเรียกใจเป็นปกติละ หยุดนิ่งอย่าขยับไป หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ กลางของนิ่งนั้นแหละ จะไปเห็น ดวงธัมมานุปัสสนา- สติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ บริสุทธิ์สนิทดังกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า อยู่ในกลาง หยุดกลางนิ่งนั่นแหละ กลางนั่นแหละ พอเข้าถึงกลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็หยุด นิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอีกแบบเดียวกัน พอถูกส่วนเข้า จะเข้าถึง ดวงศีล เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก เข้าถูกส่วน เข้ากลางดวงศีล นั่นเอง จะเข้าถึง ดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ ดวงเท่ากัน พอถูกส่วนเข้า เท่านั้น จะเข้าถึง ดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า เท่านั้นแหละ เข้าถึง ดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ-ญาณทัสสนะหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า เห็น กายมนุษย์ ละเอียด เห็นแจ่มแปลกจริง กายนี้เราเคยฝันออกไป เวลาฝันมันออกไป เมื่อไม่ฝัน มันอยู่ ตรงนี้เองหรือ ให้เห็นแจ่มอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ กลางตัวของตัวนั่น เห็นชัดเชียว อีกชั้นหนึ่งละนะ เข้ามาถึงนี้ละ นี่พระพุทธเจ้าเดินอย่างนี้ พักอย่างนี้ทีเดียว เอา เราเดินเข้า มาชั้นหนึ่งแล้ว เข้ามาถึงอีกชั้นหนึ่งแล้ว ต่อไปนี้ไม่ใช่หน้าที่ของกายมนุษย์หยาบละ เป็น หน้าที่ของกายมนุษย์ละเอียดทำไป

    ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกันที่เดียว พอถูกส่วนก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมา-นุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา แบบเดียวกัน เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณ- ทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง กายทิพย์ ที่นี่หมดหน้าที่ ของกายมนุษย์ละเอียดไปแล้ว

    ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์อีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนา- สติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น กายทิพย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แบบเดียวกัน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูก ส่วนเข้า เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายรูปพรหม

    ใจกายรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ- ญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายรูปพรหมละเอียด

    ใจกายรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียด นี้เป็นกายที่ 6 แล้ว พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงศีล พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายอรูปพรหม

    ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วน เข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายอรูปพรหมละเอียด

    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวง สมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรม รูปเหมือนพระพุทธปฏิมากร เกตุดอก บัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน ไม่ถึง 5 วา หย่อนกว่า 5 วา นี่เรียกว่า กายธรรม

    กายธรรมนี่เรียกว่าพุทธรัตนะ นี่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ได้อย่างนี้ นี่ปฐมยาม ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้ทีเดียว เป็นตัวพระพุทธรัตนะอย่างนี้ นี่พระพุทธเจ้าท่าน ตรัสรู้ขึ้นอย่างนี้ นี่ปฐมยามได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้ทีเดียว เป็นตัวพระพุทธเจ้า ทีเดียว รูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องหน้า ที่ทำรูปไว้ นี่แหละ นี่แหละตัวพระพุทธเจ้าทีเดียว แต่ว่ากายเป็นที่ 9 กายที่ 9 เป็นกายนอกภพ ไม่ใช่กายในภพ ทำไมรู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า ก็ทำรูปไว้ทุกวัดทุกวาจะไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธ- เจ้าอย่างไร ทำตำราไว้อย่างนี้ ก่อนเราเกิดมาเป็นไหนๆ ก็ทำไว้อย่างนี้ ปรากฏอย่างนี้แหละ ตัวพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทีเดียว ตัวพุทธรัตนะทีเดียว อ้อ! นี่เข้าถึงพุทธรัตนะ เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว ที่ท่านรับรองว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ตถาคเตน แปลว่า ตถาคต ธรรมกายน่ะ แต่ว่าธรรมกายนั้นท่านทรงรับสั่งว่า ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราพระตถาคต ผู้ เป็นธรรมกาย ตถาคตสฺส วาเสฏฺฐ เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ คำว่า ธรรมกายน่ะ ตถาคตแท้ๆ ทรงรับสั่งอย่างนี้ เข้าถึงธรรมกายแล้วนี่ตถาคตทีเดียว รู้ขึ้นแล้ว เป็นขึ้นแล้ว ปรากฏขึ้นแล้ว

    ต่อไปนี้เรามาเป็นธรรมกายดังนี้ รู้จักทางแล้ว ใจธรรมกายก็หยุดนิ่งที่ศูนย์กลาง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ดวงธรรมของธรรมกายวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตัก ธรรมกาย กลมรอบตัว ใสเกินกว่าใส ใจธรรมกายก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นธรรมกาย หยุดนิ่งพอถูกส่วน ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงธรรมนั้น หยุด อยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงปัญญา ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณ- ทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น ธรรมกายละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ธรรมกายหยาบเป็นพุทธรัตนะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกายเป็นธรรมรัตนะ ธรรมกายละเอียดอยู่ในกลางดวงธรรมรัตนะ นั่นแหละเป็นสังฆรัตนะ ดังนี้ อยู่ในตัว ที่อื่นไม่มี ทุกคนมีอยู่ในตัวของตัว ผู้หญิงก็มี ผู้ชายก็มี เช่นเดียวกันทุกคน นี่แหละพุทธรัตนะ ธรรม- รัตนะ สังฆรัตนะ เมื่อรู้จักดังนี้ เมื่อท่านเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นเช่นนี้แล้ว นี้เป็นโคตรภูแล้ว ท่านก็สำเร็จขึ้นไปอีก 8 ชั้น ท่านก็เป็นพระอรหันต์ไปอยู่กับพระพุทธเจ้าทีเดียว

    พอเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ท่านเอาเรื่องนี้มาแสดงกับพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ให้ พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ฟัง ท่านแสดงเรื่องของท่านว่า อันเราตถาคตเจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญา อันยิ่ง ท่านทำความเห็นเป็นปกติ เห็นอะไร ตาอะไร ตาพระพุทธเจ้า ตาธรรมกาย มีตา ตาดีนัก เห็นด้วยตาธรรมกายนั่นแหละ จกฺขุกรณี ทำให้เห็นเป็นปกติ เห็นความจริงหมด ญาณกรณี กระทำความรู้ให้เป็นปกติ ญาณของท่าน

    เมื่อท่านเป็นมนุษย์ ส่วนดวงวิญญาณของท่านก็เล็กเท่าดวงตาดำข้างในของท่าน เมื่อท่านขึ้นไปเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตาของท่านก็มีเหมือนเราเช่นนี้ ตาธรรมกาย มีญาณ ของธรรมกาย มีดวงวิญญาณนั่นแหละกลับเป็นดวงญาณใหญ่โตมโหฬาร ใหญ่โตขึ้น ดวงใส เท่าดวงตาดำ ข้างในแหละที่มีความรู้อยู่ในใจนี้แหละเขาเรียกว่าดวงวิญญาณ พอไปเป็น ธรรมกายเข้าแล้วกลับเป็นดวงญาณทีเดียว วัดผ่าเส้นศูนย์เท่าหน้าตักธรรมกาย ดวงญาณ เท่าหน้าตักธรรมกาย นั้นแหละเรียกว่า จกฺขุกรณี เห็นเป็นปกติ เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็น อะไร เห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 ในมนุษย์โลกนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์ ของมนุษย์ละเอียด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายทิพย์ ของกายทิพย์ละเอียด เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด, อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด เห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 ของ 8 กายนี้ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นจริง เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็นไม่เที่ยงจริงๆ เห็นจริงอย่างนี้ ตามนุษย์เห็นไม่ได้ ตา 8 กาย ในภพนี้เห็นไม่ได้ กายมนุษย์ก็ไม่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายมนุษย์ละเอียดก็ไม่เห็น กายทิพย์ก็ไม่เห็น กายทิพย์ละเอียดก็ไม่เห็น กายรูปพรหมก็ไม่เห็น กายรูปพรหมละเอียด ก็ไม่เห็น อรูปพรหมก็ไม่เห็น อรูปพรหมละเอียดก็ไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นไม่ได้ ตามันไม่ดี ตามันไม่ถึงขั้นที่จะได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำไมไม่ถึงขนาดเล่า ก็มัน ขั้นสมถะนี่กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด นี่มันขั้นสมถะ แต่รูปฌาณ เท่านั้น เลยไปไม่ได้ พอถึงกายธรรมมันขั้นวิปัสสนา ตาพระพุทธเจ้าท่านก็เห็นเบญจขันธ์ ทั้ง 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แท้ๆ เห็นจริงๆ จังๆ อย่างนั้นละ เห็นแท้ทีเดียว เห็นชัดๆ ไม่ได้เห็นด้วยตากายในภพ เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยฌาณธรรมกาย เห็นด้วยตาพระ พุทธเจ้า รู้ด้วยญาณพระพุทธเจ้า เห็นอย่างนี้แหละเห็นด้วยตาของพระตถาคตเจ้า รู้ด้วย ญาณของพระตถาคตเจ้า ธรรมกายนั่นเป็นตัวของพระตถาคตเจ้าทีเดียว ไม่ใช่อื่น เห็นชัด อย่างนี้นี่แหละ เห็นอย่างนี้แหละเขาเรียกวิปัสสนา เห็นเบ็ญจขันธ์ทั้ง 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เห็นเป็นอนิจจังน่ะเห็นอย่างไร เห็นตั้งแต่กายมนุษย์เกิด กายมนุษย์เกิดไม่อยู่ที่ เกิดเรื่อยๆ เกิดริบๆ เหมือนไฟจุดอยู่ มีไส้ มีน้ำมัน มีตะเกียง จุดมันก็ลุกโพลง เราเข้าใจ ว่าไฟดวงนั้นเป็นอย่างนั้นแหละ ไอ้กายมนุษย์มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ แต่ตาธรรมกายไม่ เห็นอย่างนั้น เห็นไฟเก่าหมดไป ไฟใหม่เดินเรื่อยขึ้นมา ไฟเก่าหมดไปไฟใหม่เดินเรื่อย ขึ้นมา แล้วก็เอามือคลำดูข้างบน ก็รู้ ร้อนวูบๆๆๆ ไป อ้อ! ไฟใหม่เกิดเรื่อย กายมนุษย์นี้ก็ เช่นเดียวกัน ไอ้เก่าตายไป ไอ้ใหม่เกิดเรื่อย หนุนไม่ได้หยุดเหมือนไฟ เหมือนดวงไฟ อย่างนั้นแหละ ไม่ขาดสาย มันเกิดหนุนอย่างนั้น นั่นเห็นขนาดนั้น เห็นเกิดเห็นตายเรื่อย เกิดแล้วก็ตายไป เกิดแล้วก็ตายไป ไม่มีหยุดละ เหมือนกันหมดทั้งสากลโลก เห็นทีเดียวว่า มีแต่เกิดกับดับ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมมีความเกิดเสมอ สิ่งทั้งปวงมีเกิดเสมอ มีความดับเสมอ มีเกิดกับดับ 2 อย่างเท่านั้น หมดทั้งสากลโลก เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกายจริงๆ อย่างนี้ นี้ทำวิปัสสนา เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้

    ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ก็แบบเดียวกัน สมุปาทยธมฺมํ เห็นตลอดขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, อริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12, แปดดวงนี้เห็นตลอด หมด เห็นจริงเห็นจังทีเดียว เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกาย รู้ชัดอย่างนี้ นี้เรียกว่า สํวตฺตติ ย่อมเป็นด้วยพร้อม อุปสมาย เพื่อความสงบเมื่อเห็นเช่นนั้นแล้ว ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่มี สงบหมด หายไปหมด เงียบฉี่เชียว ที่ยินดีถอนไม่ออก เงียบฉี่ เชียว อภิญฺญาย รู้ยิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง สมฺโพธาย รู้พร้อมรู้จริงทุกสิ่งทุกอย่าง นิพฺพานาย ดับหมด ราคะ โทสะ โมหะ ดับหมด ปรากฏอย่างนี้ ดังความจริงอย่างนี้ นี่ที่ไปถึง พระตถาคตเจ้าอย่างนี้ ไปถึงธรรมกายเช่นนี้ ไม่ได้ไปทางอื่นเลย ไปทางปฐมมรรค ไปกลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ดวงศีลคืออะไร ดวงศีลนะคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว อริยมรรค 3 องค์ นั้นเรียกว่าดวงศีล ดวงสมาธิ : สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ อริยมรรคอีก 3 องค์ ดวงปัญญา : สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นแปด องค์ในอริยมรรคนั้นทั้งสิ้นอยู่ในนั้น จึงได้ เข้าถึงธรรมกายนี้ได้ ถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แท้ๆ นี้แหละ ให้แน่วแน่ลงไว้ เราก็ เกิดมาประสพพบพระพุทธศาสนา พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ไม่ได้ถึงตัวจริงของ ศาสนาไม่ได้ มีตัวจริงศาสนา นี่แก่นศาสนาอยู่ในตัวของเราเป็นลำดับของกายเข้าไป อย่าไปทางอื่นนะ ไม่ได้ ต้องไปทางหยุดทางเดียว จะยุ่งยากอย่างหนึ่งอย่างใดเข้าให้ถึง หยุด ให้ถูกส่วน หยุดให้เข้ากลาง หยุดให้ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนา ทำตามที่พระองค์ รับสั่งไว้ในปฐมเทศนา ให้แน่นอนอย่างนี้ จะได้เข้าถึงตัวจริงเช่นนี้ ถ้าเข้าถึงตัวจริงเช่นนี้แล้ว ก็พึงรู้ อ้อ! ที่แสดงมานี้ เว้นเสียจากที่สุดทั้ง 2 สิ่ง ไม่เสพที่สุดทั้ง 2 นั้น เดินตามมัชฌิมาปฏิปทาไป ทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ไปเป็นลำดับนั้น จึงเข้าถึงตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นตถาคตเจ้าแท้ๆ ดังที่ได้แสดงมานี้ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ผู้มีปรีชาญาณ มนสิการกำหนดไว้ในใจทุกคน ทุกถ้วนหน้า

    วันนี้เป็นวันปีใหม่ ได้แสดงปฐมเทศนา พระองค์ทรงตรัสเทศนาเป็นเบื้องต้น เป็น ทีแรกเรียกว่าปฐมเทศนา พอเป็นเครื่องประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับสติปัญญา คุณสมบัติของท่านพุทธบริษัท คฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ว่าเราท่านทั้งหลายผู้เป็นเมธีมีปัญญาต้องการสิ่งที่เป็นมงคล ต้องการความเจริญแล้ว ตั้งใจ ให้แน่แน่ว ให้ถึงพระรัตนตรัย วันนี้เป็นวันใหม่ ชั่วร้ายด้วยกายวาจาใจตัดขาด อย่ากระทำ ทำใจให้หยุดให้ถูกเป้าหมายใจดำทางพระพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมา มนุษย์แท้ๆ ถึงจะ ไม่เข้าใจ อย่างดีมนุษย์ธรรมดาเห็นจะดีกว่าค้างคาวแน่ ฟังเทศน์เอาบุญกัน ไม่ฟังเทศน์เอา เรื่องเอาราวกัน คนแก่คนเฒ่าเป็นอย่างนั้น คนที่สนใจฟังธรรมจริงๆ เรียนธรรมจริงๆ รู้ธรรม จริงๆ เป็นอีกพวกหนึ่ง ต้องเรียนเอาเรื่องเอาราวกันจริงๆ จึงจะปฏิบัติธรรมกันในพระพุทธศาสนาได้ ดังนี้

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ เป็นตำรับตำราแน่นอนในทางพระพุทธศาสนา ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สิ่งอื่น ไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย สรณํ เม รตนตฺตยํ พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอัน ประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ มาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา ขอ สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    หลวงป๋า :: วิปัสสนานี่คืออะไร เพราะเราไปนึกว่ามันจะต้องทำอย่างนั้น มันจะต้องทำอย่างนี้ นึกถึงรูปแบบ ซึ่งมันไม่ใช่ อ้ายรูปแบบมันจะใช่แหละ แต่ว่าตัวจริงมันไม่ใช่ ของจริงที่เราจะรู้น่ะมันไม่ใช่ อ้ายรูปแบบมันเรื่องของรูปแบบ ใช่ไหม

    ที่นี้ กล่าวถึงรูปกายอุบัติและธรรมกายอุบัติเนี่ย ท่านก็บอกชัดเลย เมื่อธรรมกายอุบัตินั้น เมื่อตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ที่นี้มีคำถามว่า ถ้าท่านอยากจะถามว่า อย่างนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าไปอยู่ในสำนักอาฬารดาบส-อุทกดาบส ก็เรียนจบ พระองค์จบไตรเพทมาก่อน เท่ากับ Dr. Ph.D. แล้วมาเรียนในสำนักอาฬารดาบส สมาบัติ 7 อุทกดาบสเพิ่มอรูปฌาน สมาบัติ 8 ถามว่า โดยสามัญสำนึกธรรมดาถามว่า ทิพพจักษุ-ทิพพโสตพระพุทธเจ้าเกิดหรือยัง ถามท่าน ?

    พระครูฯ :: เกิดแล้วครับ

    หลวงป๋า :: เกิดแล้ว เห็นหมดแล้วนรก-สวรรค์ เห็นหมดแล้ว ที่นี้ เมื่อเห็นนรกสวรรค์หมดแล้วเนี่ย ถ้าพระองค์ไม่มีญาณที่เหนืออาจารย์ ท่านจะอ่านออกไหมว่าเท่านี้ยังไม่สามารถจะพ้นทุกข์ได้

    พระครู :: หลวงป๋ากำลังมองว่า อาจารย์ถึงขนาดนี้ ยังไม่

    หลวงป๋า :: ยังไม่เห็น แต่ด้วยบุญบารมีของพระองค์ พระองค์เริ่มบรรลุคุณธรรมที่สูงกว่าสมาบัติ 8 จึงเห็นแม้แต่รูปฌานและหรืออรูปฌานก็ยังไม่เป็นธรรมที่นำให้พ้นโลกได้ ฟังให้ดีนะตรงนี้ นะ มาแปลกันผิดเพี้ยน มาแปลกันว่าไม่ใช่ทาง คนก็เลยไม่ทำสมาธิ เพราะไม่เข้าใจว่าคำว่าทางมันคืออะไร คือ มันไม่ใช่ธรรมที่มีอานุภาพให้พ้นโลกได้ ถ้าพูดตรงนี้แล้วก็คือยังไม่พอที่จะนำให้พ้นโลกได้

    พระครู :: มันไม่ใช่ทางที่ว่าจะต้องไม่ใช่ว่าจะไม่ดำเนินไป ดำเนินไป แต่ว่ามันไม่ถึงที่สุดของมัน

    หลวงป๋า :: ใช่! นิดเดียวนี่ก็เรียกว่าผิดประเด็น หลวงป๋าจึงเน้นแต่ต้น การศึกษาหาข้อมูลต้องเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ ที่ถูกต้องและตรงประเด็น นี่คือประเด็น ใช่ไหม ก็เลยไปแปลกันว่าสมาบัติ 8 ไม่ใช่ทาง เลยตำหนิสมาธิเลยทีนี้ ยิ่งตำหนิปุ้บ ของดีของถูกต้อง ทำให้ตัวเองปิดบังปัญญาตัวเองเลย ปิดบังคุณธรรมของตัวเองเลย รู้จักเท่าไหร่ เพียงแค่นี้ คุณพูดคุณสอนว่าสมาธิไม่มีคุณประโยชน์ ไม่ต้องทำหรอก ทำปัญญาเลย แค่นี้มันก็ปิดบังคุณแล้ว กรรมน่ะ เล่นๆได้ที่ไหนเรื่องธรรมะ...

    ______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    a-jpg.jpg

    ในขัั้นตอนการเจริญวิชชาฯ

    พระเดชพระคุณ พระเทพญาณมงคล ได้อธิบายคำว่า “นิโรธ” ไว้ว่า
    ... “นิโรธ ดับสมุทัย (มิใช่นิโรธสมาบัติ) ตามความหมายของ ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ’ กล่าวคือเป็นการละ (ปหาน) อกุศลจิตของกายในภพ ๓ [ซึ่งเป็นที่ตั้ง หรือ เป็นที่สะสม – หมักดอง – ตกตะกอนนอนเนื่องของกิเลส (หยาบ-กลาง-ละเอียด) เป็น ‘อาสวะ/อนุสัย’ ในจิตตสันดาน] ให้กิเลสเบาบางลง ถึงหมดสิ้นไป บรรลุมรรค-ผล-นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้” ...
    (สมถวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า หน้า ๗๖)

    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้กล่าวถึงอริยสัจ ๔ ไว้ว่า
    ทุกข์ เป็นผล สมุทัย เป็นเหตุ
    นิโรธ เป็นผล มรรค เป็นเหตุ
    (คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๕ สาย หน้า ๑๖๕)

    ดังนั้น การทำนิโรธให้ได้ผลดีนั้น ต้องทำมรรคให้ดีเสียก่อน เพราะมรรคเหตุให้เกิดนิโรธ นิโรธเป็นผลมาจากมรรค
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    ขุ.อป. ปัจเจกพุทธาปทาน 32/2/20 ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ 32 ข้อ 2 หน้า 20 บรรทัดที่ 9 ฉบับบาลี ปี 2525 ได้กล่าวถึงว่า


    ...ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภูฯ มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา...


    "พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมอันใหญ่ มี "ธรรมกาย" มาก"
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    สะสม "การหยุด" ทีละเสี้ยวเวลา....ณ ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางใจ

    ทำอย่างไรถึงจะแก้โรคเบื่อชีวิต เกิดมาแล้วเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ กิจวัตรประจำวันก็ซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย เมื่อปฏิบัติสมาธิแล้วก็มืดไม่เห็นอะไรเลย พยายามนึกไปที่ดวงแก้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะเห็นได้ จะทำอย่างไรดี ?

    ตอบ...

    หากเบื่อด้วยกิเลส (โทสะ/นิวรณ์) จะเป็นทุกข์ จมอยู่ในความทุกข์ หากเบื่อด้วยปัญญา เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง จิตใจย่อมปลอดโปร่ง แล้วหาทางพ้นด้วยการปฏิบัติตามพุทธธรรม

    การนึกดวงแก้วในเบื้องต้นเป็นวิธีทำใจให้สงบ เพราะฉะนั้น สำหรับคนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นได้แค่การ “นึก” ยังไม่ใช่ “เห็น” (ยกเว้นไม่กี่คนที่ครั้งแรกนึกแล้ว “เห็น” เลย)

    เมื่อเพียรพยายาม “นึก” อยู่เรื่อยๆ ใจจะค่อยๆ ได้รับการฝึกให้เชื่อง ความฟุ้งซ่านจะลดลง ได้สัมผัสความ “สันติสุข” จากการที่ใจเริ่มสงบบ้างโดยที่ยังไม่เห็นอะไรนั้น เมื่อถึงจุดที่จิตสงบพอดี หยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ก็จะ “เห็น” นิมิตแสงสว่างหรือดวงแก้วปรากฏขึ้น ซี่งเป็นไปด้วยอำนาจของความสงบใจ ไม่ใช่ด้วยอำนาจของการ “นึก”

    เพราะฉะนั้น หากเข้าใจธรรมชาติของจิตว่าเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะไม่บังคับใจ บังคับตา ของเราให้เห็น เราจะไม่ใจร้อนหงุดหงิดเมื่อยังไม่เห็น เราจะไม่พากเพียรจัดเกินไป ด้วยความ “อยาก” เห็น

    แต่เราจะวางใจเป็นกลางๆ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืนเดินนั่งนอน เพราะเรามีความสงบสุขทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ บุญบารมีของเราเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ สติสัมปชัญญะดีขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ

    ------------------------------------------------------------------
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    soTTlgRCRXJYCCB7n489i32sJHPoNUfcDP5Bza4SjqFJhnxQkaca5aBxWFKzfmD_dkazeR7s&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    #ภารสุตฺตกถา

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธาภาราหาโร จ ปุคฺคโลภาราทานํ ทุกฺขํ โลเกภารานิกฺเขปนํ สุขํนิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํอญฺญํ ภารํ อนาทิยสมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺหนิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย ภารสุตฺตกถา วาจาเครื่องกล่าว ปรารภซึ่งพระพุทธพจน์ แสดงในเรื่องภาระของสัตว์โลก สัตว์โลกทุกข์ยากในเรื่องภาระ ทั้งหลายเหล่านี้นัก จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี และคลี่ความเป็นสยามภาษา ตาม อัตโนมตยาธิบาย เพราะว่า เราท่านทั้งหลาย หญิงชาย คฤหัสถ์บรรพชิต ล้วนแต่ต้องมี ภารกิจหนักอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนลำเค็ญอยู่ต่างๆ ก็เพราะอาศัย ภาระเหล่านี้ ภาระเหล่านี้เป็นของสำคัญ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเห็นภาระอันใหญ่ยิ่ง ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงภารสูตรว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระหนักแท้ เป็นภาระโดยแท้ ภาราหาโร จ ปุคฺคโล ก็บุคคลนำภาระไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ถือภาระ ไว้เป็นทุกข์ในโลก ภารานิกฺเขปนํ สุขํ วางภาระเสียเป็นสุขนิกฺขิปิตฺวา ครุ ํ ภารํ บุคคล วางภาระอันหนักแล้ว อญฺญํ ภารํ อนาทิย ไม่ฉวยเอาภาระอื่นมาเป็นภาระอีก สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ถอนตัณหาทั้งรากเสียได้ นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ มีความปรารถนาดับสิ้น ชื่อว่า นิพพานได้ ดังนี้ นี่ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ขยายความในเรื่องภาระหนักของสัตว์โลก หญิงชายคฤหัสถ์ บรรพชิตทุกถ้วนหน้า ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์นี้ ที่มนุษย์อาศัยเรียกว่าขันธ์ 5 นี้แหละ จะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องอาศัยขันธ์ 5อาศัยรูป คือ ร่างกาย อาศัยเวทนา คือความสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ อาศัยสัญญา คือ ความจำ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ อาศัยสังขาร คือ ความปรารถนาดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว อาศัยวิญญาณ คือ ความรู้แจ้งขันธ์ทั้ง 5 นี่แหละ เรียกว่าเป็นภาระ เป็นภาระอย่างไร เราต้องพิทักษ์รักษาเอาใจใส่ หยุดก็ไม่ได้ เวลาเช้า ตื่นจากที่นอนแล้วเราต้องล้างหน้าบ้วนปากให้มัน ไม่เช่นนั้นมันเหม็น ปวดอุจจาระปัสสาวะ ต้องไปถ่าย พอเสร็จแล้วมันจะรับประทานอาหาร ต้องไปหามาให้ ต้องการอะไร เป็นต้องไป เอามาให้ เมื่อไม่เอามาให้ ไม่ได้ อยากอะไรก็ต้องไปหามา ไม่ใช่แต่เท่านั้น ไม่ว่าอยากอะไร ต้องไปหาให้มัน ถ้าไม่มาให้ มันไม่ยอม นี่เป็นภาระอย่างนี้ เราต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างใน อัตภาพร่างกายนี้เป็นภาระทั้งนั้น มันอยากจะเห็นอะไร ต้องหาให้มัน ไม่สบายต้องแก้ไข ไปอีก ต้องนำภาระไปอย่างนี้ มันบอกว่าที่นี่อยู่ไม่สบาย ต้องหาที่อยู่ให้มัน มันจะอยู่ ตรงนั้นตรงนี้ตามเรื่องของมัน ต้องเป็นภาระทุกสิ่งทุกอย่างไปนี่แหละ เรียกว่าเป็นภาระ อย่างนี้ ยุ่งกับลูกหญิงลูกชายซึ่งเป็นภาระของพ่อแม่ ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาก็เป็น ภาระของสมภาร ในบ้านในช่องทั้งครอบครัวเป็นภาระของพ่อบ้านแม่บ้าน ราษฎรทั้ง ประเทศเป็นภาระของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ปกครองประเทศ ข้าวของแพงเหล่านี้ก็เป็นภาระ ของผู้ปกครองประเทศ

    ภาระทั้งหลายเหล่านี้ไม่อัศจรรย์เท่าภาระของขันธ์ 5 นี้ ลำพังขันธ์ 5 นี้ จำเพาะตัว ของมันก็ยังไม่สู้กระไรนัก ผู้ใดไม่พอก็หาภาระเพิ่มอีก 5 ขันธ์ เป็น 10 ขันธ์ ไปเอาอีก 5 ขันธ์ เป็น 15 ขันธ์ ไปเอาอีก 5 ขันธ์ เป็น 20 ขันธ์ เป็น 25, 30, 35, 40 หนักเข้า ถึงร้อยพันขันธ์ ที่ทนไม่ไหว เพราะเหตุว่าภาระเหล่านี้มันหนัก ไม่ใช่ของเบา เมื่อมีภาระ เหล่านี้จะเป็นภาระ 5 ขันธ์ก็ดี ภาระอื่นจาก 5 ขันธ์ก็ดี ภาระเหล่านี้แหละ ภาราหาโร จ ปุคฺคโล บุคคลถือภาระนี้ไว้กี่ขันธ์ก็ช่าง บุคคลนำภาระนี้ไป บุคคลต้องนำทุกข์ของตัวไป เพราะมีขันธ์ 5 ด้วยกันทั้งนั้น บุคคลนำภาระไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ถ้าว่าไปถือภาระ นี้ไว้ ตำรากล่าวว่าเป็นทุกข์ในโลก ถึงจะหมดขันธ์ 5 ก็อย่าถือมัน วางธุระเสีย ถ้าไปถือมัน ก็เป็นทุกข์ในโลก แปลว่า ถ้าถือภาระไว้เป็นทุกข์ในโลก ภารานิกฺเขปนํ สุขํ ปล่อยวางภาระ เสีย ปล่อยขันธ์ 5 นั่นเองเป็นสุข ถือไว้เป็นทุกข์ ปล่อยขันธ์ 5 นั่นเองเป็นสุข ถือไว้ เป็นทุกข์ ปล่อยเป็นสุข นิกฺขิตฺวา ครุํ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห แม้ปล่อยภาระที่หนักเสียแล้ว ไม่ฉวยเอาภาระของคนอื่นเข้ามา ปล่อยขันธ์ 5 นี่ ไปเอา ขันธ์ 5 นั่น ปล่อยขันธ์ 5 นั่น ไปเอาขันธ์ 5 นี่ ไปเอาขันธ์ 5 นั่น ปล่อยขันธ์ 5 นั่น ไป เอาขันธ์ 5 โน่น นี่เรียกว่าไปเอาภาระอื่นเข้ามาถือไว้อีก ถ้าปล่อยเสียแล้วไม่ถือไว้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้สิ้นเชื้อทีเดียว นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต มีความปรารถนาดับสิ้น ชื่อว่านิพพานได้ ดังนี้เราจะได้รับความสุข ก็เพราะปล่อยภาระเหล่านี้เสีย เราได้รับความ ทุกข์ก็เพราะถือภาระเหล่านี้ การที่ปล่อยไม่ใช่ของง่าย การที่ถือง่าย การปล่อยยากเหมือน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของตัวนี้ ท่านก็เทศน์กันนักกันหนาว่าเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เราก็ไม่ยอมดีๆ เราก็เชื่อว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว แต่อย่างนั้นเราก็ต้องบริหารรักษา ของเรา ที่เราจะยอมลงความเห็นเด็ดขาดไม่ได้ เพราะเหตุว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร ตลอดวิญญาณทั้ง 5 อย่างนี้เราต้องอาศัยทุกคน สัญญา สังขาร วิญญาณออกเสีย เราก็ ไม่มีที่อาศัย เราต้องอาศัยแต่ว่าอย่าไปถือมัน รู้ว่าอาศัยเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เป็นไปตามสภาพอย่างไร เราไม่ควรยึดถือ ปล่อยตามสภาพของมันอย่างนี้ ทุกข์ก็น้อยลง ต่อเมื่อไรถือมัน มันก็เป็นทุกข์มาก เป็นภาระหนักขึ้น

    เหตุนี้พระองค์ทรงเห็นแล้วว่าขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระสำคัญและหนักด้วย ใครปล่อย วางขันธ์ 5 ละไม่ได้ ผู้นั้นต้องเวียนว่ายตายเกิด ผู้ใดปล่อยได้ผู้นั้นนับวันจะหมดชาติ หมดภพ จะมีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ที่เทศนานี้ล้วนสอนให้ถอดขันธ์ 5 ออกเป็น ชั้นๆ ไป แต่ว่าจะถอดขันธ์ 5 จะถอดอย่างไร มันเหมือนมะขามสด เนื้อกับเปลือกมันติดกัน ไม่หลุด ไม่กรอกจากกัน ไม่ล่อนจากกัน ถอดไม่ได้ เรายังไม่เห็นขันธ์ 5 ต่อเมื่อใดถอดขันธ์ 5 เราจะเห็นขันธ์ 5 เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เรารู้เห็นด้วยตามนุษย์ รูปเรา เห็นได้ เวทนาเราก็เห็น หน้าตาแช่มชื่นดี เราก็รู้ว่าสุข เรื่องสัญญา สังขาร วิญญาณ เราก็ ไม่เห็น เราจะต้องเห็นทั้ง 5 อย่างจึงจะละได้วางได้ ถ้าไม่เห็นขันธ์ทั้ง 5 อย่าง ละวางไม่ได้

    ถ้าอยากเห็นขันธ์ 5 เราต้องถอดกายออกเป็นชั้นๆ ต้องถอดกายทิพย์ออกจาก กายมนุษย์ วิธีจะถอดขันธ์ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของยาก หมื่นยากแสนยากทีเดียว แต่วิธี เขามีที่วัดปากน้ำ วิธีเข้ากายถอดขันธ์ คือ ทำจิตใจให้หยุดให้นิ่งที่กำเนิดเดิม ถอดขันธ์ออก ไปแล้วจึงเห็นขันธ์ ถอดขันธ์ 5 ของมนุษย์ออกจากขันธ์ 5 ของทิพย์ ถอดขันธ์ 5 ของ ทิพย์ออกจากขันธ์ 5 ของรูปพรหม ถอดขันธ์ 5 ของรูปพรหมออกจากขันธ์ 5 ของ อรูปพรหม ถอดขันธ์ 5 ของอรูปพรหมออกจากธรรมกาย เหมือนถอดเสื้อกางเกงอย่างนั้น แต่ว่าต้องถอดเป็น ถอดไม่เป็นก็ถอดไม่ได้

    วิธีถอดมี ต้องทำใจของตัวให้หยุดให้นิ่ง เห็น อย่างหนึ่ง จำอย่างหนึ่ง คิด อย่างหนึ่ง รู้ อย่างหนึ่ง หยุดนิ่งเหมือนอย่างกุมารน้อยอยู่ในท้องมารดา ใจหยุดที่กำเนิดเดิมคือศูนย์ กลางกายของกายมนุษย์ กำเนิดเดิมแค่ราวสะดือ เอาใจหยุดที่ตรงนั้น พอถูกส่วน ถูกที่เข้า เท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นดวงใส นั่นแหละเรียกว่า ปฐมมรรค หรือศีล เป็น ดวงศีลหยุดนิ่ง ต่อไป ถูกส่วนเข้า จะเห็น ดวงสมาธิ เข้าไปหยุดนิ่งกลางดวงสมาธิ จะเห็น ดวงปัญญา หยุด นิ่งกลางดวงปัญญา เห็น ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งที่กลางดวงวิมุตติ จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เห็น กายทิพย์ กายมนุษย์-กายทิพย์หลุดจากกันแล้ว เห็นกายทิพย์แล้วเหมือนมะขาม กรอก กายมนุษย์เป็นเปลือกไป กายทิพย์เป็นเนื้อไป เป็นคราบงูที่ลอกออกไป เป็นเนื้อ มะขามใส เห็นชัดอย่างนี้ กายมนุษย์หลุดออกไป ขันธ์ 5 ของมนุษย์หลุดออกไป เหลือ กายทิพย์แล้วก็ทำวิธีอย่างนี้ วิธีถอดเข้าไปศูนย์ว่างของกลางกายทิพย์ แล้วก็ใจหยุดนิ่งที่ กลางกำเนิดของกายทิพย์ หยุดถูกส่วน เห็นเป็นดวงใส เรียกว่าดวงศีล ใจหยุดนิ่งกลาง ดวงศีลนั่นแหละ เห็นดวงสมาธิ ว่างกลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา ว่างกลางดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ ว่างกลางดวงวิมุตติ เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ จะเห็น กายรูปพรหม ถอดจากกายทิพย์อีกแล้ว เหมือนมะขามกรอกอีกแล้ว ทำเข้าสิบเข้าศูนย์ถูกส่วนในกายรูปพรหมเข้าอีก พอหยุดถูกส่วน จะเห็นดวงใส คือ ดวงศีล หยุดนิ่งกลางดวงศีล เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งกลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งกลาง ดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งกลางดวงวิมุตติ เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็น กายอรูปพรหม ถอดออกจากกายรูปพรหมเหมือนกับมะขามกรอกอีกแล้ว กายรูปพรหม เหมือนเปลือกมะขาม ทำอย่างนี้อีก เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ถูกส่วน ใจของกายอรูปพรหม พอ ถูกส่วน จะเห็นดวงใส ก็แบบเดียวกัน เป็นดวงศีล กลางว่างดวงศีล เห็นดวงสมาธิ กลาง ว่างดวงสมาธิ จะเห็นดวงปัญญา กลางว่างดวงปัญญา จะเห็นดวงวิมุตติ กลางว่างดวงวิมุตติ จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเห็น กายธรรม ถอดออก จากกายอรูปพรหม ใสเหมือนยังกับแก้ว ถอดเป็นชั้นๆ อย่างนี้ พอถึงกายทิพย์ก็มองดู กายทิพย์ กายมนุษย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เห็นชัดอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายมนุษย์ ถอดออกจากกายทิพย์นั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายทิพย์ถอดออกจากกายรูปพรหมนั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายรูปพรหม ถอดออกจากกายอรูปพรหมนั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายอรูปพรหม ถอดออกจากธรรมกาย ออกเป็น 20 ขันธ์ ตัวคนเดียวถอดออกเป็น 20 ขันธ์ พญามารเขาสอนให้ถอด ถอดกายอย่างนี้เป็นพวกของข้า ถ้าไม่ถอดกายไม่ยอม พระพุทธเจ้าก็สอนพวกพุทธบริษัทถอดกายอย่างนี้แล้วก็เข้านิพพานไป ถอดกายเหลือแต่ กายธรรมอย่างนี้แหละ พญามารมันยอม เรียกว่านิพพานถอดกาย อย่างชนิดนี้ให้เห็นชัด อย่างนี้เป็นวิธีถอดกาย เรียกว่า เข้านิพพานถอดกาย นิพพานไม่ถอดกายยังมีอีก หากว่า เอาวิธีไม่ถอดกายมาเทศน์ในเวลานี้ ถูกนัตถุ์ยา เหตุนั้นต้องสอนวิธีถอดกายเสียก่อน วิชานี้ เป็นวิชาของพญามารสอนให้ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ถอดกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมออกเสีย กายธรรมก็ไม่มี แม้จะผจญกับพญามารก็สู้ไม่ได้ ที่เอานางธรณี บีบน้ำท่วม มารจมน้ำ มันทำเล่นๆ ทำหลอกเล่น ที่จริงที่แท้แพ้มัน ที่แท้ทีเดียวต้องนิพพาน ไม่ถอดกาย แต่ว่านี่มันยอมกันเข้ามามากแล้ว ต้องแสดงวิธีถอดกายไปพลางๆ ก่อน แล้วจึง จะสอนไม่ถอดกายต่อไป เมื่อรู้จักขันธ์ 5 เป็นขันธ์ 5 ให้ถอดขันธ์ 5 เป็นชั้นๆ ดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีอะไรยึดถือ เพราะขันธ์ 5 ของมนุษย์ เป็นชาติของกาม กามก็อาศัยได้ในกายมนุษย์ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา มันเกาะอาศัยได้ ในกายมนุษย์ กายทิพย์ ส่วนกายรูปพรหม ภวตัณหาเกาะได้ กายอรูปพรหม วิภวตัณหามันเกาะอาศัยได้ ต่อเมื่อถึงกาย ธรรมแล้วตัณหาเกาะไม่ได้ มันเกาะไม่ถึง ตัณหาเกาะไม่ได้ในกายธรรม ตัณหาซาบซึม ไม่ได้ เราจะเอาน้ำหมึกรดกระจกเข้าไป มันก็ไม่เข้าไป กายธรรมก็เหมือนแก้ว เมื่อถึง กายธรรมแล้ว กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เข้าไปไม่ได้เพราะเป็นเนื้อแก้วที่สนิท ละเอียดกว่า ไม่มีช่อง ไม่มีหนทางเอิบอาบซึมซาบได้เลย เหมือนกระดาษแก้ว ส่วนกาย มนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหมือนกระดาษฟาง มันเป็นที่ตั้งอาศัยของ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อถึงกายธรรมเสียแล้วเป็นแก้ว ตัณหาเข้าไปไม่ได้ จึงได้ชื่อว่าเป็นกายธรรม กายธรรมนั่นเองที่ปล่อยจากกายอรูปพรหมไป ตัณหาอาศัยไม่ได้ ที่เรียกว่า สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺหได้ชื่อว่า ถอนตัณหาทั้งรากได้ ตัณหาอยู่แค่กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่มีแก่นิพพาน เมื่อเข้าถึงนิพพานเสียแล้ว ก็ถอนโคนราก ของตัณหาหมดแล้ว ตัณหาไม่หยั่งรากเข้าถึงกายธรรมได้ เหตุฉะนี้เมื่อถึงกายธรรมแล้วหมด ตัณหาแล้ว ไม่มีความปรารถนาที่จะเข้ามาอาศัยกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ต่อไป จึงได้ชื่อว่า นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต มีความปรารถนาดับสิ้นแล้ว ชื่อว่านิพพานได้แปลว่า ดับสิ้นแล้ว คือ ดับสิ้นจากกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เพราะเหตุฉะนั้น ขันธ์ 5 เหล่านี้ที่กล่าวในตอนต้นว่าเป็นภาระสำคัญ เราต้องทุกข์ยากลำบากเวียนว่ายตายเกิด ก็ เพราะสลัดไม่ออก สลัดขันธ์ของมนุษย์ออกไปติดขันธ์ 5 ของทิพย์ สลัดทิพย์ออกไปติด ขันธ์ 5 ของรูปพรหม สลัดรูปพรหมออกไปติดขันธ์ 5 ของอรูปพรหม นั่นเหมือนกับ มะขามสด เปลือกกับเนื้อมันติดกันจะแกะเท่าใดก็ไม่ออก แกะเปลือกเนื้อติดเปลือกไปด้วย ขันธ์ 5 ที่จะละทิ้งจิตใจของมนุษย์ ละไม่ได้ เพราะเนื้อกับเปลือกติดกัน เพราะมันอยู่ใน กามภพ มนุษย์ 1 สวรรค์ 6 ชั้น เป็นตัวกามภพ จะละไม่ได้ จะไปอยู่รูปภพ มันก็มี ภวตัณหาอีก ติดภวตัณหาเป็นเปลือกอยู่อีก เมื่อหลุดจากภวตัณหา จากรูปภพได้ จะไปอยู่ อรูปภพ ก็วิภวตัณหา ไปติดตัณหาในอรูปภพ ต่อเมื่อใดถึงกายธรรมจึงหลุดได้ หลุดไม่มี ระแคะระคาย เป็นโสดา สกทาคา อนาคา อรหัต แตกกายทำลายขันธ์ก็ไปนิพพาน ทิ้งขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม แต่เรา ยังสงสัยอยู่บ้างในเรื่องขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ของทิพยเทวดา 6 ชั้นฟ้า จะเอามาใช้ในมนุษย์ ก็ไม่ได้ ขันธ์ 5 ของอรูปพรหม จะเอามาใช้กายมนุษย์ กายทิพย์ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้ ขันธ์ 5 ของอรูปพรหมจะเอาไปใช้ในกายรูปพรหม กายทิพย์ กายมนุษย์ แต่ขันธ์ใด ขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้ ขันธ์ของภพไหนต้องอยู่ประจำภพนั้น ข้ามภพใช้ไม่ได้ เพราะอะไร? รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี วิญญาณก็ดี ที่เป็นของมนุษย์จะเอาไปใช้ในภพทิพย์ไม่ได้ ทิพย์เป็นของละเอียด จะเอามาใช้ในภพมนุษย์ไม่ได้ ส่วนขันธ์ 5 ของรูปพรหม อรูปพรหม ก็แบบเดียวกัน สลับกันไม่ได้ เอาไปใช้ในนิพพานไม่ได้อีกเหมือนกัน นิพพานเขามีธรรมขันธ์ทั้ง 5 ซึ่งขันธ์ 5 ของเขามีเรียกว่า ธรรมขันธ์ ที่เรียกว่า ธรรมธาตุกายก็เรียกว่า ธรรมกาย ไม่เรียกว่ารูปกายเหมือนกายมนุษย์ทั้งหลาย ในนิพพานจะมีรูปธรรม นามธรรม อย่างกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่มี เป็นของละเอียด เหตุฉะนี้ แหละพวกเรารู้ว่าขันธ์ทั้ง 5 ของมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้เป็นของหนัก แล้วให้ปลีกกายให้ดี ให้ถอดกายออกเป็นชั้นๆ อย่างนี้แล้วก็ลองปล่อยขันธ์ 5 เหล่านั้นเสีย ปล่อยทั่วๆ ไม่ใช่อย่างเดียว เหมือนอย่างจำศีลภาวนา ปล่อยลูกไว้ทางบ้าน แต่ลูกก็มีขันธ์ 5 ปล่อยได้ชั่วขณะชั่วคราว ถึงแม้ปล่อย ใจก็คิดตะหงิดๆ อยู่เหมือนกัน มันยึดถืออยู่ ไม่ปล่อยจริงๆ ต้องถอดเป็นชั้นๆ แต่ถอดเช่นนั้นยังเสียดาย น้ำตาตกโศกเศร้าหาน้อยไม่ ไม่ต้องของตัวถอดดอก เพียงแต่ของคนอื่น ก็ร้องทุกข์กันออกลั่นไป ถ้าของตัวถอดจะเป็น อย่างไร น้ำตาตกข้างใน เรียกว่าร้องไห้ช้าง คือร้องหึ่มๆ ถึงแก่เฒ่าชราก็ไม่อยาก ถึงเป็น โรคเรื้อรังก็ไม่อยากถอด อยากให้อยู่อย่างนั้น เสียดาย เพราะเหตุฉะนั้น การถอดขันธ์ 5 มันต้องถอดแน่ เราต้องหัดถอด เขามีวิธีให้ถอด ถอดเป็นชั้นๆ ถอดกายทิพย์ออกจาก กายมนุษย์ ถอดกายรูปพรหมออกจากกายทิพย์ ถอดกายอรูปพรหมออกจากกายรูปพรหม ถอดกายธรรมออกจากกายอรูปพรหม ถอดให้คล่อง เวลาถึงคราว เราก็ถอดคล่องชำนิ ชำนาญเสียแล้ว พอรู้ว่าจะตาย ส่งขันธ์ 5 มนุษย์ออกไป ข้าก็เอาขันธ์ 5 ของทิพย์ ชำนิ ชำนาญอย่างนี้แล้ว ก็ไม่มีความเสียดาย ถ้าไม่เคยถอดก็น้ำตาตก ร้องไห้กันอย่างขนานใหญ่ เพราะฉะนั้นเมื่อรู้จักขันธ์ 5 เป็นภาระหนัก ให้อุตส่าห์วางเสีย แม้ถึงจะยึดก็แต่ทำเนา เป็นของ อาศัยชั่วคราว เป็นของมีโทษ ดังภาชนะขอยืมกันใช้ชั่วคราว ของสำหรับอยู่อาศัย ชั่วครั้ง ชั่วคราว ร่างกายก็อาศัยชั่วคราวหนึ่ง อย่าถือเป็นจริงๆ ถือเป็นของอาศัยชั่วครั้งชั่วคราว เท่านั้น ถึงมีทุกข์บ้างก็หน่อยหนึ่ง ขันธ์ทั้ง 5 นี้เป็นภาระ จะต้องดูแลเอาใจใส่พิทักษ์รักษา เมื่อนำขันธ์ 5 คือภาระนี้ไป ถ้าว่าขืนยึด ปล่อยวางไม่ได้ในขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ในโลก ถ้าปล่อยวางได้เป็นสุข ขันธ์ถ้าปล่อยวางแล้ว ขันธ์อื่นๆ จะเอามาเป็นภาระไม่ได้ ถ้าเอามา เป็นภาระก็เป็นเชื้อเป็นที่ตั้งของตัณหา จะถอนไม่ออก ถ้าไม่เอาเป็นภาระแน่ จะถอนตัณหา ทั้งราก ปล่อยให้ถึงที่สุด ปล่อยได้ไปอยู่กับอะไร ต้องไปอยู่กับกายธรรม เมื่ออยู่กับกายธรรม ใจเหมือนอยู่ในนิพพาน สบายแสนสบาย แสนสำราญ

    ดังที่ได้แสดงมาใน ภารสุตฺตกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภซึ่งแบบสำหรับให้ปล่อยวาง ขันธ์ 5 ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามอัตโนมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา วรญฺญํ สรณํ นตฺถิ สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐ เราท่านทั้งหลาย สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิด แก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอ สมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ สด จันทสโร
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    _TLt3Z7nggPbhAMJdTm8HLIOHekG_xBdwuSOeh6RIizmYUKd39A1C6b3aX7lNs-rEWiqJExN&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    ใครบอกว่าต้องฆ่าสัตว์เพราะมันเป็นอาชีพแล้วไม่บาป

    "หลวงจบ ฯ" พ่อตาจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกไทย กราบหลวงปู่สดวัดปากน้ำ เพื่อขอให้ดูพ่อที่ตายไปเกือบ 20 ปี พอรู้ความจริงสุดท้ายต้องเปลี่ยนศาสนา

    เมื่อ "หลวงจบกระบวนยุทธ" พ่อตาท่านจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกไทย ไปกราบหลวงปู่ ฯ เพื่อขอให้ไปตามหาพ่อที่ตายมาแล้วเกือบ 20 ปี ทั้งที่เมื่อก่อนไม่ค่อยเชื่อ เลยอยากลองวิชชาหลวงปู่ สด จนฺทสโร (หลวงพ่อวัดปากน้ำ)

    หลวงจบ ฯ เดิมชื่อแช่ม เป็นพ่อตาท่านจอมพลถนอม กิตติขจร ท่านไปกราบหลวงปู่วัดปากน้ำ ขอร้องให้หลวงปู่ช่วยไปตามพ่อให้ ซึ่งพ่อของหลวงจบ ฯ เป็นแขกฆ่าวัว ฆ่าควาย สมัยนั้นพ่อส่งหลวงจบ ฯ ไปเรียนนายร้อยจนจบพอได้ร้อยโทพ่อหลวงจบก็ตายไปราว ๆ 20 ปี หลวงจบก็ได้ข่าวว่าหลวงปู่วัดปากน้ำเก่งอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ก็คิดจะมาทดลองวิชาดู ว่าเก่งจริงหรือไม่จริง

    อยู่มาวันหนึ่งหลวงจบ ฯ ก็มากราบหลวงปู่ ถามหลวงปู่ว่า "เขาลือกันว่า หลวงพ่อเก่ง มีวิชชาดี ก็อยากมาขอความกรุณา เรื่องก็มีอยู่ว่า บิดาของผมเสียชีวิตมานานเกื่อบ 20 ปีแล้ว จะไปเหนือไปใต้ผมก็ไม่รู้เลย แล้วก็ไม่เคยมาเข้าฝันหรือมาให้เห็นเลย อยากจะให้หลวงพ่อดูให้หน่อยว่าไปอยู่ที่ไหนจะไปลำบากลำบนหรือเปล่า ถ้าไปลำบากผมจะมาขอบารมีหลวงพ่อให้ช่วย"

    หลวงปู่ก็เลยเรียกแม่ชีในโรงงานทำวิชชามา แล้วก็สั่งว่า "ไปดูให้เขาที ขึ้นไปดูข้างบนก่อนนะ"

    แม่ชีก็หลับไปพักใหญ่แล้วก็บอกว่า "ไม่เห็นมีเลย" งั้นลงไปดูข้างล่างซิ หลวงปู่บอก แม่ชีก็หลับตาไปอีกพัก แล้วก็บอกว่า "ไม่มี" หลวงปู่บอกว่า ไม่มีได้ไง ข้างบนก็ไม่มี ข้างล่างก็ไม่มี มันต้องมีสิ ลงไปดูให้ลึกกว่านี้อีก จี้ให้มันลึกลงไปอีก แม่ชีก็หลับตาไปอีกพักใหญ่แล้วก็บอกว่า "เจอแล้ว" หลวงปู่ก็ถามว่า "ไปอยู่ลึกมากไหม" แม่ชีก็ตอบว่า "ลึกมากค่ะ" แล้วถามเขาหรือเปล่า ว่าไปทำอะไรมา ถึงไปอยู่ลึกขนาดนั้น หลวงปู่ถามแม่ชี แม่ชีบอกว่า "เขาบอกว่าเชือดวัว เชือดควายขายเป็นประจำ วันละ 3 ถึง 4 ตัว" แล้วถามเขาหรือเปล่า ว่าชื่ออะไร หลวงปู่ถามแม่ชี แม่ชีก็ตอบว่า "ถามค่ะ เขาบอกว่า ช่ื่อโต๊ะลู" พอบอกชื่อเท่านั้น หลวงจบ ฯ ก็ร้องไห้ คลานเข้าไปกราบหลังเท้าหลวงปู่เลย

    ตั้งแต่นั้นมาหลวงจบ ฯ ก็นับถือหลวงปู่วัดปากน้ำเรื่อยมา เลิกนับถือแขก หันมานับถือพุทธศาสนา หลวงจบ ฯ มีน้องชายอยู่คนหนึ่ง ชื่ออาหมัด มีอาชีพเชือดวัวขายเหมือนกัน หลวงจบ ฯก็เรียกอาหมัดมาคุยว่าให้เลิกเสีย บอกว่ามันบาปหนัก แล้วยื่นคำขาดว่า "ถ้ากูบอกมึงไม่เชื่อ มึงกับกู ก็เลิกกัน ไม่ต้องมาเรียกพี่เรียกน้องกันอีก" อาหมัดก็เลิกเชือดวัวขายจริง ๆ ตามคำสอนของหลวงจบ ฯ เพราะกลัวบาป

    อ้างอิง : จากหนังสือ ลุงหลอม มีแก้วน้อย อุปัฏฐาก หลวงปู่สด จนฺทสโร
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    12388078_440750016122822_409981350_n-jpg-jpg.jpg
    ถามว่า ในปัจจุบันนี้ ถ้าว่ากันตามหลักการปฏิบัติแบบมโนมยิทธิ มีสายปฏิบัติไหนที่ใกล้เคียงที่สุดต้องบอกว่าแบบธรรมกายใกล้เคียงที่สุด

    ธรรมกายนั้นจริงๆแล้วเป็นต้นแบบของมโนมยิทธิ เนื่องจากว่า ธรรมกายนั้นมีพื้นฐานมาจากกสิณ โดยเฉพาะอาโลกกสิณ คือการกำหนดลูกแก้ว ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นการใช้ผลของกสิณ คิดให้ดี ๆ นะ อย่างหนึ่งเริ่มตั้งแต่สร้างเหตุ ส่วนอีกอย่างหนึ่งใช้ผลเลย

    ถ้าจะเปรียบไปแล้ว ก็เหมือนกับเราสร้างบ้าน ธรรมกายจะเริ่มตั้งแต่ถมพื้นที่ ออกแบบ วางแปลน เทฐานรากขึ้นมา จนกระทั่งสร้างเป็นบ้านเสร็จ เรียบร้อย ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นลูกคนรวย ควักเงินในกระเป๋าไปซื้อบ้านสำเร็จรูป ก็มีที่อยู่เหมือนกันใช่ไหม ? แต่ถ้าเอาพื้นฐานแล้วจะสู้ธรรมกายไม่ได้ เพราะว่าธรรมกายเริ่มจากนับหนึ่งมาเลย จะมีความมั่นใจกว่ามาก เพราะว่าเริ่มต้นมาจากพื้นฐาน

    แต่ถ้าหากเราซักซ้อมจนคล่องตัวท้ายสุดก็จะเหมือนกัน เพราะว่ามาจากหลักเดียวกัน คือพื้นฐานของกสิณ เพียงแต่ว่ามโนมยิทธินี้ในอดีตเราทำได้ ปัจจุบันไม่ได้ทำ ก็แค่มาย้อนทวนของเก่า มีเงินเต็มกระเป๋าแต่เปิดใช้ไม่เป็น ครูจะมีหน้าที่บอกว่า ต้องเปิดกระเป๋าอย่างไรเท่านั้น แต่ถ้าธรรมกายนี่เราต้องทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ หาเงินมาเองเลย เพราะฉะนั้น.....พื้นฐานจึงแน่นกว่ามาก....

    ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือ....พระจูฬปันถกเถระ....พระบาลีบอกว่า มโนมยิทธิของพระจูฬปันถกเถระนี้ เป็นเอตทัคคะ คือเลิศที่สุดในหมู่สาวกทั้งปวงของพระพุทธเจ้า สามารถถอดกายในออกมาอยู่ตรงหน้าของตัวเองได้เหมือนอย่างกับถอดไส้หญ้าปล้องหรือว่าชักดาบออกจากฝัก กลายเป็นอีกองค์หนึ่งอยู่ข้างหน้าเลย และท่านสามารถกำหนดได้มากถึง ๑,๐๐๐ องค์ แล้วทั้ง ๑,๐๐๐ องค์นั้นสามารถทำงานคนละอย่างกันด้วย

    จากหนังสือกระโถนข้างธรรมาสน์ฉบับพิเศษ หน้า ๖๒/๖๓ พระอาจารย์เล็ก วัดท่าขนุน กาญจนบุรี

    https://www.facebook.com/photo.php?...042.1073741826.100005634826993&type=3&theater
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...