ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย na_krub, 12 ตุลาคม 2017.

  1. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    9E3D5C85-8851-4604-AB40-BC6F57AE6659.jpeg

    จิตสงบ..จึงเรียกว่าสมาธิ บุคคลที่มีสมาธินี่แลจะประกอบด้วยทาน ศีล ภาวนา ถ้าไม่เกิดจากทาน ศีล ภาวนาจิตจะสงบไม่ได้ อ้าว..ถ้าโยมไม่มีทานมาอบรมบ่มจิต รู้จักการสละ รู้จักการให้เมตตา อโหสิกรรม..มันจะสงบได้ยาก จิตมันก็จะฟุ้งอยู่อย่างนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นสมาธิจะเกิดได้มันเกิดจากทาน ศีล ภาวนา..มันจึงสงบได้ มันจึงเรียกว่าครบองค์ประชุม ดังนั้นแล้วขอให้โยมกำหนดรู้ กำหนดรู้อยู่ในกาย เพราะว่ากายเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ กายเป็นเหตุแห่งทุกข์ กายเป็นที่ดับแห่งทุกข์ นั้นโยมไม่ต้องไปตั้งจิตไว้ที่ไหนเลย..ตั้งจิตไว้ในกายนี้

    เพราะถ้าเราไม่มีลมหายใจแล้ว คือไปกำหนดรู้ไม่ได้แล้วในลมหายใจ เพราะสมาธิมันแนบไปในลมหายใจแล้วในองค์ภาวนา องค์ภาวนานี้แลจะนำทางโยม เพราะว่าพุทโธที่โยมภาวนาไปนั้นจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    พระพุทธองค์ท่านรู้อะไร..ท่านรู้อริยสัจ แล้วก่อนที่พระพุทธองค์ท่านจะรู้อริยสัจ..ท่านเห็นกฎความเป็นจริงคืออะไร ก็คือกฎแห่งไตรลักษณ์ เห็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา นี่เค้าเรียกว่าไตรลักษณญาณ ญาณคืออะไร..คือจิตที่ไปหยั่งรู้เข้าไปเห็นตามความเป็นจริง คือ ๓ ประการว่าทุกข์มันอยู่ที่ใด กายนี้เป็นทุกข์อย่างยิ่ง อนิจจังคือความไม่เที่ยง อะไรคือความไม่เที่ยงบ้าง..นี่คือหมวดแห่งวิปัสสนาญาณ

    ความไม่เที่ยงมีอะไรบ้าง เกศาหรือว่าผมที่มันเคยดำ เคยแข็งแรง เคยดก ตอนนี้มันเริ่มขาว เริ่มร่วง..อย่างนี้เรียกว่าไม่เที่ยง ใช่มั้ยจ๊ะ นี่เรียกว่าวิปัสสนาญาณ ก่อนที่โยมจะไปเห็นอริยสัจ ๔ โยมต้องเห็นไตรลักษณาเสียก่อน โยมต้องเห็นความเป็นจริงนี้ เห็นทุกข์ เห็นความไม่เที่ยง แห่งอนัตตา พอมันร่วงไปหมดแล้วมันสลายไปแล้ว แม้กายสังขารก็ดี พอเราไม่มีลมหายใจเอาไปเผาแล้ว..แล้วเราจะเหลืออะไร เหลือผงกระดูกเถ้าถ่าน แม้ผงกระดูกเถ้าถ่านนั้นไม่นานมันก็เป็นผงธุลี ผงธุลีนั้นไม่นานก็จะเป็นอากาศธาตุไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    โยมรู้หรือเปล่าจ๊ะ..ว่าดินที่โยมเหยียบย่ำกันอยู่ มันคือ..อะไรบ้าง มันเกิดจากซากศพ ซากกระดูก เลือดเนื้อที่มนุษย์ได้เกิดตายทับถมทับถมจนเป็นปฐพีขึ้นมา แสดงว่ามนุษย์นั้นเกิดตายไม่รู้เท่าไหร่ อยู่อย่างนี้ จึงหนาแน่นเป็นแผ่นดินและแผ่นน้ำ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นแสดงว่าไม่ว่าโยมจะนั่ง จะเดิน จะนอนที่ใด ล้วนแล้วหลีกเว้นจากวิญญาณไม่มีเลย วิญญาณต่างหากที่คอยต้องหลบโยม เพราะเค้าเห็นเรา แต่เราไม่สามารถเห็นเค้าได้ ฉันจึงบอกว่าไม่ว่าโยมจะนั่งภาวนาทำกุศลบารมีที่ใด ขอให้โยมนั้นอธิษฐานนั่งก็ดี ยืนก็ดี เดินก็ดี เพื่อจะได้เป็นพุทธมณฑลเป็นรัตนะที่โยมจะเดิน เพื่อไม่ทำให้เกิดการล่วงเกินต่อกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะบางที่สิ่งที่โยมไปนั่ง ไปเดิน ไปสร้างบุญกุศลนั้น อาจจะมีเจ้าที่เจ้าทางเค้าอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นจึงบอกให้โยมนั้นมีการอธิษฐานบารมีให้กับเทพยดาเจ้า เจ้าที่เจ้าทาง ให้เค้ามาโมทนา แสดงว่าทุกที่ๆเราจะกระทำนั้นเป็นที่เราได้อาศัยได้ใช้ชั่วคราว โยมบอกว่าเห็นที่มันว่างไม่มีเจ้าของไปนั่ง โยมอย่าลืมว่า แม้ว่าไม่มีเจ้าของไปนั่ง แต่ที่ฉันบอก..ทุกที่ล้วนมีวิญญาณ

    บางคนอยากจะนั่งก็นั่งเลย..ก็นั่งทับเจ้าที่ แล้วไม่กระดิกอีกเลย..หลับไปเลย นั้นโยมต้องอธิษฐานบุญให้เจ้าที่เจ้าทาง ดวงจิตวิญญาณ ณ ที่ตรงนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่ก็สำคัญ แล้วถ้าโยมแผ่เมตตาให้ที่ตรงนั้นเทพเทวดาตรงนั้น โยมอาจจะได้ธรรม ได้สมบัติแห่งธรรม ได้วิชา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อโยมให้เค้าแล้ว..โยมก็จะเป็นผู้รับ แต่ถ้าโยมไม่ให้อะไรเลย มันอาจจะโดนเค้ากลั่นแกล้งได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นอย่าคิดว่าตัวเราเองมีดี คนถ้าคิดว่าตัวเองมีดีเมื่อไหร่ โยมจะต้องถูกลองของเมื่อนั้น นิมิตทั้งหลายที่โยมเห็นล้วนเป็นของไม่จริง เป็นของมายา เป็นของที่มันทำให้โยมนั้นไปได้ช้านั่นเอง หรือเรียกว่าความหลงในนิมิตก็ดี

    การที่จะเห็นความเป็นจริงคืออะไร เห็นความเป็นจริงเห็นภัยในวัฏฏะ..นี้เรียกเห็นความเป็นจริง แม้โยมจะไม่เห็นจริงในกายสังขารว่าตับไตไส้พุงมันเป็นอย่างไร แต่ถามว่ามันมีอยู่จริงหรือไม่สิ่งที่โยมไปเพ่งอยู่ไปรู้อยู่ มีจริงหรือเปล่าจ๊ะ ถ้ามันมีจริงแสดงว่าโยมเห็นจริง แม้โยมไม่ต้องผ่ามันออกมาก็ดี

    อาหารใหม่อาหารเก่าที่โยมเสวยไปแล้ว บริโภคไปแล้วนั้น เมื่อมันถ่ายออกมาเป็นอุจจาระ เป็นสิ่งปฏิกูลของเปื่อยเน่า มันมีจริงอย่างนั้นหรือไม่ แสดงว่ามันก็มีจริง แสดงว่าเราก็เห็นจริง ถามว่าโยมเห็นบ่อยแค่ไหน เราไม่ค่อยได้เห็นบ่อย เพราะเราไม่ค่อยได้พิจารณา ใช่มั้ยจ๊ะ

    ตราบใดเมื่อโยมขาดการพิจารณาอย่างนี้..ความหลงก็จะมีมาก ความเพลิดเพลินพอใจในกายก็จะมีมาก การหลงรูปคนอื่นมันก็จะบังเกิดอยู่ร่ำไป ถ้าโยมพิจารณาตระหนักอยู่อย่างนี้ว่าร่างกายสังขารนี้มีแต่ของโสโครก มีแต่ของเน่าเหม็นอย่างนี้ ไม่ว่ากามคุณอันใดมันก็จะลดลงมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  2. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    20CD3004-39D2-4745-B03A-9F13E15B6A8C.jpeg

    ลูกศิษย์ : ทำบุญให้ผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างไรให้สัมฤทธิ์ผลครับ

    หลวงปู่ : โยมต้องไปถามคนที่ล่วงลับไปแล้ว..ว่าได้หรือไม่ การที่บุคคลที่เขาล่วงลับไปแล้วนั้นจะสัมฤทธิ์ผลได้นั้น มันก็ต้องดู"บุญ"ที่เราให้ไปเสียก่อนว่าบุญเรามี"กำลัง"แค่ไหน เข้าใจมั้ยจ๊ะ บุญนั้นมันถึงจะให้ผลตามกำลังที่โยมกระทำ

    แม้ว่าโยมตักบาตรให้อาหารเป็นกำลังต่อพระภิกษุสงฆ์ กำลังแห่งศีลนั้นคุณงามความดีนั้นมันย่อมไปถึงได้ คือให้กำลังต่อจิตวิญญาณที่เขาล่วงลับไปแล้ว คือความอิ่มในบุญ แต่"ความสว่าง"ของจิตวิญญาณก็ต้องอาศัยความสว่างของรัศมีของพระวรกายขององค์พระปฏิมากร

    ดังนั้นเราต้องดูว่าเราจะสร้างบุญกุศลอุทิศไปให้ใครนั้น ก็ต้องดูที่กำลังบุญของเราเองเมื่อจิตเราระลึกที่จะให้หรืออุทิศนั้น..บุญก็ย่อมถึงได้ แต่มันอยู่ที่ว่าวิญญาณนั้นเขาจะรับได้มากน้อยแค่ไหน เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วที่โยมถามน่ะอยากรู้อย่างไร

    ลูกศิษย์ : ก็ทำบุญให้แม่
    หลวงปู่ : แล้วโยมทำอะไรให้ท่านเล่าจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : ไปวัดน่ะครับเอาปิ่นโตไปวัดแล้วก็เวลาบริจาคเลือดก็คิดถึงท่าน
    หลวงปู่ : แล้วโยมน่ะรู้สึกมั้ยจ๊ะ รู้สึกในบุญมั้ยจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : รู้สึกที่ได้ทำให้ครับ
    หลวงปู่ : รู้สึกในบุญน่ะ"อิ่มในบุญ"มั้ยจ๊ะ เชื่อในบุญนั้นมั้ยจ๊ะ ถึงในบุญนั้นมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมรู้สึกโยมรับได้ในความรู้สึกในบุญกุศลนั้น บิดามารดาหรือคนใดคนหนึ่งที่โยมอุทิศให้ก็ถึง ถ้าโยมไม่รู้สึกในบุญกุศลนั้นก็ไม่มี่ใครรับได้เช่นเดียวกัน

    เพราะบุญจะผ่านไปได้ต้องผ่าน"สะพานบุญ"ไปเสียก่อน ถ้าไม่ได้ผ่านใจผ่านจิตโยมน่ะ..มันก็ไปถึงใครไม่ได้เลย นั้นโยมต้องมีความเชื่อความศรัทธาในบุญกุศลนั้นก่อน ทำเพื่อต้องการให้ไปถึงใครคนใดคนหนึ่งที่เราปรารถนาให้ท่านมันก็ถึงจ้ะ ไม่ว่าโยมจะทำบุญอะไรก็ถึง ให้อาหารสัตว์เป็นทานก็ถึง เพราะโยมทำด้วย"ใจ"

    สิ่งการใดก็ตามถ้าโยมไม่ได้ทำด้วยใจแล้ว เมื่อใจเป็น"ประธาน"แห่งกรรมทั้งหลายทั้งปวง โยมอธิษฐานอะไรก็ไม่ถึง แต่ถ้าใจโยมเป็นประธานเป็นกุศล ปรารถนาให้บิดามารดาคือการตอบแทนผู้มีคุณนั้นแล..คือสำนึกได้ เพียงโยมอธิษฐานบุญก็บังเกิด คือการสำเร็จด้วยบุญในการอธิษฐาน แม้โยมยังไม่ทำอะไรก็ยังสำเร็จเป็นบุญเลยนี่จ๊ะ คือบุญที่โยมรักษาศีลให้ทานภาวนา

    คราใดที่โยมระลึกได้ว่าโยมเคยให้ทานเคยรักษาศีลเคยภาวนาจิตโยมสงบร่มเย็นเป็นสุข..โยมระลึกถึงใคร อยากให้ได้บุญกุศลในขณะนี้..ก็จะถึงได้ทั้งหมดเช่นเดียวกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    โยมต้องเชื่อเสียก่อนว่าบุญมีจริงบาปมีจริง อำนาจของบุญและบาปนี้แลจะส่งผลได้ เพราะว่ามี"สะพานบุญ"ที่ดี ถ้าสะพานบุญไม่ดีอาจจะหักกลางคันได้ บุญนั้นอาจจะรั่วอาจจะหล่นได้ ดังนั้นในขณะนั้นที่โยมจะอุทิศบุญโยมต้องตั้งจิตใจให้แน่วแน่ไม่ลังเลสงสัยในบุญนั้น อย่าให้จิตในกุศลมันมีมลทิน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่อย่างนั้นแล้วบุญจะถูกตรวจสอบเสียก่อน..ไม่ผ่านด่าน เมื่อไม่ผ่านด่านถามว่าบุญนั้นถึงมั้ย..ยังไม่ถึง เพราะต้องรอสรุปอีก อ้าว..ก่อนโยมจะไปเรือนจำเขาต้องผ่านด่านมั้ยจ๊ะ จะไปเยี่ยมใครน่ะ..แบบเดียวกันแหล่ะจ้ะ..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  3. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    700CE210-831F-4F24-9166-A36C8093D516.jpeg

    "การขอพร"ต่อเทพพรหมทั้งหลายก็ดี แต่การขอพรที่วิเศษสุดน่ะจ้ะ มันมีเคล็ดลับอยู่ว่า"ขอพรจากตัวเอง" ถ้ามนุษย์ผู้ใดจะให้พรตัวเองได้..มนุษย์ผู้นั้นต้องมีใจที่ศรัทธาเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองจะปรารถนา มีองค์พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ เมื่อเข้าถึงความสงบเข้าถึงความดีแล้วไซร้..ให้อธิษฐานขอพรได้อันนี้จะวิเศษ..ขลังที่สุดจ้ะ

    ใครผู้ใดมนุษย์ผู้ใดสวดมนต์สาธยายมนต์แล้วจบแล้วกำหนดจิตภาวนา ถ้าไม่สงบก็เข้าสมาธิ..สงบอยู่อย่างนั้นให้เกิดปิติสุข แล้วคลายจากปิติสุขนั้น..แล้วก็แผ่เมตตาอธิษฐานขอพร นี่แหล่ะจ้ะเรียกว่าขอพรต่อตนเอง..ขลังที่สุดเลยจ้ะ เรียกว่าได้ทั้งบารมีได้ทั้งการได้สร้างทานได้ทั้งเป็นบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ และเป็นการบูชาตัวเอง เพราะเชื่อมั่นในสิ่งที่เราเชื่อแสดงว่าศรัทธาตัวเองแล้ว

    สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่ไปบูชามันเป็นแค่อุบาย ไม่มีใครมาประทานให้ได้ถ้าเวลาไม่ถึง การทำแบบนี้เรียกว่าเร่งต้นทุนตัวเองได้ นั่นหมายถึงว่ามนุษย์ต้องมีต้นทุนเสียก่อน เมื่อใครมีต้นทุนแล้วเทพพรหมที่อยู่กับตัวเรา "โมทนา"ทีเดียวก็ได้แล้ว

    แต่ถ้าโยมไม่ได้สร้างต้นทุนเลย ให้ไหว้ขอพรตั้งเป็นร้อยครั้งก็ไม่เกิดประโยชน์ สุดท้ายก็ไม่พ้นความงมงาย..จำไว้นะ

    ตัวเองต้องมีมาก่อนคือ"ใจ"ที่เป็นประธาน เป็นมนุษย์มีสังขารมีวิญญาณ มีบุญเก่าที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว มาเจอองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า..คำสอน มีพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่แล้วไซร้ สดับรับฟังธรรมข้อใดมาพิจารณาให้เป็นสรณะเข้าสู่จิตสู่ใจ..ให้เกิดความตั้งมั่นเกิดสมาธิ แล้วแผ่ภาวนาออกไปแล้วอธิษฐานจิต..นี่แหละจ้ะคือ"ต้นทุน"

    เท่ากับว่าเป็นการเบิกบุญทางอ้อม ว่าเป็นการสร้างกุศลในจิตในใจโดยตรง เป็นการลดทิฐิมานะทางตรง ที่เหลือโยมจะไปขอพรที่ใดเรียกว่าเป็นการแค่เสริม แต่ตัวเองต้องให้ตัวเองก่อน ถ้าไม่มีต้นทุนไม่มีใครเสริมให้ได้..จำไว้

    ถ้าทำผิดขั้นตอนก็เรียกว่าขุดไปก็ไม่เจอสิ่งที่หา..จำไว้นะ สุดท้ายก็ไม่ต่างอะไรกับความงมงายขาดปัญญา ต้องมีต้นทุนเสียก่อน

    อย่างวันนี้ที่โยมอาราธนาศีลอาราธนาธรรมสวดมนต์พุทธมนต์ทั้งหลาย เรียกว่าเป็นการเบิกบุญสร้างต้นทุนแล้ว ที่เหลือโยมจะบวงสรวงขอพรเทพอันนี้ก็สุดแล้วแต่โยม ถือว่าเป็นการดีเป็นการอ่อนน้อมถ่อมตน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการขอพรจากตัวเอง

    การจะขอพรจากตัวเองให้ได้ก่อนนั้น ต้องน้อมพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์มาสู่จิตวิญญาณก่อน ให้มีประธานสามอย่างนี้ก็ครบองค์พระรัตนตรัยแล้ว คราวนี้ดวงจิตก็มีประธานแล้วครบองค์ ไม่มีอะไรเหนือไปกว่านี้แล้ว

    เมื่อใจมั่นศรัทธา..ทีนี้ใจก็เป็นฤทธิ์แล้วเป็นมโนยิทธิ..อธิษฐานสิ่งใดย่อมเกิดขึ้นได้ เรียกว่า"แก้วสารพัดนึก"คือดวงจิตนั่นเอง เมื่อจิตสว่างไสวแล้วไซร้ให้แผ่บุญออกไป..แล้วอธิษฐานบุญตอนนั้น นี่คือเรียกว่ามีสรณะมีแก่นมีสาร เมื่อสารเราดีเราส่งไปเขาอ่านรู้เรื่อง ไม่ใช่ขอไปแล้วไม่เห็นได้ซักที ใช่มั้ยจ๊ะ ก็สารมันไม่ไม่รู้เรื่องมันไม่มีแก่นนี่จ๊ะ ใช่มั้ยจ๊ะ..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  4. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    6BC9CA05-B8B2-4DFA-911B-07151483C42A.jpeg

    ความดีก็มีหลายระดับ ให้ทานกับสัตว์มากเท่าไหร่ก็ตาม แม้จะนับครั้งไม่ถ้วน แต่ให้ทานกับคนเพียงแค่ครั้งเดียวนับครั้งได้..มีอานิสงส์มากกว่า เข้าใจมั้ยจ๊ะ ให้กับคนธรรมดานับครั้งไม่ถ้วนแต่ให้กับคนผู้มีศีลแค่ครั้งเดียวก็นับครั้งได้..มีอานิสงส์มากกว่า เช่นนี้เค้าเรียกว่าความดีมีความประณีตแบบนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นถ้าโยมมาเจริญบุญเจริญกรรมฐานอย่างนี้ อันว่ากรรมฐานเป็นวิถีกรรม เป็นวิถีทางที่ตัดกรรมโดยตรง ฉันถึงบอกว่าถ้าโยมเชื่อมั่นในวิถีทางในทางเดินแห่งมรรค ในทาน ศีล ภาวนานี้..เป็นยาวิเศษขนานเอก หากโยมจะเป็นโรคอะไร ขอให้โยมทำใจไว้อยู่ก่อนว่าโยมมีความตายเป็นธรรมดา มีความพลัดพราก มีความเจ็บเป็นธรรมดา ถ้าโยมระลึกได้อย่างนี้นั่นแล..เข้าไปสู่ถึงพระกรรมฐานแล้ว

    เมื่อโยมเข้าถึงหัวใจของกรรมฐานได้ ในกายโยมจะมีตัวตัวหนึ่ง..เป็นจิตแห่งธรรมที่เค้าจะรักษาโรคนี้ เรียกว่า"โอสถธรรม" เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าใครเข้าถึงโอสถธรรมได้ เค้าจะสามารถรักษาในตัวของมันเองได้ เหมือนตัวเลียงผามันก็รักษาแผลของมันเองได้ เพราะอะไร..ฤทธิ์ของน้ำลาย เฉกเช่นเดียวอย่างนั้น

    เมื่อโยมเชื่อมั่นศรัทธาในพระรัตนตรัยก็ขอให้อธิษฐานบุญกุศลของโยมนั้นแล เข้าใจมั้ยจ๊ะ ที่ฉันพูดนี้บอกนี้เตือนให้สติโยม เช้ามาขอให้เราเจริญมนต์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ จะตื่นสายตื่นไม่ไหวอะไรก็ตาม ก่อน ๖ โมงเช้าก็ดี ก่อน ๗ โมงเช้าก็ดี อย่าให้เกินสายไปกว่านั้นก็ดี หรือในยามราตรีก็ดี ชำระล้างจิตล้างกายให้สะอาดแล้ว ให้มาเจริญมนต์เจริญภาวนา

    ไอ้โรคภัยไข้เจ็บนั้นเป็นธรรมดา เมื่อเจริญมนต์เจริญภาวนาเสร็จแล้วให้น้อมจิตกายสังขารเข้ามาในสมาธิ มาดูกายดูสังขาร หากโยมระลึกเป็นวิตกในโรคนั้น ให้โยมวิตกแล้วเพ่งเอาอาการนั้นแลทำให้เรานั้นจิตเรานั้นให้เกิดความสลดสังเวชออกไปในกายสังขารนี้..ว่ากายนี้มีทุกข์อย่างไร เข้าใจมั้ยจ๊ะ การเกิดเป็นทุกข์อย่างไร

    เมื่อการเกิดขึ้นมาก็ต้องมีโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเป็นอย่างนี้ ให้พิจารณาอย่างนี้จนจิตเรานั้นตั้งมั่น พอวิตกวิจารแล้วมันดับลงไป..เหลือแต่ปิติและสุขนั้นแล โยมจงเพ่งและวางเฉยอย่างนั้น ก็จะเป็นอุเบกขารมณ์ เอกัคคตาจึงบังเกิดขึ้นนั้นแล..

    ให้เราพิจารณาละกายสังขารลงเห็นโทษเห็นภัย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ตัดใจให้ได้ในสิ่งที่มันพะวักพะวงอย่างนี้ แล้วอุทิศกุศล อธิษฐานบุญกุศลที่เราเจริญทาน ศีล ภาวนานี้ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในขณะนี้ จงเป็นประโยชน์สำเร็จประโยชน์ต่อดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายในโรคภัยไข้เจ็บ เชื้อโรคเชื้อภัยทั้งหลายจงมลายหายไป อย่าได้มีเบียดเบียน อย่าได้พยาบาทจองเวรจองกรรมกันเลย ในกรรมอันใดที่ข้าพเจ้าได้เคยกระทำในอกุศลกรรมทั้งหลายทั้งปวงในอดีต..จงยุติกรรมด้วยอำนาจบุญกุศลนี้ด้วยเถิด..อธิษฐานไป

    ขอครูบาอาจารย์ทั้งหลายทั้งปวงจงมาประสิทธิ์ประสาทวิชาจงมารักษา ไม่ว่าจะดื่มกินอะไรขอให้เป็นยาเป็นโอสถทิพย์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ให้ไปต้านไปทานในโรคภัยทั้งหลายนั้น ให้กายสังขารของข้าพเจ้าจงมีประโยชน์ยังประโยชน์เพื่อสืบศาสนา เพื่อประพฤติปฏิบัติสร้างบารมีต่อไป ให้อธิษฐานกายนี้ให้กับพระโพธิสัตว์เจ้าท่านซะ พระโพธิสัตว์เจ้าท่านจะได้คอยดูแลรักษาโยม..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  5. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    C9333A5D-893A-44C3-A1CA-EB6E0FBC7204.jpeg

    ที่โยมเดินกัน..เดินมีสติมั้ยจ๊ะ แล้วหาอะไรเจอกันบ้างจ๊ะ แล้วโยมรับกรรมฐานไปแล้ว ทำไมไม่สำรวมกาย วาจาให้มันดีล่ะจ๊ะ ในลานกรรมฐาน..ยิ่งโยมสงบมากเท่าไหร่ ศีลโยมก็บังเกิดมากเท่านั้น อันว่าสำรวมกาย วาจา ใจก็คือศีลให้เกิดขึ้น จะได้เข้าถึงพระรัตนตรัย แล้วที่โยมเดินกันเดินได้อะไรบ้างจ๊ะ ถ้าโยมได้สติได้สมาธิโยมต้องมีกำลังจิต ความหดหู่เศร้าหมองใจย่อมจะไม่บังเกิดกับโยม หรือกับบุคคลใดที่ปฏิบัติได้แบบนั้น

    เดินเพื่อให้มันขับไล่สิ่งอัปมงคลหรือนิวรณ์ที่มันมาปกคลุมดวงจิต เดินให้พิจารณา..เมื่อเท้าเราสัมผัสพื้นก็จะเกิดความรู้สึก ไอ้ความรู้สึกนั่นแหล่ะคือผัสสะ จะทำให้เกิดสติเกิดตัวรู้ไปกระทบให้รู้รูปนาม แล้วถ้าโยมไม่เอารูปเอานามมาประพฤติปฏิบัติธรรม แล้วโยมจะเอาอะไรปฏิบัติจ๊ะ

    นั้นการที่เดินจงกรมก็ดี เราต้องเดินเอาเท้าให้สัมผัสพื้น แม้พื้นนั้นจะเป็นพื้นเรียบก็ตาม พื้นไม่เรียบก็ตาม พื้นไม่สม่ำเสมอก็ตาม ก็ขอให้สัมผัสพื้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าเราสัมผัสพื้นแล้วเรายังไม่ชิน เราก็อย่าไปเดินเต็มเท้า จนเรารู้สึกว่ามันชินแล้วก็กำหนดน้ำหนักลงไป ยก ย่าง เหยีบบ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ รู้สึกหนอ สัมผัสหนอ เมื่อเราสัมผัสได้นี่เค้าเรียกว่าเป็นการกำหนดรู้ เรียกว่ารู้พุทธะอย่างหนี่ง

    เมื่อเรากำหนดรู้ลงไปได้แล้ว เมื่อเราถึงรู้ ทีนี้เราก็กำหนดเดิน สัมผัสโดยไม่ต้องกำหนด แต่ในขณะที่จิตเรานั้นยังไม่คุ้นกับการเดิน เราก็ต้องกำหนดก่อนเหมือนเป็นการสอน เรียกว่าการเดินนี้กำหนดนี้ เรียกว่าเป็นวิตกวิจารอย่างหนึ่ง คือปฐมฌาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อเราเพ่งอยู่กับอาการที่เราดิน ย่างเข้า สัมผัสรู้..เรียกว่าวิตก และเมื่อเราวิจารอารมณ์ได้ ละอารมณ์ได้ แล้วเราคุ้นเคยกับการเดิน สัมผัสอารมณ์นั้นได้แล้ว วิตกวิจารมันก็จะหายไป กลายเป็นว่าสุขหรือปิติก็บังเกิดขึ้น เพราะเราคุ้นเคยกับมัน

    อารมณ์ที่เราคุ้นเคยนี้แล เมื่อเราทำได้มันจะทำให้เรามีความกระหยิ่ม มีความเชื่อ แล้วเราก็อยากจะทำอะไรลงไป และทำอยู่อย่างนั้น จึงเรียกว่าจิตจดจ่อ เมื่อจิตจดจ่อนี้แลเรียกว่าธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมมันรวมตัวกัน ทีนี้เดินยังไงมันก็ไม่มีทางอ่อนล้า เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าโยมไม่มีสติ เดินไปอะไรทิ่มหน่อย ทีนี้โอ้ย..กลัวแล้ว แขยง ขยาดแล้ว ไม่เอาแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ไม่ใช่คิดจะเดินก็เดิน คิดอยากจะนั่งก็นั่ง โยมทำอะไรตามใจเหตุตามใจอารมณ์แบบนี้ คำว่าตามอารมณ์แต่ไม่ได้รู้อารมณ์ คนที่ตามอารมณ์นี้เรียกว่าไม่ได้มีสติ แต่คนที่รู้อารมณ์..เรียกว่าเจริญสติ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี้การประพฤติปฏิบัติพรหมจรรย์จึงเป็นแบบนี้ ตามอารมณ์กับรู้อารมณ์ เพราะตัวรู้ก็คือตัวสติ ตัวระลึกได้ แต่ตามอารมณ์คือตัวกิเลส ตัวสัญญาเก่า เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นขอให้โยมนั้นพิจารณาธรรมนี้ให้มากๆ ในขณะที่โยมเดิน นั่ง ยืน นอน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ไม่มีใครมาสอนโยม จับเท้าโยมเดินหรือหัดได้ แต่สัญชาตญาณของมนุษย์ผู้มีปัญญาแห่งธรรม มีจิตพุทธะอยู่ เมื่อลงมือปฏิบัติ ก่อนจะรู้ถูกย่อมรู้ผิดก่อน แต่ขอให้รู้ ไม่ต้องกลัวผิดหรือถูก..

    อันว่าเมื่อเราประพฤติปฏิบัติได้ ตัวรู้และตัวปัญญาอันไหนถูกอันไหนผิดน่ะ มันจะบอกของมันเอง เมื่อเราทำถูกใจของเรา แต่ไม่ถูกใจคนอื่น แต่ขอให้เราเข้าใจนั้นแล..เรียกว่าถูก แต่เมื่อเราทำได้..ถูกตามแบบทุกอย่าง แต่เราไม่เข้าใจ..อันนั้นเรียกว่าผิด เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะจริตของมนุษย์ไม่เหมือนกัน กรรมฐานก็มีตั้ง ๔๐ กอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นขอให้เข้าใจตามนี้ ว่าจะเดิน ยืน นั่ง นอนนั้นต้องทำอย่างไร ถ้ารู้อารมณ์เรียกว่าเจริญสติ และถ้าไม่รู้อารมณ์เรียกว่าโยมทำตามความคุ้นเคยเคยชิน ตามอารมณ์นี้เรียกว่ากิเลส คำว่ากิเลสแล้ว..แล้วโยมจะละมันได้มั้ยจ๊ะ มันยิ่งไปพอกพูน ก็คิดว่าเราได้ประพฤติปฏิบัติแล้ว ได้เดินแล้ว ถามว่าได้อะไร..โยมจักไม่ได้อะไรเลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนโยมออกไปค้าขาย ลงทุนไปแล้วแต่ไม่ได้กำไร เพราะขายไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ถ้าโยมจะนั่งสมาธิเจริญจิตภาวนา โยมก็ต้องนั่งเอาขาคู้ เอาขาขวาทับเท้าซ้าย นิ้วโยมน่ะ..นิ้วโป้งก็ต้องชนกัน เพื่อให้ธาตุไฟเตโชนี้มันหมุนเวียนครบรอบ ไม่ต้องชนกันได้มั้ยจ๊ะ อ้าว..แบบนี้ไม่มีใครบัญญัติว่าไม่ได้ แต่ธาตุโยมจะเสีย สมาธิจะรวมตัวกันยาก..

    เพราะเมื่อมันไม่เกิดพลังงานแล้ว มันไม่จดจ่อไม่ต่อเนื่อง พลังงานก็จะออกจากเราไป นี้เค้าเรียกว่าจะทำให้กายสังขารนั้นเสื่อมเร็ว แต่ถ้านิ้วโป้งชนกันนี้..พลังงานจะอยู่ในกายของเรา จะปรับธาตุ เมื่อมันออกกันไม่ได้..มันก็ไปออกทางรูขุมขน หรือรูกระหม่อม หรือทวาร ขับคราบเหงื่อคราบไคล เชื้อโรคหรือสิ่งอัปมงคล เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะถ้ามันไม่มีทางออกมันจะออกทางไหน มันก็จะผลักดันออกทางทวาร รูขุมขน กระหม่อม ก็เป็นทวารอย่างหนึ่ง เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่เค้าเรียกว่าให้ธาตุไฟเตโชครบองค์ประชุม เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  6. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    C65D8586-E245-4BD2-B111-744D66AECEF8.jpeg

    ความสงัดเหล่าใด ความวิเวก ความสันโดษเหล่าใดเหมาะแล้วกับการฝึกจิตที่จะเป็นวิหารธรรม ที่จะเป็นครูบาอาจารย์ ที่ใดก็ตามที่เราฝึกแล้วภาวนาจิตแล้วทำให้จิตเราตื่นตัวได้ตลอดนั่นแล..สถานที่แห่งนั้นแลเหมาะกับการเจริญพระกรรมฐานอย่างยิ่ง สถานที่ใดเมื่อเราประพฤติแล้ว ระลึกแล้ว อาศัยแล้วทำให้เรานั้นเกิดความเคลิบเคลิ้มจิตเกิดความสุข..สถานที่แห่งนั้นแลย่อมทำให้จิตเรานั้นมีแต่ความเสื่อม

    ดังนั้นขอให้โยมจงพิจารณาเพ่งโทษในการนอน..นี่คือความเพลิดเพลิน อย่างน้อยก่อนนอน ๑๐ นาที ๑๕ นาที ครึ่งชั่วยาม อึดใจเดียวของเราก็ดี ให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือว่ากำหนดรู้ในอานาปานสติแล้ว ทำความรู้สึกให้ทั่วตัว วางจิตไว้ในกาย ทรงจิตให้สงบ แล้วระลึกถึงพุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งเป็นสรณะของข้าพเจ้า แล้วก็ทำจิตนั้น..สำรวมจิตนั้นให้สงบตั้งมั่น อยู่ในกาย วาจา ใจ

    เมื่อสงบดีแล้วก็ภาวนาจิตกำกับเข้าไป กำหนดรู้ลมพุทธ-เข้า โธ-ออก อยู่อย่างนี้ จนจิตรู้สึกว่าพอสมควรแล้วกับความเพียรของเรา ก็อธิษฐานจิตแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายกับเราในโลกนี้ ก่อนที่เราจะนอนหลับลงไป
    ก็เอาความสงบนั้นแลดูความสงบที่เหนือศูนย์จากกลางกาย เหนือสะดือของเรา ภาวนากำกับลงไปจนจิตเรานั้นดับลงไป กายสังขารสงบหลับลงไป องค์ภาวนาที่โยมกำกับไปนั้นแลจะเป็นตัวรักษาจิตของโยม เพราะขณะที่โยมระลึกถึงพุทโธนั้นแล..เค้าเรียกตัวสติ

    ตัวสติจะเป็นตัวรักษาจิตไม่ให้ฝันร้าย ไม่ให้ฝันลามก เมื่อมีเภทภัยอะไรเข้ามา..สติตัวนี้ก็จะทำหน้าที่คอยดูแลตามรักษาร่างกายสังขารของโยม ผู้ใดมีองค์ภาวนาพุทโธก็ดี ธัมโมก็ดี สังโฆก็ดี พุทธัง สรณัง คัจฉามิก็ดี ธัมมัง สรณัง คัจฉามิก็ดี สังฆัง สรณัง คัจฉามิก็ดี จะมีเทพเทวดามาคอยปกปักรักษา
    แม้ผู้ใดเรือนใดเจริญมนต์อยู่ไม่ขาดแล้ว ผู้นั้นเรือนนั้นจะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข แม้อัคคีไฟก็ดี ความฉิบหายก็ดี โจรภัยก็ดีจะมาปล้นเอาทรัพย์ไปก็ดี จักต้องต้องมนตรานั้น จะทำการนั้นไม่สำเร็จ ดังนั้นแล้วขอให้โยมทั้งหลายจงเห็นคุณของอำนาจแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ

    ในวาระใดอารมณ์ใดก็ตามที่เรานั้นพอจะทำได้ ในการสวดมนต์ก็ดี ในการฟังธรรมก็ดี ในการให้ธรรมก็ดี ในการตรึกตรองในธรรมก็ดี ในการเจริญวิปัสสนาคือพิจารณาอารมณ์ทั้งหลายของจิตก็ดี ล้วนแล้วนำไปสู่ทางแห่งมรรคแห่งนิโรธทั้งนั้น
    ดังนั้นแล้วข้อเตือนใจมีอยู่ว่าการสวดมนต์อย่ารีบสวดเพื่อเราจะนั่ง..อยากจะนั่งสมาธิ แท้ที่จริงแล้วการที่โยมสวดมนต์อยู่นั้นแลก็คือการทำสมาธิอย่างหนึ่ง การเจริญมนต์อยู่นั้นแลคือการฝึกขันติธรรมอย่างหนึ่ง การเจริญมนต์อยู่นั้นแลเค้าเรียกว่าการเนกขัมมะคือการละอารมณ์อย่างหนึ่ง ดังนั้นเป็นการเจริญบารมีทั้ง ๑๐ ให้เกิดขึ้น

    และเมื่อในขณะที่เราเจริญมนต์อยู่ จิตเรานั้นไม่มีเวรภัยกับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ในขณะนั้นเรียกว่าจิตเรานั้นเข้าถึงความบริสุทธิ์ บุญที่เราสวดมนต์ภาวนานั้นแลจะมีรัศมีออกทางกายของเรา บุญนี้เมื่อเราระลึกแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ดวงวิญญาณเหล่าใดก็ตาม เค้าก็จะได้รับกระแสบุญนี้ นี่เรียกว่าเป็นทานแห่งเสียงนั่นเอง

    ไม่ว่าเราจะสวดในใจก็ดี สวดขณะที่เรามีเสียงพอดีก็ดี สวดในเสียงดังก็ดี แต่จิตเรานั้นต้องมีสมาธิจดจ่ออยู่แต่อักขระภาษาที่เราสวดอยู่ จนจิตเรานั้นเข้าถึงตัวปัญญา คือเข้าถึงความหมายของบทสวด นั่นแลก็จะนำพาให้เกิดทั้งปัญญาเห็นทางพ้นทุกข์ได้ ก็จะมีอานิสงส์มากนั่นเอง..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  7. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    AC33AC9A-232C-4D73-ADBA-EBFEB5540ADE.jpeg

    มันเป็นธรรมดา..ถ้าเราไม่ได้เจริญศีลรักษาศีลให้มันเป็นปรกติอยู่ตลอดเวลา เมื่อเรามาเจริญความเพียรแล้ว เมื่อนิวรณ์ทั้งหลายมันเข้ามาครอบงำจิตไว้ แม้กระทั่งขันธมารกายนี้ก็ยังเป็นตัวอุปสรรค เมื่อเรานั้นปรารถนาจะเจริญความเพียร เจริญในทาน ศีล ภาวนา

    ฉันก็ถึงบอกว่าแม้เรานั้นไม่ได้มารักษาศีลให้ได้อยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเราจะทรงศีลประพฤติปฏิบัติในพรหมจรรย์ก็ขอให้โยมนั้นเจริญทานให้เกิดขึ้นเสียก่อน คือสละละอารมณ์แห่งความโกรธ โมหะ โลภะ ราคะนี้ให้เป็นทาน

    ตัดอารมณ์แห่งความสุข ตัดอารมณ์แห่งโมหะคือความหลง โดยการภาวนา ตัดความโทสะแห่งความอาฆาตพยาบาทริษยาให้เป็นทาน ดังนั้นสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการเจริญทานให้บังเกิดขึ้น คือการละอารมณ์ให้ได้เสียก่อน จึงเรียกว่าวิตกวิจาร นั่นจึงเรียกว่าเกิดเป็นปฐมฌาน ฝึกแบบนี้ฝึกให้มันอยู่บ่อยๆ

    นั้นถ้าเราไม่ฝึกเลย จู่ๆแล้วโยมจะมาเจริญวิปัสสนาเลยทีเดียว ด้วยอำนาจแห่งศีลและทานโยมที่เป็นพื้นฐานของโยมนั้น ไม่ได้ทำมาคงที่ให้มันต่อเนื่องแล้ว สมาธิกีดี ปัญญาก็ดี วิปัสสนาญาณก็ดี มันจะไม่คงที่ไม่คงวา นั้นการทำสมาธิเจริญปัญญา..ไม่ได้ฝึกให้โยมนั้นเป็นผู้วิเศษ ไม่ต้องรีบร้อน ไม่ต้องอยากได้ความสงบ แต่เมื่อโยมรู้เท่าทันไอ้สิ่งที่ไม่สงบนั้นแล..ที่ทำให้ใจเราไม่สงบนั้นแล เดี๋ยวความสงบมันก็บังเกิดขึ้นเอง

    แต่ถ้าเราไม่รู้สาเหตุแห่งจิตว่าจิตเรานี้ที่ไม่สงบเพราะอะไรแล้วเล่า แม้จะนั่งไป ๑ ชั่วยาม ๒ ชั่วยามก็ดี ก็หาความสงบไม่ได้ เพราะไม่สามารถดับเหตุได้ที่จิตมันฟุ้งซ่าน ดังนั้นการที่เราไม่สามารถรักษาศีลได้ตลอดเวลาให้จิตเป็นปรกติ แต่เมื่อเราจะมาฝึกจิต..นั่นก็เป็นการบังคับมัน

    นั้นโดยธรรมชาติของจิตนั้นมันไม่ต้องการบังคับ เราก็ปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน ในการเจริญภาวนา..ภาวนากำหนดรู้ลมเข้าลมออก รู้ที่ตั้งแห่งกองลม รู้ที่ตั้งของจิตนี้ วางจิตไว้ที่เหนือสะดือก็ดี รู้ลม..ถึงลม..แล้วก็วางลม ทิ้งลมไว้ในกาย ลมที่มันยังไม่สงบอยู่ก็เพ่งดูมัน..จนมันสงบระงับไปแล้วนั่นแล เมื่อมันระงับดีแล้ว ก็ยกจิตสำรวมจิตไว้กลางหน้าผากเรา ทำความรู้สึกให้ทั่วตัวให้เกิดสติสัมปชัญญะให้เกิดขึ้น แล้วทรงจิตไว้อย่างนี้ มันจะเรียกว่าเกิดความร้อนขึ้นภายใน เรียกว่าธาตุไฟเตโชมันก็บังเกิด ให้จิตนั้นมันเกิดตื่นขึ้นมา

    นั้นการฝึกตัวรู้นั้นมันจึงสำคัญ เมื่อมันรู้อยู่บ่อยๆรู้มากๆเข้า จิตมันจะตื่นของมันเอง เพราะจิตมันจะหลับอยู่ตลอดเวลา..เพราะอะไร เพราะอำนาจแห่งกิเลสตัณหาอุปาทานแห่งนิวรณ์ แห่งโลกภายนอก โลกธรรม ๘ ที่มันเข้ามากระทบ แม้มันไม่มากระทบเราก็ส่งจิตออกไปหามันเช่นนี้

    เมื่อโยมจะมาฝืนฝึกจิตมันก็เป็นของธรรมดาที่จะต้องมาฟัดกับมัน สู้กับมันเป็นของธรรมดา นั้นการเอาชนะขันธมารคือเอาชนะกายนี้จึงเป็นของยาก คือการชนะใจตัวเอง เมื่อเราตามใจก็เหมือนเรานั้นให้กิเลสมันครอบงำ แต่เมื่อเราอยากจะหักอยากจะโค่นมันเสียแล้ว มันก็ต้องดูกำลังของเราว่าอาวุธก็ดีของเรานี้มีความคมแข็งแรงเพียงใด ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิของเรานั้น ปัญญาของเรานั้นมันถึงแค่ไหนในความศรัทธา

    นั้นคราใดที่เราจะเจริญประพฤติปฏิบัติในพรหมจรรย์ เราต้องอธิษฐานจิตมีศรัทธาให้ตั้งมั่นในการจะประพฤติปฏิบัติ ฉันถึงได้บอกว่ามันต้องสะสมให้เป็นกำลัง ช่วงขณะที่เราสวดมนต์ภาวนาจิตอยู่ก็ดี ต้องมีความตั้งใจสวดมีสติให้มากในขณะนั้น นั่นแลมันจะรักษากำลังเพิ่มกำลังไว้ เมื่อถึงเวลาประพฤติปฏิบัติอีก..กำลังที่เราสะสมไว้นั่นแลมันก็จะมาหนุน มาประคับประคองให้จิตเรานั้นทรงตัวได้ ในยามที่จะมาเจริญภาวนาจิตมาพิจารณาธรรมอย่างนี้ ดังนั้นแล้วอย่าเห็นว่าไม่มีประโยชน์..

    เพราะขณะใดเราทำอะไรอยู่นั้นแลเมื่อจิตเราตั้งมั่นจดจ่อ ไม่ส่งจิตออกไปภายนอกนั้น เค้าเรียกว่าเราเจริญสติเจริญสมาธิ เมื่อสะสมกำลังแห่งจิตให้มีสมาธิมาก..กำลังจิตก็จะมีมาก ดังนั้นสมาธิมันจึงสำคัญ เพราะการรักษาจิตนี้ให้มันสงบจิตมันตั้งมั่นมากๆ จิตก็จะมีกำลังมาก เมื่อเราแผ่เมตตาจิตออกไปให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายมันก็มีกำลังมาก..แผ่ไปได้ไกล

    นั้นก็ต้องมาพิจารณาดูว่าเมื่อเราเจริญทานแล้ว ละอารมณ์ได้แล้ว จิตเข้าสู่ความสงบจิตมันตั้งมั่นแล้ว ก็ให้รู้จักว่าแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์เสียบ้าง ดังนั้นบุญมันเกิดแล้วเราไม่ได้ใช้หนี้ใช้สินเค้าเลย เค้าก็ต้องมาตามทวง มาเบียดเบียน มารบกวนจิต มาขัดขวาง..นั่นก็เรียกขันธมาร

    เราต้องแผ่เมตตาจิตให้เค้าบ้าง ว่าบุญกุศลที่เรากำลังจะทำเจริญสมาธิเจริญภาวนาในทาน ศีล ภาวนานี้ที่เป็นบุญแล้ว ที่จิตข้าพเจ้าได้เข้าถึงความสงบ เข้าถึงในพระรัตนตรัยแล้ว มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งนี้ ขออำนาจแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระรัตนตรัยนี้ จงเกื้อกูลอนุบาลอุดหนุนค้ำชูให้ทุกดวงจิตดวงวิญญาณ ที่บุคคลทั้งหลายที่เค้ามีบุพกรรมเกี่ยวพันที่จะมีส่วนได้ในบุญกุศลนี้ จงมารับมาโมทนามาอโหสิกรรมให้ข้าพเจ้าก็อธิษฐานไป ขอบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำในขณะนี้ จงสำเร็จประโยชน์ทุกดวงจิตดวงวิญญาณ ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใดก็ขอให้ได้รับ..

    เมื่อเราตั้งจิตอธิษฐานแผ่เมตตาอย่างนี้แล้ว จิตในขณะที่เราพิจารณาหรือส่งจิตออกไปอย่างนี้แล เค้าเรียกว่าจิตเรานั้นกำลังเจริญญาณให้บังเกิดขึ้น การแผ่เมตตาจิตนี้เป็นการเปิด ๓ แดนโลกธาตุให้เกิดขึ้น แห่งนรกก็ดี สวรรค์ก็ดี มนุษย์ก็ดี เค้าจะได้รับรู้ในการกระทำของเรา นั้นจะเป็นการปลุกทำให้ธาตุขันธ์ของเรานั้นมีแรงสั่นสะเทือน ให้จิตมันได้ตื่นรู้ เกิดความสันดาปเสียวซ่านซาบซ่านทั่วสรรพางค์กาย ขนลุกขนพองขนชันอย่างนี้...

    ดังนั้นการฝึกอินทรีย์นั้น ความอดทนอดกลั้นต่อความง่วง ต่อขันธมาร ต่อการอ่อนล้าของกายสังขารนี้ เป็นการฝึกจิตเพื่อจะสั่งกายให้มันเหนือ แต่ถ้าเรานั้นไม่มีความอดทนอดกลั้นมันก็ยากยิ่งนักที่เราจะเอาชนะใจ เอาชนะขันธมาร เอาชนะกิเลส..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  8. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    D7C2CFDC-F50B-4928-A4B0-350C1696BB07.jpeg

    อีกไม่นานเราก็ต้องตายจากสังขารนี้ ก็จงระลึกถึงสังขาร ระลึกถึงความตายที่กำลังมา แม้ว่าสังขารก็ดี แม้ว่าตัวเราเองก็ดีก็ต้องตายแล้วไม่ว่าวันนี้พรุ่งนี้ ก็ขอเอาจิตในขณะนี้ให้จิตมันตั้งมั่น ให้เข้าถึงกุศลเข้าถึงทานให้เข้าถึงภาวนา จิต..เมื่อมีทาน ศีล ภาวนาระลึกได้อยู่ คือระลึกอยู่ก็ดี เมื่อดับจิตกายสังขารไป จิตนี้ก็จะพ้นจากอบายภูมิ หากจะต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดมาเป็นมนุษย์อีก ทาน ศีล ภาวนานี้ก็จะทำให้เรานั้นเป็นผู้ที่ไม่อับจน ไม่อับปัญญา เป็นผู้มีมิตรดี เจอแต่บัณฑิต เจอแต่ครูบาอาจารย์ดีอย่างนี้ ดังนั้นก็ขอให้โยมนั้นจงระลึกถึงบุญกุศล

    ความตาย..อย่าได้ประมาท เมื่อมีโอกาสขอให้ได้เจริญทานทั้งหลาย แม้เรานั้นไม่มีทรัพย์ก็ดี การละอารมณ์แห่งความโกรธ แห่งโทสะ แห่งโมหะ แห่งความหลงความไม่รู้ แห่งตัณหาทั้งหลายที่เราไปยังยึดติดยังไปพอใจในอารมณ์เหล่าใด ขอให้เราละอารมณ์เหล่านั้น นั่นเรียกว่าเป็นมหาทานอย่างยิ่ง เพื่อมันจะทำให้จิตเราเข้าถึงความสงบ เข้าถึงศีล เข้าถึงตัวปัญญา นี่แลมันจะทำให้เรานั้นเข้าถึงการพ้นทุกข์ได้

    ก็จิตที่เราไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์เหล่าใดก็ตามนั่นแล แสดงว่าเรากำลังก่อภพก่อชาติ ทำลายขันธ์ของเรานี้ เป็นผู้มัดตราสังข์ให้เรานั้นเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป จงปลดพันธนาการทั้งหลาย สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนแล้วมีวิบากกรรมของมันเอง ไม่ว่าจะเป็นลูกเป็นหลาน ลูกผัวสามี สิ่งใดก็ตามที่เราผูกมัดไว้ สัตว์ทั้งหลายที่เราไปผูกอยู่ก็ดี ล้วนแต่มีวิบากกรรมของเขาทั้งนั้น เราควรทำหน้าที่ตามสถานะอันควรทำได้ ที่เหลือนั้นก็ปล่อยให้เป็นไปตามสถานะของมันเอง

    ควรกลับมาดูที่จิต ที่กาย ที่ใจของเรานั้น คือการเจริญเมตตาให้สรรพสัตว์ ดวงจิตวิญญาณสิ่งที่เรานั้นผูกพันธ์ ให้เขานั้นพ้นทุกข์พ้นภัย ก็เอาบุญกุศลที่เรามีนี้แผ่เมตตาให้เค้านั้น ให้เค้าได้อาศัยเป็นที่พึ่งเป็นสรณะต่อไป เค้าก็ต้องไปตามทางของเค้า เราก็ต้องเอาชะตาตัวเราให้ได้ คือรักษาจิตรักษาใจให้เป็นปรกตินั้นแล..เราถึงจะเอาตัวรอดได้

    จงปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวงที่เรายึดมั่นถือมั่นอยู่ อารมณ์เหล่านั้นแลเรียกว่าเชือก เรียกว่าภพ เรียกว่าชาติ เรียกว่าอุปาทาน เรียกว่าสังโยชน์ เมื่อเราตัดละอารมณ์ได้มากเท่าไหร่ สังโยชน์ก็ดี เชือกก็ดีมันก็สั้นลง ภพก็ดี ชาติก็ดีมันก็ย่นระยะทางลงมา เมื่อเป็นอย่างนั้นเราก็สามารถจะข้ามพ้นจากภัยในวัฏฏะได้ไม่ยาก

    ยิ่งเราเพิ่มอารมณ์ก็เท่ากับว่าเพิ่มกรรมมากขึ้นเท่าไหร่ ภพชาติก็มีมากเท่านั้น นั้นการเจริญพระกรรมฐานก็คือการดับอารมณ์ในขันธ์ ๕ นั่นแล คือทางแห่งมรรคไปสู่นิโรธคือการดับทุกข์ เมื่อดับภพได้..ภพไม่เกิด หมดจากความอยาก หมดจิตที่หมดอารมณ์จากความอยากทั้งหลายแล้ว นั่นแลคือจิตเข้าถึงภพพระนิพพานแล้ว คือจิตที่เป็นสุข..

    จิตที่เป็นสุขแต่ไม่ยึดในสุข แต่อาศัยที่เป็นสุขนั้นแลเจริญความเพียร..แล้ววางสุขนั้น คือวางเฉยมีแต่ตัวรู้อย่างเดียวนั่นแล เป็นจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะจิตเองก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ดังนั้นจิตก็เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไปอยู่ทุกขณะจิต เช่นเดียวกับอารมณ์ กายก็เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป นั้นคือเรียกว่ากายก็มีวันเสื่อมอยู่ทุกเวลาทุกขณะจิตเช่นเดียวกัน คือมีความตายอยู่เบื้องหน้า ก็ขอให้โยมอยากรู้ความตาย อยากกำหนดความตายได้ ก็คือ..ให้กำหนดที่ลมหายใจนั้นแล เมื่อเรารู้อยู่บ่อยๆ เราจะรู้วันตายของเราได้

    สมาธิถ้าต้องการและปรารถนา..อย่าได้คาดหวังว่าจักได้สมาธิ แต่จงตั้งความหวังว่าการฝึกฝนเจริญสมาธิ เพื่อการทำจิตนั้นให้เข้าถึงความสงบ ให้เข้าถึงตัวปัญญา ให้เข้าถึงทุกข์ ให้เข้าถึงการหลุดพ้นนั้นแล ความปรารถนาสมาธิมันจะเกิดขึ้นมาเอง อย่าได้ไปตั้งความหวัง อย่าได้ปรารถนาให้มันสงบ เพราะเมื่อจิตมันไม่สงบแล้ว เมื่อเราตั้งความหวัง..จิตนั้นก็จะเป็นทุกข์

    ดังนั้นการที่เราไม่ตั้งความหวังนั้นแล แต่เรามีความตั้งใจจะทำอะไรนั้นแล..ก็เรียกว่าจิตที่ตั้งมั่นก็บังเกิด มันก็จะเป็นสมาธิของมันเองโดยธรรมชาติ ถ้าจิตที่มันไม่สงบ ก็เอาอารมณ์แห่งความไม่สงบนั้นแลมาเป็นอารมณ์แห่งกรรมฐาน ก็ดูความไม่สงบนั้น จนเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่ไม่สงบนั้นเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป

    เมื่อเห็นอยู่บ่อยๆ จิตมันก็จะคลายความยึดมั่นของอารมณ์ของมันเอง ไม่นานความสงบมันก็บังเกิดขึ้น ดังนั้นไม่ว่าอารมณ์เหล่าใด ขอให้กำหนดรู้อารมณ์เหล่านั้น หมายถึงว่าจิตฟุ้งซ่านก็รู้ จิตมีโทสะก็รู้ จิตมีโมหะก็รู้ ขอให้รู้อยู่อย่างนี้ เมื่อรู้อยู่บ่อยๆ นี่คือตัวระลึกได้ นี่คือการฝึกสติ..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  9. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    C073D80B-F364-4699-B1B8-4A797B2B509E.jpeg

    การฝึกสติ การเจริญพระกรรมฐาน..หาใช่ว่าจะต้องมาหลับตา มาทำจิตให้สงบอยู่อย่างเดียวไม่ แต่จิตที่มีสติรู้ว่าอารมณ์ผัสสะใดมากระทบในอารมณ์ใดก็ตาม แล้วสามารถทำอารมณ์นั้นให้เป็นปรกติได้ ไม่ให้จิตนั้นส่งออกไปภายนอก..นั่นแลเรียกว่าผู้นั้นเจริญสติอยู่ เรียกว่าผู้นั้นเจริญพระกรรมฐานอยู่

    ดังนั้นผัสสะที่มากระทบหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เกิดจากความพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม เมื่อเรารู้ทันแล้ว..มันก็จะดับในอารมณ์ของมันเอง ดังนั้นความโกรธก็ดี โมหะก็ดี ราคะจริตก็ดี ที่จิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมันเป็นธรรมชาติของจิต ที่เรานั้นติดและพอใจมาเนิ่นนาน การจะให้มันดับหรือหายไปโดยไม่ฝึกจิต ไม่ละในอารมณ์แล้ว..เป็นไปไม่ได้

    ดังนั้นแม้ในขณะเราเจริญสมาธิอยู่..อารมณ์เหล่านี้ก็เกิดขึ้นได้ มันเป็นธรรมชาติของจิต..แต่เราควรกำหนดรู้ ในขณะที่เรากำหนดรู้นั้นแลเค้าเรียกว่าฌานมันบังเกิดอยู่ จะทำให้กำหนดรู้แล้วเกิดปัญญา แต่จะไม่เพิ่มอารมณ์ให้เราปรุงแต่งขึ้นไป แต่จะทำให้เราเห็นอารมณ์

    การเห็นอารมณ์นั้นแลก็ให้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อเราพิจารณาแล้วจิตไม่เข้าไปปรุงแต่ง อารมณ์ทั้งหลายเหล่าใดที่มันเกิดขึ้น..มันก็จะดับของมันเอง เมื่อมันดับอยู่บ่อยๆนั่นแล เค้าเรียกผู้นั้นได้เจริญนิโรธอยู่ ก็ควรทำให้มันเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เมื่อนิโรธบังเกิดแล้ว..มรรคมันก็จะบังเกิด คือก็จะเห็นความเบื่อหน่าย เห็นทางสละ..

    ดังนั้นการกำหนดรู้ในอารมณ์ในขันธ์ ๕ อยู่บ่อยๆ จนขันธ์เรานั้นสะอาด..ก็คือศีล เราละดับอารมณ์ได้มากเท่าไหร่ ผู้นั้นแลเรียกว่าเจริญพระกรรมฐาน เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นผู้ทำอยู่บ่อยๆ เป็นผู้ละได้มาก ไม่ใช่ว่าผู้นั้นนั่งสมาธิได้นาน แต่ไม่ได้เจริญปัญญาเลย อย่างนั้นอานิสงส์ก็ยังไม่เกิดขึ้นเท่ากับผู้ที่ว่าเห็นอารมณ์เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไปแม้เพียงขณะจิตเดียว นั่นเรียกว่าเห็นกฎแห่งไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา

    ก็ให้กลับไปเพ่งโทษในกาย ว่าการเกิดเป็นทุกข์อย่างไร ความพลัดพรากเป็นทุกข์อย่างไร ความไม่ได้ดั่งใจเป็นทุกข์อย่างไร ไม่มีอะไรที่จะทุกข์เท่ากับการมีกายสังขาร เดี๋ยวก็เจ็บนั่น เดี๋ยวก็เจ็บตรงนั้น เดี๋ยวก็เจ็บตรงนี้ ไอ้ที่เจ็บนั่นเจ็บนี่นี่แล..ล้วนแล้วแต่เป็นอารมณ์แห่งอุปาทาน

    คำว่าอุปาทานคือการยึดมั่นถือมั่นในกายว่านี่ตัวกูของกูนั่นแล ราคะจริตหรือรักสวยรักงาม ยึดมั่นถือมั่นในตัวเรานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นราคะทั้งนั้น เรียกว่าเป็นไฟทำให้เกิดโทสะ ทำให้เกิดโมหะ คือความหลงไม่รู้เท่าทันในอารมณ์ ก็ควรกำหนดรู้เพ่งโทษในกาย ด้วยการเจริญปัญญาเจริญสติ

    เพ่งโทษแยกรูปแยกนามด้วยการพิจารณาธาตุ ดิน..ที่ห่อหุ้มกายสังขาร ภายใต้ดินนั้นมันมีอะไรในหนัง ภายใต้หนังที่มันปกปิดมันมีน้ำเลือดน้ำหนอง ให้พิจารณาออกไป..นี่เรียกว่าพิจารณาธาตุ ให้รู้ว่าบ้านเรือนแห่งสังขารแห่งทุกข์แห่งภัยในวัฏฏะมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

    เมื่อเรารื้อถอนรื้อค้นมันแล้วก็จะเห็นว่ากายสังขารหรือเรือนนี้มันเป็นแต่ของว่าง ที่ไม่ว่างเป็นเพราะว่าเรานั้นอุปาทานปรุงแต่งขึ้นมาให้เป็นตัวเป็นตนเป็นของเรา แท้ที่จริงแล้วถ้ามันเป็นของเราจริงในกายสังขารนี้ เราต้องห้ามความเจ็บความป่วยความเสื่อม ไม่ให้มันเจ็บไม่ให้มันป่วย..ถ้าเราห้ามมันได้อย่างนั้นจริงอันนั้นของของเรา ถ้าเราห้ามมันไม่ได้แสดงว่าของนั้นไม่ใช่ของเรา แล้วมันของของใครเล่า..เป็นของของโลกที่เรายืมเค้ามา ที่มันมาพร้อมกับวิบากกรรมที่เรานั้นไปยึดถือยึดติด

    จิตนี้แม้เราจะดับกายสังขารไปแล้ว อารมณ์ของจิตที่เรายึดถือมันก็ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ เมื่อเราตายไปมันก็จะไปจุติ ยังมีความรู้สึกมีความพอใจ มันก็ไปก่อภพก่อชาติ เพราะว่ามันยังมีขันธ์อยู่ ยังดับขันธ์ไม่ได้ คำว่าดับขันธ์ไม่ได้เค้าเรียกว่ายังดับกองทุกข์ไม่ได้ ก็ต้องไปเกิดอยู่ร่ำไป..

    ดังนั้นถ้าใครไม่อยากเกิดแล้ว แล้วถ้าเกิดแล้ว..แล้วไม่อยากตายอีก ก็ต้องดับตัวเกิดให้ได้ คือการดับตัวอยากนั่นแล คือดับอารมณ์ในขันธ์ ๕ ดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้ให้ไปพิจารณาที่ไหน..รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์คืออารมณ์ที่เข้ามากระทบผัสสะที่ทำให้เราเกิดความพอใจและไม่พอใจ ก็ให้พิจารณาละลงไปลงไปลงไป จนจิตนั้นเข้าถึงความสงบ

    ก็เอาความสงบแห่งจิตนั้นแล แห่งอำนาจแห่งสมาธินั้น แห่งการเพ่งแห่งความสงบแห่งฌานนั้น เป็นเบื้องบาทแห่งวิปัสสนา คือการพิจารณาละอารมณ์นั้น คือเพ่งโทษในกายว่าการเกิดเป็นทุกข์อย่างไร ใครทำให้เราเป็นทุกข์ก็ให้อภัยเค้า เพราะที่แท้จริงแล้วมันเกิดจากทุกข์ที่เรานั้นไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นอารมณ์ จึงเกิดเวรพยาบาท

    เมื่อเราเห็นพิจารณาได้อย่างนี้ เราก็จะละอาฆาตพยาบาทได้ เมื่อนั้นแลจิตเราก็จะเข้าถึงความเมตตา เข้าถึงพรหมวิหารได้ มีอุเบกขาธรรมเป็นอารมณ์อยู่อย่างนี้ เมื่อมีอุเบกขาธรรมเป็นอารมณ์ก็จะทรงอารมณ์แห่งสมาธิได้นาน เมื่อพิจารณาธรรมก็สามารถพิจารณาธรรมได้นาน อย่างนี้แลเรียกว่าเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติ เรียกว่าเป็นผู้ละได้มากนั่นเอง..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  10. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    D893E1DD-4410-4B0B-BBD2-D8E4D9E6472F.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่เจ้าขา ขออนุญาตค่ะ ลูกสาวป่วยค่ะ ขอความเมตตาจากหลวงปู่
    หลวงปู่ : ป่วยก็ไปหาหมอสิจ๊ะ แล้วจะให้ฉันรักษาอะไรล่ะ เค้ารู้ตัวเค้ารึเปล่าจ๊ะว่าเค้าป่วย ฉันว่าโยมก็ป่วยนา อ้าว..ก็ต้องมีเชื้อกัน ว่าไงจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : ไม่สบายแล้วยังรักษาไม่หายซักทีค่ะ
    หลวงปู่ : ถ้าฉันบอกวิธีรักษา ฉันว่าโยมก็น่าจะรักษาได้นะจ๊ะ อาการป่วยของโยมไม่ว่าเป็นใครทั้งนั้น ไปหาหมอที่ไหนก็รักษาไม่ได้..ถ้าใจเราป่วย เพราะอันว่าร่างกายสังขารมันป่วย..เป็นธรรมดาของมัน มันเป็นที่รังของโรค เมื่อโยมรักษาโรคนี้หายโรคใหม่ก็จะมา ถ้าเราเก็บโรคนี้ไว้โรคใหม่ก็ไม่มา เป็นทีละโรคฉันว่าน่าจะดีกว่า..

    นั้นหมายถึงว่ารักษาใจอย่าให้ติดโรค อย่ายึดกายสังขารนี้ให้มากก็จะห่างไกลจากโรค อย่างที่ฉันบอกเรามีโรคอยู่แล้ว อย่าไปรักษามันให้หายเลยมันจะเป็นเชื้อภูมิต้านทานไว้ ถ้าเรารักษาหายเมื่อไหร่มันจะกำเริบเสิบสานมาอีก คือมีโรคใหม่เข้ามา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ขอให้รู้ไว้ว่ากายสังขารนี้เป็นที่อยู่ของโรคอยู่แล้ว เราเกิดมาจากโรคไม่ใช่เหรอจ๊ะ นั้นอย่าไปหนีมัน แต่ให้ทำยังไง..คืออย่าให้ใจเรานั้นติดเชื้อ อย่าไปยึดในกายสังขาร ให้พิจารณาก่อนนอน..หรือระลึกได้ว่ากายสังขารนี้เป็นที่ที่อยู่ชั่วคราวของเรา เมื่อเรามีลมหายใจก็ระลึกลมหายใจนั้นให้เป็นบุญเป็นกุศล

    การระลึกลมหายใจให้เป็นบุญเป็นกุศลเป็นอย่างไร ก็เมื่อระลึกแล้วก็ให้ระลึกลมนั้นให้เข้าถึงความสงบเข้าถึงความดี คือเอาลมนั้นมาภาวนาเสีย ลมเมื่อภาวนาอยู่บ่อยๆ ลมจะเกิดความเย็น เกิดปฏิกิริยาเกิดขึ้น ทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดง เค้าเรียกว่าปรับสมดุลธาตุใหม่..นี่วิธีรักษาโรค เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ทุกครั้งที่โยมมาสวดมนต์ เอาน้ำมาตั้งก็ดี สวดแล้วเสร็จแล้วเราก็คอแหบคอแห้ง..เราก็อธิษฐานดื่มกิน เข้าใจมั้ยจ๊ะ น้ำอะไรก็ตามเมื่อมีปฏิกิริยาทางเสียง เค้าเรียกว่ามีแรงสั่นสะเทือน ไอ้แรงสั่นสะเทือนนั้น..ถ้าเป็นเสียงที่ว่าเกิดจากจิตที่เราจดจ่อแล้วเสียงนั้นเป็นมงคลเมื่อไหร่ น้ำที่แม้มันจะมีพิษมันจะถูกล้างแล้วเปลี่ยนปฏิกิริยาขึ้นทันที

    ก็เหมือนคนที่ไม่ดีจิตใจหยาบกระด้าง เมื่อฟังเสียงสวดมนต์บ่อยๆ สวดมนต์บ่อยๆ ฟังธรรมบ่อยๆ จิตมันละเอียดลงมั้ยจ๊ะ น้ำก็เช่นเดียวกัน มันจะมีความเป็นกรดเป็นด่างก็ดี ค่าของความเป็นพิษอะไรก็ตาม..มันจะลดลง ร่างกายสังขารเราเป็นพิษมากมันก็จะมีโรคมาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นเพราะเราไปยึดอุปาทานในขันธ์มากเท่าไหร่..โรคก็มีมากเท่านั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นโยมไปรักษายังไงก็ไม่หาย อย่างที่ฉันบอกทำอย่างนี้แหล่ะจ้ะ ทำใจให้มันดี ปล่อยวางร่างกายสังขารให้มาก อย่างที่บอกทำลมหายใจให้เป็นบุญกุศลทำอย่างไร ก็กำหนดลมนั้นภาวนาเสีย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ของเสียๆมันจะได้ออกไปบ้าง อย่าไปดึงเข้ามาของเสียๆน่ะ ไปดึงอารมณ์ของคนอื่นเข้ามา ดึงคำสรรเสริญนินทาเข้ามาเก็บไว้ ของเสียมั้ยจ๊ะ..

    น้ำที่เสียไม่ได้ระบาย..เน่ามั้ยจ๊ะ ลำไส้ก็เน่าถ่ายก็ยากเหล่านี้ เมื่อใครภาวนาจิตลมหายใจเป็นบุญทุกขณะนั่นแล โรคที่เป็นอยู่มันจะค่อยๆบรรเทาเอง แต่ถามว่ารักษาหายขาดมั้ย..ไม่หายขาด เพราะถ้าโยมหายขาดเมื่อไหร่โรคใหม่จะเกิดขึ้นทันที อย่าให้มันสะอาดมากกายนี้ แต่จงทำใจให้สะอาด..คือศีล

    กายนี้ถ้าสะอาดเกินไป..ไม่ได้ เพราะโยมจะรองรับอะไรไม่ได้อีก เพราะโลกนี้มีของสกปรกทั้งนั้น แค่อาหารที่โยมทานเข้าไปก็สกปรกแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นทุกครั้งที่โยมจะบริโภคอะไรขอให้โยมนั้นอธิษฐานบุญกุศลเสีย ทานไปเพื่อประโยชน์ให้ระงับความหิว เพื่อให้ความหิวมันไม่กำเริบเสิบสานมันเกิดขึ้นอีก ทานไปเพื่อเราจะสร้างบุญกุศลบารมี ขอบุญกุศลนี้กลับเป็นประโยชน์ให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เบียดเบียน แม้จะเป็นอาหารก็ดีเหล่านี้ อธิษฐานแบบนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นอย่างที่ฉันบอกเมื่อถึงวาระแห่งบุญ..โรคกรรมอะไรก็ตามโยมก็จะเจอหมอดียาดีเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าเรายังไม่เจอเราต้องรักษาตัวเองไปก่อน..คือรักษาใจ เมื่อรักษาใจเราได้แล้ว เข้าถึงในพระรัตนตรัยแล้ว..หมอดียาดีก็จะมาหา แต่ถ้าโยมไม่เคยเจริญทาน ศีล ภาวนา แม้โยมจะเจอหมอดียาดี..มันก็ดื้อยากัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะบางทีที่โยมเป็นมันเป็นโรคกรรม โรคกรรมนี้หมออะไรก็รักษาไม่ได้ จำไว้นะจ๊ะ แต่ถ้าโยมหมดกรรม ขออโหสิกรรมอยู่บ่อยๆแล้วเมื่อโยมเจริญบุญเจริญกุศล เมื่อกรรมมันเบาบางแล้ว โยมไม่ต้องไปรักษาบางทีก็หาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นก็ขอฝากให้โยมนั้นเจริญจิตภาวนาอธิษฐานจิต เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ไอ้กายสังขารมันป่วยอยู่แล้ว นั้นถามใครก็ป่วยทั้งนั้น ไม่มีใครเลยที่สบายถ้ามีกายสังขาร โยมว่าจริงหรือไม่ รักษาใจสิจ๊ะ คือรักษาศีล สำรวมคือระวัง..กายไม่ให้ทุจริต วาจาไม่ให้ทุจริตไปนินทาว่าร้ายสาปแช่งใคร ใจคือความคิดที่เป็นกุศล อย่าให้เป็นอกุศล นั่นแหล่ะจ้ะ..รักษาใจ คือศีลก็บังเกิด เมื่อศีลบังเกิด..คุณงามความดีอะไรก็บังเกิด

    ศีลนี้ถ้าใครมีแล้ว..โรคกรรมอะไรที่โยมเป็นอยู่จะทำให้มันเบาบางลง เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อถึงบุญกุศลมันมากพอแล้ว มันจะบรรเทาของมันเอง แต่จะไม่หายขาด ถ้าโยมหายขาดเมื่อไหร่ร่างกายโยมมีปัญหาเมื่อนั้น โยมจะมีแต่ของสะอาดอย่างเดียวไม่ได้ มันต้องมีของเสีย..เค้าเรียกภูมิต้านทานนั่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ใจสำคัญ..ต้องให้สะอาด ร่างกายเปรียบเหมือนโคลนสิ่งของปฏิกูล..เพื่อให้ดอกบัวนั้นมันโผล่ เพื่อให้มันงอกงาม โยมก็เอากายสังขารนั้นพิจารณาละของเสียซะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วหน่อต้นโพธิ์ต้นธรรมมันถึงจะบังเกิดขึ้น โยมต้องหนีมันอย่าให้มันหลับใหลเพลิดเพลินกับกายสังขาร ไม่งั้นรากโยมก็จะเน่า เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    โยมได้เกิดมาเจอพระพุทธศาสนาแล้ว เป็นของดีของล้ำค่าที่สุด หาอะไรเปรียบไม่ได้อีก ยิ่งได้มาเจอพระธรรมคำสอน เจอครูบาอาจารย์ท่านได้แนะนำได้สร้างกุศลบารมี ยิ่งมีวาสนาบารมียิ่งไปกว่านั้นอีก ถ้าโยมไม่เอาไม่ขวนขวายไม่รับ..ก็ไม่รู้จะว่ายังไง

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  11. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    1747820D-6405-4CA9-AAD2-E838F8D659E8.jpeg

    อันว่าของธรรมดาถ้ามนุษย์ทั้งหลายยอมรับมันได้นั่นแล..เค้าเรียกว่าความจริงของธรรมชาติ ถ้ายอมรับไม่ได้ก็ย่อมต้องแสวงหาอยู่ต่อไปเป็นของธรรมดาเช่นเดียวกัน แต่ถ้าว่าโยมรับตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ผู้นั้นจะเห็นทุกข์เห็นธรรม..แล้วจะวางอารมณ์นั้นได้

    เมื่อวางมันได้อยู่บ่อยๆ เค้าเรียกว่าเป็นผู้ที่ดับที่ใจ เป็นผู้เจริญนิโรธไปในตัว ดังนั้นเมื่อบุคคลผู้นี้เมื่อประพฤติปฏิบัติธรรม ก็เอาวาระแห่งกรรมนั้นที่เคยประสบมามาพิจารณามาหนุนนำให้เกิดภาวะแห่งธรรมนั้นให้เข้าถึงกระแส เมื่อเป็นอย่างนี้ผู้นั้นเค้าเรียกว่าเป็นเนื้อนาบุญของศาสนา

    นั้นบุคคลไม่ว่าใครเป็นบุรุษหรือสตรีก็ดี เมื่อพวกโยมเกิดขึ้นมาแล้วก็ขอให้โยมมีความจริงจัง หนักแน่นในการประพฤติปฏิบัติ กรรมฐานนี้เป็นวิชชา เป็นสื่อลี้ลับที่เราต้องค้นหาด้วยจิตในกายของตน แสดงว่าเมื่อเรามีกรรมฐานแล้วก็เท่ากับมีวิชชา ผู้ใดมีกรรมฐานแม้ผู้นั้นจะมีทุกข์มีภัยเพียงใด..ผู้นั้นจะเห็นทางออกอยู่เสมอ นั่นเรียกว่ามีสติอยู่ตลอด..

    เมื่อครั้นเกิดภัยเกิดทุกข์ขึ้นมา ไม่ว่าโยมจะอยู่เรือนอยู่ที่ใดก็ตาม ก็สามารถประพฤติปฏิบัติอบรมบ่มจิตได้ในทาน ศีล ภาวนา แม้ไม่มีหิ้งพระบูชาองค์พระปฏิมากร เมื่อจิตเมื่อใจเราเข้าถึงความสงบ เข้าถึงพุทโธเป็นผู้รู้แล้วในขณะนี้เราจะทำอะไร จิตเราตื่นแล้วในอกุศลในอวิชชาทั้งหลาย จิตเราเป็นผู้เบิกบานแจ่มใส มีความพอใจมีปิติและสุขในการเจริญภาวนาแล้ว นั้นเรียกว่าเรานั้นอยู่ต่อหน้าพระพักตร์องค์พระปฏิมากร เท่ากับว่าเราจะได้อยู่ในโบสถ์ในวิหาร อยู่ในเขตพุทธาวาสอย่างนี้ เป็นเขตอภัยทาน จิตนั้นย่อมไม่มีความอาฆาตพยาบาท..ก็เรียกว่าศีลก็บังเกิด

    ศีลบังเกิดอย่างนี้ในขณะนั้น เมื่อจิตเราจะแผ่เมตตาแผ่กุศลให้กับดวงจิตวิญญาณเหล่าใดก็ดี กระแสแห่งบุญนี้ย่อมมาถึงในดวงจิตดวงวิญญาณนั้นได้ ได้เต็มพลังเต็มภูมิของมัน ดังนั้นนักปฏิบัติก็ควรหมั่นเจริญเมตตาอยู่บ่อยๆ เป็นผู้ต้องไม่เบียดเบียน แม้ความคิดอกุศลที่จะไปเบียดเบียนก็ดี..หากว่ามีแล้วก็ควรละอารมณ์นั้น

    นั้นเราไม่รู้ว่าเราทำกรรมอะไรมามากมาย หากเรามีโรคภัยไข้เจ็บ เราก็ควรแผ่อโหสิกรรมให้มาก ก็เพราะว่าเราเบียดเบียนสัตว์ไว้มากนั่นเอง อย่างนี้ควรแผ่เมตตาอนุเคราะห์กับดวงจิตวิญญาณทั้งหลายให้เค้าได้รับอโหสิกรรม เมื่อเค้าได้รับอโหสิกรรม ไม่มีกรรมต่อกันแล้ว เราได้สำนึกแล้วรู้เท่าทันแล้วในกรรมนั้นแล้ว ด้วยอำนาจบุญกุศลที่เราได้เจริญจิตภาวนา เจ้ากรรมนายเวรดวงจิตวิญญาณทั้งหลายที่ได้รับกระแสแห่งบุญนี้ เค้าก็จะไม่ถือโทษโกรธเคือง

    เมื่อไม่ถือโทษโกรธเคืองแล้ว อุปมาก็เหมือนไม่มีจำเลยแล้ว เราย่อมพ้นในมลทินนั้น เมื่อเราพ้นมลทินนั้นแล้ว..จิตเราก็เป็นอิสระได้ นั้นก็ควรทำให้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เค้าถึงได้บอกว่าทานก็ดี ศีลก็ดี ภาวนาก็ดีอย่าให้ห่างหาย ล้วนแล้วแต่เป็นการเจริญฌานให้บังเกิดขึ้น เพราะมันเป็นเบื้องบาทของปัญญาที่เราจะน้อมไปพิจารณาให้เห็นสภาวธรรมที่แท้จริง..

    สภาวธรรมที่แท้จริงมันคืออะไร..คือเห็นทุกข์ ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติอยู่เห็นทุกข์เห็นภัยในวัฏฏะ เห็นทุกข์ในกายอยู่บ่อยๆจนชินแล้วจนเห็นความเบื่อหน่ายแล้วในกายนี้ ไม่ว่าโยมจะมองไปที่ใด สัตว์ สิ่งของ วัตถุอะไรก็ตาม แม้จะเป็นเพื่อนร่วมพรหมจรรย์ด้วยกันก็ตาม โยมจะมีแต่ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คือพรหมวิหาร ๔

    นั่นก็หมายถึงโยมจะอยู่กับสังคมและโลกได้ไม่ว่าโลกจะวุ่นวายเพียงใด เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั่นหมายถึงว่าแม้เค้าจะเป็นคนไม่ดี ถ้าจิตเราดีแล้วเราจะไม่ถือโทษโกรธเค้า คือถ้ามันมีผัสสะมากระทบ ทำให้คลื่นพลังงานจิตเรานั้นมันมีอกุศลกระเพื่อมขึ้นมา แสดงว่าจิตเรานั้นไม่นิ่ง ศีลเรายังบกพร่องนั่นเอง

    ถึงแม้ว่าไม่มีอะไรมาผัสสะ แม้เราอยู่คนเดียวก็ยังมีคลื่นวิญญาณแห่งอกุศล เค้าเรียกว่าอนุสัยที่นอนก้นอยู่ที่เรายังไม่ได้ละ ไม่ได้ถอดถอนแห่งอุปาทานแห่งขันธ์ อันว่าถอดถอนอุปาทานแห่งขันธ์คืออนุสัย ก็คืออกุศลแห่งกรรมชั่วที่เรานั้นยังติดยังพอใจลึกๆอยู่นั่นเอง เราก็ต้องไปขุดมา มันเป็นของหมักดองเน่าเหม็น มันหมักดองไว้ไม่รู้ว่าเท่าไหร่แล้วที่เราเกิดเราตายทับถม

    ขุดเอาจิตวิญญาณเอาซากมันขึ้นมาเผา มากุสะลา ธัมมา มาแผ่เมตตา จนจิตเราสะอาดปราศจากวิญญาณที่เป็นอกุศล มันเป็นยังไง..เราจะหาความกลัวไม่มีอีกนั่นเอง แสดงว่าวิญญาณไปเกิดหมดแล้ว เหลือแต่วิญญาณจิตภพสุดท้าย เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นก็เรียกว่าศีลจึงสำคัญนัก..

    ทำไมจึงให้ความสำคัญกับศีลมาก ศีลนั้นไปที่ใดย่อมมีประโยชน์กับโลก แม้อยู่กับตัวเองก็มีประโยชน์กับตัวเอง อยู่กับส่วนรวมก็มีประโยชน์กับส่วนรวม เข้าใจมั้ยจ๊ะ คนที่มีศีลนั้นมักจะไม่กลัวสิ่งใด จะไม่อุปาทานไปก่อน..นั่นคือผู้มีศีล จะเห็นเฉพาะรู้เฉพาะหน้าในปัจจุบันของอารมณ์เท่านั้น จะไม่คิดไปปรุงแต่งก่อนที่จิตมันจะรู้

    นั้นก่อนที่จิตมันจะรู้ไปปรุงแต่งก่อนรู้..นั่นเรียกว่าวิปัสสนึก แต่ถ้ารู้แล้ว..กำหนดรู้..แล้ววางรู้ได้นั้นแล เดี๋ยวมันจะเกิดวิปัสสนาเอง คือตัวรู้ที่แท้จริงมันจะเกิดขึ้นมา นั้นตัวรู้เราก็ยังยึดไม่ได้ นั้นเค้าถึงบอกว่าเมื่อเรารู้พุทธะ ถึงพุทธะ แล้วก็ต้องทิ้งพุทธะเช่นเดียวกัน เพราะว่าพุทธะมันก็เป็นสะพานเชื่อมต่อให้เข้าถึงสมาธิ เข้าถึงความสงบ..

    เมื่อเข้าถึงความสงบแล้วเราก็ต้องวาง ให้จิตมันตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา เมื่อจิตเราตั้งมั่นเป็นเอกัคคตาแล้วนั่นแล จิตก็จะมีพลังมหาศาล เค้าเรียกว่าจิตตานุภาพ..มีอำนาจเหนือกว่าพลังจักรวาลนี้ ดังนั้นเค้าถึงได้บอกว่าถ้าเราฝึกแล้วเพื่อข้ามสมมุติบัญญัติ แล้วเราบัญญัติในสิ่งใดที่ไม่คิดว่ามนุษย์จะทำได้นั้นแล..มันก็เกิดขึ้นได้

    เพราะบุคคลที่ข้ามสมมุติบัญญัติไปแล้ว ย่อมเรียกว่าบุคคลที่เหนือธรรมดา แต่บุคคลที่เหนือธรรมดาแล้วมักย่อมจะทำตัวเป็นคนแบบธรรมดา นั้นธรรมเราก็ดีประพฤติปฏิบัติแล้ว ไม่ว่าเราจะได้คุณวิเศษวิโสอย่างไรก็ตาม เราก็ควรติดดินให้มาก ถ่อมตนให้มาก อย่าอวดดี

    อันว่าติดกิเลสไม่น่ากลัวเพราะยังมองเห็น แต่ถ้าติดดีนี้มันมองเห็นยาก ละได้ยาก แก้ได้ยาก เพราะมันจะค่อยๆหลงลงไป หลงลงไป จนมองไม่เห็นเงาตัวเอง จนมองไม่เห็นเงาคนอื่น ขอให้เข้าใจอย่างนี้ เมื่อปฏิบัติมากมีคุณวิเศษเกิดขึ้นแล้ว ยิ่งต้องทำตัวให้เรานั้นมีความอ่อนน้อมถ่อมตนให้มาก เป็นคนมีของดีแต่เหมือนไม่มีอะไร เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่รู้อยู่ภายในอย่างนี้..

    คนที่เค้ามีภูมิธรรม เค้าไม่ต้องแสดงธรรมออกมาก็ยังได้ แต่คนที่เค้ามีภูมิธรรมเป็นอย่างไรดูไม่ยาก หนึ่งเมื่อมีความวุ่นวายแต่สงบได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ สองเมื่อเจอปัญหาก็สามารถผ่านพ้นปัญหาไปได้ ดังนั้นคนมีภูมิธรรมมีมากมาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นเมื่อเราเข้าถึงในคุณวิเศษก็ควรรักษามัน อย่าทำให้มันเสื่อม

    การที่เรามีคุณวิเศษแล้วไปปรามาสธรรมคนอื่นเค้านี่แล มันจะทำให้คุณวิเศษของเราเสื่อมลง แต่ถ้าคุณวิเศษที่เราได้ไม่ว่าเราจะได้ยินได้ฟังอะไรมา คนนั้นเค้าทำได้จริงหรือไม่จริง..ไม่สำคัญ ให้เราโมทนากับเค้าไป สาธุในใจ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  12. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    B20FB0EB-AAD6-4602-B9C6-0B90E9CAD09B.jpeg

    ลูกศิษย์ : ถ้าเราแท้งลูกโดยที่ว่าเราไม่ได้เจตนาอย่างนี้น่ะค่ะ แท้งเอง เราจะบาปมั้ยคะ
    หลวงปู่ : อ้าว..เค้าจะตายยังไง จะแท้งยังไง ถ้าเราไม่ตั้งใจ ไม่เป็นไรหรอกจ้ะ ไม่บาปหรอกจ้ะ เค้าตายเอง

    ลูกศิษย์ : เด็กจะตามเรามั้ยคะ
    หลวงปู่ : จะตามไปไหนเล่าจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : เห็นเค้าบอกมีวิญญาณตามมา
    หลวงปู่ : ยังไม่เห็นมีซักตัวนี่จ๊ะ สิ่งใดก็ตามที่โยมทำไปแล้ว หากว่าชีวิตนั้นมันได้ตกตายไปตามกัน เหตุเพราะว่านั้นเราไม่ได้มีเจตนาหรือตั้งใจ เรียกว่าบุญของเค้าไม่ถึงที่จะลืมตาดูโลก เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่อย่าลืมว่าเมื่อเค้ามากำเนิดกับเรา เราไม่สามารถให้กำเนิดได้ เค้าบอกว่าต่างคนต่างบุญไม่ถึง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นเมื่อบุญไม่ถึง..อย่าคิดว่าโยมยังไม่มีกรรม จึงบอกว่าให้เราอุทิศบุญให้มากๆให้กับเค้า นั้นก็เรียกว่าเจริญศีล เจริญภาวนาให้มาก คือเจริญกรรมฐาน บุคคลที่ว่าตาย..แม้ตายในรูปแบบใดก็ตามเรียกว่าไม่มีชีวิตเกิด จึงเรียกว่าเป็นการตายโหงทั้งนั้น ชีวิตของการตายโหงจะมีการอุทิศได้จะรับบุญได้ยาก นอกจากเจริญกรรมฐาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถามว่าวิญญาณได้ตามมั้ย วิญญาณจะตามไปไหนได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะทุกที่นี้เต็มไปด้วยวิญญาณ..อยู่ตรงไหนก็เป็นวิญญาณ ใช่มั้ยจ๊ะ วิญญาณก็เรียกว่าเค้าก็อยู่ในสถานะของวิญญาณ..คือโลกของเค้า เค้าจึงตามเราไม่ได้

    แต่ที่อยู่ได้รู้ได้ที่บอกว่าตาม เพราะใจเราไประลึกนั่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อไม่มีเกี่ยวข้องกันในทางใดทางหนึ่ง ใจนั้นไม่ไปผูกพัน..เค้าตามเราไม่ได้หรอกจ้ะ ตามได้เพราะมี"สายผูกพัน" เข้าใจมั้ยจ๊ะ คือสายใยแห่งกรรม..นี่เค้าเรียกว่าตามได้ เพราะเรียกว่ามีสายใยเดียวกัน มีกรรมพัวพันกัน จึงได้พบกันได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นการตายรูปแบบนี้เค้าจึงบอกว่าการอุทิศบุญก็อาจจะไม่ถึง..ถ้าบุญนั้นไม่เป็นบุญที่ปราณีตจริง จึงบอกว่าต้องเจริญกรรมฐาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ คือละอารมณ์ให้จิตใจนั้นบริสุทธิ์ เพราะสิ่งที่เค้าเกิดเขาเกิดมาจากความบริสุทธิ์ คือความไม่รู้ ต้องเอาสิ่งนี้ไปให้เค้า เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนการให้นมดื่มกินไป แม้วิญญาณก็ดื่มกินได้ในบุญกุศล

    นั้นสิ่งที่โยมถามว่าจะติดตามโยมได้มั้ย..อยู่ที่เยื่อใยสายสัมพันธ์แห่งกรรม ถ้าโยมไม่ติดใจก็ไม่ติดกรรม เพราะว่าโยมไม่ได้ฆ่าเขา..เค้าบุญไม่ถึง กรรมมาตัดรอนแม้ขณะที่ยังจะต้องเกิด แต่บุญไม่ถึงที่ต้องเกิดมาเป็นสังขารกายมนุษย์ เห็นมั้ยจ๊ะ แต่โยมต้องการให้เค้าเกิดโยมต้องอธิษฐานบุญให้เขา ด้วยการเจริญทานศีลภาวนา นั่นก็ยังบ่งบอกถึงว่าบิดามารดาก็บารมีก็ยังไม่ถึงเขาเช่นเดียวกัน จึงว่าไม่ติดกรรมกันถ้าโยมไม่ติดใจ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : แต่เห็นมีเพื่อนคนนึงเค้าเคยทำแท้ง แล้วเค้าบอกว่าเด็กมาขี่คอเค้า เค้าบอกหนักบ่าเลย แล้วเค้าเคยทำพิธีแก้
    หลวงปู่ : มันก็หายไปพักเดียวแหละจ้า มันก็ขี่ใหม่ เพราะมันเคยขี่

    ลูกศิษย์ : เค้าบอกว่าถ้าไปทำแท้งวิญญาณจะอาฆาตแรง
    หลวงปู่ : วิญญาณน่ะไม่มีสิทธิ์อาฆาตอะไรหรอกจ้า..บิดามารดา เพราะมันเป็นกรรมที่เราเคยทำเค้าไว้ เราไปปิดกั้นไม่ให้เกิด เมื่อเค้าได้เกิดเป็นมนุษย์นี่แหละจ้ะแรงอาฆาตพยาบาทมันก็เลยบังเกิดขึ้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ หาใช่ว่าเป็นการอาฆาตพยาบาทกันไม่ แต่เป็นเพราะเป็นกรรม

    ดังนั้นเราจะยุติกรรมได้เราต้องรู้กรรมที่เราทำไปเสียก่อน คือยอมรับชะตากรรม มันอยู่ที่เจตนาจิต มันต้องมีความสำนึกในบุญและบาปเสียก่อน ไม่มีใครตามใคร..แต่ถ้าใจโยมนั้นมันยังติดอยู่ วิญญาณก็ยังตามติดทุกหนทุกแห่งทุกภูมิทุกชาติ เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันติดอยู่ที่"ใจ"ดวงเดียว เพราะใจนี่แหละจ้ะ เป็นประธานแห่งกรรมทั้งปวง

    ถ้าใจโยมมีศีลมีธรรมแล้วดวงวิญญาณเค้าก็มีศีล เมื่อเค้ามีธรรมเค้าก็มีปัญญาว่าสิ่งที่เค้าทำไปก็ดี ว่าที่บิดามารดาทำไปก็ดี เค้าจะมีการเห็นอกเห็นใจกลับมาช่วยเหลือเมตตาเป็นเทพเทวดาที่ดีได้จ้ะ

    แม้วิญญาณก็ต้องเรียนรู้เช่นเดียวกัน ต้องอาศัยศีลเพื่อจะชำระให้บริสุทธิ์ เมื่อจิตใจเขาบริสุทธิ์แล้วความอาฆาตพยาบาทมันก็น้อยลง แต่จงจำไว้มันได้เชื้อจากบิดามารดา เข้าใจมั้ยจ๊ะ จึงบอกว่ากรรมมันพัวพันเป็นทายาท..

    ดังนั้นเค้าจะมาทำร้ายอะไรโยมน่ะเค้าก็ยิ่งบาปขึ้นไปอีก เพราะว่ามันไม่มีการที่จะยุติกรรมกันได้เลย แต่คนที่มี"สังขารกายเนื้อ"อยู่นี้แลที่จะ"ยุติกรรม"ได้ แม้เค้าไม่ได้เกิด..เค้าก็สามารถเป็นเทพเทวาได้ด้วยการส่งบุญกุศลให้เขา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ยิ่งโยมภาวนามากวิญญาณน้อยก็มีปัญญาเข้าถึงธรรมได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  13. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    2081B4A6-909E-4CBE-9710-FB9C4D1ECD35.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่ครับ การเจริญเมตตา การแผ่เมตตา และก็การขออโหสิกรรมนี่ โดยใช้บทภาษาบาลีมันมีความแตกต่างกันมั้ยครับ หรือว่ามันจะไปทางเดียวกัน คือว่าที่สำคัญนี่คือจิตเรานี่น่ะครับ เราก็ต้องมีจิตด้วย เช่นว่าเราจะเจริญเมตตาก็หมายถึงว่าจะต้องแผ่เมตตา เช่นใช้บทสวดสัพเพ สัตตา เนี่ยะครับ หรือไม่ก็ใช้บทอโหสิกรรมที่ว่า กายะกัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมัง เนี่ยะครับ มันจะใช้ได้มั้ยครับ

    หลวงปู่ : ใช้ได้ทั้งนั้นแหล่ะจ้ะ แต่โยมต้องเข้าใจในสิ่งที่โยมกล่าวออกมา เมื่อโยมกล่าวออกมาแล้วโยมเข้าใจ เรียกว่าจิตโยมเข้าถึง ในการขออโหสิกรรมจักมีผลมาก แต่ต่างกันเมื่อโยมกล่าวออกมาแต่โยมไม่เข้าใจในสิ่งที่โยมกล่าวออกมาเป็นภาษาบาลีก็ตาม แต่จิตโยมนั้นตั้งจิตตั้งใจมั่นเพื่อการอโหสิกรรม เท่ากับว่าโยมรู้ความหมายของเขาเช่นเดียวกัน

    นั้นอยู่ที่จิตตัวเดียว เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ว่าถ้าโยมนั้นน่ะใช้ความหมาย รู้ความหมาย ความเข้มขลังของการอโหสิกรรมจักมีความหมายมาก เพราะโยมจะเข้าถึงใจของโยม เมื่อเข้าถึงใจของโยมก็เข้าถึงจิตใจของบุคคลที่เรานั้นจะขอขมากรรม หรือการจะยุติเวรกรรมเช่นเดียวกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อเวรไม่สร้างเวรต่อเวร ไม่สร้างพยาบาทต่อกัน ยุติเวรนั่นแหล่ะจ้ะ เป็นการตัดกรรมได้อย่างโดยตรง ไม่ใช่โยมไปสะเดาะเคราะห์ ไปล้างกรรมได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ การจะหยุดกรรมโยมต้องหยุดที่ใจของโยม ไม่สร้างกรรมต่อด้วยกาย วาจา ใจ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  14. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    96C7756B-D5D3-41D8-BFC9-501E8BA76689.jpeg

    การที่คนเราได้เจริญสมาธิกรรมฐานอยู่ตลอดก็ดี ระวังอารมณ์อยู่ตลอดก็ดี แต่ก็ยังไม่เกิดปัญญาที่จะละอารมณ์นั้นได้..อย่างนี้เค้าเรียกว่ายังไม่เข้าถึงตัวปัญญา แต่ผู้ใดที่ยังเสวยกิเลสอยู่ก็ดี..แต่ด้วยมีปัญญาพิจารณาเห็นโทษเห็นภัยในวัฏฏะ เมื่อมีโอกาสก็เข้าไปละประหัตประหารกิเลสตัวนั้นอยู่บ่อยๆเนืองๆแล้ว ผู้นั้นสามารถพยากรณ์ได้ว่าย่อมพ้นจากบ่วงภัยในกรรมนี้ได้

    ดังนั้นย่อมต้องรู้ตัวเองว่าเรานั้นยังข้องแวะสิ่งใด..ก็ต้องให้ละ พยายามออกจากอกุศลนั้นให้ได้ อันว่ากิเลสตัณหาเหมือนเป็นของหวาน ยิ่งเสพยิ่งกินก็ยิ่งติด ยิ่งมีรสมีชาติ ยิ่งไม่มีความรู้จักพอ ไม่มีความรู้จักหน่าย นั้นการที่เราจะละไอ้พวกนี้ได้..เราต้องตัดที่ใจของเรา แล้วถามว่าเมื่อไหร่จะตัดได้ เคยถามตัวเองมั้ยจ๊ะ บางคนกลัวก็ยังกลัวอยู่ร่ำไป บางคนพอใจก็ยังพอใจอยู่ร่ำไป

    อันว่ากิเลสตัณหานี้เป็นของธรรมดาของมนุษย์ เมื่อเราเป็นมนุษย์เราก็เสวย ในขณะที่เราเจริญฌานวิปัสสนาญาณนั้นแลกายเทพกายพรหมมันก็บังเกิดขึ้น ก็ให้พิจารณาอยู่ในพรหมวิหาร ๔ คือการอบรมบ่มจิตให้เข้าถึงในธรรม ก็เอาธรรมนั้นแลมาไตร่ตรองมาพิจารณาให้เข้าถึงตัวปัญญา เมื่อผู้ใดเกิดตัวปัญญาของจิตแล้ว จิตนั้นย่อมสอนในตัวมันเองอยู่ทุกขณะจิตเมื่อจิตนั้นมีความสงบ

    เป็นธรรมดาของจิตของมนุษย์จะให้สงบอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นไปได้ยาก เหตุเพราะเรานั้นเอาจิตไปข้องแวะกับอกุศลอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการเจริญภาวนามนต์ก็ดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ช่วยทำให้จิตนั้นเข้าสู่สมาธิได้ง่าย การมีภาวนาองค์บริกรรมกำกับจิตก็ดี..เหล่านี้เรียกว่าเป็นการถนอมจิตอย่างดี เหมือนการถนอมอาหารให้คงที่คงทน

    ดังนั้นแม้โยมยังไม่ได้บวชยังไม่ได้สละขอให้จงจำไว้ เมื่อเรามาเข้ากรรมฐานขอให้โยมภาวนาจิตให้มาก เช่นว่าเดินจงกรมในการภาวนาให้มาก ถ้าโยมนั่งมากโยมต้องพิจารณาให้มาก ไม่ใช่นั่งแล้วโยมทนได้มาก มันจะไม่ทำให้โยมนั้นได้อะไร เพราะการทนนั้นคือความเพียร..แต่ขาดด้วยสติแล้ว..ความเพียรของโยมนั้นมันจะไม่มีความหมาย
    นั้นการเดินด้วยการมีภาวนามีสติจะทำให้มีกำลังจิต คือการทนต่อเวทนาได้มาก นั้นการทนต่อเวทนาได้มากนั้นแลโยมจะทำให้การพิจารณาด้วยสติด้วยปัญญานี้..ให้เกิดเหตุ..ทำให้เห็นผลได้ชัดเจน

    แต่ถ้าโยมนั่งพิจารณาแล้วมีแต่ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ มันจะทำให้ตัวปัญญาเกิดขึ้นอย่างแท้จริงก็เป็นไปได้ยาก เพราะจิตโยมจะไม่สงบได้เลย ดังนั้นการสาธยายมนต์ก็ดี การภาวนาจิตนี้ด้วยมีองค์บริกรรมกำกับนี้ จึงเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้จิตโยมเข้าถึงศีลถึงสมาธิได้ง่าย นั้นอันว่าทานมันหายไปไหน ทุกครั้งโยมอาจจะขาดไป แล้วไม่เห็นค่าความสำคัญของทานว่าในขณะนี้ก็ดี ก่อนที่จะเจริญกรรมฐานก็ดี ทานเราทำได้อย่างไร..

    ทานคือการสละละอารมณ์แห่งความพอใจไม่พอใจ หนึ่งคือความหลง สองคือโทสะ โมหะ ความอิจฉาริษยา เหล่านี้คือการให้อภัยทาน ความละโกรธเป็นทาน เหล่านี้เรียกว่าชื่อว่าเป็นทานอย่างหนึ่ง เมื่อเราสละเป็นทานไปเสียแล้ว อารมณ์ที่จิตนั้นที่จะมีอกุศลเกิดขึ้น มีเวรมีพยาบาทนั้นเค้าเรียกเป็นการตัดอุปสรรคแห่งกรรมไป

    ดังนั้นการที่โยมสวดมนต์สาธยายมนต์นี้เค้าเรียกว่าการตัดอุปสรรคไปในตัว แต่เมื่อโยมเจริญพระกรรมฐานฌานวิถีแล้ว..เป็นการตัดกรรมไปในตัว ถามว่าตัดกรรม..กรรมมันจะหายมั้ย กรรมไม่ได้หายแต่มันทำให้กรรมโยมนั้นมันเบาบาง แต่การเจริญมนต์อันนั้นมันตัดอุปสรรค..แต่ไม่ได้ตัดกรรม แต่การเจริญพระกรรมฐานนี่แลเรียกเป็นการตัดกรรม

    เพราะว่าจะทำให้โยมนั้นตัดใจได้ที่จะไม่ถือโกรธ อกุศลจะไม่เกิดครอบงำขึ้นมาอีก จนเมื่อโยมอยากเจริญกรรมฐานให้มันเข้าถึงจิตที่แท้จริง โยมก็ต้องให้เมตตาอย่างแท้จริง ให้อภัยอย่างแท้จริง ที่ฉันเคยบอกความดีให้ดูที่คนอื่น..เราจะเห็นชัด เพราะการดูความดีของตัวเองมันจะทำให้เราหลงดี ถือดี แต่ความเลวให้ดูที่ตัวเราเอง ความดีให้ดูที่คนอื่น

    เพราะความดีเรารู้อยู่แล้วเราดีอย่างไร แต่ความเลวเราไม่ค่อยได้ดู จึงทำให้เราถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าคนอื่นนั่นเอง นั้นขอให้จงพิจารณา เมื่อเราคิดได้อย่างนี้เราจะให้อภัยต่อคนอื่นเค้า อย่าให้ทิฐิมานะหรือโทสะเหล่านี้มาครอบงำจิต เมื่อจิตเรามีแต่โทสะ โมหะ คือการถือตัวถือตนมากเพียงใด มิตรก็ดี สหายก็ดีมันจักไม่มี

    นั้นการประพฤติปฏิบัติธรรมในยุคนี้สำคัญคือสหายและมิตร มีมิตรธรรมญาติธรรมมากเพียงใด โยมก็จะมีกำลังในการก้าวสู่ที่จะต่อกรกับอุปสรรคและกิเลสตัณหา นั้นอย่าได้ถือดีอวดดี อย่าคิดว่าโยมมาเจริญพระกรรมฐานแล้ว แต่โยมยังมีตัวมีตนอยู่ ยังถือตัวถือตนว่าตัวเองนั้นดีตัวเองนั้นถูก เหล่านี้แสดงว่าที่โยมมาประพฤติปฏิบัตินั้นไม่ได้เกิดปัญญาอันใดเลย แต่ถ้ามนุษย์ผู้ใดมาประพฤติปฏิบัติแล้วละอัตตาตัวตนได้ ละทิฏฐิมานะได้ ให้อภัยคนได้นั่นแล เรียกว่ากรรมฐานของโยมนั้นมันได้เจริญจริง ก็ลองทบทวนดู..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  15. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    E828852D-C412-4A26-80FF-89F2C0E1C392.jpeg
     
  16. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    47CD1BCF-2FC3-4AF3-BB50-44904F375315.jpeg

    เมื่อเราพุทโธ ธัมโม สังโฆ ถ้าไม่มีเวลาสวดมนต์ไหว้พระอะไรก็ตามก็ให้ภาวนาพุทโธไว้ เมื่อจิตมันอิ่มเอม มันเกิดบุญกุศลบ่อยๆแล้ว เดี๋ยวมันจะอยากหมั่นสวดมนต์ รักษาศีล ให้ทานเอง ทีนี้บ้านมันก็ร่มเย็นเป็นสุข แต่บุคคลใดบ้านใดเรือนใดจิตใจที่ไม่มีหลักแล้วไซร้ นอนก็ผวา ตื่นก็ผวา เพราะขาดหลัก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นก่อนตื่นก่อนนอนให้เจริญเมตตาจิต สวดมนต์ไหว้พระก็ยังดี ถ้าไม่สวดก็พุทโธ ธัมโม สังโฆก็ยังดี เมื่อจะนอนก็พุทโธตาย ธัมโมตาย สังโฆตาย การตายนั้น..การระลึกถึงความตายนั้นเป็นมงคลอย่างยิ่ง ไม่ใช่อัปมงคล วันหนึ่งให้ระลึกถึงความตายอย่างน้อยหนึ่งครั้งก็ยังดี..เป็นมงคล เมื่อระลึกถึงความตายแล้วจิตใจนั้นมันก็เรียกว่าตื่น

    เมื่อตื่นนั้นแลบุญกุศลมันก็จะบังเกิด ทำให้เรานั้นไม่ประมาท คิดทำอะไรก็จะได้รีบทำ ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง นี้โยมทั้งหลายบางทีก็ผลัด จะทำบุญ บอกเค้าแล้วว่าจะทำบุญไปให้ แต่ก็ไม่ทำ เค้าก็รออยู่อย่างนั้น เมื่อรออยู่อย่างนั้นเป็นการติดสัจจะวาจากัน เมื่อทำอะไรนั้นย่อมติดขัด เพราะว่าเราไปพูดบอกเค้าไว้ เค้าก็มาบดมาบัง

    จริงๆแล้วเป็นการที่ไม่ใช่ว่ากลั่นแกล้งกัน แต่เพราะเรานั้นทำขึ้นมาโดยไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็ไปหาทางโน้นแก้ทางนี้แก้ ทั้งๆที่จริงแล้วมันเกิดจากเราทั้งนั้น เพราะกรรมมันเกิด ๓ ทาง ทางกาย ทางวาจา และใจของเรา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นเมื่อเราติดอะไร..ทำอะไรก็ไปทำซะ ยิ่งเข้าพรรษานี้พระท่านไม่ได้ไปไหน เหมาะแล้วแก่การไปทำบุญกุศลอุทิศให้บรรพบุรุษ วิญญาณทั้งหลายที่เราติด ที่เราเคยล่วงเกินกายวาจาใจไว้นั่นเอง สังฆทานก็ดี..ไปทำซะ บุญนั้นเมื่อเราเห็นที่ตรงใด ภพใดเคยเห็นอุทิศระลึกถึงด้วยจิตแล้ว..มันก็กระทบก็เกิดแล้วบุญกุศล ย่อมถึงกันได้ เพราะจิตต่อจิตย่อมถึงกันได้ ขนาดเวรต่อเวรมันยังพยาบาทกันได้เลย ใช่มั้ยจ๊ะ

    เพราะในขณะที่เราอยากจะให้ใคร บุญกุศลย่อมบังเกิด เพราะในขณะที่เราจะให้ใคร เวรพยาบาทเราไม่มีกับใครแล้ว นั่นแลเหมาะแล้วจะประกอบคุณงามความดี เข้าใจมั้ยจ๊ะ นึกได้ตอนไหนก็ให้ตอนนั้นก็ได้ แต่ให้อ้างบุญกุศลที่เราเคยทำมา ถ้าไม่เคยทำมาให้อ้างอำนาจแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระรัตนตรัย ขอบุญกุศลนี้แห่งข้าพเจ้าระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระรัตนตรัย คุณบิดามารดา เหล่าเทพพรหม พระแม่ธรณีอ้างเป็นพยาน ขอบุญกุศลนี้ขออุทิศสำเร็จประโยชน์ให้กับผู้นั้นผู้นั้น บุญเขาก็ได้รับ บริสุทธิ์ยิ่งกว่าศีลที่เรามีอยู่ เพราะศีลเรายังรักษาไม่ถึง ก็ต้องเอาผู้ที่มีอำนาจบารมีมาคุ้มป้องกันภัยให้เราเกิดรัศมีบุญ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เรียกส่งต่อออกไป..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  17. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    บวร

    บ้าน วัด โรงเรียน

    เมื่อต้องไปอยู่ในสถานที่ต่างๆ ควรทำสถานที่นั้นให้เป็น "บวร" จะได้ไม่มีข้ออ้างในการสร้างกุศลว่า "นี่บ้าน นี่วัด นี่โรงเรียน" เพราะทุกสถานที่สามารถสร้างกุศลกรรม ๓ ได้ทุกที่

    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญกับผู้ที่สร้างกุศลกรรมและอุทิศบุญของตนเองให้กับผู้ที่ตกอยู่ในวัฎสงสาร เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือวันอาสาฬหบูชา ๒๕๖๓ ด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2020
  18. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    91A74AE1-3634-4503-88E6-2CB118F85D3C.jpeg

    เหตุว่าทำไมเราต้องมาเจริญสติเจริญสมาธิภาวนากัน เพราะเราไม่รู้ได้ว่าเราจะตายเมื่อไหร่ ในขณะที่เราก่อนจะตาย จิตเราเป็นกุศลหรืออกุศล ใช่มั้ยจ๊ะ แต่ถ้าเราฝึกสติ ฝึกภาวนาจิตอยู่บ่อยๆเนืองๆ หากว่าธาตุมันกำเริบ จิตวิญญาณนั้นมันจะดับ..สติตัวนี้ที่เราฝึกมา มันจะมารวมตัวกัน ให้เรามีสติเท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีที่เราได้กระทำมา จะได้ไม่หลงลืม

    อย่าได้ประมาท ไม่ว่าเราจะทำบุญบามีมาใหญ่เพียงใด แต่ถ้าสติเรานั้นพลั้งเผลอ เกิดอกุศลเกิดขึ้นในจิตในตอนที่เราจะไป หรือตอนที่เราจะดับลมหายใจ เราก็ต้องไปเสวยทุกข์วิบากกรรม นั้นเราอย่าได้ประมาท การทำความดีให้มันถึงพร้อม มันต้องถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยทาน ศีล ภาวนา เมื่อเราทำอยู่บ่อยๆ จิตเรานั้นจะมีความละเอียดละมุนละไม

    เรียกว่าในอกุศลในกรรมชั่วนี้..เราจะหลีก เราจะห่าง เราจะงด แล้วเราจะเว้น จิตเมื่อเราเจริญทาน ศีล ภาวนาอยู่บ่อยๆ จิตมันจะเกิดความเมตตา จิตเกิดความเป็นพรหม

    อยากรู้ว่าจิตเราเป็นอย่างไร..ดูไม่ยาก จิตเราเมื่อมีศีล ๕ แล้ว เรียกว่าความเป็นมนุษย์ครบถ้วนแล้ว..สมบูรณ์ เรียกว่าสุกแล้ว จิตเมื่อเรามีหิริโอตัปปะ มีความยับยั้งชั่งใจในกรรมชั่ว ไม่ว่าจะเป็นในที่ลับหรือที่แจ้งต่อสาธารณชนทั้งหลาย หรือต่อกับตัวเราเองก็ดี เรามีความละอายได้..นั่นเรียกว่าจิตเราเป็นเทวดา

    จิตเรามีเมตตาเกื้อกูลกับสัตว์ทั้งหลาย แล้ววางเฉยต่ออารมณ์โลกธรรม ๘ ได้ จิตเราก็เป็นพรหม จิตเราปราศจากอารมณ์ที่จะมาปรุงแต่งให้จิตเกิดอกุศลในขณะนั้น จิตเราก็เป็นอรหันต์ จิตเราดับอารมณ์ได้ทุกอย่าง ไม่มีอารมณ์ที่มาปรุงแต่ง ความเศร้าหมองหดหู่ใจให้นิวรณ์ทั้งหลายจะมาครอบงำจิตได้นั้น จิตเรียกว่าเข้าถึงสภาวะนิพพาน แม้กระทั่งที่เรายังไม่ดับลมหายใจไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นอารมณ์ใดที่เราจับได้ อารมณ์นั้นควรฝึกให้อยู่บ่อยๆ ให้มีความชิน ความชินนี้เมื่อเรากำหนดไปในอารมณ์นั้น..อารมณ์นั้นก็บังเกิดขึ้น ก็ตั้งใจเอาอารมณ์นั้นแลเป็นเบื้องบาทแห่งการเจริญสมาธิไป เจริญวิปัสสนาไป ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นบทบริกรรม องค์ภาวนา หรือธรรมบทใดๆที่มันเป็นกุศล ให้เอามาเจริญจิตไว้ มาตรึกตรองให้เป็นธรรม ให้มันขึ้นให้มันชินกับใจเรา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั่นเรียกว่าเป็นการเจริญฌานอยู่ตลอดเวลา เมื่อเรามีธรรมบท ตรึกตรองในธรรมอยู่ตลอดเวลา ยกธรรมข้อหนึ่งข้อใดก็ตาม บทบริกรรมใดบทหนึ่งก็ตาม องค์ภาวนาใดภาวหนึ่งก็ตาม จะเป็นคาถาบทใดที่เรียกเป็นธรรม..เป็นธรรมบททั้งนั้น เอามาเป็นกรรมฐานก็ดี เอามาเป็นสมถะก็ดี เอามาเป็นฐานของวิปัสสนาก็ดี อย่างนี้เรียกว่าจิตเรานั้นไม่ห่างเหินจากฌาน

    เมื่อมันเป็นอย่างนี้ได้ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใด เราก็ประพฤติปฏิบัติได้อยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่บอกว่าเราจะต้องมาเจริญพระกรรมฐาน ต้องมาเจริญมนต์ แล้วถึงเรียกว่ามาเจริญกรรมฐานได้ มนต์เมื่อเราสวดจนขึ้นใจแล้ว ก็เอามนต์นั้นแลเป็นธรรมบทเรา เอาไว้เป็นองค์ภาวนา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะผู้ใดมีองค์ภาวนากำชับกับจิตแล้ว นั่นแลเป็นผู้อยู่ว่าไม่ห่างเหินในพระรัตนตรัย มีจิตที่ตั้งมั่นอยู่ในฌาน ย่อมเป็นผู้ที่มีกำลังจิตที่ดี ย่อมเป็นผู้ล่วงรู้ในอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ได้ไปล่วงรู้ใคร แต่ล่วงรู้อารมณ์ของตัวเอง ถ้าบุคคลใดไม่ล่วงรู้อารมณ์ของตัวเอง ไม่เท่าทันในอารมณ์ของตัวเองแล้ว แล้วไปบอกไปล่วงรู้ในผู้อื่นนี้ ไอ้พวกเหล่านี้เค้าเรียกว่าพวกหลง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    พอมันหลงมากๆแล้วทีนี้ ใครพูดอะไรมันก็ไม่ฟัง ขึ้นชื่อว่าคำว่าหลงแล้วก็จะหาการทักท้วงได้ยาก เมื่อเหตุหรือกรรมก็ดี มันบังเกิดขึ้นให้เกิดความเสียหาย ถึงจะได้เกิดสติขึ้นมา นั้นการที่จะล่วงรู้คือต้องล่วงรู้อารมณ์ของตน ล่วงรู้ภาวะจิตของตน อย่าได้ไปล่วงรู้ผู้อื่น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะการที่เราไปล่วงรู้ผู้อื่นนั้นแล เรียกว่าเราเอากรรมคนอื่นเค้ามาใส่ กรรมเรายังไม่ได้แก้ยังไม่ได้ไข ยังเอากรรมผู้อื่นเค้ามาใส่อีก โยมว่าจะมีกรรมเพิ่มซ้อนอีกมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เพิ่มเจ้าค่ะ) อ้าว..แล้วมันจะลดได้ยังไง แล้วจะเรียกว่าเป็นกรรมฐานมั้ย มันไม่ต่างอะไรกับการที่ส่งจิตออกไปภายนอก เรียกว่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    โยมดูไม่ยาก ไอ้พวกที่แกว่งเท้าหาเสี้ยน..เมื่อถึงเวลาก็ทำให้ตัวเองเดือดร้อนในภายหลัง เมื่ออยากจะดังมาก ไม่นานมันก็ต้องมีเหตุ เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว..ตั้งอยู่..มันก็ต้องดับ แต่ถ้าไม่อยากได้ลาภ..ก็ไม่เสื่อมลาภ ไม่อยากได้ยศ..ก็ไม่เสื่อมยศ ไม่อยากเด่นไม่อยากดัง..มันก็ไม่เสื่อมอะไร นั้นอย่าไปอยากไปเด่นไปดัง อย่าไปอยากได้ลาภสักการะอะไร เพราะมันมีแต่ของเสื่อมทั้งนั้น

    ถ้ายังอยากพ้นทุกข์..ความอยากพ้นทุกข์นี้ไม่เรียกเป็นกิเลส แต่ความอยากพ้นทุกข์นี้เค้าเรียกว่าเป็นความปรารถนาแห่งการสร้างบารมี เข้าใจมั้ยจ๊ะ อ่ะ..งั้นความอยากที่เรียกเป็นกิเลสมีอะไร ความอยากใดๆที่ความอยากแห่งจิตนั้นที่มันทำให้เรานั้นมีความปรารถนา เกิดความโลภ ความหลงนั้นแล..เรียกว่ากิเลส ทำให้เกิดตัณหา

    แต่ความอยากใดๆเพื่อปรารถนาเพื่อเกิดความพ้นทุกข์ เพื่อกำจัดกิเลสเสียแล้ว เพื่อไปในทางให้จิตมันเสื่อมลงในอกุศลนั้น ดึงอกุศลให้เสื่อมนั้น จึงไม่เรียกเป็นกิเลส เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่เค้าเรียกการสร้างบารมี นั้นขอให้โยมเข้าใจอย่างนี้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  19. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    1923DF6C-3A8C-4BC3-8215-5781CB72985F.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลานสาวของหนูน่ะค่ะ เค้าป่วยเป็นโรคร้าย..โรคมะเร็งค่ะ วันนั้นหนูเข้าไปเยี่ยมเค้า เห็นเค้าทรมานมีเวทนามากเลย เค้าปวดจนแบบเค้าบอกเค้าอยากจะตาย เค้าไม่อยากทนทุกข์ทรมานแบบนี้

    หลวงปู่ : เค้าอยากหายมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เค้าอยากหายค่ะ) ไม่ยากหรอกจ้ะ ใครป่วยเป็นโรคร้ายน่ะ ป่วยจนเจียนตายแล้วน่ะ เขาบอกว่าให้เอาความตายที่โยมระลึกถึงนั้นน่ะจ้ะมาเป็น"องค์ภาวนา" โรคนั้น..ความตายนั้นมันจะสลายก็ไอ้ตรงนี้แหล่ะจ้ะ

    ความลับของโรคนั้นมันอยู่ที่โยมไปยึดว่าโรคนั้น..แล้วโยมมีความกลัว โรคนั้นมันก็ลุกลาม เหมือนไฟเมื่อโยมไม่มีสติแล้วไปยืนให้มันลามน่ะ..มันก็หมดไม่เหลืออะไรเช่นกัน อย่างน้อยมันก็ยังเหลือถ้าโยมดับมันได้ คือเมื่อโยมข่มอารมณ์นั้นได้ ไม่มีความกลัว มีหลักคือนึกถึงบุญกุศลที่ได้ทำมา ก็เอาบุญกุศลนั้นแล ที่มันลามปามไหม้นั้นแลที่คือเชื้อกรรมเก่าที่โยมได้ไปเบียดเบียนที่โยมได้กระทำไว้..ก็ส่งบุญให้เขาไป ขอยอมความ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เอาอารมณ์ที่เหลืออยู่ที่เกิดในเวทนาอยู่กับมัน ใช้ขันติธรรม..คือยอมซะ อย่าดิ้นรน

    แต่ในการยอมของเรานั้นเรายอมด้วยความว่า"มีหลัก" จับหลักให้มั่นคือ"พระรัตนตรัย" เมื่อจิตใจตั้งมั่นให้อธิษฐานอโหสิกรรม..ยอมซะ อย่าถือตัวถือตน ไม่ใช่บอกว่า "ถ้าจะตาย ก็ขอให้ตาย" อย่างนั้นน่ะมารมันชอบ มันจะขี่คอเขย่าให้ขาดใจตาย เขาเรียกว่าตายทั้งเป็น

    คนมีสติเท่านั้นที่จะเหนือกรรมได้ เค้าบอกว่าคนที่จะตายหรือเป็นเวรภัยอันใด ถ้าคนมีสติเค้าบอกว่าทุกอย่างที่เป็นวิกฤตจะเห็นทาง..เห็นโอกาส นั่นเค้าเรียกว่าเขาได้มาทวงหนี้ก้อนใหญ่ เพราะไอ้ตอนที่เขามาทวงเล็กๆน้อยๆโยมไม่ยอมให้เขา ผัดผ่อน คิดว่าตัวเองมีกายสังขารแล้วจะอวดดี มันหาว่าเป็นเช่นนั้นไม่

    กรรมเป็นของเที่ยงธรรมเมื่อมันให้ผล เช่นเดียวกับกรรมที่โยมบอกว่ามันเล็กน้อย แต่ถ้าโยมทำกรรมดีแม้เล็กน้อย เจริญภาวนาเล็กน้อยแต่เมื่อโยมทำเป็นแรมปี มันก็มากได้ จิตโยมก็มีกำลัง เช่นเดียวกับกรรมชั่วเมื่อโยมทำแล้วเล็กน้อย แต่เมื่อโยมทำอยู่บ่อยๆเป็นนานเป็นแรมปี มันก็ให้ผลเช่นเดียวกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่มีใครช่วยใครได้นอกจากตัวเราเอง นั่นคือ"สติ"

    สติโยมไปยึดถึงสิ่งใดเล่าจ๊ะ สติโยมไประลึกถึงบุญกุศล บุญกุศลอันใดที่ยิ่งใหญ่เล่าจ๊ะ บุญกุศลที่โยมเคยให้ทาน ได้เคยเจริญภาวนา ถ้าไม่เคยเจริญภาวนาเลยก็ขอให้เจริญภาวนาในอารมณ์นั้นให้เป็นภาวนา ให้ระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธตาย ธัมโมตาย สังโฆตาย..อยู่อย่างนั้น

    จนจิตมันแนบสนิทกับบุญกุศลนั้นแหล่ะจ้ะ เมื่อจิตมันแนบสนิทกับบุญกุศลแล้ว สติมันตั้งมั่นแล้ว จิตของผู้นั้นจะมีอำนาจแห่งจิต เมื่อนั้นแลผู้นั้นจะต่อรองกับกรรมได้ เมื่อต่อรองแล้วจะได้รู้ กรรมนั้นจะบรรเทาได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ โรคมันจะฝ่อได้..

    แต่ถ้าโยมไปกลัวมัน คนที่กลัวน่ะไม่มีสติ เหมือนไฟมันกำลังลุกไหม้บ้านเรือน แต่โยมไม่มีสติได้แต่หวีดร้องอย่างเดียว โยมว่าบ้านโยมจะเหลือแต่ตอมั้ยจ๊ะ เพราะมะเร็งมันลามมันก็จะไหม้ดำไปหมด เหมือนไฟนั้นแล นี่เป็นอำนาจแห่งไฟโทสะที่โยมไปสาปแช่งชาวบ้านชาวช่องเขามากมายเป็นภพเป็นชาติ มันจึงลามเป็นมะเร็งก่อตัว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถึงแม้มันจะเป็นกรรมพันธุ์เพราะว่าสันดานมันมาอย่างนั้นทั้งโคตรเหง้าศักราช เข้าใจหรือไม่จ๊ะ แต่จะให้ฉันไปช่วยอะไรไม่ได้ ฉันแค่บอกได้จ้ะ ว่ากรรมมันเกิดจากที่ใด เข้าใจมั้ยจ๊ะ..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  20. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    C5F98FC9-99C4-4BD4-970F-679CFAFEE35C.jpeg

    อันที่จริงกรรมฐาน..โยมก็ฝึกมามากแล้ว จะมองว่าไม่ก้าวหน้าไปไหน แต่อะไรที่เราทำอยู่บ่อยๆเนืองๆ มันก็มีความคุ้นเคย นั่นก็หมายถึงว่าละอกุศลได้บ้างไม่ได้บ้าง มันเป็นธรรมดา เพราะเราไม่ใช่ผู้ทรงศีล แม้ผู้ทรงศีลเองก็ตามก็ยังบกพร่องในศีล ที่กล่าวเรื่องศีลอย่างนี้หมายถึงว่า ศีลนั้นเป็นสิ่งสำคัญ..

    เมื่อศีลนั้นเรารักษาเจริญได้เป็นปรกติดีแล้ว การเจริญกรรมฐานมันก็จะเป็นปรกติของมันเอง นั้นเมื่อโยมมีกรรมฐานแล้ว ได้เจริญกรรมฐานพอสมควรนั้น ต่อไปก็ควรหมั่นเจริญรักษาศีลเจริญพรหมจรรย์ สำรวมกาย รักษากาย วาจา ใจให้เป็นปรกติ แม้อารมณ์ในอกุศลใดขึ้นมาก็ให้รู้เท่าทัน เมื่อเรารู้เท่าทัน..กำลังแห่งตัวรู้เมื่อระลึกมากระลึกอยู่บ่อยๆ สติมันก็มีกำลังมาก มันก็จะมีหิริโอตัปปะขึ้นมาเอง

    หิริโอตัปปะทั้งหลายหรือตัวระลึกเหล่าใดก็ดี สตินั้นมันต้องมาคู่พร้อมกับปัญญา เพื่อเอาไปละเอาไปพิจารณาเพ่งโทษในสิ่งนั้น หาไม่แล้วไอ้ตัวที่เราฝึกสติมาแล้วมันอาจจะพิโรธขึ้นมาได้ แต่ตัวสตินั้นถ้ามันมาพร้อมกับปัญญา การเจริญนิโรธก็ดีเจริญมรรคก็ดี พิจารณาอริยสัจ ๔ ก็ดี มันก็เข้าถึงได้ง่ายในการปล่อยวาง

    นั้นการปล่อยวางนี้ที่เราจะวางได้ เราต้องรู้จักปล่อยคือการละ ไม่ยึดในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เพราะสภาวะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่จิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นนั่นแล เค้าเรียกว่าตัวยึด เรียกว่าตัวขันธ์ ตัวทำให้จิตเรานั้นผิดปรกติ ศีลเราก็จะบกพร่อง ดังนั้นการจะปล่อยวางก็คือการวางเฉยไม่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นการงานใดก็ตามที่ทำให้เราหวนคิดแล้วนั้น ระลึกแล้วทำให้เราเกิดฟุ้งซ่านรำคาญใจ เกิดโทสะขึ้นมาก็ดี เกิดโมหะก็ดี..เหล่านี้ควรกำหนดรู้ นี่แลที่มันจะทำให้จิตเรานั้นส่งออกไปภายนอก ที่จะทำให้ฌานเราเสื่อม ที่จะทำให้ศีลเราบกพร่อง

    นั้นขณะใดก็ดีที่อารมณ์เหล่านี้มันผุดขึ้นมาในใจเรา ก็ให้กำหนดรู้พิจารณาดับมันที่อารมณ์ของใจ เมื่อใจเราดับได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจทั้งหลาย ผัสสะใดมันก็ถูกดับไปด้วย นั้นใจจึงเป็นของสำคัญ เป็นประธานใหญ่แห่งกรรม เมื่อเราดับใจได้แล้วกรรมมันก็ดับ รู้เท่าทันใจได้แล้วก็รู้เท่าทันกรรมนั่นแล ก็พิจารณาฝึกตรงนี้อยู่บ่อยๆ

    เมื่อฝึกอยู่บ่อยๆแล้วก็จะเกิดความคุ้นเคย เคยชินในสิ่งที่เราฝึก นั้นเมื่อโยมได้ไปประพฤติปฏิบัติ อาศัยสถานที่สัปปายะ เจริญความสันโดษจนมากขึ้นแล้ว เค้าเรียกว่าอยู่ในที่สงัดแล้ว อยู่ในที่วิเวก มีความสันโดษ มีความมักน้อย มีความพอใจก็ดีนั้นแล เหมาะแก่การเจริญสมถธรรม อบรมบ่มจิตให้เข้าถึงความบริสุทธิ์ และก็ต้องมีความเพียรเป็นที่ตั้ง มีขันติเป็นที่ตั้ง

    นั้นการที่โยมจะไปประพฤติปฏิบัตินั้น ถ้าโยมห่างจากของวัตถุที่เป็นข้าศึกแห่งพรหมจรรย์ที่จิตเราจะส่งออกไปภายนอก ที่เราจะคอยเป็นกังวลนั้นแล เราก็ตัดออกไปเสีย นั้นในสิ่งที่เรียกว่าเรานั้นเป็นผู้ปฏิบัติ ถ้ายังไปยุ่งอยู่ในทางโลกอยู่ ยังข้องอยู่ในทางโลกอยู่ แม้จะเป็นผู้บวชก็ดี โกนหัวแล้วก็ดี ก็ยังไม่เรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติเป็นนักบวช เพราะจิตนั้นยังส่งออกไปภายนอกไปวุ่นวายในทางโลก

    มันก็เป็นธรรมดาว่าของโลกๆนั้นมันจะทำให้จิตเราป่วย ให้มีอารมณ์ให้อกุศลบังเกิดขึ้น พอมันเกิดขึ้นเราก็มาดับมันทีนึง แต่เราไม่ดับที่เหตุ อย่างนี้เค้าเรียกว่ายังมีตัวความอยาก ยังมีวิภวตัณหาอยู่ เมื่อเรากำจัดที่เหตุได้จิตเราก็จะปล่อยวาง ไอ้จิตที่ปล่อยวางนี้ก็เท่ากับจิตนั้นหลุดพ้นไปชั่วขณะหนึ่ง ก็เรียกว่าข้ามอารมณ์ได้ ข้ามสมมุติบัญญัติได้

    ผู้ที่ข้ามสมมุติบัญญัติได้เป็นอย่างไร เป็นอย่างไร..เป็นอย่างนี้ หมายถึงว่าผู้นั้นจิตที่เหนืออารมณ์แล้ว เป็นอิสระแล้วนั่นแล จะกำหนดบัญญัติอะไรขึ้นมาก็ดีที่มันเหนือโลก มันก็สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ถ้ายังข้ามสมมุติบัญญัติของโลกไม่ได้ ก็ต้องไปตกเป็นทาสของโลกดังเช่นที่โยมทำกันอยู่ ติดในของเล่นอะไรของโยม อย่างนี้แลมันหาประโยชน์ไม่ได้หรอกจ้ะ มันมีแต่เสียแต่ประโยชน์ เสียแต่เวล่ำเสียแต่เวลา

    อย่างนี้เค้าเรียกว่ายังไม่รู้หน้าที่ของตน เมื่อไม่รู้หน้าที่ของตนแล้ว เวลาของตนนั้นก็เหลือน้อยนั่นเอง เวลาที่เหลือน้อยคือเวลาที่ปฏิบัติมันมีน้อย แต่เวลาที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลินมันมีมาก ถ้าตัณหามันมีมากอย่างนี้แล้ว กุศลธรรมทั้งหลายนั้นที่มันจะเกิดขึ้น..มันก็เกิดขึ้นได้ยาก พอมันเกิดขึ้นแล้วมันไม่ต่อเนื่องแล้ว..มันก็ต้องไปเริ่มต้นใหม่ กว่าจะมากรรมฐานก็ดี วันศีลวันอะไรก็ดีที่มีวาระที่โยมทั้งหลายได้มาประพฤติพรหมจรรย์ ได้มาปฏิบัติกุศลคุณงามความดี..มันก็ไม่ต่อเนื่อง

    เมื่อมันไม่ต่อเนื่องแล้ว..อินทรีย์พละทั้ง ๕ นี้มันก็หย่อนยานไม่แข็งแรง เมื่อมันไม่แข็งแรงแล้วพอเราจะมาเจริญกรรมฐานทีนึง มันก็เหมือนมาทรมานกายสังขาร แต่เมื่อเรามีจิตใจที่ตั้งมั่นในความเพียร เคารพต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ อาศัยเพื่อนร่วมพรหมจรรย์นี้เป็นกำลังใจ นี่ก็ยังเป็นอุบายแห่งธรรม

    ถ้าเราอยากจะก้าวหน้าในการประพฤติปฏิบัติ ก็อย่างที่บอกก็ให้เพ่งพิจารณาดูใจของตน ว่าตนนั้นยังติดข้องในอารมณ์ใดอยู่ จิตที่ยังติดข้องอยู่ในอารมณ์ใดนั้นแลก็เหมือนสัตว์นั้นที่ไปติดบ่วงแร้วของแร้วของนายพราน ย่อมเป็นกับดัก ไม่พ้นจากกับดักของนายพรานไปได้

    แต่เมื่อเรานั้นเห็นสภาวะอารมณ์ทั้งหลายนั้นเท่าทันได้ เราก็ย่อมเห็นกับดักได้ ไม่ต้องเป็นเหยื่อ ไม่ต้องมาทนทุกข์ทรมานเป็นทาสของอารมณ์นั้น เราก็จะพ้นจากกับดักบ่วงแร้วของนายพรานนั้นได้ จิตนี้ย่อมเป็นอิสระเกษม นี่แลเค้าเรียกเป็นผู้มีศีลอยู่ตลอดเวลาทั้งต่อหน้าและลับหลัง..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...