สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก

    ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน
    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า
    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ
    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ
    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย
    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง
    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา
    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง
    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย
    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร
    a.jpg
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    - เหตุที่ให้เพ่งพิจารณาดูดวงแก้วจนจำติดตา
    ในสายวิชชาธรรมกาย เพราะเหตุใด ???

    การแนะนำให้เพ่งพิจารณาดูลูกแก้วให้จำได้ แล้วให้รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย และให้ตรึกนึกถึงดวงที่ใส ให้ใจอยู่ในกลางดวงที่ใส และให้บริกรรมภาวนา (นึกท่องในใจ) ว่า"สัมมาอะระหังๆๆๆ" เรื่อยไป จนกว่าใจจะหยุดนิ่งเป็นสมาธิแน่วแน่มั่นคงตรงศูนย์กลางกายนั้น เป็นอุบายวิธีสงบใจ ในขั้นของการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน เพื่ออบรมใจให้สงบระงับจากกิเลสนิวรณ์

    โดยให้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ #วิตก #วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต อันเป็นธรรมเครื่องกำจัด #ถีนมิทธะ ( ความง่วงเหงาซึมเซา ไม่กระปี้กระเป่าแห่งจิต) และ #วิจิกิจฉา ( ความลังเลสงสัยในธรรมะปฏิบัติ)

    มีอารมณ์ #ปีติ #สุข #เอกัคคตา ธรรมเครื่องกำจัด #พยาบาท (ความหงุดหงิด) #อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านแห่งจิต) และ #กามฉันทะ ( ความพอใจ ยึดติด ในรูป,เสียง,กลิ่น,รส,สิ่งสัมผัสทางกาย) ได้เป็นอย่างดี

    การยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ธรรมเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์ออกจากจิตใจนี้ เป็นการเจริญสมถภาวนาในระดับปฐมฌาน อันเป็นเบื้องต้นของสัมมาสมาธิ หนึ่งในอริยมรรคมีองค์๘ เพื่อการเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรม และให้พัฒนาต่อไปได้ถึงการเจริญปัญญารู้แจ้งในพระอริยสัจทั้ง ๔ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    และ #การแนะนำให้เพ่งดูดวงแก้วจนจำติดตา แล้วให้รวมใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย พร้อมด้วยบริกรรมภาวนาเพื่อรวมใจให้หยุดนิ่งได้สนิทนั้น มิใช่อุบายวิธีกล่อมใจให้ผู้ปฏิบัติภาวนาเคลิ้มเคลิ้ม หลับไป โดยขาดสติสัมปชัญญะ ไม่รู้สึกตัว แล้วให้ปฏิบัติอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้สอนแต่อย่างใด

    วิธีปฏิบัติและผลการปฏิบัติกลับเป็นตรงกันข้าม กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติย่อมรู้สึกตัว มีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา (ถ้าหลับไม่ใช่สมาธิ) ผู้สอนเพียงแต่แนะนำให้ผู้ฝึกปฏิบัติภาวนา ที่ยังปฏิบัติไม่ได้ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย ให้รู้และดำเนินไปตามวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม อันเป็นอุบายวิธีสงบใจที่จะให้ได้ผลดี คือ ให้ใจหยุดนิ่งสนิทอยู่ในอารมณ์เดียวได้โดยง่าย และโดยมีสติสัมปชัญญะ คือ มีความรู้สึกตัวพร้อม

    ครู แนะนำเป็นแต่เพียงชี้แนะแนวทางให้เท่านั้น แล้วปล่อยให้ผู้ปฏิบัติฝึกอบรมใจของตัวเอง ให้สงบเป็นสมาธิเอง

    อนึ่ง
    แม้เมื่อปฏิบัติได้ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายแล้ว ครูผู้แนะนำ ก็ยังจะช่วยชี้แนะวิธีเจริญภาวนาอีกเป็นขั้นๆไป เพื่อให้เห็นและเข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ต่อไปจนถึงธรรมกาย เพื่อให้รู้เห็นสภาวะของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งตามธรรมชาติที่เป็นจริง และให้รู้แจ้งในพระสัจจธรรมตามที่เป็นจริงเอง เพื่อละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ และเพื่อความรู้เอง,เห็นเอง,เข้าถึงและเป็น ธรรมชาติที่ควรเข้าถึงเอง ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป

    การแนะนำวิธีปฏิบัติภาวนาเป็นขั้นๆไปดังที่กล่าวนี้ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติภาวนาได้ผลดีขึ้นมาก ถ้าไม่ได้รับคำแนะนำจากครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์มาดีพอสมควรแล้ว น้อยรายนักที่จะปฏิบัติได้ผลดีได้เอง โดยที่ไม่ต้องมีใครแนะนำ ดูตัวอย่างง่ายๆต่อไปนี้

    ๑. ให้ลองย้อนไปดูพฤติกรรมของสาธุชนพุทธบริษัท ก่อนแต่จะมีการให้คำแนะนำอย่างนี้ว่า ในสมัยหรือระยะเวลานั้น มีผู้เข้ามาสนใจฝึกปฏิบัติภาวนาธรรมดีกี่มากน้อย เมื่อเทียบส่วนกับสาธุชนเข้ามาฝึกปฏิบัติธรรมกับครู ผู้ให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติภาวนาเป็นขั้นตอนตามหลักวิชชา และด้วยประสบการณ์ของครูที่เคยประสบมาก่อน

    ๒. ให้สอบถามดูจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมตามแนวนี้ ที่เขาปฏิบัติได้ผลดีพอสมควรถึงดีมากว่า ถ้าเขาไม่มีครูผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีประสบการณ์มาดีแล้ว ให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติและวิธีแก้ปัญหาในธรรมะปฏิบัติเป็นขั้นๆไป เขาจะปฏิบัติภาวนาเจริญมาเพียงนี้หรือไม่ และว่า สำหรับผู้ที่ปฏิบัติภาวนาได้ผลดีโดยไม่อาศัยครูแนะนำมีกี่มากน้อย

    เพราะว่า การปฏิบัติภาวนาที่จะให้ได้ผลดี ย่อมต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายประการเข้าช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เคล็ดลับวิธีปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในแต่ละขั้นตอน ให้ปฏิบัติไปถูกแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม ตลอดทั้งวิธีแก้ปัญหาในธรรมะปฏิบัติ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในแต่ละขั้นของการปฏิบัตินั้น ยังเป็นสิ่งจำเป็นแก่ผู้ที่รู้สึกตัวว่า"ยังเป็นผู้ศึกษาอยู่" แม้ผู้ตอบปัญหานี้ก็ยังต้องอาศัยการชี้แนะจากครูอาจารย์ผู้รู้กว่าอยู่

    ถึงอย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นครูผู้แนะนำผู้อื่น ก็ไม่พึงประมาทในธรรมทั้งหลาย ต้องสอบ"รู้" สอบ"ญาณทัสสนะ" กับครูผู้ทรงคุณวุฒิสูงกว่า และแม้กับศิษย์ผู้ปฏิบัติธรรมได้ผลดีพอสมควรแล้ว เพื่อพิสูจน์การรู้การเห็น และแนวทางปฏิบัติให้ถูกต้อง และให้ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไปอยู่เสมอ

    แต่ส่วนว่า ครูอาจารย์ใดจะมีสติปัญญาความสามารถ ที่จะให้คำแนะนำแก่ศิษย์ ให้ปฏิบัติได้ผลดีมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับบุญบารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ ฯลฯ ที่อบรมสั่งสมมา รวมเป็น #อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ของแต่ละท่านไม่เท่ากัน

    ๓. แม้พระพุทธองค์จะได้ทรงแสดงหลักปฏิบัติไว้ ดังเช่น สมถภูมิ ๔๐ วิปัสสนาภูมิ ๖ ฯลฯ ก็ยังทรงต้องชี้แนะเพิ่มเติมแก่ผู้เข้ามาทูลถามปัญหา และผู้เข้ามาศึกษาอบรมประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยความเหมาะสมแห่งอัธยาศัย และความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของแต่ละบุคคล แม้ถึงกระนั้น ก็หาได้บรรลุมรรคผลเท่าเทียมกันทั้งหมดไม่.

    _______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
    ที่มา
    ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ
    _______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า

    temp_hash-0adf2860cc9742a56bd939670e86eab8-jpg.jpg
    temp_hash-0adf2860cc9742a56bd939670e86eab8-jpg.jpg
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    เรื่อง "ปฏิบัติธรรมเพื่อละกิเลส และระงับเวรภัย"

    โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคลโล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน

    ......

    อาตมาได้พบพระพุทธพจน์ว่าด้วย #เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ซึ่งเป็นเรื่องเก่าที่เราได้ยินได้ฟังมาตลอด แล้วก็พูดกันง่าย เข้าใจไม่ยาก แต่ว่า อาตมาประทับใจในพระพุทธพจน์นี้ ก็คือในส่วนที่ว่า#เราจะละเวรอย่างไร เวรมันเกิดขึ้นได้หลายอย่างแต่เวรที่เรารู้จักโดยทั่วไป มันเกิดได้จากการจองเวร เพราะประทุษร้ายกัน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี และเป็นไปด้วยใจ จนถึงประทุษร้ายกันได้
    การประทุษร้ายกันด้วยกาย ด้วยวาจา ซึ่งเป็นไปด้วยใจ คือ เจตนาความคิดอ่านที่จะประทุษร้ายกัน ด้วยประการใดก็ดี ถ้าว่าไม่รู้จักละเวรภัยอันนี้แล้วก็ มันผูกต่อเนื่องกันไปนุงนังเลยทีเดียว มีเรื่องในพระธรรมบทว่า

    พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงเรื่องเวรของภรรยาน้อย ภรรยาหลวง ว่าภรรยาหลวงนั้น ความที่ตนเองเป็นหมันไม่มีลูก ก็พยายามไปหาภรรยาน้อยมาให้ เพื่อสามีจะได้ไม่ทอดทิ้งตน เมื่อได้ภรรยาน้อยมาแล้ว ก็ตีสนิทชิดเชื้อ เสมือนหนึ่งรักใคร่กันดี จนกระทั่งภรรยาน้อยตายใจ จึงยอมมีลูก และด้วยความอิจฉาของภรรยาหลวงกลัวว่า เมื่อภรรยาน้อยมีลูกแล้ว ทรัพย์สมบัติ ก็จะตกเป็นของภรรยาน้อย และลูก ส่วนตนเองจะต้องกลับเป็นผู้รับใช้ และปรนนิบัติภรรยาน้อยและลูกนั้น
    เมื่อความอิจฉาเกิดขึ้น จึงหาทางที่จะกำจัดลูกที่จะเกิดขึ้น ด้วยการวางยาพิษให้ภรรยาน้อยแท้งลูก ครั้งแล้วครั้งเล่า จนครั้งสุดท้ายภรรยาน้อยจะถึงซึ่งความตาย แต่ก็มารู้สึกตัวทีหลังว่า ที่ภรรยาหลวงมาสนิทชิดเชื้อนั้น เป็นเพียงกลอุบายเท่านั้น จึงผูกใจเจ็บต่อภรรยาหลวง ก็มีเวรต่อกัน
    เมื่อตายไปแล้ว ฝ่ายภรรยาน้อยก็ไปเกิดเป็นแมว ภรรยาหลวงไปเกิดเป็นไก่ พอไก่ออกไข่มา แมวก็กินไข่หมดด้วยเวรนั้น ไก่ก็ผูกเวรอีก เมื่อตายไปไก่ก็ไปเกิดเป็นเสือเหลือง ส่วนแมวก็กลับไปเกิดเป็นนางเนื้อ คือเก้ง เสือเหลืองก็กินเก้งอีก ก็ผูกเวรกันต่อไปอีก สุดท้ายตายไป ฝ่ายเก้งก็ไปเกิดเป็นนางยักษินี ส่วนเสือเหลืองไปเกิดเป็นกุลธิดา มีลูก นางยักษ์ก็ไล่กินลูกนางกุลธิดา ตามแล้ว ตามเล่า
    สุดท้ายนางกุลธิดาต้องพาลูกไปถวายไว้แทบพระบาทพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเมื่อนางยักษ์มาถึงจึงได้ตรัสสอนว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร จะมาผูกเวรกันทำไม ซึ่งเรื่องนี้เราก็ได้ยินกันมามากพอสมควร แต่ประเด็นที่อาตมาจะพูดนั้น เป็นคำอธิบายพระพุทธพจน์ของพระอรรถกถาจารย์ แสดงถึงวิธีที่ไม่ผูกเวรทำอย่างไร

    อาตมาซาบซึ่งในคำว่า "อมนสิการ" นี่พูดกันภาษาธรรม คือ #ด้วยการไม่ทำใจไว้ คือเมื่อเรามีเรื่องกระทบกระทั่งบาดหมางใจกับใคร หรือใครประทุษร้ายเราก็ดี หรือญาติพี่น้องของเรา หรือทรัพย์สินเราก็ดี ถูกประทุษร้ายแล้ว เราจะต้องทำอย่างไร ท่านบอกว่าต้อง "ทำอมนสิการ" คือ ไม่ใส่ใจ ปล่อยวางเสีย มันแล้วไปแล้ว การทำสมาธิทำให้เกิดสติสัมปชัญญะ และนำพระพุทธพจน์มาใช้ ถ้าเราไม่ใส่ใจเรื่องก็จะไม่มี ถ้าเราใส่ใจก็จะทำให้ใจขุ่นอยู่นั่นแหละ นี่คือการผูกเวร #กระดิกใจถึงเมื่อไรผูกเวรเมื่อนั้น เมื่อยาวนานไปเท่าไร จะผูกพันจิตใจเราไปนับภพนับชาติไม่ถ้วน เพราะฉะนั้นด้วย "อมนสิการ" ไม่ผูกใจเจ็บ ไม่ผูกใจคิดถึง นึกอย่างเดียวว่าตัวใครตัวมัน ใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นี้มาช่วยประกอบคำว่า อมนสิการ ต้องพิจารณาว่ามันเป็นอนัตตา เราไม่เอาใจจรดนึกถึงก็ไม่มีอะไร ใครพูดว่าเรา ตำหนิติฉินเรา ตาบใดที่เราตั้งใจทำดีที่สุดแล้ว คนที่ว่าเรานั้น เหมือนซัดธุลีทวนลม ตกโดนเขาเอง แต่ถ้าเราเปิดใจรับเต็มที่ เวรก็มาผูกพันกัน ต้องฝึกทำบ่อย ๆ #มาปฏิบัติธรรมต้องตัดเวรภัย ด้วยการไม่ผูกเวร ณ ภายในจิตใจของเราด้วยอมนสิการ ถ้าตัดไม่ออกต้องใช้สติสัมปชัญญะว่าเราไม่สนใจ ไม่มีประโยชน์ต่อเรา นี่เป็นเวร และสำคัญที่สุดคือ ตัวใครตัวมัน และจะเจริญขึ้นด้วยปัญญาอันรู้แจ้งในสังขารธรรม ว่าเป็นอนัตตา เห็นอนัตตาแจ้งชัดเท่าไรก็ละได้เร็วเท่านั้น นี่...ศีล สมาธิ ปัญญา นะ #ถ้าว่าปัญญาไม่แจ้งละไม่ได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งด้วยสมาธิ ปัญญา หนักเข้าก็จะคิดประทุษร้ายคนอื่น เป็นอย่างน้อยที่สุด ถ้าเป็นการแสดงอาการออกมาด้วยกาย วาจา ก็จะทำให้เวรนั้นผูกพันกันมากยิ่งขึ้น รุนแรงมากขึ้น

    พระพุทธเจ้าได้สอนว่า อย่าได้กล่าว อย่าได้แสดง#สารัมภกถา คือ วาจาเป็นเครื่องกล่าวให้แข่งดีกัน พูดอย่างง่าย ๆ ใครมีคำคมที่จะให้อีกฝ่ายเจ็บช้ำน้ำใจ ก็ขนมาใส่กัน นั่นแหละเรียกว่า ทิ่มแทงกันด้วยหอก คือ ปาก นี่เป็นตัวเร่งเวรภัย สร้างโทสะ อาฆาตพยาบาท ให้เกิดขึ้นในกันและกันมาก เวรนั้นผูกพันแม้เพียงด่ากัน หรือตั้งใจประทุษร้ายกันด้วยวาจา ด้วยกาย วิธีป้องกันแก้ไขกำจัดเวร คือ อมนสิการ อย่าตรึกนึก หรือใส่ใจถึง ด้วยสติสัมปชัญญะที่รู้เท่าทันว่าเป็นโทษ เป็นเวรภัย ต้องสอนใจตัวเองตลอด และให้เห็นว่าลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ความเสื่อมลาภ นินทาว่าร้าย ความเสื่อมโภคยทรัพย์ และความทุกข์ทั้งปวง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ให้นึกถึงพุทธพจน์อีกข้อหนึ่ง คือ ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว เราไม่ผูกเวร และไม่สร้างเวรกับใคร นั้นคำว่าสารัมภกถา วาจาเครื่องกล่าวเป็นเครื่องยังให้เกิดความแข่งดีกัน กระทบกระทั่งกัน ถ้าเงียบได้ พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ถ้าเงียบสงบได้ นั่นคือ นิพพาน



    temp_hash-85a7fd9a1036a89d47cc893bedc0696e-jpg.jpg

    ไฟล์ที่แนบมา:
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    ธชัคคสูตร


    lphor_tesna_vn.jpg

    20 มิถุนายน 2497
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)


    ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ. อถโข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท เทเว ตาวตึเส อามนฺเตสิ สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา มเมว ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ มมํ หิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา โส ปหิยฺยิสฺสตีติ.

    ณ บัดนี้อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยความชนะและความแพ้ 2 กระแส โลกปรารถนาความชนะทุกถ้วนหน้า ไม่มีใครปรารถนาความแพ้เลย ความแพ้ หรือความ ชนะนี้เป็นของคู่กัน ในศึกสงครามใดๆ ในมนุษย์โลก ต่างฝ่ายก็ชอบชนะด้วยกันทั้งนั้น ไม่มี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากจะแพ้ หรือมุ่งมาตรปรารถนาความแพ้ ถ้าว่าคิดว่าแพ้แน่แล้ว ก็ไม่สู้ ถ้าว่าคิดว่าสู้ก็ไม่แพ้ ตั้งใจอย่างนี้

    บัดนี้ สงครามโลกกำลังปรากฏอยู่ ในเกาหลียังปรากฏอยู่ ในอินโดจีนนั้นก็ยัง ปรากฏอยู่ ต่างฝ่ายก็มุ่งเอาชัยชนะด้วยกัน สู้กันจริงๆ จังๆ อย่างนี้

    ทางพุทธศาสนาเล่า มุ่งความชนะยิ่งกว่านั้น แต่ว่าความแพ้มันล่อแหลม มันก็ ปรากฏอยู่เหมือนกัน เหมือนภิกษุที่สวมฟอร์มเป็นภิกษุอยู่เช่นนี้ ถ้ามุ่งความชนะจึงได้ สวมฟอร์มเช่นนี้ เข้าสู้รบทีเดียว ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกาแสดงอากัปกิริยามุ่งความชนะอีก เหมือนกัน แต่ความชนะน่ะ ชนะอะไร ชนะที่สุดต้องชนะความชั่วทั้งหมด ความชั่วทั้งหมด มีมากน้อยเท่าใด มุ่งชนะทั้งหมด จนกระทั่งดีที่สุดถึงพระอรหันต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน มุ่งหลักฐานเช่นนั้น

    โลกดุจเดียวกัน มุ่งความชนะเป็นเบื้องหน้า เพื่อจะหลีกเลี่ยงเสียจากความแพ้ เมื่อได้ชัยชนะแล้ว ก็ได้ความเป็นใหญ่ในประเทศนั้นๆ ชนะทุกประเทศเป็นเอกในชมพูทวีป เรียกว่า ชนะเลิศ การชนะนี้แหละเขาต้องการกันนัก มีแพ้ชนะ 2 อย่างเท่านั้น

    ไม่ว่าแต่ความแพ้ชนะในมนุษย์นี่ ในดาวดึงส์เทวโลกนั่นเทวดายังรบกันเลย เรื่องนี้ ปรากฏตามกำหนดวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรพ์มีมาแล้วในกาลปางก่อน เทวาสุรสงฺคาโม สงครามเทวดาและอสูร สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ ได้ประชิดกันเข้าแล้ว เทวดา และอสูรในดาวดึงส์ทำสงครามกันขึ้นแล้ว เมื่อสงครามเกิดขึ้นเช่นนั้น ในคราวใดสมัยใด พวกอสูรแพ้ท้าวสักกรินทรเทวราช ก็ลงไปตั้งพิภพอยู่ภายใต้เขาพระสุเมรุ บนยอดเขา พระสุเมรุนั้น พระอินทร์ตั้งพิภพอยู่ในที่นั้น เรียกว่าดาวดึงส์ หนทางไกลตั้ง 84,000 โยชน์ จากยอดไปถึงตีนเขาโน่น จากยอดเขาไปถึงยอดเขา 84,000 โยชน์ หนทางไกลขนาดนี้ แต่ว่า เขาพระสุเมรุอยู่ในน้ำ มีน้ำล้อมรอบ

    เมื่อถึงเทศกาลฤดูดอกแคฝอยในพิภพของอสูรบานขึ้นเวลาใด ชาวอสูรตกใจก็ที่พิภพ ของเราที่เราเคยอยู่มันมีดอกปาริฉัตตชาติ นี่ดอกแคฝอยเกิดขึ้นในพิภพของเราเช่นนี้ ไม่ใช่ พิภพของเราเสียแล้ว คิดรู้ว่า อ้อ! เมื่อครั้งเราเมาสุรา ท้าวสักกรินทรเทวราชจับเราโยนลงมา พวกเราจึงมาอยู่ในเขาพระสุเมรุนี้ ที่เกิดพิภพอสูรขึ้นเช่นนี้ก็เพราะบุญของเรา แต่ว่าหักห้ามความแค้นใจนั้นไม่ได้ ต้องผุดขึ้นมาจากน้ำ ออกมาจากเชิงเขาพระสุเมรุจากในน้ำนั้นแหละ เหาะขึ้นไปในอากาศ ไปรบกับท้าวสักกรินทรเทวราช

    ถึงคราวสมัยทำสงครามกับอสูรเวลาใด ท้าวสักกรินทรเทวราช ก็เรียกเทวดาในชั้น ดาวดึงส์ หมู่เหล่าเทวดาในชั้นดาวดึงส์มีมากน้อยเท่าใด เรียกมาสั่งว่า สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา มเมว ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ มมํ หิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา โส ปหิยฺยิสฺสติ ว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าความกลัว หรือความหวาดสะดุ้ง หรือ ความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่ท่านทั้งหลายที่ไปอยู่สงครามแล้ว ท่านทั้งหลายเมื่อความ กลัวเกิดขึ้นเช่นนั้น ให้แลดูชายธงของเรา เมื่อท่านแลดูชายธงของเรากาลใด กาลนั้นความกลัว ความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าอันใดที่มีอยู่ อันนั้นย่อมหายไป เมื่อท่านแลดูชายธงของ เราแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งไม่หายไป ขอท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเทวราชปชาบดีเถิด เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชปชาบดี ความกลัวก็ดี ความ หวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่มีอยู่ ย่อมหายไป เมื่อท่านแลดูชายธงของ เทวราชปชาบดีแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งไม่หายไป ท่านพึงแลดูชายธงของวรุณเทวราช เถิด ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านก็จะหายไป ถ้าว่าเมื่อท่าน แลดูชายธงของเทวราชวรุณแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้านั้นยังไม่ หายไป ทีนั้นท่านพึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อว่าอีสานเถิด เมื่อท่านแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสานแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านจะหายไป

    เมื่อท่านแลดูชายธงของท่านทั้ง 4 เหล่านี้ ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพอง สยองเกล้าบางทีก็หายไปบ้าง บางทีก็ไม่หายบ้าง ตํ กิสฺส เหตุ นั่นเหตุอะไรเล่า สกฺโก หิ ภิกฺขเว เทวานมินฺโท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกรินทรเทวราชผู้เป็นจอมของเทวดา อวีตราโค มีราคะยังไม่ไปปราศแล้ว อวีตโทโส มีโทสะยังไม่ไปปราศแล้ว อวีตโมโห มีโมหะ ยังไม่ไปปราศแล้ว ภิรุ ฉมฺภี อุตฺตราสี ปลายีติ เป็นผู้ยังกลัว ยังหวาด ยังสะดุ้ง ยังหนีไปอยู่ ท่านทั้ง 4 นั้นยังกลัว ยังหวาดสะดุ้ง ยังหนีไปอยู่ อหญฺจ โข ภิกฺขเว เอวํ วทามิ สเจ ตุมฺหากํ ภิกฺขเว อรญฺญคตานํ วา รุกฺขมูลคตานํ วา สุญฺญาคารคตานํ วา อุปฺปชฺเชยฺย ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวอย่างนี้แล เมื่อท่านทั้งหลายไปอยู่ป่าแล้ว ไปอยู่ที่โคนต้นไม้แล้ว ไปอยู่ เรือนว่างเปล่าแล้ว ถ้าแม้ว่าความกลัวความหวาดความสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้น แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเราผู้ตถาคตเข้าเถิด เมื่อท่านระลึกถึงเราผู้ตถาคต แล้วกาลใด กาลนั้นความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านทั้งหลาย จะหายไป เมื่อท่านระลึกถึงเราแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าไม่หายไป ทีนั้นท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมเข้าเถิด เมื่อท่านทั้งหลายระลึกถึงพระธรรมเข้าแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าจะหายไป เมื่อท่านระลึกถึงพระธรรมแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าของท่านไม่หายไป ทีนั้นท่านพึงระลึกถึง พระสงฆ์เข้าเถิด เมื่อท่านระลึกถึงพระสงฆ์เข้าแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพอง สยองเกล้าของท่านก็จะหายไป

    ที่ท่านทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความกลัวความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าหายไป ตํ กิสฺส เหตุ นั่นเหตุแห่งอะไร ตถาคโต อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระตถาคตเจ้าเป็นผู้หมดกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ วีตราโค เป็นผู้มีราคะไปปราศ แล้ว วีตโทโทส มีโทสะไปปราศแล้ว วีตโมโห มีโมหะไปปราศแล้ว อภิรุ อจฺฉมฺภี อนุตฺตราสี อปลายี เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนีไป เพราะท่านเป็นผู้หมด ภัยแล้ว ท่านไม่มีภัยแล้ว เมื่อระลึกถึงท่านเข้า เมื่อระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เข้า ภัยอันใดจักมี ภัยอันใดที่มี ภัยอันนั้นย่อมหายไป อยู่ไม่ได้ นี้เป็นเครื่องมั่นใจของ พุทธศาสนิกชนยิ่งนักหนา

    ฝ่ายท้าวสักกรินทรเทวราช ปชาบดีเทวราช วรุณเทวราช อีสานเทวราช ท่านมี บุญหนักศักดิ์ใหญ่ในดาวดึงส์เทวโลก เป็นผู้ปกครองของเทพเจ้าในดาวดึงส์เทวโลก ท้าว สักกรินทรเทวราชผู้เป็นจอมเทวดา เป็นเทวดาผู้ใหญ่ เป็นที่มั่นใจของเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวโลกฉันใด พุทธศาสนิกชน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มีพระรัตนตรัยเป็นหลัก คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เป็นหลัก เมื่อระลึกถึงหลักอันนี้แล้ว ย่อมไม่หวาดเสียว ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่สะดุ้ง มั่นคงในพระพุทธศาสนา เมื่อมั่นคงในพระพุทธศาสนา เมื่อมั่นคง แน่แท้เช่นนี้แล้ว จะเอาชัยชนะได้ ไม่ต้องสงสัยละ กระทำสิ่งใดสำเร็จสมความปรารถนาทีเดียว

    จะทำอย่างไรพุทธศาสนิกชนที่จะทำจริง ทำแท้แน่นอน เอาจริงเอาจังกันละ ของ ไม่มาก ของนิดเดียวเท่านั้น พุทธศาสนิกชน หญิงก็ดี ชายก็ดี คฤหัสถ์ บรรพชิต ไม่ว่า ต้องทำใจให้หยุด หยุดที่ตรงไหน ที่หยุดมีแห่งเดียว เคลื่อนจากที่หยุดแห่งนั้นละก้อ เป็น เอาตัวรอดไม่ได้ ไม่ถูกเป้าหมายใจดำพุทธศาสนา ทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั้น พอ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่นได้แล้ว นั่นแหละเป้าหมายใจดำพุทธศาสนา ตรงนั้นแหละ เมื่อ มนุษย์จะเกิดมา ต้องเอาใจหยุดตรงนั้น กลางตัวละก้อ หญิงชายเกิดต้องเอาใจไปหยุด ตรงนั้น ที่หยุดของใจ เวลาจะหลับก็ต้องเอาใจไปหยุดตรงนั้นจึงหลับได้ หลับตรงไหน ตื่นตรงนั้น เกิดตรงไหน ตายที่นั่น อ้ายที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่นนั่นแหละ เอาใจไปหยุดตรงนั้น

    พอหยุดถูกส่วนเข้ากลางกายมนุษย์ คราวนี้ก็จะเดินไปแบบเดียวกันนี้แหละ ไม่มีสอง ต่อไปละ พุทธศาสนาแท้ๆ ทีเดียวนา ออกจากโอษฐ์พระบรมศาสดานะ คำว่าหยุดนั่นแหละ เมื่อพระองค์เสด็จไปทรมานองคุลิมาล องคุลิมาลหมดพยศร้ายแล้ว แพ้จำนนพระบรมศาสดาแล้ว เปล่งวาจาว่า สมณะหยุดๆ พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์ สมณะหยุดแล้ว ท่านไม่หยุด คำว่าหยุด นี่ออกจากโอษฐ์พระบรมศาสดา องคุลิมาลพอรู้จักนัยที่พระบรมศาสดาให้เช่นนี้ ก็หมดพยศร้าย มิจฉาทิฏฐิหาย กลายเป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น อ้ายตัว หยุดนี่แหละหนา เลิกเป็นมิจฉาทิฏฐิ กลับเป็นสัมมาทิฏฐิทีเดียว

    หยุดนี่แหละเป็นตัวถูกละก้อ เอาใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไม่หยุดไม่ยอมกัน แก้ไขจนกระทั่งใจหยุดกึ๊ก เมื่อใจหยุด แล้ว เข้ากลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆ ไม่มีเขยื้อน ที่กลางของกลางทีเดียว พอถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใสเป็น กระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าใสเกินใจ ใจก็หยุดอยู่กลางดวงของธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล เท่ากับดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วน เข้า กลางของกลางที่ใจหยุดหนักเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่น หยุดกลางของกลางถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ดวงเท่ากัน เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่น พอหยุด ก็เข้ากลางของกลางที่หยุดนั่น กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เข้ากลางของใจที่หยุด ถูกส่วน เข้า เห็นกายมนุษย์ละเอียดที่ฝันออกไป จำได้ อ้ายนี่เมื่อนอนฝันออกไป เมื่อเวลาไม่ฝัน มาอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี่เอง พอถึง รู้จักทีเดียว กำชับให้ฝันได้ นั่งฝันได้ละคราวนี้ จะฝันสักกี่เรื่องประเดี๋ยวก็ได้เรื่อง ประเดี๋ยว ก็ได้เรื่องฝันได้สะดวกสบาย เมื่อเป็นเช่นนี้ อ้อ! นี่ขั้นหนึ่งแล้ว เข้ามาแต่กายมนุษย์ มาถึง กายมนุษย์ละเอียดแล้ว

    ใจของกายมนุษย์ละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกัน พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสะ แบบเดียวกัน ก็เข้าถึงกายทิพย์ อ้อ! นี่กายที่ 3 แล้ว ใจของกายทิพย์หยุดอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์แบบเดียวกัน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ แล้วก็ไปเห็นกายทิพย์ละเอียด อ้าวถึงกายที่ 4 แล้ว ใจก็หยุดอยู่ศูนย์ กลางที่ 4 นั่น หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่ 4 นั่น ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายรูปพรหม กายที่ 5 ใจกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ใจกายรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียดนั้น ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม กายที่ 7 ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ใจกาย อรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วน เข้า ก็เข้าถึงกายธรรม

    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายธรรม ละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูกส่วนเข้าก็ถึง กายพระโสดา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง กายพระโสดาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายพระสกทาคา ใจพระสกทาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา ถูกส่วนเข้า แบบเดียวกันหมด เข้าถึงกายพระสกทาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระอนาคา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด ใจพระอนาคา ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าก็เข้า ถึงกายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้นไป ใจพระอรหัต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระอรหัต ละเอียด เสร็จกิจในพุทธศาสนาเพียงเท่านี้

    เพราะอาศัยการรบศึกแค่นี้ชนะสงครามแล้วในพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชน ภิกษุ สามเณร ชื่อว่าชนะสงครามแล้ว อุบาสกอุบาสิกามาถึงแค่นี้ได้ชื่อว่าชนะสงครามแล้ว ชนะ สงคราม ชนะความชั่ว ถ้าไปถึงธรรมกายขนาดนั้นละก้อ ความชั่วเท่าปลายขนปลายผมไม่ทำ เสียแล้ว ขาดจากกาย วาจา ใจ ทีเดียว นี่พึงรู้ชัดว่า อ้อ! พุทธศาสนิกชนปฏิบัติได้จริงจังอย่างนี้ โลกชนะสงครามแล้วเขาได้รับความเบิกบานสำราญใจเพียงแค่ไหน ฝ่ายพุทธศาสนิกชน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ได้ชนะสงครามชั่ว หมดกิเลสเข้าไปเป็นชั้นๆ เช่นนี้แล้ว จะเบิกบาน สำราญใจสักแค่ไหน หาเปรียบไม่ได้ทีเดียว เลิศล้นพ้นประมาณเป็นสุขวิเศษไพศาล

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีเป็นหลักเป็นประธาน พอสมควรแก่กาลเวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมี แก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพ พระพุทธเจ้าทั้งปวง สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ทั้งปวง ปิฎกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้ง 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอานุภาพของชินสาวก สาวกของท่านผู้ ชนะมาร จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ จงอุบัติเกิดให้ปรากฎในขันธบรรจกแก่ท่าน ทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    มงคลกถา


    lphor_tesna_vn.jpg



    การอยู่ในประเทศอันสมควร 1
    ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน 1
    การตั้งตนไว้ชอบ 1

    20 กันยายน พ.ศ.2496

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ปฏิรูปเทสวาโส จ
    อตฺตสมฺมาปณิธิ จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
    เอตมฺมงฺคลมุตฺตมนฺติ.
    หยุดนั่นแหละถูกต้อง ร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา ถ้าไม่หยุดละก้อ เลอะล่ะ แต่ถ้าพอหยุดได้แล้ว ก็อย่าออกจากหยุดหนา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางหนักเข้าไปอย่าถอย ออก ถ้าถอยออกผิดความประสงค์ กลางของกลางเข้าไปนั่นแหละ ตั้งแต่ต้นจนถึงพระอรหัต ไม่ให้คลาดเคลื่อนความหยุดอันนี้ เมื่อเราไปพบประเทศอันสมควรเข้าเช่นนั้นแล้ว เราจะต้อง พึงปฏิบัติให้ถูกส่วน ประเทศที่สมควรเป็นประเทศกลาง กลางนั่นแหละที่ใจหยุดเป็นประเทศกลาง ...เหตุนี้แหละท่านทั้งหลายที่ได้มาประสบพบพระพุทธศาสนาต้องหยุดตรงนี้แหละ จับหลักอันนี้ให้ได้ ถ้าจับหลักตรงนี้ไม่ได้ก็ไม่ถูกร่องรอยทางพุทธศาสนา ถึงจะปฏิบัติศาสนา สัก 50 พรรษา 80-90 พรรษา หรือแม้ว่าจะเป็นหญิงเป็นชายชนิดใดก็ช่าง เข้าทางนี้ไม่ถูก ก็เหลว ไม่ถูกต้องร่องรอยทางพุทธศาสนา

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงมงคลกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญ ดังนี้ เป็นข้อใหญ่ใจความ ในสากลโลกก็ต้องการความเจริญด้วยกันทั้งนั้น หลีกเลี่ยงหนีความเสื่อมสิ้นด้วยกันทั้งนั้น ความเสื่อมเป็นอนิฏฐผล ไม่เป็นที่ปรารถนาแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ความเจริญเล่าเป็นอิฏฐผล เป็นที่ปรารถนาแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าดุจเดียวกัน เหตุนั้นเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ก็ต้องการเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญดุจเดียวกัน เมื่อเป็นดังนั้น จงมนสิการกำหนดไว้ในใจ ในเวลาที่สดับตรับฟังพระธรรมเทศนาสืบต่อไป ในสัปดาห์ก่อนโน้น ได้แสดงตามวาระพระบาลีว่า อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานํ การไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต บูชาสิ่งที่ควรบูชา 3 ข้อนี้เป็นเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญโดยแท้ ได้แสดงมาแล้ว

    วันนี้จะแสดงใน ปฏิรูปเทสวาโส เป็นลำดับไป การอยู่ในประเทศอันสมควร เรียกว่า ปฏิรูปเทสวาโส ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน อตฺตสมฺมาปณิธิ จ การตั้งตนไว้ชอบ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ 3 ข้อนี้เป็นเหตุเครื่องถึงความเจริญสูงสุด นี่ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป

    ปฏิรูปเทสวาโส การอยู่ในประเทศอันสมควรนั้น เราต้องรู้จักประเทศ คือประเทศที่เราอยู่ในบัดนี้เรียกว่าประเทศไทย มีประเทศอื่นอยู่รั้วรอบขอบชิด เรียกว่าประเทศใกล้ชิดติดกัน ประเทศอินโดจีนนี่ก็เป็นประเทศ ประเทศลาวก็เป็นประเทศ ประเทศพม่าก็เป็นประเทศ ต่อออกไปจากพม่าก็เป็นประเทศอินเดีย ประเทศลังกาต่อไปอีก ไปทางยุโรปมีมากประเทศทีเดียว ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส กว้างออกไปอีกคือประเทศเยอรมัน และประเทศเยอรมันนั้นเป็นประเทศลอกแลก ตายแล้วกลับฟื้นขึ้น เวลานี้ฟื้นขึ้นแล้ว ฟื้นขึ้นครึ่งประเทศ ยังไม่ฟื้นหมดประเทศ แปลก ประเทศก็รู้จักเป็นรู้จักตายเหมือนกัน เมื่อรู้จักหลักอันนี้ ประเทศนั้นแหละเป็นหลักอันสำคัญ ถ้าว่ามนุษย์อยู่ในประเทศใดไม่มีพุทธศาสนา ประเทศนั้นเป็นประเทศเรียกว่าไม่มีศาสนาแน่นอน ประเทศเหล่านั้นเรียกว่าประเทศโยกคลอน เพราะศาสนาเป็นตัวสำคัญของประเทศนัก ถ้าประเทศใดมีพุทธศาสนาที่แน่นอน ประเทศนั้นก็เป็นหลักฐาน เป็นประเทศที่เป็นหลักเป็นประธานของโลกทีเดียว ในบัดนี้ประเทศต่างๆ พุทธศาสนาง่อนแง่นคลอนแคลน ในแหลมทองนี้มีอยู่ 5 ประเทศ ประเทศลาว มอญ พม่า ประเทศเขมร และประเทศไทย 5 ประเทศนี้เป็นประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีศาสนาที่แน่นแฟ้น ไม่ยักเยื้องแปรผันไปตามใคร พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีคำสอนเป็น นิยยานิกธรรมจริงๆ นำสัตว์ออกจากไตรภพแท้ๆ เรียกว่า กระแสพระพุทธฎีกาสืบลำดับของโลกของธรรมมา พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกก็ขนเวไนยสรรพสัตว์ให้พ้นจากไตรวัฏ 24 อสงไขยเศษๆ ทุกๆ พระองค์มา

    บัดนี้เราเกิดมาเป็นไทย เราได้อยู่ในประเทศไทย มีศาสนาปรากฏอยู่ในประเทศไทยนี้ เรียกว่าพุทธศาสนา เราเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตั้งอยู่ในพุทธศาสนาด้วย นี้เป็นปฏิรูปเทส ไม่ใช่อื่น ตรงนี้เป็นปฏิรูปเทส เมื่อครั้งพุทธกาลโน้น อินเดียเป็นปฏิรูปเทสแล้ว ต่อมาลังกาเป็นปฏิรูปเทส บัดนี้อินเดียไม่เป็นปฏิรูปเทสเสียแล้ว เท่ากับมิลักขประเทศที่มีศาสนาฟั่นเฟือนหมดแล้ว เราไม่สมควรจะไปประพฤติปฏิบัติ เวลานี้พุทธศาสนารุ่งโรจน์อยู่ในประเทศไทยแห่งเดียว ประเทศพม่า ประเทศเขมร ประเทศลาว เขาก็พอใช้ เขาก็ดีเหมือนกัน แต่ว่าแน่นแฟ้นสำคัญไม่รู้จักแยกแตกสลายละก้อต้องประเทศไทย เพราะมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ทีเดียว เรียกว่า อุปถัมภ์ศาสนาอย่างเลิศ พระเจ้าแผ่นดินเป็นศาสนูปถัมภ์ทีเดียว นี่เป็นปฏิรูปเทส ประเทศที่สมควรที่เราจะพึงประพฤติปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนาได้ ดังนี้เป็นปฏิรูปเทส เรามาอยู่ในประเทศเช่นนี้แล้ว เราสมควรที่จะดำเนินให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา

    ที่จะดำเนินให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนาน่ะ จะดำเนินอย่างไร ต้องแก้ไขใจของเราให้หยุดเสียก่อน หยุดที่ไหน ต้องหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กนั่น ตรงนั้น เวลาเรามาเกิด ใจเราต้องหยุดตรงนั้น เวลาเราหลับ ใจต้องไปหยุดตรงนั้น เวลาเราตาย ใจต้องไปหยุดตรงนั้น เวลาเราตื่นก็ต้องตื่นตรงนั้นแหละ จุดนั้นแหละเป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น มีจุดเดียว ต้องเอาใจของเราไปจรดนิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ ทำใจให้หยุด แก้ไขใจให้หยุด ใจหยุดขณะใด ขณะนั้นถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา ถ้าใจไม่หยุดละก้อ ไม่ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ทางพุทธศาสนา ถ้าใจหยุดละก้อ ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนาแท้ ตรงกับกระแสพระโอษฐ์ของพระบรมศาสดาได้ทรงประทานให้นัยแก่องคุลิมาล จนองคุลิมาลละพยศ หมดพยศแล้ว ยอมจำนนแก่พระศาสดาแล้ว เปล่งวาจาว่า “สมณะหยุดๆ” พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มาแล้วตรัสว่า “สมณะหยุดแล้ว แต่ท่านไม่หยุด” นั่น หยุดอันนั้นเป็นกระแสพระดำรัสของพระบรมศาสดา หยุดนั่นแหละถูกต้อง ร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา ถ้าไม่หยุดละก้อ เลอะล่ะ แต่ถ้าพอหยุดได้แล้ว ก็อย่าออกจากหยุดหนา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางหนักเข้าไปอย่าถอยออก ถ้าถอยออกผิดความประสงค์ กลางของกลางเข้าไปนั่นแหละ ตั้งแต่ต้นจนถึงพระอรหัต ไม่ให้คลาดเคลื่อนความหยุดอันนี้ เมื่อเราไปพบประเทศอันสมควรเข้าเช่นนั้นแล้ว เราจะต้องพึงปฏิบัติให้ถูกส่วน ประเทศที่สมควรเป็นประเทศกลาง กลางนั่นแหละที่ใจหยุดเป็นประเทศกลาง

    ที่กล่าวมาแล้วเป็นประเทศข้างนอก ประเทศข้างในต้องหยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดตรงนั้น จึงจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่สมควรทีเดียว หยุดตรงนั้นถูกมัชฌิมประเทศ ถูกมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค กับ อัตตกิลมถานุโยค เป็นมัชฌิมาปฏิปทาแท้

    เหตุนี้แหละท่านทั้งหลายที่ได้มาประสบพบพระพุทธศาสนาต้องหยุดตรงนี้แหละ จับหลักอันนี้ให้ได้ ถ้าจับหลักตรงนี้ไม่ได้ก็ไม่ถูกร่องรอยทางพุทธศาสนา ถึงจะปฏิบัติศาสนา สัก 50 พรรษา 80-90 พรรษา หรือแม้ว่าจะเป็นหญิงเป็นชายชนิดใดก็ช่าง เข้าทางนี้ไม่ถูก ก็เหลว ไม่ถูกต้องร่องรอยทางพุทธศาสนา

    ที่จะถูกต้องร่องรอยทางพุทธศาสนาต้องอาศัย อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนไว้ถูก ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนไว้ถูก ตั้งกันอย่างไร ต้องรู้จักตนเสียก่อนหนา ถ้าไม่รู้จักตน จะไปตั้งเลอะๆ เทอะๆ ที่เรียกว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบไว้ถูกนั่นอะไร สุขทุกฺขํ อทตีติ อตฺตา สภาพอันใดรับสุขรับทุกข์ สภาพอันนั้นชื่อว่าตน ก็บัดนี้กายมนุษย์รับสุขรับทุกข์อยู่ สุขมันก็รู้ ทุกข์มันก็รู้ เมื่อรับสุขรับทุกข์อยู่ต้องตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งกันอย่างไร ขั้นต้น ต้องตั้งตนไว้ในทาน ตั้งตนไว้ในศีล ตั้งตนไว้ในการเจริญภาวนา นี่เป็นการตั้งตนไว้ชอบของกายมนุษย์หยาบ ส่วนการตั้งตนไว้ชอบของกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียดคือกายที่ฝันออกไป เอากายมนุษย์ละเอียดมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายมนุษย์หยาบ ที่หยุดที่นิ่งนั่นแหละ เรียกว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ แท้ เมื่อถูกหลักเช่นนี้แล้ว หยุดเป็นลำดับเข้าไป เมื่อกายมนุษย์ละเอียดหยุดนิ่ง ที่หยุดที่นิ่งนั่นแล้ว กายทิพย์ก็หยุดไปตามส่วนกัน กายทิพย์ละเอียดก็หยุดไปตามด้วย ตนของกายรูปพรหมก็ต้องหยุดให้ถูกส่วน ตนของกายรูปพรหมละเอียด ก็ต้องหยุดให้ถูกส่วน ตนของกายอรูปพรหมก็ต้องหยุดให้ถูกส่วน ตนของกายอรูปพรหมละเอียด ก็ต้องหยุดให้ถูกส่วนกัน กายรูปพรหม อรูปพรหม ต้องหยุดให้ถูกส่วนกันดังนี้ ตลอดจนกระทั่งถึงกายธรรม พอถึงกายธรรมก็ต้องหยุดให้ถูกจุด นิ่งที่จุดหยุดนั้น หยุดนิ่งจุดอื่นไม่เอา จนกระทั่งถึงกายธรรมละเอียด กายธรรมพระโสดา-พระโสดาละเอียด เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคา-พระสกทาคาละเอียด เข้าถึงกายพระอนาคา-พระอนาคาละเอียด เข้าถึงกายพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เมื่อเข้าถึงถูกต้องร่องรอยดังนี้ เรียกว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

    เมื่อตั้งตนไว้ชอบเช่นนี้ ทำอย่างไรจึงได้ชื่อว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน เพราะตนได้อบรมสั่งสมบารมีมาแล้วตั้งแต่อเนกชาติสมควร แล้วครบแสนกัปแล้ว มาพบพระพุทธศาสนาอาจได้สำเร็จมรรคผลทีเดียว เพราะบารมีพอแล้ว ทำอะไรที่เรียกว่าทำความดีน่ะ ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์อย่างนี้น่ะ ชาติก่อนที่แล้วๆ มา ได้อุตส่าห์ให้ทานตามความสามารถและตามกำลังของตน ตามส่วนที่จะพึงให้ได้ บำเพ็ญทานไปดังนี้แหละ ของนอกกายมีเท่าไรๆ ให้ไปให้หมด ไม่เหลือไว้เลย ดังนี้ เรียกว่า ทานบารมี เนื้อและเลือดก็ให้ได้ เว้นแต่ชีวิตเท่านั้น ให้ดังนี้เรียกว่า ทานอุปบารมี ให้ชีวิตเป็นทานก็ได้ นี้เรียกว่า ทานปรมัตถบารมี เมื่อให้ของนอกกายได้ตลอดถึงชีวิตและเลือดเนื้อเช่นนี้ ได้ชื่อว่า ตนได้บำเพ็ญทานของตน ไม่ใช่แต่ให้เท่านั้น ให้สูงยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ครบปัญจมหาบริจาค ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี ให้ได้เกินกว่านั้น เรียกว่า ปุตตบริจาค ให้ลูกเป็นทานก็ได้ ให้ผัวเป็นทานก็ได้ การให้อย่างนี้สูง ไม่ใช่ให้ง่ายๆ ไม่ใช่สละง่ายๆ สละยากนัก คนใจไม่มั่นหมายในทาน ให้ไม่ได้ ถ้ามั่นหมายในทานจึงจะให้ได้ เพราะฉะนั้น ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ต้องทำความดีไว้ในปางก่อน ต้องบำเพ็ญทานให้มั่นหมาย ไม่ใช่บำเพ็ญง่อนแง่นคลอนแคลน ให้ทานเป็นของนอกกาย ให้ตลอดจนชีวิตและเลือดเนื้อ อย่างนี้เรียกว่า ให้ทานจริงจัง คนที่สร้างบารมีต้องสร้างกันอย่างนี้ เรียกว่าทำความดีไว้ในชาติปางก่อน เรียกว่า ทานบารมี

    ศีลบารมีอีกดุจเดียวกัน การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่มีเศร้าหมองด่างพร้อยอย่างหนึ่งอย่างใด ศีลบริสุทธิ์แท้ๆ แน่วแน่ทีเดียว แม้สมบัตินอกกายจะวอดวายอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่ยอมให้ศีลเป็นอันตราย เรียกว่า ศีลบารมี แม้เลือดเนื้อจะเป็นอันตรายไม่ยอมให้ศีลขาด เรียกว่า ศีลอุปบารมี แม้ชีวิตจะดับไปเดี๋ยวนี้ก็ไม่ยอมให้ศีลขาด เรียกว่า ศีลปรมัตถบารมี เมื่อสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยศีลเช่นนี้ เรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ความดีที่ทำไว้ในชาติก่อน

    เจริญภาวนาเล่า ก็ดุจเดียวกัน เสียสมบัติภายนอกกายเว้นไว้แต่ชีวิตและเลือดเนื้อ ไม่ยอมให้เสียทางภาวนา เนื้อและเลือดจะแห้งเหือดหมดไปก็ไม่ว่า ไม่ยอมให้เสียทางภาวนา แม้ชีวิตจะดับไปก็ไม่ยอมให้เสียทางภาวนา มั่นหมายในทางภาวนาทีเดียว อย่างนี้เรียกว่า ภาวนาบารมี ภาวนาอุปบารมี ภาวนาปรมัตถบารมี ดุจเดียวกัน บำเพ็ญให้มั่นหมายในขันธสันดาน เรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในชาติปางก่อน

    อุทาหรณ์ที่จะชักให้เห็นนั้นมีมาก ดังท่านผู้ปกครองประเทศ เช่น พระเจ้าแผ่นดิน ทำไมจึงเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ก็เพราะท่านเหล่านี้เป็นผู้ได้สั่งสมความดีไว้ในชาติปางก่อน การเกิดเป็นกษัตริย์หรือเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ใช่ของเกิดยาก ดังเช่นทุคคตบุรุษ บุรุษทำการรับจ้างของอนาถปิณฑิกเศรษฐีในเมืองสาวัตถี ในครั้งกระนั้นเวลาทุคคตบุรุษเสร็จจากการรับจ้างกลับมา เป็นเวลาเย็น เป็นวัน 8 ค่ำ แม่ครัวเขาก็หุงข้าวไว้ให้ แล้วก็ยกมาให้ทุคคตบุรุษ ทุคคตบุรุษจึงถามว่า “ท่านเจ้าข้า คนในบ้านเป็นอันมากเคยเอิกเกริกโกลาหล หายไปไหนเล่า เงียบเชียบไปหมด” แม่ครัวเขาก็บอกว่า “คนในบ้านนี้เวลาวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ 15 ค่ำ เขารักษาศีลกันทั้งหมดบ้าน เด็กเล็กก็ต้องรักษาศีลกันทั้งนั้น เขาไม่รับประทานอาหารเย็นกันดอก” ทุคคตบุรุษนึกแต่ในใจว่า “เอ๊ะ เรามาทำการรับจ้างในบ้านที่เขารักษาศีลกัน เราเป็นคนไม่รักษาศีล มันก็ขัดจังหวะกัน ไม่ได้นา ชอบกล ศีลก็เป็นของรักษาได้ยาก เขาเป็นคนมั่งมีถึงขนาดนี้ เขายังรักษาศีลกันทั้งบ้านทั้งช่อง เราจนถึงขนาดนี้ใจยังหยาบช้า กล้าแข็ง ไม่รักษาศีลกับเขาบ้างล่ะ” คิดดังนี้แล้วก็ถามแม่ครัวว่า “ฉันจะรักษาศีลบ้างได้ไหมล่ะ” แม่ครัวก็บอกว่า “ฉันจะไปถามนายดูก่อน” แม่ครัวก็รีบไปถามท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า “บุรุษทำการรับจ้างเขาจะรักษาศีลบ้างได้ไหมเจ้าค่ะ” ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีก็บอกว่า “ได้ซี แต่ว่าเป็นอุโบสถครึ่งวันนะ ไม่ได้เต็มวัน เพราะมันจะค่ำเสียก่อน หมดวันเสียแล้ว กึ่งวัน เท่านั้น รักษาได้ก็สมาทานอุโบสถทีเดียว” เมื่อสมาทานอุโบสถเรียบร้อยแล้ว พอค่ำๆ ตอน ดึกๆ หน่อย เอ้า ปวดท้องเข้าแล้ว เพราะอ้ายท้องมันหิว เพราะทำงานเหนื่อยมาก มันแสบท้อง มันหิวเต็มที แม่ครัวก็ไปบอกท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า บุรุษที่รักษาศีลปวดท้องเสียแล้วเพราะความหิว ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีก็บอกแก่แม่ครัวว่าทำน้ำอัฏฐบานให้ดื่มเสียซิ แม่ครัวก็จัดแจงทำน้ำอัฏฐบานมาให้ บุรุษนั้นไม่ยอมดื่ม แล้วกล่าวว่า “ท่านทำไม ไม่ดื่มบ้างล่ะ” “ฉันไม่ได้เป็นอะไรนี่ จะไปดื่มทำไมล่ะ” “ท่านเป็นโรค ดื่มน้ำอัฏฐบานเสียซี โรคปวดท้องจะได้หาย” บุรุษนั้นจะดื่ม ก็ศีลของตัวกึ่งวันเท่านั้น กลัวจะเป็นอันตรายแก่ศีล กลัวศีลจะไม่บริสุทธิ์ จึงพูดว่า “เมื่อท่านไม่ดื่ม ฉันก็ไม่ดื่ม ตายก็ตายไปเถิด เป็นอะไรก็เป็นไป ไม่ดื่มเหมือนกัน” ก็ทนต่อไป พอตกตอนดึกๆ เข้าก็ปวดท้องเต็มที พอรุ่งเช้าขึ้น เต็มทีจะตายอยู่แล้ว จวนตายเต็มที ก็พอดีพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จผ่านไปทางนั้น พอใกล้จะตายเห็นพระเจ้าปเสนทิโกศลนึกในใจว่า “ด้วยบุญกุศลของเราที่ได้รักษาศีลกึ่งวันนี้ ขอให้ได้ไปเกิดเป็นพระราชโอรสพระเจ้าปเสนทิโกศลเถิด” พออธิษฐานใจดังนั้นก็แตกกายทำลายขันธ์จากอัตภาพร่างกายเข้าไปอยู่ในศูนย์กลางกายของพระเจ้าปเสนทิโกศล ลูกไปเกิดในท้องพ่อ เข้าไปทางช่องจมูกขวา ไปอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล พอถึงเวลาพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ประกอบธาตุธรรมถูกส่วนอยู่ร่วมกับพระมเหสีถูกส่วนเข้า บังคับกายสัมภเวสีนั้นตกศูนย์ ก็ออกจากท้องพระเจ้าปเสนทิโกศลออกทางจมูกขวา เข้าทางจมูกซ้ายของมารดา ไปเป็นกลลรูปติดที่ขั้วมดลูกในท้องของพระมเหสี เหมือนกับอนาถปิณฑิกเศรษฐี อุ้มเด็กกุมารส่งให้ภรรยาเลี้ยงไว้ในท้อง พอเจริญครบ 10 เดือน ก็ประสูติออกมาเป็นราชกุมารเป็นโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล รักษาศีลกึ่งวันเท่านั้นได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จสวรรคตแล้ว นี่เป็น ปุพฺเพ กตปุญฺญตา อย่างนี้ เขาทำความดีไว้ เขาได้รักษาศีลจริงๆ ศีลบริสุทธิ์จริงๆ ยอมตายเพื่อไม่ให้ศีลเป็นอันตราย นี่เขาเรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ทำความดีอย่างนี้ ก็ได้เกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ปรากฏอย่างนี้

    ไม่ใช่แต่เท่านั้น เหมือนดังลาชเทวธิดาเฝ้าไร่ข้าวสาลี เมื่อเห็นพระมหาอริยกัสสปะเดินทางมา มีศรัทธาเลื่อมใส เข้าไปในท้องนา ไปเอาข้าวตอกที่ตัวเตรียมออกไปไว้สำหรับรับประทานในกลางวัน เอาออกมาคอยอยู่ พอพระคุณเจ้าพระมหาอริยกัสสปะมาใกล้ “ติฏฺฐถ ภนฺเต นิมนต์โปรดก่อนเจ้าค่ะ” พระมหาอริยกัสสปะก็รออยู่ นางก็เอาข้าวตอกยกมือขึ้นทูนศีรษะแล้วขออาราธนาพระคุณเจ้าเปิดบาตร พระคุณเจ้าก็เปิดบาตร นางก็ใส่ข้าวตอกลงไปครึ่งขัน ท่านก็ปิดบาตร พอครึ่งขันก็ปิดบาตรเสียแล้ว นี่เขาเรียกว่ารู้จักประมาณในการรับ เขาให้ละก็รับเรื่อยเปื่อยไปมันก็เดือดร้อนนะซิ เขาก็รับประทานเหมือนกัน ให้เขาครึ่ง เอาครึ่ง เอาข้าวตอกครึ่งเดียวปิดบาตรทันทีเสียแล้ว นางนั้นนั่งลง ยกมือขึ้นไหว้ว่า “ปรโลกสงฺคหํ ขอนิมนต์พระคุณเจ้าโปรดฉันในโลกหน้าเถิด โลกนี้อย่าโปรดเลย โปรดโลกหน้าเถิด” พระมหาอริยกัสสปะก็เปิดบาตร นางก็ใส่เข้าตอกหมด ดีอกดีใจ ปลื้มอก ปลื้มใจ พระมหาอริยกัสสปะท่านรับข้าวตอกแล้วท่านก็เลยไป เดินทางไปตามคันนา นางก็ตามส่งพระผู้เป็นเจ้ามหาอริยกัสสปะไปถึงคันนาตอนหญ้ารกปกคลุม อสรพิษมันอยู่ในที่นั้น พระมหาอริยกัสสปะเดินไปข้างหน้า มันก็ไม่ได้กัด เมื่อนางเดินผ่านไป มันก็ออกจากปล่อง ขบเอาแข้งนางล้มลง ณ ที่นั้น สุตฺตปฺปพุทฺโธ วิย ราวกับว่าตื่นจากหลับ สุวณฺณวิมาเน นิพฺพตฺติ ก็บังเกิดในวิมานทอง ห้อยย้อยไปด้วยสายข้าวตอกในชายวิมานงดงามยิ่งนักหนา เมื่อลมทิพย์พัดมาอ่อนๆ ดังประหนึ่งปัญจางคดุริยางค์ดนตรีไพเราะเสนาะสนานประสานเสียง นางก็นึกแต่ในใจว่า โอ! เรามาเกิดนี้ด้วยกุศลอันใด ก็รู้ว่าได้ถวายข้าวตอกแก่พระมหาอริยกัสสปะ จึงได้มาเกิด งูกัดเข้าล้มตายอยู่ตรงนั้น ซากศพยังปรากฏอยู่นั่น เราจะต้องแก้ไขสมบัติของเราให้ตั้งมั่นต่อไป ทำบุญนิดหนึ่งเท่านี้ได้สมบัติมากมายขนาดนี้ กลัวจะไม่ตั้งมั่นสิ้นกาลนาน คิดดังนั้นแล้ว เวลารุ่งเช้าของมนุษย์โลก นางก็ถือเอาถาดทองกระเช้าทองลงมาสู่วิหารที่อยู่ของพระมหาอริยกัสสปะ มาปฏิบัติปัดกวาดปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำใช้ น้ำฉันไว้เรียบร้อยสำหรับพระมหาอริยกัสสปะ พระมหาอริยกัสสปะกลับจากบิณฑบาต “เอ๊ะ นี่ใครมาปฏิบัติอยู่นี่ จะเป็นภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรหนอ” รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง นางก็มาทำดังนั้นอีก ทำเสร็จแล้วก็กลับไป “เอ นี่จะเป็นภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรหนอมาทำ” พอรุ่งขึ้น อีกวันหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้าไปครึ่งเวลาเท่าที่เคยไป แล้วกลับมาดูที่วิหารมองไปในช่องดาน “โอ! สว่างโล่ง แสงสว่างอะไรน่ะ”

    นางลาชเทวธิดาตอบว่า “หม่อมฉันเอง พระเจ้าค่ะ” “หม่อมฉันเองน่ะ คือใครล่ะ”

    “หม่อมฉันคือลาชเทวธิดา ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระคุณเจ้า” “อุปัฏฐากของเราไม่มีนะ ลาชเทวธิดา”

    พอเปิดประตูเข้าไป พระคุณเจ้าก็ไต่ถามว่า “วานนี้เจ้ามาทำหรือ ? วานซืนนี้เธอก็มาทำหรือ” นางก็ตอบรับตามตรงทุกสิ่งทุกอย่าง

    “ต่อแต่นี้ไปไม่ได้หนา เราอยู่ผู้เดียว เจ้าถึงจะเป็นกายทิพย์ก็เป็นผู้หญิง ผู้หญิงกับผู้ชาย ทางพุทธศาสนามีวินัยบัญญัติห้ามนัก ถ้าว่าปฏิบัติกันสองต่อสองเช่นนี้ละก็ นานต่อไปในภายภาคเบื้องหน้า พระธรรมสังคีติกาจารย์ขึ้นธรรมาสน์ ถือพัดวาลวีชนี จะยกกัสสปะนี้ขึ้นเป็นตัวอย่างว่าทำชั่วร้ายในศาสนาหนา ผิดธรรมผิดวินัย ท่านจงออกไปเสียเถิด อย่าปฏิบัติเราเลย”

    “พระคุณเจ้าขอได้กรุณาหม่อมฉันเถิด ขอให้สมบัติของหม่อมฉันตั้งมั่นต่อไป สมบัติที่ได้นั้นเพราะอาศัยบุญบารมีของพระคุณเจ้า”

    “ไม่ได้ ออกไปเสียเถอะ จะเป็นตัวอย่างเสียหายในทางพุทธศาสนา”

    นางก็อยู่ไม่ได้ ก็ร้องไห้ เสียงร้องไห้ได้ยินเข้าไปในโสตของพระบรมศาสดา พระองค์ทรงสงเคราะห์ แสดงพระกายให้ปรากฏต่อหน้านางลาชเทวธิดานั้น นางจะเหาะไปทางไหน พระองค์ก็เทศนาเรื่อยไปต่อหน้านาง นางก็ได้ยินเรื่อยไป กำลังเหาะนั่นแหละฟังเทศน์เรื่อยไป นางได้สำเร็จมรรคผล สมมาดปรารถนาด้วยความเลื่อมใสศรัทธา นี่เป็น ปุพฺเพ กตปุญฺญตา นางได้กระทำความดี ได้ถวายข้าวตอกแก่พระมหาอริยกัสสปะ แล้วงูกัดตาย ไปเกิดในดาวดึงส์เทวโลก ก็เพราะสำเร็จด้วยบุญที่ตัวได้กระทำในชาติก่อนภพก่อน อาศัยบุญที่ตัวได้กระทำไว้แล้วจึงได้ไปเป็นเทวธิดา ก็มุ่งมาดปรารถนาจะทำสมบัติให้ตั้งมั่น ก็ได้สมมาดปรารถนา อุตส่าห์ไปปฏิบัติพระมหาอริยกัสสปะ พระบรมศาสดาจึงได้ทรงอนุเคราะห์ให้ได้ สำเร็จมรรคผล สมปรารถนา

    ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนาก็ต้องอาศัย ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน จงอุตส่าห์พยายามทำความดีให้หนักขึ้นไป ให้เป็นบุญนิธิหนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีให้ทาน ก็ให้ทานหนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีรักษาศีล ก็รักษาศีลให้ หนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีการเจริญภาวนา ก็เจริญภาวนาให้หนักขึ้นไป จะทำได้ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่งก็จงอุตส่าห์พยายามทำให้สุดความสามารถของตน สิ่งที่เป็นที่ตั้งกองการบำเพ็ญกุศล พระบรมทศพลได้ทรงตรัสเทศนาไว้เป็นอเนกประการว่า

    1. ทาน การให้ ก็ได้ชื่อ “ทานมัย” บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    2. ศีล การรักษากายวาจา ได้ชื่อว่า “สีลมัย” บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    3. ภาวนา การทำให้มีให้เป็น ก็ได้ชื่อว่า “ภาวนามัย” บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    4. ประพฤติตกต่ำยำเกรงแก่ตระกูลผู้เจริญกว่า ก็ได้ชื่อว่า “อปจายนมัย” บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อม ตนต่อผู้ใหญ่หรือผู้เจริญกว่า
    5. การช่วยเหลือในกิจที่ชอบ เรียกว่า “เวยยาวัจจมัย” บุญสำเร็จ ด้วยการขวนขวายในกิจที่ชอบ
    6. การให้ความดีแก่ผู้อื่นได้ชื่อว่า “ปัตติทานมัย” บุญสำเร็จด้วย การให้ความดีแก่ผู้อื่น
    7. การอนุโมทนาความดี ไม่อิจฉาริษยาเขาที่เรียกว่า “ปัตตานุโมทนามัย” บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาบุญของผู้อื่น
    8. การสดับตรับฟังธรรมเทศนาของเราท่านในบัดนี้ เหมือนภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่ฟังอยู่ ณ บัดนี้ ได้ชื่อว่า “ธัมมัสสวนมัย” บุญ สำเร็จด้วยการสดับตรับฟังธรรมเทศนา
    9. บุญที่ได้ด้วยการแสดงธรรมให้แก่ ผู้อื่นฟังได้บุญกุศล เหมือนผู้เทศน์นี้ ได้ชื่อว่า “ธัมมเทสนามัย” บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรมให้แก่ผู้อื่น
    10. ทั้ง 9 อย่าง ได้ชื่อว่าเป็น “ทิฏฐุชุกัมม์” เป็นการทำความเห็นให้ตรงถูกต้องร่องรอยตามความประสงค์ ของทางพุทธศาสนา เรียกว่า ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นของตนให้ตรง
    สิ่งเป็นที่ตั้งของการบำเพ็ญบุญมีถึง 10 ประการ ในวันหนึ่งๆ เราบำเพ็ญหลายประการ เหมือนเราท่านในบัดนี้ได้บำเพ็ญหลายอย่างด้วยกัน

    1. ทานมัย ให้ทาน
    2. แล้วก็มารักษาศีล เรียกว่า สีลมัย
    3. รักษาศีลแล้วก็ไปเจริญภาวนา เรียกว่า ภาวนามัย
    4. แล้วไปอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เรียกว่า อปจายนมัย
    5. การช่วยทำครัวเลี้ยงพระเจ้าพระสงฆ์อย่างนี้ก็เรียกว่า เวยยาวัจจมัย ให้คนโน้นเขาประเคนบ้าง ให้คนนี้เขาประเคนบ้าง
    6. สิ่งของของตนให้คนอื่น เขาให้ทานบ้าง เรียกว่า ปัตติทานมัย
    7. เห็นเขาดีก็อนุโมทนาเขา นั้นเรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย
    8. การสดับตรับฟังเช่นนี้ เรียกว่า ธัมมัสสวนมัย
    9. การแสดงธรรมให้บุคคลผู้อื่นฟัง จำได้เรื่องนั้น เรื่องนี้ก็นำไปแสดงให้ผู้อื่นฟังบ้าง เรียกว่า ธัมมเทสนามัย
    10. การทำความเห็นของตนให้ตรงต่อ ความประสงค์ทางพุทธศาสนา เรียกว่า ทิฏฐุชุกัมม์
    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาในมงคลคาถาทั้ง 3 ข้อนี้ ข้อต้นว่า อยู่ในประเทศอันสมควร ข้อที่ 2 ว่า ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน และข้อที่ 3 ว่า ได้ตั้งตนไว้ชอบ ประกอบด้วยองค์คุณ ทั้ง 3 ประการนี้ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เป็นเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญอันสูงสุด นี้ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอเป็นเครื่องปฏิการประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านพุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดาที่มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    a-jpg-jpg.jpg

    หมายเหตุ ขอบคุณภาพประกอบจากท่านเจ้าของภาพจากอินเตอร์เนต




    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งเก้าบรรพ

    เมื่อจะพูดถึงเรื่องเวทนาก็จะต้องพูดเรื่องของจิตด้วย กล่าวคือจิตทำหน้าที่น้อมไปสู่อารมณ์ต่างๆ จึงมีชื่อทางบาลีในที่มากแห่งว่า "สังขาร" ส่วนเวทนา ก็ทำหน้าที่รับอารมณ์และเสวยอารมณ์ที่จิตคิดหรือน้อมไปหา และภายในจิตก็มี"วิญญาณ" ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ และภายในเวทนาก็มี"สัญญา" ทำหน้าที่รวบรวมจดจำอารมณ์ ธรรมชาติ ๔ อย่างนี้ ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหมด ประดุจข่ายของใยแมงมุม

    พิจารณาขันธ์ ส่วนเห็น จำ คิด รู้

    รวม ใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตละเอียด แล้วหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมกายมนุษย์ ตรงกลางดวงกำเนิดเดิมนั้นก็จะเห็นดวงกลมใสๆ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ตั้งอยู่ในใจนั้นแหละ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆข้างใน ใสละเอียดกว่ากันตามลำเอียด เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นธาตุละเอียดนี้เองที่ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ เป็นการทำงานระดับนามธรรม

    ดวงเห็น มีขนาดเท่ากับเบ้าตาของกาย ธาตุเห็นอยู่ในท่ามกลางดวงเห็น มีหน้าที่รับอารมณ์ หรือเสวยอารมณ์

    ดวงจำ มีขนาดเท่ากับดวงตาของกาย ธาตุจำอยู่ในท่ามกลางดวงจำ มีหน้าที่รวบรวมและจดจำอารมณ์

    ดวงคิด มีขนาดเท่ากับตาดำ ธาตุคิดอยู่ในท่ามกลางดวงคิด มีหน้าที่คิด หรือน้อมเข้าสู่อารมณ์ ไม่ว่าจะอยู่ไกลแสนไกล ก็ไปถึงได้

    ดวงรู้ มีขนาดเท่ากับแววตาดำข้างใน ธาตุรู้อยู่ในท่ามกลางดวงรู้ มีหน้าที่รู้หรือรับรู้อารมณ์

    เห็น จำ คิด รู้ สี่อย่างนี้ที่รวมเรียกว่า "ใจ" เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียว เรียกว่า เอกัคตารมณ์ หรือ ใจมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

    พึงพิจารณาต่อไปให้ถี่ถ้วน ก็จะเห็นว่า ในเบญจขันธ์ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ ทั้งสี่อย่างนี้เจืออยู่ด้วยหมดทุกกอง

    และก็ เห็น จำ คิด รู้ นี้เอง ที่ขยายส่วนหยาบออกมาอีก เป็น กาย ใจ จิต วิญญาณ ของมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย

    อัน ดวงคิด หรือ จิต นั้น ลอยอยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ(ไม่ใช่มังสหทัยหรือหัวใจเนื้อ) อันใสบริสุทธิ์ มีประมาณเท่าหนึ่งซองมือของผู้เป็นเจ้าของ และจิตนี้ โดยสภาพเดิมของมันแล้ว เป็นธรรมชาติอันประภัสสร จึงชื่อว่า "ปัณฑระ" แต่เนื่องจากจิตมักตกในอารมณ์ที่น่าใคร่ และมักน้อมไปสู่อารมณ์ภายนอกอยู่เสมอ จึงเปิดช่องทางให้อุปกิเลสจรมาทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว สีน้ำเลี้ยงของจิตจึงเปลี่ยนสีไปตามสภาพของกิเลสแต่ละประเภทที่จรเข้ามา เป็นต้นว่า เมื่อจิตระคนด้วยโลภะหรือราคะก็จะเป็นสีชมพู เกือบแดง, เมื่อจิตระคนด้วยโทสะ ก็จะมีสีเกือบดำ, ถ้าจิตระคนด้วยโมหะ ก็จะมีสีขุ่นๆเทาๆ ขึ้นอยู่กับสภาพของอุปกิเลสว่าหนักเบาเพียงใด

    นอกจากนี้ อาการลอยตัวของจิตในเบาะน้ำเลี้ยง ก็บอกอาการของจิต กล่าวคือ ถ้า จิตลอยอยู่เหนือระดับน้ำเลี้ยงหทัยมาก แสดงว่า ฟุ้งซ่าน, ถ้าลอยอยู่เหนือน้ำเลี้ยงเล็กน้อย ก็เป็นสภาพธรรมดา, ถ้าลอยปริ่มพอดีกับระดับน้ำเลี้ยง ก็อยู่ในเอกัคคตารมณ์, ถ้าจมลงไปมาก ก็หลับไปเลย เป็นต้น

    "จิต"เป็น ธรรมชาติอันรู้ได้เห็นได้ แต่มิใช่เห็นด้วยมังสจักษุหรือตาเนื้อ หากแต่เป็นทิพยจักษุหรือตาละเอียด อันเป็นผลการเจริญสมถภาวนาอันถูกส่วน


    การพิจารณาอายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘

    เดิน สมาบัติอนุโลม-ปฏิโลม จนจิตอิ่มเอิบแจ่มใสดีแล้ว รวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ศูนย์กลางกายพระอรหัตละเอียด แล้วก็ขอให้ใจของธรรมกายพระอรหัตละเอียดเพ่งลงไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมกาย มนุษย์ ให้เห็นขันธ์ ๕ ส่วนละเอียด ทีนี้ให้เพ่งลงไปที่กลางวิญาณขันธ์ ซึ่งเป็นขันธ์ที่ละเอียดที่สุด ก็จะเห็นธาตุธรรมส่วนละเอียดของอายตนะทั้ง ๑๒ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างใน คือ อายตนะ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ นี้เป็นธาตุธรรมละเอียดของอายตนะภายใน ๖ กลางอายตนะภายใน ๖ ก็ยังมีธาตุธรรมละเอียดที่ทำหน้าที่เป็นอายตนะภายนอกอีก ๖ คือ รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส,อารมณ์ทางใจ อายตนะทั้ง ๑๒

    บาลีว่า "สฬายตนะ" สัณฐานเป็นดวงกลมใสดวงเล็กๆ ซ้อนกันอยู่ ละเอียดกว่ากันเข้าไปตามลำดับ

    ตรง กลางสฬายตนะ ที่สุดละเอียดนี้เอง ยังมีธาตุธรรมละเอียดของธาตุ ๑๘ ซ้อนอยู่อีก คือ ธาตุรับรูป,ธาตุรับเสียง,ธาตุรับกลิ่น,ธาตุรับรส,ธาตุรับสัมผัส,ธาตุรับ อารมณ์ทางใจ รวมเรียกว่าธาตุรับ ๖

    ต่อไปก็จะเป็น ธาตุรูป,ธาตุเสียง,ธาตุกลิ่น,ธาตุรส,ธาตุสัมผัส,ธาตุอารมณ์ทางใจ รวมเป็นธาตุกระทบ(เร้า) ๖

    ต่อ ไปอีกเป็น ธาตุรับรู้การรับรูป,ธาตุรับรู้การรับเสียง,ธาตุรับรู้การรับรส,ธาตุรับรู้ การรับสัมผัส,ธาตุรับรู้การรับรู้อารมณ์ทางใจ รวมเป็นธาตุประมวลผลอีก ๖

    เรา จะเห็นว่า ในธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้ ยังมีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกๆดวง เพราะเหตุนี้ ธาตุธรรมทั้งหลายเหล่านี้ แม้จะทำหน้าที่ต่างๆกัน แต่ก็สัมพันธ์กันเป็นอัตโนมัติ ฉะนั้น เมื่อมีอะไรมากระทบ ก็จะกระเทือนไปถึง"ใจ"อันประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ เป็นต้นว่า เมื่อจิตคิดไปถึงสิ่งที่น่ากำหนัดยินดี และไปยึดมั่นถือมั่น แม้ว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย จะยังมิได้สัมผัสรูป เสียง กลิ้น รส สัมผัส อารมณ์กำหนัดยินดีก็ไม่กระเทือนถึงแต่เฉพาะ"ใจ"เท่านั้น หากแต่จะกระเทือนถึงกายด้วย ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า "ดวงเห็น" ซึ่งทำหน้าที่รับและเสวยอารมณ์อันเป็นเปลือกนอกของ "ใจ"ทำหน้าที่เป็น "ดวงกาย"ซึ่งขยายส่วนหยาบ เจริญเติบโตออกมาเป็นกาย ซึ่งเป็นที่อาศัยและยึดเกาะของ"ใจ"นั่นเองอีกด้วย

    และเนื่อง จาก"ใจ"ตั้งอยู่อาศัยกับขันธ์ ๕ ทั้งในส่วนที่เป็นธาตุธรรมละเอียด และส่วนหยาบ มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เพราะความไม่รู้แจ้ง หรือ "อวิชชา"ครอบคลุมอยู่ เมื่อมีสิ่งหนึ่งอันจะก่อให้เกิดอารมณ์มากระทบส่วนใดส่วนหนึ่งของขันธ์ ๕ นี้ ก็จะรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ(อทุกขมสุขเวทนา หรือ ไม่สุข ไม่ทุกข์) โดยจะแสดงออกทางดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้นี้เอง กล่าวคือ เวลาที่เป็นสุข ก็จะเห็นเป็นใสๆ เวลาทุกข์ ก็จะเห็นเป็นมัวๆขุ่นๆ ถ้าเวลาเฉยๆ ก็จะไม่ใส ไม่ขุ่น กลางๆ


    การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา สติพิจารณาเวทนาขันธ์อยู่เนืองๆ มี ๙ บรรพด้วยกัน คือ

    ๑. เมื่อรู้รสสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งสุขเวทนา
    ๒. เมื่อรู้รสทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขเวทนา
    ๓. เมื่อรู้รสอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งอทุกขมสุขเวทนา (เสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ ไม่สุข)
    ๔. เมื่อรู้รสสามิสสสุขเวทนา(สุขอันเจือด้วยอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งสุขเวทนาอันมีอามิส
    ๕. เมื่อรู้รสสามิสสทุกขเวทนา(ทุกข์อันเจือด้วยอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขเวทนาอันมีอามิส
    ๖. เมื่อรู้รสสามิสสทุกขมสุขเวทนา(ไม่ทุกข์ ไม่สุขอันเจือด้วยอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขมสุขเวทนาอันมีอามิส
    ๗. เมื่อรู้รสนิรามิสสสุขเวทนา(สุขอันปราศจากอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งสุขเวทนาอันไม่มีอามิส
    ๘. เมื่อรู้รสนิรามิสสทุกขเวทนา(ทุกข์อันปราศจากอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขเวทนาอันไม่มีอามิส
    ๙. เมื่อรู้รสนิรามิสสทุกขมสุขเวทนา(ไม่ทุกข์ ไม่สุขอันปราศจากอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขมสุขเวทนาอันไม่มีอามิส

    อามิส แปลว่า เครื่องล่อใจ ดังนั้น เรียกว่า สุขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ(เกิดจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) ทุกขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ ฯลฯ
    ส่วน สุขเวทนาที่เกิดขึ้น ด้วยสมถภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนาก็ดี ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากสภาพแห่งสังขารก็ดี และทุกขมสุขเวทนาซึ่งเกิดมีความสงบจากอารมณ์ของ สมถะหรือวิปัสสนาก็ดี จัดว่าเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา ทุกขมสุขเวทนาเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิส

    การเสวยเวทนาโดยมีอามิสหรือไม่ก็ตาม ย่อมเปลี่นแปลงแปรผันตามเหตุปัจจัยเสมอๆ อารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ หาได้จีรังไม่ ย่อมเกิดขึ้น และเสื่อมสลายไป เมื่อเห็นเป็นธรรมดาในความเกิดดับของเวทนาแล้ว แม้จะรู้ว่าเวทนามีอยู่ ก็จงระลึกได้ว่า "สักแต่เป็นเวทนา" หามีสาระแก่นสารให้ยึดถืออย่างใดไม่ ทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์และ สิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ทั้งหลายลง จิตใจก็เบิกบาน เพราะความหลงผิดสิ้นไป กิเลส ตัณหา อุปาทาน ก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาย้อมหรือดลจิตให้เป็นไปตามอำนาจของมันได้ เมื่อเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น นี้คือทางแห่งมรรค ผล นิพพาน อันเป็นความว่างเปล่าจากกิเลส อาสวะทั้งปวง


    วิธีพิจารณาระบบการทำงานของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เห็นเวทนาในเวทนา ตามแนววิชชาธรรมกาย

    รวมใจของทุกกายหยุด ณ กลางกายธรรมอรหัตละเอียด แล้วเพ่งไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุด ตรึก นิ่ง ให้ดวงธรรมสว่างไสวทั่วทั้งกาย แล้วพิจารณาทวารทั้ง ๕ คือ จักขุทวาร(ตา) โสตทวาร(หู) ฆานทวาร(จมูก) ชิวหาทวาร(ลิ้น) กายทวาร โดยเริ่มที่ตาก่อน ตรงกลางแววตาทั้งซ้าย-ขวา พิจารณาให้ดีจะเห็น จักขุปสาท ซึ่งทำหน้าที่เป็นจักขุอายตนะ สำหรับรับรูป มีสัณฐานกลมสะอาด ตั้งอยู่ตรงกลางแววตา ตรงกลางจักขุปสาทก็มี จักขุธาตุ ซึ่งละเอียดกว่า ซ้อนอยู่ข้างใน สำหรับเห็นรูป แล้วที่กลางจักขุธาตุก็มี จักขุวิญญาณธาตุ ละเอียดกว่าจักขุธาตุ ซ้อนอยู่อีก สำหรับรู้ว่าเห็นรูปอะไร และมีสายเล็กๆขาวใส บริสุทธิ์ ทอดออกไปจากตรงกลางแววตาทั้งสองข้าง ผ่านขึ้นไปสมอง ศีรษะ แล้วหยั่งไปในเยื่อพื้นหลัง ลงไปรวมจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    อะไรทำให้เห็น?

    เวลา ที่จักขุอายตนะ กับ รูปายตนะ กระทบกัน (เมื่อสายตากระทบรูป) ก็จะมีดวงใส คือส่วนละเอียดของจักขุอายตนะ ซึ่งจะมีจักขุธาตุ จักขุวิญญาณธาตุซ้อนอยู่ แล่นจากศูนย์กลางขันธ์ ๕ ที่ตรงกลางกำเนิดเดิม ขึ้นมาตามสาย ผ่านสมอง มาจรดที่จักขุปสาท ที่ตรงกลางแววตาทั้งซ้ายขวา ซึ่งทำหน้าที่รับรูป แล้วนำรูปนั้นแล่นผ่านสมอง ตามสายกลับมาที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นไปอย่างรวดเร็วมากการเห็นรูปก็เกิดขึ้นตั้งแต่ดวงกลมขาวใส มาจรดที่กลางจักขุปสาท ที่กลางแววตา เพราะที่กลางจักขุปสาทก็มีจักขุธาตุสำหรับเห็นรูป และมีจักขุวิญญาณธาตุ สำหรับรับรู้ว่าเป็นรูปอะไร ซ้อนอยู่ด้วยแล้ว และการเห็นนี้ ไม่เฉพาะแต่ที่ตรงกลางแววตาเท่านั้น หากแต่เห็นไปถึง"ใจ" อันประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ เป็นอัตโนมัติ เพราะเหตุที่ดวงกลมใสที่แล่นขึ้นมารับรูปจากตา กลับไปสู่กลางขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็คือธาตุธรรมละเอียดของจักขุอายตนะ ซึ่งทำหน้าที่รับรูป และจักขุธาตุซึ่งทำหน้าที่เห็นรูป และจักขุวิญญาณธาตุที่ทำหน้าที่รับรู้ว่ารูปอะไร มีลักษณะ สี สัณฐานอย่างไร ซ้อนอยู่ด้วยอีกเช่นกัน

    และนอกจากนี้ ในธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้ ก็ยังมี ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง จึงทำหน้าที่เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอดเป็นอัตโนมัติ เพราะเมื่อตากระทบรูปนั้น รูปธาตุย่อมผ่านเห็น จำ คิด รู้เสมอ

    อนึ่ง ดวงรู้ของสัตว์ที่ยังไม่บรรลุโลกุตตรธรรมนั้นมี อวิชชานุสัย ห่อหุ้มหนาแน่น ส่วนดวงเห็นกับดวงจำก็มี ปฏิฆานุสัย ห่อหุ้มอยู่ และดวงคิดก็มี กามราคานุสัย ห่อหุ้มอยู่ จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนกายธรรม (จึงทำให้ทัสสนะไม่บริสุทธิ์เหมือนกายธรรม)

    เพราะฉะนั้น เวลาที่สายตากระทบรูป ถ้าเป็นรูปที่ถูกอารมณ์น่ายินดี เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในสภาวะจริงของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ซึ่งกล่าวโดยย่อว่า อวิชชา จิตใจจึงมักเลื่อนลอยตามอารมณ์นั้น ทำให้รู้สึกเป็นสุขตา-สุขใจไปตามอารมณ์ที่น่าพอใจนั้น เรียกว่าเกิด สุขเวทนา หรือ โสมนัสเวทนา ในกรณีเช่นนี้ ก็จะเห็น"ใจ"มีลักษณะใส

    แต่ ถ้าเป็นรูปที่ไม่น่าพอใจ และปล่อยใจคล้อยไปตามอารมณ์ที่ว่านั้น ก็จะเกิดความไม่สบายตา-ไม่สบายใจ หรือที่เรียกว่าเป็นทุกขเวทนาหรือโทมนัสเวทนา ในกรณีเช่นนี้ก็จะเห็น"ใจ"มีลักษณะขุ่นมัว

    ทีนี้ ถ้าหากจิตใจไม่ได้รับการอบรมให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง ปล่อยใจให้เคลิบเคลิ้มไปในอารมณ์ต่างๆนี้มากๆเข้า กิเลสที่สะสมหมักดองอยู่ในจิตใจ ได้แก่ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ก็จะฟุ้งขึ้นมาครอบคลุมจิตใจย้อมจิตย้อมใจให้เป็นไปตามสภาพของมัน ด้วยเหตุนี้ สีน้ำเลี้ยงของจิตซึ่งถูกเจือด้วยกิเลสนั้น เปลี่ยนสีจากที่เคยขาว ใส สะอาด เป็นสีต่างๆตามสภาพกิเลสที่จรมาผสม เป็นต้นว่าจิตที่ประกอบด้วยกามตัณหา และภวตัณหา หรือรวมเรียกว่า โลภะ-ราคะ ก็จะเห็นเป็นสีชมพู จนถึงเกือบแดง, จิตที่ระคนด้วยวิภวตัณหา หรือโทสะ ก็จะเป็นสีเขียวคล้ำ จนเกือบดำ, และจิตที่ระคนด้วยโมหะ ก็จะเห็นเป็นสีขุ่นเหมือนตม หรือเกือบเทา เป็นต้น

    นอกจากนี้ อาการที่จิตฟุ้งออกไปรับอารมณ์ภายนอกมากเพียงใด ก็จะเห็นจิต คือ ดวงคิดลอยอยู่เหนือน้ำเลี้ยงหทยรูปมากขึ้นเพียงนั้น การเห็นลักษณะของใจตนเองที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี โดยจะเห็นดวงใสหรือขุ่นหรือปานกลางนั้น เรียกว่า เห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายใน แต่ถ้าเห็นเวทนาของผู้อื่น ก็เรียกว่า เห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายนอก ซึ่งเป็นลักษณะของการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ส่วน การเห็นสภาวะของจิตของตนว่าระคนด้วยกิเลส โดยเห็นสีน้ำเลี้ยงที่เปลี่ยนไปตามสภาวะกิเลสที่เข้ามาผสมก็ดี หรือเห็นว่าจิตฟุ้งซ่าน หรือสงบ โดยอาการลอยของจิตในเบาะน้ำเลี้ยงหทยรูปในลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วก็ดี เรียกว่า เห็นจิตในจิต เป็นภายใน และถ้าเห็นสภาวะจิตของผู้อื่น ก็เรียกว่า เห็นจิตในจิต เป็นภายนอก ซึ่งเป็นลักษณะของการเจริญจิตตานุปัสสนสติปัฏฐาน

    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเจริญปัญญา จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตเป็นทั้งภายในและภายนอก ดังนี้จึงควรที่สาธุชนจะพึงเจริญให้มาก

    ในลำดับนี้ จะได้แนะนำวิธีพิจารณาที่โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร และมโนทวารต่อไป

    สำหรับ ผู้ถึงธรรมกายแล้ว ให้รวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายธรรมอรหัตละเอียด แล้วให้ญาณพระธรรมกายเพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดในหยุด ตรึกในตรึก นิ่งในนิ่ง ให้ดวงธรรมนั้นใสสว่าง ขยายโตขึ้นจนเห็นใสสว่างหมดทั้งกาย แล้วเริ่มพิจารณาที่โสตทวาร(หู)ก่อน

    ที่ตรงกลางแก้วหูทั้งซ้ายและขวานั้น จะเห็นมี"โสตปสาท" ซึ่งทำหน้าที่เป็น "โสตายตนะ" คือ อายตนะหู สำหรับรับเสียง มีลักษณะสัณฐานกลมใส สะอาดบริสุทธิ์ ประมาณเท่าขนจามรี ขดเป็นวงซ้อนกันอยู่ ๗ ชั้น ตั้งอยู่ที่ตรงกลางแก้วหูทั้งสองข้าง ตรงกลางโสตประสาทก็มี "โสตธาตุ" ซึ่งละเอียดกว่า เล็กกว่า ซ้อนอยู่ข้างใน สำหรับฟังเสียง และในกลางโสตธาตุ ก็มี "โสตวิญญาณธาตุ" ซึ่งใสกว่า เล็กกว่าโสตธาตุ ซ้อนอยู่ภายในเข้าไปอีก สำหรับให้รู้ว่าเป็นเสียงอะไร แลมีสายใยสีขาว ใส ทอดออกไปจากโสตประสาททั้งซ้ายขวา ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงไปภายในเยื่อพื้นข้างหลัง ไปรวมจรดอยู่ที่ตรงกลางของขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิม

    ทำหน้าที่ได้ยินเสียง ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการหน้าที่มองเห็นของอายตนะตา กล่าวคือ เมื่อเสียงมากระทบประสาทหูซึ่งทำหน้าที่เป็นโสตายตนะนั้น จะมีดวงกลมขาว ใส คือธาตุละเอียดของโสตายตนะ ซึ่งมีโสตธาตุ และโสตวิญญาณธาตุซ้อนอยู่ แล่นจากศูนย์กลางขันธ์ ๕ ที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรมเดิม ขึ้นมาตามสายสีขาวบริสุทธิ์ มาจรดที่โสตประสาทตรงกลางแก้วหูซ้ายขวาซึ่งทำหน้าที่รับเสียง แล้วนำเสียงนั้นแล่นกลับไปที่กลางขันธ์ ๕ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม เพื่อทำหน้าที่ต่อไป

    ทีนี้ให้พิจารณาต่อไปที่ขื่อจมูกข้างในทั้งซ้ายและขวา จะเห็น"ฆานปสาท" ซึ่งทำหน้าที่เป็น "ฆานายตนะ"ทำ หน้าที่รับกลิ่น มีลักษณะสัณฐานเหมือนกีบกวางหรือปีกริ้น ใสสะอาดบริสุทธิ์ ตั้งอยู่ตรงกลางขื่อจมูกข้างในทั้งซ้ายและขวา แล้วตรงกลางประสาทจมูก ก็มี "ฆานธาตุ" ซึ่งใสสะอาดบริสุทธิ์ และเล็กกว่าประสาทจมูก สำหรับทำหน้าที่ดมกลิ่น และที่ตรงกลางฆานธาตุก็มี "ฆานวิญญาณธาตุ" ซึ่งมีลักษณะสัณฐานอย่างเดียวกัน แต่ใส สะอาด และเล็กกว่าฆานธาตุ สำหรับทำหน้าที่รู้ว่าคุณสมบัติกลิ่นเป็นอย่างไร และมีสายใยสีขาวทอดออกจากตรงกลางฆานปสาททั้งสองข้าง ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงภายในพื้นเยื่อพังผืดข้างหลัง ไปรวมจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    แล้วต่อไปก็ให้พิจารณาที่ลิ้น จะเห็น"ชิวหาปสาท" กระจายอยู่ทั่วลิ้น มีลักษณะสัณฐานเหมือนดอกบัวหรือกลีบบัว ขาวใส ทำหน้าที่เป็น "ชิวหายตนะ"สำหรับทำหน้าที่รับรส และตรงกลางชิวหาปสาทก็มี "ชิวหาธาตุ"ซึ่งมีลักษณะสัณฐานเดียวกัน แต่ใสสะอาด และเล็กกว่าชิวหาปสาท ซ้อนอยู่ภายในเข้าไป สำหรับทำหน้าที่ลิ้มรส แล้วก็ตรงกลางชิวหาธาตุก็มี "ชิวหาวิญญาณธาตุ" ซึ่งใสสะอาด และเล็กกว่าชิวหาธาตุ ซ้อนอยู่ภายในเข้าไปอีก สำหรับทำหน้าที่รู้คุณสมบัติรส แล้วก็มีสายใยสีขาว ใสสะอาด ทอดออกไปจากตรงกลางชิวหาปสาททั้งหลาย ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงไปภายในเยื่อพังผืดพื้นหลัง แล้วไปจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิม

    ทีนี้ให้พิจารณาดูหมดทั่วสรรพางค์กาย จะเห็น"กายปสาท" มีลักษณะสัณฐานเหมือนดอกบัว ขาว ใส สะอาด ตั้งอยู่ทั่วทั้งกาย ทุกขุมขนทีเดียว ทำหน้าที่เป็น "กายายตนะ" ทำหน้าที่รับสัมผัส และตรงกลางกายปสาททั้งหลาย ก็มี "กายธาตุ" ซึ่งมีลักษณะสัณฐานเดียวกัน แต่เล็กกว่า ใสสะอาดกว่ากายปสาท สำหรับทำหน้าที่สัมผัสสิ่งที่มาถูกต้องทางกาย และมี "กายวิญญาณธาตุ" ซึ่งมีลักษณะสัณฐานนเดียวกัน แต่ใสสะอาด และเล็กกว่ากายธาตุ ซ้อนอยู่ชั้นในเข้าไปอีก สำหรับทำหน้าที่รู้คุณสมบัติสิ่งที่มาสัมผัสถูกต้องทางกาย ว่าเย็น ร้อน อ่อน แข็งอย่างไร แล้วก็มีสายใยสีขาวใส ทอดออกไปจากกายปสาททั่วทั้งกาย ขึ้นไปสู่สมองศีรษะ แล้วไปรวมจรดที่ขันธ์ ๕ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    ที่ตรงกลางหทยรูป(ไม่ใช่มังสหทยรูป แต่เป็นของละเอียด) หรือที่เรียกว่ามโนทวาร ก็มี "มนายตนะ" มีลักษณะสัณฐานเป็นดวงกลมใส ขนาดประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร ซึ่งทำหน้าที่น้อมไปสู่อารมณ์ และที่ตรงกลางมโนทวารนี้เองเป็นที่ตั้งของ "มโนธาตุ" มีลักษณะสัณฐานกลมใสยิ่งกว่า เล็กกว่ามนายตนะ ซ้อนอยู่ข้างใน สำหรับรู้ธรรมารมณ์ที่มากระทบใจ และตรงกลางมโนธาตุ ก็มี "มโนวิญญาณธาตุ" ซึ่งใส สะอาดกว่า และเล็กละเอียดกว่ามโนธาตุ ซ้อนอยู่ข้างในเข้าไปอีก สำหรับรู้คุณสมบัติอารมณ์ที่มากระทบ และมีสายใยสีขาวใสหยั่งลงไปจรดรวมอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม แต่สายของมนายตนะนี้ ไม่ผ่านขึ้นสู่สมองศีรษะเหมือน ๕ สายข้างต้น

    การรู้กลิ่น รู้รส รู้การสัมผัสทางกาย และรู้อารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทางใจ ก็เป็นลักษณะเดียวกันกับการเห็นรูป หรือ ได้ยินเสียง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์จากภายนอกที่มากระทบนั้น เป็นสิ่งที่น่าพอใจ ยินดี ก็จะรู้สึกเป็นสุข เรียกว่า "เสวยสุขเวทนา" และในกรณีเช่นนี้ ก็จะเห็น "ใจ" มีลักษณะใส แต่ถ้าอายตนะภายนอกที่มากระทบทวารทั้งหลายเหล่านี้ ไม่เป็นที่น่าพอใจ ยินดี ก็เป็นทุกข์ใจ เรียกว่า "เสวยทุกขเวทนา" ในกรณีเช่นนี้ ก็จะเห็น "ใจ" ทั้งดวงมีลักษณะขุ่นมัว

    ทีนี้ถ้าหากไม่รู้เท่าทันในสภาวะจริงตามธรรมชาติของเวทนา ไม่รู้ข้อดี ข้อเสียของเวทนา และไม่รู้ทางออกจากเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น แล้วปล่อยให้จิตใจเลื่อนลอยไปตามอารมณ์ จนถึงกับต้องสยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก น่ายินดี หรือจนถึงกับเคียดแค้น ชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจยินดี กิเลสอนุสัยต่างๆ เป็นต้นว่า กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ก็จะฟุ้งขึ้นมาครอบคลุมจิตใจดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมัน อันเป็นทางให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนตามมาได้

    แต่ถ้ารู้เท่าทันในสภาวะของเวทนาตามที่เป็นจริง ว่าอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ และรู้เท่าทันเวทนาว่า ถ้าปล่อยจิตใจให้เลื่อนลอยตามอารมณ์ที่มากระทบแล้ว ก็จะเป็นทางให้กิเลส ตัณหา อุปาทานเข้ามาครอบคลุมจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันได้แล้ว ก็รู้วิธีออกจากเวทนานั้นๆ โดยรวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด ให้ละเอียดหนักเข้าไป ไม่ถอยหลังกลับ เมื่อใจไม่น้อมไปสู่อารมณ์และหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดหนัก เข้าไป(หยุดปรุงแต่ง ส่งจิตส่งใจไปตามอารมณ์) ก็พ้นอำนาจของอนุสัยที่เคยนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน กิเลส ตัณหา อุปาทานก็ไม่มีทางที่จะเข้ามาย้อมจิตย้อมใจ ทุกข์จะมีมาแต่ไหน จิตใจก็กลับใส สะอาด ปราศจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง เป็นสุขจากความสงบรำงับด้วยประการฉะนี้แล

    นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ - สุขอื่นยิ่งกว่า กาย วาจา และใจ สงบ ไม่มีอีกแล้ว
    จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ - จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้



    จงพิจารณาให้เห็นสภาวะจริงของเวทนาที่เป็นจริงต่อไปอีกว่า เวทนานั้นเกิดแต่จิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของใจอันมีอวิชชา ความไม่รู้สภาวะจริงนั้นเอง ทำหน้าที่ปรุงแต่งอารมณ์ เรียกว่า จิตสังขาร อันเป็นเหตุให้เกิดการรับรู้อารมณ์จากภายนอกที่สัมผัสกับทวารต่างๆ ทั้ง ๖ ทวาร แล้วจิตนั้นเองก็เสวยอารมณ์สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขเวทนา แล้วแต่กรณี

    เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่เกิดเวทนาทั้งหลาย นับตั้งแต่อวิชชาเอง ก็ไม่เที่ยง มีการเกิดดับไปพร้อมกับจิต ซึ่งไม่เที่ยงอีกเช่นเดียวกัน ทั้งอวิชชาและจิต จึงต่างก็หามีตัวตนแท้จริงไม่ ต่างก็เป็นอนัตตา ด้วยกันทั้งสิ้น นี้ข้อหนึ่ง

    อาการปรุงแต่งอารมณ์ของจิต นั้นอีกเล่า ก็ไม่เที่ยง มีเปลี่ยนแปลง แปรผันอยู่เสมอ, วันนี้เห็นบุคคล รูปร่างอย่างนี้ แต่งกายอย่างนี้ มีกิริยาอาการอย่างนี้ว่า น่ารัก น่าพอใจ แต่พอภายหลัง กลับไม่ชอบ ไม่ยินดี หรือขัดหูขัดตาไปก็มี ดังนี้เป็นต้น มันไม่เที่ยงอย่างนี้ หากยึดถือก็เป็นทุกข์ เพราะไม่มีแก่นสารให้ยึดถือ อาการปรุงแต่งของจิตจึงเป็นอนัตตา นี้ก็อีกข้อหนึ่ง

    ทวารต่างๆ หรือ อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ คือ อายตนะภายนอกเอง ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสกาย และอารมณ์ทางใจ ก็ไม่เที่ยงอีกเหมือนกัน รวมตลอดทั้งสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์จากภายนอกในรูปอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกธรรม ๘ ประการ ไม่ว่าจะเจือด้วยอามิสหรือไม่ก็ตาม เป็นต้นว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือการได้กำเนิด เสวยวิบากกรรมจากผลบุญ-บาปในภพภูมิใหม่ใดๆก็ตาม ก็ล้วนแต่ไม่เที่ยงทั้งสิ้น มีเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัยนเสมอ ผู้ใดยึดถือก็เป็นทุกข์ เพราะต่างก็ไม่มีแก่นสารตัวตนให้ยึดถือได้ตลอดไป มีเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสลายดับสิ้นไปเป็นธรรมดา นี้เป็น อนัตตา อีกข้อหนึ่ง

    ก็เมื่อเหตุ-ปัจจัยที่เกิดของเวทนา และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยเวทนาทั้งหลายต่างก็ไม่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย ผู้ใดยึดถือก็เป็นทุกข์เพราะไม่มีตัวตนให้ยึดถือได้ จึงเป็นอนัตตาไปหมด ดังนี้แล้ว เวทนาเองก็จึงหาได้มีแก่นสารแต่ประการใดไม่ อีกเช่นกัน มีเกิดดับเป็นธรรมดา หากผู้ใดยึดมั่นถือมั่นในเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ได้ อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี, ด้วยความเห็นผิดว่าเป็นของเรา หรือว่า เราเป็นตัวเวทนา เวทนามีในตัวเรา หรือตัวเรามีในเวทนา ซึ่งเรียกว่า สักกายทิฏฐิ ๔ แล้วย่อมเป็นเหตุแห่งความทุกข์ เพราะสภาวะจริงของเวทนานั้น ก็สักแต่เป็นเวทนา หาใช่เป็นของผู้ใดไม่ เป็นอนัตตาแท้ๆ
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    อริยธนคาถา


    lphor_tesna_vn-jpg.jpg


    23 มกราคม 2498

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา
    สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ
    สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ
    อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ
    ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ
    อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย อริยธนคาถา วาจาเครื่องกล่าวถึง ทรัพย์อันประเสริฐ พระคาถานี้ การย่อย่นเนื้อความแห่งธรรมเทศนาของพระรัตนตรัยยกไว้ ในที่นี้ จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอเป็น เครื่องปฏิการ ประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญา ซึ่งคุณสมบัติของท่านผู้คฤหัสถ์ ทั้งบรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า

    เริ่มต้นตามวาระพระบาลีด้วย ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา ความเชื่อ ของบุคคลใดไม่กลับกลอกตั้งมั่นดีแล้วในพระตถาคตเจ้าคือธรรมกาย สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ ศีลอันดีงามของบุคคลใดอันพระตถาคตเจ้าใคร่สรรเสริญแล้ว สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเชื่อในพระสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใด อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงมีอยู่แก่ บุคคลใด อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า บุคคลนั้นไม่ใช่คนจน เป็นคนมั่งมี อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ความเป็นอยู่ของบุคคลนั้นไม่เปล่าปราศจากประโยชน์ ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ เพราะเหตุนั้น เมื่อ บุคคลมาระลึกถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายแล้ว ควรประกอบตามความเชื่อใน ธรรมกายคือพระตถาคตเจ้า ควรประกอบตามศีล ควรประกอบตามกัลยาณศีล อริยกันตศีล ควรประกอบตามความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ควรประกอบตามความเห็นตรงไว้เนืองๆ ด้วย ประการดังนี้ นี่เนื้อหาของพระบาลี คลี่ความเป็น สยามภาษาได้ความเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป เราท่านทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต หญิงชายทุกถ้วนหน้า บรรดานับถือพระพุทธศาสนา เราจะวางความเชื่อของเราไว้ตรงไหน ถึงจะถูกต้องร่องรอยความประสงค์ทางพระพุทธศาสนา ที่เราจะดำเนินให้ถูกทางมรรคผล ต่อไป จะวางความเชื่อลงไว้ตรงไหน ตำราเขาก็บอกไว้แล้ว ยสฺส สทฺธา ตถาคเต ความเชื่อ ของบุคคลใดไม่กลับกลอก ตั้งมั่นดีแล้วในพระตถาคตเจ้าคือธรรมกาย ตถาคตน่ะ คือ ธรรมกายนี่เอง หรือแปลเสียอีกนัยหนึ่งว่า ความเชื่อของบุคคลใดไม่กลับกลอก ตั้งมั่นดีแล้ว ในธรรมกาย ตถาคตคือตัวธรรมกายทีเดียว มีตำรารับรองว่า ตถาคตสฺส โข เอตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ ว่า ดูก่อนวาเสฏฐโคตรทั้งหลาย คำว่าธรรมกาย ธรรมกายน่ะ เป็น ตถาคตโดยแท้ บอกไว้อย่างนี้ ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราผู้ตถาคตคือธรรมกาย วางหลักไว้ อย่างนี้ ความเชื่อที่ไม่กลับกลอกตั้งมั่นดีแล้วในพระตถาคตเจ้า นี้ถูกแล้ว แปลอย่างนี้ เราจะ ต้องวางความเชื่อลงไว้ในธรรมกายนี้อีก นี้วัดปากน้ำค้นพบแล้ว ได้ตัวจริงแล้ว ไปนรกได้ ไปสวรรค์ได้ ไปนิพพานได้ อาราธนาพระพุทธเจ้าที่อยู่ในพระนิพพาน มาให้มนุษย์เห็นใน วัดปากน้ำมีมากมาย ในวันวิสาขะ มาฆะ ให้เห็นจริงเห็นจังกันอย่างนั้น เท่านั้น แปลบาลีศัพท์หนึ่ง แปลได้ตั้งร้อย ผู้รู้น้อยว่าแปลผิด ไม่ถูก นี่แปลอย่างนี้ถูกเกินถูกอีก แน่นอนทีเดียว ความเชื่อของเราต้องตั้งมั่นลงไปในพระตถาคตเจ้า อย่ากลับกลอก ถ้าว่าไปกลับกลอกเสีย ก็เป็นอันไร้จากประโยชน์ ไร้จากผล ไม่ถูกต้องความสนใจพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลท่าน มีใจตั้งอยู่ในธรรมกายทั้งนั้น ยืนยันอย่างนี้ ตำรานี้ก็ถูกเรียกว่า “อริยธนคาถา” ทรัพย์อัน ประเสริฐของพระอริยเจ้า ถ้าว่าใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นต้องมีศูนย์กลางนะ มนุษย์เล่า ถ้าว่ามนุษย์มีใจไม่ลอกแลก ใจไม่ ง่อนแง่น ใจไม่คลอนแคลน ก็ตั้งอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ นั้นแหละ ถูกหลัก เป้าหมายใจดำของพุทธศาสนา กายมนุษย์ละเอียดที่ฝันออกไป ก็ต้องตั้งมั่นอยู่ในกลางดวง ธรรม อย่างกายมนุษย์ กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด ที่จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ใจก็ต้อง หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด ที่จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ใจกายรูปพรหม กายรูปพรหม ละเอียดก็ต้องตั้งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมที่จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ใจก็ต้องหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียดที่จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ใจกายอรูปพรหม ละเอียดก็ต้องตั้งหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ต้องหยุด อยู่ตรงนั้น กายเบา สลฺลหุกวุตฺติโน เป็นผู้ประพฤติเบาพร้อม กายก็เบา วาจาก็เบา ใจก็เบา ไม่มีหนักเลย ประพฤติดังนี้

    เมื่อเข้าถึงธรรมกาย เคารพธรรมกาย มั่นในธรรมกาย ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา นับถือพระพุทธศาสนา ต้องตั้งมั่นอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกาย ถ้าว่าไม่ได้ธรรมกายละ ก็เข้าถึงธรรมกายให้ได้ จะต้องเอาใจไปตั้ง อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายให้ได้ บัดนี้ วัดปากน้ำมี 150 กว่าคน ใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายได้ 150 กว่า ที่ยังเข้าไม่ถึงก็เพราะประมาทเลินเล่อเผลอตัว ทำไม่จริง เข้าไม่จริง จรดไม่จริง ตั้งไม่จริง ลอกแลก เช่นนี้โกง ตัวเอง เมื่อโกงตัวเองเสียแล้วเข้าถึงธรรมกายไม่ได้ ทำไมโกงตัวเองเล่า มันขี้เกียจทำ ทำเข้า เมื่อยขบเล็กๆ น้อยๆ ขี้เกียจเสียแล้ว หยุดเสียแล้ว ไม่ทำแล้ว ทำก็เห็นลางๆ ไรๆ เอ้า! ปล่อยเสียแล้ว ไม่ทำเสียแล้ว ไปไถลท่าอื่นเสียแล้ว ใจไปจรดที่อื่นเสียแล้ว ไปจรดอะไรเล่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ปัจจุบันบ้าง อดีตบ้าง อนาคตบ้าง

    ไปจรดอยู่ที่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ในปัจจุบันเล่าเป็นอย่างไร ได้ยินเสียงใน ปัจจุบันที่ตั้งอยู่ จรดอยู่ ไปเสียแล้ว เสียงไปแล้ว กำลังนั่งอยู่ไปเห็นรูปเข้า เอ้าไปเสียแล้ว ไปสูดดมกลิ่นเข้า ไปเสียแล้ว ได้ลิ้มรสเข้า เอ้าไปเสียแล้ว ถูกประทุษร้ายด้วยสัมผัส เช่น เหลือบ ยุง ริ้น บุ้ง ร่าน ก็ไปเสียอีกแล้ว ไม่อยู่ที่อย่างนี้ เรียกว่า ลอกแลกในปัจจุบัน ลอกแลกในอดีตเป็นอย่างไรล่ะ นึกถึงรูปที่ล่วงไปแล้ว เสียงที่ล่วงไปแล้ว กลิ่นที่ล่วงไปแล้ว รสที่ล่วงไปแล้ว สัมผัสที่ล่วงไปแล้ว รูปที่ล่วงไปแล้ว รูปที่ล่วงไปแล้วน่ะเป็นอย่างไร ตึกร้าน บ้านเรือน เรือกสวนไร่นา เรือแพนาวา ต้นไม้ต้นไร่ ของที่ตนเห็นด้วยตาของตน เป็นของๆ ตนอยู่ เป็นอันตรายไปเสีย ก็นึกถึงอ้ายเรื่องนั้นยังไม่หาย นั่นแหละนึกถึงอดีตละ รูปเป็น อย่างนั้น เสียงเป็นอย่างนั้น กลิ่นก็เป็นอย่างนั้น รสก็เป็นอย่างนั้น สัมผัสก็เป็นอย่างนั้น ลอกแลกไปเสียในอดีตอีกแล้ว ลอกแลกในอนาคตออกไปข้างหน้า จะได้รูปอย่างนั้น จะได้ เสียงอย่างนั้น จะได้กลิ่นอย่างนั้น จะได้รสอย่างนั้น จะได้สัมผัสอย่างนั้น นึกไปข้างหน้าอีก และวันพรุ่งนี้ออกไป นั่นเป็นข้างหน้า อนาคต จิตมันลอกแลกในธรรม 5 ประการนี้

    ธรรม 5 ประการนี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้สัตว์เนิ่นช้า ปปญฺจาภิรตา ปชา หมู่สัตว์ เนิ่นนานในรูปภพ อรูปภพ ไม่จบไม่แล้ว นี่แหละผู้ที่เลินเล่อเผลอตัว โกงตัวเองก็รูปนี้ ปล่อยใจ ไปจรดรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง ไม่จรดอยู่ที่ศูนย์กลาง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-ธรรมกายละเอียด, จรดอยู่นั่นไม่โกงตัวเอง ให้ความสุข แก่ตัวเองปัจจุบันทันตาเห็น แม้เป็นปุถุชนอยู่ก็เรียกว่า ปุถุชนสาวก ถ้าจรดอยู่ได้ ถ้าจรดอยู่ ไม่ได้ ยังเป็นปุถุชนอยู่ เรียกว่าลอกแลกอยู่นั่นเอง ไม่จัดเข้าในปุถุชนสาวก ถ้าจรดอยู่ ละก้อ จัดเข้าในปุถุชนสาวกละ ต้องเข้าถึงธรรมกายโคตรภูให้หนักขึ้นไป เข้าถึงพระโสดา อริยสาวกทีเดียว เป็นอริยสาวกทีเดียว นี้ความตั้งใจเป็นอย่างนี้นะ วางใจเป็นอย่างนี้ ให้ถูก หลักฐานอย่างนี้ เมื่อถูกหลักฐานอย่างนี้แล้ว นี่ในข้อต้น

    ข้อที่ 2 รองลำดับลงไป สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ นี้ศีลของบุคคลใด อันดีงาม อันพระอริยเจ้ารักใคร่ชอบใจ อันพระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว ศีลอันดีงามน่ะศีลอะไร เขาเรียกว่ากัลยาณศีล อริยกันตศีล ปสังสิตศีล เรียกว่าศีลอันดีงามที่พระอริยเจ้าใคร่ พระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว ศีลอันดีงาม เมื่อใจหยุดจรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย มนุษย์พอดี กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด ทั้ง 8 กาย 9 กาย 10 กาย เป็นลำดับขึ้นไป ถ้าว่าศีลของผู้มีใจหยุดเช่นนั้น ศีลของบุคคลผู้นั้นก็เป็นกัลยาณศีล เป็น อริยกันตศีล เป็นปสังสิตศีลทีเดียว ทำไมเป็นเช่นนั้น ศีลก็แปลว่าปกติ ศีลเขาแปลว่าปกติ ปกติกาย ปกติวาจา ปกติใจ ใจเป็นอัพโพหาริกศีล ด้วยปกติกาย ปกติวาจา ปกติใจ ปกติน่ะ เป็นอย่างไร ใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ถูกเป้าหมายใจดำร่องรอย ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เมื่อใจหยุดแล้ว วาจาก็อยู่ในกรอบของศีล กายก็อยู่ในกรอบ ของศีล ใจก็อยู่ในกรอบของศีล ไม่ละเมิดศีลไปได้ เพราะใจหยุดเสียแล้ว แน่นอนทีเดียว ไม่คลาดเคลื่อน ไม่ฟั่นเฟือนทีเดียว แน่นอนทีเดียว เมื่อแน่นอนเช่นนั้นละก้อ นั่นแหละเป็น กัลยาณศีล เป็นอริยกันตศีล เป็นปสังสิตศีล ศีลโดยตรงทีเดียวนี้แหละ พระอริยเจ้าใคร่ พระอริยเจ้าชอบใจ พระอริยเจ้าสรรเสริญทีเดียว เป็นอย่างนี้ แม้จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยกาย จะพูดสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยวาจา จะคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยใจก็ไม่มีละเมิดศีล อยู่ในกรอบศีลนั่นเอง ไม่เคลื่อนจากศีลไปได้ จึงจัดได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณศีล อริยกันตศีล ปสังสิตศีล ศีลอย่างนี้เป็น ศีลสามัญ ยังไม่เป็นวิสามัญ ศีลวิสามัญ ต้องเห็นศีล ศีลอย่างนี้ถึงจะมีในกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด ทั้ง 8 กายที่มีในไตรภพก็เป็นศีลสามัญ ศีล ของเทวดาต้องมั่นอยู่เป็นปกติธรรมดา กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-รูปพรหม ละเอียด, กายอรูปพรหม-อรูปพรหม ละเอียด, มีอยู่เป็นปกติธรรมดา ศีลของกายมนุษย์ ละเอียดไว้ใจไม่ได้นัก เจ้ากายมนุษย์หยาบ นี้ก็ไว้ใจไม่ได้นัก ยังลอกแลกอยู่ไม่มั่นคง ถ้าว่า ทั้ง 6 กายนี่ละก้อ มั่นคงละ ถ้าว่าไม่อยู่นิ่งละก้อ เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ทีเดียว

    ทั้ง 6 กาย นั้น จึงจัดได้ชื่อว่าเป็นศีลสามัญ

    ศีลวิสามัญน่ะเห็นศีลทีเดียว เห็นศีลคือกาย กายมนุษย์ไม่เห็น กายมนุษย์ละเอียด เห็น กายทิพย์เห็น กายทิพย์ละเอียดเห็น กายรูปพรหมเห็น กายรูปพรหมละเอียดเห็น กายอรูปพรหมเห็น กายอรูปพรหมละเอียดเห็น นั่นเห็นศีล เห็นศีลเป็นดวง ขนาดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทดุจกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าอย่างนี้ เรียกว่าเห็นดวงศีล เมื่อเห็น ดวงศีลเช่นนี้ละก็ เห็นหมดทั้ง 7 กายนั่น เห็นตลอดไป เมื่อเห็นเช่นนี้ละก็ นั่นแหละเป็น กัลยาณศีลแท้ๆ นั่นแหละเป็นอริยกันตศีลแท้ๆ นั่นแหละเป็นปสังสิตศีลแท้ๆ ถูกละ เป็นทาง ไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เมื่อเห็นเช่นนั้นแล้ว ใจของผู้เห็นนั้นก็ติดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล นั่นไม่คลาดเคลื่อนทีเดียว เมื่อติดดวงศีลได้ ดวงสมาธิไม่ต้องไปไหน อยู่ในกลางดวงศีล ดวงปัญญาก็อยู่กลางดวงสมาธิ ดวงวิมุตติไม่ต้องไปไหน อยู่กลางดวงปัญญา ดวงวิมุตติญาณทัสสนะไม่ต้องไปไหน อยู่ในกลางดวงวิมุตติ เข้าทางไปของพระอริยเจ้าพระอรหันต์ ถูกทีเดียว ไม่คลาดเคลื่อนละ นี้ท่านจึงได้วางตำราไว้เป็นข้อที่ 2 เป็นศีลของธรรมกาย นี่ เป็นศีลของธรรมกาย เข้าถึงธรรมกายก็ด้วยวิธีนี้ พอเข้าถึงธรรมกายแล้ว ศีลของธรรมกายก็มี แบบเดียวกันนี้ เป็นลำดับไปทีเดียว ตำราวางไว้แสดงกันแล้วมากมายนี่เป็นข้อที่ 2 เรียกว่าศีล

    ข้อที่ 3 เป็นลำดับไป สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเลื่อมใสใน พระสงฆ์ ความเลื่อมใสในหมู่ สงฺโฆ เขาแปลว่า หมู่ มีอยู่แก่บุคคลใด ความเลื่อมใสในหมู่ มีอยู่แก่บุคคลใด ความเลื่อมใสคือชอบใจ ปีติปราโมทย์ ร่าเริงบันเทิงใจ ปลาบปลื้มตื้นเต็ม เอิบอิ่มในใจ ที่เรียกว่าเลื่อมใส ปลาบปลื้มเอิบอิ่มตื้นเต็มในใจ ความเลื่อมใสคือความ ผ่องใส เมื่อมีศรัทธากำลังบริจาคทานอยู่ก็มีความเลื่อมใส จัดขึ้นเพิ่มอีก เมื่อนั่งทำความ เพียร กำลังนั่งอยู่ เมื่อมีความเลื่อมใส นั่งหนักขึ้นไปอีก นั่นเรียกว่าความเลื่อมใส ความ เลื่อมใส ความผ่องใส นัยหนึ่งว่า “เหม” แปลว่าเป็นแดนสร้างเอกแห่งรัศมี ก็ความ เลื่อมใสเกิดขึ้นแล้ว ดูสีหน้าสีตาก็รู้ ดูสีหน้ารู้ หน้าดำอยู่กลับมีสีงามขึ้นทีเดียว ขาวๆ ก็ ผิวงามขึ้นทีเดียว ผุดผ่องขึ้นทีเดียว นี้เพราะเกิดจากความเลื่อมใส เลื่อมใสนี่แหละ ทำร่างกายให้สะอาดสะอ้าน ทำร่างกายให้สละสวย ให้งดงาม เพราะความเลื่อมใสอันนี้ เลื่อมใสเต็มที่ก็เหาะเหินเดินอากาศไปได้ เลื่อมใสจัดหนักเข้าๆ เหาะเหินเดินอากาศได้ เพราะความเลื่อมใสอันนี้ ไม่ได้เป็นของพอดีพอร้าย ให้เลื่อมใสในหมู่

    เลื่อมใสในหมู่เลื่อมใสอย่างไร อย่างนี้ เหมือนพระเณรอย่างนี้แหละ นับว่าพระก็ 4 แถวๆ ละ 8 องค์ เณรก็ 3 แถวๆ ละ 8 องค์ เขาไม่เลื่อมใส เขามาแต่แถวเดียว เณรพระ ก็มาไม่ครบ 4 แถว นี่เขาไม่เลื่อมใส เพราะขาดความเลื่อมใสเสียแล้ว เขาไม่เลื่อมใสในหมู่ เขาไม่อยากเข้าหมู่ นั่นแน่พวกไม่เลื่อมใสในหมู่ พวกไม่อยากเข้าหมู่ เหมือนพวกเรา อุบาสกอุบาสิกา เวลาถึงวันธัมมัสสวนะจะต้องฟังเทศนา ฟังธรรมกัน จำศีลภาวนากัน ไม่มาเสียแล้ว ขาดตกบกพร่องไปเสียแล้ว นั่นเขาไม่เลื่อมใสในหมู่ เขาขาดความเลื่อมใส ในหมู่เสียแล้ว ถ้าเขาเลื่อมใสในหมู่ละก้อ ไม่ขาดตกบกพร่องเลย สมบูรณ์บริบูรณ์เต็มเปี่ยม ทีเดียว ถึงเวลามาแล้วก็กลัวจะขาดหน้าที่ไป หน้าที่ของตัวจะขาดไป ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ละ นี้พวกนี้เลื่อมใสในหมู่ กลัวหมู่จะขาด กลัวหมู่จะไม่เจริญ กลัวหมู่จะซูบซีด เศร้าหมอง ขุ่นมัว ไม่แน่นหนา ไม่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา รักษาความเลื่อมใสในหมู่ไว้ไม่ให้คลาดเคลื่อน ไม่ยอมทีเดียว รักษาความเลื่อมใสในหมู่ไว้

    นี้พวกเลื่อมใสในหมู่น่ะ หมู่อะไร หมู่พุทธศาสนิกชนนี่แหละ หมู่ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา แต่ว่านกมันก็เลื่อมใสในหมู่เหมือนกันนะ หัวหน้าไปทางไหนละก้อ ไป เป็นแถว ไม่คลาดเคลื่อนละ นั่นก็เลื่อมใสในหมู่เหมือนกัน ขาดหมู่ไม่ได้ หมู่เนื้อ หมู่นก หมู่ปลา เขาก็เลื่อมใสในหมู่ เป็นธรรมชาติของสัตว์พวกนั้น หมู่ภิกษุสามเณรเล่า ก็เป็น ธรรมชาติของหมู่ภิกษุสามเณรเหมือนกัน เพราะมีธรรมเสมอกัน มีธรรมร่วมกัน มีศีล 227 ศีล 10 ร่วมกัน ประพฤติธรรมร่วมกัน มีศีลร่วมกัน สมาธิร่วมกัน ปัญญาร่วมกัน พวกนี้ อยู่ที่ไหนก็รักใคร่กันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน น้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ขาดตกบกพร่อง ทำสิ่งใดก็ ทำพร้อมๆ กัน เลิกสิ่งใดก็เลิกพร้อมกัน ไม่รังเกียจเดียดฉันท์ซึ่งกันและกัน นี่พวกนี้เลื่อมใส ในหมู่ทั้งนั้น ลักษณะเลื่อมใสในหมู่นี่แหละเป็นธรรมสำคัญ มีอยู่แก่บุคคลใด เลื่อมใสในหมู่น่ะ หมู่ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ ผู้มีธรรมกาย หมู่มีธรรมกายก็รักใคร่ในกันและกัน ไม่ทุ่มเถียง กัน พูดก็อนุโลมตามกันอนุมัติกัน ไม่แก่งแย่งกัน พวกที่แก่งแย่งกันเสีย คัดค้านกันเสีย นี่ทำ หมู่ให้แตก ทำพวกให้แตก อย่างนี้เรียกว่าไม่เลื่อมใสในหมู่ คัดค้านในหมู่ ต้องเลื่อมใสในหมู่ ไม่ให้หมู่แตก ไม่ให้หมู่กระเทือนทีเดียว เพราะพร้อมซึ่งกันและกันนี่ สงฺเฆ ปสาโท ความ เลื่อมใสในหมู่มีอยู่แก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่าเป็นคนไม่ยากจน เป็นคนมั่งมีทีเดียว เลื่อมใส ในหมู่น่ะ ฉลาดอยู่คนเดียวไม่ได้ เข้าใกล้ใคร มีลัทธิอันใดที่ตนมีอยู่ ลัทธิของตัวที่มีอยู่นั้น ไม่รังเกียจเดียดฉันท์ เอาใจใส่ แนะนำตักเตือน ให้ซึ่งกันและกัน รู้เหมือนตน มีนิสัยใจคอ อันเดียวกัน ไปไหนก็ไปในหมู่เดียวพวกเดียวกัน

    เหมือนพระพุทธเจ้าท่านอุบัติตรัสขึ้นในโลก ท่านมีธรรมกาย ธรรมกายเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระตถาคตเจ้า ท่านมองทีเดียวแหละ ใครจะมีธรรมกายเหมือนเราบ้าง ท่านมีความ รู้วิเศษ คนนี้มีเหตุได้สั่งสมอบรมมา สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยกันแล้ว บารมีเป็นเหตุ บารมีแก่แล้ว สมควรที่จะได้มรรคผล สมควรจะมีได้ธรรมกายเหมือนเรา ไม่ว่าอยู่ใกล้อยู่ไกล พระองค์ อุตส่าห์พยายามไปแนะนำ ให้มีธรรมกายเหมือนท่าน เมื่อมีธรรมกายเหมือนท่าน ก็เป็นหมู่ เดียวกับท่าน เป็นพวกเดียวกับท่าน พอมีธรรมกายเหมือนท่าน ก็เป็นพวกเดียวกับท่านเป็น หมู่มีธรรมกายน่ะเป็นชั้นๆ เป็นพระอรหันต์ อรหัตบ้าง เป็นพระอนาคาบ้าง เป็นพระสกทาคา บ้าง เป็นพระโสดาบ้าง เป็นโคตรภูบ้าง ไม่ว่าอยู่ที่ไหน พระองค์เสด็จไปแนะนำสั่งสอน ให้มี ธรรมกายปรากฏขึ้นเหมือนพระองค์ เมื่อมีธรรมกายปรากฏขึ้นเหมือนพระองค์แล้ว ก็เป็น พระพุทธเจ้าทีเดียว เมื่อมีธรรมกายก็รู้จักพระตถาคตเจ้าทีเดียว รู้จักพระตถาคตเจ้าว่า อ้อ! นี่เป็นพวกเดียวกันหมู่เดียวกัน นั่นท่านผู้นั้นก็เลื่อมใสในหมู่ อยู่ที่ไหนไม่ว่าใกล้และไกล เวลาจำพรรษาต่างกัน ไกลจากกัน ไปมากันไม่ถึง พอปวารณาพรรษาแล้วละก็ ต่างฝ่าย ต่างมุ่งแน่แน่วไปเฝ้าพระศาสดาที่วิหารเชตวันทีเดียว มาสะบักสะบอมทีเดียว ผ้าผ่อนเปียก น้ำคร่ำฝนมาทีเดียว เคลอะคละมาด้วยตมด้วยเลนทีเดียว พระองค์เห็นความลำบาก ความเลื่อมใสในหมู่ของพระสงฆ์มากด้วยความลำบากเช่นนี้ เมื่อมีความลำบากเช่นนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงอนุญาตวินัยบางข้อ ให้ภิกษุไปมาเฝ้าพระตถาคตเจ้าได้สะดวก ด้วยการไปมา ในเรื่องนี้พระศาสดาถึงความใหญ่ นับความเลื่อมใสในหมู่น่ะ เลื่อมใสในหมู่ หมู่มีศีลก็ต้อง ให้มีศีลเหมือนกัน หมู่มีสมาธิให้มีสมาธิเหมือนกัน หมู่มีปัญญาให้มีปัญญาเหมือนกัน หมู่มีความวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็ให้มีเหมือนกัน ถ้าหมู่มีธรรมกายก็ให้มีธรรมกาย เหมือนกัน นี่เป็นอันเลื่อมใสในหมู่ สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเลื่อมใสในหมู่มีอยู่แก่ บุคคลใด บุคคลนั้นเรียกว่าเป็นคนมีปัญญา เป็นคนมีอริยทรัพย์ภายในทีเดียว แสดงตัวเอง อย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น นี่เป็นข้อที่ 3

    ข้อที่สี่ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรง ความเห็นตรงมีอยู่แก่บุคคลใด เห็นตรง น่ะ เห็นอย่างไร เห็นตรง ไม่คด เห็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ว่า ทางไปของ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์นั้น ไม่ใช่ทางอื่น มีทางเดียว ทางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย เดินไป ในกลางทางนั้น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย กายมนุษย์ก็มีกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ ถ้าว่ากายมนุษย์ละเอียดก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ ก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ กายทิพย์ละเอียดก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ละเอียด กายรูปพรหมก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดก็มี ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย อรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียดก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด กายธรรมก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม กายธรรมละเอียดก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรมละเอียด ในกลางดวงธรรมนั่นแหละ ดำเนินไปทางกลางดวงธรรมนั้น ดำเนินไปใน ทางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เดินไปในทางนั้นเหมือนกันหมด และเข้าถึงกายธรรมละเอียด

    เดินไปในกลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เดินไปในกลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงนั่น ก็เข้าถึงกายทิพย์ เดินไปอย่างนี้ก็จะเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมก็เดินไปอย่างนี้ ไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียดก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายอรูปพรหม ก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียดก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายธรรม ก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายธรรมละเอียดก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ นี้เรียกว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นเป็นธรรมชาติตรงทีเดียว นี่ตรงอย่างลึกลับ ตรงอย่างทางมรรคผล ทีเดียว

    ถ้าตรงผิดจากมรรคผลล่ะ ย่นย่อลงมาเสียกว่านั้น ความเห็นต่ำลงมากว่านั้น โลก ประเพณีวิสัยความเป็นไปของมนุษย์นี่ ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ประพฤติไปตามสุจริตกาย สุจริตวาจา สุจริตใจ ตัวเองก็ไม่ให้รับความเดือดร้อนประการใด ด้วยกาย วาจา ใจของตัว คนอื่นก็ไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะกายวาจาใจของตัว ทั้งตนและ บุคคลผู้อื่นก็ไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะกาย วาจา ใจของตัว นี้เรียกว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงนี้ต่ำลงมา ต่ำลงมากว่าทางมรรคผลดังกล่าวแล้ว

    ต่ำลงไปกว่านั้นอีก การเลี้ยงชีพหารายได้ของมนุษย์ หรือการปกครองสมบัติของ มนุษย์ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ชาวนาทำนาก็ไม่รุกคันไร่คันนากัน ชาวสวนทำสวนก็ไม่รุก คันไร่คันสวนกัน การค้าขายก็ไม่เบียดแว้งกัน ค้าขายกันโดยซื่อตรง ไม่อิจฉาริษยากัน ดังนี้ เรียกว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงเหมือนกัน หรือปกครองประเทศก็ไม่เบียดแว้งขอบ เขต ประเทศกัน ไม่เกี่ยงกัน คนในปกครองในกันและกัน เดินตรงๆ เอ็งจะมาอาศัยก็มาเถอะ โดยตรง ฉันชอบเดินตรงๆ ผู้มาอาศัยเล่าก็มาอาศัยโดยตรงๆ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมเป็นอุบาย ปลอมตัวเข้ามา อย่างนี้เรียกว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงอย่างต่ำลงมา ความเห็นตรง อย่างนี้ก็ใช้ได้ดุจเดียวกัน

    เพราะเหตุนั้น ในข้อที่ 4 นี้ เมื่อมีความเห็นตรงเช่นนี้ก็จะเป็นภิกษุสามเณรหรือ อุบาสกอุบาสิกา ก็ได้ชื่อว่ามีอริยทรัพย์อยู่ภายใน เป็นคนมีอริยทรัพย์ เป็นผู้มีดวงใจจรดถูก กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ความเห็นไม่มีพิรุธเลย หรือความทำก็ไม่มีพิรุธเลย ความพูดก็ไม่มีพิรุธเลย ความคิดก็ไม่มีพิรุธเลย เพราะใจนั้นวางถูกหลัก ถูกเป้าหมายใจดำ ทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เหตุนั้นท่านจึงยืนยันว่า อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ ทั้ง 4 จำพวก การเลื่อมใสไม่กลับกลอก ความเลื่อมใสไม่กลับกลอก มั่นด้วยดีในธรรมกาย ศีล อันดีงามอันพระอริยเจ้าใคร่ชอบใจ อันพระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว และความเลื่อมใสในหมู่ มีอยู่แก่บุคคลใด ความเห็นตรงมีอยู่แก่บุคคลใด อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ ว่านักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นคนมีอริยทรัพย์ เป็นคนไม่ยากจน เป็นคนไม่ขัดสน เป็นคนมีอริยทรัพย์อยู่ภายใน ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนํ เพราะเหตุนั้น เมื่อบุคคลมาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังนี้ ควร ประกอบความเชื่อ ควรประกอบความศีล ควรประกอบตามความเลื่อมใส ควรประกอบตาม ความเห็นธรรมไว้เนืองๆ ให้มั่นในขันธสันดาน ย่อมประสบสุขพิเศษ ไพศาลในปัจจุบันนี้ และต่อไปในภายหน้า

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดา มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอำนาจพระพุทธทั้งปวง สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ ทั้งปวง พุทฺธรตนํ ธมฺมรตนํ สงฺฆรตนํ ติณฺณํ รตนานํ อานุภาเวน ด้วยอานุภาพรัตนะทั้ง 3 พระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ จตุราสีติสหสฺสธมฺมกฺขนฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพ พระธรรมขันธ์ทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ปิฏกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้ง 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอานุภาพชินสาวก สาวก ของท่านผู้ชนะมาร จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ให้อุบัติบังเกิดมีเป็นปรากฏในขันธปัญจก แห่งท่านทานิสราบดีทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียง เท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    บทเจริญพระพุทธมนต์ “สัมพุทเธ” เป็นบทแสดงความนอบน้อมสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ ว่า


    สัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก

    ปัญจะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง

    เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง

    นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว

    อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

    แปลความว่า : ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า, ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมและพระอริยสงฆ์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยเคารพ, ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยนี้ จงขจัดความจัญไรทั้งปวงให้หมดไป, แม้อันตรายทั้งหลายทั้งปวง จงพินาศไปโดยไม่เหลือ.


    คัมภีร์สัมภารวิบากได้แสดงถึงการพบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๕๑๒,๐๒๗ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม ตลอดระยะเวลา ๒๐ อสงไขย แสนมหากัป มีรายละเอียดดังนี้


    ช่วงมโนปณิธาน ๗ อสงไขย พบสมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า ๑๒๕,๐๐๐ พระองค์ ได้แก่

    ๑.นันทะอสงไขย พบ ๕,๐๐๐ พระองค์

    ๒.สุนันทะอสงไขย พบ ๙,๐๐๐ พระองค์

    ๓.ปฐวีอสงไขย พบ ๑๐,๐๐๐ พระองค์

    ๔.มัณฑะอสงไขย พบ ๑๑,๐๐๐ พระองค์

    ๕.ธรณีอสงไขย พบ ๒๐,๐๐๐ พระองค์

    ๖.สาคระอสงไขย พบ ๓๐,๐๐๐ พระองค์

    ๗.ปุณฑริกะอสงไขย พบ ๔๐,๐๐๐ พระองค์


    ช่วงวจีปณิธาน พบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓๘๗,๐๐๐ พระองค์

    ๘.สัพพถัททะอสงไขย พบ ๕๐,๐๐๐ พระองค์

    ๙.สัพพผุลละอสงไขย พบ ๖๐,๐๐๐ พระองค์

    ๑๐.สัพพรตนะอสงไขย พบ ๗๐,๐๐๐ พระองค์

    ๑๑.อสุภขันธะอสงไขย พบ ๘๐,๐๐๐ พระองค์

    ๑๒.มานีภัททะอสงไขย พบ ๙๐,๐๐๐ พระองค์

    ๑๓.ปทุมะอสงไขย พบ ๒๐,๐๐๐ พระองค์

    ๑๔.อุสภะอสงไขย พบ ๑๐,๐๐๐ พระองค์

    ๑๕.ขันธคมะอสงไขย พบ ๕,๐๐๐ พระองค์

    ๑๖.สัพพผาละอสงไขย พบ ๒,๐๐๐ พระองค์


    ช่วงได้รับพุทธพยากรณ์ ๔ อสงไขย แสนมหากัป พบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๗ พระองค์ มีพระนามดังต่อไปนี้

    ๑๗.สัพพผาละอสงไขยที่ ๑๗ พบ ๔ พระองค์ (สารมัณฑกัป) ได้แก่ พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า พระสรณังกรพุทธเจ้า พระทีปังกรพุทธเจ้า

    ๑๘.เสละอสงไขยที่ ๑๘ พบ ๑ พระองค์ (สารกัป) คือ พระโกณฑัญญพุทธเจ้า

    ๑๙.ภาสะอสงไขยที่ ๑๙ พบ ๔ พระองค์ (สารมัณฑกัป) ได้แก่ พระสุมังคลพุทธเจ้า พระสุมนพุทธเจ้า พระเรวตพุทธเจ้า พระโสภิตพุทธเจ้า

    ๒๐.ชยะอสงไขยที่ ๒๐ พบ ๓ พระองค์ (วรกัป) ได้แก่ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระปทุมพุทธเจ้า พระนารทพุทธเจ้า

    ๒๑.รุจิระอสงไขย เป็นช่วงเศษแสนมหากัป

    - ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๑ พระองค์ (สารกัป) คือ พระปทุมุตตรพุทธเจ้า

    - สุญญกัป ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ๗๐,๐๐๐ กัป (ขุ.จริยา.อ. รจนาว่า ๖๙,๘๘๒ กัป)

    - ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๒ พระองค์ (มัณฑกัป) ได้แก่ พระสุเมธพุทธเจ้า และพระสุชาตพุทธเจ้า

    - สุญญกัป ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ๒๘,๒๐๐๐ กัป

    - ในกัปที่ ๑,๘๐๐ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๓ พระองค์ (วรกัป) ได้แก่ พระปิยทัสสีพุทธเจ้า พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า และพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า

    - สุญญกัป ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ๑,๗๐๕ กัป

    - ในกัปที่ ๙๔ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๑ พระองค์ (สารกัป) คือ พระสิทธัตถพุทธเจ้า

    - สุญญกัป ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ๑ กัป

    - ในกัปที่ ๙๒ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๒ พระองค์ (มัณฑกัป) ได้แก่ พระติสสพุทธเจ้า และพระปุสสพุทธเจ้า

    - ในกัปที่ ๙๑ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๑ พระองค์ (สารกัป) คือ พระวิปัสสี

    - สุญญกัป ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ๖๐ กัป

    - ในกัปที่ ๓๑ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๒ พระองค์ (มัณฑกัป) ได้แก่ พระสิขีพุทธเจ้า และพระเวสสภูพุทธเจ้า

    - สุญญกัป ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ๓๐ กัป

    - ในภัทรกัปนี้ พบ ๓ พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า และพระกัสสปพุทธเจ้า.

    -aqks3tfzzvfuzefejyzdxuomrqquxk5jvckaimbbkubxjss1g4q6wdhnaup5b97k_hu-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    การศึกษาสัมมาปฏิบัติของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) นั้น เป็น “ทั้งรู้ - ทั้งเห็น” ดังที่ได้แสดงไว้ในพระธรรมเทศนา เรื่อง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ระหว่างวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๘๘ - ๓ มีนาคม ๒๔๘๙ (ดูภาพที่ ๑)


    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงว่า พระองค์ก็ทรงรู้ - ทรงเห็น จึงกล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย มีปรากฏในอุปนิสสูตร สังยุตตนิกาย นิทานวรรค (สํ.นิ.๑๖/๖๘) (ดูภาพที่ ๒)


    นอกจากนั้น พระพุทธองค์ยังได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายในลักษณะเดียวกันนี้ไว้ มีปรากฏในนาวาสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค (สํ.ข.๑๗/๒๖๐) (ดุภาพที่ ๓)



    #วัดป่าวิสุทธิคุณ #สร้างพระในใจคน #สร้างคนรักษาธรรม



    ?temp_hash=d849ce3bbc3eac608f43d178746b0c60.jpg

    ?temp_hash=d849ce3bbc3eac608f43d178746b0c60.jpg

    ?temp_hash=d849ce3bbc3eac608f43d178746b0c60.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    อาจารย์พระมหาศักฎา สุมโน (ป.ธ.๙ , รป.ม.) เจ้าอาวาสวัดป่าวิสุทธิคุณ หน้าวนอุทยานเขานางพันธุรัต อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี บรรยายธรรม เรื่อง โลณกสูตร : การเปรียบเทียบกรรมดีและกรรมชั่ว >>> https://youtu.be/wxW82uiqM5g

     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    เรื่อง "ปฏิบัติธรรมเพื่อละกิเลส และระงับเวรภัย"

    โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคลโล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน

    ......

    อาตมาได้พบพระพุทธพจน์ว่าด้วย #เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ซึ่งเป็นเรื่องเก่าที่เราได้ยินได้ฟังมาตลอด แล้วก็พูดกันง่าย เข้าใจไม่ยาก แต่ว่า อาตมาประทับใจในพระพุทธพจน์นี้ ก็คือในส่วนที่ว่า#เราจะละเวรอย่างไร เวรมันเกิดขึ้นได้หลายอย่างแต่เวรที่เรารู้จักโดยทั่วไป มันเกิดได้จากการจองเวร เพราะประทุษร้ายกัน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี และเป็นไปด้วยใจ จนถึงประทุษร้ายกันได้
    การประทุษร้ายกันด้วยกาย ด้วยวาจา ซึ่งเป็นไปด้วยใจ คือ เจตนาความคิดอ่านที่จะประทุษร้ายกัน ด้วยประการใดก็ดี ถ้าว่าไม่รู้จักละเวรภัยอันนี้แล้วก็ มันผูกต่อเนื่องกันไปนุงนังเลยทีเดียว มีเรื่องในพระธรรมบทว่า

    พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงเรื่องเวรของภรรยาน้อย ภรรยาหลวง ว่าภรรยาหลวงนั้น ความที่ตนเองเป็นหมันไม่มีลูก ก็พยายามไปหาภรรยาน้อยมาให้ เพื่อสามีจะได้ไม่ทอดทิ้งตน เมื่อได้ภรรยาน้อยมาแล้ว ก็ตีสนิทชิดเชื้อ เสมือนหนึ่งรักใคร่กันดี จนกระทั่งภรรยาน้อยตายใจ จึงยอมมีลูก และด้วยความอิจฉาของภรรยาหลวงกลัวว่า เมื่อภรรยาน้อยมีลูกแล้ว ทรัพย์สมบัติ ก็จะตกเป็นของภรรยาน้อย และลูก ส่วนตนเองจะต้องกลับเป็นผู้รับใช้ และปรนนิบัติภรรยาน้อยและลูกนั้น
    เมื่อความอิจฉาเกิดขึ้น จึงหาทางที่จะกำจัดลูกที่จะเกิดขึ้น ด้วยการวางยาพิษให้ภรรยาน้อยแท้งลูก ครั้งแล้วครั้งเล่า จนครั้งสุดท้ายภรรยาน้อยจะถึงซึ่งความตาย แต่ก็มารู้สึกตัวทีหลังว่า ที่ภรรยาหลวงมาสนิทชิดเชื้อนั้น เป็นเพียงกลอุบายเท่านั้น จึงผูกใจเจ็บต่อภรรยาหลวง ก็มีเวรต่อกัน
    เมื่อตายไปแล้ว ฝ่ายภรรยาน้อยก็ไปเกิดเป็นแมว ภรรยาหลวงไปเกิดเป็นไก่ พอไก่ออกไข่มา แมวก็กินไข่หมดด้วยเวรนั้น ไก่ก็ผูกเวรอีก เมื่อตายไปไก่ก็ไปเกิดเป็นเสือเหลือง ส่วนแมวก็กลับไปเกิดเป็นนางเนื้อ คือเก้ง เสือเหลืองก็กินเก้งอีก ก็ผูกเวรกันต่อไปอีก สุดท้ายตายไป ฝ่ายเก้งก็ไปเกิดเป็นนางยักษินี ส่วนเสือเหลืองไปเกิดเป็นกุลธิดา มีลูก นางยักษ์ก็ไล่กินลูกนางกุลธิดา ตามแล้ว ตามเล่า
    สุดท้ายนางกุลธิดาต้องพาลูกไปถวายไว้แทบพระบาทพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเมื่อนางยักษ์มาถึงจึงได้ตรัสสอนว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร จะมาผูกเวรกันทำไม ซึ่งเรื่องนี้เราก็ได้ยินกันมามากพอสมควร แต่ประเด็นที่อาตมาจะพูดนั้น เป็นคำอธิบายพระพุทธพจน์ของพระอรรถกถาจารย์ แสดงถึงวิธีที่ไม่ผูกเวรทำอย่างไร

    อาตมาซาบซึ่งในคำว่า "อมนสิการ" นี่พูดกันภาษาธรรม คือ #ด้วยการไม่ทำใจไว้ คือเมื่อเรามีเรื่องกระทบกระทั่งบาดหมางใจกับใคร หรือใครประทุษร้ายเราก็ดี หรือญาติพี่น้องของเรา หรือทรัพย์สินเราก็ดี ถูกประทุษร้ายแล้ว เราจะต้องทำอย่างไร ท่านบอกว่าต้อง "ทำอมนสิการ" คือ ไม่ใส่ใจ ปล่อยวางเสีย มันแล้วไปแล้ว การทำสมาธิทำให้เกิดสติสัมปชัญญะ และนำพระพุทธพจน์มาใช้ ถ้าเราไม่ใส่ใจเรื่องก็จะไม่มี ถ้าเราใส่ใจก็จะทำให้ใจขุ่นอยู่นั่นแหละ นี่คือการผูกเวร #กระดิกใจถึงเมื่อไรผูกเวรเมื่อนั้น เมื่อยาวนานไปเท่าไร จะผูกพันจิตใจเราไปนับภพนับชาติไม่ถ้วน เพราะฉะนั้นด้วย "อมนสิการ" ไม่ผูกใจเจ็บ ไม่ผูกใจคิดถึง นึกอย่างเดียวว่าตัวใครตัวมัน ใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นี้มาช่วยประกอบคำว่า อมนสิการ ต้องพิจารณาว่ามันเป็นอนัตตา เราไม่เอาใจจรดนึกถึงก็ไม่มีอะไร ใครพูดว่าเรา ตำหนิติฉินเรา ตาบใดที่เราตั้งใจทำดีที่สุดแล้ว คนที่ว่าเรานั้น เหมือนซัดธุลีทวนลม ตกโดนเขาเอง แต่ถ้าเราเปิดใจรับเต็มที่ เวรก็มาผูกพันกัน ต้องฝึกทำบ่อย ๆ #มาปฏิบัติธรรมต้องตัดเวรภัย ด้วยการไม่ผูกเวร ณ ภายในจิตใจของเราด้วยอมนสิการ ถ้าตัดไม่ออกต้องใช้สติสัมปชัญญะว่าเราไม่สนใจ ไม่มีประโยชน์ต่อเรา นี่เป็นเวร และสำคัญที่สุดคือ ตัวใครตัวมัน และจะเจริญขึ้นด้วยปัญญาอันรู้แจ้งในสังขารธรรม ว่าเป็นอนัตตา เห็นอนัตตาแจ้งชัดเท่าไรก็ละได้เร็วเท่านั้น นี่...ศีล สมาธิ ปัญญา นะ #ถ้าว่าปัญญาไม่แจ้งละไม่ได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งด้วยสมาธิ ปัญญา หนักเข้าก็จะคิดประทุษร้ายคนอื่น เป็นอย่างน้อยที่สุด ถ้าเป็นการแสดงอาการออกมาด้วยกาย วาจา ก็จะทำให้เวรนั้นผูกพันกันมากยิ่งขึ้น รุนแรงมากขึ้น

    พระพุทธเจ้าได้สอนว่า อย่าได้กล่าว อย่าได้แสดง#สารัมภกถา คือ วาจาเป็นเครื่องกล่าวให้แข่งดีกัน พูดอย่างง่าย ๆ ใครมีคำคมที่จะให้อีกฝ่ายเจ็บช้ำน้ำใจ ก็ขนมาใส่กัน นั่นแหละเรียกว่า ทิ่มแทงกันด้วยหอก คือ ปาก นี่เป็นตัวเร่งเวรภัย สร้างโทสะ อาฆาตพยาบาท ให้เกิดขึ้นในกันและกันมาก เวรนั้นผูกพันแม้เพียงด่ากัน หรือตั้งใจประทุษร้ายกันด้วยวาจา ด้วยกาย วิธีป้องกันแก้ไขกำจัดเวร คือ อมนสิการ อย่าตรึกนึก หรือใส่ใจถึง ด้วยสติสัมปชัญญะที่รู้เท่าทันว่าเป็นโทษ เป็นเวรภัย ต้องสอนใจตัวเองตลอด และให้เห็นว่าลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ความเสื่อมลาภ นินทาว่าร้าย ความเสื่อมโภคยทรัพย์ และความทุกข์ทั้งปวง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ให้นึกถึงพุทธพจน์อีกข้อหนึ่ง คือ ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว เราไม่ผูกเวร และไม่สร้างเวรกับใคร นั้นคำว่าสารัมภกถา วาจาเครื่องกล่าวเป็นเครื่องยังให้เกิดความแข่งดีกัน กระทบกระทั่งกัน ถ้าเงียบได้ พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ถ้าเงียบสงบได้ นั่นคือ นิพพาน



    temp_hash-85a7fd9a1036a89d47cc893bedc0696e-jpg.jpg

    ไฟล์ที่แนบมา:
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...