ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จีน : อี้ชาง มณฑลหูเป่ย์ ฝนตกน้ำท่วมหนัก
    เจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือประชาชนติดตามบ้าน
    เรือน ทางการยังออกประกาศเตือนพายุและฝนตกหนัก
    # มีคำถามจำนวนมากจากโซเซียล ...เขื่อนแตกหรือไม่.? # แอดมินเพิ่มคลิปในช่องแสดงความคิดเห็น

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เกาหลีใต้ : ผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่วันนี้ + 62 รายติดเชื้อในประเทศ 40 รายเชื้อนำเข้า 22 รายกรณีใหม่เชื่อมโยงกับไนท์คลับ โบสถ์ คลังสินค้าออนไลน์ เป็นจุดแพร่เชื้อ สถิติวันนี้ถือว่าสูงสุดในอาทิตย์
    # คลื่นลูกที่สอง

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ⚠️ Microsoft กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่รายล่าสุดที่ตัดสินใจ #ปิดร้านค้าปลีก (Retail Stores) ทั้งหมดลง ! และจะไป #มุ่งเน้นการขายOnline เท่านั้น !

    กลายเป็นอีกเหยื่อรายล่าสุดของไวรัสโควิดซึ่งยังไม่รู้จะอยู่กับพวกเราไปอีกนานเท่าไหร่... มาตรการ Lock Down ต่างๆที่ผ่านมาทำให้ Microsoft ต้องโดนบังคับปิดร้านค้าจำนวนมากทั่วโลกไปหลายแห่งจนทำให้ยอดขายนั้นไม่คุ้มกับค่าเปิดหน้าร้าน ประกอบกับเทรนด์ #NewNormal ที่ผู้คนจะเริ่มหันมาซื้อสินค้า Online กันมากขึ้น ทำให้ผู้บริหารออกมาตัดสินใจเช่นนี้

    ธุรกิจค้าปลีกของ Microsoft นั้นยังถือเป็นน้องใหม่ในวงการ Tech มากๆเมื่อเทียบกับ Apple โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ทาง Microsoft เพิ่งวางเงินลงทุนก้อนใหญ่ไปในธุรกิจเปิดหน้าร้านค้าปลีกทั่วโลก เพื่อหวังที่จะต่อสู้กับ Apple Stores ร้านค้าของ Apple ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมอย่างสูง

    #ยังสู้กันได้ไม่นาน ทางผู้บริหาร Microsoft อาศัยจังหวะวิกฤตไวรัสนี้มองการไกล สั่งปิดร้านค้าปลีกทั่วโลกครบทั้ง 83 สาขาทั้งหมดโดยทันที เป็นการปิดการขาดทุน (Cutloss) ไปถึงแม้ว่าจะเพิ่งลงทุนไปไม่นานในร้านค้าเหล่านี้

    ถือเป็นการถอยทัพอย่างกระทันหันของ Microsoft มากๆ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวจะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นที่เสียไปกว่า 450 ล้านเหรียญสหรัฐ ! แต่เช่นเดียวกับผู้บริหารร้านค้าปลีกชื่อดังอื่นๆ เช่น: Zara, GNC, AT&T, Victoria's Secretm, Gap, Macy’s, Office Depot และ Bose ที่ต่างก็ออกมาประกาศว่าจะลดปริมาณร้านค้าปลีกกันครั้งใหญ่ตามเทรนด์ของ New Normal ทำให้บริษัทเหล่านี้ตัดสินใจมองผลกระทบระยะยาวและเปลี่ยนแผนธุรกิจ

    ยังไม่มีรายงานออกมาว่าทางบริษัท Microsoft จะมีการปลดพนักงานออกหรือไม่ แต่คงต้องมีการลดพนักงานลงแน่ๆ...

    ราคาหุ้นของ Microsoft ในคืนนี้นั้นโดนขายลงมา -1% แต่น่าจะมาจากตลาดโดยรวมที่โดนเทขายเป็นหลักด้วย

    ⛔️ ท่านใดไม่อยากพลาดข่าวสารในตลาด ทางเราแนะนำให้กดไลค์ที่โพสต์หรือกดตั้งค่า “เห็นโพสต์ก่อน” หรือ See First ไว้ได้เลยนะครับ ไม่งั้นทาง Facebook จะไม่ค่อยแสดงโพสต์ที่อัพเดทใหม่ที่ทันตลาด

    ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเพจของเรานะครับ ฝาก Like และ Share ให้แอดด้วยหากข้อมูลนี้มีประโยชน์นะครับ ขอบคุณมากๆครับ

    #ทันโลกกับTraderKP

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ⚠️ ยอดติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก #ทะลุ10ล้านรายแล้ว ! โดยสถานการณ์ในสหรัฐยังคงแย่ขึ้นเรื่อยๆ #น่าเป็นห่วงตลาดเปิดในวันพรุ่งนี้

    ติดตาม 3 ปัจจัยหลักๆที่จะกำหนดทิศทางตลาดในอาทิตย์หน้านี้ไปกับเพจเราได้ครับ

    เช้าวันที่ 28 มิ.ย. หลังจากไวรัสโควิดเริ่มระบาดมาเป็นเวลาเกือบ 6 เดือน วันนี้ทั่วโลกมียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 10,081,477 คน และมียอดผู้เสียชีวิตที่ 501,298 ราย ในขณะที่มีผู้รักษาตัวหายแล้ว 5,458,367 คน #แต่ที่ยังน่าเป็นห่วงคือ ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันทั่วโลกยังคงสูงขึ้นเกือบแตะ 200,000 รายต่อวันแล้ว

    สหรัฐและ บราซิลยังเป็นสองประเทศที่เหมือนจะแข่งกันแย่งตำแหน่งผู้ติดเชื้อประกาศรายวันที่สูงที่สุดในโลกสับกันไปสับกันมา ทั้งคู่ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่รายวันเฉลี่ยที่ระดับ 40,000 คนต่อวัน แต่ล่าสุดสหรัฐดีดนำขึ้นอีกรอบและทำสถิติใหม่ที่ 43,000 คนต่อวัน ในขณะที่อินเดียก็ยังรั้งอันดับที่ 3 ที่ประมาณ 20,000 คนต่อวัน และ รัสเซียเลขยังคงสูงอยู่ที่วันละ 7,000 ราย

    (ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายประเทศและรายวันดูได้จากในคอมเม้นท์เลยนะครับ)

    #สหรัฐยังคงเป็นประเทศที่น่าเป็นห่วงที่สุด และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกที่มากที่สุด หากดูจากความเคลื่อนไหวล่าสุดที่ออกมาในช่วงสุดสัปดาห์นี้ #ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความเสี่ยงสูงมากในอาทิตย์หน้า ครับ

    1️⃣ รัฐ Miami สั่งปิดชายหาดกลางช่วง Summer !

    ไม่ใช่เรื่องเล่นๆเลยที่สหรัฐประเทศผู้รักอิสระจะประกาศสั่งปิดชายหาดที่ Miami Beach ชายหาดซึ่งเป็นที่นิยมที่สุดในสหรัฐที่ในช่วง Summer จะมีผู้คนเดินทางมาเที่ยวหลายล้านคน โดยในปีนี้ทางรัฐได้รีบสั่งปิดชายหาดก่อนที่วันชาติสหรัฐอเมริกา ( Independence Day) จะมาถึงในอาทิตย์หน้าวันที่ 4 กรกฏาคม นี้ เพื่อกันคนหลายล้านคนที่จะหลั่งไหลเข้ามาเที่ยวในช่วงหยุดยาว

    2️⃣ รัฐ Florida และ Arizona เลขผู้ติดเชื้อโดดทำสถิติใหม่

    โดยรัฐหลักๆที่ยังน่าเป็นห่วงที่สุดอยู่ในสหรัฐก็คือ Florida, Texas, California และ Arizona แต่เช้านี้ทางรัฐ Florida และ Arizona ทำสถิติผู้ติดเชื้อใหม่ต่อวันของรัฐดีดขึ้นมาที่ 9,585 ราย และ 3,591 รายตามลำดับ

    3️⃣ Mike Pence รองประธานาธิบดีสหรัฐต้องออกมายกเลิกกำหนดการหาเสียงให้ทรัมป์

    อาทิตย์หน้านี้ทางรองประธานาธิบดีสหรัฐ Mike Pence มีแผนที่จะเดินทางไปปราศัยที่รัฐ Florida และ Arizona แต่อย่างที่ได้กล่าวไปด้านบนว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อของทั้งสองรัฐนี้กำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ทำให้ทาง Pence ต้องยกเลิกงานปราศัยแต่ยังจะคงเดินทางไปอยู่

    4️⃣ รัฐ Washington ออกมาประกาศระงับแผนการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในระยะที่ 4

    ผู้ว่าการรัฐ Washington ออกมาตัดสินใจระงับแผนการผ่อนคลายเนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นรัฐล่าสุดที่ทยอยออกมาระงับแผนผ่อนคลาย Lockdown ตามกันไป

    5️⃣ นายแพทย์ Anthony Fauci ยังคงแสดงความเป็นกังวลอย่างมาก

    ดร. แอนโทนี่ เฟาซี (Dr. Fauci) ผู้นำการวิจัยโรคติดเชื้อที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ได้ออกมาย้ำกล่าวเตือนอีกครั้งให้ประชาชนสหรัฐอย่าการ์ดตก เพราะผลกระทบของไวรัสนั้นยังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆถึงแม้ว่าอัตราผู้เสียชีวิตจะน้อยลง ตอนนี้หลายๆโรงพยาบาลในรัฐด้านบนที่กล่าวไว้แทบจะไม่เหลือที่รักษารองรับผุ้ป่วยใหม่แล้ว บางรัฐถึงกับต้องส่งผู้ป่วยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเด็ก

    6️⃣ ทาง CDC ออกมากล่าวเตือนว่า 8% ของประชากรสหรัฐอาจติดเชื้อไวรัสแล้ว !

    จริงอยู่ว่ายังต้องมีผู้ติดเชื้ออีกมากมายในสหรัฐที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบเพราะว่าจำนวนเครื่องตรวจนั้นมีจำกัด แต่ทาง CDC หรือหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา ได้ออกมารายงานว่าอาจมีผู้ติดเชื้อในไวรัสโควิดสูงถึงราวๆ 26.4 ล้านคนเลยทีเดียว ! (หรือ 8% จากประชากรสหรัฐทั้งหมด 330 ล้านคน)

    #ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความเสี่ยงสูงมากในช่วงเปิดตลาดวันพรุ่งนี้

    สิ่งที่ทุกคนทราบกันดีนั้นก็คือการที่ตลาดหุ้นและสภาพเศรษฐกิจนั้นกำลังเดินไปคนละทาง #ราคาของตลาดหุ้นนั้นไม่ได้สะท้อนกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันซะทีเดียว ข้อนี้เราคงไม่ต้องขยายความกันมากเพราะเงินทุนในตลาดนั้นเยอะและเงินไม่มีที่ๆจะไปเพราะดอกเบี้ยนั้นต่ำติดดินทั่วโลก

    แต่ปัจจัยที่ต้องติดตามหลักๆในตลาดตอนนี้ ที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของเงินทุนที่ยังเหลือมากมายในตลาด ว่าจะไหลเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่องหรือจะถอนเงินออกไปเพราะความกลัว ยังมีอยู่ 3 อย่างหลักๆด้วยกันอย่างที่เราได้รายงานมาตลอด

    ต่อไปนี้ทางเพจจะมา #ไล่ลำดับของผลกระทบในแต่ละปัจจัยว่าข้อไหนจะมีผลกระทบต่อเงินทุนเหล่านี้มากที่สุด โดยในอาทิตย์นี้ ในเมื่อทางประธานาธิบดีทรัมป์ยังออกมายืนยันว่าจะไม่ปิดเมืองอย่างแน่นอน ทำให้เราได้เลื่อนลำดับปัจจัยนี้ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 1 ครับ

    1️⃣ สถานการณ์ไวรัสระบาดในสหรัฐและที่อื่นๆในโลก
    2️⃣ การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา
    3️⃣ ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีน

    ติดตามความเคลื่อนไหวของปัจจัยหลักๆเหล่านี้ได้อย่างทันท่วงทีไปกับพวกเราได้ โดยการกดตั้งค่า #เห็นโพสต์ก่อน หรือ #SeeFirst ไว้ได้เลยนะครับ หรือกด #Like โพสต์ของเราเรื่อยๆ ไม่งั้นทาง Facebook จะไม่ค่อยแสดงโพสต์ที่อัพเดทใหม่ที่ทันตลาดจากเราครับ ขอบคุณครับ

    #ทันโลกกับTraderKP

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ⚠️ Facebook กำลังแย่ และ Mark Zuckerberg ทำเงินหายไป 2 แสนล้านบาทในช่วงข้ามคืน ! หลังบริษัทยักษ์ใหญ่ยังคงทยอยรวมตัวกันคว่ำบาตรโฆษณาบน Facebook เพราะทาง Facebook ไม่ทำการลบโพสต์ Hate Speech ต่างๆที่มีเนื้อหาเชิงลบมากเกินไปออก

    ต่อเนื่องจากบทควมที่เราเขียนไว้ตอนต้นเดือนว่า Mark Zuckerberg #กำลังตกอยู่ในที่นั่งลำบาก แล้วจากการตอบเห็นด้วยกับทรัมป์ว่าทาง Social Media ไม่ควรมีสิทธิไปตรวจสอบข้อความ (Fact-check) ของผู้ใช้หรือพยายามลบข้อความออกนั้น... ในวันนั้นเราได้วิเคราะห์ไว้ว่ามันอาจมีผลตามมาจนถึงขั้นอาจทำให้เขาถึงกับต้อง #สูญเสียอำนาจใน Facebook ไป ! (แนบบทความไว้ในคอมเม้นท์นะครับ)

    หลังจากวันนั้น Mark ก็ได้ทยอยสูญเสียพนักงานที่เคยติดตามบริษัทมาด้วยความเชื่อมั่นไปหลายคน เพราะหลายๆฝ่ายพยายามห้ามและประท้วง Mark ว่า Facebook ไม่ควรปล่อยให้บทความที่มีเนื้อหาเชิงลบหรือ Hate Speech อยู่บน Platform ของ Facebook ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง การประท้วง การเหยียดสีผิว หรือการชักชวนให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่างๆ

    แต่สุดท้ายทาง Mark ผู้เป็นทั้งเจ้าของและ CEO ของบริษัท #ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว ก็ยังเลือกที่จะไม่เข้ายุ่งกับข้อความต่างๆ ไม่มีการ Block และปล่อยให้ทุกคนแสดงความคิดได้อย่างเสรีบน Facebook ต่อไป

    แต่วันนี้เหตุการณ์ทั้งหมดกำลังแย่ลงไปเรื่อยๆ...

    เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หุ้นของบริษัท Facebook ราคาตกลงไป -8.3% ในคืนเดียว ! นักลงทุนแห่เทขายหุ้น เพราะบริษัท Unilever ซึ่งเป็นผู้ใช้โฆษณารายใหญ่กับทาง Facebook ได้เป็นผู้นำในการรวมกับบริษัทอื่นๆ ตกลงทำการคว่ำบาตรและหยุดใช้การโฆษณาบน Facebook ร่วมกันอย่างน้อยไปจนถึงสิ้นปีนี้

    แน่นอนว่ารายได้หลักที่สุดของทาง Facebook นั้นคือการขายโฆษณา ต่อให้จะมี User ที่ใช้ Platform มากเท่าไหร่ #แต่ถ้าไม่สามารถขายโฆษณาได้ก็จะไม่มีรายได้

    นับมาจนถึงวันอาทิตย์นี้ ได้มีบริษัทต่างๆมากกว่า 100 บริษัทที่ได้เข้าร่วมโครงการ #StopHateForProfit หรือโครงการที่กระตุ้นให้บริษัทต่างๆหยุดจ่ายค่าโฆษณาบน Facebook เพื่อเป็นการประท้วง เช่นบริษัทใหญ่ๆที่เรารู้จักและคุ้นชื่อกันเป็นอย่างดีอย่าง Coca-Cola, Verizon, Ben & Jerry's, Hershey,Levi และ Honda ต่างก็เข้าร่วมโครงการนี้หมดแล้ว และ #แนวโน้มที่ตลาดคาดคือยังจะมีอีกหลายๆบริษัททยอยเข้ามาร่วมคว่ำบาตรเพิ่มด้วย

    รายได้ต่อปีที่ Facebook ได้จากการโฆษณานั้นอยู่ที่ปีละ 2 ล้านล้านบาท ! การที่รายได้ส่วนนี้จะหดหายไป... ทำให้ราคาหุ้นกำลังโดนเทขายอย่างหนัก

    แล้วพี่ Mark ว่าอย่างไรบ้าง ??

    Mark Zuckerberg กำลังตกอยู่ในที่นั่งลำบากจริงๆครับ และไม่ใช่แค่เงินที่หายไปกว่า 2 แสนล้านบาทในช่วงข้ามคืนเพียงอย่างเดียวแน่นอน แต่เป็นการที่ Mark ต้องพยายามรักษาสมดุลระหว่าง เรื่องการเมือง เรื่องการประท้วง เรื่องรายได้ที่อาจหายไป เรื่องการอยู่รอดของบริษัททั้งในระยะสั้นและในระยะยาว

    เพราะจริงๆแล้วการที่ Mark ตัดสินใจไม่ลบข้อความของทรัมป์หรือ Hate Speech อื่นๆในตอนแรกก็เพราะอาจจะพยายามที่จะปกป้องบริษัทของ Facebook ไว้โดยที่พนักงานคนอื่นๆอาจจะไม่รู้ตัวหรือคิดไม่ถึงหรือป่าว ?

    เพราะไม่มีใครรู้ว่าการต่อต้านทรัมป์นั้นจะส่งผลดีหรือผลเสียอย่างไร ? ได้ยินว่าทางทรัมป์เองก็โทรมากดดัน Mark โดยตรงเลยว่า Facebook ต้องปล่อยให้ข้อความสามารถเขียนได้อย่างเสรี และการเลือกตั้งในสมัยที่ 2 ก็เข้าใกล้มากขึ้นแล้ว หากทรัมป์ได้รับเลือกกลับมา Facebook คงยังต้องทำงานภายใต้ทรัมป์อีก และแค่ทรัมป์ขู่จะลงโทษหุ้นก็ตกฮวบแล้ว

    อีกทั้งยังมีโครงการเงินดิจิทัล Libra ซึ่งทาง Facebook ยังต้องการให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างยิ่งอีก การจะเข้าไปปะทะกับทรัมป์โดยตรงคงอาจไม่ใช่เรื่องที่ดี ?

    อย่างไรก็ตามหลังการคว่ำบาตรครั้งใหญ่นี้ทาง Mark ได้ออกมาประกาศแล้วว่าจะจัดการกับปัญหาเรื่องนี้ที่หลายๆบริษัทกังวลแน่ๆ แต่ก็ยังไม่ได้บอกนโยบายออกมา และมีการบอกด้วยว่าอย่างไรก็ตามทางบริษัท #จะจัดนโยบายตามความเชื่อของบริษัทไม่ใช่ตามรายได้ของบริษัท แปลว่าต่อให้รายได้โดนกดดันไปเท่าไหร่ถ้าเป็นเรื่องที่ทางบริษัทไม่เห็นด้วยก็จะไม่เปลี่ยนนโยบาย

    ยิ่งเข้าใกล้ช่วงเลือกตั้งทาง Mark Zuckerberg คงยิ่งเครียดเพราะ Facebook นั้นเป็นสื่อที่ใหญ่ที่สุดในโลกและจะมีผลต่อการเลือกตั้งแน่ๆไม่ว่าทาง Facebook จะเลือกหรือไม่เลือกที่จะยืนข้างใครก็ตาม

    เป็นกำลังใจให้กับพี่ Mark นะครับ และก็ขอบคุณที่ทำให้ทางเพจสามารถแสดงความเห็นได้อย่างเสรี สัญญาว่าทางเราจะนำเสนอข้อมูลเป็นกลางและไม่เป็นหนี่งในเพจที่พี่ Mark ต้องมากังวลครับ

    ทุกท่านคิดว่าพี่ Mark ควรหาทางออกอย่างไรกับเรื่องนี้ครับ ?

    #ติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดโลกอย่างทันท่วงที ไปกับพวกเราได้ โดยการกดตั้งค่า #เห็นโพสต์ก่อน หรือ #SeeFirst ไว้ได้เลยนะครับ หรือกด #Like โพสต์ของเราเรื่อยๆ ไม่งั้นทาง Facebook จะไม่ค่อยแสดงโพสต์ที่อัพเดทใหม่ที่ทันตลาดจากเราครับ ขอบคุณครับ

    #ทันโลกกับTraderKP

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วิกฤตโควิด-19 ในอินเดียก็ยังแก้ไม่ตก ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวันจนอยู่อันดับที่ 4 ของโลก ล่าสุดมีปัญหาใหญ่ครั้งใหม่มาให้ต้องปวดหัวกันอีกแล้ว เมื่อสื่อต่างประเทศรายงานว่า ตอนนี้รัฐบาลอินเดียกำลังเผชิญหน้ากับกองทัพตั๊กแตกนับแสนที่กำลังบุกเข้ามาในเมือง และดูเหมือนว่าจะเลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปี
    .
    ซึ่งขณะนี้ ตั๊กแตนหลายแสนตัวกำลังมุ่งหน้าเข้าเมืองคุรุคราม เมืองใหญ่สุดในรัฐหรยาณา ประเทศอินเดีย จนทางการต้องรีบออกมาประกาศเตือนภัย สื่อท้องถิ่นในอินเดียให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นี่ถือเป็นครั้งแรกที่เมืองคุรุคราม ต้องเจอกองทัพตั๊กแตนบุกเมืองเช่นนี้ โดยมีผู้โพสต์คลิปวิดีโอและได้แพร่ในโลกโซเชียลแสดงให้เห็นเหตุการณ์ที่ตั๊กแตนนับแสน กำลังบินมุ่งหน้าไปในทางเดียวกันอย่างเหลือเชื่อ
    .
    ประชาชนจำนวนมากเผยว่าตนเห็นฝูงตั๊กแตนบุกเข้ามาจากเขตจัจจาร์ ซึ่งเป็นเขตอยู่ข้างเคียง จึงทำให้ทางการคุรุครามขอให้ผู้อยู่อาศัยปิดหน้าต่างเพื่อป้องกันการโจมตีของตั๊กแตน พร้อมทั้งแนะนำให้ชาวบ้านเคาะเครื่องครัวที่ตัวเองมีให้เกิดเสียงดังเพื่อไล่ตั๊กแตน นอกจากนี้ทางการยังขอให้เกษตรกรเตรียมเครื่องพ่นยาฆ่าแมลงให้พร้อมใช้เมื่อจำเป็น โดยข้อคำแนะนำต่างๆ ดังกล่าวถูกประกาศ หลังจากฝูงตั๊กแตนเริ่มปรากฏที่จัจจาร์
    .
    โดยฝูงตั๊กแตนเหล่านี้ซึ่งมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในแอฟริกานั้น ได้ทำลายพืชผลทางการเกษตรในหลายรัฐของอินดีย ตามรายงานของ Times of India เผยว่า นายโกปาล ไร รมว.กระทรวงสิ่งแวดล้อมของอินเดีย กล่าวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า บริเวณตอนใต้ และตะวันตกของเมืองคุรุคามยังคงตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องแจ้งเตือยภัยจากตั๊กแตนในระดับสูง
    .
    ขณะที่นักบินที่ขับเครื่องบินขึ้น-ลงสนามบินนานาชาติในกรุงนิวเดลี ซึ่งอยู่ติดกับเมืองคุรุคาม ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษจากฝูงตั๊กแตนมหาศาล ที่ผ่านมา ตั๊กแตนได้บุกโจมตีหลายพื้นที่ของรัฐอุตตรประเทศ ราชสถาน ปัญจาบ คุชราต มัธยประเทศและรัฐอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง มานานกว่า 1 เดือน
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤษภาคม รัฐบาลท้องถิ่นในเดลีได้ออกข้อแนะนำเกี่ยวกับมาตรการป้องกันเพื่อควบคุมการบุกรุกของตั๊กแตนที่อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ โดยเสนอให้มีการจัดโครงการสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน และเกษตรกรในการป้องกันการบุกรุกของฝูงตั๊กแตนในเขตเมืองหลวงแห่งชาติแห่งเดลี
    -------------------------------
    แหล่งข่าว

    https://timesofindia.indiatimes.com...locusts-fly-into-ncr/articleshow/76668130.cms



    https://www.news247plus.com/post.ph...stponed-at-Jaipur-airport-Delhi-on-high-alert

    https://www.thairath.co.th/news/foreign/1878120

    https://www.xinhuathai.com/inter/117916_20200628
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCDeS2riffyohV9FW2QEWjHQ

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หลังจากที่ Black Pink วงเกิร์ลกรุ๊ปจากเกาหลีใต้ ได้ปล่อย MV เพลงล่าสุดที่ชื่อ How You Like That ก็สร้างกระแสฮือฮาไปทั่วโลก ด้วยยอดวิวที่พุ่งทะยานเกิน 100 ล้านวิว เพียงแค่ไม่กี่วันที่เพลงถูกปล่อยออกมาในยูทูป แต่ล่าสุดดันมีเรื่องดราม่าในฉากหนึ่งของ MV เพลงนี้เสียแล้ว
    .
    โดยสื่อต่างประเทศรายงานว่า แฟนคลับชาวอินเดียทวีตข้อความไม่พอใจ เพราะมีบางฉากในท่อนแร็ปที่นักร้องสาวชาวไทย ลิซ่า Blackpink หรือ ลลิษา มโนบาล นั่งร้องแร็ปอยู่บนบัลลังก์สีทอง แต่กลับมีรูปปั้นพระพิฆเนศตั้งอยู่บนพื้น ในระดับเดียวกับช่วงรองเท้าของลิซ่า งานนี้เลยทำให้แฟนคลับชาวอินเดียแสดงความไม่พอใจเป็นอย่างมาก เพราะถือว่านี่คือการลบหลู่ และเป็นการไม่ให้เกียรติศาสนาฮินดู
    .
    เพราะพระพิฆเนศ เป็นเทวดาในศาสนาฮินดูที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างแพร่หลายมากที่สุดพระองค์หนึ่ง โดยเป็นที่เคารพในฐานะของเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค องค์อุปถัมภ์แห่งศิลปวิทยาการ วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ทั้งปวง และทรงเป็นเทพเจ้าแห่งความเฉลียวฉลาด และปัญญา โดยในศาสนาฮินดูนั้น เมื่อเข้าวัด และเข้าใกล้รูปปั้นจะต้องถอดรองเท้าออก อีกทั้งต้องวางรูปปั้นไว้บนที่สูงเพื่อแสดงความเคารพ ไม่ควรเอารูปปั้นมาตั้งบนพื้น
    .
    และจากประเด็นดังกล่าวทำให้แฮชแท็ก Ganesha และ #YGapologise ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ของอินเดีย โดยมีแฟนคลับชาวอินเดียหลายคนพุ่งเป้าโจมตี ลิซ่า Blackpink และค่ายเพลง YG Entertainment ต้นสังกัดของวง Blackpink พร้อมทั้งเรียกร้องให้ YG Entertainment ออกมาขอโทษ และให้ลบฉากดังกล่าวออกจากมิวสิกวิดีโอ
    .
    ส่วน Blink (บลิงก์) หรือแฟนคลับวง Blackpink ชาวไทย ได้ออกมาชี้แจงทันทีว่า สำหรับประเทศไทย เราก็เคารพพระพิฆเนศเช่นเดียวกับชาวศาสนาฮินดูเช่นกัน ดูได้จากพระพิฆเนศที่ถูกนำมาเป็นตราประจำกรมศิลปากรของประเทศไทย และเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยชื่อดังในประเทศไทย โดยแฟนคลับชาวไทยเชื่อว่า ลิซ่า Blackpink ไม่มีเจตนาจะลบหลู่ศาสนาฮินดูอย่างแน่นอน
    -------------------------------
    แหล่งข่าว
    https://www.bollywoodhungama.com/ne...ire-using-lord-ganesha-idol-like-music-video/

    https://www.koreaboo.com/news/blackpink-like-mv-controversy-disrespectful-use-indian-god-ganesha/

    https://www.republicworld.com/enter...faces-flak-for-showing-lord-ganesha-idol.html

    https://www.thairath.co.th/entertain/news/1877812
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCDeS2riffyohV9FW2QEWjHQ

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Jun 28) New Normal' โจทย์ใหม่ของธนาคารกลางในโลกหลังโควิด 19: “…วันนี้เราสามารถขอให้สถาบันการเงินไทยมาช่วยเหลือลูกหนี้ได้หลากหลายวิธี แต่เราต้องระวังไม่ให้มาตรการเหล่านี้ทำให้ระบบสถาบันการเงินอ่อนแอจนสร้างปัญหาในระยะยาว เพราะไม่เช่นนั้น เมื่อวิกฤติโควิด 19 คลี่คลาย สถาบันการเงินจะไม่สามารถปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ หรืออาจก่อให้เกิดวิกฤติสถาบันการเงินตามมา นอกจากนี้ จะต้องระวังไม่ให้มาตรการเยียวยาต่างๆ กระทบต่อวินัยทางการเงินของลูกหนี้ซึ่งอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้…”
    bot-veerathai-28-06-20.jpg
    @การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤติโควิด 19

    พลวัชร : โควิด 19 พ่นพิษสู่เศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย แต่บ้านเราเห็นสัญญาณที่ดีเพราะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดไว้ได้ ท่านผู้ว่าการมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร

    ดร.วิรไท : การคาดการณ์วิกฤติรอบนี้เป็นเรื่องที่ยาก เพราะเป็นวิกฤติด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบกว้างไกลต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่ใช่วิกฤติเศรษฐกิจโดยตรงหรือวิกฤติสถาบันการเงินที่เราคุ้นเคย และไม่ใช่วิกฤติจากภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมใหญ่ ที่เราทราบว่าพอน้ำท่วมผ่านไป เศรษฐกิจก็จะกลับมาฟื้นตัวได้ แต่ครั้งนี้ไม่ทราบว่าการระบาดจะจบลงเมื่อไหร่และจบอย่างไร

    นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจแบบเปิด ภาวะเศรษฐกิจจึงขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดในต่างประเทศด้วย ทั้งเป็นห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และบางอุตสาหกรรมต้องพึ่งพิงต่างประเทศสูง เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ดังนั้นถ้าสถานการณ์โควิด 19 ทั่วโลกยังไม่แน่นอน การประเมินสภาวะเศรษฐกิจไทยต้องมีหลายฉากทัศน์ (scenario) และวางแผนเตรียมพร้อมรับมือหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ถ้าทุกอย่างจบลงเร็ว เศรษฐกิจก็จะฟื้นตัวได้ดี แต่เราชะล่าใจไม่ได้

    พลวัชร : ภายใต้สถานการณ์ที่ประเทศไทยควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ดีแบบนี้ เราจะเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไร

    ดร.วิรไท : จากการผ่อนปรนมาตรการในช่วงแรก กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่หยุดนิ่งไป 2 - 3 เดือนจะค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมา ส่วนกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากต่างประเทศยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เช่น จะต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาปีละ 40 ล้านคน ชีวิตหลังโควิด 19 จะทำให้การเดินทางระหว่างประเทศยากขึ้น มีต้นทุนสูงขึ้น และมีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละประเทศ

    เราต้องยอมรับว่าชีวิตหลังโควิด 19 จะไม่เหมือนเดิม รูปแบบการทำธุรกิจ การใช้ชีวิต หรือการบริโภคของประชาชน จะเปลี่ยนแปลงมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องให้แน่ใจว่าเราปรับเปลี่ยนวิถีการทำธุรกิจและวิถีการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับโลกข้างหน้าได้

    @มาตรการการเงินและการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย

    พลวัชร : ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น ธปท. ได้วางแผนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ และหลังจากนี้อย่างไร

    ดร.วิรไท : วิกฤติครั้งนี้คงไม่มีสูตรสำเร็จเพียงสูตรเดียวที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจ หัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยคือการจ้างงาน แต่เมื่อโครงสร้างเศรษฐกิจหลังโควิด 19 เปลี่ยนแปลงไปจนไม่เหมือนเดิม รูปแบบการจ้างงานก็จะเปลี่ยนไปมาก ยกตัวอย่างภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการจะใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (automation) มากขึ้น เราจะเห็นแรงงานจำนวนมากหางานได้ยากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะไม่สูงมาก แรงงานในภาคบริการ หรือแม้แต่คนรุ่นใหม่ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา

    ปัญหาการจ้างงานนี้เป็นโจทย์เชิงโครงสร้างที่ทุกฝ่ายต้องประสานงานกันเพื่อออกนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่จะเร่งพัฒนาทักษะแรงงาน รวมถึงการสร้างงานและการสร้างตำแหน่งงานใหม่ ๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้

    มาตรการหลักที่ต้องเป็น “หัวจักรใหญ่” ในการฝ่าฟันวิกฤติรอบนี้คือ มาตรการด้านการคลังและมาตรการเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจ (structural policy) เพราะเมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดลง รายได้ของประชาชนและธุรกิจหดหาย มาตรการด้านการคลังจึงมีบทบาทสำคัญในการเติมรายได้เข้าสู่ระบบ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกหลากหลายมาตรการเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ตลอดจนสร้างรายได้ใหม่

    ขณะเดียวกัน มาตรการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจก็จำเป็นไม่แพ้กันเพราะเราต้องย้ายทรัพยากรจากโลกเก่าก่อนโควิด 19 ไปสู่โลกใหม่ ทั้งทรัพยากรทุนและแรงงานที่ต้องมีทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลมากขึ้น

    ในส่วนของ ธปท. มีหน้าที่ดูแลมาตรการด้านการเงินและระบบการเงิน ซึ่งถือเป็น “มาตรการเสริม” เพื่อช่วยให้ระบบเศรษฐกิจปรับตัวไปสู่โลกใหม่หลังโควิด 19 ได้รวดเร็วและสะดวกขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลง เช่น เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาครัฐและภาคเอกชนไม่สูงนัก การลงทุนขยายธุรกิจหรือปรับรูปแบบธุรกิจก็สามารถทำได้ด้วยต้นทุนการเงินที่ถูกลง

    @ประเทศไทยบนวิถี Regionalization & Globalization

    พลวัชร : การที่ประเทศไทยควบคุมการระบาดได้ดี ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนก็เริ่มควบคุมได้ สถานการณ์เช่นนี้จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจในภูมิภาคดีขึ้นหรือไม่

    ดร.วิรไท : วิกฤติครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ระบบสาธารณสุขและระบบสังคมในเอเชียมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าหลายภูมิภาคในโลก ทำให้ห่วงโซ่อุปทานที่อยู่ในเอเชีย โดยเฉพาะจีน เริ่มกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ภูมิภาคเอเชียจะมีบทบาทสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกต่อไป เมื่อวิกฤติโควิด 19 คลี่คลายลง เราจะได้เห็นการเชื่อมโยงของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย (regionalization) เพิ่มมากขึ้นด้วย

    อย่างไรก็ดี โลกาภิวัตน์ (globalization) ยังคงเป็นเรื่องสำคัญ เพียงแต่รูปแบบจะเปลี่ยนไปจากเดิม เทคโนโลยีจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น รูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตทั้งในประเทศและข้ามประเทศจะอยู่บนพื้นฐานดิจิทัลมากขึ้น ตลอดจนธุรกิจบริการที่อาศัยดิจิทัลเป็นพื้นฐาน (digital-based) จะถูกใช้ประโยชน์มากขึ้น

    สำหรับประเทศไทย เรามีจุดแข็งหลายอย่างที่ทำให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตโควิด 19 ได้ดีกว่าหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เริ่มจากเศรษฐกิจมหภาคและฐานะการเงินระหว่างประเทศที่เข้มแข็งจนเป็นที่ยอมรับจากนักลงทุนและนักธุรกิจต่างชาติ ระบบสาธารณสุขมีประสิทธิภาพอย่างมากจนหลายประเทศชื่นชม

    นอกจากนี้ เรายังมีความมั่นคงทางอาหาร โดยประเทศไทยสามารถผลิตอาหารได้มากกว่าความต้องการในประเทศ โจทย์สำคัญคือ เราจะใช้ประโยชน์จากจุดแข็งเหล่านี้อย่างไร และจะเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากโลกเก่าไปสู่โลกใหม่หลังโควิด 19 ได้อย่างไร

    @'สมดุล 4 ข้อ' เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาว

    พลวัชร : หากโควิด 19 กลับมาระบาดระลอกสองในเมืองไทย ท่านผู้ว่าการมองว่าจะกระทบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมากน้อยอย่างไร

    ดร.วิรไท : ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดมาได้ค่อนข้างดี แต่สิ่งที่ต้องตระหนักคือ เราจะปล่อยให้ “การ์ด (guard) ตก” ไม่ได้เด็ดขาด เพราะถ้าหากเกิดการระบาดอีกระลอก คราวนี้ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรของภาครัฐ ทรัพยากรของภาคสถาบันการเงิน หรือแม้กระทั่งเครื่องมือทางด้านนโยบายการเงิน จะมีข้อจำกัดมากขึ้นและจะใช้ได้ยากขึ้นมาก ขณะเดียวกันถ้ารอให้วิกฤติจบแล้วค่อยมาเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจก็อาจจะสายไป

    เราจึงต้องวางนโยบายทั้งมิติของการเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจไปพร้อมกัน และด้วยข้อจำกัดด้านทรัพยากร เราต้องหาสมดุลที่เหมาะสมอย่างน้อยใน 4 ด้านสำคัญ

    ด้านแรก คือ ต้องเร่งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโดยเร็ว เราเรียกว่า มาตรการ “ดับไฟ” ดังนั้นในช่วงที่สถานการณ์เพิ่งเกิด เราจึงต้องให้น้ำหนักกับมาตรการเยียวยาค่อนข้างมาก เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจอยู่รอดและสามารถก้าวข้ามภาวะที่ยากลำบากนี้ไปได้ ต้องดูแลระบบเศรษฐกิจไม่ให้หยุดชะงักแรง และไม่ให้เกิดปัญหาสังคมรุนแรง

    ด้านที่สอง คือ ต้องไม่ทำให้ระบบสถาบันการเงินอ่อนแอจนอาจเกิดปัญหาในอนาคต เราผ่านวิกฤติการเงินมาหลายครั้ง ทำให้เรามีระบบกำกับดูแลสถาบันการเงินไทยที่เคร่งครัด สถาบันการเงินมีเงินกองทุนและตั้งสำรองเผื่อหนี้เสียอยู่ในระดับสูง ตลอดจนมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี ทำให้วันนี้เราสามารถขอให้สถาบันการเงินไทยมาช่วยเหลือลูกหนี้ได้หลากหลายวิธี

    แต่เราต้องระวังไม่ให้มาตรการเหล่านี้ทำให้ระบบสถาบันการเงินอ่อนแอจนสร้างปัญหาในระยะยาว เพราะไม่เช่นนั้น เมื่อวิกฤติโควิด 19 คลี่คลาย สถาบันการเงินจะไม่สามารถปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ หรืออาจก่อให้เกิดวิกฤติสถาบันการเงินตามมา นอกจากนี้ จะต้องระวังไม่ให้มาตรการเยียวยาต่างๆ กระทบต่อวินัยทางการเงินของลูกหนี้ซึ่งอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้ เช่น ยืดระยะเวลาชำระหนี้ทั้งที่ลูกหนี้ยังสามารถจ่ายชำระหนี้ได้อยู่

    ด้านที่สาม คือ ต้องไม่สร้างภาระทางการคลังจนมากเกินควร เราต้องตระหนักว่า รัฐบาลมีทรัพยากรจำกัดและต้องตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนหลากหลายกลุ่ม หลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข หรือด้านสังคม ดังนั้นจำเป็นต้องมีแผนจัดสรรทรัพยากรอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ขณะเดียวกันก็ต้องมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์

    นี่เป็นเหตุผลว่าเหตุใดรัฐบาลจึงไม่อาจทุ่มงบประมาณไปกับมาตรการเยียวยาได้ทั้งหมด เพราะต้องจัดสรรบางส่วนไว้ใช้สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด 19 คลี่คลายด้วย

    ด้านสุดท้าย คือ มาตรการต่างๆ ต้องสนับสนุนให้คนไทยและผู้ประกอบการไทยปรับตัวให้เข้ากับวิถีของโลกใหม่หลังโควิด 19 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น ธุรกิจสายการบิน ในอนาคตคนจะเดินทางน้อยลง สายการบินต้องปรับโครงสร้างธุรกิจโดยลดกำลังการผลิตและอุปทานส่วนเกินก่อนที่จะเติมเงินเข้าไปช่วยเหลือ แนวทางนี้จะช่วยให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดสอดคล้องกับโจทย์ของโลกใหม่

    สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ หลายธุรกิจยังยึดวิธีการทำธุรกิจรูปแบบเดิม คิดว่าหลังโควิด 19 คลี่คลายลงแล้วทุกอย่างจะกลับไปเหมือนเดิม เราจึงต้องช่วยกันคิดและส่งเสริมให้เกิด “นโยบายปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ” ให้มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจไทยจะปรับตัวสอดคล้องกับโครงสร้างเศรษฐกิจในวิถีโลกใหม่

    @ธนาคารกลางกับโจทย์ใหญ่ภายใต้ New Normal

    พลวัชร : โลกหลังโควิด 19 จะไม่เหมือนเดิมในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวัน หรือการดำเนินธุรกิจ แล้ว new normal ของธนาคารกลางทั่วโลกนับจากนี้คืออะไร

    ดร.วิรไท : ธนาคารกลางทั่วโลกก็ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่หลังวิกฤติโควิด 19 ผมขอยกตัวอย่าง 3 เรื่องที่ธนาคารกลางต้องให้ความสำคัญ

    เรื่องแรก โลกจะเข้าสู่กระแสดิจิทัลเร็วขึ้น สถาบันการเงินต้องปรับรูปแบบการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับโลกการเงินวิถีใหม่ ธปท. ได้ส่งเสริมธุรกรรมการเงินดิจิทัลมาตลอด เมื่อสองปีที่แล้วเราเริ่มใช้พร้อมเพย์ (PromptPay) และ QR code ในช่วงการระบาดของโควิด 19 สถิติการโอนเงินชำระเงินผ่านพร้อมเพย์ทำลายสถิติทุกเดือน ปริมาณธุรกรรมเฉลี่ยพุ่งขึ้นไปถึงประมาณ 16 ล้านรายการต่อวัน ขณะที่จำนวนร้านค้าที่ติดตั้ง QR code เพิ่มถึง 6 ล้านจุดทั่วประเทศ ส่งผลให้ปริมาณธุรกรรมผ่าน QR code เพิ่มขึ้นมาก

    เมื่อธุรกรรมทางการเงินรูปแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นเร็วมาก ขณะที่การทำธุรกรรมการเงินรูปแบบเดิมและปริมาณธุรกรรมผ่านสาขาธนาคารลดลงเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ที่การติดต่อแบบบุคคลกับบุคคล (physical interaction) จะลดลงและเปลี่ยนมาใช้สื่ออื่นในการทำธุรกรรมมากขึ้น ฉะนั้น การเร่งพัฒนาระบบการเงินดิจิทัลเพื่อรองรับธุรกรรมที่จะเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดจึงเป็นโจทย์ใหญ่ของธนาคารกลางทั่วโลก

    ธปท. ก็ยังมีโจทย์เรื่องการต่อยอดบริการทางการเงินให้เป็นรูปแบบดิจิทัลอยู่อีกมาก ต้องครอบคลุมหลากหลายบริการ โดยเฉพาะสำหรับภาคธุรกิจ ระบบการเงินดิจิทัลจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินต่อได้ในสถานการณ์ที่มีความผันผวนสูง ลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการเงิน และทำให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมมีผลิตภาพที่ดีขึ้น

    เรื่องที่สอง โลกจะอยู่ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำต่อเนื่องไปอีกนาน ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมาตั้งแต่วิกฤติการเงินโลก 2008 (พ.ศ. 2551) ก่อนจะเกิดโควิด 19 ธนาคารกลางบางแห่งรวมถึง ธปท. ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้กลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น (normalization policy) เพราะการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องนานจะสร้างผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์

    เช่น ประชาชนไม่มีแรงจูงใจที่จะออม หนี้สินอยู่ในระดับสูง ในโลกหลังโควิด 19 ธนาคารกลางทุกประเทศต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อช่วยลดผลกระทบและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และหนี้สินของประชาชนและธุรกิจจะยิ่งเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเพราะรายได้ลดลงมาก

    ธปท. เป็นธนาคารกลางแห่งแรกๆ ที่ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเมื่อการระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ในวันนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ต้องถือว่าเราโชคดีที่การแพร่ระบาดในไทยสามารถควบคุมได้ และระบบการเงินของเราไม่ได้มีจุดเปราะบางเหมือนในหลายประเทศ ระบบสถาบันการเงินมีสถานะเข้มแข็ง ทำให้ ธปท. สามารถออกมาตรการหลายอย่างผ่านระบบสถาบันการเงินเพื่อมาเสริมการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้

    เรื่องที่สาม เสถียรภาพของระบบการเงินจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบธนาคารพาณิชย์แบบที่คุ้นเคยในอดีตเท่านั้น เพราะระบบการเงินปัจจุบันมีความเชื่อมโยงกันสูงและครอบคลุมทั้งตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวม

    วิกฤติรอบนี้ ธนาคารกลางหลายแห่งต้องออกเครื่องมือมาดูแลระบบการเงินและตลาดการเงินที่กว้างไกลกว่าระบบธนาคารพาณิชย์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจลุกลามไปทั้งระบบ ในยุคหลังโควิด 19 ธนาคารกลางจะมีบทบาทในการดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินในภาพใหญ่เพิ่มขึ้น

    ทั้งสามตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นว่า โจทย์ของธนาคารกลางทั่วโลกหลังวิกฤติโควิด 19 อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่คาดการณ์กันไว้อยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องเร่งขับเคลื่อนให้แรงขึ้นและเร็วขึ้น เพื่อจะได้เท่าทันกับปัญหาหรือความท้าทายที่จะเพิ่มมากขึ้นหลังจากโควิด 19 คลี่คลายลง

    @'กุญแจ 3 ดอก' สู่การสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน

    พลวัชร : ในภาวะที่ยากลำบากอย่างขณะนี้ ท่านผู้ว่าการมีคำแนะนำในการดูแลสุขภาพทางการเงินอย่างไร

    ดร.วิรไท : มิติแรกที่ทุกคนควรตระหนักคือ การมีเงินออม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางการเงินที่ดี เงินออมที่เพียงพอจะทำให้เรารับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ เราต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนอีกมาก ภาวะโลกร้อนจะทำให้โรคอุบัติใหม่เกิดบ่อยขึ้นและภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรงขึ้น การจะมีเงินออมต้องเริ่มจากการตรวจสุขภาพทางการเงิน ควรใช้จ่ายเฉพาะในเรื่องที่จำเป็นและวางแผนการออมให้เพียงพอ ที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่อาจไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการออม ยิ่งพอเจอวัฒนธรรม “ของมันต้องมี” ก็ยิ่งสร้างจุดเปราะบางให้กับฐานะการเงินของตัวเอง

    มิติต่อมาคือ การบริหารจัดการเงินออม ต้องรู้จักวิธีกระจายความเสี่ยงของการออมรูปแบบต่าง ๆ ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำนาน เรามักจะเห็นเหตุการณ์ที่คนแห่ไปลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง (search for yield) โดยไม่เข้าใจความเสี่ยงหรือประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร ซึ่งอาจนำไปสู่การถูกหลอกลวงได้ หรือถ้าสถานการณ์เปลี่ยนไปจากที่คาดไว้ อาจจะทำให้ขาดทุนได้ ดังนั้นการบริหารความเสี่ยง เข้าใจความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องสำคัญ

    มิติที่สามคือ การบริหารจัดการหนี้ ในช่วงโควิด 19 บางคนที่มีภาระหนี้สินอยู่แล้วอาจมีหนี้สินเพิ่มสูงขึ้นอีก เพราะรายได้ของทั้งประชาชนและธุรกิจลดลงมาก ธปท. จึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และร่วมกับสถาบันการเงินหลายแห่งออกมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยลดภาระหนี้ให้กับประชาชนและธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อระยะยาวที่มีอัตราผ่อนชำระคงที่ทุกเดือนและอัตราดอกเบี้ยต่ำลงมาก

    ธปท. ได้รวบรวมมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินทุกแห่งไว้ที่ www.bot.or.th/covid19 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกหนี้สามารถศึกษาแนวทางการปรับปรุงภาระหนี้ให้สอดคล้องกับกระแสรายได้และความจำเป็นของแต่ละราย การปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์จะเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก

    นอกจากนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ติดต่อไปยังสถาบันการเงินแล้ว ไม่ได้รับการตอบสนองที่ดี ธปท. ได้จัดตั้ง “ทางด่วนแก้หนี้” เพื่อเป็นกลไกรวบรวมคำร้องเรียนส่งให้กับสถาบันการเงินทุกวันและเร่งติดตามข้อร้องเรียนต่าง ๆ รวมถึงยังมีโครงการ “คลินิกแก้หนี้” เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียและมีเจ้าหนี้หลายรายให้สามารถเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินต่าง ๆ แบบจบที่เดียว (one stop) ผ่านบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด หรือ SAM

    "ผมขอให้กำลังใจทุกคนว่า โควิด 19 นี้ไม่ใช่วิกฤติใหญ่ครั้งแรกที่ประเทศไทยเผชิญ เราผ่านมาแล้วหลายวิกฤติและสามารถก้าวข้ามผ่านมาได้ ผมเชื่อว่า การปรับตัวเองให้สอดคล้องกับโลกใหม่จะช่วยให้พวกเราทุกคนก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน"

    Source: สำนักข่าวอิศรา
    https://www.isranews.org/article/isranews-article/89950-bot-veerathai-eco-bank-debt-covid-19.html

    หมายเหตุ : พระสยาม MAGAZINE เผยแพร่บทสัมภาษณ์ของ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและบทบาทของ ธปท. เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใต้ภาวะปกติใหม่ ตลอดจนโอกาส ความท้าทาย และแนวทางปรับตัวสำหรับทุกภาคส่วนเพื่อผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน โดยมี พลวัชร ภู่พิพัฒน์ ผู้ประกาศข่าวจากช่อง TNN16 และ ททบ.5 ร่วมสนทนา
    https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256303_Conversation.aspx
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Jun 28) สหรัฐฯ เตรียมขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร คาดบีบให้ทำข้อตกลงการค้าฉบับใหม่: สหรัฐเตรียมขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร มูลค่ามากถึง 3,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากชนะคดีพิพาททางการค้าใน WTO แต่มีการคาดเดาว่าสหรัฐเล่นเกมนี้เพื่อบีบให้ 2 มหาอำนาจมาทำข้อตกลงทางการค้าใหม่

    สหรัฐเตรียมขึ้นภาษีสินค้านำเข้ามูลค่ารวม 3,100 ล้านเหรียญสหรัฐ จากประเทศในสหภาพยุโรป เช่น เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส ฯลฯ รวมไปถึงสหราชอาณาจักร หลังจากที่ได้ส่งจดหมายแจ้งไปยังประเทศต่างๆ ว่าจะมีการขึ้นภาษีสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อากาศยาน มะกอก จิน ชีส เบียร์ ฯลฯ ทำให้ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐและทวีปยุโรปเองอาจกลับมาอีกครั้ง

    การตัดสินใจที่จะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหภาพยุโรปนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่สหรัฐชนะคดีพิพาทกับสหภาพยุโรปในเรื่องความขัดแย้งว่าแต่ละฝ่ายนั้นมีการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ผลิตเครื่องบินพาณิชย์ของแต่ละฝ่ายนั่นคือ Airbus ของยุโรปกับ Boeing ของสหรัฐ ซึ่งท้ายที่สุดองค์การการค้าโลกได้ตัดสินให้สหรัฐเป็นฝ่ายชนะ

    ขณะที่สหราชอาณาจักรนั้นได้รับเคราะห์ครั้งนี้ไปด้วยเนื่องจากก่อนหน้านี้ได้อยู่ในสหภาพยุโรป และเป็น 1 ในประเทศผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับทาง Airbus ก่อนที่จะมีการถอนตัวออกจาก EU หรือที่เรารู้จักกันว่า Brexit

    โดยองค์การการค้าโลกได้อนุญาตให้สหรัฐสามารถขึ้นภาษีนำเข้าจากสหภาพยุโรป (รวมถึงสหราชอาณาจักร) ได้ถึง 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และสหรัฐเองได้ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของ Airbus ประมาณ 10-15% ไปแล้ว นอกจากนี้ผู้แทนการค้าของสหภาพยุโรปเองได้กล่าวว่า ได้มีการเจรจากับสหรัฐเรื่องการยอมความแล้วแต่ทางด้านสหรัฐไม่ยอม อาจทำให้สหภาพยุโรปไม่มีทางเลือกที่จะต้องหามาตรการตอบโต้

    อย่างไรก็ดีมีการคาดการณ์ว่าสหรัฐใช้เกมนี้เพื่อที่จะบีบให้สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรนั้นรีบมีการเจรจาการค้าฉบับใหม่กับสหรัฐไวที่สุดเท่าที่จะไวได้ เนื่องจากยังไม่มีการเปิดโต๊ะเจรจาอย่างเป็นทางการ

    Source: Brandinside

    https://brandinside.asia/us-prepare...uk-after-winning-airbus-dispute-27-june-2020/

    By Wattanapong Jaiwat

    PSX_20200628_181929.jpg
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Jun 28) โควิด-19 ทำให้เห็นพลังของแนวคิดง่ายๆ การใช้จ่ายของคนหนึ่ง คือรายได้ของอีกคนหนึ่ง : เมื่อเดือนมีนาคม 2020 หลังจากการแพร่ระบาดไปทั่วโลกของโควิด-19 หนังสือพิมพ์ New York Times พิมพ์บทความชื่อ One Simple Idea That Explains Why the Economy Is in Great Danger โดยกล่าวว่า การที่คนเราจะมองเห็นว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโลก คือการเข้าใจถึงความคิดอย่างหนึ่ง ที่ชัดเจน ลึกซึ้ง แต่ทว่าหลบซ่อนอำพรางอยู่

    ความคิดดังกล่าวนี้คือสภาพความเป็นจริงที่ว่า การใช้จ่ายของคนคนหนึ่ง ก็คือรายได้ของคนอีกคนหนึ่ง ความคิดดังกล่าวนี้ คือสิ่งที่ช่วยอธิบายวิกฤติ และความเป็นไปที่กำลังเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกอยู่ในขณะนี้ ซึ่งในปีหนึ่งมีมูลค่า 87 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

    แกนเศรษฐกิจทุนนิยม

    บทความ New York Times กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้จ่ายกับรายได้ และการบริโภคกับการผลิต คือแกนกลางการทำงานของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นพื้นฐานการทำงานอย่างต่อเนื่องของเครื่องจักรทางเศรษฐกิจ เราซื้อสิ่งของที่ต้องการ โดยจ่ายเงินให้กับคนที่ผลิตสิ่งของเหล่านี้ และคนคนนี้ก็ใช้เงินไปซื้อสิ่งของที่เขาต้องการ กระบวนการทำงานของจักรกลเศรษฐกิจนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่หยุดชะงัก

    เพราะเหตุนี้ สิ่งที่น่าวิตกอย่างมากก็คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการทำงานแบบไม่หยุดพักของเครื่องจักรกลเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือความสัมพันธ์ระหว่างการใช้จ่ายกับรายได้ต้องหยุดชะงักลงเกือบสิ้นเชิงในทั่วทุกภาคส่วนเศรษฐกิจที่สำคัญๆ และเป็นระยะเวลาที่ระบุแน่ชัดไม่ได้

    บทความ New York Times กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจสมัยใหม่ยังไม่เคยประสบปัญหาแบบนี้มาก่อน ทำให้เราไม่รู้ว่าเครื่องจักรกลเศรษฐกิจจะมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไรต่อความเสียหายที่เริ่มเกิดขึ้นแล้ว หรือว่าหากเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาดำเนินงานใหม่ตามปกตินั้น จะเป็นเรื่องที่ยากลำบาก หรือว่าสะดวกง่ายดายขนาดไหน

    การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การใช้จ่ายเงินเพื่อการบริโภคในโลกเราลดลงอย่างมาก สิ่งนี้หมายความว่าผลิตผลทางเศรษฐกิจลดน้อยลง ส่วนประชาชนที่เป็นผู้ให้บริการด้านต่างๆ ก็มีรายได้ลดต่ำลง ในสหรัฐฯ ผลกระทบสำคัญของโควิด-19 จะมีต่อการใช้จ่ายที่เป็นการบริโภคส่วนบุคคล (personal consumption) ในภาคเศรษฐกิจสำคัญ 3 ภาคส่วนด้วยกัน คือ การเดินทาง บันเทิงสันทนาการ และอาหารกับที่พักอาศัย

    หน่วยงาน The Bureau of Economic Analysis เปิดเผยว่า ในปี 2019 คนอเมริกันใช้จ่ายเงินในด้านการเดินทาง เช่น ค่าโดยสารเครื่องบินและรถไฟ 478 พันล้านดอลลาร์ ใช้จ่ายในด้านสันทนาการ เช่น บัตรเข้าชมกีฬาหรือเล่นการพนัน 586 พันล้านดอลลาร์ และใช้จ่ายด้านอาหารและการพักอาศัย เช่น ภัตตาคารและโรงแรม 1.02 ล้านล้านดอลลาร์ รวมทั้งหมดคือ 2.1 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 14% ของการบริโภคทั้งหมด

    ผลกระทบเป็นระลอกคลื่น

    รายได้ของภาคเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้เกิดการหมุนเวียนเกิดขึ้นในอีกหลายจุด เช่น จ่ายเป็นเงินเดือนแก่พนักงานในธุรกิจดังกล่าว เป็นรายได้ของซับพลายเออร์ จ่ายเป็นค่าเช่าให้แก่เจ้าของสถานที่ รายได้เป็นภาษีเข้ารัฐ และกำไรที่เป็นเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น

    เมื่อการบริโภคหดตัวลง จะส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเงินสด ประเด็นสำคัญที่ไม่มีใครรู้แน่ชัดก็คือว่า การหดตัวของการบริโภคส่วนบุคคลนี้จะมีปริมาณมากน้อยเท่าไหร่ เป็นระยะเวลานานแค่ไหน และการพังทลายของการใช้จ่ายเงินจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อรายได้ของผู้คน

    ภาวะเศรษฐกิจที่การใช้จ่ายของบุคคลหดตัวลง อาจทำให้เกิดการชดเชยขึ้นมาเช่นกัน เช่น คนซื้ออาหารจากซูเปอร์มาร์เกตมากขึ้นแทนการไปซื้อจากร้านอาหาร หรือใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าสุขอนามัยเพิ่มขึ้น แต่การทำงานมากขึ้นของพนักงานร้านซูเปอร์มาร์เกต หรือร้านขายยา ก็ไม่สามารถมาชดเชยทางเศรษฐกิจ ต่อรายได้ของคนทำงานนับล้านๆ คนที่ลดลงหรือหายไป เช่น พนักงานบนเครื่องบิน หรือพนักงานโรงแรม

    ร้านอาหารที่ปิดกิจการ สนามบินที่ไร้เที่ยวบิน หรือโรงแรมไม่มีคนเข้าพัก คือผลกระทบทางเศรษฐกิจ ที่เป็นคลื่นลูกแรกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งจะเป็นเหตุทำให้เกิดผลกระทบที่เป็นคลื่นลูกที่ 2 และ 3 ตามมาอีก เช่น ธุรกิจที่ล้มละลายจำนวนมาก จะทำให้ระบบธนาคารขาดทุนขึ้นมา สิ่งนี้จะเป็นเหตุให้มีการจำกัดการปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจต่างๆ หรือการตกต่ำของราคาน้ำมันดิบ อาจทำให้อุตสาหกรรมพลังงานปลดคนงาน

    มาตรการช่วยเหลือช่วงกดปุ่ม “หยุดพัก”

    นักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Joshua Gans เขียนไว้ในหนังสือ Economics in the Age of COVID-19 (2020)ว่า ในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจ ที่การบริโภคและการผลิตเกิดการหยุดชะงักลงในแบบผิดปกตินี้ เราควรจะมองว่า การผลิตที่หยุดลง เป็นการหยุดพักชั่วคราวของการประกอบธุรกิจ คล้ายๆ กับเวลาที่เรากดปุ่ม “หยุดพักชั่วคราว” (pause) ของเครื่องเล่น DVD

    การใช้แนวคิดการกดปุ่มหยุดชั่วคราวของธุรกิจ มีความหมายสำคัญ เพราะโดยปกติ เมื่อธุรกิจประสบปัญหาขาดลูกค้า ก็มักจะปิดกิจการลงไปในที่สุด แต่การปิดกิจการของธุรกิจนั้น จะมีต้นทุนที่สูงมาก เราจะเห็นได้ว่า หากปิดกิจการไปแล้ว เป็นเรื่องยากลำบาก ที่ธุรกิจนั้นจะกลับมาดำเนินงานใหม่

    อย่างเช่น ร้านอาหารที่ปิดกิจการไปแล้ว หากจะเปิดใหม่ขึ้นมา เจ้าของร้านจะต้องมองหาทำเลสถานที่แห่งใหม่ หาแหล่งเงินกู้ จากนั้นก็เริ่มลงทุนในด้านต่างๆ ก่อนที่จะมีการจ้างพนักงาน และในที่สุดก็เปิดร้านอาหารใหม่ขึ้นมา เปรียบเหมือนกดปุ่ม “หยุดการเล่น” (stop) แผ่น DVD และก็นำแผ่น DVD ออกจากเครื่องเล่น

    แต่ในช่วงวิกฤติจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เจ้าของร้านอาหารต้องการจะกดปุ่ม “หยุดพักชั่วคราว” คือธุรกิจยังดำรงอยู่แบบเดิม ไม่ได้ล้มหายไป เพียงแต่หยุดดำเนินงานชั่วคราวเท่านั้น เหมือนกับที่เรากดปุ่มเรียกว่า pause ของเครื่องเล่น DVD การกดปุ่มหยุดพักชั่วคราวนั้น ภาคเอกชนสามารถดำเนินการด้วยกันเองได้ เช่น เจ้าของสถานที่งดเก็บค่าเช่าร้านอาหาร เพราะหากไล่เจ้าของร้านอาหารที่ไม่จ่ายค่าเช่าออกไปในยามที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค ก็ไม่สามารถหาคนเช่ารายใหม่ได้

    แต่รัฐบาลในหลายประเทศตระหนักถึงปัญหาที่จะติดตามมา หากปล่อยให้ธุรกิจจำนวนมากล้มละลายลงไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น ในเดือนมีนาคม 2020 ฝรั่งเศสสั่งระงับการเก็บค่าสาธารณูปโภคและค่าเช่าสถานที่ของธุรกิจขนาดเล็ก ประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครง ประกาศว่า “ไม่มีธุรกิจไหนที่จะถูกปล่อยให้ล้มลง” ส่วนรัฐบาลเดนมาร์กจะจ่ายเงินเดือน 75% ของคนงานที่เสี่ยงจะถูกเลิกจ้าง และออกค่าใช้จ่ายในส่วนของต้นทุนคงที่ของธุรกิจขนาดเล็ก

    มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลหลายประเทศ สะท้อนความจริงที่ว่า เศรษฐกิจถดถอยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ใช่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นแบบปกติตามวัฏจักร การปล่อยให้ธุรกิจจำนวนมากล้มลงไป จะสร้างปัญหายากลำบากอย่างมาก ต่อการที่ธุรกิจจะกลับมาดำเนินงานใหม่อีกครั้งหนึ่ง

    โดย ปรีดี บุญซื่อ

    Source: ThaiPublica

    https://thaipublica.org/2020/06/pridi197/

    PSX_20200628_182100.jpg
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Jun 27) ความยั่งยืนของหนี้สาธารณะและทางเลือกของรัฐบาล : ในยามที่เศรษฐกิจถดถอยรุนแรง มาตรการทางการคลังเป็นเครื่องมือสำคัญลำดับต้นๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ในวิกฤตครั้งนี้ก็เช่นกัน รัฐบาลหลายประเทศอัดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจนถูกเรียกขานว่าเป็น ‘บาซูก้าทางการคลัง’
    FB_IMG_1593343425942.jpg FB_IMG_1593343428360.jpg
    แต่เงินจำนวนมหาศาลที่รัฐบาลนำมาใช้หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจยามฝืดเคืองนี้ ย่อมมีที่มาจากเงินในกระเป๋าของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเงินภาษีที่จัดเก็บทางตรงและทางอ้อม หรือการก่อหนี้ด้วยการออกพันธบัตรมาหยิบยืมเงินออมของประชาชนไปใช้

    ในภาวการณ์ที่เศรษฐกิจต้องการแรงกระตุ้น รัฐบาลมักเลือกทำงบประมาณขาดดุล และออกพันธบัตรมากู้ยืมเงินสำหรับอัดฉีดระบบเศรษฐกิจ ซึ่งผลที่ตามมาคือหนี้ภาครัฐพอกพูนเพิ่มมากยิ่งขึ้น

    สำนักบริหารหนี้สาธารณะ รายงานตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้าง ณ เดือนเมษายน มีมูลค่าเท่ากับ 7.186 ล้านล้านบาท โดยคำว่า หนี้สาธารณะนี้ไม่ใช่เฉพาะหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง แต่ยังครอบคลุมถึงหนี้ที่รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐก่อขึ้น (ไม่ว่ารัฐบาลจะเป็นผู้ค้ำประกันหรือไม่ก็ตาม) อีกด้วย

    จะเห็นได้ว่าหนี้สาธารณะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับ 3 ล้านล้านบาทในปี 2543 ขึ้นมาอยู่ราว 7 ล้านล้านบาทในช่วงต้นปี 2563 นี้ ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นอัตราการเติบโต จะเท่ากับร้อยละ 6.7 ต่อปี ใครที่เห็นรูปกราฟของหนี้สาธารณะคงอดกังวลใจไม่ได้ และพาลคิดต่อไปว่าสถานการณ์เช่นนี้จะพาประเทศไปสู่ภาวะวิกฤตในเร็ววันหรือไม่

    อย่างไรก็ดี ตัวเม็ดเงินที่ดูมากมายหลักล้านล้านบาทนี้ไม่ได้สะท้อนปัญหาภาระหนี้ของรัฐบาลได้อย่างครบถ้วน เพราะแม้มูลหนี้จะมีมาก แต่หากเศรษฐกิจมวลรวมมีศักยภาพในการสร้างรายได้มาชำระหนี้ หนี้สาธารณะนั้นย่อมไม่เป็นปัญหาบั่นทอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด

    นักเศรษฐศาสตร์จึงเลือกใช้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีเป็นตัวชี้วัด เพราะแสดงให้เห็นถึงภาระหนี้ของรัฐเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ ความที่เศรษฐกิจในแต่ละประเทศมีขนาดแตกต่างกัน รัฐบาลในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ (วัดจากค่าจีดีพี) ย่อมมีความสามารถในการสร้างหนี้มากกว่ารัฐบาลในประเทศที่ขนาดเศรษฐกิจเล็กกว่า

    ยิ่งไปกว่านั้น อัตราส่วนนี้ยังบ่งชี้ถึงปัญหาทางเศรษฐกิจที่อาจตามมาในวันข้างหน้าได้อีกด้วย กล่าวคือ ประเทศใดมีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่สูง การชำระคืนหนี้ย่อมสร้างภาระต่อประชาชนและความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ เพราะยิ่งมีภาระหนี้ต่อรายได้มาก รัฐบาลจำเป็นต้องเก็บภาษีจำนวนมาก และเมื่อคิดภาระภาษีเทียบกับรายได้แล้ว ภาระภาษีต่อรายได้ก็จะมีสัดส่วนที่สูง ย่อมทำให้ประชาชนเหลือรายได้หลังหักภาษีน้อยลง ซึ่งบั่นทอนกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจให้หดหายตามไปด้วย

    ในกรณีของประเทศไทยปัจจุบัน อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ราวร้อยละ 40 นั่นหมายความว่าหนี้คงค้างขณะนี้มีมูลค่าเพียงครึ่งเดียวของรายได้ประชาชาติ ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงมีความสามารถที่จะบริหารหนี้ และหาหนทางเก็บภาษีมาชำระคืนหนี้ได้อย่างไม่ยากลำบากนัก นอกจากนี้การที่สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีอยู่ในระดับไม่สูงมาก รัฐบาลจะมีช่องทางในการเลือกใช้มาตรการคลังเพื่อบริหารเศรษฐกิจ (fiscal space) มากตามไปด้วย

    ภาพที่ 2 แสดงอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 มาจนถึงปี พ.ศ. 2562 จะเห็นได้ว่าอัตราส่วนของหนี้ต่อจีดีพีในช่วงสิบปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่คงที่ ไม่มีแนวโน้มเติบโตเกินกว่าร้อยละ 40 ซึ่งรูปกราฟนั้นแตกต่างจากภาพที่ 1 ซึ่งแสดงมูลค่าหนี้สาธารณะที่เติบโตต่อเนื่อง ดังนั้นสถานการณ์ทางด้านการคลังของภาครัฐจึงดูไม่น่าสร้างปัญหาด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเท่าใดนัก

    หากเปรียบเทียบกับนานาประเทศ อัตราส่วนของหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของไทยเรา ถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำและเป็นระดับที่เปิดโอกาสให้รัฐบาลสามารถใช้มาตรการทางการคลังได้มากกว่านี้อีก ตารางที่ 1 นำเสนออันดับของบางประเทศเรียงตามสัดส่วนของหนี้ต่อจีดีพีในปี ค.ศ. 2017 เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของภาระทางการคลัง

    จะเห็นได้ว่า มีหลายประเทศในโลกที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ร่ำรวยอย่างสิงคโปร์ หรือประเทศที่สร้างปัญหาสั่นคลอนเศรษฐกิจภูมิภาคยุโรปอย่างกรีซ

    ตารางข้างต้นนี้สะท้อนข้อความจริงที่ว่า การที่อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงไม่ได้บ่งชี้สถานะทางการคลังที่ส่อถึงการผิดนัดชำระหนี้หรือล้มละลายเสมอไป อย่างประเทศญี่ปุ่นนั้น แม้จะมีสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีสูงที่สุดในโลก ญี่ปุ่นก็ยังดำรงสถานะหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกได้ ในทางตรงกันข้าม หลายประเทศที่มีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ในระดับที่ต่ำกว่า กลับสุ่มเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้และมีปัญหาด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

    ความซับซ้อนของการวิเคราะห์ฐานะการคลังที่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดชำระหนี้ มาจากข้อความจริงที่ว่า รัฐบาลนั้นมีความต่างไปจากลูกหนี้ทั่วๆ ไป กล่าวคือ

    หนึ่ง หนี้ที่รัฐบาลก่อเป็นหนี้ที่ผูกพันไปตลอด แม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาลในเวลาต่อมา แต่ผู้ที่มารับช่วงต่อยังต้องรับผิดชอบกับหนี้ที่ก่อไว้ในอดีตเสมอ ดังนั้นรัฐบาลจึงเป็นเสมือนลูกหนี้ที่มีอายุขัยเป็นอนันต์ ไม่มีวันตาย และไม่หนีไปไหนได้

    สอง การผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลสร้างผลเสียให้กับระบบเศรษฐกิจได้รุนแรงกว่าการเบี้ยวหนี้ของเอกชน หากรัฐบาลผิดนัดชำระดอกเบี้ยและเงินต้น บรรดาสถาบันการเงินที่ถือครองพันธบัตรเหล่านั้น จะประสบชะตากรรมสุ่มเสี่ยงต่อภาวะล้มละลายในทันที เพราะพันธบัตรที่สูญมูลค่าไปส่งผลให้สินทรัพย์ของสถาบันการเงินหดหายไป ในขณะที่เงินฝากและหนี้สินอื่นๆ ยังคงมูลค่าเป็นภาระผูกมัดของธนาคารไม่
    เปลี่ยนแปลง ขอบเขตของความเสียหายอาจกินวงกว้าง ดังในกรณีของประเทศกรีซ ที่พันธบัตรรัฐบาลกระจายอยู่ในมือสถาบันการเงินทั่วยุโรป ต้นทุนของการเบี้ยวหนี้สาธารณะนั้นสูงมาก โดยทั่วไปรัฐบาลจะพยายามอย่างที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเสียหายนี้

    สาม แม้รัฐบาลจะก่อหนี้ไว้มากเพียงใด ตลาดการเงินก็ยังมองว่ารัฐบาลมีช่องทางหารายได้มาชำระหนี้ได้เสมอ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการตัดรายจ่าย/เก็บภาษีเพิ่ม หรือถ้าหมดหนทางจริงๆ ก็อาศัยธนาคารกลางพิมพ์เงินมาใช้หนี้

    แม้รัฐบาลจะเป็นลูกหนี้ที่มี ‘ความพิเศษ’ แต่ความพิเศษไม่ได้เท่าเทียมกันทุกประเทศ ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจย่อมมีความพิเศษมากกว่าประเทศขนาดเล็กที่มีศักยภาพในการเติบโตต่ำ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การที่ญี่ปุ่นหรือสิงคโปร์มีหนี้สาธารณะสูงกว่าหลายประเทศ แต่กลับไม่ได้สร้างปัญหาทางเศรษฐกิจดังที่ปรากฏในกรีซ หรือประเทศอื่นๆ ที่มีหนี้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่ำกว่าแต่อย่างใด

    เมื่อย้อนกลับมามองประเทศไทย แม้ว่าหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของไทยจะอยู่ราวร้อยละ 40 อย่างต่อเนื่องมาหลายปี แต่ด้วยสถานการณ์โควิดที่สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจอย่างรุนแรง จนรัฐบาลต้องกู้เงินจำนวน 1.1 ล้านล้านบาทมาใช้จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ซึ่งจะส่งผลให้อัตราส่วนของหนี้ต่อจีดีพีพุ่งสูงขึ้นกว่าร้อยละ 50 ได้ แม้ว่าสัดส่วนนี้จะอยู่ต่ำกว่า ร้อยละ 60 ซึ่งเป็นเกณฑ์ตามกรอบการดำเนินนโยบายการคลังระยะกลางที่สอดคล้องกับความยั่งยืนทางการคลัง แต่ก็ยังมีข้อที่ควรคำนึงสำหรับการบริหารหนี้สาธารณะดังนี้คือ

    ประการแรก ความยั่งยืนทางการคลังขึ้นอยู่กับศักยภาพการเติบโตของรายได้ประเทศหรือจีดีพี ซึ่งปัจจัยกำหนดการเติบโตในระยะยาวคือผลิตภาพของปัจจัยต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต หรือที่ในทางเศรษฐศาสตร์เราเรียกว่า total factor productivity (TFP) พูดอีกแบบคือ TFP เปรียบเสมือนความสามารถหรือความเก่งในการสร้างรายได้ ยิ่ง TFP มีการเติบโตสูง ก็เหมือนระบบเศรษฐกิจมีการพัฒนาความสามารถในการสร้างรายได้ให้พอกพูนอย่างรวดเร็ว

    แต่สิ่งที่ปรากฏกับเศรษฐกิจไทยคือ TFP ชะลอตัวลงมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
    ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งนั้น (ค.ศ. 1990-1995) การขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราสูงของไทยเป็นผลมาจากการเร่งลงทุน และการขยายตัวในการจ้างงาน ซึ่งเป็นเสมือนการเพิ่มปัจจัยการผลิต แต่ไม่ได้มาจากความสามารถในการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นอัตราการขยายตัวของ TFP จึงอยู่ในระดับต่ำมากๆ

    ในช่วงของการฟื้นตัวภายหลังวิกฤตต่อเนื่องไปจนก่อนเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ถือเป็นช่วงที่มีการเติบโตใน TFP ที่สูงมาก เพราะประเทศไทยไม่ได้ลงทุนสูงดังเช่นช่วง 1990-1995 แต่เป็นการใช้ปัจจัยทุนที่สั่งสมมาอย่างเต็มกำลังการผลิตมากขึ้น

    ในช่วงปี 2013-2017 อัตราการเติบโตของ TFP เริ่มชะลอตัวลง และส่งสัญญาณว่าความสามารถในการผลิตของประเทศเริ่มถดถอยลง

    หากใช้แนวโน้มของการเติบโตใน TFP มาคาดการณ์อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคตข้างหน้า ความยั่งยืนของภาระหนี้สาธารณะมากขึ้นจะเป็นเรื่องน่ากังวลมากขึ้น เพราะหาก TFP ชะลอตัวลงมากกว่านี้ ความสามารถในการชำระคืนหนี้สาธารณะย่อมจะลดถอยลงตามไปด้วย ดังนั้นเราจึงยังไม่อาจนิ่งนอนใจกับตัวเลขสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในวันนี้ได้

    ประการที่สอง หนี้สาธารณะสามารถเพิ่มพูนสูงขึ้นกว่าแนวโน้มที่ปรากฏในรูปภาพที่ 1 เนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชน

    อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลสร้างหนี้สาธารณะมากขึ้นเท่าใด fiscal space หรือพื้นที่ของการใช้นโยบายการคลังเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมหภาคจะเหลือน้อยลงเท่านั้น

    พูดง่ายๆ คือ บาซูก้าทางการคลังที่ระดมยิงเข้าระบบเศรษฐกิจในวันนี้ จะส่งผลให้กระสุนในคลังแสงของนโยบายการคลังร่อยหรอลง จนในวันข้างหน้ารัฐบาลอาจไม่มีกระสุนเหลือให้ใช้กู้เศรษฐกิจ

    เราไม่อาจหนีพ้นการ trade-off ระหว่างการใช้ทรัพยากรในปัจจุบัน กับข้อจำกัดของการใช้นโยบายการคลังในอนาคต หากรัฐบาลต้องรักษา fiscal space สำหรับการใช้มาตรการทางการคลังในวันข้างหน้า รัฐบาลจะต้องสละรายจ่ายบางอย่างที่ก่อให้เกิดหนี้โดยไม่จำเป็นในวันนี้ทิ้งไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รายการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ เนื่องจากเป็นรายจ่ายที่ไม่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจหรือสร้างมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นในระยะปานกลางแต่อย่างใด ดังนั้นจึงควรดำเนินการตัดทอนรายจ่ายประเภทนี้ออกไปโดยเร็ว

    เพราะการตัดรายจ่ายเช่นนี้ไม่เพียงช่วยลดการขาดดุลงบประมาณ และช่วยลดภาระหนี้ลง แต่ยังช่วยเพิ่มกระสุนทางการคลังให้กับรัฐบาลในวันข้างหน้าอีกด้วย

    Vimut Vanitcharearnthum
    Source: 101 World

    https://www.the101.world/public-debt-and-governments-choices/
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัสเซีย - พายุลูกเห็บรุนแรงกระทบโอริฮิ, แคว้นปกครองตนเอง คิรอฟ ในวันนี้ 27 มิถุนายน

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัสเซีย - ในช่วงที่เกิดพายุรุนแรงเครนก่อสร้างขนาดใหญ่โค่นลงมา ที่ Naberezhnye เมือง Chelny วันที่ 27 มิถุนายน

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ประเทศเนเธอร์แลนด์ - พลังของลมพายุเฮอร์ริเคนที่พัดผ่านเมือง Veendam จังหวัด Groningen ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แอฟริกา - น้ำท่วมฉับพลันเนื่องจากฝนตกหนักใน Abidjan, ivory coast, มีผู้เสียชีวิต 7 รายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แอฟริกา - น้ำท่วมฉับพลันเนื่องจากฝนตกหนักใน Abidjan, ivory coast, มีผู้เสียชีวิต 7 รายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน



     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มาเลเซีย - ฝนตกหนัก กระทบ Kota Belud วันที่ 27 มิถุนายน

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มาเลเซีย - น้ำท่วม เนื่องจากฝนตกหนัก กระทบKota Belud วันที่ 27 มิถุนายน







     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    "ลัคกิน คอฟฟี" (Luckin Coffee) คู่แข่ง "สตาร์บัคส์" (Starbucks) ในจีน แถลง ถูกถอดจากตลาดหุ้นแนสแด็กแล้ว หลังเกิดเรื่องฉาวครั้งใหญ่ส่งผลราคาหุ้นดิ่งหนัก

    ลัคกิน คอฟฟี เครือร้านกาแฟดังของจีนแถลงเมื่อวันเสาร์ (27 มิ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่นกรุงปักกิ่งว่า บริษัทจะถูกระงับการซื้อขายในตลาดหุ้นแนสแด็กของสหรัฐ ในวันที่ 29 มิ.ย. และยื่นเรื่องถอดออกจากตลาด ซึ่งบริษัทยกเลิกแผนยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แต่ยังคงให้บริการร้านกว่า 4,000 สาขาทั่วประเทศจีนต่อไป

    เครือร้านกาแฟดังรายนี้เปิดตัวเมื่อปี 2560 จากนั้นไม่ถึง 2 ปีก็เปิดขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรก (IPO) ระดมทุนได้ 561 ล้านดอลลาร์ เมื่อเริ่มซื้อขายราคาหุ้นพุ่งไปถึง 50%

    ลัคกินหวังโค่นบัลลังก์สตาร์บัคส์ในแดนมังกร ด้วยการใช้กลยุทธ์เติบโตเชิงรุก ใช้แอพจูงใจลูกค้าให้เลือกซื้อกลับบ้านหรือบริการส่งถึงบ้าน รวมทั้งแจกคูปองให้ไม่อั้นผ่านมือถือ

    ภายในสิ้นปี 2562 ลัคกินมีสาขามากกว่าสตาร์บัคส์ นักลงทุนต่างเชื่อมั่นว่าบริษัทมีศักยภาพไปไกลถึงระดับโลก

    แต่แล้วบริษัทต้องมาเสียชื่อเรื่องตกแต่งบัญชีทำยอดขายดีเกินจริง จำต้องเปิดสอบสวนภายใน ผลการสอบสวนเผยแพร่เมื่อเดือน เม.ย. พบว่า นายหลิว เจี้ยน ประธานคณะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (ซีโอโอ) สร้างยอดขายปลอมเป็นเงิน 2.2 พันล้านหยวนเมื่อปี 2562

    หลังผลการสอบสวนเผยแพร่ออกมา ทำให้ราคาหุ้นลัคกินดิ่งหนัก ต่อมาบริษัทสั่งปลดนางเจนนี จียา เฉียน ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) และนายหลิวในเดือน พ.ค. เดือนหน้าบริษัทจะจัดประชุมเพื่อพิจารณาปลดสมาชิกทีมบริหารหลายคน

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,501
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วิจัยฟ้าทะลายโจรต้านโควิด-19เริ่มทดลองในคน รพ. 2 แห่งสมุทรปราการ-บางละมุง ระยะแรกมุ่งดูความปลอดภัย-ฤทธิ์ฆ่าเชื้อ-ลดการแบ่งตัว ช่วยผู้ป่วยอาการดีขึ้น-ลดปริมาณเอนไซม์ที่ทำลายปอด หัวใจ ตับหรือไม่ เผยเวลาต้องยืดออกไป เหตุไทยไร้ผู้ติดเชื้อ รัฐให้งบฯ200ลบ.
    .
    .
    .
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    -------------------------------

     

แชร์หน้านี้

Loading...