ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย na_krub, 12 ตุลาคม 2017.

  1. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    286E0885-C56A-46ED-83A7-FAE836D2DA34.jpeg

    โยมคิดดีบุญก็เกิด เช่นวันนี้เขาบอกว่า แหม..วันนี้จะขอสวดมนต์สักหน่อย เป็นกุศลแล้วนะจ๊ะ เป็นมงคลแล้วนะจ๊ะ แต่พอว่าถึงเวลาจะสวด..ขี้เกียจซะแล้ว เราไม่ได้ทำ คราวนี้บุญที่โยมบอกว่าได้เป็นกุศล ใช่มั้ยจ๊ะ ถามว่ามันเป็นยังไงจ๊ะ ไม่ได้หายไปไหน..ยังคงอยู่ แต่วันนั้นโยมติดแล้ว..ติดสัจจะบารมีแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แล้วเมื่อไหร่โยมทำอะไรโยมอธิษฐานเมื่อไหร่คราวนี้น่ะโยมต้องรอแล้วทีนี้ เพราะอะไรจ๊ะ อ้าว..โยมไปทำให้เทวดาเค้ารอเก้อน่ะ เห็นมั้ยจ๊ะ นี่ก็ไม่เท่าอะไรกับโจรชอบหลอก นี่ยังไม่ทันตายเลย นั้นเรียกทำอะไรเราต้องรู้ อย่าพูดจาพล่อยๆ คนอื่นเทวดาเค้าไม่รู้ เมื่อใจเรารู้นั่นแหล่ะจ้ะ ตัวเรายังมีกายเทพ กายเทวดา กายพรหม กายยักษ์ กายมาร เปรตอสูรกาย มันอยู่ในตัวเราทั้งนั้น อย่าคิดว่าไม่มีใครรู้ ถ้าตัวเรายังรู้อยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่เมื่อรู้แล้ว วันนี้เราทำไม่ทัน เราควรมีการขอขมาในจิตซะ ขอขมาต่อพระรัตนตรัย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ก็เราสวดไม่ได้เราก็ภาวนาแทน ก็ชดเชยเป็นบุญเช่นเดียวกัน ทำยังไงก็ได้ขอให้มันได้บุญ อย่าได้ไปติดค้าง เข้าใจมั้ยจ๊ะ แปรสภาพยังไงก็ได้ให้มันเกิดเป็นบุญให้เป็นกุศลคุณงามความดีซะ เพราะการสาธยายมนต์ภาวนานี้ เพื่อให้จิตนั้นเป็นอุบายให้เข้าถึงความสงบ เข้าใจมั้ยจ๊ะ...

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่เจ้าคะ ถ้าเราไม่ต้องสมาทานศีล แต่เราทำตัวให้เรามีศีลทุกวัน โดยที่เราพยายามไม่ละเมิด..
    หลวงปู่ : นี่แหล่ะจ้ะ ฉันอยากรู้จริงๆว่าโยมทำยังไง

    ลูกศิษย์ : หนูก็ทำได้ไม่สมบูรณ์หรอกค่ะ แต่ว่าไม่ค่อยสมาทานหรอกค่ะ
    หลวงปู่ : การขอศีลจากพระรัตนตรัยนี้ เค้าเรียกเป็นการนอบน้อมต่อธรรม ต่อพระพุทธ ต่อพระธรรม ต่อพระสงฆ์ ทำให้จิตเรานี้มีการนอบน้อมเข้าถึง เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อเราเข้าถึงแล้ว เราจะทำอะไรเราก็ถึงสิ่งนั้นได้ โยมบอกว่าโยมไม่ขอรับศีล แต่จะทำตัวให้เป็นศีล โยมรู้มั้ยจ๊ะว่าศีลมันเป็นอย่างไร แล้วโยมรู้หรือจ๊ะว่าศีลโยมนั้นน่ะที่จะทำน่ะต้องทำอย่างไร โยมวิเศษตรงไหน โยมจะทำให้มีศีล ศีลไม่ได้เกิดในตัวโยม เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่คนที่จะทำให้ศีลมันเกิดได้คือต้องระลึกถึงศีล แล้วโยมมีที่พึ่งหรืออย่างไร ศีลมันมาจากไหน เกิดมาโยมมีศีลมาหรืออย่างไร ศีลมันมาทีหลังโยมต่างหาก แต่ศีลนี้เค้ารักษาโยมมาตั้งนานแล้ว แต่เพราะโยมนั้นขาดสติจึงระลึกถึงศีลไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    การที่เรานั้นไปนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยนี้ เพราะว่ารัตนตรัยนี้มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นประธานแล้ว เราจึงไปขอศีลมารักษา เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นเค้าเรียกว่าเรามีหลักชัย แต่ไม่ใช่โยมกล่าวอ้างลอยๆขึ้นมาคือไม่มีหลักขึ้นมา แล้วอะไรจะเป็นพยานกับโยมจ๊ะ เมื่อไม่มีพยานขึ้นมาสิ่งที่โยมทำไปย่อมไม่มีใครรู้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ พอไม่มีใครรู้โยมคิดว่าวันนี้ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ เห็นมั้ยจ๊ะ ไม่มีหลักประกันยังไงล่ะ..

    คนถ้าเค้ามีศีลจริงเค้าจะไม่คิดละเมิดเลย เพราะว่ามนุษย์นั้นไม่สามารถรักษาศีลได้ตลอดเวลา แต่ในขณะใดทีมนุษย์นั้นมีสติระลึกได้ ศีลก็บังเกิดในขณะนั้น เมื่อกายวาจาใจสงบดีแล้ว เค้าเรียกว่าศีลก็บังเกิด ก็เอาศีลนั้นแลทำให้ใจมั่นตั้งมั่นเกิดสมาธิ เพื่อมาเจริญภาวนาเจริญปัญญาให้เกิดขึ้น เพื่อให้เข้าถึงกุศลธรรมที่แท้จริง ถ้าไม่เกิดกุศลกรรมที่แท้จริงแล้วมนุษย์ผู้นั้นมันจะติดความหลง ถือดีถือตน หลงตัวหลงตน เมื่อนั้นแลกรรมทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นอยู่ก็จะวนเวียนอยู่อย่างนั้น ก็ไม่มีใครช่วยอะไรได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    โยมลองนำดอกไม้ ธูป เทียน ขอขมาพระรัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์ เทพยดาทั้งหลายที่สถิตย์ในวิมานอากาศ ในเรือนเคหะก็ดี บ้านเรือนเราก็ดี ไม่ว่ากรรมอันใดที่ข้าพเจ้าเคยล่วงเกินกระทำมาแล้ว ให้อธิษฐานไป ข้าพเจ้าเมื่อรู้สำนึกแล้ว ในความบกพร่องแห่งศีล ข้าพเจ้าขอรับศีลต่อพระรัตนตรัย เราก็ว่าไปจะเป็นภาษาบาลีอะไรก็ว่าไป แล้วน้อมจิตน้อมใจเรานั้นตั้งให้เป็นกุศล..

    เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกุศล สมาธิบังเกิด ก็ให้อธิษฐานแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อธิษฐานขอขมาขออโหสิกรรม กรรมอันใดที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินไปในสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ข้าพเจ้าเคยเบียดเบียน นี่แหล่ะจ้ะแล้วอธิษฐานบุญกุศลที่เราเคยกระทำมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ กรรมนั้นมันจะได้ไม่ผูกกรรมต่อกัน แล้วโยมจะได้รู้จักว่าปาฏิหารย์แห่งศีลมีมากน้อยแค่ไหน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  2. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    268D00BA-1BC4-45EF-99CE-17A0ED67869B.jpeg
     
  3. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    B51C9DC7-0219-452F-B259-A413A29D8264.jpeg

    ความหิวมันก็เป็นโรคอย่างหนึ่ง นั้นกายสังขารมันเป็นที่รังของโรคอยู่แล้ว เราก็ต้องดูแลรักษามันอยู่ตลอดเวลา เมื่อเรามีกำลัง..ก็เอากำลังแห่งกายนั้นแลมาเจริญความเพียร จึงเรียกว่าอาหารมื้อนั้นเป็นอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ให้โทษ แต่ถ้าอาหารมื้อไหนแล้วมันทำให้เราขาดจากศรัทธาในการประพฤติปฏิบัติ แสดงว่าอาหารมื้อนั้นเป็นโทษ มันไม่ได้ให้คุณกับเรา

    นั้นทุกครั้งที่เราบริโภคอาหารก็ดี ควรจะพิจารณาว่าอาหารมื้อนี้ที่เราบริโภคไปนี้ เพื่อยังประโยชน์ให้กับกายสังขาร เพื่อยังความหิวนั้นไม่ให้เกิดขึ้น ระงับในความหิว เพื่อยังประโยชน์ให้พรหมจรรย์ก็ดีอย่างนี้ อาหารมื้อนั้นมันก็จะไม่เป็นโทษ เมื่อไม่เป็นโทษเสียแล้วนี้ เมื่อเราแผ่เมตตาจิตออกไปให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เราได้บริโภคแล้ว อาหารมื้อนั้นแลมันก็เป็นอาหารที่บริสุทธิ์สะอาด ทำประโยชน์ให้กับกายสังขาร

    ดังนั้นบุคคลที่เป็นโรคภัยก็ดี..เกิดจากการบริโภคอาหารทั้งนั้น เกิดจากแรงกรรม แรงวิบากกรรมที่เรานั้นไม่อโหสิกรรม ไม่แผ่เมตตาจิต อย่างนี้..เมื่อไม่แผ่เมตตาจิตแล้ว มีแต่ความอยากความเพลิดเพลินในการบริโภค มันก็จะเป็นโทษ ดังนั้นแล้วขอให้รู้ว่าการที่เรามาเจริญสติเจริญภาวนานี้ เพื่อให้เกิดปัญญา เพื่อให้เห็นโทษภัยในวัฏฏะ ในวัฏฏะแห่งการเกิด

    เพราะในขณะนี้เรียกว่าทุกข์ แสดงว่าเราเกิดอยู่ในขณะนี้ ก็ขณะนี้ยังมีลมหายใจอยู่เข้าและออก เมื่อเรานั้นอยากจะรู้ว่าเรานั้นจะพ้นการเกิดการตายเมื่อไหร่ ก็ให้ดูที่ลมหายใจนี้อยู่บ่อยๆอยู่เนืองๆ เมื่อเราเห็นลมหายใจนี้เข้าออกอยู่ประจำ ก็นั่นแลคือทางเข้าของวิญญาณ คือทางออกของวิญญาณ แล้วก็เป็นทางดับของวิญญาณเช่นเดียวกัน

    หมายถึงว่าทางดับของวิญญาณนั้นก็คือ เมื่อเห็นอารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป เห็นสภาวะไม่เที่ยงนั่นแล..นิโรธมันก็ดับ เมื่อนิโรธมันดับแล้วจิตนั้นมันเข้าเป็นสมาธิ เมื่อเราเห็นอยู่บ่อยๆผลมันก็เกิด มันเห็นสภาวะความไม่เที่ยง มันเห็นความเบื่อหน่ายว่ากายสังขารนี้มันมีทุกข์มากมีสุขน้อย ต้องคอยบำรุงบำเรอมันอยู่ตลอดเวลา ต้องหาอาหารให้มันกินอยู่ตลอดเวลา ต้องคอยตกเป็นทาสของกายสังขารอยู่ตลอดเวลา

    นั้นอารมณ์เหล่าใดที่มันเห่อเหิมมันทำให้เราเป็นทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นความคิดก็ดีในความอยากได้ใคร่ดีในสิ่งใด ในความจิตที่ปรารถนาที่มันเกินกำลังเรา ให้เราปล่อยวางเสีย จิตมันก็จะเป็นสุขได้ไม่ยาก นั้นในขณะที่เรานั่งเจริญสมาธิอยู่ก็ให้ตัดเรื่องในอดีต ในอนาคตที่ยังไม่ถึงก็ขอให้วางไว้ในตามฐานะของมัน อย่าได้ไปสนใจ นั่นคือการวางเฉย..อุเบกขาธรรมมันก็บังเกิด

    เมื่อจิตเราสงบนิ่งแล้ว เสียงก็ดี สิ่งที่มากระทบได้ยินก็ดีก็สักแต่ว่าเป็นเสียงที่ว่าได้ยิน ก็ไม่ยึดไม่เข้าไปปรุงแต่งอารมณ์เหล่านั้น ก็เป็นสภาวะแค่รู้ รู้แล้วก็วางเฉย เมื่อเราวางเฉยแล้วในตัวรู้..นั่นแลตัวปัญญามันก็บังเกิด แต่ถ้ารู้แล้วเราวางตัวรู้ไม่ได้..จิตมันก็จะเข้าไปปรุงแต่งในตัวรู้ในความสงสัย

    ดังนั้นไม่ว่าจะรู้อะไร เห็นอะไร ได้ยินอะไร..ก็ให้วางในอารมณ์นั้น การวางนั่นแลคือการปล่อย เมื่อเราปล่อยมากๆเข้าแล้ว สิ่งที่ว่ามันหนักก็ดีมันก็จะรู้สึกว่าเบาสบาย อย่างนี้..นั้นก็ฝึกตัวนี้ให้มากๆ ฝึกตัวสติ สติมีมากเท่าไหร่ก็มีแต่คุณเท่านั้น ยิ่งเรามีความเพียรในสิ่งที่เราปฏิบัติที่ผ่านมามีขันติธรรม เมื่อเรามาเจริญสติตั้งมั่นเมื่อไหร่ สิ่งที่เราทำมาแล้วนั้นก็หาว่าจะเสียประโยชน์ไป มันจะกลับมารวมตัวกันให้สตินั้นตั้งมั่นมากเป็น"มหาสติ"

    เมื่อมหาสติบังเกิดแล้ว สติมันก็จะรอบรู้เท่าทันในกองสังขาร เท่าทันในกองทุกข์ เท่าทันในกองทุกข์เป็นอย่างไร คือมันจะมีจิตที่ตั้งมั่นวางอุเบกขาวางเฉยต่อทุกข์ได้ คือไม่สนใจในกาย เมื่อเราละอารมณ์ในกายได้ ถอนอัตตาตัวตนได้แล้ว จิตมันจะไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในกายมากจนเกินไป

    เมื่อนั้นแลเราจะทนต่อสภาวะเวทนา เพราะเราเท่าทันในเวทนารู้ในเวทนา..แต่ไม่ยึดในเวทนา เมื่อเราไม่ยึดในเวทนาเสียแล้ว จิตเรานั้นก็จะเห็นตามความเป็นจริงของกายว่า กายก็คือกาย จิตก็คือจิตที่เข้าไปอาศัย ดังนั้นที่เราจะฝึกก็คือฝึกจิต แต่เราต้องอาศัยกาย เพราะจิตถ้าไม่มีที่ตั้งเสียแล้วมันก็จะไปจับต้องไปพิจารณาอะไรไม่ได้

    แต่เมื่อเรานั้นสามารถแยกจิตแยกกายได้ ต่อไปเราแค่อาศัยกายอย่างเดียว..แล้วก็ดูจิต เมื่อเราดูจิตฝึกจิตอย่างนี้จนคุ้นแล้ว แม้เราไม่มีกายสังขาร ก็เอาอารมณ์ของจิตนั้นแลเป็นวิหารธรรมพิจารณาธรรมได้ จนจิตนั้นไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร แม้อารมณ์เหล่าใดก็ดีสักแต่ว่าอารมณ์ทั้งนั้น สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าได้ยิน มันก็วางทั้งหมด อย่างนั้นเค้าเรียกว่าจิตมันก็ดับในตัวรู้ ในตัววิญญาณ ทรงสภาวะจิตที่รู้ในบริสุทธิ์อย่างเดียว จิตก็ย่อมหลุดพ้นอย่างนั้น

    เมื่อปราศจากจิตนั้น..ไม่มีอารมณ์เข้าไปปรุงแต่ง เมื่อไม่มีอารมณ์เข้าไปปรุงแต่ง..อุปาทานแห่งขันธ์มันก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่ออุปาทานขันธ์เกิดขึ้นไม่ได้ ภพมันก็ไม่มีที่เกิด ชาติก็ไม่มีที่เสวยอย่างนี้ สรุปรวมได้ว่าจิตก็เข้าสู่สภาวะนิพพานคือความว่างอย่างนี้ ก็ลองพิจารณาไป

    พอเรานั่งสมาธิไปพิจารณาไปละไปจิตมันสงบตั้งมั่น มันว่างจากอุปาทานของกิเลส ว่างจากความหดหู่ความเศร้าหมองเหล่านี้ เค้าเรียกว่านิพพานทั้งนั้น แต่ว่ามันจะเป็นนิพพานแค่ชั่วคราว เพราะว่าเราไม่สามารถจะรักษาสภาวะจิตได้อย่างนี้อยู่ตลอดเวลา

    แต่เมื่อเราทำอยู่ตลอดอยู่บ่อยๆจนมันชินเสียแล้วนั่นแล เราจะเห็นทางออกแห่งทุกข์ว่านิพพานมีอยู่จริง คือการที่จิตนั้นไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงในโลกใบนี้ คือไม่มีความอยากเกิดอยากได้ใคร่ดีอีก

    เมื่อเราตัดความอยากของการเกิดได้เมื่อไหร่ เราจักไม่มีความตาย เมื่อไม่มีความตายแล้วเรียกว่าจิตมันหลุดพ้น เหนือการเกิดการตายเมื่อไหร่นั่นแล สภาวะนั้นแลเรียกว่านิพพานมันก็บังเกิดขึ้น นั้นนิพพานสิ่งที่โยมปรารถนากัน หรือความอยากพ้นทุกข์หาใช่อยู่ได้ไกลไม่..ก็อยู่ในกายสังขารนี้ อยู่ที่จิตอยู่ที่ใจ ที่ว่าละดับกิเลสตัณหาดับอารมณ์ในวิญญาณในขันธ์ ๕ ได้เมื่อไหร่..นิพพานมันก็เกิดเมื่อนั้น

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  4. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    66C99843-0DF7-4085-A5F3-DE6F9497DAD1.jpeg

    พอโยมนั่งสมาธิสวดมนต์ก็ดี ทุกอณูของอากาศมีแต่วิญญาณ คนที่ขาดสตินั้นแลไม่รู้ว่าในขณะนี้ทำอะไรอยู่ ก็เรียกว่าเป็นผู้นั่งทับวิญญาณ นั่งทับเจ้าที่เจ้าทาง เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อเราขาดซึ่งสติแล้วพวกวิญญาณก็จะสิงเข้าในตัวเรา จะทำให้เราเคลิบเคลิ้มและหลับใหล

    แต่ผู้ที่มีสติอยู่แม้ในขณะนั้นจะมีช่องว่างทุกอณูของวิญญาณ แต่สติเราตั้งมั่น วิญญาณมันก็ข้องเกี่ยวเราไม่ได้ เพราะในขณะนั้นเรากำลังท่องมนต์อยู่ จิตเรานั้นตั้งมั่นอยู่ ไม่ส่งจิตออกไปภายนอก เมื่อเราไม่ส่งจิตออกไปภายนอกนั้นอะไรจะเข้าเราได้มั้ยจ๊ะ เมื่อเรามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอยู่ มีสมาธิอยู่ อย่างนี้อยู่ในอู่บุญอู่กุศลอยู่

    นั้นเราต้องคอยดึงจิตกลับมาให้อยู่กับบทสวดก็ดี ฉันบอกแล้วว่าถ้าโยมจะสาธยายมนต์ให้โยมมีความตั้งมั่นอ่อนน้อม มีขันติ มีความอดทน ขันติทนต่อทุกข์ต่อเวทนาสิ่งที่ทนได้ยากนั้นแล..เค้าเรียกว่ากรรมฐาน ไม่ใช่เอาแค่หลักธรรมอย่างเดียว มันหาประโยชน์อะไรไม่ได้หรอกจ้ะ โยมรู้ธรรมมากแต่โยมปฏิบัติไม่มาก..มันก็ล้น

    มันต้องปฏิบัติให้มาก เมื่อปฏิบัติมากแล้วนั่นแลโยมถึงจะวางได้ในธรรมทั้งปวง ถ้าโยมไปยึดธรรมมาก..มากเท่าไหร่ การปฏิบัติของโยมนั้นไม่ก้าวหน้ามันก็ไปไม่ได้ เพราะสภาวะที่โยมไปยึดมันเป็นทุกข์นั้น การที่จะพ้นทุกข์ได้ต้องละอารมณ์ที่เราไปยึด นั้นถ้าตอนโยมสวดมนต์สาธยายมนต์โยมยังไม่เอายังไม่ตั้งใจที่จะฝึกจิต

    การสวดมนต์เป็นการฝึกจิต เป็นการเดินจิต เป็นการเดินจงกรม การภาวนาเรียกเป็นอุบายอย่างหนึ่ง เป็นสะพานเชื่อมต่อให้โยมเข้าถึงในกระแสพระรัตนตรัย ถ้าจิตผู้ใดเข้าถึงกระแสพระรัตนตรัยแล้ว โยมไม่ต้องไปสวดแล้วมนต์มันเข้าถึงความสงบ แต่ที่สวดไปถึงแม้สงบก็ต้องสวด เพราะนั่นเรียกว่าสัจจะบารมี ขันติบารมี ทานบารมี เพราะเป็นทานแห่งเสียง เทพยดาเจ้า สัตว์นรกทั้งหลาย แว่วเสียงก็ยังได้ประโยชน์ยังได้ความสุข พ้นจากทุกข์ทรมานในขณะนั้น

    แล้วถ้าโยมยังไม่เอาประโยชน์ตรงนี้ เมื่อถึงเวลาโยมจะไปขอนั่งสมาธิ อยากจะรีบสวดให้จบๆแท้ที่จริงในขณะที่โยมสวดมนต์อยู่นั้นคือการทำสมาธิแล้ว เมื่อกำหนดรู้ในอิริยาบถที่เกิดทุกข์เวทนาในกาย นั้นเรียกกรรมฐานเกิดแล้ว วิปัสสนาเกิดแล้ว แล้วโยมจะเอาอะไรอีก

    นั้นอย่าไปคิดว่าสวดมนต์นานแล้วอยากจะนั่งสมาธิแล้ว ไอ้ความอยากนี้มันคือกิเลส อยากนั่งสมาธิในขณะที่โยมสวดมนต์อยู่เจริญมนต์อยู่ แท้ที่จริงแล้วการที่โยมสวดมนต์มันเป็นสมาธิอยู่แล้ว แต่โยมไม่เข้าใจในคำว่าสมาธิ ความอยากที่โยมอยากไปนั่งสมาธินั้นเรียกว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตส่งออกไปภายนอก เป็นเหตุให้เกิดทุกข์สมุทัยบังเกิด ถ้าโยมเข้าใจอย่างนี้ โยมจะมีจิตเบิกบานแจ่มใสในขณะสวด..

    แท้ที่จริงแล้วถ้าจิตโยมเบิกบานแจ่มใสในขณะที่สวดมนต์ โยมจะมีเหงื่อออกมาพรั่งพรู มันจะขับโรคคุณลมคุณไสยทั้งปวง ออกมาตามรูขุมขน กระหม่อมก็ดี ทางปากก็ดี ทางทวารก็ดี ลมผายออกจากปอดก็ดี ลำไส้ก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นพิษทั้งนั้น นี่เค้าเรียกว่าอานิสงส์อำนาจแห่งพุทธคุณ สิ่งที่โยมสวดไปนั่นเรียกว่าพุทธคุณ

    ธรรมคุณ..เมื่อโยมสวดแล้วโยมเข้าใจในอักขระภาษา จะทำให้โยมน้อมเข้าถึงปัญญาธิคุณ เมื่อโยมน้อมเข้าถึงปัญญาธิคุณแล้ว ตัวเราแลจะเกิดสังฆคุณขึ้นมา เรียกว่าจิตเข้าถึงเนกขัมมะคือการบวช คือละ สละนั่นเอง ตัดอารมณ์นิวรณ์ทั้งหลาย จิตมันก็เบิกบานเข้าถึงกระแสพระรัตนตรัย

    เมื่อเข้าถึงกระแสพระรัตนตรัย แม้ในขณะนั้นเราไม่แผ่กุศลจิตนั้นออกไปให้สรรพสัตว์ แต่แว่วเสียงที่เราสวดมนต์เป็นเสียงแห่งธรรมทานที่จิตเราสงบนั่นแล..เค้าก็ได้รับรู้กระแส ที่เค้าทุกข์เค้าก็พ้นทุกข์ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะโยมมองไม่เห็นด้วยตาเปล่านั่นเอง..โยมจึงไม่เห็นอานิสงส์อย่างนั้น

    มนต์น่ะสวดจนเบื่อแล้ว บางคนก็บอกฉันสวดได้ธรรมจักรไม่ต้องดูแล้วหนังสือหนังหา จำได้หมด พอให้นำสวด..จำไม่ได้ ถ้าเราไม่ได้เป็นผู้นำแล้วเราจะไม่ดูจะสวดตามเค้าไปเพื่อให้จิตเป็นสมาธิก็ดี โยมบอกสวดจนจำได้หมดแล้ว..ไม่จริงหรอกจ้ะ แม้โยมจะสวดจำได้จริงๆ ยิ่งไม่ต้องดูตำราแล้ว โยมสวดด้วยจิตของโยม โยมจะไม่มีการหลับใหล

    บุคคลที่สวดได้เข้าถึงจิตแล้วในอักขระภาษาพุทธคุณแล้ว ธรรมคุณ สังฆคุณแล้ว นั่นแลเค้าเรียกว่าการเจริญฌานเจริญปัญญาไปในตัว ดังนั้นทุกครั้งที่ได้เวลามาเจริญมนต์ แม้โยมไม่ชุมนุมเทวดา เทวดาเค้าก็มารออยู่แล้วมาชุมนุมเช่นเดียวกัน จำไว้นะจ๊ะ

    บางคนสวดชุมนุมเทวดา เทวดาบางองค์ยังไม่มาเลย เพราะอะไรจ๊ะ อ้าว..จิตเราหดหู่เศร้าหมอง ศีลเรามันไม่ถึงพร้อมด้วยรัตนะ อย่างดีก็เรียกว่าสัมภเวสีมา ภูมิที่ต่ำๆมาอย่างนี้ ก็ไม่เรียกว่าไม่ต่างอะไรกับว่าภูมิของเจ้าที่ หรือเรียกว่าอุปมาเหมือนคนที่ว่าพวกเร่ร่อนพเนจรมาอาศัยข้าวเรากินเมื่อเราจัดงานนั่นเอง ถ้าอย่างนั้นไม่ต้องเชิญเค้าก็มา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ที่มีบารมีใหญ่ๆเค้าจะมามั้ยจ๊ะ ถ้าเราไปเชิญ สมมุติว่าโยมทำบุญขึ้นบ้านใหม่แล้วโยมไปเชิญนายกมา นายกฯจะมามั้ย ไปอัญเชิญรอแล้วรออีกจะมามั้ยจ๊ะ..ไม่มีทาง ใช่มั้ยจ๊ะ มันอยู่ที่เราตั้งมั่นศรัทธา จิตเราเป็นอย่างไร ถ้าจิตเราดีเข้าถึงในพระรัตนตรัย พระรัตนตรัยนี้แลเค้าเรียกว่าใหญ่กว่า ๓ โลกแล้ว พระอินทร์ พรหมยังไงก็ต้องมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  5. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    D6A21129-F7E0-496D-B0A8-673EA63A1455.jpeg

    ศรัทธาถ้าเรามีน้อย..เราต้องทำอย่างไร เราก็ต้องอธิษฐานบุญกุศลบารมี หมั่นแผ่เมตตาจิต เอากำลังจากเพื่อนพรหมจรรย์ของคนอื่น ระลึกถึงความตาย บุคคลที่อยู่ในโลกนี้ที่ล้มหายตายจากไปแล้ว เค้าได้อะไรไปบ้าง เค้าไปอยู่ที่ไหนกัน แล้วเราเล่าอีกไม่นานเราจะไปอยู่ที่ไหนกัน เส้นทางเดินสัมปรายภพของเรานั้นมีจุดมุ่งหมายมั่นคงแล้วหรือยัง

    หากที่ยังไม่มั่นคงต่อพระรัตนตรัย ทาน ศีล ภาวนาเรานั้นยังทำไม่ถึงในความเพียรแล้วไซร้ ก็ยังเป็นอันตรายอยู่ ดังนั้นแล้วประโยชน์แห่งกายสังขารที่มีลมหายใจอย่างนี้..ลองพิจารณาดูให้มาก เมื่อหมดจากลมหายใจไปเสียจะหาประโยชน์ สร้างประโยชน์ได้อย่างไรให้กับจิตวิญญาณเรา

    ดังนั้นอย่าปล่อยปละละเลยให้กายสังขารนี้มีแต่ความเสื่อมไปๆ แม้ยิ่งเสื่อมไปๆ อย่างน้อยในความเสื่อมนั้นก็ให้เจริญปัญญาให้เจริญสติ ให้มันเกิดขึ้นกับจิตวิญญาณธาตุขันธ์ของเรา อย่าให้มันเสื่อมไปโดยเปล่าประโยชน์ นั่นเค้าเรียกว่ารอวันตาย แต่เราต้องเป็นผู้รู้ กำหนดชะตา และรู้วันตายของเรา แล้วรู้ชะตาว่าจุดหมายปลายทางที่เราจะไปนั้นจะไปอยู่ไหน

    เมื่อเรารู้ชัด มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยเต็มกำลังเสียแล้ว จิตนั้นจะไม่มีความหดหู่เศร้าหมองเมื่อยามที่เราจะประพฤติปฏิบัติ เพราะเรามีความเชื่อมั่นเต็มกำลังแล้ว จุดหมายปลายทางสัมปรายภพของเรา เราก็ย่อมรู้ว่าเป็นทางสว่าง เมื่อนั้นจิตเรานั่งพิจารณาอยู่ก็ดี ทรงสมถภาวนาอยู่ก็ดี เจริญวิปัสสนาญาณก็ดี มันจะมีแต่ความสว่าง

    ถ้าเรานั่งมีแต่ความมืดนั่นแล ให้โยมนั้นมีสติกำหนดรู้ กำหนดอานาปานสติ กำหนดลมเข้าลมออก รู้ลม ถึงลม วางลม ทิ้งลม อย่างนี้จนจิตสงบแล้วก็ให้แผ่เมตตาออกไป ทำให้จิตมันสว่าง จิตที่มืดมิดนั้นแสดงว่ามันมีอวิชชาปิดบังครอบงำ มีจิตดวงวิญญาณทั้งหลายที่มารอรับกระแสบุญกุศล

    นั้นจิตที่เรายังไม่สว่างมันจึงมืดมน เราต้องทำให้มันสว่างด้วยการภาวนาจิต ระลึกว่าพุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคัจฉามิ แล้วก็กำหนดลมหายใจ ล้างลมเสียออกจากปอด ทำความรู้สึกให้ทั่วตัวสังขาร สตินี้อย่าให้พรากกับลมหายใจ ถ้ามันยังไม่มีกำลังที่จะไปดูกายได้ ก็ดูลมหายใจอย่างนั้น ทำความรู้สึกให้อยู่ในกาย

    ถ้าเรารู้สึกอยู่ในกายได้ รู้สึกว่ากายยังเคลื่อนไหวอยู่ นี่เค้าเรียกว่ากายหยาบภายนอก ถ้ากายข้างในเป็นอย่างไร กายข้างในคือกายที่มันสงบแล้ว สงบแล้วมันเป็นอย่างไร กายที่อยู่ข้างในนั้นมันสงบคือมันระงับอารมณ์ภายนอก..นั่นเรียกว่ากายใน ถ้ากายนอกเค้าเรียกว่าอารมณ์ข้างนอกมันยังไม่สงบ คือมีอารมณ์มากระทบก็ยังรู้สึกรำคาญฟุ้งซ่านนั่นแล เรียกว่ากายหยาบนั้นมันยังไม่สงบ จึงบอกได้ว่าจิตของเรานั้นก็ยังหยาบอยู่ ลมหายใจก็ยังหยาบอยู่นั่นเอง..นั้นต้องทำยังไง

    เราก็ล้างลมเสียออกจากปอด แล้วกำหนดลมใหม่ กำหนดตัวรู้ใหม่ อยู่อย่างนี้ คือตัวสตินั่นแล ระลึกอยู่บ่อยๆ รู้อยู่บ่อยๆ รู้ที่ลมหายใจ รู้อยู่ในกายสังขารนี้ รู้ว่านั่งทำอะไรอยู่ ถ้ารู้แต่ไม่ปรุงแต่งในตัวรู้นั้น การไม่ปรุงแต่งในตัวรู้นั้นแล..เค้าเรียกว่าวางอุเบกขา คือวางเฉย ทำความสงบของจิตคือวางเฉยอยู่ในกาย เมื่อมันรู้อยู่บ่อยๆ กำลังของตัวรู้มันมีมาก จิตมันก็จะค่อยตื่นขึ้นมาตื่นขึ้นมา มันก็ไม่ต่างอะไรอุปมาหมายถึงว่าดอกบัวนั้นกำลังโผล่ขึ้นมาโผล่ขึ้นมา พ้นขึ้นมาพ้นขึ้นมาที่เหนือน้ำ

    พอมันเหนือน้ำมันได้แสงปัญญา มันก็เกิดแสงสว่าง พิจารณาธรรม เกิดข้ออรรถข้อธรรมนั้นแล..จึงเรียกว่าเป็นวิชชา ตอนแรกก็อวิชชามาปกคลุมบดบัง เมื่อจิตมันพ้นจากน้ำค่อยๆตื่น ค่อยๆตื่น ก็อาศัยตัวรู้นี้ รู้ว่าทำอะไรอยู่ รู้ว่ากายมันเป็นทุกข์ยังไง รู้ว่ากายสังขารนี้เป็นที่รังของโรค นี้การเพ่งโทษ..เพ่งมันมากเท่าไหร่จิตมันก็ตื่นมากเท่านั้น เราก็พิจารณาไป จนจิตนั้นมันค่อยๆตื่นขึ้นมาก็ด้วยเอาปัญญาไปอบรมมัน

    ไปเพ่งโทษในกาย ว่ากายสังขารนี้เป็นที่รังของโรค อีกไม่ช้าไม่นานสังขารนี้ก็ต้องตายจากสลายกันไปตามธาตุทั้ง ๔ กลับคืนสู่ธรรมธาตุของมัน นั้นแสดงว่ากายสังขารนี้ก็เป็นที่อยู่เพียงชั่วคราวของเรา เหมือนโลกใบนี้ก็เป็นที่อยู่ชั่วคราวของเรา เราแค่ได้อาศัยแต่เราไม่สามารถไปยึดครองว่านี่กายของเรา ว่านี่โลกของเราว่านั่นของเรา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเมื่อยึดในขณะจิตใดจิตหนึ่งก็ตาม..มันก็เป็นทุกข์เป็นขันธ์ มันเป็นตัวขัดขวางการบรรลุธรรมการเห็นสัจธรรมที่แท้จริง

    นั้นการเพ่งโทษในกายให้เห็นว่ากายสังขารนี่มีความเสื่อมอยู่ตลอดเวลา ให้พิจารณาความไม่เที่ยงว่าทุกอย่างมันเป็นทุกข์ เมื่อจิตเราไปยึดในอารมณ์ใดนั่นก็เป็นขันธ์ เมื่อมันมีขันธ์ กำลังแห่งขันธ์มันมีมากเสียแล้ว ทุกข์ที่เราจะออกมัน..มันก็จะมีการทรมานจิต ดังนั้นจึงต้องเพ่งโทษในกายนี้ให้มาก

    ความคับแค้นใจ ความไม่ได้ดังใจ ความพลัดพราก ความตาย ให้โยมระลึกถึงความตายที่จะมาถึง โยมต้องระลึกถึงให้มันจริง ระลึกถึงว่ายังไง ว่าเมื่อเราไม่มีลมหายใจแล้ว ปราศจากซึ่งวิญญาณ ก็เหมือนเพื่อนผู้ที่ร่วมโลกเรานี้ที่เค้าล้มหายตายจากเราไป สักวันหนึ่งเราก็ต้องเป็นอย่างนั้น ให้พิจารณา..นี่เค้าเรียกการเพ่งโทษดูจิต กำหนดรู้..นี่คือตัวรู้

    สิ่งที่เรารู้ได้เราก็รู้ สิ่งที่เรารู้ไม่ได้ยังไม่ต้องไปรู้มัน ตอนที่เรารู้ได้ก็คือรู้ที่กาย รู้ที่ว่าอารมณ์ของจิตต้องแก้อย่างไร เราก็ต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อขันธมารในกายนี้ ต่ออารมณ์ต่อนิวรณ์ที่เป็นข้าศึกต่อสมาธิของเรา ถ้าเราข้ามนิวรณ์ไปไม่ได้ สมาธิเรานั้นมันจะตั้งมั่นได้มันก็ตั้งมั่นไม่นาน..

    ดังนั้นไม่ต้องรีบร้อน ฝึกสมถะ ระลึกฝึกสติอยู่บ่อยๆ รู้อยู่บ่อยๆ เมื่อจิตมันมีความง่วงก็รู้ก็ให้ภาวนาเข้าไป การภาวนาคือการเรียกกำลังดึงสติอยู่ ไม่ให้สติมันพลัดพราก พอมันพลัดพรากก็ดึงกลับมาใหม่ ดึงมารู้อยู่ในกาย ถ้ามันไม่ไหวจริงๆ ก็ให้เราภาวนาคาถาบทใดบทหนึ่ง เหมือนเราสวดพระคาถาอยู่ในใจ ถ้าไม่ไหวก็ให้ทรงอารมณ์อยู่อย่างนั้นอยู่ในกาย เค้าเรียกประคองจิตประคองกาย จนกว่าจิตนั้นมันจะค่อยๆตื่นขึ้นมา..ตื่นขึ้นมา..ตื่นขึ้นมา

    แต่ถ้าเราไม่ฝึกตัวรู้ เดี๋ยวไม่นานความง่วงมันก็จะมา ความเกียจคร้านมันก็จะมา มาดึงลาให้เรานั้นถอนออกจากความเพียร สมาธินั้นที่มันมีกำลังน้อยอยู่แล้วมันก็จะคลายออก ดังนั้นการที่เราภาวนาจิตกำกับสู้กับมัน เค้าเรียกเป็นการข่มจิตนั่นเอง เมื่อเราข่มจิตได้เราก็สามารถข่มใจได้ คือข่มอารมณ์ได้ นี่แลคือการฝึกฝนจิต..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  6. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    8454E970-919E-4A4A-8CE5-BCEB6974174D.jpeg
     
  7. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    917F4E0F-CC17-4F78-8CAA-92D3B39CC323.jpeg

    จิตที่ยังไม่ได้เข้าถึงกุศล..เค้าเรียกว่าจิตที่ยังไม่ตั้งมั่น จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นนั่นแล จิตที่ขาดการอบรม จิตที่ขาดสติ เรียกว่าจิตที่ขาดหลัก นั้นที่เราจะรู้เอาหลักไปได้อย่างไรกำกับจิตไว้ ก็คือมีองค์ภาวนาว่า"พุทโธ" ขณะที่เรากำหนดพุทโธ มันต้องกำหนดลม คืออานาปานสติควบคู่เข้าไป เมื่อควบคู่เข้าไปนั้นแลเค้าเรียกว่าพุทโธจักมีจิตจักมีวิญญาณแห่งพระพุทธะ แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า..จะเข้าไปหล่อหลอมจิตใหม่

    ก็เอาจิตนี้แล เมื่อจิตเริ่มตื่นรู้ขึ้นมาบ้างแล้ว พอที่จะประคับประคองให้จิตเรานั้นพ้นจากขันธมาร ที่มันคอยสั่งคอยกักขังหน่วงเหนี่ยวเรามาหลายภพชาติเป็นเอนกชาติ คำว่าเอนกชาตินี้มันหาประมาณชาติไม่ได้ ก็เอาชาติในปัจจุบันที่เราเสวยอารมณ์นี้แลที่เรารู้ได้ เป็นที่ตั้งเป็นเบื้องบาทแห่งภพชาติต่อไป ที่จะรู้ได้ว่าชาติต่อไปจักมีอีกหรือไม่ หรือจักไม่มีอีกหรือไม่ ก็เอาปัจจุบันชาตินี้แลให้อธิษฐานจิตแผ่เมตตาให้กับจิตวิญญาณที่มาสิงสู่ ที่ยังมาแฝง ที่ยังมาครอบงำ ที่คอยมากัดกินพระไตรปิฎก ที่มาคอยกัดกินรากเหง้าของดอกบัวดอกกมลชาติ ที่ไม่ให้เกิดคุณงามความดี..

    ก็อธิษฐานบุญกุศลนี้ให้เค้ามีทาง ให้อาศัยผลบุญกุศลที่ข้าพเจ้าเจริญกรรมฐานอยู่นี้ อย่าได้มาเบียดเบียนตามบีฑา ให้เป็นเวรเป็นกรรมกัน นั่นก็คือปู่ย่าตายายที่เค้านั้นยังไม่ไปผุดไปเกิด ก็เอาอาศัยบุญนี้แลช่วยเขา แสดงว่าเขายังอยู่ในขุมนรกอยู่ ดังนั้นแลจงช่วยเขามาด้วยอำนาจแห่งกรรมฐานนี้..

    การจะฉุดช่วยขึ้นมา..ทำอย่างไร ให้ตั้งจิตให้มั่น มีศรัทธาต่อพระรัตนตรัยให้ถึง..ถึงยังไง ถึงลม ถึงลม..ทิ้งลม รู้ที่ตั้งของกองลม คืออยู่ในกาย รู้กาย จิตที่เรากำหนดรู้ในลมนั่นแลคือจิต อารมณ์ที่ผัสสะเข้ามาคือสัมปชัญญะที่รู้ได้ในกายสังขาร เชื่อว่าพระพุทธองค์ท่านอุบัติเกิดขึ้นมาจริง ธรรมคำสั่งสอนที่ท่านตรัสไว้นั้นสามารถทำให้เรานั้นพ้นทุกข์ได้จริง พระสงฆ์คือเนื้อนาบุญสามารถเป็นที่พึ่งที่อาศัยให้เรานั้นได้ประพฤติปฏิบัติ ได้อาศัยเข้าถึงความพ้นทุกข์ได้จริง..ให้เข้าถึง

    อย่าได้มีความลังเลสงสัยในธรรม หรือพระสงฆ์ หรือในครูบาอาจารย์ใดๆ ให้ตัดทิ้งไปเสียให้หมด ให้มีแต่จิตที่เป็นกุศล มีแต่จิตที่ให้..คือให้อภัย ให้อโหสิกรรม อย่าได้มีจิตที่เศร้าหมอง เมื่อจิตที่ตั้งมั่นโดยบริสุทธิ์จิตนี้แลเรียกว่าจิตนั้นพ้นจากอาสวะกิเลสชั่วขณะหนึ่ง เมื่อจิตมันเข้าถึงพระรัตนตรัยนี้ เราสามารถอธิษฐานจิตนี้ให้กับบิดามารดาผู้มีคุณ ปู่ย่าตายายที่ยังไม่ไปผุดไปเกิด ก็เรียกว่าเค้ายังมีห่วง..

    ก็ให้อธิษฐานว่า บุญกุศลที่ข้าพเจ้าที่เคยเป็นลูกเป็นหลาน เคยมีบุพกรรมกันมา เคยมีคุณอะไรก็ดี เคยมีเวรอาฆาตกันก็ดี เคยล่วงเกินใดๆก็ดี ในทางกาย ทางวาจา ทางจิตทางใจ ทางใดทางหนึ่งก็ดี ข้าพเจ้าผู้นี้ขออโหสิกรรม ขอบุญกุศลนี้จงอุปถัมภ์ค้ำชูให้ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายให้เข้าถึงสุคติภพภูมิ มีสุคติเป็นที่ไป ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยจงเป็นแสงสว่างนำทางให้ดวงจิตที่ยังมืดบอดอยู่นี้ให้เห็นทาง ในทางพ้นทุกข์ และได้อาศัยพระธรรมก็ดี พระอริยสงฆ์ก็ดี อาศัยในบุญที่ข้าพเจ้าเจริญอยู่นี้ก็ดีเป็นที่พึ่งเป็นสรณะ เพื่อจะได้ไม่มีเวรพยาบาทต่อกันอีกต่อไปเลย

    เมื่อเราปาวารณาอบรมปาวารณาอย่างนี้แล้ว จิตมันจะค่อยๆตื่นขึ้นมา นี่เรียกว่าจิตนั้นพ้นจากโคลนตมได้ จิตที่พ้นจากโคลนตมเป็นอย่างไรเล่า จิตที่พ้นจากโคลนตมแล้วเค้าเรียกว่าจิตเริ่มตื่นขึ้นมา มีตัวรู้เข้ามา จึงเรียกว่าจิตนี้เป็นจิตว่าง สัมมาสมาธิบังเกิด ในขณะที่เป็นขณิกสมาธิ..สมาธิที่มันเฉียดฌานอยู่ แต่เมื่อจิตนั้นมันพ้นจากโคลนตม จิตที่ว่ามีกำลังเกิดขึ้นมา ความหดหู่ความเศร้าหมอง ความอ่อนล้าทางกายก็ดี เริ่มผ่อนปรนลงไป จิตเริ่มมีกำลังเข้ามาอย่างนี้เข้ามาแทนที่ เค้าเรียกว่าอุปจารสมาธิมันก็บังเกิดขึ้น สมาธิที่มันมีกำลังตั้งมั่นเข้าถึงฌาน

    แต่เมื่อมันเข้าถึงแล้วถ้าเราไม่รักษา เมื่ออะไรที่เกิดขึ้นแล้วของดวงจิต จิตที่ตั้งอยู่ จิตที่เกิดขึ้น มันก็ย่อมดับไปได้ของอารมณ์นั้น นั้นคำว่าฌานก็คือคำว่าชิน คือกำหนดรู้อยู่บ่อยๆ เมื่อมันตกภวังค์ไปก็ดี มีความลืมตัวของสติไปก็ดี ก็กำหนดรู้ที่กายขึ้นมาใหม่อยู่อย่างนี้ กำหนดรู้ในอกุศลที่เรานั้นไปล่วงเกินอะไรในผู้ใดก็ตาม หรือเราจะกำหนดกายนี้ให้เข้าถึงอสุภะก็ดี อย่างนี้เรียกว่าการเพ่งโทษก็ดี เพื่อให้จิตเรานั้นตื่นรู้ขึ้นมา

    ตื่นรู้ว่าในขณะนี้เรามาทำอะไร เรามาสร้างบุญสร้างกุศล คือเจริญสติมีภาวนา เมื่อเรามีองค์ภาวนาอยู่ในจิต จิตจะอยู่ในอุเบกขาฌานคือการไม่สนใจอะไร นั้นหน้าที่ของเราก็คือรักษาองค์ภาวนาไว้ให้เป็นหนึ่ง องค์ภาวนาที่เป็นหนึ่งนี้แลเรียกว่าเอกัคคตา เอกัคคตานี้แลเรียกว่าธาตุทั้ง ๔ นั้นเสมอเหมือนเป็นหนึ่ง จึงเรียกว่าฌานก็ดี กำลังแห่งสมาธิก็ดี มันมีกำลังมากเรียกว่าอัปปมาณสมาธิ..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  8. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    9F27E22A-1BCC-4D5D-8491-CFB04A81D313.jpeg

    ใครจะรู้ได้อย่างไรว่าจิตพุทธะบังเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ ก็จิตเมื่อในขณะนั้นมันเบิกบาน มันเบิกบานพ้นจากความเศร้าหมองความหดหู่ ร่างกายนี้เมื่อเข้าถึงธรรมอันเป็นคุณวิเศษแล้ว นั่นหมายถึงว่าอาการปวดก็ดี อาการเมื่อยก็ดี คันคันตรงใดก็ดี มีเวทนาเหน็บชาก็ดี ปวดเศียรเวียนเกล้าก็ดี โอสถแห่งธรรมนี้จะขจัดปัดเป่า ซาบซ่าน มลายหายออกไปจากขุมทวารก็ดี จากกระหม่อมก็ดี จากทางใดทางหนึ่งก็ดี จากลมหายใจก็ดี อย่างนี้เค้าเรียกว่าธาตุทั้ง ๔ มันถูกปรับสมดุลกันขึ้นมาใหม่

    เมื่อมันประชุมธาตุกันแล้ว เพราะว่าธาตุมันเป็นหนึ่ง เมื่อธาตุมันเป็นหนึ่งหมายถึงว่าเมื่อเริ่มต้นใหม่แห่งโลกธาตุ เป็นการเกิดใหม่แห่งสังขารนั่นเอง คำว่าการเกิดใหม่ของสังขารไม่ได้บอกว่าสังขารจะตั้งอยู่..แล้วไม่เปลี่ยนแปลง แต่สังขารที่เกิดใหม่เป็นเอกัคคตา..หมายถึงว่าเริ่มต้นใหม่
    กายที่อ่อนกำลังที่เสื่อมมันจะถูกปรับสมดุลธาตุให้มีกำลังเหมือนวัยหนุ่มสาว และจะทำให้เรามีความเพียร อยู่ในความเพียรอยู่ในบัลลังก์ได้นานนั้นเอง คำว่าบัลลังก์ก็คือที่เราอธิษฐานนั่งลงไปแล้วไม่ลุกจากความเพียร ไม่ถอดถอนละความพยายาม แม้จะมีความขยับเขยื้อนก็ยังไม่ถือว่าออกจากบัลลังก์ หากมีจิตที่อยู่ในความเพียร มีความปรารถนาจะฝึกจิตแล้วไซร้ จึงเรียกว่าบัลลังก์

    ดังนั้นแล้วการจะรักษาบัลลังก์ให้ตั้งมั่นมั่นคง..เราก็ต้องมีบริวาร คำว่าบริวารคืออะไร มีการอธิษฐานจิตแห่งบุญกุศลที่เราทำมา เอามาเสริมกำลัง เมื่อจิตเราพ้นแล้วเหมือนดอกบัวที่เบ่งบานแล้ว เมื่อต้องแสงพระอาทิตย์ก็ดี ดอกมันก็จะบาน เมื่อใครพ้นจากความง่วงได้เมื่อไหร่ก็จะเข้าใจในธรรมเมื่อฟังธรรม เมื่อตรึกตรองในธรรมปัญญามันก็บังเกิด

    เมื่อเราเข้าถึงอารมณ์ตรงนี้ของฌาน เรียกว่าจตุตถฌาน หรือธาตุทั้ง ๔ เสมอเหมือนเป็นเอกัคคตาเป็นหนึ่ง คำว่าเอกัคคตาเป็นหนึ่งแล้ว คือไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามาแทรกนั่นเอง คือจิตที่มันว่างจากอกุศล จึงเรียกว่าจิตที่ตั้งมั่นมีกำลัง เมื่อจิตที่ตั้งมั่นมีกำลังแล้วจะทำยังไง เค้าให้เรานั้นเสวยอารมณ์นี้..ให้จิตมันมีกำลัง ให้อิ่มเอมเหมือนเราเสวยอารมณ์แห่งปิติสุขนั่นแล

    แล้วเมื่ออารมณ์แบบนี้มันเกิดขึ้นตั้งมั่นแล้ว ให้เรานั้นกำหนดรู้ในกาย เอาจิตเข้าไปอยู่ที่ไปพักที่สติปัฏฐาน ๔ เพื่อเอาไปใช้การงาน..จึงเรียกว่าวิปัสสนา คือเดินญาณทัศนะให้เกิดขึ้น การเดินญาณทัศนาคืออะไร ญาณคือเป็นผู้รู้ภัยแห่งวัฏฏะ เพราะรู้ว่าทุกข์นั้นที่เกิดขึ้น เพราะเกิดจากว่ามีกายสังขารจึงเรียกว่าทุกข์ ให้ย้อนกลับไปที่ต้นปฐมเหตุแห่งวัฏฏะแห่งสงสารแห่งทุกข์ ก็คือกายขันธ์ ๕ นี้ เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ คือกาย คือเวทนา คือจิต และคือธรรม

    ๔ อย่างที่ว่ามานี้ กาย เวทนา จิต ธรรมเป็นตัวอันเดียวกันเป็นหนึ่งอันเดียวกัน ถ้ายังเป็นหนึ่งอันเดียวกันแล้ว จึงแยกกันไม่ออกได้ ดังนั้นให้พิจารณาว่าเมื่อมีกายจึงมีทุกข์ เมื่อมีทุกข์จึงเกิดความรู้สึกคือเวทนา คือความพอใจ คือความไม่พอใจ เมื่อมีเวทนาจึงมีจิตไปอาศัย..นั่นคือสังขาร เมื่อมีจิตจึงเกิดธรรม..คือสภาวะที่ทนได้ยาก ให้เราไปพิจารณาในสติปัฏฐาน ๔

    เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว นี่แลเราถึงจะเรียกว่าแม้เราไม่เดินจงกรม แต่เมื่อเราพิจารณาอารมณ์เหล่านี้ แห่งปฏิกูลธาตุก็ดี โทษภัยแห่งวัฏฏะในกายก็ดี คือเพียรละอารมณ์ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร อย่างนี้แล้วไซร้ เรียกว่าเราเดินจิต การเดินจิตนี่เรียกว่าเดินจงกรมอย่างหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้เจริญวิปัสสนาญาณอยู่

    เมื่อมีการเจริญวิปัสสนาญาณ ก็หมายเอาอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเป็นอารมณ์แห่งฌานก็ดี เช่นอากาศก็ดี แสงสว่างก็ดี ความว่างก็ดีเป็นอารมณ์อย่างนี้ ให้มันมีกำลังแห่งฌานเข้าไป ไม่นานรูปมันก็ดับ คำว่ารูปดับเป็นอย่างไรเล่า คำว่ารูปดับจึงจะเห็นแค่ดวงจิตที่เคลื่อนไหวในกายแต่ไม่ได้ยึดกายแล้ว เรียกว่าพ้นกายแล้ว

    คำว่าพ้นกายจึงจะไม่มีอารมณ์พัวพันกับกายอีก แต่จะใช้จิตนี้ที่ตั้งมั่น คือมีผู้รู้นั้นพิจารณากาย คือถอนอนุสัย คือจิตที่ยังไปพัวพันในกามคุณก็ดี ในสิ่งชั่วในดวงใจก็ดี ในอกุศลก็ดี คือพิจารณาละอารมณ์มันลงไป ลงไป ลงไป จนอารมณ์เรานั้นที่เห็นเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..และดับได้นั่นแล เรียกว่าเรากำลังเสวยเข้านิโรธอยู่

    เมื่อนิโรธบังเกิดขึ้นในจิตแล้วก็สามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้ตลอดทั้งราตรี เอานิโรธนั้นระยะสั้นๆ ถึงแม้จะมีวิตกอยู่ในกายบ้าง ถึงแม้จะมีผัสสะมากระทบบ้าง แต่ว่าเวทนาที่มันเกิดขึ้นจะเบาบาง ขันติและสมาธิที่เราเจริญขึ้นมาได้มันจะช่วยพยุงรักษา ให้เรานี้สามารถทนต่อเวทนาได้ เมื่อจิตเรากำหนดรู้มันก็จะเท่าทัน เมื่อเท่าทันแสดงว่าจิตเราเห็น เมื่อจิตเราเห็นเป็นผู้รู้ สิ่งนั้นมันก็หายไป เมื่อมันหายไปมันดับไปเสียแล้ว จิตมันก็ว่าง กายมันก็เบา..อยู่อย่างนี้

    ให้เห็นว่าจิตเกิดขึ้น จิตตั้งอยู่ จิตดับไป จิตเกิดขึ้นจิตตั้งอยู่จิตดับไป..แม้จิตก็ดีก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นจิต เป็นเรา เป็นเขา เมื่อเราไปยึดว่าจิตเป็นเรา แสดงว่าอัตตามันก็บังเกิดขึ้น เวทนามันก็บังเกิดขึ้น เมื่อนั้นแล้วให้รู้ว่าแม้จิตก็ดีก็ไม่ควรยึด ธรรมก็ดีก็ไม่ควรยึด ให้รู้แล้ววางรู้นั้น แม้ตัวรู้ที่รู้ก็ไม่ควรยึด แต่ควรยกมาพิจารณาแล้วละอารมณ์นั้นเสีย..จนจิตนั้นเข้าถึงความว่าง

    จิตที่เข้าถึงความว่างเป็นอย่างไร จิตที่เข้าถึงความสุข ไม่มีอารมณ์เข้ามาปรุงแต่ง จิตที่ไม่มีอารมณ์เข้ามาปรุงแต่งนั่นแล เรียกว่าจิตเสวยอารมณ์แห่งพระนิพพานอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ก็เอาอารมณ์แห่งสุขนั้นแห่งจิตนั้นแลทรงไว้ให้นานเท่านาน เท่าไรก็ได้ ที่เราจะประคองจิตได้...

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  9. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    89370CCD-E378-419A-BF88-827C57C8FE33.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่คะ ช่วงที่เรานั่งสมาธิเนี่ยะ ยังไม่เท่าไหร่เลยก็มีวิญญาณคนตายน่ะค่ะ เข้ามาในสมาธิเรา แล้วเราก็รู้สึกว่า เอ๊ะ..เค้าตายไปแล้ว

    หลวงปู่ : นั่นหมายถึงว่าจิตที่เราอยู่ในฌานชั่วขณะหนึ่ง สามารถติดต่อภพวิญญาณได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะว่ามีบุพกรรมเกี่ยวพันกัน ให้เราตั้งจิตกับดวงวิญญาณนั้น ระลึกตั้งจิตให้เป็นบุญกุศลว่าในขณะนี้เราทำอะไรอยู่ แล้วเอ่ยอ้างพระรัตนตรัยนี้ให้เค้านั้นว่าพุทธัง สรณัง คัจฉามิ..ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ..สังฆัง สรณัง คัจฉามิ แล้วรวมจิตให้ตั้งมั่น เอาจิตนี้เอาพระรัตนตรัยนี้แลให้เค้าได้ฟังในจิต ให้เค้าน้อมรับไตรสรณคมน์ไปเสีย เอาตัวเราจิตเรานั้นเป็นสะพาน เอาสมาธิเป็นกำลัง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อเป็นอย่างนี้ได้..แล้วก็อธิษฐานบุญให้เค้าไปผุดไปเกิด ตามแรงวิบากกรรมของบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้อุทิศไป คำว่าอุทิศคือการระลึกถึงก็ดี ตั้งจิตให้ก็ดี จึงเรียกว่าเป็นการอุทิศทั้งนั้น จึงเรียกว่าเป็นการกรวดน้ำอย่างหนึ่ง ให้เค้านั้นเกิดความร่มเย็นผาสุข เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อจิตวิญญาณเหล่าใดก็ตาม เมื่อไม่เร่าร้อนแล้ว เค้าจะไปเกิดอยู่ในสัมปรายภพที่ดี เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นคนที่นั่งสมาธิในขณะจิตหนึ่ง มีวิญญาณเข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นให้รู้ไว้ว่าจิตในสมาธินั้น..เราได้เข้าไปอยู่ในฌาน ที่จิตเค้าตั้งอยู่ในกุศลแล้ว มันก็เป็นธรรมดา..เมื่อกุศลบังเกิด วิญญาณที่เค้าเคยมีบุพกรรม หรือมีความเกี่ยวพันอย่างใดอย่างหนึ่งกับเรา เค้าก็สามารถเข้ามาทำให้เราเห็น นั่นก็คือวาสนาต้องกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : แม่ค่ะ แม่ที่พึ่งเสียไป
    หลวงปู่ : อ้าว..เค้ายังมีห่วงอยู่นี่จ๊ะ อย่างนั้นแล้วน้อมจิตเข้าไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ ให้คุณมารดานั้นแล..ให้เค้าได้ถึงไตรสรณคมน์ เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เหมือนที่ลูกนี้กำลังประพฤติปฏิบัตินี้ จงได้อาศัยอำนาจแห่งพระรัตนตรัยเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง เมื่อเรากล่าวขึ้นมาในจิตนั้นแล..มันจะมีเสียงกระทบ หรือจิตวิญญาณนั้นเค้าก็ได้ยินเช่นเดียวกัน..เค้าก็รับรู้ได้

    ผลานิสงส์อานิสงส์แม้เสี้ยวขณะจิตหนึ่งของการที่เรานั้นระลึกถึงพระรัตนตรัย อำนาจแว่วเสียงก็ดีที่เราระลึกอยู่ แม้เราปรารถนาจะให้ผู้ใดในจิตวิญญาณใดก็ดี แม้เค้าจะอยู่ในนรกภูมิก็ดี ก็สามารถทำให้มีความสุขได้ พ้นจากความทรมานได้ชั่วขณะหนึ่ง

    เมื่อเราให้บ่อยๆเล่า..จะเป็นยังไง ไฟนรกที่มันมีกำลัง เมื่อถูกเราให้บ่อยๆนั้น เราคอยเอาน้ำไปดับอยู่บ่อยๆ เมื่อกำลังแห่งบุญมันมีมาก..ทุกข์นั้นมันก็ดับลง ไฟมันก็ดับลง เค้าเย็นแล้วสบายแล้วเค้าก็ได้เลื่อนภพเลื่อนภูมิ ถามว่าเรามีส่วนช่วยได้หรือไม่ บุญแห่งกรรมฐานแม้ว่าเป็นลูกก็ดี แม้เราไม่ระลึกถึงก็ดี เค้าก็สามารถมาประกบได้ในสมาธิ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะจิตวิญญาณของเรา..คือส่วนหนึ่งของมารดาและบิดา ของปู่ย่าตายาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นข้อสำคัญอย่าได้ลืมพระอรหันต์ของเรา พระอรหันต์..แล้วบอกว่าพระอรหันต์ไปตกนรกได้อย่างไร ก็ให้เข้าใจเสียใหม่ว่า พระอรหันต์สามารถตกนรกได้ เพราะพระอรหันต์นั้นเค้าเรียกว่าสมมุติเป็นอรหันต์ของเรา ยังไม่ใช่อรหันต์ที่แท้จริง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าอรหันต์ที่แท้จริงแล้วจะไม่ตกนรกเลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ที่ยกย่องท่านเป็นอรหันต์หมายถึงว่า ท่านเป็นครูเป็นผู้สอน เป็นผู้เสียสละ เป็นผู้มีความจริงใจกับเรา แม้ชีวิตท่านก็ให้เราได้ นี่เค้าเรียกความเป็นอรหันต์ ที่สิ่งเหล่านี้หาคนธรรมดาจะให้เรายาก คือความเมตตานั้นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นทุกครั้งที่โยมเจริญกรรมฐานนี้ หรือเจริญบุญกุศลสิ่งใดก็ดี ให้เราระลึกถึงบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว ก็ตั้งจิตอุทิศให้ท่าน

    แต่บิดามารดาที่ยังไม่วายชีวาหายไป ยังมีลมหายใจอยู่ก็ดี เราจะระลึกให้อย่างไร ก็ระลึกให้ท่านให้มีอายุมั่นขวัญยืน เข้าใจมั้ยจ๊ะ สุขภาพร่างกายแข็งแรงอย่างนี้ ดังนั้นการที่โยมมาเจริญพระกรรมฐานมันจึงมีคุณประโยชน์มาก..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  10. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    95F9F7D2-2E17-4CF8-B060-0AF5B5EF1785.jpeg

    อันว่าเมื่อเกิดสมาธิแล้ว..คือความสงบ ความสงบนั้นแลก็เหมือนอยู่ในฌานหินทับหญ้า ถ้าเราไม่เอาไปพิจารณาธรรม ไม่ให้เกิดปัญญาให้เข้าถึงธรรมในกายนี้ ถึงสติปัฏฐาน ๔ นั่นก็หมายถึงว่ายังไม่เข้าถึงตัวปัญญา หรือยังไม่เข้าวิปัสสนาก็ดี มันเป็นแค่อารมณ์เพียงชั่วขณะที่ว่าจิตเราสงบ เป็นแค่สมถะ

    สมถะนี้ ความสงบนี้ สมาธินี้..มันแค่ระงับความวุ่นวายความฟุ้งซ่าน เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนเราทานยาแก้ปวดหัวเวียนหัว..มันระงับ แต่ถามว่าเมื่อมันหมดฤทธิ์ยาแล้ว อาการเวียนหัวยังคงอยู่หรือไม่ (ลูกศิษย์ : อยู่ค่ะ) นี่เรียกว่าสมาธิแห่งความสงบ..เมื่อกินยาเข้าไป แต่ว่าอาการปวดหัวเวียนหัวนั้นยังอยู่

    แต่ถ้าเป็นวิปัสสนา พอได้กินวิปัสสนากินยาตัวนี้เข้าไปแล้ว แม้ฤทธิ์มันคลายแล้วของยาวิปัสสนา อาการเวียนหัวปวดหัวนั้นมันจะไม่เกิดขึ้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหตุเพราะว่าวิปัสสนานั้นไปดับที่เหตุ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ยาที่โยมไปกินคือสมาธิมันแค่ระงับปลายเหตุ มันไม่ได้ระงับที่ต้นเหตุ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    หมายถึงว่าสมาธิก็ดีเมื่อเราเจริญแล้วภาวนาแล้ว จะนั่ง ๒ ชั่วโมง ๑๐ ชั่วโมงก็ตาม..ก็นั่งได้ทั้งนั้น เค้าเรียกว่าติดอยู่ในฌานติดอยู่ในสุข ไอ้สุขนี้คนชอบอยู่ บางคนก็อยู่เป็นวัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่อยากจะถอนออกมาเพราะสุขเหลือเกิน นี่เค้าเรียกว่าสุขอยู่ในสมาธิ สุขอยู่ในฌาน..เค้าเรียกว่าติด..ติดในสุข

    ดังนั้นเรียกว่ามันไม่เกิดประโยชน์อันใด เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ก็มีอานิสงส์ เพราะจิตในขณะที่มีความสงบนั้น จิตไม่มีเวรอาฆาตพยาบาทกับใคร มันเป็นการเจริญเมตตาไปในตัว ดังนั้นคำว่าวิปัสสนาจะรู้ได้อย่างไรว่าเราถึงวิปัสสนาแล้ว ก็หมายถึงว่าถ้ามีความสงบเกิดขึ้นกับจิตก็ดี ในสมาธิที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เอาความสงบนั้นลองดูซิว่ามันสงบจริงหรือไม่..

    คำว่าสงบจริงหรือไม่นั่นก็คือ ลองกำหนดรู้ในกายดูซิว่าอารมณ์แห่งโทสะ ลองระลึกถึงที่คนทำไม่ดีกับเรา..ความอาฆาตก็ดี ความน้อยเนื้อต่ำใจก็ดี ดูซิว่าเรายังมีอยู่หรือไม่ ถ้ามันยังมีอยู่แห่งอารมณ์โทสะ โมหะ โลภะนี้ แสดงว่ามันไม่สงบจริง เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อเราระลึกถึงคนที่ชอบหน้าหรือไม่ชอบหน้าแล้วเป็นอย่างไร..อย่างนี้

    ลองระลึกดูซิว่าคนที่เค้าดูถูกดูแคลนต่อว่าต่อขานเรานั้น เมื่อเราระลึกแล้วเป็นอย่างไร แสดงว่าถ้าเรายังมีอารมณ์อยู่ แสดงว่าสมาธิมันยังไม่ได้สงบจริง คำว่าสมาธิ..มันยังไม่ได้ดับเหตุเหล่านี้ได้ แต่มันเป็นแค่เบื้องบาท จิตที่สงบชื่อว่าสมาธิ จิตที่ว่าสงบที่ชื่อว่าสมาธิมันจึงเรียกว่าฌานที่ไปเพ่งอยู่ เรียกว่าข่มอารมณ์อยู่นั่นเอง มันเป็นแค่การข่ม ถ้าเปรียบเหมือนฤทธิ์ยาก็คือยาชา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    หมายถึงว่าโยมนั่งสมาธิ ๑๐ ชั่วโมง ฤทธิ์ยาชาก็มี ๑๐ ขั่วโมง เข้าใจมั้ยจ๊ะ หมดจากอำนาจของยาชานั้นแล้ว ทีนี้ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายทั้งปวง ความฟุ้งซ่านก็กลับมาเหมือนเดิม เข้าใจมั้ยจ๊ะ โลภ โกรธ หลง..ก็เกิดขึ้นเหมือนเดิม มีผัวเดินมาด่าก็ดี โทสะก็เกิดขึ้นเหมือนเดิม..

    แต่คำว่า"วิปัสสนา"อาศัยเบื้องบาทแห่งความสงบแห่งสมาธินั้นแล..ไปพิจารณาธรรม คือพิจารณาอารมณ์ เพ่งโทษในอารมณ์ที่เรานั้นมีความพอใจ คือยังไปติดในอารมณ์ใด..อารมณ์นั้นก็เป็นกรรม ถ้าติดในอกุศล..อารมณ์นั้นก็เป็นกรรมอกุศล ถ้าติดอยู่ในกุศลก็เรียกว่าจิตเรายังไปติดในกรรมที่เป็นกุศลเช่นเดียวกัน

    ดังนั้นก็ให้เราไปพิจารณา คือเพ่งโทษในอารมณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเราเพ่งโทษแล้วก็ให้ดูซิว่า..เค้าถึงบอกว่าคนปฏิบัตินั้น ภูมิจิตภูมิธรรมที่ปฏิบัติมาเป็นอย่างไร นั่นหมายถึงว่าคนที่ปฏิบัติเข้าถึงวิปัสสนาไม่ต้องเข้าวิปัสสนา คนที่เข้าถึงสมาธิไม่ต้องเข้าสมาธิ คนที่เข้าถึงฌานไม่ต้องเข้าฌาน เพราะเมื่อฝึกถึงเข้าฌานแล้ว เมื่อเคยเจริญสมาธิแล้ว เมื่อเคยเดินปัญญาวิปัสสนาแล้ว เมื่อเกิดผัสสะมากระทบ ๓ อย่างนี้จะทำงานทันที..

    ทำงานเป็นอย่างไร สมาธิ..ใจที่สงบจึงเรียกว่าทาน เมื่อเข้าถึงแล้ว..ความเป็นปรกติ..จิตที่บอกว่าสงบจึงเรียกว่าศีล แต่ตัวปัญญาที่รู้เท่าทันดับอารมณ์ได้เค้าเรียกวิปัสสนา นั่นหมายถึงว่าเมื่อมีคนมาว่าเรา จะว่าเราก็ดี จะว่าพ่อแม่เราก็ดี ในขณะนั้นอาการของจิตเป็นอย่างไร ถ้าอาการของจิตมีโทสะแต่สติกำหนดรู้ วางได้ เท่าทันได้ อโหสิกรรมเค้าได้ อย่างนี้แลเค้าเรียกว่าฌานมันบังเกิด สมาธิบังเกิด เค้าเรียกว่าตัวสติบังเกิด วิปัสสนาคือรู้เท่าทันอารมณ์ เมื่อรู้เท่าทันอารมณ์มันเกิดนิโรธดับในขณะนั้น

    เค้าถึงบอกว่ากรรมฐานจะให้ผลตอนไหน ฉันเคยบอกโยมมาหลายครั้งว่า
    ๑.กรรมฐานจะให้ผลตอนที่โยมจะตาย
    ๒.กรรมฐานจะให้ผลตอนที่โยมมีทุกข์
    ๓.กรรมฐานจะให้ผลตอนที่โยมไม่มีทางออก

    นั้นถ้าโยมอยากรู้ว่าสมาธิที่โยมฝึกกรรมฐานมา เจริญทาน ศีล ภาวนามา เจริญวิปัสสนาญาณมาเป็นอย่างไร ให้รู้อยู่ในเฉพาะหน้าปัจจุบันของเราทุกขณะจิตนั้นแล เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่ใช่ว่าต้องมานั่งหลับตา ไม่ใช่ว่าต้องมาเดินปัญญา ไม่ใช่ว่าต้องมาเจริญนิโรธอยู่เพ่งอยู่ ฝึกขันติอดอาหารอยู่อย่างนี้ ปิดวาจาอยู่ก็ดี แต่ให้รู้ทุกขณะจิตที่ผัสสะมากระทบนั่นแล ทาน ศีล ภาวนาเราจะได้รู้ว่าอะไรเรามันพร่อง อะไรที่มันยังขาด อะไรที่เราต้องเติม อะไรที่เราต้องเพิ่ม เข้าใจอย่างนี้มั้ยจ๊ะ...

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  11. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    D1F5D53C-E102-42BC-A0D4-430C88B56BC8.jpeg

    สิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่าเอาจิตไปพัวพัน อย่าเอาจิตนั้นไปผูกพัน..มันหามีประโยชน์ไม่ เพราะว่ามันเป็นอดีตไปแล้ว เมื่อเราเอาอดีตมาเป็นอารมณ์เมื่อไหร่..ไม่มีทางที่จะสร้างภพชาติในปัจจุบันให้เห็นตามความเป็นจริงไปได้ ดังนั้นเราต้องปิดตัดอารมณ์ในอดีตเสีย เพราะอารมณ์ที่เป็นอดีตไปแล้วนั่นเรียกว่ามายาของจิต หรือเรียกว่าสัญญา เป็นขันธ์อย่างหนึ่งของมารที่ล่อหลอกแห่งจิต ให้เราเข้าไปปรุงแต่งให้เราไปหลง

    บางคนจึงบอกว่าไม่สามารถออกจากสมาธิได้ หลงอยู่ในสมาธิบ้าง นี่ฉันสำเร็จขั้นนั้นขั้นนี้ จึงเรียกว่าติดอยู่ในฌาน ติดอยู่ในสุข แล้วบอกว่าจิตนั้นพ้นแล้ว ที่แท้มันเป็นแค่หินทับหญ้า ที่ยังไม่ได้ตัดถอนรากถอนโคนของอกุศลอนุสัยที่นอนก้นอยู่ เมื่อเอาหินออกหญ้ามันโดนน้ำค้าง มีอาหารมีเชื้อเข้าไปอีกในสัมผัส ในรูป ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชิวหาเราทั้งหลายเหล่านี้ หญ้านั้นมันก็งดงามชูช่อขึ้นมาอีก..เป็นอย่างนี้
    นั้นอย่าได้คิดว่าสิ่งที่เราสงบแล้ว ไม่มีอะไรที่จะเข้าปรุงแต่ง จิตไม่เป็นอกุศลแล้ว จิตไม่พยาบาทใครในขณะนั้นจะบอกว่าจิตหลุดพ้น..ไม่ใช่ อันนั้นเรียกว่าจิตเราเข้าถึงกุศล เมื่อจิตเข้าถึงกุศลแล้วเข้าถึงความดีแล้ว อันนี้จิตแค่เข้าถึงแค่สวรรค์ สวรรค์นี้มีโอกาสลงมาอีกได้มั้ยจ๊ะ..ลงมาอีกได้

    นั่นหมายถึงว่าจิตเรานั้นยังไม่พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด การที่เราจะพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดนี้..ต้องไม่เอาสวรรค์ ไม่เอาการเกิดใดๆ คือต้องถอนรากถอนโคนแห่งความพอใจทั้งหลาย อย่างนี้ถึงจะไม่ต้องมามีการเกิดอีก ดังนั้นการที่จิตเรานั้นเข้าไปถึงในอารมณ์พวกนี้ จิตที่ไม่มีอกุศล ไม่มีความอาฆาตพยาบาทต่อใคร ก็จิตมันทรงฌานอยู่ เมื่อจิตมันทรงฌานอยู่แม้มีอารมณ์ปฏิฆะแห่งความโกรธ แม้อารมณ์แห่งความกำหนัดก็ดี จิตมันจะไม่เข้าไปปรุงแต่ง เพราะจิตมันอยู่ในอุเบกขาฌาน

    จิตที่อยู่ในอุเบกขาฌานคือจิตที่วางเฉย แม้มันรับรู้แต่มันสักแต่ว่ารู้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ จิตในเมื่อมันไม่ไปปรุงแต่งแล้ว ชาติมันไม่ได้เสวย เมื่อชาติไม่เสวยภพมันไม่เกิดอย่างนี้..

    นั้นต้องทำอย่างไร..ให้เราพิจารณาละอารมณ์ในขันธ์ ๕ ลงไปอีก เมื่อฌานมันบังเกิดแล้วก็เอาฌานนั้นเป็นเบื้องบาทแห่งวิปัสสนาญาณ ฌานยังไม่ใช่ที่สุดแห่งปัญญา ที่สุดแห่งปัญญาคือญาณหยั่งรู้ภัยในวัฏฏะแห่งกายสังขาร เมื่อรู้เพ่งพิจารณาละอารมณ์ในขันธ์ ๕ ในรูป กายของเรานี้มันเป็นทุกข์อย่างไร ให้เพ่งโทษไปว่ากายนี้มันมีสุขน้อย มันมีทุกข์มากในอัตตภาพนี้

    เมื่อเราพิจารณาอย่างนี้แล้วจิตมันจะเข้าถึงน้อมเข้าไปหาแห่งความสงบได้ คือค่อยๆเพียรละอารมณ์ลงไป คือ"ละกาย" คำว่าละกายคือจิตจะไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เค้าเรียกว่าการถอดถอนอุปาทานแห่งขันธ์ การถอดถอนอุปาทานคือการเพียรละนั่นเอง ละกายให้ถึงที่สุด

    การละกายให้ถึงที่สุดเป็นอย่างไร คือการไม่สนใจกาย แต่อาศัยกายนี้เป็นสะพานเชื่อมต่อ เมื่อถึงความสงบแล้วก็ดี เหมือนอาศัยองค์ภาวนาพุทโธ ธัมโม สังโฆ..พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ..สัมมา อะระหัง อะไรอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ยุบหนอพองหนอก็ดี

    หรือภาวนาเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจก็ดี ย้อนไปย้อนมาก็ดี เป็นอนุโลมเป็นปฏิโลมก็ดี เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกองแห่งสมถะแห่งกรรมฐานทั้งนั้น ชื่อว่าเมื่ออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแห่งจิตเพ่งเข้าไปอารมณ์นั้น ทำให้จิตมันตั้งมั่นนั่นแล เรียกว่าเป็นอุบายแห่งธรรมทั้งนั้น..อย่างนี้ ดังนั้นแล้วก็ขอให้พวกโยมค่อยๆหัดกันไป ฝึกจิตเข้าไป

    ฉันถึงบอกว่าบุคคลที่จิตที่ยังไม่พ้น หรือดอกบัวที่ยังไม่พ้นจากโคลนตม ให้เจริญเมตตาอยู่บ่อยๆ ก็คือภาวนาจิต บุคคลที่เจริญเมตตาจนไม่มีความเกลียดแล้วและก็ไม่มีความรัก จงจำไว้ แม้เหงื่อจะโทรมกายแต่น้ำที่ไหลออกจากรักแร้โยม จะมีกลิ่นหอม เหมือนน้ำหอมที่เขาสกัดออกมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั่นเรียกว่ากลิ่นแห่งพรหมจรรย์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าโยมยังมีกลิ่นเหม็นของรักแร้อยู่แห่งเหงื่อไคล ขอให้รู้ไว้ว่าจิตเรานั้นยังมีราคะกล้าอยู่ คำว่าราคะกล้าคืออะไร คำว่าราคะนี่ โทสะก็ดี โมหะก็ดี โลภะก็ดี เรียกว่าราคะทั้งนั้น คือกิเลส คืออนุสัยที่เรานั้นยังยึดอยู่ คืออัตตา คือตัวตน คือมาร ดังนั้นการที่เอาชนะใจตัวเองคืออะไร คือเพ่งรู้อยู่ที่กายและใจของตัวเองอยู่บ่อยๆนั่นแล..ชื่อว่ากองกรรมฐาน ชื่อว่าเป็นผู้ตื่นอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้เจริญในขันธ์ เจริญในไตรสิกขาอย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  12. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    42C19384-0F1C-488F-9B5A-2ACE2098D5A4.jpeg

    การมาเจริญกุศลธรรมเจริญพระกรรมฐานอย่าได้มีการต่อรองต่อครูบาอาจารย์ เพราะมันเป็นผลประโยชน์โดยแท้ของเราเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราต้องมีศรัทธา เอาศรัทธานั่นแลเป็นเงินตราเป็นตัวลงทุนเป็นเหตุปัจจัย การใดๆก็ตามแม้ว่าทางโลกหรือทางธรรมต้องมีต้นทุนคืออัฐเบี้ย เปรียบเหมือนอย่างนั้น..คือศรัทธา

    สิ่งใดในโลกก็ดี..ในทางโลกก็ดี ทางธรรมก็ดี ในการงานใดๆก็ดี ถ้าขาดจากการมหาพิจารณาแล้วในความศรัทธาลงไป สิ่งการนั้นงานนั้นหามีความสำเร็จไม่ได้เลย การเจริญพระกรรมฐานฌานวิถีก็เช่นเดียวกัน..ต้องมีศรัทธา คือการปลูกศรัทธา ปลูกศรัทธา..ยังไงจึงเรียกว่าปลูกศรัทธา..

    ต้องรู้จักทานเสียก่อน ทานคืออะไร ทานคือการให้ ในขณะที่เรานั่งอยู่บนวิหารนี้จะเอาเวลาที่ไหนไปให้ทาน บางคนก็บอกไม่ได้พกอัฐเบี้ยมาจะไปให้ได้อย่างไร ถ้าในทางพระพุทธศาสนาแล้ว..ทานที่แท้จริงคือการสละนั่นเอง สละอะไรถึงเรียกว่าเป็นทาน สละละอารมณ์แห่งโทสะ แห่งโมหะ แห่งโลภะ หรือเรียกโลภ โกรธ หลง

    เมื่อเรามีความอาฆาตพยาบาทใคร..เราสละ เราให้อภัย คือให้อภัยทาน เมื่อให้แล้วเข้าถึงความสงบ ความเมตตามันก็บังเกิดขึ้น เค้าจึงบอกว่าบุคคลที่เจริญสมาธิได้ต้องมีศีล แล้วบุคคลที่จะมีศีลได้ต้องอาศัยพรหมวิหาร ๔ เป็นเบื้องบาทเป็นของคู่กัน เกื้อหนุนกัน เป็นกำลัง

    อันว่าพรหมวิหาร ๔ มันต้องมีเมตตา กรุณา มุทิตา และมีอุเบกขา คือวางเฉยในอารมณ์ที่พอใจไม่พอใจได้นั่นแล ดังนั้นคำว่าทานในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนี้คือสละละอารมณ์แห่งความพอใจ คือละสุข คำว่าละสุขนี้หมายถึงว่าเมื่อเรามีมากเราก็ให้อย่างนี้ เรียกว่าสุขคือการละ เช่นการละอารมณ์แห่งความโกรธเกลียดพยาบาท เมื่อเราทำได้ ไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตไม่พยาบาทอย่างนี้ นั่นเรียกว่าเป็นการสละ เป็นอภัยทานเป็นทานชั้นสูง

    แต่ก็ยังสู้การให้ธรรมทานยังไม่ได้ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เมื่อเราให้ไปแล้ว แม้จะให้ชีวิตกับสัตว์ ก็ยังไม่แน่ใจว่าสัตว์ตัวนั้นที่เราปล่อยไป จะเป็นปลาดุกก็ดีลงไปในคลองแล้ว ก็ไม่แน่ว่าอาจจะโดนตาสีตาสาจับขึ้นมาอีก มาเวียนว่ายตายเกิดในวัดในกะละมัง แล้วเราก็ไปปล่อยอีกอย่างนี้

    แสดงว่าการให้ชีวิตก็ยังไม่ใช่ทานที่สูงสุด ใช่มั้ยจ๊ะ เพราะว่ามันอาจจะกลับมาอยู่ในกะละมังอีกก็ได้ ของแม่ค้าแม่ขายหรือในตลาดสดอย่างนี้ เห็นมั้ยจ๊ะ แต่การจะให้ชีวิตโดยตรงก็คือ เพชรฆาตจะลงมือฆ่าแล้วนั่นแล..แล้วให้ชีวิต ซื้อชีวิตมาได้นั้นแล นั่นมีอานิสงส์มาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ เป็นการสะเดาะเคราะห์ต่อชีวิตต่อชะตาไปในตัว..อย่างนี้ควรทำ

    ดังนั้นแล้วการให้คือเรียกว่าทาน..ต้องรู้จักก่อน ที่สุดแห่งทานคือธรรมทาน เพราะว่าธรรมทานนี้เมื่อให้กับบุคคลผู้ใดแล้ว เมื่อผู้ใดรับได้ในทานนั้นแห่งธรรมทาน..ย่อมเกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาแล้วผู้นั้นเมื่อมีสติย่อมสามารถเอาตัวรอดได้ในภัยในทุกข์ได้นั้นแล เข้าใจมั้ยจ๊ะ จึงชื่อว่าธรรมทานนั้นเป็นเลิศกว่าทานทั้งปวงนั้นเอง

    ดังนั้นการที่โยมจะหลุดพ้นได้ โยมต้องให้ทานตัวเองให้เกิดขึ้น คือให้อภัยทานให้ได้เสียก่อน ไม่ว่ากรรมอันใดที่เราทำมากรรมชั่วในอกุศล ในความลามก ในความชั่วในดวงจิตในดวงใจที่ผ่านมาแล้ว..ขอให้ลืมไปเสีย แม้มันยังจำแต่เราก็ต้องข่มอารมณ์ เอาอารมณ์แห่งกุศลนั้นแลมากดบังคับไว้ เพื่อจะสร้างกุศลให้เพิ่มขึ้นอีก เพื่อให้มันมีกำลังมาก

    อย่าลืมว่ากุศลที่มีกำลังมากย่อมมีมากกว่าอกุศลถ้ามันจะส่งผล เข้าใจมั้ยจ๊ะ หรือว่าบุญมีกำลังมากกว่าบาปนั่นเอง ถ้าเราทำในปัจจุบัน ถ้ามันไม่มีกำลังมากจริง เราจะทำบุญ..บุญนั้นย่อมไม่สำเร็จได้ ให้พิจารณาอย่างนี้ ถ้าเราทำบุญอยู่แล้วบาปเข้าแทรกไม่ได้ แสดงว่าบุญมีกำลังมากกว่าบาป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ยิ่งเรารักษากาย วาจาได้ตลอดเวลานั้นแล..คือสติ บาปแม้มันจะเกิดขึ้นมันก็ทรงตัวอยู่ไม่ได้ อุปมาตรงกันข้ามกันถ้าบาปมันมีกำลังมากเล่าจะเป็นอย่างไร..ก็ทำบุญได้ยาก พอจะสวดมนต์ก็สวดไม่จบ พอจะนั่งสมาธิภาวนา..ขันธมารก็มาเบียดเบียนบีฑา ดึงลาให้จิตกุศลเรานี้ตกทอนลง ไม่สามารถเข้าถึงกุศลในคุณงามความดีได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  13. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    AA397340-3F16-4E64-8E16-F15C3F6A7131.jpeg

    บางคนที่ประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่ที่ไม่สามารถจะออกจากนิวรณ์ได้ ขอให้โยมจงจำไว้ ให้โยมระลึกถึงความตาย บางคนระลึกถึงความตายแล้วก็ยังไม่รู้ถึงความตายว่าหน้าตามันเป็นอย่างไร..ไม่ยาก ฉันมีวิธีบอกว่าหน้าตาแห่งพญามัจจุราชนั้น..หน้าตาเป็นอย่างไร มาตอนไหน

    เมื่อโยมระลึกถึงความตายแล้วก็ยังจะช่วยโยมไม่ได้ สรรพสัตว์ในโลกนี้และสรรพสัตว์ในโลกไหนๆ เมื่อขาดสิ่งนี้ก็ไม่สามารถทนอยู่ได้ สิ่งนั้นก็คือ..ลมหายใจ เพราะมันเป็นของพญายมราช นั้นต้องทำอย่างไร หากมันมีความง่วงถึงที่สุด ให้โยมกำหนดลมอานาปานสติสุดท้าย หากจะมีอานิสงส์ให้เกิดขึ้นกับลมหายใจ..ให้ว่าพุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ แล้วอึดใจเข้าไป..นั่นแหล่ะเค้าเรียกว่า"อึดใจพระพุทธ"

    บางคนไม่เคยรู้มาก่อนว่าอึดใจพระพุทธ อึดใจพระพุทธเป็นอย่างไร ก็เราระลึกถึงลมนั้นว่าพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ..ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ..สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ แล้วกำหนดลมอานาปานสติเข้าไป..เอาให้สุดที่ลิ้นปี่ แล้วโยมกักลมไว้อย่างนั้น ดูซิว่าไอ้โทสะ ราคะ โมหะ วิจิกิจฉาทั้งหลายมันจะอยู่ได้มั้ย..

    ถ้าว่าแล้วโยมไม่หัดลองไม่หัดฝึกอึดใจพระพุทธเป็นยังไง ลองทำตาม..ว่าให้เสียงดัง..ยกพนมมือ (ลูกศิษย์พนมมือ กำหนดลมเข้าพร้อมกล่าว : พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ..ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ..สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ) เอาให้สุด คิดว่าสุดแล้วจิตตั้งมั่นแล้ว สำรวมสติตั้งอยู่ในกาย แล้ววางเฉยในลมนั้น สุดใจที่เรานั้นจะกลั้นไว้ได้ ให้ระลึกถึงพุทธัง ธัมมัง สังฆังไว้

    เรามีพระพุทธเป็นที่พึ่งเป็นสรณะ มีพระธรรมเป็นสรณะ มีพระสงฆ์เป็นสรณะ นี่คือหัวใจของพระรัตนตรัย และนี่คือหัวใจของพระพุทธ ลมหายใจของพระรัตนตรัย อึดใจพระพุทธ ถ้าลมที่มันยังเอาเข้าไปได้อีกก็เอาเข้าไปให้สุด โยมอย่าได้กลัวตาย ถ้าโยมกลัวโยมจะไม่เห็นความตาย ถ้าเราเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยลมนั้นจะอยู่ได้นานเท่านานตามที่เราปรารถนา

    เมื่อโยมเห็นลมนั้นเกิดขึ้นแล้ว..ตั้งอยู่..ดับไป เห็นความสภาวะไม่เที่ยงของลมหรือของกายก็ดี..นั้นนิโรธมันก็บังเกิด เพราะถ้าเรายังยึดกายอยู่ก็เป็นทุกข์อยู่ร่ำไป นิวรณ์ทั้งหลายก็จะครอบงำอยู่อย่างนี้ นี่แหล่ะคือสัจธรรมคือความจริงใจที่เราจะนอบน้อมเข้าถึงพระรัตนตรัย ความตายก็ดี..เราเป็นผู้กำหนด เพราะเราจะรู้ได้ว่าเราจะทนได้แค่ไหน ให้ทนให้ถึงที่สุด..สุดนั่นแลคืออึดใจพระพุทธ

    เมื่อเราระลึกถึงพระพุทธัง พระธัมมัง พระสังฆังเข้าไปแล้ว แม้จะตายเราก็มีที่หมายที่ไปเป็นสรณะ ดูซิว่าความง่วง ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความอิจฉา ความอาฆาตนั้นที่จะไปพยาบาทใครในขณะนี้มันมีหรือไม่.. หรือว่าความตายหรือความอึดอัด ความทรมานที่อยู่เบื้องหน้านี้ มันหาว่ามีประมาณมิได้ที่เราจะเอาจิตนั้นส่งออกไปภายนอกได้อีก..นี่ก็เป็นจิตสุดท้าย

    เราจะทำอย่างไรหากอาการสภาวะนี้มันเกิดขึ้น เมื่อเราจะต้องแตกสลายด้วยธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ประชุมธาตุกันไม่ได้ ถ้าโยมข้ามในเวทนาได้รูปโยมก็ดับ โยมจะนั่งประพฤติปฏิบัติธรรมยังไง ในยามราตรีใดก็ได้ ถ้าไม่ไหวให้เอามือลง ถ้ายังไหวอยู่ให้พนมมือไว้ ไปกับพระพุทธเราต้องมีดอกบัว

    นั้นจงจำไว้ก่อนที่เราจะขึ้นกรรมฐานให้เราอธิษฐานลมหายใจของพระพุทธ เมื่อเรานั้นมีนิวรณ์เข้ามาสิงสู่ ให้เราระลึกถึงหัวใจของพระพุทธ เพราะการระลึกถึงความตายเราไม่สามารถจับต้องได้ แต่เมื่อเราเข้าถึงสภาวะนี้ก็จะได้รู้ว่าความตายนั้นมันอยู่แค่ไหน มันอยู่ที่ลมหายใจที่เข้าแล้วไม่ออก ออกแล้วไม่เข้านั่นแล

    เมื่อลมหายใจโยมขัดแล้ว ไม่มีอารมณ์ใดเลยที่มันจะเข้ามาในขณะนั้น จิตโยมก็ไม่มีความกังวลใดๆ มีอยู่อย่างเดียวจิตที่มันเห็นสภาวะที่ทนได้ยาก..นั่นคือทุกข์ อ้าว..เป็นยังไงบ้าง..ยังอยู่กันหรือเปล่าจ๊ะ แล้วเป็นยังไงบ้างจ๊ะ..อึดใจพระพุทธเป็นยังไง (ลูกศิษย์ : จิตตื่นครับ) เจอพระพุทธมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เจอค่ะ) เจอพระธรรมมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เจอค่ะ) เจอพระสงฆ์มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เจอค่ะ) ถูกต้องสุดท้ายไม่มีอะไร..ใครเอาอะไรไปได้เลย นอกจากจิตที่ระลึกถึงที่ยึดเหนี่ยวครั้งสุดท้าย

    ให้โยมระลึกไว้ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ..ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ..สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ไม่ว่าลูกผัวลูกเมีย ใครอันเป็นที่รัก ในขณะจิตสุดท้าย..ไม่มีใครจะมาช่วยเราได้เลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ มีแต่ ๓ อย่างนี้เท่านั้นที่โยมควรระลึกไว้ ทำให้เป็นอาจิณ ทำให้เป็นนิสัย นั่นหมายถึงระลึกถึงแบบนี้เมื่อโยมเจริญพระกรรมฐาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    จิตเราจะได้ไม่ต้องไปสนใจใคร นั่นก็หมายถึงเราต้องตัดกังวลทุกอย่าง เมื่อเราตัดกังวลแล้ว ไม่นัดหมายแล้ว ในเวลานี้กาลนี้เป็นเวลาที่เรานั้นจะเจริญจิตภาวนา ขอเอาลมหายใจสุดท้ายนี้ กายสังขารนี้ที่มีจากบิดารมารดา ปู่ย่าตายาย ทวดหญิงชาย ขอประพฤติปฏิบัติถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ดังนั้นทุกครั้งขอให้โยมอธิษฐานจิตเช่นนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  14. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    658250BE-B24A-4F0C-8F4E-0E99AE34C837.jpeg

    การวางจิตสุดท้ายที่จะตาย..หรือเรียกว่าการเตรียมตัวตาย ถ้ามนุษย์รู้ว่าความตายนั้นไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวแล้ว จิตเรานั้นจะไม่ดิ้นรนขัดขืนต่อพญามัจจุราช นั้นการวางจิตสุดท้ายเป็นอย่างไร การเตรียมตัวที่จะทิ้งกายหรือทิ้งภาระอันยิ่งใหญ่ หรือทิ้งกองทุกข์นี้ สัมภาระที่มันเป็นบ่วงเป็นความผูกพันมาช้านาน

    ในขณะที่เราจะต้องตายก็ดี มันจะมีความผูกพันหรือเรียกว่ามีเวทนา เวทนาเมื่อมันเกิดขึ้นมันก็จะมีสัญญา สังขารที่ไปปรุงแต่งยึด ดังนั้นเมื่อจิตของผู้ที่มีการฝึกประพฤติปฏิบัติในพรหมจรรย์ ในทาน ศีล ภาวนา จิตพวกนี้มันจะหันเหไปจับเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแทน นั้นถ้าคนไม่เคยมาฝึก ไม่เคยมาอบรมบ่มจิตในพระพุทธศาสนาแล้ว จะไม่มีทางเลยที่จะถอนจิตนั้นจากวังวนแห่งวัฏฏะได้

    ดังนั้นฉันจึงบอกว่าใครก็ตามที่เอาจิตมาเกี่ยวข้องในทางบุญของทานก็ดี ศีลก็ดี ภาวนาก็ดี มาเกี่ยวข้องในพระพุทธศาสนา หรือมาเป็นผู้เกิดอยู่ในศาสนาก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีบุญทั้งนั้น เพราะว่าวันใดวันหนึ่งเมื่อเกิดทุกข์แล้ว จะเห็นคุณของศาสนา จะเห็นคุณของพระรัตนตรัย

    ดังนั้นการที่พวกโยมได้เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้มาสร้างคุณงามความดี ได้มาประพฤติปฏิบัติในทางเดินรอยแห่งมรรค แห่งทางเดินของพระพุทธองค์ท่าน คำว่ารอยแห่งมรรคนี้แลเค้าเรียกว่ามรดก หรือเรียกว่าเป็นลายแทง เมื่อเรานั้นอ่านลายแทงได้ เข้าใจในทางเดินได้ ประพฤติปฏิบัติตามด้วยจิตที่นอบน้อมแล้ว มีความศรัทธาแล้ว มีความจริงใจแล้วนั่นแล..รอยนั้นแล ปฏิปทานั้นก็จะนำออกไปสู่แห่งจิตที่เป็นอิสระ พ้นจากการตาย พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

    ดังนั้นการวางจิตสุดท้ายทำอย่างไร..มันไม่ยาก นั่นหมายถึงว่าโยมก็เคยนอนกันอยู่แล้ว หือ..โยมเคยนอนมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เคยครับ) บางคนไม่ต้องนอน นั่งอยู่ก็ยังนอนได้ คือจิตมันหลับเรียกว่าจิตมันนอน เข้าใจมั้ยจ๊ะ แท้ที่จริงจิตมันไม่ได้หลับ แต่ที่มันหลับคืออะไร..กิเลสมันหลับ เพราะอะไรเล่า ก็กิเลสมันติดอยู่ในความสบาย ติดในความเพลิน ติดอยู่ในสุข พอถึงเวลาแล้วมันก็ต้องหลับต้องพักต้องผ่อนนั่นเอง

    แต่มีอยู่อย่างว่า เมื่อจิตเราเป็นผู้กำหนดรู้ที่กายว่าเราจะทำอะไรในขณะนี้นั่นแล แสดงว่ากายเป็นผู้ถูกรู้ เมื่อกายเป็นผู้ถูกรู้แล้ว รูปและนามมันจะเกิดขึ้น เรียกว่าไปรู้ที่รูป อาศัยนามแห่งจิตนี้ แห่งความรู้สึกนี้ไปกำหนดรู้ ไอ้ตัวกำหนดรู้หรือตัวระลึกได้..ก็คือสติ ตัวสตินี้แลที่มันจะเป็นตัวพาให้จิตเรานั้นพ้นจากรากเหง้าโคลนตมของอวิชชา

    ดังนั้นการที่มีกายอยู่จึงเรียกว่ารากเหง้าโคลนตม เพราะเรายังจมอยู่กับกองมูตรของปฏิกูลเปื่อยเน่า เรียกว่าเราหลับนอนกับซากศพซากผีมาเนิ่นนาน ทำไมถึงว่าซากศพซากผี ก็ตื่นมามันจะมีกลิ่นเหม็นเน่าคละคลุ้งไปหมด แล้วก็ไปถ่ายของเสียอยู่เป็นประจำ นี่เค้าเรียกว่าซากผีซากศพ

    เช่นอาหารที่เราบริโภคไป อาหารใหม่เข้าไป..อาหารเก่าก็ยังไม่ออก อย่างนี้เรียกว่าซากศพซากผีที่นอนทับอยู่ในนั้น เรียกว่าเป็นกองคูถมูตรเน่าทั้งหลาย ดังนั้นถ้ากรรมวาจรทั้งหลายพุทธบริษัทผู้เจริญปัญญาแล้ว เห็นตามความเป็นจริงแล้วว่าในกายนี้มีแต่ของโสโครก ของปฏิกูลทั้งหลาย ของเน่าเปื่อยของเน่าเหม็น..พิจารณาให้เห็นเป็นปฏิกูลเปื่อยเน่า

    ไม่ว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็ดี เมื่อเราไม่มีความไปพอใจมัน เมื่อนั้นก็จะเห็นตามความเป็นจริง ถ้ายังมีความพอใจอยู่ มันก็ยังติดอยู่ในมูตรเน่าอยู่อย่างนั้น คือยังไม่เห็นโทษมัน ก็จะเห็นว่าสวยว่างามว่าความเพลิดเพลิน แต่เมื่อใดเราเห็นว่ามันเป็นทุกข์เป็นของปฏิกูลเน่าเปื่อยแล้ว เราก็จะมีสติตื่นรู้ขึ้นมา

    นั้นการวางจิตสุดท้ายคือดูอารมณ์สุดท้ายของจิต ฟังให้ดีนะจ๊ะ ดูอารมณ์สุดท้ายของจิต แม้เรานั่งอยู่ก็ดี นอนเจริญสมาธิอยู่ก็ดี ก็สามารถเจริญสติได้ เพราะว่าเมื่อเวลาความตายจะมาถึง เราอาจจะไม่ได้ทรงกายนั่งได้ การทรงจิตก็คือการทรงธรรม ให้รู้กำหนดรู้อารมณ์ของจิตสุดท้าย

    หากว่าจิตสุดท้ายนั้นเสวยวิบากกรรม..คือเวทนาที่ให้ผลอยู่ก็ดี ก็เอาเวทนานั้นที่เกิดขึ้นมาเป็นอารมณ์ แล้วมีสติกำหนดรู้ แล้วเพ่งอารมณ์นั้นลงไป ให้รู้ว่าอารมณ์ทั้งหลาย ทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะมีกาย เมื่อเราไปยึดกาย..เวทนาก็จะลุกลามเหมือนไฟ

    นั้นการจะตัดไฟต้องไปตัดที่ต้นแห่งกรรมของเวทนา ก็คือการถอดถอนจิตขึ้นมา ให้เอาอารมณ์นั้นเพ่งดู เมื่อเราไปละอยู่ที่กาย เพ่งโทษในกาย..ว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา กายนี้เป็นของสมมุติของชั่วคราวที่อาศัย กายนี้มันมีทุกข์ของมันอยู่อย่างนั้นแล้ว เป็นที่รังของโรค ควรแล้วหรือที่เราจะไปยึดไปพอใจ ไม่ควรทำภาระให้เกิดขึ้นกับกาย แล้วควรตัดกังวลทั้งหลาย เห็นว่าไม่ว่าใครหากเมื่อมีการเกิดและยังมีตายแล้ว..ก็ต้องพบแบบนี้

    ดังนั้นแล้วไม่ว่าใคร..บุคคลอันเป็นที่รัก ลูก เมีย ผัวทั้งหลาย สามีภรรยา..ล้วนแล้วต้องมีจุดจบอย่างนี้เมื่อวาระสุดท้ายมาถึง ก็ควรไม่ต้องห่วงใคร เพราะว่ามนุษย์นั้นก็มีกรรมเป็นของตัวเอง ดังนั้นแลต้องเป็นผู้มีสติเท่านั้นที่จะหลุดพ้นได้จากพญามาร จากเวทนาที่บีบคั้นจิต

    เมื่อมันมีเวทนาบีบคั้นจิตมาก..อกุศลมันจะเข้ามาแทนที่ ดังนั้นการภาวนาจิตนี้ การเจริญสมาธิ การเจริญสตินี้ ก็เพื่อประโยชน์อันสูงสุด..ที่เรานั้นเมื่อวาระของจิตสุดท้ายมาถึงเราจะถอดถอนจิตออกมา เพื่อวางกายนี้คืนสู่ธรรมชาติของโลก คือไม่ยึดอะไรทั้งนั้นที่จะเอาไป ให้ยึดองค์ภาวนาไว้

    ถ้าหากขณะจิตนั้น..กำลังที่จะภาวนามันไม่มี ให้เรากำหนดรู้อารมณ์จิตนั้น คือวางเฉยกับอารมณ์แห่งเวทนา คือไม่ปรุงแต่ง ให้รู้แต่เวทนานั้นที่เกิดขึ้น เมื่อรู้เวทนาที่เกิดขึ้นก็คืออารมณ์ จนเห็นอารมณ์นั้นเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..และดับไป พอไม่มีอารมณ์ไปปรุงแต่งหรือไม่มีอุปาทาน หรือไม่มีความหดหู่ คือไม่สนใจมัน มันจะเจ็บมันจะปวด มันจะมีเวทนาอย่างใด..ก็ให้วางเวทนานั้น

    วาง..อย่างไร วางจิตให้เป็นปรกติ ถ้ามันยังวางไม่ได้ก็เอาอารมณ์นั้นแลที่เกิดขึ้นของเวทนาไปละที่กาย ไปถอดถอนกายขึ้นมา อย่างที่บอก..นั้นอารมณ์แบบนี้ที่เราจะเท่าทัน ที่จะถอนจิตออกจากทุกข์ในวาระสุดท้าย ต้องฝึกให้เป็นปรกติเสียก่อน

    นั่นก็คือก่อนที่เราจะนอนให้พิจารณาละสักกายทิฏฐิ ว่ากายสังขารทั้งหลายทั้งปวงนี้ที่เราได้อาศัยอยู่นี้เป็นของชั่วคราว ไม่ใช่ของของเราหรือว่าของใครทั้งนั้น เป็นของเพียงสมมุติขึ้นมา เป็นที่อยู่ที่อาศัยให้เรานั้นประกอบคุณงามความดีเท่านั้น แล้วเพ่งโทษลงไปว่าในกายนี้..

    การเพ่งโทษในกายจะรู้ได้อย่างไรว่าโทษในกายมันมีอะไรบ้าง ก็กายนั้นเป็นที่อยู่ของโรค กายนี้เป็นของมูตรเน่าเป็นของไม่สะอาด เป็นที่ไหลเข้าไหลออกของของปฏิกูล เมื่อเราพิจารณาได้อย่างนี้ อาการแห่งการปลงของจิตมันก็เริ่มเกิดขึ้น เมื่อมันปลงได้ธรรมชาติของจิตโดยธรรมชาติมันก็จะวางอารมณ์เหล่านั้นโดยธรรมชาติของมันเอง..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  15. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    CFC0F50A-B142-4090-AB23-CCBDBA33B47B.jpeg
     
  16. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    E16BF4D3-B474-4604-8079-C35F6C47F057.jpeg

    การจะเมตตากิเลสนั้นก็เป็นสิ่งหาควรไม่ มันก็เหมือนงูพิษ..อุปมาว่ามันย่อมฉกกัดเราเข้าสักวันหนึ่ง บ้านใดเรือนใดไม่ได้ดูแลไม่ทำความสะอาด บ้านนั้นย่อมเป็นที่อยู่ของอสรพิษสิงสาราสัตว์ ใช่มั้ยจ๊ะ จิตของผู้ใดก็ดีถ้าไม่มีการเจริญภาวนาอบรมบ่มจิต ย่อมเป็นที่อยู่ของอกุศลทั้งปวง เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นโยมก็ต้องไปพิจารณาละอกุศล อกุศลกับกุศลนั้นมันอยู่ที่เดียวกัน แล้วก็เป็นตัวตัวเดียวกัน มันอยู่ที่ว่าตัวไหนจะก่อเกิดขึ้นมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่เมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วเดี๋ยวมันก็ดับ เช่นเดียวกับความสุข เวทนา หรือความทุกข์ก็ดี เมื่อเรามีความพอใจในเวทนานั้น ถามว่าเรามีทุกข์มั้ย ก็ว่าเราไม่มีทุกข์ เพราะเรามีความพอใจ สักแต่ว่าเวทนามันเป็นทุกข์ของมันอยู่แล้ว เรามีความพอใจในความเพียร สังขารร่างกายเรานั้นก็ไม่ถูกทรมาน ใช่มั้ยจ๊ะ แต่เมื่อใดเราไม่มีความพอใจแล้วนั่นแล..ทุกข์มันก็บังเกิดขึ้น แม้สิ่งที่เราทำอยู่นั้นว่าเป็นสุขก็ตาม เพราะมนุษย์มันไม่มีความพอใจในสุขนั้น เพราะมันไม่มีความพอใจนั่นแล มันจะไม่มีความพอดี

    อะไรที่มันเกินจากความพอดีแล้วเค้าเรียกว่าขาดจากศีลจากธรรม เค้าเรียกว่าศีลธรรมนั้นคุ้มกันไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นอย่าทำอะไรนอกเขตหรือมันเกินขอบเขต เมื่อเกินขอบเขตแล้วก็ต้องมีสติให้มาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะว่าขอบเขตของพระรัตนตรัย เช่นวัดวาอารามเขาก็มีขอบเขตพัทธสีมาแห่งเขตอภัยทาน ใช่มั้ยจ๊ะ อ้าว..ถ้าถ้าเกินขอบเขตไปโยมไปอวดดีทำยังไง มันเกิดอุบัติเหตุได้หรือเปล่า ใช่มั้ยจ๊ะ

    นั้นฉันถึงบอกว่าเมื่อโยมอยู่ทางโลกนั้นแล คราใดที่โยมได้ขาดจากการระลึกถึงพระรัตนตรัยนั้นแล เค้าเรียกว่าโยมนั้นได้ออกนอกเขตแห่งพัทธสีมาแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะนั้นโยมก็ต้องมีสติให้มาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ สติให้มากทำอย่างไร โยมไปที่ใด โยมเหยียบที่ใด สัมผัสที่ใด ให้แผ่เมตตาจิตให้หมด เปรียบเหมือนว่าเรานั้นได้ให้ทานให้เศษอาหารกับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ดวงวิญญาณทั้งหลาย พวกเค้าย่อมรู้คุณเราที่เป็นผู้ให้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะว่าเรานั้นมาไม่เป็นโทษเป็นภัยกับใคร เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราต้องไปสร้างเขตอภัยทานให้เกิดขึ้น เมื่อเรามีอภัยทานแล้ว เกิดความเมตตาแล้วนั่นแล เราจะไม่เป็นโทษเป็นภัย ก็เรียกว่าก็จะเกิดบุญกุศล และป้องกันภัยของเราไปในตัว เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่เมื่อโยมอยู่ในเขตพุทธาวาสพัทธสีมาแล้ว นั่นเรียกว่าคือการเจริญทาน ศีล ภาวนานั้น เรียกว่าเราอยู่ในเขตอภัยทาน

    คำว่าอภัย..เราก็ต้องอภัยให้ทั้งหมด อย่าได้มีอกุศลเกิดขึ้น อกุศลนี้แลมันจะเกิดอคติแห่งใจ เกิดความไม่ชอบใจ เกิดโทสะก็ดี เกิดโมหะก็ดี สิ่งเหล่านี้เรียกว่าเรายังไม่ได้ให้อภัยทาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อเรายังไม่มีอภัยทานแล้ว..เมตตามันจะเกิดขึ้นได้ยาก ใช่มั้ยจ๊ะ เท่ากับว่าเรายังเบียดเบียนตัวเอง รู้จักเบียดเบียนตัวเองมั้ยจ๊ะ

    ทำไมถึงเรียกเบียดเบียนตัวเอง เพราะทำให้ตัวเองยังทุกข์อยู่..เรียกเบียดเบียนมั้ยจ๊ะ เอ้อ..ถ้าเรามีสุขแล้วน่ะ เราจะแผ่บุญกุศลหรือความสุขนั้นให้กับคนอื่น ว่าสิ่งที่เรามาเจริญภาวนาจิต สวดมนต์ภาวนานี้มีความสุขอย่างไร เราก็จะแผ่เมตตาจิตให้เขา เพราะว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายได้อาศัยอำนาจแห่งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ในพระรัตนตรัยไปอุดหนุนค้ำชูทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณให้มี..อย่าให้ตกทุกข์ได้ยาก ให้พ้นทุกข์พ้นภัย แล้วแต่โอกาสในบุญกุศลที่พึงจะรับได้

    นั้นถึงได้เรียกการปฏิบัติธรรมเป็นของบังคับกันไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่อย่างน้อยโอกาสที่เราจะมาเจริญประพฤติปฏิบัติหรือฟังธรรมเป็นของที่ทำได้ยาก หรือเกิดขึ้นได้ยาก แต่การเจริญปัญญาเจริญกรรมฐานโยมอยู่ในทุกขณะใดก็ตาม เมื่อโยมมีสติรู้อยู่ในอารมณ์นั้น แล้วเห็นอารมณ์นั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปนั่นแล เรียกว่าโยมเห็นกองกรรมฐานแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ถ้าโยมเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แต่ไม่รู้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มันตั้งอยู่นานแค่ไหน แล้วดับไปตอนไหน สิ่งเหล่านี้เรียกว่าอวิชชาทั้งนั้น ที่มันยังปกคลุมอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วเมื่อเป็นอย่างนี้เราจะออกจากสิ่งนี้ได้อย่างไร เราก็จะคิดว่าสิ่งนี้แลเป็นสิ่งให้คุณกับเราคุ้มครองเรา เราก็จะพึ่งพาสิ่งนี้เป็นที่พึ่งเป็นสรณะ นี่เค้าเรียกว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิหลงผิด นั้นโยมต้องมีการดำริชอบเสียก่อน เช่นดำริออกจากกามก็ดี

    การว่าดำริออกจากกามก็หาใช่ว่า ไปพรุ่งนี้ไปหย่ากัน..อันนี้ก็ไม่ใช่ การว่าดำริออกจากกาม หมายถึงว่าการดำริออกจากความอยาก คือไปละความอยาก เรียกว่าดำริออกจากกาม จิตผู้ใดหลุดพ้นจากกามเสียแล้วไซร้ เค้าเรียกว่าเป็นจิตที่อิสระ หรือเรียกว่าหลุดพ้นแล้ว แต่ยังไม่หลุดพ้นอย่างถาวร โอกาสที่จะมาเกลือกกลั้วอีกก็มีโอกาสได้อีก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นการจะห่างไกลกับสิ่งนี้ เราก็ต้องไม่ไปหมกมุ่นกับสิ่งนั้น ใช่มั้ยจ๊ะ รู้ว่าเป็นโทษ รู้ว่าเป็นไฟ อยู่ใกล้มันเมื่อไหร่หากเราขาดสติ ไฟนั้นแลมันย่อมลนเผาเราได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นเราต้องมีการดำริออกก่อน นี่เป็นดำริแรกหรือก้าวแรกที่เราจะเดินออกจากทุกข์ หากไม่มีการดำริแล้วไซร้ ย่อมไม่มีก้าวต่อไป..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  17. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    B4966536-3E93-48FF-9EA9-57F3C4C8CC32.jpeg

    ถ้าใครมีเวลาให้สาธยายมนต์ เช้าไม่ได้ก็เย็นก็ดี เย็นไม่ได้ตอนราตรีก็ดี เวลาใดเวลาหนึ่งที่เรามีเวลาให้เทพพรหมอย่างนี้ ในขณะที่โยมสวดชั่วโมงสองชั่วโมงสองชั่วยามก็ดี..โยมก็ได้เจริญสมาธิไปสองสามชั่วยามเช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ที่ว่ารีบๆสวดมนต์แล้วอยากจะนั่งสมาธิภาวนาเนี่ยะ โยมกำลังเข้าใจผิด

    แท้ที่จริงแล้วถ้าโยมตั้งจิต มีสมาธิอยู่ในการสวดมนต์ จดจ่อในอักขระภาษาแล้วโยมเข้าใจ..ข้ออรรถข้อธรรมอะไรมันก็บังเกิดขึ้น ปัญญามันก็บังเกิดขึ้น สามารถบรรลุธรรมเช่นเดียวกัน แต่ทีนี้บางคนบอกไม่ถูกจริต ยิ่งไม่ถูกจริตโยมต้องแก้จริตตัวนั้น นั่นก็คือ"อัตตา" เราต้องแก้ความฟุ้งซ่านของจิต นั่นก็เรียกว่าศรัทธาเรายังอ่อน

    เราต้องน้อมจิตที่หยาบแข็งกระด้างของจิต น้อมจิตตั้งจิตตั้งมั่นลงไป ข่มมันลงไปให้จิตมันจดจ่อในการสวดเข้าไปมากๆ ทำให้มันชิน ไอ้ตัวความชินนี้แลคือการเจริญฌานไปในตัว ไอ้ตัวจดจ่อนี้แลคือจิตที่ตั้งมั่น เมื่อมันตั้งมั่นแล้วเดี๋ยวจิตมันสงบของมันเอง ดังนั้นอย่าคิดว่า โอ้ย..สวดมนต์แล้วมันไม่ใช่ถูกจริต แท้ที่จริงแล้วเป็นการฝึกฝนจิตไปในตัว แล้วก็เป็นทางลัดไปในตัว

    ดังนั้นแล้วไอ้อัตตาตัวนี้..ถ้าเรานั้นไปหลงกลมันเสียแล้ว มันก็เป็นอวิชชาที่บดบังอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าสำนักนั้นเค้าไม่เห็นต้องสวดมนต์ไม่เห็นต้องภาวนาอะไรมาก ดังนั้นแล้วศาสนาก็ดีธรรมก็ดีที่มันจะเสื่อมลงก็เพราะเหตุนี้ เหตุเพราะว่าไม่เข้าใจในธรรมที่จะมาบอกกล่าวจะมาสอน จะมาแนะนำมาชี้แนะมาชี้ทาง

    ก็ให้รู้ว่าอัตตาตัวตนของมนุษย์นั้นมันไม่ชอบความที่มันขัดใจในกิเลส กิเลสมันชอบแต่ความสุขความสะดวกสบาย อะไรที่ว่ามันง่ายๆแล้วนั่นแลกิเลสมันชอบ แต่อะไรที่ยากๆแล้วกิเลสนี้มันชอบขัดอยู่ตลอดเวลา นั้นโยมไม่ขัดจิตขัดใจแล้วไม่ขัดเกลา ตัวเรายังขัดตัวเราไม่ได้..แล้วใครเล่าจะมาฝึกเรา

    ดังนั้นแล้วสิ่งเหล่านี้แลขอให้กำจัดออกไปเสีย เป็นการอ่อนน้อมถ่อมตนในพระรัตนตรัยอย่างหนึ่ง ดังนั้นอย่าถือเสียว่าพอวันกรรมฐานแล้วเราถึงจะมาฝึกจิตเจริญปัญญา ก็บอกแล้วว่าเมื่อเราไม่ทำต่อเนื่องแล้ว เหมือนอาการป่วยก็ดี เมื่อเราทานยาไปแล้วไม่ทานต่อเนื่องเพราะคิดว่าหายแล้ว นานๆเราก็มารับยาทีนึง ต่อไปมันก็จะเริ่มดื้อยา พอมันเริ่มดื้อยาแล้วเป็นอย่างไร มันก็ต้องมาเริ่มใหม่อีก

    อย่างนั้นแล้วเราต้องรักษาอยู่ตลอดเวลา ก็เหมือนเราบริโภคอาหาร เราก็ต้องบริโภคมันทุกวัน เพราะความหิวมันก็เป็นโรคอย่างหนึ่ง นั้นกายสังขารมันเป็นที่รังของโรคอยู่แล้ว เราก็ต้องดูแลรักษามันอยู่ตลอดเวลา เมื่อเรามีกำลังก็เอากำลังแห่งกายนั้นแลมาเจริญความเพียร จึงเรียกว่าอาหารมื้อนั้นเป็นอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ให้โทษ แต่ถ้าอาหารมื้อไหนแล้วมันทำให้เรานั้นขาดจากศรัทธาในการประพฤติปฏิบัติ แสดงว่าอาหารมื้อนั้นเป็นโทษ มันไม่ได้ให้คุณกับเรา

    นั้นทุกครั้งที่เราบริโภคอาหารก็ดี ควรจะพิจารณาว่าอาหารมื้อนี้ที่เราบริโภคไปนี้..เพื่อยังประโยชน์ให้กับกายสังขาร เพื่อยังความหิวนั้นไม่ให้เกิดขึ้น ระงับในความหิว เพื่อยังประโยชน์ให้พรหมจรรย์ก็ดีเหล่านี้ อาหารมื้อนั้นมันก็จะไม่เป็นโทษ

    เมื่อไม่เป็นโทษเสียแล้วนี้ เมื่อเราแผ่เมตตาจิตออกไปให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เราได้บริโภคแล้ว อาหารมื้อนั้นแลมันก็เป็นอาหารที่บริสุทธิ์สะอาด ทำประโยชน์ให้กับกายสังขาร

    ดังนั้นบุคคลที่เป็นโรคภัยก็ดีเกิดจากการบริโภคอาหารทั้งนั้น เกิดจากแรงกรรมแรงวิบากกรรมที่เรานั้นไม่อโหสิกรรม ไม่แผ่เมตตาจิตอย่างนี้ เมื่อไม่แผ่เมตตาจิตแล้ว มีแต่ความอยากความเพลิดเพลินในการบริโภค มันก็จะเป็นโทษ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  18. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    425F8EC7-9323-47AD-84E5-B9B401BD835D.jpeg

    ไม่ว่าบุญใดวาระใดที่เกิดขึ้นก็ดี ที่สำคัญฉันอยากให้โยมนั้นได้เข้าถึงในธรรม เข้าถึงความเพียร เข้าถึงความดีนั้นเอง

    ความดีเมื่อเราเข้าถึงแล้ว เรามาพูดถึงความดีจริงๆ เมื่อเข้าถึงแล้วเป็นอย่างไร ความดีถ้ามันเข้าถึงที่สุดแล้ว แม้มันจะมีอะไรมาบั่นทอนก็ดี..แต่ความดีนั้นมันก็ยังคงอยู๋ เมื่อโยมระลึกถึง..มันก็จะให้ผล คอยหนุนนำให้จิตโยมหรือชีวิตโยมนั้นไม่ตกต่ำ นั่นเค้าเรียกว่าเข้าถึงความดีจริงๆ

    เข้าถึงความดีจริงๆเป็นอย่างไร เข้าถึงศีล เข้าถึงทาน เข้าถึงการภาวนาจิต นั่นคือการเจริญมีสติตั้งมั่น มีความเชื่อความศรัทธาในพระรัตนตรัย นั้นทุกครั้งที่โยมจะสร้างบุญสร้างกุศล..ถ้าโยมไม่เข้าถึง ๓ สิ่งนี้ บุญทานที่โยมทำไปแม้มันจะมีกำลังก็ดี แต่มันมีกำลังไม่มาก เมื่อมีกำลังไม่มากแล้ว มันจะตามส่งผลให้โยมนั้นอยู่ตลอดเวลาไม่ได้ เพราะโยมจะไม่ระลึกถึงบุญนั้นกุศลนั้น..

    แต่ถ้าโยมเข้าถึงในบุญกุศลอย่างแท้จริง โยมจะมีสติระลึกอยู่ตลอดเวลา มีความละอายมีหิริโอตัปปะ มีความเกรงกลัวยับยั้งชั่งใจในการกระทำใดๆก็ตาม ที่จะทำให้เรานั้นเดือดร้อนหรือบุคคลอื่นเค้าเดือดร้อนนั่นเอง..

    นั้นก็อยากให้เห็นความสำคัญว่าทุกครั้งเมื่อมีโอกาสได้มาเจริญความดีแล้ว ขอให้โยมตักตวงให้มาก เหมือนน้ำขึ้นให้รีบตัก..ตักเอาไว้เผื่อว่าในยามแล้งก็ดี ในยามเราไม่มีก็ดี มันยังเอามาชดใช้มาชดเชย ไม่ให้เรานั้นลำบากในภายภาคหน้า..นั้นบุญมันจึงสำคัญ

    เมื่อเราสร้างบุญไว้มาก..อุปสรรคนั้นม้นก็น้อย บุญเราน้อย..อุปสรรคก็มากก็เป็นของธรรมดา นั้นชื่อว่า"บุญ"มันเป็นอย่างไร เมื่อมันเป็นความสุข ระลึกเมื่อใดจิตเราก็มีความสุขผ่องใส "ความทุกข์"เป็นอย่างไร เมื่อระลึกแล้วมีความอิจฉามีความพยาบาทก็ดี มีความอยากได้มีความโลภก็ดีเหล่านี้ ทำให้จิตใจเราเร่าร้อน นั่นเรียกว่าความทุกข์ท้้งนั้น จึงน้อมไปในทางที่ทำให้เสื่อม

    แต่ความสุขก็ดี..คือบุญก็ดี เมื่อกระทำมากๆแล้ว มันจะทำให้เรามีแต่ความเจริญ เข้าถึงความเชื่อความศรัทธาในพระรัตนตรัย จนเรานั้นไม่กล้าคิดก็ดี ทำก็ดีในความชั่วใดๆอีก เข้าใจอย่างนี้มั้ยจ๊ะ

    แต่ถ้าเรายังมีความคิดช้่วกระทำชั่วอยู่..แต่เรายังมีสติ คือมีการยับยั้งชั่งใจ..นี่แลเค้าเรียกว่าจิตเราเป็นเทวดา เมื่อจิตเราเข้าถึงเมตตาอุเบกขา..เรียกว่าจิตเราเข้าถึงความเป็นพรหม มันไม่ต้องให้ตายแล้วไปเกิด เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันสามารถเป็นได้ในขณะที่เรามีกายเป็นมนุษย์นี้แล เพราะเราจะเป็นสัมมาพุทธะอะไรก็ดี เป็นพรหม เป็นพระปัจเจกก็ดี เป็นพระอรหันต์เจ้าก็ดี เป็นอนาคามีก็ดี เป็นโสดาบันก็ดี ต้องเกิดจากกายมนุษย์ก่อน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นเมื่อเรามีกายที่วิเศษแล้ว เราควรใช้ประโยชน์ให้มาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ แสดงว่าการที่เราจะสำเร็จธรรมมันอยู่ที่ใจที่เป็นประธาน ถ้าโยมฝึกที่ใจละที่ใจ..จิตโยมก็บริสุทธิ์ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ว่ากายสังขารนี้มันเป็นขันธมาร คือมันต้องต่อสู้กันเป็นของธรรมดา เหมือนอารมณ์แห่งนิวรณ์เป็นข้าศึกแห่งสมาธิ ไอ้กามคุณ ๕ มันเป็นข้าศึกของใจ นั่นก็เป็นของธรรมดา มันรบราฆ่าฟันกันมาเนิ่นนาน มันไม่มีการผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะเลย มีแต่ว่าเรานั้นเพลี่ยงพล้ำต่อของมันอยู่ตลอดเวลา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    จนจิตนั้นแลที่เข้าถึงกระแสพระรัตนตรัยได้นั้นแล เราถึงมีกำลังที่จะไปต่อสู้ ให้เรามีศีลที่องอาจคือความกล้าหาญ มีขันติแห่งธรรมที่จะประหัตประหารเหยียบย่ำกิเลสตัณหาทั้งหลายนี้ ให้มันราบคาบออกไป..

    ดังนั้นทุกครั้งที่โยมได้มาเจริญบุญเจริญกุศล เจริญพระกรรมฐานเจริญจิตภาวนาก็ดี วาระใดก็ดี แสดงว่าวาระนั้นสำคัญมาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ เป็นวาระที่เกิดแก่เจ็บตาย โลกธาตุมันก็เปิด ดวงจิตวิญญาณทั้งหลาย เทพเทวดาทั้งหลายเค้าได้มาโมทนา มาคอยรับบุญกุศลกับโยม เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นอย่าได้เห็นว่าคุณค่าอย่างนี้มันไม่สำคัญ..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  19. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    9D0B8D0F-666D-4447-8395-C0F9E42E26BB.jpeg
     
  20. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    24326C09-740E-43AA-9A3B-2FB850AC7788.jpeg

    คนที่เข้าถึงกระแสพระโสดาบันได้..จิตจะเป็นอย่างไร อาการของจิตนั้นจะหาความเศร้าหมองก็ได้ยาก จะหมดห่วงในทางโลกนั่นเอง เห็นว่าทุกสรรพสิ่งทุกดวงจิตก็ดีที่เกิดมาแล้ว..ล้วนมีวิบากกรรมเป็นของของตน

    หากเราอนุเคราะห์แล้วช่วยเหลือแล้วเท่าที่เราทำได้แล้วนั่นแล..ก็ควรจะปล่อยวาง แม้ว่ามีการพลัดพรากอย่างนี้ ไม่มีเราเค้าก็ต้องพลัดพราก แม้เรายังอยู่เค้าก็ต้องตายอยู่ดี นั้นกระแสของพระโสดาบันคือจะปล่อยวาง ตัดกังวล มีความเชื่อศรัทธาในทางเดินแห่งมรรค

    นั้นในขณะนี้เรียกว่าเราเดินโสดาปัตติมรรค ก็เรียกว่าเรายังเดินอยู่ ประพฤติอยู่ กระทำอยู่ ระลึกอยู่ก็ดี ผลมันเกิดบ้างไม่เกิดบ้าง รู้รสบ้างไม่รู้รสบ้าง ถ้าเราสิ้นสงสัยแล้วนั่นแลเค้าเรียกว่าเราเข้าถึงรสแล้ว

    คนที่เข้าถึงรสแล้วจะไม่ถาม จะไม่ข้องไม่สงสัยในพระพุทธ ในพระธรรม พระสงฆ์ แล้วจะไม่กล้าทำความชั่วอีกต่อไปนั่นเอง เมื่อมันเป็นอย่างนี้แม้ความคิดก็ดี เมื่อมันเกิดในอกุศลจิตเกิดขึ้น ก็จะกำหนดรู้และดับมันลงด้วยการวางเฉย แล้วแผ่เมตตาและให้อภัยอย่างนี้..

    นั้นความกลัวความชั่วแห่งความคิดก็ดีในอกุศล มันเป็นของธรรมดาถ้ายังมีกายสังขารอยู่ ถ้าเรายังไม่ได้บรรลุธรรมขั้นสูง เราเป็นแค่กระแส..คำว่ากระแสนี้ เค้าเรียกว่าเป็นการเพิ่งรับเข้าถึง..แต่ยังไม่เต็มขั้นเต็มภูมิในธรรม

    ถ้าเต็มภูมิเต็มธรรมแล้วเป็นอย่างไร เราจะหันหลังให้โลกแต่ไม่ได้หนีโลก การหันหลังให้โลกเป็นอย่างไร คือไม่สนใจโลก ไม่ยึดโลกแต่ไม่ได้หนีโลก ยังอยู่กับโลก คือเรียกเป็นผู้เท่าทันโลก เมื่อเป็นผู้เท่าทันโลกแล้วก็เป็นผู้ไม่ติดโรค เมื่อไม่เผู้ไม่ติดโรคแล้วก็ไม่ต้องรักษา อย่างนี้ก็แค่รักษาอยู่ที่แค่กาย วาจา ใจ คือรักษาใจอย่างเดียว

    อันว่ากายนั้นไม่ต้องรักษาแล้ว เพราะกายมันน้อมไปแต่ความเสื่อม ดังนั้นขอให้โยมเข้าใจในทางเดินของพระโสดาบันเป็นอย่างไร เมื่อจิตเรายังข้องเกี่ยวในผู้เป็นที่ระหว่างเพศ หรือยังมีความพอใจมักชอบอยู่ จะเป็นสตรีหรือบุรุษก็ดี นั่นก็เรียกว่าเรายังกำลังเดินอยู่ประพฤติอยู่..ยังไม่ได้เข้าถึง ยังไม่ได้เกิดผลของกระแสพระโสดาบัน มันจึงเป็นธรรมดาที่เรายังมีความชอบ ความพอใจ ความหลง เค้าเรียกว่าอินทรีย์เรายังมีความอ่อนอยู่บ้าง

    แต่เมื่อเราปฏิบัติเข้าถึงทุกข์แล้วในคู่แล้วก็ดี เห็นชัดได้ว่าที่ใดมีรักนั้น..ที่นั่นย่อมมีทุกข์เป็นของธรรมดา อันว่าของธรรมดาถ้ามนุษย์ทั้งหลายยอมรับมันได้ นั่นแลเค้าเรียกว่าความชินของธรรมชาติ ถ้ายอมรับไม่ได้ก็ย่อมต้องแสวงหาอีกต่อไปเป็นของธรรมดาเช่นเดียวกัน

    แต่ถ้าว่ายอมรับตามความเป็นจริงของธรรมชาติ..ผู้นั้นจะเห็นทุกข์เห็นธรรม แล้วจะวางอารมณ์นั้นได้ เมื่อวางมันได้อยู่บ่อยๆเค้าเรียกว่าเป็นผู้ที่ดับที่ใจ เป็นผู้เจริญนิโรธไปในตัว

    ดังนั้นเมื่อบุคคลผู้นี้เมื่อประพฤติปฏิบัติธรรมก็เอาวาระแห่งกรรมนั้นที่เคยประสบมา..มาพิจารณา มาหนุนนำให้เกิดภาวะแห่งธรรมนั้นให้เข้าถึงกระแส เมื่อเป็นอย่างนี้ผู้นั้นเค้าเรียกว่าเป็นเนื้อนาบุญของศาสนาอย่างหนึ่ง

    นั้นบุคคลไม่ว่าใครเป็นบุรุษหรือสตรีก็ดี เมื่อพวกโยมเกิดขึ้นมาแล้วก็ขอให้โยมมีความจริงจัง หนักแน่นในการประพฤติปฏิบัติ กรรมฐานนี้เป็นวิชชาเป็นสิ่งลี้ลับที่เราต้องค้นหาด้วยจิตในกายของตน แสดงว่าเมื่อเรามีกรรมฐานแล้วก็เท่ากับมีวิชชา ผู้ใดมีกรรมฐาน..แม้ผู้นั้นจะมีทุกข์มีภัยเพียงใด ผู้นั้นจะเห็นทางออกอยู่เสมอ นั่นเค้าเรียกว่ามีสติอยู่ตลอด

    เมื่อครั้นเกิดภัยเกิดทุกข์ขึ้นมา ไม่ว่าโยมจะอยู่เรือนอยู่ที่ใดก็ตาม ก็สามารถประพฤติปฏิบัติอบรมบ่มจิตได้ในทาน ศีล ภาวนา แม้ไม่มีหิ้งพระบูชาองค์พระปฏิมากร เมื่อจิตเมื่อใจเราเข้าถึงความสงบ เข้าถึงพุทโธเป็นผู้รู้แล้วในขณะนี้ เราจะทำอะไรจิตเราตื่นแล้วในอกุศล ในอวิชชาทั้งหลาย จิตเราเป็นผู้เบิกบานแจ่มใส มีความพอใจมีปิติและสุขในการเจริญภาวนาแล้ว นั้นเรียกว่าเรานั้นอยู่ต่อหน้าพระพักตร์องค์พระปฏิมากร เท่ากับว่าเราจะได้อยู่ในโบสถ์ในวิหาร อยู่ในเขตพุทธาวาสอย่างนี้ เป็นเขตอภัยทาน จิตนั้นย่อมไม่มีความอาฆาตพยาบาท ก็เรียกว่าศีลก็บังเกิด..

    ศีลบังเกิดอย่างนี้ในขณะนั้นเมื่อจิตเราจะแผ่เมตตาแผ่กุศลให้กับดวงจิตวิญญาณเหล่าใดก็ดี กระแสแห่งบุญนี้ย่อมมาถึงในดวงจิตในดวงวิญญาณนั้นได้ ได้เต็มกำลังเต็มภูมิของมัน ดังนั้นนักปฏิบัติก็ควรเจริญเมตตาอยู่บ่อยๆ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...