ถ้าเกิดอาการอยากตายบ่อยๆ เบื่อหน่ายในชีวิต ควรจะทำยังไงดีคะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Phyrro, 5 ตุลาคม 2020.

  1. Phyrro

    Phyrro Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +83
    1.คือ เห็นว่าร่างกาย จะเสื่อมสลายอยู่ดี ตายอยู่ดี ตายช้าตายเร็วไม่ต่างกัน
    2. เราไม่รู้ข้างหน้า รู้แต่แค่ว่าต้องตาย อยู่ต่อก็กลัวจะเป็นภาระคนอื่น
    3. ชีวิตแสวงหา ปัจจัยมาได้ก็มีแต่ทุกข์ ซื้อบ้านมา ซื้อรถ ซื้อข้าว ท้ายสุดก็คือธุลี เลยไม่รู้่จะแสวงหาไปทำไม ไม่มีคนข้างหน้า และไม่มีคนข้างหลัง บริจาคร่างกายไว้แล้ว
    4. ชีวิตไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความว่างเปล่า
    5. จะไปบวชชี ก็กังขา สงสัย ในหลายเรื่อง จะติดบาปเปล่าๆ เชื่อแค่ว่า เราต้องตาย ไม่วันนี้ ก็พรุ่งนี้
    6. ไม่ได้อยากรู้ว่าตายแล้วไปไหน ก็เลวในระดับนึง แต่อยากรู้ว่าจะตายเมื่อไร แบบไม่เดือดร้อนคนอื่น
    สั่งโลง ไว้ให้ตัวเองแล้ว
    7. ที่ยังไม่ได้ตายเพราะมีคนสั่งไว้ว่า ถ้าตายจะทำให้เขารู้สึกผิด ไม่อยากผูกเวรกัน
    คำถามคือ
    8 คุณนพกานต์ ช่วยทีได้ไหมคะ ไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น เป็นแบบนี้มาพักใหญ่ๆแล้ว
    เป้นกรรมที่เราต้องมาฆ่าตัวตายซ้ำๆ 500 ชาติแล้วยังไม่หมดหรือเปล่าคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2020
  2. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    ถ้าเกิดอาการอยากตายบ่อยๆ เบื่อหน่ายในชีวิต ควรจะทำยังไงดีคะ

    หากเป็นเบื่อหน่ายในชีวิตแบบมี
    เศร้าสร้อย หดหู่ ก็เจริญตามนี้ครับ


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    [​IMG]
    อัคคิสูตร
    เจริญโพชฌงค์ตามกาล


    [๕๖๘] ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมาก เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต
    ยังพระนครสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตรข้อ ๕๔๗-๕๕๐) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถาม
    อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่า
    ไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน? สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ
    โพชฌงค์เหล่าไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน? พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอ
    ทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
    เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อม
    ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะ
    ยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจาก
    ตถาคต หรือจากสาวกของตถาคตนั้น.

    [๕๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิ
    สัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่
    หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุก
    โพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะ
    สามารถก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
    ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
    พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.

    [๕๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมม-
    *วิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้น
    เพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือน
    บุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า
    และไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น บุรุษนั้นสามารถจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
    ภิ. ได้ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อเจริญ
    ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น.

    [๕๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ
    ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อ
    นั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
    เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และ
    ไม่โรยฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นสามารถจะดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอ?
    ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
    พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
    ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.

    [๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญ
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
    เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่น
    ลงในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้นได้หรือหนอ?
    ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.
    พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อ
    เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขา
    สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรม
    เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.


    ที่มา https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=3277&Z=3327

    1/2/3 สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา

    4. มีสุข มีทุกข์ มีเฉย มีสภาพเป็นไตรลักษณ์

    5. ศรัทธานำไปสู่ความเพียรได้ ความเพียรทำให้ก้าวล่วงพ้นจากความตายได้
    พระมหาชนก เป็นแบบอย่างในเรื่องนี้ได้ดีมากครับในเรื่องความเพียร

    6. รู้ในแบบคร่าวๆในตอนมีชีวิตอยู่ก็คือรู้ว่าเราหลับไปเมื่อไหร่
    หลับอยู่ก็รู้ว่าหลับ ฝันอยู่ก็รู้ว่าฝัน

    7. รู้สึกผิดมันใช้ได้กับคนที่ทำให้เราต้องตายแล้วมาเกิดหิริโอตัปปะในภายหลัง
    หากเขาไม่ได้เป็นคนฆ่าเราก็กระตุ้นแค่ วิภวตัณหา แค่นั้น
    คือไม่ได้ปราถนา/ไม่ได้อยาก ให้ตาย
    การเกิดวิภวตัณหาก็ไม่ได้ถึงขั้นผูกเวรบลาๆๆ
    การผลักไสมันเป็นเพียงสภาพไม่ยอมรับความจริง
    เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงจนยอมรับสภาพตามความเป็นจริง
    วิภวตัณหา ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...