มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองนะครับ
     
  2. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,215
    กระทู้เรื่องเด่น:
    252
    ค่าพลัง:
    +23,820
    พี่ @Somchai 2510 ดูแลสุขภาพนะครับพี่ _/\_

    ผมกดติดตามและอ่านกระทู้ของพี่ @Somchai 2510 ในห้องพระเครื่องและวัตถุมงคลอย่างต่อเนื่องนะครับ … คือกระทู้ของพี่นี่เป็นอีกกระทู้หนึ่งในดวงใจในห้องพระเครื่องและวัตถุมงคล ที่ผมตามมาตลอดนะครับ แต่ผมมักจะจองไม่ค่อยทันพี่ๆเสือปืนไวที่เป็นเซียนในห้องนี้ท่านอื่นๆเลยครับ (^_^)


    ขอให้พี่ @Somchai 2510 และครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง สุขสมหวังดังตั้งใจทุกประการ มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นทั้งในทางโลกและทางธรรมครับ… บุญรักษาครับพี่ (^__^)


    ปล. ผมอยากให้พี่ @Somchai 2510 ลองพิจารณารับประทานสมุนไพร "หนานเฉาเหว่ย" ร่วมด้วยควบคู่กันกับรับประทานยาแผนปัจจุบันดูนะครับ… คุณแม่ผมทานแล้วดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนครับ _/|\_
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125

    723907.gif
    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผมขอขอบคุณเพื่อนสมาชิก rachotp มากครับที่ติดตามกระทู้ของผม เเละมีนํ้าใจเเนะนำยาดีเเก้โรคเบาหวานให้ผม ผมจะจดชื่อยาไว้เเละจะหามาทานครับผม ขอบคุณเป็นอย่างสูงครับผม เช่นกันขอคุณจงเจริญในธรรมครับ
     
  4. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    >>>>>ช่วงบ่ายวันนี้ผมได้จัดส่งวัตถุมงคลให้เพื่อนสมาชิก 3 ท่านครับ เลขที่จัดส่ง ems ตามใบฝอย (วันพุธจะได้รับครับผม SAM_8926.JPG
     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 686 เหรียญรุ่นเมตตา 77 ปีหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่ชอบเป็นศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น เหรียญสร้างปี 2520 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มีตอกโค๊ตข้างไหล่ซ้ายหน้าเหรียญ มีพระเกศาเเละพระธาตุหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ************บูชาที่ 445 บาทฟรีส่งems #ประวัติหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย
    อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลยเลย


    "พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญา"

    2-png-png.png

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญาญาณ คือ ผู้ทรงความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนา มีคุณสมบัติพิเศษ ๖ อย่าง . อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

    ท่านมีนิสัยชอบโดดเดี่ยวเที่ยวไปอยู่ในป่า ทำในสิ่งที่บุคคลอื่นทำได้ยาก ไม่ชอบเกี่ยวข้องกับหมู่ชนพระเณร เป็นผู้มีความองอาจเด็ดเดี่ยว อดทนเป็นเลิศ ไม่กลัวความทุกข์ยากลำบาก เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย กล้าได้กล้าเสียในการปราบกิเลส ถึงกับท่านพระอาจารย์มั่นออกปากชมท่ามกลางสภาสงฆ์ "ให้ทุกองค์ภาวนาให้ได้เหมือนท่านชอบสิ ท่านองค์นี้ภาวนาไปไกลลิบเลย"

    ท่านสามารถแสดงธรรมและสนทนาธรรมเป็นภาษาต่างๆ ได้หมด เพียงกำหนดจิตดูว่าภาษานั้นเขาใช้พูดกันว่าอย่างไร ท่านสามารถแสดงธรรมโปรดเทวดา พญานาค ตลอดจนภพภูมิต่างๆ ได้

    การธุดงค์ของท่านนับว่าโลดโผนมาก ชอบเดินทางในเวลากลางคืนหรือจวนสว่างในคืนเดือนหงาย เที่ยวไปอบ่างอนาคาริกมุนีผู้ไม่มีอาลัยในโลกทั้งปวง บางคราวมีเสือลายพาดกลอนตัวใหญ่สองตัวกระโดล้อมหน้าล้อมหลังเอาไว้ ท่านเร่งสติสมาธิ แผ่เมตตา กำหนดจิตเข้าข้างใน สมาธิลึกเข้าไปจนถึงฐานของจิต ปล่อยวางสิ่งทั้งปวง เมื่อถอนจิตออกมาปรากฏว่าเสือสองตัวได้หายไปแล้ว

    ครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปทางอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง เข้าไปหมู่บ้านกะเหรี่ยงกลางหุบเขาเพื่อโปรดพี่ชายของท่านในอดีตชาติที่รักกันมาก ท่านระลึกชาติได้ว่า เคยเกิดเป็นชาวกะเหรี่ยงที่ประเทศพม่า มีพี่ชายคนหนึ่ง บัดนี้เขาได้มาเกิดเป็นชาวกะเหรี่ยง ชื่อว่า "เสาร์" อยู่ที่ตำบลป่ายาง บ้านผาแด่น อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยจิตเมตตาท่านจึงเดินทางไปโปรดดึงเขาเข้าสู่ทางธรรม และต่อมานายเสาร์ก็ได้บวชเป็นพระติดตามท่านจนตลอดชีวิต

    1-1-png-png.png

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    ท่านเล่าว่าในบางคราวหลงอยู่ในกลางป่าเป็นเวลาหลายๆ วัน ท่านเป็นที่เคารพรักของเหล่าเทพยดา เดินทางจากประเทศพม่าจะเข้าสู่ไทย หลงป่าเจียนตายเพราะความหิว เทวดาได้นำอาหารทิพย์มาใส่บาตร อาหารนั้นมีรสอร่อยส่งกลิ่นหอม หายเมื่อยหายหิวไปหายหิวไปหลายวัน

    ท่านทำสมาธิทั้งกลางวันกลางคืน บางคราวพายุฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก ท่านต้องนั่งกอดบาตรเอาไว้จนสว่าง ท่านพบวิมุตติบรรลุธรรมขั้นสูงสุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ พรรษาที่ ๒๐ อายุ ๔๓ ปี ที่ถ้ำบ้านหนองยวน ประเทศพม่า

    ในระยะที่ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นนั่น ท่านได้รับความไว้วางใจและมอบหมาย ให้ช่วยดูแลพระเณรที่คิดอะไรนอกลู่นอกทาง ไม่ถูกต้องตามครรลองของผู้ทรงศีลธรรมท่านก็จะตักเตือน เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นว่าท่านมีความรู้ภายในว่องไวไม่แพ้หลวงปู่มั่น พระเณรทั้งหลายจึงเกรงกลัวท่านมาก และท่านก็ยังสามารถระลึกชติ รู้อดีตชาติของท่านเองว่าเคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง เช่น เคยเกิดเป็นพระภิกษุรักษาศีลอยู่กับพระอนุรุทธะ เคยเป็นสามเณรน้อยลูกศิษย์พระมาหกัสสปะ เคยเกิดเป็นท้าวมหาพรหมในพรหมโลก และเป็นสัตว์หลายชนิดอีกด้วย หลวงปู่ชอบท่านบำเพ็ญภาวนาอยู่ตามป่าตามเขา ส่วนมากทางภาคเหนือหลายพื้นที่รวมถึงประเทศพม่าด้วย

    3-png-png.png

    ในหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    ทรงนมัสการหลวงปู่ชอบ

    ท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายมอ และนางพิลา แก้วสุวรรณ

    บวชสามเณรเมื่ออายุ ๑๙ ปี ณ วัดบ้านนาแก ตำบลบ้านนากลาง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นสามเณรอยู่ถึง ๔ ปีกว่า และได้อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ณ วัดศรีธรรมาราม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมี พระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    4-png-png.png
    รูปเหมือนหลวงปู่ชอบ
    ท่านได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ณ เสนาสนะป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม หลวงปู่มั่นได้ให่โอวาทสั้นๆ ว่า "ท่านเคยภาวนามาอย่างไรก็ให้ทำต่อไปเช่นนั้น อย่าได้หยุด ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้นั้นมันอยู่ที่ใจเรานี่แหละ ถ้าอยากรู้อยากเห็นธรรมเหล่านั้น ก็ให้ค้นหาเอาที่ใจของท่านเอง"

    ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ขณะท่องเที่ยวธุดงค์อยู่ทางภาคเหนือ สหธรรมิกคือหลวงปู่ขาว อนาลโย ชวนท่านกลับมาอีสาน ท่านจึงได้มาจำพรรษาที่ป่าช้าหินโง้น ปัจจุบันคือ วัดป่าโคกมน

    ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ มีชาวบ้านถวายที่สร้างวัดกว่าร้อยไร่ ท่านจึงได้รับสร้างเป็นวัดขึ้นมา ปัจจุบันคือ วัดป่าสัมมานุสรณ์ ท่านได้อยู่จำพรรษาที่นี่เรื่อยมาจวบจนวาระสุดท้ายของท่าน

    5-png-png.png
    อัฐิและพระธาตุของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ อายุ ๗๐ ปี ท่านป่วยเป็นอัมพาต

    ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าสัมมานุุสรณ์ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สิริรวมอายุได้ ๙๓ ปี ๑๑ เดือน ๒๗ วัน ๗๐ พรรษา SAM_8934.JPG SAM_8933.JPG SAM_8932.JPG SAM_8010.JPG
     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 687 เหรียญระฆังหลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป พระอรหันต์เจ้าวัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร หลวงปู่ผ่านเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย องค์พระสร้างปี 2552 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 87 ปี เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มีตอกโค๊ต ผ ด้านล่างข้างขวาหน้าเหรียญ องค์นี้เลี่ยมกันนํ้าอย่างดี มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ ***********บูชาที่ 445 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป

    1574-8459-jpg.jpg
    วัดป่าปทีปปุญญาราม
    ต.เซือม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร


    ๏ อัตโนประวัติ

    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป มีนามเดิมว่า ผ่าน หัตถสาร เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ ณ ณ บ้านเซือม ตำบลโพนแพง อำเภอวานานิวาส (ปัจจุบันเป็น บ้านเซือม ตำบลเซือม อำเภออากาศอำนวย) จังหวัดสกลนคร ตอนที่โยมมารดาได้ตั้งท้องหลวงปู่นั้น โยมมารดาได้ฝันว่าได้มีคนเอามีดด้ามงามมาให้ แล้วโยมมารดาก็ได้เอาไปซ่อนเพราะกลัวว่าจะมีคนมาเห็น ครั้นเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ปรากฏว่าท่านเป็นเด็กที่เลี้ยงยากมากและร้องไห้ เก่ง โยมมารดาจึงได้พาหลวงปู่ไปให้พระท่านผูกสายสิญจน์ที่ข้อมือให้ จึงได้เลี้ยงง่ายขึ้น ด้วยความที่หลวงปู่เป็นบุตรคนหัวปี ญาติพี่น้องเห็นก็พากันรักใคร่ ผลัดกันเอาไปเลี้ยง ผลัดกันเอาไปอุ้ม หลวงปู่ท่านจึงมีแม่หลายคน เพราะมีคนเอาไปเลี้ยงหลายคน

    โยมบิดาชื่อ ด่าง หัตถสาร โยมมารดาขื่อ จันทร์เพ็ง หัตถสาร ต่อมาภายหลังโยมมารดาของท่านได้บวชเป็นแม่ชีจนกระทั่งได้ถึงแก่กรรม ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๓ คน มีชื่อเรียงลำดับดังนี้

    (๑) หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    (๒) นายบาน หัตถสาร
    (๓) นายบัว หัตถสาร
    (๔) นายบาง หัตถสาร
    (๕) นายคำใบ หัตถสาร
    (๖) นายบุญไทย หัตถสาร
    (๗) นางไสว หัตถสาร
    (๘) นายสีใคร หัตถสาร
    (๙) นางไสแก้ว หัตถสาร
    (๑๐) นางสม หัตถสาร
    (๑๑) นายคำกรม หัตถสาร
    (๑๒) นายอุดม หัตถสาร
    (๑๓) นายนิยม หัตถสาร

    เมื่อ หลวงปู่โตขึ้นก็ได้ช่วยโยมบิดา-มารดาทำไร่ทำนาทำมาหากินตามปกติ หลวงปู่นั้นมีนิสัยเป็นคนเฉยๆ ไม่เป่าปี่ สีซอ เป่าแคนอย่างคนอื่น ไม่เคยเต้นรำวง ไม่กินเหล้าเมาสุรา หลวงปู่ท่านได้เข้าโรงเรียนเมื่ออายุ ๑๐ ขวบ แต่เรียนยังไม่ทันจบ พอดีโยมพ่อเฒ่าสุขตาย ตามประเพณีทางอีสานลูกหลานนิยมบวชให้เพื่อจูงศพเข้าป่าช้า หลวงปู่จึงได้บวชเป็นสามเณรให้โยมพ่อเฒ่าสุข บวชอยู่ประมาณ ๑ เดือนจึงได้ลาสิกขา


    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ อายุ ๑๕ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดทุ่ง ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร โดยมี พระครูวิรุฬห์นวกิจ (ผาง ฐิตสัทโธ) เป็นพระอุปัชฌาย์

    จน กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๒ ญาติพี่น้องได้เดินทางมาจากบ้านหนองศาลา อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร หลวงปู่จึงได้ติดตามญาติพี่น้องไปอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านเชียงเครือ ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านหนองศาลา ครั้นต่อมาหลวงปู่ได้เล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรม โดยมีพระภิกษุอน ซึ่งเป็นญาติของท่านเป็นผู้สอน จากนั้นจึงได้ไปสอบที่วัดธาตุศาสดาราม (ปัจจุบันคือวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร) ปรากฎว่าสอบผ่านนักธรรมชั้นตรี แล้วกลับไปอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยตามเดิม หลวงปู่ได้อยู่ที่วัดโพธิ์ชัยอยู่หลายเดือน และก็ได้เดินทางมาอยู่ที่วัดศรีบุญชู บ้านเซือม

    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เพื่อนที่บวชด้วยกันชวนท่านสึก ท่านได้ปฏิเสธ แต่เพื่อนบอกให้สึกด้วยกัน ท่านจึงจำใจสึกออกมาช่วยงานโยมบิดา-มารดาอยู่ถึง ๒ ปี

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พ่อใหญ่ป้อง เศรษฐาไชย เป็นพ่อเลี้ยงของหลวงปู่ได้ตายลง ญาติพี่น้องจะทำบุญอุทิศให้ตามประเพณี เมื่อทำบุญอุทิศให้ผู้ตายมักนิยมเรียกกันว่า “กองอัฎฐะ” หรือ “กองบุญ” ถ้าหากมีคนบวชในงานนี้ด้วยจะเรียกว่า “กองบวช” เนื่องทางลูกชายของพ่อใหญ่ป้องไม่สามารถบวชให้พ่อได้ ญาติพี่น้องจึงมาขอให้หลวงปู่ให้บวชพระในครั้งนี้ พอดีวันนั้นจิตใจของหลวงปู่รู้สึกหงุดหงิดอย่างไม่ทราบสาเหตุ เมื่อญาติพี่น้องมาขออย่างนั้น จิตใจปิติยินดีในทันทีเพราะท่านอยากบวชอยู่นานแล้ว ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัดทุ่ง จังหวัดสกลนคร แห่งเดิม โดยมี พระครูวิรุฬห์นวกิจ (ผาง ฐิตสัทโธ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระมาก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “เฉโก”

    หลัง บวชแล้วได้ไปอยู่ที่วัดศรีบุญชู บ้านเชือม เมื่อบวชได้ ๒-๓ วัน ตอนกลางคืนปรากกว่าพ่อใหญ่ป้อง เศรษฐาไชย เดินมาหา ถามว่ามีเทียนใช้แล้วหรือยัง หลวงปู่จึงตอบว่ามีใช้แล้ว พ่อใหญ่ป้องจึงเดินออกไป เมื่อบวชแล้วได้เรียนนักธรรมโท โดยอ่านหนังสือเอง เมื่อไปสอบก็ได้สอบ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เรียนนักธรรมเอก โดยอ่านหนังสือไปสอบเอง แต่คราวนี้สอบตกจึงไม่ได้ไปสอบอีก

    ในปีนี้ วันหนึ่งพระเณรทั้งวัดได้เข้าไปในป่าหาไม้มาสร้างกุฏิ ถึงเวลาเพลชาวบ้านก็ยังไม่ได้เอาอาหารมาถวาย จนบ่ายเขาจึงได้เอามาถวาย พระเณรก็ฉันกันทุกรูปยกเว้นหลวงปู่กับเจ้าอาวาส แม้จะเหนื่อยและหิวก็ไม่ฉัน หลวงปู่ได้เห็นความประพฤติอันย่อหย่นจากพระวินัยของพระเณร แล้วรู้สึกเบื่อมาก ซึ่งการขุดดิน ตัดไม้ ดายหญ้า รับเงินรับทองเป็นเรื่องปกติที่พระเณรทำกัน แต่หลวงปู่ไม่ทำเพราะท่านตั้งใจรักษาพระวินัยตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านจึงตั้งจิตอธิฐานว่า “จะบวชเป็นพระกรรมฐานเที่ยวธุดงค์ตามป่าเขาตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต”


    ๏ ญัตติเป็นธรรมยุต

    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงปู่ได้มากราบนมัสการ พระครูบริบาลสังฆกิจ (หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม) ที่วัดอุดมรัตนาราม บ้านอากาศ ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านเชือมเพียงแค่ ๒-๓ กิโลเมตร หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่จึงได้กราบเรียนกับท่านว่า “อยากจะบวชเป็นพระกรรมฐาน” ท่านจึงแนะนำให้สึกก่อนแล้วค่อยบวชใหม่ เมื่อกลับมาถึงวัดศรีบุญชูได้เข้าไปกราบลาพระอุปัฌชาย์ขอลาสิกขา ท่านก็อนุญาต อาจกล่าวได้กล่าวว่าท่านบวชได้ ๕ พรรษาแล้วสึกก็ได้ ส่วนพระภิกษุอีกรูปหนึ่งก็เข้าไปกราบลาพร้อมกัน พระอุปัฌชาย์ท่านคัดค้าน เพราะยังพรรษาน้อยเพียง ๒ พรรษา หลวงปู่จึงได้ลาสิกขารูปเดียว

    หลวง ปู่ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยเริ่มจากการไปหัดขานนาคอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ที่วัดอุดมรัตนาราม หัดขานนาคอยู่ด้วยกันหลายคน หลวงปู่ท่านหัดอยู่ได้ประมาณ ๓ เดือน จึงถูกต้องตามอักขรฐานกรณ์ของภาษาบาลีทุกอย่าง เมื่อหลวงปู่ขานนาคได้แล้ว ซึ่งเป็นช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงได้เดินทางโดยรถยนต์ไปกับหมู่นาคที่จะบวชพร้อมกัน โดยจะไปบวชกับ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิ์สมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

    แต่ หลวงปู่ท่านได้ไปร่วมงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอา นันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ พระอุปัฌชาย์องค์อื่นๆ ก็ไปกันหมด หมู่นาคที่จะบวชจึงพากันเดินทางไปวัดจอมศรี ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเมื่อไปถึงวันนั้นก็ได้บวชเลย โดยบวชเป็นพระ ๓ รูป และบวชเป็นเณร ๕ รูป ในวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ โดยมี พระครูพิทักษ์คณานุการ (หลวงปู่สี ธัมมทินโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระสมุห์ภา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สำเร็จเมื่อเวลา ๑๓.๕๒ น. ได้รับนามฉายาว่า “ปัญญาปทีโป” แล้วท่านก็ได้กลับมาอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ที่อุดมรัตนาราม จนกระทั่งเข้าพรรษา



    ๏ ลำดับการจำพรรษา

    • พรรษาที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๙๐ •

    หลวง ปู่ได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม หลวงปู่ผ่านได้เรียนการนั่งสมาธิ เดินจงกรม ตลอดจนเรียนด้านพระปริยัติธรรมด้วย ระหว่างที่อยู่ที่วัดอุดมรัตนารามนั้น หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ได้พาหลวงปู่ไปกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งตั้งอยู่กลางหุบเขา ต้องฝ่าป่าดงเทือกเขาภูพานเข้าไปจึงจะถึง ได้ไปอยู่ ๒-๓ ครั้ง เมื่อออกพรรษาปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงปู่ผ่านได้พาสามเณรรูปหนึ่งไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) พอถึงวัดดอยบ้านนาเชือกซึ่งเป็นวัดร้างเป็นเวลาค่ำจึงไดพักที่นั้น พักกันคนละกุฏิ พอตกกลางคืนเณรมาหาบอกว่า “ผมอยู่ไม่ได้ ผมกลัว ไม่รู่ว่าเสียงอะไรมันดังตุ้บตั้บๆ” หลวงปู่จึงได้ออกไปดูปรากฏว่าเป็นค้างคาว ตกลงเณรเลยขอมานอนด้วย พอสว่างได้ไปบิณฑบาตที่บ้านนาเชือก กลับมาฉันแล้วก็ได้เดินทางไปที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) พอไปถึงก็ได้ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านได้พูดว่า “ท่านผ่านมากับเณรน้อยแท้ มันไข้ได๋” (หมายความว่า พาสามเณรอายุน้อยมาด้วย สามเณรจะเป็นไข้ป่าได้ง่าย) หลวงปู่จึงได้ตอบว่า “ครับผม ไม่มีคนมา กระผมจึงมากับเณรน้อย”

    เวลา เย็นก็พากันไปสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่เป็นพระผู้น้อยเพียง ๑ พรรษาจึงได้ถูหลังเท้า รูปอื่นก็ได้ถูแข้ง ถูขา ถูแขน หลวงปู่บอกว่า “เท้าของหลวงปู่มั่นนิ่มมากๆ ถึงแม้ว่าจะเดินธุดงค์มาตลอดแต่เท้ากลับนิ่ม” ซึ่งตรงกับที่หลวงปู่หลุย จันทสาโร เคยบอกไว้ว่า “เท้าท่านพระอาจารย์มั่นนิ่ม ท่านเป็นผู้มีบุญมาก เราคนเท้าแข็งเป็นคนบาป” ในครั้งนั้นมีพระเณรพำนักจำพรรษากับหลวงปู่มั่น ประมาณ ๒๐ รูป อาทิเช่น พระ อาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน, พระอาจารย์วัน อุตฺตโม, พระอาจารย์อ่อนสา สุขกาโร วัดประชาชุมพลพัฒนาราม จังหวัดอุดรธานี, พระอาจารย์หลุย จันทสาโร, พระอาจารย์คำพอง ติสฺโส, พระอาจารย์หล้า เขมปัตโต, สามเณรบุญเพ็ง จันใด (หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต) เป็นต้น

    วันนั้นสรงน้ำเสร็จ พระอาจารย์มั่นบอกว่า “ท่านผ่านไปฉันน้ำอ้อยสดเด้อ ชาวบ้านเขาเอามาถวาย” หลวงปู่ก็คิดในใจว่า “เราจะไม่ฉันหรอกมันหนักท้อง” ท่านพระอาจารย์มั่นก็พูดซ้ำอีกว่า “ไปฉันน้ำอ้อยเด้อ” หลวงปู่ก็คิดในใจว่าจะไม่ไปฉัน เสร็จแล้วจะไปภาวนาต่อ ถึงตอนค่ำก็มารวมกันที่กุฏิท่านพระอาจารย์มั่นเพื่อรับการอบรม ซึ่งแต่ละครั้งจะนานถึง ๓-๔ ชั่วโมง แต่หลายวันจึงจะได้มีการประชุมสักครั้งหนึ่ง

    • พรรษาที่ ๒-๓ พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๒ •

    หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่กับ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่าบ้านหนองโดก อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และยังมี พระอาจารย์เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พระอาจารย์บุญมี ปริปุณโณ วัดป่าบ้านนาคูณ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พระอาจารย์บุญหนา ธัมมทินโน กับเณร ๒-๓ รูป เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ได้กราบลาหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ มาอยู่ที่วัดป่าม่วงไข่ กับท่านอาจารย์สิงห์ (คนละองค์กับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม) ท่านได้สั่งให้ท่องปาติโมกข์ท่องอยู่ประมาณ ๑ เดือนก็ยังท่องไม่ได้ หลวงปู่ก็เลยคิดว่าจำทำอย่างไรดี ที่นี้เวลาภาวนาท่านเลยท่องแต่ปาติโมกข์นั้นจนเกือบ ๓ เดือน จึงท่องได้สำเร็จ

    ช่วงที่หลวงปู่ผ่านอยู่ที่บ้านหนองโดก วันหนึ่งพอออกจากสมาธิท่านได้เห็นบุ้งคีบตัวเล็กๆ คลานอยู่ จึงได้สงสัยว่า “บุ้งตัวเล็กๆ นี้จิตมันใหญ่ไหม ช้างตัวใหญ่ๆ จิตมันเล็กไหม หรือว่าเท่ากัน” พอออกพรรษาแล้วได้เข้ามาอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านได้เทศน์ให้ฟังตอนหนึ่งท่านว่า “บุ้งตัวน้อยๆ ช้างตัวใหญ่ๆ จิตมันก็เท่ากันนั้นแหละ” หลวงปู่จึงหายสงสัย เกิดความอัศจรรย์ใจและเกรงกลัวท่านพระอาจารย์มั่นมาก ไม่คิดไปนอกทางเกรงว่าท่านจะดุ

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองโดก ร่วมกับพระอาจารย์เพียร วิริโย พระอาจารย์บุญมี ปริปุณโณ อีกครั้ง โดยมีพระอาจารย์สิงห์ เป็นหัวหน้า ส่วนหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์บุญหนา ธัมมทินโน ย้ายไปจำพรรษาที่วัดป่าม่วงไข่แทน พออกพรรษาแล้วก็ยังพักอยู่ที่นั้น พอดีท่านพระอาจารย์มั่นอาพาธ และได้มาพักอยู่วัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ระหว่างนี้หลวงปู่ผ่านได้เข้าไปพยาบาลทุกวันเพราะวัดอยู่ไม่ไกลกัน

    ใน ช่วงหลายวันมีรถรับไปจังหวัดสกลนคร ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้มรณภาพที่วัดป่าสุทธวาส หลวงปู่ผ่านในฐานะลูกศิษย์องค์หนึ่งจึงเข้าไปอยู่ที่วัดป่าสุทธวาส เพื่อช่วยงานถวายครูบาอาจารย์เป็นครั้งสุดท้าย ครั้งนั้นบรรดาลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นได้เดินทางมาจากทุกสารทิศเพื่อมา ร่วมงาน มีแต่พระเณรเต็มวัด ญาติโยมยังไม่มากนัก ยังไม่ตื่นพระกรรมฐานเหมือนทุกวันนี้ ก่อนหน้าที่จะอยู่วัดป่าสุทธาวาส ท่านได้ไปพักอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ บ้านธาตุนาเวง กับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านเทศน์อบรมทุกวัน เทศน์เรื่อง “การทำจิตให้มีสมรรถภาพ” โดยท่านอธิบายว่า “ให้เพ่งร่างกาย (กายคตาสติ เพ่งให้ติดตา เมื่อติดตาแล้วให้แยกออกเป็นส่วนๆ แล้วปลงลงเพ่งจนชำนาญสามารถทำได้รวดเร็ว)” ท่านสอนเรื่องนี้ทำให้หลวงปู่ติดใจมาก เป็นเหตุให้การภาวนาต่อมาหลวงปู่พยายามจะเพ่งร่างกายนี้อยู่เสมอ ส่วนหลวงปู่ฝั้นก็ทำเช่นกันจนมีความชำนาญ ท่านมีกำลังจิตที่กล้าแข็งมากเป็นที่ยอมรับในหมู่พระกรรมฐาน ครั้นเสร็จงานประชุมเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ช่วงเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านติดตามหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ไปวัดป่าบ้านท่าควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ครั้งนั้นมีพระอาจารย์คำพอง ติสฺโส หลวงตาจรัส และสามเณร ร่วมเดินทางไปด้วย

    หลวงปู่ฝั้นท่านพาเดินทางไปที่วัดดอยธรรมเจดีย์ของ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ อยู่ ๒ คืน จากนั้นโยมเอารถมารับไปพักที่วัดป่าบ้านท่าควาย เมื่อไปอยู่วัดป่าบ้านท่าควาย หลวงปู่ฝั้นกำลังเร่งความเพียร วันหนึ่งๆ จะฉันนมเพียง ๑ แก้ว พระเณรที่ตามไปด้วยรวมทั้งหลวงปู่ผ่าน จึงพากันฉันวันเว้นวันบ้าง หลายวันต่อมาหลวงปู่ฝั้นพาเทศน์พระเวส (งานบุญพระเวส) มีเทศน์ทำบุญอย่างเดียว ไม่ได้จัดแต่งดอกบัว ดอกผักตบอย่างละ ๑,๐๐๐ ตามที่อื่นเขาทำกัน เป็นเหตุให้พวกชาวบ้านท่าควายไม่กล้ามางาน เพราะกลัวว่าทำไม่ถูกวิธีแล้วจะมีลมพญามารใหญ่พัดมา มีญาติโยมมีศรัทธาเลื่อมใสมานิดหน่อย ท่านก็เทศน์จบแล้วทุกอย่าง ไม่มีลมใหญ่อะไร ต่อมาไม่นานทางวัดที่หมู่บ้านเขาจัดบ้าง หลวงปู่ผ่านได้ไปด้วย ปรากฏตอนบ่ายมีลมพายุพัดทำลายข้าวของในงาน และกระท่อมเสียหายหมด หลวงปู่ว่าด้วยนี้เป็นกำลังจิตของหลวงปู่ฝั้น จึงไม่มีอะไรรบกวน

    เมื่ออยู่บ้านท่าควายหลายวันแล้ว วันหนึ่งไปบิณฑบาตพอไปถึงสุดทางบิณฑบาต หลวงปู่ฝั้นท่านได้หยุดยืนแล้วพูดว่า “นั่นๆ ท่านผ่าน ที่จะไปภาวนา” ที่นั้นคือภูกระแต บ้านไผ่ล้อม ๒-๓ วันต่อมาหลวงปู่ฝั้นจึงพาเดินไปประมาณ ๕ กิโลเมตรจนกระทั่งถึงภูกระแต แล้วจึงแยกย้ายกันไปพำนักบำเพ็ญภาวนา ที่นี่เป็นสถานที่สัปปายะ มีสัตว์ป่ามากมาย มีแอ่งน้ำซับซึ่งผุดออกมาจากดิน อยู่ที่ตีนเขา พอรุ่งเช้ามีชาวบ้านมาเล่าถวายว่า “เมื่อคืนฝันเห็นพวกภูตผีปีศาจบนภูเขาพากันแตกตื่นย้ายครอบครัวหนี บอกว่าเจ้านายมา” หลวงปู่ฝั้นอยู่ที่นี้ได้ ๒ เดือน ท่านก็ได้เดินทางไปภูวัวต่อ ส่วนหลวงปู่กับหลวงตาจรัสไปอยู่ที่วัดป่าบ้านท่าควาย

    • พรรษาที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๙๓
    วัดป่าบ้านขามเฒ่า อ.เมือง จ.นครพนม •

    ต่อ มาหลวงตาจรัสชวนไปภาวนาอยู่บ้านขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และได้จำพรรษาที่นี่ เมื่อแรกไปอยู่ปรากฏว่ามีพระมหานิกายมาไล่ ไม่ยอมให้พระกรรมฐานมาอยู่ด้วย หลวงปู่ได้ตอบพระมหานิกายที่มาไล่นั้นว่า เราต่างมาบวชเพื่อจะไปพระนิพพานเหมือนกัน เหมือนกับการแจวเรือถ้าต่างคนต่างแจวก็ถึงที่หมาย ถ้าขัดกันกลางทางเรือก็ล่ม ผู้ที่เข้ามาบวชเพราะเรื่องลาภยศทำไม เรื่องจึงสงบไป

    พรรษานี้มีพระ ๓ องค์ เณร ๑ องค์ คือ หลวงปู่ผ่าน, หลวงตาจรัส, หลวงตาหมอก และเณรภูบาล ทุกคนตั้งใจบำเพ็ญภาวนา วัดนี้เคยมีพระกรรมฐานมาพักอยู่ กำนันพรหมผู้เป็นหัวหน้าญาติโยม เป็นคนมีศรัทธาชักชวนชาวบ้านเข้าวัดฟังธรรม นั่งภาวนา มีญาติโยมบ้านขามเฒ่ามาหัดทำสมาธิเป็นชาย ๑๐ กว่าคน ส่วนโยมผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชาย วัดนี้อยู่ริมแม่น้ำโขงมีกุฏิเล็กๆ สามารถย้ายได้ อยากไปอยู่มุมไหนก็ย้ายกุฏิไป การภาวนาอยู่บ้านขามเฒ่านี้ภาวนาดี จิตรวมทุกวัน เวลาจิตจะรวมบางทีกุฏิลั่นดังปึ๊บ แล้วจิตก็รวมลง หมดกำลังก็ถอยออกมา การเทศน์อบรมชาวบ้านหลวงปู่ก็เทศน์ไปตามที่ภาวนาได้ ได้แค่ไหนก็เทศน์แค่นั้น จะเทศน์สูงกว่าไม่ได้เพราะพรรษายังน้อย

    อยู่ ที่นี่จะมีโยมผู้หญิงมาคอยตักน้ำให้สรง และมาคุยทุกวันๆ แต่หลวงปู่ท่านไม่เคยหวั่นไหวในมาตุคาม เพราะท่านได้อธิฐานว่าจะไม่สึกตลอดชีวิต จิตใจจึงมั่นคง โยมนั้นก็เลิกไปเอง ครั้งหนึ่งมีโยมคนหนึ่งมาขออยู่ด้วยเพราะเขาได้ยินเสียงในหูว่า “กูจะมาฆ่ามึงๆๆๆ” เลยกลัวผีมาก นี่เป็นกรรมของโยมคนนั้น ถ้าอยู่วัดแล้วจะไม่ได้ยินแต่ถ้าอยู่ที่อื่นจะได้ยินตลอดเวลา วันนั้นท่านภาวนาแล้วเห็นผู้หญิงนั่งอยู่บนพื้นดินมีผมแหลมๆ ยาวถึงแขน หน้าเหลือง ตอนแรกท่านนึกว่าเป็นผีมาหาโยมคนนี้ แต่ความจริงแล้วเป็นเพียงนิมิตรอันเกิดจากท่านเพ่งอสุภะเท่านั้น

    หลัง จากออกพรรษาแล้ว หลวงตาจรัสยังอยู่บ้านขามเฒ่า ส่วนหลวงปู่ผ่านโดยสารทางเรือไปอำเภอบ้านแพง อำเภอนครพนม ไปพักวัดเนินคนึงอยู่หลายวัน แล้วไปอยู่กับพระมหาสุด ที่บ้านบะปะทายซึ่งอยู่ใกล้กับภูลังกา พระมหาสุดท่านเป็นคนบ้านหัววัว จังหวัดอุบลราชธานี วันหนึ่งมีลมพายุใหญ่พัดมาเสียงดังอื้ออึง หลวงปู่ท่านขึ้นกุฏิ นั่งสมาธิอธิษฐานจิตว่า “ถ้ามันจะตายให้มันตาย” แล้วปล่อยวางหมด ปรากฏว่าได้ยินเสียงลมพัดมาแล้วเว้นวัดไป ข้ามไปทางอำเภอบ้านแพง ไม้ยางล้มเสียงดังหลายวัน

    ต่อ มาท่านได้เข้าไปอำเภอบ้านแพง เห็นศาลาเล็กๆ กระต๊อบพังหมด แต่ที่วัดป่าบะปะทายไม่เป็นอะไรเลย ต่อมาหลวงปู่เดินทางไปบึงโขงหลง แล้วไปพักอยู่ที่บ้านโสกก่าม ๗-๘ วัน จากนั้นธุดงค์ขึ้นภูวัว โดยไปพักอยู่ที่ถ่ำแอ่น (ที่ถ่ำแอ่นแห่งนี้ภายหลังเมื่อหลวงปู่มาอยู่ที่วัดป่าปทีปปุญญารามแล้ว ได้นิมิตเห็นควายเดินออกมาจากถ่ำแอ่น ท่านจึงกำหนดจิตถามว่า ทำไมจึงมีควายออกมา ก็เกิดความรู้ขึ้นมาว่า อดีตชาติท่านเคยเกิดเป็นควายและอยู่ที่ถ่ำแอ่นนี้) หลวงปู่ท่านอยู่องค์เดียว พอตอนเย็นเห็นพวกมดดำเดินอยู่ ท่านก็คิดว่าเรามีเพื่อนแล้ว ไม่ได้อยู่องค์เดียว ท่านคิดขำๆ ไปอย่างนั้น เช้ามาโยมที่ไปด้วยทำอาหารถวาย เพราะอยู่ที่นี่บิณฑบาตไม่ได้ อาศัยโยมบ้านดอนเสียด ๖-๗ วันก็ขึ้นมาเอาอาหารแห้ง ปลาแห้ง ตัดยอดบุก ยอดหวาย มาถวายพระ

    ต่อมา พระอาจารย์สุภาพ ธัมมปัญโญ จากวัดทุ่งสว่าง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พาพระมาพักอยู่ด้วย หลวงปู่ภาวนาอยู่ที่นั่นปรากฏจิตใจมีความดีอกดีใจ มีปีติมากที่ได้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาเพราะจิตอยากไปมานานตั้งแต่ก่อนบวช เพิ่งจะได้มาเป็นครั้งแรก ตอนนั้นทั้งเสือ ช้าง หมี มีชุกชุมมาก แต่หลวงปู่ท่านไม่กลัว ภาวนาดีมาก จิตรวมเป็นปรกติ อยู่ที่นั่นประมาณ ๑ เดือนก็ลงมาพักอยู่บ้านโสกก่าม แล้วมาพักที่บึงโขงหลง ซึ่งเป็นเกาะอยู่กลางน้ำ สายๆ ราว ๘ โมงเช้า ญาติโยมชาวบ้านเอาเรือมารับไปบิณฑบาต อยู่ที่นี่หลายวันจึงมาอยู่ที่บ้านโพธิ์หมากแข้ง ต่อมาได้เดินทางไปอยู่ศึกษาธรรมกับ ท่านพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ที่วัดอิสระธรรม บ้านวาใหญ่ อำเภอวานรนิวาส (ปัจจุบันเป็นอำเภออากาศอำนวย) จังหวัดสกลนคร

    พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร เกิดในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ ที่บ้านวาใหญ่ อำเภอวานรนิวาส (ปัจจุบันเป็นอำเภออากาศอำนวย) จังหวัดสกลนคร ท่านออกบวชเนื่องจากสูญเสียบุตรและภรรยาจากการคลอด ท่านมีทุกข์หนักจึงออกบวชที่วัดโพธิ์ชัย บ้านวาใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ท่านบวชอยู่นานจนเกือบได้เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ท่านพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก สหธรรมมิกที่ใกล้ชิด ได้ไปฟังเทศน์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ด้วยกันที่เสนาสนะป่าบ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ท่านและพระอาจารย์เกิ่งเกิดความเลื่อมใสมากจึงเข้ามอบตัวเป็นศิษย์ และนิมนต์พระอาจารย์มั่นมาบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม และท่านตกลงขอญัตติเป็นธรรมยุติกนิกายพร้อมกับพระอาจารย์เกิ่ง โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอาจาย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และมีพระอาจารย์มั่นนั่งหัตถบาสร่วมด้วย เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ที่โบสถ์น้ำกลางหนองสามผง บ้านสามผง แล้วปีนั้นท่านจำพรรษาร่วมกับพระอาจารย์มั่นที่บ้านสามผงนั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ท่านจึงมาตั้ง “วัดอิสระธรรม” ขึ้นที่บ้านวาใหญ่ และอยู่จำพรรษาเรื่อยมา พระอาจารย์สีลามรณภาพเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐ สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี พรรษา ๔๑

    ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ท่านพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย แห่งวัดเขาสุกิม อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ได้มาจำพรรษาอยู่ด้วย ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่ท่านได้รับเลือกให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในการอุปสมบทหมู่ ๒,๕๐๐ รูป เพื่อฉลอง ๒๕ ปีพุทธศตวรรษหรือกึ่งพุทธกาล ครั้งนั้นมีพระอุปัชฌาย์เพียง ๔ รูปเท่านั้น คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี), พระธรรมดิลก (ทองดำ จันทูปโม), พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่แดง ธมฺมรกฺขิโต) และ หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป

    จาก นั้นท่านกลับมาอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม อีก ไม่นานท่านก็ไปอยู่บ้านกุดเรือ หลวงปู่อุ่นท่านส่งคนมาตามกลับแต่ท่านไม่กลับ และได้เดินทางไปอยู่บ้านอุ่มเหม้า อำเภอพังโคน

    • พรรษาที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๙๔
    วัดป่าบ้านอุ่มเหม้า อ.พังโคน จ.สกลนคร •

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงปู่จำพรรษาที่บ้านอุ่มเหม้า อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร โดยมี พระอาจารย์แตงอ่อน กัลยาณธัมโม เป็นประธานสงฆ์ (ท่านเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต องค์หนึ่ง ปัจจุบันท่านอยู่ที่วัดป่าโชคไพศาลหรือวัดกัลยาณธัมโม บ้านหนองนาหาร อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ท่านอายุเท่ากับหลวงปู่ผ่าน) นอกจากนี้ ยังมีพระคำพันธ์ซึ่งเป็นชาวบ้านอุ่มเหม้า และองค์อื่นๆ อีกหลายองค์จำพรรษาร่วมกัน

    หลวงปู่ท่านเร่งความเพียรมาก เดินจงกรมจนเหนื่อยก็ยังไม่ยอมหยุด โดยเอาพระจันทร์เป็นนาฬิกา แต่ทางด้านจิตนั้นจิตก็รวมเป็นสมาธิ มีความเอิบอิ่ม มีปีติอยู่เป็นธรรมดา พรรษากาลนี้ท่านถือธุดงวัตรครุปัจฉาคะทีกังคะธุดงค์ คือไม่รับอาหารที่โยมนำมาถวายอีก ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตได้มาเท่านั้น หมากก็ไม่ฉัน บุหรี่ก็ไม่สูบ นอกจากนี้ บ่าของหลวงปู่ท่านลอกตลอดทั้งพรรษาเนื่องจากสะพายบาตรเดินมาก เมื่อครั้งลงมาจากภูวัว ตอนเย็นไม่ได้ทำวัตรสวดมนต์ร่วมกัน ต่างคนต่างภาวนา ร่วมกันทำวัตรเฉพาะวันพระ

    วันหนึ่งมีลมใหญ่พัดมา หลวงปู่ท่านขึ้นกุฏิ นั่งสมาธิอธิฐานจิตว่า “แล้วแต่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จะรักษา” แล้วเข้าสมาธิ หลวงปู่นั่งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ส่วนลมมาทางทิศตะวันตก ปรากฏว่าลมพัดเข้าไปในหมู่บ้าน ทำให้ต้นหมาก ต้นมะพร้าวหักโค่นลง ส่วนวัดไม่เป็นอะไร ตอนเช้าขึ้นมาญาติโยมชาวบ้านเขาเลยเอามาถวายพระ ตลอดพรรษากาลนี้ เวลาลงอุโบสถฟังปาติโมกข์ต้องไปลงที่วัดป่าศรีจำปาชนบท อำเภอพังโคน กับ หลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต โดยพากันเดินลัดทุ่งนาไป

    หลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๔ ท่านได้ศึกษาภาวนากับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล ซึ่งธุดงค์มาตั้งวัดป่าบ้านปลาโหลเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙ เวลา ๑๕.๓๓ น. ณ วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อท่านอายุได้ ๕๔ ปี จากนั้นท่านไปศึกษาอยู่กับ ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ต่อมาไปศึกษากับท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อท่านทั้งสองมรณภาพแล้ว ก็ได้ไปศึกษากับ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และท่านได้มาอยู่ที่วัดป่าศรีจำปาชนบท จนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลา ๑๐.๑๕ น. ด้วยโรคชราภาพ สิริรวมอายุได้ ๙๖ ปี พรรษา ๔๑ เมื่อฌาปนกิจศพแล้วปรากฏว่าอัฐิของท่านแปรเป็นพระธาตุมากมาย

    เมื่อออกพรรษาแล้ว ภรรยาของกำนันพรหม บ้านขามเฒ่า มานิมนต์หลวงปู่ให้ไปอยู่บ้านขามเฒ่าอีก

    • พรรษาที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๙๕
    วัดป่าบ้านขามเฒ่า อ.เมือง จ.นครพนม •

    ปีนี้จำพรรษากับ พระอาจารย์คำ (บ้านเดิมท่านอยู่ที่บ้านเศรษฐี อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเคยมาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่นด้วย) และ พระอาจารย์ปั่น ปัญญาวโร ซึ่งเพิ่งจะบวชในปีนั้น (ภายหลังท่านมาอยู่ที่วัดป่าบ้านคำตานา ตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) คราวที่อยู่บ้านหนองโดก ภาวนาเกิดคำว่า “นโม ข่ายเย็น ข่ายร้อน” นั้นจิตสว่างเห็นทางภายนอก เห็นต้นไม้ เห็นภูเขา เห็นคนนั้นคนนี้ แต่เห็นได้ไม่นาน สักพักแล้วก็ดับไป เป็นอย่างนี้ทุกครั้ง

    คราวนี้ มาอยู่บ้านขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จึงพยายามจะให้เห็นร่างกายภายใน เพราะฟังครูบาอาจารย์มา ให้น้อมเข้าไปภายใน ลอกหนังออก เข้าไปถึงเอ็น แล้วเข้าไปกระดูก หลวงปู่ท่านก็พยายามเพ่งเข้าไปภายใน โดยการนึกเอาว่ากระดูก เอ็น เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ก็ยังไม่เห็นเลยเปลี่ยนเอากระดูกหลังเพียง ๓ ท่อนมาเพ่ง แทนที่จะเพ่งทั้งร่าง ท่านค่อยๆ ทำให้สติกับปัญญามีความสมดุลกัน เพ่งอยู่ไม่นานปรากฏว่าจิตรวม เกิดแสงสว่างจ้าอยู่กลางอก ไม่เห็นกระดูกเลย แต่เห็นไส้พุงทั้งเขียวทั้งดำ จิตใจเกิดความปีติ อัศจรรย์ว่าตั้งแต่บวชมาเพิ่งจะเห็นเป็นครั้งแรก จากนั้นท่านก็เพ่งจนติดตา ตื่นเช้ามาท่านว่า ท่านฉันข้าวไม่อร่อยเลย ตกเย็นมาท่านก็ภาวนาอีก ก็ยังไม่เห็นกระดูกอยู่เช่นเดิม แต่เห็นออกไปภายนอก โดยเห็นตัวหลวงปู่กำลังสรงน้ำอยู่กลางหุบเขา แต่สายน้ำนั้นมีความแปลก คือ ด้านหน้าไหลลงมาจากภูเขา ผ่านหลวงปู่แล้วไหลกลับขึ้นบนเขาด้านหลัง ไหลขึ้นไหลลงอยู่อย่างนั้นจนจิตถอน ท่านว่านิมิตนี้เป็นนิมิตที่ดี เป็นสิ่งบอกว่าท่านจะได้ออกจากทุกข์

    พอถึงวันที่ ๓ นั่งสมาธิจิตรวมลง ปรากฏท่านขึ้นไปอยู่บนยอดเขา ตามร่างกายมีเครื่องประดับเป็นเพชรนิลจินดาแพรวพราว จิตเกิดปีติเอิบอิ่ม มองลงมาเห็นมนุษย์ เรือนชานบ้านช่อง หลวง ปู่ท่านได้พิจารณาเห็นว่ามนุษย์นี้เกิดขึ้นมา กินแล้วก็พากันนอน ตื่นมาก็ไปทำมาหากิน ได้มาแล้วก็พากันกินแล้วก็นอน เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ไม่ได้นึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ ไม่ได้นึกถึงทางหนีออกจากวัฏสงสารเลย พิจารณาได้อย่างนี้แล้วท่านจึงคิดว่า “เราเห็นแล้ว เราจะไม่ทำอย่างนั้น จะต้องหนีออกจากวัฏสงสารให้ได้” นั่งดูอยู่อย่างนั้นนานเข้า ปรากฏว่าท่านลอยไปถึงบ้านนาโดน เห็นไฟกำลังไหม้พระองค์หนึ่ง ท่านจึงพิจารณาไฟไหม้นั้นคือ ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ พระไฟไหม้คือ พระยังมีราคะ โทสะ โมหะ จากนั้นก็ลอยไปนั่งอยู่บนชะง่อนหินบนภูเขา หันหน้าไปทางทิศเหนือ นั่งภาวนาเพ่งร่างกาย เห็นตับไตไส้พุงอย่างที่เคยเห็น ตอนนี้เครื่องประดับไม่มีแล้ว นั่งเพ่งอยู่นาน จึงถามตัวเองขึ้นว่าที่นี่ที่ไหน ? จิตตอบว่า ถ้ำผากง (ถ้ำนี้อยู่อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ท่านเคยมาเอาพระพุทธรูปเศียรขาดอันเนื่องมาจากตกลงมากับพื้น ท่านเอาไปบูรณะต่อเศียร ปัจจุบัน ท่านพระอาจารย์แบน ธนากโร กำลังไปสร้างวัดอยู่ที่นั่น)

    เมื่อ ออกพรรษาแล้ว ต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงปู่ท่านได้เดินทางมาวัดป่าบ้านภู (วัดป่ากลางโนนภู่) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อมาร่วมงานฌาปนกิจศพ ท่านพระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน (ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นผู้ใหญ่องค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพี่ชายของ ท่านพระอาจารย์กว่า สุมโน และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร) ในงานนี้พ่อแม่ครูบาอาจารย์ได้มาร่วมงานกันมากมาย อาทิเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และหลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นต้น ท่านได้เข้าไปกราบหลวงปู่อ่อน ซึ่งพรรษานี้หลวงปู่อ่อนท่านไปอยู่ที่บ้านดอนเงิน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

    หลวงปู่อ่อนบอกว่า “ท่านผ่าน พระอุปัชฌาย์มรณภาพอยู่ที่วัดจอมศรี ให้ไปปรงศพท่านนะ” หลวงปู่จึงได้ติดตามหลวงปู่อ่อนไปจังหวัดอุดรธานี ไปพักที่วัดป่าบ้านจิก (วัดทิพยรัฐนิมิตร) อยู่หลายวัน จึงขึ้นรถไฟไปวัดจอมศรี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี หอศพของ พระครูพิทักษ์คณานุการ (หลวงปู่สี ธัมมทินโน) พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ ทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์คือนกมีงวงเป็นช้าง พอถึงวันที่จะเผา เขาแห่ศพด้วยเกวียนเข้าไปกลางหมู่บ้าน พวกญาติโยมก็ถวายทาน กลางคืนจึงเผา ในงานมีมหรสพมากมายทั้งฉายหนัง หมอลำ

    หลวง ปู่เห็นเขาดูหนัง (ภาพยนตร์) กัน ท่านจึงพิจารณาว่าทำไมเขาเรียกว่า “หนัง” เห็นมีแต่รูปเลยถามตัวเองว่า “อะไรเป็นหนัง” จิตตอบขึ้นว่าคำที่ว่า “หนัง” คือว่ามันสวยเพราะมนุษย์และสัตว์ในโลกนี้ติดอยู่ที่หนัง ที่ว่าคนนั้นสวย คนนี้งาม ก็เพราะมีหนังห่อหุ้ม ถ้าไม่มีหนังก็น่าเกลียดน่าขยะแขยง เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้ว ท่านรู้สึกว่าหนัง (ภาพยนตร์) นั้นไม่เห็นน่าดู สังขารเขาแต่งขึ้นมาทั้งนั้น ไม่รู้จะไปหลงทำไม จิตไม่อยากดูจึงเลิกดู

    • พรรษาที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๙๖
    วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี •

    เมื่อ เสร็จงานศพท่านพระอาจารย์กู่แล้ว หลวงปู่เดินทางกลับมาพักที่วัดป่าบ้านจิก (วัดทิพยรัฐนิมิตร) อีก แล้วไปอยู่ที่บ้านโนนทัน ไปภาวนาอยู่ที่นั่นพร้อมกับหลวงปู่อ่อน, พระบุญหนา (ปัจจุบันคือ พระอาจารย์บุญหนา ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านหนองโดกหรือวัดป่าโสตถิผล อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร), เณรสมบูรณ์, เณรเลย อยู่หลายวัน แล้วหลวงปู่นึกอยากกลับมาเยี่ยมบ้าน จึงไปกราบนมัสการลาหลวงปู่อ่อนแต่ท่านไม่อนุญาต แต่ให้ไปบ้านหนองบัวบานกับท่าน จึงได้ไปช่วยท่านสร้างวัดป่านิโครธาราม ที่บ้านหนองบัวบาน

    วันหนึ่งหลวงปู่ท่านมีอาการไข้ป่ากำเริบ จึงไปขอยาจาก หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ได้มาแล้วก็วางยาไว้ข้างตัวแล้วนั่งสมาธิ เนื่องจากท่านพระอาจารย์มั่นได้เคยเทศน์ไว้ว่า ให้รักษาการป่วยด้วยยาปรมัตถ์คือการภาวนา ท่านจึงลองดู เมื่อนั่งแล้วจิตรวมปรากฎแสงสว่าง เห็นต้นไม้หมดทั้งโลก เอายอดทิ่มดินเอารากชี้ฟ้า ครั้นหมดกำลังสมาธิ จิตก็ถอนออก อาการไข้ก็หายเป็นปลิดทิ้ง ท่านก็สงสัยว่าทำไมเป็นอย่างนี้ จึงไปกราบเรียนถามหลวงปู่อ่อน หลวงปู่อ่อนท่านรู้วาระจิตของศิษย์แล้วแต่ท่านไม่พูด ท่านตอบว่า “เออ ! ดีอยู่ ดีอยู่” หลวงปู่ท่านยังสงสัย ก็เดินคิดไปในวัด พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นหัวปูมเป้า (พืชชนิดหนึ่ง) ที่เขาแขวนไว้

    ท่านเลยคิดว่า “ถ้ามึงไม่ได้กินดิน มึงตายนะ” ทันใดนั้นท่านก็วาบขึ้นในดวงจิตว่า จิตของสัตว์ในโลกอันนี้ พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ว่า “พวกท่านทั้งหลายจงถอนตัณหาพร้อมทั้งราก” หากจิตของเราไม่ไปยึดเอารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ จิตนั้นย่อมเข้าถึงคุณธรรม จิตเป็นอนาสโว คือ จิตไม่ยึดมั่นถือในสิ่งทั้งปวง พ้นจากบ่วงร้อยรัดถึงความพ้นทุกข์ เหมือนกับว่าต้นไม้ที่รากไม่หยั่งลงดินแล้ว

    ครั้งหนึ่งหลวงปู่ ท่านภาวนาเห็นมนุษย์พากันเอามืองมอยู่ในดินหมดทั้งโลก ท่านพิจารณาได้ว่า มนุษย์นี้เกิดมาก็พากันงมโลก หลงโลก เอาแต่ทำมาหากิน ร้องรำทำเพลง ร้องหากันแต่ผู้หญิงผู้ชาย สัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้คิดถึงทางจะหนีจากวัฏสงสาร จึงพากันงมโลก หลงโลก

    พอวันใหม่มาเข้าสมาธิอีก ปรากฏลอยขึ้นไปบนอากาศโดยมีไม้กระดาน ๒ แผ่นรองอยู่ข้างใต้ หลวงปู่ท่านจึงอุทานว่า “มันรองเราแล้ว” สิ่งที่รองอยู่คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา อีกวันหนึ่งภาวนา ปรากฏว่าเข้าไปในถ้ำเสือ หลวงปู่ท่านจึงคิดสละตาย ให้เสือมากินเสีย เพราะรูปอันนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา ท่านปล่อยวางได้ เสือก็ไม่ได้มากินท่าน ปรากฏมีหญิง ๒ คนมาใส่บาตรท่าน แล้วจิตก็ถอนออก หลวงปู่ท่านว่านี่เป็นสิ่งลองใจว่ายังยึดมั่นถือมั่นในรูปนี้หรือไม่

    มา ถึงจุดนี้ปรากฏว่าจิตของท่านเฉย คือจิตเห็นเกิดเห็นดับ ทำจิตรอบรู้ในสังขาร รู้สภาวธาตุ รู้สภาวธรรม สภาวปัจจัย จิตหยุดไม่นึกไปในอดีต อนาคตเห็นเกิดเห็นดับหมดทั้งโลก ต้นไม้ แผ่นดิน ภูเขา เมื่อจิตเฉยก็ไม่ได้อยากพูดคุยกับใคร ไปไหนก็นั่งเฉย ขึ้นไปกราบหลวงปู่อ่อนแล้วก็เฉย จนหลวงปู่อ่อนท่านว่าพระฤาษี

    เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านข้ามทุ่งนาจากบ้านหนองบัวบาน มาบ้านหนองแซง ซึ่งไม่ไกลกันนัก ท่านมาศึกษา
    กับ หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ที่วัดป่าหนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์) อยู่ประมาณ ๒๐ วัน

    หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เป็นศิษย์อีกองค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นคนร้อยเอ็ด ในช่วงที่ท่านยังครองเรือนมีครอบครัวอยู่นั้น ท่านเป็นผู้ที่เคร่งครัดในการรักษาศีล ๘ มาก และยังภาวนาพุทโธอยู่ตลอดเวลาด้วย อย่างเวลาไถนา ดำนา ตำข้าว ก็บริกรรมพุทโธไม่ขาด

    ท่านเคยเป็นผ้าขาวติดตาม หลวงปู่คำดี ปภาโส ไปจำพรรษาที่ถ้ำกวาง กิ่งอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ หลวงปู่บัวท่านพบกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และได้ติดตามท่านโดยตลอด โดยตัดสินใจว่าจะบวช หลวงปู่อ่อนท่านจึงสอนขานนาคให้ แต่หลวงปู่บัวท่านเป็นผู้มีปัญญาทึบต้องใช้เวลาท่องอยู่นานถึง ๓ ปี จึงได้บวชที่วัดบึงพลาญชัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ขณะท่านมีอายุได้ ๕๓ ปี

    เหตุที่ท่านมีปัญญาทึบนั้น ท่านเล่าให้หลวงปู่ผ่านฟังว่า ในอดีตท่านเคยเกิดเป็นหมูหลายชาติมาก ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย เป็นแต่หมูอยู่อย่างนั้น ชาติหนึ่งได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นทหารยศนายพัน แต่ไม่สนใจทำบุญให้ทาน ตายไปจึงเกิดเป็นหมูอีกหลายชาติ เมื่อมาเกิดในชาติปัจจุบันท่านจึงมีปัญญาทึบ หลังจากบวชแล้วท่านได้ไปศึกษากับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน จากนั้นท่านจึงมาตั้งวัดป่าหนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์) ขึ้น หลวงปู่บัวท่านมีนิสัยพูดน้อย ทำความเพียรมาก แม้จะบวชเมื่อมีอายุมากแต่มิได้เป็นอุปสรรคอันใด ท่านจึงได้รับคำยกย่องสรรเสริญจากครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่เป็นอันมาก กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ท่านจึงมรณภาพ หลังจากฌาปนกิจศพท่านแล้วพบว่าอัฐิของท่านแปรสภาพเป็นพระธาตุจำนวนมาก แม้ปัจจุบันอัฐิของท่านก็แปรสภาพเป็นพระธาตุขึ้นเรื่อยๆ (ตามคำบอกเล่าของท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน)

    ช่วงที่อยู่วัดป่า หนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์) นี้ เวลาใส่บาตรแล้วญาติโยมชาวบ้านเขาจะไม่มาวัดอีกเพราะงานเขามาก วันหนึ่งพระท่านมาชวนไปภาวนาบนภูเขา (แถบวัดถ้ำกลองเพลในปัจจุบัน) หลวงปู่ท่านบอกว่า ขออธิฐานดูนิมิตก่อน วันนั้นท่านนั่งภาวนาปรากฏจิตรวมแล้วเห็นตะขาบตัวใหญ่เท่าต้นมะพร้าวยาว ๖-๗ เมตร นอนกลิ้งไปกลิ้งมา เมื่อออกจากสมาธิจึงไปเล่าให้เพื่อนพระฟัง แล้วบอกว่าอย่าไปนะ อยู่กับครูบาอาจารย์ดีแล้ว เพราะช่วงเดือน ๓ นี้ชาวบ้านเขาขึ้นเขาไปเก็บผักหวานกัน มันจะวุ่นวาย ตกลงก็เลยไม่ไป

    วัน หนึ่ง เมื่อหลวงปู่ได้ฟังหลวงปู่บัวเล่าถึงอดีตชาติที่เคยเป็นหมูของท่านแล้ว จึงรู้สึกอยากรู้อดีตชาติของตนบ้าง เมื่อเข้าที่ภาวนาจิตรวมแล้ว ปรากฏช้างมานอนอยู่ข้างหน้า จึงถามว่า มาทำไม ? จิตตอบว่า ไม่รู้หรือว่านั่นคือตัวเรา เราเคยเกิดเป็นช้างในสมัยพุทธกาล ได้เป็นลูกน้องของช้างปาลิไลย์ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ด้วยและแสดงธรรมโปรด (กับทั้งทรงมีพุทธพยากรณ์ว่า ในอนาคตเบื้องหน้าช้างปาลิไลย์โพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ามีนาม ว่า พระสุมงคลพุทธเจ้า จะมาตรัสรู้เป็นลำดับที่ ๑๐ เมื่อนับพระศรีอาริยเมตไตรย เป็นลำดับที่ ๑) จากนั้นจิตเห็นสุนัขนอนอยู่ จึงถามว่า ใคร ? ตอบว่า ไม่รู้จักเราหรือ เราเคยเกิดเป็นสุนัข จากนั้นก็เห็นนกกาบบัว (ซึ่งเป็นนกกินปลา) ยืนอยู่ แล้วก็ไปเห็นเป็นคนนั่งอยู่ในกระท่อม (เถียงนา) เป็นคนเลี้ยงวัว เมื่อท่านเห็นอย่างนี้แล้ว เกิดความเบื่อหนายในชาติ-ความเกิดเป็นอย่างยิ่ง เห็นว่ามันเป็นทุกข์หนัก

    อีกครั้งหนึ่งหลวงปู่ท่านภาวนาเกิดนิมิตเห็นงูจงอางอยู่ในอก แล้วมันก็ลอยตรงออกมา ตัวงูจงอางยาวมาก ท่านพิจารณาได้ความว่า งูจงอางเป็นสัตว์มีพิษ คือกิเลส เคยอยู่ในตัวเรา บัดนี้มันเริ่มออกจากเราแล้ว ถัดจากนั้น ๒-๓ วันเกิดนิมิตเป็นเสียงว่า “ท่านจะตายนะ” หลวงปู่จึงเร่งความเพียรอย่างหนัก เพราะเห็นว่าเวลาเหลือน้อย ต้องช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด พอถึง ๗ วันก็ยังไม่เห็นตาย จึงเล่าให้พระองค์อื่นฟัง พระองค์นั้นว่า “ตายมีหลายอย่าง ที่ว่าตายนั้น อาจจะเป็นตายจากกิเลสก็ได้”

    จากวัด ป่าหนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์) ท่านกลับไปที่วัดป่านิโครธารามอีก ต่อมาจึงกราบนมัสการลาหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ กลับมาบ้านเกิด ได้มาอยู่กับ หลวงปู่อุ่น อุตตฺโม ที่วัดอุดมรัตนาราม ใกล้เข้าพรรษาแล้วหลวงปู่อุ่นให้มาตั้งวัดขึ้นที่บ้านเซือมอันเป็นบ้านเกิด หลวงปู่จึงได้พาเณรมาด้วยมาตั้งวัดขึ้นที่บ้านเซือม


    • พรรษาที่ ๘ พ.ศ. ๒๔๙๗
    ดอนบ้านร้าง บ้านเซือม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร •


    ๏ เสาหลักในร่มธรรมแห่งบวรพระพุทธศาสนา

    หลวง ปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป พระมหาเถระพระป่านักปฏิบัติกรรมฐานอีกรูปหนึ่ง ที่มีศีลาจารวัตรที่งดงามน่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อีกองค์หนึ่ง เป็นพระสุปฏิปันโนเนื้อนาบุญของชาวโลก เป็นเสาหลักในร่มธรรมแห่งบวรพระพุทธศาสนา แม้สังขารจะเข้าล่วงปีที่ ๘๕ ปี ครบรอบปีที่ ๗ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ด้วยสุขภาพที่แข็งแรง ท่านยังได้ออกมาต้อนรับคณะศรัทธาญาติโยมที่เดินทางมาจากแดนใกล้ไกลเป็นจำนวน มาก เพื่อมาคารวะนมัสการทุกวันไม่เว้นมิได้ขาด

    ทุกครั้งที่คณะศรัทธา ญาติโยมขอพรขอศีล ท่านจะบอกว่า มีหลักอยู่ ๓ อย่าง คือ “ขออย่าได้เจ็บ อย่าได้ป่วยไข้ และสุดท้ายอย่าลืมหายใจ” ครั้นเมื่อได้สดับตรับฟังหลักธรรมจากท่านแล้ว จะทำให้จิตใจสงบและร่มเย็นเป็นสุข


    ๏ การมรณภาพ

    วันที่ 24 มกราคม 2554 เวลา 18.00 น. หลวงปู่ผ่าน ได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ สิริรวมอายุได้ 89 ปี 64 พรรษา การจากไปของหลวงปู่ นับเป็นการสูญเสียพระเถระชั้นผู้ใหญ่อีกรูปหนึ่งของจังหวัดสกลนคร ที่มีพุทธศาสนิกชนให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสเป็นจำนวนมาก จากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของท่าน ทำให้วัดป่าปุญญาประทีปแห่งนี้ กลายเป็นศูนย์กลางแห่งความดี เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศ พากันหลั่งไหลมาที่วัดในแต่ละวันไม่ขาดสาย-


    1578-95f7-jpg.jpg 1579-26a5-jpg.jpg

    1577-2820-jpg.jpg 1576-6ac9-jpg.jpg 1575-a676-jpg.jpg
    ............................................................ SAM_8927.JPG SAM_8930.JPG SAM_8928.JPG SAM_7605.JPG .
     
  7. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +872
    ปิดลป.ขอบและลป.ผ่านครับ
     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 688 เหรียญเสมารุ่นสุดท้ายรูปพระอาจารย์(หลวงปู่ผาง)เเละลูกศิษย์+เหรียญที่ระลึกงานวางเพลืงสรีระสังขารหลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าประไพศรีวนาราม อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม หลวงปู่ประไพเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร ,หลวงปู่ผาง วัดป่าอุดมคงคาคีรีเขต เหรียญสร้างปี 2555 เนื้อตะกั่วสร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 87 ปี มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ***********บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งems
    untitled-1-54-jpg-jpg-jpg.jpg

    ท่านเป็นศิษย์สายธรรมพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร นอกจากนี้ ท่านยังเป็นลูกศิษย์เอกหลวงปู่ผาง คุตตจิตโต พระเกจิชื่อดังแห่งวัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
    ชาติภูมิ นามเดิมมีชื่อว่า นายประไพ ไชยพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2468 ณ บ้านขามเตี้ยน้อย อ.ท่าอุเทน (ปัจจุบัน อ.โพนสวรรค์) มีบิดา-มารดาชื่อนายไสย ไชยพันธุ์ อดีตกำนัน ต.นาขมิ้นและนางสั้น แผ่นพรหม มีพี่น้อง 7 คน ซึ่งท่านเป็นบุตรคนที่ 2 จบชั้นประถมปีที่ 2 จากโรงเรียนในหมู่บ้าน มีอาชีพทำนาทำสวน
    หลวงปู่ประไพเข้าสู่ร่มกาวสาวภัสตร์ เมื่อปีพ.ศ.2492 ในวัย 24 ปี ก่อนจะญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2495 ท่านเดินธุดงค์ที่ จ.ขอนแก่น นาน 3 ปี ก่อนฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ผาง และออกเดินธุดงค์ไปเรื่อย กระทั่งสังขารย่างเข้าสู่วัยชรา จึงมาจำพรรษาที่วัดศรีประไพวนารามบ้านเกิด

    ท่านเป็นพระป่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยจริยาวัตรที่งดงาม เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่สาธุชนทั่วไป จนมีลูกศิษย์ลูกหาที่แวะเวียนไปกราบไหว้ไม่เว้นวัน ช่วงที่ท่านอาพาธท่านงดรับกิจนิมนต์ ขณะที่ท่านอาพาธอยู่ที่วัดที่จำพรรษานานกว่า 2 ปี ท่านไม่เคยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแต่อย่างใด กระทั่งละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบที่กุฏิ สิริอายุ 92 ปี 64 พรรษา (*****ปัจจุบันสรีระสังขารหลวงปู่ยังไม่ฌาปนกิจ องค์หลวงปู่ได้สั่งลูกศิษย์ให้เก็บร่างบรรจุไว้ในโลงเเก้ว ใต้ห้องใต้ดินพิพิธภัณฑ์ ของหลวงปู่) sam_7760-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7761-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7762-jpg-jpg-jpg.jpg SAM_8938.JPG SAM_8942.JPG SAM_8941.JPG sam_8221-jpg-jpg.jpg
     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 689 เหรียญรุ่นอุดมพรรุ่น 2 หลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่ชอบเป็นศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น เหรียญสร้างปี 2537(ั*****ทันหลวงปู่ครับ) เนื้อทองเเดงรมดำ สร้างเนื่องเป็นที่ระลึกงานทอดกฐินวัดท่าเเขก(วัดสาขาหลวงปู่) มีพระเกศาเเละพระธาตุหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล *************บูชาที่ 445 บาทฟรีส่งems #ประวัติหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย
    อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลยเลย


    "พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญา"


    2-png-png-png.png

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญาญาณ คือ ผู้ทรงความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนา มีคุณสมบัติพิเศษ ๖ อย่าง . อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

    ท่านมีนิสัยชอบโดดเดี่ยวเที่ยวไปอยู่ในป่า ทำในสิ่งที่บุคคลอื่นทำได้ยาก ไม่ชอบเกี่ยวข้องกับหมู่ชนพระเณร เป็นผู้มีความองอาจเด็ดเดี่ยว อดทนเป็นเลิศ ไม่กลัวความทุกข์ยากลำบาก เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย กล้าได้กล้าเสียในการปราบกิเลส ถึงกับท่านพระอาจารย์มั่นออกปากชมท่ามกลางสภาสงฆ์ "ให้ทุกองค์ภาวนาให้ได้เหมือนท่านชอบสิ ท่านองค์นี้ภาวนาไปไกลลิบเลย"

    ท่านสามารถแสดงธรรมและสนทนาธรรมเป็นภาษาต่างๆ ได้หมด เพียงกำหนดจิตดูว่าภาษานั้นเขาใช้พูดกันว่าอย่างไร ท่านสามารถแสดงธรรมโปรดเทวดา พญานาค ตลอดจนภพภูมิต่างๆ ได้

    การธุดงค์ของท่านนับว่าโลดโผนมาก ชอบเดินทางในเวลากลางคืนหรือจวนสว่างในคืนเดือนหงาย เที่ยวไปอบ่างอนาคาริกมุนีผู้ไม่มีอาลัยในโลกทั้งปวง บางคราวมีเสือลายพาดกลอนตัวใหญ่สองตัวกระโดล้อมหน้าล้อมหลังเอาไว้ ท่านเร่งสติสมาธิ แผ่เมตตา กำหนดจิตเข้าข้างใน สมาธิลึกเข้าไปจนถึงฐานของจิต ปล่อยวางสิ่งทั้งปวง เมื่อถอนจิตออกมาปรากฏว่าเสือสองตัวได้หายไปแล้ว

    ครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปทางอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง เข้าไปหมู่บ้านกะเหรี่ยงกลางหุบเขาเพื่อโปรดพี่ชายของท่านในอดีตชาติที่รักกันมาก ท่านระลึกชาติได้ว่า เคยเกิดเป็นชาวกะเหรี่ยงที่ประเทศพม่า มีพี่ชายคนหนึ่ง บัดนี้เขาได้มาเกิดเป็นชาวกะเหรี่ยง ชื่อว่า "เสาร์" อยู่ที่ตำบลป่ายาง บ้านผาแด่น อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยจิตเมตตาท่านจึงเดินทางไปโปรดดึงเขาเข้าสู่ทางธรรม และต่อมานายเสาร์ก็ได้บวชเป็นพระติดตามท่านจนตลอดชีวิต

    1-1-png-png-png.png

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    ท่านเล่าว่าในบางคราวหลงอยู่ในกลางป่าเป็นเวลาหลายๆ วัน ท่านเป็นที่เคารพรักของเหล่าเทพยดา เดินทางจากประเทศพม่าจะเข้าสู่ไทย หลงป่าเจียนตายเพราะความหิว เทวดาได้นำอาหารทิพย์มาใส่บาตร อาหารนั้นมีรสอร่อยส่งกลิ่นหอม หายเมื่อยหายหิวไปหายหิวไปหลายวัน

    ท่านทำสมาธิทั้งกลางวันกลางคืน บางคราวพายุฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก ท่านต้องนั่งกอดบาตรเอาไว้จนสว่าง ท่านพบวิมุตติบรรลุธรรมขั้นสูงสุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ พรรษาที่ ๒๐ อายุ ๔๓ ปี ที่ถ้ำบ้านหนองยวน ประเทศพม่า

    ในระยะที่ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นนั่น ท่านได้รับความไว้วางใจและมอบหมาย ให้ช่วยดูแลพระเณรที่คิดอะไรนอกลู่นอกทาง ไม่ถูกต้องตามครรลองของผู้ทรงศีลธรรมท่านก็จะตักเตือน เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นว่าท่านมีความรู้ภายในว่องไวไม่แพ้หลวงปู่มั่น พระเณรทั้งหลายจึงเกรงกลัวท่านมาก และท่านก็ยังสามารถระลึกชติ รู้อดีตชาติของท่านเองว่าเคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง เช่น เคยเกิดเป็นพระภิกษุรักษาศีลอยู่กับพระอนุรุทธะ เคยเป็นสามเณรน้อยลูกศิษย์พระมาหกัสสปะ เคยเกิดเป็นท้าวมหาพรหมในพรหมโลก และเป็นสัตว์หลายชนิดอีกด้วย หลวงปู่ชอบท่านบำเพ็ญภาวนาอยู่ตามป่าตามเขา ส่วนมากทางภาคเหนือหลายพื้นที่รวมถึงประเทศพม่าด้วย

    3-png-png-png.png

    ในหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    ทรงนมัสการหลวงปู่ชอบ

    ท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายมอ และนางพิลา แก้วสุวรรณ

    บวชสามเณรเมื่ออายุ ๑๙ ปี ณ วัดบ้านนาแก ตำบลบ้านนากลาง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นสามเณรอยู่ถึง ๔ ปีกว่า และได้อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ณ วัดศรีธรรมาราม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมี พระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    4-png-png-png.png
    รูปเหมือนหลวงปู่ชอบ
    ท่านได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ณ เสนาสนะป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม หลวงปู่มั่นได้ให่โอวาทสั้นๆ ว่า "ท่านเคยภาวนามาอย่างไรก็ให้ทำต่อไปเช่นนั้น อย่าได้หยุด ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้นั้นมันอยู่ที่ใจเรานี่แหละ ถ้าอยากรู้อยากเห็นธรรมเหล่านั้น ก็ให้ค้นหาเอาที่ใจของท่านเอง"

    ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ขณะท่องเที่ยวธุดงค์อยู่ทางภาคเหนือ สหธรรมิกคือหลวงปู่ขาว อนาลโย ชวนท่านกลับมาอีสาน ท่านจึงได้มาจำพรรษาที่ป่าช้าหินโง้น ปัจจุบันคือ วัดป่าโคกมน

    ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ มีชาวบ้านถวายที่สร้างวัดกว่าร้อยไร่ ท่านจึงได้รับสร้างเป็นวัดขึ้นมา ปัจจุบันคือ วัดป่าสัมมานุสรณ์ ท่านได้อยู่จำพรรษาที่นี่เรื่อยมาจวบจนวาระสุดท้ายของท่าน

    5-png-png-png.png
    อัฐิและพระธาตุของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ อายุ ๗๐ ปี ท่านป่วยเป็นอัมพาต

    ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าสัมมานุุสรณ์ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สิริรวมอายุได้ ๙๓ ปี ๑๑ เดือน ๒๗ วัน ๗๐ พรรษา SAM_8937.JPG SAM_8936.JPG SAM_8010.JPG
     
  10. birdyik

    birdyik Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +129
    จองรายการนี้ครับ
     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 690 เหรียญ7รอบครบ 84 ปีหลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระอรหันต์เจ้าวัดอรัญวิเวก (วัดบ้านปง) หลวงปู่เปลี่ยนเป็นศิษย์หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม,หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ วัดดอยเเม่ปั๊ง เหรียญสร้างปี 2559 เนื้อทองฝาบาตร เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา ***********บูชาที่ 445 บาทฟรีส่งemslส
    "พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป" อริยสงฆ์แห่งอรัญญวิเวก
    วันที่ 15 ก.พ. 2561 เวลา 21:45 น.

    C79E6BBDAEC5444CAF97DFCE1D7429E7.jpg

    ปีพ.ศ. 2470 ชาวบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ยินข่าวว่ามีพระกรรมฐานรูปหนึ่งจาริกมาพำนักอยู่ที่วัดไทยใหญ่ ในเขตอำเภอแห่งนั้น ชาวบ้านปงซึ่งเป็นผู้มีศรัทธาปสาทะในพุทธศาสนาเป็นทุนอยู่เดิมแล้ว จึงมอบให้ตัวแทน 9 คนไปนิมนต์พระภิกษุรูปนั้นมาโปรดชาวบ้านปง

    อาจารย์กรรมฐานรูปนั้นคือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ บุรพาจารย์ของเหล่าพระป่าในยุคกึ่งพุทธกาล

    ในวันที่รับอาราธนานั้นเอง หลวงปู่มั่นก็เดินทางด้วยเท้า 6 กิโลเมตร กลับมากับผู้แทนชาวบ้านปงทั้ง 9 หลังพาท่านไปพักที่ป่าช้าได้ 3 วัน ก็พบที่สัปปายะเป็นเนินเขาเตี้ยๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งมีซากฐานของพระวิหารอันเป็นเครื่องหมายบ่งว่า สถานที่แห่งนั้นเป็นวัดร้างมาก่อน จึงได้ปลูกที่พักให้ท่านได้พำนักอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น

    นับแต่นั้นมาศิษยานุศิษย์ของพระอาจารย์มั่นจากทั่วสารทิศก็หลั่งไหลมาสู่บ้านปง

    ในพรรษาแรกมี 5 รูป หมดพรรษานั้นพระอาจารย์มั่นได้ออกเที่ยวธุดงค์ต่อ แต่ก่อนจะออกเดินทาง ท่านได้เมตตาตั้งชื่อสถานที่แห่งนั้นให้ว่า “สำนักอรัญญวิเวก บ้านปง” ซึ่งต่อมาเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดบ้านปง”
    พระอาจารย์มั่นยังสั่งไว้ด้วยว่า “ขอให้คณะศรัทธาญาติโยม จงพากันรักษาปฏิบัติดูแลสำนักแห่งนี้ไว้ให้ดี ต่อไปในอนาคตข้างหน้า จะมีเจ้าของเขามาสร้างพัฒนาให้เจริญรุ่งเรือง เป็นสถานที่ปฏิบัติกรรมฐาน และเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองในอนาคตภายภาคหน้าแก่ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายสืบไป”
    หลังพระอาจารย์มั่นจากไป ก็มีพระกรรมฐานธุดงค์หลายรูปผ่านมาพำนัก ณ สถานที่แห่งนี้ ไม่ว่า หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่สาม อกิญจโน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ฯลฯ โดยเฉพาะหลวงปู่แหวนนั้นมาจำพรรษาอยู่ ณ ที่นี่ถึง 10 พรรษา แต่ก็ไม่มีรูปใดส่อแววว่า จะเป็นเจ้าของผู้มาสร้างพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองดังที่พระอาจารย์มั่นระบุไว้

    กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 12 ก.พ. ปีพ.ศ. 2509 พระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งก็มาถึง จากวันนั้นถึงวันนี้ ชื่อและนามของท่านก็ปรากฏเป็นที่เรียกขานคู่กันรู้จักกันทั่วไปว่า “พระอาจารย์เปลี่ยนวัดอรัญญวิเวก” หรือ “พระอาจารย์เปลี่ยนวัดบ้านปง”

    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระหนุ่มในพ.ศ.โน้น เป็นหลวงปู่เปลี่ยนแล้วในวันนี้ แต่ผู้ที่ได้พบมักจะกล่าวตรงกันว่า โดยรูปลักษณ์ที่เห็นนั้น ท่านไม่น่าจะมีอายุถึง 77 ปี

    พระอาจารย์เปลี่ยน เป็นคนบ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เกิดในสกุล วงษาจันทร์ เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ปีพ.ศ. 2476 บิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ตาและยายซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูเป็นกำนัน ท่านเป็นผู้ฝักใฝ่ในเรื่องศาสนามาตั้งแต่เล็กแต่น้อย อาจเพราะพื้นเพวาสนา มาแต่เก่าก่อนนั้นประการหนึ่ง การได้คลุกคลีกับพระสงฆ์มาแต่วัยเยาว์นั้นก็อีกส่วนหนึ่ง แต่ถึงจะเอ่ยปากขอบวชมาตั้งแต่อายุ 12 ปี จนกระทั่ง 20 ปี มารดาก็ไม่อนุญาต

    กระทั่งบิดาเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2497 และอีก 5 ปีถัดมาลุงก็เสียชีวิตตามไป เมื่อสบโอกาสว่าจะขอบวชแทนพระคุณท่านทั้งสอง ทั้งตาและแม่เลยอนุญาตให้บวช 7 วัน แต่ 7 วันนั้นก็เป็นแต่เพียงกำหนดที่ไม่เป็นจริง

    พระอาจารย์เปลี่ยน อุปสมบทที่วัดพระธาตุมีชัย บ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ปีพ.ศ. 2502 โดยมีพระครูอดุลยย์สังฆกิจเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิพิธธรรมสุนทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยปฏิญาณต่อพระปฏิมากรว่า “การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นหน้าที่ของพระทุกรูปที่ได้มาบวชในศาสนา”

    บวชครบ 7 วัน พอโยมแม่มาขอให้สึกก็ขอผลัดเป็นให้รอออกพรรษาไป 21 วัน คำปฏิญาณตอนบวชได้ย้อนมาเตือนใจอีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ลงมือทำทางจงกรมเพื่อเจริญภาวนา และเพียงเดินจงกรมไป 2 ชั่วโมงและนั่งภาวนาอีก 3 ชั่วโมงในวันแรกของการจงกรม

    หลังนั่งลงโดยตั้งสัจจะว่า “ถ้ายุงตัวใดจะดูดกินเลือด ก็จะถือเป็นพระพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะต้องเป็นไข้มาลาเรียตายก็ยอม เพราะรุ่งขึ้นเช้าไปบิณฑบาตมาฉันแล้วก็เปลี่ยนเป็นเลือดได้”

    ท่านว่า หลังปล่อยวางจิตเข้าสู่สมาธิแล้ว ก็หายไปหมดทั้งร่าง แล้วความสงบครั้งแรกในชีวิตก็บังเกิดขึ้นและดำเนินไปกระทั่ง 3 ชั่วโมงเศษ ถึงรู้สึกตัว

    พระอาจารย์เปลี่ยนจำพรรษาแรกอยู่กับพระอาจารย์สุภาพ ธัมมปัญโญ และพระอาจารย์สุภาพนี่เองที่นำไปพบ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระอรหันต์แห่งวัดบ้านดงเย็น หรือวัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี

    วันแรกที่ได้ไปกราบคารวะทำวัตรกับหลวงปู่พรหม หลวงปู่ได้เทศน์ให้ฟัง พอกลับมาภาวนาและเข้าที่ด้วยท่าสีหไสยาสน์ พอนึกไปถึงเทศนานั้นจิตก็ลงสู่ความสงบ ปรากฏว่า ตัวท่านไปนั่งอยู่หน้าหลวงปู่พรหมที่วัดบ้านดงเย็น แล้วหลวงปู่พรหมจึงเทศน์ให้ฟังเรื่องอริยสัจ 4 แล้วเร่งให้ปฏิบัติให้มาก

    หลังจากนั้นหลวงปู่พรหมจะมาชี้แนะวิธีการภาวนาให้ในสมาธิอย่างน้อยเดือนละ 2 หน

    พอออกพรรษาวันแรก โยมมารดาก็มาถามเรื่องสึกอีก หนนี้ท่านผลัดว่า ขอรับกฐินก่อน พอรับกฐินท่านออกธุดงค์ไปองค์เดียว จนพบหมู่คณะ พากันออกไปตามหาท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

    ท่านอาจารย์จวนชี้แนะว่า “ต้องเปลี่ยนสมมติให้รู้ ข้ามสมมติให้ได้”

    จากท่านอาจารย์จวน ตัดลงใต้ไปถึงภูเก็ตเพื่อไปศึกษากับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ระหว่างนั้นหลวงปู่พรหมก็ยังมาสอนในสมาธิอยู่เสมอๆ

    ขณะนั้นการดำเนินจิตของท่านมาถึงจุดที่นั่งภาวนาแล้วจิตดิ่งลึกไปโดยไม่รู้ว่า จิตอยู่ที่ไหน ทุกอย่างดับจนไม่ได้ยินเสียงอะไรทั้งสิ้น แต่เกิดปีติมากจนไม่อยากฉันอาหาร

    หลวงปู่เทสก์แก้ปัญหาให้ว่า “อาการเช่นนี้เรียกว่า นิพพานพรหม จิตดับกระทั่งไม่ได้ยินเสียง ไม่รับรู้อะไรจากภายนอก จิตลงไปสู่ส่วนลึกที่สุดเป็นอัปปนาฌาน เรียกว่า พรหมลูกฟัก เป็นพรหมชั้นสูง ถ้าไม่แก้ไขผู้นั้นจะคิดว่าตนได้พบพระนิพพาน จะไปไหนไม่รอด...”

    ท่านว่า ครั้งหนึ่งเมื่อหลวงปู่ขาวติดตามหลวงปู่มั่นไปยังภาคเหนือ หลวงปู่ขาวนั่งภาวนารวดเดียวตั้งแต่ 6 โมงเย็นไปถึง 6 โมงเช้า ที่สำนักสงฆ์อรัญญวิเวก น้ำค้างจับร่างหลวงปู่ขาวจนเปียกชุ่ม พอหลวงขาวออกจากสมาธิไม่รู้ว่า จิตไปอยู่ที่ไหน เลยไปเรียนถามหลวงปู่ใน

    หนนั้นหลวงปู่มั่นชี้แนะเพียงนิดเดียวว่า ให้ตั้งต้นใหม่ ติดตามดูจิตตั้งแต่เริ่มต้น เข้าสมาธิ ใช้สติปัญญาตามดูจิตให้ดีว่า วางอารมณ์อะไรจึงดับเสียงไปหมด ให้ดูว่าจิตไปอยู่ที่ไหน ต้องตามให้รู้

    พระอาจารย์เปลี่ยนก็ใช้กลวิธีเดียวกันนั้นแก้หลุมพรางของจิตที่ประสบอยู่

    95A34488988F4BB08D5642D2470075DE_1000.jpg
    ขึ้นมาจากภูเก็ต ท่านไปกราบคาราวะรับการชี้แนะจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ขาว ฯลฯ และหลวงปู่ขาวก็ย้ำว่าให้แก้ด้วยวิธีการเช่นว่า

    การเบนเข็มจากภาคอีสานมาสู่ภาคเหนือเกิดขึ้นหลังพรรษาที่ 4 เมื่อได้ยินข่าวว่า หลวงปู่ตื้อเทศน์เก่ง หลวงปู่แหวนไม่เทศน์ แต่เป็นนักปฏิบัติ การมุ่งขึ้นเหนือคราวนี้ ทำให้ได้พบและอยู่ศึกษากับ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร แล้วไปอยู่กับหลวงปู่ตื้อ หลวงปู่แหวนดังใจหมาย

    ท่านว่า หลวงปู่ตื้อนั้นมีความสามารถในการสอนธรรมะและไขปัญหาต่างๆ ให้ได้พบความกระจ่างแจ้งอย่างที่ร่ำลือ

    ค่ำบีบนวดถวาย ระหว่างนั้นหลวงปู่ตื้อจะเทศน์ ทั้งสอนทั้งแก้ไขปัญหาที่สงสัย เที่ยงคืนออกมาปฏิบัติถึง 02.00 น. ถึงพักนอนแค่ 2 ชั่วโมง 04.00 น. ตื่นทำวัตร หลวงปู่ตื้อสอนทุกอย่าง รวมทั้งฝึกให้ท่าใช้อนาคตังสญาณคือ แรกๆ จะบอกล่วงหน้าว่า ใครจะมาหา ถึงเวลาก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เมื่อท่านฝึกตามที่ได้รับการชี้แนะ พระอาจารย์เปลี่ยนก็ได้ญาณนั้นเช่นกันคือ รู้ก่อนล่วงหน้าว่า ใครจะมาหา มากี่คน ใส่เสื้อสีอะไร

    ออกจากหลวงปู่ตื้อ ก็ไปพำนักกับหลวงปู่แหวน

    ในพรรษาที่ 6 ท่านควบคุมจิตได้

    กลวิธีที่ท่านใช้ คือ ทำความเพียรทั้ง 4 อิริยาบถ พอเมื่อยล้าเมื่อไหร่ก็หันไปอ่านหนังสือวิสุทธิมรรค

    ท่านว่า “การดูเข้าไปในจิตเรื่อยๆ มันจะเริ่มวางเสียงลงได้ เสียงจะเบาลงๆ จนกระทั่งดับนิ่ง จึงรู้ว่าจิตเราวางเสียงดังนี้นี่เอง เมื่ออยู่นิ่งๆ นานเข้า ใช้สติปัญญาเข้าไปครองจิตให้นิ่ง มันก็จะสงบลงไปหมด ว่างไปเหมือนไม่มีตัว ไม่มีกาย ว่างอยู่เฉยๆ มันนิ่งสบาย จึงรู้ว่าจิตมาอยู่นี่เอง ร่างกายก็เหมือนไม่มี อยู่ว่างๆ สบาย คอยดูจิตอยู่ มันเหมือนไม่มีใครอยู่ด้วย เหมือนจำพรรษาอยู่คนเดียว การดูจิตของเราไปตลอดเวลา ทำให้หนังสือที่เคยท่องมา เช่น วิสุทธิมรรคที่อ่านอยู่ เกิดตัวรู้ขึ้นมาทันทีตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่บรรทัดแรกจนบรรทัดสุดท้าย เหมือนกับอ่านบาลีและรู้ทั้งหมดในทันทีนั้นเอง”

    พระอาจารย์เปลี่ยนเจริญในธรรมมาตามลำดับ โดยได้รับการชี้แนะจากพ่อแม่ครูอาจารย์หลายรูป ไม่ว่า หลวงปู่แหวน หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ขาว หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่สิม หลวงปู่พรหม หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่สาม อกิญจโน อาจารย์บัวพา ปัญญาภาโส หลวงปู่อ่อน หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ฯลฯ

    หลายรูปที่สอนการภาวนาให้ทั้งมาโดยในนิมิตและการได้พบกันเป็นๆ ในจังหวะต่างๆ

    หลวงปู่แหวนนั้นบอกว่า “เอามันให้ได้ มรรค ผล นิพพาน มันยังมีอยู่ ไม่ได้ไปไหน ...”
    ทุกวันนี้พระอาจารย์เปลี่ยนยังโปรดญาติโยมทั้งใกล้และไกล นอกจากจะพัฒนาวัดป่าอรัญญวิเวกให้เจริญก้าวหน้าดังที่พระอาจารย์มั่นได้กล่าวไว้ล่วงหน้าแล้ว ท่านยังเผยแผ่ธรรมะไปในที่ต่างๆ ทั่วโลกอีกทางหนึ่งด้วย ท่านเทศนาได้หลายภาษา ภาษาเวียดนาม ภาษาอังกฤษ ฯลฯ

    กับผู้อยู่ในโลกตะวันตกนั้น ท่านได้ไปสอนบรรดาโปรเฟสเซอร์ตามมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกทั้งหลายให้รู้จักธรรมะของพุทธศาสนา ท่านว่า จับโจรต้องจับหัวหน้าโจร เมื่อผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นคนนำปัญญาได้รู้ได้เห็นธรรมะแล้ว ธรรมะก็จะเผยแผ่ได้ง่าย

    ผมเคยเรียนถามท่านว่า ท่านเรียนภาษาเหล่านั้นมาจากไหน ถึงเขียนหรือเทศน์เป็นภาษานั้นๆ ได้ ท่านว่า จะไปยากอะไร ก็ภาวนาเอาสิ ภาวนาแล้วมันก็รู้ขึ้นมาเองล่ะ อยากรู้ภาษาอะไรก็ได้รู้

    ท่านเคยเทศนาไว้ว่า ผู้เป็นพระโสดาบันนั้น จะรู้ตนว่ามีศีล 5 ศีล 8 ครบบริบูรณ์ ถ้ารู้ว่าปฏิบัติได้มากกว่านั้น ก็รู้ตัวว่าได้มากกว่านั้น ไม่สงสัย ไม่ลูบคลำว่าศีลข้อนั้นมันดีหรือไม่ดี พระสกิทาคามีนั้น ละความโลภ ความโกรธ ความหลงให้เบาบางลงได้แต่ไม่หมด พระอนาคามีนั้นอยู่ในฌานเป็นพรหมจรรย์อยู่โดดเดี่ยว เหมือนคนไม่มีคู่เรียงเคียงหมอน จิตวิญญาณมีอยู่ขันธ์เดียว อยู่กับความสุข ไม่ยุ่งกับใคร ศีล 8 สมบูรณ์

    สำหรับพระอรหันต์นั้น รู้แจ้งหมดแล้ว หายสงสัยในโลกหมดแล้ว รู้โลกแจ้งชัดเจนแล้ว ไม่หลงโลก ใครจะทำให้หลงก็ไม่หลง ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มีความต้องการ ร่างกายก็รู้หมด รู้เฒ่า รู้แก่ รู้เจ็บ รู้ตาย รู้ทุกข์ รู้ยาก พอแล้ว อิ่มแล้ว ไม่เอารูปขันธ์นี้แล้ว เรียกว่าตัดกิเลสขาด ขาดจากความยึดมั่น ถือมั่น วิราโค คลายความกำหนด สิ้นความยินดี ไม่ยินดีกับอะไรในโลกนี้ ความรัก ความชังขาดลอยหมดแล้ว ไม่แต่อุเบกขาญาณ วางเฉยอยู่แต่ยังสอนคนอยู่ จะเอาไม่เอาช่างมัน สอนด้วยความเมตตาเฉยๆ แต่ตัวท่านนั้นทำงานเสร็จแล้ว ไม่มีงานจะทำแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือ การปฏิบัติธรรมอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำไม่มีอีก ที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะมาเกิดอีกไม่มี จิตของท่านไม่ต้องพูดถึง เป็นสมาธิทั้งวันทั้งคืน เป็นอยู่ทุกขณะ รู้อยู่ตลอด พุทโธเต็มอยู่บริบูรณ์อยู่ตลอด มีธัมโม สังโฆอยู่ในตัวตลอด...

    ท่านว่า ผู้ที่รู้ธรรมย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นปัจจัตตัง และวิญญูชน รู้ด้วยเฉพาะตัวเอง เหมือนว่า ร้อนเรารู้ หนาวเรารู้ เรารู้อยู่คนเดียว คนอื่นไม่รู้ด้วย ทุกข์เรา ก็รู้อยู่คนเดียวของเรา คนอื่นจะมารู้ไม่ได้..

    วิญญูชนรู้ได้ด้วยเฉพาะตนเอง ไม่ต้องไปวัดหรอก ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์มาวัดหรอก เขาจะวัดของเขาเอง ถ้าเขาหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ เขาก็จะรู้ของเขาเองว่าหลุดพ้นแล้ว ไม่มีอะไรขัดข้องกับจิตใจ”

    พระอาจารย์เปลี่ยนปฏิบัติมาถึงระดับใดท่านรู้ของท่านเอง แต่ที่แน่ๆ คือ เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ควรแก่การสักการะ เป็นพุทธบุตรที่ยังดำรงขันธ์ให้เราอยู่เห็นในพ.ศ.นี้

    *************************************

    ในวันที่ 15 ก.พ. 2561 พระอาจารย์เปลี่ยนได้ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบ สิริอายุ 84 ปี 2 เดือน 29 วัน พรรษา 59 SAM_8943.JPG SAM_8944.JPG SAM_8945.JPG SAM_8946.JPG SAM_7793.JPG
     
  12. sp-pol

    sp-pol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    1,280
    ค่าพลัง:
    +562
    รายการ679 โอนแล้วครับรายละเอียดในPM.ครับ
     
  13. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +872
    จองลป.เปลี่ยน
     
  14. birdyik

    birdyik Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +129
    โอนเงินรายการนี้แล้วครับ แจ้งรายละเอียดใน PM ครับ ขอบคุณครับ
     
  15. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,333
    ค่าพลัง:
    +4,793
    บูชาครับ
     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 691 เหรียญรุ่นครบ 96 ปีพระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี หลวงตามหาบัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคกลาง เหรียญสร้างปี 2552 มีตอกโต๊ต หน้าเหรียญ 2 โคีต พุทโธเเละโค๊ตกากะบาท เนื้อสำริด มีพระเกศา,พระธาตุมาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ************บูชาที่ 445 บาทฟรีส่งems(ทันพระหลวงตาครับ ท่านละสังขาร 2554)
    sam_3206-jpg.jpg


    SAM_7955.JPG SAM_8947.JPG SAM_8948.JPG
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 692 เหรียญกลมไข่หล่อหลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระอรหันต์เจ้าวัดอรัญวิเวก (วัดบ้านปง) หลวงปู่เปลี่ยนเป็นศิษย์หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม,หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ วัดดอยเเม่ปั๊ง เหรียญสร้างปี 2557 เนื้อทองเเดงรมดำมันปู สร้างเนื่องฉลองพระอุโบสถวัดบ้านโคกคอน เป็นวัดบ้านเกิดของหลวงปู่ครับ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา *******************************บูชาที่ 405 บาทฟรีส่งems
    "พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป" อริยสงฆ์แห่งอรัญญวิเวก
    วันที่ 15 ก.พ. 2561 เวลา 21:45 น. วันละสังขาร
    ท่าน

    c79e6bbdaec5444caf97dfce1d7429e7-jpg.jpg

    ปีพ.ศ. 2470 ชาวบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ยินข่าวว่ามีพระกรรมฐานรูปหนึ่งจาริกมาพำนักอยู่ที่วัดไทยใหญ่ ในเขตอำเภอแห่งนั้น ชาวบ้านปงซึ่งเป็นผู้มีศรัทธาปสาทะในพุทธศาสนาเป็นทุนอยู่เดิมแล้ว จึงมอบให้ตัวแทน 9 คนไปนิมนต์พระภิกษุรูปนั้นมาโปรดชาวบ้านปง

    อาจารย์กรรมฐานรูปนั้นคือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ บุรพาจารย์ของเหล่าพระป่าในยุคกึ่งพุทธกาล

    ในวันที่รับอาราธนานั้นเอง หลวงปู่มั่นก็เดินทางด้วยเท้า 6 กิโลเมตร กลับมากับผู้แทนชาวบ้านปงทั้ง 9 หลังพาท่านไปพักที่ป่าช้าได้ 3 วัน ก็พบที่สัปปายะเป็นเนินเขาเตี้ยๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งมีซากฐานของพระวิหารอันเป็นเครื่องหมายบ่งว่า สถานที่แห่งนั้นเป็นวัดร้างมาก่อน จึงได้ปลูกที่พักให้ท่านได้พำนักอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น

    นับแต่นั้นมาศิษยานุศิษย์ของพระอาจารย์มั่นจากทั่วสารทิศก็หลั่งไหลมาสู่บ้านปง

    ในพรรษาแรกมี 5 รูป หมดพรรษานั้นพระอาจารย์มั่นได้ออกเที่ยวธุดงค์ต่อ แต่ก่อนจะออกเดินทาง ท่านได้เมตตาตั้งชื่อสถานที่แห่งนั้นให้ว่า “สำนักอรัญญวิเวก บ้านปง” ซึ่งต่อมาเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดบ้านปง”
    พระอาจารย์มั่นยังสั่งไว้ด้วยว่า “ขอให้คณะศรัทธาญาติโยม จงพากันรักษาปฏิบัติดูแลสำนักแห่งนี้ไว้ให้ดี ต่อไปในอนาคตข้างหน้า จะมีเจ้าของเขามาสร้างพัฒนาให้เจริญรุ่งเรือง เป็นสถานที่ปฏิบัติกรรมฐาน และเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองในอนาคตภายภาคหน้าแก่ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายสืบไป”
    หลังพระอาจารย์มั่นจากไป ก็มีพระกรรมฐานธุดงค์หลายรูปผ่านมาพำนัก ณ สถานที่แห่งนี้ ไม่ว่า หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่สาม อกิญจโน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ฯลฯ โดยเฉพาะหลวงปู่แหวนนั้นมาจำพรรษาอยู่ ณ ที่นี่ถึง 10 พรรษา แต่ก็ไม่มีรูปใดส่อแววว่า จะเป็นเจ้าของผู้มาสร้างพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองดังที่พระอาจารย์มั่นระบุไว้

    กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 12 ก.พ. ปีพ.ศ. 2509 พระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งก็มาถึง จากวันนั้นถึงวันนี้ ชื่อและนามของท่านก็ปรากฏเป็นที่เรียกขานคู่กันรู้จักกันทั่วไปว่า “พระอาจารย์เปลี่ยนวัดอรัญญวิเวก” หรือ “พระอาจารย์เปลี่ยนวัดบ้านปง”

    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระหนุ่มในพ.ศ.โน้น เป็นหลวงปู่เปลี่ยนแล้วในวันนี้ แต่ผู้ที่ได้พบมักจะกล่าวตรงกันว่า โดยรูปลักษณ์ที่เห็นนั้น ท่านไม่น่าจะมีอายุถึง 77 ปี

    พระอาจารย์เปลี่ยน เป็นคนบ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เกิดในสกุล วงษาจันทร์ เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ปีพ.ศ. 2476 บิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ตาและยายซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูเป็นกำนัน ท่านเป็นผู้ฝักใฝ่ในเรื่องศาสนามาตั้งแต่เล็กแต่น้อย อาจเพราะพื้นเพวาสนา มาแต่เก่าก่อนนั้นประการหนึ่ง การได้คลุกคลีกับพระสงฆ์มาแต่วัยเยาว์นั้นก็อีกส่วนหนึ่ง แต่ถึงจะเอ่ยปากขอบวชมาตั้งแต่อายุ 12 ปี จนกระทั่ง 20 ปี มารดาก็ไม่อนุญาต

    กระทั่งบิดาเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2497 และอีก 5 ปีถัดมาลุงก็เสียชีวิตตามไป เมื่อสบโอกาสว่าจะขอบวชแทนพระคุณท่านทั้งสอง ทั้งตาและแม่เลยอนุญาตให้บวช 7 วัน แต่ 7 วันนั้นก็เป็นแต่เพียงกำหนดที่ไม่เป็นจริง

    พระอาจารย์เปลี่ยน อุปสมบทที่วัดพระธาตุมีชัย บ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ปีพ.ศ. 2502 โดยมีพระครูอดุลยย์สังฆกิจเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิพิธธรรมสุนทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยปฏิญาณต่อพระปฏิมากรว่า “การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นหน้าที่ของพระทุกรูปที่ได้มาบวชในศาสนา”

    บวชครบ 7 วัน พอโยมแม่มาขอให้สึกก็ขอผลัดเป็นให้รอออกพรรษาไป 21 วัน คำปฏิญาณตอนบวชได้ย้อนมาเตือนใจอีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ลงมือทำทางจงกรมเพื่อเจริญภาวนา และเพียงเดินจงกรมไป 2 ชั่วโมงและนั่งภาวนาอีก 3 ชั่วโมงในวันแรกของการจงกรม

    หลังนั่งลงโดยตั้งสัจจะว่า “ถ้ายุงตัวใดจะดูดกินเลือด ก็จะถือเป็นพระพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะต้องเป็นไข้มาลาเรียตายก็ยอม เพราะรุ่งขึ้นเช้าไปบิณฑบาตมาฉันแล้วก็เปลี่ยนเป็นเลือดได้”

    ท่านว่า หลังปล่อยวางจิตเข้าสู่สมาธิแล้ว ก็หายไปหมดทั้งร่าง แล้วความสงบครั้งแรกในชีวิตก็บังเกิดขึ้นและดำเนินไปกระทั่ง 3 ชั่วโมงเศษ ถึงรู้สึกตัว

    พระอาจารย์เปลี่ยนจำพรรษาแรกอยู่กับพระอาจารย์สุภาพ ธัมมปัญโญ และพระอาจารย์สุภาพนี่เองที่นำไปพบ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระอรหันต์แห่งวัดบ้านดงเย็น หรือวัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี

    วันแรกที่ได้ไปกราบคารวะทำวัตรกับหลวงปู่พรหม หลวงปู่ได้เทศน์ให้ฟัง พอกลับมาภาวนาและเข้าที่ด้วยท่าสีหไสยาสน์ พอนึกไปถึงเทศนานั้นจิตก็ลงสู่ความสงบ ปรากฏว่า ตัวท่านไปนั่งอยู่หน้าหลวงปู่พรหมที่วัดบ้านดงเย็น แล้วหลวงปู่พรหมจึงเทศน์ให้ฟังเรื่องอริยสัจ 4 แล้วเร่งให้ปฏิบัติให้มาก

    หลังจากนั้นหลวงปู่พรหมจะมาชี้แนะวิธีการภาวนาให้ในสมาธิอย่างน้อยเดือนละ 2 หน

    พอออกพรรษาวันแรก โยมมารดาก็มาถามเรื่องสึกอีก หนนี้ท่านผลัดว่า ขอรับกฐินก่อน พอรับกฐินท่านออกธุดงค์ไปองค์เดียว จนพบหมู่คณะ พากันออกไปตามหาท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

    ท่านอาจารย์จวนชี้แนะว่า “ต้องเปลี่ยนสมมติให้รู้ ข้ามสมมติให้ได้”

    จากท่านอาจารย์จวน ตัดลงใต้ไปถึงภูเก็ตเพื่อไปศึกษากับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ระหว่างนั้นหลวงปู่พรหมก็ยังมาสอนในสมาธิอยู่เสมอๆ

    ขณะนั้นการดำเนินจิตของท่านมาถึงจุดที่นั่งภาวนาแล้วจิตดิ่งลึกไปโดยไม่รู้ว่า จิตอยู่ที่ไหน ทุกอย่างดับจนไม่ได้ยินเสียงอะไรทั้งสิ้น แต่เกิดปีติมากจนไม่อยากฉันอาหาร

    หลวงปู่เทสก์แก้ปัญหาให้ว่า “อาการเช่นนี้เรียกว่า นิพพานพรหม จิตดับกระทั่งไม่ได้ยินเสียง ไม่รับรู้อะไรจากภายนอก จิตลงไปสู่ส่วนลึกที่สุดเป็นอัปปนาฌาน เรียกว่า พรหมลูกฟัก เป็นพรหมชั้นสูง ถ้าไม่แก้ไขผู้นั้นจะคิดว่าตนได้พบพระนิพพาน จะไปไหนไม่รอด...”

    ท่านว่า ครั้งหนึ่งเมื่อหลวงปู่ขาวติดตามหลวงปู่มั่นไปยังภาคเหนือ หลวงปู่ขาวนั่งภาวนารวดเดียวตั้งแต่ 6 โมงเย็นไปถึง 6 โมงเช้า ที่สำนักสงฆ์อรัญญวิเวก น้ำค้างจับร่างหลวงปู่ขาวจนเปียกชุ่ม พอหลวงขาวออกจากสมาธิไม่รู้ว่า จิตไปอยู่ที่ไหน เลยไปเรียนถามหลวงปู่ใน

    หนนั้นหลวงปู่มั่นชี้แนะเพียงนิดเดียวว่า ให้ตั้งต้นใหม่ ติดตามดูจิตตั้งแต่เริ่มต้น เข้าสมาธิ ใช้สติปัญญาตามดูจิตให้ดีว่า วางอารมณ์อะไรจึงดับเสียงไปหมด ให้ดูว่าจิตไปอยู่ที่ไหน ต้องตามให้รู้

    พระอาจารย์เปลี่ยนก็ใช้กลวิธีเดียวกันนั้นแก้หลุมพรางของจิตที่ประสบอยู่


    95a34488988f4bb08d5642d2470075de_1000-jpg.jpg
    ขึ้นมาจากภูเก็ต ท่านไปกราบคาราวะรับการชี้แนะจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ขาว ฯลฯ และหลวงปู่ขาวก็ย้ำว่าให้แก้ด้วยวิธีการเช่นว่า

    การเบนเข็มจากภาคอีสานมาสู่ภาคเหนือเกิดขึ้นหลังพรรษาที่ 4 เมื่อได้ยินข่าวว่า หลวงปู่ตื้อเทศน์เก่ง หลวงปู่แหวนไม่เทศน์ แต่เป็นนักปฏิบัติ การมุ่งขึ้นเหนือคราวนี้ ทำให้ได้พบและอยู่ศึกษากับ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร แล้วไปอยู่กับหลวงปู่ตื้อ หลวงปู่แหวนดังใจหมาย

    ท่านว่า หลวงปู่ตื้อนั้นมีความสามารถในการสอนธรรมะและไขปัญหาต่างๆ ให้ได้พบความกระจ่างแจ้งอย่างที่ร่ำลือ

    ค่ำบีบนวดถวาย ระหว่างนั้นหลวงปู่ตื้อจะเทศน์ ทั้งสอนทั้งแก้ไขปัญหาที่สงสัย เที่ยงคืนออกมาปฏิบัติถึง 02.00 น. ถึงพักนอนแค่ 2 ชั่วโมง 04.00 น. ตื่นทำวัตร หลวงปู่ตื้อสอนทุกอย่าง รวมทั้งฝึกให้ท่าใช้อนาคตังสญาณคือ แรกๆ จะบอกล่วงหน้าว่า ใครจะมาหา ถึงเวลาก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เมื่อท่านฝึกตามที่ได้รับการชี้แนะ พระอาจารย์เปลี่ยนก็ได้ญาณนั้นเช่นกันคือ รู้ก่อนล่วงหน้าว่า ใครจะมาหา มากี่คน ใส่เสื้อสีอะไร

    ออกจากหลวงปู่ตื้อ ก็ไปพำนักกับหลวงปู่แหวน

    ในพรรษาที่ 6 ท่านควบคุมจิตได้

    กลวิธีที่ท่านใช้ คือ ทำความเพียรทั้ง 4 อิริยาบถ พอเมื่อยล้าเมื่อไหร่ก็หันไปอ่านหนังสือวิสุทธิมรรค

    ท่านว่า “การดูเข้าไปในจิตเรื่อยๆ มันจะเริ่มวางเสียงลงได้ เสียงจะเบาลงๆ จนกระทั่งดับนิ่ง จึงรู้ว่าจิตเราวางเสียงดังนี้นี่เอง เมื่ออยู่นิ่งๆ นานเข้า ใช้สติปัญญาเข้าไปครองจิตให้นิ่ง มันก็จะสงบลงไปหมด ว่างไปเหมือนไม่มีตัว ไม่มีกาย ว่างอยู่เฉยๆ มันนิ่งสบาย จึงรู้ว่าจิตมาอยู่นี่เอง ร่างกายก็เหมือนไม่มี อยู่ว่างๆ สบาย คอยดูจิตอยู่ มันเหมือนไม่มีใครอยู่ด้วย เหมือนจำพรรษาอยู่คนเดียว การดูจิตของเราไปตลอดเวลา ทำให้หนังสือที่เคยท่องมา เช่น วิสุทธิมรรคที่อ่านอยู่ เกิดตัวรู้ขึ้นมาทันทีตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่บรรทัดแรกจนบรรทัดสุดท้าย เหมือนกับอ่านบาลีและรู้ทั้งหมดในทันทีนั้นเอง”

    พระอาจารย์เปลี่ยนเจริญในธรรมมาตามลำดับ โดยได้รับการชี้แนะจากพ่อแม่ครูอาจารย์หลายรูป ไม่ว่า หลวงปู่แหวน หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ขาว หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่สิม หลวงปู่พรหม หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่สาม อกิญจโน อาจารย์บัวพา ปัญญาภาโส หลวงปู่อ่อน หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ฯลฯ

    หลายรูปที่สอนการภาวนาให้ทั้งมาโดยในนิมิตและการได้พบกันเป็นๆ ในจังหวะต่างๆ

    หลวงปู่แหวนนั้นบอกว่า “เอามันให้ได้ มรรค ผล นิพพาน มันยังมีอยู่ ไม่ได้ไปไหน ...”
    ทุกวันนี้พระอาจารย์เปลี่ยนยังโปรดญาติโยมทั้งใกล้และไกล นอกจากจะพัฒนาวัดป่าอรัญญวิเวกให้เจริญก้าวหน้าดังที่พระอาจารย์มั่นได้กล่าวไว้ล่วงหน้าแล้ว ท่านยังเผยแผ่ธรรมะไปในที่ต่างๆ ทั่วโลกอีกทางหนึ่งด้วย ท่านเทศนาได้หลายภาษา ภาษาเวียดนาม ภาษาอังกฤษ ฯลฯ

    กับผู้อยู่ในโลกตะวันตกนั้น ท่านได้ไปสอนบรรดาโปรเฟสเซอร์ตามมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกทั้งหลายให้รู้จักธรรมะของพุทธศาสนา ท่านว่า จับโจรต้องจับหัวหน้าโจร เมื่อผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นคนนำปัญญาได้รู้ได้เห็นธรรมะแล้ว ธรรมะก็จะเผยแผ่ได้ง่าย

    ผมเคยเรียนถามท่านว่า ท่านเรียนภาษาเหล่านั้นมาจากไหน ถึงเขียนหรือเทศน์เป็นภาษานั้นๆ ได้ ท่านว่า จะไปยากอะไร ก็ภาวนาเอาสิ ภาวนาแล้วมันก็รู้ขึ้นมาเองล่ะ อยากรู้ภาษาอะไรก็ได้รู้

    ท่านเคยเทศนาไว้ว่า ผู้เป็นพระโสดาบันนั้น จะรู้ตนว่ามีศีล 5 ศีล 8 ครบบริบูรณ์ ถ้ารู้ว่าปฏิบัติได้มากกว่านั้น ก็รู้ตัวว่าได้มากกว่านั้น ไม่สงสัย ไม่ลูบคลำว่าศีลข้อนั้นมันดีหรือไม่ดี พระสกิทาคามีนั้น ละความโลภ ความโกรธ ความหลงให้เบาบางลงได้แต่ไม่หมด พระอนาคามีนั้นอยู่ในฌานเป็นพรหมจรรย์อยู่โดดเดี่ยว เหมือนคนไม่มีคู่เรียงเคียงหมอน จิตวิญญาณมีอยู่ขันธ์เดียว อยู่กับความสุข ไม่ยุ่งกับใคร ศีล 8 สมบูรณ์

    สำหรับพระอรหันต์นั้น รู้แจ้งหมดแล้ว หายสงสัยในโลกหมดแล้ว รู้โลกแจ้งชัดเจนแล้ว ไม่หลงโลก ใครจะทำให้หลงก็ไม่หลง ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มีความต้องการ ร่างกายก็รู้หมด รู้เฒ่า รู้แก่ รู้เจ็บ รู้ตาย รู้ทุกข์ รู้ยาก พอแล้ว อิ่มแล้ว ไม่เอารูปขันธ์นี้แล้ว เรียกว่าตัดกิเลสขาด ขาดจากความยึดมั่น ถือมั่น วิราโค คลายความกำหนด สิ้นความยินดี ไม่ยินดีกับอะไรในโลกนี้ ความรัก ความชังขาดลอยหมดแล้ว ไม่แต่อุเบกขาญาณ วางเฉยอยู่แต่ยังสอนคนอยู่ จะเอาไม่เอาช่างมัน สอนด้วยความเมตตาเฉยๆ แต่ตัวท่านนั้นทำงานเสร็จแล้ว ไม่มีงานจะทำแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือ การปฏิบัติธรรมอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำไม่มีอีก ที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะมาเกิดอีกไม่มี จิตของท่านไม่ต้องพูดถึง เป็นสมาธิทั้งวันทั้งคืน เป็นอยู่ทุกขณะ รู้อยู่ตลอด พุทโธเต็มอยู่บริบูรณ์อยู่ตลอด มีธัมโม สังโฆอยู่ในตัวตลอด...

    ท่านว่า ผู้ที่รู้ธรรมย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นปัจจัตตัง และวิญญูชน รู้ด้วยเฉพาะตัวเอง เหมือนว่า ร้อนเรารู้ หนาวเรารู้ เรารู้อยู่คนเดียว คนอื่นไม่รู้ด้วย ทุกข์เรา ก็รู้อยู่คนเดียวของเรา คนอื่นจะมารู้ไม่ได้..

    วิญญูชนรู้ได้ด้วยเฉพาะตนเอง ไม่ต้องไปวัดหรอก ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์มาวัดหรอก เขาจะวัดของเขาเอง ถ้าเขาหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ เขาก็จะรู้ของเขาเองว่าหลุดพ้นแล้ว ไม่มีอะไรขัดข้องกับจิตใจ”

    พระอาจารย์เปลี่ยนปฏิบัติมาถึงระดับใดท่านรู้ของท่านเอง แต่ที่แน่ๆ คือ เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ควรแก่การสักการะ

    *************************************

    ในวันที่ 15 ก.พ. 2561 พระอาจารย์เปลี่ยนได้ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบ สิริอายุ 84 ปี 2 เดือน 29 วัน พรรษา 59 SAM_8959.JPG SAM_8956.JPG SAM_8957.JPG SAM_8958.JPG SAM_7605.JPG
     
  18. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 693 เหรียญเจิญพรบนหลวงปู่เคน เขมาสโย พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองหว้า อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่เคนเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เหรียญเนื้ออัลปาก้า มีตอกโค๊ตยันต์ นะ หน้าเหรียญ เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ***********บูชาที่ 275 บาทฟรีส่งEMS
    *******ประวัติโดยย่อพอสังเขปหลวงปู่เคน เขมาสโย
    วัดป่าบ้านหนองหว้า อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
    ชีวประวัติและปฏิปทาหลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านมีชาติกำเนิดในสกุล “นิ่งแนน” ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๑ ตรงกับ วันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ณ บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เป็นบุตรของคุณพ่อไพ คุณแม่บับ ท่านเกิดได้ไม่นานแม่ก็เสียชีวิต น้าสาวเลยเอาท่านไปเลี้ยงเป็นลูก แล้วเปลี่ยนนามสกุลเป็น “ฤกษ์งาม”
    ในสมัยเด็ก ๆ องค์ท่าน มีจิตใจในทางเมตตา ใฝ่ใจใคร่รู้ในทางธรรมมาก และมีจิตเมตตา สงสารในสัตว์เล็ก สัตว์น้อย และมีชีวิตที่ไม่โลดโผนมากนัก ผิดกับวัยรุ่นวัยหนุ่ม ที่คะนองตามแบบหนุ่มบ้านนอกลูกทุ่งโดยทั่วไป ด้วยใจที่ใฝ่ในทางธรรม จึงออกปากขอโยมพ่อ โยมแม่ ขอออกบวช ก็เป็นที่น่ายินดีกับทุกคนที่ได้รับฟังเวลานั้น ช่วงนั้นเป็นเดือน ๑๑ เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว พอตอนเย็น ท่านกับเพื่อน ๆ ที่พร้อมจะบวชด้วยกันทั้ง ๔ คน ก็มาฝึกขานนาคกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง
    ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี ณ สิมกลางน้ำ วัดป่าบ้านหนองดินดำ(ภายหลังเปลี่ยนเป็น วัดป่าคามวาสี) ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล โดยมีพระอธิการพุฒ ยโส (ภายหลังได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูพุทธิวาคม) เป็นอุปัชฌาย์ หลวงปู่นนท์ โกวิโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่หอม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    พระอาจารย์เคน ได้รับฉายาว่า "เขมาสโย" แปลว่า "ผู้ยินดีอาศัยในธรรม" ในการบวชครั้งนั้นได้มีการเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทพร้อมกัน ๔ นาค คือ
    ๑.นาคเคน ฤกษ์งาม หรือท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย
    ๒.นาคประสาร รำไพ หรือท่านพระอาจารย์ประสาร ปัญญาพโล
    ๓.นาคสมัย โสภาจาร หรือท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก
    ๔.นาคชาลี โคตรสมบูรณ์ บวชเป็นสามเณร เพราะอายุยังไม่ถึง ต่อมาได้ลาสิกขาบท
    หลังจากท่านบวชแล้วก็ติดตามหลวงปู่นนท์ โกวิโท เที่ยวไปธุดงค์ที่ จ.นครพนม ได้ไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่บุญมา มหายโส ที่วัดอรัญญิกาวาส อ.เมือง จ.นครพนม อยู่พักหนึ่ง
    ภายหลังหลวงพ่อวัน อุตตโม แห่งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ได้ฝากให้ท่านไปอยู่จำพรรษากับหลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต เพื่อให้ท่านสอนวิปัสสนากรรมฐานในเบื้องต้นให้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่คำ มีอายุ ๖๐ ปี ที่วัดศรีจำปาชนบท บ้านพังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร เป็นพรรษแรก คือปี พ.ศ.๒๔๙๔ หลวงปู่คำ ให้อาตมาฝึกนั่งสมาธิเจริญคำภาวนาว่า “พุทโธ” ด้วยการให้พิจารณาการหายใจเข้าหายใจออกอย่างสม่ำเสมอ และให้มีสติกำหนดรู้อยู่ในการหายใจ ฝึกอยู่ได้หนึ่งพรรษาจิตยังหยาบอยู่ จึงต้องตั้งสติอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ
    จากนั้นจึงไปศึกษาธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์จันทร์ ไปอยู่บ้านนาเหมือง จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์จันทร์ ได้สอนการอ่านตัวธรรมที่จารอยู่ในใบลานต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการฝึกจิตเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนจิตใจสงบดีขึ้นเป็นลำดับ ทำให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่านเหมือนเมื่อก่อน จึงทำให้หูตาสว่างไสวไปอีกขั้นหนึ่ง คือมองอะไรก็เป็นธรรมดา จิตใจไม่ว้าวุ่นเป็นสมาธิดี ท่านพระอาจารย์เคนอยู่อบรมธรรมกับพระอาจารย์จันทร์อยู่ ๓ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๔๙๕ ถึงปี พ.ศ.๒๔๙๗ จากนั้นก็ไปจำพรรษาที่วัดโนนแสนคำ บ้านทุ่งคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ณ ที่นี้ ก็เป็นสัปปายะดี คือเป็นสถานที่ดี มีความสงบสงัด เป็นที่ถูกใจ เหมาะแก่การภาวนาปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านอยู่จำพรรษาที่นี่ ๑ พรรษ คือปี พ.ศ.๒๔๙๘
    จากนั้นจึงมาอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ๔ พรรษา คือ ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๒ จากนั้นท่านทราบข่าวว่าหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระที่มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใส จึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาอบรมธรรมอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี อีก ๑ พรรษา คือปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หลวงปู่อ่อน ได้อบรมสั่งสอนในเรื่องทางการฝึกจิต ความเจริญทางจิตใจนั้น เราจะปล่อยไปเองตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะใจจะไหลลงต่ำ ไม่ดีงาม เราต้องรู้จักควบคุมบังคับ ฝืนไม่ให้อาหารในทางเสื่อม ไม่อย่างนั้นจิตใจจะไม่เจริญก้าวหน้า ท่านสอนให้ยึดคำบริกรรม “พุทโธ” เป็นหลัก เพราะไม่มีคำบริกรรมอย่างใดจะดีเท่าการสรรเสริญพระพุทธเจ้า
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อบรมเรื่องการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปอยู่ป่าแล้ว อย่าไปยึดป่า อย่ามีอุปาทานในป่า เรามีนี่เพื่อทำปัญญาให้เกิด ถ้ายังไม่มีปัญญา ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น เป็นปฏิปักษ์กับเรา เป็นข้าศึกกับเรา ถ้าปัญญาดีแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น ไม่ใช่ข้าศึก แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด เมื่อสามารถกลับความเห็นอย่างนี้ แสดงว่าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อท่านพระอาจารย์เคน รับการอบรมจากหลวงปู่อ่อนแล้ว ก็ได้กราบลา แล้วธุดงค์ไปที่ดงหม้อทอง แล้วไปอยู่ตามเขาตามถ้ำต่าง ๆ ที่ อ.บ้านผือ
    สมัยนั้นยังมีป่าไม้ให้ร่มเย็น สมัยที่องค์ท่านออกเดินธุดงค์ ไม่ต้องกล่าวถึงความสะดวกสบายในการเดินทาง เรียกว่า มีแต่ป่ากับป่า ท่านเล่าว่าสิงสาราสัตว์ อย่างเสือ กวาง เก้ง แม้ช้างป่า มากมายจริง ๆ แต่ก็ไม่ทำให้องค์ท่านท้อในการเดินทางเข้าหาพ่อแม่ครูอาจารย์ การไปอยู่ ณ ที่ใด ก็ได้พิจารณายึดเอาคำสอนของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่ท่านได้แนะนำให้ไปปฏิบัติตามครรลองของพระพุทธศาสนา การบิณฑบาตในสมัยนั้นก็ได้แต่ข้าวเหนียว ไม่มีกับข้าว อดบ้างอิ่มบ้างก็อดทนอดกลั้น แม้จะพบความยากลำบาก ก็ไม่กังวลกับสิ่งใดใด
    ท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย ได้ธุดงค์ข้ามไปฝั่งลาว ขึ้นไปธุดงค์อยู่รุกขมูลตามร่มไม้ เพิงหิน โถงถ้ำที่ภูเขาควาย ประเทศลาว ที่ภูเขาควายนี้เป็นที่มีอาถรรพณ์ และศักดิ์สิทธิ์ เต็มไปด้วยภูตผีวิญญาณร้าย พระธุดงค์มากมายเอาชีวิตมาทิ้งไว้ที่นี่เป็นจำนวนมาก ท่านเล่าว่า ที่ภูเขาควายนี้เป็นภูเขาที่สูงมากของฝั่งลาว สูงกว่าดอยสุเทพเสียอีก เป็นภูเขาที่น่ากลัวจริง ๆ เพราะเป็นป่าทึบดงดิบหนา มีสัตว์ป่ามากมาย เช่นช้าง เสือ หมี งู และสัตว์มีพิษอื่น ๆ อยู่มาก ที่สำคัญอากาศบนยอดเขาภูเขาควายหนาวเย็นมาก ถ้ามองรอบตัวจะไม่เห็นอะไรเลย เพราะป่ามันทึบมาก
    เวลาขึ้นเขาไปต้องค่อย ๆ มีสติเหยียบก้อนหินขึ้นไปทีละก้อนอย่างเชื่องช้า เพราะหินบางก้อนลื่นมาก เขาก็สูงชันมาก กลัวจะพลาดตกลงไป ทั้งบนบ่าก็แบกกลด แบกบาตรอัฐบริขารหนักมาก ท่านนึกถึงตนเองสมัยนั้นก็น่าสงสารตนเองยิ่งนัก แต่เราเป็นพระที่ขึ้นชื่อว่าเสียสละในทุกสิ่งทุกอย่างก็เลยปลงได้ เพราะถือว่าครูบาอาจารย์ก็เคยลำบากมาก่อนแล้ว ท่านจึงได้ดีมีอรรถมีธรรม ครูบาอาจารย์ที่เคยมาเยือนที่ภูเขาควายแห่งนี้ในสมัยก่อน ได้แก่ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่เครื่อง ธัมมธโร หลวงปู่ขาว อนาลโย และพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ก็เคยมาเยือนที่ภูเขาควายเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้แล้วทั้งนั้น
    เมื่อขึ้นมาถึงยอดเขา ท่านพระอาจารย์เคน ได้เห็นตาผ้าขาว กำลังกวาดใบไม้อยู่บนพลาญหิน จึงรู้สึกดีใจว่าบนยอดภูเขาควายนี้ ก็มีผู้มาบำเพ็ญสมณธรรมเช่นกัน ท่านจึงรีบเดินตรงเข้าไปหาหวังพูดคุยเจรจาด้วย เพราะไม่ได้พูดคุยกับใครมานานแล้ว แต่พอไปถึงที่นั้นกลับไม่พบใคร มีแต่ความว่างเปล่า หรือจะเป็นเทพเทวดาอารักษ์รักษาป่าก็เกินจะคาดเดาได้ คืนนั้นท่านพระอาจารย์เคน พักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ถ้ำที่ท่านไปอยู่ก็มีโครงกระดูก ไม่ทราบเป็นของพระธุดงค์หรือของโยมชาวบ้านที่มาล่าสัตว์ คงจะมาพักแล้วโดนงูกันตายก็เป็นได้ เพราะมีสิ่งของบางอย่างวางทิ้งไว้เช่นกาน้ำ การมาอยู่ที่ภูเขาควายก็ได้ความสงบสงัด ความวิเวกดี ได้ความก้าวหน้าในสมาธิตามลำดับ ท่านได้เที่ยวไปที่ต่าง ๆ ในเขตฝั่งลาวอยู่ถึง ๒ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๕๐๔ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๕
    ในช่วงนั้นเกิดความไม่สงบของบ้านเมืองในประเทศลาว ชาวบ้านจึงให้ความเห็นให้ท่านเดินทางกลับมาฝั่งไทยจะดีกว่า ท่านธุดงค์ข้ามมาทางบึงกาฬ-ปากคาด-โซ่พิสัย เรื่อยมาทางคำตะกล้า-บ้านม่วง ผ่านวานรนิวาส จนมาถึงสว่างแดนดิน ท่านพระอาจารย์เคน เขมสโย ได้มาวิเวกมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่บ้านหนองหว้าครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ บริเวณด้านหลังกุฏิไม้(หลังเก่า)ขององค์ท่าน ท่านว่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เคยมาปักกลดอยู่ที่นี่ เมื่อก่อนแถบนี้เป็นป่ารกชัฏ แล้วก็ยังมีเสืออยู่ แต่ปัจจุบันก็เป็นอย่างที่เห็น กลายเป็นไร่นาของชาวบ้านหมดแล้ว สมัยที่ท่านพระอาจารย์เคน มาวิเวกอยู่ที่นี่ครั้งแรก มีชายรูปร่างสูงใหญ่ เป็นคนโบราณ ตัวดำทมึน เดินเข้ามาหา บอกว่าตามมาดูแลรักษา มิให้เกิดอันตรายใดใดทั้งสิ้น ขอให้ปฏิบัติธรรมไปด้วยความสบายใจ เขาบอกว่าเขาตามมาจากฝั่งลาว จะมาขออยู่ด้วยตลอดไป ท่านพระอาจารย์เคน ก็ไม่ได้ว่าอะไร
    จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้เข้าไปศึกษาอบรมธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ที่ถ้ำพวง ภูผาเหล็ก อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์วัน เป็นพระที่มีเมตตาธรรมมาก เป็นพระปฏิบัติดีเคร่งครัดพระธรรมวินัยรูปหนึ่ง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านพระอาจารย์วัน นับเป็นอาจารย์ใหญ่ของท่านพระอาจารย์เคน ที่ท่านมีแต่ให้มาตลอด ข้อธรรมที่ไม่รู้ ท่านก็สอนให้รู้โดยไม่ปิดบังแต่อย่างใด ท่านสอนให้พิจารณษสังขารร่างกายนั้นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อย่าไปยึดติดในสิ่งที่อยู่นอกกาย เช่น เนื้อหนังมังสาที่สวยงาม ล้วนแต่เป็นอนิจจังเป็นของไม่เที่ยงแท้ทั้งนั้น
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๖ ท่านได้มากลับมาอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี มีโยมอุบาสกคนหนึ่งชื่อ “จันทร์เรียน” ได้มาฝึกขานนาคด้วย มีท่านพระอาจารย์เคน และท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก ช่วยกันสอนการออกเสียงอักขระ การขานนาคให้กับท่านจันทร์เรียน ท่านพระอาจารย์เคน จึงถือได้ว่าเป็นพระอาจารย์ และเมื่อครั้งท่านอาจารย์จันทร์เรียน อุปสมบทที่วัดโพธิสมภรณ์ ท่านพระอาจารย์เคน ก็ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร แห่งวัดถ้ำสหาย อีกด้วย
    จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้กลับไปวิเวกอยู่ที่ป่าช้า บ้านหนองหว้าอีกครั้งนึง แล้วจึงได้อยู่โปรดญาติโยม จนได้สร้างเป็นวัดป่าหนองหว้า ได้อยู่จำพรรษาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๖ หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านไปจำพรรษาที่วัดถ้ำสหายกับหลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร เนื่องจากหลวงปู่เคนท่านอาพาธ หลวงพ่อจันทร์เรียนเลยอาราธนานิมนต์ท่านไปอยู่ด้วย ท่านเล่าว่าสมัยอยู่วัดป่านิโครธาราม ญาติโยมเอาหลวงพ่อจันทร์เรียนไปฝากท่านให้สอนขานนาคเนื่องจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริไม่อยู่ เพราะหลวงปู่อ่อนไปทำธุระที่กรุงเทพ ฯ ที่แรกท่านว่าจะไม่รับ รอหลวงปู่อ่อนกลับมาค่อยเอามาฝากหลวงปู่อ่อนใหม่ ญาติโยมไม่ยอม จำเป็นท่านเลยรับไว้ และก็สอนขานนาคให้ หลวงพ่อจันทร์เรียน นึกถึงบุญคุณครูบาอาจารย์สมัยหลวงปู่เคน ท่านเคยสอนนาค และอยู่อบรมธรรมด้วยกันมาเสมอ
    หลวงปู่เคน เขมาสโย มีเพื่อนสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมาตั้งแต่เป็นเด็ก คือ
    ๑.หลวงปู่ประสาร ปัญญาพโล วัดคามวาสี บ้านหนองดินดำ ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพุธที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
    ๒.หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก วัดป่าโนนแสงทอง ต.แวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
    ๓.หลวงปู่เกิ่ง วิทิโต วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ท่านมรณภาพแล้ว วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง อารมณ์ดี เยือกเย็นเสมอ พร้อมให้การสังเคราะห์ต่อศรัทธาญาติโยม ท่านมีอัธยาศัยเป็นพระที่ไม่ค่อยเก่งในการปฏิสัณฐานกับศรัทธาญาติโยมมากนัก เรียกว่าไม่ค่อยพูด นอกเสียจากว่านาน ๆ ครั้งองค์ท่านก็มีเมตตาสอนให้ข้อคิดคติธรรมบ้าง ในลักษณะคำสอนสั้น ๆ แต่ก็ถึงใจกับลูกศิษย์ลูกหา เมื่อได้น้อมใจที่พยายามเข้าใจในธรรมที่องค์ท่านเมตตาสอน ทั้งผิวพรรณขององค์ท่านก็สดใส ขาวผ่อง สมกับความเป็นพระอริยเจ้าผู้มีคุณธรรมขั้นสูง หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร ศิษย์ผู้มีความผูกพันกับหลวงปู่เคน เคยกล่าวไว้ว่า "พระผู้เฒ่าไม่ต้องห่วงแล้ว ท่านสบายแล้ว”
    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จยุพราชสว่างแดนดิน เนื่องจากลื่นหกล้มที่กุฏิ ในช่วงก่อนวันคล้ายวันเกิดในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ซึ่งทำให้สะโพกท่านหัก ภายหลังจึงได้นำตัวท่านส่งไปโรงพยาบาลสกลนคร และได้ละสังขารเข้าอนุปาิเสสนิพพานลงด้วยสาเหตุไตวาย เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๔๕ นาฬิกา ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา สิริรวมอายุ ๘๖ ปี ๗ วัน พรรษา ๖๓ SAM_8960.JPG SAM_8961.JPG SAM_7750.JPG

    6418_n-jpg-_nc_cat-102-_nc_sid-2d5d41-_nc_ohc-laes_fxmx4ax80hvwd-_nc_ht-scontent-fkkc2-1-jpg-jpg.jpg
     
  20. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 694 พระกริ่ง 90 ปี+เหรียญรุ่นสร้างโบสถ์หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสีห์พนม อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่บุญมาเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล,หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เป็นต้น องค์พระกริ่งสร้างปี 2561 สร้างเนื่องในวาระหลวงปุ่อายุครบ 90 ปี เนื้อนวะ มาพร้อมกล่องเดิม มีตอกโค๊ต ใบโพธิ์ด้านหลังองค์พระเเละโค๊ตตัวเลข 474 ใต้องค์พระ เหรียญเนื้อกะไหล่ทอง สร้างปี 2562 มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา *************บูชาที่ 535 บาทฟรีส่งems (หลวงปู่ยังทรงธาตุทรงขันต์อยู่ครับปัจจุบัน)

    2793-73ee.jpg
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม

    วัดป่าสีห์พนมประชาคม
    ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร


    “หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม” ท่านถือกำเนิดตรงกับวันจันทร์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๑ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง ณ บ้านขาม ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร บิดาท่านชื่อ นายเข่ง ธิอัมพร มารดาท่านชื่อ นางชาดา ธิอัมพร สำหรับบิดาของหลวงปู่บุญมาภายหลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง มีชื่อและฉายาตามพระพุทธศาสนาว่า “หลวงปู่เข่ง โฆสธัมโม” ขณะนั้นหลวงปู่บุญมาได้พรรษาที่ ๑๐ แล้ว จากนั้นจึงได้ออกธุดงค์ไปในที่ต่างๆ และบั้นปลายชีวิตหลวงปู่เข่ง ท่านได้มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่บุญมา ที่วัดป่าสีห์พนมประชาคม จ.สกลนคร และได้มรณภาพลงเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.๒๕๓๗ ขณะมีอายุได้ ๙๐ ปี พรรษา ๓๓

    ชีวิตในวัยเด็กของหลวงปู่บุญมา ท่านได้เรียนจนจบชั้นประถมบริบูรณ์ แล้วได้ออกจากโรงเรียนมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา เมื่ออายุได้ ๑๗-๑๘ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาธรรมอยู่ได้ ๑ พรรษา ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๔-๒๔๘๘) หลังจากสึกออกมาช่วยบิดามารดาทำนานั้น ในใจท่านก็คิดเสมอว่า “ถ้ามีโอกาสเมื่อไร ก็จะรักษาศีลอุโบสถเมื่อนั้น” ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ จนเป็นที่เลื่องลือของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านว่า ทำไมเด็กหนุ่มนี้จึงมีอุปนิสัยแตกต่างจากคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ที่หันเหมาทางพระพุทธศาสนา เข้าวัดเข้าวารักษาศีลอุโบสถเหมือนคนเฒ่าคนแก่

    หลวงปู่บุญมาท่านได้เล่าถึงชีวิตเมื่อวัยหนุ่มว่า “เมื่อเข้าหาครูบาอาจารย์ท่านก็เทศน์ให้ฟัง ในเรื่องอานิสงส์ในการรักษาศีล ๕ และทุกข์โทษของการละเมิดผิดศีลผิดธรรมเป็นอย่างไร ก็นำมาพิจารณา และครั้นเวลาครูบาอาจารย์ชวนไปวิเวก ฝึกสมาธิ ศึกษาธรรมะ ก็สนใจปฏิบัติตาม ทำให้จิตเกิดความสงบเยือกเย็น” นับว่าท่านเป็นผู้มีวาสนาบารมีที่ส่อแววให้เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ

    หลวงปู่บุญมาเล่าถึงสมัยชีวิตฆราวาส ได้พิจารณาความตายถึง ๓ วาระ สมัยท่านเป็นฆราวาสได้แต่งงานมีเหย้ามีเรือน ใช้ชีวิตตามวิถีชาวโลก จนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน เหตุการณ์หลังจากนั้นวาสนาบารมีทางธรรมท่านได้ใกล้เข้ามา จึงดลบันดาลให้เหตุการณ์กระทบอารมณ์ เป็นทุกข์อย่างหนักทางโลก ปีแรก น้องสาวท่านตาย ปีที่สองมารดาก็มาตายอีก หลวงปู่บุญมาท่านเล่าว่าตอนนั้น จิตของท่านเกิดธรรมะ ได้คิดว่า “ความตายมันได้ใกล้เข้ามาหาเรา...ถ้าเราอยู่ต่อไป ไม่กี่วันก็คงตาย ถ้าจะตาย ขอให้ไปส่งความดีก่อนตาย เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งในอนาคต” เป็นทางออกที่ดีที่สุด ก่อนความตายจะมาถึง แต่ไม่ทันที่ท่านจะได้ออกบำเพ็ญความดีตามที่ท่านตั้งใจไว้ พายุโลกโหมกระหน่ำซ้ำเติมซ้ำสามในระยะเวลาไม่นาน ภรรยาท่านก็มาเสียชีวิตลง “ทุกข์เกิดขึ้น” เป็นทุกข์ที่ทำให้ท่านต้องตั้งคำถาม และพิจารณาปัญหาต่อไปว่า “ลูกที่่เกิดมา จะทำอย่างไร ใครจะเลี้ยงลูก”

    แล้วท่านก็พิจารณาเรื่องลูกว่า “ถึงแม้ว่าแม่จะตาย พ่อก็ยังอยู่ เด็กบางรายเกิดมาไม่กี่วันก็ตาย บางคนเดินได้ วิ่งได้ แล้วก็มาตาย แล้วแต่บุญวาสนาของแต่ละคน ไม่ถึงวันตายก็ไม่ตาย ถ้าจะให้ทานลูกแก่ผู้ต้องการ ลูกก็คงเติบใหญ่ขึ้นได้ด้วยบุญวาสนาบารมีของตนเองที่สร้างสมมาแต่ปางก่อน” ท่านคิดได้อย่างนี้ จึงยกลูกให้แก่พ่อตา แม่ยาย เป็นผู้เลี้ยงดู และตัดสินใจออกบวช ช่วงนั้นประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๔ ใกล้เข้าพรรษาแล้ว ระหว่างช่วงจัดงานศพให้ภรรยาท่านนั้น ได้นิมนต์ หลวงปู่สิงห์ สหธัมโม ไปสวดบังสุกุล หลวงปู่สิงห์ พระอาจารย์ผู้ที่ให้ธรรมะแนะนำการปฏิบัติแก่ท่านอยู่ก่อนแล้ว ได้ถามท่านว่า “จะบวชไหม” ซึ่งท่านก็ตอบหลวงปู่สิงห์ไปว่า “บวชแน่นอนครับ” หลังจากจัดการงานศพของภรรยาเสร็จ ท่านก็ลาบิดา พ่อตา แม่ยาย เข้าไปวัดพระธาตุฝุ่น ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เพื่อรอบวชในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔

    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔ เวลา ๑๔.๑๕ น. ขณะอายุได้ ๒๔ ปี ณ วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูสมุห์สวัสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “คัมภีรธัมโม” ซึ่งแปลว่า ผู้มีธรรมอันลึกซึ้ง

    เมื่ออุปสมบทแล้วเสร็จ ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาศึกษาข้อวัตรปฏิปทากับหลวงปู่สิงห์ สหธัมโม วัดพระธาตุฝุ่น จ.สกลนคร ในพรรษาแรก หลวงปู่สิงห์ได้ให้ท่านฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนาขนานใหญ่ ขนาดยอมอดนอน ไม่ยอมหลับในตอนกลางคืน ช่วงเข้าพรรษาตลอด ๓ เดือน พระเณรที่อยู่ด้วยต้องยืน เดิน นั่ง ๓ อิริยาบถตลอดทั้งคืน ห้ามนอนเวลากลางคืน จึงทำให้ได้รับผลจากการภาวนามากตลอดพรรษา

    พอพรรษาที่ ๒ พระบุญมา จิตท่านเกิดฟุ้งซ่านอยากจะสึก ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่สิงห์ สหธัมโม จึงได้ให้ท่านไปหาหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้นท่านอยู่ที่ถ้ำค้อ อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ห่างจากวัดถ้ำฝุ่นไป ๒๐-๓๐ กิโลเมตร เมื่อไปถึงถ้ำค้อ ที่หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านพำนักจำพรรษาอยู่ พระบุญมาได้เข้าไปกราบคารวะ หลวงปู่ขาวจึงได้พูดขึ้นว่า “ทำไมถึงอยากสึก แยกจิตออกนอกทำไม” พระบุญมาท่านยังไม่ทันตอบ หลวงปู่ขาวก็พูดต่อไปอีกว่า “ออกก็ออกมาจากที่นั่น จะเข้าไปที่เดิม มันถูกรึ” หลวงปู่ขาวท่านรู้วาระจิต จากนั้นก็อบรมสั่งสอนให้ท่านอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่กับช้าง กับเสือ กับผีสาง เป็นการให้มีสติอยู่กับตนไป ไม่ให้ฟุ้งซ่านส่งจิตออกไปไหน” หลวงปู่บุญมา ท่านเล่าว่า “ช่วงนี้กลัวมาก ถึงสวดมนต์อย่างไรก็กลัว กลัวตาย ช่วงที่อยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย จึงตั้งใจบำเพ็ญเพียรภาวนาตามคำสอนขององค์ท่าน ปรากฏผลดีมาก จิตใจสบาย วิเวกดี จิตไม่ปรุงแต่งอะไร ไม่ออกไปสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างครอบครัวอีก เพราะกลัวตาย คนกลัวตายต้องหาที่พึ่ง ถ้าได้ที่พึ่งทางจิตแล้วสบาย ไม่กลัวตายต่อไปอีกแล้ว”

    ครั้นออกพรรษาได้จาริกธุดงค์เข้ากราบรับข้ออรรถข้อธรรมจากพระเถระผู้ใหญ่ ศิษย์ในองค์หลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต หลายองค์ อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู, หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย และหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี เป็นต้น และได้จาริกธุดงค์ร่วมกันกับ หลวงปู่คำบุ ธัมมธโร ซึ่งเป็นพระอาจารย์รูปสำคัญของท่าน ออกวิเวกตามสถานที่ต่างๆ ไปยังป่าช้าง ป่าเสือ ฝึกจิตตามป่าตามเขาโถงถ้ำ ไปในที่ๆ ขึ้นชื่อว่าอาถรรพณ์ผีดุ เปลี่ยนที่จำพรรษาไปเรื่อยๆ ไม่ติดถิ่น ทั้งที่กันดารห่างไกลจากบ้านจากเรือนสลับกับการไปฝึกอบรมยังสำนักของพ่อแม่ครูอาจารย์ ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานถึง ๒๙ พรรษา

    เริ่มจำพรรษาที่ วัดป่าสีห์พนมประชาคม บ้านหนองกุง ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ในพรรษาที่ ๒๐ เป็นพรรษาแรก ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๑๔ จากนั้นจึงออกจาริกธุดงค์ไปจำพรรษาในที่ต่างๆ แล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ หลวงปู่บุญมาท่านก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดป่าสีห์พนมประชาคม มาโดยตลอดจวบจนกระทั่งปัจจุบัน


    2794-17de.jpg
    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม กับ หลวงปู่ล้วน จันทสาโร
    ในพิธีสรงน้ำและขอขมาสรีระสังขารหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร




    2795-b1a8.jpg

    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม

    sam_6386-jpg-jpg.jpg sam_5578-jpg-jpg.jpg sam_5579-jpg-jpg.jpg sam_5580-jpg-jpg.jpg sam_5581-jpg-jpg.jpg SAM_8105.JPG SAM_8106.JPG sam_3985-jpg-jpg.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...