วิปัสสนูปกิเลส

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นิพพิทา2008, 29 พฤษภาคม 2008.

  1. นิพพิทา2008

    นิพพิทา2008 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    346
    ค่าพลัง:
    +55
    วิปัสสนูปกิเลสเป็นผลของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการเจริญวิปัสสนา มีอาการมากมายหลายอย่างเช่น เกิด ความรอบรู้แตกฉานในธรรม อย่างมาก แม้ครูบาอาจารย์จะกล่าวจะสอนอะไรก็รู้ไปหมด จนรับอะไรไม่ได้เลย เพราะสำคัญว่าตนรู้อยู่แล้ว หรือตนบรรลุพระอรหันต์แล้ว เกิด ความมุ่งมั่นพากเพียร จนลืมความพอดีที่ร่างกายจิตใจจะรับได้ เกิด ความเห็นผิด ต่างๆ เช่นเห็นว่าไม่มีสิ่งใดควรยึดถือสักอย่างเดียว ทั้งๆ ที่กำลัง ยึดถือความไม่ยึดถือ แต่ไม่รู้ตัว หรือปฏิเสธความจริงของสมมุติสัจจะ กระทั่งพระพุทธเจ้าก็ไม่มี พ่อแม่ครูบาอาจารย์ก็ไม่มี เพราะล้วนแต่เป็นเพียงธาตุขันธ์เท่านั้น และเกิด การตั้งสติแข็งกล้าเกินไป จนเกิดความผิดธรรมชาติ เป็นต้น
    <O:p</O:p
    สภาวะจิตของผู้ติดวิปัสสนูปกิเลสนั้น ในภาวะปกติจะดูคล้ายคนปกติ มีความรู้ตัวหรือพูดจาเป็นปกติที่สุด บางสิ่งดูจะเหนือคนปกติเสียอีก เช่นมีความผ่องใส เบิกบาน นุ่มนวล แต่บางอารมณ์ เช่นเมื่อได้ฟังธรรม หรือกล่าวธรรม จิตจะเตลิดเปิดเปิง รั้งไม่อยู่ หลงรุนแรงยิ่งกว่าคนปกติเสียอีก บางคนดูภายนอกจะเห็นเหมือนคนบ้า แต่พออารมณ์นั้นผ่านไปแล้ว ก็จะกลับสงบ ดูเหมือนคนปกติอีก ก็มี
    <O:p</O:p
    เมื่อจิตจะเกิดวิปัสสนูปกิเลสนั้น จิตต้องดำเนินวิปัสสนาอยู่ คือจิตมีสัมปชัญญะ มีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์โดยต่อเนื่อง จิตจะเห็นอารมณ์เกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ ต่อมาสัมปชัญญะอ่อนกำลังลง จิตก็เคลื่อนออกไปจับกับอารมณ์ อันเป็นเครื่องระลึกของสติ หมายความว่า จิตถอนตัวจากการเจริญวิปัสสนา พลิกตัวเข้าสู่ภูมิของสมถภาวนาโดยไม่รู้ตัว จากนั้นก็เกิดความรู้ความเห็น หรืออาการอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้น แล้วปักใจเชื่อมั่น ยึดถือในสิ่งที่ปรากฏนั้นอย่างเหนียวแน่น
    <O:p</O:p
    เครื่องป้องกันการเกิดวิปัสสนูปกิเลสไม่มีสิ่งใดดีกว่าความช่างสังเกต ช่างพิจารณาอย่างรอบคอบแยบคาย หรือโยนิโสมนสิการ เช่น ต้องเข้าใจลักษณะการดำเนินของจิต ทราบว่าจิตของตนดำเนินวิปัสสนา หรือพลิกเข้าสู่ภูมิของสมถะแล้ว หากเป็นความรู้ความเห็นในภูมิของสมถะ อันนั้นย่อมไม่ใช่การบรรลุธรรม
    ต้องถือหลักว่า ปรากฏการณ์ทั้งปวงที่เกิดขึ้น เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ให้สักแต่ว่ารู้ ไม่ใช่สิ่งที่ควรยึดถือ หากทำใจเช่นนี้ สิ่งที่ปรากฏนั้นจะไม่มีอิทธิพลครอบงำจิตใจของตนได้
    <O:p</O:p
    ต้องหมั่นสังเกตกิเลสในจิตของตนเองให้ชัดเจนเสมอ ว่าหมดกิเลสจริง หรือไม่เห็นกิเลสเพราะไม่ดู เนื่องจากเชื่อว่ากิเลสหมดสิ้นแล้ว เช่นสังเกตแล้ว ยังเห็นว่า จิตมีความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นจิตของเราอย่างเหนียวแน่น ก็แสดงว่าตนเองยังเข้าไม่ถึงธรรมแท้ หากดำเนินด้วยความแยบคายเช่นนี้ ก็สามารถป้องกันวิปัสสนูปกิเลสได้
    <O:p</O:p
    ถ้าปล่อยให้วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว การแก้ไขเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก มักจะต้องอาศัยครูบาอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในทางจิตเช่นชำนาญในเจโตปริยญาณ หรือคล่องแคล่วในฌานสมาบัติ เพื่อหาจังหวะกระตุ้นให้จิตของผู้นั้น เคลื่อนออกจากจุดที่ตนติดยึดอยู่ เช่นคราวหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เกิดสำคัญตนว่าบรรลุพระอรหันต์แล้ว และเที่ยวเรียกพระเณร กระทั่งหลวงปู่ผู้เป็นอาจารย์ ให้มาฟังธรรมของตน หลวงปู่ได้รอจังหวะจนถึงโอกาสเหมาะ ท่านจึงบริภาษเพื่อกระตุ้นให้ภิกษุนั้นเกิดอารมณ์โกรธที่รุนแรง เมื่อจิตเกิดความโกรธ ก็เคลื่อนออกจากความสำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะเห็นว่าตนยังมีความโกรธอยู่
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
  2. matakalee

    matakalee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +367
    โมทนาสาธุคะ ขอแจมด้วยคนนะคะ
    วิปัสสนูปกิเลสมี 10 อย่าง คือ
    1. โอภาส แสงสว่างที่ผู้ปฏิบัติเข้าใจถึงมรรคผลแล้ว
    2. ญาน ความรู้ชัดเกิดไปจนเสียปัจจุบัน
    3. ปิติ ความอิ่มใจด้วยอำนาจสมาธิ
    4. ปัสสัทธิ ความสงบเยีอกเย็นเกินไปวิปัสสนาจะไม่ปรากฏ
    5. สุข ความเป็นสุขยิ่งเกินไป ย่อมทำให้ไม่เกิดทุกขาวิปัสสนา
    6. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อมากไปด้วยศรัทธา ทำให้ไม่มีการพิจารณาปัญญาเกิดยาก
    7. ปัคคาหะ มีความเพียรเกินไป ทำให้จิตใจคับแคบไม่เป็นสมาธิ
    8. อุปัฏฐานะ ความปรากฏเห็นนิมิตต่าง ๆ
    9. อุเบกขา มีจิตวางเฉยเกินไปเป็นเหตุให้หย่อนความเพียรในธรรมที่
    ควรได้ควรถึง
    10. นิกกันติ ความใคร่ความพอใจ ความเพลินไจในอารมณ์อันสงบนั้นเป็นโอกาสที่ตัณหาจะเข้าอาศัย และๆไม่เป็นเหตุให้เกิดนิพพิทาญาณ เป็นการขัดขวางต่อหนทาง มรรคผล
    ซึ่งวิปัสสนูปกิเลสนี้ เกิดด้วยอำนาจของสมาธิทั้งสิ้น เมื่อเกิดขี้นแล้วก็จะขัดขวางอารมณ์ของวิปัสสนาที่จะดำเนินต่อขึ้นไป โดยจะทำให้มีความยินดีและหยุดอยู่ เพลินอย่ ให้เข้าใจผิดว่าได้เข้าถึงหลักธรรมแล้ว หรือเข้าถึงนิพพานแล้ว ซึ่งวิปัสสนูปกิเลสนี้ จะไม่เกิดขึ้นกับบุคคล 3 จำพวกคือ
    1. ไม่เกิดแก่พระอริยะซึ่งท่านเข้าใจหนทางที่ถูกแล้ว
    2. ไม่เกิดแก่ผู้ปฎิบัติผิดทางคือปฎิบัติในทางที่ไม่ใช่วิปัสสนาเพราะเมื่อไม่ได้ปฎิบัติในทางของวิปัสสนา กิเลสที่เกิดขึ้นนั้นก็ไม่เป็นกิเลสของวิปัสสนา จึงไม่เรียกว่า วิปัสสนุปกิเลส
    3. ไม่เกิดแก่ผู้ที่มีความเพียรน้อยหรือความเพียรอ่อน ถ้าสมาชิกไม่แรงกล้าวิปัสสนุปกิเลสก็เกิดไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2008
  3. nopkondee

    nopkondee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +126
    เยี่ยมครับ
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขอบคุณครับ
     
  5. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้<O:p</O:p


     
  6. อิสวาร์ยาไรท์

    อิสวาร์ยาไรท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,608
    ค่าพลัง:
    +1,955
    [​IMG]

    न्यवा
     

แชร์หน้านี้

Loading...