แพร่ตื่นบ่อน้ำทิพย์ แห่ตักกินรักษาโรค

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 17 ตุลาคม 2008.

  1. มนตรา_นาคี

    มนตรา_นาคี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +179

    ตามนี้ค่ะ..ตอนนี้อยู่ที่กระทู้ ..รอยพระพุทธบาทคู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย..

    ..ยังไม่เสร็จสิ้นดี..แต่ก็ทำไปเรื่อย ๆ..หากท่านใดมีข้อคิดเห็น ก็ขอเชิญแสดง

    ความคิดเห็นนะค่ะ จะได้กลับไปแก้ไข พัฒนา และปรับปรุงให้ดีขึ้นค่ะ
     
  2. มหาทุกขตะ

    มหาทุกขตะ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +2
    <CENTER>[SIZE=+2]มรดกทางพระพุทธศาสนา[/SIZE]</CENTER>
    [SIZE=+1]ต้นศรีมหาโพธิ[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ต้นศรีมหาโพธิขึ้นอยู่ภายในวัดต้นศรีมหาโพธิ ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ เป็นต้นโพธิที่มีอายุมากกว่าพันปี เป็นพันธุ์ต้นพระศรีมหาโพธิ ซึ่งนำหน่อมาจากลังกา หรืออินเดียในสมัยทวารวดี เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา และมีความสำคัญต่อพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งกินอาณาเขตหลายอำเภอในจังหวัดปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา เรียกว่า ดงศรีมหาโพธิ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ต้นศรีมหาโพธิได้แตกหน่อ และแผ่กิ่งก้านสาขาไปโดยรอบประมาณ ๕๐ เมตร วัดความยาวรอบต้นได้ประมาณ ๒๕ เมตน สูงประมาณ ๓๐ เมตร เป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะบูชาของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกล มีงานนมัสการต้นศรีมหาโพธิเป็นประจำทุกปี อันเป็นประเพณีมาแต่โบราณกาล โดยจัดงานในวันขึ้น ๑๓ - ๑๕ ค่ำ เดือนห้า กิจกรรมของงานได้แก่ การปิดทองนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ และมีมหรสพสมโภช[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงงานนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิว่า ".... ฤดูเดือนห้า ราษฎรพากันไปไหว้ต้นโพธิ และพระบาทมาแต่ไกล จากเมืองพนมสารคาม ท่าประชุม และที่อื่น ๆ เป็นตลาดนัดซื้อขายของจอแจกัน ๒ วัน ๓ วัน และมีดอกไม้เพลิงเป็นต้น มาจุดกันในงนนักขัดฤกษ์นี้...."[/SIZE]
    [SIZE=-1] ต้นพระศรีมหาโพธิได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ และจังหวัดปราจีนบุรี ได้ใช้ต้นโพธิเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด[/SIZE]
    [SIZE=+1]รอยพระพุทธบาทคู่[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>



    [SIZE=-1] รอยพระพุทธบาทคู่ ตั้งอยู่ในเขตโบราณสถานวัดสระมรกต ตำลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ เป็นรอยพระพุทธบาทคู่ขนาดใหญ่ สลักบนพื้นศิลาแลง สลักบนพื้นศิลาแลงธรรมชาติ มีลักษณะเหมือนจริง ที่ฝ่าพระบาทสลักรูปธรรมจักรนูนทั้งสองข้างตรงกลาง ระหว่างรอยพระพุทธบาทเจาะเป็นหลุม และแกะเซาะร่องรูปกากบาทประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ตามความเชื่อในการสร้างอุเทสิเจดีย์ เพื่ออุทิศแด่พระพุทธองค์ตามคติของอินเดียโบราณ ก่อนที่จะมีการสร้างพระพุทธรูป หรืออาจสร้างขึ้นเพื่อเป็นบริโภคเจดีย์ โดยถือเสมือนว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมา ณ ที่นี้ หรือเป็นความหมายเชิงสัตลักษณ์ ที่หมายถึงพระพุทธองค์ ได้เผยแผ่เข้ามายังที่นี้ตามคติของลังกา ส่วนหลุมกลมที่อยู่กลางรอยพระพุทธบาททั้งสองนั้น สันนิษฐานว่า เป็นหลุมสำหรับปักเสาฉัตร หรือเสาเพลิงรองรับเครื่องหมายตรีรัตน์ หรือธรรมจักร[/SIZE]
    [SIZE=-1] รอยพระพุทธบาทคู่นี้ นับว่าเป็นรอยพระพุทธบาทคู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[/SIZE]
    [SIZE=+1]พระทวารวดี (หลวงพ่อทวารวดี)[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระทวารวดี พบที่เมืองศรีมหโสถ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ว่าการอำเภอศรีมโหสถ เป็นพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ ทำด้วยหินทรายสีเขียว สูง ๑๖๓ เซนติเมตร เป็นฝีมือช่างสมัยทวารวดีรุ่นแรก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากรูปแบบศิลปะอินเดีย สมัยราชวงศ์คุปตะ สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖ ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อทวารวดี ถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง[/SIZE]
    [SIZE=+1]วัดแสงสว่าง (พระธาตุพุทธมงคล)[/SIZE]
    [SIZE=-1] วัดแสงสว่าง ตั้งอยู่ในเขตบำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ มีโบราณสถานที่สำคัญภายในวัดคือ เจดีย์ก่อด้วยอิฐเป็นเจดีย์รูปสิบหกเหลี่ยม ฐานเจดียวัดโดยรอบได้ สิบเอ็ดวา สองศอก สูงหกวาเศษ บนยอดเป็นรูปฉัตรทำด้วยทองแดง ปลายยอดมีลูกแก้ว[/SIZE]
    [SIZE=-1] สันนิษฐานว่า เจดีย์องค์นี้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เนื่องจากพระองค์ทรงทราบข่าวว่า ที่ดงศรีมหาโพธิมีช้างเผือกอยู่หนึ่งเชือก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ขุนอินทร์เป็นผู้ดำเนินการจับช้างเชือกนี้ ขุนอินทร์จับช้างได้ที่บ้านโคกไทย จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นเป็นอนุสรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๗ ชาวบ้านเห็นว่าองค์เจดีย์ชำรุด จึงพร้อมใจกันบูรณะซ่อมแซม แล้วฉาบด้วยปูนขาวขัดมัน ต่อมาเมือปี พ.ศ.๒๔๙๖ ชาวบ้านได้พร้อมใจกันปฏิสังขรณ์เป็รการใหญ่อีครั้งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการบรรจุเนื้อดินจากสังเวชนียสถานสี่แห่ง จากประเทศอินเดีย ซึ่งทางอาศรมวัฒนธรรมไทย - ภารตมอบให้ และทางกรมศิลปากรได้มอบดวงพระชาดาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้บรรจุในพระเจดีย์พระธาตุมงคลนี้ได้กระทำพิธีบรรจุ เมือปี พ.ศ.๒๔๙๖[/SIZE]
    [SIZE=-1] วัดแสงสว่างได้ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗[/SIZE]
    [SIZE=+1]วัดท้าวอู่ทอง[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] วัดท้าวอู่ทอง ตั้งอยู่ในเขตตำบลโคกไม้ลาย อำเภอเมือง ฯ ประวัติของวัดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด มีแต่เรื่องเล่าสืบกันมาว่า วัดท้าวอู่ทองสร้างเมื่อ ประมาณ พ.ศ.๒๐๐๐ โดยราษฏรที่อพยบหนีโรคอหิวาห์มาจากเมืองอู่ทอง ในการสร้างวัดแห่งนี้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้สละพระราชทรัพย์ ในการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก ราษฏรจึงตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์ เพื่อเป็นการเทิดทูน และเฉลิมพระเกียรติ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในเขตวัดท้าวอู่ทอง มีโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปวัดท้าวอู่ทอง ลักษณะของมณฑปเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ตัวอาคารเป็นคอนกรีต คล้ายศิลปตะวันตก ขนาดตัวอาคารวัดโดยรอได้ ๑๓๐ เมตร สูง ๑๐ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓ ภายในอาคารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปรางสมาธิสี่องค์ สูง ๖ - ๘ เมตร มีพุทธลักษณะงดงาม ประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์เข้าหากัน ดูเด่นและสง่ามาก[/SIZE]
    [SIZE=+1]วัดพระแก้วพิจิตร[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] วัดพระแก้วพิจิตร ตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำปราจีนบุรี ในเขตตำบลบางบริบูรณ์ อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๒ มีพระอุโบสถงามด้วยศิลปแบบไทยผสมผสาน กับแบบจีน ยุโรป และเขมร ซึ่งเป็นเอกลักษณะพิเศษ ภายในจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามมาก[/SIZE]
    [SIZE=-1] อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาดห้าห้อง มีเฉลียงรอบกว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๑.๓๐ เมตร ตัวอาคารวัดจากผนังกว้าง ๑๐.๕๐ เมตร ยา ๑๖๕๐ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงแก้วล้อมรอบ บนกำแพงมีลายดอกไม้ ในวงกลตรงกลางผนังทุกห้อง เสากำแพงแก้วมีหัวเสาเป็นแท่นตั้งกระถางต้นไม้ ที่กึ่งกลางแนวกำแพงแต่ละด้าน มีซุ้มประตูเป็นชั้น ๆ ประดับปูนปั้นลายหน้าสิงห์ ลายดอกไม้และนาฬิกา ระหว่างกำแพงแก้วและอุโบสถ เป็นลานประทักษิณ มีซุ้มใบเสมาทรงมณฑปอยู่ในระยะ[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] พระอุโบสถหลังนี้จำลองแบบมาจากวัดพระเจ้าช้างเผือก ที่เมืองพระตะบอง ในกัมพูชา คือ หลังคามุงกระเบื้อง มีมุขประเจิดทั้งหน้าและหลัง ถัดลงมาเป็นหลังคาเฉียงรอบสองชั้น ที่สันหลังคาประดับราลี และช่อฟ้า หน้าบันปูนปั้นเขียนสีเป็นรูปวิมาณพระอินทร์ ตอนล่างของหน้าบันเป็นลายกระจังฐานพระ มีสาหร่ายรวงผึ้ง หลังเสามุขประเจิด ประดับปูนปั้นป็นตัวมกร[/SIZE]
    [SIZE=-1] ฝาผนังอุโบสถฉาบปูน ตอนบนเขียนภาพปูนปั้นเป็นลายเครื่องแขวนสลับภาพบุคคลครึ่งตัว ลักษณะคล้ายชาวตะวันตก หน้าต่างที่ฝาผนังด้านข้าง มีข้างละห้าช่อง ประตูด้านหน้าและด้านหลังมีช่องประตูข้างละสองช่อง มีบันไดขึ้นจากเฉลียงตรงกลาง ระหว่างช่องประตูมีปูนปั้นภาพเรื่องรามเกียร์ติ ซุ้มประตูและหน้าต่างทำลายปูนปั้นเป็นลายก้านขด มีเศรียรนาคประดับใต้ช่องหน้าต่าง ทำเป็นลายฉลุ[/SIZE]
    [SIZE=-1] เฉลียงรอบพระอุโบสถ มีเสานาคเรียงรับหลังคา เป็นเสากลม ห้วเสาแบบใบผักกาด หรือโครินเธียนตามแบบซิลปะตะวันตก ประดับเทพนม ฐานเสาประดับลายปูนปั้นรูปม้า พื้นเฉลียงปูด้วยกระเบื้องเคลือบสี[/SIZE]
    [SIZE=-1] ผนังด้านในเดิมมีภาพจิตรกรรมแผ่นผ้าติดกรอนประดับอยู่ แต่ถูกโจรกรรมไปหมด ผนังตอนบนเป็นภาพจิตรกรรมปูนเปียกเป็นภาพริ้วชายผ้ารอบผนังทั้งสี่ด้าน เพดานอุโบสถเป็นสีขาว มีลายดาวทองตรงกลาง และที่มุมเป็นลายพุ่ม[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ภาพในพระอุโบสถมีเสาแปดต้น เป็นเสากลมเซาะร่องเป็นริ้วยาวตลอด เสาทาสีแดง ร่องริ้วเสาทางสีทอง หัวเสาเป็นแบบใบผักกาด หรือโครินเธียนเช่นเดียวกับภายนอก ฐานเสาเป็นลายรูปม้าด้านละตัว บานประตูหน้าต่างด้านในเขียนภาพสีน้ำมัน รูปช่อดอกไม้[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระอุโบสถวัดแก้วพิจิตร นับว่าเป็นผลงานความคิดสร้างสรรค์อันล้ำค่าในเชิงช่างที่ผสมผสาน มีจุดเด่นของศิลปะทั้งสี่ชาติรวมไว้ในพระอุโบสถหลังนี้ ซึ่งกล่าวได้ว่า มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย กล่าวคือ กำแพงแก้วที่ล้อมตัวพระอุโบสถ มีการทำซุ้มประตูทางเข้าเป็นชั้น ๆ ประดับปูนปั้นลายหน้าสิงห์ ลายดอกไม้และนาฬิกา ซึ่งเป็นการเลียนแบบเขมร ตัวพระอุโบสถมีโครงสร้างตามแบบศิลปะไทย มีช่อฟ้า ในระกา บราลี ส่วนองค์ประกอบการตกแต่งอาคารเป็นแบบตะวันตก คือใช้เสาพระอุโบสถกลมเซาะร่อง หัวเสาเป็นแบบผักกาด อันเป็นศิลปะแบบโครินเธียน การประดับปูนปั้นเป็นตัวมกรตามแบบศิลปะจีน[/SIZE] <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#006666>| ย้อนกลับ | บน |</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. มหาทุกขตะ

    มหาทุกขตะ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +2

    [​IMG]
    [SIZE=-1]สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่ในอาณาเขต โบราณสถานสระมรกต[/SIZE]
    [SIZE=-1]สวัสดีครับนายเกริกเกียรติ กลับมานำเที่ยวอีกเช่นเคย วันนี้เราไปท่องเที่ยวโบราณสถานใกล้ๆกรุงเทพกันบ้าง ซึ่งในความรู้สึกของผมนั้น ที่นี่ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะมีอายุเก่าแก่ และ ยังสามารถเป็นต้นแบบการศึกษา ปราสาทหิน
    ได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่ง ที่แห่งนี้คือ โบราณสถานสระมรกต ซึ่ง ตั้ง จ. ปราจีนบุรี อ. ศรีมโหสถ ไม่ไกล้ ไม่ไกล จาก กรุงเทพฯ มากนั้นเอง
    [/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG]

    บริเวณรอยพระพุทธบาท คู่

    [​IMG]

    รอยพระพุทธบาทคู่ ที่ใหญ่ที่สุดในไทย เห็นตรา ธรรมจักร แสดงถึง นัยของล้อเกวียน ที่นำธรรมมะมาสู่ชุมชน
    [/SIZE]​
    [SIZE=-1]ผมเดินทางมาถึงที่นี่ในช่วง สายๆ ของวันอาทิตย์ ผู้คนที่มาท่องเที่ยวไม่มากนัก เมื่อมาถึงแล้ว ก็เริ่มเดินเก็บภาพไปเรื่อยๆ โบราณสถานสระมรกต นั้น มีความโดดเด่นและ น่าสนใจ ที่ รอยพระพุทธบาท คู่ เก่าแก่ สมัย ทวาราวดี ซึ่งนับเป็นยุคแรก น่าศึกษา ในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่ง รอยพระพุทธบาท ที่ว่านี้ก็นับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อีกด้วย รอยพระพุทธบาท นั้น ประดิษฐาน ลึกลงไปในดินสักหน่อย ปัจจุบัน มีการสร้าง หลังคา ครอบเอาไว้ อย่างถาวร ซึ่งประชาชน นิยม มากราบไหว้ รอยพระพุทธบาท แห่งนี้เป็นอย่างมาก ในบริเวณเดียวกันมี ร่องรอย ที่ยังหลงเหลือ ของปราสาทขอม ซึ่ง เป็นอีกสึ่งหนึ่ง ที่น่าสนใจ เพราะ ปราสาท หลังนี้นั้น สันนิษฐานว่า ไม่ได้มีความสำคัญ หรือเกี่ยวข้องกับการประดิษฐาน เทวรูป ของเทพใน ฮินดูมากนัก หากแต่ใช้ในการเป็น อโรคยาศาล หรือ โรงพยาบาล นั่นเอง [/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG] [​IMG]

    มองจากด้านด้านหลังของปราสาท และ บริเวณ ฐานของ องค์ ปรางค์ประธานเดิม
    [/SIZE]​
    [SIZE=-1]หากเราจะศึกษา ร่องรอยของอโรคยาศาลนั้น คงต้อง เดินทางกันไกลไป ทางภาคอิสาน แต่ ที่นี่นับว่า ใกล้เมืองที่สุด แล้วครับ รูปแบบของ อโรคยาศาล นั้น สันนิษฐาน ว่า เริ่มมีการก่อสร้างในสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็น สมัย บายน เป็นยุคก่อนการล่มสลายของ อาณาจักรขอม นั่นเอง ซึ่งจากการดูรูปแบบวางผังของ ตัวอาคาร แล้ว นั้น จะตรงตามลักษณะ ของ อโรคยาศาลทั้งสิ้น กล่าวคือ ก่อสร้างด้วย ศิลาแลง ( นิยมใช้ในสมัย บายน ) และตั้งอยู่ใกล้สระน้ำใหญ่ ก่อนเข้าสู่ตัวอาคาร นั้น จะมีบ่อน้ำขนาดเล็ก อยู่ด้านหน้า ซึ่ง ปัจจุบัน ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นบ่อน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ ในกลุ่มอาคารเดิม จะมี ปรางค์ ประธาน ซึ่ง จะประดิษฐาน พระโพธิ์สัตว์ไภสัชยคุรุไวทูรย์ประภา ( พระผู้เป็นแสงสว่างแห่ง การ แพทย์ ) ซึ่ง ในปัจจุบัน เราจะเรียกกัน ติดปากว่า พระกริ่ง นั่นเอง ด้านข้างสองข้างของ จะมีห้องสำหรับเก็บ ตำรา หรือ คัมภีร์ รักษาโรค อยู่ด้วย ในอดีตนั้น จะมี แพทย์ผู้รักษา พยาบาล ประอยู่ด้วย ไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อให้คอยรักษา คนที่เดินทาง ผ่านไปมา และ คนในชุมชม ใกล้เคียงนั้น ๆ ดังนั้น รูปแบบของอโรคยาศาล จึง มีมากมาย ตามเส้นทาง ที่อาณาจักร ขอม ขยายไป และจัดตั้ง อยู่ในเส้นทางต่าง ทั่วทุกทิศ หากเราใช้การสังเกตุ ให้ดีๆ จะเห็นได้ว่า สิ่งที่หลงเหลืออยู่นั้น เป็นเพียงเศษเสี้ยว ของความ รุ่งเรือง ในอดีต ของ อาณาจักรขอม ดังจะเห็นได้จาก เศษ ของ ศิลาแลง รูปต่างๆ เช่น พญานาค เสานางเรียง ซึ่ง ปัจจุบัน มิได้ตั้งอยู่ ในที่ที่ควรเป็น และยังมีสภาพ ชำรุดมากอีกด้วย แต่เดิมนั้น โบราณสถาน สระมรกต นั้น มีสภาพสมบูรณ์ กว่านี้มาก แต่เพราะ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงมีการนำ ชิ้นส่วน ต่างๆ ของ ปราสาท ไปใช้ในการต่อเติมวัดวาอาราม ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่ง ผมก็ได้ตามไปชม ให้เห็นกับตา ก็ปรากฏว่า เป็นจริง อย่างที่ได้ทราบข้อมูลมา นับว่าน่าเสียดายยิ่งนัก[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG]

    ศิลาแลง รูปร่างแปลกๆ นี้ สันนิษฐานว่าเคยเป็น เศียร พญานาค มาก่อน

    [​IMG]

    เสานางเรียง ที่ยังคงหลงเหลือบ้าง
    [/SIZE]​
    [SIZE=-1]ขณะที่กำลัง ชมโบราณสถาน อย่างเพลิดเพลิน ก็มีเสียงโทรศัพท์ เข้ามาตามตัวไปทำธุระด่วน น่าเสียดายครับ ที่พึ่งมาถึง ก็ต้องเดินทางกลับเสียแล้ว แต่ถึงอย่างไร ผมเองก็ยังตั้งใจที่จะกลับมาที่นี่อีกอย่างแน่นอนครับ เพราะ ยังมีที่เที่ยวอีกมากมาย ซึ่ง เป็นโบราณสถาน ต่างยุค ต่างสมัย ในเขต อำเภอ ศรีมหาโพธิ์ และ ศรีมโหสถ ของ จังหวัด ปราจีนบุรี เอาไว้คอยติดตาม กันนะครับ สวัสดีครับ[/SIZE]​
     
  4. ธัมมานุสรณ์

    ธัมมานุสรณ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +47
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ยอดยาหยี [​IMG]
    หากได้กลับบ้านที่แพร่อีก ก้อคงไปทำบุญที่วัดจอมแจ้งอีก
    ดีจังที่จะบูรณะวัดจอมแจ้ง ใจจริงคิดมานานแล้วว่าวัดน่าจะได้รับการบูรณะใหม่
    เพราะทรุดโทรม ลงไปมาก แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่ไม่สามารถทำได้
    ทำได้แต่ไปทำบุญเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่วัดตามอัตภาพนะค่ะ เมื่อกลับไปเยี่ยมบ้านเท่านั้น

    ดีใจมากที่ท่านคิดบูรณะวัด ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    .................


    ผมก็จะพยายามบอกบุญไปถวายเรื่อยๆครับ

    ตั้งใจจะทำกฐินทุกปีเลย

    เเล้วก็ ทอดผ้าป่าซักปีละ 2-3 ครั้ง

    วันที่ 19 ธค. 51 นี้ ผมจะไปทอดผ้าป่าอีก 1 กองครับ
    ( มีสวดสืบชะตาด้วย ... ฝากประกาศข่าวด้วยนะครับ )

    <!-- / message -->
     
  5. ประทีปแก้ว

    ประทีปแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    3,506
    ค่าพลัง:
    +8,328
    [​IMG] อนุโมทนาค่ะ เคยไปแต่บ่อน้ำทิพย์ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้มของหลวงปู่ชัยวงษ์ศาค่ะ
     
  6. ธัมมานุสรณ์

    ธัมมานุสรณ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +47
    ธัมมานุสรณ์

    ผมเคยไปวัดพระบาทห้วยต้ม แต่ไม่เคยทราบเลยครับ ว่าที่นั่นก็มีบ่อน้ำทิพย์ด้วย

    อยู่ตรงไหนเหรอครับ

    .............................

    [​IMG]

    ประทีปแก้ว

    บอกไม่ถูกค่ะ ...

    รู้แต่ว่า อยู่ภายในบริเวณวัดนั่นแหละ หลวงปู่ทำทางเดิน และต่อท่อน้ำให้พุทธศาสนิกชนรองน้ำได้อย่างสะดวกสบายเลยค่ะ..

    ..ประทีปแก้วไปที่ไร ก็ต้องไปดื่มน้ำ ล้างหน้า ลูบศีรษะ ที่บ่อน้ำทิพย์ทุกครั้งค่ะ..

    ยินดีรู้จัก และ ขอให้คุณพระรักษานะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2008
  7. ธัมมานุสรณ์

    ธัมมานุสรณ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +47

    บ่อน้ำทิพย์ วัดพระธาตุจอมแจ้ง จ. แพร่

    [​IMG]

    ช่วงนี้ มีพุทธศาสนิกชนเดินทางมานมัสการทำบุญที่วัด

    ... เป็นจำนวนมาก ทุกวันเลยครับ ...

    มีผู้สนใจมานำน้ำทิพย์ไปอาบ ดื่ม กิน รักษาโรคอยู่เสมอๆ

    ............

    เมื่อวานนี้ ( ศ. ๑๙ ธค ๒๕๕๑ )

    ทางวัดได้จัให้มีพิธีสวดสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา ครับ

    มีผู้เข้าร่วมพิธีเกือบเต็มวิหาร

    .................

    ตอนนี้ ...

    ผมได้สนทนากับท่านเจ้าอาวาส ท่านต้องการซอมแซม "ช่อฟ้า"

    บนหลังคาวิหารหลังเก่าครับ งบประมาณ ราวๆ ๓๐๐๐๐ บาท

    ท่านใดต้องการทราบรายละเอียด

    หรือ มีจิตศรัทธาบริจาค สามารถติดต่อผ่านมาทางธัมมานุสรณ์ได้

    โทร . 084-574-7023 ครับ

    ขอโมทนาบุญกับทุกๆท่านล่วงหน้าครับ

    ... ธัมมานุสรณ์ ...
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คนเมืองแป้ เยอะจริงๆ

    อาหารอร่อยนะ เมืองแป้ ชอบกินขนมจีนน้ำหมู ข้างโรงเรียน

    บ้านผมมีอยู่เมืองแป้ เหมือนกันครับ

    กลับไป ครานี้จะลองไปที่ พระธาตุจอมแจ้งดู
     

แชร์หน้านี้

Loading...