อยากทราบเกี่ยวกับ การเข้าชาญ ครับ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย UGIAkira, 22 มกราคม 2009.

  1. UGIAkira

    UGIAkira สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +20
    อยากทราบว่า สภาวะการเข้าชาญ แต่ละสภาวะมีอะไรบ้างครับ และแต่ละสภาวะแตกต่างกันยังไงบ้างครับ
     
  2. หวังปู้เลี่ยว

    หวังปู้เลี่ยว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +87
    น่าจะสะกดว่า "ฌาณ" นะครับ ......

    เฮ้อ!!!! หา ฌ ตั้งนานแนะ ... อิอิ
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    เข้าฌาณ นี้ไม่้ต้องไปจำว่ามันเป็นอย่างไรมีอะไรบ้าง
    ผมจะแนะนำให้
    ให้ บริกรรมจรดจ่อกับ สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ต่อเนื่องมั่นคง เช่นว่า พุทโธ ใจที่ระลึกนั้นติดแนบไปกับคำบริกรรม จนไหลไปกับคำบริกรรมเพียงอย่างเดียว จิตไม่วิ่งออกไปทางความคิด ความรู้สึกอย่างอื่น บางทีอาจจะใช้ตานี้แหละมองตรงไปข้างหน้าในขณะหลับตาแ้ล้วกำหนดจุดมองจุดเดียว จ่ออยู่อย่างนั้น เรียกว่า เป็น วิตก คือ จรดจ่ออยู่

    ทีนี้ บางคนอาจจะถามว่า แล้วมันจ่ออยู่นานเท่าใด ถึงเรียกว่า ฌาณ ตอบว่า มันจะจ่ออยู่นานเท่าใด ก็ได้ ขอให้มีกำลังที่จะประคองให้มันตั้งมั่นอยุ่อย่างนั้น ซึ่ง ถ้าประคองได้เดี๋ยวเดียว ไม่แนบแน่น แม้มีวิตกก็ยังแปร่งออกไปบ้างแต่ไม่ถึงกับหลงไป ยังคงมีอาการประคองนั้นได้ ก็เรียกว่า เป็น วิตก แต่ยังเป็น อุปจาระสมาธิ
    คือ ประคองได้ และ ต่อมาคือ คอยระลึกเป็นระยะๆ ว่า ที่ประคองมานั้นคำบริกรรมนั้นเป็นอย่างไร ยังมั่นคงดี ยังจดจ่อดี หรือค่อยๆเงียบหายไป

    จิตเมื่อแนบแน่นกับสองอย่างนี้ไม่ไปไหน จะเกิด ปีติ คือ เริ่มเบาตัวบ้าง เริ่มมีอาการทางจิตใจทำให้รู้สึกแปลกๆ ไปจากสภาวะก่อนทำสมาธิ ก็จะทำให้ เกิดอายตนะที่เบาละเอียด เป็นสุข ขึ้น และนิ่งตั้งมั่นอยู่ ไปในตัว ในขณะที่ยังมีำคำบริกรรมนั้นอยู่นั่นแหละ

    พอสงบประณีตไปอีก ก็จะค่อยๆ แนบไป คำบริกรรมก็จะค่อยๆ เลือนไป เหลือแต่จิตที่นิ่งอย่างเดียว ก็จะเหลือแต่ อาการทางปีติ สุขและเอกคตา

    ครานี้ ก็ต้องหาหลักให้จิตจับ คือ มองมาที่ อาการทางกาย คือ ปีติ และ มอง อาการทางใจ คือ สุข แทนองค์คำบริกรรมที่หายไป จิตจะแนบเข้าไปเรื่อยๆ จนเหลือแต่ เอกคตาจิต เด่นรู้อยู่อย่างนั้น

    นี้คือการทำสมถะ
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    อ้างอิงจาก คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ของหลวงพ่อนะครับ ยกตัวอย่างมา

    ฌาน
    ขอแปลคำว่าฌานสักนิดขอคั่นเวลาสักหน่อยประเดี๋ยวเลยไปจะยุ่งจะไม่รู้ว่า ฌาน
    แปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญ-
    กรรมฐานถึง อันดับที่ ๑ เรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึง อันดับที่ ๒ เรียกว่า
    ทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒ ถึง อันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่า ฌาน ๓ ถึง
    อันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔ ถึงอันดับที่แปด คือได้ อรูปฌาน
    ถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘
    ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ
    ฌาน ที่ ๒ ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔
    ท่านก็เรียก จตุตถสมาบัติ ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือ สมาบัติแปด นั่นเอง

    ยังมีอีกเยอะนะครับเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=231 นะครับ
     
  5. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,286
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
  6. หล่อลำน้ำ

    หล่อลำน้ำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +40
    อ้อ ... การเข้าฌานแบบเชี่ยวชาญ เขาเรียกว่าอะไรน๊า

    "วสี" ใช่หรือเปล่า?
     
  7. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ผู้ทรงฌานและญาณทั้งหลาย
    ขอโปรดแจ้งวิธีการตรวจสอบอารมณ์ของผู้ได้ฌานและญาณได้บ้างไหมครับ

    ฌาน 1 - 4 ทั้งอาการทางกาย และอาการทางอารมณ์ (จิต)
    ฌาน 5 - 8 ทั้งอาการทางกาย และอาการทางอารมณ์ (จิต)
    นิโธรสมาบัติ ทั้งอาการทางกาย และอาการทางอารมณ์ (จิต)
    ญาณ 1 - 16 ทั้งอาการทางกาย และอาการทางอารมณ์ (จิต)
     
  8. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,212
    ค่าพลัง:
    +23,196
    แนะนำลองศึกษาในเวบนี้ดูครับ อธิบายได้อย่างละเอียด

    <TABLE style="MARGIN: 0px; LINE-HEIGHT: 150%; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'" borderColor=#4f0412 cellSpacing=0 borderColorDark=maroon width="100%" bgColor=#4f0412 borderColorLight=#4f0412 background=bg-iris-Crop.jpg border=1><TBODY><TR height=37><TD width=597 height=34></TD><TD width=596 height=34>๒๔.สมาธิและฌาน
    <SELECT style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: 12pt; COLOR: rgb(79,2,2); FONT-FAMILY: Tahoma; BACKGROUND-COLOR: rgb(213,162,58)" onchange="namosw_goto_byselect(this, 'self')" size=1 name=formselect2> <OPTION selected>** เลือกธรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับสมาธิ & ฌาน **</OPTION> <OPTION>----------------------------------------------</OPTION> <OPTION value=903.htm>หัวข้อธรรม ที่เกี่ยวกับสมาธิ & ฌาน มีดังนี้ v</OPTION> <OPTION>----------------------------------------------</OPTION> <OPTION value=337.htm#x>-จิตส่งใน เป็นภัยต่อนักปฏิบัติ</OPTION> <OPTION value=727.htm>-นิมิตและภวังค์ เรื่องที่น่ารู้เพราะต้องผ่าน</OPTION> <OPTION value=16.htm>-ติดสุข และอาการต่างๆที่มักเกิดกับนักปฏิบัติ</OPTION> <OPTION value=708.htm>-ปุจฉา-วิสัชนา เรื่องฌานสมาธิ แบบถามตอบ</OPTION> <OPTION value=374.htm>-นิวรณ์๕ กิเลสที่ระงับไปเพราะสมาธิ จึงเป็นสุข</OPTION> <OPTION value=19,htm>-วิปัสสนูปกิเลส สิ่งที่ทำให้รับธรรมไม่ได้</OPTION> <OPTION value=736.htm>-สมาธิสั้นในเด็ก</OPTION> <OPTION>----------------------------------------------</OPTION> <OPTION>** แนวการใช้สมาธิในการปฏิบัติ **</OPTION> <OPTION>----------------------------------------------</OPTION> <OPTION value=343.htm>-อานาปานสติ โดยท่านพุทธทาส</OPTION> <OPTION value=758.htm>-หลักการปฏิบัติสมาธิ-ปัญญา หลวงตามหาบัว</OPTION> <OPTION value=438.htm>-สมาธิขั้นใด? ที่จำเป็นในการปฏิบัติวิปัสสนา</OPTION> <OPTION value=367.htm>-สัมมาสมาธิ</OPTION> <OPTION value=386.htm>-สัลเลขสูตร แสดงฌานเป็นเพียงเครื่องอยู่</OPTION> <OPTION value=434.htm>-สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ นิโรธสมาบัติ</OPTION></SELECT>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2009
  9. UGIAkira

    UGIAkira สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +20
    ขอบคุณทุกท่านมากครับ สำหรับข้อมูลดีๆ

    ว่าแต่วิธีฝึกการ เข้าฌาน จากระดับ น้อยสุด ไปยังระดับ สูงสุด ขั้นตอนแรกฝึกยังไงหรอครับ
     
  10. หล่อลำน้ำ

    หล่อลำน้ำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +40
    ยืน เดิน นั่ง กิน ขี้ ปี้ นอน ... ทำได้ทุกอิริยาบท นะขอรับ

    ไปอ่านสิครับ มีพระอรหันต์องค์หนึ่งที่ติดตามพระพุทธเจ้าตลอด จนพระพุทธองค์ท่านปรินิพพาน ก็ยังไม่บรรลุอรหันต์สักที แต่กาลเวลาต่อมาไม่นานนัก ที่ท่านจะต้องถึงเวลาบรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็อยู่ในช่วงเวลากึ่งนั่งกึ่งนอน นี่แหล่ะครับ

    แต่เป็นไปในช่วงที่ขาดครูผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามภพแล้ว ท่านจึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
     
  11. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    หล่อลำน้ำ จะเข้าฌานแบบหลับหรือเข้าฌานแบบตื่นคับคุณ
     
  12. หล่อลำน้ำ

    หล่อลำน้ำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +40
    ถ้าเลือกได้ ผมขอแบบครึ่งหลับครึ่งตื่น
    ถ้าเป็นแบบตื่น ไม่สนุกเพราะมีสติกำกับ

    ยิ่งถ้าได้หลับ แล้วเจอ ผีอำนี่ชอบมาก
    มันเหมือนกับการได้ตาย ตายๆๆๆๆๆๆๆ

    ขยับเขยื้อน เคลื่อนไหวตัวไม่ได้เลย
    อึดอัด ลำบาก แต่ผมชื่นชอบมากมาย

    นะเอย นะเอย
     
  13. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    นั่นเป็นอาการของคนจิตจะรวม
    แต่ผมก็เกิดอาการกลัว
    จนครึ่งหลับครึ่งตื่น

    ที่ทุกวันนี้ทำแค่สงบ
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ขั้นตอนแรกเลยนะครับ....เพื่อการเริ่มต้นที่ดี(แม้การฝึก..ฌาน...ซึ่งอ่านที่หน้า3) ....เริ่มอ่านเริ่มต้นตรงนี้ครับ...จากหนังสือ วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ นะครับ.....ผมแนะนำให้อ่านตั่งแต่ต้นจนจบ....จะมีความเข้าใจมากขึ้น .....ตอนนี้ยังไม่พูดเรื่อง..ฌาน...กันดีกว่า...เอาเริ่มต้นก่อนแล้วกัน...

    <TABLE width="46%" align=center border=1><TBODY><TR><TD>
    เริ่มทำสมาธิ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    เริ่มทำสมาธิใช้วิธีง่าย ๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก ใช้ธูปเทียนเท่าที่มีบูชาพระ
    ใช้เครื่องแต่งกายตามที่ท่านแต่งอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวสีขาว ฯลฯ เป็นต้น
    เพราะไม่สำคัญที่เครื่องแต่งตัว ความสำคัญจริง ๆ อยู่ที่ใจ ให้คุมอารมณ์ใจให้อยู่ตามที่เรา
    ต้องการก็ใช้ได้ ​


    <TABLE width="43%" align=center border=1><TBODY><TR><TD>
    อาการนั่ง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    อาการนั่ง ถ้าอยู่ที่บ้านของท่านตามลำพัง ท่านจะนั่งอย่างไรก็ได้ตามสบาย จะนั่งขัดสมาธิ
    นั่งพับเพียบ นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้ หรือ นอน ยืน เดิน ตามแต่ท่านจะสบาย ทั้งนี้หมายถึงหลังจากที่ท่าน
    บูชาพระแล้ว เสร็จแล้วก็เริ่มกำหนดรู้ลมหายใจเข้า และหายใจออก คำว่า กำหนดรู้ คือหายใจเข้าก็รู้
    หายใจออกก็รู้ ถ้าต้องการให้ดีมาก ก็ให้สังเกตด้วยว่าหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น
    ขณะที่รู้ลมหายใจนี้ และเวลานั้นจิตใจไม่คิดถึงเรื่องอื่นๆ เข้าแทรกแซง ก็ถือว่าท่านมีสมาธิแล้ว
    การทรงอารมณ์รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก โดยที่อารมณ์อื่นไม่แทรกแซง คือไม่คิดเรื่องอื่นในเวลา
    นั้น จะมีเวลามากหรือน้อยก็ตาม ชื่อว่าท่านมีสมาธิแล้ว คือตั้งใจรู้ลมหายใจโดยเฉพาะ ​


    <TABLE width="41%" align=center border=1><TBODY><TR><TD>
    ภาวนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    การเจริญกรรมฐานโดยทั่วไปนิยมใช้คำภาวนาด้วย เรื่องคำภาวนานี้อาตมาไม่จำกัดว่า
    ต้องภาวนาอย่างไร เพราะแต่ละคนมีอารมณ์ไม่เหมือนกัน บางท่านนิยมภาวนาด้วยถ้อยคำ
    สั้น ๆ บางท่านนิยมใช้คำภาวนายาว ๆ ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่ท่านจะพอใจ อาตมาจะแนะนำคำภาวนา
    อย่างง่ายคือ "พุทโธ" คำภาวนาบทนี้ ง่าย สั้น เหมาะแก่ผู้ฝึกใหม่ มีอานุภาพและมีอานิสงส์มาก
    เพราะเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า การนึกถึงชื่อของพระพุทธเจ้าเฉย ๆ พระพุทธเจ้า
    ตรัสไว้ในเรื่อง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ว่าคนที่นึกถึงชื่อท่านอย่างเดียว ตายไปเกิดเป็นเทวดา
    หรือนางฟ้าบนสวรรค์ไม่ใช่นับร้อยนับพัน พระองค์ตรัสว่านับเป็นโกฏิ ๆ เรื่องนี้จะนำมาเล่า
    ข้างหน้าเมื่อถึงวาระนั้น
    เมื่อภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจจงทำดังนี้ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออก
    นึกว่า "โธ" ภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจตามนี้เรื่อย ๆ ไปตามสบาย ถ้าอารมณ์ใจสบายก็ภาวนา
    เรื่อย ๆ ไป แต่ถ้าเกิดอารมณ์ใจหงุดหงิดหรือฟุ้งจนตั้งอารมณ์ไม่อยู่ก็จงเลิกเสีย จะเลิกเฉย ๆ
    หรือดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุหรือหาเพื่อนคุยให้อารมณ์สบายก็ได้ (เพื่อเป็นการผ่อนคลาย
    อารมณ์) อย่ากำหนดเวลาตายตัวว่าต้องนั่งให้ครบเวลาเท่านั้นเท่านี้แล้วจึงจะเลิก ถ้ากำหนด
    อย่างนั้นเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านขึ้นมาจะเลิกก็เกรงว่าจะเสียสัจจะที่กำหนดไว้ ใจก็เพิ่มการฟุ้งซ่าน
    มากขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ก็จะเกิดเป็นโรคประสาทหรือเป็นโรคบ้า ขอทุกท่านจงอย่าทนทำ
    อย่างนั้น ​


    ศึกษาได้เพิ่มเติมที่นี่นะครับ http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2009
  15. hi5

    hi5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +701
    มีประสบการณ์คล้าย ๆ แบบนี้แหละ
    เวลานั่นสมาธิไปประมาณสิบนาที

     
  16. UGIAkira

    UGIAkira สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +20
    ขอบคุณ ทุกท่าน อีกครั้งครับ สำรหับคำแนะนำ
     
  17. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +4,562
    ฌาน8 ได้แล้วก็ก้าวข้ามไปฌาน9 คือ ได้อรหันต์
    แต่ต้องทำวิปัสสนาญานคู่กับกรรมฐาน(ฌาน)ไปด้วย
    การได้ฌาน8หมายถึงต้องได้ญาณทั้งหมด 20 ญาณ (ญาน21คืออรหันต์)
    ทั้งหมดต้องมีครูบาอาจารย์ที่รู้จริงเก่งจริงเป็นผู้สอน
    เป็นฆาราวาส สมควรปฏิบัติเฉพาะฆาราวาสธรรม
    การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสมควรบวชเป็นพระ(ความคิดผู้เขียน)
    เพราะมุ่งหลุดพ้นเป็นสรณะ(บวชเพื่อหลุด มิใช่ตามประเพณี) ถ้าเป็นฆาราวาสแล้วปฏิบัติครึ่งๆกลาง เพราะภาระเยอะ สู้นอนเกาสะดือเล่นอยู่บ้านยังคุ้มกว่าอีก
     
  18. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    คุณ NARKA

    ไม่เข้าใจครับ ว่าญาณทั้งหมดกี่ญาณกันแน่ เห็นที่กล่าวกันโดยทั่วไปมี 16 ญาณ
    คนที่ได้ฌานสมาบัติ (ฌาน 8) อานิสงเทียบได้กับญาณ 20 หรือครับ
    เห้นเขากล่าวกันว่า ผู้ได้สมาบัติ ได้บารมีพระโสดาบัน
    ก็ขอความกระจ่างหน่อยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...