โรคไบโพล่าร์ ( Bipolar disorder)

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 20 พฤษภาคม 2009.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG]


    ผศ.นพ.สเปญ อุ่นอนงค์ <O:p</O:p
    www.infomental.com<O:p</O:p
    โรคไบโพล่าร์เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความผิดปกติของอารมณ์ โรคนี้มีหลายชื่อเช่น โรคอารมณ์แปรปรวน , manic-depressive disorder, bipolar affective disorder, bipolar disorder ในปัจจุบันชื่อเป็นทางการคือ โรคไบโพล่าร์ (bipolar disorder) ลักษณะสำคัญของโรคนี้คืออาการผิดปกติของอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นแบบซึมเศร้า (depression) หรือตรงข้ามกับซึมเศร้าคืออารมณ์ดีผิดปกติ (mania) ก็ได้ <O:p</O:p

    อาการซึมเศร้า (depression)

    อาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในโรคไบโพล่าร์จะเหมือนกับอาการของโรคซึมเศร้า (major depressive disorder) ทุกประการนั่นคืออยู่ๆผู้ป่วยก็กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย คิดแต่เรื่องร้ายๆ รู้สึกเศร้าๆ ไม่แจ่มใส เบื่อหน่ายไปหมดทุกเรื่อง ไม่รู้สึกดีใจเวลามีอะไรดีๆเกิดขึ้น ไม่อยากได้อะไร ไม่มีความสุข เก็บเนื้อเก็บตัวไม่อยากพบหน้าใคร บางคนจะหงุดหงิดโมโหง่าย เบื่อชีวิต อยากตาย บางคนถึงกับฆ่าตัวตาย มีอาการอยู่แทบทุกวันเป็นหลายๆสัปดาห์หรือเป็นเดือน ในช่วงซึมเศร้าผู้ป่วยมักรู้ว่าตนกำลังป่วย
    <O:p</O:p
    อาการตรงข้ามกับซึมเศร้า (mania)

    เมื่อเกิดอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าผู้ป่วยจะมีอารมณ์ดีผิดปกติ พูดมาก หัวเราะง่าย ชอบเข้าไปวุ่นวายกับคนอื่นจนบางครั้งเกิดเรื่องเกิดราว ใช้เงินเปลืองเพราะเห็นอะไรก็น่าซึ้อไปหมดและก็จะซื้อทีละเยอะๆด้วย มีโครงการ 100 ล้าน 1000 ล้านผุดขึ้นมาเต็มหัว รู้สึกว่าตนเองเก่ง หล่อ สวย หรือเป็นคนสำคัญผิดปกติ ในช่วงที่ป่วยผู้ป่วยจะรู้สึกขยันขันแข็งอยากทำอะไรมากมายไปหมดและมีความต้องการที่จะนอนน้อยลง บางรายมีอารมณ์หงุดหงิดก้าวร้าวมาก ผู้ป่วยบางรายมีความต้องการทางเพศมาก บางรายมีอาการของโรคจิตด้วยคือมีความหลงเชื่อผิดเช่นคิดว่าผู้ป่วยเป็นคนสำคัญในอดีตกลับชาติมาเกิด หรือมีหูแว่วมาชมผู้ป่วยว่าหล่อจัง ผู้ป่วยมักไม่รู้ว่าตนกำลังป่วยและมักปฏิเสธการรักษา ผู้ป่วยหลายๆรายติดอกติดใจในความสุขที่เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังมีอาการตรงข้างกับซึมเศร้าทำให้ไม่อยากกินยาเพราะกินแล้ว “ ไม่สนุก ”
    <O:p</O:p
    อาการที่สำคัญที่จะบอกว่าผู้ป่วยป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์คือจะต้องมีอาการตรงข้ามกับซึมเศร้า (mania) อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยที่ผู้ป่วยอาจจะมีอาการซึมเศร้าเป็นบางครั้งร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ (รายที่เป็นทีไรก็ซึมเศร้าทุกทีไม่เคยมีอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าเลยนั้นเราจะถือว่าเป็นโรคซึมเศร้าและจะได้รับการรักษาแบบโรคซึมเศร้า) อย่างไรก็ดีผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในช่วงหลังคลอดมักมีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าขึ้นในภายหลัง <O:p</O:p
    โรคไบโพล่าร์นั้นมักเริ่มเป็นก่อนวัยกลางคน บางรายเริ่มเป็นตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี แต่ก็มีบางรายที่มาเริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปีได้ โรคไบโพล่าร์เป็นโรคที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องค่อนข้างมากโดยพบว่าเมื่อลองถามประวัติให้ดีๆมักจะพบว่ามีคนอื่นบางคนในวงศ์ญาติป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์ และลูกหลานของผู้ที่ป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์ได้มากกว่าคนทั่วไป
    <O:p</O:p
    ในปัจจุบันเชื่อว่าโรคไบโพล่าร์เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุลย์คือมีสารซีโรโทนิน (serotonin) น้อยเกิดไปและสารนอร์เอปิเนฟริน ( epinephrine) มากเกินไปดังนั้นเราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้รักษาโรคไบโพล่าร์ได้แก่ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers), ยาแก้โรคจิต (antipsychotics), และยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)
    <O:p</O:p
    ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers)

    ยากลุ่มนี้เป็นยาหลักที่ใช้ทั้งรักษาทั้งในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าและอาการตรงข้ามกับซึมเศร้า และยังใช้ป้องกันการกลับเป็นใหม่ได้ด้วย ในประเทศไทยปัจจุบันมียากลุ่มนี้ใช้แพร่หลายอยู่ 3 ชนิดคือ ลิเที่ยม (lithium carbonate), วาลโปรเอท (valproate), และคาร์บามาซีปีน ( carbamazepine) ซึ่งยาทั้ง 3 ชนิดนึ้ใช้ได้ผลดีใกล้เคียงกันแต่มีข้อควรระวังและข้อดีข้อเสียปลีกย่อยต่างกัน นอกจากนี้ยังมียาชนิดใหม่ที่เริ่มมีการใช้กันคือ โทพิราเมท (topiramate) ซึ่งยังค่อนข้างใหม่และประสบการณ์การใช้ยาในประเทศไทยยังน้อยอยู่ ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์นี้จะออกฤทธิ์ช้า เมื่อปรับยาครั้งหนึ่งต้องรออย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ยาจึงเริ่มออกฤทธิ์ ผู้ป่วยที่ใช้ยาในกลุ่มนี้มักต้องถูกเจาะเลือดดูระดับยาในร่างกายเพื่อช่วยในการปรับยาด้วย และยาในกลุ่มนี้มักเป็นยาต้องห้ามในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์โดยเฉพาะใน 3 เดือนแรก
    <O:p</O:p
    ยาแก้โรคจิต ( antipsychotics)

    ในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ที่กำลังมีอาการตรงข้ามกับซึมเศร้านั้นการรอให้ยาควบคุมอารมณ์ออกฤทธิ์นั้นมักจะไม่ทันการเพราะผู้ป่วยมักจะวุ่นวายและมีพฤติกรรมที่สร้างปัญหามากแพทย์จึงมักให้การรักษาด้วยยาแก้โรคจิตถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะยังไม่ถึงกับมีอาการของโรคจิตก็ตาม ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ไวและช่วยให้ผู้ป่วยสงบสติอารมณ์ควบคุมตนเองได้ดีขึ้น ยาในกลุ่มนี้มีให้เลือกใช้หลายชนิดแต่แพทย์มักเลือกใช้ชนิดที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงมากๆเช่น คลอโปรมาซีน (chlorpromazine), ไธโอริดาซีน (thioridazine), เพอร์เฟนาซีน (perphenazine) เมื่อยาควบคุมอารมณ์ออกฤทธิ์เต็มที่และอาการของผู้ป่วยดีชึ้นแพทย์ก็จะค่อยๆลดและหยุดยาในกลุ่มนี้ไป
    <O:p</O:p
    ยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)

    ในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ที่กำลังมีอาการซึมเศร้านั้นแพทย์สามารถให้การรักษาด้วยยาควบคุมอารมณ์โดยไม่ต้องให้ยาแก้โรคซึมเศร้าก็ได้แต่บางครั้งแพทย์อาจเลือกที่จะให้ยาแก้ซึมเศร้าด้วยเพื่อให้ได้ผลแน่นอนขึ้นแล้วค่อยลดและหยุดยาแก้โรคซึมเศร้าเมื่อผู้ป่วยสบายดีเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วย “ ดีเกิน ” กลายเป็นอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าไป ยาแก้โรคซึมเศร้ามีให้เลือกใช้หลายชนิด แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันแต่ผลข้างเคียงต่างกันเช่นบางชนิดทำให้ง่วงบางชนิดไม่ทำให้ง่วง ยาแก้ซึมเศร้าเป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้าเช่นเดียวกับยาควบคุมอารมณ์
    <O:p</O:p
    โดยทั่วไปเมื่อเริ่มการรักษาแพทย์มักสามารถควบคุมอาการของผู้ป่วยได้ในเวลาประมาณ 1 เดือนและผู้ป่วยมักหายเป็นปกติในเวลาประมาณ 2 เดือน หลังจากนั้นแพทย์จะให้ยาควบคุมอารมณ์ต่อไปอีก 6-12 เดือนแล้วค่อยพิจารณาหยุดยา โรคไบโพล่าร์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ คือหายกลับเป็นคนเดิมได้ แต่ไม่หายขาด วันดีคืนดีผู้ป่วยจะกลับมามีอาการอีก ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นมาหลายครั้ง เป็นค่อนข้างถี่ หรือเป็นแต่ละครั้งรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต่อไปเรื่อยๆเพื่อป้องกันไม่ให้อาการกลับมาใหม่
    <O:p</O:p


    ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลับมาใหม่ที่พบบ่อยมี 3 ข้อคือ
    1. เครียดมาก <O:p</O:p<LI class=MsoNormal style="mso-margin-top-alt: auto; mso-margin-bottom-alt: auto; mso-list: l0 level1 lfo1; tab-stops: list 36.0pt">อดนอน <O:p</O:p
    2. ขาดยา <O:p</O:p
    ปัจจัยข้อที่ 1 เป็นสิ่งที่คนเราหลีกเลี่ยงได้ยากโดยเฉพาะคนที่มีหน้าที่การงานต้องรับผิดชอบมากๆแต่เราก็คงจะสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราได้บ้างให้เครียดเฉพาะที่จำเป็นต้องเครียด ส่วนปัจจัยอีก 2 ข้อนั้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่า(การ)งานจะยุ่งเพียงใด ไม่ว่างาน(เลี้ยง)จะสนุกแค่ไหน ให้ ให้ความสำคัญกับการนอน ก่อน จัดเวลาให้นอนให้พอเสมอแล้วท่านจะไม่ต้องมานอนที่โรงพยาบาลบ่อยนัก นอกจากนั้นก็ กินยาให้ครบ ถึงแม้ว่าจะน่าเบื่อเพียงใดก็ตาม แพทย์ทุกท่านเห็นใจผู้ป่วยที่ต้องกินยานานๆแต่บางครั้งมันก็จำเป็น เพราะเมื่ออาการกำเริบแต่ละครั้งมักเกิดความเสียหายแก่ทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติๆและยาสามารถช่วยป้องกันการกำเริบได้จริงๆ

    ที่มา http://www.infomental.com/bipolar.htm

    <O:p</O:p<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2009
  2. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    สันโดษกำลังเป็นโรคนี้อยู่ค่ะ อยู่ในช่วงรักษาด้วยการฟังบทสวดมนต์ เเละ นั่งสมาธิ

    อาการจะคอยกำเริบเรื่อยๆ หากไม่นั่งสมาธิ หรือ ดูจิต

    หมอบอกว่า ไม่มีทางรักษาหาย เเต่สันโดษเชื่อว่า โรคนี้เป็น วิบากกรรม

    สันโดษจะปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหายดี สันโดษเชื่อว่า ปาฏิหาริย์ มีจริง คะ
     
  3. ^บัวหลวง^

    ^บัวหลวง^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +661
    เป็นใบโพ(ธิ์) ดีกว่าเป็นใบไม้อย่างอื่นเนอะพี่สันโดษ อิ อิ ^^
    อันนี้ขอเสริมค่ะว่า bipolar มี 2type
    Bipolar I disorder เวลามีอาการ mania จะเป็นmania ครึกครื้นแบบเต็มขั้น
    ส่วนbipolar II disorder จะเป็นmania แบบไม่เต็มขั้นจะเบากว่า bipolarI
    โรคนี้หายยากก็จริงแต่ก็ควบคุมได้ด้วยอานาปานสติค่ะ สู้ๆนะคะพี่ ^_________^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2009
  4. ^บัวหลวง^

    ^บัวหลวง^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +661
    ในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ที่กำลังมีอาการซึมเศร้านั้นแพทย์สามารถให้การรักษาด้วยยาควบคุมอารมณ์โดยไม่ต้องให้ยาแก้โรคซึมเศร้าก็ได้แต่บางครั้งแพทย์อาจเลือกที่จะให้ยาแก้ซึมเศร้าด้วยเพื่อให้ได้ผลแน่นอนขึ้นแล้วค่อยลดและหยุดยาแก้โรคซึมเศร้าเมื่อผู้ป่วยสบายดีเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วย “ ดีเกิน ” กลายเป็นอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าไป ยาแก้โรคซึมเศร้ามีให้เลือกใช้หลายชนิด แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันแต่ผลข้างเคียงต่างกันเช่นบางชนิดทำให้ง่วงบางชนิดไม่ทำให้ง่วง ยาแก้ซึมเศร้าเป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้าเช่นเดียวกับยาควบคุมอารมณ์

    อันนี้หมายถึง ในผู้ป่วยbipolar ที่กำลังมีอาการซึมเศร้า ส่วนใหญ่แล้วแพทย์ไม่นิยมให้ยาแก้ซึมเศร้าเพราะอาจทำให้ผู้ป่วยอารมณ์ครึกครื้นขึ้นจนกลายเป็นmaniaได้ แต่แพทย์มักจะนิยมให้ยาพวก mood stabilizer แทนค่ะ ^^
     
  5. damrong.lap

    damrong.lap เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +123
    เอาใจช่วยขอให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง
     
  6. แมวแหมว

    แมวแหมว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +49
    เคยคิดว่าตัวเองเป็นเช่นกัน น้องสันโดษ

    แต่ก็ตื่นขึ้นมารับรู้ความจริงว่าแค่พักผ่อนไม่เพียงพอ

    เป็นกำลังใจให้นะจ๊ะ

    พุทธศาสนา เป็นโรงพยาบาลรักษาทุกโรค โดยเฉพาะโรคทางจิตวิญญาณ

    ตอนนี้ก็ยังไม่หายป่วยดี ก็รักษาตามอาการ

    ยาที่ได้รับก็คือกำลังใจและพลังใจจากความรักที่สถิตอยู่ในโลก ที่ไม่ใช่แค่รักธรรมดาอย่างที่เข้าใจ

    เป็นความรักที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตาที่ปรารถนาต้องการให้การรักษาให้หายป่วยอย่างแท้จริง

    จากทั้งผู้ทรงศีลและผู้ปฏิบัติธรรมตามที่ต่างๆที่ทราบข่าว

    โลกแห่งความรักกว้างใหญ่เกินจินตนาการนะ

    อนุโมทนา
     
  7. ผิดหรือไม่

    ผิดหรือไม่ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
    คือว่าฉันไปนั่งสมาธิ พอกลับบ้านรู้สึกตัวเองเป็นผู้วิเศษ คิดตลอดเวลาไม่หลับไม่นอน เห็นภาพ ได้ยินเสียง จนคิดว่าตัวเองวิเศษมาก สุดท้ายต้องพาไปหาหมอ หมอบอกเป็นเหมือน bipolar disorder ตอนนี้หายแล้ว รู้แล้วว่าหลงไปเอง แต่หมอให้กินยาต่ออย่างน้อยสองปีแน่ะ ไม่อยากกินเลย แต่ก็กลัวเป็นอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...