ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <TABLE id=Table_01 height=950 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=760 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>[​IMG]</TD><TD colSpan=2>[​IMG]</TD><TD colSpan=2>[​IMG]</TD><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR vAlign=top><TD background=images/history_05.gif colSpan=8 height=694>
    [​IMG]

    [FONT=MS Sans Serif, sans-serif, serif]<DD>วัดชุมพลนิกายาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หัวเกาะบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดต่อกับเขตอุปจาระพระราชวังบางปะอิน มีอาณาเขตโดยยาวประมาณ ๔ เส้นเศษ ด้านเหนือกว้าง ๑ เส้นเศษ ด้านในยาวประมาณ ๔ เส้นเศษติดกับพระราชวังบางปะอิน ด้านตะวันออกติดคลอง ด้านตะวันตกจรดลำน้ำเจ้าพระยา <DD>[/FONT]<DD>[FONT=MS Sans Serif, sans-serif, serif]วัดชุมพลนิกายาราม สร้างโดยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๕ หรือพระเจ้าปราสาททอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๑๗๕ ตรงบริเวณที่เป็นเคหสถานเดิมของพระราชชนนีของพระองค์ ตามหลักฐานจากพระราชกระแสรับสั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๑๙ และในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๕ พิมพ์ครั้งที่ ๒ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพงษาดิศรมหิตป โปรดให้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ความว่า[/FONT]<DD>[FONT=MS Sans Serif, sans-serif, serif]
    [​IMG]
    [/FONT]

    <DD>
    [FONT=MS Sans Serif, sans-serif, serif]“…ที่ทรงสร้างวัดชุมพลนิกายารามนี้เป็นมูลนิเวศสถานของพระราชชนนีแห่งองค์พระเจ้าปราสาททอง หากจะสันนิษฐานตามหลักฐานที่อ้างอิงทุกกรณีแล้วเห็นว่าเป็นความจริงโดยแน่แท้ เพราะว่าวัดชุมพลนิกายารามนี้ต่อมาปรากฏว่าเจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทร์พิทักษ์ ซึ่งมีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้านเรนทร์ ที่เป็นพระราชโอรสของพระสรรเพชญ์ที่ ๙ หรืออีกพระนามหนึ่งว่า ขุนหลวงท้ายสระ ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดโคกแสง ได้เสด็จมาปฏิสังขรณ์ในครั้งกระนั้น นอกจากนี้แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดมาปฏิสังขรณ์หรือบูรณะแต่อย่างใด…”[/FONT]

    [​IMG]

    <DD><DD>[FONT=MS Sans Serif, sans-serif, serif]ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ[FONT=MS Sans Serif, sans-serif, serif]์[/FONT] <DD>ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพลเทพ(หลวง) เป็นแม่กองมาปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ สิ้นพระราชทรัพย์ไปประมาณ ๕๐๐ ชั่งเศษ แล้วทรงอุทิศพระราชกุศลแด่พระเจ้าปราสาททองผู้เป็นเจ้าของวัดและทรงอุทิศพระราชกุศลแด่เจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทร์พิทักษ์ผู้ปฏิสังขรณ์ ดังมีพระราชปรารภอยู่ในศิลาจารึกซึ่งติดอยู่ที่พระเจดีย์ทั้งสององค์ด้านหลังพระอุโบสถ <DD><DD>ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ โดยทรงบูรณะพระอุโบสถและพระวิหาร สิ้นพระราชทรัพย์อีกเป็นจำนวนมาก <DD><DD>ปูชนียวัตถุสำคัญในวัดชุมพลนิกายาราม คือ พระประธานพระอุโบสถทั้ง ๗ องค์ ได้แก่ พระวิปัสสีสิขี เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ กัสสปะ และโคตมะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นหินทรายทั้งหมด และมีพระสาวกอีก ๔ องค์เป็นพระยืน นอกจากนี้มีพระศรีอาริยะเมตไตรโพธิสัตว์อีก ๑ องค์ประดิษฐานอยู่ที่หน้าพระอุโบสถ <DD>ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนพระพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ โดยเขียนไว้ที่ฝาผนังทุกด้านอย่างงดงามยากจะหาที่ใดเสมอเหมือนภาพเขียนดังกล่าวได้รับการซ่อมแซมเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ แต่เป็นที่น่าเสียดายด้วยในเวลานี้ภาพเขียนส่วนหนึ่งได้หลุดลอกและลบเลือนไปบ้างแล้ว <DD>ปัจจุบันวัดชุมพลนิกายาราม มีพระครูชุมพลวุฒิกร เป็นเจ้าอาวาส มีพระภิกษุจำนวนทั้งสิ้น ๒๔ รูป และสามเณรจำนวน ๔ รูป [/FONT]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    </DD></TD></TR></TBODY></TABLE>

    ตอนนี้กำลังอ่านจิ้มก้องและกำไร อ่านยากสำนวนวิชาการมาก ต้องสรุปไว้ในแต่ละหน้าเอง แล้วจะเอาบางส่วนมาพิพม์นะคะ

    มีเกล็ดพงศาวดารเรื่องวัดชุมพลฯ สมัยที่เจ้าขรัวมณีจันทร์ ในนามแฝง แม่อิน สิ้นพระชนม์ไปแล้ว สมเด็จพระเจ้าปราสาททองใช้วัดนี้เป็นที่เผาศพทหาร

    โดยเมื่อเสร็จศึกในแต่ละสนามนั้น ทหารทั้งไทยทั้งพม่าตายในสนามรบ จะมีทหารไปตามเก็บร่างอันไร้วิญญาณนั้นขึ้นแพที่ต่อขึ้นโดยหาวัสดุที่หาได้ใกล้ๆสนาบรบนั้นต่อเป็นแพ ศพทหารก็วางทับๆกันบนแพนั้น ไม่ว่าจะเป็นศพทหารไทยหรือศพทหารพม่า ไทยเราใจบุญเอากลับมาทำบุญให้หมด ก็ล่องเรือมาถึงเกาะบ้านเลนนี้ เอาศพขึ้น นิมนต์พระสวดบังสกุลให้ศพเหล่านี้ แล้วก็จัดการเผาร่วมกันที่ลานวัดแห่งนี้

    จากนั้นก็จะให้ทหารของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทุกคนอุปสมบทหมู่ เป็นการล้างกรรมหลังจากเสร็จศึกทุกศึก เป็นวิธีปฎิบัติของพระองค์ท่านเพื่อให้ทหารเหล่านี้ที่รอดจากสนามรบมีกรรมติดตัวน้อยที่สุด และอุทิศกุศลให้ผู้ที่ถูกทหารเหล่านี้ฆ่า เพราะการฆ่ากันในสนามรบนั้นเป็นหน้าที่ มิใช่เป็นความแค้นส่วนตัวจึงต้องขออโหสิกรรมต่อกันให้สิ้นไป พระท่านเล่าว่าบางครั้งบวชพร้อมๆกันเป็นหมื่นคน อันนี้เป็นตำนานของเกาะบ้านเลนและวัดชุมพลนิกายารามค่ะ


    ป.ล. เสาสีแดงที่เห็นนี่แหละค่ะ ที่เป็นสัญญลักษณ์อันหมายถึง พระองค์บัว (เจ้าแม่วัดดุสิต) ยังมีเสาอีกคู่ ไม่อยู่ในรูป เป็นเสาสีฟ้า เป็นสัญญลักษณ์อันหมายถึง พระองค์ไล (สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2009
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดสำปะซิว สำหรับสะสางบัญชีทหารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    คนโบราณถือเรื่องไม่นำศพเข้าพระนคร จึงต้องมีวัดสำหรับพักศพทหารนะคะ สำหรับในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น เชื่อกันว่าจะเป็นวัดสำปะซิวและอาจจะมีวัดอื่นๆด้วยนะคะ


    <CENTER>จิตรกรรมฝาผนัง...วัดสำปะซิว

    </CENTER>


    [​IMG]
    อุโบสถวัดสำปะซิว


    วัดสำปะซิว ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ ๓ ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ.๑๘๕๗ ในสมัยอยุธยาตอนต้น มีอายุมานานกว่า ๖๐๐ ปี มีพื้นที่ ๒๐ ไร่เศษ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๑๘๖๐

    ตามประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ และมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานต่อ ๆ กันมาว่าเดิมสถานที่แห่งนี้เป็นวัดร้าง ต่อมากองทัพไทยในองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มาหยุดพักทัพเพื่อตรวจสอบบัญชีจำนวนทหารในกองทัพว่ามีจำนวนทหารที่สูญหาย จากการทำศึกเท่าใด และมีจำนวนทหารเหลืออยู่เท่าใด ในสมัยนั้นเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า สางบัญชี

    ต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้างแห่งนี้ขึ้น จึงตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า วัดสางบัญชี เนื่องจากสาเหตุอันใดไม่ทราบ ได้ทำให้การเรียกชื่อวัดแห่งนี้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม จากชื่อว่า วัดสางบัญชี เป็น วัดสำปะซิว มาจนถึงทุกวันนี้

    นอกจากนี้แล้ว “สุนทรภู่” ยอดกวีเอก ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เคยเดินทางผ่านมาถึงเมืองสุพรรณบุรี โดยใช้เรือแจวจากกรุงเทพฯ มาตามลำแม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำสุพรรณบุรี) ใน พ.ศ.๒๓๗๙ ผ่านหมู่บ้านตำบลต่าง ๆ จนเกิดโคลงสี่สุภาพ “นิราศเมืองสุพรรณ” ว่า

    ขึ้นสำปะทิว งิ้วง้าวสะล้าง กร่างไกรถิ่นท่าป่ารำไร ไร่ฝ้ายเจ็กอยู่หมู่ไทยมอญ ทำถั่วรั้วเอยปลูกผักฟักกล้วยกล้ายเกลื่อนทั่วทางขจร

    “สำปะทิว” ก็คือ “สำปะซิว” ในสมัยปัจจุบัน เป็นเพราะการเรียกเพี้ยนมาจนเดี๋ยวนี้ ที่เชื่อเช่นนั้นเพราะ "สุนทรภู่" ได้พรรณนาถึงวัดกับบ้าน และบางต่าง ๆ เรื่อยมาตามลำน้ำสุพรรณบุรี ก่อนที่จะถึงบ้านสำปะซิว ได้กล่าวถึง โพคลาน (วัดโพธิ์คลาน), ศรีษะเวียง (บ้านหัวเวียง), โพหลวง (บ้านพลูหลวง) ซึ่งชื่อดังกล่าวนี้ อยู่ใต้บ้านสำปะทิว และมีอาณาเขตติดต่อกันเป็นช่วง ๆ จึงไม่มีปัญหากับคำว่า “สำปะทิว” ซึ่งก็คือ “สำปะซิว” นั่นเอง



    นอกจากนี้แล้ว วัดสำปะซิว ยังเป็นแหล่งที่ตั้งเตาเผาภาชนะดินเผา (ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา) ซึ่ง เป็นเตาเผาอิฐแบบระบายความร้อนผ่านเฉียงขึ้น สามารถเผาภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งแบบเคลือบ และแบบไม่เคลือบได้ พบตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนทั้ง ๒ ฝั่ง เพราะสะดวกในการขนส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ทางเรือ นับว่าเป็นสินค้าส่งออก

    ลักษณะของดินเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่ถูกการเคลื่อนย้ายพัดพามา จึงทำให้ดินมีคุณภาพดี เหมาะสำหรับในการทำภาชนะดินเผา และเคยขุดค้นพบเศษเครื่องสังคโลก และเครื่องถ้วยจีน ซึ่งนำมาเป็นตัวอย่างในการผลิตประเภท ถ้วย ชาม ส่วนหม้อ ไห มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง


    [​IMG]

    ภายในอุโบสถ

    [​IMG]

    ภายในอุโบสถวัดสำปะซิว มีพระประธานเก่าแก่คู่กับวัด เนื้อทองสัมฤทธิ์ เป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวบ้าน เรียกขานว่า “หลวงพ่อพุทธสมปรารถนา” ซึ่งเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์

    [​IMG]


    นอกจากนี้ บริเวณฝาผนังของอุโบสถ มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ได้เสด็จมาทรงลงสีภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๘


    ก่อนนั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จมาเป็นประธานในงานทอดพระกฐิน “ศุภมงคล” ซึ่งเป็นการทำบุญทอดกฐินด้วยความศรัทธาของพระองค์เองเป็นครั้งแรกในชีวิตด้วย

    อ้างอิงบล็อคของครูแผน http://www.oknation.net/blog/phaen/2009/10/31/entry-1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2009
  3. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466


    พระเกียรติคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า แม้แต่ชาวต่างชาติ

    ยังยอมรับและสรรเสริญยกย่อง แล้วลูกหลานเหลนโหลนไทยทั้งหลาย

    เล่าครับ มาร่วมใจกันระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์

    ท่าน ช่วยกันเทิดพระเกียรติให้ขจรขจาย สถิตย์อยู่ในดวงใจของลูกไทย

    ทุกคนตลอดไป
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วันนี้ใครได้ลอยกระทงบ้างคะ นึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของบรรพกษัตริย์และบรรพบุรุษไทย ทำให้ลูกหลานมีแผ่นดินทำกิน มีประเพณีงานรื่นเริงไว้เป็นวัฒนธรรมอันดีงาม

    เมื่อวานได้ดูคลิปวีดีโอของหลวงพ่อสิงห์ทน นราสโภ เล่าเรื่องการแห่พระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาทางเรือ โดยลงเรือที่กำแพงเพชรแล้วมาขึ้นที่ท่าน้ำของวัดวรเชษฐ์ซึ่งเป็นถนนนอกเกาะเมือง พระราชประเพณีโบราณนั้นท่านมีธรรมเนียมปฎิบัติเหมือนปัจจุบันหรือไม่หนอ

    สวัสดีค่ะ คุณศรัทธา_พิสุทธิ์ ได้เห็นชื่อที่อนุโมทนา ทางสายธาตุคาดเองว่าคุณศรัทธา_พิสุทธิ์อาจจะรุ่นราวคราวเดียวกัน เพราะคุยเรื่องช่อง4 บางขุนพรหม รู้เรื่องกันฮิฮิ คาดว่ากว่าครึ่งหนึ่งของคนอ่านกระทู้นี้ไม่เคยดูช่อง 4 บางขุนพรหม ^^

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    ดูรุ่นคุณไชยาเล่นยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ดูรุ่นหลังหน่อยคือรุ่นคุณนิรุตติ์ ศิริจรรยา ดูทั้งสองเวอร์ชั่นที่ช่อง 4
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2009
  5. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>“ในหลวง” พระพักตร์แจ่มใส ลอยพระประทีปท่าน้ำศิริราชเป็นการส่วนพระองค์</TD><TD vAlign=baseline align=right width=85>[​IMG]</TD><TD vAlign=baseline align=right width=85>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>2 พฤศจิกายน 2552 20:30 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><CENTER>[​IMG]</CENTER>

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ลอยพระประทีปเป็นการส่วนพระองค์ ที่ท่าน้ำศิริราช ภายใน รพ.ศิริราช ด้วยพระพักตร์ที่แจ่มใสและแย้มพระสรวล โดยทรงโบกพระหัตถ์ทักทายประชาชนที่เข้าเฝ้ารับเสด็จฯ ท่ามกลางเสียงแซ่ซ้องทรงพระเจริญกึกก้องโรงพยาบาล
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    ๐๐๐ ธ คือดวงใจของไทยทั้งชาติ ๐๐๐
     
  6. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>“กู่เจิ้ง” กระชับสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>3 พฤศจิกายน 2552 10:41 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ทรงฉายพระรูปร่วมกับกู่เจิ้ง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เตรียมเสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 12-25 ธ.ค.52 เพื่อทรงร่วมแสดงดนตรีในงานแสดงดนตรีและวัฒนธรรม “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” ครั้งที่ 4 ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลจีนโดยกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น สืบเนื่องจากการแสดงดนตรีและวัฒนธรรมทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนของทั้ง 2 ประเทศอย่างงดงาม

    ก่อนการเสด็จเยือนตามหมายกำหนดการ ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรกของโลก ที่สามารถทรง “กู่เจิ้ง” เครื่องดนตรีโบราณในราชสำนักจีน หรือ ที่ชาวตะวันตกขนานนามเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า “เปียโนตะวันออก” เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ทรงพระกรุณาประทานสัมภาษณ์ถึงการเตรียมความพร้อม ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ว่า นับเป็นการตัดสินพระทัยร่วมแสดงที่ค่อนข้างกระทันหัน เพราะทรงทราบเรื่องเมื่อเดือน มี.ค. จากกระทรวงวัฒนธรรมจีน ซึ่งทูลขอให้ทรงร่วมการแสดง สายสัมพันธ์สองแผ่นดินภายในเดือน ธ.ค.ปีนี้ หลังจากที่ห่างหายจากการแสดงดนตรีดังกล่าวมานานถึง 4 ปี เนื่องจากทรงติดภารกิจด้านงานวิชาการ และการทรงเป็นพระอาจารย์สอนอยู่ในสถาบันหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ

    “ยอมรับว่าตอนแรกข้าพเจ้าตกใจมาก เพราะทิ้งกู่เจิ้งมานาน2 ปีเต็ม เนื่องจากมีงานวิชาการที่แน่นมาก ทำให้ไม่มีเวลาที่จะซ้อม คิดว่าลืมไปหมดแล้ว และคงเล่นได้ไม่ดี จึงเรียก อ.หลี่หยาง ซึ่งเป็นอาจารย์ที่เคยสอนมารื้อฟื้นกันยกใหญ่ ปรากฏว่ารื้อฟื้นไม่นานก็กลับเล่นได้ดีกว่าเดิม ไม่แน่ใจว่า ทำไมดีกว่าเดิม สงสัยจะแอบซ้อมในฝัน” ทรงเล่าอย่างมีพระอารมณ์ขัน พร้อมรับสั่งว่า “จริงๆ ตามธรรมดาแล้วการแสดงนี้จะเกิดขึ้นทุกๆ 2 ปี ผลัดเขามา 2 ปีแล้ว รวมเป็น 4 ปี จนกระทั่ง เมื่อข้าพเจ้าไปรับตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยภูฏาน เมื่อเดือน มี.ค. ทางการจีนก็กระโดดจับตัวเลย ขอว่าอย่างไรปีนี้ก็ห้ามเบี้ยว จึงไม่กล้าเบี้ยว ต้องเล่นแล้ว”

    หลังจากที่ทรงตอบรับเข้าร่วมการแสดงดนตรีในครั้งนี้ พระองค์ทรงฝึกซ้อมอย่างหนักตั้งแต่เดือน มี.ค.จนถึง เม.ย. ทรงซ้อมร่วมกับวงดุริยางค์ราชนาวี กองดุริยางค์ทหารเรือ มากถึงวันละ 5 ชั่วโมง เพราะต้องรื้อฟื้นสิ่งที่ลืมไปแล้วเพื่อให้กลับมาเล่นได้ ซึ่งเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ทรงกู่เจิ้งก็ไม่ลืมเสียทีเดียว ทรงรับสั่งว่า เมื่อพระอาจารย์มารื้อฟื้นให้ก็ทรงเล่นได้เร็วกว่าที่คิด จนถึงขณะนี้ ทรงลดการซ้อมลงเหลือวันละ 2-3 ชั่วโมง และทรงมีความพร้อมเต็มที่ ก่อนจะเสด็จไปร่วมฝึกซ้อมกับวงดนตรีในประเทศจีนช่วงต้นเดือน พ.ย.

    “ในการแสดงครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ก็รู้สึกว่าความสัมพันธ์ไทย-จีน ใกล้ชิดกันขึ้นมากเลย ตัวข้าพเจ้าเองก็ได้เป็นทูตวัฒนธรรมของประเทศจีน มาตั้งแต่ปี 2002 ที่ผ่านมาข้าพเจ้าถือว่าได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ เพราะทุกครั้งที่ไปต่างประเทศ ฝรั่งก็แปลกใจมาก มาถามว่าแบกกู่เจิ้งมายังไงไหว ข้าพเจ้าก็บอกกลับไปว่า ไม่ได้แบกขึ้นเครื่อง ใช้โหลดใต้ท้องเอา เวลาจะแพ็คแต่ละทีก็ต้องระวัง เพราะกู่เจิ้งเป็นเครื่องดนตรีที่บอบบางมาก ซึ่งต้องขอเล่าเกร็ดสักหน่อยว่า กู่เจิ้งตัวที่นำไปเล่นที่ต่างประเทศ เวลาเดินทางไปที่ต่างๆ เป็นคนละตัวกับที่จะใช้เล่นในคอนเสิร์ต เพราะตัวนั้นเป็นกู่เจิ้งที่เสียงดี เรียกว่าน้ำหนึ่ง ไม่กล้าเอาเดินทางไปไหนด้วย ตัวที่เอาเดินทางไปคือ ตัวรอง ซึ่งตัวรองนี้ผจญภัยมาก ทั้งถูกโยน ทั้งแตก แต่ที่แตกก็ปรากฏว่าซ่อมได้ ไม่เอฟเฟกต์เสียง ก็เลยคิดว่า ตัวนี้ก็ให้เดินทางต่อไป เพราะเดินทางไปทุกแห่งกับข้าพเจ้า”

    โอกาสนี้ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ จะทรงเครื่องดนตรีกู่เจิ้งร่วมกับวงดุริยางค์จีน จำนวน 5 เพลง ได้แก่ เพลงระบำเผ่าอี้ ซึ่งเดิมเป็นดนตรีใช้พิณผีผาบรรเลง ต่อมาถูกดัดแปลงให้เป็นเพลงที่บรรเลงด้วยกู่เจิ้ง ทรงรับสั่งถึงเพลงนี้ว่า เป็นเพลงประจำพระองค์ ทรงใช้เป็นเพลงเปิดด้วยทรงเห็นว่าเป็นเพลงที่ไพเราะที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมา ,เพลงที่ 2 “เพลงเผ่าไทย” เพลงดั้งเดิมของไทย ที่ซึ่งภายหลังได้ปรับชื่อและประพันธ์เนื้อร้องโดย ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ได้รับพระราชทานชื่อเพลงจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ต่อมา นายหลี่ ฮุย นักแต่งเพลงชาวจีนได้ดัดแปลงให้เป็นเพลงที่เล่นกับกู่เจิ้งและวงดุริยางค์สากลขนาดใหญ่

    เพลงที่ 3 เพลงเมฆตามพระจันทร์ เป็นเพลงพื้นเมืองของเมืองกวางโจวเป็นบทเพลงที่เป็นแรงบันดาลใจให้พระองค์ทรงกู่เจิ้ง หลังจากที่ทรงได้ยินเพลงนี้มาตั้งแต่ปี 2000 ขณะประทับบนเรือชมวิวอยู่ที่แม่น้ำลี่เจียง

    เพลงที่ 4 เพลงชุนเต้าลาซา หรือเพลงฤดูใบไม้ผลิที่เมืองลาซา เมืองหลวงของทิเบต ทรงเริ่มฝึกซ้อมได้ไม่นานและไม่เคยแสดงที่ไหนมาก่อน ปิดท้ายด้วย เพลงสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน บทเพลงประจำที่ทรงใช้เล่นปิดท้ายการแสดงคอนเสิร์ตทุกครั้ง เป็นเพลงที่ทรงนิพนธ์เนื้อร้องร่วมกับ อ.วิรัช อยู่ถาวร และประพันธ์ทำนองขึ้นโดย นายหลี่ ฮุย

    “ที่แตกต่างไปจากทุกครั้งคือ ครั้งนี้ข้าพเจ้าเล่นมากถึง 5 เพลง และเป็นเพลงที่ค่อนข้างอยู่ในระดับที่ยาก ซึ่งปกติจะเล่น 2-3 เพลงเท่านั้น บอกกับทางกระทรวงวัฒนธรรมว่า ครั้งนี้ถือเป็นการแก้ตัว ที่หายไปนาน ส่วนตัวข้าพเจ้าเอง ก็บอกตรงๆ ว่าก็มีความรู้สึกกลัวเหมือนกัน เพราะว่า กู่เจิ้ง เป็นดนตรีของจีน และต้องเอาไปเล่นในประเทศจีน ซึ่งคนที่เล่นกู่เจิ้งเป็นในประเทศจีนก็คงมีไม่น้อยเลยทีเดียว และมีหลายคนที่อยากมาฟังข้าพเจ้าเล่น เพราฉะนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็คงต้องเล่นให้ดีจริงๆ”

    ส่วนคนไทยที่ต้องการชมพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีในการทรงกู่เจิ้ง แต่ไม่สามารถตามไปรับชมที่ประเทศจีนได้ ทรงรับสั่งว่า ได้มีการปรึกษากับทางวงดุริยางค์ราชนาวี และ นายชวัช อรรถยุกติ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์ กำหนดให้มีการแสดงในประเทศไทยขึ้นในวันที่ 7 ม.ค. 53 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    ถวายความภักดี พระนเรศวรมหาราช

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.739395/[/MUSIC]


    <TABLE class=tborder id=post2554963 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175></TD><TD class=alt1 id=td_post_2554963 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><CENTER><!-- google_ad_section_start --></CENTER>




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2009
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    บ้านผู้ดีจีนโบราณมากๆนั้น มักจะสร้างภูเขาจำลองไว้หลังบ้าน ซึ่งก็มักจะสูงกว่าตัวบ้านที่มีชั้นเดียวมาก เป็นภูเขาคนสร้างขึ้น (บ้านทั่วไปจะสูงเกินชั้นเดียวไม่ได้ ไม่อาจไปเทียบเท่าตำหนักต่างๆในพระราชวังหลวง) ภูเขาจำลองนี้อาจจะสูงเท่ากับตึกสามชั้น บนนั้นจะสร้างศาลาเก๋งจีนไว้บนเขา เพื่อชมวิว หรือจิบน้ำชา อ่านบทกลอน หรือบางครั้งก็นำเครื่องดนตรีขึ้นไปเล่น

    ขุนนางผู้ใหญ่ที่มีภาระบ้านเมืองมาก มักอาศัยการเล่นเครื่องดนตรีเพื่อแสดงความรู้สึกภายในใจ บางทีฟังเสียงดนตรีอย่างเดียวก็จะทราบอารมณ์ของผู้เล่น บางครั้งเสียงเพลงทำให้คนสะอื้นไห้ยิ่งกว่าจะเอ่ยเป็นคำพูดออกมาเสียอีก

    เจ้านายทุกพระองค์ทรงปฎิบัติพระราชภารกิจเพื่อแผ่นดินอยู่ทุกลมหายใจของพระองค์ท่านจริงๆ ขอทรงพระเจริญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2009
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จิ้มก้องและกำไร การค้าไทย-จีน 2195-2396

    Tribute and Profit Sino-Siamese Trade 1652-1853 ดร.สารสิน วีระผล หน้า 39

    การจัดการของชาวจีน

    องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของการค้าระบบบรรณาการของสยามในตอนต้นสมัยราชวงศ์ชิง คือ ปัจเจกชนชาวจีนได้เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างเต็มที่อยู่แล้วในการจัดการการเรือบรรณาการและการทำการค้า เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ชาวจีนได้เริ่มดำเนินการค้าในระบบบรรณาการกับราชวงศ์หมิงในนามของราชสำนักสยาม ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสังเกตคือ เซี่ยเหวินปิน (Hsieh Wen-pin) พ่อค้าชาวฮกเกี้ยนจากอำเภอติงโจว (Ting-chou prefecture) ทางตอนใต้ของมณฑลฮกเกี้ยน ได้ทำหน้าที่เช่นนี้ภายใต้กษัตริย์สยาม ทั้งที่ราชวงศ์แมนจูได้ประกาศห้ามการเดินทางและการค้าโพ้นทะเล การค้าในระบบบรรณาการของชาวสยามคงต้องมีกำไรพอควรสำหรับชาวจีนจำนวนมากที่จะเข้ามาดำเนินการด้วยเหตุนี้ ชาวจีนผู้ตั้งถิ่นฐานในสยามในยุคแรกๆส่วนใหญ่จึงเป็นบรรดาพ่อค้าจากอำเภอฉวนโจว (Ch'uan-chou prefecture) ในมณฑลฮกเกี้ยนตอนใต้และกวางตุ้งในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งสัมพันธ์กับการค้าระบบบรรณาการของสยาม พวกเขาได้เข้าร่วมกับพวกจงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิงและอดีตเจ้าหน้าที่ผู้มียศสูงในสมัยหมิงจำนวนหนึ่ง ที่ได้หนีไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสยาม

    กุหลาบ ตฤษณานนท์ (หรือ ก.ศ.ร. กุหลาบ) นักเขียนชีวประวัติและนักเขียนที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้กล่าวถึงเจ้าหน้าที่เช่นนี้สองนาย ผู้มีชื่อสกุลว่า หวัง(Wang) เดิมภาษาฮกเกี้ยนอ่านว่า อ๋อง กับ เฉิน (Chen) เดิมภาษาฮกเกี้ยนอ่านว่า ตั้น(Tan) ที่กลายเป็นคนสำคัญในอยุธยาเพราะบทบาทของพวกเขาในการค้าของราชสำนักและการค้าส่วนตัวที่ทำกับเวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ชวาและคาบสมุทรมลายู โดยได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักสยาม

    ข่าวสารของจอร์จ ไวท์ ทำให้เราทราบว่าในแต่ละปี สมเด็จพระนารายณ์มิได้ทรงส่งเรือไปค้าขายเฉพาะที่กวางตุ้งเท่านั้น แต่บางครั้งทรงส่งไปที่ฮกเกี้ยนอย่างลับๆด้วยเช่นกัน การดำเนินงานเช่นนี้น่าจะเป็นคำแนะนำของบรรดาพ่อค้าฮกเกี้ยนที่ชอบเสี่ยงภัย ผู้ที่เห็นได้ชัดว่าดูเหมือนจะไม่เคยถูกขัดขวางอย่างเป็นทางการจากฝ่ายจีนเลย จอร์จไวท์ ตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า

    "กิจการพาณิชย์และกิจการเดินเรือของราชสำนักไม่ว่าจะอยู่ในสยามหรือนอกสยาม ดำเนินการโดยชาวจีน พ่อค้าที่เป็นผู้ดูแลและผู้ค้าให้กับพระมหากษัตริย์ ณ ที่นี้ ทั้งหมดล้วนเป็นคนจีน และ ในหมู่พ่อค้าของกษัตริย์นั้น ตำแหน่งสูงสุดและมีความสามารถยิ่ง คือ ออกพระศรีวิพจน์ (แห่งกรมท่าซ้าย)"

    เข้าสู่ราชวงศ์ชิงนับเมื่อเข้ายึดปักกิ่งในปี ค.ศ. 1644 เป็นปีที่เข้าสู่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแล้ว โดยกล่าวว่า ปัจเจกชนชาวจีนได้เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างเต็มที่อยู่แล้วในการจัดการการเรือบรรณาการและการทำการค้า คนจีนคงเข้ามาเกี่ยวข้องกับราชสำนักสยามนานแล้ว แต่ทำแทนแบบเต็มที่คงหลังเสียกรุงครั้งที่ 1 แล้วเพราะทางกรุงศรีอยุธยาก็ต้องการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้เร็วที่สุด ทางปัจเจกชนจีน โดยเฉพาะขุนนางจีนคนสำคัญๆ เช่น ท่านเฉินกง ก็ได้อาศัยแผ่นดินนี้ทำการค้า และได้ดำเนินตามอุดมการณ์ทางการเมืองไปด้วย เป็นภาวะพึ่งพาอาศัยกันและกัน หรือจะเรียกอีกที Win-Win Situation ชนะทั้งคู่นะคะ

    คิดว่าออกพระศรีวิพจน์คงเป็นตระกูลตันด้วย เพราะในรุ่นที่ทำการค้าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เจ้าขรัวฯพี่ชายคงมีทายาทสืบต่อการค้าซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นพระญาติกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    (เจ้าขรัวมณีจันทร์มีพี่ชาย สองคน เมื่อเริ่มเข้ามาวางรากฐานการค้ามาทั้งสองคน แต่เมื่อคราวมาตั้งหลักแหล่งจริงๆจะมาทั้งสองคนหรือไม่ ตรงนี้มีเหตุผลแต่ยังไม่เจาะลึก สรุปว่ามีพี่ชายอย่างน้อยหนึ่งคนมาสยามด้วยกันและคงได้รับการยกย่องให้เป็นเจ้าขรัวฯด้วยเพราะเป็นคหบดีจีนเหมือนๆกัน

    ส่วนการเรียกสตรีจีนว่าเป็น เจ้าขรัว นั้นถือว่าไม่ธรรมดา เพราะส่วนใหญ่ผู้หญิงจะไม่มีบทบาทอะไรในการทำการค้าหรือการออกหน้าเจรจา เจ้าขรัวมณีจันทร์คงมีบทบาทในทางการค้ามากคนหนึ่งจนได้รับการยกย่องเป็น เจ้าขรัวฯ ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการการค้าด้วยตนเองจนเป็นที่ยอมรับนับถือกันในหมู่ชาวจีนด้วยกัน)
     
  10. ศรัทธา_พิสุทธิ์

    ศรัทธา_พิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +205

    -เราคงจะรุ่นราวคราวเดียวกันจริงๆ แต่อาจจะมีบวกลบบ้างนะคะ สมัยนั้นมีช่อง 4 บางขุนพรหมเป็นทีวีช่องแรก มักจะเรียกกันติดปากว่าวิกบางขุนพรหม
    ต่อมาก็เกิดช่อง 5 ตามมาเรียกว่าวิกสนามเป้าค่ะ ผู้ชนะสิบทิศที่นำแสดงโดย
    คุณไชยา สุริยัน และคุณพิศมัย วิไลศักดิ์ น่าจะเป็นภาพยนต์ที่ฉายตามโรงนะคะ ในสมัยนั้นโรงภาพยนต์ที่ฉายหนังไทยส่วนใหญ่ก็เฉลิมกรุงค่ะ นานๆจึงจะ
    มีหนังไทยเข้าฉายที่เฉลิมไทยสักครั้ง ก็ต้องเป็นหนังใหญ่จริงๆ ถ้าจะเปรียบสมัยนี้ ถ้าโรงหนังเฉลิมไทยยังอยู่ ภาพยนต์เรื่องสมเด็จพระนเรศวรก็ต้องเข้า
    ฉายที่เฉลิมไทยแน่นอนค่ะ ได้คุยถึงความหลังครั้งเก่า มีความสุขค่ะ แต่ตอน
    นั้นก็ยังเล็กมากจำไม่ค่อยได้เหมือนกัน
     
  11. ศรัทธา_พิสุทธิ์

    ศรัทธา_พิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +205


    สาธุ ขออนุโมทนาค่ะ ได้เข้าใจและเล็งเห็นกุศลเจตนาของน้องโมเย

    แล้วค่ะ
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตอนเด็กๆได้เข้าโรงภาพยนต์เพียงหนเดียว ดูเรื่องก๊อดซีล่าบุกเกาะญี่ปุ่น แล้วมีเต่าบินได้ด้วย เกาะญี่ปุ่นเป็นเกาะเป้าหมายโจมตีเสมอเลย เมื่อก่อนดูหนังญี่ปุ่นจนคิดว่าทำไมไม่ยุติธรรมเลย โจมตีแต่เกาะญี่ปุ่น ก็ความคิดเด็กๆเป็นไปแบบนั้น

    อ่านจิ้มก้องและกำไรไป การเขียนเริ่มที่สมัยปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองไปจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ อ่านไปอ่านมา ได้พระราชประวัติพระเจ้าตากสิน และพระราชประวัติของรัชกาลที่ 1

    ในหนังสือยกย่องว่าพระเจ้าปราสาททองและพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นนายวาณิชที่มีความสามารถมาก

    ถ้าเขียนรายละเอียดจากหนังสือเล่มนี้จะเป็นประวัติการค้าของประเทศไทย และมีประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ในมุมมองของชาวจีนที่มาร่วมทำการค้า ประวัติของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บางส่วนด้วย

    ที่ได้จากการอ่านคือ พระมหากษัตริย์จะทรงทำการค้าสำเภาจีนเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในราชสำนักและเงินเดือนของข้าราชการ เป็นพระราชภาระอันใหญ่หลวงของทุกพระองค์ในสมัยโบราณ
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้นเมื่อทรงขอให้ทางจีนขายทองแดงให้สยามเพื่อมาหล่อปืนใหญ่ พระเจ้าเฉียนหลงกลับปฎิเสธก็มี เพราะทางพม่าก็ขอซื้อไปเหมือนกัน เป็นความยากลำบากของพระองค์ท่านที่ต้องประสบ ด้วยทางการจีนมองว่าพระองค์ท่านเป็นพวกเชื้อสายของขุนนางที่จงรักภักดีของราชวงศ์หมิงเดิม

    เมื่อขึ้นเป็นราชวงศ์ชิงแล้ว การค้าไทย-จีนประสบอุปสรรคมากขึ้นมาก มีกฏหมาย ข้อห้ามมากมาย จนต้องมีอาศัยพ่อค้าคนกลางในจีนเป็นตัวประสานงานบ่อยครั้ง

    กล่าวว่าพระมเหสีของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นคนจีน ในส่วนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น พระองค์ท่านทรงมีพระราชบิดาและพระราชมารดามีเชื้อสายจีนทั้งสองพระองค์ (รายละเอียดจะยกส่วนนี้มาเขียนให้อ่าน)

    จิ้มก้องและกำไร ทำให้เห็นว่าเรือที่นำเครื่องราชบรรณาการไปเมืองจีนนั้นจะต้องจอดที่กวางตุ้ง จากนั้นคณะทูตจะต้องเดินทางไปทางบกหรือทางเรือไปพระราชวังหลวงปักกิ่ง ระยะทางอีก 2,500 กิโลเมตรจากกวางตุ้ง ไปทำภาระกิจถวายเครื่องราชบรรณาการและกลับมาขึ้นเรือที่กวางตุ้ง กินเวลาทั้งสิ้น 8 เดือน ในระหว่าง 8 เดือนนี้เรือที่มาด้วยกับเรือราชบรรณาการ สามารถไปกลับสยามได้อีก 4 เที่ยว

    เรือราชบรรณาการในสมัยชิงกำหนดให้มีได้แค่ 3 ลำ เป็นข้อจำกัด ดังนั้นสมเด็จพระนารายณ์จึงทรงต้องใช้เรือ 3 ลำ นั้นไป-กลับในระหว่าง 8 เดือนที่รอราชทูตกลับจากปักกิ่ง สามารถเดินเรือ ไป-กลับ สยาม-กวางตุ้ง ได้อีกลำละ 4 เที่ยว ทำให้การไปส่งเครื่องราชบรรณาการ สยามสามารถทำการค้าได้ทั้งหมด 12 เที่ยว โดยพระองค์ให้อ้างกับทางการจีนว่าจะนำเรือกลับไปสยามเพื่อซ่อมบำรุง นี่เป็นวิเทโศบายทางการค้าของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้สอดคล้องกับกำหนดที่ทางการจีนสมัยราชวงศ์ชิงกำหนดขึ้น ทำให้พระองค์ท่านยังทรงทำกำไรมาบำรุงประเทศได้อย่างต่อเนื่องไม่เดือดร้อน พระองค์ท่านทรงมีอัจฉริยภาพมากค่ะ
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 18 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 17 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>ทางสายธาตุ

    ข้าพเจ้าตาลายยามค่ำ เห็นเลขเจ็ดเป็นเลขสิบเจ็ด


    ออกไปแล้วเข้ามาใหม่ 17 เตรียมซื้อเลย ^^ แม่นๆ สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน


    คือทางสายธาตุเกรงใจ เพราะไม่ได้พิมพ์ตุนไว้ เกรงใจเกรงจะต้องรอนาน คาดว่าท่านๆหลายคนคงใช้ search engine เข้ามาหากระทู้นี้


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หากข้อมูลของทางสายธาตุจะเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ขอถวายบุญอันเกิดจากประโยชน์นั้นให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ท่านยังทรงคุ้มครองไทยอยู่

    กำลังหาภาพมาทาย หาไม่เจอ เป็นเครื่อมมือในการครัวที่พบที่ฐานเจดีย์วัดไชยวัฒนาราม หาก่อนเอามาทายกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2009
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    หารูปเครื่องมือไม่ได้ ตอนที่เจอไม่ได้เก็บไว้ มันมีคำถามว่าเครื่องมือเหล็กชิ้นหนึ่งค่ะ ยาวราวๆ 2 ฟุตแต่ปลายแหลมมาก เอาไว้ทำอะไร (หารูปไม่เจอค่ะ พลัดไว้ก่อน)

    ขอทดแทนด้วยรูปโถกระเบื้องสมัยหมิงนะคะ ซึ่งจะเห็นลายที่เขียนบนโถกระเบื้องนี้คล้ายๆกับลายปูนปั้นประดับตามพระปรางค์และเจดีย์ต่างๆในประเทศไทยค่ะ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ลักษณะเรือสำเภาจีนชนิดสามเสาที่ใช้ในการค้าสมัยโบราณ​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จิ้มก้องและกำไร หน้า 20

    ชาวดัตซ์ ชื่อ ยูสต์ สเคาแตน (Joost Schouten) ผู้พำนักที่อยุธยา เมื่อทศวรรษที่ 1630 ได้สังเกตว่า พระเจ้าปราสาททองทรงเป็น "พระมหากษัตริย์ผู้ร่ำรวยที่สุดพระองค์หนึ่งของอินเดีย" คือภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรอินเดีย ทรงมีรายได้หลายล้านบาทจากข้าว ไม้ฝาง ดินประสิว ดีบุกและตะกั่ว นอกจากนั้น ยังทรงมีเรือที่ค้าขายกับชายฝั่งโคโรเมนเดล (Coromandel Coast) ในอินเดียและกับจีน ซึ่งทำ "กำไรอย่างไม่น่าเชื่อ" มาสู่พระองค์ด้วยความเสียสละของพ่อค้าอิสระ ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพียงพระองค์เดียวทรงครอบครองรายได้ถึงหนึ่งในสามของรายได้รัฐ โดยอาศัยแนวปฎิบัติที่เป็นการผูกขาดของหลวง อันได้มาจากวิธีการดังต่อไปนี้คือ

    ภาษีจากการวัดขนาดเรือที่แวะมาทำการค้าที่เมืองท่า (ภาษีปากเรือ) อากรสินค้าเข้าและสินค้าออก กำไรจากการค้าของหลวงโดยตรง สิทธิในการเลือกซื้อสินค้านำเข้าก่อนผู้อื่น (การเหยียบหัวตะเภาเรือ) และการขายสินค้าส่งออกให้กับเรือที่แวะจอดที่เมืองท่า

    การค้าที่ราชสำนักดำเนินการได้พัฒนาขึ้นอย่างมีเจตจำนง โดยพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์ ผู้ปกครองสองพระองค์ที่เป็นนายวาณิชผู้สามารถ (พระองค์แรกทรงมีชื่อเสียงทั่วไปเรื่องการพัฒนาการผูกขาดทางการค้าไปสู่ระดับที่ก้าวหน้า ส่วนพระองค์หลังได้ทรงปรับปรุงรูปแบบไปสู่การจัดการที่สลับซับซ้อนขึ้น)

    สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงมีพระราชมารดาทรงมีฐานะมั่งคั่งมาแต่เดิม คาดว่าพระองค์ท่านทรงเรียนรู้การดำเนินการค้าจากพระราชมารดาและพระญาติ แต่ทรงเรียนวิชาการทหาร การปกครอง การใช้อาวุธ เรียนตำราพิชัยยุทธ และอื่นๆ จากสมเด็จพระราชบิดา ดังนั้นจึงมีคนกล่าวว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้นท่านทรงเป็นกษัตริย์ที่ครบเครื่อง (คือท่านทรงรอบรู้หลายทาง) คนธรรมดาสามัญจะหาโอกาสได้เรียนรู้วิชาสำหรับนักปกครองนั้นหาได้ยากยิ่ง แต่เพราะพระองค์ท่านเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงจึงเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่ายกว่าสามัญชน จึงทำให้ท่านทรงชำนาญในหลายๆอย่างตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยเฉพาะเพลงยุทธ์การต่อสู้ พระองค์ท่านน่าจะทรงชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้วนะคะ

    หารูปเครื่องมือการครัวอยู่นานแต่ก็ยังหาไม่เจอค่ะ ดังนั้นวันนี้ขอโพสแค่นี้ก่อนค่ะ ราตรีสวัสดิ์ค่ะ
     
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วันนี้วันศุกร์แห่งชาติ

    ปี ค.ศ.1630 บวก 543 ได้ปีพุทธศักราช 2173 เป็นปีที่พระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสิ้นพระชนม์ จดหมายเหตุของชาวดัตซ์ ชื่อ ยูสต์ สเคาแตนนี้แสดงให้เห็นว่าพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระเจ้าปราสาททองมีปรากฏว่ามากมายตั้งแต่ก่อนที่จะครองราชย์ เพราะว่าท่านครองราชย์ในปีที่พระราชมารดาสิ้นพระชนม์

    ที่นักวิชาการวิเคราะห์ว่าพระองค์ท่านทรงร่ำรวยขึ้นจากการครองราชย์นั้นไม่ใช่นะคะ พระองค์ท่านมีพระราชทรัพย์มากอยู่ก่อนครองราชย์ ตอนที่ท่านดำรงพระยศเป็นสามัญชน ท่านมีช้างไว้ใช้งานในกิจการส่วนพระองค์ถึง 2,000 ตัวและมีม้าอาหรับที่ซื้อเข้ามาจากเปอร์เซียอีกฝูงหนึ่ง เพราะเคยได้ยินตำนานที่เล่าขานเกี่ยวกับพระเจ้าปราสาททอง เขาว่าท่านชอบม้าตัวใหญ่ๆสูงสง่า ม้าไทยตัวเล็กเกินไป พระองค์ท่านจึงสั่งนำเข้าจากเปอร์เซีย ซึ่งก็คงจะได้รับความช่วยเหลือจากท่านเฉกอะหมัดในการหาม้าอาหรับชั้นดีมาใช้งาน ม้าท่านมีทุกสี ขออนุญาตออกความเห็นส่วนตัวว่าคล้ายๆท่านมีรถสปอร์ตหลายคัน ม้านี้ก็เทียบได้กับรถสปอร์ต นี่ก็แสดงให้เห็นถึงฐานะอันมั่นคงของพระองค์ท่านก่อนการขึ้นครองราชย์นะคะ
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จิ้มก้องและกำไร หน้า 83
    ข้าวมีมากในสยาม เมื่อย้อนกลับไปช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ชาวจีนเองยังได้พูดถึงปริมาณข้าวที่มีมากในสยามด้วย ตัวอย่างเช่นบรรดาลูกเรือชาวจีนบนเรือจีนของสยาม รายงานไปยังทางการในนางาซากิ เมื่อ พ.ศ. 2233/ ค.ศ. 1690 ว่าในประเทศสยามมีข้าวมากมาย พวกเขาอธิบายว่า ชาวสยามไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องฝนเพราะว่ามีน้ำท่วมทุกปี และเนื่องจากข้าวปลูกได้ง่าย จึงมีราคาต่ำกว่าในประเทศอื่นๆอย่างมาก

    ชาวสยามได้ขนข้าวไปในเรือของพระเจ้าแผ่นดินเพื่อไปขายยังนางาซากิทุกปีด้วยเช่นกัน อย่างน้อยก็นับตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่เห็นได้ชัดว่าจักรพรรดิคังซีไม่ทรงทราบเรื่องข้าวราคาถูกของสยาม จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2265 / พ.ศ. 1722 เมื่อทรงรับคณะทูตบรรณาการของสยาม ผู้กราบทูลให้ทรงทราบ หลังจากนั้น จึงทรงอนุญาตให้ชาวสยามขนข้าวจำนวน 3,000 หาบไปยังกวางตุ้ง เอ้ห*********และหนิงปอ โดยไม่ต้องเสียภาษีใดๆทั้งสิ้น


    สยามนี้เมืองอู่ข้าอู่น้ำจริงๆค่ะ จากบันทึกทางการค้าของคนจีนก็ยืนยันชัดค่ะ

    เอ้ห********* คือจะเขียนว่า เ อ้ ห มึ ง ค่ะ

    ไว้พิมพ์ใหม่พรุ่งนี้นะคะวันนี้สายตาไม่อำนวยแล้ว กลางคืนทางสายธาตุจะมองได้ไม่ชัดเท่าไหร่ เริ่มเบลอค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2009
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ราคาข้าวหาบละ 3 สลึง

    อัตราการชั่งตวงวัด 1 หาบ = 133.3 ปอนด์ (1 ปอนด์ เท่ากับ 0.4536 กิโลกรัม ) = 60 กิโล (คิดคร่าวๆ)

    เท่ากับข้าว 60 กิโลกรัม ราคาขายเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา = 3 สลึง (ราคาในต่างประเทศจะผันผวนขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศ แต่ข้าวในสยามราคาค่อนข้างคงตัว)

    ถ้ามีเงิน 3 สลึง ซื้อข้าวได้ 60 โล มีเงิน 1 บาท(4 สลึง)ก็จะต้องซื้อข้าวได้ 80กิโลกรัม

    พระเจ้าปราสาททองทรงมีเงินหลายล้านบาท (ไม่ทราบว่าเท่าใดแน่) คิดง่ายๆว่าพระองค์ท่านมีสัก 5 ล้านบาท ท่านจะซื้อข้าวได้เท่าใด

    5ล้านบาท X 80 กิโลกรัมต่อบาท = 400 ล้านกิโลกรัม(ปริมาณข้าวที่เงิน 5 ล้านบาทจะซื้อได้ในสมัยนั้น) หรือเท่ากับ 4 แสนเกวียน

    หมายเหตุ ข้าว 1 เกวียน มี 1000 กก. (เปลือก)


    เทียบเป็นเงินปัจจุบัน ข้าวเปลือกประเมินว่าเกวียนละ 10,000 บาท

    ดังนั้นพระเจ้าปราสาททองทรงมีรายได้มีมูลค่าปัจจุบันที่ประมาณ 4,000 ล้านบาท เป็นอย่างน้อย ซึ่งนี่เป็นรายได้จากการค้าข้าว ไม้ฝาง ดีบุก ดินประสิว และตะกั่ว เท่านั้น

    ซึ่งยังไม่รวมรายได้อื่นๆที่เข้ามาอีก โดยตีความจากประโยคนี้


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ค้าขายกับชายฝั่งโคโรเมนเดล (Coromandel Coast) ในอินเดียและกับจีน ซึ่งทำ "กำไรอย่างไม่น่าเชื่อ" มาสู่พระองค์ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เหล่านี้แสดงให้เป็นถึงรายได้ของพระองค์ก่อนการขึ้นครองราชย์หรือเมื่อขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ ยังไม่ได้กล่าวถึงพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทรงมีอยู่แล้วเท่าใด และสำหรับพระองค์เองน่าจะได้รับพระราชทานทรัพย์จากสมเด็จพระราชบิดาอีกมิใช่น้อย

    มูลค่าเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความมั่งคั่งของพระนางสุวัฒน์มณีรัตนา (เจ้าขรัวมณีจันทร์) พระราชมารดาของพระองค์ด้วยว่าทรงมั่งคั่งเพียงใด<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>

    มาแก้ใหม่เพราะนึกว่า สลึงคือสตางค์ ทำให้คำนวณเมื่อครู่ผิดไป จึงมาคำนวณใหม่แก้ตัวค่ะ
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ดับเบิ้ลยู.เอฟ.เวอร์ไธม์. "การค้าในยุคแรกของเอเชีย,
    ความรู้คุณค่าของ เจ ซี วัน เลอร์"
    ฟาร์ อีสเทิร์น ควอเตอร์ลี



    นำมาจากหน้าแรกของหนังสือ Tribute and Profit : Sino-Siamese Trade, 1652-1853 ของ ดร.สารสิน วีระผล ที่ได้เสนอต่อมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2517/ค.ศ. 1974

    เราอยู่กับอารยธรรมตะวันตกเสียจนบดบังความเป็นมาของชนชาติไทยของเราเองไปเสียแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...