ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    หนังสือ จิ้มก้องและกำไร การค้าไทย-จีน 2195-2396
    ผู้แต่ง ดร.สารสิน วีระผล
    หน้า 26 (อยู่ในส่วนของคำนำ)

    สำหรับประเทศที่รักษาสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และ วัฒนธรรมอย่างใกล้ชิดกับจีนมาในประวัติศาสตร์ ประเทศไทยขาดความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ของตนอย่างน่าตกใจ หากกล่าวในทางการค้าแล้ว แม้ว่า ณ จุดหนึ่งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 การค้าจีน-สยามเป็นสาขาของการค้าในทะเลตะวันออกที่มีความสำคัญที่สุดดแห่งหนึ่งก็ตาม ความไม่รู้นี้มีส่วนให้เกิดความล่าช้าที่จะนำนโยบายในทางบวกต่อประเทศสาธารณประชาชนจีนไปสู่การปฎิบัติ

    การศึกษานี้เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว เป็นความพยายามอย่างเจียมตัวที่จะเชื่อมช่องว่างด้านข้อมูลในประวัติศาสตร์อันยาวนานและเต็มไปด้วยเหตุการณ์สำคัญๆ ของการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้าของประเทศทั้งสอง การศึกษาส่วนสำคัญ ซึ่งโดยสาระและตามความจริงเป็นส่วนสำคัญที่สุดของความสัมพันธ์อันยาวนานนี้ คือ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้งานชิ้นนี้สามารถฉายมุมมองทางประวัติศาสตร์ต่อเส้นทางที่ดูจะเป็นอนาคตของการพัฒนาการติดต่อทางการค้าของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ อย่างน้อยที่สุด ก็ควรใช้เป็นเครื่องเตือนความจำว่า การค้าระหว่างสองชาตินี้เป็นความสัมพันธ์ฉันมิตรและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันมาในประวัติศาสตร์

    เหนือสิ่งอื่นใดและยิ่งไกลไปกว่านั้นคือ การศึกษานี้มุ่งจะนำเสนอสภาพทางเศรษฐกิจในเอเซียตะวันออกก่อนยุคสมัยใหม่โดยสังเขป ก่อนจะได้รับผลกระทบอันนำมาซึ่งเคราะห์กรรมจากการรุกของตะวันตกเข้ามาสู่ภูมิภาคนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 บ่อยครั้งที่เรามักปล่อยให้มุมมองเรื่องประวัติศาสตร์เอเซียของเราถูกแต่งแต้มจากสิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่แล้ว ทั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าตื่นตาตื่นใจจากการนำลัทธิทุนนิยมตะวันตกเข้ามาสู่เอเซียตะวันออก การค้าทางทะเลแบบพื้นเมือง ที่การค้าสำเภาจีน-สยามเป็นส่วนหนึ่งนั้นก็มีความสำคัญ

    นักประวัติศาสตร์ชาวดัตซ์ ชื่อ เจ. ซี. วัน. เลอร์. (J.C. vanleur) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเราอาจด่วนสรุป ว่าการค้าในเอเซียก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นแบบดั้งเดิมในแง่ทางเศรษฐกิจ และไม่มีความสำคัญสำหรับยุคสมัยใหม่ แต่เมื่อพินิจพิเคราะห์อย่างใกล้ชิดแล้วก็ไม่ควรจะปัดภาพที่เที่ยงตรงกว่าออกไปอย่างรวบรัดเช่นนั้น


    การขาดตกหล่นข้อมูลบางอย่างในประวัติศาสตร์ชาติไป ทำให้พวกเรามองเห็นตัวตนของเราเองไม่ชัดค่ะ
     
  2. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466


    ***ข่าวสมเด็จพระเทพฯ ได้รับการโหวตจากชาวจีน ให้เป็น "มหามิตร" ของคนจีน<!-- google_ad_section_end -->


    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    ***“กู่เจิ้ง” กระชับสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เตรียมเสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 12-25 ธ.ค.52 เพื่อทรงร่วมแสดงดนตรีในงานแสดงดนตรีและวัฒนธรรม “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน”

    -ทั้งสองพระราชภารกิจนี้ล้วนมีนัยสำคัญกับบทความที่คุณทางสายธาตุได้กรุณานำมาเสนอในข้างต้น คนไทยเราโชคดีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทั้งสองพระองค์ทรงล้วนต่างมีส่วนสำคัญยิ่ง ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ต่อประเทศไทยและปวงชนชาวไทย

    -ขออนุโมทนากับคุณทางสายธาตุ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2009
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า เสด็จด้วยกระบวนเรือพยุหยาตรา ปีพ.ศ. 2129 เพื่อไปตี ละแวก

    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- google_ad_section_start -->
    [​IMG]


    อ้างอิงจากหน้า 9 ความเห็นที่ 170 กระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    พบบันทึกเรื่องกระบวนพยุหยาตราอีกครั้งแล้วค่ะ ถือว่าเป็นครั้งที่ 4 แต่ครั้งนี้เกิดเป็นครั้งแรกสุด ปีพ.ศ. 2129 ดังนั้นขอเรียบเรียงใหม่เป็น

    มีด้วยกัน 4 ครั้งที่มีการบันทึกไว้ (หากมีมากกว่านี้จะนำกลับมาเล่าสู่กันฟังใหม่นะคะ)

    ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2129 เสด็จโดยกระบวนเรือพยุหยาตรา พักทัพที่ตำบลชายเคืองเพื่อกระทำพระราชพิธีเห่กล่อม ดินสะดือ (วังน้ำวน) แล้วจึงยกไปตีละแวก เหมาะกับเหตุการณ์วันนี้มาก พระยาละแวกนี้ไม่ใคร่จะเกรงใจไทยเลยนะคะ

    ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2133 เสด็จโดยกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคไปยังพะเนียด เพื่อการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

    ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2136 (เป็นปีที่คาดว่าจะมีกระบวนเสด็จและจะไม่เกิน พ.ศ. 2139) กล่าวว่าเสด็จพระราชดำเนินด้วยกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค เพื่อพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล อาจเป็นพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินก็ได้

    ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2137 หลังจากเสร็จศึกเขมร ทำปฐมกรรมพญาละแวกแล้ว ท่านได้ใช้กระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคอีกครั้งเพื่ออันเชิญพระพุทธรูป ก่อนไปตีเมืองเมาะตะมะ

    รายละเอียดพยุหยาตราครั้งเมื่อปี 2129 มีดังต่อไปนี้ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จโดยกระบวนเรือพยุหยาตราไปตี สมเด็จละแวก

    อ้างอิงพงศาวดาร

    ปี 2129 รัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
    พระยาละแวกเห็นว่าไทยกำลังสู้ศึกกับกรุงหงสาวดีอยู่
    จึงฉวยโอกาสยกทัพเข้ามาตีเมืองปราจีนอีกครั้ง

    สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสว่า
    พระยาละแวกตระบัตสัตย์อีกแล้ว ต้องยกไปปราบให้ราบคาบ
    ผลการศึกกองทัพไทยไล่ตีเขมรไปจนสุดชายแดน
    ทหารเขมรล้มตายจำนวนมาก



    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1][​IMG][/SIZE][/FONT]​

    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นพิธีกรรมทางน้ำี่ที่พระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยา[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]ต้องเสด็จมาประกอบพิธีเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของราชอาณาจักร [/SIZE][/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]ภาพลายเส้นเป็นฝีมือของชาวยุโรปที่เข้ามาสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1688[/SIZE][/FONT]​



    ทวาทศมาส ไม่มีเห่เรือ
    วรรณคดีเก่าสุดยุคต้นกรุงศรีอยุธยาแต่งเรื่องราว พ.ศ. 2,000 พรรณนาประเพณีพิธีกรรม 12 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน 5 ราศีเมษ ตามคติพราหมณ์ พอถึงเดือน 11 มีแข่งเรือ เดือน 12 มีลอยโคม (ปัจจุบันเรียกลอยกระทง) แต่โคลงดั้นที่พรรณนากระบวนเรือ “ไกรสรมุข” และ “ศรีสมรรถไชย” ไม่มีกล่าวถึงเห่เรือ หรืออื่นใดที่เกี่ยวข้อง กับเห่กล่อมเลยดังโคลงดั้นพรรณนาเริ่มต้นฤดูแข่งเรือเดือน 11 อาสวยุช



    ถ้าจะเกี่ยวข้องเห่เรือบ้างแม้จะไม่กล่าวถึงโดยตรง แต่ชวนให้เชื่อได้ว่ามีพิธีขับลำนำเป็นทำนองวิงวอนร้องขอเช่น ขอขมาดินและน้ำ ฯลฯ ก็จะมีในพิธีบริเวณตำบลบางขดานทวาทศมาสโคลงดั้น ระบุตำบลย่านที่ทำพิธีไล่น้ำชื่อบางขดาน มีเอกสารระบุว่าอยู่ใต้ขนอนหลวงวัดโปรดสัตว์ที่แห่งนี้เมื่อ พ.ศ. 2129 สมเด็จพระนเรศวรฯ เคยยกทัพมาตั้งค่าย มีปรากฎในพระราชพงศาวดารว่า

    “ครั้งนั้นเสดจ์ออกไปประชุมพลทั้งปวง ณ บางกะดาน เถิง ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 เพลาอุษาโยค เสด็จพยุหยาตราจากบางกะดานไปตั้งทัพชัย ณ ชายเคือง แล้วเสด็จไปละแวก ครั้งนั้นได้ช้างม้าผู้คนมาก” ในกำสรวจสมทุรเขียนว่า “จากมามาแกล่ใกล้ บางขดาน ขดานราบคือขดาน คือ ดอกไม้” เพราะบริเวณนี้เป็น “ดินสะดือ” หมายถึง มีน้ำวนเป็นเกลียวลึกลงไป ถือเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำ เป็นทางลงบาดาลของนาค ต้องทำพิธีกรรมเห่กล่อมวิงวอนร้องขอต่อ “ผี” คือนาคที่บันดาลให้เกิดน้ำนี่เองเป็นที่มาของ “เห่เรือ” เพื่อไล่น้ำ หรือวิงวอนร้องขอให้น้ำลดลงเร็วๆ


    อ้างอิง http://haab.catholic.or.th/history/Suwannapoom/boat.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2009
  5. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    เราล้วนต่างเคยได้รู้จักกันมา ได้มีโอกาสมาพบกันอีกครั้งสมควรที่จะได้

    สร้างสมความดีต่อกัน เพราะชีวิตนี้สั้นนัก

    ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาครับ
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ธรรมนูญของกระทู้ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ขอเชิญชวนทุกท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า ไม่ว่าท่านจะได้ทราบหรือไม่ทราบ
    ว่าท่านจะได้เคยเป็นใครหรือไม่ได้เป็นใครในครั้งกระนั้น แต่ท่านมีความเคารพเทิดทูนและจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์และอดีตบูรพกษัตริย์ที่ได้ทรงเสียสละตลอดพระชนม์ชีพเพื่อกอบกู้เอกราชให้กับแผ่นดินไทย ขอเชิญท่านร่วมกันแสดงความจงรักภักดี ด้วยการโพสต์เข้ามาโดยที่ท่านไม่จำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นใดๆ ไม่จำเป็นต้องแจ้งนามจริง ,โทรศัพท์ , e-mail address ใดๆทั้งสิ้น
    เพียงแต่ท่านได้ยอมรับและมีความเข้าใจในกติกาและข้อตกลงพื้นฐานดังต่อไปนี้:

    -เป็นศูนย์รวมสำหรับผู้ที่มีความจงรักภักดีและเคารพเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า
    -ไม่มีวัตถูประสงค์แอบแฝงอื่นใด
    -ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่สุภาพ
    -ข้อความหรือคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ขอได้โปรดใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและเทิดทูน
    -เจ้าของกระทู้จะไม่รับผิดชอบข้อความใดๆที่พาดพิงเบื้องสูงและ/สถาบัน
    -ท่านจะต้องปฏิบัติตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างเคร่งครัด
    -จะร่วมกันปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
    -ขอสงวนสิทธิในการที่จะเพิ่มเติมกติกาและข้อตกลงเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป

    ขออนุญาตนำธรรมนูญกระทู้กลับมาแสดงอีกครั้ง

    ทางสายธาตุเป็นเพียงนางบรรณรักษ์(ผู้สืบค้นข้อมูล ชื่อที่คุณโมเยกรุณาตั้งให้)ที่เทพเทวดาท่านให้หาข้อมูลเพื่อแสดงให้เป็นประจักษ์พยาน มิใช่เป็นใครอย่างแน่นอน

    เทพเบื้องสูงดลใจให้หาข้อมูลและนำพาไปให้พบกับสิ่งที่ท่านต้องการจะสื่อออกมา หน้าที่ของทางสายธาตุคงเป็นคนชอบจดชอบจำและค้นคว้านั่นเอง

    พระผู้มีพระคุณต่อแผ่นดินทุกๆพระองค์นั้น บารมีของพระองค์ท่านทุกพระองค์สูงมาก คนธรรมดาไม่อาจอ้างว่าเทียบบารมีของแต่ละพระองค์ได้เลย

    พระมหากษัตริย์ พระราชินี ทุกๆพระองค์ พระองค์ท่านแต่ละพระองค์ล้วนปฎิบัติพระราชภารกิจเพื่อมหาชน ซึ่งเป็นพระมหาบารมีที่ท่านได้กระทำ เป็นบุญใหญ่ เป็นมหาบารมี

    ทางสายธาตุอาจจะนะคะ รับหน้าที่สื่อเรื่องราวเหล่านี้ เผื่อว่าเรื่องราวเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองบ้างซึ่งเป็นไปตามพระประสงค์ของเทพเทวดาที่ปกปักรักษาบ้านเมืองของเราให้ร่มเย็นเป็นสุข

    สมัยอยุธยานั้นมีบุคคลต่างๆที่เข้ามารวมกลุ่มชนกันมากมาย มีเรื่องราวอันน่าจดจำมากมาย หากบุคคลได้เกิดร่วมแผ่นดินร่วมยุคสมัย ก็คงมีประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน

    การนำเสนอมุมมองที่แตกต่างเพราะประสบการณ์ที่แตกต่าง ทางสายธาตุในฐานะนางบรรณารักษ์ของกระทู้ จึงขอเปิดใจมา ณ ที่นี้อีกครั้งค่ะ

    ป.ล. ทางสายธาตุน่าจะเป็นคนรับใช้ชาวจีนที่ติดตามมารับใช้พระองค์ท่านค่ะ จึงได้รับอนุญาติให้สื่อเรื่องราวได้นะคะ สาธุค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    ทางสายธาตุ
    _heart+love_
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขอบคุณที่ได้ติดตามอ่านค่ะ
    อย่างไรก็ตามเนื่องจากการเขียนกระทู้นี้เป็นการเขียนเรื่องราวอันเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระราชวงศ์ของพระองค์ เป็นครั้งแรกจริงๆ โดยที่ทางสายธาตุไม่เคยเขียนเรื่องราวเหล่านี้มาก่อนไม่ว่าจะกระทู้ไหนหรือเวปใด

    จึงเป็นไปได้ว่า ความไม่บังควรในสำนวนการเขียนจะมีเป็นบางแห่ง ดังนั้นทางสายธาตุจะปรับสำนวนการเขียนถึงเจ้านายระดับสูงให้ถูกต้องกว่านี้ โดยจะหมายเหตุว่าปรับสำนวนภาษา ในความเห็นเก่าๆแต่จะคงเนื้อหาความรู้ไว้เช่นเดิม

    และหากไม่มีข้อมูลอันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องราว หรือข้อมูลที่ไม่อาจหาหลักฐานมายืนยันได้ จะไม่กล่าวไว้ในกระทู้นี้อีกนะคะ เพื่อให้เรื่องราวดีๆที่น่าจดจำค่ะ

    สำหรับข้อมูลเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปตีพระยาละแวกปี พ.ศ. 2129นั้น มีรายละเอียดจากแหล่งข้อมูลบล็อคโอเคเนชั่น ดังนี้ค่ะ
     
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <CENTER>เขมร**พระยาละแวก**ปล้นไทย ในประวัติศาสตร์

    </CENTER>


    "...ทีนี้มาว่ากันเรื่องพระยาละแวกในประวัติศาสตร์
    พระยาละแวกปรากฎตัวขึ้นในประวัติศาสตร์เมื่อปี 2075
    ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิของไทย

    กรุงหงสาวดียกทัพมาตีไทย
    พระยาละแวกเห็นได้ทีจึงยกทัพเขมรเข้ามาทางปราจีนบุรี
    แล้วกวาดต้อนผู้คนกลับไปจำนวนมาก หลังจากพม่ายกทัพกลับไป
    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงพิโรธมาก
    รับสั่งให้ยกทัพไปถึงเมืองพระตะบองและเมืองละแวก
    พระยาละแวกเห็นท่าจะแพ้ในการศึกจึงมีราชสาส์นมากราบทูล

    จับใจความได้ ว่า

    ข้าพระองค์ผู้ปกครองกัมพูชา
    มิได้เกรงพระบรมเดชานุภาพที่ไปกวาดต้อนคนจากปราจีนบุรี
    ขออย่าทรงพิโรธยกทัพมาตีเมือง
    ข้าพเจ้าจะนำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย
    และเป็นข้าพระบาทตราบชั่วกัลปวสาน

    หลังจากนั้น 3 วัน พระยาละแวกได้นำเครื่องราชบรรณาการ
    พร้อมด้วยนักพระสุโทและนักพระสุทัน ซึ่งเป็นราชบุตรของตน มาเข้าเฝ้า
    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงคลายพิโรธ
    และขอนำโอรสทั้งสองไปเลี้ยงดู พระยาละแวกก็ยอม
    จากนั้นก็กวาดต้อนคนชาวปราจีนบุรีกลับคืนมาฝั่งไทย

    ต่อมาไม่นานญวณได้ยกทัพมายึดเมืองละแวก
    ไทยจึงส่งกองทัพไปช่วยเพื่อตีเมืองคืนแต่ทำไม่สำเร็จ

    ปี 2113 รัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
    หลังจากที่ไทยเสียกรุงให้แก่พม่าเพียงปีเดียว
    พระยาละแวกถือโอกาสเข้ามาปล้นและตีเมืองนครนายก
    สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปปราบ

    ให้ทหารนำปืนจ่ารงค์ยิงไปถูกพระจำปาธิราชของเขมรตายคาที่บนคอช้าง
    ทัพเขมรถอยกลับไปแต่ก็ย้อนกลับมาปล้นเมืองอีกหลายครั้ง
    นอกจากนี้พระยาละแวกยังนำทัพมากวาดต้อนผู้คนแถวจันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา

    พระยาละแวกยกทัพมาถึงปากน้ำพระประแดง โจมตีเมืองธนบุรี
    จับชาวเมืองธนบุรีและนนทบุรีเป็นเชลยจำนวนมาก
    แล้วได้รวบรวมไพร่พลหมายจะเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยา
    โดยแต่งทัพเรือ 30 ลำเข้าปล้นบ้านนายก่าย
    แต่โชคไม่ดีถูกปืนใหญ่ของไทยยิงตายเป็นจำนวนมาก
    ฝ่ายเขมรแตกทัพหนีกลับไปทางพระประแดง
    แต่ก็ยังกวาดต้อนผู้คนแถวสาครบุรีกลับไปอีกด้วย

    ปี 2129 รัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
    พระยาละแวกเห็นว่าไทยกำลังสู้ศึกกับกรุงหงสาวดีอยู่
    จึงฉวยโอกาสยกทัพเข้ามาตีเมืองปราจีนอีกครั้ง

    สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสว่า
    พระยาละแวกตระบัตสัตย์อีกแล้ว ต้องยกไปปราบให้ราบคาบ
    ผลการศึกกองทัพไทยไล่ตีเขมรไปจนสุดชายแดน
    ทหารเขมรล้มตายจำนวนมาก

    ปี 2133 หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์
    ทรงจัดกองทัพให้ไปตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว์
    แล้วเข้าล้อมเมืองละแวกเอาไว้
    ทรงล้อมเมืองนานถึง 3 เดือนยังตีไม่ได้

    เสบียงอาหารเริ่มลดน้อยลงจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยาไปก่อน
    แล้วจะเตรียมการมาตีในภายหน้า

    ต่อมาในปี 2136
    สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงยกทัพกลับไปตีกัมพูชาอีกครั้ง
    พระองค์จึงทรงจัดกองทัพไทยไปตีกรุงกัมพูชาเป็น 2 ทางคือ ทางบก และทางเรือทัพไทยทั้ง 2 ทัพได้เข้าตีหัวเมืองสำคัญของกรุงกัมพูชาจนแตกพ่ายไปเป็นลำดับ

    ฝ่ายกัมพูชาก็ได้ต้านทานสู้รบป้องกันเมืองอย่างสามารถ
    และยังได้ขอกำลังจากญวนมาช่วยอีก
    แต่ในที่สุดทัพฝ่ายไทยก็สามารถตีกัมพูชาจนแตกได้สำเร็จ
    สมเด็จพระนเรศวรทรงจับพระยาละแวกประหารชีวิต


    จาก

    พายัพ วนาสุวรรณ 30 ม.ค. 2546 http://www.oknation.net/blog/print.php?id=279480
     
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลวดลายนี้คือ ลวดลายบัวมีไส้ (เชียง-เป่า-ฮวา) ใช่หรือไม่?

    [​IMG]

    มรกู่และพานทองคำ เป็นเครื่องราชูปโภค ศิลปะอยุธยา (พ.ศ. ๑๙๖๗)​



    [​IMG]

    ภาชนะเคลือบสมัยราชวงศ์หมิง​



    นำมาเทียบให้ดู เพราะไม่รู้จักลายดอกบัวมีไส้ (เชียง-เป่า-ฮวา) จึงนำมาเทียบกันดู ​

    มรกู่ (ภาพบน) เป็นภาชนะทองคำที่ขุดพบที่กรุวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยาค่ะ​

    ลองเทียบดูเรื่องเกี่ยวกับลวดลายค่ะ​

    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=22949[/MUSIC]​

    เพลงบูชาเจ้าแม่กวนอิม​



    ตรวจสอบเรื่องลายดอกบัวมีไส้ จริงค่ะ

    โดยเป็นลายปูนปั้นประดับเจดีย์ทรงปราสาทยอด วัดวรเชตุเทพบำรุง (วัดวรเชษฐ์)
    รูปกลีบบัวมีไส้ แรงบันดาลใจดั้งเดิมจากลวดลายประดับของจีนที่สืบทอดมานาน
    ในงานประดับของไทย

    ซึ่งเริ่มปรากฏตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง ทำสืบต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในรัชกาลจักรพรรด์หวันหลี้ Wan-Li ในราชวงศ์หมิง

    เรียกให้ถูกต้องว่า ลายกลีบบัวมีไส้

    อ่านข้อมูลจากหนังสือ ความสัมพันธ์ จีน-ไทย โยงใยในลวดลายประดับ ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) สร้างเมื่อใด ดูจากลายปูนปั้นประดับ

    ดูจาก ลายกลีบบัวมีไส้ ซึ่งเริ่มปรากฏตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง ทำสืบต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในรัชกาลจักรพรรด์หวันหลี้ Wan-Li ในราชวงศ์หมิง


    ราชวงศ์ซ่ง หรือ ราชวงศ์ซ้อง ปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822


    ราชวงศ์หยวน ปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1814 - 1911


    รัชสมัยว่านลี่ ราชวงศ์หมิง ปกครองประเทศจีนระหว่าง พ.ศ. 2115- 2163

    กรุงศรีอยุธยาตั้งราชธานีเมื่อ พ.ศ. 1890

    มีโอกาศเป็นทั้งสมัยพระเจ้าอู่ทอง และสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ค่ะ

    ยกเว้นเรื่องเดียวคือ ถ้าพิสูจน์ได้ว่า ช่องกระจกย่อมุมไม้สิบสอง ลวดลายประดับพระเจดีย์ทรงปราสาทนั้น มีปรากฏเฉพาะในสมัยหมิงแล้วหล่ะก็จะสรุปได้ว่า

    วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง หรือสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นผู้ทรงสร้างค่ะ


     
  11. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210


    อนุโมทนา กับข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่คุณทางสายธาตุ นำมาเสนอด้วยค่ะ


    ที่โมเยกล่าวว่า คุณทางสายธาตุอาจจะเป็น นางบรรณาลักษณ์ หรือ เป็นผู้ที่เคยอยู่ในส่วนของการรวบรวมข้อมูลจดหมายเหตุมาก่อน

    เพราะพิจารณาจากปัจจุบันเป็นที่ตั้งค่ะ

    โมเย ยังไม่เก่งพอที่จะเปิดดูอดีตชาติ ของผู้อื่น หรือ เข้าไปเกี่ยวข้องกับอดีตชาติของผู้อื่นแต่อย่างใดนะค่ะ

    เพราะทุกอย่างล้วนเป็นปัจจัตตัง

    อย่าได้ใส่ใจใน คำพูดจากการสันนิฐาน ของโมเยเลยนะคะ

    คุณทางสายธาตุเก่งมากค่ะ และมีความพยายาม

    ที่หาข้อมูลหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์

    มาลง ให้ได้อ่าน ได้อย่างมีสาระ มีแหล่งที่มาอ้างอิง ทำให้ได้รับความรู้มากมายเหลือค่ะ

    นี่แหละหากค่ะ อยากจะดู อดีต ให้ดูปัจจุบันย้อนไป เพราะอาจเคยได้ทำหน้าที่นี้มาแล้ว

    อย่างโมเย อาจจะเป็นไก่ชนมาก่อน อิอิ

    เพราะต้องร้องเพลง พระนเรศวรมหาราช ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

    และขอสดุดีพระเกียรติให้ก้องฟ้าค่ะ

    ว่างๆ หากมีโอกาสเราคงจะได้พบกัน โมเย จะขออนุญาติ

    ชวนคุณพี่ทางสายธาตุ ไปรับประทานอาหารด้วยกันนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2009
  12. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 12 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 12 คน ) เมื่อ 9 พ.ย. 52 เวลา 18.46 น.

    อนุโมทนา ครับ
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สวัสดีค่ะทุกท่าน

    ถ้ากระทู้นี้จะมีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านอยู่บ้าง

    อยากจะเชิญชวนให้ร่วมกันถวายความระลึกถึง

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระราชวงศ์ค่ะ

    พระญาณบารมีของพระองค์ท่านจะได้ยิ่งแผ่ไพศาล

    ซึ่งก็จะมาปกปักรักษาพวกเราชาวไทยเองได้อย่างถ้วนหน้า


    ป.ล. แอบไปหาหนังสือศิลปจีน จะหาเรื่องย่อมุมไม้สิบสอง ยังหาไม่ได้ แต่ได้ จารึกภาษาจีนที่กรุวัดราชบูรณะมาบ้าง แต่ยังไม่มากพอจะสรุปอะไรค่ะ

    เนื่องจากอยากให้สิ่งที่เขียนนี้มีข้อมูลหรือหลักฐานสนับสนุนให้มากที่สุดเท่าที่สติกำลังจะทำได้ เพื่อให้บทความออกมาอย่างมีหลักฐานมีความเป็นไปได้ คิดแบบตั้งสมมติฐานแล้ว ก็ต้องมีหลักฐานเพื่อตอบสมมติฐานนั้นๆให้ได้ ยากเหมือนกันค่ะ
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จารึกภาษาจีน กรุวัดราชบูรณะ กรุงศรีอยุธยา

    [​IMG]

    จารึกอักษรจีนหลังพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ


    <TABLE style="FONT-SIZE: 10pt; FONT-FAMILY: Microsoft Sans Serif" cellSpacing=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=120>อักษรที่มีในจารึก</TD><TD>จีน</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ศักราช</TD><TD>พุทธศตวรรษ ๒๐ - ๒๒</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ภาษา</TD><TD>จีน</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ด้าน/บรรทัด</TD><TD>จำนวนด้าน ๑ ด้าน ไม่ทราบจำนวนบรรทัด</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>วัตถุจารึก</TD><TD>-</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ลักษณะวัตถุ</TD><TD>พระพิมพ์</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ขนาดวัตถุ</TD><TD>-</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>บัญชี/ทะเบียนวัตถุ</TD><TD>กรมศิลปากร กำหนดเป็น "จารึกอักษรจีนหลังพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศ"</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>พบเมื่อ</TD><TD>พุทธศักราช ๒๕๐๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>สถานที่พบ</TD><TD>กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ผู้พบ</TD><TD>กองโบราณคดี กรมศิลปากร</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ปัจจุบันอยู่ที่</TD><TD>พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>พิมพ์เผยแพร่</TD><TD>พระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๐๒), ๔๑ - ๔๒.</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ประวัติ</TD><TD>จารึกนี้ถูกพบจากการลักลอบขุดกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ พ.ต.ท. วุฒิ สมุทรประภูติ ผู้กำกับการตำรวจภูธร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในขณะนั้น ได้จับกุมคนร้ายแล้วแจ้งให้กรมศิลปากรทราบเรื่อง ต่อมาจึงมีการสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนเช่าพระพิมพ์จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ เพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะและวัดอื่นๆ สำหรับจารึกอักษรจีนหลังพระพิมพ์นั้น มีการพบเป็นจำนวนมาก โดยถูกจัดแสดงไว้ในห้อง "วัดราชบูรณะ" คำอ่าน - คำแปลของจารึกนี้มีการตีพิมพ์หนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องในโอกาสนำพระพุทธรูปและพระพิมพ์ดังกล่าวมาจัดแสดงแก่ประชาชนในเทศกาล สงกรานต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>เนื้อหาโดยสังเขป</TD><TD>กล่าวถึงการสร้างพระพิมพ์ในรัชสมัยไต้เหม็งด้วยความเลื่อมใสในพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ผู้สร้าง</TD><TD>ไม่ปรากฏหลักฐาน</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>การกำหนดอายุ</TD><TD>กำหนดอายุจากข้อความที่ปรากฏในจารึกที่กล่าวถึงเหตุการณ์ใน "รัชสมัยไต้เหม็ง" ซึ่งก็คือ ราชวงศ์เหม็ง ของประเทศจีน (พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๒๑๘๗) ดังนั้นจารึกจึงน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ข้อมูลอ้างอิง</TD><TD>เรียบเรียงข้อมูลโดย: พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๗, จาก:

    ๑) กรมศิลปากร, พระพุทธรูป และพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๕๐๒). ​

    ๒) เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา = Gold treasure of the Ayutthaya period (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕ - - ?).​




    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120><!--FONT style='BACKGROUND-COLOR: yellow'-->ภาพประกอบ</TD><TD>ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : พระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๐๒)


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คำแปล





    <TABLE dir=ltr cellSpacing=0 cellPadding=7 width=694 border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top width="53%" height=39>[FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]. [/FONT][/FONT]ไต้เม่งก๊ก ซีฮุ้กเซีย ขี่ปอกิกเซียง อยู่อี๋เจีย ฮองฮุกซินกั้ว ตั้งซอปูตวงจก ฮกซิม<SUP>[FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]([/FONT][/FONT][FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]) </SUP>[/FONT][/FONT]



    </TD><TD vAlign=top width="47%" height=39>[FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]. [/FONT][/FONT]ในรัชสมัยไต้เหม็ง<SUP>[FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]([/FONT][/FONT][FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]) [/FONT][/FONT]คนแซ่ตั้ง [FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]([/FONT][/FONT]มีแซ่***************และแซ่อื่นอีก[FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]) [/FONT][/FONT]

    มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงร่วมใจกัน
    สร้างพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ขึ้นไว้</SUP>






    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ป.ล. แซ่ที่ติดดาว แซ่*************** คือ "แ ซ่ เ อี้ ย"






    แซ่ตัน (อ่านแบบฮกเกี้ยน) หรือแซ่ตั้ง อยู่ที่แถวที่เป็นอักษรแถวคู่ ด้านขวา ตัวที่ 5 ค่ะ ​

    แหล่งข้อมูล จารึก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 919_1.jpg
      919_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.6 KB
      เปิดดู:
      927
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2009
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จารึกภาษาจีน กรุวัดราชบูรณะ กรุงศรีอยุธยา

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=760 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=280>

    [​IMG]
    คลิกที่ภาพด้านบน เพื่อชมภาพความละเอียดสูง


    </TD><TD vAlign=top>

    <CENTER>จารึกอักษรจีนบนแผ่นทองรูปกลม ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ด้านที่ ๑</CENTER>
    <TABLE cellSpacing=5 width=380 align=right border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ศักราช</TD><TD>-</TD></TR></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ภาษา</TD><TD>จีน</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>วัตถุจารึก</TD><TD>ทองคำ</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ลักษณะวัตถุ</TD><TD>แผ่นทองรูปร่างกลม แบน</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ด้าน/บรรทัด</TD><TD>จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี - บรรทัด</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ขนาดวัตถุ</TD><TD>เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ ซม.</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>บัญชี/ทะเบียนวัตถุ</TD><TD>๑) ใน เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา กำหนดเป็น "แผ่นทองจารึกอักษรจีน"
    ๒) ใน เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา…อมตะศิลป์แผ่นดินสยาม กำหนดเป็น "จารึกแผ่นทองอักษรจีน"
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>พบเมื่อ</TD><TD>๒๕๐๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>สถานที่พบ</TD><TD>กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ผู้พบ</TD><TD>กองโบราณคดี กรมศิลปากร</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ปัจจุบันอยู่ที่</TD><TD>พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>พิมพ์เผยแพร่</TD><TD>๑) เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพ ฯ : กรมศิลปากร, มปป.)
    ๒) เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา…อมตะศิลป์แห่งแผ่นดินสยาม (กรุงเทพ ฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๓)
    ๓) เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา…อมตะศิลป์แห่งแผ่นดินสยาม (กรุงเทพ ฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๖)
    ๔) เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพ ฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๘)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=350 bgColor=#99337f>คำจารึก</TD><TD align=middle width=350 bgColor=#99337f>คำแปล</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle colSpan=2> <META content="Microsoft FrontPage 3.0" name=GENERATOR><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=755 border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top width="49%"><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="100%" height=50>อ่านโดย : หวัง จี้ หมิน (พ.ศ.๒๕๔๘)</TD></TR><TR><TD vAlign=top width="100%" height=50>โซ ซัน<SUP> </SUP>ถิง<SUP>(๑)</SUP>
    ปี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD><TD vAlign=top width="51%"><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="100%" height=50>แปลโดย :หวัง จี้ หมิน (พ.ศ.๒๕๔๘)</TD></TR><TR><TD vAlign=top width="100%" height=50>คำแปลมี ๓ แบบ ได้แก่ ๑) เก๋งจำลองภูเขาอายุยืน
    ๒) ศาลาจำลองภูเขาอายุยืน
    ๓) วัดจำลองภูเขาอายุยืน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    ผู้อ่าน :


    </TD><TD vAlign=top>หวัง จี้ หมิน (พ.ศ. ๒๕๔๘)</TD></TR><TR><TD colSpan=2></TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    ผู้ตรวจ :


    </TD><TD vAlign=top>-</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    ผู้แปล :


    </TD><TD vAlign=top>หวัง จี้ หมิน (พ.ศ. ๒๕๔๘)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2></TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#99337f colSpan=2>เชิงอรรถอธิบาย</TD></TR><TR><TD colSpan=2 witdh="760"><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD><TD>โดย พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร
    ๑. หวัง จี้ หมิน แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้ให้คำอ่าน-คำแปลของคำทั้ง ๔ คำตามเสียงภาษาจีนกลางดังนี้
    ๑) โซ (shou) หมายถึง อายุยืน
    ๒) ซัน (shan) หมายถึง ภูเขา
    ๓) ปี (bi) มีความหมายหลายอย่าง ได้แก่ จำลอง, เปรียบเทียบ และ ชื่อเฉพาะ
    ๔) ถิง (ting) หมายถึง เก๋ง หรือ ศาลา อย่างไรก็ตาม ในหนังสือ เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา…อมตะศิลป์แผ่นดินสยาม ได้ให้คำอ่านและคำแปลที่แตกต่างออกไป แต่ไม่ได้ระบุชื่อผู้แปล โดยอ่านเป็น "ซิว ปี๊ น่ำ ซัว" โดยแปลว่า "อายุเหมือนภูเขาใต้"

    </TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR bgColor=#99337f><TD align=middle colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TABLE>

    ผู้แปลได้อธิบายไว้ว่า อาจจะหมายถึง

    1 เป็นการเขียนอวยพรตนเองให้มีอายุยืน แล้วก็ถวายแผ่นทองคำนี้เป็นพุทธบูชา

    2 หมายถึงเก๋งจีนที่อยู่บนเขาโซซัน ซึ่งเขาโซซันนี้เป็นเขาที่อยู่ในพระราชวังฤดูร้อน กรุงปักกิ่ง มีพระตำหนักเก๋งจีนอยู่บนเขานี้

    อ้างอิง จารึกในประเทศไทย

    ขอออกความเห็นส่วนตัว สำหรับการเขียนแบบนี้เป็นลายมือของคนไม่รู้หนังสือ ไม่ค่อยได้เขียนจึงเขียนลายมือเป็นแบบนี้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ชายชาวจีนที่เป็นผู้มีอันจะกินจะเป็นผู้มีความรู้ การเขียนหนังสือจะเขียนได้ดีกว่านี้ ตัวหนังสือนี้อาจเขียนโดยผู้มีอันจะกินแต่เป็นสตรีค่ะ...ทางสายธาตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2009
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จารึกภาษาจีน กรุวัดราชบูรณะ กรุงศรีอยุธยา

    [​IMG]


    จารึกอักษรจีนหลังพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศยอดมหาอุณาโลม

    <TABLE style="FONT-SIZE: 10pt; FONT-FAMILY: Microsoft Sans Serif" cellSpacing=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=120>อักษรที่มีในจารึก</TD><TD>จีน</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ศักราช</TD><TD>พุทธศตวรรษ ๒๐ - ๒๒</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ภาษา</TD><TD>จีน</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ด้าน/บรรทัด</TD><TD>จำนวนด้าน ๑ ด้าน ไม่ทราบจำนวนบรรทัด</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>วัตถุจารึก</TD><TD>-</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ลักษณะวัตถุ</TD><TD>พระพิมพ์</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ขนาดวัตถุ</TD><TD>-</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>บัญชี/ทะเบียนวัตถุ</TD><TD>กรมศิลปากร กำหนดเป็น "จารึกอักษรจีนหลังพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศยอดมหาอุณาโลม"</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>พบเมื่อ</TD><TD>พุทธศักราช ๒๕๐๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>สถานที่พบ</TD><TD>กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ผู้พบ</TD><TD>กองโบราณคดี กรมศิลปากร</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ปัจจุบันอยู่ที่</TD><TD>พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>พิมพ์เผยแพร่</TD><TD>พระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๐๒), ๔๑ - ๔๒.</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ประวัติ</TD><TD>จารึกนี้ถูกพบจากการลักลอบขุดกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ พ.ต.ท. วุฒิ สมุทรประภูติ ผู้กำกับการตำรวจภูธร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในขณะนั้น ได้จับกุมคนร้ายแล้วแจ้งให้กรมศิลปากรทราบเรื่อง ต่อมาจึงมีการสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนเช่าพระพิมพ์จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ เพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะและวัดอื่นๆ สำหรับจารึกอักษรจีนหลังพระพิมพ์นั้น มีการพบเป็นจำนวนมาก โดยถูกจัดแสดงไว้ในห้อง "วัดราชบูรณะ" คำอ่าน - คำแปลของจารึกนี้มีการตีพิมพ์หนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องในโอกาสนำพระพุทธรูปและพระพิมพ์ดังกล่าวมาจัดแสดงแก่ประชาชนในเทศกาล สงกรานต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>เนื้อหาโดยสังเขป</TD><TD>กล่าวถึงการสร้างพระพิมพ์ในรัชสมัยไต้เหม็ง โดยชาวจีนแซ่ตั้ง แซ่***************และแซ่อื่นๆ ด้วยความเลื่อมใสในพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ผู้สร้าง</TD><TD>ชาวจีนแซ่ตั้ง แซ่***************และแซ่อื่นๆ</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>การกำหนดอายุ</TD><TD>กำหนดอายุจากข้อความที่ปรากฏในจารึกที่กล่าวถึงเหตุการณ์ใน "รัชสมัยไต้เหม็ง" ซึ่งก็คือ ราชวงศ์เหม็ง ของประเทศจีน (พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๒๑๘๗) ดังนั้นจารึกจึงน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120>ข้อมูลอ้างอิง</TD><TD>เรียบเรียงข้อมูลโดย: พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๗, จาก:
    ๑) กรมศิลปากร, พระพุทธรูป และพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๕๐๒).
    ๒) เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา = Gold treasure of the Ayutthaya period (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕ - - ?).


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=120><!--FONT style='BACKGROUND-COLOR: yellow'-->ภาพประกอบ</TD><TD>ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : พระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๐๒)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    คำแปล


    <TABLE dir=ltr cellSpacing=0 cellPadding=7 width=690 border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top width="53%" height=26>[FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]. [/FONT][/FONT]ไต้เม่งก๊ก ฮองฮุกซินกั้ว เนี่ยมฮกซินซี<SUP>[FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]([/FONT][/FONT][FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]) </SUP>[/FONT][/FONT]
    </TD><TD vAlign=top width="47%" height=26>
    [FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]. [/FONT][/FONT]ในรัชสมัยไต้เหม็ง<SUP>[FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]([/FONT][/FONT][FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]) [/FONT][/FONT]มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
    จึงได้ทำบุญสร้างพระนี้ขึ้นไว้ </SUP>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    อ้างอิง จารึก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 920_1.jpg
      920_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.1 KB
      เปิดดู:
      118
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2009
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ถ้ามีโอกาศเจอกันก็จะไปตามนัดหมายค่ะ คุณโมเยเหลืองหางขาว

    ------------------------------------------------------------------

    ตามบันทึกว่าปี พ.ศ. 2129 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จโดยกระบวนเรือพยุหยาตรา

    ไปปราบสมเด็จละแวก พระองค์ท่านน่าจะทรงยกทัพไปทางเรือโดยเรียบชายฝั่งด้านตะวันออกของอ่าวไทย

    และน่าจะเข้าไปตามลำน้ำโขงนะคะ พสกนิกรริมทะเลและริมโขงสมัยนั้นอาจจะได้เคย

    ชมพระบารมีของพระองค์ท่านในกระบวนยาตราทัพครานั้น

    --------------------------------------------------------------------
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    โครงการระบบกักเก็บน้ำในถ้ำตามพระราชดำริ (ถ้ำน้ำฮูรายทาง)

    <TABLE class=tablemain width="90%"><TBODY><TR><TD class=tableb2>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิด "โครงการระบบกักเก็บน้ำในถ้ำตามพระราชดำริ (ถ้ำน้ำฮูรายทาง) อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน" ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว</TD></TR><TR><TD>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเปิดโครงการระบบกักเก็บน้ำในถ้ำตามพระราชดำริ (ถ้ำน้ำฮูรายทาง) อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    โครงการระบบกักเก็บน้ำในถ้ำตามพระราชดำริ (ถ้ำน้ำฮูรายทาง) เป็นโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาพิจารณาจัดหาถ้ำที่มีน้ำไหลออกมาเป็นลำห้วย และนำมาพัฒนาเป็นแหล่งเก็บกักน้ำและบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่รบกวนที่ดิน หรือพื้นที่การเกษตรของราษฎร และดำเนินการในลักษณะที่คล้ายกับโครงการกักเก็บน้ำในถ้ำตามพระราชดำริ ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

    สภาพทั่วไปของแหล่งน้ำที่บ้านน้ำฮูรายทาง น้ำที่ไหลออกมาจากถ้ำน้ำฮูในเขตบ้านน้ำฮูรายทางนั้น เป็นลำห้วยที่อยู่ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ลาง ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากดอยถ้ำหลวงในเขตบ้านย่าป่าแหน อยู่บริเวณตอนเหนือของบ้านน้ำฮูรายทาง มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 6.10 ตารางกิโลเมตร ลำน้ำสายต่างๆ ในเขตบ้านย่าป่าแหนจะไหลจากทิศเหนือลงมาทิศใต้ แล้วไหลลงดินลอดใต้แนวเขาทางด้านทิศใต้ของบ้านย่าป่าแหน และมาออกอีกด้านหนึ่งของภูเขาที่บริเวณถ้ำน้ำฮูในเขตบ้านน้ำฮูรายทาง จึงทำให้บริเวณนี้มีน้ำตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำมาก มีลักษณะขุ่น เนื่องจากพัดพาตะกอนมาด้วย และต้องระบายน้ำทิ้งไป เพราะไม่มีที่เก็บกักน้ำ ส่วนในฤดูแล้งจะมีปริมาณน้ำน้อยลงและค่อนข้างใส แต่มีเพียงพอสำหรับใช้อุปโภคบริโภคในพื้นที่บ้านน้ำฮูรายทางเท่านั้น

    มูลนิธิชัยพัฒนาได้มอบหมายให้กรมชลประทานดำเนินการสำรวจสภาพพื้นที่ ก่อสร้างสระเก็บน้ำดาดคอนกรีต เพื่อเก็บกักน้ำที่ไหลออกมาจากถ้ำน้ำฮู พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารระบายน้ำล้นและระบบส่งน้ำรางริน เพื่อระบายน้ำที่ไหลหลากในช่วงฤดูฝน และส่งน้ำเข้าลำเหมืองสายย่อย เพื่อกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตร พร้อมติดตั้งหัวจ่ายน้ำให้ ซึ่งราษฎรสามารถนำท่อส่งน้ำมาเชื่อมต่อเพื่อนำน้ำไปใช้ในการอุปโภคและการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำขึ้น เพื่อบริหารจัดการ ควบคุมดูแล และติดตามการใช้น้ำของกลุ่มให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    การดำเนินงานโครงการดังกล่าว สามารถส่งน้ำให้ราษฎรบ้านน้ำฮูราย และหมู่บ้านใกล้เคียง มีน้ำอุปโภค บริโภค และสามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งสามารถป้องกันและบรรเทาอุทกภัยที่เกิดจากน้ำที่ออกจากถ้ำไหลล้นท่วมข้ามถนน ในบริเวณทางหลวงแผ่นดินเส้นทางระหว่างอำเภอปางมะผ้ากับจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้อีกด้วย
    </TD></TR><TR><TD>วันที่ : 2009-10-27</TD></TR><TR><TD>แหล่งข่าว : สำนักประชาสัมพันธ์

    มูลนิธิชัยพัฒนา

    อาจารย์สุเมธ ตันติเวชกุลเล่าให้นักข่าวฟัง (ทางสายธาตุอ่านจากไทยรัฐ) เล่าว่าเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

    ทรงเล่าเรื่องความสำเร็จของโครงการถ้ำน้ำฮูรายทางถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ขณะนั้นพระองค์ยังอยู่ในระหว่างประชวรและกำลังประทับรักษาพระอาการประชวรอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช

    อาจารย์สุเมธเล่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดีพระทัย

    ขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

    ทางสายธาตุ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    [​IMG][


    ต้องบอกคุณไก่เหลืองหางขาว ว่าโมเย ขอเป็นไก่ อีกตัว หนึ่ง ค่ะ ^_^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2009
  20. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    <TABLE class=tborder id=post1728433 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->นายเม<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1728433", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Nov 2004
    สถานที่: โลก
    ข้อความ: 1,135
    Groans: 288
    Groaned at 26 Times in 21 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 10,577
    ได้รับอนุโมทนา 3,225 ครั้ง ใน 734 โพส
    พลังการให้คะแนน: 238 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1728433 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><CENTER><!-- google_ad_section_start -->*พระคาถาออกศึกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช*<!-- google_ad_section_end -->

    </CENTER>
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->[​IMG]
    พระคาถาออกศึกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


    ขอนำวีระกรรมของวีระมหากษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่ง ซึ่งคนไทยเราทุกวันนี้กราบไหว้และบูชา จนขนานนามพระองค์ท่านว่าเป็น “มหาราช” พระผู้ทรงกู้ชาติไทย วีระกษัตริย์พระองค์นั้นเราชาวไทยทุกคนรู้จักกันในนาม “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” พระผ็ทรงกู้เอกราชของชาติไทย ให้เป็นอิสระจากพม่า โดยได้หลั่งน้ำสิโณทกรดลงเหนือแผ่นดินพม่าที่เมืองแครง ประกาศก้องด้วยสุรเสียงอันหนักแน่นว่า

    “ ณ บัดนี้ เราขอประกาศอิสรภาพความเป็นไทย ให้แก่ประเทศ จักมิยอมตกอยู่ใต้ อำนาจของพม่าต่อไป”

    สิ้นพระสุรเสียงอันดังก้อง ของพระองค์ท่าน เสียงไชโยโห่ร้องของทหารหาญไทย ก็ดังกระหึ่มเหนือเมืองแครง หัวใจทหารหาญทุกผู้ยอมสู้ตายร่มกับองค์นเรศวร ผู้มีสมญานามว่า “องค์ดำ”


    เกือบ 400 ปีมาแล้ว วันนั้นเป็นวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 (บางตำราว่า ปี พ.ศ. 2136) เป็นวันที่ ประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้จารึกไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงกระทำยุทธหัตถีได้รับชัยชนะต่อพระมหาอุปราช ณ ตำบลดอนเจดีย์ แขวงเมืองสุพรรณบุรี โดยทรงพระแสงของ้าวฟันพระมหาอุปราช ขาดสะพายแล่งบนหลังช้าง ทรง สิ้นพระชนม์ ท่ามกลางทหารพม่าข้าศึกนับหมื่นนับแสน ซึ่งทำให้ไพร่พลข้าศึกตลึงพรึงเพริดเสียขวัญอันเป็นเหตุให้กองทัพพม่าข้าศึก ต้องกรีฑาทัพกลับไปหงสาวดี ทันที
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักรบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่ง ในช่วงตลอดเวลาแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์ เป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองกำลังรุกรานจากข้าศึก อย่างหนัก ด้วยพระปรีชาสามารถอันยิ่งใหญ่ ของพระองค์ ได้ทรงกอบกู้สถานการณ์ และปกป้องบ้านเมืองให้มั่นคงปลอดภัยมาได้โดยตลอดจนเป็นที่ครั่นคร้ามขามเกรงแก่บรรดาข้าศึกยิ่งนัก เรามาพิจารณากันในแง่ของการเป็นนักรบของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ทรงเป็นยอดทั้งด้านการเป็นผู้นำทั้งในด้านยุทธศาสตร์ยุทธวิธี และในด้านจิตวิทยา


    ในด้านยุทธวิธีนั้น นักประวัติศาสตร์ การสงคราม และนักการทหารต่างถวายพระเกียรติแก่พระองค์ในฐานะผ็ทรงให้กำเนิด หรือทรงเป็นมิตรแห่งยุทธวิธีการรบแบบหนึ่ง ซึ่ง ในเวลาต่อมาเรียกการรบแบบพระองค์ท่านว่าการรบแบบกองโจร อันเป็นยุทธวิธีของการรบที่ใช้กำลังน้อยเอาชนะฝ่ายที่มีกำลังมากกว่า


    เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพ ของการรบแบบกองโจรตามแบบฉบับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กระผม จึงขอนำท่านกลับไปสู่อดีตเมื่อประมาณ เกือบ 400 ปีก่อน โน้น ดังปรากฏในพงศาวดาร ครวรบพระยาพลิมที่เมืองสุพรรณ เมื่อปีวอก พุทธศักราช 2126 ซึ่งในคร้งนั้นพระเจ้าหงสาวดีให้พระยาพลิมคุมพล 3 หมื่นคน และให้พระเจ้าเชียงใหม่คุมพล 1 แสนคน ลงมาสมทบกันตีกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎความในพงศาวดารต่อไปนี้


    “ฝ่ายกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทรงทราบว่า กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกลงมา ก็เสด็จยกกองทัพไทยไปกับสมเด็จพระเอกาทศรถ ตั้งทัพหลวงที่บ้านชะไร แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ แล้วให้พระราชมนูเป็นทัพหน้า ขุนรามเดชะเป็นยกบัตร คุมกองทัพหน้าซึ่งเป็นทหารม้า 200 คน พลราบ 300 คน ยกขึ้นไปตีกองทัพหน้าข้าศึกที่บ้านปากน้ำบางพุทรา พระราชมนูกับขุนรามเดชะยกขึ้นไปถึง เห็นว่า จำนวนพลกองทัพไทยน้อยกว่าข้าศึกมากนัก จึงคิดเป็นอุบายซุ่มกำลังไว้ในป่าแล้วแต่งกองโจรคอยฆ่าฟันข้าศึกที่เที่ยวลาดตระเวรหาเสบียงอาหาร และคอยแย่งม้าพาหนะมิให้เอาไปเลี้ยงห่างค่ยใหญ่ได้ ให้ข้าศึกตามมาจับเห็นมาก ก็ให้หลบเลี่ยงไปเสีย ด้วยความชำนาญท้องที่กว่าข้าศึก ครั้นข้าศึกเผลอก็ยกปล้นทรัพย์ มิให้ข้าศึกอยู่เป็นปกติได้ แม่ทัพหน้าข้าศึกตั้งอยู่ไม่ได้ก็ต้องถอยทัพกลับไป”
    ท่านที่สนใจกิจการทหาร ได้ฟังเรื่องราวการรบแบบกองโจร อันเป็นต้นฉบับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว ก็คงจะมองเห็นแล้วว่า วิชาการรบแบบกองโจร หรือที่ฝรั่งมังค่าเขาเรียกว่า “กอลลิลล่าร์ วอร์แฟร์” และตื่นเต้นกันมาก ตลอดเวลา 30ปีที่ผ่านมา แท้จริงแล้วไม่ใช่ของใหม่ อะไรเลย กองทัพไทยเราใช้วิธีการรบแบบกองโจรนี้มาเกือบ 400 ปีมาแล้ว ถ้าจะพูดอย่างภาษาไทยปัจจุบันที่นิยมพูดกันเกร่อในหมู่คนหนุ่มคนสาว เด็กไทยสมัยนี้ก็พอที่จะพูดได้ว่า “ช้าไปแล้วต๋อย”



    ในด้านจิตวิทยานั้น ก็นับว่าเป็นยอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงปลุกปลอบน้ำใจทหารหาญของพระองค์มิให้ครั่นคร้ามขามเกรงต่อข้าศึก โดยเสด็จออกนำหน้าทหารทุกครั้ง ในฐานะที่พระองค์เป็นศิษย์ต้นของสมเด็จพระพนรัตน์ มหาเถระวัดป่าแก้ว ปรากฎว่าพระองค์ทรงเชื่อมั่นในอำนาจคุณพระอย่างยิ่ง นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า ที่พระมาลาเบี่ยง ของพระองค์นั้น มีพระเครื่องตระกูลลพบุรี ประดิษฐานไว้โดยรอบด้านนอก ส่วนด้านใน พระมาลามีพระหูยานลพบุรีกลัดติดไว้ 2 องค์ พร้อมด้วยผ้ายันต์จากวัดป่าแก้ว พระองค์จึงทรงไว้ซึ่งอำนาจพุทธาคมเป็นอัศจรรย์ ในการรบกับพม่าครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงคาบพระแสงดาบด้วยพระโอษฐ์ สองพระหัตถ์ปีนขึ้นค่ายพม่า ถูกทหารพม่าใช้หอกแทงพระองค์ตกลงมาจากค่ายถึง 2 ครั้ง แต่คมหอกหาได้ระบายเคืองผิวหนังของพระองค์ไม่ แม้แต่น้อย แต่ตรงกันข้ามพระองค์ กลับทรงประหารนายทหารเอกของฝ่ายพม่าตายไป 2 คน คือ ลักไวทำมู กับเพื่อน


    จากเกร็ดพงศาวดารเก่าแก่ฉบับหนึ่ง พรรณาไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงตระหนักอย่างยิ่งในเรื่องพิธีกรรมบำรุงขวัญทหาร หาญของพระองค์ และทรงนับถือคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ ในการยกกองทัพออกศึกสงครามทุกครั้ง พระองค์จะต้อง อาศัยฤกษ์อันเป็นอุดมมงคลทุกครั้งและทรงประกอบพิธีที่วัดป่าแก้ว(วัดใหญ่ชัยมงคล) เป็นประจำ ครั้นได้อุดมมงคลฤกษ์แล้วพระองค์จะทรงพนมหัตถ์ทำพระทัยให้สงบนิ่งแล้วทรงบริกรรมคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ ดังนี้



    นะ ผ่านสงคราม
    โม ติดตามศัตรู
    พุทธ ต่อสู้ไพริน
    ธา ปราบสินพลไกร
    ยะ โชคชัยชำนะ



    เมื่อทรงบริกรรมพระคาถาจบแล้ว พระองค์จะทรงกระทืบพระบาทลงบนแผ่นปัฐพี 3 ครั้ง แล้วเสด็จขึ้นหลังพระคชสาร ทรงเปล่งพระสรุสีหนาทให้เคลื่อนพล พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา พราหมณ์เป่าสังข์และลั่นฆ้องชัย บรรดาทหารผู้เกรียงไกร เปล่งเสียงไชโยกึกก้องกัมปนาทคึกคักลำพองใจ ทุกผู้เคลื่อนขบวนผ่านซุ้มประตูชัย ซึ่งสมเด็จพระพนรัตน์มหาเถระคอยถวายน้ำพระพุทธมนต์แด่พระองค์ และประพรมน้ำมนต์แก่บรรดาทหารหาญทั้งหลายโดยทั่วกัน



    และทุกครั้งในขณะที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงเข้าตลุมบอนขับเคี่ยวฆ่าฟันศัตรูนั้น พระองค์จะบริกรรมพระคาถา จตุรธาตุ ดังนี้



    นะ เดชรุกราน
    มะ ห้าวหาญฟันฟาด
    พะ พิฆาตโหมศึก
    ทะ ปราบศึกถดถอย



    เราคนไทยทุกวันนี้ ได้สืบทอดมรดกพิทักษ์รักษาแผ่นดินไทย จากพระองค์ท่านมาจนเราเป็นไททุกวันนี้ หากจะบูชาพระคาถาทั้ง สองบท ตามที่ได้ค้นคว้ามา โดยเฉพาะทหารหาญของชาติ ที่กำลังปกปักษ์รักษาพิทักษ์ไทยตามชายแดน สืบทอดเจตนารมย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จักนำไปใช้ พระวิญญานของพระองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช คงจะทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง แต่การนำของสูงพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ นี้ไปใช้ เราจักต้องรำลึกถึงคุณพระทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์และรำพึงถึง มหาวีระกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ให้มั่นแล้ว ตั้งสัตยาธิษฐานสาบานตนออกมาว่า


    “ข้าพเจ้าจะรักษามรดกของท่านไว้ด้วยเลือดและชีวิต”



    พระคาถานี้ใช้กับผ้ายันต์ “นารายณ์ทรงทัพปราบไตรโลก”ได้อย่างดีด้วย
    แล้วพระคาถานี้ จักคุ้มครองเรา และประเทศชาติ ของเราให้อยู่รอดปลอดภัย นำชัยชนะมาให้ตลอดกาล



    “หนานคำ”



    ที่มา :หนังสือ เชิญร่วมเป็นกรรมการ จัดสร้างผ้ายันต์ นารายณ์ทรงทัพปราบไตรโลก รุ่น “ปราบญวนโอหัง “



    ป.ล. ข้าพเจ้า นายเม ได้ทำการแก้ไข บางส่วน คือ วันที่ประกาศอิสรภาพ จากวันที่ 25 มกราคมในต้นฉบับเดิม มาเป็นวันที่ 18 มกราคม เพื่อให้ถูกต้อง พิมพ์ตามฉบับเดิมทุกประการ หากผิดพลาดประการใด ขอสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า ทรงโปรดเมตตาประทานอโหสิกรรมแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด สาธุ

    <!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายเม : 13-12-2008 เมื่อ 10:11 AM เหตุผล: ปรับปรุงให้อ่านง่าย
    </TD></TR><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("1728433")</SCRIPT> [​IMG] </TD><TD class=alt1 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...