ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. พระราชมนู

    พระราชมนู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +78
    วัดกระชาย

    กระผมได้เดินทางไปวัดวรเชตเมื่อวานนี้และร่วมสวดมนตร์กับญาติธรรมที่มาทำบุญสร้างกุศลที่วัดและตั้งใจมาสวดมนตร์ แต่ก่อนหน้าที่จะเข้าวัดวรเชต ผมมุ่งตรงไปที่วัดกระชายก่อน เพราะเมื่อคราวก่อนซัก5เดือนที่แล้วตั้งใจไปครั้งหนึ่งแต่เข้าไม่ได้น้ำท่วมนาเพราะต้องเดินลัดบ้านคนเข้าไปทางคันนา จึงตั้งใจจะไปให้ได้ในครั้งนี้ซึ่งเข้าหน้าหนาวพอดี ดินน่าจะแห้งดี พอไปถึงปรากฎว่ามีคนมาทำทางเข้าไว้ให้แล้วปลูกต้นไม้ต้นไม่ใหญ่มากน่าจะเพิ่งลงปลูกไม่นานสองข้างทาง คาดว่าเร็วๆต้นไม้คงสูงใหญ่ร่มรื่น ตลอดทางก่อนเข้าวัดประมาณ500เมตรกว่าๆ เดี๋ญวคืนนี้มาเล่าต่อครับไปทำงานก่อน
     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดเจ้าชาย (วัดกระชาย)

    เมื่อเดือนสิงหาคม ได้เดินเข้าไปสวดมนต์ที่วัดกระชายเหมือนกันค่ะ ไปกันสิบคนได้พร้อมกับพระและแม่ชี ตอนนั้นยังต้องเดินข้ามคันนา หนทางเข้าวัดยังทุระกันดารอยู่เลย

    แต่เมื่อวันเสาร์ที่ 21พ.ย. 2552 ได้ไปกราบหลวงพ่อ จึงได้ทราบจากหลวงพ่อว่างบที่มาพัฒนาทางเข้าวัดเจ้าชาย เป็นงบ อบต

    ตอนนี้ อบต เดินหน้าพัฒนาวัดเต็มที่ เริ่มต้นที่ทางเข้าวัดกระชายก่อน จากนั้นก็จะเริ่มพัฒนาบริเวณวัดต่อไป

    ทางผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันของตำบลที่วัดตั้งอยู่นี้ ได้มากราบนมัสการหลวงพ่อสิงห์ทน นราสโภ และเรียนหลวงพ่อไว้ว่า

    หากเขา (เขาจะเป็นหน่วยงานใดก็แล้วแต่) ไม่ให้หลวงพ่ออยู่วัดพี่ชาย ขอเชิญหลวงพ่อไปอยู่วัดน้องชายได้ ขอนิมนต์ไว้ล่วงหน้าเลย

    แสดงว่าการพัฒนาวัดเจ้าชายจะดำเนินไปจนกระทั่งเปิดเป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษานั่นเอง เป็นข่าวดีที่หลวงพ่อสิงห์ทนเล่าให้ฟังค่ะ

    ฟังแล้วปลาบปลื้มใจมากค่ะ

    ขออนุโมทนา สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2009
  3. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    "ตอนนี้ อบต เดินหน้าพัฒนาวัดเต็มที่ เริ่มต้นที่ทางเข้าวัดกระชายก่อน จากนั้นก็จะเริ่มพัฒนาบริเวณวัดต่อไป

    ทางผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันของตำบลที่วัดตั้งอยู่นี้ ได้มากราบนมัสการหลวงพ่อสิงห์ทน นราสโภ และเรียนหลวงพ่อไว้ว่า

    หากเขา (เขาจะเป็นหน่วยงานใดก็แล้วแต่) ไม่ให้หลวงพ่ออยู่วัดพี่ชาย ขอเชิญหลวงพ่อไปอยู่วัดน้องชายได้ ขอนิมนต์ไว้ล่วงหน้าเลย

    แสดงว่าการพัฒนาวัดเจ้าชายจะดำเนินไปจนกระทั่งเปิดเป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษานั่นเอง เป็นข่าวดีที่หลวงพ่อสิงห์ทนเล่าให้ฟังค่ะ"


    -ขออนุโมทนาด้วยครับ เดาว่าพื้นที่ของวัดวรเชษฐคงจะอยู่ในความรับผิด

    ชอบของอีก อบต.หนึ่ง คิดว่าคงอีกไม่นานดอกครับก็คงจะเข้ามาพัฒนาที่

    วัดวรเชษฐ เพื่อแย่งชิงตลาดการท่องเที่ยวกัน เดี๋ยวนี้คน อบต.จะทำงานกัน

    เก่งและไฟแรง ข้อสำคัญเราก็คือทางวัดจะต้องเตรียมโครงการไว้รองรับให้

    พร้อมเพื่อจะได้สอดคล้องกันไม่กลายเป็นปัญหาหรือข้อขัดแย้ง งานของ

    อบต.ส่วนใหญ่น่าจะเป็นเรื่องของการก่อสร้างปรับปรุงเส้นทางคมนาคมและ

    งานสาธารณูปโภคซึ่งจะต้องไม่ทำลายหรือขัดต่อศิลปวัฒนธรรม ถ้าประสาน

    กันได้ดีก็จะเป็นพลังที่จะนำไปสู่ขั้นการฟื้นฟูและทำนุบำรุงโบราณวัตถุที่ทรง

    คุณค่าทางประวัติศาสตร์จากทางหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบและจากทาง

    รัฐบาลต่อไป คงอีกไม่นานเกินรอ (ขอให้เฝ้าดู อย่ากระพริบตานะครับ )
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 43 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 42 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>ทางสายธาตุ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    42 เป็นตัวเลขที่เยอะมากค่ะ สำหรับกระทู้บ้านน้อยปลายซอยนี้ เพราะอยู่ไกลถนนใหญ่มากแต่ท่านก็ยังอุตสาหะมาเยี่ยม ขอบคุณค่ะ

    ทางสายธาตุขอให้วัดที่มีประวัติศาสตร์ยิ่งใหญ่ทั้งสองแห่งนี้กลับมารุ่งเรืองดังที่เคยเป็น ให้สมกับพระเกียรติของกษัตริยาธิราชเจ้าผู้ทรงเหนื่อยยากเพื่อปวงประชา

    จะไม่กระพริบตาเลยค่ะ พี่จงรักภักดี (อีกไม่นานพลังแห่งวัชรธาตุก็จะคุ้มครองไทยให้ร่มเย็นเป็นสุข วัชรธาตุที่ว่านี้อยู่ที่วัดวรเชษฐ์ค่ะ... โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

    นึกถึงคำที่คุณฟอร์ทว่า หญิงไทยใจกล้า มือก็ไกว ดาบก็แกว่ง มาดูการแต่งกายของหญิงไทยยามออกรบเพื่อให้ทราบกันว่า บรรพชนไทยใจกล้าทั้งหญิงทั้งชาย

    <TABLE class=Text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    การแต่งกายสมัยอยุธยา ในจดหมายเหตุของโยส เซาเต็น พ่อค้าชาวฮอลันดาในสมัยพระเจ้าทรงธรรมและพระเจ้าปราสาททอง กล่าวถึงการแต่งกายของชาวกรุงศรีอยุทธยาว่า "ทั้งหญิงชายแต่งตัวด้วยผ้าผ่อนน้อยชิ้น

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px dashed">
    เพราะประเทศนี้เป็นประเทศร้อน เขาชอบผ้าสีต่า ง ๆ นุ่งสำหรับส่วนล่างของร่างกาย ส่วนบนนั้นชายใส่เสื้อชั้นในแขนครึ่งท่อน ส่วนหญิงนั้นมีผ้าบาง ๆ พาดไหล่หรือปิดหน้าอก บนศีรษะมักจะมีปิ่นทองปักผมไว้และสวมแหวนทองที่นิ้วมือ การแต่งกายเช่นนี้แต่งด้วยกันทั้งคนจนคนมี จึงยากที่จะดูว่าใครรวยใครจน นอกจากจะรู้ราคาชนิดผ้าที่นุงห่มนั้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. อุกามณี

    อุกามณี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +73
    ขออนุโมทนา...กับทุกท่าน..ที่ได้ตั้งกระทู้...รำลึกถึงผู้มีพระคุณต่อแผ่นดินไทย..และกล่าวถึง..สถานที่สำคัญ..วัดสำคัญที่ถูกกลบ...ให้คนไทยลืม..กำลังจะถูกกล่าวถึงและรำลึกฟื้นฟู..เผยแพร่ให้ลูกหลานไทย..ได้รู้ความจริง..เริ่มเชื่อแล้วว่า...ไม่มีใครสามารถทำลายพลังมหัศจรรย์ของ"เพชรดำ" ได้......................................
     
  6. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    อนุโมทนากับคุณ อุกามณี ถ้าพอมีเวลากรุณาเล่าเรื่อง "เพชรดำ"

    สู่กันฟังบ้างนะครับ (ต้องใช้คำว่าเล่าสู่กันอ่านถึงจะถูกนะครับ)

    พอจะจำได้ว่าเคยได้ยินได้ฟังจากท่านใดจำไม่ได้แล้วครับ เรื่อง

    ราวเลือนไปหมดแล้ว จำได้แค่คำว่า "เพชรดำ" ที่วัดวรเชษฐนี้เท่า

    นั้นเองครับ
     
  7. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210

    พี่โมขออนุโมทนากับน้องฟอร์ท ด้วยนะจ๊ะ
     
  8. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210

    อนุโมทนา ด้วยค่ะ

    ยินดีต้อนรับ คุณพี่อุกามณี ค่ะ
     
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ชื่อล็อกอินของพี่อุกามณี ก็แปลว่า เพชรดำ ค่ะ

    พี่เขามีเพชรดำติดตัวไว้ตลอดเลย หลายรูปแบบเลยค่ะ

    เอาเรื่องพี่อุกามณีมาแฉ มิใช่ๆ เอามาเล่าสู่กันฟังค่ะ

    ล้อเล่นนะคะพี่
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระราชประวัติ สมเด็จพระสุพรรณกัลยา จากหนังสือ





    <!-- google_ad_section_start -->
    [​IMG]



    จากหนังสือสมเด็จพระนเรศวร มหาวีรราชเจ้า รวบรวมและเรียบเรียง โดย เสทื้อน ศุภโสภณ ได้อ้างถึงเอกสารสำคัญ เล่าเรื่องการเสด็จหนีออกจากกรุงหงสาวดีของสมเด็จพระนเรศวรมีความว่า ทั้งพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ“วัน วลิต” คำให้การของชาวกรุงเก่า และคำให้การขุนหลวงหาวัด กล่าวไว้ตรงกันว่า ขณะที่สมเด็จพระนเรศวรประทับอยู่ ณ กรุงหงสาวดีนั้น พระองค์ได้ถูกกษัตริย์และบรรดาเจ้านายพม่าเหยียบหยามย่ำยีพระเกียรติยศ ซ้ำยังถูกข่มขู่จะเอาพระชนม์ชีพ เพราะพระองค์ทรงชำนาญในราชกรีฑาต่างๆ เช่น ทรงม้า ล่าสัตว์ ชนช้าง ฯลฯ เก่งกว่าพระเจ้าหงสาวดีเสียอีก เจ้าชายผู้ทรงพระเยาว์ (สมเด็จพระนเรศวร) จึงทรงเจ็บช้ำในพระราชหฤทัย และได้ทรงดำริกับคนสนิทที่ติดตามไปอยู่รับใช้เนืองๆว่า

    “เราจะมานั่งน้อยหน้าอยู่ในบ้านเมืองเขา ให้เขาดูหมิ่นอย่างนี้ ไม่สมควร จำจะคิดอุบายหนีไปให้จงได้”

    แล้วพระองค์ก็ทรงรวบรวมไพร่พลได้จากบรรดาพรานป่าและโจรป่า รวมกับไพร่พลที่เป็นข้าหลวงเดิมของพระองค์ที่ติดตามไปถวายการรับใช้จากเมืองพิษณุโลก รวมได้ประมาณ 600 คนเศษ แล้วพากันหลบหนีออกมาในค่ำคืนวันหนึ่ง (พ.ศ.2113) ไปยังเมืองพิษณุโลก ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ก่อนเสด็จหนี ได้ทรงลอบติดต่อแจ้งให้พระพี่นาง พระสุพรรณกัลยาณี พระชายาพระเจ้าหงสาวดี ซึ่งทรงมีพระราชธิดาด้วยกันแล้ว ให้ทรงทราบ แต่พระพี่นางไม่สามารถเสด็จหนีตามมาด้วยได้

    ต่อมาเรื่องราวพระประวัติของพระสุพรรณกัลยาณี ก็มีปรากฏในหนังสือศิลปะวัฒนธรรม (ฉบับพิเศษ) ชื่อ “สงครามประวัติศาสตร์” โดย พล.ท.รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ อดีตแม่ทัพภาค 3 ที่ปรึกษาประวัติศาสตร์กองทัพบก: จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2514 แสดงเรื่องราวพระประวัติไว้อย่างน่าสนใจว่า พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองนั้น ต่อมาได้ทรงยกพระสุพรรณกัลยาณีให้เป็นพระชายาพระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรส แต่ไม่ได้ปรากฏว่ายกให้เมื่อใด และปรากฏตามเอกสารแหล่งข้อมูลต่างๆกันอีก ได้แก่ “คำให้การขุนหลวงหาวัด”คำให้การของชาวกรุงเก่า” และหนังสือ “สมเด็จพระนเรศวร มหาธีรราชเจ้า” โดย เสทื้อน ศุภโสภณ เป็นต้น ทำให้เห็นสันนิษฐานว่า พระพี่นางสุพรรณกัลยาณีนั้น ทรงมีพระธิดาองค์หนึ่ง พระโอรสองค์หนึ่ง และกำลังทรงครรภ์แก่อีกองค์หนึ่งกับพระเจ้าหงสาวดี

    พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงนั้น เมื่อกองทัพพม่าต้องพ่ายแพ้ต่อกองทัพไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่า และครั้นเมื่อได้โปรดให้พระมหาอุปราชา พระราชโอรส ยกกองทัพใหญ่ไปตีกรุงศรีอยุธยาเป็นการแก้มืออีก ก็ต้องมาพ่ายแพ้ต่อกองทัพไทย และพระมหาอุปราชา พระราชโอรสผู้เป็นแม่ทัพใหญ่นั้นเล่า ก็ถูกสมเด็จพระนเรศวร ฟันด้วยพระแสงของ้าวสวรรคตบนคอช้างอีก ก็ทรงกริ้วแม่ทัพนายกองพม่าและเสียพระทัยมาก กลับมีพระทัยเหี้ยมโหดอย่างไร้มนุษยธรรม รับสั่งให้ลงโทษแม่ทัพนายกองอย่างทารุณโหดร้าย พล.ท.รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ ได้เล่าในหนังสือสงครามประวัติศาสตร์ ว่า

    “โดยส่วนตัวของพระเจ้านันทบุเรงมีความรักในพระพี่นางฯ เป็นอย่างมาก กิจการบริหารบ้านเมืองข้อใดที่ติดขัดแก้ไม่ได้ ก็ได้พระพี่นางสุพรรณกัลยาเป็นผู้คิดการให้จนสำเร็จลุล่วงทุกประการ แต่ศึกครั้งนี้ พระเจ้านันทบุเรงได้เสียพระราชโอรสให้กับพระหัตถ์ของสมเด็จพระนเรศวรฯน้องชายแท้ๆ ของพระชายา ซึ่งพระองค์ทรงมีความรักเป็นอย่างมาก พระเจ้านันทบุเรงทรงเสียพระทัยมาก เสวยน้ำจัณฑ์เมามายไม่ได้สติ เมื่อเมามากก็พาลพระสุพรรณกัลยาเป็นนิจและขู่อาฆาตอยู่เนืองๆ การนี้พระพี่นางเหมือนมีลางสังหรณ์กับตนเอง ได้เรียกร้ององค์จันทร์เข้ามา พระพี่นางทรงกันแสงร่ำไห้อยู่ตลอดเวลา จนพระองค์จันทร์ต้องปลอบให้หาย พี่คงจะไม่มีชีวิตรอดกลับไปบ้านเมืองได้เห็นหน้าพี่น้องอีกแล้ว หากพี่เป็นอะไรไปให้จันทร์นำสิ่งนี้กลับอยุธยาไปให้องค์ดำน้องพี่ให้จงได้ ให้ไปถวายองค์ดำแทนพี่ เราพี่น้องตกทุกข์ได้ยากมาด้วยกัน จะไม่มีวันได้พบหน้ากันแล้ว จันทร์ได้รับสิ่งนั้นมาจากมือของพระพี่นางแล้วเปิดออกดู พระพี่นางทรงตัดเส้นพระเกศาของพระองค์ใส่ผอบเครื่องหอมกำกับไว้ แล้วทั้งสองก็ร้องไห้ปิ่มจะขาดใจ เจ้าคนเดียวเท่านั้นที่พี่วางใจ และเจ้าคนเดียวเท่านั้นที่จะเล่าเรื่องทั้งหมดที่นี่ให้พระองค์ดำฟังและเชื่อได้ เจ้าจงจำคำของพี่ไว้ ลางสังหรณ์ของพระพี่นางสุพรรณกัลยามาถึงในวันหนึ่ง พระเจ้านันทบุเรงเสวยน้ำจัณฑ์เมามายไม่ได้สติ สิ่งที่ไม่ได้คาดคิดก็เกิดขึ้น”

    จาก “คำให้การขุนหลวงหาวัด” กับ “คำให้การของชาวกรุงเก่า” ได้เล่าว่า เมื่อแม่ทัพนายกองที่แตกพ่ายกองทัพไทย เข้ากราบบังคมทูลพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ถึงความที่พระมหาอุปราชาชนช้างเสียทีแก่สมเด็จพระนเรศวร สิ้นพระชนม์บนคอช้าง พระเจ้าหงสาวดีก็พิโรธหนัก รับสั่งให้เอาแม่ทัพนายกองที่ไปกับพระมหาอุปราชานั้นกับทั้งเจ็ดชั่วโคตรใส่คา คือ จับตรึงกับไม้ย่างไฟให้ตายสิ้นอย่างเหี้ยมโหด เท่านั้นยังไม่คลายพิโรธ เสด็จไปสู่ตำหนักพระสุพรรณกัลยาณี ทรงเห็นพระพี่นางสุพรรณกัลยาณีกำลังประทมให้พระโอรสเสวยนมอยู่ในที่ ก็ตรงเข้าฟันและแทงด้วยพระแสงทั้งพระมารดาและพระราชโอรส – พระราชธิดา อย่างไร้สติ ถึงแก่พิราลัยด้วยกันทุกพระองค์ ด้วยว่าทรงพิโรธยิ่งนักมิทันที่จะผ่อนผันได้

    “องค์จันทร์วิ่งเข้าไปช่วยพระพี่นางแต่ถูกทหารพม่าที่หวังดีกันไว้ หากเข้าไปช่วยอาจถูกฟันด้วยอีกคนก็เป็นได้ การสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยาทำให้พระเจ้านันทบุเรงเสียสติจนไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้”

    “เมื่อพระพี่นางสุพรรณกัลยาสิ้นพระชนม์แล้ว ทางหงสาวดีก็จัดพิธีศพอย่างสมเกียรติ และในขณะที่กำลังจัดการพระศพนั้น องค์จันทร์ก็คิดหนีจากหงสาวดีโดยมีทหารเชื้อชาติมอญผู้หนึ่ง ซึ่งหลงรักองค์จันทร์ช่วยพาหนีออกจากหงสาวดี ทางหงสาวดีได้ปิดเรื่องสิ้นพระชนม์ของพระพี่นางเป็นความลับมิให้ล่วงรู้ถึงกรุงศรีอยุธยาองค์จันทร์หนีมาพร้อมกับทหารมอญ โดยใช้ช่วงที่พม่ากำลังยุ่งอยู่กับงานพระศพ เมื่อเดินทางถึงพระนครก็ได้เฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ และได้นำนายทหารมอญเฝ้าถวายรายงานความชอบก็ได้ทรงชุบเลี้ยง
    เหมือนใจน้องจะขาด เหมือนชีวิตแม่จะล่วง ความเศร้าโศกในพระบรมมหาราชวังแห่งพระนครศรีอยุธยายากที่จะเปรียบบรรยากาศได้ พระพี่นางของน้องเราต้องตกทุกข์ได้ยากมาด้วยกัน เมื่อแผ่นดินกลบหน้าก็ยังได้ดูใจ พระวิสุทธิกษัตริย์แม่เจ้า เป็นลมล้มพับไปหลายครั้งหลายหน แม่ส่งลูกให้ไปตาย หัวอกของแม่ใครจะเห็น”

    สมเด็จพระนเรศวรนั้นทรงพิโรธเป็นอย่างมาก จึงมีพระราชดำรัสให้เจ้าพระยาจักรีเร่งเกณฑ์ไพร่พลให้ได้มากที่สุด ตรัสว่า “กูจะยกไปตีหงสาวดี” แต่ติดอยู่ที่พระแม่เจ้าพระวิสุทธิกษัตริย์ที่ได้ทรงขอร้องให้เลิกอาฆาตพยาบาทจองเวร ทำให้สมเด็จพระนเรศวรต้องเห็นแก่พระมารดา แต่เพลิงแค้นอยู่ในอก ว่า ต้องลบรอยแค้นให้ได้

    “หลังจากที่พระแม่เจ้าวิสุทธิกษัตริย์ได้ข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยา ก็เจ็บกระเสาะกระแสะเรื่อยมา ไม่นานนักพระแม่เจ้าก็สวรรคตหลังจากข่าวร้ายผ่านไปไม่เกิน3 เดือน”สมเด็จพระนเรศวรเมื่อจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระแม่เจ้าแล้ว ก็สบโอกาสเหมาะที่จะยกกองทัพไปตีหงสาวดี ครั้งทรงยกกองทัพไปถึงก็ทรงผิดหวังอย่างมาก เมื่อพระเจ้าตองอูชิงเอาตัวนันทบุเรงไปไว้ ณ เมืองตองอูเสียแล้ว กองทัพไทยจึงได้เพียงเมืองหงสาวดี และในโอกาสนั้น ได้มีมอญผู้หนึ่งนำอัฐิธาตุของพระพี่นางสุพรรณกัลยาณีมาถวาย ก็ทรงโศกยิ่งนัก แต่ก็เก็บไว้แต่เพียงในพระราชหฤทัย หาได้ให้ล่วงรู้ถึงทหารไม่ และได้ยกทัพล่วงไปถึงตองอู แต่เหล่าทหารอิดโรยมากจึงทรงเลิกทัพกลับพร้อมกับนำพระอัฐิธาตุของพระพี่นาง เสด็จนำกองทัพมาทางเมืองปาย ครั้นกองทัพพ้นชายแดนพม่ามาแล้ว ทรงให้พักรักษาตัวไพร่พลที่เมืองปาย

    พล.ท.รวมศักดิ์ ได้เล่าไว้ในหนังสือสงครามประวัติศาสตร์ อีกว่า

    คืนนั้น พระองค์ทรงสุบินไปว่า พระพี่นางเสด็จมาหา ทั้งสองพระองค์ทรงกันแสงร่ำไห้ตรัสว่า องค์ดำเอ๋ยพี่เปรียบเสมือนคนสองแผ่นดิน ลูกพี่เป็นพม่า ตัวพี่เป็นไทยย่อมผูกพันกับแดนพม่าและไทย คือ เมืองปายนี้ วิญญาณของพี่จะได้เป็นสุขเสียที พี่ลำบากมามากแล้วชั่วชีวิตนี้ และขอฝากจันทร์ให้ดูแล องค์ดำทรงกันแสงร่ำไห้ตกใจตื่นบรรทมเมื่อยามใกล้รุ่ง หลังจากนั้นทรงใช้ม้าเร็วเร่งเดินทางกลับพระนคร ไปรับตัวท้าวจันทร์เทวีไปเมืองปายโดยด่วน และได้นำผอบเส้นเกศาของพระพี่นางไปด้วย สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงสั่งให้สร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระพี่นางสุพรรณกัลยาที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองปาย พร้อมทั้งสร้างพระพุทธรูปขึ้นอีกองค์หนึ่ง เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่พระพี่นางสุพรรณกัลยาตามพระสุบินนิมิตทุกประการ และบรรจุเส้นพระเกศาของพระพี่นางไว้ในเจดีย์นั้นด้วย คุณท้าวจันทร์เทวีก็ได้ร่วมทำบุญกุศลด้วยทุกประการ สิ่งใดที่พระพี่นางเคยทำหรือทรงโปรดคุณท้าวจันทร์เทวีก็ได้ทำสิ่งนั้น พระพุทธรูปองค์นั้นปัจจุบันอยู่ที่วัดน้ำฮู อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ส่วนพระอัฐิพระเกศานั้นอยู่ในใต้พระเจดีย์องค์ปัจจุบันหลังวิหาร ครูบาศรีวิชัยสร้าง”

    สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยาณี เป็นวีรสตรีไทยที่ประวัติศาสตร์พึงจารึกไว้ ด้วยว่า พระพี่นางสุพรรณกัลยาณีนั้น ขณะเมื่อประทับอยู่ ณ กรุงหงสาวดี ในฐานะพระมเหสีพระเจ้ากรุงหงสาวดี ก็ยังได้มีโอกาสให้คำปรึกษาหารือและยังเป็นกำลังพระทัยแก่สมเด็จพระนเรศวร พระอนุชา ในยามเหตุการณ์คับขันก็ยังช่วยปกป้องยับยั้งภัยแก่พระอนุชาได้ ดังเช่น เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงรวบรวมกำลังพวกพรานป่าและโจรป่า พร้อมด้วยข้าราชบริพารที่ตามเสด็จไปถวายการรับใช้ได้ประมาณ 600 คน แล้วพาเสด็จหนีออกจากกรุงหงสาวดี

    เมื่อประมาณ พ.ศ2113 นั้น ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรจะเสด็จหนีออกจากหงสาวดี ก็ได้ลอบไปพบพระพี่นางสุพรรณกัลยาณี เพื่อปรึกษาและแจ้งข่าวการตัดสินพระทัยที่จะทำเช่นนั้น แต่พระพี่นางสุพรรณกัลยาณีก็ไม่อาจเสด็จหนีตามไปด้วยได้ ต้องยอมทนอยู่ด้วยความเสี่ยงต่อราชภัยจากพระเจ้าหงสาวดีว่า เมื่อพระเจ้าหงสาวดีทรงทราบข่าวการเสด็จหนีของสมเด็จพระนเรศวร พระอนุชาแล้ว พระพี่นางสุพรรณกัลยาณีก็อาจได้รับโทษหนักจากพระสวามีฐานคบคิดและอนุเคราะห์ช่วยให้พระอนุชา ซึ่งเป็นตัวประกันสำคัญของพม่าเสด็จหนีไปได้ ทำนองปล่อยเสือเข้าป่า – ปล่อยจระเข้ลงน้ำ

    อีกอย่างหนึ่ง พระพี่นางสุพรรณกัลยาณี ยังประทับอยู่ที่หงสาวดี ก็ยังเป็นตัวประกันส่วนสำคัญที่จะช่วยบรรเทาความพิโรธของพระสวามีได้ในระดับหนึ่ง เพื่อมิให้พระเจ้าหงสาวดียกกองทัพตามไปจับสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระองค์เอง เพื่อผ่อนหนักเป็นเบาแก่พระอนุชา พระเจ้าหงสาวดีจึงเพียงแต่รับสั่งให้เวียงเสือและเสือต้าน เป็นแม่ทัพคุมกำลังพลเพียง 5,000 คน ออกติดตาม แต่ก็ถูกสมเด็จพระนเรศวรนำกำลังเข้าต่อสู้รบจนพม่าแตกพ่าย แม้คราวหลังพระเจ้าหงสาวดีจะได้ให้พระอนุชาคุมพล 10,000 คน ไปตามจับสมเด็จพระนเรศวรให้ได้อีก แต่ก็ถูกสมเด็จพระนเรศวรจัดกำลังทัพเข้าตีกองทัพพม่าจนแตกพ่ายยับเยินกลับไปอีก

    พระราชประวัติพระสุพรรณกัลยา (พระสุพรรณเทวี) ส่วนที่สองเมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จมาประทับอยู่ในสยามประเทศแล้ว ก็ได้อาศัยข่าวความเคลื่อนไหวของพระเจ้าหงสาวดี และทั้งเจ้านายและกองทัพพม่า ที่พระพี่นางสุพรรณกัลยาณีได้ทรงช่วยแจ้งมาให้ทราบเป็นระยะๆ เท่าที่ทรงสามารถกระทำได้นั้นแหละ ประกอบด้วยพระปรีชาสามารถในการศึกของสมเด็จพระนเรศวรนั้นเองด้วย จึงสมารถนำมาใช้วางแผนการรบกับกองทัพพม่าที่มีกำลังมากกว่า ทรงจัดกำลังกองทัพรบและสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ทุกครั้ง

    การประทับอยู่กรุงหงสาวดีของพระพี่นางสุพรรณกัลยาณี จึงเป็นการอยู่ด้วยความเสียสละพระชนม์ชีพเพื่อประเทศชาติ ด้วยว่าราชภัยอาจจะเกิดแก่พระองค์ถึงชีวิตได้ทุกขณะ ในหนังสือสงครามประวัติศาสตร์ จึงได้จารึกไว้ว่า

    “สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา เป็นวีรสตรีไทยที่ประวัติศาสตร์ควรจารึกไว้ หากไม่มีพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชอาจไม่มีโอกาสกลับมากอบกู้เอกราช และอาจไม่ทรงทราบข่าวการเคลื่อนไหวของทัพพม่าก่อนทุกครั้ง ชาวไทยจึงควรระลึกถึงวีรกรรมของพระองค์ และถวายสักการะดวงพระวิญญาณของพระองค์โดยทั่วกัน”

    พระสุพรรณกัลยา มีสภาพเหมือนถูกทอดทิ้ง ให้ผจญกรรมเพียงลำพัง กับไพร่พลเล็กน้อย ในท่ามกลางหมู่อริราชศัตรูทั้งสิ้น แต่กระนั้นพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ก็ทรงมีพระเมตตา รักใคร่สิเนหา แก่พระสุพรรณกัลยาอยู่ไม่น้อย และด้วยบารมีแห่งพระสุพรรณกัลยา ได้ปกแผ่คุ้มครองแก่คนไทย ที่ตกเป็นเชลยอยู่ในเมืองพม่า มิให้ได้รับความลำบาก ต่อมา มังไชยสิงหราช (นันทบุเรง) โอรสของพระเจ้าบุเรงนอง เป็นผู้มักมากในกามคุณ และต้องการเป็นใหญ่ จึงร่วมมือกับชายาชาวไทยใหญ่ นามว่า "สุวนันทา" วางแผนชิงราชสมบัติ และแย่งอำนาจ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองตรอมพระทัย และสวรรคตอย่างกระทันหัน เมื่อพระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์ เกิดความวุ่นวาย เนื่องด้วยการไม่ยอมรับ ของพระญาติวงศ์หลายฝ่าย ทำให้พระเจ้านันทบุเรง เกิดความหวาดระแวง กอปรด้วยรู้ว่า มีการรวบรวมไพร่พล เตรียมการกู้ ชาติ ของ พระนเรศวร และพระเอกาทศรถ ทางเมืองไทย จึงสั่งจับจองจำพระมารดาเลี้ยง (พระสุพรรณกัลยา) และพระธิดาองค์แรกของพระนาง ให้อดอาหาร ลงโทษทัณฑ์ ทุบตี โบย อย่างทารุณ ในขณะที่พระนาง ทรงครรภ์แปดเดือน จนพระธิดาสิ้นพระชนม์ จากนั้น ก็ทำทารุณกรรมต่อพระนางอีก จนอ่อนเปลี้ยสิ้นเรี่ยวแรง แล้วใช้ดาบฟัน ฆ่าพระนางพร้อมด้วยทารกในครรภ์ แม้ร่างกายของพระนางสิ้นสูญแล้ว ก็ยังไม่เป็นที่สาแก่ใจ ของพระเจ้านันทบุเรง แม้ดวงพระวิญญาณของพระองค์ ก็ถูกกระทำพิธีทางไสยศาสตร์ ตราสังรัดตรึง ไม่ให้วิญญาณกลับสู่เมืองไทย ให้วนเวียนอยู่ อย่างทุกข์ทรมานนานนับร้อยปี ...

    พระพี่นางสุพรรณกัลยาณี ผู้ทรงมีอุปการคุณต่อการกู้ชาติกู้แผ่นดินร่วมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระอนุชา และบุรพชนของชาวไทย ด้วยความเสียสละแม้พระชนม์ชีพ จึงนับเป็นบุพพการีบุคคล ที่ชาวไทยควรระลึกนึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของทั้งสองพระองค์ กับด้วยทั้งบูรพกษัตราธิราชเจ้า และบุรพชน ที่ช่วยกันกอบกู้อิสรภาพของชาติ ช่วยทำนุบำรุง และสืบต่อผืนแผ่นดินไทยและบวรพระพุทธสาสนา ให้ยืนยาวมาถึงชาวไทยทั้งประเทศ ให้ได้อยู่เย็นเป็นสุขจนถึงตราบเท่าทุกวันนี้ โดยการประกอบการบุญกุศล คุณความดี รู้รัก รู้สามัคคี ช่วยกันปกป้องรักษาสถาบันหลักทั้ง 3 คือ ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่ทุกพระองค์และให้แก่ทุกท่าน ให้ทุกพระองค์และทุกท่าน ได้เสวยสุขสมบัติในสัมปรายภพ ก็จะยังความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต และความสันติสุขอย่างมั่นคงแก่ชีวิตตน ครอบครัว และประชาชนทั้งประเทศตลอดกาลนาน

    ในปีพุทธศักราช 2491 หลวงปู่โง่น โสรโย แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตรได้รับกิจนิมนต์จาก พระมหาปีตะโก ภิกขุ ให้ไปช่วยงานด้านประติมากรรม ซ่อมแซมรูปลายฝาผนัง ที่เมืองพะโค (หงสาวดี) ประเทศพม่า ในขณะนั้น ประเทศพม่ามีเหตุการณ์ทางการเมืองภายใน เกี่ยวกับสมณศักดิ์พระภิกษุ หลวงปู่โง่น พลอยต้องอธิกรณ์โทษการเมืองไปด้วย กลับเมืองไทยไม่ได้ ระหว่างถูกกักบริเวณ ท่านใช้เวลาในการฝึกจิต กำหนดตัวแฝง และพลังแฝงในกายได้ สามารถติดต่อกับโลกวิญญาณ และได้เข้าถึงกระแสพระวิญญาณที่สื่อสารต่อกัน กล่าวว่า ท่านเคยเป็นนายทหารช่าง สร้างบ้านเรือน ทั้งยังเคยถูกพม่ากวาดต้อนไป พร้อมกับพระนางในครั้งนั้น เคยเป็นข้ารับใช้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี พระสุพรรณกัลยา ได้ขอร้องให้หลวงปู่โง่น ช่วยแก้พันธนาการทางไสยศาสตร์ เพื่อดวงพระวิญญาณของพระองค์ จะได้กลับไปเมืองไทย และให้นำภาพลักษณ์ของพระองค์ อันเกิดจากกระแสพระวิญญาณ เผยแพร่ให้แก่ชาวไทย ผู้ลืมพระองค์ท่านไปแล้ว พระองค์จะกลับมาทำคุณประโยชน์ ช่วยเหลือประเทศชาติ ทั้งยังปณิธาน จะกลับมาอุบัติเป็น เจ้าหญิง
     
  11. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ครับ คุณทางสายธาตุ ท่านแม่ทัพรวมศักดิ์ ท่านเคยเป็นแม่ทัพภาคที่ ๓

    ที่พิษณุโลก ท่านทรงความรู้เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรและพม่ามากครับ

    ยังมีอีกท่านหนึ่ง คือท่านอาจารย์ จุรินทร์ เหลือนาค ท่านเคยเป็นอาจารย์

    โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นนายทหารเรือ ยศนาวาเอก ปัจจุบันท่านพำนัก

    อยู่ที่พิษณุโลก ทราบว่าท่านก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จท่านอยู่ไม่น้อย
     
  12. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    <table class="tborder" width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 27 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 26 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> <center"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </center"></td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> โมเย+

    อนุโมทนา กับท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ
    </td></tr></tbody></table>
     
  13. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    .......................

    "พระพี่นางสุพรรณกัลยาณี ผู้ทรงมีอุปการคุณต่อการกู้ชาติกู้แผ่นดินร่วมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระอนุชา และบุรพชนของชาวไทย ด้วยความเสียสละแม้พระชนม์ชีพ จึงนับเป็นบุพพการีบุคคล ที่ชาวไทยควรระลึกนึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของทั้งสองพระองค์ กับด้วยทั้งบูรพกษัตราธิราชเจ้า และบุรพชน ที่ช่วยกันกอบกู้อิสรภาพของชาติ ช่วยทำนุบำรุง และสืบต่อผืนแผ่นดินไทยและบวรพระพุทธสาสนา ให้ยืนยาวมาถึงชาวไทยทั้งประเทศ ให้ได้อยู่เย็นเป็นสุขจนถึงตราบเท่าทุกวันนี้ โดยการประกอบการบุญกุศล คุณความดี รู้รัก รู้สามัคคี ช่วยกันปกป้องรักษาสถาบันหลักทั้ง 3 คือ ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่ทุกพระองค์และให้แก่ทุกท่าน ให้ทุกพระองค์และทุกท่าน ได้เสวยสุขสมบัติในสัมปรายภพ ก็จะยังความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต และความสันติสุขอย่างมั่นคงแก่ชีวิตตน ครอบครัว และประชาชนทั้งประเทศตลอดกาลนาน "

    ........................................


    อนุโมทนา สาธุ ขอรับ
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระพี่นางของคนไทย

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD><CENTER>พระพี่นางของคนไทย

    </CENTER>

    [​IMG]


    พระพี่นางสุพรรณกัลยา


    ณ ค่ายโสณบัณฑิตย์ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

    คนไทยรู้จัก"พระพี่นาง" 2 องค์
    พระพี่นางองค์แรกที่คนไทยรู้จัก แม้อาจจะเป็นเพียง"ประวัติศาสตร์" แต่เมื่อหลายปีก่อน พระองค์ก็เป็น"พระพี่นาง"ที่คนไทยกล่าวถึงมากที่สุด นั่นคือ พระพี่นางสุพรรณกัลยา

    และพระพี่นางพระองค์ล่าสุดที่เราเคารพกันมาก คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

    ความเหมือนของพระพี่นางฯทั้ง 2 พระองค์คือเป็น"พี่สาว"ของพระมหากษัตริย์ไทยถึง 2 พระองค์
    พระพี่นางสุพรรณกลัยา เป็น"พี่สาว"ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรส
    ส่วนสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ คือ"พี่สาว"ของในหลวงรัชกาลที่ 8 และในหลวงองค์ปัจจุบันของคนไทย

    ผมอยากเขียนถึงพระพี่นางฯพระองค์แรกในวันที่เรากำลังรำลึกถึงพระพี่นางฯพระองค์หลัง
    กล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์แห่งการกอบกู้เอกราชของชาติไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะไม่สมบูรณ์เลย หากมิได้เอ่ยพระนาม"พระพี่นางสุพรรณกัลยา" ซึ่งเป็นพระพี่นางในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช องค์กอบกู้เอกราชของชาติไทย
    ขณะเดียวกัน เมื่อหลายปีก่อน สังคมไทยได้รับรู้เรื่องราวของพระพี่นางฯอย่างแพร่หลายจนเกิดกระแสสังคม"นิยมพระพี่นางฯ"อย่างรุนแรงและรวดเร็วในช่วงปี 2539-2542

    ใครอยากเคารพพระพี่นางฯสุพรรณกลัยา นอกจากที่เมืองพิษณุโลก และสุพรรณบุรีแล้ว ก็มีอีกที่ที่รู้จักกันดี นั่นคือที่เมืองปายหรืออำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

    โดยประวัติศาสตร์เมืองปาย เข้ามาเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระพี่นางสุพรรณกัลยา เมื่อประมาณ 400ปีก่อน
    พงศาวดารฉบับหอแก้ว จารึกว่าในปี พ.ศ.2142 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีได้แล้ว ก็ทรงยกทัพไปล้อมเมืองตองอูอยู่นาน 2 เดือน และทรงเห็นว่าการศึกครั้งนี้คงไม่สามารถตีเมืองตองอูได้แน่ จึงทรงยกกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ผ่านทางเมืองปาย

    ในการยกกองทัพกลับมากรุงศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงนำพระอัฐิของพระสุพรรณกัลยา พระพี่นางฯที่ทรงสิ้นพระชนม์ที่เมืองหงสาวดีกลับมาด้วย และเมื่อทรงยกกองทัพพ้นเขตแดนพม่าแล้ว ก็ทรงหยุดพักกองทัพที่เมืองปาย
    ในคืนนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระสุบินนิมิตว่า พระสุพรรณกัลยาได้เสด็จมาพบ แล้วตรัสว่าตัวพระองค์เปรียบเสมือนคนสองแผ่นดินที่มีความผูกพันทั้งไทยและพม่า ประสงค์จะประทับ ณ ดินแดนแห่งนี้

    พระพี่นางฯหมายถึงเมืองปาย..ที่อยู่ระหว่างไทยกับพม่า


    [​IMG]


    เจดีย์บรรจุอัฐิพระพี่นางสุพรรณกัลยา


    ณ วัดน้ำฮู อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน



    [​IMG]


    อนุสาวรีย์พระนเรศวรฯที่เดียวกัน



    จากพระสุบินนิมิตดังกล่าว สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงทรงหยุดพักกองทัพอยู่ที่เมืองปายเป็นเวลา 32 วัน และทรงสร้างพระเจดีย์ เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระสุพรรณกัลยาไว้ที่วัดแห่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน คือวัดน้ำฮู และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง คือ พระพุทธรูปอุ่นเมือง เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่พระสุพรรณกัลยา ตามพระสุบินนิมิตทุกประการ

    ปัจจุบัน พระพุทธรูปองค์นี้ ยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดน้ำฮู



    และเมื่อทรงยกกองทัพกลับพระนครศรีอยุธยา พระนเรศวรได้ทรงโปรดให้หลวงนาแล ข้าราชบริพานในพระองค์อยู่ดูแลความสงบเรียบร้อย และปูชนียวัตถุที่สร้างขึ้น

    ล่าสุด จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขึ้นที่สถานที่แห่งนี้ เมื่อวันพุธ แรม 2 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2538

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2540



    [​IMG]



    ทั้งนี้ วัดน้ำฮู อยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลเวียงใต้ ห่างจากตัวอำเภอไปทางโรงพยาบาลปายประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานของพระอุ่นเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม (ศิลปะล้านนา) ปางมารวิชัยทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ มีลักษณะพิเศษคือพระเศียรกลวง พระโมฬีปิดเปิดได้และมีน้ำซึมออกอยู่เสมอ
    ประวัติการสร้างไม่แน่นอน แต่เชื่อกันว่าสร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นพระราชกุศลถวายพระพี่นางพระสุพรรณกัลยา และนักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปนมัสการพระอุ่นเมือง วัดก็เปิดให้เข้านมัสการทุกวัน

    งานศึกษาวิจัยเรื่อง"พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์" โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ระบุว่า เอกสารต้นเค้าของเรื่องราวพระสุพรรณกัลยา มาจากหลักฐาน 2 ประเภท คือประเภทที่ 1 พงศาวดารซึ่งเป็นหลักฐานของฝ่ายพระราชสำนัก โดยพระมหากษัตริย์โปรดให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตประชุมชำระขึ้น ประเภทที่ 2 คือการส่งผ่านเรื่องราวโดยการบอกเล่า เช่นคำให้การชาวกรุงเก่าที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปพม่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2310 ซึ่งคำบอกเล่านี้จะอยู่ห่างไกลจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสมัยที่พระพี่นางฯมีพระชนม์ชีพอยู่เกือบ 200 ปี ดังนั้นชุดข้อมูลที่ส่งผ่านมาเป็นทอดๆหลายรุ่นหลายชั่วอายุคน เมื่อส่งมาถึงคนที่อยู่ห่างไกลออกไป 200 ปี จึงอาจมีความคลาดเคลื่อน เสริม เพิ่ม แต่งเติมไปจากชุดต้นฉบับไม่มากก็น้อย

    จากการวิจัยพบอีกว่า พงศาวดารพม่าได้บันทึกเรื่องพระสุพรรณกัลยาไว้ แต่ตรงกันข้ามพงศาวดารไทยกลับไม่ได้บันทึก ส่วนเรื่องราวของพระพี่นางสุพรรณกัลยากลับไปปรากฏในหลักฐานไทยประเภทคำให้การของชาวกรุงเก่า และคำให้การของขุนหลวงหาวัด โดยทั้ง 2 คำให้การมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกัน และได้บันทึกไว้ในคราวเสียกรุงศรีฯครั้งที่ 2

    คำให้การของชาวกรุงเก่า หรือ โยธยา ยาสะเวง ในภาษาพม่าระบุว่า "พระเจ้าหงสาวดี(พระเจ้านันทบุเรงซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบุเรงนองและครองราชย์ต่อจากพระเจ้าบุเรงนอง)ยังไม่คลายพิโรธ จึงใช้พระแสงดาบฟันพระธิดาน้อย อันเกิดแต่จันทกัลยาพระพี่นางพระนริศกับพระเจ้าหงสาวดีเอง(พระเจ้านันทบุเรง)จนสิ้นพระชนม์(ข้อสังเกตในคำให้การฯนี้ พระเจ้านันทบุเรง ฟันเฉพาะพระธิดาน้อย อันเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของพระเจ้านันทบุเรงเอง ไม่ระบุว่าฟันพระพี่นางสุพรรณกัลยาแต่อย่างใด)

    ส่วนคำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่า "ส่วนพระเจ้าหงสา(พระเจ้านันทบุเรง)ก็ทรงพระโกรธยิ่งนัก ก็เสด็จเข้าไปในพระราชฐานจึงเห็นองค์พระพี่นางพระนเรศร์นั้นประทมอยู่ในพระราชโอรส เสวยนมอยู่ที่ในที่ พระเจ้าหงสาจึงฟันด้วยพระแสง ก็ถูกทั้งพระมารดาและพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ ก็ถึงแก่ความพิราลัยไปด้วยกันทั้งสององค์ ด้วยพระเจ้าหงสาทรงพระโกรธยิ่งนักมิทันที่จะผันผ่อนได้"้(ข้อสังเกต ในคำให้การนี้ พระเจ้านันทบุเรงฟันทั้งพระราชโอรส(ไม่ใช่พระธิดา?) และพระพี่นางสุพรรณกัลยา ถึงแก่พิราลัยทั้ง๒ พระองค์)

    ข้อแตกต่างในรายละเอียดนี้ นักประวัติศาสตร์พม่า อู เตง ลาย รองหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยร่างกุ้ง เชื่อว่าพระสุพรรณกัลยา แท้จริงแล้วไม่ได้ถูกพระเจ้านันทบุเรงสังหาร ผู้ที่ถูกสังหารเป็นเพียงพระธิดาน้อยอันเกิดแต่พระนางกับกษัตริย์พม่า(ซึ่งอาจเป็นทั้งพระเจ้าบุเรงนอง และ/หรือ พระเจ้านันทบุเรงก็ได้) เนื่องจากหลักฐานว่าด้วยวาระสุดท้ายของของพระพี่นางสุพรรณกัลยา มีระบุไว้แต่เพียงหลักฐานประเภทคำให้การเชลยศึก ซึ่งยังมีรายละเอียดระบุไว้ต่างกันไป ทั้งฉบับต้นเค้ามาแต่ฝ่ายมอญ และฉบับต้นเค้ามาแต่ฝ่ายพม่า จึงยากที่จะระบุให้แน่ชัดว่า พระพี่นางสุพรรณกัลยา แท้จริงแล้วสิ้นพระชนม์ด้วยลักษณะใด? และด้วยเหตุปัจจัยอันใด?

    แต่ประวัติพระพี่นางสุพรรณกัลยา โดดเด่นในฐานะองค์ประกันผู้เสียสละแม้พระชนม์ชีพ เพื่อกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้แก่ชาติไทย

    โดยในพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เขียนได้ความว่า ".....เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงปราบดาภิเษกแล้ว ก็ถวายพระสุพรรณกัลยาณีแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเมื่อประทับอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา นั้น พระเจ้าหงสาวดีได้พระพี่นางเป็นพระชายาเหมือนอย่างเป็นตัวจำนำแทนแล้วก็อนุญาตให้สมเด็จพระนเรศวรอยู่ช่วยสมเด็จพระชนกปกครองบ้านเมือง.....หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หากพระพี่นางสุพรรณกัลยา ไม่ยอมไปหงสาวดีเพื่อแลกเปลี่ยนกับสมเด็จพระนเรศวรฯที่ตกอยู่ในฐานะ"ตัวประกัน" กระนั้นแล้วสมเด็จพระนเรศวรฯ ก็ไม่อาจกลับมาเมืองไทยเพื่อกู้ชาติได้ ดังนั้น การเสียสละของพระพี่นางฯจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่การกอบกู้เอกราช.."

    วันนี้...พระพี่นางฯทั้ง 2 พระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัยไปแล้ว แต่ทั้ง 2 พระองค์ ยังทรงสถิตอยู่ในใจไทยทั้งชาติ...ตลอดไป
    ขอบคุณภาพจากเวบนเรศวร




    </TD></TR><TR><TD align=right>โดย ลูกเสือหมายเลข9</TD></TR></TBODY></TABLE>​

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2009
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เพลง เทิดไท้ พระสุพรรณกัลยา

    [​IMG]



    เทิดไท้ พระสุพรรณกัลยา


    เนื้อร้อง/ทำนอง/ ขับร้อง กัญญนัทธ์ ศิริ

    ดนตรี กฤษดา เครือนวล

    ใจโอ้ใจ ต้องจำพราก ไกลจากจร

    จากถิ่นฟ้าเคยนอน ต้องจำจร ไกลร้างห่างเมือง

    ไกล ..โอ้ ไกล แผ่นดินถิ่นกำเนิดมา

    ห่วงรักในอนุชา มุ่งสู่หงสา ชีพเป็นเดิมพัน

    ต้องยอมสละสิ้นแล้วทุกสิ่ง ต้องละวางทิ้งสุขนับคณา


    หยดริน ไหลหยาด น้ำตา เพื่อสุขประชาไพร่ฟ้าสราญ

    กู่ร้อง หาใครได้ยิน ดั่งเหมือน ฟ้าฟาดธรณิน
    ชีพดับแดสิ้น โอ้ อนิจจา

    จบสิ้นสุดแล้ว พันธนา ปวงราชประชา ร่ำหาอาวรณ์

    เทิดไท้ น้ำใจแม่เอย เปรียบเหมือนเพชรงาม เรืองวาว

    เด็ดเดี่ยว แกร่ง กร้าว กล้าหาญ หยัดยืน

    ชีพแม่สูญสิ้นผ่านกาล นานคืน ยังไม่สิ้นสูญ แซ่ซ้อง ศรัทธา

    สุพรรณกัลยา สุพรรณกัลยา สุพรรณกัลยา สุพรรณกัลยา

    ขวัญเอย แม่อยู่แห่งไหน กลับฟ้าเมืองไทย อโยธยา

    เห่กล่อม ขวัญแม่นิทรา แม่สุข เถิดหนา ในนฤพาน

    มา..ฮืม....แม่มา ปวงราช ประชา จักขอ กราบกราน

    สิ้นภพ มิสิ้นตำนาน ก้องกู่ กล่าวขาน ความดีแม่เอย

    สุพรรณกัลยา สุพรรณกัลยา สุพรรณกัลยา สุพรรณกัลยา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2009
  16. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ถ้าเราจะมาวิเคราะห์ในเรื่องของการบันทึกรวมทั้งตัวผู้บันทึกเหตุการณ์

    ในประวัติศาสตร์ ผู้บันทึกเหตุการณ์แทบจะทั้งนั้นไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์

    แม้กระทั่งผู้รู้เห็นเหตุการณ์ก็แทบจะเหลือรอดมาน้อยมาก ส่วนใหญ่จึง

    น่าจะเป็นการซักถามและรวบรวมจากคำบอกเล่าบ้าง จากคำเล่าลือ และ

    โจษจรรย์กันเสียมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้นผู้บันทึกของฝ่ายใดก็ย่อมจะคำ

    นึงถึงชื่อเสียงและเกียรติยศของพวกพ้องและของชาติตนเป็นสำคัญ

    เรื่องที่จะเสียหายและทำลายชื่อเสียงและเกียรติยศของฝ่ายตนก็ย่อมจะ

    เว้นเสียหรือไม่กล่าวถึง ข้อนี้ย่อมเป็นธรรมดา หลักฐานของทางฝ่ายพม่า

    จึงเลี่ยงที่จะไม่เขียนให้ชัดเจนว่า พระเจ้านันทบุเรงได้สังหารพระพี่นาง

    สุพรรณกัลยาหรือไม่ และเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้มีการปล่อยข่าวว่าได้มีการ

    ขุดพบหลักฐานที่อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นที่ฝังพระศพของพระพี่นางสุพรรณ

    กัลยา แต่อย่างไรก็ตามหากมีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าพระเจ้า

    นันทบุเรงได้มีการสังหารผู้ที่ติดตามและร่วมรบกันกับพระมหาอุปราชจริง

    แล้ว ก็น่าจะเชื่อได้ว่าเหตุการณ์อย่างเดียวกันนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้กับพระพี่นาง

    สุพรรณกัลยา ในฐานะที่เป็นทั้งคนไทยและเป็นพระพี่นางของสมเด็จพระ

    นเรศวรมหาราชเจ้า ผมคิดอย่างนั้นนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2009
  17. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    [​IMG]
     
  18. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    สวยงามมากครับ พี่โม เจดีย์ที่เรียงรายกันอยู่ด้านหลัง มองดูเหลืองคล้ายทอง

    หรือว่าเป็นทองจริงๆ เขาว่าตอนกรุงแตก พม่าขนทรัพย์สมบัติโดยเฉพาะทอง

    ไปมากมาย ถึงขนาดเผาลอกกันตามเจดีย์ต่างๆจนหมดสิ้น อนิจจังนะขอรับ
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ปุ่มอนุโมทนาไม่มี จึงขออนุโมทนากับทุกๆท่านนะคะ

    ช่วงนี้ทางสายธาตุอาจไม่โพสอะไรเพิ่มเติมเพราะตัดสินใจไม่โพสจิ้มก้องและกำไรต่อแล้วด้วยเหตุผลที่เคยแจ้งไว้ค่ะ

    ตอนนี้จะรวบรวมเรียบเรียงข้อความอันเกี่ยวเนื่องกับวัดวรเชษฐ์ ที่เป็นหลักฐานบ่งชี้ความเป็นวัดป่าแก้ว และเป็นวัดที่สร้างในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถขึ้นใหม่

    และจะรวบรวมข้อเขียนอันมีหลักฐานอันเกี่ยวเนื่องจากสมมติฐานว่า แม่อิน แห่งเกาะบ้านเลนคือพระนามแฝงของเจ้าขรัวมณีจันทร์

    โดยมีสมมุติฐานว่าเจ้าขรัวมณีจันทร์ทรงมีพระธิดาองค์โตคือ เจ้าแม่วัดดุสิต พระนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    และทรงมีพระโอรศองค์เล็กคือ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

    ครั้งนี้เป็นการเขียนบทความครั้งแรกที่ไม่มีต้นแบบมาก่อน จะต้องตั้งต้นเขียนขึ้นเองทั้งสิ้นตั้งแต่ต้น ซึ่งจะพยายามเขียนให้อ่านง่ายที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

    อันสมมุติฐานก็ยังมิอาจบอกได้ว่าจริงหรือไม่จริง เพียงแต่ได้พยายามหาหลักฐานแวดล้อมเท่าที่หาได้มาประกอบสมมุติฐานนั้น เช่น แผนที่ พงศาวดาร จดหมายเหตุ เป็นต้น

    ทั้งหมดเมื่อเขียนเสร็จแล้วจะถวายพระอาจารย์สิงห์ทน นราสโภโปรดพิจารณา หากว่าท่านไม่เห็นควรจะกลับมาบอกในกระทู้ หากท่านว่าเห็นควรจะถวายบทความนี้แก่ท่านไปเลยค่ะ



    (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านค่ะ)
     
  20. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210

    เป็นอนิจจัง จริงๆจ้าน้องฟอร์ท
    เวลาผ่านมาเนิ่นนาน สงคราม ได้ยุติลงแ้ล้ว



    เหลือไว้เพียงความทรงจำที่ เหล่าชนรุ่นหลังต้องรำลึกและสดุดีในวีรกรรมของ บรรพชน และบูรพมหากษัตริย์ ทุกพระองค์ที่กู้แผ่นดินนี้ไว้ให้ลูกหลาน


    ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมาในอดีต ให้ถือเป็นอโหสิกรรม
    เพื่อ ให้ปัจจุบันของประเทศไทย เต็มไปด้วยความร่มเย็นอีกครั้งค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...