ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    เที่ยวอยุธยาชมภาพมุมสูง

    วันเสาร์ ที่ 09 มกราคม 2553 เวลา 0:00 น






    [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]


    [​IMG]



    เพลินสีสันท้องฟ้ายามเย็น

    “จากเส้นทางบิน เดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมืองไปทางด้านทิศตะวันตก เมื่อมองลงมาด้านล่าง นอกเหนือจากภาพเมืองในมุมสูง ทัศนียภาพกรุงเทพฯ กว้างไกล ยังมองเห็นสายน้ำเจ้าพระยาไหลคดเคี้ยวสวยงามแปลกตา”

    อีกจังหวัดที่มีสีสันการท่องเที่ยวพักผ่อน อีกทั้งไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครด้วยใช้เวลาเดินทางไม่นาน พระนครศรีอยุธยา หรือที่เรียกขานกันว่า อยุธยา จังหวัดแห่งนี้เป็นที่กล่าวขานกันทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

    เมื่อได้มาเยือนนอกเหนือจากจะได้สัมผัสโบราณสถาน วัดเก่าแก่มากมายซึ่งแต่ละสถานที่นั้นมีประวัติศาสตร์ ทรงคุณค่าแล้วยังสามารถสัมผัสชื่นชมความงามของงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม พร้อมทั้งวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีโดดเด่น

    ในการเดินทางไปถึงไม่เพียงเส้นทางรถยนต์ที่คุ้นเคย อีกสีสันที่มีเสน่ห์เพลิดเพลินกับแหล่งท่องเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ ด้วยการเที่ยวชมทิวทัศน์สัมผัสภาพมุมสูง ส่งตะวันลับขอบโค้งท้องฟ้าในช่วงเวลาเย็นอาจจะเป็นอีกคำตอบ ทางเลือกการพักผ่อนเติมต่อประสบการณ์การเดินทาง

    ขณะที่ท้องฟ้าแต่ละช่วงเวลามีความงามแปลกตาปรากฏให้ชื่นชมต่างกันไป อีกทั้งยังมีความหมายเพิ่มพูนทักษะจินตนาการเรียนรู้และจากเส้นทางเที่ยวเหินฟ้าไปกับเครื่องบินเล็ก ชมวิวสัมผัสท้องฟ้าใกล้ชิดยามเย็นจากที่ผ่าน มาในรูปแบบที่ บางกอก เอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด แนะนำ ซึ่งไม่เพียงเปิดเส้นทางนำคณะสื่อมวลชน สัมผัสทิวทัศน์มุมสูงด้วยรูปแบบการเดินทางดังกล่าว ประสบการณ์ใหม่บนเที่ยวบินยังพร้อมให้สมาชิกครอบครัว เพื่อนสนิทคนรู้ใจหรือผู้ที่มีความใฝ่ฝันสนใจในเรื่องการบินสามารถร่วมเดินทางในรูปแบบดังกล่าวได้

    ในเส้นทางการบินจะเริ่มขึ้นช่วงเวลาเย็นก่อนพระอาทิตย์จะลับฟ้าเป็นอีกช่วงเวลาดีที่จะได้ชมแสงสีส้มอ่อนตา ชมความงามของพระอาทิตย์ก่อนลับขอบฟ้าโดยไม่มีอะไรบดบังและจากเส้นทางบินเดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมืองไปทางด้านทิศตะวันตก เมื่อมองลงมาด้านล่างนอกเหนือจาก ภาพเมืองในมุมสูงทัศนียภาพกรุงเทพฯกว้างไกลยังมองเห็น สายน้ำเจ้าพระยาไหลคดเคี้ยวสวยแปลกตา

    เกาะเกร็ด เกาะที่มีประวัติกล่าวมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาซึ่งเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเรียก กันว่าคลองลัดเกร็ดน้อยและ ต่อมาเมื่อกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้น กัดเซาะตลิ่งทำให้คลองขยายผืนดินตรงแหลมกลายเป็นเกาะ

    จากเส้นทางดังกล่าวไม่เพียงได้ชมเมืองบรรยากาศยามเย็น ช่วงบินกลับก่อนสิ้นสุดเส้นทางเที่ยวยังได้สัมผัสอีกบรรยากาศของกรุงเทพฯ ยามราตรีที่มีสีสันของแสงไฟชวนชมแปลกตาไปอีกรูปแบบหนึ่ง และนอกจากการเที่ยวชมกรุงเทพฯ ทางอากาศที่กล่าวมา มีอีกเส้นทางที่เครื่องบินเล็กพาไปชมความงามทิวทัศน์มุมสูงของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    ซึ่งขณะที่เครื่องบินทะยานขึ้นสู่ฟ้าไกลจากเมืองออกไปสามารถผ่อนคลายพักสายตาได้กับความเขียวของแปลงนา ภาพแม่น้ำคดเคี้ยวราวกับภาพวาด อีกทั้งยังได้ชมเมืองมองเห็นพระราชวังบางปะอินฯลฯ เช่นเดียวกับช่วงบินกลับก็จะได้ชมสีสันกรุงเทพฯในมุมสูงยามค่ำคืน

    จากความแปลกตาของท้องฟ้าแต่ละวัน แต่ละช่วงเวลาซึ่งต่างก็มีความน่าสนใจ และดังที่กล่าวมาเป็นอีกมุม มองการชมพระอาทิตย์ที่ไม่ ถูกบดบังจากตึก หลังคาโดยเฉพาะเมื่ออยู่ในเขตเมืองฯลฯ ขณะเดียวกันในพื้นที่กรุงเทพฯยามค่ำคืนที่มีการเปิดไฟทั้งบนถนน บ้านเรือน ในภาพมุมสูงสิ่งที่จะได้เห็นเหมือนกับดวงดาวปรากฏอยู่บนพื้นดินซึ่งก็เป็นอีกเสียงบอกเล่าจากผู้ร่วมเดินทาง

    การท่องเที่ยวรูปแบบดังกล่าวยังมีความหมายต่อการเรียนรู้ต่อเติมฝันสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ หนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่มีความสนใจรวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันในครอบครัวซึ่งก็อาจจะเป็นอีกคำตอบช่วยตัดสินใจเลือกเดินทาง

    จากที่กล่าวสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นโบราณสถาน มีวัดทั้งในเขตเมือง และนอกตัวเมือง อีกทั้งยังมีพระราชวังที่มีชื่อเสียง ด้วยภูมิประเทศซึ่งเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่านทั้ง แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ แม่น้ำป่าสัก ไหลผ่านทางทิศตะวันออกและ แม่น้ำลพบุรี ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือ แม่น้ำทั้งหมดไหลมาบรรจบกันล้อมรอบพื้นที่เมืองซึ่งจะเห็นว่ามีบ้านเรือนปลูกเรียงราย หนาแน่นตามสองข้างฝั่งแม่น้ำถ่ายทอดภาพวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำมาเนิ่นนาน

    ในการเดินทางไปถึงพระนครศรีอยุธยาสามารถเลือกได้หลายรูปแบบ อย่าง เส้นทางเที่ยวทางอากาศนี้ นอกจากจะเห็นภาพสายน้ำที่ไหลผ่าน ภาพมุมสูงที่ได้เห็นยังมีบรรยากาศของตัวเมือง โบราณสถานซึ่งมีประวัติศาสตร์ทรงคุณค่าหลายสถานที่ พระราช วังบางปะอิน เป็นอีกสถานที่ที่มองเห็นได้ในมุมสูงแต่หากใช้เส้นทางรถยนต์ หรือล่องเรือมาเที่ยวชมสถานที่นี้ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ก็จะได้ชื่นชมเพลิดเพลินไปกับศิลปกรรม สถาปัตยกรรมงดงาม

    พระราชวังบางปะอินตามที่มีข้อมูลบอกเล่า สถานที่นี้เป็นพระราชวังโบราณมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาสร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ช่วงหนึ่งถูกปล่อยร้าง และก็กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งเมื่อสุนทรภู่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีและได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เริ่มการบูรณะพระราชวังขึ้นและในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณะครั้งใหญ่สร้างพระที่นั่ง พระตำหนักต่าง ๆ ดังปรากฏในปัจจุบันฯลฯและนอกจากสถานที่นี้ พระนครศรีอยุธยาเมืองที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมา ยาวนาน อีกทั้งการเดินทางไปได้สะดวกและมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย ที่นี่จึงเป็นจุดหมายการเดินทางไปถึงของเหล่านักท่องเที่ยวตลอดมา.

    สีสันรายทาง

    การเดินทาง พระนครศรีอยุธยาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 76 กิโลเมตรเดินทางไปถึงได้ ทั้งรถยนต์ รถไฟ รถโดยสารประจำทาง รวมทั้งการเดินทางทางน้ำเที่ยวทางเรือ ซึ่งก็เป็นที่นิยมไม่น้อย อย่างในเส้นทางรถยนต์มีหลายเส้นทางสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธินผ่านประตูน้ำพระอินทร์แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือจะเดินทางด้วยรถไฟก็ได้ โดยใช้บริการรถไฟที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีบริการทุกวันขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยาและอำเภอภาชี

    ของฝาก นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถาน วัดต่าง ๆ มากมายทั้งในเขตตัวเมือง นอกตัวเมืองที่มักไม่พลาดไปเยือนได้แก่ วัดไชยวัฒนาราม วัดใหญ่ชัยมงคลหรือจะเลือกเพลิดเพลินเที่ยวศึกษาประวัติศาสตร์ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ฯลฯ หากมองหาของฝากนอกจาก โรตีสายไหม ที่มีชื่อยังมีงานหัตถกรรมจักสาน หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ตะกร้าของใช้ในครัว พัดสาน ปลาตะเพียน ฯลฯ ซึ่งก็มีมากมายให้เลือกหา.

    ทีมวาไรตี้






    ขอขอบคุณ Daily News Online
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2010
  2. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    พบภาพที่น่าสนใจเกี่ยวกับเมืองกึ๊ด เลยขออนุญาตก็อปมาฝากเพิ่มเติมจากที่

    คุณโมเย ได้กรุณานำเสนอไว้ก่อนหน้านี้แล้วครับ





    [​IMG]


    แหล่งที่มา : �����¾�й����� ��괪�ҧ - ���ͧ�ͧ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2010
  3. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    [​IMG]



    [​IMG]



    วัดเมืองกึ๊ด
     
  4. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    [​IMG]

    [​IMG]


    ต้นโพธิ์ อายุ 400ปี
     
  5. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    [​IMG]




    อนุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชองค์อุปถัมภ์ศาสนาทุกศาสนา

    ได้ตามหาร่องรอยพระราชประวัติบางส่วนของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจากชื่อของบาทหลวง Jorge de Mota ได้ข้อมูลดังนี้ค่ะ


    เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงทำสงครามกับประเทศเขมร พระองค์ได้ทรงเอาชนะเมืองละแวกได้ บรรดามิชชันนารีที่ทำงานอยู่ในเขมรได้ตกอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ด้วย พวกท่านเหล่านี้ได้ถูกบังคับให้ต้องติดตามพระองค์ในฐานะเชลยศึกกลับมายังประเทศไทย พวกพระสงฆ์เหล่านี้ได้รับความยากลำบากมาก ณ ที่นี้ พระญาณสอดส่องก็ได้ช่วยให้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากองค์พระมหากษัตริย์ เฉพาะอย่างยิ่งในบรรดาพวกท่านเหล่านี้ มีคุณพ่อองค์หนึ่ง คือ คุณพ่อ ชอรเก ดา โมตา กับเพื่อนของท่านคนหนึ่งชื่อ ดีเอโก แบลโลโซ ได้ทูลขอสมเด็จพระนเรศวรผู้เป็นเจ้า ให้ทรงปล่อยพี่น้องผู้ร่วมงานคนอื่นๆ พร้อมทั้งชาวโปรตุเกสที่เป็นเชลยศึกให้ได้รับอิสรภาพหลังจากได้ดำเนินเรื่องค่าไถ่ถอนเชลยศึกจากมะนิลาในนามของพระมหากษัตริย์ได้เรียบร้อยแล้ว คุณพ่อชอรเกก็ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวรเพื่อทูลรายงาน องค์พระมหากษัตริย์ได้ทรง พอพระทัยอย่างลึกซึ้ง ได้ประทานสิทธิพิเศษและเกียรติเป็นอันมากให้แก่คุณพ่อ ถึงกระนั้นความสัมพันธ์อันดีเลิศนี้ก็ยังอยู่ได้ไม่นาน และโอกาสอันดีที่จะสอนพระวรสารได้ก็หมดไปด้วย เพราะความทรยศของนายเบลโลโซชาวโปรตุเกส เพื่อนของคุณพ่อชอรเก ซึ่งพระมหา กษัตริย์ได้ทรงโปรดให้ไปยังเมืองมะนิลาในฐานะเป็นทูตผู้หนึ่ง และต่อมาได้หาทางเข้าประจบ ประแจงเพื่อให้ได้รับความโปรดปรานและความช่วยเหลือจากกษัตริย์ เป็นสาเหตุให้พระมหา กษัตริย์ไทยทรงแสดงความเป็นมิตรกับชาวโปรตุเกสน้อยลง

    อันที่จริง ในเวลานั้นมีชายผู้หนึ่งชื่อ ซูซา ได้ตำหนิเขาเรื่องความประพฤติของพวกพ่อค้าชาวโปรตุเกส และพระมหากษัตริย์ก็ได้ทรงห่างเหินกับเขาอย่างตลอดมา พระองค์ได้ทรงห้ามมิให้สอนพระวรสารซึ่งกำลังจะได้ผลอยู่แล้ว คุณพ่อหลุยส์ ดา ฟอนเซกา ได้เคยโปรดศีลล้างบาปให้แก่สตรีที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นภรรยาของพ่อค้าชาวญี่ปุ่น สาเหตุนี้ทำให้เกิดเรื่องร้ายแรงขึ้นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อชาวญี่ปุ่นพ่อค้าผู้นั้นรู้ถึงการกลับใจของภรรยาตนเข้า เขาจึงโกรธเป็นฟืนเป็นไฟในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ เขาพร้อมด้วยเพื่อนชาวญี่ปุ่นบางคนได้เข้าไปในโบสถ์ และได้ฆ่ามิชชันนารีองค์นั้นถึงแก่ความตายหน้าพระแท่นนั้นเอง พวกโปรตุเกสได้รวมกันจับอาวุธป้องกันตัวและเพื่อแก้แค้นในการฆ่าครั้งนี้ คุณพ่อชอรเกเห็นว่าไม่มีอะไรที่จะสามารถทำต่อไปในเมืองไทยสำหรับเวลานั้นแล้ว ประกอบกับตัวท่านเองก็ได้รับบาดแผลในการวิวาทกันครั้งนั้นด้วย ดังนั้นท่านจึงได้ทูลขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อไปเยี่ยมเพื่อนร่วมงานของท่านผู้หนึ่งชื่อคุณพ่อจอห์น มัลโดนาโด ซึ่งอยู่บนเรือของสเปนที่วิ่งผ่านไปมาอยู่ และท่านได้ถือโอกาสไปยังมะละกาด้วย ในระหว่างนั้น พวกสงฆ์คณะโดมินิกันได้จัดเตรียมมิชชันนารีคนอื่นๆ ที่เมืองกัว และอินเดียเพื่อส่งมายังมิสซังไทย เนื่องจากระยะทางไกล และการคมนาคมก็ลำบากมาก พวกมิชชันนารีเหล่านี้ไม่ทราบถึงสถานการณ์ของมิสซังดังกล่าว หนึ่งปีต่อมาหลังจากความไม่สงบในเมืองไทย คือปี ค.ศ. 1600 ท่านอธิการใหญ่ของคณะโดมินิกัน คือ คุณพ่อเยโรนิโมดี ซันโดมินโกส ได้ส่งพระสงฆ์มาอีก 2 องค์ คือ คุณพ่อเปโดร โลบาโต และคุณพ่อเยโรนิโม มาสกาแรนอาส

    อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกที่อยู่มะละกาเหล่านี้มาถึงประเทศไทยแล้วจึงได้ทราบว่า คุณพ่อหลุยส์ ได้ถูกฆ่าตายแล้ว และคุณพ่อชอรเกซึ่งเคยถูกส่งมาในฐานะเป็นทูตสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ก็ได้สิ้นชีวิตไปแล้วด้วย บางทีอาจจะเป็นเพราะบาดแผลที่ได้รับเมื่อพวกญี่ปุ่นบุกเข้าวัดเมื่อคราวนั้นก็เป็นได้ ท่านคารโดโซ บุคคลผู้หนึ่งที่มีความรอบรู้ในสมัยนั้น ได้ตั้งวันเดือนปีของการเป็นมรณสักขีของคุณพ่อหลุยส์ดา ฟอนเซกา เป็นวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1600 พวกสงฆ์เหล่านี้มิได้ทิ้งความตั้งใจในการแพร่ธรรม อาจจะเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ในมะละกาได้เตือนพวกเขาว่า สถานการณ์ในราชอาณาจักรยังไม่สมควรจะปฏิบัติงานแพร่ธรรมในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่ยุ่งยากในการแพร่ธรรมก็ไม่อาจจะยับยั้งคณะโดมินิกันได้นานนัก พวกเขาได้หาวิธีอื่นเพื่อขจัดอุปสรรคให้ได้ต่อไป

    หลังจากคุณพ่อชอรเก ได้ไปยังมะละกาไม่นาน คุณพ่อคณะโดมินิกันองค์หนึ่ง คือ คุณพ่อแบคคีออร์ดา ลูซ ได้ลงมาที่มาร์ตาบัง ซึ่งเป็นช่องแคบเล็กๆ ของทะเลอันดามัน ปัจจุบันอยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า เจ้าเมืองซึ่งรู้จักพฤติการณ์ของคุณพ่อชอรเก ได้มอบท่านให้เจ้าหน้าที่ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงกริ้วในฐานะที่เข้าประเทศโดยมิได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตาม คุณพ่อแบคคีออร์ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งได้ทรงปกป้องท่าน และได้ประทานสิทธิพิเศษให้แก่ท่านหลายประการ พระองค์ทรงประทานอนุญาตให้มิชชันนารีเทศน์สอนได้ ยิ่งกว่านั้นพระองค์ทรงสร้างวัดสำหรับคุณพ่อและคริสตชนของท่านด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ กระทั่งเมืองมะละกาก็ยังได้รับน้ำพระทัยอันกว้างขวางจากพระองค์ด้วย โดยได้ทรงส่งเรือบรรทุกข้าวเต็มลำเพื่อไปช่วยเหลือชาวเมือง และทรงบริจาคสิ่งของแก่อารามที่นั่นด้วย นี่เป็นตัวอย่างประวัติศาสตร์ในระยะแรกๆ กล่าวถึงพระทัยอันกว้างขวางของกษัตริย์ไทย ผู้ทรงนับถือพุทธศาสนา ซึ่งเป็นประเพณีและปฏิบัติตลอดมาจนกระทั่งทุกวันนี้

    ในรัฐธรรมนูญไทยขนานนามพระมหากษัตริย์ว่าเป็นองค์อุปถัมภ์ศาสนาทุกศาสนา และทุกๆ ปี ผู้แทนของศาสนาต่างๆ ยกเว้นศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ได้รับพระราชทานให้เข้าเฝ้า พระองค์ทรงทราบและตระหนักถึงงานของพวกเขาอย่างลึกซึ้ง พระองค์ทรงสบพระทัยในการปฏิบัติในศาสนา สนับสนุนเขา และทรงบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือทั้งด้านศาสนาและงานกุศล กลับมากล่าวถึงคุณพ่อแบลคีออร์ด และความพยายามในการดำเนินงานแพร่ธรรมของท่านต่อไป ต้องสังเกตว่าคุณพ่อเป็นบุคคลที่กล้าหาญชาญชัยและมีหัวคิดอย่างยอดเยี่ยมผู้หนึ่ง ท่านไม่ต้องใช้ความพยายามมากนักในเรื่องเกี่ยวกับงานเผยแพร่พระคริสตศาสนา บางทีอาจจะเป็นเพราะความเป็นผู้กล้าหาญมีสติปัญญาและความไม่เกรงกลัวต่ออันตรายใดๆ ทั้งสิ้นนั้น ได้ดึงดูดให้สมเด็จพระนเรศวรทรงสบพระทัยมาก ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ตัวพระองค์ท่านเองก็มีอยู่อย่าง พร้อมมูล ฉะนั้น ชาวไทยจึงถือว่าพระองค์เป็นหนึ่งในบรรดากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย โดยขนานพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แม้เมื่อพระองค์ได้ทรงพระประชวรหนัก คุณพ่อแบล คีออร์ ก็ได้เสี่ยงกับความยุ่งยากและอันตราย เข้าไปในราชสำนักกรุงตะนาวศรี ปัจจุบันคือ ประเทศพม่า โดยเร่งด่วนในนามของมิชชันนารี และนี่ก็มิได้ทำให้ความช่วยเหลือของพระองค์ ลดน้อยลงไป เมื่อพระองค์ทรงฟื้นจากพระประชวร งานแพร่ธรรมนี้ได้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งยังผลให้บรรดามิชชันนารีองค์ต่อๆ มาสามารถเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ เราพบว่าคุณพ่อเปโดร โลบาโต และเปโดร มาสคาเรนอาส ซึ่งได้ทำงานอยู่ก่อนในมิสซังมะละกา ในรายชื่อของบรรดามิชชันนารีที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย ต่อมาก็มีคุณพ่อเยโรนิโม เดอ ซัน โดมินโกส และคุณพ่อยอง ดี ซานโต สปีริโต มาร่วมด้วย คุณพ่อองค์สุดท้ายนี้ได้สิ้นชีวิตในประเทศไทย แต่งานแพร่ธรรมที่กำลังรุ่งโรจน์ทั้งหมดนี้หาได้เรืองรองอยู่ได้นานนักไม่ อาจจะเป็นตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งสวรรคตในปี ค.ศ. 1605 คุณพ่อแบลกีออร์เองก็ได้ออกจากประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ. 1602 เพื่อทำงานในมิสซังอาราคันในประเทศเบงกอล และที่เมืองนี้เองมิชชันนารีผู้กล้าหาญแสนทรหดผู้นี้ได้เสียชีวิตโดยจมน้ำตายในตอนที่ท่านข้ามแม่น้ำแห่งหนึ่งในเมืองนั้น


    อ้างอิง
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงชนะเขมรแบบเด็ดขาด ทำปฐมกรรมพญาละแวกในปี พ.ศ. 2137 (ค.ศ. 1594)

    ดังนั้นบาทหลวง เชอเก เดอ โมตา (Jorge de Mota) มาเป็นเชลยในปีนั้น และในอีกสองปีต่อมา นายฌัคช์ เดอ คู้ทร (Jacques de Coutre) ก็เดินทางเข้ามาสยามพร้อมบาทหลวง เชอเก เดอ โมตา โดยติดตามคณะศาสนทูตโปรตุเกสกลับมาจากมะละกา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2010
  8. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    <table class="tborder" width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 31 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 30 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> <center"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </center"></td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> โมเย+</td></tr></tbody></table>
    ขออนุโมทนา กับท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ
     
  9. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 50 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 49 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>จงรักภักดี* </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 54 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 53 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>ทางสายธาตุ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขออนุโมทนาสาธุ

    ขอต่อเรื่องของพี่จงรักภักดีเกี่ยวกับการไปเที่ยวอยุธยา ก็เห็นรูปวัดไชยวัฒนาราม ทำให้อยากเขียนถึงวัดป่าแก้ว ครั้งหนึ่งในสมัยที่กรุงศรีอยุธยายังรุ่งเรืองอยู่ วัดไชยวัฒนารามเคยเป็นวัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นวัดป่าแก้วแห่งกรุงลำดับต่อมารองจากวัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) วัดป่าแก้วต้องอยู่ฝั่งตะวันตกของกรุงเท่านั้น แม้แต่งานเขียนข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมของท่าน น ณ.ปากน้ำก็ยืนยันความเป็นวัดป่าแก้วไว้ดังนี้ค่ะ


    วัดเอกแห่งอรัญญิการาม


    ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงความสำคัญของวัดไชยวัฒนารามในฐานะ ที่เป็นวัดออกบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์ปราสาททอง

    และราชวงศ์บ้านพลูหลวง ในพระอัยการลักษณะมรดกกล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระเจ้าปราสาททองว่า

    “พระเจ้าแผ่นดินสถิตในพระที่นั่งพลับพลาทองเหนือพระมหาวิหาร พระชัยวัฒนาราม เมื่อ พ.ศ.2179”

    และการเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชา ในปีเดียวกัน

    นอกจากนี้วัดไชยวัฒนารามยังเป็นสุสานของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนบุคคลสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น กรมหมื่นอินทรเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ หรือแม้กระทั่งเจ้าธรรมธิเบศร์ เจ้าฟ้าสังวาลเป็นต้น

    อาจารย์ น. ณ ปากน้ำได้ให้ทัศนะไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับฐานะของวัดไชยวัฒนารามว่า

    ในสมัยตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง บางทีสมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว สังฆราชฝ่ายอรัญวาสี น่าจะเสด็จมาอยู่วัดไชยวัฒนารามเป็นประจำ เพื่อต้อนรับกษัตริย์และเจ้านาย

    และเมื่อพิจารณาที่ตั้งของวัดทั้งสองก็คงเป็นไปได้เพราะไม่ได้ไกลกันเท่าไหร่นัก พระวันรัตท่านเป็นพระชั้นผู้ใหญ่ คงจะไปครองอยู่แทนพระเถระ เพราะวัดไชยวัฒนารามเป็นวัดใหญ่วัดใหญ่โตกว่าวัดป่าแก้วแถมอาจจะโก้หรูกว่าด้วย”


    วัดที่ไม่ไกลกัน ก็คือวัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) กับวัดไชยวัฒนารามค่ะ

    และพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยังคงสถิตย์อยู่ที่วัดป่าแก้วโบราณแห่งกรุงศรีอยุธยา วัดนั้นก็คือวัดวรเชษฐ์
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระอาจารย์สิงห์ทนท่านเคยเล่าให้ฟังว่า อยากให้กรมศิลปากรมาเปิดฐานพระปรางค์เพื่อพิสูจน์ดูเลยก็ดีเหมือนกัน โดยให้มีทั้งฝ่ายราชการและฝ่ายสงฆ์มาเป็นประจักษ์พยาน จะได้หายสงสัยกันไปเรื่องพระโกศพระบรมอัฐิ

    มีข้อมูลของนายฌัคช์ เดอ คู้ทร อีกเล็กน้อย ทำให้รู้ว่ากรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้นเป็นเมืองหลวงนั้นเป็นเมืองที่ร่ำรวยมากค่ะ


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=670 bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=410>ความคิดเกี่ยวกับจักรพรรดิราช ที่แพร่หลายในช่วงระยะเวลานี้ น่าจะเป็นเหตุหนึ่งที่นำมาสู่ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ (ค.ศ. 1569) เพราะทั้งพระมหาธรรมราชาช้างเผือก (พระเจ้าบุเรงนอง) และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต่างก็แย่งชิงกันเพื่อเป็นพระมหาจักรพรรดิราชา ซึ่งมีได้เพียงพระองค์เดียว (สุเนตร ๒๕๓๙, ๙๗ – ๑๓๑)
    จากบันทึกของ ฌาคส์ เดอ คูทร์ (Jacques de Coutre) ซึ่งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๑๓๙ (ค.ศ. 1596) ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรซึ่งกล่าวว่า

    (ข้าราชการท่านหนึ่งได้พาข้าพเจ้าไปในวิหารแห่งหนึ่งมีขนาดใหญ่มาก คล้ายกับโบสถ์ของเรา เต็มไปด้วยพระพุทธรูปทองคำและเงินหลายองค์ทรงสวมพระ อุณหิสที่พระเศียร (De Coutre 1988, [n.p.])

    หลักฐานของ เดอ คูทร์ สอดคล้องกับรูปแบบของพระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย ทรงสวมเพียงอุณหิส (เรียกว่าแบบทรงเครื่องน้อย) (ดูรูปที่ ๘.๓๙ ก.) และแบบที่ ทรงสวมอุณหิส กรองศอ ทับทรวง พาหุรัด และทองพระกร (เรียกว่าแบบทรงเครื่องใหญ่) (ดูรูปที่ ๘.๔๐) พระพุทธปฏิมาทั้งสอง กลุ่มนี้พบอยู่ด้วยกันในพระอุระ และพระพาหาเบื้องซ้ายของพระมงคลบพิตร (ณัฏฐภัทร ๒๕๔๙, ๑๖ - ๑๗, ๒๑ - ๒๓) ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16)

    พระพุทธปฏิมาที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เก่าสุดของพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องน้อยอยุธยา เท่าที่ปรากฏ ได้แก่ พระประธานพระอุโบสถ วัดท่าไชยศิริ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี (ดูรูปที่ ๘.๓๙ ก.) ทรง ครองจีวรห่มคลุมพระอังสา ขอบจีวรด้านข้างทอดขนานกับพระเพลาและพระชงฆ์ ขอบสบงด้านบนคาด ด้วยรัดประคด หน้านางสบงมีกรอบเป็นเส้นคู่ อุณหิสแต่งด้วยลายประคำและประจำยาม ขอบบนเป็น กลีบบัว คล้ายกับอุณหิสของเศียรพระโพธิสัตว์ สัมฤทธิ์ (รูปที่ ๘.๓๙ ข.)

    ๑ ในจำนวนพระโพธิสัตว์ ๕๕๐ ชาติ ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๐๑ (ค.ศ. 1458) (McGill 1993, 412 – 448) นอกจากนั้นแล้วมงกุฎที่ตกแต่งด้วยกระจัง ยอดเป็นลูกแก้ว ยังปรากฏบนเศียรพระโพธิสัตว์ที่หล่อขึ้น พร้อมกันอีกด้วย (เรื่องเดียวกัน, Fig. 4) พระพุทธปฏิมาองค์ นี้จึงอาจจะสร้างขึ้นในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่งหลัง คริสต์ศตวรรษที่ 15)

    </TD><TD width=20></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=670 bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD vAlign=top align=left width=415>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=235><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=220 border=0><TBODY><TR><TD class=text11_black_bold vAlign=top align=left width=80>รูปที่ ๘.๓๙ ข.

    </TD><TD class=text11_black_italic vAlign=top align=left width=130>เศียรพระโพธิสัตว์ จากวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา ๑ ใน ๕๕๐ ชาติ ที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดให้สร้างขึ้นใน ปี พ.ศ. ๒๐๐๑ (ค.ศ. 1458) สัมฤทธิ์ สูง ๑๔ เซนติเมตร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    อ้างอิง

    ลักษณะไทย : พระพุทธปฏิมา : ภูมิหลัง : ศิลปะการแสดง : วัฒนธรรมพื้นบ้าน
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง

    ๕.๑ พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง สมัยกัมโพช พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)


    หลวงพ่อพนัญเชิง
    พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง เป็นพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในราชอาณาจักรอยุธยา ตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ (ค.ศ. 1350) อันเห็นได้จาก “หลวงพ่อโต” หรือ “หลวงพ่อพนัญเชิง” (ดูรูปที่ ๕.๔๘) ซึ่งพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ให้ข้อมูลว่า

    จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๘๖๗ / ค.ศ. 1324) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้า เจ้าแพนงเชิง (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ ๒๕๐๖, ๑๓๐)

    หลวงพ่อพนัญเชิง น่าจะเป็นพระพุทธรูปที่นายฌาคส์ เดอ คูทร์ (Jacques de Coutre) พ่อค้าชาว เฟลมมิช (Flemmish) หรือเบลเยียมในปัจจุบัน ผู้ได้ไปพำนักอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๑๓๙ (ค.ศ. 1956) ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรได้บันทึกไว้ว่า

    นอกกำแพงพระนครข้าพเจ้าเห็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิบนฐาน สร้างด้วย ศิลาและอิฐทั้งองค์ โบกปูน ทาสี ปิดทอง เหนือพระเศียรมีฉัตรขนาดใหญ่ทำ ด้วยผ้าทอง พระพุทธรูปองค์นั้นสูงและใหญ่มาก จนสามารถเห็นได้จากระยะ ทางไกล ถึงเกือบ ๒๐ กิโลเมตร ทั้งๆ ที่สร้างบนพื้นที่ราบด้วยความอยากรู้ อยากเห็นข้าพเจ้าไปวัดพระนขา (เล็บ) ของพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) พระหัตถ์ขวา ได้ความว่ากว้างกว่าห้ามือ และยาวประมาณกัน (de Coutre 1988, [n.p.])

    ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิ ปางมารวิชัย และในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรนั้นยังไม่ได้สร้างพระวิหารหลวงครอบองค์พระพุทธรูป

    พระพุทธรูปองค์นี้คือ “พระพุทธเจ้าทรงนางเชิง ทรงนั่งสมาธิหน้าตัก ๑๐ ศอก อยู่ในพระวิหารวัด พระนางเชิง” ซึ่งขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมจัดให้เป็น ๑ ใน พระมหาพุทธปฏิมากรที่มีพุทธานุภาพเปน หลักกรุง” ๘ องค์ (คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ๒๕๓๔, ๒๕)

    พุทธานุภาพของ “หลวงพ่อพนัญ เชิง” ยังเป็นที่ประจักษ์ เมื่อครั้งพระเจ้าสายน้ำผึ้งทรงขอหลวงพ่อว่า เดชะบุญญาภิสังขารของเราเรา จะได้ครองไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ ด้วยกันเสร็จ ขอให้น้ำผึ้งย้อยหยดลงมา” น้ำผึ้งก็ไหลย้อยลงมา กลั้วเรือพระที่นั่ง (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ ๒๕๐๖, ๕๑) จนเมื่อใกล้จะเสียกรุงครั้งที่สองนั้น “เกิดลางร้ายต่างๆ คือ พระพุทธปฏิมากรใหญ่ที่วัดพนัญเชิงมีน้ำพระเนตรไหล” (คำให้การชาวกรุงเก่า ๒๔๕๗, ๑๖๓)


    ป.ล. อ่านแล้วก็ไม่เห็นตรงไหนแสดงว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนะคะ แค่บอกว่าไม่มีโบสถ์และอยู่กลางแจ้ง สงสัยต้องหาต่อไปอีกหน่อยค่ะว่าตรงไหนบอกว่าหลวงพ่อโตสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวร (เดิมทีอ่านเรื่องนี้มาจาก blogger คุณวรณัย พงศาชลากร ท่านเขียนใน blog ระบุว่านายจ๊าคบันทึกไว้ว่า หลวงพ่อโตที่วัดพนัญเชิงนั้น
    ลักษณะไทย : พระพุทธปฏิมา : ภูมิหลัง : ศิลปะการแสดง : วัฒนธรรมพื้นบ้าน
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เดิมอ่านเรื่องพระองค์ผู้มีรับสั่งให้สร้างหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    จริงๆอยากได้เอกสารบันทึกความทรงจำของนายฌัคช์ เดอ คู้ทรแต่ก็หาไม่ได้ คิดว่าผู้จัดทำหนังสือวารสารศิลปวัฒนธรรมคงจะมีเพราะฉบับปัจจุบันยังสามารถหาเนื้อหาเรื่อง ชายรักชาย ในสมัยนั้นมาให้อ่านได้ ก็คงจะต้องลองติดตามอ่านวารสารศิลปวัฒนธรรมดูค่ะ อาจจะพอหาข้อมูลจดหมายเหตุที่นายฌัคช์ เดอ คู้ทร เขียนได้บ้าง

    ส่วน Blog ที่นำข้อมูลในกรอบคำพูดนั้นนำมาจาก
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดบ้านกร่าง

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=515 border=0><TBODY><TR><TD>วัดบ้านกร่าง เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุร่วม 400 ปี เป็นวัดที่มีกรุพระขุนแผนบ้านกร่าง เป็นเนื้อดินเผาศิลปะอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราช เมื่อตอนยกทัพกลับผ่านอำเภอศรีประจันต์ ได้พักทัพริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี ทรงรับสั่งให้ทหารสร้างพระเครื่องซึ่งเล่ากันว่า เป็นจำนวนถึง 84,000 องค์ บรรจุในกรุวัดบ้านกร่าง เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ทหารที่เสียชีวิต พระพิมพ์บ้านกร่างคู่เป็นพระที่มีความหมายมาก ในการสร้างพระครั้งนี้แม่พิมพ์แกะเป็นสององค์คู่กัน โดยสมมติให้เป็นองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ พระรูปแบบนี้หายากในกรุอื่นๆ ทั่วประเทศไทย สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่

    [​IMG]

    พระอุโบสถและวิหาร เป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ภายในประดิษฐานพระประธานองค์ใหญ่ ศิลปะสมัยอู่ทอง ใบเสมาที่เรียงรายรอบพระอุโบสถมีที่มาจากการนำพระวัดกร่างพิมพ์ทรงพลใหญ่มาจำลองให้มีขนาดเท่าใบเสมา ใบเสมาของวัดนี้จึงมีลักษณะโดดเด่นไม่เหมือนวัดใด ส่วนวิหารมีอายุราว 450 ปี ประดิษฐานหลวงพ่อแก้วและพระประธานภายในวิหาร

    มณฑป อยู่ถัดจากวิหาร ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2476 ด้านหลังวิหาร ประดิษฐาน เจดีย์ ที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ จากองค์เดิมที่สร้างในสมัยอยุธยาซึ่งชำรุด ความสูงจากฐานถึงยอดเจดีย์ราว 5.70 เมตร สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระเครื่องตระกูลวัดบ้านกร่าง(พระขุนแผน) และภายในพระเจดีย์ เคยพบพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์จำนวน 20-30 องค์ และพระเครื่องซึ่งมีลักษณะเป็นแก้วสีเขียว

    บริเวณริมแม่น้ำประดิษฐาน เจดีย์กลางน้ำ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 มีอายุราว 150 ปี มีลักษณะย่อมุมไม้สิบสองแต่เดิมองค์พระเจดีย์ตั้งอยู่กลางแม่น้ำท่าจีน สร้างขึ้นไว้สำหรับคนทั่วไปสักการะบูชาในวันลอยกระทง แต่เนื่องจากกระแสน้ำเปลี่ยนทิศ เป็นเหตุให้พระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จทรงนมัสการเจดีย์กลางน้ำองค์นี้ คราวเสด็จประพาสเมืองสุพรรณบุรีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2451 และตั้งพลับพลาที่ตำบลบ้านกร่าง

    [​IMG]

    บริเวณหน้าวัดริมแม่น้ำมีปลาอาศัยจำนวนมาก ทางวัดสร้างแพหลังคาทรงไทยขนาดใหญ่ให้ผู้มาเที่ยวชมสามารถทำบุญเลี้ยงปลา นับเป็นอุทยานมัจฉา แห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนี้จะสังเกตเห็นเรือนแถวหน้าทางเข้าวัดบ้านกร่าง เป็นเรือนแถวไม้สองชั้น แบบโบราณ บรรยากาศเงียบสงบ สะท้อนความเป็นอยู่เรียบง่ายแบบดั้งเดิมของผู้คนแถวนี้

    </TD></TR><TR><TD>การเดินทาง </TD></TR><TR><TD>จากทางหลวงหมายเลข 340 ผ่านอำเภอศรีประจันต์ เข้าทางหลวงหมายเลข 3038 กิโลเมตรที่ 14-15 ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี(แม่น้ำท่าจีน) คนละฝั่งกับที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ ห่างจากจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ข้อมูลวัดบ้านกร่าง
     
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขอให้เพลงของคุณโมเยที่จัดทำเพื่อประกาศพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะมีโอกาศได้เปิดถวายความจงรักภักดีแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในงานแสงสีเสียง "งานแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8 - 18 มกราคม 2553 จัดที่พระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก นะคะ

    รอฟังข่าวค่ะ
     
  16. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.739395/[/MUSIC]



    ขอบพระคุณมากค่ะ คุณพี่ทางสายธาตุ

    เรื่องเพลง ในงานแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก
    จัดไว้ให้ เป็นเรื่องของ วาระ และการจัดสรรค์ ของธรรมะด้วยค่ะ


    โมเยตั้งใจ จะประกาศพระเกียรติ ของพระองค์


    บทเพลงนี้ไปถึงพิษณุโลก ได้ ในจังหวะที่พอดี
    ที่โมเยได้รับ เมตตาจาก พระอาจารย์ พระมหาฤทธิชัย กัลยาโน จ.พิษณุโลก

    ไม่ต้องอธิบาย สิ่งไหนแก่ท่าน ท่านกล่าวว่า ต่างคนต่างมีหน้าที่

    ด้วยหน้าที่ของโมเย ท่านจึงเมตตา นำเพลงนี้
    ไปมอบให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโมเยอยากมอบให้แก่ผู้ที่ศรัทธา (แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี เลยได้เมตตาจากพระอาจารย์)

    และมอบให้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ พิษณุโลก
    ซึ่งรับผิดชอบเรื่องงานแสงสีเสียงปีนี้

    ท่านอาจารย์ ยินดีและอนุโมทนา แต่จะเปิดในช่วงไหนของงาน
    โมเยจะแจ้งให้ทราบอีกทีค่ะ


    การทำงานเกี่ยวกับ การประกาศพระเกียรติเบื้องสูง
    เป็นสิ่งที่ยาก กว่าจะทำได้สำเร็จ

    ต้องอาศัย เจตนาที่บริสุทธ์ ความเพียร ความพยายาม
    ประกอบกับ กุศลจิต และความจงรักภักดี เป็นที่ตั้ง

    และที่สำคัญ ด้วย กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
    จะต้องเป็นสิ่งสร้างกุศลอันสำคัญยิ่ง ประกอบกันค่ะ

    ซึ่งเหล่านี้ จะเจอบททดสอบ เยอะมาก

    และงานประกาศพระเกียรตินี้จะแผ่ไพศาล ไปได้หรือเปล่า
    อันนี้ เป็นวาระ และเป็นลิขิตของสวรรค์ด้วยค่ะ


    ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีที่มา


    ขอบคุณพี่ทางสายธาตุมากนะคะ


    โมเย ก็ขอให้งานเขียนของพี่ ที่จะถวาย พระอาจารย์ ดร. สิงห์ทน
    ทำได้สำเร็จเช่นกันนะคะ


    ทุกคน ล้วนต่างมีหน้าที่ ที่ต่างกัน
    คนเหมาะกับงาน งานเหมาะกับคน


    ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  17. ศรัทธา_พิสุทธิ์

    ศรัทธา_พิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +205
    กล่าวได้ประเสริฐ ขออนุโมทนาและร่วมเป็นแรงใจกับน้องโมเยด้วยค่ะ
     
  18. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    คุณโมเยได้กล่าวถึงท่านมหาฤทธิชัย กัลยาโณ ก็พอดีไปพบบทกลอนที่ท่าน

    ได้ประพันธ์ไว้ และได้มีท่านสมาชิกได้นำเสนอไว้ในกระทู้เก่า ต้องขออนุญาต

    นำมาเสนอเพื่อเป็นเกียรติไว้ในกระทู้นี้อีกครั้งหนึ่ง เผื่อพระคุณเจ้าจะได้ทราบ

    และเมตตาส่งบทกลอนมาเผยแผ่ให้กับญาติโยมอีก นะขอรับ


    <TABLE class=tborder id=post1270981 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] 11-06-2008, 09:23 AM </TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#35 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ธัมมนัตา<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1270981", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Aug 2006
    ข้อความ: 582
    Groans: 24
    Groaned at 2 Times in 2 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 1,099
    ได้รับอนุโมทนา 6,983 ครั้ง ใน 638 โพส
    พลังการให้คะแนน: 452 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1270981 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- google_ad_section_start -->P มหาราชดำอำลา . <O:p</O:p
    ขึ้น 8 ค่ำ เดือนหก ตกวันจันทร์ <O:p</O:p
    อันเป็นวัน สวรรคต หมดหน้าที่ <O:p</O:p
    ทรงอุบัติ ในโลกหล้า ห้าสิบปี <O:p</O:p
    ณ.วันนี้ ทรงดับปราณ กาลอำลา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อครั้งนั้น อังวะกล้า มารุกล้ำ <O:p</O:p
    พระทรงนำ กองทัพไทย ได้ฟันฝ่า<O:p</O:p
    ร่วมเดินทัพ กันกับพระ อนุชา<O:p</O:p
    สู่ล้านนา เมืองเชียงใหม่ ได้เตรียมการ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จัดกองทัพ เป็นสองทาง ฝางชายเขต <O:p</O:p
    สู่ประเทศ แดนพม่า มารุกราน<O:p</O:p
    ถึงห้างหลวง ณ ทุ่งแก้ว แนวปราการ<O:p</O:p
    โรคฝีพาล ขึ้นพระพักตร์ ฟักบ่มตัว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทรงเจ็บปวด รวดร้าว ราวฟ้าผ่า<O:p</O:p
    พิษฝีกล้า กลัดหนองใน ใจระรัง<O:p</O:p
    เสวยไม่ได้ ไข้อ่อนล้า มืดตามัว<O:p</O:p
    แจ้งถ้วนทั่ว หยุดกองพล กลางหนทาง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รับสั่งหา อนุชา เอกาน้อง<O:p</O:p
    เจ้าพี่ต้อง พิษฝีหนัก จักอัปปาง<O:p</O:p
    รู้ชีวิต จิตสุดท้าย ปลายเส้นทาง<O:p</O:p
    ต้องไกลห่าง สิ้นภพชาติ จะขาดแล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในชาตินี้ พี่ภูมิใจ ในตัวน้อง<O:p</O:p
    อยู่เคียงครอง อยุธยา อนุชาแก้ว<O:p</O:p
    ช่วยปราบศึก ฝึกทหาร การแน่แนว<O:p</O:p
    สมใจแล้ว อนุชา ร่วมบารมี<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อถึงกาล วันอำลา ต้องลาจาก<O:p</O:p
    จำไกลพราก ต้องจากกัน ในวันนี้<O:p</O:p
    จงปกครอง ประชาชาติ ราชธานี<O:p</O:p
    ให้อยู่ดี มีความสุข ทุกคืนวัน <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    น้องจงเร่ง ยาตรา กรีฑาทัพ <O:p</O:p
    อย่าถอยกลับ รุกหน้าไป ได้รบรัน<O:p</O:p
    ขับพม่า จอมราวี ขยี้มัน<O:p</O:p
    ให้รู้กัน เราคนไทย ใจอาจหาญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระสั่งลา อาทิตย์ลับ กับขอบฟ้า<O:p</O:p
    ทอดกายา บรรทมหลับ ให้กับงาน<O:p</O:p
    ได้กอบกู้ สู้ศึกกล้า มาช้านาน<O:p</O:p
    เมื่อถึงกาล สวรรคต หมดห่วงใย
    <O:p</O:p
    พระนเรศวร ครรไลไป ในวันสิ้น<O:p</O:p
    เทพบดินทร์ ถิ่นไตรตรึง ซึ่งเป็นใหญ่<O:p</O:p
    พร้อมบริวาร หมื่นแสน ในแดนไตร<O:p</O:p
    อัญเชิญไป สถิตมั่น ชั้นเทพทอง ฯ

    *มหาฤทธิชัย กัลยาโณ ประพันธ์ถวาย<O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->สัพพปาปัสสอกรณัง กุสสลัสสูปสัมปทา สจิตตปริโยทปนัง<!-- google_ad_section_end -->

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ถ้าได้กลอนพระมหาฤทธิชัย กัลยาโณ มาทั้งเล่มก็ดีนะคะ ได้ยินว่าท่านแต่งเพื่อถวายราชสักการะและสดุดีพระมหาวีรกรรมแห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทั้งเล่ม

    พวกเราชาวกระทู้จะมีโอกาศได้อ่านหรือไม่หนอ อยากอ่านนะคะ พี่จงรักภักดี น้องโมเย
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    บันทึกของ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์


    "เจอบันทึกนี้ ให้เอาคำต่อไปนี้ของกูไปประกาศให้คนรับรู้ว่า

    กู กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    ผู้เป็นโอรสของพระปิยะมหาราช
    ขอประกาศให้พวกม_งรับรู้ไว้ว่า
    แผ่นดินสยามนี้ บรรพบุรุษได้เอาเนื้อเอาชีวิตเข้าแลกไว้
    ไอ้อีผู้ใดมัน คิดบังอาจทำลายแผ่นดิน
    ทำลายชาติ ทำลายศาสนา พระมหากษัตริย์
    ฤากระทำการทุจริต ก่อให้เกิดความเดือนร้อนต่อส่วนรวม
    จงหยุดคิดการกระทำนั้นเสียโดยเร็ว
    ก่อนที่กูจะสั่งทหารผลาญสิ้นทั้งโคตรให้หมดเสนียดของแผ่นดินสยาม
    อันเป็นที่รักของกู ตราบใดที่คำว่าอาภากร
    ยังยืนหยัดอยู่ในโลก กูจะรักษาแผ่นดินสยามของกู
    ลูกหลานทั้งหลาย
    แผ่นดินใดให้กำเนิดเรามา แผ่นดินใดให้ที่ซุกหัวนอน
    ให้ความร่มเย็นเป็นสุข มิให้อนาทรร้อนใจ
    จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น"


    น่าจะเข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองในหลายๆปีที่ผ่านมา ต้องอดทนฝ่าฟันกันไปให้ได้ เหมือนดังบทพระราชนิพนธ์เพลง เราสู้

    บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
    เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
    ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
    อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
    ถึงขู่ฆ่าล้างโคตรก็ไม่หวั่น จะสู้กันไม่หลบหนีหาย
    สู้ตรงนี้สู้ที่นี่สู้จนตาย ถึงเป็นคนสุดท้ายก็ลองดู
    บ้านเมืองเราเราต้องรักษา อยากทำลายเชิญมาเราสู้
    เกียรติศักดิ์ของเราเราเชิดชู เราสู้ไม่ถอยจนก้าวเดียว


    (เพลง เราสู้ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
     

แชร์หน้านี้

Loading...