รบกวนครับ สมถกรรมฐานทำให้จิตสงบเกิดอภิญญา วิปัสสนาทำให้เกิดปัญญาหรือนิพพาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แด๊ก, 15 มกราคม 2010.

  1. แด๊ก

    แด๊ก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +18
    ใช่มั้ยครับ บางทีเราอ่านหลาบกระทู้แล้วงง ครับ สมถะนี่คือการกำหนดรู้ ลมหายใจ เข้าออกผลของการฝึกจะทำให้เกิดอภิญาใช่มั้ยครับ แล้ววิปัสสนานี่คือ อาการ ของ ยุบหนอ พองหนอ แล้วก็เดินจงกลมใช่มั้ยครับ ผมไม่รู้หลอก ว่าผมจะฝึกแบบไหน แต่รู่สึกว่า คำว่าหนอ นี่ ผู้รู้สึกดีครับ เพราะพุธโท ภวานาไม่เคยเกิน 10 ครับ จิตมันก็คิดเป็นอย่างอื่น แต่หนอ นี่ผมไม่ค่อย คิดเรื่องอื่นครับ เวลาขับรถก็เห็น หนอ เมื่อยก็เมื่อยหนอ เดินขึ้นบันใดก็ ขึ้นบันใดหนอ ผม ปฏิบัติถูกวิธีมั้ยครบ
     
  2. แด๊ก

    แด๊ก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +18
    หรือเวลากินข้าวผมก็เขี้ยงหนอ กลืนหนอ อาบก็ เปียกหนอ สระผมหนอ ผมปฏิบัติถูกมั้ยครับ เมื่อก่อนผมชอบคิดว่า ถ้าผมทำสมถะหรือ กสิณ ผมจะได้ตาทิพย์ ไว้ดู เทพ เทวดา หรือสวรรค์นรก แต่ถ้าเรา ทำวิปัสนา นี่ถ้าเราบุญถึงพอ หรือ ฝึกไปเรื่อยๆ ก็คงจะได้เศษ อภิญญา เหมือน สมถะ รึเปล่าครับ
     
  3. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327
    สมถะ คือการทำสมาธิจิตแน่วแน่
    ผลอันเกิดจากสมถะคือจิตแน่วแน่นั้นคือฤทธิ์
    แต่สมถะนั้นโง่ เพราะได้แต่นิ่งเฉย ไม่มีปัญญา เพราะนิ่งนั้นแหละทำให้คิดไม่ได้

    วิปัสนา คือคิด พิจารณา ให้เกิดความรู้ คือปัญญา
    วิปัสนาอาศัยสมถะเป็นฐาน ก็เพราะจิตที่นิ่งย่อมคิดได้ดีกว่าจิตที่ฟุ้งซ่าน
    ดังนั้นวิปัสนาอาศัยจิตที่นิ่งแล้วของสมถะเป็นฐานในการคิด เมื่อเข้าสมถะสงบลงไประยะหนึ่งแล้ว
    ก็ถอนจิตออกมาจากความนิ่งนั้นมาอยู่ในช่วง
    ในช่วงที่กึ่งนิ่งกึ่งไม่นิ่ง เพื่อไม่ให้นิ่งเกินมันจะคิดพิจาณาไม่ได้

    พอออกมาิอยู่ช่วงที่จิตนิ่งบ้างเล็กน้อย พอสามารถคิดได้บ้างแล้ว
    ก็พิจารณาใคร่ครวญตามความเป็นจริงในช่วงนั้น พิจารณาแต่้ในกายเท่านั้น
    ไม่พิจารณาออกนอกกายอย่างแน่นอน

    ส่วนในการพิจารณามีสติตามรู้ในแบบที่คุณทำนั้น
    ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการปฏิบัติ เป็นการเอาสติมารู้กาย
    แบบนี้มันจะมีส่วนทั้งสมถะและวิปัสนาไปพร้อมกัน
    คือจิตไม่คิดนอกเรื่องไปจากกายเป็นสมถะและจิตตามพิจารณากายเป็นวิปัสนา
    แต่วิธีการแบบนี้ เน้นวิปัสนาเป็นหลัก
    สมถะมันน้อย สมาธิมันไม่สูง ฉะนั้นฤทธิ์ก็จะไม่ได้ฤทธิ์แน่นอน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2010
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    วิปัสสนา คือ พิจารณาตามความจริงในขณะที่ทุกข์นั้น เช่นว่า เวลาเราทุกข์เศร้าใจด้วยเรื่องต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น กังวลเรื่องงาน ก็ให้ พิจารณาว่า ทำไมเราต้องกังวล ทำไมเราต้องทุกข์ใจ ความทุกข์นี่แม้นิดเดียวเราก็ต้องถือว่า มันเป็นเครื่องเสียดแทงจิตใจ ดังนั้น อะไรก็ตามที่เป็นเครื่องเสียดแทงจิตใจเราก็ ต้องมาดุว่า เหตุจริงๆ มันเกิดที่อะไร

    ก็ได้ข้อสรุปง่ายๆ ว่า มันเกิดเพราะเราโง่ เป็นนิสัยที่เคยชินมานาน เช่น คนขี้กลัว ก็ยังไม่ทำอะไรก็เกิดความกลัวขึ้นมา นี่เพราะในสันดานเป็นคนขี้กลัว
    บางคน เดินในที่มืดกลัว บางคนเดินในที่มืดไม่กลัว ก็แสดงให้เห็นว่า เพราะเราหลงไปทำตามนิสัยเดิมๆที่เคยชิน

    ทีนี้ จึงต้องวิปัสสนาให้เห็นจริง เราจะได้ไม่กลัว ให้รู้ให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว ความกลัว ความทุกข์ ต่างๆ เราเผลอตัวไปหยิบไปจับ ไปรู้สึกมันเอง โดยอัตโนมัติ เราก็เลยคิดว่า เราต้องเป็นแบบนั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว เราสามารถขัดเกลานิสัยสันดานเรา ไม่ให้ทุกข์ ไม่ให้กลัวได้ โดยต้องพิจารณาตามความจริง ด้วยจิตใจที่ปกติ และมีสมาธิตั้งมั่น
     
  5. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637
    น้องแด๊ก ที่ผ่านมา ความรู้ มากมายมหาศาล ในเว็ปแห่งนี้

    มีท่านที่รู้ ได้ไห้ความคิด ความเห็นมากมายด้วยกัน แก่น้องแด๊ก ทั้งแนะนำ

    ไห้โลดไฟน์ หาข้อมูล ความรู้ต่างๆมากมาย เกียวกับธรรมะ ข้อวัตร

    ปฏิบัติมากเหลือเกิน น้องแด๊กไม่ได้เอาเก็บงำไว้ใจบ้างเลยหรอ

    น้องแด๊ก ครับ วิปัสสนา ทำไห้หมดกิเลส คือกาพิจรณาอริยสัจสี่ ยกเอาอริยสัจสี่ขึ้นมาพิจรณา นั่นแหละ

    จึงจะเป็นวิปัสสนา จะมาก จะน้อย ขึ้นอยู่วาสนา บารมีของแต่ละคน
    อริยสัจสี่ เริ่มต้นที่ทุกข์ เห็นทุกข์ รู้จักทุกข์ รู้จักสาเหตุของทุกข์ทั้งมวลว่ามาจากอะไร หาหนทางดับทุกข์ที่ต้นตอ

    สุดท้ายก็หาหนทางไห้เจอที่จะออกจากกองทุกข์


    สมถะ หรือสามธิ ทำไห้ได้อภิญญา

    ยุบหนอ พองหนอ ก็ยังเป็นสมถะ อสุภะ สิบ ก็สมถะ กายคตนุสติ จตุธาตวัตฐานสี่ อาหารเรปฏิกูลสัญญา

    มรณานุสติกรรมฐาน นี้ก็สมถะทั้งหมด บวกกสิณอีกสิบกองนะ

    พี่ก็เห็นน้องรักมานานแล้ว ณที่แห่งนี้

    จากพี่ดุ๊ก...........รักน้องแด๊กมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มกราคม 2010
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ลองฟังเพลงนี้ดู...


    สมถะ ในความหมาย ที่เข้าใจผมก็เข้าใจว่า คือความสงบ

    ในส่วนของความสงบนี้ จะมีความละเอียด เป็นลำดับขั้นๆไป จนเรียกได้ว่า มีความแน่วแน่ในความสงบ ความสงบในระดับนี้จะมีความละเอียด ปราณีตไปเรื่อยๆ ตาม การฝึกฝนอบรม จนเรียกได้ ว่า ฌาน 1 2 3 4 5 6 7 8


    วิปัสนา ในความหมายที่ผมเข้าใจ ก็คือ การรู้เห็นตามความเป็นจริง

    การรู้เห็นตามความเป็นจริง นั้น เห็น อย่างไร ความเป็นจริงในที่นี่ ก็คือ ความจริง ที่เรียก ว่าอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นความจริง แท้แน่นอน


    คราวนี้มาดูว่า ในการปฏิบัติธรรมนั้น จะมีคำว่า สมถะกรรมฐาน และ วิปัสนากรรมฐาน

    สมถะกรรมฐานนั้น หากเอาคำว่า สมถะ มารวมกับกรรมฐาน ก็จะแปล ได้ ว่า เป็นวิธีการฝึกปฏิบัติธรรมอย่างนึง ที่ ต้องทำความสงบให้ได้ถึงขั้นสมถะมาก่อนแล้วยกขึ้นสู่ภูมิวิปัสนา

    ในส่วนวิธีการนี้ หากฝึกตามวิธีการอย่างถูกต้อง มันจะมีจุดเชื่อมต่อ ระหว่าง สมถะและวิปัสนา เชื่อมต่อกัน ... ในส่วนของวิธีการนี้ ผู้ฝึก ต้องมีเวลา ในการฝึกตั้งสมถะ ถึงจะเดินสมถะได้ ง่าย และต้องได้สถานที่ที่เอื้ออำนวยด้วย

    ในวิธีการนี้ ผู้ฝึก หากฝึกอย่างถูกต้อง จะได้ภูมิรู้ภูมิเห็น หรือเรียกว่า ฤทธิ์ หูทิพย์ ตาทิพย์ หรืออธิฐานฤทธิ์ เป็นผลพลอยได้ จากการฝึก สำหรับผู้ที่มุ่งสู่ทางตรง คือพระนิพพาน

    แต่หาก จะฝึกอิทธิฤทธิ์ไปด้วย ก็สามารถ น้อมมาฝึกได้เช่นกัน ในส่วน ของวิธีการที่เรียกว่า ฝึกแบบ สมถะกรรมฐาน


    ในส่วน ของ คำว่าวิปัสนา เมื่อรวมเป็น วิปัสนากรรมฐานนั้น ผู้ฝึก ที่ไม่ค่อยมีเวลาในการเดินสมถะ สามารถฝึก ตามวิธีการที่เรียกว่า วิปัสนากรรมฐานได้เลย ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาเข้าห้องนั่งสมาธิ 7วัน 15 วัน แบบนั้น แต่สามารถฝึกได้ในชีวิตประจำวัน

    การฝึก ในวิธีการนี้ ในระหว่างที่ฝึก จะมี ความสงบไปด้วยเป็น ขณะๆ จะเกิดวิตก วิจาร เป็นขณะ ขณะ ในระหว่างการฝึกฝน ซึ่งจะแตกต่าง กันกับวิธีการที่ฝึกแบบสมถะกรรมฐาน ในข้างต้น ... ในวิธีการนี้ ในระหว่างการฝึกอบรม จะได้ สมถะไปในตัว แต่จะเป็น ขณะ ขณะไป

    ในส่วน แง่ ของ อิทธิฤทธิ์ ในการฝึกแบบวิปัสนากรรมฐานนี้ จะได้เป็นผลพลอยได้เช่นเดียวกัน แต่ผู้ที่ฝึกตามแนว วิธี วิปัสนากรรมฐานนี้ จะเน้นที่ความหลุดพ้นเป็นหลัก จะเดินทางได้เร็ว


    ...ในส่วนแง่ของฤทธิ์นั้น ผมมีข้อสังเกตุให้ ว่า

    พระจูฬปันถก สมัยพุทธกาล ท่านเป็นพระที่เรียนอะไรก็ไม่รู้เรื่อง แม้แต่กลอน 1บทก็ไม่สามารถ ท่องจำได้ ท่านเป็นพระที่ฉลาดน้อย จนทำให้ท่าน ท้อแท้ จนอยากจะสึก เพราะท่านเรียนอะไรก็ไม่ก้าวหน้า .. แต่เมื่อมาพบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ท่านเพียงให้ลูบผ้าขาวบาง จนเกิดการเห็นการเปลี่ยนแปลง จากผ้าขาวมาเป็นผ้าเปื้อน และได้ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าอีก จึง บรรลุอรหนต์ ... และท่าน พระจูฬปันถก ก็ได้เป็นเอกทัตตะ เลิศกว่าภิกษุอื่นในด้านมโนมยิทธิ .... ซึ่ง ตรงนี้ก็ลองสังเกตุเอาว่า เมื่อท่านบรรลุอรหันต์แล้ว อิทธิฤทธิ์ ท่านก็ได้มาเป็นลาภี ทั้งๆที่ ท่านไม่ได้ฝึก มาก่อน ในขณะที่บวชนั้น

    หากเราหวังที่จะบรรลุพ้นทุกข์กันจริงๆ ก็เดินทางตรง สติปัฏฐาน 4 เมื่อ บรรลุไม่แน่จะได้อิทธิฤทธิ์ เหมือน ท่านพระจูฬปันถก ก็เป็นได้ .. ขอให้เดินทางตรงเป็น ใช้ได้ครับ

     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ปัญหาเก่า...ครับ.....


    สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑
    ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

    วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม; ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลง
    ผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้
    , การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง
    (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒) ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)


    หนอทั้งหลาย สมถะ ครับ...
     
  8. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เพราะมีสติรู้ถึงความ นิ่งๆไม่ไหวติง สงบ (จิตใจ) เรียก สมถะ หรือ สมาธิ
    เพราะมีสติรู้เหตุแห่งความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลาย (จิตใจ)และดับลงได้ด้วยปัญญา เรียก วิปัสสนา
    อนุโมทนาครับ
     
  9. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    เปลี่ยนเป็นเรียกแทนว่า ปฏิบัติบูชาแทนไม๊ ดูดี มีประโยชน์ ขลัง

    สมถะวิปัสนา
     
  10. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637
    อย่างในอดีตสมัยพุทธกาล ที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนชีพอยู่นั้น

    อย่างพระที่บวชแบบ เอหิภิขุ อุปสัมปทา คือพระพุทธเจ้าบวชไห้โดยพระองค์เอง (ซึ้งในสมัยนี้ไม่มีแล้ว)

    คือพอพระพุทธเจ้า ท่านสอนหรือเทศน์จบ พอมีคนที่ฟังธรรมบันลุธรรม

    พระพุทธองค์ก็จะบวชไห้ ทันที บวชแบบ เอหิภิขุ แปลเป็นภาษาไทยเราก็คือ เจ้าจงเป็นภิษุเถิด พระองค์ตรัสแบบนี้

    พอพระพุทธเจ้า ตรัสจบ ไตรจีวร ก็จะมาปรากฏอยู่กับท่านที่บรรลุธรรมทันที อันนี้มาได้ยังไง

    พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ในอดีตชาติที่ผ่านมา จะเป็นชาติใดก็ตาม ถ้าท่านผู้นั้น

    เคยถวายไตรจีวรในพระพุทธศาสนา สิ่งเหล่านี้ก็จะมาปรากฏ อันนี้เป็นบุญฤทธิ์แต่ถ้าไม่เคยถวาย

    ก็จะไม่มี ต้องไปเดินหาเอาเอง (เรื่องนี้เป็นเรื่องอจิณไตย แปลว่าเป็นเรื่องไม่ควรคิด ถ้าท่านผู้ใด

    คิด พึ่งมีส่วนที่จะเป็นบ้า ถ้าทำถึงเสียแล้วก็หมดสงสัย ถ้ายังทำไม่ถึง ก็วางไว้ก่อน)

    มาต่อเรื่องการบรรลุธรรม ก็เช่นเดียวกัน ตามที่ท่านผู้รู้ ได้กล่าวไว้ด้านบนแล้ว

    ถ้าเจริญสมถะวิปัสสนากรรมฐาน แม้ก่อนหน้านั้น จะไม่ได้อภิญญาสมาบัติมาเลยก็ตาม

    แต่ถ้าบรรลุธรรมตั้งแต่พระอนาคามีขึ้นไป และถ้าในอดีตชาติ เคยได้อภิญญาสมาบัติมาก่อน

    พอท่านบรรลุธรรมกันแล้ว อภิญญาสมาบัติ ก็จะเข้ามารวมตัวทันที ก็จะทรงคุณธรรมพิเศษนี้ด้วย

    แต่ถ้าไม่เคยได้มาก่อนในอดีตชาติ ก็จะไม่คุณธรรมพิเศษนี้ ไห้ข้อมูลไว้แบบนี้นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มกราคม 2010
  11. ผู้เห็นภัย

    ผู้เห็นภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +476
    ขออนุญาติเพิ่มเติม อริยสัจสี่

    1 ทุกข์ คำว่าทุกข์ หมายถึงทนได้ยาก หรือทนอยู่ไม่ได้ เช่นเราปวดท้องอุจาระ

    2 สมุทัย เป็นปัจจัยไห้เกิดทุกข์ ขึ้นมาได้ สมุทัยก็คือตัณหาสาม ได้แก่ กามตัณหา

    ภวตัณหา วิภวตัณหา

    3 นิโนธ แปลว่าเป็นการปฏิบัติไห้เข้าถึงความดับทุกข์ คือทุกข์หมด ดับไปหมด

    ทีนี้ทุกข์จะหมดไปด้ ก็ต้องอาศัย

    4 มรรค หรือมรรคปฏิปทา มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น และมี สมัมาสมาธิเป้นปริโยสาน

    การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ต้องเข้าตีจุดนี้นะครับ


     
  12. แด๊ก

    แด๊ก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +18
    แต่ตอน นี้ผมเริ่มปฎิบัติมาเรื่อยๆ รู้สึกว่า ตอนกราบพระเสร็จ ผมจะนั่ง ภาวนา ยุบหนอ พองหนอ ก่อน พอรู้สึกว่าจิตมันนึ่งแล้ว ผมก็จะเปลี่ยน มาภวานาว่าพุธ โธ ต่อครับ ตอนภาวนา ยุบหนอ พองหนอนี่ ผมจะกำหนดหนอ ไว้ที่ท้องตลอด บางทีได้ยินเสียงรถขับผ่านก็ภาวนาว่า ได้ยินหนอ เวลาเมื่อย ก็กำหนดตรงนั้นว่าเมื่อย หนอ ปวดหนอ ตอนนี้เริ่ม นั่งได้ไม่ต่ำกว่า ชั่วโมงแล้วครับ โดยไม่รู้สึกเมื่อย เหมือนตอนแรกๆ แล้วครับ พอหนอได้สักพัก จนผมรู้สึกว่านิ่งแล้ว ผมก็จะ เปลี่ยนคำภวานา ว่าพูธ โธ ครับ แต่พุธ โธ นี่เวลาภาวนา จับลม หายใจ ก่อนจะนึ่งเงียบ นี่รู้สึกนานครับ แต่ถ้าผมรู้สึกว่านึ่งแล้ว ในภาวนาพุธ โธ จะรู้สึกว่า เหมือน ตัวใหญ่ขึ้นๆ ไม่มีวันสิ้นสุดเลยครับ พอมันนึ่งจนมากแล้ว ผมก็เลี่ยนมาภาวนา ยุบหนอ พองหนออีกที แล้วประมาณสัก 45 นาที พอก็จะเปลี่ยนมาเดินจงกลม บ้าง ทำอย่างงี้สลับกัน 3 รอบ ครับ ผมปฏิบัติถูกมั้ยครับ เพราะ ผมไม่มีครูบาอาจารย์ สอนให้ครับ บางที่ผมชอบไปนั่งเล่นที่ วัดเกษศรี (พะเยา) เพราะไก้ลบ้าน ว่าจะไปกราบ รบกวน ครูบาน้อย สอน ให้ ไม่เคยเจอท่านเลยครับ เจอแต่พระ ลูกศิษย์ท่าน แนะนำให้นั่ง วิปัสนากรรมฐาน แต่ท่านก็ต้องไปเรียนธรรม เลยไม่มีเวลาสอน ผมเลยปฏิบัติเองก่อน ไม่ทราบว่าที่ผมปฏิบัติ แบบสลับ กันบ้างคือ นั่งเริ่มแรกก็ ยุบหนอพองหนอ สักพักเปลี่ยนเป็น พุธ โธ แล้ว พอนื่งๆ ก็ ลุกมาเดิน จงกลม ผมปฏิบัติอะรัยผิดผลาดมั้ยครับ รบกวน พวกพี่ๆ น้องๆ ที่ปฏิบัติมาแล้ว แนะนำด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2010
  13. User

    User สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +21
    ไม่ได้ฌาน ๔ ไม่มีทางบรรลุพระนิพพาน ไม่มีทางระลึกชาติได้

    พุทธดำรัส:-เราก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟอง
    อันกระเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายกระเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้
    ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก
    เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่
    กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

    ปฐมฌาน
    เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
    มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่.

    ทุติยฌาน
    เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
    ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่.

    ตติยฌาน
    เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่.

    จตุตถฌาน
    เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส
    ก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

    บุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร
    แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้น
    ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
    สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
    ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัลป์
    เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร
    อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียง
    เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพโน้นนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น
    มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
    อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น
    อันมาก พร้อมทั้งอุเทส พร้อมทั้งอาการ ด้วยประการฉะนี้ พราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี่แล เรา
    ได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด
    เรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
    เผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่งของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการ
    ทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ฉะนั้น.

    จุตูปปาตญาณ
    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร
    แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติ
    ของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
    มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
    ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
    ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่
    เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิด
    เป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็น
    สัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตก
    กายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
    มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อม
    รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการดังนี้ พราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราได้บรรลุแล้ว
    ในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว
    แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไป
    แล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สองของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะ
    ฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.

    อาสวักขยญาณ
    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร
    แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัด
    ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความ
    ดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้
    อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้
    ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้
    หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ
    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว
    พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์
    วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิด
    แก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท
    มีความเพียรเผากิเลสส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สามของเรานี้แล ได้เป็น
    เหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.

    มหาวิภังค์ ภาค ๑

    พุทธดำรัส:-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก หลั่งไปสู่ทิศตะวันออก บ่าไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญพอกพูนซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ (คือ รูป ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา) เหล่านี้แล

    ฌานสังยุต
     
  14. User

    User สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +21
    อานิสงส์สติปัฏฐาน ๔

    พระอนุรุทธะตอบ “ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้พลังทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้... เราย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.... เราย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ.. เราย่อมรู้ฐานะที่เป็นไปได้ว่าเป็นไปได้และฐานะที่เป็นไปไม่ได้ว่าเป็นไปไม่ได้ ตามความเป็นจริง... เราย่อมรู้วิบากของการกระทำกรรม ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง.... เราย่อมรู้จักปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวงตามความเป็นจริง... เราย่อมรู้โลกที่มีธาตุต่าง ๆ มากมาย ตามความเป็นจริง..เราย่อมรู้อุปนิสัยต่าง ๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง...เราย่อมรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่น คนอื่น ตามความเป็นจริง... เราย่อมรู้ความเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ และการเข้าออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง...เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังอุบัติ.... เราย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้...เพราะได้เจริญ ได้พอกพูนซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้...."

    อิทธิสูตร
     

แชร์หน้านี้

Loading...