ขอถามเรื่อง "เนวสัญญานาสัญญายตน"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย somemaybe, 4 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. somemaybe

    somemaybe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +143

    อยากรู้ว่าคืออะไรค่ะ และมีความหมายที่สำคัญอย่างไร
    คือส่วนหนึ่งของการปฏิบัติสมาธิด้วยหรือเปล่า

    เหมือนจะเคยเปิดทีวี (แต่นานแล้วหล่ะ) เจอใครก็ไม่รู้ กล่าวถึงคำว่า
    "เนวสัญญานา สัญญายตน" แบบทำนองว่า คนเราต้องให้ได้ถึงขั้นไม่มีสัญญา
    อะไรประมาณนี้

    แล้วการที่คนเรา "ไม่มีสัญญา" นี่คือ "ดี" ใช่ หรือป่าวค่ะ



    หนูจะได้ไปฝึกมั่ง ไม่รู้ว่าถ้าภาวนาไปเรื่อยๆด้วยคำว่า
    "เนวสัญญานา สัญญายตน" สัญญาณมันจะหายไปได้หรือเปล่าก็ไม่รู้
    :d




     
  2. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327
    เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    คือระดับสูงสุดของสมาธิจิต
    เป็นระดับสูงสุดที่มนุษย์ธรรมดา
    จะทำให้สงบนิ่งลงได้ หรืออีกชื่อหนึ่งเรียก ฌาน๘

    ฌานนั้นจะนิ่งลงๆไป เมื่อถึงฌาน๘แล้ว
    จะนิ่งมากที่สุด นิ่งเหลือเกิณ นิ่งจนไม่มีแม้แต่
    สัญญาความทรงจำ คิดอะไรไม่ได้ กิริยาทุกอย่างของจิต
    การทำงานของจิตทุกอย่าง ดับลงอย่างสมบูรณ์

    เนวสัญญานา สัญญายตน จึงแปลว่า
    จะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็ไม่เชิง
    มันนิ่้งจนจิตเกือบจะดับหายไป แค่เกือบดับหมด แต่ยังดับไม่หมด
    ถ้าดับหายลงไปเลยนี้เรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ แปลว่า ดับไม่เหลือเลย

    ในทางพระพุทธศาสนานั้น
    เรียกฌานระดับนี้ว่าฌานโง่
    เพราะมันดับจน มันคิดนึกพิจารณาไม่ได้
    เมื่อพิจารณาไม่ได้ ปัญญาก็ไม่เกิดแน่นอน
    ในขณะอยู่ในฌาน กิเลศไม่กำเริบ
    กิเลศถูกกดเอาไว้ไม่กำเริบได้
    แต่เมื่อออกมาจากฌานแล้ว
    กิเลศที่ถูกฌานกดไว้ จะได้ช่องกำเริบ

    ฌานจึงดับกิเลศไม่ได้ ทำได้แค่กดเอาไว้
    วิธีดับต้องพิจารณาตามความเป็นจริงในร่างกาย
    แต่ในขณะเข้าฌานก็นิ้งจนพิจารณาไม่ได้

    เรียกว่า เข้าฌานปล่าวประโยชน์สิ้นดี
    แต่ฌา่นก็เป็นกำลังส่งให้พิจารณาได้
    โดยเข้าฌานก่อน แล้วถอนออกมาจนจิเริ่มคิดได้
    แล้วพิจารณาช่วงนั้น กิเลสก็จะดับสิ้นไม่กำเริ่บอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2010
  3. somemaybe

    somemaybe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +143
    ขอบคุณค่ะ อ่านแล้วกระจ่างมากเลย
    ความว่างเฉยไม่ใช่เป็นทางสายตรงในการดับทุกข์ :cool:

    พอเสี้ยววินาทีผ่านไป หนูเริ่มกระจัดกระจาย
    ..!?...
    จึงขอเรียนถามอีกนิ๊ด

    การที่คนเราหลับสนิทแบบชนิดไม่มีตัวฝันอะไรมาให้เห็นเลย
    การอยู่ในภาวะภวังค์แบบหลับลึกชั่วครั้งชั่วคราว
    มันจะเข้าข่าย การมีสัญญาก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็ไม่เชิง
    ด้วยหรือเปล่าค่ะ









     
  4. THEFOOL23

    THEFOOL23 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2010
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +136
    ขอบคุณค่ะ อ่านแล้วกระจ่างมากเลย
    ความว่างเฉยไม่ใช่เป็นทางสายตรงในการดับทุกข์ :cool:
    ความว่างเฉยๆ ไม่ สามารถ ฆ่า กิเลส ที่อยู่ในจิต ได้คับ
    ต่อให้อยู่เฉยๆ ว่าง ว่าง ทั้ง ชาติ ก็ ไม่มีทาง สู่ มรรค คับ


    การที่คนเราหลับสนิทแบบชนิดไม่มีตัวฝันอะไรมาให้เห็นเลย
    การอยู่ในภาวะภวังค์แบบหลับลึกชั่วครั้งชั่วคราว
    มันจะเข้าข่าย การมีสัญญาก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็ไม่เชิง
    ด้วยหรือเปล่าค่ะ

    ไม่ใช่ คับ หลับ ตกภวังค์ สติ หาย สติไม่มี ก็คือ ไม่ใช่สมาธิ ไม่ใช่ ฌาน คับ


    เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    จะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็ไม่เชิง
    มันนิ่้งจน จิต เกือบ จะดับหายไป แค่เกือบดับหมด แต่ยังดับไม่หมด


    ลองอ่านดีๆแล้วพิจารณา นะ ทุกคำมีความหมาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2010
  5. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    อรูปฌานนั้นอารมณ์ดิ่งละเอียดเข้าไปในเอกกัคคตาครับ
    อารมณ์มันถึงสูญญตาแล้ว มันสุดๆจนขนาดที่ศาสนาอื่นคิดว่าอรูปฌานคือการบรรลุโมกษะ
    จริงๆแล้วนั้นไม่ใช่ อรูปฌานอาจจะเผากิเลสได้สุดๆก็จริง
    แต่อรูปฌานใช้กำจัดอวิชชาไม่ได้เลย มีแต่วิปัสสนาเท่านั้นที่ทำได้
    สมถะนั้นก็จำเป็น ที่จะใช้เป็นพื้นฐานกำลังของจิตเพื่อไปต่อยอดในวิปัสสนา
    เนื่องด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาที่ไม่มีพื้นสมถะอยู่เลยนั้น
    มันเป็นไปไม่ได้ มันคือการคิดเองเออเอง ประมาณว่านั่งหลับตาคิด แล้วก็ฟุ้ง
    ไม่เป็นประโยชน์เลย ...
     
  6. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327


    สมาธิต้องตั่งมั่น
    นุ่มนวล ควรแก่งาน
    มีสติพร้อมบริบูรณ์
    มันต่างจากการหลับโดยสิ้นเชิง
    และอีกอย่าง เนวสัญญานั้น
    มันนิ่งกว่าการหลับแบบนั้นซะอีก
    นิ่งในระดับที่คาดไม่ถึง เป็นที่สุดแห่งความนิ่ง
     
  7. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    ขอคั่นรายการนิดนึงนะคะ.....


    ขออภัยหากเป็นการรบกวน

    ขอเชิญร่วมลงนะ รับศักราชใหม่มหามงคล รับโชคลาภ สำเร็จสมปรารถนา กับหลวงปู่คำเป็ง
    กระทู้ลงนะ...
    http://palungjit.org/forums/%E0%...ml#post2808212
     
  8. Realface

    Realface Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +30
    คนฝึกสมาธิจริงๆเขาไม่เอาอารณ์มาบอกต่อกันหรอกนะครับ มันจะทำให้เกิดอุปทาน พื้นฐานยังไม่รู้ ยังไม่ได้ แต่อยากจะไปได้ยอดๆ ไปรู้ยอดๆ รู้ไปก็ไม่ได้ช่วยให้สมาธิมันดีขึ้นหรอกนะครับ ถ้าปฏิบัติถึงก็จะรู้ด้วยตัวเองครับ สมัยก่อนเวลาฝึกสมาธิ ต้องฝึกกับครูสมาธิแค่คนเดียว เพื่อต่ออารมณ์เรา ไม่ใช่ฝึกกับคนนี้แล้วไปบอกอารมณ์สมาธิกับอีกคน เขาต่อยอดให้เราไม่ได้หรอกครับ แค่คนเดียวเท่านั้น แล้วคนนั้นต้องได้จริงด้วยครับ เรื่องสมาธิเป็นเรื่องเฉพาะตน อารมณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางทีเราอาจจะถูกทางแล้ว แต่ดันไปฟังคนที่ฟังแต่เขาเล่าว่ามาอีกที เราอาจจะหลงไปเลยก็ได้ ฉะนั้นอย่าพึ่ไปสนเรื่องไกลตัวครับ มันยังอีกไกลมากมาย ถ้าคุณปฏิบัติเป็นขั้นตอนไปอย่างถูกทาง มันไม่ไกลเกินความสามารถหรอกครับ
     
  9. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เป็นสังขารธรรมหนึ่ง ไม่ควรยึดถือ เช่น ทุขสุขต่างๆ
     
  10. วันชัย13

    วันชัย13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +176
    ขอแชร์ประสบการณ์เรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนด้วยนะครับ
    จากประสบการณ์จริงๆ (ไม่ได้โอ้อวดนะครับ เพราะมันเป็นฌานโง่จริง "ถ้าอวดคืออวดความโง่" ฌานตัวนี้ ถ้าสติสัมปชัญญะมีไม่พอ จะไหลไปอยู่ในสภาวะได้ง่ายมากๆ)

    ที่ผมผ่านเข้าไปได้ เกิดจากการเพ่งล้วน
    ฌานตัวนี้สัญญา มีก็เหมือนไม่มีจริงๆ เป็นฌานที่เหมือนเราเป็นคนที่ไม่มีความทรงจำอะไรเลยน่ะครับ ระลึกอะไรขึ้นมา มันจะว่างหมดเลยครับ ไม่มีอะไรเลย
    ง่ายๆคือเราจะระลึกอะไร มันไม่ความหมาย ไม่มีประโยค อะไรให้นึกเลยครับ นึกก็จะได้แต่ความว่างๆครับ เช่นเราจะนึกถึงคำที่เราพูดทุกๆวัน ก็นึกไม่ได้ครับ มันเหมือนไม่มีความจำอะไรเลย มันว่างไปหมดครับ

    ว่างในอรูปฌานนั้น ถ้าท่านใด เคยผ่านจะทราบว่า มันต่างกันเช่นไร
    อากาสานัญจายตน***ว่างนี้เป็นว่างที่เหมือนเราอยู่กลางอวกาศน่ะครับ ว่างสว่าง ใส
    เมื่อเพ่งไปที่ว่างจนสุดๆ จิตจะเข้าสู่
    วิญญาณัญจายตน*** ว่างตัวนี้มีแต่จิตตัวรู้ สว่างเด่นดวงอยู่
    เมื่อเพ่งไปที่จิตตัวรู้ จนสุดๆ จิตจะเข้าสู่
    อากาสานัญจายตน*** ว่างตัวนี้อยู่ในสภาวะที่ไม่มีอะไรเลย ไม่เหลืออะไรเลย ว่าง สว่าง ไม่อิงอะไรเลย เมื่อเพ่งถึงที่สุด จะเข้าสู่
    เนวสัญญานาสัญญายตน***จิตที่อยู่ในสภาวะที่มีสัญญาก็เหมือนไม่มี ว่างเหมือนเรา เป็นคนโง่ ที่นึกอะไรไม่ออก มันว่างไปหมด

    นี่เป็นการเข้าสมาธิแบบเพ่งนะครับ เป็นสมาธิโง่จริงๆ (อย่าไปทำเชียวนะครับ ไม่มีประโยชน์มากนัก ไม่เป็นไปเพื่อพ้นทุกข์)
    อันนี้ทำได้เอง ตอนที่ผมบวชพระครับ บวชที่วัดช้าง กำแพงเพชร (มีของแถมนิดหน่อย แต่ไม่ขอเล่านะครับ)

    ต่อมาการเข้าสมาธิ(ฌาน)แบบมีสติระลึกรู้ตัวตลอด จิตจะสว่างตื่นรู้ตลอดสาย รู้ทัน ทุกขณะ ที่จิตดำเนินเข้าสมาธิ จะเป็นแบบนี้ครับ
    เห็นสภาวะ รู้ทัน จิตจะวางสภาวะเอง
    แต่ถ้าเห็นสภาวะ จิตรู้ไม่ทัน จิตจะวิ่งไปเกาะสภาวะทันที เมื่อรู้ทัน จิตจะวางสภาวะตัวนั้นเอง จะตามรู้สภาวะ จนจิตรู้พอ ก็จะวางสภาวะตัวนั้นเอง แล้วสภาวะใหม่ก็จะมาต่อ...
    เช่น จิตตามรู้สภาวะสุข ถ้าจิตรู้ไม่ทันสภาวะสุข จิตจะไหลไปเกาะสภาวะสุขทันที
    แล้วพอจิตรู้ทัน จิตจะถอยออกมาจากสภาวะสุข แล้วก็จะไหลเข้าไปเกาะสุขอีก
    จะไหลเข้าไปเกาะ รู้ทัน วาง วนอยู่อย่างนี้แหล่ะครับ จนกว่าจิตจะตามรู้ จนจิตรู้พอ ก็จะวางสถาวะตัวนั้นลงเอง เมื่อจิตวางสุขลง ก็จะเข้าสู่ เอกัคคตา
    การตามรู้ก็คล้ายๆกันกับสภาวะเบื้องต้นครับ
    ผมตามรู้ไปได้ เพียงวิญญาจัญญายตนเท่านั้น
    พอเข้าอากิญจัญญายตน สติสัมปชัญญะหมดกำลัง จิตผมไหลเข้าไปเป็นหนึ่งกับสภาวะนั้นทันที จิตหลงอยู่กับสภาวะไม่มีอะไรเลยทันทีครับ

    ในการพิมพ์ครั้งนี้ หากทำให้ท่านใดไม่สบายใจ ผมต้องขอโทษด้วยนะครับ ขออโหสิกรรมต่อกันนะครับ แต่นี่คือความจริงครับ
     
  11. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    474
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,849
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ


    จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน

    เนว สัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือทำความรู้สึก ตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัว เสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่อาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อน แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวายมีชีวิตทำเสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใดๆ ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์
    เป็นจบเรื่องอรูปกันเสียที เขียนมานี้อึดอัดเกือบตาย เป็นอันว่าเขียนไว้คร่าว ๆ ไม่รับรอง ผิดถูกเพราะปฏิบัติไม่ได้ ก็ไม่ยอมรับรอง เรื่องกรรมฐานนี้เดาไม่ได้ ขืนเดาก็เละหมด สมัยเป็นนัก เทศน์เคยถูกท่านอาจารย์ไล่เบี้ยอารมณ์กรรมฐานเสียงอม เดาท่านก็ไม่ยอม ท่านให้ตอบตามอารมณ์ จริง ๆ ผิดนิดท่านให้ตอบใหม่ ท่านทรมานเอาแย่ แต่ก็ขอบคุณท่าน ถ้าท่านไม่ทำอย่างนั้น ก็คง ไม่สนใจอะไรเลย เพราะกลัวขายหน้าคนฟังเทศน์ ที่ไหนบกพร่องก็รีบซ่อม ถึงอย่างนั้น พอเจออภิญญา กับสมาบัติเข้าคราวไร เป็นยกธงขาวหราทุกที
    (ขอยุติอรูป ๔ ไว้เพียงเท่านี้)​
     
  12. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    แล้วความรู้สึก ประมาณว่า ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต อีกต่อไป รอบๆ ข้างเราไม่มีอะไรอีกแล้ว มีแค่ตัวเราอย่างเดียว อยู่ในปัจจุบัน น่าจะประมาณชั้นไหนได้ครับ
     
  13. LoveViolet

    LoveViolet สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +10
    ถ้าไม่มีสัญญาคงวิ่งเข้าหาอสัญญีพรหมชั้น11อันตรายอยู่นะ
    การภาวนาไปเรื่อยๆแล้วอาจจะได้รูปฌาน1และจะตัดการภาวนาทิ้งในรูปฌาน2
    ต่อให้อยู่ในอรูป4แล้วกลับมาบริกรรมภาวนาอีก ฌานก็ถอยครูดลงมาเลย
    และการภาวนาก็ถือเป็นสัญญาอย่างหนึ่งด้วย
    ถ้าภาวนาแสดงว่ามีสัญญาและยอมรับในสัญญาซึ่งไม่เป็นอารมณ์ในอรูป4
     
  14. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นฌานสุดท้าย สูงสุด สภาวะนี่ถ้าปล้ายห้วงสภาวะนี้คลายออกเมื่อใด เมื่อนั้นเป็นปัจจัตตังแล้ว สาธุๆๆๆ ทำให้ถึงทำให้ได้กันทุกท่านๆๆด้วยนะครับ ผมขออนุโมทนาด้วย
     
  15. jate2029

    jate2029 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +729
    ผมเคย ทรงฌาณนี้ มันเป็น ภาวะบื้อ ตื้อ ครับ สนทนาได้ คุยได้ แต่ไม่จำ รู้เรื่องหมด
    แต่ ไม่จำ เป็น ภาวะที่จิต มันเบา และ ว่าง มากที่สุดจริงๆ
     
  16. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ดังนั้นสภาวะที่เราจะรู้แจ้งคือในขณะที่เรานั่งหลับตา
    หรือไม่อย่างไรครับ

    และจิตที่ว่างตรงเนวสัญญานี้ไม่ควรแก่งาน

    ตรงนี้ไม่มีอะไร
    หากบอกว่ายังมีอะไรอยู่ไม่ใช่นะครับ
    ต้องหมั่นสังเกตุว่าพอรักษาสติอยู่แล้วหายวูบไปหมด
    ไม่ใช่บื้ออยู่อย่างนั้นนะครับ
    ไม่มีอะไรเลยม้วนเข้าไปได้

    ดังนั้นก็เป็นไปตามทางที่ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่แนวทางของการตรัสรู้
    ดังองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้แสดงไว้ว่าสำเร็จมาจากพระอาจารย์แล้วแต่ไม่พ้นทุกข์

    แต่ตอนที่พระพุทธองค์ท่านนิพพานท่านอนุรุทธได้อธิบายไว้เป็นตอนๆ
    เพื่อนสมาชิกท่านใด้รายละเอียดตรงนี้กันบ้างครับ
    ผมไม่ละเอียดครับ

    ขอทุกท่านเจริญในธรรมครับ
     
  17. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    [๑๔๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
    พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
    นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต ฯ
    [๑๔๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเข้าปฐมฌานออกจากปฐมฌาน
    แล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจาก
    ตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสนัญจาย-
    *ตนะ ออกจากอากาสนัญจายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจาก
    วิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตน-
    *สมาบัติแล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตน-
    *สมาบัติแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ฯ
    ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวถามท่านพระอนุรุทธะว่าพระผู้มีพระภาค
    เสด็จปรินิพพานแล้วหรือ ท่านพระอนุรุทธะตอบว่าอานนท์ผู้มีอายุ พระผู้มีพระ
    ภาคยังไม่เสด็จปรินิพพาน ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ฯ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ทรง
    เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรง
    เข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าวิญญาณัญ-
    *จายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออก
    จากอากาสนัญจายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว
    ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน
    แล้ว ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจาก
    ทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน พระ
    ผู้มีพระภาคออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จปรินิพพานในลำดับ (แห่งการพิจารณา
    องค์จตุตถฌานนั้น) ฯ
    [๑๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการเสด็จ
    ปรินิพพาน ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ เกิดความขนพองสยองเกล้าน่าพึงกลัว ทั้ง
    กลองทิพย์ก็บันลือขึ้น ฯ

    มหาปรินิพพานสูตรที่ ๓
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
     
  18. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    กราบขอบพระคุณครับ
    ด้วยความห่วงใยและเป็นห่วง
    เพื่อนนักปฎิบัติเหมือนกัน

    เคยมีเพื่อนท่านหนึ่งกล่าวว่า
    เมื่อเเอกคตารมณ์แล้วหลุดไปนิ่งเหมือนตอไม้หรืออย่างไรไม่ทราบ

    หากเรามาพิจารณาอีกในเรื่องอรูป
    คือการพิจารณาเดิมหรือไม่
    คือวิตก
    วิจารณ์และพิจารณา
    ปิติ
    สุข
    แล้วเป็นเอกคตารมณ์ใหม่อีกรอบหรือไม่

    การเข้าไปอรูปคืออะไร
    ไม่วิตกหรือไม่
    ไม่มีวิจารณ์
    ไม่มีพิจารณา
    ทุกข์
    เอกคตารมรณ์

    การไม่มีอะไรเลยในอากาสาเป็นอย่างไร
    อกิญจาเป็นอย่างไร

    การไม่มีนี้ยังไม่ถือว่าเราละได้ทั้งหมด
    ยังเหลืออยู่
    สิ่งที่เหลืออยู่คืออะไรสิ่งที่หายไปคืออะไร

    สภาวะบื้อนี้อยู่ตรงไหนของเรื่อง
    หากเราไปเนวสัญญาได้แล้วเรามาไล่ย้อนหลังคือการกลับมาอีกรอบ
    ดังนั้นเราย่อมไปแปดมาเจ็ด
    หกคืออะไรห้าคืออะไร
    แล้วเมื่อเราทำอย่างนั้นได้แล้วเราจะรู้ธรรมที่พระพุทธองค์ท่านสื่อเอาไว้อย่างไร
    เพื่อสื่อไปช่วยเหลือคนอื่น
    ท่านที่เข้าเนวสัญญาได้มีอีกมาก
    คงช่วยเหลือผมได้ในข้อสงสัยที่ผมมีอยู่

    เราจะแสดงให้คนทั้งหลายรู้ว่าบัวมีสี่เหล่าได้อย่างไร
    มีเต่ามีปลามีน้ำมีบัวมีบาน
    โดยการบอกต่อ เทศน์

    เอาเป็นว่าระฆัง
    หากเราหงายระฆังแล้วจะเป็นอะไร

    เอาเป็นว่าเนวสัญญาคือการไม่มีสัญญาแล้วจะเหลืออะไรหรือไม่
    สัญญานี้ผมใช้ว่าสัญญานได้หรือไม่

    หากรู้แปดมาก่อนแล้วว่างแล้วเกิดปัญญาหรือไม่อย่างไร
    แล้วถอยกลับมาเป็นพระอะนาคามีหรือ
    เพื่ออะไร

    เอาเป็นว่าการเกิดปิติรอบสองอาการในทางโลกเป็นอย่างไร
    แล้วดันไปเป็นแบบไม่มีสัญญาอาการทางกายเป็นอย่างไร

    ขอท่านโปรดกรูณาชี้แนะธรรมแก่กระผมด้วยขอรับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งครับ
     
  19. Worapong Fu

    Worapong Fu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +22
    ฌานทั้งหลายย่อมต้องมีเอกัคคตาแห่งจิตเป็นเหตุปัจจัย
    เช่น ปฐมฌาน ย่อมประกอบด้วยองค์ธรรมต่อไปนี้

    1) วิตก วิจาร (วิตก คือ การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์กรรมฐาน วิจาร คือ มีวิตกอย่างต่อเนื่อง... วิตกในที่นี้ไม่ใช่วิตกกังวล ออกเสียงเหมือนกันแต่สภาวธรรมต่างกัน)
    2) ปีติ (ปีติ คือ สุขเวทนาจากกาย อันเนื่องมาจากความสงบระงับ... ปีตินี้ย่อมไม่ใช่อาการตัวโยกเยก ศีรษะสั่นงันงก อย่างที่คนบางกลุ่มเข้าใจ แต่เป็นสุขเวทนาที่เกิดขึ้นจากร่างกายอันสงบระงับ)
    3) สุข (สุข คือ สุขเวทนาจากใจ มีความสงบวิเวกเป็นเหตุปัจจัย)
    4) เอกัคตา (เอกัคตา คือ อาการของจิตอันตั้งมั่น... คือ แม้น้อมใจไปในปีติ จิตก็ยังตั้งมั่นไม่สั่นไหว แม้น้อมไปในสุข จิตก็ยังคงตั้งมั่นไม่สั่นไหว น้อมไปในวิตก วิจาร จิตก็ยังตั้งมั่น... หาใช่อาการตกอยู่ในภวังค์ ดังที่คนชั้นหลังกล่าวอ้างไม่... พระป่ากรรมฐาน มักเรียก เอกัคตา ว่า "จิตรวมเป็นหนึ่ง" )

    นี้แล... เอกัคตาในปฐมฌาน
    ในฌานอื่นๆ ก็ย่อมต้องมีเอกัคตาเช่นกัน ไม่มีฌานไหน ไม่ปรากฎเอกัคตา

    ผู้ดำรงวาระจิตอยู่ในฌาน ย่อมมีสติสัมปชัญญะอันกล้าแข็ง
    ย่อมรู้ว่าจิตแห่งตนกำลังเสวยอารมณ์เหล่าใด
    แม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    ที่มนุษย์ในปัจจุบันคิดว่า คือ อาการของคนโง่ ก็หาได้เป็นเช่นนั้นไม่
    ผู้ดำรงวาระจิตอยู่ในฌานนี้ได้ ย่อมต้องมีสัมมาสติอันกล้าแข็งอย่างสูง
    แม้ผู้ที่หลงติดอยู่ในฌานนี้ ก็หาได้เป็นคนโง่ดังที่กล่าวอ้างไม่
    อริยสาวกทั้งหลายของพระพุทธองค์
    ย่อมเคยติดขัดในฌานนี้เป็นอันมาก
    ไม่ใช่เพราะความโง่งม แต่เป็นวิบากกรรม

    ลองนึกคิดดูอย่างง่าย...
    ผู้ที่มีจิตติดขัดอยู่ในสุรา นารี
    กับผู้ที่มีจิตติดอยู่ในความสงบระงับ
    อย่างใด จึงจะเรียกว่าโง่เขลา

    บุคคลธรรมดาย่อมไม่สามารถบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานได้ง่ายๆ
    ย่อมต้องบำเพ็ญเพียรมาแล้วข้ามภพข้ามชาติ
    ที่จริงแล้ว แม้ปฐมฌาน ก็ไม่ใช่จะบรรลุกันได้ง่ายๆ
    ต้องบำเพ็ญเพียรข้ามภพข้ามชาติเช่นกัน

    เมื่อคราวพระโมคคัลนเถระเจ้า บำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน
    ท่านก็ติดขัดอยู่ในฌานนี้ เกิดอาการหลับในเพราะสัมมาสติกล้าแข็งไม่เพียงพอ
    พระพุทธองค์จึงเมตตา เทศนาธรรมแก้อาการติดขัด
    เมื่อพ้นจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    ย่อมบรรลุมรรคผลนิพานเป็นที่สุด
    การบรรลุมรรคผลนิพพาน เช่นนี้ เรียกว่า เจโตวิมุตติ
    (ท่านพระสารีบุตรบรรลุมรรคผลนิพพาน แบบปัญญาวิมุตติ...
    คือ ไม่ได้บำเพ็ญเพียรเข้าฌาน แต่พิจารณาธรรมของพระพุทธองค์
    จนเข้าถึงธรรมในระดับปรมัตถสภาวธรรม... การบรรลุธรรมแบบนี้
    เป็นการบรรลุที่เกิดขึ้นได้ยากมาก
    เพราะต้องมีสัญญาธรรมที่แตกฉานมากติดตัวมา ข้ามภพ ข้ามชาติ)
    การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะเข้าถึงมรรคผลนิพพาน
    แม้ไม่สามารถเจริญวิปัสสนากรรมฐานในฌานนี้ได้
    แต่จิตย่อมหลุดพ้นได้เมื่อพ้นแล้วจากฌานนี้
    คำว่า ฌานโง่ เป็นแต่เพียงคำกล่าวของคนในชั้นหลัง
    แม้พระพุทธองค์ ยังทรงดำรงวาระจิตอยู่ในฌานนี้
    ก่อนจะบรรลุเป็นพระอรหันต์

    นี้แล ความหมายของเอกัคตาแห่งจิตที่แท้
    และความเข้าใจในเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่แท้
     
  20. Worapong Fu

    Worapong Fu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +22
    องค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ เป็นดังนี้

    1) ปฐมฌาน: วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    2) ทุติยฌาน: ปีติ สุข เอกัคคตา
    3) ตติยฌาน: สุข เอกัคคตา
    4) จตุตถฌาน: อุเบกขา เอกัคคตา
    5) อากาสานัญจายตนฌาน: อุเบกขา เอกัคคตา
    6) วิญญานัญจายตนฌาน: อุเบกขา เอกัคคตา
    7) อากิญจัญญายตนฌาน: อุเบกขา เอกัคคตา
    8) เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน: อุเบกขา เอกัคคตา

    การบำเพ็ญเพียร ย่อมต้องเป็นลำดับขั้นไป
    เป็นไปไม่ได้ที่จะบรรลุฌานสูง ก่อนที่จะบรรลุฌานต่ำ
    ที่แท้แล้วย่อมต้องบำเพ็ญเพียรปฐมฌานก่อน ข้ามภพข้ามชาติ
    แล้วจึงบรรลุปฐมฌาน
    แล้วจึงคล่องชำนาญในปฐมฌาน
    (เมื่อคล่องชำนาญในปฐมฌาน เราเรียกว่า "ได้ปฐมฌานสมาบัติ")
    แล้วจึงจะเริ่มบำเพ็ญเพียรทุติยฌาน
    เป็นดังนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...